เรื่องเด่น นักปฏิบัติ ควรสังวร ระวัง อนันตริยกรรม!!!

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 22 กันยายน 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    โอ๊ย..เจ็บใจ เจ็บใจ เสียรู้ เสียรู้ซะแล้ว..ได้ทีขี่แพะไล่คนหรือจ๊ะ !
     
  2. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    พระพุทธองค์เสด็จมาในสมาธินิมิต แล้วประทานพระโอวาทอนุโมทนาแก่ท่านพระอาจารย์มั่น มีใจความบางส่วนว่า....
     
  3. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    .............................................
    แต่ปากกิเลสตัณหานี้มันหวานฉ่ำนะ
    ออกมาอย่างนั้นอย่างนี้ หลอกนั้นหลอกนี้
    ทีนี้เมื่อหลอกเข้าไป ๆ คนเราก็หลงเชื่อล่ะซี
    หลงเชื่อมันก็ฟาดเสียแหลก บางคนจมไปเลยมีเยอะ
    ประเทศต่อประเทศหลอกกันก็ได้ นั่นละเป็นเรื่องใหญ่โต จมทั้งประเทศ
    นี้มีแต่หลอกลวงต้มตุ๋นแบบหวานฉ่ำนะ
    ที่จะบอกว่าข้าจะต้มแก ใครจะให้ต้มใช่ไหม เป็นอย่างนั้นนะ
    มันไม่บอกว่ามันจะต้ม มันว่าจะดีอย่างนั้นจะดีอย่างนี้ ๆ หลอกไปเรื่อย ๆ

    ทางนี้ก็ หือ ๆ เข้าทีนะ สุดท้ายมันฟาดเอาเสียแหลกหมด
    นี่ความปากหวาน พี่น้องทั้งหลายจำเอานะ
    ปากหวานคือปากกิเลส เคยต้มตุ๋นโลกมานานแสนนานแล้ว
    ให้พากันจำเอาไว้


    ปากธรรมไม่เคยมี
    ปากพระพุทธเจ้าพระองค์ใด สาวกองค์ใดก็ตาม
    ที่จะมาต้มตุ๋นหลอกลวงสัตว์โลก
    จากธรรมที่เป็นของตายใจได้แล้วนี้ไม่เคยมี
    ขอให้จำให้ดีคำพูดเหล่านี้.........

    ........................

    อ้างอิง : หลวงตามหาบัว เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕"ปากกิเลสหวานฉ่ำ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2010
  4. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านขันธ์ครับ ผมรบกวนขอความรู้หน่อยครับ ที่ว่าทำให้
    พระพุทธเจ้ามีบาดแผลมันเป็นอนันตริยกรรม

    ผมมาสังเกตุความเห็นของท่านปราบบอกว่า
    พระพุทธเจ้าทรงยื่นเท้าไปรับก้อนหิน เพราะทรงเกรงว่า
    พระเทวทัตจะทำการนั้นไม่สำเร็จ
    อันนี้เข้าข่ายเป็นอนันตริยกรรมมั้ยครับ
    เพราะดูๆแล้ว การกระนี้ไม่มีผล แต่พระพุทธเจ้าทรง
    ยื่นพระบาทไปรับก้อนหินเอง


    ท่านขันธ์ครับจากคำพูดของท่านทีว่า

    ผมก็เลยไปหาพระไตรปิฎกอ่านดูอ่านแล้วเกิดความสับสน
    ในเนื้อหา หรือเป็นเพราะผมยังอ่านไม่หมด
    หรือยังอ่านมีคำอธิบายเพิ่มเติม ในหมวดอื่นอีก
    ยังไงก็ขอให้ท่านช่วยอธิบายให้ทีครับ

    ผมเคยอ่านมาว่า การฆ่าพ่อแม่โดยไม่เจตนาก็เป็นอนันตริยกรรม
    จากเนื้อหาของท่าน ที่ว่า"ผู้ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี มีบารมีในทางชั่ว"
    อยากให้ท่านอธิบายในแง่นี้เพิ่มเติมหน่อยครับ

    ขอโทษที่ไม่ได้ทำลิ้ง อาศัยความทรงจำมาครับ
     
  5. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    นำบทความมาจากห้องกฏแห่งกรรม มาลองอ่านกันดู

    ... อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความผิดของตัวไว้เสมอ อย่าไปยุ่งกับคนอื่น คตินี้นักปฏิบัติทุกคนเขาจะประณามตัวเองเข้าไว้เสมอ อารมณ์ยุ่งอยู่กับกามราคะนิดหนึ่งเขาจะประณามว่าเลวทันที ของอะไรก็ดี ถ้าชมว่าสวย ชมว่างาม เมื่อรู้สึกขึ้นมาก็รู้สึกว่าใจของเรามันเลวเสียแล้วรึนี่ แค่นี้เขาตำหนิตัวเขาแล้ว แล้วยิ่งไปเพ่งโทษของบุคคลอื่นไปแสดงอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเร่าร้อน นั่นแสดงว่ากิเลสมันไหลออกมาทางกายและทางวาจา มันล้นออกมาจากใจมันเลวเกินที่จะเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ นี่เราต้องประณามอย่างนี้ แล้วทางที่ไปจะไปไหน เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเป็นไม่ได้ ต้องไปขึ้นต้นมาจากนรก มันไม่เหมาะสำหรับเรา นี่เราต้องประณามตัวไว้เป็นปกติอย่าเที่ยวประณามคนอื่นเขา

    จงอย่าคิดว่าคนอื่นจะต้องมาลงโทษเรา ก่อนที่คนอื่นจะลงโทษ กรรมที่เราทำความชั่วมันก็ทำความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่เรา ใครเขาพูดความชั่วคราวใดเราก็สะดุ้งเพราะเรามันเลว พระพุทธเจ้าตรัสว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนไว้เสมอ และจงโจทตน กล่าวโทษตนไว้เป็นปกติ หาความชั่วของตัว อย่าไปหาความชั่วของบุคคลอื่น ถ้าเลวมากเมื่อไหร่ เราก็เพ่งเล็งความเลวของบุคคลอื่นมากเท่านั้น ถ้าเราดีมากเท่าไหร่เราก็ไม่มองเห็นความเลวของบุคคลอื่น เพราะยอมรับนับถือกฎของกรรม ที่เรายังไปหาความเลวของบุคคลอื่น เสียดสีเขาบ้าง พูดกระทบกระเทียบเขาบ้าง ทำลายความสุขใจเขาบ้างนั่นแสดงว่า เรามันเลวที่สุดของความเลว คือความเลวมันไม่ได้ ขังอยู่ เฉพาะในใจ มันไหลออกมาทางกายไหลออกมาทางวาจา เพราะมันล้น เลวจนล้น นี่ขอทุกท่านจงจำไว้ อย่าไปมองดูความเลวของคนอื่น มองดูความเลวของตน ไม่ต้องไปปรับปรุงบุคคลอื่น ปรับปรุงเราเองให้มันดีที่สุด

    สำหรับคนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรานั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ไม่มีทางที่จะคืนตัวได้ เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คน เขาคือสัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เราคิดว่า ถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียงจะกระทำตอบ เราก็จะเลวตามเขาเวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมนรกเหมือนกันมันไม่มีประโยชน์จิตเราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจ ขันติ หรือ อุเบกขา เฉย เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย

    อย่าทำอารมณ์ให้วุ่นวาย อย่าใจน้อย อย่าคิดมาก จงคิดไว้เสมอว่า เราต้องตาย อย่าห่วงคนอื่นมากเกินกว่ากฎของกรรม จงนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก อย่าทะเยอทะยานเรื่องยศศักดิ์ ถึงเวลามันได้ ถึงเวลามันมี ทำใจสบาย จะมีความสุข เรื่องลูกก็ขอให้ตั้งอารมณ์ไว้ ในฐานะพ่อแม่ที่ดี แต่อย่าดิ้นรนเกินพอดี จะเป็นทางตัดนิพพานให้ไกลออกไป

    ดีหรือชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดีหรือชั่ว ไม่มีความสำคัญ เขาจะประณามว่าเลวมันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตของเราชั่วเขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงให้รักษากำลังใจ เป็นสำคัญว่าควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราดี เพราะรอให้ชาวบ้านสรรเสริญนั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว

    คนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรา นั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมนี่ ไม่มีทางจะคืนตัวได้ ความเป็นอยู่ของเขาในสมัยปัจจุบันในชาติที่เป็นมนุษย์ เขาก็มีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความเศร้าหมอง เพราะกิเลสมันทำจิตใจให้เศร้าหมอง ตัณหาสร้างจิตใจให้เร่าร้อน อุปทานมีอาการเกาะความชั่วเป็นปกติ อกุศลกรรมทำความชั่วตลอดเวลา คนที่เป็นทาสของกิเลสตายแล้ว ไม่มีโอกาสจะเกิดเป็นคนแม้จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเกิดไม่ได้ ต้องไปเกิดในอบายภูมิ นี่ถ้าบุคคลผู้ใดทำใจของเราให้เร่าร้อนด้วยกายกรรม ทำด้วยกายก็ดี ด้วยวจีกรรม ทำด้วยวาจาก็ดี เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คน เขาคือสัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เราก็คิดว่าถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียง จะกระทำตอบ เราก็จะเลวตามเขา เวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปแล้วในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมลงนรกเหมือนกัน มันไม่มีประโยชน์ จิตเราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจ ขันติ หรือ อุเบกขา นี่ อุเบกขา เราใช้กันตรงนี้เลย เฉย เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย ...

    ................................................................................................................................................................


    นักปฏิบัติ ควรสังวร ระวัง อนันตริยกรรม!!! .....ผู้ปฏิบัติ ควรสังวร ระวัง อนันตริยกรรม!!!


    อนุโมทนา สาธุ.....<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2010
  6. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ขอตอบแล้วกันนะ พระพุทธเจ้า ท่านทราบว่า พระเทวทัต นั้นท่านทำอนันตริกรรมอยู่แล้ว คือทำสงฆ์ให้แตกแยกกัน ที่ไปขอเป็นศาสดาแทนพระองค์
    ตอนนั้น พระเทวทัตท่านทำอนันตริกรรมแล้ว แต่ยังไม่สำนึก
    จนกระทั่งจังหวะหนึ่ง ที่พระเทวทัต จะทำอนันตริกรรมอีกครั้งหนึ่ง
    ด้วยความมีพระกรุณาของพระองค์ ก็เลยอยากให้พระเทวทัตสำนึกตน
    ก่อนจะลงนรกอเวจีนานกว่านี้ และอีกจะกลับตัวกลับใจก็จะนานมากกว่านี้
    จะเสียเวลามากมาย ท่านก็เลยยื่นพระบาทไปรองรับ

    ผลจากที่เอาฝ่าพระบาทไปรองรับนั้น ทำให้เทวทัตสำนึกตนก่อนในขณะถูกแม่ธรณีสูบ ผลนี้ ทำให้ลงนรกอเวจีสั้นกว่าที่ควร คือตัดภพให้สั้นได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถหนีกฏแห่งกรรมได้ อนันตริกรรมต้องชดใช้เท่านั้น
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เรื่องยื่นพระบาทไปรับก้อนหิน จำไม่ได้ว่าอ่านมาจากไหน แต่จำความได้ประมาณว่า
    เหตุที่พระองค์ทำดังนั้นเพราะทรงเมตตาต่อพระเทวทัต หากไม่ยื่นพระบาทไปรับก้อนหิน
    พระเทวทัตจะอกแตกตายในตอนนั้นทันทีเพราะทำการไม่สำเร็จ แล้วจะไม่มีโอกาสสำนึกผิด
    ต่อพระพุทธเจ้าท่านอีกเลย แต่เพราะพระเมตตาต่อพระเทวทัตไม่มีประมาณ พระเทวทัตจึง
    ได้มีชีวิตรอดจนมาถึงการสำนึกผิดและถวายคางเป็นพุทธบูชาก่อนจะถูกธรณีสูบ นอกจากนี้
    แล้ว พระองค์ท่านยังได้เมตตาบอกต่ออีกว่าพระเทวทัตจักได้บรรลุเป็นปัจเจกพระพุทธเจ้า
    ในอนาคตกาล

    เรื่องจริงๆจะเป็นอย่างใดเราไม่รู้จริงๆ ได้แต่ฟังเรื่องเล่ามาอีกที แต่ก็เป็นเรื่องเล่าที่แสดง
    พระเมตตาของพระพุทธเจ้าอย่างไม่มีประมาณต่อพระเทวทัต ถ้าผิดพลาดประการใด
    ก็อภัยมา ณ.ที่นี้ เล่าจากความทรงจำ
     
  8. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    รู้แต่ว่าพระศาสดาเมตตาต่อพระเทวทัตมาก เคยเถียงกับคุณพี่นิวรณ์อยู่พักหนึ่งประมาณเรื่องพระพุทธเจ้าสอนด้วยการตีอะไรทำนองนี้ ให้พี่เขามาอธิบายใหม่อีกทีคงได้ประโยชน์มากขึ้น
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    แป่ว กำลังเรียบเรียงอยู่พอดี เอาเป็นว่า มาศึกษาแบบปริยัติกันสักนิดเนาะ

    บาลีวันนี้ จะขอ เสนอ 4 คำ

    1. สังฆาเภท
    2. อริยุวาทะ
    3. อริยูปวาโท

    ทั้ง 3 คำนี้ เป็นคนละกรรมกัน ต่างกรรม ต่างวาระ ต่างทางแก้ แต่ให้ผลเท่ากันหมด
    คือ ให้ผลเป็นแบบอนันตริยะกรรม วิธีแก้ต่างกัน บางอย่างพอแก้ได้ บางอย่างแก้
    ไม่ได้ บางอย่างรับแล้วต้องรับอีกในชาติหน้าด้วย กล่าวคือ

    1. สังฆาเภท คือ การกระทำที่เป็รเรื่องของสงฆ์โดยเฉพาะ และวิธีการทำคือ การที่
    ชักชวนเพื่อภิกษุไม่ให้ร่วมสังฆกรรมที่เป็นเรื่องของความสามัคคีทั้งหลาย เช่น การ
    ร่วมสวดปาฏิโมกข์ การร่วมประชุมสงฆ์ การร่วมสวดมนต์พิธี ซึ่งจะเห็นว่า ไม่ได้
    เกี่ยวอะไรกับเรื่อง การสอนธรรมะ ซึ่งเป็นเรื่องของใครของมัน ดังนั้น การที่พระจะถก
    กันเรื่องการสอนว่าควรสอนแบบนี้ ควรใช้คำแบบนี้ อันนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับสังฆาเภท แต่
    ถ้า สมมติ ภิกษุสองรูปนั้นมาเจอกันในงานที่เป็นไปเพื่อหมู่คณะแห่งสงฆ์ แล้วเกิดการ
    ปรารภชักชวนว่า "เห้ย กูไม่ร่วม ใครจะไปจากที่นี้กับกูบ้าง" แบบนี้คือ ทำสังฆาเภท

    ตัวอย่างอันงดงาม ที่เคยได้สดับ ก็มีหลวงพ่อฤาษี ที่ท่านร่วมงานบวชภิกษุใหม่ ปรากฏ
    ว่ามี ภิกษุที่ไม่ได้บวชอย่างถูกต้องมาร่วมพิธีสวดด้วย ท่านก็ไม่ชักชวนให้หยุดหรือแยก
    ใครแม้แต่ตนออกไป แต่ร่วมงานพิธีนั้นไปจนเสร็จ แล้วจึงค่อยนำพระใหม่เหล่านั้นมา
    ทำพิธีใหม่อีกครั้ง

    แต่ถ้ามีภิกษุใด กระทำกิจที่เป็นสังฆาเภท อันนี้ก็นอกจากจะเสื่อมคุณธรรมแล้ว ตกนรก
    ก็แล้ว ชาติใดที่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ชาตินั้นจะปิดมรรคผลอีกหนึ่งชาติ ...(โปรดศึกษา
    เพิ่มเติม)

    2. อริยุวาทะ อันนี้ เป็น การบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกันขึ้นไป ไม่ได้จำกัดว่าจะ
    เป็นเรื่องของ บริภาษอริยบุคคล เท่านั้น แต่ให้หมายถึงเพื่อนที่ร่วมปฏิบัติธรรม ใฝ่ธรรม
    ด้วยกันนี้แหละ หากมีจิตคิดและทำวาทะบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกันนั้น ก็ถือว่า
    ได้ทำ อริยุวาทะ แล้ว แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูเจตนา การสืบเจตนาก็ต้องอาศัยเวลา ทั้งนี้
    "การติ และการชม" จะไม่เกิดขึ้นพร้อมกันในบางกรณี เพื่อนด้วยกันอาจจะติเตียน
    กันอย่างรุนแรงในเวลาหนึ่ง แต่พอมาเจอกันอีกครั้งหนึ่งก็ชื่นชมผลการปฏิบัติกัน แบบนี้
    จะทำให้เห็นได้ว่า การติเตียนครั้งนั้นไม่ได้ เจตนาจะให้ร้ายแต่ถ่ายเดียว มีแนวโน้มเป็น
    ติเพื่อก่อ ..... แต่อย่างไรก็ดี ....พระพุทธองค์ยก อริยุวาทะ นี้เปรียบดั่ง มิจฉาทิฏฐิ
    หาก ไม่ปล่อยวาง เสียแล้วก็จะให้ผลเทียบเท่า อนันตริยะกรรม สังเกตให้ดีๆนะว่า
    จะต้องมีเงื่อนเรื่องการไป "ปล่อยวาง" อารมณ์อยากติเตียนที่ก่อในจิต หากปล่อย
    อารมณ์คอยจ้องจับผิดติเตียนไม่ได้ ตรงนี้จึงค่อยเทียบเข้าข้อมี มิจฉาทิฏฐิ แล้ว
    ค่อยยกว่า มีผลเท่ากับอนันตริยะกรรม ซึ่ง หมายถึงจะปิดมรรคผลนิพพานได้ และทำ
    ให้เสื่อมจากคุณธรรมที่บรรลุแล้วได้ ...วิธีดูว่าปล่อยวางอารมณ์ได้หรือไม่ได้ พระพุทธ
    องค์ชี้ให้ดู "อาการสำคัญตน" ทั้งนี้เพราะ ผู้ที่กระทำจะเป็นผู้ที่บรรลุธรรมแล้วก็ได้
    หรือยังไม่บรรลุก็ได้(แต่มีศีล) เสร็จแล้วคุณธรรมเหล่านั้นเสือมไปแล้ว(ตามพุทธฏีกา
    ตรัสชี้ว่าเสื่อมจริงเสื่อมแน่) จึงทำให้คนๆนั้น เหลือเพียงอาการ สำคัญตนว่าเป็น

    พระพุทธองค์จึงตรัสให้สังเกตุ การแสดงออกในเรื่องการสำคัญตนว่าเป็น เหล่านี้คือร่องรอยการ
    ปิดมรรคผลนิพพานที่จะเกิด เช่น สำคัญตนว่าถึงนิพพานแล้ว แบบนี้เสร็จทันที ปิด
    มรรคผลแล้วทันที -- ตรงนี้เคยได้ยินหลวงปู่บุญฤทธิ์กล่าวว่า "พระอรหันต์ไม่สำคัญตน
    ในสิ่งไรๆเลย" ถึงจะถูกต้อง

    3. อริยูปวาโท อันนี้ คือ กรรมในการบริภาษพระอริยบุคคล โดยผู้บริภาษยกขึ้นเพื่อ
    แสดงอาการไม่เชื่อ แล้วกระทำทุกวิถีทางเพื่อพิสูจน์ว่าท่านไม่มี คือ มีเจตนาหมาย
    ให้ท่านเสื่อมจากคุณธรรมนั้นๆ อันนี้คือ อริยูปวาโท จะเห็นว่า อันนี้มีเจตนาให้
    เสื่อมคุณ เสื่อมฐานะอริยะบุคคล คนละเรื่องกับการบริภาษ ยกตัวอย่างเช่น ศิษย์
    หลวงปู่ดูลย์คนหนึ่ง สำคัญตนว่าสำเร็จอรหันต์ก็ดั้นด้นเดินทางด้วยเท้ามา50กิโลเพื่อ
    มาเรียกหลวงตาให้ออกมารับการโปรโสตว์ หลวงตาดูลย์ปฏิเสธแล้วต่อว่าให้ได้
    สติ แต่พระที่มากลับโกรธแล้วกล่าวบริภาษอย่างรุนแรงต่อหลวงตาดูลย์ แต่แล้วก็
    สำนึกได้ทีหลังแล้วร่ำเรียนต่อจนสำเร็จ อันนี้จะเห็นว่า มีการต่อว่าพระอริยะ แต่ไม่
    มีส่วนไหนที่เป็น เจตนาให้ท่านเสื่อมคุณ และ ไม่มีส่วนไหนที่จะตำหนิให้เสียหาย
    เพราะเมื่อถึงเวลาหนึ่งก็กลับมายอมรับการสั่งสอน พระรูปนั้นจึงไม่ได้ "อริยูปวาโท"
    และไม่ได้ทำ "อริยุวาทะ" ด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2010
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ผมเข้าใจว่า

    การใส่ร้ายพระพุทธเจ้า ไม่ใช่อนันตริยกรรม

    อนันตริยกรรม ก็มี

    ๑. ฆ่าบิดา


    ๒. ฆ่ามารดา


    ๓. ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิตขึ้น


    ๔. ฆ่าพระอรหันต์


    ๕. ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน


    ที่ผู้ถาม ถามว่าใสร้ายพระพุทธเจ้านั้น ไม่รวมในอนันตริยกรรม


    แต่ ก็ไม่พ้น ทุคติเป็นที่ไปมีพุทธภาษิตที่ว่า

    อภูตวาที นิรยงฺ อุปติ
    ( อะภูตะวาที นิระยัง อุปะติ)
    แปลว่า ผู้กล่าวตู่ไม่จริง ย่อมไปสู่นรก

    เราจึงพึงสังวรในการใส่ร้ายทั้งปวง
    เพราะการรู้ไม่จริง ในสิ่งใด แล้วไปกล่าวร้ายในสิ่งนั้น
    ย่อมไม่คู่ควร

    แต่ หากว่าเคยทำ
    ก็ให้หยุดเสีย พึง สร้าง กุศลกรรมไว้แทน
    ด้วยการเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา

    กรรมดีก็จะส่งผลให้ได้รับก่อน
    ซึ่งไม่เหมือนอนันตริยกรรม ใน ๕ ข้อนั้น
    เพราะผู้ใด แตะต้องแล้ว
    ย่อมได้รับผลอนันตริยกรรมก่อน เมื่อหมดอายุไข


    และอีกอย่างหนึ่ง หากผู้ที่ถูก ใส่ร้ายนั้น เป็นผู้มีคุณธรรม
    กรรมชั่วที่ทำจากการใส่ร้ายนั้น
    ก็จะส่งผลใน วันนั้น
    3 วัน
    7วัน
    15วัน

    ตามแต่คุณธรรม ของผู้ถูกกล่าวร้าย

    มีตัวอย่าง ในพระไตรปิฎกว่า
    นางจิญญามณี กล่าวตู่ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า
    ด้วยอ้างว่า ท้องกับพระสมณโคดม แต่ด้วยเป็นเรื่องไม่จริงเป็นอันให้นางจิญญามณี ต้องได้รับโทษตายเมื่อความจริงปรากฏ
    และผู้ที่สมรู้ร่วมคิด ในการวางแผนนั้น ก็ได้รับโทษตามตามกันไปด้วยก่อนวัยอันควร
    และยังไป รับโทษต่อ ในนรกอีก

    จะเห็นว่า แม้ผู้สมรู้ร่วมคิดในการกล่าวร้ายผู้อื่นในเรื่องไม่จริง ก็ยังได้รับผลชั่วเช่นกัน

    ทางที่ดี ไม่สมควรกล่าวร้ายผู้อื่นในเรื่องไม่จริง
    เป็นเรื่องที่สมควรทำ ไม่ว่า ใครก็ตาม
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ส่วนเรื่อง พระเทวทัต ก็ให้แยกพิจารณา ว่า พระเทวทัต มีอะไรอยู่ในจิต

    1. มีเจตนาทำร้ายพระพุทธองค์ 1
    2. มีการชักชวนในการแยกประกอบพิธีกรรม 1
    3. มีมิจฉาทิฏฐิอยากเทียบเสมอจึงตามกล่าวร้ายต่อพระพุทธองค์ 1

    ข้อแรกคือ ทำให้ห้อพระโลหิต
    ข้อที่สองคือ ทำสังฆาเภท
    และ
    ข้อที่สามคือ อริยุวาทะ เป็นอริยุวาทะนะ ไม่ใช่อริยูปวาโท เพราะท่านแค่อยาก
    เทียบเสมอความเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้เจตนาริดรอนความเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ของพระพุทธองค์แต่อย่างใด

    เมื่อแยกกรรมออกให้เห็นแล้ว คราวนี้มาดูว่า พระพุทธองค์ เอื้อให้เกิดอะไรบ้าง

    1. อนุญาติให้พระเทวทัตบวชเพื่อ เอื้อให้เกิดการกระทำ สังฆาเภท
    2. ด้วยเดชะบุญบารมี การที่หินจะมาโดนพระบาทนั้นไม่มี เพราะตอน
    กลิ้งมาหินก็ถูกทำให้แตกละเอียด(โดย...)อยู่แล้ว แต่หากพระเทวทัต
    ไม่เห็นว่าตนก่อการสำเร็จ ก็จะพยายามต่ออีกในครั้งหน้า จึงได้ยื่นพระ
    บาทเข้าไปรับเสีย เพื่อให้พระเทวทัตสำคัญว่า ตนได้ทำสำเร็จแล้ว

    จะเห็นว่า เอื้อให้พระเทวทัตกระทำกรรมสำเร็จ อันนี้เพื่ออะไร เพื่อให้พระ
    เทวทัตต้องกรรมตกนรกเหรอ ก็ต้องตอบว่าไม่ใช่ เพราะจะอย่างไรพระ
    เทวทัตก็คิดจะทำไม่เลิก ไม่เลิกรา เป็นเพราะแรงอธิษฐานที่ตั้งจิตไว้ผิด
    แต่กาลก่อนๆ(ทำอริยุวาทะมาหลายชาติ--ตรงนี้จึงเปรียบ มิจฉาทิฏฐิและ
    เป็นตัวอย่างหนึ่งของ อนันตริยกรรม อันเกิดจาก การบริภาษเพื่อนพรหม
    จรรย์ที่ไม่ใช่เป็นอริยบุคคล -- สมัยการเป็นโพธิสัตว์ทั้งคู่ก็เทียบเป็นแค่เพื่อน
    พรหมจรรย์เท่านั้น)

    สรุปคือ ต้องการให้พระเทวทัตก่อการสำเร็จลุล่วง เพื่อที่จะได้เหลือเพียง "อารมณ์
    อยากทำร้าย" มันเด่นดวงขึ้นมาเพียงอารมณ์เดียวโดดๆ ส่วนการจะกระทำ หรือจับ
    อารมณ์นั้นไปกระทำอีกไม่มีแล้ว เพราะทำสำเร็จไปแล้ว จึงเหลือแต่ ทิฏฐิที่หมุน
    วนเป็นภพในใจ ตั้งมั่นแลอยู่ จึงทำให้ เกิดสติระลึกได้ จึงเดินทางมาขออภัยโทษ
    แต่ทว่ามาไม่ถึง แต่กระนั้น จิตก็ยังตั้งมั่นเด่นดวงแลอยู่(มีสังขารุเบกขาญาณ)แม้
    ตอนถูกธรณีสูบจิตก็ยังตั้งมั่นอยู่อย่างโคตรภูบุคคล จึงได้อธิษฐานถวายกระดูก
    คางเป็นผล ดั่งการกระทำของ โพธิสัตว์ที่กระทำต่อพระพุทธเจ้าในการถวายทาน

    ก็จะเห็นว่า สิ่งที่พระพุทธองค์แก้ก็คือ มิจฉาทิฏฐิ(อริยุวาทะ) ส่วนที่ทำให้ได้รับกรรม
    ในนรกน้อยลงเพราะได้ พลีกรรมได้เยี่ยงโพธิสัตว์ที่กระทำเฉพาะพระพักต์พระพุทธเจ้า
    ซึ่งทำให้มีอนิสงค์จะได้เป็นปัจเจกพุทธเจ้าในกาลอนาคต

    ตรงนี้ก็สำคัญนะ ต้องระวังด้วย

    เพราะ ใครก็ตาม ยกพระเทวทัตขึ้นต่อว่าเพียงส่วนเดียว ยกพระเทวทัตเป็นตัวอย่าง
    ของคนเลว เพื่อกดท่าน ปรักปรำท่านในส่วนเลวเพียงอย่างเดียว คุณกำลังทำ อริยุวาทะ
    หรือมี มิจฉาทิฏฐิ อยู่แน่นอน

    แต่ถ้าใครก็ตามยกท่านเป็นบุคคาธิษฐาน เป็นตัวอย่างเพื่อประกอบการสอน ไม่ได้เจตนา
    จะว่าร้ายท่าน และ กล่าวชมพระเทวทัตท่านบ้างในกาลอันควร ท่านก็จะรอดพ้นการก่อ
    กรรม อริยุวาทะ ได้

    * * * *

    วิธีกล่าวถึงพระเทวทัตก็ง่ายๆ คือ ปิดท้ายยกท่านว่าเป็นปัจเจกพุทธเจ้าไว้ด้วยทุกครั้ง
    ถ้าคุณทำได้ ลองสังเกตดูว่า ใจคุณจะปล่อยอารมณ์ต่อว่าออกไปทันที จะมีอารมณ์
    แค่ยกขึ้นเพื่อศึกษาเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2010
  12. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637
    อย่างช้างนาฬาคิริง ที่อยู่ในบทสวด พาหุง มหากา ก็เทวทัต ก็เป็นผู้บงการ ไห้เจ้าของช้าง

    เอาเหล้า หรือสุรา ไปกอกไห้มันเมา จะได้ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร บวกกับ ช้างตกมันอยู่ด้วย

    ช้างนาฬาคิริงมีกำลังมาก หมายจะไห้ช้าง

    ฆ่าพระพุทธเจ้า คือทางที่พระองค์บิณบาต มันแคบ สวนกันระหว่างช้าง กับ

    คณะบิณบาตของพระพุทธองค์ ในตอนเช้า แต่สุดท้ายก็ไม่สำเร็จ

    อย่างที่เทือกเขาคิฏชกูด เทวัต ก็ตั้งใจจะฆ่า ไม่ไช่แค่ทำร้าย กลิ้งหินขนาดใหญ่

    จากด้านหลัง เทวทัตอยู่ด้านหลังเขา กลิ้งหินลงมาเพื่อหวังจะไห้ทับไห้ตาย

    พระผู้มีพระภาคเจ้า

    พระองค์ทรงหันหลังไห้ ก็รู้ตัว ทรงหลบทัน ไม่ได้ยื่นพระบาทนะครับ ทรงหลบ


    แต่ก็ได้รับาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ทรงห้อเลือดที่นิ้วก้อย อย่างที่ทราบกัน

    เทวทัต หวังว่า ถ้าฆ่าพระพุทธเจ้าสำเร็จ ตนก็จะได้ปกครองหมู่สงฆ์ เทวทัตหวังความเป็น

    ใหญ่ มีใจทะเยอทะยาน ในทางที่ผิด

    จริงๆแล้ว ท่านเทวทัตก็เป็นญาติกับพระพุทธองค์ เป็นลูกลุง

    อนุโมทนาครับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 กันยายน 2010
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อ้อ อีกนิดนึง

    การที่พระพุทธองค์เอื้อให้พระเทวทัตได้ก่อกรรมเหล่านั้น แล้วค่อยตลบ
    ให้เหลือเพียงส่วน มิจฉาทิฏฐิ(อริยุวาทะ) ปรากฏเพียงอย่างเดียว อันนี้
    พระพุทธองค์ท่านทราบชัดว่า ทุกอย่างจะสำเร็จลุล่วง คือ สามารถ
    เกิดประโยชน์ได้อย่างแน่นอน รู้ว่าพระเทวทัตจะระลึกได้ มีสติระลึกได้
    ทำให้คลายกำหนัด และพ้นจากรสอร่อยของ มิจฉาทิฏฐิ นั้นได้ และ
    จะสามารถกระทำ พลีกรรม เยี่ยงนั้นได้ จึงได้ ใช้ทุกสิ่งแม้แต่สิ่งที่ดู
    แล้วไม่น่าทำ ไม่น่าให้เขาทำ มาเป็น อุบายในการสอนด้วย

    ซึ่งต่างจาก เราๆ ท่านๆ ที่ยังมี มะงุมมะงาหรา ติเตียนเพื่อก่อ แต่ก็
    มะงุมมางะหราไม่รู้ว่า เขาจะเกิดสติหรือไม่เวลาไหน เจอทีไรก็อยาก
    เข้ามาตำนิเพื่อก่ออยู่ร่ำไป ไม่เคยเลยที่จะหาช่องชมเสียบ้าง อันนี้
    ก็ให้ระวังหน่อยก็แล้วกันเนาะ
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846


    สนทนาตามกาลนะครับ ​

    ตรงส่วนสีแดงนี้ มีปรากฎ ขยายความโดยพิศดาร
    ในคัมภีร์ ขุทกนิกาย พระไตรปิฎก พระสุตตันปิฎก หมวดพระธรรมบท มี ๕ เล่ม
    และยังมีปรากฎ ในพุทธอุทาน ​

    ไม่ทราบว่าในเวปมีอยู่หรือเปล่า แต่ ตามวัด เก่าๆ มีอยู่ แน่นอน
    ลองไปอ่านดูครับ ​

    และยังมีปรากฎ ในเทศน์ ของ ของปู่พุธ ฐานิโย ในเวป ฟังธรรม.คอม
    ไฟล์เสียง หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    ถ้าจำไม่ผิดนะครับชื่อไฟล์
    ศีลเป็นคุณธรรมของมนุษย์
    ลองตั้งใจฟังดูครับ​
     
  15. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    น้องหลบภัยครับ เข้าใจแล้วครับแต่มันติดปัญหาเล็กน้อยครับ
    คืออย่างนี้นะครับ ในเมื่อพระพุทธเจ้าทรงยื่นพระบาทไปรองรับหินเอง
    ก็แสดงว่า ในเจตนาของพระเทวทัตคือต้องการให้ก้อนหินทับพระพุทธเจ้า
    ซึ่งไม่ได้มีจุดหมายที่จะทำให้ พระบาทของพระพุทธเจ้าห้อเลือดเลย

    แล้วกฎที่บอกว่า ทำให้พระบาทพระพุทธเจ้าห้อเลือด
    เป็นอนันตริยกรรม ผมสงสัยว่ามาได้อย่างไรครับ?
     
  16. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    การอ่าน การรับฟัง อันนี้เราต้องพิจารณาอีกเนอะ
    อันที่จริงมันก็ถูกของคุณบุญพิชิต ว่าการทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ถึงห้อพระโลหิต จะตกนรกอเวจี

    หลบภัยสังเกตุอย่างหนึ่ง

    คือ ท่านเทวทัต ท่านกระทำกรรมกับพระพุทธเจ้า คือ กรรมส่งผลให้ลง นรกทันทีข้อนั้นมันเลยเห็นได้ชัด ก็เลยบัญยัญไว้ อาจจะไม่ถึงทำร้ายถึงห้อพระโลหิตหรอกแค่ทำร้าย ร่างกายพระองค์พธรรมดา นี่อนันตริกรรมแล้วแต่ระยะเวลา การส่งผลต่างกัน เหมือนท่านเทวทัตทำห้อพระโลหิดปับโดนธรณีสูบเลย
    ทันตา ทั้งที่ก็ทำอนันตริกรรมหลายอย่างแล้ว

    ถามว่า ทำไมพระพุธเจ้าท่านยื่นไป ก็เพราะอยากให้สำนึก ไม่ได้อยากให้รับโทษ แต่อยากให้สำนึกในโทษที่จะได้รับ ด้วยปัญญาฌานของพระองค์
    ว่าท่านเทวทัต จะเป็นพลังธรรม ท่านหนึ่ง ต่อไป

    อันนี้เป็นข้อสังเกตุของหลบภัยเอง
     
  17. ผู้มีสติ1

    ผู้มีสติ1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    750
    ค่าพลัง:
    +3,637
    หินก้อนมันใหญ่ กลิ้งลงจากที่สูง ขณะที่กลิ้งลงมา ก็มีการกระแทกกันระหว่างหินที่เป็นภูเขาด้วยกัน

    หินก้อนที่ถูกกลิ้งก็มีการแตกกระจาย และเศษของหินที่แตกกระจาย ก็กระเด็นมาโดนนิ้วของพระองค์ท่าน

    ไม่ไช่ตัวก้อนหินใหญ่ ตัวก่อนหินน่ะ พระพุทธองค์ทรงหลบพ้นแล้ว แต่ที่โดนคือเศษหินที่มันแตก แล้วกระเด็นมาโดน

    หลักธรรมดาทั่วๆไป

    อนุโมทนาครับ...
     
  18. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    รู้จักกันไหมเนี่ยคำว่า พุทธานุภาพ อย่าสงสัยมากเลย ใช้สติปัญญาพิจารณาดีๆ เพราะสิ่งสำคัญคือเหตุและผล ส่วนสิ่งไม่สำคัญและทำให้ไขว่เขวได้ก็จะเห็นว่าพระศาสดาจะไม่ทรงตรัสอะไร จึงถือเป็นเรื่องไม่สำคัญ เป็นอาจิณไตย แต่คนที่มักจะเอาความไม่สำคัญทั้งหลายมาทำให้ดูสำคัญ คนเหล่านั้นนั่นแหละมารศาสนาและเป็นผู้เฉียดต่อนรกอเวจีเพราะออกนอกแนวที่พระศาสดาทรงสอนไว้
    สาธุคั๊บ
     
  19. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านเข่งครับ ไม่มีใครเขาสงสัยในพุทธานุภาพหรอกครับ
    ที่เขาสงสัยกันอยู่คือการเอา เนื้อหาหรือข้อมูลในพระไตรปิฎก
    มาถ่ายทอดอีกต่อครับ

    เพื่อนเขากำลังคุยกันด้วยความอารีย์อารอบ กรุณาทำตัวให้มีประโยชน์หน่อย
    ท่านจะโพสพรรณาอะไรเหมือนเมื่อก่อนไม่มีใครว่า แต่กรุณาอย่าสร้าง
    ประเด็นให้เกิดความรุนแรงเลยครับ

    อิจฉาริษยาอะไรใครอยู่หรือเปล่าครับ

    มีคำกล่าวไว้ว่า ....
    ปัญญาว่าด้วยเรื่องเหตุและผล
    ศรัทธาว่าด้วยอารมณ์

    ระวังนะครับศรัทธาอะไรมากๆ คำตอบทุกอย่างมันจะกลายเป็น
    อจินไตยไปเสียหมด แถมมันจะนอกหลู่นอกทางพุทธศาสนาไป
     
  20. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    คืออย่างนี้ครับ ผมสงสัยว่า ในประเด็นของคุณที่บอกว่า
    พระพุทธเจ้า ทรงยื่นพระบาทมารองรับก้อนหินเอง ถ้าเป็นดังนี้แล้ว
    ข้อห้ามที่ทำให้พระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต คงไม่มีหรือบัญญัติไม่ได้เพราะ
    พระองค์ทรงกระทำเอง

    ฉะนั้นข้อบัญญัติเรื่องนี้จะเกิดได้ ก็คือพระเทวทัตทำให้พระองค์
    ห้อพระโลหิต ไม่ใช่พระพุทธเจ้ายื่นพระบาทไปรับเองครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...