ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-ชาติ, 16 ตุลาคม 2013.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    กรรม ตามที่คุณอินทบุตรเข้าใจ คือยังไงครับ
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    อ้าว ถ้างั้นพรหม เป็นยังไงหละครับ?
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ได้ครับ

    +++ การแช่ในขณะนั้น เป็นการแช่กับสภาวะหนึ่ง ซึ่งการ "แช่-อยู่" กับสภาวะนั้น ทำให้ได้ยินเสียงหัวใจเต้นได้ กล่าวได้ว่าเป็นการ "แช่กับสภาวะ ที่ทำให้ ได้ยินเสียงหัวใจเต้น" แต่ยังไม่ได้ "แช่กับสภาวะของหัวใจเต้น"

    +++ การ "แช่กับสภาวะ ที่ทำให้ ได้ยินเสียงหัวใจเต้น" นั้น "ย่อมมี สติ เป็นองค์ประกอบอยู่ในตัวอยู่แล้ว" แต่ ยังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะทำให้ "อยู่" กับสภาวะที่หัวใจเต้นอย่างเต็มที่ได้

    +++ การ "อยู่ กับสภาวะที่หัวใจเต้นอย่างเต็มที่ได้" นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้

    +++ 1. มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม แบบทั้งร่าง คือ หัว ตัว แขน ขา ครบถ้วน
    +++ 2. จะรู้ชัดเจนว่า "เราอยู่อย่างนี้ ก็อยู่ได้" (สัมปายสัมปชัญญะ = ไม่มีทุกข์สามารถอยู่เช่นนั้น ก็อยู่ได้)
    +++ 3. หากทำการ "แช่" ตรงนี้ สภาวะ "อยู่เช่นนั้นก็อยู่ได้" ก็จะเริ่มกลายเป็น "พอใจในการอยู่เช่นนั้น" (ปิติ เพลิดเพลิน กายโยกตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ฌาน 2)
    +++ 4. และจะวิวัฒนาการมาเป็น "ความสุขในการอยู่เช่นนั้น" (โล่ง โปร่ง เบา สบาย ใสเป็นแก้ว ฌาน 3) (หากสติยังครองอยู่เต็มฐาน ใบหน้าจะยิ้มเล็กน้อยแบบพระพุทธรูป โดยที่จิตเป็นอุเบกขา และไร้เจตนาที่จะยิ้ม ตรงนี้เรียกว่า หสิตุปบาท)
    +++ 5. และจะพัฒนามาเป็น "วางสรรพสิ่ง เฉยอยู่เช่นนั้น" (มีเอกัคตาเป็น อุเบกขา ฌาน 4) ตรงนี้เป็น สมถะฌานสมาบัติ จะเป็น รูป-อรูป ก็ได้

    +++ หากยังได้ยินเสียง "คลื่นความถี่สูง" ด้วยหูข้างเดียว ให้ทำการ "ดูไปที่บริเวณท้ายทอย ทั้งแผง" จากนั้น "ให้ทำความรู้สึกที่ ใบหูทั้งสองข้าง" ก็จะทำให้ "คลื่นความถี่สูง" มีความชัดเจนเท่ากัน จากนั้น "ให้วางเจตนาในการฟัง" (แต่เสียงก็จะยังปรากฏอยู่เช่นเดิม) ก็จะได้ "สติทั่วทั้งร่าง" ที่มั่นคงกว่าเดิม (ตรงนี้ให้ลองทำ แล้วเทียบเคียงกันดู นะครับ)

    +++ วิธีทำตรงนี้ รวมทั้ง "หสิตุปบาท" ให้ไว้แล้วข้างบน ส่วนอะไรคือ หสิตุปบาท ให้ไปลองกูเกิ้ลดูนะครับ

    +++ เอาเป็นว่า "ความรู้ตัว" ไม่เอา แต่ เอา "ความรู้สึกตัว" แทน และเอาแค่ "อันเดียว" เท่านั้นครับ

    +++ จากนี้ไปจะต้องพึ่งในสิ่งที่เรียกว่า "ตน" เท่านั้น จนกว่าจะพ้นและออกไปจาก "ตน" ได้

    +++ ปกติ กระทู้นี้จะสงบจากลม (ลมเพลมพัด) แต่ขณะนี้กำลังมีความพยายามที่จะก่อหวอดอยู่ ดังนั้น "ต้องเดินให้ดี ๆ" นะครับ

    +++ นี่คือช่วงแยกระหว่าง "ทางโลก (กทม) กับ ทางธรรม (ภูเขาทองคำ)" ในวงจรชีวิตของคุณแล้ว

    +++ คงได้ฝึก กรรม-ฐาน ใน กทม นี้แหละครับ เพราะส่วนใหญ่ผู้คนจะรวมตัวกันฝึกกับผมใน กทม เป็นหลัก

    +++ เป็นการตัดทางตรงสู่ "โพธิจิต หรือ พุทธะจิต" เพียงสถานเดียว ไม่แวะโน่นนี่ให้เปะปะวุ่นวาย

    +++ นี่คือ "ปัฏฐาน" การฝึก กรรม-ฐาน นี้ต้องขึ้นต้นที่ "ปัฏฐาน" ก่อน เมื่อ ปัฏฐาน มั่นคงแล้วก็จะประดุจ ฐานเหล็กอันมั่นคง จากนั้นจึง "ขึ้นสู่ยอดแบบตรง ๆ" ได้

    +++ แสดงถึง "ความแข็งแกร่งของจิต" แต่ "ไร้ความแข็งกระด้างทางจิต" รวมทั้ง "มีความเป็นอยู่ตามความเป็นจริง"

    +++ ใช่ครับ ก่อนผมจะได้ ปัฏฐาน มานี้ ผมก็ได้นิมิตสำคัญที่ไปเห็น "ภูเขาทองคำทั้งลูก" มาก่อน รวมทั้งได้เข้าไปกราบพระประธานใน "มหาวิหาร" ณ ใจกลางภูเขาลูกนั้น ในนิมิตภาค 2 ที่ห่างจากภาคแรกหลายสิบปี

    +++ ผมทราบความหมายในนิมิตของคุณ เป็นอย่างดี

    +++ มีครับ เมื่อฝึกเสร็จแล้วก็จะทราบได้เอง

    +++ "เหมือนเห็น" ในขณะนั้นเป็น "รู้คล้ายเห็น" ใช่มั้ยครับ และ "ทุกขณะวินาที" แท้จริงคือ "ทุกขณะจิต" มากกว่านะครับ

    +++ นี่คือ "อาการของสภาวะรู้" ที่รู้อาการ การทำงานของ "จิตตะสังขารขันธ์" ในระดับ "วาระจิต" นะครับ
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    นั่นน่าซี่ คำว่า "พรหม" อินทรบุตร เป็นคนพูด (แล้วมันเป็นยังไงล่ะ) ผมจึงถามว่า หมายถึงอะไร คุณจึงว่า หมายถึง "เป็นจิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว" ผมก็ว่า จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว หมายถึง "สมาธิ" (เป็นคำแปลสมาธิ)

    ดูคำแปลสมาธิหน่อย

    สมาธิ - ความตั้งมั่นของจิต หรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด คำจำกัดความของสมาธิที่พบเสมอ คือ "จิตตัสเสกัคคตา" หรือ เรียกสั้นๆว่า "เอกัคคตา" ซึ่งแปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ การที่จิตแน่วแน่แบบสนิทอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ส่าย ไม่วอกแวก
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ถามอีกทีครับ ตามนั้นเลย
     
  6. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    พรหม = จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว = จิต(ของ)ผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว

    ผมว่าเราคงคุยกันลำบากนะครับ ด้วยการใช้คำพูดในลักษณะ ดิ้นไปดิ้นมา พลิกลิ้นไปมาแบบนี้ของท่านมาจากดิน
     
  7. jadeprawit

    jadeprawit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +117
    กราบขอบพระคุณ อาจาร์ยธรรม-ชาติ มากค่ะ

    ตลอดเวลาที่ฝึกปฏิบัติมา ค่อนข้างจะมั่วๆคืออ่านเจอการฝึกอะไร ก็จะลองฝึกหมดทุกอย่างด้วยตัวเอง คิดเอง เออเอง ทำเอง คือทำทุกอย่างที่นึกได้จากการอ่าน ปรากฏว่าตัวเองไป
    ไม่ถึงไหนซักที เหมือนตั้งใจไว้ที่ 100 แต่ผลออกมาได้แค่ 10 ส่วนนึงคงเพราะความอยาก 2 ปฏิบัติหลายทางเกินไป เช่นการนั่งสมาธิปรกติจะนั่งได้ประมาณ40-50นาที ใน
    ระหว่างที่นั่งก็จะฝึกหมดทุกอย่างไม่เป็นหนึ่งเดียวทำให้จิตไม่ตั้งมั่น เช่น ดูลม อสุภะ ดูกายใน หมุนลม ฝึกหายใจ ทางตา หู จมูก ปาก คือทำทุกอย่างใน40 นาที จากนั้นเจอเวทนามากๆก็จะออก ปรกติเป็นคนที่นั่งนิ่งๆนานๆจะเบื่อค่ะ แล้วจะออกจากกรรมฐาน เลยคิดว่าเราต้องวิปัสสนาอย่างเดียวเมื่อมีคิด จะเพลินและนั่งได้นานขึ้น จนเมื่อ23 กพ ที่ผ่านมาได้
    ฟังหลวงพ่อ(วัดที่ไปถือศีลมา)ท่านพูดธรรมะ เลยได้โอกาศถามท่านว่า การปฏิบัติให้ได้นานๆ ในการนั่งนั้น ระยะเวลามีส่วนในการ(ตรงนี้อธิบายไม่ค่อยถูกค่ะ)ขอใช้คำว่าความก้าวหน้าเพื่อไปสู่ภูมิธรรมที่สูงขึ้นนะคะ ท่านว่าเมื่อนั่งไปนานๆ(ของท่านนั่ง 6 ชม)จนท่านได้ธรรม(ขอใช้คำว่าแจ้งในปัญญา)ท่านอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการสตาร์ทรถ
    ว่า การสตาร์ทรถให้ติดนั้นมันมีขบวนการอะไรบ้าง นันจำศัพท์เครื่องยนต์ไม่ได้ จำได้ว่ามูเล่
    สายพาน อะไรทำนองนี้ค่ะ เหมือนการนั่งสมาธิเมื่อไปถึงจุดนั้นเครื่องจะสปาร์คด้วย ศรัทธา ปัญา วิริยะ ศีล สมาธิ ประมาณนี้ ซึ่งนันเข้าใจได้มากขึ้นที่ท่านอธิบายธรรมแบบเปรียบเทียบเป็นเหตุเป็นผลเหมือนเห็นภาพเครื่องยนต์ ก็อ๋อ.... กลับเข้ากุฏิ ก็เริ่มเลยจะพยายามนั่งให้ได้ 2 ชม จากปรกตินั่งได้ 40-50 นาที .......ฝึกมาได้20วัน ปรากฏว่าทำได้ 2 ชม เต็มแค่3 ครั้ง นอกนั้นจะเสถียรได้ที่ 1 ชม 30 นาที ต่อมาเปิดวิทยุฟังได้มาฟังหลวงพ่อปราโมทย์ดูจิต ท่านเน้นดูจิตตลอดเวลา ไม่เน้นนั่งสมาธิ ใจก็เขวอีก เราจะเอาไงดี
    เพราะส่วนตัวแล้วไม่ชอบนั่งเพราะเวทนาปวดเหลือเกินนั่งทั้งน้ำตาฝืนตนให้ผ่าน อุปสรรคคือเบื่อค่ะ เพราะเป็นคนไม่ชอบอยู่เฉย แต่ถ้าให้วิปัสสนาดูโน่นดูนี่ คิดโน่นคิดนี่ จะถนัดกว่า
    และได้มาอ่านธรรมมะหลวงปู่ดุลย์ รู้สึกชอบ เลยยิ่งมั่นใจว่าต้องทางนี้แน่นอนที่เราถนัด คือ
    ดูจิต ออกจากวัดมาได้10 กว่าวันก็จะเสริชหาอ่านแต่หลวงปู่ดุลย์ ธรรมะท่านมีหลายบทที่เกี่ยวกับการพูดถึงจักรวาล อะตอม สสาร ซึ่งเราจะเข้าใจได้มากขึ้นค่ะ อย่างเช่นท่านบอกว่าในจักรวาลนี้มีแค่ รูปกับนาม และระหว่างรูปกับนามคือว่าง...ว่างนี้แหละเป็นตัวแปรทำให้เกิดกรรม นันเอาตรงนี้มาพิจารณาว่า ว่างนี้มีความสัญคัญมากถ้าอย่างนั้นอะไรๆทั้งหมดในโลกนี้ก็ต้องจึ้นอยู่กับตัวว่างตัวเดียว ที่เป็นกุญแจ..... เพียงแต่เราจะเป็นกุญแจที่จะเปิดไปเอาอะไรมาเท่านั้น....ชีวิตนันตอนนี้เลยว่างอยู่ระหว่างฝึกให้ตัวเองว่างได้ 2 วันคือนั่งสมาธิ
    ไม่คิดอะไรนอกจากวนเวียนอยู่กับ ว่าง แต่เหมือนไปไม่ถูก เบื่อๆเลยโชคดีเข้าเน็ตมาเสริทหาอะไรเพิ่มจนมาเจอ อาจาร์ยในกระทู้นี้ค่ะ

    เมื่อคืนลองปฏิบัติดูคือ กราบพระก่อนระหว่างที่กราบทำความรู้สึกที่ปลายนิ้วฟังชีพจรเต้นตามปลายนิ้ว เริ่มนั่งจับที่หัวใจเต้นก่อนแล้วเลื่อนขึ้นศรีษะ กลับไปจับที่หัวใจเลื่อนลงไปจนถึงปลายนิ้วเท้า จนครบพักนิ่ง(นั่งเอาพัดลมจ่อหลังระยะ 1 เมตร)นิ่งนานไม่ได้ค่ะ เลยทำความรู้สึกที่ลมพัดที่หลังจับแต่ลม รู้สึกเหมือนตัวไม่มี มีแต่ลมพัดลมที่ตัว เลยทำความรู้สึกเย็นที่ลมพัดที่หลัง ให้เย็นตลอดตัวจากศรีษะถึงเท้า ระหว่างที่เริ่มนั่งจนออกนั้น นันรู้สึกซ่านๆ ชาๆที่ปลายเท้าขวาตลอดเวลาพยายามดึงความซ่าน ชา นั้นให้ตามขึ้นมาที่ขาไม่ขึ้นค่ะ แต่ย้ายมาจับที่มือก็ว่าน ชา ที่มือค่ะ.........

    อาจาร์ยคะ ในระหว่างวันฝึกดูจิตเป็นระยะๆ แต่พอคุยพูด (ที่บ้านขายของ)เราจะหลุด เพลินไปเลย จะทำอย่างไรให้รู้สึกตัว ตอนเปลี่ยนอิริยาบท หรือพูดคุยกับคนอื่นคะ
    ถ้าอยู่คนเดียวหรือนั่งอ่านอะไร ทำได้ค่ะ เวลาทำคือ ทำกายใจให้เบาๆจะดูที่หัวใจ หรืออะไรได้ บางครั้งต้องหายใจเข้าทีนึงเบาๆ จะรู้สึกร้อนๆอุ่นๆตรงจุดที่กำหนดแต่มีสภาวะตึงๆตัวแข็งหน่อยๆเหมือนอะไรๆก็ช้าลง............................................................

    +++ ใช่ครับ ก่อนผมจะได้ ปัฏฐาน มานี้ ผมก็ได้นิมิตสำคัญที่ไปเห็น "ภูเขาทองคำทั้งลูก" มาก่อน รวมทั้งได้เข้าไปกราบพระประธานใน "มหาวิหาร" ณ ใจกลางภูเขาลูกนั้น ในนิมิตภาค 2 ที่ห่างจากภาคแรกหลายสิบปี

    +++ ผมทราบความหมายในนิมิตของคุณ เป็นอย่างดี

    อาจาร์ยคะ นันก็อยากทราบเหมือนกันค่ะ....อาจาร์ยจะไม่บอกนันบ้างหรอคะ แฮะๆ


    ความฝันที่ 2 .........

    เดือน กุมภาที่ผ่านมา.....ฝันว่าได้แหวนมา3 วง วงที่1 เป็นแหวนเพชรเม็ดโตเม็ดเดียว
    สวมอยู่ที่นิ้วนางซ้าย วงที่ 2 เป็นแหวนเกลี้ยงคล้ายแหวนทองสวมอยู่ที่นิ้วกลางซ้าย
    อีกวงเป็นมรกตเม็ดโตเท่าไข่ไก่แจ้ นันถือดูอยู่ว่าพลอยอะไรเม็ดใหญ่จังของแท้หรือปลอมเนี่ย (คิดในฝัน)ขณะกำลังคิดว่าเม็ดใหญ่ขนาดนี้แท้หรือปลอม ก็มีพี่สาว2 คนเดินมาขอดู(พี่สาว2คนนี้เป็นคนชอบเพชรทั้งคู่) ขอดูกันใหญ่ ในฝันนันก็คิดในใจว่า เอ๊ 2 คนนี้เค๊าชอบเพชร ทำไมไม่ดูเพชรที่สวมอยู่ในนิ้วนางทั้งๆที่เพชรก็เม็ดใหญ่นะ แวบวับอีกต่างหาก
    มาดูทำไมเม็ดเขียวมรกตนี้ แล้วก็ตื่นค่ะ นันไม่ทราบความหมายค่ะ เลยเอาไปซื้อหวย
    หมดไป 1000 สบายใจ ตีหวยก็ตีไม่เป็นอะค่ะ ปรากฏว่าหวยออก 53 หรือ35 เนี่ยค่ะ

    แต่มีข้อสังเกตุอย่างนึงค่ะ ฝันว่าได้แหวนตั้ง 3 วง ในฝันทำไมนันไม่มีความดีใจ มีแต่ความงง ไม่แน่ใจว่าแท้หรือปลอม เล่าให้คนในวัดฟังเค๊าบอกจะได้คู่ นันยิ้ม แล้วพูดว่า
    ขอให้ความหมายเป็น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ได้มั้ย คือนันเบื่อแล้วทางโลก ทางรัก
    เห็นแต่ ทุกข์ ๆๆๆ เท่านั้นที่เที่ยงค่ะ อาจาร์ย
     
  8. jadeprawit

    jadeprawit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +117
    ขอบคุณค่ะ อาจาร์ย อินทรบุตร

    ช่วยขยายความซักนิดได้มั้ยค่ะ

    บอกไม่ถูกว่านันรู้สึกอย่างไร แต่กลัวๆ หลายอย่างอะค่ะ
     
  9. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ผมไม่ใช่อาจารย์ครับ ผมเป็นภารโรงกวาดพื้นอยู่หลังห้อง คอยแอบๆ ดู เวลานักศึกษาเขาเรียนจากอาจารย์ :'(

    เรื่องนิมิต ผมไม่ชำนาญนะครับ ถามจากท่านอื่นๆ จะดีกว่า
    ผมทราบแค่ว่า สีทอง เป็นสัญลักษณ์แทนจิตของอริยบุคคลครับ (อาจจะหมายถึงจิตอื่น หรือ จิตของเราเองในอนาคต ก็เป็นได้นะ)

    ยังไงรอท่านธรรม-ชาติ มาตอบโดยตรงดีกว่าครับ
    ส่วนเรื่องเล่า ประสบการณ์ของผม และผู้ที่ผมรู้จัก เกี่ยวกับสีทอง เอาไว้ให้คุณนันได้ฝึกต่อสักพักนึง แล้วผมจะเล่าให้ฟังว่ามีอะไรบ้างนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2014
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    อาจเป็นความรู้ใหม่ของผมเพราะไม่เคยเห็นว่า พรหม หมายถึงจิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว

    เคยแต่ศึกษามาว่า จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว หมายถึง เอกัคคตาจิต

    ถามเป็นความรู้นะครับ คุณได้ความรู้นี้มาจากคัภภีร์ไหนครับ
     
  11. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    การเป็นผู้ปฏิบัติธรรม แต่รู้เห็นธรรมะแค่เฉพาะตามตัวอักษรที่มีผู้บันทึกไว้ ไม่ได้เห็นด้วยตนเอง แบบนี้ก็ได้ประโยชน์ในทางสืบทอดคำพูดต่อๆ ไป แต่จะช่วยศาสนาพุทธสืบทอดการฝึกเพื่อให้ถึงมรรคผลนิพพาน คงลำบากนะครับ
     
  12. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ตรงนี้จะข้ามไป เพราะถือว่า "รู้ผลลัพธ์อยู่แล้ว" ฝึกเสร็จเมื่อไรก็จะรู้ถึง ต้นสาย-ปลายเหตุ ทั้งหมดของมันเอง (เป็น อิทัปปัจจยตา เมื่อดูจากข้างนอกของปรากฏการณ์โดยไม่เข้าไปแทรกแซง และจะเป็น ปัฏฐาน เมื่อนำตนเข้าไป "อยู่ และ ย้าย" ในสภาวะธรรมนั้น ๆ)

    +++ วิธีของผมจะไม่ใช้ "วิธีนั่งทน" แบบที่ผู้อื่นใช้ แต่ วิธีของผมจะเป็นวิธีแบบ "นั่งเห็นสภาวะธรรม" (สติเห็น) ด้วยวิธีสอน "การเดินจิต" ด้วยการ "อยู่-ย้าย" (วสี 5) ในระหว่างสภาวะธรรมนั้น ๆ การฝึกจะเป็นแบบ ยกต่อยก บางยกก็แค่ 5-10 นาที จนกว่าผู้ฝึกจะสามารถ "อยู่กับปัฏฐาน" ได้เสียก่อน เมื่อพร้อมแล้วก็อาจจะให้ "อยู่รอจนกว่าเวทนาจะปรากฏ" แล้วจึง "เดินจิตแยกเวทนาออกจากตน" หากทำได้ก็จะ "รู้แจ้งว่า เวทนาอนัตตา มีสภาพเช่นไร"

    +++ ฝึกไปเรื่อย ๆ ก็จะรู้จักอาการที่ หลวงปู่ดูลย์ ท่านกล่าวไว้ทั้งหมดได้เอง รวมทั้งคำว่า จิตคือพุทธะ และอื่น ๆ รวมทั้งกำเหนิดของ รูป-นาม อีกด้วย การเห็นปรากฏการณ์เหล่านี้ ไม่สามารถเห็นด้วยตา หรือเห็นด้วยจิต แต่จะเห็นได้ด้วย "สติ" เท่านั้น สติเห็น ภาษาบาลีเรียกว่า "ญาณทัศนะ"

    +++ หนึ่งในอาการ "อยู่ และ ย้าย" คือการ "ย้ายจากร่าง แล้วมา อยู่กับลม" ไม่ว่าอาการต่าง ๆ จะหยาบหรือละเอียดกว่ากันอย่างไรก็ตาม วิธี "อยู่ และ ย้าย" นี้เท่านั้น ที่เรียกว่า "พิจารณา" ดังนั้น คำว่า พิจารณาธรรมตัวจริงก็คือ การกำหนดเดินจิตในการ "อยู่-ย้าย" ในสภาวะธรรมต่าง ๆ นอกจากการ "ย้ายเข้าไปตั้งอยู่" (ปัฏฐาน) แล้ว ยังเป็น อิทธิบาท 4 อีกด้วย คือ ฉันทะ เป็นเจตนาที่จะเข้าไป วิริยะ เดินจิตเข้าไป จิตตะ ปัฏฐานลงไปเลย วิมังสา ก็จะรู้ความเป็นไปของสภาวะธรรมนั้น ๆ

    +++ ตัวอย่างในกรณีของ "ลม" เมื่อรู้ว่ามีลมพัดต้องร่าง ก็เกิด ฉันทะ มีเจตนาที่จะอยู่กับลม ก็เลย วิริยะ จับสภาวะลมเอาไว้ แล้วเป็น จิตตะ คืออยู่ (ปัฏฐาน) กับลม และเกิด วิมังสา รู้ว่าลมเป็นอย่างไร ทั้งหมดนี้ จะรู้อาการ หยาบละเอียดถี่ถ้วนขนาดไหน ย่อมขึ้นอยู่กับ ปัฏฐาน (อยู่) กับมันได้ดีเพียงใด หากอยู่ได้ดีจนถึงระดับแนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกันจะเกิดอาการ "เป็น" ปรากฏขึ้น คือมี "ลมเป็นกาย" (กาย หรือ กายา คือ สภาาวะที่จิตยึด "เป็น" ตน) (ร่างกายไม่มี มีแต่สภาวะแห่งความเป็นลม ตรงนี้ถือว่า ใช้ลมเป็นกายธรรมารมณ์)

    +++ เมื่อเข้าใจในเรื่อง "กายา" ได้ดีแล้วก็จะรู้ได้เองว่า "กายทั้งหมด" แบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ เท่านั้นคือ กายเนื้อ (สัมโภกาย) (รูปหยาบ) กายเวทนา (กายแห่งความรู้สึก หรือ กายสัมปะชัญญะ) (นามหยาบ) กายจิต (จิตรู้ จิตเห็น จิตนึก จิตคิด จิตเป็น) (รูปละเอียด) และ กายธรรมารมณ์ (สภาพที่เป็นตน แต่ไร้รูปกาย) (นามละเอียด)

    +++ จาก 4 ประเภท สรุปรวบลงมาเหลือได้แค่ 2 อย่างเท่านั้น คือ รูป กับ นาม เท่านั้น เมื่อฝึก "ปัฏฐาน" ผ่าน กายาทั้ง 4 แล้ว ก็จะรู้ได้ว่า อะไรคือ "อยู่กับรู้ หรือ อยู่กับตน (กายา)" จากนั้นก็จะรู้ได้เองว่า อะไรคือตน และ ตนมีการกำเหนิดมาอย่างไร ซึ่งตรงนี้จะมีวิธีเรียนรู้ได้ 2 แบบ คือ "อยู่กับรู้" ก็จะ "เห็น" การเกิดของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "ตน" โดยไม่มีการเข้าไปแทรกแซงแต่ประการใด ตรงนี้เรียกว่า การเห็น "ปฏิจจะสมุปบาท" แต่อีกวิธีหนึ่งคือ เมื่อเห็นว่า "ตน" ก่อกำเหนิดขึ้นแล้วจึงเข้าไป "อยู่ กับ ย้าย" (พิจารณา) ข้างในสภาวะธรรมต่าง ๆ นั้น ตรงนี้เรียกว่า "พิจารณา มหาปัฏฐาน" ซึ่งก็จะทำให้รู้ถึง เหตุปัจจะโย มีอะไรเป็นเหตุ อารัมมะณะปัจจะโย มีสภาวะอารมณ์ (พลังงานในการหล่อเลี้ยงจิต) เป็นอย่างไร อธิปะติปัจจะโย ในยามที่เอา "ตนเข้าไปอยู่" เป็นประธานในสภาวะธรรมนั้น ๆ มีอะไรเกิดขึ้น และ อยากรู้ตรงไหนก็เข้าไป "อยู่" ข้างในนั้น

    +++ เมื่อเข้าใจจนพอใจแล้ว (คงรู้ทั้งหมดไม่ได้ เพราะมันเยอะเกินไป แม้ว่า ปัฏฐาน จะเป็น อนันตนัย แต่สภาวะธรรมทั้งหมดในรายละเอียดปลีกย่อยนั้นจัดเป็น อจินไตย จึงใช้คำว่า เข้าใจจนพอใจแล้ว) ก็จะเหลือแต่เพียงอย่างเดียวคือ ออกมาจากทุกข์ และท้ายสุดคือ ย้ายออกจาก "ตน" แล้วมาอยู่กับ "ฐานชั้นสุดท้าย" คือ "สภาวะรู้ที่อยู่ได้ด้วยตัวมันเอง" เท่านั้น ดังนั้น "ฐานชั้นสุดท้าย" ก็คือ "ฐานที่พ้นออกมาจากทะเลกรรมทั้งหมด" ที่เรียกกันว่า "ขึ้นฝั่ง" นั่นเอง ซึ่งตรงนี้เป็นที่ซึ่งหลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า "อยู่กับรู้" นั่นเอง ซึ่งตรงนี้จะเหลือแค่เพียงอาการเดียวคือ "ย้ายออกมา แล้ววาง" เท่านั้นเอง

    +++ ในสภาวะ "ขายของ" ให้ทำแค่ "รู้คลุมตัว" ไว้เท่านั้น ในเวลาที่มัน "หลุด" คือ มันไป "อยู่" กับอย่างอื่น หากฝึก "ปัฏฐาน" ได้แล้วกํจะเกิดความสามารถที่จะ "อยู่" กับอะไรก็ได้ แต่ในตอนแรก ๆ จะรู้ก็ต่อเมื่อ "ย้ายกลับมา อยู่ กับกาย" เท่านั้น ดังนั้นให้ฝึก "ย้ายกลับมา อยู่ กับกาย" ตรงนี้ให้เป็นนิสัย (นิสสะยะปัจจะโย)

    +++ พยายามฝึก "รู้สึกทั้งตัว" (ไม่ใช่แค่ รู้ตัว) ให้เป็นนิสัย เมื่อถึงเวลา จะได้ต่อยอดได้สะดวก นะครับ

    +++ หากมีโอกาสได้เจอกันแล้วค่อยบอกก็แล้วกัน เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ "มหาวิหาร" ที่ไม่ควรโพสท์ในที่สาธารณะ

    +++ เพชร หมายถึง ปัญญา ทอง หมายถึง สภาวะธรรม ส่วนมรกต หมายถึง ศิลาที่มีค่า คือ ศีลที่ถูกต้อง และใช้เป็นมรรคในการเดินจิตได้ (ความรู้สึกตัว คือ สติ ที่เป็นศีล)

    +++ ที่ "งง" เพราะมันไม่เหมือน ตามที่โลกเล่าขาน ที่ งง เพราะมันไม่ได้อยู่กับตำรา (ให้ใช้หนังสือเล่มเล็ก ๆ ชื่อ "หลวงปู่ฝากไว้" ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นที่สอบทานผลการฝึก เล่มเดียวก็พอ เพราะไม่มีอะไร หลุด ออกไปจากหนังสือเล่มนี้ได้)(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล มี อัฐิ เป็นพระธาตุ)

    +++ รู้แต่ว่า คู่ตอนเช้า มักจะเป็นปาท่องโก๋ ส่วนคู่ตอนบ่าย มักจะเป็นตะเกียบ ทั้งหมดก็เป็นแค่ อาหาระปัจจะโย เท่านั้นแหละ(good) ให้ฝึกจน "เห็นและรู้จัก" ทุกข์ตัวจริงเสียก่อน แล้วจะรู้ว่า "รัก" นั้นเกิดจากการที่ "สติหลุด" แล้วสภาวะที่เรียกว่า "ตน" มันย้าย ออกไปจากร่าง และไปอยู่ที่อื่น ซักวันก็จะรู้ได้เองแหละ
     
  13. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    การ "พิจารณา" ที่แท้จริง ในการปฏิบัติตามสายหลวงปู่มั่น ไม่ใช่การใช้ความคิด

    ธรรมะส่วนนี้ ตัดตอนมาจากการแสดงธรรมโดยหลวงตามหาบัว
    ผมเข้าใจว่า น่าจะตรงกับคำว่า "อยู่-ย้าย" ที่ท่าน ธรรม-ชาติ พูดถึงนะครับ

    ต้นฉบับอ่านได้ที่นี่ครับ

    http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1675
     
  14. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    พี่คะ
    มาเล่า ช่วงนี้ฝึกสังเกตตัวเองว่ากำลังอยู่กับตน หรือ อยู่กับรู้อยู่คะ
    เวลาเดินไปไหนทำอะไร จะกำหนดให้รู้คลุมตัวก่อน เวลาที่อยู่กับตนแล้วความคิดมันก่อกำเนิดแล้วไปที่อื่นต่อพอไปได้สักพักเมิลเหมือนกับโดนกระชากกับมาให้อยู่กับรู้คะ
    อันนี้เกิดขึ้นหนหนึ่ง แต่งงว่าปกติไม่เคยกลับมาแรงแบบนี้เลย
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    หรือครับ พรหม เป็นจิตตั้งมั่นมีอารมณ์เดียว เกิดจากการรู้เห็นเอง

    นิพพาน หมายถึงอะไรครับ
     
  16. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ผมคิดว่ากระทู้นี้ ไม่ใช่รายการแข่งประกวดตอบคำศัพท์ธรรมะ นะครับ :)
     
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493



    เมื่อเราต้องการมรรคผลนิพพาน คือปฏิบัติให้ถึงนิพพาน เราก็ต้องรู้เข้าใจก่อนว่า นิพพานคืออะไร ถูกไหมครับ
     
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    นิมิต มีหลากสีครับ ตามหลักของธรรมุธัจจ์ จัดอยู่ในจำพวกโอภาส ที่นักปฏิบัติได้ยินชื่อคุ้นหูว่า วิปัสสนูปกิเลส บ่งบอกว่าจิตมีสมาธิเล็กๆ
     
  19. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    พี่คะ
    มาเล่า ช่วงนี้ฝึกสังเกตตัวเองว่ากำลังอยู่กับตน หรือ อยู่กับรู้อยู่คะ
    เวลาเดินไปไหนทำอะไร จะกำหนดให้รู้คลุมตัวก่อน

    +++ ในขณะที่เป็น "ตน" สภาวะรู้ จะอยู่ข้างนอก ในขณะที่เป็น "รู้" ตน จะอยู่ข้างใน และถูกรู้

    เวลาที่อยู่กับตนแล้วความคิดมันก่อกำเนิดแล้วไปที่อื่นต่อพอไปได้สักพักเมิลเหมือนกับโดนกระชากกับมาให้อยู่กับรู้คะ อันนี้เกิดขึ้นหนหนึ่ง แต่งงว่าปกติไม่เคยกลับมาแรงแบบนี้เลย

    +++ เป็นอาการคล้ายกับ "การเข้าฐาน" เหมือนกับในตอนแรกที่ฝึกหรือเปล่า ที่เป็นลักษณะ "วูป" เดียวแล้วเข้าเต็มฐาน
    +++ หากเป็นลักษณะที่ว่า ให้ทำการ "ตรึง" วาระจิตสุดท้าย ก่อนที่จะ วูป กลับมา ตรงนี้ความละเอียดอยู่ในระดับ "เจโตปริยะญาณ" ก่อให้เกิดผลลัพธ์เป็น "สัญชาติญาณ" ปกติตรงนี้ มักมีเหตุอะไรบางอย่างที่ทำให้เกิด "ความจำเป็นรีบด่วน" หาก "ตรึง" วาระจิตสุดท้ายได้ ก็จะไขปริศนาได้ นะครับ
     
  20. jadeprawit

    jadeprawit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +117
    กราบขอบคุณอาจาร์ยมากค่ะ

    มีคำถามตรงนี้ค่ะ

    เมื่อพร้อมแล้วก็อาจจะให้ "อยู่รอจนกว่าเวทนาจะปรากฏ" แล้วจึง "เดินจิตแยกเวทนาออกจากตน" หากทำได้ก็จะ "รู้แจ้งว่า เวทนาอนัตตา มีสภาพเช่นไร"

    อยากให้อาจาร์ยสอนวิธี เดินจิตแยกเวทนา ค่ะ

    +++ ในสภาวะ "ขายของ" ให้ทำแค่ "รู้คลุมตัว" ไว้เท่านั้น ในเวลาที่มัน "หลุด" คือ มันไป "อยู่" กับอย่างอื่น หากฝึก "ปัฏฐาน" ได้แล้วกํจะเกิดความสามารถที่จะ "อยู่" กับอะไรก็ได้ แต่ในตอนแรก ๆ จะรู้ก็ต่อเมื่อ "ย้ายกลับมา อยู่ กับกาย" เท่านั้น ดังนั้นให้ฝึก "ย้ายกลับมา อยู่ กับกาย" ตรงนี้ให้เป็นนิสัย (นิสสะยะปัจจะโย)

    ทุกวันนี้ทึ่ทำคือ ฝึกมองดูตัวเองเหมือนมีอีกคนนึงมองดูตัวเราอยู่ข้างๆศรีษะ ถ้ายืนเดินหรือ
    นั่ง มองตัวเองตั้งแต่ศรีษะลงมาที่ปลายเท้าแบบหลวมๆ ทุกครั้งที่ทำรู้สึกว่าภายในสงบ
    แต่ส่วนใหญ่จะฝึกทำได้ตอนที่อยู่คนเดียว พอเจอคนอื่นที่ต้องพูดคุยจะเพลินหลงไปตลอด
    ยิ่งตอนอ่านอะไรหรือดูทีวี คนเดียวจะฝึกได้บ่อยๆ 2 กิจกรรมนี้ จะรู้สึกฟังเสียงหัวใจเต้นและเสียงคลื่นความถี่สูงถ้ากำหนดไปที่เท้าจะรู้สึก ซ่านๆชาๆได้เร็วเพราะฝึกกำหนดที่เท้าบ่อย ถ้าดูทีวีคนเดียวจะเหมือนดูไม่ค่อยสนุก ค่ะ ตรงนี้เป็นการรู้ตัวเฉยๆ ยังไม่ใช่รู้สึกทั้งตัวใช่มั้ยคะ

    ประมาณปลายเดือนกุมภาที่ผ่านมา มีอยู่คืนนึงนั่งสมาธิด้วยความที่อยากนั่งได้นานๆ พอเกิดอาการเบื่อในขณะที่หลับตานันกำหนดคำว่า สติ และนั่งเพ่งคำว่าสติไว้เฉยๆตลอด
    จนออกจากสมาธิ ก็นอนเพ่ง คำว่า สติ ไว้ตลอดจนหลับไปเมื่อไรไม่รู้ ปรากฏว่ากลางคืน
    ช่วงตี2-3 นันรู้สึกตัวตื่นก็พลิกตัว ขณะที่พลิกรู้สึกตัวค่ะว่ามีเสียง พรึ่บ ดังขึ้นที่หน้ามีแสง
    ออกมาจากกลางหน้าเรา รู้สึกได้ด้วยว่ามันออกมากลางหน้าไปทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
    รู้สึกตัวและพลิกตัว 3 ครั้งก็เป็นแบบนี้ทั้ง3 ครั้ง แต่ไม่ตกใจ แค่จำสภาวะไว้แล้วหลับต่อ
    ทั้ง 3 ครั้ง แล้วก็ไม่เคยเป็นอีกเลยหรือว่านันไปเพ่งคำว่าสติ จะเกี่ยวกันมั้ยคะ คือสภาวะอะไร

    อีก 3-4 คืนต่อมา นอนหลับไปแล้ว อยู่ๆกลางดึก ได้ยินคนมาเรียกชื่อเรา เป็นเสียงผู้หญิง
    แต่นันรู้สึกตัวนะคะ พยายามนอนนึกว่าเสียงใครที่นันรู้จัก แต่ไม่มีใครเสียงนี้ค่ะ อยู่คนเดียวแต่ก็ไม่กลัวนะคะ เริ่มๆจะชินกับอะไรแปลกๆ วันแรกที่มาอยู่วัดนี้(คนละวัดกับที่นันฝันเห็นภูเขาทอง) นั่งสมาธิวันแรกก็เจอเลยค่ะ ที่กุฏมีพระพุทธรูปในห้องอยู่2 องค์ นันจะนั่งสมาธิหน้าพระพุทธห่างกันแค่1 เมตร ขณะที่นั่งสมาธิอยู่มีเสียงอะไรตกที่โต๊ะที่วางพระพุทธรูปเสียงดังค่ะ นันก็สะดุ้งแต่ก็พยายามทำความรู้สึกอยู่แค่ที่ตัว ถ้าจิตส่งไปที่เสียงกลัวจะปรุงแล้วกลัว เลยตัดทันที ตกดึกฝันเห็นงูสีเหลืองนันก็ถือไม้ป้องกันตัวแต่ไม่ได้ตีเค๊าแค่กันๆแล้ววิ่งหนี งูก็เลื้อยตาม จนนันสะดุดล้มลง เค๊าตามมาติดๆมาจ้องประจันหน้ากันแบบหายใจรดหน้าเลย ต่างคนต่างมองแต่เค๊าไม่ทำอะไรเรา จนนันตื่นค่ะ

    นันคิดเอาเองว่าเจ้าที่เจ้าทางมาทัก อะค่ะ


    ฝันดีครั้งที่ 3 ........

    นันเดินๆไป ไปเจอแม่น้ำสายนึง น้ำแรงมากเหมือนน้ำป่าสีน้ำตาลไหลแรงมาก พอดีนันเหลือบไปเห็นเรือเหมือนแพอยู่ที่ตลิ่งมีเชือกพาดขอบตลิ่งมาเกยบนทาง นันเลยเอื้อมมือไปดึงเชือกเอาไว้คิดว่าจะดึงเรือแพไว้ไม่ให้ลอยไปกับกระแสน้ำ ปรากฏว่านันตกไปในเรือ
    น้ำไหลแรงเรือโคลงมาก มองไปข้างหน้าเห็นไม้ลอยมาในฝันนันคิดว่าเดี๋ยวเกาะไม้แผ่นนั้นนันก็ขึ้นได้เองแบบมั่นใจ เรือแพก็ลอยไปอีกแม่น้ำก็คดเคี้ยวนันมองเห็นตลิ่งนันก็คิดว่า
    เดี๋ยวนันกระโดดไปเกาะตลิ่งนันก็ปีนขึ้นได้เอง ความรู้สึกในฝันเหมือนอะไรๆก็ไม่น่ากลัว
    เห็นอะไรก็จะเอาตัวรอดได้อย่างเดียว ไม่มีทางจมน้ำตายแน่ สักพักนันหันมาด้านหลังตกใจค่ะ นันเห็นในหลวงมานั่งอยู่บนเรือแพด้านหลัง ท่านนั่งแบบสงบนิ่งไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้น
    ข้างหน้าท่านมีหนังสือวางอยู่เล่มนึงสีเทาๆน้ำเงินๆ ท่านไม่พูดอะไรเลยนิ่งอย่างเดียว นัน
    อยากก้มลงกราบแต่ก็อยู่ในสภาพที่เกาะเรือแพอยู่ กราบก็กราบไม่ได้ พอมองไปข้างหน้า
    เรือมาเกยฝั่งถึงที่แล้วค่ะ นันเดินขึ้นตลิ่งเฉยๆเลย น้ำก็เหมือนไม่เคยไหลบ่า ไหลแรง
    เหมือนนันขึ้นจากเรือธรรมดาๆเฉยเลย

    นันคิดว่าเป็นฝันดี อาจาร์ยว่ามีความหมายนัยยะอย่างไรคะ

    นันมีสภาวะธรรมแปลกๆอีกเรื่องค่ะ ในตอนบ่ายปลายเดือนกุมภานี้แหละค่ะ นันนอนหลับพอรู้สึกตัวตื่นแต่ยังไม่ได้ลืมตา นันเห็นพื้นหินขัดสีแดง(ตอนตื่นแล้วลุกแล้วนันนึกอยู่ตั้งนานว่าที่เห็นตอนหลับตาคืออะไรปรากฏว่ามันคือพื้นหินขัดที่เป็นส่วนขอบของห้องที่กุฏิค่ะ ห้องเป็นหินขัดสีขาวแต่ตัดขอบรอบๆห้องด้วยพื้นสีแดง)เห็นชัดมากเหมือนลืมตาเห็นเลย ขณะที่มองหินขัดอยู่ ก็มีลายเส้นสีขาวโค้งขึ้นโค้งลงเหมือนลายคลื่น พอเลื่อนสายตาดูเรื่อยๆมี
    เส้นสีดำๆเป็นลายเหมือนรากไม้แล้วคล้ายๆ เหมือนตราไปรษณีย์ที่เค๊าปั๊มตรงแสตมป์จดหมายน่ะค่ะ เส้นสีดำเหมือนน้ำหมึกปั๊มบนจดหมายแหละค่ะ ตื่นมาก็ทบทวนดูว่ามันคืออะไร ก็คือพื้นหินขัดที่ห้องแหละค่ะ แล้วลายขาวๆดำๆคืออะไร ก็ยังไม่รู้จนทุกวันนี้อะค่ะ
    อาจาร์ย

    ตอนนันเดินจงกลม ช่วงที่จะกลับตัวมีครั้งนึงขณะที่กำลังกลับตัว นันมองเห็นสะโพกตัวเอง
    เป็นเหมือนหนังแอมมิเนชั่น คือเห็นสะโพกตัวเองกำลังเคลื่อนเป็น3-4 จังหวะช้าๆ ชัดๆ
    แต่เคลื่อนของจริงมันเร็วแป๊ปเดียวค่ะ นันเห็นสภาวะอะไรอยู่คะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...