บันทึกของพระอริยะเจ้า"ธาตุธรรม3ฝ่าย"กฏแห่งกรรมมาจากไหน?หลวงพ่อชั้ว โอภาโส

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 29 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา</CENTER>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>มหารถวรรคที่ ๕</CENTER><CENTER>มัณฑุกเทวปุตตวิมาน</CENTER><CENTER>ว่าด้วยบุญกรรมของมัณฑุกเทพบุตร</CENTER>พระผู้มีพระภาคตรัสถามมัณฑุกเทพบุตรว่า [๕๑] ใครมีวรรณะงามยิ่งนัก รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์และยศ ยังทิศทั้งปวงให้สว่าง ไสว ไหว้เท้าทั้งสองของเราอยู่? มัณฑุกเทพบุตรกราบทูลว่า เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์เป็นกบเที่ยวหาอาหารอยู่ในน้ำ เมื่อข้าพระองค์ กำลังฟังธรรมของพระองค์อยู่ คนเลี้ยงโคได้ฆ่าข้าพระองค์ ขอพระองค์ ทรงดูฤทธิ์ ยศ อานุภาพ ผิวพรรณและความรุ่งเรืองของข้าพระองค์ ผู้มีจิตเลื่อมใสครู่หนึ่งเท่านั้น ข้าแต่พระโคดม ก็ผู้ใดได้ฟังธรรมของ พระองค์สิ้นกาลนาน ผู้นั้นพึงได้บรรลุนิพพานอันเป็นฐานะไม่หวั่นไหว เป็นสถานที่ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศกเป็นแน่.
    <CENTER>จบมัณฑุกเทวปุตตวิมานที่ ๑.</CENTER>
     
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

    ภัททิยสูตรที่ ๒


    [๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
    ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร
    สำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็นพระเสขะ จึงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมา
    ทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา โดยอเนกปริยาย ยิ่งกว่าประมาณ
    พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นท่านพระสารีบุตรสำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็น
    พระเสขะ ชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา
    โดยอเนกปริยาย ยิ่งกว่าประมาณ ฯ
    ลำดับนั้นแล
    พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่ง
    อุทานนี้ในเวลานั้นว่า

    บุคคลตัดวัฏฏะได้แล้ว บรรลุถึงนิพพานอันเป็นสถานที่ ไม่มีตัณหา ตัณหาที่บุคคลให้เหือดแห้งแล้วย่อมไม่ไหลไป
    วัฏฏะที่บุคคลตัดได้แล้ว ย่อมไม่เป็นไป นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
    จบสูตรที่ ๒
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๗๘๘ - ๓๘๐๒. หน้าที่ ๑๖๕ - ๑๖๖.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=3788&Z=3802&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค</CENTER>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>











    <CENTER></CENTER><CENTER>อโยคุฬสูตร</CENTER><CENTER>ว่าด้วยการแสดงฤทธิ์</CENTER>[๑๒๐๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหม-*โลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จแต่ใจ?

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์พร้อมทั้งกายอันสำเร็จแต่ใจ.
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้?
    พ. เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์ พร้อมทั้งกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้.
    [๑๒๐๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จด้วยใจ และทรงทราบว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ ทั้งไม่เคยมีมาแล้ว. พ. ดูกรอานนท์ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์ และประกอบด้วยธรรมอันน่า-*อัศจรรย์ เป็นผู้ไม่เคยมีมา และประกอบด้วยธรรมอันไม่เคยมีมา.

    [๑๒๑๐] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ.

    [๑๒๑๑] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนก้อนเหล็กที่เผาไฟอยู่วันยังค่ำ ย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งตั้งจิตลงไว้ที่กาย
    ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่

    สมัยนั้นกายของตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติฉันนั้นเหมือนกัน.

    [๑๒๑๒] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิตหรือตั้งจิตลงไว้ที่กายก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่
    สมัยนั้น กายของตถาคต ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายคน คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

    [๑๒๑๓] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ซึ่งเป็นเชื้อธาตุที่เบา ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

    [๑๒๑๔] ดูกรอานนท์ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.









    <CENTER>จบ สูตรที่ ๒</CENTER>เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๗๐๒๘ - ๗๐๖๕. หน้าที่ ๒๙๓ - ๒๙๔.

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=7028&Z=7065&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ห.jpg
      ห.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34 KB
      เปิดดู:
      56
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2015
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <CENTER></CENTER><CENTER>๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)</CENTER>




    </PRE>



    [๑๐๓] ดูกรอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนคร-
    *ราชคฤห์ ณ ที่นั้น เราเรียกเธอมาบอกว่า
    ดูกรอานนท์ พระนครราชคฤห์
    น่ารื่นรมย์ ภูเขาคิชฌกูฏ น่ารื่นรมย์ อิทธิบาททั้ง ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว
    อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ผู้นั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือ
    เกินกว่ากัป
    ดูกรอานนท์ อิทธิบาททั้ง ๔ ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นดุจพื้น ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดี
    แล้ว ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่ จะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป

    เมื่อ
    ตถาคตทำนิมิตอันหยาบ โอภาสอันหยาบอย่างนี้ เธอมิอาจรู้ทัน จึงมิได้วิงวอน
    ตถาคตว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่
    ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก
    เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข ของเทวดาและ
    มนุษย์ทั้งหลาย
    ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะพึงห้ามวาจาเธอเสียสองครั้ง
    เท่านั้น ครั้นครั้งที่สาม ตถาคตพึงรับ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้
    จึงเป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๑๘๘๘ - ๓๙๑๕. หน้าที่ ๗๘ - ๑๕๙.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=1888&Z=3915&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2015
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
    ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>เถรคาถา มหานิบาต</CENTER><CENTER>๑. วังคีสเถรคาถา</CENTER><CENTER>คาถาสุภาษิตของพระวังคีสเถระ</CENTER>


    </PRE>



    ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีเยี่ยมกว่าฤาษีทั้งหลาย ข้าพระองค์นี้ได้ฟัง
    พระดำรัสของพระองค์แล้วก็เลื่อมใส ทราบว่าคำถามที่ข้าพระองค์ทูลถาม
    แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ พระองค์ไม่หลอกลวงข้าพระองค์ ข้าพระองค์
    เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า มีปกติกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ได้ตัด
    ข่ายคือตัณหาอันกว้างขวาง มั่นคง ของพระยามัจจุราชผู้เจ้าเล่ห์มาก ได้
    เด็ดขาด ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ท่านพระนิโครธกัปปเถระกัปปายนโคตร
    ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน ข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยากไปได้แล้ว
    หนอ ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าบรรดาสรรพสัตว์ ข้าพระองค์ขอนมัสการ
    ท่านพระนิโครธกัปปเถระผู้เป็นวิสุทธิเทพ ล่วงเสียซึ่งเทพดา อนุชาต-
    บุตรของพระองค์ มีความเพียรมาก เป็นผู้ประเสริฐ ทั้งเป็นโอรสของ
    พระองค์ผู้ประเสริฐ.
    ได้ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดนี้ ด้วยประการ
    ฉะนี้แล.



    <CENTER>จบ มหานิบาต


    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>ในมหานิบาตนี้ ปรากฏว่าพระวังคีสเถระผู้มีเชาว์เฉียบแหลมองค์เดียว
    ไม่มีรูปอื่น ได้ภาษิตคาถาไว้ ๗๑ คาถา พระเถระ ๒๖๔ รูป ผู้พระ-
    พุทธบุตร ไม่มีอาสวะ บรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษมแล้ว พากัน
    บันลือสิงหนาทประกาศคาถาไว้รวม ๑๓๖๐ คาถาแล้ว ก็พากันนิพพานไป
    เหมือนกองไฟที่สิ้นเชื้อแล้วดับไป ฉะนี้แล.



    <CENTER>จบ เถรคาถา


    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๘๖๔๓ - ๘๘๘๑. หน้าที่ ๓๗๒ - ๓๘๑.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=8643&Z=8881&pagebreak=0
    </CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2015
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค</BIG> <CENTER class=D>ธนิยสูตร</CENTER></CENTER>




    <CENTER>อรรถกถาธนิยสูตร </CENTER>
    ลำดับนั้น นายธนิยะเห็นแล้วซึ่งธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปัญญาจักษุ ด้วยศรัทธาซึ่งตั้งมั่นแล้ว
    อันเกิดขึ้นแล้วในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลด้วยความเลื่อมใสที่ไม่คลอนแคลน ผ้้มีหทัยอันธรรมกายตักเตือนแล้ว
    คิดแล้วว่า นับตั้งแต่อเวจีเป็นที่สุดจนถึงภวัครพรหม เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย คนอื่นใครเล่าจักบันลือสีหนาทที่มีกำลังเช่นนี้ได้ พระศาสดาของเราเสด็จมาแล้วหนอ ด้วยความดำริว่า เราตัดเครื่องผูกทั้งหลายได้แล้ว และการนอนในครรภ์ของเราไม่มี.
    ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งรัศมีแห่งพระกาย ซึ่งเป็นราวกะว่าแสงเรืองรองที่รดด้วยน้ำทองอันงดงามไปด้วยข่ายแห่งฉัพพัณณรังสี เข้าไปในบ้านของนายธนิยะ ด้วยประสงค์ว่า บัดนี้ เชิญท่านจงดูตามสบาย.
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=295
     
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค</BIG> <CENTER class=D>ธนิยสูตร</CENTER></CENTER>



    <CENTER>อรรถกถาธนิยสูตร </CENTER>

    ใน ๒ คาถานั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระ<WBR>ภาค<WBR>เจ้า<WBR>ด้วยการแทงตลอดอริยมรรค
    เห็นรูปกายของพระองค์ด้วยโลกุตรจักษุ
    และกลับได้สัทธาที่<WBR>เป็น<WBR>โลกิย<WBR>สัทธา ฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอที่ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มี<WBR>พระ<WBR>ภาค<WBR>เจ้า.
    คำว่า วต ในคำว่า ลาภา วต โน อนปฺปกา นั้น เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า ปลื้มใจ.
    บทว่า โน คือ ข้าพระองค์ทั้งหลาย. บทว่า อนปฺปกา ได้แก่ มาก.
    คำที่เหลือเข้าใจง่ายทั้งนั้น.
    ส่วนในคำว่า สรณํ ตํ อุเปม นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
    การถึงสรณะของนายธนิยะนั้นสำเร็จแล้วด้วยการบรรลุมรรคนั้นแล แม้ก็จริง ถึงกระนั้นในคำนั้น นายธนิยะนั้นถึงการตกลงทีเดียว บัดนี้เขากระทำการมอบตนด้วยวาจา.
    อีกอย่างหนึ่ง เขาเมื่อกระทำที่พึ่งด้วยการมอบตนให้ปรากฏด้วยสามารถแห่งมรรค และทำสรณะที่ไม่หวั่นไหวนั้น ให้ปรากฏด้วยวาจาแก่คนเหล่าอื่น จึงถึงสรณคมน์ด้วยการนอบน้อมด้วยมือ (อีก).

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=295
     
  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER>


    </PRE>


    <CENTER>กัณหมรรคสูตร</CENTER>


    </PRE>

    [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นมรรคาดำและธรรมที่เป็นมรรคาขาวแก่เธอทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นมรรคาดำเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่เป็นมรรคาดำ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่เป็นมรรคาขาวเป็นไฉน สัมมาทิฐิฯลฯ สัมมาวิมุตินี้เรียกว่าธรรมที่เป็นมรรคาขาวฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๒</CENTER>
     
  11. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
    ขุททกนิกาย มหานิทเทส</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>






    <CENTER></CENTER>








    </PRE>


    [๙๔๖]
    ผู้ให้สัตว์ตาย
    ผู้มีกรรมดำ
    เป็นผู้ใหญ่
    ผู้ให้สัตว์ถึงความตาย
    ผู้ไม่ให้สัตว์พ้นไป
    ผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งผู้ประมาท
    ชื่อว่าผู้มีกรรมดำ

    ในคำว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ. คำว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่านี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ. คำว่า พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีด้วยมนสิการว่า
    นี่เป็นฝักฝ่ายผู้มีกรรมดำ
    เป็นฝักฝ่ายมาร
    เป็นบ่วงมาร
    เป็นเบ็ดมาร
    เป็นเหยื่อมาร
    เป็นวิสัยมาร
    เป็นเครื่องให้เดือดร้อนของมาร
    เป็นอาหารมาร
    เป็นเครื่องผูกของมาร
    แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.
    อีกอย่างหนึ่ง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ความไม่มี ด้วยมนสิการว่า นี่เป็น
    ฝักฝ่ายผู้มีกรรมดำ
    เป็นฝักฝ่ายมาร
    เป็นฝักฝ่ายอกุศล
    เป็นเครื่องให้เกิดทุกข์
    เป็นสภาพมีวิบากเป็นทุกข์เป็นเหตุให้เป็นไปในนรก
    เป็นเหตุให้เป็นไปในกำเนิดดิรัจฉาน
    เป็นเหตุให้เป็นไปในเปรตวิสัยแม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียด้วยมนสิกาว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่ สะดุ้งและผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ เมื่อนั้น พึงบรรเทา เสียด้วยมนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.





    <CENTER></CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๑๒๔๘ - ๑๑๒๖๒. หน้าที่ ๔๗๒.
    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=11248&Z=11262&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2015
  12. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER>
    </PRE>

    <CENTER>ปัจโจโรหณีสูตรที่ ๒</CENTER>
    </PRE>

    [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะแก่เธอ
    </PRE>ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พิธีปลงบาป อันเป็นอริยะเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    วิบากแห่งมิจฉาทิฐิแล เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ
    อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฐิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฐิ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
    วิบากแห่งมิจฉาสังกัปปะ ...
    แห่งมิจฉาวาจา ...
    แห่งมิจฉากัมมันตะ ...
    แห่งมิจฉาอาชีวะ ...
    แห่งมิจฉาวายามะ ...
    แห่งมิจฉาสติ ...
    แห่งมิจฉาสมาธิ ...
    แห่งมิจฉาญาณะ ...
    แห่งมิจฉาวิมุติแล เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวิมุติ

    ย่อมปลงจากบาปจากมิจฉาวิมุติดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะ ฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๘</CENTER>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2015
  13. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background=# align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER></PRE>
    <CENTER>สัจฉิกาตัพพธรรมสูตร</CENTER></PRE>
    [๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้แจ้งและธรรมที่</PRE>ไม่ควรทำให้แจ้งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน มิจฉาทิฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉนสัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุติ นี้เรียกว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งฯ<CENTER>จบสูตรที่ ๑๐</CENTER><CENTER>จบอริยมรรคที่ ๕</CENTER><CENTER>จบตติยปัณณาสก์ที่ ๓</CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------</CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๕๘๓๑ - ๕๘๔๑. หน้าที่ ๒๕๒. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=5831&Z=5841&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ห.jpg
      ห.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34 KB
      เปิดดู:
      46
  14. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER>คารวสูตรที่ ๒ [๕๖๒] สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กล่าวนิคมคาถาอีกว่า พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้า ทั้งหลายเหล่าใดที่ยังไม่มีมาก็ดี และพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ ใดในบัดนี้ผู้ยังความโศกของชนเป็นอันมากให้เสื่อมหายก็ดี พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์ ทรงเคารพพระสัทธรรม อยู่แล้ว ยังอยู่ และจักอยู่ต่อไป ข้อนี้เป็นธรรมดาของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักตน หวังความเป็นผู้ใหญ่ เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย พึงเคารพพระสัทธรรม ฯ</CENTER><CENTER><CENTER></CENTER>
    </CENTER>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 สิงหาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...