ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-ชาติ, 16 ตุลาคม 2013.

  1. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    พี่คะ
    เมิลอยากถามเรื่องอุเบกขาพระไตรปิฏกหน่อยคะ ว่าจริง ๆ แล้วความหมายคืออะไรกันแน่คะ
    คือว่าเมิลไปอ่านกระทู้คนอื่นอีกแล้วให้สงสัย เพราะพอถึงตรงที่สิ่งที่รับรู้ไม่ใช่เรา มันแยกส่วนกันอยู่ก็จบคะ ... คือบางทีก็จบ เพราะเลือกได้ว่าจะ respond ต่อสถานการณ์นั้นอย่างไร จะทำแบบที่เคยทำ หรือทำแบบอื่นดี เพราะที่ทำไปจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้รู้สึกมีตนเป็นส่วนร่วมลงไปด้วย เพราะแยกกันอยู่
     
  2. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    เมิลอยากถามเรื่องอุเบกขาพระไตรปิฏกหน่อยคะ ว่าจริง ๆ แล้วความหมายคืออะไรกันแน่คะ

    +++ คำว่า "อุเบกขา" มีได้หลายนัยยะ เลยต้องไปเอามาจาก วิกิพีเดีย ซึ่งแยกไว้ดังนี้

    +++ อุเบกขา10ประเภท

    1. ฉฬงฺคุเปกขา อุเบกขาประกอบด้วย องค์ 6 คือ การวางเฉยในอายตนะทั้ง 6

    +++ ตรงนี้คือ อาการที่ "เข้าฐาน และ อยู่ในฐาน" ไม่ส่งออกไปใน "กามาวจร" ผลที่เกิด คือ วางเฉยในอายตนะทั้ง 6

    2. พฺรหฺมวิหารุเปกฺขา อุเบกขาในพรหมวิหาร

    +++ ผลจากการ "ตั้งมั่นได้ใน ปัฏฐาน" จนถึงอาการ "เฉย" ตรงนี้เป็น อุเบกขาในพรหมวิหาร หากต่อออกไปจนถึง "ตื่น และ เปล่งรังสี" ก็จะเป็น อาภัสสระพรหม

    3. โพชฺฌงฺคุเปกฺขา อุเบกขาในโพชฌงค์ คือ อุเบกขาซึ่งอิงวิราคะ อิงวิเวก

    +++ ในขณะที่ "อยู่" ในเฉยนั้น ย่อมไม่เสพใน กามคุณ 5 นับเป็น ดังนั้น ราคะ-วิราคะ จึงไม่ยุ่งเกี่ยว จึงเป็น วิเวก ปลีกตัวออกไป (จาก กามาวจร ทั้งมวล)

    4. วิริยุเปกฺขา อุเบกขาใน วิริยะ คือ ทางสายกลางในการทำความเพียร ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป

    +++ การ "อยู่ และ แช่" จะกล่าวว่า เป็นความเพียร ก็ไม่ใช่ จะกล่าวว่า ไร้ความเพียร ก็ไม่ได้ ตรงนี้อยู่ตรงกลางคือ อุเบกขาใน วิริยะ

    5. สงฺขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร คือการไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5

    +++ ในขณะที่ "แช่อยู่" นั้น อาการจะแปรสภาพไปอย่างไรก็ตาม ความยึดใด ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น ตรงนี้เป็น สงฺขารุเปกขา (มันเปลี่ยน แต่ เราไม่เปลี่ยน)

    6. เวทนูเปกฺขา อุเบกขาในเวทนา ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข

    +++ จากการปฏิบัติตรงนี้ เวทนา ไม่ใช่เรา มันเป็นมัน ส่วน เราเป็นเรา (แยกเวทนา) มีสภาพเป็น เราเฉยอยู่ ส่วนเวทนา ถูกรู้

    7. วิปสฺสนูเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา อันเกิดจากเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    +++ ตรงนี้คือ อาการที่เรา "รู้อยู่ เฉยอยู่" ส่วนสรรพสิ่งถูกรู้ และ สรรพสิ่งเกิดดับในมิติใครมิติมัน บทแรกในการฝึก "สัพเพธัมมาอนัตตา" ที่สวนจัตุจักร

    8. ตตฺรมชูฌตฺตุเปกขา อุเบกขาในเจตสิก หรืออุเบกขา ที่ยังธรรมทั้งหลาย ที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน

    +++ สรรพสิ่งเกิดดับในมิติใครมิติมัน เสมอเหมือนกันทั้งหมด และ เรารู้ได้ทั้งหมด โดยไม่มีอาการของ "จิตส่งออก" ตรงนี้เป็น อุเบกขาในเจตสิก

    9. ฌานุเปกฺขา อุเบกขาในฌาน

    +++ ในขณะที่ฝึก "สัพเพธัมมาอนัตตา" ที่สวนจัตุจักรนั้น สภาวะรู้ในขณะนั้น ๆ มีเสถียรภาพสูง มีความลึกในระดับ ฌาณ จึงกล่าวว่าเป็น "ฌานุเปกฺขา"

    10. ปาริสุทฺธุเปกฺขา อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก คือมีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา

    +++ สภาวะรู้ ในขณะนั้น บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรมารบกวนได้ ไม่ว่าสิ่งใดที่ปรากฏเข้ามา จะถูกแยกออกไปเป็น "มิติใคร มิติมัน" ในขณะนั้น ๆ ทันที

    คือว่าเมิลไปอ่านกระทู้คนอื่นอีกแล้วให้สงสัย เพราะพอถึงตรงที่สิ่งที่รับรู้ไม่ใช่เรา มันแยกส่วนกันอยู่ก็จบคะ ... คือบางทีก็จบ เพราะเลือกได้ว่าจะ respond ต่อสถานการณ์นั้นอย่างไร จะทำแบบที่เคยทำ หรือทำแบบอื่นดี เพราะที่ทำไปจริง ๆ แล้วก็ไม่ได้รู้สึกมีตนเป็นส่วนร่วมลงไปด้วย เพราะแยกกันอยู่

    +++ มันก็เป็นอย่างงั้นนั่นแหละ ทุกอย่างเริ่มมาจาก เข้าฐาน - ฐานถูกรู้ - แยกฐาน - แยกสรรพสิ่ง - เห็นมิติ ต่าง ๆ ภาษา มันจะว่าอะไรก็ช่าง มันจะเห็นอาการตามภาษาไม่ได้หรอก มันต้องเห็นจากการลงมือทำเท่านั้นแหละ จากนั้นจึงค่อยไปเอาภาษาจาก พระไตรปิฏก ในภายหลัง

    +++ ดังนั้น "อุเบกขา 10 อย่าง" ตรงนี้ ให้ลอง MAP จิตกลับไปในสถานการณ์ของการฝึก "สัพเพธัมมาอนัตตา" ที่สวนจัตุจักร แล้วไล่อาการดู ว่าที่จริงแล้ว "อุเบกขาในแต่ละขั้น แต่ละตอน" มันเป็นอย่างไร พระไตรปิฏก พูดว่าอย่างไร แต่เมื่อทำได้แล้ว มันก็แค่นั้นเอง ไม่มีอะไรเป็นอะไรหรอก ลอง MAP จิตเราจิตเขาเล่น ๆ ดูก็ได้ ก็จะรู้ได้เองว่า "ใครอยู่ตรงไหน" เท่านั้นเอง
     
  3. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    พี่คะ ถ้าจะทำสภาวะรู้ตอนนอน จะเหมือนกับที่พี่ฝึกตายให้ที่สวนจตุจักรไหมคะ
     
  4. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ เหมือนกัน ในยามใดที่ไม่มีภาระ หรือต้องยุ่งเกี่ยวในสังคม ก็ให้ฝึกทำการ "ย้าย" ออกมาจาก "ตน หรือ ตัวดู" ทั้งหมด แล้ว "เป็นแต่เพียง อสังขตะธรรม" เท่านั้น
    +++ เมื่อชำนาญและละเอียดดีเพียงพอแล้ว ก็จะรู้และแจ้งชัดถึงการ "ก่อกำเหนิดของ สังขตะธรรม" ได้เอง

    +++ เมื่อ รู้ถึงอาการ "ก่อกำเหนิดของ สังขตะธรรม" ได้แล้ว ไม่นาน ก็จะรู้เรื่องในประเด็นที่ว่า "พระพุทธเจ้า และ ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ" ที่มาปรากฏตัวในการ ช่วยเหลือศิษย์ หรือ ผู้ปฏิบัติธรรม ในเวลาที่ยังต้องเร่งความเพียรจัด ๆ ได้อย่างไร

    +++ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของ "การใช้ วิสุทธิ์ขันธ์" ล้วน ๆ เท่านั้น จริง ๆ แล้ว ส่วนนี้ มักจะเป็นเรื่องเฉพาะของผู้ที่เคยปรารถนา "พุทธภูมิ" มาก่อนแต่ได้ทำการ "ลาพุทธภูมิ" และปฏิบัติจนจบภาระกิจแห่ง "ตน" เรียบร้อยแล้ว แต่เนื่องด้วย การที่ไม่ขาดจาก "นิสัยและวาสนา" ดังนั้น จึงสามารถได้ในส่วนของพุทธภูมิปรากฏติดตัวมาด้วย ดังนั้น เรื่องของการ "ใช้ขันธ์" นี้เป็นเรื่อง "เฉพาะ" ของผู้ที่เคยมี "นิสัยและวาสนา" ตรงนี้มาแล้วล้วน ๆ

    +++ ทำไปเรื่อย ๆ จน "ได้นิสัย" แล้วก็จะถึงตรงนี้เอง นะครับ
     
  5. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    การเห็นความเป็นตัวเรา เห็นอัตตาในตน ก็เหมือนเรากำลังเห็นตน ในกระจกเงานั่นเอง

    การที่จะเห็นตัวตนที่แท้จริงในกระจกเงาที่กำลังส่องตนเองอยู่นั้น ก็ต้องอาศัยสติสัมปชัญญะที่มีกำลังทรงตัวดีแล้วนั่นเอง เมื่อทำได้ชำนาญและบ่อยขึ้น ก็ย่อมเห็นอัตตาในตนได้มากขึ้น เมื่อเห็นอัตตามากขึ้นมากขึ้น อนัตตาก็ปรากฏ เมื่ออนัตตาธรรมปรากฏมากขึ้น อัตตาก็ดับวูบลง ค่อยๆดับลง เหมือนตะเกียงที่สว่างตลอดเวลา แต่ทว่า น้ำมันก็ร่อยหรอลง ที่สุดของความสว่างคือดับหมด แม้น้ำมันตะเกียงก็หมด ใส้ตะเกียงก็ดับหมด ไฟก็ดับหมด แสงสว่างก็ดับหมด ดับใหม่ๆเหลือแต่ควันและความืด ดับนานแล้วควันไม่เหลือ เหลือแต่ความืด ท่ามกลางความมืดคือความสงบนิ่งและความว่าง ท่านกลางความว่างคือนิพพาน ครับ สาธุ
     
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ผมว่าเป็นการอธิบายด้วยภาษาสมัยใหม่ ที่เข้าใจง่ายดีนะครับ

    ถ้าจะอธิบายเป็นภาษาในพระไตรปิฎก ก็หมายถึง "สังขตธรรม" กับ "อสังขตธรรม" ไงครับ
     
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ความหมายของ "กรรมฐาน" ในความเข้าใจของท่าน มาจากดิน คืออะไร หรือครับ?
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ความหมายจากหลักนะครับ คือ


    กรรมฐาน (หรือเขียน กัมมัฏฐาน ก็ได้) แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน
    มีความหมายเป็นทางการการว่า สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา หรืออุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำสมาธิ พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด (ด้วยสติ) จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่องเป็นราว สงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยวแล่นเตลิดหรือเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปอย่างไร้จุดหมาย
    พูดสั้นๆ กรรมฐาน (กัมมัฏฐาน) คือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ของจิตที่จะชักนำให้เกิดสมาธิ หรืออะไรก็ได้ที่พอจิตเพ่งหรือจับแล้ว จะช่วยให้จิตแน่วแน่อยู่กับมัน เป็นสมาธิได้เร็ว และมั่งคงที่สุด พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสมาธิ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     
  9. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    ทั้งหมดทุกๆโพสท์ของกระทู้ ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
    คุณมองเห็นแค่นิดเดียว แค่นี้เองจริงๆเหรอคะ น่าเอ็นดูจังเลย

    จุดประสงค์ของกระทู้นี้คือเน้นการปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติถึงจุดหนึ่งแล้ว
    ความหมายใดๆที่นำไปขยายความ ย่อมไม่สำคัญเท่ากับการอยู่กับความเป็นจริง ถ้าเมื่อใดที่อยู่กับความเป็นจริง อ่านโพสท์ที่1 แล้วจะเข้าใจโดยไม่ลังเลสงสัยเลย
     
  10. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ถ้าทำตามนี้เลย จะได้พ้นทุกข์ หรือจะได้ไปเป็นพรหม ครับ? :)
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ขอทราบความหมาย "ทุกข์" กับ "พรหม" ตามนิยามคุณก่อนครับ
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ความจริงที่ว่า ได้แก่อะไรครับ
     
  13. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ทุกข์ของการเวียนว่ายตายเกิดครับ
    พรหม คือ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว

    และในคำอธิบายที่ยกมา มี "ฐาน" กับ "กรรม" ที่เข้าไปยึดฐาน ไหมครับ? :)
     
  14. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    การบ้านใหม่ของวันนี้

    สิ่งที่ผมให้ฝึกในกระทู้ "ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย" นี้ เป็นการฝึกที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับ "มหาปัฏฐาน" (อ้างอิง th.wikipedia.org/wiki/มหาปัฏฐาน)

    วัตถุประสงค์ เพื่อนำ กรรม-ฐาน ที่เคยฝึกมาแล้ว นำมาใช้งานทาง "ธรรมวิจัย" เพื่อให้รู้และเข้าใจในเรื่องของ "วงจรการทำงานทางจิต" จนกระทั่งเกิดการ "ทำกรรม" ขึ้นมา

    ให้เน้นไปที่ เหตุเกิดของ "เจตนา" นั้น ๆ เพราะ "เหตุเกิดแห่งเจตนา" เป็น "ปุเรชาตะปัจจะโย = ธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย" ของการทำงานทางจิต

    ให้ผู้ที่เคยฝึก "กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย" ในกระทู้นี้ ทดสอบด้วยการ Map จิตว่า เหตุที่อยู่ข้างในจิต ของ user "มาจากดิน" ที่ใช้คำว่า "เละ" นั้น มีความเป็นมาอย่างไร (เหตุปัจจะโย) และที่สำคัญอย่างยิ่ง ให้ดูตรง ๆ ไปที่ "เจตนาแรก" ของการโพสท์ ว่าในขณะจิตนั้น ๆ เกิดธรรมารมณ์ ชนิดใด (กุศล หรือ อกุศล) ขึ้นในจิต (อารัมมะณะปัจจะโย) จนกระทั่งก่อให้เกิด "กายกรรม" โดยการพิมพ์คำว่า "เละ" ลงมาในกระทู้นี้

    โดยเฉพาะ กระทู้นี้ใช้ชื่อ "ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย" (ซึ่งเจตนาบอกชัดอยู่แล้วว่าเป็นเรื่องของ "กรรม-ฐาน" ไม่ใช่ "กรรมฐาน" อันสามารถลอกมาจากที่ใดก็ได้ และ "มาจากดิน" ทำการ Cut Copy & Paste มาจากที่อื่น) โดยเฉพาะ ห้องนี้เป็นห้อง "อภิญญา XP" ที่หมายถึง "การฝึก หรือ การปฏิบัติ ที่ออกมาจากประสพการณ์ล้วน ๆ" ไม่ใช่ห้องที่ "Copy & Paste มาจากข้อเขียนของผู้ใดก็ได้"

    และตรงนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ "ระดับสติปัญญา" และ "สติสัมปชัญญะในการอ่าน" ที่ก่อให้เกิด "การขัดกันภายในจิต" ของ user "มาจากดิน" อย่างชัดเจน

    ให้ลอง Map จิต จากในข้อความนี้

    ==================================================================================================

    กรรม-ฐาน เป็นเรื่องของ 2 สภาวะเท่านั้น คือ สภาวะที่อยู่ในส่วนของ "กรรม" (มีการกระทำ มีการทำงาน Dynamic) กับสภาวะที่อยู่ในส่วนของ "ฐาน" (ไร้การกระทำ ไร้การทำงาน Static)

    สภาวะที่อยู่ในส่วนของ "กรรม" (Dynamic)

    สภาวะของ "กรรม" นั้น หมายเอาสรรพสิ่งที่มี "การกระทำ การเคลื่อนไหว แปรปรวน เปลี่ยนสภาพ" ทั้งหมด รวมทั้ง มโนกรรม หรือ "การทำงานทางจิต" ตั้งแต่ การกำเหนิดของจิต การทำงานและกฏเกณฑ์ในการ "อยู่" ของจิต (กฏแห่งกรรม ภพ-ภูมิ) จนถึงการสิ้นสุดยุติแห่งความเป็นจิตลง วิธีที่จะเรียนรู้ในส่วนของ "กรรม" นั้น ผู้เรียนจะต้องอยู่ในส่วนของ "ฐาน" ให้ได้เสียก่อน เพราะ "ฐาน" เป็นสภาวะเดียวเท่านั้นที่เรียนรู้สภาวะของ "กรรม" ได้ หากผู้ฝึก พลาดตกออกมาจาก "ฐาน" เมื่อไร ก็จะต้องตกไปอยู่ในส่วนของ "กรรม" เมื่อนั้น และก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า "ทะเลกรรม" นั้นกว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีที่สิ้นสุด ครอบคลุมไปหมดทั้ง 3 โลก ดังนั้นผู้ที่จะออกพ้นมาจาก "ทะเลกรรม" ได้นั้น ก็คือผู้ที่อยู่กับฐาน ฝึกในการตั้งฐาน แล้วอยู่กับมันนั่นเอง

    สภาวะที่อยู่ในส่วนของ "ฐาน" (Static)

    สภาวะของ "ฐาน" นั้น หมายเอาสภาวะอันเป็น "ที่ตั้งมั่น" ที่เหมาะต่อการเรียนรู้สภาวะที่เป็นส่วนของ "ทะเลกรรมทั้งหมด" และสภาวะของ "ฐานชั้นสุดท้าย" ก็คือ "ฐานที่พ้นออกมาจากทะเลกรรมทั้งหมด" ที่เรียกกันว่า "ขึ้นฝั่ง" นั่นเอง

    ====================================================================================================

    แล้วหาเหตุเกิดของคำว่า "เละ" ของ user "มาจากดิน" ว่า "เกิดจากอะไร" (ห้ามคิด ให้ใช้การ Map จิตอย่างเดียวเท่านั้น)

    ผมต้องขอยืมคำพูดของ พระอุปัชฌาย์ ของผมที่เคยเปรย ๆ กับผมเป็นการส่วนตัวว่า "เห็นจิต ฝึกจิต ใช้จิต" มาให้ผู้ฝึกฝนในกระทู้นี้ ลองทำดู แล้วจะพบได้เองว่า "มีประโยชน์มากมายรออยู่" นะครับ
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ถ้าคุณคิดเรื่อง "ทุกข์" ไกลเป็นชาติๆ ไม่มองเรื่องทุกข์ของชีวิตปัจจุบันยังงั้น ยังงี้ความเห็นของเรา 2 สองคนไม่ตรงกัน

    ....จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ได้แก่ สมาธิ ข้อนี้ เรา 2 คนก็เห็นไม่ตรงกัน

    "ฐาน" แปลว่า ที่ตั้ง

    "กรรม" ที่พูดถึงนี้ แปลว่า การทำงาน การงาน ...เมื่อนำสองคำนั้นมารวมกัน "กรรมฐาน" (หรือ กัมมัฏฐาน) แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงาน (ของจิต) หรือที่ให้จิตทำงาน ยกตัวอย่าง ในบรรดากรรมฐาน 40 ถ้าผู้ฝึกจิต ใช้ข้อใดข้อหนึ่ง ข้อนั้นก็เรียก "กรรมฐาน" ในกรณีนี้ เช่น ใช้ปฐวีกสิณ ๆ ก็เรียกว่า "กรรมฐาน" ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คุณอินทบุตร นิยามคำว่า "กรรม" ที่พูดถึงกันนี้สิครับ
     
  17. jadeprawit

    jadeprawit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +117
    สวัสดีค่ะอาจารย์ธรรม-ชาติ และทุกๆท่าน

    เพิ่งกลับจากการปฏิบัติธรรม 4 เดือนค่ะ พอดีได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้เมื่อวานรู้สึกสนใจมาก
    เพราะจากการฝึกปฏิบัติที่ผ่านมามีสภาวะธรรมต่างๆรวมถึงนิมิตดีๆเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ไม่รู้ความหมาย แต่ก็พอสังเกตุได้ว่าการกลับมาครั้งนี้มีความก้าวหน้าพอสมควร

    จากที่อ่านข้อความการแนะนำของอาจาร์ยธรรม-ชาติ ก็นึกเทียบเทียบเคียงกับสภาวะที่เกิดกับตนเอง มีคล้ายๆว่าการฝึกที่ผ่านมาถ้ามาขอคำปรึกษาที่นี่ น่าจะเป็นทางตรงที่จะต่อยอด
    ต่อไปได้ จึงอยากขออณุญาตเข้าร่วมฝึกด้วยคนค่ะ

    ตอนที่พิมอยู่ขณะนี้ก็กำหนดฟังเสียงหัวใจเต้นไปด้วย เรียกว่าแช่ หรือเปล่าคะ ถ้าเราฟังเสียงเต้นของหัวใจได้ทุกครั้งที่เราอยากฟังแปลว่าตอนนั้นเรามีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ ทุกครั้งใช่หรือเปล่าคะ และเวลาที่เราอยู่คนเดียว หรือสถานที่ๆเสียงไม่อึกทึกมากเสียงวิ้งๆที่หูขวา
    ที่อาจาร์ยธรรมชาติเรียกว่าเสียงคลื่นความถี่สูง
    นันจะได้ยินเป็นประจำ เสียงนี้คือเรามีสมาธิ สติ หรือรู้ตัวทั่วพร้อมคะ

    หลังจากที่อ่านกระทู้จบ ก็คิดว่าจะลองฝึกฟังเสียงชีพจรให้ได้พร้อมกันทั่วตัว
    เพื่อที่จะ....โล่ง โปร่ง ใสเป็นแก้ว" ค่ะ

    นันไปปฏิบัติธรรมได้ประมาณ 10 วัน ฝันว่าขึ้นรถโดยสารที่ กทม เอาแบงค์จ่ายค่าโดยสาร
    แต่กระเป๋าไม่รับเค๊าขอเหรียญ นันก็หยิบเหรียญในกระเป๋าออกมาเต็มกำมือ กระเป๋าหยิบไปเหรียญเดียว (ไม่รู้เหรียญอะไรค่ะ)แป๊ปเดียวรถก็จอด นันมองไปข้างหน้ารถเห็นมีสะพานยาวอยู่ข้างหน้า เราก็คิดว่าจอดทำไมนะ สักพักคนขับบอกว่า ไปต่อไม่ได้แล้วสุดสายแค่นี้ ถ้าจะไปต้องเดินไปเอง ก็เลยเดินลงรถปรากฎว่าลมค่อนข้างแรงเห็นสะพานแกว่งไหวๆอยู่ด้านขวา พอมองตรงเห็นตึกรามบ้านช่อง(กทม อะค่ะ)อยู่ข้างหน้าไกลหน่อยนึง แต่พอหันมาทางด้านซ้ายถึงกับตลึงค่ะ เพราะสิ่งที่เห็นเป็นภูเขาสีทองงดงามมาก มีแสงทองไหววับ(เหมือนผ้าใบผืนใหญ่โดนลมพัดไหวๆ)แสงทองนั้นสาดส่องเหลืองอร่าม
    แบบว่าแสงแดดวูบวับเป็นแสงทอง สวยงดงามมากเหมือนฉากในหนังวิจิตรตระการตา ในฝันก็คิดว่าเราอยู่ กทม ตั้งนาน สถานที่นี้อยู่ตรงไหนของ กทม เพราะไม่เคยเห็น นึกถึงภูเขาทองก็ไม่ใช่แบบนี้นี้นา ขณะที่ยืนตะลึงชมความงดงามอยู่ ก็มองไปเห็นต้นโพธิ์อยู่
    ข้างหน้าภูเขาสีทอง แต่แปลกตรงที่ว่าต้นโพธิ์มีใบที่ยอดอย่างเดียว ลำต้นคล้ายต้นมะพร้าว
    หรือมะละกอ คือตรงๆขึ้นไปมีใบที่ยอดเป็นใบโพธิ์ ที่ลำต้นก็แปลกคือไม่ได้ติดดินค่ะ ตั้ง
    อยู่บนฐานที่คล้ายๆเบ้าเหล็ก (เหมือนเราจับหลอดไปตั้งบนถ้วยอะค่ะ)ต้นโพธิ์ตั้งอยู่บนฐาน
    เบ้านี้เฉยๆ ลมก็ค่อนข้างแรง ต้นโพธิ์ก็เอียงเล็กน้อยแต่ไม่มีท่าทางว่าจะล้มอย่างแน่นอน
    (เหมือนตุ๊กตาลมตั้งอยู่เอนไปมาแต่ไม่ล้มค่ะ) แล้วก็ตื่นนอน นึกถึงว่าเมื่อกี๊นี้ฝันแต่สวยงามมากลืมไม่ลงจนทุกวันนี้ คิดว่าเป็นฝันดีที่สุดในชีวิตนี้ค่ะ

    ไม่รู้ว่าเป็นนิมิตความหมายอย่างไรหรือเปล่า.......จากนั้นมาอีก4-5 วัน นั่งสมาธิตอนตี5
    นั่งไปได้ไม่ถึง 10 นาที อยู่ๆหูข้างซ้ายดับ เงียบสนิท ความรู้สึกเหมือนอยู่คนเดียวในโลก
    มันเงียบโหวงเหวง เวิ้งว้างบอกไม่ถูกค่ะ.......ทั้งๆที่ หูข้างขวาก็เป็นปรกติมีเสียงวิ้งๆเป็นปรกติ ก็ดูอยู่เฉยๆสังเกตุการณ์สักพัก หูซ้าย ที่ดับไปก็ค่อยๆมีเสียงกลับมาทีละน้อย เบาๆ
    จนเพิ่มระดับเสียงมาเท่ากับเสียงทางหูขวาแบบเดิม ปรกติหลับตามันจะมืดแต่ตอนที่หูช้ายดับเหมือนเป็นสีน้ำเงิน อารมณ์ขณะนั้นนอกจากเสียงที่ต่างกันของหูทั้ง2 ข้าง แต่เหมือน
    เรามองเห็นเป็นภาพด้วยทุกขณะวินาที นั่งต่อซักพักมันเป็นปรกติไม่มีอะไรแปลกแล้วก็ออกจากสมาธิ....ไม่ทราบว่านี่คือสภาวะอะไรคะ
     
  18. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สีทองในนิมิต เท่าที่ผมได้เจอด้วยตนเอง และจากเรื่องราวของผู้ที่รู้จักกันโดยส่วนตัวทุกคน สื่อถึงความหมายเดียว คือ จิตของอริยบุคคล ครับ
     
  19. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เอ้า ก็ท่านมาจากดินถามผมว่า พรหม คืออย่างไร
    ผมก็ตอบไปว่า เป็นจิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว

    แล้วจะพลิก จะดิ้นไปว่าผมพูดถึงสมาธิ... เอ๊ะ มันคนละเรื่องกันนะครับ?
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    อาจสื่อสารไม่ชัด

    คุณว่า พรหม - เป็นจิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว

    แต่ผมว่า จิตที่ตั้งมั่นในอารมณ์เดียว ได้แก่ สมาธิ จึงว่า ความเห็นเราไม่ตรงกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...