ปัญหา 108 (3) (พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 15 ธันวาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ถาม 35 การปฏิบัติสมาธิจะมีขึ้นต่อเมื่อเกิดความอยาก และการปฏิบัติเพราะความอยาก จัดเป็นกิเลสหรือไม่

    ตอบ ความอยากที่ประกอบด้วยกิเลส เรียกว่า ตัณหา
    ความอยากที่ประกอบด้วยปัญญา เรียกว่า ฉันทะ
    การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เรียกว่า ธรรมฉันทะ
    ที่เราอยากละความชั่ว ทำความดี ชำระจิตให้ขาวรอบ เรียกว่า ธรรมฉันทะ
    โพชฌงค์ 7 ธรรมะซึ่งเป็นเครื่องตรัสรู้ มีสติ ธัมมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสธิ สมาธิ อุเบกขา
    ไม่ได้จัดว่าเป็นสังขารปรุงแต่ง แต่จัดเป็นธรรมะเพื่อละกิเลส

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  2. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ถาม 36 การเจริญภาวนาให้บรรลุธรรมะขั้นสูง บุคคลควรจะต้องออกจากเรือนใช่หรือไม่ (หมายถึงผู้หญิง)

    ตอบ ถ้ายังไม่พร้อม ก็ยังไม่จำเป็น แต่เราต้องจัดระเบียบในการดำเนินชีวิตให้เรียบว่าย ลดภารกิจที่ไม่จำเป็นลง สำรวมกาย วาจา ด้วยการรักษาศีล 5 พยายามหาโอกาสที่จะพัฒนาจิตใจ เจริญสติปัฎฐาน 4 โอกาสที่มนุษย์จะบรรลุธรรมมีได้ทุกคน เพราะการปฏิบัติธรรม ไม่จำกัด ชาย หญิง ไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา เป็นอกาลิโก แล้วแต่บารมีของเรา

    การบรรลุธรรมนั้น เพียงแต่ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะจิต
    เราจึงต้องตั้งเจตนาเพ่งพิจารณาให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนปล่อยวางในขันธ์ 5

    การปฏิบัติในเบื้องต้นของเราในฐานะฆราวาส เน้นที่รักษาศีล 5 และรักษาสุขภาพใจให้ดี
    ไม่ยินดี ยินร้าย ศีล 5 เป็นศีลของโสดาบัน ศีล 8 เป็นศีลของอนาคามี
    การที่เรามาปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล 8 ก็สามารถบรรลุอนาคามิผลได้

    ใครตั้งอยู่ในศีล 5 ได้ดีสมบูรณ์ พร้อมที่จะเป็นโสดาบัน ปรับปรุงทิฎฐิ
    ละสักกายะทิฎฐิ วิจิกิจฉา สีลพรตปรามาส
    นางวิสาขาได้เป็นโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ขวบ
    เมื่อโตเป็นสาว แต่งงานมีสามี บุตร 12 คน ธิดา 12 คน

    ดังนั้น ฆราวาสก็สามารถบรรลุธรรมเป็นโสดาบันได้
    [​IMG] หน้าที่ของเรา คือ ปฏิบัติดีที่สุดในสภาพปัจจุบัน

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ถาม 37 ในยุคเศรษฐกิจอย่างนี้ ท่านอาจารย์แนะนำให้ใช้ธรรมะข้อใด

    ตอบ ธรรมเรื่อง “ความสันโดษ” ยินดีในสิ่งที่ได้ พอใจในสิ่งที่มีอยู่ มองดูชีวิต
    ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ คือปัจจัย 4 ความจริงถึงมีน้อยก็อยู่ได้
    เช่น พระที่อยู่ในป่า กินน้อย นอนน้อย ก็มีความสุขได้
    ในการทำงานให้ยึดหลักอิทธิบาท 4 และให้ฝึกเจริญเมตตาภาวนา เจริญอานาปานสติ
    เมื่อมีความรู้สึกสุขใจ มีความพอใจในชีวิต ก็คือว่ามีความสำเร็จในชีวิตแล้ว

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  4. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ถาม 38 ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ กับการวางตัวเป็นอุเบกขา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

    ตอบ ต่างกัน ความรู้สึกหรือเวทนา มี 3 อย่าง คือ สุข ทุกข์ และเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์)
    อุเบกขา หมายถึง จิต รู้ตามความเป็นจริงซึ่งเวทนาทั้ง 3
    แล้วก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น บางครั้งทุกข์มากกว่าก็วางเฉยได้ บางครั้งสุขมากกว่าก็วางเฉยได้

    [​IMG] อุเบกขาจิต ในพรหมวิหาร 4 มีความหมายรวมถึง ความมีเมตตา กรุณา มุทิตา
    ไว้พร้อมกัน คือ การเข้าใจกฎแห่งกรรม

    เห็นตามความเป็นจริงแล้วว่าช่วยอะไรไม่ได้ แก้ไขไม่ได้
    ไม่ว่าสุข ไม่ว่าทุกข์ ก็วางเฉย ไม่ยึดมั่นถือมั่น

    อุเบกขานั้นเป็นคุณธรรมขั้นสูงสุดของพรหมวิหาร 4 และโพชฌงค์ 7

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  5. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ถาม 39 เรียนถามพระอาจารย์ว่า การเกิดปัญญานั้นเกิดอย่างไร แล้วทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าเกิดปัญญา

    ตอบ แบ่งเป็น 3 ระดับ

    สุตมยปัญญาปัญญาที่เกิดขึ้นจากการได้ยิน ได้ฟัง การอ่าน
    จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาด้วยจิตใจ
    ด้วยเหตุผล เพื่อน้อมจิตที่จะแก้ปัญหาจิตใจของตัวเอง
    เมื่อเริ่มแก้ปัญหาหยาบๆ ได้ หมายถึง ลด ละ กิเลส ความโลภ โกรธ หลง ได้ระดับหนึ่ง
    เป็นการโยนิโสมนสิการ
    ภาวนามยปัญญาปัญญาที่เกิดโดยสมถและวิปัสสนากรรมฐาน
    เมื่อจิตรู้แจ้งตามความเป็นจริง เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ถอนรากความโลภ ความโกรธ ความหลงได้

    สังเกตดูความก้าวหน้าแห่งปัญญาของตนได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น
    จากเดิมเคยเป็นคนสูบบุหรี่ กินหล้า แล้วเลิกพฤติกรรมดังกล่าว
    เพราะเห็นโทษของการกินเหล้า เมายา หันมาปรับปรุงแก้ไขตนเอง
    ตั้งใจสำรวมกาย วาจา รักษาศีล 5 อันได้แก่
    1. ละเว้นจากการทำลายชีวิตของผู้อื่นหรือสัตว์อื่น
    2. ละเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้มอบให้มาเป็นของตน
    3. ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    4. ละเว้นจากการกล่าวเท็จ
    5. ละเว้นจากการบริโภคสิ่งมึนเมา

    เห็นประโยชน์ของการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์ ทำวัตรสวดมนต์ อ่านหนังสือธรรมะ
    เจริญอานาปานสติ พยายามรักษาใจตนไม่ติดในอารมณ์ยินดี ยินร้าย
    ซึ่งเป็นปัญญาที่เหนือไปกว่าการรักษาศีล 5
    เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะเกิดขึ้นที่ใจ รู้ผิด ชอบ ชั่วดี มีหิริโอตัปปะ
    เป็นพื้นฐานในจิตใจ มีสุขภาพใจดี สามารถอาศัยสติปัญญาสอนใจตัวเองได้
    เมื่อตั้งใจปฏิบัติ เจริญสติปัฎฐาน 4 ก็จะเกิดวิปัสสนาญาณ เริ่มมีประสบการณ์ตามลำดับในวิปัสสนากรรมฐาน จนเข้าถึงอริยมรรค อริยผล

    [​IMG] ดังนั้น การปฏิบัติธรรม โดยการเจริญศีล สมาธิ ปัญญา จึงเป็นการพัฒนาปัญญาตั้งแต่ระดับศีลธรรม ถึงขั้นอริยะมรรค อริยผล และนิพพาน

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  6. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ถาม 40 ชีวิต คือกายกับจิต (ใจ) แล้วสติที่ใช้ระลึกรู้นั้น อยู่ที่ส่วนใดหรือมาจากไหน

    ตอบสติ คือความระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอ
    คล้ายกับว่าอยู่ระหว่างกายกับจิต เป็นหน้าที่ของจิตอย่างหนึ่ง คือ รับรู้จิต แต่อยู่เหนือจิต
    จิตเหมือนกับเด็กไร้เดียงสา เมื่ออุปกิเลสเข้ามาครอบงำ ทำให้จิตประกอบด้วย ความโลภ ความโกรธ ความหลง สติปัญญา สามารถควบคุมดูแลจิต ทำให้ดีก็เป็นได้ ไม่ดีก็เป็นได้ จึงต้องอาศัยสติปัญญาควบคุม

    หากสามารถตั้งสติระลึกรู้กาย เวทนา จิต ธรรม ได้ก็เป็นมหาสิตปัฏฐาน 4

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  7. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ถาม 41 ในเมื่อเวทนาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนาแล้ว ทำไมพระพุทธเจ้าเมื่อเกิดทุกขเวทนาจึงตรัสกับ พระอานนท์ว่า “เราตถาคตมีเวทนามาก เธอจงปูผ้าลาดสังฆาฏิให้เราตถาคตระงับเวทนา”

    ตอบ เวทนาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราก็จริง แต่เมื่อเวทนาหนักๆ ก็ต้องกัดฟันทนเหมือนกัน พระพุทธเจ้าเมื่อเกิดเวทนาหนักๆ ก็ต้องเอนกายพักผ่อน เพราะทุกขเวทนานั้นทนได้ยากเป็นธรรมดา พระอรหันต์เมื่ออากาศหนาว ท่านก็ต้องห่มผ้าให้ร่างกายอบอุ่น เมื่อได้กลิ่นที่เหม็นมากๆ หรือเรียกว่าอมเกลือ อมพริกเต็มปาก แม้ไม่ยึดมั่นในเวทนา ก็อาจถึงกับเป็นลมไปได้ พระอรหันต์ไม่ใช่หุ่นยนต์จึงมีความรู้สึก (เวทนา) เหมือนกับพวกเราทั่วไป แต่ท่านต่างจากปุถุชนทั่วไปคือละกิเลส ละตัณหาได้แล้ว จิตของพระอรหันต์ จึงเป็นอุเบกขาจิต ไม่ได้เกิดยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจต่อเวทนาทางกาย

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  8. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ถาม 42 แก่นแท้ของพุทธศาสนาคืออะไร

    ตอบ คือการปล่อยวาง
    ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ทำใจไม่ให้เป็นทุกข์ มีแต่สุข

    [​IMG] นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
    ความสุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี

    [​IMG] นิพพานํ ปรมํ สุขํ
    นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ที่มา..ธรรมจักรค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...