ปัญหา 108 (1) (พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 15 ธันวาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ถาม 19

    ส่วนบุญกุศลที่เราแผ่ไปถึงผู้ที่ตายจะถึงเขาหรือไม่


    ตอบ

    สิ่งนี้เป็นสิ่งละเอียดอ่อน ไม่แน่นอน เราอาจจะมีความรู้สึกว่า เขากำลังลำบากจริงๆ แต่เขาอาจจะมีความสุขกว่าเราก็เป็นได้ เช่น เขาอาจจะไปเกิดในตระกูลที่ดีกว่าหรือเป็นเทวดา ถ้าเป็นเช่นนั้น ไม่ค่อยจำเป็นที่เราจะทำบุญให้เขา แต่เขาก็อาจจะเกิดในภูมิที่ต้องการส่วนกุศลจากเราก็เป็นได้ หรือถ้าเขาทำกรรมหนักไว้ เขาอาจจะเกิดเป็นผีในภูมิที่ต่ำที่สุด ที่ไม่สามารถรับบุญกุศลที่คนอื่นอุทิศให้ก็ได้

    แต่เราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าผู้ตายไปเกิดอยู่ที่ภพภูมิไหน เราจึงมีหน้าที่ต้องทำบุญไปให้อยู่เสมอ เมื่ออาจารย์บวชใหม่ๆ อาจารย์ก็คิดว่าทำบุญกับคนล่วงลับไปแล้วไม่มีประโยชน์ เป็นสิ่งที่งมงาย แต่เดี๋ยวนี้ มีความรู้สึกตรงกันข้าม เห็นว่าควรทำ เพราะมีประโยชน์มากทีเดียว อย่างน้อยเราทำบุญเราก็ได้บุญแล้ว และอาจจะถึงผู้ตายด้วยก็เป็นได้ ผู้ตายเขาจะต้องการหรือไม่ เขาจะรับส่วนบุญกุศลได้หรือไม่ เราก็ไม่รู้แต่เราก็ทำบุญไปเรื่อยๆ เราทำบุญเราก็สบายใจ ได้บุญแล้ว และยังอาจจะได้ประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย

    สมมติว่าคน 2 คนอยู่ด้วยกัน เช่น สามีภรรยาก็ได้ เมื่อมีชีวิตอยู่มักจะทะเลาะกันบ่อยๆ ความใกล้ชิดมากทำให้มีอารมณ์มาก บางทีก็ไม่มีเรื่องอะไร แต่อาจจะเพราะ รัก หวง ห่วง หึง อิจฉา ฯลฯ ทำให้ทะเลาะได้ ภาษิตญี่ปุ่นสอนว่า “สามีภรรยาทะเลาะกัน หมาก็ยังไม่กิน” หมายความว่า เมื่อสามีภรรยาทะเลาะกัน คนที่อยู่รอบข้างไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยว ไม่ต้องห่วงเขา

    ทีนี้ฝ่ายหนึ่งตายก่อน อารมณ์ความจำมันจะตกค้างอยู่ในสันดานจิตใจของคนที่มีชีวิตอยู่ เหมือนถูกอัดเทปไว้ในสัญญาขันธ์ เมื่อเขาล่วงลับไปแล้ว ถ้าเราคิดถึงเขา มีใจเป็นบุญ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เขาบ่อยๆ นึกถึงความดีของเขาบ่อยๆ นึกว่าเขาเป็นญาติของเรา เคยใช้ชีวิตร่วมกัน เคยทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เคยมีความสุขร่วมกัน เรานึกถึงเรื่องฝ่ายดีๆ แล้วก็ทำบุญอุทิศแผ่ส่วนกุศลให้เขาไปเรื่อยๆ จิตใจของเราก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไป

    ตอนมีชีวิตอยู่ด้วยกันก็อาจจะต่างคนต่างบ่น แต่พอฝ่ายหนึ่งตายไปแล้ว ก็จะนึกถึงความดีของเขาง่ายขึ้น เพราะไม่ถูกกระทบอารมณ์ ความจำฝ่ายไม่ดีก็ให้อโหสิกรรมไปได้โดยอัตโนมัติ ฉะนั้น หน้าที่ของเราก็คือ พยายามใส่บาตร ทำบุญให้เรื่อยๆ ระลึกถึงแต่ความทรงจำฝ่ายดี อโหสิกรรม ให้อภัยเป็นอภัยทาน ปล่อยวางความไม่พอใจความจำฝ่ายไม่ดีเสีย

    ถ้าชาติไหนเราพบกันอีก ก็จะพบกันดีๆ มีความสุข ถ้าเราไม่ได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เขา ชาติต่อไปถ้าบังเอิญไปพบกันอีก พบปุ๊บก็อาจจะทะเลาะกันได้โดยไม่ได้ตั้งหลักเลย ก็เป็นได้ ระวัง !!
     
  2. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 18

    เวลานั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจไม่ค่อยได้ชัดเจน หายใจสั้นและเบามากจนจับลมไม่ค่อยได้ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด จะต้องปฏิบัติอย่างไรดี พอเพ่งลมหายใจก็เหนื่อยมากค่ะ


    ตอบ

    เพราะกายเริ่มสงบ ใจเริ่มสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน แต่ยังไม่มีสติสัมปชัญญะ พอที่จะกำหนดลมหายใจออก ลมหายใจเข้า จึงเกิดความรู้สึกว่างๆ ๆ ดูลมหายใจนิดหน่อย เห็นลมนิดหน่อย เหมือนลมหายใจเบา หายใจสั้นเกือบไม่มีลมหายใจ

    เพราะฉะนั้นต้องเจริญสติ กำหนดลมหายใจ รู้เฉพาะลมหายใจตลอดสาย รู้เฉพาะลมหายใจออก ลมหายใจเข้า เพ่งเฉพาะลมหายใจ ทำลมหายใจให้ยาวขึ้นนิดหน่อยโดยสุขุมนิ่มนวล เพื่อให้เกิดมีสติสัมปชัญญะ ให้ความรู้สึกตัวเด่นชัด

    ระบบอานาปานสติ ต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่กับลมหายใจตลอดสาย focus หรือเพ่งเฉพาะลมหายใจ focus ที่จุดเริ่มของลมหายใจ จุดสุดของลมหายใจ เพ่งอยู่อย่างนั้น แต่ต้องเพ่งด้วยใจที่สุขุมนิ่มนวล ให้เป็นไปโดยธรรมชาติ คือ การยกอานาปานสติขึ้นที่ 3 มาปฏิบัติ คือ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งลมหายใจ

    ระวังอย่าให้เกิดตัณหา อย่าให้ตัณหาเข้าไปในการปฏิบัติ อย่าปฏิบัติด้วยตัณหา ถ้าตัณหาเข้าไปในการปฏิบัติก็จะไม่เป็นธรรมชาติ ทำให้เกิดอึดอัด เหนื่อย เพราะตั้งใจมากเกินไป เพราะฉะนั้นต้องเริ่มด้วยการสันโดษ ค่อยๆ ปรับปรุงสติปัญญา ปรับปรุงวิธี “กำหนด” ค่อยๆ พัฒนาเป็นสมาธิต่อไป
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 20

    การบริจาคเงินสร้างกุฏิสงฆ์ สร้างที่อยู่ให้ผู้ปฏิบัติธรรม สร้างห้องน้ำ โดยบริจาคเงินอย่างเดียว ผู้บริจาคไม่มีโอกาสมาปฏิบัติ เพราะสังขารไม่ปกติ จะได้บุญเท่ากับผู้มาปฏิบัติหรือไม่


    ตอบ

    บุญเกิดขึ้นที่ใจ เปรียบเทียบกันไม่ได้ ผู้บริจาคเงินสร้างกุฏิสงฆ์ สร้างห้องน้ำ สร้างศาลาปฏิบัติธรรม ฯลฯ แต่ไม่มีโอกาส ไม่มีเวลา หรือร่างกายไม่อำนวยให้ไปปฏิบัติธรรมที่วัด กับผู้ที่มาปฏิบัติธรรมที่วัด เราไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกันได้ เพราะบุญเกิดที่ใจของแต่ละบุคคล

    ผู้ที่บริจาคเงินสร้างเสนาสนะต่างๆ ควรจะรู้ว่าบริจาคอย่างไรจึงจะได้อานิสงส์เต็มที่ คือ ทำบุญให้เป็นบุญ ให้ทานถึงใจ ไม่ใช่สักแต่ว่าบริจาคไป ให้ทานด้วยความผ่องใส ให้กับที่ที่ได้ใช้ประโยชน์ เป็นประโยชน์จริงๆ ให้แล้วระลึกถึงบ่อยๆ ด้วย เป็น จาคานุสติ ทำให้จิตใจผ่องใส เป็นปีติ เป็นสุข ถ้าอย่างนี้ก็ได้อานิสงส์ของการทำบุญเต็มที่ คือ ทำแล้วจิตใจเบิกบานแจ่มใส เป็นบุญ

    ถ้าใครทำทานบริจาคทรัพย์สมบัติได้ในลักษณะเช่นนี้ สามารถรักษาจิตใจให้มีความสุขตลอดได้ เขาก็ได้บุญเต็มที่แล้ว จิตใจเขาอาจจะดีกว่าผู้เข้าไปปฏิบัติในวัดหลายๆ คนก็เป็นได้ ฉะนั้นให้ “ทานถึงใจ” คือให้มีปีติ มีความสุขใจกับการให้ แล้วก็ระลึกถึงบ่อยๆ อาศัยข้อนี้เป็นพื้นฐาน แล้วก็พยายามรักษาใจให้อารมณ์ดีๆ ตลอดทั้งวัน ตลอดไป สร้างนิสัยเป็นคนอารมณ์ดี ใจบุญ ใจกุศล เป็นปกติ ถ้าทำได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องเปรียบเทียบกับคนเข้าวัด

    ผู้ที่เข้าวัดปฏิบัติก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป ผู้ที่เข้าวัดปฏิบัติอยู่เป็นประจำ แต่ถ้าจิตใจฟุ้งซ่านอยู่อย่างนั้น พอออกจากวัด ก็บ่นว่าสามี ลูกเด็กในบ้านตลอด อย่างนี้ก็ยังไม่ได้บุญเท่าที่ควร ฉะนั้น จึงสำคัญที่ใครรักษาใจเป็นปกติ รักษาใจให้แจ่มใสได้ตลอดไป ไม่ใช่ใจบ่น ใจทุกข์ ถ้าอย่างนั้น ผู้บริจาคก็ดี ผู้ไปปฏิบัติที่วัดก็ดี ก็ไม่ได้บุญเท่าที่ควรหรอกนะ

    สรุปว่า บุญอยู่ที่ใจ ใครรักษาใจดีได้ตลอดไป คนนั้นก็ใจบุญ และได้บุญ แม้จะเข้าวัดน้อยก็ตาม ถ้ารักษาใจให้เป็นปกติกับสามี ภรรยา ลูกหลาน เด็กๆ ในบ้านได้ คนนั้นก็ใจบุญ ได้บุญเต็มที่แล้ว คนที่ไปปฏิบัติที่วัดก็เช่นกัน ถ้าปฏิบัติรักษาใจให้เป็นปกติได้ดี ไม่ยินดียินร้ายได้ ก็ได้บุญเช่นกัน ฉะนั้นจะเปรียบเทียบเฉพาะการเข้าวัดกับการไม่เข้าวัดไม่ได้ ต้องดูที่ใจ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 21

    ปัจจุบันมีผู้ผลิตเทปดนตรี ซึ่งโฆษณาไว้ว่า เมื่อฟังแล้วจะทำให้เกิดสมาธิ เนื่องจากผู้ผลิตได้ใส่คลื่นเสียงที่มีความถี่พิเศษบางอย่างซึ่งมีผลต่อสมองของผู้ฟัง ท่านอาจารย์มีความเห็นอย่างไร เราจะฝึกสมาธิโดยใช้ดนตรีทำให้เกิดสมาธิได้หรือไม่


    ตอบ

    เสียงที่ทำให้เกิดความเร่าร้อน วุ่นวายก็มาก เสียงที่ทำให้ใจสงบก็มี นักวิทยาศาสตร์วินิจฉัยและรับรองไว้แล้วว่า เสียงลำธาร เสียงน้ำตก เสียงนก เสียงธรรมชาติ ทำให้คลื่นไฟฟ้าในสมองเปลี่ยน ทำให้สบายใจ ช่วยทำให้จิตใจของมนุษย์สงบลงได้ การนั่งสมาธิกับเสียงธรรมชาติ กับเสียงบางอย่างอาจจะสามารถผลิตคลื่นไฟฟ้าในสมอง ที่ช่วยทำให้ใจสงบ สบายได้ แต่สมาธิไม่เกิดหรอก

    สำหรับคนที่ยังไม่มีพื้นฐานในการปฏิบัติ นั่งสมาธิไม่เป็น ไม่มีโอกาสเข้าวัด ทำความเพียรไม่เป็น เสียงเหล่านี้ก็สามารถช่วยสนับสนุนให้หายเครียด ทำให้จิตใจสงบได้เหมือนกัน ดีกกว่าปล่อยให้เครียดจนเป็นโรคประสาท เสียงที่จะช่วยให้จิตสงบได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเทปที่เขาผลิตขาย เราอาจจะฟังเสียงแสดงพระธรรมเทศนาของครูบาอาจารย์ เสียงสวดมนต์ทำวัตรก็ทำให้จิตสงบได้ และอาจจะมีประโยชน์มากกว่า แต่ใครอยากจะฟังเสียงเทปที่เขาผลิตขายก็ไม่เป็นไร ดนตรีบางอย่าง ฟังแล้วใจก็สงบเหมือนกัน

    ในประเทศญี่ปุ่น พระเซนบางคณะเล่นดนตรีบางอย่าง เล่นดนตรีเป็นกรรมฐานก็มีอยู่ ดนตรีที่ทำให้เกิดความสงบก็มี คลื่นพิเศษที่เขาใช้ก็ใช้ได้ นักวิทยาศาสตร์ได้เช็คคลื่นไฟฟ้าของผู้เจริญกรรมฐานเขาไปวัดเซนที่ประเทศญี่ปุ่น เช็คคลื่นไฟฟ้าของอาจารย์ใหญ่ก็พบว่าคลื่นไฟฟ้าของท่านต่างจากคลื่นไฟฟ้าของคนธรรมดา คนที่ทำใจสงบไม่ได้ อาศัยสิ่งภายนอกก็ดีเหมือนกัน ข้อเสียของการใช้เทปดนตรีที่เขาผลิตขายอยู่ก็คือ เราต้องอาศัยสิ่งภายนอก เมื่อเราอาศัยสิ่งภายนอก เราก็ต้องอาศัยสิ่งภายนอกไปเรื่อยๆ

    สำหรับผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติ ในที่สุดเราก็ต้องควบคุมตัวเอง การฟังเทปครูบาอาจารย์ การเจริญอานาปานสติ ทำให้จิตใจสงบ ทำให้คลื่นไฟฟ้าในสมองเปลี่ยน กรรมฐานทุกอย่างก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การทำสมาธิ เราเปลี่ยนคลื่นไฟฟ้าในสมองด้วยตัวเอง

    วิธีที่ถูกต้อง สำหรับผู้ที่เข้าวัดปฏิบัติ ตั้งใจปฏิบัติ ก็ให้เจริญสติ รู้จักอารมณ์ของตัวเอง ควบคุมความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง อาศัยสติ - ปัญญา รักษาใจให้เป็นปกติ ใจดีนั่นแหละ เมื่อใจดี สุขภาพดี ใจสบาย สบายอารมณ์ อารมณ์ก็เย็น มีเมตตา เมตตาเกิด คลื่นไฟฟ้าก็เปลี่ยนไปๆ สติดี สมาธิดี อันนี้ก็ถาวร
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 22

    การทำสังฆทานจะได้กุศลมากกว่าการใส่บาตรพระใช่หรือไม่


    ตอบ

    ถ้าทำถูกต้องก็เป็นลักษณะอย่างนั้น ใส่บาตรพระเที่ยวภิกขาจารเพื่อเลี้ยงชีพ ปกติพระรับบาตรได้แค่ขอบบาตรไม่ให้ล้นบาตร การรับบาตรในเมืองทุกวันนี้ รับไปเรื่อยจนหิ้วเองไม่ไหว รับเท่าไหร่ก็ตามพระมีสิทธิฉันแค่มื้อเดียว เหลือทั้งหมดนั้นต้องสละไป ถ้าไม่มีใครกินก็ต้องทิ้งเน่า

    สังฆทาน ถ้าทำถูกต้อง ผู้รับต้องมีพระภิกษุ 4 องค์ขึ้นไป ผู้ถวายมีเจตนาที่จะถวายเป็นส่วนกลางของสงฆ์ไม่เจาะจงองค์ใดองค์หนึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบต่อไป

    สมัยพุทธกาล พระนางปชาบดีโคตมี ตัดจีวรด้วยผ้าไหมอย่างดีเป็นพิเศษ นำไปถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่รับ พระนางเสียใจมาก พระอานนท์ทูลขอให้พระพุทธเจ้ารับอยู่ถึง 3 ครั้ง เพื่อสงเคราะห์พระมารดา พระพุทธเจ้าปฏิเสธที่จะรับไว้ใช้เอง แต่ให้พระนางถวายเป็นสังฆทานโดยพระองค์ทรงเป็นประมุข แล้วก็ถวายจีวรนั้นให้แก่พระที่กำลังขาดจีวร และทรงอธิบายว่า การถวายสังฆทานอานิสงส์มากกว่าการเจาะจงถวายแม้แด่พระพุทธองค์ หรือพระอริยบุคคลอื่นๆ ก็ตาม นี่คือที่มาของสังฆทาน

    การใส่บาตรไม่ใช่การถวายสังฆทาน แต่เป็นการถวายเจาะจงเฉพาะพระองค์ที่รับบาตร ซึ่งจะฉันได้แค่อิ่มเหลือเท่าไหร่ต้องเสียสละหมด
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ถาม 23

    เวลาที่อยู่ท่ามกลางการจราจรที่ติดขัด อากาศก็เต็มไปด้วยมลพิษเราจะกำหนดลมหายใจอย่างไร


    ตอบ

    เวลาที่เข้าสมาธิดีๆ ปกติก็หายใจยาว สบายๆ ๆ ลมหายใจผ่านเข้าปอดน้อย แต่อ๊อกซิเจนเข้าไปมาก เป็นผลดีต่อร่างกาย ตรงกันข้ามถ้าหายใจแรงๆ เช่นเวลาวิ่งจ๊อกกิ้ง ลมเข้าไปในปอดเยอะ แต่ร่างกายไม่ได้อ๊อกซิเจนเท่าที่ควร กลับไม่เป็นผลดี

    เพราะฉะนั้นเวลารถติด เราก็ต้องระวังรักษาอารมณ์ อย่าให้อารมณ์เสีย หงุดหงิดเพราะรถติด ไม่ให้เกิดความยินดียินร้ายกับสภาพรอบข้าง แล้วก็ค่อยๆ หายใจออกยาวๆ สบายๆ หายใจเข้าเบาๆ อย่างนี้มลพิษก็เข้าไปในร่างกายน้อย แต่กลับได้อ๊อกซิเจนมาก

    ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในห้องหรือบริเวณที่มีอากาศเสีย อากาศเหม็น เราก็ทำเหมือนกันคือ ค่อยๆ ปล่อยลมหายใจออกยาวๆ นานๆ พอหมดก็หายใจเข้าตามปกติ แต่ให้เบาๆ หน่อยๆ แล้วก็ค่อยๆ ปล่อยลมออกเบาๆ หายใจเข้าเบาๆ แล้วก็ค่อยๆ ปล่อยลมออก

    ลักษณะคล้ายๆ กลั้นลมหน่อยๆ ค่อยๆ ปล่อยออก ควันพิษหรืออากาศเสีย ก็เข้าไปในร่างกายน้อย ร่างกายก็จะรับอ๊อกซิเจนได้เยอะ
     
  7. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 24

    เขาพูดกันว่า ฆราวาสเมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ต้องบวชภายใน 7 วัน มิฉะนั้นจะตายจริงหรือไม่


    ตอบ

    พิจารณาดู ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น พระอรหันต์หมดกิเลสและไม่มีอาลัยในชีวิต และทรัพย์สมบัติอยู่แล้ว ถ้าท่านอยู่ใกล้วัด อยู่ในฐานะที่จะบวชได้ ท่านก็คงจะบวชเพื่อความเหมาะสม

    ถ้าไม่มีวัด หรือไม่มีทางบวช ท่านก็คงเข้านิพพานคือตาย ไม่ใช่ว่าตั้งใจ แต่ก็คงจะเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย ทั้งนี้เพื่อจะไม่ให้เกิดการเบียดเบียน เพราะการนินทาพระอรหันต์ เป็นกรรมหนัก อันนี้ก็เป็นพระมหากรุณาธิคุณ ต่อภรรยา และลูกมิตรสหายผู้ใกล้ชิดและต่อสรรพสัตว์

    ถ้าท่านยังอยู่ในครอบครัว หรืออยู่ในสังคมเหมือนเดิม ลูกเมีย เพื่อนฝูง ด่าว่าท่านก็จะเป็นการสร้างบาป โดยไม่รู้สึกตัวเป็นบาปหนักด้วย
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 25

    ตัวเราสำคัญมากใช่ไหมครับ เพราะการกระทำทุกอย่างในชีวิต ก็ต้องคำนึงถึงความสามารถ และความพร้อมของตัวเองก่อนเสมอ แล้วทำไมพระถึงสอนให้เลิกยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง และถ้าเราเลิกยึดมั่นถือมั่น มีอิสระแล้ว เราจะทำสิ่งต่างๆ ไปทำไม (ผู้ถามเป็นนักเรียนชั้นมัธยมต้น จากโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดกาญจนบุรี)


    ตอบ

    ถูกแล้วตัวเราสำคัญมาก เราจึงควรจะทำให้ตัวเราสำเร็จประโยชน์ในทางสุจริต ด้วยสัมมาทิฏฐิ

    กิเลส
    คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นอกุศลมูลทำให้เกิดตัณหาและอุปาทาน ตัณหาเป็นสมุทัย อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวทุกข์ จึงจะเกิดลักษณะยินดียินร้าย เกิดความทุกข์ใจ เสียใจ อาฆาต พยาบาท กลัว เกิดเป็นตัวตนยึดมั่นถือมั่น

    มานะ ทิฏฐิทำให้เกิดความเจ็บใจ เสียหน้า ฉะนั้นถ้าเราเห็นว่าชีวิตเราสำคัญ เราก็ต้องละกิเลส ตัณหา อุปาทาน เพื่อจะอยู่ได้อย่างมีความสุข

    เมื่อเราอยู่ในสังคมต้องอาศัยปัจจัย 4 หรือมนุษย์สมบัติต่างๆ เช่น เงินทอง เครื่องตกแต่ง อาหาร ที่พักอาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น แต่ต้องให้อยู่ในขอบเขตของศีล เราต้องแสวงหาสิ่งต่างๆ ด้วยความสุจริต เช่น นางวิสาขา เป็นโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ก็ยังแสวงหาโภคทรัพย์ ร่ำรวย แต่ก็ดำรงตนอยู่ในศีล 5 อยู่ในความสุจริตไม่เกินฐานะของท่าน

    พระพุทธเจ้าสอนว่าในการทำงานทุกอย่างนั้น ให้เราทำด้วย อิทธิบาท 4 มีความพอใจ (ฉันทะ) มีความพากเพียร (วิริยะ) ทำด้วยความเอาใจใส่ (จิตตะ) และหมั่นไตร่ตรองอยู่เสมอ (วิมังสา) ถ้าทำอย่างนี้การงานทุกอย่างจะบรรลุผลสำเร็จได้

    ฉันทะ ในที่นี้ไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่ความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง
    แต่เป็นความพอใจในการกระทำตามความสามารถของตนเอง มีเป้าหมายที่ควรแก่ฐานะแห่งตน ควรแก่ความสามารถของตัวเอง คนที่ทำงานด้วยอิทธิบาท 4 สามารถทำงานได้ด้วยใจสงบ พอใจในงานที่ทำ ขยันทำ เอาใจใส่ และหมั่นพิจารณาไตร่ตรองแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ไม่ให้ทำงานหรือดำรงชีวิตด้วยกิเลสตัณหา คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มานะ ทิฏฐิ เพราะจะนำมาซึ่งทุกข์

    ขอย้ำอีกครั้งว่า ฉันทะ คือเป้าหมายและความพอใจในเป้าหมาย ความพอใจในการทำงานนั้นไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่ความโลภ การตั้งเป้าหมายก็ต้องพอเหมาะพอดี ต้องรู้จักฐานะของตัวเอง รู้จักสติปัญญาของตัวเอง เช่น ถ้าเราเกิดในตระกูลนักการเมือง ตั้งเป้าหมายเป็นนายกรัฐมนตรีก็คงไม่เกินฐานะ ถ้าเราเกิดในตระกูลเศรษฐี เราต้องการจะเป็นเศรษฐีต่อไป อย่างนี้ก็ไม่เกินฐานะ เพราะอยู่ในขอบเขตที่เป็นไปได้

    ในการตั้งเป้าหมาย เราต้องรู้จักตัวเอง

    คนที่มี 1..............ตั้งเป้าหมายให้เป็น........2...............ก็คงจะได้
    คนที่มี 2...............ตั้งเป้าหมายให้เป็น........4..............ก็คงจะได้
    คนที่มี 100..........ตั้งเป้าหมายให้เป็น.........200..........ก็คงจะได้
    คนที่มี 1000........ตั้งเป้าหมายให้เป็น.........2000........ก็คงจะได้

    แต่คนที่มี 1 จะทำให้เป็น 100000 เป็นล้าน ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าเช่นนี้เป็นกิเลส เป็นความโลภ

    ในทางธรรม ในการปฏิบัติธรรม คนที่ฟุ้งซ่าน น้อยใจ เสียใจ อยากฆ่าตัวตาย อยากจะทำให้ใจสงบก็คงได้..... แต่คนที่ฟุ้งซ่านเช่นนั้น อยากจะเป็นพระอรหันต์ก็เกินไป ถ้าอย่างนี้ก็ต้องตั้งเป้าหมายเป็นศีล ฝึกใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายก็ถูกต้อง

    เมื่อตั้งเป้าหมายถูกต้องแล้วก็ต้องดำเนินต่อไป โดยมีอิทธิบาท 4 ครบสมบูรณ์ ก็จะประสบความสำเร็จได้ ถ้าขาดอิทธิบาท 4 หรืออิทธิบาท 4 ไม่สมบูรณ์ ก็ไม่ประสบความสำเร็จแน่นอน

    ฉันทะไม่ใช่ความโลภ ความโลภ คือความอยากได้ในสิ่งที่เกินกำลัง ทำให้เกิดทุกข์ เศร้าหมอง ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน บ่อยครั้งก็ทำให้เราทำในสิ่งที่ผิดศีล ขโมยเขาบ้าง ปล้นเขาบ้าง ค้าโสเภณี ค้าเฮโรอีนบ้าง คอรัปชั่นบ้าง ความโลภทำให้ตัวเองเดือดร้อน ทำให้สังคมเดือดร้อนและอาจจะทำให้ประเทศชาติเดือนร้อนด้วยก็ได้

    ถ้าเราไม่ยึดมั่นถือมั่น “ฉันทะ” ก็อยู่ในขอบเขตของศีล ไม่เกินฐานะ ไม่เป็นความโลภ อิทธิบาท 4 คือ ธรรมะที่นำไปสู่ความสำเร็จ ทั้งในทางโลกียะและโลกุตตระ ฉะนั้นในการดำเนินชีวิต ให้ทำโดยไม่ยึดมั่นถือมั่น พยายามละกิเลสตัณหา อุปาทาน อาศัยอิทธิบาท 4 จึงจะประสบความสำเร็จ และมีชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุข
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 26

    ท่านอาจารย์เจ้าคะ มาวัดมีประโยชน์อะไร ทำไมต้องมาวัด


    ตอบ

    คนส่วนใหญ่มาวัดก็มาทำบุญ เพื่อความสบายใจ สุขใจ ปีติใจ เพื่อความทรงจำที่ดีๆ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายบ้าง เป็นต้น สำหรับผู้มาอยู่วัด 2–3 วัน หรือแม้เป็นเดือน เป็นพรรษาก็มีประโยชน์อยู่ เบื้องต้นทีเดียวผู้ใหม่ก็ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติของพระ เณร ข้อวัตรของผู้อยู่วัด

    คนไทยเป็นชาวพุทธตั้งแต่เกิด เกิดมาก็เป็นชาวพุทธ แต่คนไทยจำนวนมากยังกราบพระไม่เป็น ไม่รู้จักวิธีประเคนของถวายพระ ไม่รู้จัก “กัปปิยะ” ฯลฯ ไม่รู้จักวิธีเข้าวัด เข้ามาในวัดก็พูดเอะอะ ไม่สำรวม สิ่งเหล่านี้ผู้เข้าวัดก็จะได้ค่อยๆ ศึกษา ความสำรวมก็จะค่อยๆ เกิดขึ้น พูดถึงความสำรวมคนเราส่วนมากก็ไม่ค่อยรู้จัก ไม่เคยสำรวมเลย ถ้าเรายังไม่สำรวม ไม่รู้จักสำรวมกาย วาจา ใจแล้ว การปฏิบัติเจริญสติ เจริญสมาธิก็ทำยาก

    การมาวัดก็ได้เริ่มฝึกความสำรวม เพราะความเป็นอยู่ในวัด ข้อกำหนดของวัดก็เป็นไปเพื่อความสำรวมอยู่แล้ว เมื่อเริ่มสำรวม เริ่มมีสติ เราก็จะเริ่มรู้จักตัวเองและศึกษาตัวเองได้ต่อไป ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ การปฏิบัติธรรมก็เพื่อศึกษาตัวเอง อาจารย์ก็สอนอยู่ตลอดเวลา

    การรู้จักตัวเอง ก็คือ รู้จักว่า “คิดถูกดับทุกข์ได้“
    ถ้ารู้จักตัวเองมากขึ้นก็บรรเทาทุกข์ได้มากขึ้น
    การรู้จักตัวเองก็เพื่อบรรเทาทุกข์ของตัวเองนะ

    นอกจากนั้นวัดก็เป็นสถานที่สัปปายะ สงบ วิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาสำหรับผู้ปฏิบัติ เมื่อสถานที่วิเวก จิตวิเวกก็เกิดได้
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 27

    มีคนพูดว่าการปฏิบัติด้วยตนเอง จะได้บุญมากกว่าการบริจาคเงินสร้างโบสถ์ หรือสร้างพระพุทธรูป ช่วยอธิบายด้วยเจ้าค่ะ


    ตอบ

    ข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ท่านจัดไว้เป็น 3 ระดับ หรือ 3 อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา

    ทาน - ชาวพุทธทุกคนทำได้ ไม่มากก็น้อย ถึงแม้ว่าผู้ที่ประกอบมิจฉาชีพ เช่น ขายเหล้า ขายอาวุธ จับปลาขาย ถ้าพอมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาบ้าง ก็ทำทานได้ทุกคน เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างกุฏิ สร้างวิหาร หรือใส่บาตร เป็นต้น

    ศีล - การรักษาศีล คนทำได้น้อยมาก

    ภาวนา - คนที่ทำได้น้อยลงอีกมาก คือ การเจริญ สติ สมาธิ ปัญญา ฝึกจิต ฝึกใจ ให้เข้มแข็งหนักแน่น

    บางทีก็พูดกันทำนองว่า การรักษาศีลมีอานิสงส์มากกว่าการให้ทานเป็น 1000 เท่า เป็นสำนวนที่อธิบายว่า การรักษาศีลนี้ยากมากกว่าการให้ทาน การภาวนายิ่งยากมากกว่าการรักษาศีลเป็น 1000 เท่า สิ่งที่ทำยากนั่นแหละเมื่อทำได้ดี ทำจนได้ผลดีแล้ว ก็มีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่

    การบริจาคเงินสร้างโบสถ์ หรือสร้างพระพุทธรูปเป็นการให้ทาน แต่การปฏิบัติด้วยการรักษาศีล รักษาใจ หรือโดยเฉพาะการภาวนาพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง มีความสำคัญกว่ามาก ต้องอาศัยสติ สมาธิ ปัญญา และความอดทน อดกลั้น ความพยายามอย่างมาก ที่จะรักษาใจไม่ให้ขุ่นมัวเศร้าหมอง แม้จะประสบความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ก็สามารถรักษาใจให้เป็นปกติได้

    เช่นนี้ย่อมได้บุญมากกว่า แต่ต้องปฏิบัติให้ถึงใจนะ ไม่ใช่เข้าวัดนั่งฟุ้งซ่านแล้วก็บอกว่าได้บุญมากกว่าคนที่สร้างวิหารสร้างพระพุทธรูปก็ไม่ใช่นะ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 28

    บุญกับกุศลเหมือนกันไหมเจ้าคะ


    ตอบ

    บุญ คือความสบายใจ การกระทำ (กรรม) อันใดที่ทำไปแล้วสบายใจ สุขใจ เรียกว่า ทำบุญ เป็นบุญ อดีตเราเคยทำอะไรไว้ เมื่อนึกถึงแล้วสบายเรียกว่าบุญ เช่น การให้ทาน รักษาศีล ภาวนา เป็นต้น

    กุศล คือความถูกต้อง ความฉลาด ความดี เป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่า กุศลต้องอาศัยปัญญา ความเฉลียวฉลาด ต้องอาศัยจิตใจที่เสียสละ มีเมตตา กรุณา จิตใจหนักแน่นเข้มแข็ง แต่เมื่อทำแล้วก็ได้ทั้งบุญทั้งกุศลสมบูรณ์ เช่น การเข้าไปช่วยเด็กตกเขียว เด็กโสเภณี ช่วยคนเป็นโรคเอดส์และการสังคมสงเคราะห์หลายอย่างๆ ต้องอาศัยจิตใจที่เป็นกุศล เสียสละมากๆ

    การกระทำบางอย่างถึงแม้จะมีประโยชน์มาก แต่ต้องมีกำลังใจดี มีสติปัญญาจึงจะทำได้ เด็กโสเภณีที่ถูกพ่อแม่ขายให้เอเย่นต์ ถูกบังคับให้รับแขกแบบโหดร้าย เมื่อเรารู้ปัญหา เกิดความสงสารเด็ก โกรธพ่อแม่ที่ขายลูก ทั้งโกรธแค้นผู้ที่มีส่วนทำลายเด็ก อาจจะเกิดอารมณ์หลายๆ อย่าง การเข้าไปช่วยเหลือเด็กเหล่านี้เป็นบุญเป็นกุศล

    แต่ไม่ใช่สิ่งที่ทำแล้วสบายใจทันที เพราะต้องกระทบอารมณ์ต้องต่อสู้อารมณ์มากมาย บางทีก็สงสาร บางทีก็โกรธ บางทีก็เศร้าและบางทีก็อันตรายมากด้วย ระหว่างทำไปก็อาจจะมีอารมณ์มากมายก็ได้ แต่เมื่องานสำเร็จแล้วก็เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมาก จึงเป็นกุศล และเราผู้ทำก็มีปีติมีความสุขใจ เบิกบานใจ จึงเป็นบุญ

    ฉะนั้นการกุศล เมื่อทำสำเร็จแล้ว จึงเป็นบุญเป็นกุศลโดยสมบูรณ์ บางคนก็ชอบทำบุญ แต่ยังไม่พร้อมที่จะเข้าไปรับรู้ความเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์ จึงไม่สามารถสละเวลาและแรงกายให้แก่งานการกุศลได้ การจัดงานการกุศลต่างๆ ในการจัดงาน กรรมการก็อาจเกิดปัญหาขัดแย้งกัน เถียงกัน จนไม่สบายใจไปอีกนาน แต่ตัวงานลุล่วงไป เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม ส่วนใหญ่ก็มี มองดูใจผู้จัดก็ยังมีอารมณ์อยู่ แต่งานก็สำเร็จทำให้เกิดความสุขได้ นี่คือลักษณะของงานกุศลคือการกุศล

    ในภาษาทั่วๆ ไปคำว่า “บุญ” กับ “กุศล” จะใช้คล้ายๆ กันและบางทีก็ใช้แทนกัน แต่ในทางพุทธศาสนา ท่านจัด บุญกิริยา 10 และกุศลกรรม 10 ไว้ต่างกัน ดังนี้

    บุญกิริยา 10

    บุญกิริยา คือ การกระทำที่ทำให้เกิดบุญ 10 อย่าง คือ
    1. บุญสำเร็จด้วยการบริจาค ทาน
    2. บุญสำเร็จด้วยการรักษา ศีล
    3. บุญสำเร็จด้วยการเจริญ ภาวนา
    4. บุญสำเร็จด้วยการประพฤติ ถ่อมตน แก่ผู้ใหญ่
    5. บุญสำเร็จด้วยการ ขวนขวาย ในกิจที่ชอบ
    6. บุญสำเร็จด้วยการ ให้ส่วนบุญ
    7. บุญสำเร็จด้วยการ อนุโมทนา ส่วนบุญ
    8. บุญสำเร็จด้วยการ ฟังธรรม
    9. บุญสำเร็จด้วยการ แสดงธรรม
    10. บุญสำเร็จด้วยการทำ ความเห็นให้ตรง

    กุศลกรรมบถ 10
    คือการกระทำอันเป็นกุศล 10 อย่างประกอบด้วย

    กายกรรม 3 :
    1. เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ล่วงไป
    2. เว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ - ขโมย
    3. เว้นจากการประพฤติผิดลูกเมียของคนอื่น

    วจีกรรม 4 :
    4. เว้นจากการพูดเท็จ
    5. เว้นจากการพูดส่อเสียด
    6. เว้นจากการพูดคำหยาบ
    7. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

    มโนกรรม 3 :
    8. ไม่โลภอยากได้ของเขา
    9. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
    10. มีความเห็นชอบ เห็นถูก คือสัมมาทิฏฐิ

    กุศลกรรมบถต้องอาศัยสติ ปัญญา หิริโอตตัปปะ ควบคุมกาย วาจา จิตพร้อมกัน ประโยชน์สูงสุด คือพระนิพพาน ในการทำการกุศล อันเป็นหน้าที่ต่อสังคม ก็ให้พยายามรักษากุศลกรรมบถ 10 ให้สมบูรณ์พร้อมกันไปด้วย
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ถาม 29

    เรื่องกินเจ กินเนื้อสัตว์ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องนี้ไว้อย่างไร


    ตอบ

    ตั้งแต่ในครั้งพุทธกาล ทุกๆ เช้าพระภิกษุจะเดินภิกขาจารไปโปรดสัตว์หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า เดินบิณฑบาตนั่นเอง ชาวบ้านจะแบ่งอาหารของเขาส่วนหนึ่งนำไปใส่บาตร

    ครั้งหนึ่ง พระเทวทัต ได้เสนอให้พระพุทธเจ้าบัญญิติพระวินัยว่าห้ามพระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ แต่พระพุทธเจ้าได้พิจารณาแล้วไม่รับข้อเสนอนี้

    อีกครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ห้ามฉันเนื้อสัตว์ที่ถูกฆ่าเพียงเพื่อถวายพระเท่านั้น เนื้อสัตว์ที่ชาวบ้านเตรียมไว้ เพื่อบริโภคเองและส่วนหนึ่งทำอาหารแล้วแบ่งมาใส่บาตรหรือถวายพระ พระฉันได้

    ถ้าพระไม่ได้เห็นการฆ่า ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ ถือว่าอาหารนั้นบริสุทธิ์ รับบริโภคได้ เช่น ถ้าชาวบ้านเชือดไก่ให้ดูต่อหน้าพระ พระเห็นก็ฉันอาหารนั้นไม่ได้ ถ้าชาวบ้านเล่าว่าเมื่อคืนเชือดควายแล้วเอามาทำอาหารใส่บาตร ดังนี้ พระก็ฉันไม่ได้

    พระไปบิณฑบาตเห็นหมูเกิดความรู้สึกว่าหมูก็เหมือนคน ฉันเนื้อหมูก็เหมือนฉันเนื้อคน ถ้าเกิดความรู้สึกหรือสงสัยขึ้นมาเช่นนี้ พระองค์นั้นก็ไม่ควรฉันอาหารที่ตนเองรังเกียจในวันนั้น บางทีเห็นสุนัขเกิดความรู้สึกสงสัยว่าอาหารที่เขาใส่บาตรนั้น ทำจากเนื้อสุนัขซึ่งเป็นสัตว์ที่พระพุทธเจ้าห้ามฉันหรือไม่ เช่นนี้ก็ไม่ควรฉันอาหารนั้น

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเนื้อสัตว์ที่ไม่ควรฉันมี 10 อย่าง ดังนี้

    1. เนื้อมนุษย์
    2. เนื้อช้าง
    3. เนื้อม้า
    4. เนื้อสุนัข
    5. เนื้องู
    6. เนื้อราชสีห์
    7. เนื้อหมี
    8. เนื้อเสือโคร่ง
    9. เนื้อเสือดาว
    10. เนื้อเสือเหลือง

    การฉันของที่รับบิณฑบาต พระพุทธเจ้าให้พิจารณาก่อนฉันและเมื่อฉันแล้วก็พิจารณาอีก ตามนี้

    - ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน
    - ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามันเกิดกำลังพลังทางกาย
    - ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ
    - ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง
    - ให้เป็นไปเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้
    - เพื่อความเป็นไปได้ของอัตตภาพ
    - เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย
    - เพื่อการอนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์
    - เพื่อระงับความหิว ซึ่งเป็นทุกขเวทนาเก่าและไม่ทำให้ทุกขเวทนาใหม่เกิดขึ้น
    - เพื่อความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตตภาพ

    ก่อนที่จะบริโภคอาหาร พระพุทธเจ้าให้พิจารณาอีกว่าอาหารเหล่านี้เป็นของปฏิกูล เป็นธาตุ 4 แล้วก็ฉันเป็นยา ไม่ให้คิดว่ากำลังฉันเนื้อสัตว์ ฉันผัก ฯลฯ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ถาม 30

    ความฝันเกิดจากอะไร และมีวิธีจัดการอย่างไร


    ตอบ

    ความฝันเกิดจากจิตที่ไม่สงบแล้วคิดปรุงแต่ง ถ้ามีอารมณ์ตกค้างก็จะฝันมาก หรือถ้ามีอารมณ์หยาบ รุนแรง ก็จะฝันร้ายและฝันมาก

    ดังนั้นวิธีจัดการกับความฝัน คือ พยายามทำใจให้สงบก่อนที่จะนอน เพราะถ้าจิตสงบเป็นสมาธิมากเท่าไหร่ ความฝันก็ลดน้อยลงเท่านั้น พระอรหันต์ท่านไม่มีฝันเลย สภาวะจิตที่ละเอียดนั้นเป็นจิตที่ตื่น จึงหลับน้อยด้วย

    ในการปฏิบัติธรรม เราจึงเน้นให้นอนเท่าที่จำเป็น หรือนอนให้น้อยลง ไม่ให้เกิดความฝันปรุงแต่ง คนเราถ้านอนมากเกินไปก็จะฝันมากเป็นธรรมดา

    ก่อนนอนให้ทบทวนชีวิตในวันนั้น มีอะไรที่ยังต้องคิดก็คิดให้จบ อย่าให้ตกค้าง จากนั้นก็เจริญอานาปานสติ พร้อมกับอารมณ์เมตตา ภาวนา 10, 20 นาที หรือนานเท่าไหร่ก็ได้ตามถนัด คือทำใจให้สงบ มีความสุข เช่นนี้ก็จะหลับสบาย ไม่ฝันร้าย อาจจะนอนน้อย หลับน้อยด้วยก็ได้ ตื่นขึ้นก็สดชื่น

    ปกติคนเราที่นอน 7–8 ชั่วโมงนั้น หลับจริงๆ ก็ประมาณ 2 ชั่วโมง นอกนั้นจิตก็หลับๆ ตื่นๆ คิดปรุงแต่งไปเรื่อยๆ บางส่วนก็จำได้ บางส่วนก็จำไม่ได้ ส่วนที่จำได้เรียกว่า ฝัน

    สำหรับผู้ปฏิบัติก็พยายามตัดชั่วโมงที่หลับๆ ตื่นๆ นึกคิดปรุงแต่งนั้นออก จนถึงสภาวะที่เรียกว่า “หลับในตื่น ตื่นในหลับ“ คือหลับอย่างมีสติ หลวงพ่อชา เล่าว่า สมัยที่ท่านปรารภความเพียร ท่านพยายามเจริญสติในเวลานอนด้วยการนอนในท่าสีหไสยาตรแล้ววางกาน้ำ แก้วใส่น้ำไว้รอบๆ ตัว แล้วกำหนดหลับโดยมีสติ ตื่นขึ้นมาทุกอย่างต้องอยู่ในที่เดิม จึงถือว่าหลับอย่างมีสติ ไม่ฝัน

    สำหรับผู้ปฏิบัติถ้าจะนอน 4 ชั่วโมงก็กำลังดี




    ………………………… เอวัง …………………………




    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  14. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,026
    ที่มา..ธรรมจักร ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...