////// ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น ///////

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย xeforce, 1 มกราคม 2014.

  1. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    อนุโมทนาด้วยค่ะ
    คุณกลายแก้วรู้จักเลือกเฟ้นธรรมสำหรับตน ถึงกาลอันสมควรจะกระจ่างแจ้งได้เองค่ะ
     
  2. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ใช้ 3G, 4G หรือ Wifi อ่ะ อิอิอิ
     
  3. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    อนุโมทนาด้วยค่ะ
    คุณธรรม-ชาติอธิบายธรรมได้ละเอียดมาก เก็บทุกเม็ดเลยค่ะ เยี่ยมมาก อิอิอิ
     
  4. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    เอาแต่ว่าผู้อื่น เอาแต่จับผิดผู้อื่น
    แล้วตัว "นี่วอน" เองไม่จับผิดตัวเองบ้าง รึไง

    นี่วอน บอกว่า

    ธรรมสังเวช จะต้องปรากฏแต่แรก ก็คิดเอาเองเหมือนกันใช่ไหม
    มีหลักฐานไหมยกมาให้ดูหน่อยสิครับ ว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้ตรงไหนว่า ธรรมสังเวชต้องปรากฎแต่แรก?
     
  5. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    อ้างอิงท่านธรรม-ชาติ

    การกำหนดรู้ สู่ รู้การกำหนด

    “+++การกำหนดรู้ เป็นของผู้ที่รู้อาการของสภาวะรู้อยู่บ้างแล้ว การกำหนดเพื่อเข้าหาสภาวะรู้”


    ก็คือว่าเราต้อง มีสติรู้ในทุกอารมณ์ที่ได้รับจากการรับสิ่งที่กระทบทางผัสสะทั้ง 6 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ธรรมารมณ์) ก็คือ เมื่อ รู้แล้วก็มากำหนดจิตว่า เรารู้อาการที่เกิดขึ้น เรารู้สึกอย่างไร เราตัดสินใจอย่างไร ว่า รับอารมณ์นั้น ว่าดี ไม่ดี หรือ เฉย

    “+++การเดินจิตทุกครั้ง ย่อมปรากฏร่องรอยของการทำงานกิริยาจิต ทุกครั้งไป ในทุกวาระที่จิตทำงาน”


    ก็คือ ถ้าอย่างนั้น การที่เรารู้อาการที่เกิดขึ้น เรารู้สึกอย่างไร เราตัดสินใจอย่างไร เป็นกิริยาจิต เมื่อเห็นกิริยาจิตแล้ว จึงสามารถรู้การกำหนดจิตได้ว่าจะปฏิบัติต่อจิตอย่างไร ดี หรือ ไม่ดี หรือ เฉย

    +++ หลังจากอยู่ในช่วงนี้สักระยะหนึ่ง ก็จะเริ่มเข้าสู่การรู้จัก "ผู้กำหนดจิต หรือ ผู้ที่สร้างกิริยาจิต" ซึ่งก็คือ "รู้จักตน หรือ อัตตาจิต" เมื่อรู้ตรงนี้มากเข้าก็จะเข้าใจในคำว่า "จุดหย่อมของผู้รู้ (อัตตาจิต) อยู่ตรงไหน ชาติภพก็อยู่ที่ตรงนั้น" ของหลวงปู่มหาบัว ได้เอง แล้วจึงพัฒนาสู่ขั้นต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะอยู่กับ "ความเป็นจริง" ได้ด้วยตนเอง


    ก็คือ รู้จักตนที่เป็นอัตตาจิต ก็คือ ผู้ที่รู้ว่าเรามีปฏิกิริยาต่ออารมณ์ความรู้สึกอย่างไร

    *************************

    การรู้ตน สู่ ตนถูกรู้ ก็คือการสภาวะการหยั่งรู้ก็ยังต้องเป็นขั้นตอนสอดส่องหาธรรมอยู่ เพราะหลวงตายังรำพึง และ บอก จะเรียกว่าพิจารณาสอดส่องหาธรรมอยู่

    ดังที่หลวงตาได้กล่าวไว้ว่า "กลับมาก็พิจารณาจุดต่อมแห่งผู้รู้อยู่ที่ไหนนั้นแลคือตัวภพ อันนั้นก็มีแต่เรื่องใจ เศร้าหมองก็ใจ ผ่องใสก็ใจ สุขก็ใจ ทุกข์ก็ใจ ทำไมใจนี่เป็นได้หลายอย่างนักนา มันรำพึง พอว่าอย่างนั้นแล้วจิตอยู่ในมัธยัสถ์วางเป็นกลาง ไม่ได้คิดไม่ได้คำนึงอะไร ว่าจะจ่อกับอะไรก็ไม่จ่อ หากอยู่กลางๆ พอธรรมเตือนขึ้นมาอย่างนี้แล้วก็หยุดพักไป นิ่ง วางเฉย แล้วบอกขึ้นมาอีกว่าความเศร้าหมองก็ดีความผ่องใสก็ดี ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี ธรรมเหล่านี้ทั้งหมดเป็นอนัตตานะ คือไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ความหมายว่าอย่างนั้น เป็นอนัตตา พออันนี้ว่าแล้วก็สงบเงียบ"




    ส่วนสภาวะการรู้แจ้ง ก็คือหยุดกระบวนการและวางทุกอย่าง ใช้อุเบกขาเป็นธรรมสำคัญ

    ดังที่หลวงตาได้กล่าวไว้ว่า "ตอนนั้นไม่ตั้งใจจะจดจ่อกับงานอะไร อยู่ว่างๆ อยู่กลางๆ อุเบกขา ผางขึ้นมาเลยเชียว นั่น บทเวลาจะเป็น ไม่ได้มาเป็นตอนตั้งใจนะอยู่กลางๆ อุเบกขา ผางขึ้นมาเลยเชียว นั่น บทเวลาจะเป็น ไม่ได้มาเป็นตอนตั้งใจนะ

    นี่เรียกว่าธรรมเกิด ผุดขึ้นทั้งสองเลยขึ้นภายในใจ ขึ้นเป็นถ้อยเป็นคำชัดเจนๆ นี่ละที่เรียกว่าธรรมเกิด"


    จึงทำให้สู่การหลุดพ้นพ้นรู้ได้ตลอดสาย เกิดความรู้โดยไม่ต้องนึกคิด (โพฌชงค์) เอาสิ่งใดไปประกอบตัวรู้นี้จะรู้ได้เป็นสาย ๆ โดยไม่ต้องผ่านความนึกคิด เช่น เอาสติไปประกอบ ตัวนี้ ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ ซึ่งจะรู้เรื่องสติเป็นสาย ๆ ตั้งแต่ต้นจนถึงสติเว้นรอบ และเอาเรื่องเข้าไปประกอบ เช่น ธัมมวิจยะ ปิติ ปัสสัทธิ วิริยะ สมาธิ อุเบกขา ก็จะเกิดความรู้แต่ละอย่างเป็นสาย ๆ ตั้งแต่เหตุเกิดแต่แรก จนถึงขั้นสุดท้าย โดยไม่ต้องนึกคิด เป็นความรู้ที่เรียกว่า “ตรัสรู้” ไม่เนื่องด้วยความนึกคิด

    ดังที่หลวงตาได้กล่าวไวว่า "ทีนี้เวลาธรรมทำงานเข้าในหัวใจอันเดียวกันแล้ว และมีกำลังกล้าขึ้นเท่าไรๆ กิเลสยิ่งหมอบลงๆ ทีนี้ยิ่งตีหนักเข้าๆ สุดท้ายตั้งแต่ตื่นนอนถึงหลับนี้เผลอเวลาไหนไม่มีเลย เป็นเองนะ จึงเรียกว่าอัตโนมัติ เป็นเอง จากนั้นก็เชื่อมเข้าไปหามหาสติมหาปัญญา พอเข้ามหาสติมหาปัญญาแล้วมันเป็นเรื่องซึมซาบ อันนั้นยังละเอียดกว่านี้อีกนะเรามาพูดได้เพียงแค่นี้ มหาสติมหาปัญญานี้ซึมไปเลยเชียว ซึมไปเลย สติปัญญาอัตโนมัติ"
     
  6. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    *** "การกำหนดรู้" คือการกำหนดที่ให้ผลลัพธ์เป็น "รู้ทั้งกาย หรือ รู้สึกทั้งกาย" เท่านั้น และไม่ได้กำหนดอื่น ๆ อีกเลย "เพียงแต่ รู้ อยู่กับกาย" เท่านั้น

    1. หากเป็นการกำหนด "รู้" ทั้งกาย จะได้ผลเป็น "สติอยู่ข้างนอก ส่วนกายอยู่ข้างใน โดยถูกสติครอบคลุมอยู่ทั้งตัว" (กรรมฐานโดยมี รูปกาย เป็นหลัก)
    2. หากเป็นการกำหนด "รู้สึก" ทั้งกาย จะได้ผลเป็น "สติอยู่ข้างใน ส่วนกายอยู่ข้างนอก โดยถูกกายครอบคลุมอยู่ทั้งตัว" (กรรมฐานโดยมี นามกาย เป็นหลัก)

    *** ณ ขณะใดก็ตามที่ "การกำหนด รู้ (1 หรือ 2) จบสิ้นลง" ผัสสะจะถูกรวบลงมาเหลือผัสสะเดียวเท่านั้น ตรงนี้คือ ศีลสังวรข้อเดียวของหลวงปู่มั่น หรือ จิตไม่ส่งออกไปต่อกับสมุทัย (จิตส่งออกคือสมุทัย) ของหลวงปู่ดูลย์ หรือ จิตไม่จ่อ ของหลวงตามหาบัว

    *** ขณะที่ผัสสะเหลือเพียงผัสสะเดียว โดยมี รูป หรือ นามกาย เป็นฐานแห่งการตั้งอยู่นี้ (อยู่กับฐาน) แม้ว่าจะมีสิ่งอื่นกระทบเข้ามาทางผัสสะอื่นก็ตาม แต่การอยู่กับฐาน จะทำให้ จิตไม่ส่งออก จิตไม่จดจ่อ ต่อภายนอก จึงตั้งอยู่กับฐานเพียงประการเดียว ตรงนี้เป็นการ "ทำอพรหมจริยา" ให้ปรากฏเป็นจริง และพ้นจาก "กาเมสุมิจฉาจารา" โดยมี รูปกาย หรือ นามกาย เป็นฐานที่เกาะหรืออาศัยอยู่ เป็น "วิตก" ส่วนการ รู้ อยู่กับฐานนั้้น ๆ เป็น "วิจารณ์" เมื่อการ ตั้งฐาน เสร็จเมื่อใด ฌาน 1 ย่อมปรากฏเมื่อนั้น ทั้งหมดมี การตั้งฐานเป็นเหตุ ส่วน ฌาน 1 เป็นผล และ ฌานนี้เป็น ฌานที่มีสติเกาะอยู่กับตน กล่าวได้อีกภาษาหนึ่งว่า "มี ตน นั่นแหละเป็น ฌาน โดยมี สติ เป็นพี่เลี้ยง" หรือจะกล่าวให้พิสดารขึ้นไปอีกหน่อยก็ได้ว่า "มีกายเป็นฌาน แต่มีสติเป็นพี่เลี้ยง" ก็ได้ ทั้งหมดเป็นอาการเดียวกัน แต่ใครเข้าใจในการใช้ภาษาตรงไหนได้ดีกว่า ก็เอาตามความเข้าใจในภาษานั้นก็แล้วกัน

    *** การตั้ง สติ จนเป็นสมาธิในข้อที่ 1 ส่งผลถึง "รูปฌาน 4" ส่วนในข้อที่ 2 ส่งผลถึง "อรูปฌาน จิตเปล่งรังสี (อาภัสสระพรหม) รวมทั้ง ต้นกำเหนิดของจิต" ตรงนี้ข้ามพ้นควาาม ดี-ชั่ว ในชั้นกามาวจร ไปนานแล้ว นะครับ

    *** "กิริยาจิต" เป็น อเหตุกจิต ประการหนึ่งซึ่งเกิดก่อน "ความรู้สึก นึก คิด" ใด ๆ ทั้งมวล และ เป็น "กิริยาอาการที่เกิดจากจิตเฉย ๆ" ที่ไม่ได้ให้ความหมายใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นเพียง "ร่องรอยการทำงานของจิต เท่านั้น" หาก "ตามกิริยาจิต ลงไป" ก็จะเป็นเรื่องของ "จิตส่งออก" แต่ถ้าหาก "ทวนกิริยาจิต ขึ้นมา" ก็จะเป็นเรื่องของ "อัตตาจิต"

    *** ยามใดที่ "อัตตาจิต ถูกรู้" ยามนั้นจึงเป็นสภาพที่ "พ้นจาก ผู้รู้มากยากนาน" และเมื่อ "พ้นแล้วมันก็จะดับไปเอง"

    *************************
    *** คำว่า "พิจารณา" ของหลวงตาในที่นี้ คือ "ในขณะที่ จุดต่อมแห่งผู้รู้ กำลังถูกรู้อยู่ในปัจจุบันขณะนั้น ๆ" ส่วนคำว่า อนัตตา ในขณะจิตนั้น ๆ คือ "มันไม่ใช่ตัวเรา" มันเปรียบเสมือน "วัตถุ หรือ อะไรตัวหนึ่ง" ที่มีสภาพอยู่ข้างหน้าเรา แต่ไม่ใช่เรา เท่านั้น

    *** รู้แจ้งในปัจจุบัน ณ ขณะจิตนั้น ๆ คือ "รู้ว่า มันไม่ใช่เรา"

    *** หลังจาก อัตตาจิต หรือ "ตัวรู้มากยากนาน" ถูกรู้แล้วมันก็ดับไปตามธรรมชาติของมัน "อุเบกขา ในที่นี้ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ธรรมารมณ์ หรือ ฌานใด ๆ ทั้งสิ้น" แต่เป็นสภาพที่ "สังขตธรรม" ดับไปไม่ปรากฏ มีอยู่แต่ "อสังขตธรรม" ที่มีมาก่อนการกำเหนิดของจิต เท่านั้น

    *** จากนั้น "ตัวรู้มากยากนาน" ก็ผุดขึ้นมาอีกที ตรงนี้แหละที่ "ตัวรู้มากยากนาน" มัน "ผางขึ้นมาด้วยความเข้าใจในตัวมันเอง" และตรงนี้เป็นเรื่องที่ "ตั้งใจไม่ได้ เพราะ ใจ ในที่นี้ยังไม่ได้เกิดขึ้นมา" ความตั้งใจจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ มีใจอยู่ก่อนแล้ว (ใจ ในประโยคนี้ชี้ไปที่ อัตตาจิต หรือ ผู้รู้มากยากนาน นั่นแหละ)

    *** ตรงนี้เป็น "ผลลัพธ์" ที่ต่อเนื่องมาจาก "ผาง" ตรงนั้น บางท่านอาจได้ทุกอย่างในขณะจิตที่ ผาง แต่บางท่านต้องผ่าน การย่อย ทยอยมาเองหลังจาก ผาง ตรงนั้นผ่านพ้นไปแล้ว

    *** ถือว่าเล่าสู่กันฟัง เท่านั้นก็พอ นะครับ
     
  7. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,022
    +++ ผู้ใดที่ไปถึง "อัตตาจิต" และจัดการกับมันไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว จะมีอาการที่เด่นชัดประการหนึ่งคือ "เบื่อหน่ายต่อการ พิจารณา ทุกชนิด" "เบื่อหน่ายต่อการ ปรุงแต่งของ สังขารจิต" แม้สังขารจิตยังมีการปรุงแต่งอยู่แต่ก็จะเป็น "สังขารุเบกขาญาน"

    อันนี้จริงๆ เบื่อหน่ายต่อการปรุงแต่งของสังขารจิต ได้แต่ดูแล้วก็ เฉย ไม่พยามปรุงต่อ แต่ห้ามมันปรุงไม่ได้ มันก็ปรุงของมันไป ก็ดูมันไป ปรุงจบๆ ไป เรื่องใหม่มาปรุงอีก
     
  8. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ใช่ครับ การภาวนาที่ได้ผลมันต้องเบื่อหน่าย การปรุงแต่ง อยากจะพ้นๆไป
     
  9. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ผมชอบอุปมาของพระพุทธองค์บทนี้ครับ

    ราธะ ! ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิอันใด ตัณหาอันใด
    มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ
    เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้นๆ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.

    ราธะ ! เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารีน้อยๆ เล่นเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินอยู่
    ตราบใดเขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย มีความเร่าร้อน และมีตัณหา
    ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ตราบนั้น พวกเด็กน้อยนั้นๆ
    ย่อมอาลัยเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
    ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
    ย่อมยึดถือเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ว่าเป็นของเรา ดังนี้.

    ราธะ ! แต่เมื่อใดแล พวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารีน้อยๆ เหล่านั้น ปราศจากราคะแล้ว
    ปราศจากฉันทะแล้วปราศจากความรักแล้ว ปราศจากความเร่าร้อนแล้ว
    ปราศจากตัณหาแล้วในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้นในกาลนั้น พวกเขาย่อมทำเรือนน้อยๆ
    ที่ทำด้วยดินเหล่านั้นให้กระจัดกระจายเรี่ยรายเกลื่อนกล่นไป กระทำให้จบการเล่นเสีย
    ด้วยมือและเท้าทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด.

    ราธะ ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ :- แม้พวกเธอทั้งหลายจงเรี่ยรายกระจายออก
    ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณจงขจัดเสียให้ถูกวิธี จงทำให้แหลกลาญโดยถูกวิธี
    จงทำให้จบการเล่นให้ถูกวิธีจงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด.
    ราธะ ! เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้นคือ นิพพาน ดังนี้แล.
     

แชร์หน้านี้

Loading...