////// ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น ///////

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย xeforce, 1 มกราคม 2014.

  1. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    เมื่อไม่นานมานี้ ผมเองก็มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการบรรลุธรรม เกี่ยวกับฌาน ๔ เช่นกัน
    แต่ว่า นั่นเองก็คือความยึดมั่นอย่างหนึ่ง อ่านตำราจากครูบาอาจารย์ที่พิมต่อๆำกันมา
    บทความย่อมกำกวมบิดเบือนได้ การไปยึดมั่นตรงนั้นทำให้เรามองข้ามความเป็นจริงไป
    สมภะ และ วิปัสสนา จริงๆแล้วก็ไม่ได้เป็นการฝึกอะไรเลย
    เป็นเพียงสมมติบัญญัติใช้เรียกสภาวะธรรมเท่านั้น
    สมถะ เป็นสภาวะอารมณ์เดียว มีสมาธิมากๆ จดจ่อ กับบางสิ่งอย่างแน่วแน่
    พวกกรรมฐานต่างๆ ก็จัดเป็นการฝึกให้ได้ผลอย่างนี้ เลยไปเรียกว่าสมถภาวนาหรือสมถกรรมฐาน
    วิปัสสนา เป็นสภาวะธรรมแห่งความเข้าใจ สภาวะแห่งปัญญา พินิจพิจารณาความเป็นธรรมชาติ
    พิจารณาความจริง เมื่อเห็นความจริง เห็นประโยชน์ รู้โทษ จึงนำไปสู่การปล่อยวาง จากความยึดมั่นในธรรมต่างๆ
    การฝึกสติปัฏฐานเพื่อเจริญสติ กำหนดรู้สภาวะเกิดดับ มันก็คือการเจริญปัญญา เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ เพื่อให้ละวางจากธรรมชาติ จึงได้เรียกการปฏิบัติอย่างนี้ว่า วิปัสสนา

    ถามว่า สมถะ และ วิปัสสนา ในความเป็นจริง แยกกันไม่ออก
    เพราะเพียงแค่นั่งนิ่งๆ หรือยืนอยู่ก็ตาม
    เมื่อไม่ได้มีความคิดอะไรอื่น นอกจากการพิจารณาธรรม (จิตแน่วแน่เป็นสมาธิ เป็นสมถะ)
    เห็นใบไม้ร่วงก็พิจารณาไปถึงความเกิด การเติบโต ความร่วงโรย (พิจารณาธรรมเพื่อความเข้าใจ เป็นวิปัสสนา)
    อย่างนี้ ก็ได้ทั้งสองอย่างพร้อมๆกัน เป็นทั้งสมถะกับวิปัสสนาแล้ว

    สมาธิ สมถะ ก้าวไประดับสูงขึ้น สูงขึ้น ไปจนถึงระดับฌานต่างๆได้ ก็ยิ่งละกิเลสตัวป่วนได้มากขึ้น หากมีปัญญามาก กิเลสน้่อย ไม่ต้องถึงฌานสูงๆก็มีสมาธิพอเข้าใจธรรมได้ ไปวิปัสสนาได้ ส่วนการวิปัสสนา ก็เพื่อความเข้าใจธรรม พิจารณาไป พิจารณามา ด้วยการใช้ความคิดนั้นๆ
    มันก็เกิดเป็นสมาธิขึ้นมาอยู่เสมอ แม้ไม่เคยฝึกสมถะ มันเกิดเป็นปรกติ
    เพราะสมาธิย่อมต้องมี เพื่อใช้ความคิดพิจารณา

    ฉะนั้น ในสมถะ มันมีฌาน ได้แค่เพียงฌาน ไม่มีการคิดพิจารณา จะบรรลุด้วยฌานเพียวๆไม่ได้
    แต่ในวิปัสสนา มันมีสมาธิ มันมีสมถะอยู่ด้วยอยู่แล้ว พิจารณาธรรมให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ได้เมื่อไร ก็ปล่อยวางได้ เมื่อนั้นก็บรรลุธรรม (มีแน่บุคคลที่บรรลุธรรมแล้วยังไม่รู้เรื่องฌาน ไม่รู้เรื่องสมาธิ เพราะตนเองได้ไปโดยไม่รู้ตัว)
     
  2. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ภาษาการสื่อความหมายยังดูกระจัดกระจายนะครับ ไม่ค่อยชัดเจนว่าจริง ๆ ตั้งใจจะสื่ออะไรมากที่สุด
     
  3. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    อนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ

    ความรู้เรื่องความเกิด-ดับเหมือนกับฟองน้ำที่เกิดจากลูกคลื่นฉันใด หากเพ่งพิจารณาจนความรู้แน่นแฟ้นจนย้อมติดอยู่ในใจ เพื่อให้มีกำลังแรงมากพอที่จะเบื่อหน่ายไถ่ถอนจากการยึดติดได้ นี้เป็นแค่วิปัสสนาอันดับต้นใช่ไหมค่ะ
    ความเกิด-ดับ นั้นยังหยาบกว่า มันต้องเพ่งดูแต่ฝ่ายดับอย่างเดียว คือ ไม่เพ่งดูฝ่ายเกิด แต่เพ่งดูแต่ฝ่ายดับเพื่อให้เห็นความสลายหรือ ความดับลึกขึ้นรุนแรงที่สุด จนกระทั่งรู้สึกว่า โลกทั้งปวงไม่มีอะไรนอกจากความพังทลาย หรือ ความดับ เพื่อให้เห็นภาวะความมีความเป็น เป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะมีความแตกทำลายของสังขารทั้งปวงทุกขณะจิต จึงเกิดเป็นความหวาดกลัวสะดุ้งถึงที่สุดจริง ๆ ทุกขณะจิต ขึ้นในใจของผู้เห็นแจ้ง ว่าสภาพของสิ่งทั้งปวงประกอบด้วยโทษอันร้ายกาจโดยส่วนเดียว ไม่มีความปลอดภัยหลงไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น เต็มไปด้วยโทษต่างๆ ทุกกระเบียดนิ้วมองให้เห็นเพื่อเกิดความเบื่อหน่าย อยากทำให้หลุดพ้น จึงรู้สึกดิ้นรนหาทาง อันที่จะทำให้กิเลสนั้นอ่อนกำลังลงเสียก่อน โดยการพิจารณาให้เห็นสิ่งทั้งหลายนั้นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่น่าเอาน่าเป็นอยู่เสมอและยิ่งขั้นๆ นั่นแหละคือการตัดอาหารของกิเลส ทำให้กิเลสถอยกำลังอยู่เป็นประจำวันเสมอไป เราต้องทำเพิ่มให้มากขึ้นทำให้แยบคายมากขึ้น โดยการสอดส่องหา ถ้าสู้หน้าไม่ได้ ก็ต้องใช้อุบายวิธีต่างๆ ทำให้มันอ่อนกำลังลง อุบายนี้เรียกว่า ปฏิสังขารนุปัสสนาญาณ การทำให้กิเลสอ่อนกำลังลงนั้น เป็นเหุตทำให้เราวางเฉยในสิ่งทั้งปวงได้ยิ่งขึ้นทุกที และโอกาสต่อไปความรู้อันเป็นเหตุให้วางเฉยในสังขารทั้งปวง ที่เรียกว่า สังขารุเปกขาญาณ ญาณนี้อาศัยการพิจารณาความว่างแห่งสังขารทั้งปวงว่า ว่างจากแก่นสารว่างจากความเป็นสัตว์เป็นบุคคล เมื่อวางเฉยในภาวะทั้งปวงได้อย่างนี้ ใจก็พร้อมจะรู้อริยสัจจสี่ ความเห็นที่พร้อมที่สุดที่จะรู้อริยสัจจ์ชนิดที่เป็นขั้นทำลายกิเลสเครื่องผูกพันคนให้ติดโลกให้หมดไป

    คัดลอกมาให้อ่านนะคะ
     
  4. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    อ้างอิงคุณ ซีฟอส และ คุณธรรมชาติ

    มีสติรู้เกือบทุกขณะที่ อารมณ์เกิดขึ้นมาในจิต

    "รู้ อาการ ดู" อาการดูนั้นมี "ความเป็น ตน" แฝงอยู่ด้วยกัน

    "สติเข้าไปรู้เข้าไปดู" นั้น คำว่า "สติ" ของคุณในขณะนี้ คือ "ตัวดู" นั่นเอง

    "ตัวดู" นั่นเองคือ "วิญญาณขันธ์"

    มีความเป็น "ตน" แฝงอยู่ อาจใช้อีกภาษาหนึ่งได้ว่า "อัตตาจิต"

    ส่วนอาการ "ยึด" คือ อาการที่ "อัตตาจิต ส่งออก" (จิตส่งออก ของหลวงปู่ดูลย์) แล้วไป "นำเข้า" สภาวะอื่นมาเป็น ตน ตรงนี้คือ "อุปาทานขันธ์"

    นั่นคืออาการที่ "ตัวดู ย้าย เข้าไป อยู่" ในอารมณ์ต่าง ๆ หากยามใดที่ "ตัวดู ถูกรู้" ก็จะ "เห็นกระบวนการ ย้าย-อยู่" ที่เรียกว่า "ยึดอุปาทาน" ได้ชัดเจนเอง

    "สติเข้าไปตามรู้เข้าไปตามดู" นั้นคือ อาการของ "ตัวดู" ซึ่งยังไม่ใช่ "สภาวะรู้ที่เป็น อสังขตะธรรม" ที่แท้จริง

    หลักปฏิบัติ" ที่จะทำให้ "รู้ตัวดู" นี้เป็นคำถามที่สำคัญมาก เพราะ "ตัวดู คือ อัตตาจิต" และมันเป็น "ตัวกูของกู" ตัวจริง

    "เจอตัวดู หรือ ผู้รู้ ที่ยังเป็น ตัวตน เราเขา" และเป็นต้นกำเหนิดแห่ง "โลกียะ" ทั้งหลายอยู่

    อาการของ "ผู้รู้" ที่ยังเป็น "ตัวตน" อยู่ใช่หรือไม่ วัตถุประสงค์ ก็มีเพียงแค่นี้แหละ คือ ทำให้ "ตน" มันกระโดดออกมาเท่านั้นเอง

    ตามความเป็นจริง คือ การละสักกายทิฏฐิ "ต้องรู้ ในขณะที่มันมีอยู่ หรือ ปรากฏอยู่" จึงจัดเป็น "ปัจจุบันธรรม" (จี้ให้มันปรากฏ แล้วทำให้มันถูกรู้) ยามใดที่ "ทำไม่ให้มันเหลืออยู่" ยามนั้น "ย่อมตกไปใน ธรรมารมณ์" และมันไม่ได้หายไปไหน เพราะมันแปรตัวมันเองเป็นธรรมารมณ์ไปแล้ว

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "จะรู้ว่ามีแค่ธรรมชาติภายในกระทบกัน" นั้น จะมีกี่คนที่ "เห็นจริง" โดยไม่ได้ใช้ ความนึก ความคิด เข้ามาเจือปนและแทรกแซง
    ปัญหาทั้งหมดอยู่ที่ว่า "เห็นตัวตน" ก่อนหรือไม่ หากไม่สามารถเห็น สิ่งที่ต่อออกไปจากความเข้าใจ "ตน" ก็จะไม่เกิด และเป็นการ "สูญเปล่า" ในการปฏิบัติธรรม

    และถ้า "เห็นตน" แล้ว กระบวนการในการ "เดินจิต" เพื่อทำความเข้าใจกับมันก็จะเกิดขึ้นมาเอง และ "ไม่ใช่กระบวนการ นึก คิด" แต่อย่างใดทั้งสิ้น และในท่ามกลางระหว่างในช่วงนี้ "ความเป็นตนที่ถูกรู้" จะมีปรากฏอยู่ตลอดเวลา
    ภิกษุ ท.! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญ ญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญ ญ าณ ธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว; เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี. วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง ; เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่นเพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง; เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว; เมื่อไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน; ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก" ดังนี้.
    [/COLOR]

    *******************************************
    อนุโมทนาค่ะ

    ถามนะคะ

    ก็เป็นเพียงให้รู้ว่า ไม่ว่าจะอาการทางจิตที่เป็นเวทนา สัญญา สังขาร ที่เกิดขึ้นนั้น วิญญาณเป็นผู้รับรู้ทั้งหมด อาการที่เรามีสติเข้าไปรู้ เข้าไปดู จากการที่ตัวผู้รู้ หรือ ตัวดู รับนำเข้ามานั้นเป็นอุปาทาน ที่เรียกว่า อัตตาจิตใช่ไหมค่ะ
    แล้วเราจะมีวิธีจัดการกับมันอย่างไร ถ้าเรารู้แล้ว เห็นแล้ว ปล่อยวาง ให้มันเกิดดับ สิ่งที่มีอยู่มันจะหายไปหรือค่ะ ในเมื่อ อุปาทานที่เราเข้าไปยึด มันก็มาจากจิตที่มีความเห็น หรือ ทิฐิ เห็นผิด นอกจากจะทำให้มันเห็นถูกต้อง เสียก่อน มันจึงวางได้จริง ๆ
     
  5. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    อ้างอิง คุณธรรมชาติ

    อย่า "ด่วนสรุป" ด้วยความคิดใด ๆ นะครับ โดยเฉพาะการปฏิบัติธรรมนั้น "อย่าเอา ตรรกะ ทางโลก" เข้ามาเรียงเหตุผล ทุกอย่างต้อง

    เกิดมาจาก "การเห็น สภาวะนั้น ๆ ก่อน" และการเห็นนี้ ไม่ใช่ "การนึกเห็น คิดเห็น" แต่เป็นการ "เห็นสภาพ" ของมัน แต่อาจจะ "ใช้" การนึกเข้ามาแล้ว "ทำให้เห็นสภาพ" ของมันได้

    การ "พิจารณาต่าง ๆ" เป็นเพียงแค่ "การสร้างภาพสมมุติของตน" เท่านั้น แต่ไม่สามารถทำให้ "ตน" ปรากฏออกมาอย่างแท้จริงได้ เพราะ "การพิจารณาทุกชนิด เป็นจิตส่งออก"

    คำว่า "พิจารณา" ตามอาการของ "ภาษาในปัจจุบัน" ก็คือ "การคิด การสมมุติ" ซึ่งแตกต่างจาก ภาษาของครูบาอาจารย์สายกรรมฐาน ซึ่งหมายถึง "การหยุดคิดทั้งหมด แล้วจึง ดู หรือ จดจ่อ สภาวะธรรม" (ตั้งกายตรง ดำรงค์สติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า)


    **************************************

    อนุโมทนาค่ะ

    การนึกคิดพิจารณา เป็นทำให้รู้ความจริง แต่ยังไม่หลุดพ้นจากตัวตน เพียงแค่กิเลสอ่อนกำลัง ทำให้ตัวตนลดลง

    ประสบการณ์ข้าพเจ้า เคยใช้การนึกสภาพที่มันเกิดขึ้นกับชีวิตจริงของเรา ที่ทำให้ทุกข์ทรมาน ไม่มีสิ่งใดแน่นอน ทำไมถึงสภาพเป็นอย่างนี้ แล้วหยุดคิดทุกอย่าง ตั้งไว้อย่างนั้น แล้วได้สมาธิในแนวดิ่ง ผ่านคลื่นพลังงานเข้าไปรู้เห็นความจริงขึ้น จึงทำให้นึกถึงเรื่องที่อ่านไว้ว่า

    วันที่พระพุทธเจ้าฉันข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาแล้วลอยถาดเสี่ยงพระบารมีอธิษฐาน ถาดไหลทวนกระแสสู่ต้นกำเนิดน้ำและจมลงสู่ห้วงบาดาลพิภพ เป็นรหัสบุคลาธิษฐานของการภาวนาว่า

    "ต้องทวนเข้าสู่ต้นกระแสน้ำหรือ สมมุฎฐานของความคิด ความคิดออกมาจากไหนให้ไปรู้ที่นั่น"

    ลำธารนั้นไม่ใช่แม่น้ำเนรัญชรา แต่คือ กระแสธารแห่งอารมณ์

    พระองค์ทรงข้ามแม่น้ำเนรัญชราและไปนั่งใต้ต้นโพธิ์ภายในคืนนั้นนั่นเอง ภายในคืนนี้นั้นนั่นเอง พระพุทธเจ้าของเราได้อุบัติขึ้นช่วงเช้าตรู่ โดยการทวนกระแสอารมณ์จนถึงที่สุดของอารมณ์ภาวนา ซึ่งแตกต่างจากกรรมวิธีอื่นที่เพ่งอารมณ์เป็นส่วนใหญ่ อันนำจิตเข้าสู่ภพต่าง ๆ ไม่ใช่การสิ้นภพสิ้นชาติ แต่ติดอยู่ในภพอันประณีต ดังดาบสสองคน คือ อุททกะและอาฬระดาบส เป็นต้น

    ดังกับวิธีที่ข้าพเจ้าอ่านมาและเคยลงไว้ในกระทู้ หัวใจของการปฏิบัติอยู่ที่นี่

    การเจริญวิปัสสนากรรมฐานหมายถึง การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 โดยการเอาปัญญา สัมมาทิฐิ (หรือ จิตตัวรู้) เข้าไปเฝ้าดูในรูปนาม (กายใจ) ปัญญาพิจารณา ความเป็น....... ที่เรียกว่าปัญญาสังกัปปะ โดยมีสัมมาสติ คือ การระลึกได้อยู่กับปัจจุบันเป็นตัวหนุน คือ ไม่ลืมการพิจารณา เพื่อพิจารณาค้นหาแล้ว ก็จะเห็นตัวเห็นนั้น เป็นปัญญาสัมมาทิฐิ มีความตั้งมั่นชอบเป็นตัวหนุน คือ ตั้งมั่นที่การเห็นรูปนาม

    สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ เห็นถูกต้อง คือ ปัญญาเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง เห็นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง เป็นทุกขังทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ เป็นปรมัตถะ คือ ไม่เปลี่ยนแปลง

    สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ คือ ดำริออกจากกาม คือ ความยินดีในสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดำริออกจากความพยาบาท คือ ความยินร้าย โกรธแค้น ดำริความไม่เบียดเบียน คือ อุเบกขา วางเฉย

    โดยความหมายในทางปฏิบัติแล้วสัมมาสังกัปปะ คือ ตัวพิจารณาวางความเห็นผิดอันเป็นเหตุเกิดจากทุกข์ (สมุทัย) เห็นเป็นอัตตาอันเริ่มมาจากความยินดี ยินร้าย และเพิ่มพูน ความเห็นถูกต้อง อันจะเกิดขึ้นได้ก็จะมีอุเบกขาที่สมบูรณ์ (สังขารุเบกขาญาณ)

    คือเป็นวิธีการปฏิบัติเรียกว่า เทคนิคต่างกัน แต่ละคนมีจริตต่างกัน รู้จักว่า คนนั้นต้องใช้แบบนั้น แบบนี้ ไม่มีเทคนิคตายตัว

    ส่วนตัวข้าพเจ้าเองยังไม่ได้บรรลุอะไรเลยนะคะ สมาธิฌานยังไม่ได้เลยค่ะ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า แม้แต่พระอรหันต์ ประเภท สุขวิปัสโก ต้องผ่าน ฌาน 4 นะคะ ข้าพเจ้าว่าจะนำมาลงให้อ่าน เกี่ยวกับเรื่องตามรอยพระอรหันต์ ทำไมท่านถึงกล่าวไว้อย่างนั้นนะคะ
     
  6. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ขอยกนิยามจากพระอภิธรรมมาดังนี้

    [๖๙] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิตความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.

    [๗๐] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมายความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือ ปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น.


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=598&Z=847

    ส่วนฌานนั้นหมายเอาจิตที่ประกอบด้วยองค์ฌาน
    [๗๒๑] ฌาน ๔ คือ
    ๑. ปฐมฌาน
    ๒. ทุติยฌาน
    ๓. ตติยฌาน
    ๔. จตุตถฌาน
    [๗๒๒] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
    อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ
    วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน
    ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
    [๗๒๓] ทุติยฌาน เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าไปสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุทุติยฌาน อันเป็น
    ไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    แก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เป็นทุกขาปฏิปทา-
    *ทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต
    มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่
    สัมปยุตด้วยฌาน
    [๗๒๔] ตติยฌาน เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย
    จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ
    ตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิต
    เป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ใน
    สมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า
    ตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
    [๗๒๕] จตุตถฌาน เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มี
    ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิท
    ในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด
    ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน
    ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=8618&Z=8653

    โดยสรุปคือ
    - สมถะ มีความหมายกว้างกว่าฌาน การทำสมถะ ไม่ได้หมายความว่าจิตต้องเป็นฌานเสมอไป
    - ฌาน เป็นส่วนหนึ่งของสมถะ
    - การปฏิบัติธรรมให้บรรลุธรรม พระพุทธเจ้าบอกให้เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาด้วยปัญญาอันยิ่ง
    - ขณะบรรลุธรรมจิตต้องรวมเป็นฌานเสมอ แม้ว่าก่อนหน้านั้น จะไม่เคยเข้าฌานมาก่อนเลยก็ตาม
     
  7. xeforce

    xeforce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +413
    การเห็นการเกิด-ดับ ตามความเป็นจริงที่เข้าใจกันเป็นอย่างไร ?

    ทำอย่างไร ให้เห็นการเกิด-ดับ ต้องคิดพิจารณา หรือไม่ ว่านี้เกิด นี้ดับ ?

    ต้องศึกษาธรรมต้องรู้ธรรมทั้งหมดหรือไม่ จึงหลุดพ้นจากทุกข์ ?

    ละสักกายทิฐิ แท้จริงเป็นอย่างไร ผู้ละแล้วยังต้องคอยตรวจหาความเป็นตัวตนอยู่หรือไม่ ?

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมนี้ต้องรู้ทุกตัวหรือไม่ ต้องรู้รอบไหม ?

    เมื่อยังไม่เห็นไตรลักษณ์ ยังไม่ละสักกายทิฐิ กระโดดไปวางอุปาทาน ในขันธ์ ได้เลยหรือไม่ ?

    "ปล่อยวาง" คำนี้ได้ยินบ่อย แต่เราต้อง คิด...ให้ปล่อย , หรือ เห็น...จนปล่อย กันแน่ ?

    ฟังธรรมอย่างเดียว บรรลุธรรมได้หรือไม่ แล้วทำไมพวกเราฟังธรรมแล้ว ไม่บรรลุ ?

    ปัญญาที่ออกมา ลักษณะเป็นอย่างไร ต่างจากการคิดพิจารณา หรือไม่ ?


    ...............................................................................
     
  8. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    เป็นบทความสำหรับบุคคลบางกลุ่มครับ
    บุคคลที่ผมต้องการสื่อไปถึงเขา ย่อมเข้าใจสิ่งที่ผมต้องการจะสื่อ
    คุณอ่านแล้วข้อความกระจัดกระจายก็ปล่อยให้เลยผ่านไปครับ
    ถือเสียว่า เป็นบทความลอยๆ พิมเล่นๆก็ได้ไม่ว่ากัน
     
  9. ปราบผี

    ปราบผี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +365
    การเห็นการเกิด-ดับ ตามความเป็นจริงที่เข้าใจกันเป็นอย่างไร ?

    คือการที่จิตรู้สึกได้ถึงอะไรสักอย่างที่เกิดขึ้น แล้วมันก็แปรปรวนไปสักพัก และมันก็ดับไป

    ทำอย่างไร ให้เห็นการเกิด-ดับ ต้องคิดพิจารณา หรือไม่ ว่านี้เกิด นี้ดับ ?

    การให้เห็นเกิดดับ จิตต้องตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดูก่อน ต้องรู้สึกตัว ไม่หลงไปในโลกของความคิด แล้วเอาจิตที่ตั้งมั่น นั้นมาใช้เจริญวิปัสสนาเกิดดับ ถ้าไม่เคยทำมาในชาติก่อนๆ จิตมักจะตั้งมั่นอยู่เฉยๆ โดยไม่พิจารณาเกิดดับ ต้องจงใจคิดขึ้นมาก่อน เพื่อนำร่องให้จิตคุ้นเคยกับการพิจารณาได้เองในภายภาคหน้า แต่ถ้าจะให้ได้ต้องพิจารณาและรู้สึกถึงเกิดดับ โดยอัตโนมัติ จากการที่ฝึกบ่อยๆจนจิตคุ้นชินกับการมองโลกเป็นไตรลักษณ์ จนเกิดการเห็นไตรลักษณ์อัตโนมัติขึ้นมา

    ต้องศึกษาธรรมต้องรู้ธรรมทั้งหมดหรือไม่ จึงหลุดพ้นจากทุกข์ ?

    รู้แค่ใบไม้ในกำมือเดียว คือ รู้ตามความเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมด ก็พ้นทุกข์ได้แต่ถ้ามีปณิธานตั้งใจสืบทอดศาสนาด้วยการสอนหรือเผยแพร่ ต้องรู้ให้มาก เพื่อการแผยแพร่ที่ถูกต้องตามจริงตรงกับพุทธบัญญัติ และเผยแพร่ได้กว้างขวางเหมาะกับจริตคนซึ่งมีหลากหลาย




    ละสักกายทิฐิ แท้จริงเป็นอย่างไร ผู้ละแล้วยังต้องคอยตรวจหาความเป็นตัวตนอยู่หรือไม่ ?
    แท้จริงคือการที่จิตยอมรับและเข้าใจว่า รูปนาม ขันธ์5 ที่ประกอบขึ้นแล้วจิตหลงยึดว่าตัวเรานั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่คิดเอา แต่เข้าไปถึงจิตถึงใจ มองลงมาย่อมเห็นเหมือนเป็นอะไรกลวงๆบ้าง เหมือนพยับแดดบ้าง รู้ว่ามีอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป อนัตตาไม่ใช่เพียงแค่ไม่ใช่ตัวตน แต่ยังหมายรวมถึงการที่ไม่สามารถบังคับได้ตลอดไป เช่น แม้เราอาจจะคิดว่าเราบังคับแขนให้ยกขึ้นได้ (สำหรับคนที่ไม่เป็นอัมพาตหรืออัมพฤก) แต่ความจริงคือเราไม่สามารถให้ยกมืออยู่เช่นนั้นตลอดชีวิตได้ หรือแม้ตาย มือข้างนั้นก็ต้องตกลงมาเป็นธรรมดา

    ต้องคอยตรวจไหม? ไม่จำเป็นเพราะสักกายทิฏฐิขาดแล้วก็ขาดเลย ไม่ต้องกังวลว่าเดี๋ยวมีตัวตนบ้างไม่มีตัวตนบ้าง เพราะรู้แล้วว่า มันไม่มีตัวตน จะตรวจยังไงๆ มันก็ไม่มี


    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมนี้ต้องรู้ทุกตัวหรือไม่ ต้องรู้รอบไหม ?
    รู้มุมใดมุมหนึ่งก็พ้นทุกข์ได้ แต่พอพ้นแล้วก็จะยอมรับว่าจริงทุกมุม

    เมื่อยังไม่เห็นไตรลักษณ์ ยังไม่ละสักกายทิฐิ กระโดดไปวางอุปาทาน ในขันธ์ ได้เลยหรือไม่ ?
    ได้แต่ได้ชั่วคราว เดี๋ยวก็กลับมายึดใหม่ ถ้ายังไม่ละสักกายทิฏฐิ ก็จะปล่อยได้อย่างมากก็แค่รูปขันธ์ แต่นามขันธ์นั้นปล่อยไม่ได้ อย่าว่าแต่ยังไม่ละสักกายทิฏฐิเลย แม้ละได้แล้วก็ยังวางอุปทานในขันธ์ได้ชั่วคราว แล้วก็เข้าไปยึดใหม่เนื่องจากอวิชชายังไม่ขาด จึงคิดว่าขันธ์ที่เป็นไตรลักษณ์นี่แหละมันยังมีช่องทางที่นำความสุขมาให้ จึงยึดอยู่แม้สักกายทิฏฐิขาดลงแล้ว


    "ปล่อยวาง" คำนี้ได้ยินบ่อย แต่เราต้อง คิด...ให้ปล่อย , หรือ เห็น...จนปล่อย กันแน่ ?
    ต้องเห็นจนปล่อย แต่แรกๆอาจต้องเริ่มจากการคิดเพื่อนำร่องให้จิตเห็นเองอยู่บ่อยๆ แล้วจิตจะเห็นเองโดยอัตโนมัติตามความคุ้นชินที่เคยฝึกไว้ พอเห็นมากเข้าจิตก็จะเรียนรู้ความจริงว่าเมื่อยึดแล้วจะนำความทุกข์มาให้ มันก็จะรังเกียจ และปล่อยทิ้งได้อย่างไม่อาลัยอาวรณ์

    ฟังธรรมอย่างเดียว บรรลุธรรมได้หรือไม่ แล้วทำไมพวกเราฟังธรรมแล้ว ไม่บรรลุ ?
    ต้องเห็นธรรม โดยมีสภาวะรองรับด้วยจึงบรรลุธรรม ธรรมคือธรรมชาติิหรือธรรมดานี่เอง เป็นธรรมดาที่ สิ่งใดเกิดขึ้นจากเหตุเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับลงเป็นธรรมดา แต่ที่ว่าไม่บรรลุก็เพราะฟังไปคิดไป ไม่ได้รู้เห็นสภาวะตามจริงโดยความเป็นธรรมดาของสรรพสิ่ง

    ปัญญาที่ออกมา ลักษณะเป็นอย่างไร ต่างจากการคิดพิจารณา หรือไม่ ?
    ปัญญาในทางธรรมออกมาจากจิตที่เข้าใจความจริง (ภาวนามยปัญญา) ต่างจากการคิด (จินตามยปัญญา) อุปมาเหมือนวิศวกรที่คิดออกแบบแก้ปัญหาจากตำรา ย่อมต่างจาก ช่างก่อสร้าง จบ ป.4 แต่มีประสบการณ์หน้างาน มากมายสามารถรู้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยไม่ต้องเปิดตำรา เพราะมีปัญญาจากประสบการณ์ตรง

    ผิดถูกยังไงรบกวนคุณซีฟอสช่วยชี้แนะด้วย
    ....................................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2014
  10. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ของคุณ กลายแก้ว

    ถามนะคะ

    ก็เป็นเพียงให้รู้ว่า ไม่ว่าจะอาการทางจิตที่เป็นเวทนา สัญญา สังขาร ที่เกิดขึ้นนั้น วิญญาณเป็นผู้รับรู้ทั้งหมด อาการที่เรามีสติเข้าไปรู้ เข้าไปดู จากการที่ตัวผู้รู้ หรือ ตัวดู รับนำเข้ามานั้นเป็นอุปาทาน ที่เรียกว่า อัตตาจิตใช่ไหมค่ะ

    +++ ใช่ครับ แต่ต้องแยกระหว่าง "สติ กับ ตัวผู้รู้" ด้วยนะครับ อย่างที่หลวงตามหาบัวได้เคยบอกเอาไว้ว่า "มีจุดหย่อมของผู้รู้อยู่ที่ไหน ชาติภพก็อยู่ที่นั่น" ดังนั้น จุดหย่อมของผู้รู้ หรือ ตัวอัตตาจิต นี้จะเห็นได้ก็เฉพาะ "สติ" เท่านั้นจึงเห็น อัตตาจิต ได้

    แล้วเราจะมีวิธีจัดการกับมันอย่างไร ถ้าเรารู้แล้ว เห็นแล้ว ปล่อยวาง ให้มันเกิดดับ สิ่งที่มีอยู่มันจะหายไปหรือค่ะ ในเมื่อ อุปาทานที่เราเข้าไปยึด มันก็มาจากจิตที่มีความเห็น หรือ ทิฐิ เห็นผิด นอกจากจะทำให้มันเห็นถูกต้อง เสียก่อน มันจึงวางได้จริง ๆ

    +++ วิธีจัดการนั้น "จัดการตรง ๆ ที่ตัว อัตตาจิต" ซึ่งก็คือตัว "วิญญานขันธ์" นั่นแหละ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ "สติ ที่เป็นสภาวะรู้" ต้องเป็น "สติเห็น" วิญญานขันธ์เสียก่อน ซึ่งการทำงานของวิญญานขันธ์นั้น มีลักษณะ "ดู" เป็นการทำงานของมัน

    +++ ยามใดที่ยัง "ดู" เวทนา สัญญา สังขาร ใด ๆ อยู่ ยามนั้นก็จะถูกกิริยาของ วิญญานขันธ์ บดบัง แต่ยามใดที่ "รู้" อาการที่ "ดูไปดูมา" นี้ได้ ก็จะค่อย ๆ ทราบเงื่อนงำของ "ตัววิญญานขันธ์" นี้ได้เอง นะครับ
     
  11. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ขออนุโมทนาในย่อหน้าสุดท้ายนะครับ ในกรณีที่ แยกผู้รู้ผู้ดู กับ อาการความเป็นไปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการของผู้รู้ผู้ดูเอง หรืออาการอื่น ๆ ที่ปรากฏขึ้น ออกได้

    จุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การเห็นความเกิดดับนี่ เท่าที่ประสบมา มีสองส่วน คือ เห็น "อาการ" เกิดดับ กับอีกส่วนหนึ่ง ดับทั้งหมดรวมทั้งผู้รู้ผู้ดูเองก็ดับด้วย เท่าที่อ่าน ๆ มา กล่าวถึงแต่ส่วนแรกกันมากที่สุด แต่ส่วนหลังนี้ถ้าเกิดขึ้นจริง (แม้เพียงครั้งเดียว) ทิฏฐิความเชื่อเรื่อง มีตัวตนอะไรเป็นผู้เที่ยงจะไม่มีอีก (ตัวตนนะครับ ไม่ใช่แค่จิต เพราะว่าจิต (ในที่นี้) เป็นแค่อาการที่ถูกรู้ถูกดูเท่านั้นเอง)

    ทีนี้ขอยกในสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านเคยเมตตาอธิบายไว้บางประการ ท่านเปรียบสภาพของการหลุดพ้นไปแล้วดังนี้ว่า เหมือนภาพยนต์เรื่องจิตและการละกิเลสทั้งหมดที่เคยฉายอยู่ได้จบลง และไม่มีภาพยนต์ม้วนใหม่ใด ๆ เกิดขึ้นมาอีก และ ผู้รู้ผู้ดูและอาการนั้น ที่จริงก็คือ จิตทั้งหมด ที่แยกกันทำหน้าที่แต่ละอย่างเท่านั้นเอง ส่วนสภาวะที่เป็นอยู่ไม่ต้องไปบัญญัติว่ามันเป็นอะไรอีก หมดกรรมก็คือจบกัน
     
  12. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182

    อธิบายได้ดีมากพ่อคุณ ภาษาง่ายๆๆ
     
  13. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182

    อ่านแล้วไม่อยากยึดติดอะไรในโลกนี้เลย :cool:
     
  14. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    เอามั่งซี่

    การเห็นการเกิด-ดับ ตามความเป็นจริงที่เข้าใจกันเป็นอย่างไร ?

    ไม่รู้ซิ แต่ของเราเห็นอารมณ์น่ะ เวลามีผัสสะมากระทบก่อน แต่ถ้าไม่มีมันก็เห็น ความจำเก่าๆๆมั่ง ความคิดมั่ง ฮำเพลงมั่ง

    ทำอย่างไร ให้เห็นการเกิด-ดับ ต้องคิดพิจารณา หรือไม่ ว่านี้เกิด นี้ดับ ?

    ของเราไม่คิดนะ ดูอย่างเดียว


    ต้องศึกษาธรรมต้องรู้ธรรมทั้งหมดหรือไม่ จึงหลุดพ้นจากทุกข์ ?

    อันนี้แล้วแต่บุคคล นิสัยเขามาทางชอบสอนเขาก็ศึกษาหมด นิสัยลำคาญไม่ชอบสอน ก็รู้เฉพราะจุดที่จะทำให้เป็นโสดา แต่อันดับแรกก็ต้องรู้จุดก่อนถ้ายังไม่เป็นโสดา พอเป็นแล้วค่อยขยาย ตามนิสัย



    ละสักกายทิฐิ แท้จริงเป็นอย่างไร ผู้ละแล้วยังต้องคอยตรวจหาความเป็นตัวตนอยู่หรือไม่ ?

    ไม่รู้ตอบยาก แต่เราเข้าใจเพราะเราถามหลวงพ่อฤาษีเอาท่านก็แสดง สัญลักษณ์มาให้ดู ตรวจแน่นอน โกหกซิว่าไม่ตรวจ ที่เข้าใจว่าไม่ตรวจเพราะจอตมันเฉย จึงเข้าใจอย่างนั้น แต่ปัญญาทางโลกนะไม่ใช่ทางธรรม มันก็หาอ่านโน่นนี้เพื่อตรวจตัวเองว่าใช่ไหม หลวงพ่อฤาษี หลวงพี่เล็ก ท่านยังถามพระพุทธเจ้าเลย แล้วท่านในนี้ที่อภิญญายังไม่ได้เลย ขี้เล็บอภิญญาก็ยังไม่ได้ แล้วท่านมาบอกว่าท่านไม่ตรวจ โกหกแน่นอน ลองสังเกตุจิตท่านดีๆๆ เพราะจิตท่านนิ่งและเฉยไงจึงเข้าใจผิด
    แสดงว่าท่านนี่เป็นพระโสดาบันที่เก่งกว่าหลวงพ่อฤาษีอีกเนอะที่ปล่าวประกาศว่าไม่ตรวจๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ:'(

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมนี้ต้องรู้ทุกตัวหรือไม่ ต้องรู้รอบไหม ?

    เดินไปทีล่ะขั้นบันได ขั้นนี้ก็รู้แค่นี้ ขั้นนี้ก็รู้แค่นี่ หรือไม่ก็แล้วแต่นิสัย

    เมื่อยังไม่เห็นไตรลักษณ์ ยังไม่ละสักกายทิฐิ กระโดดไปวางอุปาทาน ในขันธ์ ได้เลยหรือไม่ ?

    สตายใครสตายมัน
    "ปล่อยวาง" คำนี้ได้ยินบ่อย แต่เราต้อง คิด...ให้ปล่อย , หรือ เห็น...จนปล่อย กันแน่ ?

    แนวใครแนวมัน แต่ของเราเห็นอย่างเดียว


    ฟังธรรมอย่างเดียว บรรลุธรรมได้หรือไม่ แล้วทำไมพวกเราฟังธรรมแล้ว ไม่บรรลุ ?

    ฟังธรรมมันเป็นแผนที่ ถ้าเจอแผนที่ ที่ถูกก็ดีไป ถ้าเจอผิดก็เดินไกล


    ปัญญาที่ออกมา ลักษณะเป็นอย่างไร ต่างจากการคิดพิจารณา หรือไม่ ?

    คนอื่นไม่รู้ แต่เราอาศัยผัสสะเดิมๆๆทางโลกตรวจสอบ เช่นฟังเพลงเมื่อก่อนอิน แต่เดี๋ยวนี้มันไม่ค่อยเข้า ไม่ค่อยนะ แต่ยังเข้ามา20% สงสัยจะใกล้แล้ว
     
  15. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    เราลองเช็คจิตของเธออีกที เธอก็ยังตรวจอยู่ว่าเธอเป็นโสดาบันหรือไม่ ทั้งๆๆที่เธอก็เป็นแล้ว แต่เธอเพิ่งเป็นไง แต่เธอมาบอกคนอื่นตามพระไตรปิฏกว่า ไม่ตรวจๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเพราะเดี๋ยวมันไม่อินเทรนตามพระไตรปิฏกหรืออย่างไร

    เราไม่เข้าใจเธอจริงๆๆ
     
  16. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    ตัวเอง
     
  17. ปราบผี

    ปราบผี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +365
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หรือ หลวงพ่ีเล็ก จะตรวจหรือ ไม่ตรวจก็ช่างท่านเถิด
    เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน

    และไม่สามารถเปรียบเทียบได้หรอกว่า คนที่ไม่ตรวจสอบจะต้องเก่งกว่าคนตรวจสอบแบบนั้น

    แต่ผู้รู้ธรรมย่อมรู้ดีว่า กิเลสในใจตัวไหนสิ้นไปแค่ไหนแล้วบ้าง เป็นการรู้เอง เมื่อบรรลุธรรม อุปมาเหมือนคนหิวข้าว กินข้าวไปเรื่อยๆ เมื่อเริ่มหายหิวแต่ยังไม่ถึงกับอิ่ม ถึงจุดนี้ ก็รู้ชัดด้วยตัวเองว่าหายหิวแล้วใช่ไหม ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบตนเอง ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาบอกว่า นี่คุณหายหิวแล้วนะ ในเมื่อมันรู้ชัดเองแล้วนี่ว่ามันไม่หิวแล้ว แต่ก็รู้ว่ามันยังไม่ถึงกับอิ่ม และรู้ว่า ถ้ากินต่อไปสักพักก็จะอิ่มแน่ๆ ประมาณนั้น

    ตามตำราหลังจากบรรลุ ก็จะมีญาณตัวหนึ่งชื่อ ปัจจเวกขณญาณ หรือ ญาณที่พิจารณาทบทวน เป็นการตรวจสอบไปในตัวทันทีหลังจากบรรลุธรรม หลังจากนั้นไม่จำเป็นต้องตรวจสอบอะไรอีก เพราะประจักษ์ชัดแจ้งอยู่แล้วว่าอะไรเป็นอะไร

    ในอรรถกถา ท่านเปรียบไว้ว่า ขณะบรรลุธรรมขั้นต้นเหมือน เหมือนกับฟ้าแลบในเวลากลางคืนอันมืดมิดไร้แสงไฟ ทำให้มองเห็นบริเวณรอบๆได้ชัดเจน ทำให้รู้ได้ว่าอะไรเป็นอะไร ตรงไหนมีหลุมมีบ่อ และไม่หลงไปเชื่อทางเดินแบบผิดๆเป็นที่พึ่งในการนำไปสู่การพ้นทุกข์เพราะตอนฟ้าแลบนั้นเปิดให้เห็นทางแล้วว่า มีทางนี้ทางเดียวที่จะนำไปสู่การพ้นทุกข์ได้ จึงไม่จำเป็นต้องตรวจสอบอะไรเพิ่มเติมอีก
    เพราะรู้เห็นได้ด้วยตัวเองแล้ว ว่าพระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริง พระสงฆ์ มีจริงไม่ใช่แค่ผู้ห่มผ้าเหลือง แต่หมายถึงผู้มีระดับจิตที่สูงขึ้นกว่าปุถุชน ก้าวข้ามสู่อริยชนแล้ว เพราะสักวันหนึ่งภายภาคหน้าย่อมเข้าสู่ภาวะสิ้นทุกข์อย่างหมดจดแน่นอน เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น
     
  18. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=nkdzv-XCMn8"]พุทธวจน faq ผู้เข้าไปหาย่อมไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น - YouTube[/ame] พระสูตรเพิ่มเติม “ผู้เข้าไปหาย่อมไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น” หมายความว่าอย่างไร
     
  19. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ตามที่พระอาจารย์คึกฤทธิ์ฯ สรุปประมาณนาทีที่ 4.15 เป็นต้นไป
    มายเคยอธิบายเป็นแผนผังตามความเข้าใจตัวเองไว้ที่ http://palungjit.org/threads/นิพพานไม่ใช่ผู้รู้.505657/page-2#post8174901

    ปล. โค๊ตเว้นบรรทัด : <บีอาร์ /> บีอาร์ภาษาอังกฤษ

    ไม่รู้เครื่องที่มายใช้เพี้ยนหรือเป็นที่โปรแกรมของเว็บก็ไม่รู้ อิอิอิ
     
  20. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ไม่รู้ทำไม เมื่อคลิกอะไรๆ มันเด้งขึ้นไปด้านบนค่ะ อนิจจัง อิอิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...