พระธรรมคุณ : สมเด็จพระญาณสังวร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 ธันวาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เคหะสิตะ เวทนาที่อาศัยเรือน<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และได้ตรัสอธิบายไว้อีกว่าที่เป็นสามิสหรือที่เป็นเคหะสิตะอาศัยเรือนนั้น ก็คือคิดนึกตรึกตรองถึงรูปบ้างเสียงกลิ่นบ้างรสบ้างโผฏฐัพพะสิ่งถูกต้องบ้าง เรื่องราวทั้งหลายบ้าง ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสคือความยินดีพอใจ ก็ได้แก่คิดนึกตรึกตรองถึงรูปเสียงเป็นต้นดังกล่าวนั้น ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย ที่กำลังได้อยู่ หรือที่เคยได้มาแล้ว อันเป็นฝ่ายโลกามิส คือเป็นเครื่องล่อเครื่องชักจูงใจให้ติดให้ยินดีของโลก เมื่อเกิดโสมนัสขึ้น นี่แหละก็คือเป็นโสมนัสเวทนาหรือสุขเวทนาที่เป็นสามิส คือมีอามิสวัตถุที่เป็นเครื่องจูงใจให้ติดให้ยินดีของโลก เป็นเครื่องชักจูงให้บังเกิดขึ้น ล่อให้บังเกิดขึ้น ก็เป็นสุขเวทนาที่มีอามิส หรือเป็นโสมนัสเวทนาที่อาศัยเรือน
    <O:p></O:p>
    แต่เมื่อไปนึกตรึกตรองถึงเรื่องทั้งหลายดังกล่าวนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสคือความเสียใจความทุกข์ใจ ก็ได้แก่คิดนึกตรึกตรองถึงเรื่องเหล่านั้นที่ไม่ได้ตามที่อยากจะได้อยู่ในปัจจุบัน หรือที่เคยไม่ได้มาแล้วในอดีต ก็เกิดโทมนัสขึ้น นี้ก็คือเป็นโทมนัสเวทนา หรือทุกขเวทนา ที่เป็นสามิส มีอามิสเป็นเครื่องล่อ หรือเป็นเคหะสิตะ โทมนัสที่อาศัยเรือน
    <O:p></O:p>
    และเมื่อนึกคิดตรึกตรองถึงเรื่องทั้งหลายดังกล่าวมานั้น แต่ว่าไม่พอที่จะให้เกิดสุขหรือทุกข์ โทมนัสหรือโสมนัส ก็เกิดความรู้สึกเฉยๆ เป็นอุเบกขา เหมือนอย่างอุเบกขาคือเฉยๆ ของสามัญชนทั่วไป
    <O:p></O:p>
    ที่เมื่อคิดนึกตรึกตรองถึงเรื่องอะไรๆ ที่เป็นเรื่องไม่พอที่จะให้เกิดสุขหรือทุกข์ โสมนัสหรือโทมนัสก็เฉยๆ เรื่อยๆ เป็นไปเองโดยปรกติธรรมดาของสามัญชน ดั่งนี้ ก็เป็นอทุกขมสุขเวทนาที่มีอามิสเป็นเครื่องล่อ คือให้เกิดเป็นอุเบกขาขึ้น หรือเป็นอุเบกขาที่เป็นเคหะสิตะ คืออาศัยเรือน

    <O:p></O:p>
    เนกขัมมะสิตะ การออกจากเรือน<O:p></O:p>
    ส่วนเมื่อระลึกตรึกตรองถึงเรื่องดังที่กล่าวมานั้น และก็ได้พิจารณเห็นว่าสิ่งเหล่านั้น ที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันก็ดี หรือที่ล่วงไปแล้วก็ดี ล้วนเป็นอนิจจะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา เมื่อพิจารณาเห็นได้ดั่งนี้ เกิดโสมนัสขึ้น เกิดสุขขึ้น ก็เรียกว่าเป็นสุขที่เป็นนิรามิส ไม่มีอามิสเป็นเครื่องล่อ หรือว่าเป็นโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะคือการออกจากเรือน
    <O:p></O:p>
    แต่ว่าเมื่อพิจารณาเห็นดังกล่าวนั้นแล้วก็เกิดคิดขึ้นว่า เมื่อไรหนอเราจึงจักพ้นจากความทุกข์ เพราะเรื่องทั้งหลายดังกล่าวนั้นได้ เหมือนอย่างพระอริยะทั้งหลาย ที่ท่านมีจิตใจพ้นแล้วจากทุกข์ มาดูตัวเองว่ายังต้องเป็นทุกข์อยู่ ต้องเดือดร้อนอยู่ ไม่เป็นสุขเหมือนท่าน อยากจะเป็นสุขเหมือนอย่างท่าน แต่ก็ยังไม่ได้ ก็เกิดโทมนัสใจขึ้นมา ทุกข์ใจขึ้นมา ดั่งนี้ก็เป็นทุกข์ที่เป็นนิรามิส หรือโทมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ คือการออกจากเรือน
    <O:p></O:p>
    แต่ว่าเมื่อพิจารณาเห็นดั่งนั้น คือเห็นว่าสิ่งทั้งหลาย แม้ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจ ซึ่งกำลังประสบอยู่ หรือว่าที่เคยประสบมาแล้ว ล้วนเป็นอนิจจะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องมีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา จิตใจก็วางเฉยไม่สุขไม่ทุกข์ ดั่งนี้ก็เป็นอุเบกขา อุเบกขาที่เป็นนิรามิส หรือว่าที่เป็นเนกขัมมะสิตะ อาศัยเนกขัมมะคือการออกจากเรือน
    <O:p></O:p>
    จะเป็นไปดั่งนี้ได้ก็ต้องอาศัยน้อมใจนี้เองเข้ามาสู่เวทนา ประกอบด้วยสติความระลึกกำหนด และญาณหรือปัญญาที่พิจารณาหยั่งรู้ ควบคู่กันไป คือน้อมใจเข้ามาสู่ธรรมะ หรือว่าน้อมธรรมะเข้าสู่ใจ ในเรื่องของเวทนา
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    เครื่องละเวทนาอย่างหยาบ<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และนอกจากนี้ยังได้ตรัสสอนถึงวิธีน้อมใจเข้าสู่สติปัญญากำหนดรู้เวทนา เป็นปฏิบัติธรรมสำหรับที่จะใช้เวทนาอย่างละเอียดเป็นเครื่องละเวทนาอย่างหยาบไปโดยลำดับ กล่าวคือ เมื่อประสบโสมนัสเวทนาที่อาศัยเรือน หรือสุขเวทนาที่มีอามิส คือว่าเมื่อได้ประสบรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะสิ่งถูกต้อง และเรื่องราวที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจอยู่ในปัจจุบัน หรือเคยได้ประสบมาแล้ว และก็คิดนึกตรึกตรองถึงอยู่ ก็ได้โสมนัสได้สุขขึ้น ดั่งนี้ก็เป็นโลกามิสสุข หรือสามิสสุข เป็นเคหะสิตะโสมนัส ความสุขใจยินดีพอใจที่อาศัยเรือน อันเป็นธรรดาโลกที่เป็นไปอยู่
    <O:p></O:p>
    เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ตรัสสอนให้มาปรารภพิจารณาสิ่งเหล่านั้นที่ทำให้เกิดสุขโสมนัสเหล่านั้น ว่าทั้งหมดนั้นล้วนเป็นอนิจจะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ให้เห็นสัจจะคือความจริงในสิ่งเหล่านั้นว่าจะต้องเป็นเช่นนั้น ดั่งนี้ ก็จะเกิดสุขโสมนัสเวทนาขึ้น เพราะเหตุที่มองเห็นสัจจะคือความจริงของสิ่งเหล่านั้น ว่าเป็นอนิจจะคือไม่เที่ยงดังกล่าว เมื่อเป็นดังนี้ก็ชื่อว่าได้มาปฏิบัติทำให้เกิดสุขโสมนัสที่เป็นนิรามิส ไม่มีอามิสเป็นเครื่องล่อ หรือที่เป็นเนกขัมมะสิตะ อาศัยเนกขัมมะคือการออกจากการติดใจยินดี ออกจากเรือน มาเป็นเครื่องละสุขโสมนัสที่เป็นสามิส ที่เป็นโลกามิส ที่เป็นเคหะสิตะอาศัยเรือน ดังที่กล่าวมา
    <O:p></O:p>
    อนึ่ง เมื่อต้องประสบกับทุกข์โทมนัสที่เป็นสามิสหรือโลกามิส หรือที่เป็นเคหะสิตะอาศัยเรือน คือไม่ได้ประสบกับรูปเสียงเป็นต้น ที่รักใคร่ปรารถนาพอใจ ทั้งเคยไม่ได้มาแล้ว
    <O:p></O:p>
    คิดนึกตรึกตรองถึงก็เกิดทุกข์โทมนัสขึ้น ก็เรียกว่าเป็นโลกามิส หรือสามิส หรือเรียกว่าเป็นทุกข์โทมนัสที่อาศัยเรือน เมื่อเป็นดั่งนี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนให้พิจารณาสิ่งเหล่านั้น ว่าบรรดารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะสิ่งถูกต้อง ธรรมะคือเรื่องราวทั้งหลาย แม้เป็นสิ่งที่ไม่ได้มาในปัจจุบัน หรือไม่เคยได้มาแล้วในอดีตก็ตาม หรือแม้ที่ได้ก็ตาม ทั้งหมดนั้นก็ล้วนเป็นอนิจจะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ( เริ่ม ๑๐๙/๑ )ท่านผู้ที่เห็นได้อย่างนี้เป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม ย่อมเป็นผู้พ้นจากทุกข์โทมนัสทั้งหลาย ในเพราะเรื่องเหล่านี้
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ควรจะต้องมาคำนึงถึงตัวเองว่าทำไฉน เราจึงจะได้ความสุขโสมนัส ได้ความพ้นทุกข์เหมือนอย่างที่พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านได้ ถ้าหากว่าได้ความพ้นทุกข์เหมือนอย่างท่าน ก็จะไม่ต้องมาเป็นทุกข์โทมนัส อันเกี่ยวกับโลกามิสทั้งหลาย เกี่ยวแก่สิ่งที่อาศัยเรือนอันหมายถึงกามทั้งหลายในโลก ให้บังเกิดทุกข์โทมนัส เพราะเหตุว่าไม่สามารถจะทำตัวให้พ้นทุกข์เหมือนอย่างพระอริยะได้ ขึ้นแทนดั่งนี้ ก็จะทำให้เกิดทุกข์โทมนัสที่เป็นนิรามิส ที่อาศัยเนกขัมมะคือการออก เป็นเหตุให้ดับทุกข์โทมนัสที่เป็นโลกามิส หรือที่เป็นสามิส หรือที่อาศัยเรือนได้
    <O:p></O:p>
    อนึ่ง ก็ได้ตรัสสอนไว้อีกว่า แม้ได้อุเบกขาอย่างสามัญชนทั่วไป เมื่อประสบกับเรื่อง เมื่อนึกคิดตรึกตรองถึงเรื่องเหล่านั้น ที่กำลังประสบอยู่ หรือที่เคยประสบมาแล้วก็ตาม อันเป็นกลางๆ ไม่พอจะให้เกิดทุกข์ ไม่พอที่จะให้เกิดสุข ไม่พอที่จะให้เกิดโสมนัส ไม่พอที่จะให้เกิดโทมนัส เหมือนอย่างสามัญชนทั่วไป เป็นความรู้สึกเฉยๆ เรื่อยๆ ผ่านไปๆ อันเป็นอุเบกขาชนิดที่เรียกว่าไม่ประกอบด้วยความรู้ เรียกว่าเป็นสามิสหรือเป็นโลกามิส หรือเรียกว่าเป็นเคหะสิตะอาศัยบ้านเรือน ซึ่งมีอยู่เป็นอันมากที่ทุกคนประสบอยู่ ก็ให้จับมาพิจารณาว่าแม้เรื่องทั้งหลายเหล่านั้น คือเรื่องรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะสิ่งถูกต้อง และเรื่องราวทางใจ ที่กำลังประสบอยู่ หรือที่ประสบมาแล้วก็ตาม อันทำจิตใจให้เป็นอุเบกขา เพราะไม่พอที่จะให้สุขโสมนัส
    <O:p></O:p>
    หรือทุกข์โทมนัส อย่างที่กำลังประสบกันอยู่โดยมากนั้น แม้สิ่งเหล่านั้นก็เป็นอนิจจะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ก็จะทำใจให้เป็นอุเบกขาเหมือนกัน คือวางใจเป็นกลาง


    <O:p></O:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    แต่ว่าเป็นอุเบกขาอันประกอบด้วยความรู้ ความรู้ที่พิจารณาให้รู้จักสิ่งเหล่านั้นว่าต้องเป็นเช่นนั้น ดั่งนี้ ก็เป็นอันว่าเป็นการปฏิบัติทำให้เกิดอุเบกขาที่เป็นนิรามิส หรือที่อาศัยเนกขัมมะขึ้นได้ ก็เป็นเครื่องละอุเบกขาที่เป็นโลกามิส หรือสามิส หรือที่อาศัยเรือน อันประกอบด้วยโมหะคือความหลงไม่รู้นั้นได้
    <?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และแม้สุขโสมนัสหรือว่าทุกข์โทมนัสที่อาศัยเนกขัมมะคือการออก หรือที่เป็นนิรามิสนั้นเล่า ก็ตรัสสอนให้ปฏิบัติพิจารณา เพื่อให้บังเกิดเป็นสุขโสมนัสที่เป็นนิรามิส หรือที่อาศัยเนกขัมมะขึ้น โดยไม่นึกมุ่งหมายเทียบเคียงตนเองกับพระอริยะ ไม่อาศัยตัณหากระหยิ่มใจอยากจะได้ อยากจะถึงความพ้นทุกข์อย่างพระอริยะในปัจจุบันทันที พิจารณาเพียงให้รู้จักสัจจะคือความจริงของสิ่งทั้งปวงนั้น ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป แต่ว่าไม่กระหยิ่มอยากจะได้สุขเหมือนอย่างที่พระอริยะท่านได้ เพียงให้รู้จักสัจจะคือความจริงของสิ่งทั้งหลายดังกล่าว ก็จะเกิดสุขโสมนัสที่เป็นนิรามิส หรือที่เป็นอาศัยเนกขัมมะการออกจากเรือน คือออกจากกาม ก็เป็นอันละทุกข์โทมนัสที่อาศัยเนกขัมมะได้<O:p></O:p>
    และแม้เป็นสุขโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ หรือที่เป็นนิรามิส ก็ยังทำใจให้ฟุ้งซ่านได้ กลายเป็นโลกามิส หรือสามิสไปได้ เพราะฉะนั้น ในทางปฏิบัติให้ละเอียดขึ้นไปอีก ก็ตรัสสอนให้พิจารณา ให้ซึ้งลงไปในสัจจะคือความจริงของสิ่งทั้งหลายที่ประสบอยู่ หรือกำลังประสบแล้ว
    <O:p></O:p>
    ว่าล้วนเป็นอนิจจะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ให้ซึ้งลงไปในความรู้สัจจะนี้ ก็จะได้อุเบกขาคือความวางใจเป็นกลางเฉยๆ คือวางเฉยได้โดยไม่เกิดสุขโสมนัส ก็เป็นอันว่าดับสุขโสมนัสได้ แม้เป็นสุขโสมนัสที่เป็นนิรามิส หรือที่อาศัยเนกขัมมะก็ดับได้ มาทำใจให้เป็นอุเบกขาซึ่งเป็นลักษณะที่ละเอียดกว่า ประณีตกว่า

    <O:p></O:p>
    อุเบกขา ๒ อย่าง<O:p></O:p>
    อนึ่งยังได้ตรัสสอนต่อขึ้นไปถึงว่าแม้อุเบกขานั้นก็มี ๒ อย่าง คืออุเบกขาที่เป็น นานาภาวะ มีภาวะต่างๆ กับอุเบกขาที่เป็น เอกภาวะ หรือเอกภาพ อุเบกขาที่เป็นนานาภาวะมีภาวะต่างๆ นั้น ก็คืออุเบกขาในรูปบ้าง ในเสียงบ้าง ในกลิ่นบ้าง ในรสบ้าง ในโผฏฐัพพะคือสิ่งถูกต้องบ้าง ในธรรมะคือเรื่องราวที่คิดหรือที่รู้ทางใจบ้าง อันเรียกว่า ชลังคุเบกขา อุเบกขาอันประกอบด้วยองค์ ๖ ดั่งนี้เป็นอุเบกขาที่เรียกว่านานาภาวะมีภาวะต่างๆ แต่ก็เป็นนิรามิสด้วยกัน เป็น เนกขัมมสิตะ อาศัยเนกขัมมะด้วยกัน คือเป็นส่วนดีด้วยกัน ส่วนที่เป็นเอกภาวะหรือเอกภาพนั้นก็ได้แก่อุเบกขาในฌาน และที่ตรัสชี้ไว้ก็คือในอรูปฌาน อันเป็นสมาธิอย่างสูง จึงจะเป็นอุเบกขาที่เป็นเอกภาวะ หรือเป็นเอกภาพ เพราะฉะนั้น เมื่อจะปฏิบัติให้สูงขึ้นยิ่ง ให้สูงยิ่งขึ้น ก็ต้องปฏิบัติให้ได้อุเบกขาที่เป็นเอกภาวะ หรือเอกภาพ เป็นเครื่องละอุเบกขาที่เป็นนานาภาวะ มีภาวะต่างๆ
    <O:p></O:p>
    และยังได้ตรัสสอนยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ว่าแม้เป็นอุเบกขาที่เป็นเอกภาวะหรือเอกภาพในฌาน ก็ยังไม่เสร็จสิ้น จะต้องละตัณหาเป็นเครื่องยึดถือว่าเป็นของเราเป็นตัวเรา เพราะฉะนั้น ขั้นปฏิบัติสูงสุดก็คือปฏิบัติเพื่อละตัณหา เป็นเครื่องยึดถือว่าเป็นตัวเราของเรา โดยไม่ยึดอุเบกขาแม้ที่เป็นเอกภาพนั้น ต้องปล่อยวางสมาธิที่ให้ได้อุเบกขา อุเบกขาที่เป็นเอกภาพนั้น ไม่ยึดถือว่าเป็นของเราเป็นตัวเรา<O:p></O:p>
    เป็นการปฏิบัติละตัณหาเสียให้ได้นั่นแหละ จึงจะเป็นที่สุด ดั่งนี้เป็นอันได้ตรัสสอนให้ปฏิบัติ ให้เกิดเวทนาที่ละเอียด ละเวทนาที่หยาบ หรือว่าปฏิบัติละเวทนาที่หยาบด้วยอาศัยเวทนาที่ละเอียดขึ้นไปโดยลำดับ ก็นับเนื่องเข้าในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานได้ ซึ่งการปฏิบัติดั่งนี้ก็ต้องอาศัยโอปนยิโกน้อมใจเข้าสู่ธรรมะ หรือน้อมธรรมะเข้ามาสู่ใจ อาศัยสติความระลึกกำหนด ญาณปัญญาความหยั่งรู้ในเวทนา และในการปฏิบัติอาศัยเวทนาละเวทนาขึ้นไปโดยลำดับ
    <O:p></O:p>
    ต่อจากนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]

    พระธรรมคุณ ๑๒ โอปนยิโก การปฏิบัติที่ถูกตรงต่อพระธรรมคุณบทนี้<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์<O:p></O:p>​


    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>​

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมะนั้นที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และทรงแสดงสั่งสอน เป็น สวากขาโต ภควตา ธัมโม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว สันทิฏฐิโก เป็นธรรมะอันผู้ปฏิบัติได้บรรลุพึงเห็นเอง อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดู โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา ซึ่งได้แสดงมาโดยลำดับ จนถึงควรน้อมเข้ามาด้วยสติระลึกกำหนด ญาณปรีชาหยั่งรู้ในเวทนา คือความเสวยอารมณ์เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง<O:p></O:p>
    และเวทนานี้เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสยกขึ้น เพื่อปฏิบัติกำหนดเวทนา เพื่อหน่ายไม่ยึดถือในเวทนา
    <O:p></O:p>
    ว่าเป็นทางปฏิบัติดับตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยาก เมื่อพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นได้ว่าเวทนาเป็นเรื่องสำคัญของทุกๆ คน ซึ่งนำให้เกิดตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก ทั้งในปฏิจจสมุปบาทธรรมะที่อาศัยกันบังเกิดขึ้นก็ได้ตรัสไว้ว่า เวทนา ปัจจยา ตัณหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยเกิดตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก ดั่งนี้

    <O:p></O:p>
    เวทนาเป็นปัจจัยแห่งกิเลสตัณหา<O:p></O:p>
    อันกิเลสคือตัณหาที่ตรัสว่ามีเวทนาเป็นปัจจัยโดยตรงก็ดี หรือกิเลสกองราคะความติดใจยินดี หรือโลภะความโลภอยากได้ กองโทสะความโกรธแค้นขัดเคือง กองโมหะความหลง ก็ดี ที่บังเกิดขึ้นในจิตใจของบุคคล ย่อมเนื่องมาจากเวทนา โดยปรกติคือเมื่อได้สุขโสมนัสเวทนา ในอารมณ์อันใด ในสิ่งอันใด ก็นำให้เกิดราคะหรือโลภะในอารมณ์นั้นในสิ่งนั้น เมื่อได้ทุกขโทมนัสในอารมณ์อันใดหรือในสิ่งอันใด ก็นำให้เกิดโทสะในอารมณ์นั้นในสิ่งนั้น เมื่อได้อุเบกขาเวทนาในอารมณ์อันใดในสิ่งอันใด และมิได้พิจารณา ก็นำให้เกิดโมหะคือความหลง หรือว่าความไม่รู้ตามเป็นจริง ในอารมณ์นั้นในสิ่งนั้น ดั่งนี้ และเพราะกิเลสที่บังเกิดขึ้นนี้เอง จึงก่อเจตนาคือความจงใจประกอบกรรมต่างๆ ที่เป็นบาปอกุศลทุจริตต่างๆ อย่างร้ายแรงบ้าง อย่างกลางๆ บ้าง หรืออย่างเบาบ้าง สุดแต่กำลังอำนาจของกิเลสที่บังเกิดขึ้นนั้น

    <O:p></O:p>
    ภูมิพื้นแห่งจิตใจเป็นไปตามกรรมกิเลส<O:p></O:p>
    เมื่อบังเกิดกิเลสก่อบาปอกุศลกรรมต่างๆ ขึ้นดั่งนี้ จึงทำให้ภูมิพื้นแห่งจิตใจของบุคคลแต่ละคนนั้น เป็นไปตามกิเลสและกรรม เป็นวิบากคือผลซึ่งบังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้เอง
    <O:p></O:p>
    คือในขณะที่ยังเป็นบุรุษชายหญิงอยู่ในโลกนี้นี่แหละ ร่างกายนั้นก็เป็นคนเป็นมนุษย์ แต่ว่าภูมิพื้นทางจิตใจนั้นไม่เป็นคนไม่เป็นมนุษย์ก็ได้ ในเมื่อปฏิบัติประกอบอกุศลกรรมต่างๆ ไปตามอำนาจของกิเลส
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มนุสเนริยโก มนุสเปโต มนุสเดรัจฉาโน<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นจึงมีคำเรียกกันว่า มนุสสนิรยโก มนุษย์นรก คือร่างกายเป็นคน แต่ว่าภูมิพื้นทางจิตใจนั้นเป็นนรก เพราะประกอบกรรมที่เป็นบาปอกุศลอย่างแรง ด้วยอำนาจของกิเลสตัณหาอย่างแรง เรียกว่า มนุสสเปโต มนุษย์เปรตบ้าง ก็เพราะกิเลสและกรรมที่ประกอบกระทำ ที่เปลี่ยนภูมิพื้นของจิตใจให้เป็นเปรต มีความหิวระหายอยู่เสมอ หรือดังที่เรียกว่า มนุสสติรัจฉาโน มนุษย์เดรัจฉาน ก็เพราะกิเลสและกรรมที่ประกอบกระทำ โดยปราศจากหิริโอตตัปปะ เหมือนอย่างสัตว์เดรัจฉาน
    <O:p></O:p>
    ถ้าหากว่าบุคคลเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเพราะได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รู้จักมีสติกำหนดรู้ ญาณความหยั่งรู้ในเวทนาอยู่ ดั่งที่ตรัสสอนไว้ ว่าให้พิจารณาว่าเวทนาเป็นอนิจจะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป เมื่อได้สุขโสมนัสก็มีสติกำหนดให้รู้จักดั่งนี้ เวทนาดังกล่าวก็จะไม่นำให้เกิดราคะโลภะ ในอารมณ์หรือในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขโสมนัสนั้น เมื่อได้ทุกข์โทมนัสก็มีสติมีญาณกำหนดรู้หยั่งรู้ดั่งนั้น ก็จะทำให้ระงับใจได้อีกเช่นเดียวกัน เวทนาดังกล่าวไม่นำให้เกิดโทสะ
    <O:p></O:p>
    ( เริ่ม ๑๐๙/๒ )และเมื่อประสบอุเบกขาเวทนาก็ทำสติ และญาณกำหนดรู้หยั่งรู้ดั่งกล่าว ไม่ปล่อยให้เป็นไปโดยไม่รู้ ก็จะทำให้ทวีปัญญาคือความหยั่งรู้ ทวีสติคือความระลึกได้ดีขึ้น เป็นเครื่องรักษาจิตใจ ให้พ้นจากความหลงถือเอาผิด และความไม่รู้ในสิ่งที่ควรจะรู้

    <O:p></O:p>
    มนุสมนุสโส มนุสเทโว มนุสอริโย<O:p></O:p>
    และเมื่อเป็นดั่งนี้เวทนาจึงไม่นำให้เกิดกิเลสตัณหา อันนำให้ประกอบอกุศลกรรม ต้องเปลี่ยนภูมิภพของจิตใจ เป็นไปในทางทุคติ คติที่ไม่ดีต่างๆ ดั่งที่กล่าว แต่เวทนานี้เองก็จะสนับสนุนใจให้มีพลังในอันที่จะละชั่วทำดี จึงทำให้เป็นมนุษย์ที่เรียกกันว่า มนุสสมนุสโส มนุษย์ที่เป็นมนุษย์ คือที่ตั้งอยู่ในศีลธรรม ซึ่งมนุษย์ควรจะตั้งอยู่ ยิ่งกว่านั้นก็เป็น มนุสสเทโว มนุษย์เทวดา คือเป็นผู้มี่ที่มีศีลธรรม มีหิริมีโอตตัปปะ มีสุกกะธรรม ธรรมะที่ขาวสะอาด ทางกาย ทางวาจา ทางใจ มีความสงบกายวาจาใจยิ่งขึ้น หรือยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็เป็น มนุสสอริโย มนุษย์ผู้เป็นอริยะ ดั่งเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสาวกทั้งหลายทุกชั้น

    <O:p></O:p>
    ข้อที่ตรัสสอนท่านพระโมคคัลลานะ<O:p></O:p>
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เมื่อทรงสั่งสอนท่านพระอัครสาวกทั้งสอง คือพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร เมื่อก่อนที่ท่านจะได้บรรลุถึงอรหัตมรรคอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ดังที่มีแสดงไว้ว่าท่านพระโมคคัลลานะได้กราบทูลถามว่า จะปฏิบัติอย่างไรจึงจะเป็นอันชื่อว่าน้อมไปในธรรม ที่ละตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสสอนโดยความว่า
    <O:p></O:p>
    อริยสาวกเมื่อได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่พึงยึดมั่น ดั่งนี้แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้ชัดธรรมทั้งปวง และเมื่อรู้ชัดธรรมทั้งปวง ก็กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง เมื่อกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงได้ เมื่อได้เสวยเวทนาอะไร จะเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ดี ก็ไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นก็ย่อมคลายความติดใจยินดี เพราะมีความเบื่อหน่าย หรือเมื่อกล่าวโดยลำดับ เมื่อเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
    <O:p></O:p>
    เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ตาม ก็น้อมระลึกถึงคำสั่งสอนที่ได้สดับมาว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น จึงพิจารณาเวทนาให้เห็นว่าเป็นอนิจจะคือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลง เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ย่อมบังเกิดความหน่าย เมื่อหน่ายก็สิ้นติดใจยินดี ไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดมั่นก็ไม่ต้องสะดุ้ง ดับกิเลสได้เฉพาะตัว ดั่งนี้ ท่านพระโมคคัลลานะก็ได้ปฏิบัติที่ทรงสั่งสอน ก็ได้บรรลุผลสูงสุดในพุทธศาสนา
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ข้อที่ตรัสสอนท่านพระสารีบุตร<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    แม้ท่านพระสารีบุตรก็เช่นเดียวกัน ได้ฟังธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอน แก่ ฑีฆนขะ อคิเวสนโคตร ในถ้ำสุกรฆาตาบนเขาคิชฌกูฏ พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนแก่ท่านปริพาชกผู้นั้น ซึ่งมีท่านพระสารีบุตรนั่งเฝ้าอยู่ด้วย โดยที่ท่านปริพาชกผู้นั้นได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า ทิฏฐิคือความคิดเห็นทุกอย่างตนไม่ชอบใจทั้งหมด
    <O:p></O:p>
    พระพุทธองค์จึงตรัสว่าถ้าเช่นนั้นทิฏฐิคือความคิดเห็นของท่าน ตามที่ท่านได้กล่าวนั้น ก็ไม่ควรแก่ท่านเช่นเดียวกัน จึงได้ตรัสสอนต่อไปว่า คนในโลกนี้ก็มีทิฏฐิต่างๆ กันอยู่ ๓ จำพวก คือจำพวก ๑ ก็เห็นว่าทิฏฐิความคิดเห็นทั้งหมดไม่ควรแก่ตน ตนไม่ชอบใจทั้งหมด จำพวกที่ ๒ ก็เห็นว่าทิฏฐิคือความคิดเห็นทั้งปวงควรแก่ตน ตนชอบใจทั้งหมด จำพวกที่ ๓ ก็เห็นว่าทิฏฐิคือความคิดเห็นทั้งปวง บางอย่างก็ควรแก่ตน ตนชอบ บางอย่างก็ไม่ควรแก่ตน ตนไม่ชอบ
    <O:p></O:p>
    พระพุทธองค์ก็ตรัสว่าบรรดาทิฏฐิคือความคิดเห็นทั้ง ๓ นี้ จำพวกที่ว่าทิฏฐิคือความคิดเห็นทั้งหมด ไม่ควรแก่ตน ตนไม่ชอบใจทั้งหมด ก็เป็นไปในข้างโทสะ ความขัดใจไม่ชอบใจ
    <O:p></O:p>
    ฝ่ายที่เห็นว่าควรแก่ตนทั้งหมดชอบใจทั้งหมด ก็เป็นไปในฝ่ายราคะความติดใจยินดี ฝ่ายที่เห็นว่าควรแก่ตน ชอบใจตนบางอย่าง ไม่ควรแก่ตน ไม่ชอบใจตนบางอย่าง ก็เป็นไปในด้านราคะความติดใจยินดีบ้าง โทสะความขัดใจไม่ชอบใจบ้าง
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น จึงควรละทิฏฐิความคิดเห็นที่เป็นไปดั่งนั้นทั้งหมด โดยไม่ยึดมั่นในทิฏฐิคือความคิดเห็นอันใดอันหนึ่ง เพราะว่าเมื่อมีความยึดมั่นอยู่ย่อมเป็นไปเพื่อความวิวาท เพื่อความพิฆาตหมายมั่น และเพื่อความเบียดเบียน แต่เมื่อไม่ยึดถือทั้งหมดย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ

    <O:p></O:p>
    ข้อที่ตรัสสอนเรื่องกายเวทนา<O:p></O:p>
    และพระพุทธองค์ก็ตรัสสอนอบรมต่อไป เพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่น ทรงยกกายขึ้นแสดง ว่ากายอันประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ นี้ เป็นกายที่ต้องอบต้องรมให้หายกลิ่น ต้องขัดสีมลทินกายกันอยู่เป็นประจำ เป็นสิ่งที่เกิดดับ เพราะฉะนั้น จึงควรพิจารณากายนี้ให้เห็นตามเป็นจริง ก็จะไม่ติดใจยินดีในกามทั้งหลาย
    <O:p></O:p>
    และเมื่อเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งก็ให้พิจารณา คือในขณะที่เสวยสุขเวทนา ก็ย่อมไม่เสวยทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา ในขณะที่เสวยทุกขเวทนา ก็ย่อมไม่เสวยสุขเวทนา อุเบกขาเวทนา ในขณะที่เสวยอุเบกขาเวทนา ก็ไม่เสวยสุขเวทนา ไม่เสวยทุกขเวทนา ย่อมเสวยเวทนาในเวลาหนึ่งแต่เพียงอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สุขก็ทุกข์ ไม่ทุกข์ก็อุเบกขา และเวทนาที่เสวยนี้ก็บังเกิดขึ้นตามปัจจัย และก็ต้องเสื่อมไปจางไปสลายไป
    <O:p></O:p>
    เมื่อพิจารณาให้เห็นเวทนาตามเป็นจริงดั่งนี้ก็จะเบื่อหน่าย จะคลายความติดใจยินดี จะหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น
    <O:p></O:p>
    ท่านพระสารีบุตรได้ฟังธรรมะที่ทรงแสดงแก่ท่านปริพาชกนั้น ก็เข้าใจในธรรมะที่ทรงแสดง ว่าตรัสสอนมิให้ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก ก็มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเป็นพระอรหันต์ขีณาสพดั่งนี้
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น เรื่องเวทนาจึงเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อหัดทำสติกำหนดเวทนาที่ประสบอยู่ให้รู้ตามเป็นจริงว่าเป็นอนิจจะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ก็จะเป็นการกั้นมิให้กิเลสตัณหาบังเกิดขึ้น เมื่อไม่เกิดกิเลสตัณหาขึ้นก็ไม่เกิดอกุศลกรรมต่างๆ ซึ่งบังเกิดสืบเนื่องไปจากกิเลสตัณหา
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นการที่มาตั้งสติกำหนดเวทนาดั่งนี้ จึงชื่อว่าเป็นการปฏิบัติ น้อมไปเพื่อธรรมะที่สิ้นตัณหา ก็คือเป็นโอปนยิโก น้อมไปเพื่อธรรมะที่สิ้นตัณหา อันเป็นวัตถุที่ประสงค์แห่งการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา และเป็นการปฏิบัติที่แม้ยังไม่สิ้นตัณหาได้ ก็เป็นการสกัดกั้นมิให้ตัณหาบังเกิดขึ้น มิให้กิเลสบังเกิดขึ้นอันสืบจากเวทนา หรือว่าบังเกิดขึ้นก็ไม่มาก ไม่มีกำลังเต็มที่ เป็นอันว่าเป็นการปฏิบัติบรรเทากิเลสไปด้วย ฉะนั้น โอปนยิโกคือปฏิบัติน้อมจิตไปเพื่อสิ้นตัณหานี้ จึงชื่อว่าเป็นการปฏิบัติที่ถูกตรงต่อพระธรรมคุณบทนี้
    <O:p></O:p>
    ต่อจากนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]

    พระธรรมคุณ ๑๔ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์<O:p></O:p>​


    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>​

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมะเป็น สวากขาโต ภควตาธัมโม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว สันทิฏฐิโก อันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดู โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา และ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ อันวิญญูคือผู้รู้พึงรู้เฉพาะตน ดั่งนี้
    <O:p></O:p>
    ได้แสดงอธิบายพระธรรมคุณตั้งแต่บทต้นมาโดยลำดับ จนถึงบทที่ ๕ โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา และจะได้เริ่มแสดงอธิบายต่อในบทที่ ๖ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ อันวิญญูคือผู้รู้พึงรู้เฉพาะตน พระธรรมคุณทั้ง ๖ บทนี้ย่อมเป็นพระธรรมคุณของธรรมะทั้งสิ้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
    <O:p></O:p>
    ธรรมะที่พระองค์ตรัสแล้วดีทุกข้อทุกบท ย่อมเป็นพระธรรมคุณบทที่ ๑ และย่อมประกอบด้วยอีก ๕ บท ด้วยกันทั้งหมด ไม่ใช่จำเพาะบทใดบทหนึ่ง และพระธรรมที่พระองค์ตรัสดีแล้วนั้น ก็ตรัสชี้ข้อปฏิบัติต่างๆ อันเป็นปฏิบัติธรรม เพื่อผลที่พึงได้พึงถึง ตั้งแต่ในขั้นโลกิยะเกี่ยวกับโลก จนถึงโลกุตรเหนือโลกพ้นโลก คือมรรคผลนิพพานซึ่งเรียกว่าเป็นปฏิเวธ คือเป็นธรรมะที่พึงเจาะแทงด้วยความรู้แจ้ง ที่มักจะใช้เป็นคำแปลของปฏิเวธว่ารู้แจ้งแทงตลอด ก็ล้วนประกอบด้วยพระธรรมคุณทั้งปวงนี้ ฉะนั้นความต่างกันแห่งบทพระธรรมคุณ จึงอยู่ที่พยัญชนะคือถ้อยคำอันเป็นบัญญัติโวหาร ซึ่งอาจที่จะบัญญัติขึ้นกล่าวเป็นภาษาคำพูดได้จำเพาะเจาะจงในแง่หนึ่งมุมหนึ่ง ฉะนั้นจึงต้องใช้กล่าวหลายๆ บท แต่ก็ย่อมมุ่งสู่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน รวมเข้าในพระธรรมคุณเป็นอันเดียวกัน<O:p></O:p>
    และยังมีบทอื่นๆ ที่แม้พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้เอง อันเป็นพระธรรมคุณอีกเป็นอันมาก เช่นที่ตรัสเอาไว้ว่า นิยานิโก เป็นธรรมะที่นำออก อุปสมิโก เป็นธรรมะที่นำให้เกิดความสงบรำงับ ปรินิพานิโก เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งสิ้น ดั่งนี้เป็นต้น ฉะนั้นพระธรรมคุณ ๖ บทนี้ จึงเป็นพระธรรมคุณที่ยกขึ้นมาแสดง มากล่าวสรรเสริญ มาสวดสาธยายจำเพาะบทที่มีเนื้อความสำคัญๆ เท่านั้น แม้บทอื่นที่ไม่ได้ยกมาแสดง มาสวดสรรเสริญกันใน ๖ บทนี้ จะหาว่าไม่สำคัญก็ไม่ได้ ก็เป็นบทสำคัญด้วยกันทั้งนั้น แต่ว่าก็จำที่จะต้องเลือกมาสำหรับกล่าวเป็นบทสรรเสริญ เป็นบทสวด ตามจำนวนที่เหมาะสมเท่านั้น

    <O:p></O:p>
    วิญญู ๓ จำพวก<O:p></O:p>
    และแม้ในบทที่ ๖ นี้ก็ย่อมมีอยู่ร่วมกับพระธรรมคุณที่แสดงมาข้างต้นทั้งหมด พระธรรมคุณที่แสดงมาข้างต้นทั้งหมดแต่ละบท ก็ย่อมมีร่วมอยู่ในบทอื่นๆ ด้วยกันทั้งหมด เช่นเดียวกันดังที่กล่าว
    <O:p></O:p>
    และในบทที่ ๖ นี้ที่เจาะจงไว้ว่า อันวิญญูคือผู้รู้พึงรู้เฉพาะตนนั้น ก็มีอธิบายโดยย่อว่า ที่ชื่อว่าวิญญูคือผู้รู้นั้นก็หมายถึง ผู้รู้จำพวกที่เรียกว่า อุคคติตัญญู รู้ธรรมที่เพียงแต่ยกหัวข้อขึ้นแสดง เป็นบุคคลจำพวกที่มีความรู้ไว และเป็นวิญญูคือผู้รู้จำพวกที่รองลงมาคือ วิปจิตัญญู รู้ธรรมต่อเมื่อแสดงอธิบายหัวข้อที่ยกขึ้น กับจำพวกที่รู้ช้าเข้าอันเรียกว่า เนยยะ คือพึงแนะนำได้ คือต้องอธิบายแนะนำหลายครั้งหลายหน อันเป็นบุคคลที่รู้ธรรมทั่วๆ ไป วิญญูคือผู้รู้หมายถึงรู้ธรรม ก็คือรู้ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ๓ จำพวกดังที่กล่าวมา และก็พึงรู้เฉพาะตน คือจะต้องรู้ด้วยตนเอง มิใช่ว่าจะมีผู้อื่นรู้แทนได้ หรือจะไปรู้แทนผู้อื่นได้
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ข้อว่าผู้รู้พึงรู้จำเพาะตน<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    อันผู้รู้พึงรู้จำเพาะตนนี้ก็เป็นหลักธรรมดาทั่วไปของความรู้ ของทุกๆ คน ยกตัวอย่างเช่น ความรู้ที่ได้จากการเรียน เช่นเรียนหนังสือเรียนวิทยาการต่างๆ ทุกๆ คนก็ต้องเรียนเอง ต้องศึกษาเองจึงจะรู้ ตั้งแต่เด็กๆ เป็นต้นมา ฉะนั้นผู้ปกครองเช่นมารดาบิดาจึงต้องส่งลูกหลานเข้าโรงเรียน ลูกหลานนั้นก็ได้รับอุปการะด้วยเสื้อผ้า ตำราเรียนเครื่องเรียน อาหารเป็นต้น จากมารดาบิดาผู้อุปการะทั้งหลาย แต่ก็ต้องเรียนเอง มารดาบิดาผู้อุปการะทั้งหลายจะเรียนแทนให้ไม่ได้ เด็กทุกคนต้องเรียนเอง ฉะนั้นแม้ความรู้ทั่วๆ ไป ศิลปวิทยาการทั่วๆ ไปก็ต้องรู้จำเพาะตนดังที่กล่าว และเมื่อเรียนรู้แล้วจะไปยกเอาความรู้ที่ตนเรียนมานั้นให้แก่ผู้อื่นก็ไม่ได้ ผู้อื่นเมื่อต้องการจะรู้ก็ต้องเรียนเอง ต้องศึกษาเอง ด้วยการอ่านการฟัง การคิดพินิจพิจารณา และการปฏิบัติต่างๆ ด้วยตนเองของทุกๆ คน จึงจะรู้ได้ในสิ่งที่ต้องการรู้นั้นๆ
    <O:p></O:p>
    แม้ในขั้นปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง จึงจะรู้ในธรรมะที่ปฏิบัตินั้น ในสิ่งที่ปฏิบัตินั้น
    <O:p></O:p>
    แม้ในการปฏิบัติทั่วๆ ไปที่เป็นสามัญก็เป็นเช่นนั้น เช่น การที่จะใช้มือปฏิบัติ เช่นเขียนหนังสือก็ต้องหัดมือให้เขียนหนังสือ และเมื่อหัดมือให้เขียนหนังสือมือข้างไหนที่หัดไว้ก็เขียนได้ แต่มือข้างที่ไม่หัดก็เขียนไม่ได้ เช่นหัดเขียนหนังสือด้วยมือขวา หัดมือขวาเขียนหนังสือ ก็ใช้มือขวาเขียนได้ แต่ครั้นมาใช้มือซ้ายเขียนหนังสือ มือซ้ายไม่ได้หัดไว้ก็เขียนไม่ได้เหมือนอย่างมือขวา เพราะฉะนั้น แม้ในการปฏิบัติของอวัยวะร่างกายก็ต้องอาศัยการฝึกหัดปฏิบัติกระทำ และก็กระทำได้จำเพาะเหมือนกัน แม้แต่มือก็ทำได้จำเพาะมือที่หัด มือที่ไม่หัดก็ทำไม่ได้ ยิ่งเป็นการปฏิบัติที่ละเอียดขึ้นก็จะต้องฝึกหัดให้ยิ่งขึ้น และก็ทำได้จำเพาะตน จำเพาะตน หรือจำเพาะที่ปฏิบัตินั้นอีกเหมือนกัน

    <O:p></O:p>
    การเรียนรู้ก็เพื่อปฏิบัติ<O:p></O:p>
    การเรียนให้รู้ก็เพื่อปฏิบัติ ถ้าหากว่าไม่ปฏิบัติก็ไม่บังเกิดเป็นผลขึ้นมาในทุกๆ อย่าง ทั้งในทางคดีโลกและทั้งในทางคดีธรรม ในทางคดีโลกก็เช่นว่า เรียนรู้การไสไม้ เป็นช่างไม้ แต่ว่าไม่ฝึกปฏิบัติด้วยมือในกิจการช่าง เช่นการไส การตัด การเจาะ เป็นต้น เพียงแต่เรียนรู้อย่างเดียว ก็ทำไม่ได้ สิ่งต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นในโลก ก็บังเกิดขึ้นจากการฝึกหัดกระทำขึ้น และก็ด้วยการลงมือกระทำทั้งนั้น แม้แต่ในการหุงข้าวต้มแกง แม้ว่าเรียนรู้วิธีหุงข้าวต้มแกง แต่ไม่ลงมือหุงข้าวต้มแกงด้วยตัวเองก็ทำไม่ได้ เรียนรู้ในวิธีที่จะขับขี่รถจักรยานแต่ไม่ฝึกหัดขับขี่ด้วยตัวเองก็ขับขี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการปฏิบัติ และเมื่อปฏิบัติก็ย่อมรู้ในสิ่งที่ตนปฏิบัตินั้น
    <O:p></O:p>
    มาถึงธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วก็เช่นเดียวกัน ทีแรกก็ต้องเรียนเพื่อรู้ว่าพระองค์ทรงสั่งสอนอย่างไร แม้เรียนเพื่อรู้ดังกล่าวนี้ก็ต้องเรียนด้วยตัวเอง เช่นต้องตั้งใจฟังธรรม ตั้งใจอ่านหนังสือธรรม ตั้งใจท่องบ่นจำทรง ตั้งใจเพ่งพินิจพิจารณา และขบเจาะด้วยทิฏฐิคือความเห็น
    <O:p></O:p>
    อันได้แก่ทำความเข้าใจในธรรมะที่ฟังนั้น เหล่านี้ก็ต้องเรียนรู้ดังกล่าวด้วยตัวเอง เรียนแทนกันไม่ได้ หรือเรียนให้กันไม่ได้ และเมื่อเรียนรู้แล้ว ถ้าเพียงเรียนรู้อย่างเดียวธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วนั้น ก็คงตั้งอยู่ในความจำ ในความเข้าใจ ไม่บังเกิดเป็นธรรมะทางปฏิบัติขึ้นมา ไม่เป็นศีล ไม่เป็นสมาธิ ไม่เป็นปัญญาขึ้นมา เหมือนอย่างว่าเรียนรู้วิธีสร้างบ้าน สร้างเรือน แต่ว่าไม่ทำการสร้างบ้านสร้างเรือนขึ้นมา ก็ไม่เกิดเป็นบ้านเป็นเรือนขึ้นมา ทุกๆ อย่างก็เช่นเดียวกัน
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    การปฏิบัติอันเรียกว่าภาวนา<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการปฏิบัติอันเรียกว่าภาวนา คือการทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นมา นี้คือปฏิบัติ ทำศีลให้มีขึ้นมาเป็นขึ้นมา ทำสมาธิให้มีขึ้นมาเป็นขึ้นมา ทำปัญญาให้มีขึ้นมาเป็นขึ้นมา ที่กายวาจาใจหรือจิตของตนเอง เมื่อเป็นดั่งนี้จึงจะเป็นธรรมะปฏิบัติขึ้นมา เพราะฉะนั้นการปฏิบัตินี้จึงมีคำเรียกว่าภาวนา ไม่ใช่หมายถึงว่าการระลึกถึงด้วยใจ หรือเปล่งวาจาสวดบทพุทธมนต์ต่างๆ เป็นต้น ดังที่เข้าใจกันโดยมาก เรียกกันโดยมาก
    <O:p></O:p>
    แต่ว่าภาวนานี้หมายถึงว่าทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้น คือทำศีลสมาธิปัญญาให้มีขึ้น ให้มีศีล มีสมาธิ มีปัญญาขึ้น ให้เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญาขึ้นมาดังที่กล่าว และเมื่อได้ปฏิบัติดั่งนี้ก็ย่อมรู้จำเพาะตนที่ตนเอง ว่าตนได้ปฏิบัติมีหรือเป็นขึ้นมาอย่างไร และเมื่อได้รับผลของการปฏิบัติควบคู่ไปกับการปฏิบัติดังที่เคยแสดงมาแล้วตั้งแต่เบื้องต้น จนถึงขั้นสูงสุดอันเรียกว่าปฏิเวธรู้แจ้งแทงตลอด ขั้นสูงสุดก็เป็นขั้นมรรคผลนิพพาน ก็รู้จำเพาะตนอีกเช่นเดียวกัน
    <O:p></O:p>
    ( เริ่ม ๑๑๑/๑ )แต่ว่าข้อที่ว่าอันวิญญูชนพึงรู้จำเพาะตนนี้ ไม่ได้หมายถึงว่าบอกกล่าวผู้อื่นไม่ได้ ก็บอกกล่าวผู้อื่นได้
    <O:p></O:p>
    ดังเช่นพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระธรรมด้วยพระองค์เองแล้ว ก็ได้ทรงแสดงธรรมะที่ตรัสรู้สั่งสอน แต่ก็ทรงสั่งสอนได้ในธรรมะ ที่ควรสั่งสอนให้รู้แจ้งเห็นจริง ทรงแสดงเหตุผลที่อาจตรองตามเห็นจริงได้ และก็ทรงแสดงมีปาฏิหาริย์ คือเป็นจริงทุกอย่าง และผู้ปฏิบัติพึงปฏิบัติได้จริง พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงสั่งสอนได้ดั่งนี้ จึงเกิดเป็นพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็น สวากขาโต ภควตาธัมโม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
    <O:p></O:p>
    แต่ในการบอกนั้นก็คือบอกทางปฏิบัติ เพื่อว่าผู้ฟังจะพึงรู้ทางที่ทรงบอก และปฏิบัติด้วยตนเองอีกเช่นเดียวกัน เพื่อให้รู้ธรรมะที่ตรัสสอนนั้นด้วยตัวเอง จึงจะเป็นผลที่ตนได้รับ ถ้าหากว่าไม่เดินไปตามทางที่ทรงสั่งสอนนั้น ก็ไม่ได้บรรลุถึงธรรมะที่ทรงสั่งสอน ไม่เห็นแจ้งธรรมะที่ทรงสั่งสอน เพราะฉะนั้นพระองค์ถึงได้ตรัสถึงพระองค์ไว้ว่า ตถาคตเป็นผู้บอก ท่านทั้งหลายต้องปฏิบัติด้วยตนเอง<O:p></O:p>
    ยกตัวอย่างง่ายๆ เหมือนอย่างว่า บุคคลได้เดินทางไปเห็นรมณีย์สถาน คือสถานที่น่ารื่นรมย์ใจในป่า เมื่อออกจากป่ากลับมาสู่บ้านก็มาเล่าให้เพื่อนฝูงญาติมิตรฟังได้ ว่าในป่าที่นั่นๆ มีสิ่งนั้นๆ ที่น่ารื่นรมย์ใจ ญาติมิตรเพื่อนฝูงที่ได้ฟังก็เข้าใจตามที่บอก แต่ว่าจะให้รู้เหมือนอย่างเห็นด้วยตาตัวเองไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อต้องการที่จะรู้ว่าน่ารื่นรมย์เพียงไร ก็ต้องเดินทางไปด้วยตัวเอง ไปดูด้วยตัวเองที่สถานถึงสถานที่นั้น และเมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะได้ทราบได้เองว่า ถ้อยคำที่ผู้มาก่อนบอกให้ฟังนั้นเป็นจริงเพียงไร เมื่อเป็นจริงตามที่ผู้มาก่อนเล่าให้ฟัง ก็ย่อมจะคิดหรือกล่าวขึ้นมาได้ด้วยตัวเองว่าเขาบอกจริง
    <O:p></O:p>
    แม้พระสาวกของพระพุทธเจ้าตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงเราทั้งหลายในปัจจุบัน ก็ได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตรัสแสดงถึงธรรมที่ได้ตรัสรู้แล้ว
    <O:p></O:p>
    และแสดงถึงผลต่างๆ ที่พระองค์ได้ทรงรับมา และผู้ที่ปฏิบัติตามทางที่พระองค์ทรงปฏิบัติจะพึงได้ต่างๆ ดังเช่น ตรัสแสดงถึงมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางนำไปสู่ความตรัสรู้ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ นำไปสู่วิชชาวิมุติ พ้นกิเลสและกองทุกข์ทั้งสิ้น เป็นบรมสุข ดังที่ตรัสแสดงไว้ว่านิพพานเป็นบรมสุข เป็นสุขอย่างยิ่ง
    <O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงบอกเอาไว้ดั่งนี้ บรรดาเราทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ฟังธรรมะที่ทรงสั่งสอน ก็ได้ความรู้อันเกิดจากการฟัง การเรียน และก็เมื่อกำหนดก็จดจำได้ และเมื่อพิจารณาก็มีความเข้าใจในธรรมะที่ทรงแสดง แต่ถ้าหากว่าไม่ปฏิบัติ คือไม่ดำเนินไปตามธรรมะที่ทรงแสดงคือมรรคมีองค์ ๘ ก็ไม่รู้จักมรรคมีองค์ ๘ นี้ทางปฏิบัติ และไม่รู้จักอริสัจจ์ ๔ ตามที่ทรงสั่งสอน ซึ่งจะเกิดปัญญาญาณรู้เห็นขึ้นได้จริง ก็ต้องดำเนินไปในมรรคมีองค์ ๘ ไม่ได้พบความสิ้นกิเลสกองทุกข์ ไม่ได้พบบรมสุข
    <O:p></O:p>
    ฉะนั้น เมื่อต้องการที่จะให้ได้มีความรู้ในธรรมะที่เป็นสวากขาตธรรมตามที่ตรัสแสดง จึงต้องปฏิบัติไปตามมรรคมีองค์ ๘ และก็ย่อมจะได้รับผลของการปฏิบัติ อันเป็นผลในฝ่ายดับความคับแค้นดับทุกข์ขึ้นโดยลำดับ และก็จะรู้เห็นในผลที่ตัวได้รับนั้นด้วยตัวเอง และก็ได้มีแสดงถึงท่านผู้ที่ได้บรรลุถึงผลที่สุด เป็นบรมสุขตามที่ตรัสสั่งสอน จึงได้เปล่งอุทานขึ้นว่า อโหพุทโธ อโหธัมโม อโหสังโฆ โอหนอพระพุทธเจ้า โอหนอพระธรรม โอหนอพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ดีถูกต้องจริง ธรรมะเป็นสวากขาตธรรมจริง พระสงฆ์ปฏิบัติดีจริง ดั่งนี้ ซึ่งเป็นการรู้ตามพระพุทธเจ้า
    <O:p></O:p>
    แต่ว่าการรู้ตามพระพุทธเจ้านั้น ก็ต้องหมายความว่าปฏิบัติไปตามทางที่ทรงสั่งสอน ตามทางที่ได้ทรงปฏิบัติแล้ว จึงได้รู้ได้เห็น และก็ได้รู้ได้เห็นด้วยตัวเอง จำเพาะตัวเองอีกเหมือนกัน แต่ก็อาจจะมาบอกกล่าวเล่าความแก่ผู้อื่นต่อไปได้<O:p></O:p>
    ดังที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าได้ทรงนำพระพุทธศาสนาสืบต่อมาโดยลำดับ จนถึงปัจจุบัน ท่านก็มาเล่าต่อๆ กันมา สอนต่อๆ กันมาถึงเราทั้งหลาย เราทั้งหลายจึงได้รู้ธรรมตามที่ท่านสั่งสอน และก็ปฏิบัติธรรมกันไปตามสติปัญญาสามารถ แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องรู้เห็นด้วยตัวเอง ต้องปฏิบัติเอง แม้ในการเรียนก็ต้องเรียนเองรู้เอง ปฏิบัติก็ต้องปฏิบัติเอง ผลที่ได้รับก็ได้รับเอง แต่ก็บอกกล่าวกันให้ผู้อื่นเรียนปฏิบัติต่อไปได้ เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจึงสมควรที่จะได้ตั้งใจฟัง ตั้งใจเรียน ตั้งใจปฏิบัติตามทางที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้
    <O:p></O:p>
    และเมื่อปฏิบัติก็ย่อมได้รับผลทันที อันเป็นผลของการปฏิบัติ แต่ว่าก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้จัก ว่าอะไรเป็นผลของธรรมปฏิบัติ อะไรเป็นผลของกิเลส ดังที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นๆ และเมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็จะทำให้เพิ่มความรู้จริง ในเหตุและผลยิ่งขึ้นด้วยตัวเอง ทำให้เจริญในธรรมปฏิบัติยิ่งขึ้นด้วยตัวเอง
    <O:p></O:p>
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดและตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    [​IMG]

    พระธรรมคุณ ๑๕ โอปนยิโก กำหนดดูจิต นิวรณ์<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์<O:p></O:p>​


    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>​

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมะเป็น สวากขาโต ภควตาธัมโม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว สันทิฏฐิโก อันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดู โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ อันวิญญู คือผู้รู้พึงรู้จำเพาะตน
    <O:p></O:p>
    ในข้อที่ ๖ นี้ได้แสดงอธิบายโดยทั่วไปมาแล้ว จะได้แสดงโดยความต่อเชื่อมกับข้อข้างต้น โดยเฉพาะคือ โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา โดยที่น้อมเข้ามาดูจิตมีราคะ หรือปราศจากราคะ มีโทสะ หรือปราศจากโทสะ มีโมหะ หรือปราศจากโมหะ โดยจำแนกจิตดังกล่าวออกทีละข้อ
    <O:p></O:p>
    ก็ดูจิตที่บังเกิดขึ้น ในความรู้ ความคิด ของตนเองนี่แหละ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อจิตมีราคะความติดใจยินดี ก็ตั้งสติกำหนดดูจิตดังกล่าว โดยจำแนกออกเป็น ๑ จิต ๒ อารมณ์ และ ๓ ตัวราคะความติดใจยินดีที่บังเกิดขึ้น ว่าทั้ง ๓ นี้ มาปรุงกันแต่งกันเป็นจิตมีราคะขึ้น และเมื่อแยกออกจากกันเสียได้ ก็จะเป็นจิตที่ปราศจากราคะ กำหนดดูจิตดั่งนี้

    <O:p></O:p>
    เวทนา เครื่องปรุงเวทนา<O:p></O:p>
    และเมื่อต้องการกำหนดดูสืบสาวออกไป ก็จะพบจิตที่มีราคะดังกล่าวนี้ ว่าเนื่องจากเวทนา คือความรู้เป็นสุขเป็นทุกข์หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขในอารมณ์ทั้งหลาย และโดยเฉพาะจิตที่มีราคะนั้นเมื่อเกิดเวทนาที่มีสุข และจิตก็รับเวทนาที่มีสุขนี้เป็นอารมณ์ จึงเกิดราคะขึ้น เพราะอารมณ์อันได้มาจากสุขเวทนาเป็นที่ตั้งของราคะ และหากจะสืบออกไปอีกก็จะพบกายนี้เองเป็นเครื่องปรุงเวทนา และจะพบอารมณ์ทางจิตเองด้วยเป็นเครื่องปรุงเวทนา เพราะว่าเวทนานั้นเป็นไปทางกายก็มี เป็นไปทางใจก็มี
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นเมื่อได้ตั้งสติกำหนดดูจิต จิตที่เป็นไปในปัจจุบันนี้แหละ ก็ย่อมจะพบว่าจิตนี้ย่อมรับอารมณ์อยู่เสมอ และอารมณ์ที่จิตรับนี้ เมื่อเป็นที่ตั้งของราคะหรือโลภะ ก็เกิดราคะหรือโลภะขึ้น เป็นที่ตั้งของโทสะก็เกิดโทสะขึ้น เป็นที่ตั้งของโมหะก็เกิดโมหะขึ้น จึงเป็นจิตที่มีราคะโทสะโมหะดังกล่าว ฉะนั้นเมื่อกำหนดดูจิตก็ย่อมจะพบอารมณ์ พบกิเลสที่บังเกิดขึ้นในจิต
    <O:p></O:p>
    หรือว่าเมื่อจิตไม่ปรุงแต่งดังกล่าวมา คือจิตอารมณ์กิเลสไม่มาปรุงแต่งกัน ก็เป็นจิตที่ปราศจากราคะโทสะโมหะ เป็นจิตที่สงบราคะโทสะโมหะ<O:p></O:p>
    เมื่อเป็นดั่งนี้ผู้ที่กำหนดดูจิต ย่อมพบอารมณ์ พบกิเลสที่บังเกิดขึ้นในจิตด้วย หรือว่าพบความสงบที่ปรากฏอยู่ในจิต
    <O:p></O:p>
    เช่นเดียวกับเมื่อกำหนดดูน้ำ จะเป็นน้ำในแม่น้ำ ในลำคลอง หรือแม้ในกระถางน้ำ โอ่งน้ำ ก็ย่อมจะพบสิ่งที่อยู่ในน้ำ เช่นพบก้อนกรวด พบต้นไม้ที่เกิดในน้ำเช่นจอกแหน บัว หรือพบปลาที่อยู่ในน้ำ พบตะกอน และหากน้ำนั้นใสไม่มีอะไรดังกล่าวก็ย่อมจะเห็นความใสสะอาดของน้ำ เพราะฉะนั้นสิ่งที่พบในน้ำก็เหมือนกับสิ่งที่พบในจิต เมื่อดูจิต คือย่อมจะพบอารมณ์ พบกิเลส หรือหากกิเลสสงบก็พบความสงบ หรือแม้มีภาวะอะไรอื่นทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่วบังเกิดขึ้นในจิต ก็ย่อมจะรู้ย่อมจะเห็น เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้า เมื่อได้ตรัสสอนให้กำหนดดูจิตให้รู้จิตว่าเป็นอย่างไร ก็ตรัสสอนให้ทำสติกำหนดดูให้รู้สิ่งที่อยู่ในจิต ดังที่กล่าว
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ธรรมานุปัสสนา<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    สิ่งที่อยู่ในจิตทั้งสิ้นนี้ก็รวมเข้าในคำว่าธรรมะ ในสติปัฏฐานข้อที่ ๔ ธรรมานุปัสสนาที่ตรัสสอนให้พิจารณาธรรมะ กำหนดธรรมะ ก็คือภาวะต่างๆ ที่บังเกิดขึ้นมีอยู่ในจิต และผู้ปฏิบัติในข้อธรรมานุปัสสนานี้ เมื่อปฏิบัติสืบเนื่องมาจากข้อจิตตานุปัสสนา ก็ย่อมจะได้เห็นอารมณ์เห็นกิเลส ที่บังเกิดขึ้นในจิต ที่มีอยู่ในจิต ก็เพราะว่าเมื่อดูจิต หากว่าจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ และก็ย่อมรู้ราคะที่มีอยู่ในจิตด้วย ตัวราคะที่มีอยู่ในจิตนี้แหละเป็นธรรมานุปัสสนาข้อ ๔ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ก็เช่นเดียวกัน โทสะโมหะก็เป็นข้อธรรมานุปัสสนาที่มีอยู่ในจิต<O:p></O:p>
    และแม้ว่าจิตปราศจากราคะโทสะโมหะ ความปราศจากราคะโทสะโมหะนั้นก็เป็นธรรมานุปัสสนาที่มีอยู่ในจิต แต่ว่าเป็นฝ่ายกุศล ส่วนฝ่ายราคะโทสะโมหะเป็นฝ่ายอกุศล
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าครั้นตรัสสอนให้ตั้งสติกำหนดดูจิตรู้จิต จิตมีราคะโทสะโมหะก็ให้รู้ หรือไม่มีก็ให้รู้ ดั่งนี้แล้ว จึงได้ตรัสสอนให้กำหนดดูธรรมะที่มีอยู่ในจิต คือให้กำหนดดูราคะโทสะโมหะ ที่บังเกิดขึ้นนั้นเอง หยิบยกขึ้นมาพิจารณา

    <O:p></O:p>
    ธรรมะในจิต<O:p></O:p>
    แต่ว่าในตอนนี้ก็ควรที่จะต้องกล่าวชี้แจงแทรกไว้ด้วยว่า ราคะโทสะโมหะนั้นเรียกว่าเป็นธรรมะด้วยหรือ ในข้อนี้จึงควรเข้าใจว่า อันที่จริงธรรมะนั้นใชัในความหมายเป็นกลางๆ ก็มี ดังพระบาลีที่ว่า กุสลาธรรมา ธรรมะทั้งหลายเป็นกุศล อกุสลาธรรมา ธรรมะทั้งหลายเป็นอกุศล อัพยากตาธรรมา ธรรมะทั้งหลายเป็นอัพยากฤต คือเป็นกลางๆ ไม่ยืนยันพยากรณ์ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล<O:p></O:p>
    ธรรมะนั้นใช้เฉพาะเป็นส่วนดีก็มี ส่วนที่ไม่ดีเรียกว่า อธรรม ดังพระบาลีที่ว่า น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ อุโภ สมวิปากิโน ธรรมมะคือส่วนดี อธรรมคือส่วนที่ไม่ดี ทั้งสองหามีวิบากคือผลเสมอกันไม่ อธมฺโม นิรยํ เนติ อธรรมนำไปสู่นิรยะที่แปลกันว่านรก คือถิ่นที่ไร้ความเจริญ ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ ส่วนธรรมให้ถึงสุคติ คือคติที่ดี ดั่งนี้
    <O:p></O:p>
    คำว่าธรรมะใช้หมายเป็นกลางๆ บ้าง ใช้หมายถึงส่วนที่ดีเท่านั้นบ้าง เพราะฉะนั้นเมื่อพบคำว่าธรรมะจึงต้องพิจารณาดูถึงคำที่ประกอบ จึงจะรู้ความหมายที่ต้องการที่ใช้ในที่นั้นๆ ได้ ดังที่แสดงในที่นี้มุ่งถึงส่วนที่เป็นกลางๆ เมื่อเป็นราคะโทสะโมหะ ก็เป็นอกุศลธรรม เมื่อเป็น อราคะ อโทสะ อโมหะ คุณ<?:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:pERSoNNAME w:st="on" ProductID="ที่ไม่ใช่ราคะ ไม่ใช่โทสะ">ที่ไม่ใช่ราคะ ไม่ใช่โทสะ</ST1:pERSoNNAME> ไม่ใช่โมหะ ก็เป็นกุศลธรรม
    <O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้กำหนดดูจิต โดยทรงแสดงเป็นนิวรณ์ทั้ง ๕
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    นิวรณ์ ๕<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    นิวรณ์นั้นก็คือกิเลสที่บังเกิดขึ้นในจิต กลุ้มรุมจิต คือทำจิตให้กลัดกลุ้ม กั้นจิตไว้ไม่ให้สงบเป็นสมาธิ และไม่ให้ได้ปัญญา ก็ได้แก่
    <O:p></O:p>
    กามฉันท์ ความพอใจรักใคร่ด้วยอำนาจของกิเลสกาม คือกิเลสเป็นเหตุใคร่ หรือในกามคืออารมณ์ที่น่ารักใคร่ปรารถนาพอใจทั้งหลาย กามฉันท์นี้ก็เป็น กิเลสกองราคะ
    <O:p></O:p>
    พยาบาท ความมุ่งร้ายหมายล้างผลาญให้พินาศ อันเป็นโทสะอย่างแรง ซึ่งก็รวมถึงโทสะที่เป็นอย่างปานกลาง อย่างเบา อย่างเบาก็คือจำพวกที่เรียกว่า ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่ง อันทำให้เริ่มหงุดหงิด อย่างกลางก็คือ โกธะ ความโกรธ คือขัดเคือง หรือ โทสะ เองที่แปลว่าประทุษร้าย ซึ่งหมายถึงประทุษร้ายใจตัวเองให้เร่าร้อน ต่อเมื่อมุ่งร้ายออกไปในภายนอก คือมุ่งให้ผู้ที่ตนโกรธวิบัติเสียหาย เป็นการมุ่งร้ายหมายล้างผลาญดังกล่าวจึงเป็น พยาบาท ซึ่งกิเลสกองนี้ก็คือ กองโทสะ
    <O:p></O:p>
    ถีนมิทธะ ความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม
    <O:p></O:p>
    อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญ และ
    <O:p></O:p>
    วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงสงสัย
    <O:p></O:p>
    ๓ ข้อนี้จัดเข้าในกิเลสกองโมหะ คือความหลง เว้นไว้แต่ข้อที่เรียกว่าความรำคาญ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กุกกุจจะ ความรำคาญ อันเป็นข้อที่ ๔ <O:p></O:p>
    สำหรับ อุทธัจจะ ความรำคาญนั้นพระอาจารย์ท่านใส่เข้าในกองโทสะ <O:p></O:p>
    ก็รวมเข้าเป็นนิวรณ์ ๕ ย่อเข้าก็เป็น ๓ คือ ราคะ โทสะ โมหะ นั้นเอง
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้ตั้งสติกำหนดดูนิวรณ์เหล่านี้ที่บังเกิดขึ้น นิวรณ์ข้อไหนบังเกิดขึ้นก็ตั้งสติกำหนดดูให้รู้จัก และให้รู้จักว่านิวรณ์เหล่านี้เกิดขึ้นมาจากอะไร จะดับไปอย่างไร และเมื่อดับไปแล้วจะไม่บังเกิดขึ้นได้อย่างไร
    <O:p></O:p>
    ซึ่งจะกล่าวเพียงย่อๆ ว่า เกิดขึ้นก็เพราะขาดสติกำหนดพิจารณาดูจิตที่รับอารมณ์ เมื่อมีสติกำหนดดูจิตที่รับอารมณ์ และพรากจิตเสียจากอารมณ์ได้ นิวรณ์ก็ดับ และเมื่อทำสติอยู่เนืองๆ ทำสติอยู่มากๆ ก็จะเกิดยากขึ้น จนถึงดับได้ทั้งหมด เมื่อการปฏิบัติในสตินั้นเป็นมรรคเป็นผลขึ้นมาในที่สุด แต่เมื่อยังไม่เป็นมรรคเป็นผลขึ้นมาในที่สุด ก็ต้องมีได้มีเสื่อม จึงต้องปฏิบัติทำสติกันอยู่เรื่อยๆ ไป ให้สติมากขึ้นไม่หลงลืม

    <O:p></O:p>
    เหตุเกิดนิวรณ์ เหตุดับนิวรณ์<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นจึงมาถึงข้อตัวเหตุให้เกิดนิวรณ์ และเหตุที่ดับนิวรณ์ ที่ได้กล่าวว่าเกิดขึ้นก็เพราะจิตรับอารมณ์ ดับก็เพราะจิตพรากออกจากอารมณ์ได้ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้ตั้งสติกำหนดอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ และให้กำหนดดูสังโยชน์คือความผูก
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    อายตนะ สังโยชน์<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    กำหนดอายตนะดังกล่าวนี้ก็คือให้ตั้งสติกำหนดทำความรู้จักรูป ให้ตั้งสติกำหนดทำความรู้จักตา ทำความรู้จักรูปที่ตาเห็น ตั้งสติกำหนดทำความรู้จักหูเสียง จมูกกลิ่น ลิ้นรส กายโผฏฐัพพะคือสิ่งที่กายถูกต้อง มโนใจ ธรรมะคือเรื่องราวที่ใจรู้ใจคิด
    <O:p></O:p>
    และให้ทำสติกำหนดดูสังโยชน์คือความผูกใจ ในเมื่อตากับรูปประจวบกัน หูกับเสียงประจวบกัน จมูกกับกลิ่นประจวบกัน ลิ้นกับรสประจวบกัน กายและโผฏฐัพะคือสิ่งที่กายถูกต้องประจวบกัน มโนคือใจ ธรรมะและเรื่องราวประจวบกัน อยู่ทุกขณะของทุกๆ คน จิตนี้เองก็จะเห็นรูป และก็ไม่ได้เห็นเปล่าๆ ยังผูกใจไว้ในรูปที่ตาเห็นด้วย
    <O:p></O:p>
    จิตนี้เองก็จะได้ยินเสียง จะได้ทราบกลิ่นได้ทราบรส ได้ทราบโผฏฐัพพะและได้รู้ได้คิดเรื่องราว ทั้งยังมีสังโยชน์คือผูกใจไว้ด้วยใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมะคือเรื่องราวเหล่านั้น ใจไม่ปล่อยใจยังผูกเอาไว้ ตัวความผูกนี่แหละตรัสว่าคือ ฉันทราคะ ความติดใจพอใจ คือความติดใจด้วยอำนาจของความพอใจ ซึ่งมีอาการเป็นราคะความติดใจยินดี
    <O:p></O:p>
    และแม้เป็นรูปเสียงเป็นต้นที่ไม่ใช่สิ่งที่รักใคร่ปรารถนาพอใจ เป็นสิ่งที่เกลียดไม่ชอบก็ผูกโกรธ ก็เป็นผูกเหมือนกัน เป็นสังโยชน์เหมือนกัน เพราะว่าโกรธของทุกๆ คนนั้นที่บังเกิดขึ้นในใจก็ว่าเพราะใจผูก ถ้าใจไม่ผูกในบุคคลที่โกรธในสิ่งที่โกรธ โกรธก็ไม่มี ก็เป็นสังโยชน์เหมือนกัน และแม้เป็นรูปเสียงเป็นต้นที่เป็นกลางๆ ไม่พอที่จะให้ชอบ ไม่พอที่จะให้ชัง แต่ว่าไม่รู้ในคุณโทษ ไม่รู้ในวิธีที่จะนำใจออก ก็ผูกเหมือนกัน เป็นความผูกหลงเอาไว้เพราะไม่รู้ในสิ่งเหล่านั้น<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นสังโยชน์นี้เองคือผูกใจ หรือใจผูก จึงหมายถึงราคะได้ด้วย โทสะได้ด้วย โมหะได้ด้วย เป็นผูกทั้งนั้น และเมื่อเป็นราคะโทสะโมหะขึ้น ราคะโทสะโมหะก็ผูกใจแน่นเข้าไปอีก ผูกเอาสิ่งเหล่านั้น คือผูกรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ และธรรมะที่ตาหูจมูกลิ้นกายและมนะคือใจได้ประจวบไว้ ผูกไว้ในใจด้วยกัน ไม่ปล่อย เพราะฉะนั้น นี้เองเป็นชนวนสำคัญที่ให้เกิดนิวรณ์ทั้ง ๕ หรือให้เกิดราคะโทสะโมหะ
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นเมื่อพระพุทธเจ้า ตรัสสอนให้กำหนดดูให้รู้จักราคะโทสะโมหะ หรือนิวรณ์ ๕ ที่โยงอยู่ในข้อจิตแยกออกมา ดูต่างหากให้ชัดเจน ก็ย่อมจะสืบสาวไปพบถึงต้นของนิวรณ์ หรือราคะโทสะโมหะ ก็คือตัวสังโยชน์ความผูกใจดังกล่าวนี้ที่บังเกิดขึ้น อาศัยอายตนะภายนอกและภายในมาประจวบกันอยู่ทุกขณะ เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติทำสติในข้อนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีอยู่เป็นประจำทุกเวลา
    <O:p></O:p>
    เพราะทุกคนนั้นก็จะต้องเห็นอะไร ได้ยินอะไร ได้ทราบกลิ่น รส โผฏฐัพพะ อะไรๆ และได้คิดได้รู้เรื่องอะไรๆ ทางอายตนะอยู่เป็นประจำ ตั้งแต่ตื่นจนหลับอยู่ทุกๆ วัน ทุกๆ เวลา ถ้าหากว่าขาดสติเมื่อไรสังโยชน์ก็เกิดขึ้นได้เมื่อนั้น และบรรดากิเลสนิวรณ์ทั้งหลายก็บังเกิดขึ้นได้เมื่อนั้น
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นจะปฏิบัติดับกิเลสนิวรณ์ได้ก็ต้องทำสตินี่แหละ ก็คอยกำหนดดูต้นทาง ก็คืออายตนะภายในภายนอกที่ประจวบกันอยู่ และเมื่อมีสติกำหนดอยู่ดั่งนี้สังโยชน์ก็จะบังเกิดยากขึ้น และที่บังเกิดขึ้นแล้วก็จะดับไป เพราะฉะนั้นสติในข้อธรรมะนี้จึงเป็นข้อที่ละเอียดยิ่งขึ้นที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเอาไว้
    <O:p></O:p>
    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    พระธรรมคุณ ๑๖ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ จิตตานุปัสสนา ขันธ์ ๕<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>​


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p></O:p>​


    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p></O:p>​


    คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์<O:p></O:p>​


    อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ<O:p></O:p>​

    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p></O:p>
    ธรรมะเป็น สวากขาโต ภควตาธัมโม ธรรมะอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว สันทิฏฐิโก อันผู้ปฏิบัติผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดู โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา และ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ อันวิญญูผู้รู้พึงรู้เฉพาะตน ดั่งนี้ ธรรมะทุกข้อทุกบทย่อมประกอบด้วยลักษณะที่เป็นพระธรรมคุณทั้ง ๖ บทนี้ และได้กำลังแสดงอธิบายในข้อที่ ๖ ที่มุ่งถึงผู้รู้พึงรู้จำเพาะตน
    <O:p></O:p>
    และในการอธิบายก็ได้ยกเอาสติปัฏฐานทั้ง ๔ มาอธิบายเข้าในพระธรรมคุณ ตั้งแต่ในพระธรรมคุณบทข้างต้น จับแต่สติปัฏฐานตั้งสติกำหนดพิจารณากาย อันเป็นข้อที่ ๑ กำหนดพิจารณาเวทนาอันเป็นข้อที่ ๒ กำหนดพิจารณาจิต อันเป็นข้อที่ ๓ และกำหนดพิจารณาธรรม อันเป็นข้อที่ ๔ โดยที่ได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันมาโดยลำดับ
    <O:p></O:p>
    และโดยเฉพาะในข้อจิตและข้อธรรมนี้ก็ได้แสดงอธิบายมาแล้ว เป็นการทำความเข้าใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกัน และในส่วนจำเพาะของข้อ ซึ่งก็จะได้แสดงอธิบายในข้อตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรมต่อไป แต่ก็ควรที่จะได้กลับกล่าวย้อนถึงอนุสนธิคือความต่อเนื่องกันสักเล็กน้อย ( เริ่ม ๑๑๒/๑ )คือเมื่อจับพิจารณาจิต รู้จิต ก็ย่อมจะรู้ธรรมะในจิตด้วย เพราะว่าจิตเป็นอย่างไรก็สุดแต่ธรรมะที่ตั้งอยู่ในจิต ดังเช่นจิตมีราคะ ก็เพราะมีราคะตั้งอยู่ในจิต จิตมีโทสะโมหะก็เพราะมีโทสะโมหะตั้งอยู่ในจิต ลำพังจิตเองนั้นเป็นกลางๆ

    <O:p></O:p>
    จิตและเจตสิก<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้น ในอภิธรรมจึงได้แสดงถึง จิตและเจตสิกเป็นข้อที่ ๑ ข้อที่ ๒ รูป และนิพพานเป็นข้อที่ ๓ ข้อที่ ๔ และโดยเฉพาะจิตและเจตสิกนี้ เจตสิกก็คือธรรมะที่เกิดขึ้นในจิต โดยทั่วไปก็คือธรรมะในข้อธรรมานุปัสสนานี้เอง เป็นธรรมะที่บังเกิดขึ้นในจิต ฉะนั้นเมื่อกำหนดดูจิต ก็ย่อมจะเห็นธรรมะที่ตั้งอยู่ในจิต หรือเจตสิกดังกล่าวนี้ด้วย
    <O:p></O:p>
    ถ้าไม่มีธรรมะตั้งอยู่ในจิต ตัวจิตเองก็เป็นธรรมดาไม่เป็นอะไร คือไม่เป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว จะกล่าวว่าเป็นกลางๆ ก็ได้ จิตก็คงตั้งอยู่ในสภาพเป็นธาตุรู้ ที่เรียกวิญญาณธาตุ ธาตุรู้ และมีลักษณะที่ปภัสสรคือผุดผ่อง ความปภัสสรคือผุดผ่อง กับความเป็นธาตุรู้เป็นธรรมชาติธรรมดาของจิต
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นลำพังจิตเองท่านจึงเปรียบเหมือนน้ำที่ไม่มีสี แต่ว่าน้ำนั้นกลายเป็นน้ำมีสีก็เพราะเมื่อมีสีแดงผสมก็เป็นน้ำสีแดง มีสีเขียวผสมก็เป็นน้ำสีเขียวก็เป็นน้ำสีเขียว มีสีเหลืองผสมก็เป็นน้ำสีเหลือง ดั่งนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นจิตที่เป็นจิตมีราคะ หรือมีโทสะ มีโมหะ ก็เพราะมีราคะมีโทสะมีโมหะเข้าผสม และเมื่อมองดูจิตที่เป็นอย่างไรก็จะต้องเห็นธรรมะที่ผสมอยู่ในจิตด้วย เหมือนอย่างมองดูน้ำที่ผสมสี ก็ย่อมจะเห็นสีของน้ำ เป็นสีแดง สีเขียว เหลืองเป็นต้น ดังกล่าวนั้นด้วย เพราะฉะนั้น จึงพึงทำความเข้าใจเป็นพื้นฐานดั่งนี้
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    กามาวจรจิต<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    และก็พึงทำความเข้าใจต่อไปอีกว่า อันธรรมะที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ในจิตนั้น เมื่อกล่าวรวมเข้ามาก็เป็น ๓ คือเป็นอกุศลธรรม ธรรมะที่เป็นอกุศล เป็นกุศลธรรม ธรรมะที่เป็นกุศล เป็นอัพยากตธรรม ธรรมะที่เป็นอัพยากฤต คือเป็นกลางๆ มิใช่กุศลมิใช่อกุศล ธรรมะที่ตั้งอยู่ในจิตก็รวมเข้าเป็นธรรมะ ๓ กอง หรือ ๓ ชนิด ดั่งนี้ และจิตที่เป็นสามัญ ซึ่งเรียกว่าเป็น กามาวจรจิต จิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม หยั่งลงในกามนั้นก็ย่อมเป็นจิตมีราคะ มีโทสะ หรือมีโมหะ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ปฏิบัติในจิตตานุปัสสนากำหนดพิจารณาจิต ดูจิต ก็ทรงตั้งต้นว่าจิตมีราคะ หรือปราศจากราคะ ก็ให้รู้ดังนี้เป็นต้น เพราะว่าพื้นของจิตที่เป็นกามาวจรของโลกทั่วไปนั้น ก็ย่อมประกอบด้วยกิเลส ๓ กองนี้อยู่ด้วยกัน
    <O:p></O:p>
    ฉะนั้นตรัสสอนให้กำหนดดูจิต มุ่งดูที่ตัวจิตว่าเป็นอย่างไร คือจิตมีราคะ หรือปราศจากราคะเป็นต้นก็ให้รู้ดั่งนี้แล้ว จึงได้ตรัสสอนให้ตั้งสติกำหนดดูธรรมะที่บังเกิดขึ้นในจิตโดยตรง เป็นข้อที่ ๔ อันนับว่าเป็นข้อสำคัญ

    <O:p></O:p>
    นิวรณ์ ๕ คือราคะโทสะโมหะ<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นจึงได้ตรัสสอนตั้งต้นให้กำหนดดูจิตอันประกอบด้วยนิวรณ์ทั้ง ๕ ก็คือดูนิวรณ์ทั้ง ๕ มุ่งดูนิวรณ์ทั้ง ๕ ที่บังเกิดขึ้นในจิต นิวรณ์ทั้ง ๕ นี้ก็คือราคะโทสะโมหะนั้นแหละ แต่ว่าตรัสขยายออกไปเป็น ๕ และเรื่องนิวรณ์ทั้ง ๕ นี้ก็ได้แสดงแล้ว ทั้งคำว่าชื่อของนิวรณ์ พร้อมทั้งคำว่านิวรณ์แปลว่าอะไร หมายถึงอะไร และ ๕ ข้อนั้นมีอะไรบ้าง และทั้ง ๕ ข้อนั้นก็รวมเข้าในกิเลส ๓ กอง คือราคะโทสะโมหะนั้นเอง
    <O:p></O:p>
    ตรัสสอนให้กำหนดดูนิวรณ์เหล่านี้ที่บังเกิดขึ้นในจิต นิวรณ์ข้อไหนบังเกิดขึ้นในจิต ก็ให้รู้ และให้รู้ถึงประการที่ทำให้นิวรณ์เกิดขึ้น ให้รู้ถึงประการที่จะละนิวรณ์ได้ ให้รู้ถึงประการที่จะปฏิบัติทำนิวรณ์ที่ละแล้วไม่ให้บังเกิดขึ้นอีก และประการทั้งปวงดังที่กล่าวมานี้ก็ได้มีพระพุทธาธิบายไว้จำเพาะข้อๆ โดยประการต่างๆ แต่ว่าในที่นี้ได้เว้นประการอื่น แสดงจับเข้ามาตามสายของ ขันธ์ อายตนะ สังโยชน์ ที่ตรัสไว้ตามลำดับในข้อธรรมานุปัสสนา นี่แหละไม่ยกมาจากที่อื่น<O:p></O:p>
    ก็คือว่าประการที่ให้นิวรณ์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ในจิต ก็ได้แก่สังโยชน์คือความผูกใจในอารมณ์คือเรื่องที่ผ่านทางอายตนะมีตาหูเป็นต้น เมื่อเกิดอารมณ์คือเรื่องที่จิตนี้รับเข้ามาทางอายตนะมีตาหูเป็นต้น ก็มีสังโยชน์คือผูก คือจิตผูกอยู่กับอารมณ์ หรืออารมณ์ผูกอยู่กับจิต ตัวความผูกนี้เอง ก็ทำให้แสดงอาการเป็นผูกใจชอบ ดั่งนี้ ก็เกิดเป็นกามฉันท์ขึ้น ผูกใจโกรธก็เกิดเป็นโทสะพยาบาทขึ้น ผูกใจหลงก็เกิดเป็นถีนมิทธะความง่วงงุนเคลิบเคลิ้ม กุกกุจจะความฟุ้งซ่านรำคาญ วิจิกิจฉาความเคลือบแคลงสงสัย แต่ว่าสำหรับข้อความรำคาญที่คู่กับความฟุ้งซ่านนั้น พระอาจารย์ท่านจัดเข้าในกองโทสะก็มี ก็เป็นอันว่าตัวสังโยชน์คือผูกใจนี่แหละ เป็นต้นนำให้เป็นนิวรณ์ขึ้นมาทั้ง ๕ นั้น ดั่งนี้ก็ได้แสดงมาแล้ว
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ขันธ์ ๕ อายตนะ ๖<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ในวันนี้ก็จะได้กล่าวเพิ่มเติมตามพระพุทธโอวาทอีกว่า อันนิวรณ์ สังโยชน์ ผูกใจดังที่กล่าวมานี้ ก็อาศัยขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ เหล่านี้แหละบังเกิดขึ้น ทุกคนมีขันธ์ ๕ มีอายตนะ ๖ มาตั้งแต่ถือกำเนิดเกิดก่อขึ้นในครรภ์ของมารดา ก็เริ่มมีขันธ์ ๕ มีอายตนะ ๖ จนถึงเมื่อสมบูรณ์จึงได้คลอดออกมา มีขันธ์ ๕ มีอายตนะทั้ง ๖ เว้นไว้แต่บางคนที่บกพร่อง เช่นคลอดออกมาขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ บางอย่างพิกลพิการ เช่นว่าตาบอดเป็นต้น
    <O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นขันธ์อายตนะเหล่านี้จึงได้ชื่อว่าเป็นวิบากขันธ์ ขันธ์ที่เป็นวิบาก วิบากอายตนะ อายตนะคือวิบาก คือเป็นผลของกรรมเก่า โดยเฉพาะก็คือชนกกรรม กรรมที่นำให้เกิดมาตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ และขันธ์ ๕ และอายตนะ ๖ เหล่านี้ เมื่อเป็นวิบากจึงเป็นของกลางๆ ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป เพราะเป็นตัวผล แต่ว่าก็เป็นที่อาศัยบังเกิดขึ้นของกิเลส ของบุญ และบาป แต่ตัวขันธ์ ตัวอายตนะเอง ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป
    <O:p></O:p>
    ในข้อนี้เมื่อนึกเทียบดูอย่างง่ายๆ เช่น คนที่ไปตีใคร ก็ต้องใช้มือตี หรือว่าเอามือจับไม้ไปตีเขา คนที่ตีนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้ตี และชื่อว่าได้กระทำการเบียดเบียนผู้อื่นด้วยการตี เป็นผู้ที่ได้กระทำความชั่วอันเป็นบาป เพราะเหตุที่ หรือในข้อที่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยการตี แต่ว่ามือหรือไม้ที่ใช้ตีเขานั้นไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป แม้เมื่อใช้มือหยิบของทำบุญเช่นใส่บาตรพระ หรือว่าให้แก่ผู้ที่ควรสงเคราะห์ เป็นการทำทาน ผู้ที่กระทำนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ทำบุญทำทาน แต่ว่ามือที่หยิบของให้เขานั้นไม่ชื่อว่าเป็นบุญหรือเป็นบาปอย่างไร เพราะเป็นเครื่องมือสำหรับที่จะใช้ ดังที่กล่าวมานี้ก็ยกขึ้นเป็นตัวอย่าง เพื่อแสดงว่าขันธ์อายตนะนั้นไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป
    <O:p></O:p>
    แต่เป็นเครื่องมือสำหรับที่จะทำบุญทำบาปได้ การทำบุญทำบาปก็ต้องอาศัยขันธ์อาศัยอายตนะทำ ผู้ทำก็เป็นบุญเป็นบาป แต่ว่าขันธ์อายตนะนั้นไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป เพราะฉะนั้นขันธ์อายตนะนี้จึงเป็นกลางๆ อันเรียกว่าอัพยากตธรรม ธรรมะที่เป็นอัพยากฤต ไม่ยืนยันว่าเป็นบุญหรือเป็นบาป

    <O:p></O:p>
    ข้อพิจารณาให้รู้จักขันธ์ ๕<O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าครั้นตรัสแสดงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เริ่มด้วยข้อนิวรณ์ ต่อจากข้อนิวรณ์จึงได้ทรงแสดงขันธ์ ๕ คือขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการ อันได้แก่ตั้งสติกำหนดพิจารณาให้รู้จักขันธ์ ๕ อันเรียกว่าอุปาทานขันธ์ ขันธ์เป็นที่ยึดถือ ว่ารูปอย่างนี้ ความบังเกิดขึ้นแห่งรูปอย่างนี้ ความดับไปแห่งรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาอย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาอย่างนี้ ความดับไปแห่งสัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ ความบังเกิดขึ้นแห่งสังขารอย่างนี้ ความดับไปแห่งสังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณอย่างนี้ ความดับไปแห่งวิญญาณอย่างนี้
    <O:p></O:p>
    คือกำหนดดูให้รู้จัก ตัวรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พร้อมทั้งความเกิดพร้อมทั้งความดับ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ สำหรับความกำหนดดูให้รู้จัก พร้อมทั้งความเกิดความดับนี้ พึงตั้งสติกำหนดพิจารณาดู ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนก่อน ให้รู้จักว่า รูป ก็คือรูปกายอันนี้ อันประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้ง ๔ เวทนา ก็คือความรู้นี้เอง ซึ่งเป็นความรู้สุขรู้ทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข เพราะว่าที่จะเป็นสุขเป็นทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข ทางกายทางใจ ที่บังเกิดขึ้นแก่ทุกๆ คน ก็โดยที่ทุกๆ คนรู้นี้เอง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข ก็เป็นขึ้นด้วยความรู้
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    ถ้าไม่มีความรู้แล้ว อาการที่เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขก็ไม่ปรากฏ
    <?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นตัวเวทนานี้จึงเป็นตัวรู้ ดังจะพึงเห็นได้ว่าเมื่อฉีดยาชาที่ร่างกาย และหมอก็ทำการผ่าตัดที่ร่างกายตรงนั้น ไม่ปรากฏเป็นทุกข์ก็เพราะว่าไม่มีตัวรู้อยู่ที่ร่างกายส่วนนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อไม่มีตัวรู้หมอจะทำอะไรก็ไม่มีเจ็บ ทุกขเวทนาก็ไม่เกิด หรือแม้สุขเวทนาก็ไม่เกิดเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นที่เรียกว่าสุขทุกข์หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขทางกายทางใจ จึงอยู่ที่รู้นี้เอง รู้ที่มีอาการสบายก็เรียกว่าสุข รู้ที่มีอาการไม่สบายก็เรียกว่าทุกข์ รู้ที่มีอาการเป็นกลางๆ ก็เรียกว่าไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ก็ให้รู้จักว่านี่คือเวทนา
    <O:p></O:p>
    มาถึง สัญญา ให้รู้จักว่าก็คือความจำได้หมายรู้ ที่จำรูปจำเสียงจำกลิ่นจำรสจำโผฏฐัพพะ จำเรื่องราวอะไรต่างๆ ได้ นี่ก็คือสัญญา สังขาร ก็คือความคิดปรุง หรือความปรุงคิดทางใจ ก็คิดเรื่องรูปบ้างเรื่องเสียงบ้างเรื่องกลิ่นบ้างเรื่องรสบ้างเรื่องโผฏฐัพพะบ้าง เรื่องของเรื่องต่างๆ เหล่านี้บ้าง คิดดีบ้าง คิดไม่ดีบ้าง คิดเป็นกลางๆ บ้าง นี่ก็เป็นสังขาร ( เริ่ม ๑๑๒/๒ ) การเห็น การได้ยิน การทราบ การคิด การรู้ ต่างๆ เหล่านี้ก็เป็น วิญญาณ แม้สัญญาสังขารวิญญาณทั้ง ๓ นี้ ก็เป็นความรู้อีกเหมือนกัน ถ้าไม่มีความรู้อยู่ ก็ไม่เป็นสัญญา ไม่เป็นสังขาร ไม่เป็นวิญญาณ แต่ว่าความรู้นั้น เมื่อเป็นความรู้จำก็เป็นสัญญา รู้คิดปรุงหรือปรุงคิดก็เป็นสังขาร รู้เห็นรู้ได้ยินก็เป็นวิญญาณ

    <O:p></O:p>
    ขันธ์ ๕ เกิดดับเป็นธรรมดา<O:p></O:p>
    เพราะฉะนั้นก็ทำความรู้จักขันธ์ ๕ ดั่งนี้ ที่ตนเอง รูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้ สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้
    <O:p></O:p>
    และก็ให้รู้ความเกิดความดับ ว่าทั้ง ๕ นี้ก็มีความเกิดความดับเป็นธรรมดา และประการที่ทำให้ เกิด เป็นอย่างไร ประการที่ ดับ เป็นอย่างไร ก็ต้องกำหนดไปตามข้ออายตนะได้ ก็เกิดดับทางอายตนะนั่นแหละ แต่ว่าในวันนี้อธิบายเพียงเท่านี้ เกิดดับของขันธ์ ๕ ทางอายตนะอย่างไร จะได้ไปว่าในข้ออายตนะต่อไป ตลอดจนถึงกิเลสที่สืบเนื่อง
    <O:p></O:p>
    ต่อจากนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวด และตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>​


     

แชร์หน้านี้

Loading...