ธรรมะฉบับย่อ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย pimmarka, 25 พฤศจิกายน 2011.

  1. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    คติ

    ตอน คติ ๕

    ๑. นิรยะ (เกิดในนรกคือความเร่าร้อน)
    ๒. ติรัจฉานโยนิ (เกิดเป็นดิรัจฉานคือความโง่เขลา)
    ๓. เปตติวิสัย (เกิดภูมิเปตรคือความโภหิวกระหาย)
    ๔. มนุสสะ (เกิดเป็นมนุษย์คือความมีใจประเสริฐ)
    ๕. เทวะ (เกิดเป็นเทวดาคือความมีใจสูง)

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๓ "คติสูตร" ข้อ ๒๗๒)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  2. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ฐานะ

    ตอน ฐานะ ๕

    คือ สภาพที่ทุกคนในโลกเลี่ยงไม่พ้นเหล่านี้

    ๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา
    ๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา
    ๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา
    ๔. เรามีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
    ๕. เรามีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสโกมติ)
    เป็นทายาทแห่งกรรม (กัมมโยนิ)
    มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ (กัมมพันธ์)
    มีกรรมเป็นที่พึ่ง (กัมมปฏิสรโน)
    ทำดี ทำชั่ว เราเป็นรับผลกรรมนั้น

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ "ฐานสูตร" ข้อ ๕๗)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  3. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ได้รับพร

    ตอน ได้รับพร ๕

    ผู้ประพฤติธรรม ย่อมได้รับพร (สิ่งประเสริฐ) ๕ ประการ

    ๑. อายุ (ประพฤติอิทธิบาท ๔)
    ๒. วรรณะ (ประพฤติศีล)
    ๓. สุข (ประพฤติฌาณ)
    ๔. โภคะ (ประพฤติพรหมวิหาร ๔)
    ๕. พละ (ประพฤติวิมุติ)

    (พระไตรปิฏฏเล่มที่ ๑๑ "จักกวัตติสูตร)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  4. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ทำบุญได้บาป

    ตอน ทำบุญได้บาป ๕

    ผู้ใดฆ่าสัตว์อุทิศแก่ภิกษุสงฆ์
    ผู้นั้นย่อมได้บาป มิใช่บุญเป็นอันมาก คือ

    ๑. ได้บาป เพราะผู้นั้นกล่าว "จงไปนำสัตว์นั้นมา"
    ๒. ได้บาป เพราะสัตว์นั้นต้องทุกข์โศก เพราะถูกผูกคอลากมา
    ๓. ได้บาป เพราะผู้นั้นกล่าว "จงฆ่าสัตว์นี้"
    ๔. ได้บาป เพราะเมื่อสัตว์ถูกฆ่าได้รับทุกข์ทรมาร
    ๕. ได้บาป เพราะทำให้ภิกษุทั้งหลาย ยินดีฉันเนื้อสัตว์ไม่สมควร (อกัปปิยะ)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อ ๖๐)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  5. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    องค์ของปาณาติบาต

    ตอน องค์ของปาณาติบาต ๕

    ลักษณะของการทำผิดศีลข้อ ๑ การฆ่าสัตว์ คือ

    ๑. เป็นสัตว์มีชีวิต (ปาโณ)
    ๒. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต (ปาณสัญญิตา)
    ๓. มีจิตคิดฆ่า (วธกจิตตัง)
    ๔. มีความพยายามฆ่า (อุปักกโม)
    ๕. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น (เตน มรณัง)

    (อรรถกถาเล่มที่ ๗๕ "จิตตุปาทกัณฑ์" หน้ ๒๘๗)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  6. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    เทวทูต นิมิต

    ตอน เทวทูต ๔ นิมิต ๔

    คือ ตัวเหตุหรือตัวแทนสื่อสาระให้เกิดความสังเวช

    ๑. คนแก่ (ชิณณะ)
    ๒. คนเจ็บ (อาพาธิกะ)
    ๓. คนตาย (กาลกตะ)
    ๔. นักบวช (ปัพพชิตะ)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๐ "มหาปทานสูตร" ข้อ ๓๒-๓๘)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  7. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    เหตุแห่งฝัน

    ตอน เหตุแห่งฝัน ๔

    ๑. ธาตุกำเริบ (ธาตุโขภะ)
    ๒. เคยเสพมาก่อน (อนุภูตปุพพะ)
    ๓. เทวดาดลใจ (เทวโตปสังหาระ)
    ๔. ลางบอกดหตุ (ปุพพนิมิต)

    (อรรถกถาแปลเล่มที่ ๖๖ "ตุวฏกสุตตนิทเทส" หน้า ๔๒๙)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  8. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อจินไตย

    ตอน อจินไตย ๔

    คือ เรื่องที่ไม่ควรคิด คิดจะบ้า เดือดร้อน

    ๑. พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้า (พุทธวิสยะ)
    ๒. ฌาณวิสัยของผู้ได้ฌาณ (ฌาณวิสยะ)
    ๓. วิบากแห่งกรรม (กัมมวิปาโก)
    ๔. ความคิดเรื่องโลก (โลกจินตา)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ "อจินเตยยสูตร" ข้อ ๗๗)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  9. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ใจเป็นประธาน

    ตอน ใจเป็นประธาน ๑

    ใจเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง ใจเป็นใหญ่
    ใจประเสริฐที่สุด ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ

    มโนปุพพังคมา ธัมมา
    มโนเสฏฐา มโนมยา

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๔ "คาถาธรรมบท" ข้อ ๑๑)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  10. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ธรรมเป็นที่หนึ่ง

    ตอน ธรรมเป็นที่หนึ่ง ๑


    ธรรมทาน ชนะทานทั้งปวง
    (สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ)

    รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
    (สัพพัง รสัง ธัมมรโส ชินาติ)

    ยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
    (สัพพัง รติง ธัมมรตี ชินาติ)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๕ "คาถาธรรมบท" ข้อ ๓๔)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  11. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ศีลเยี่ยมที่หนึ่ง

    ตอน ศีลเยี่ยมที่หนึ่ง ๑

    ศีล ยอดเยี่ยมในโลก

    (สีลัง โลเก อนุตตรัง)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๗ "สีลลวีมังสนชาดก" ข้อ ๘๖)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  12. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    สัจจะเดียว

    ตอน สัจจะเดียว ๑

    สัจจะมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้มีสอง

    (เอกัง หิ สัจจัง น ทุตียมัตถิ)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๙ "จูฬวิยูหสุตตนิเทส" ข้อ ๕๔๙)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  13. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อาหารเป็นหนึ่ง

    ตอน อาหารเป็นหนึ่ง ๑

    สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ เพราะอาหาร

    (สัพเพ สัตตา อาหารัฏฐิติกา)

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๒๕ "สามเณรปัญหา" ข้อ ๔)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  14. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ข้ามโอฆะ

    ตอน ข้ามโอฆะ ๒

    การข้ามโอฆะ (ห้วงน้ำอันคือ กิเลสที่ท่วมทับจิตใจ)
    ข้ามได้ด้วย ๒ อย่างนี้

    ๑. เราจะไม่พัก (อัปปติฏฐัง) อยู่
    ๒. เราจะเพียร (อนายูหัง) อยู่

    เราข้ามโอฆะ (โอฆฆตรินติ) ได้แล้ว

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๕ "โอฆตรณสูตร" ข้อ ๒ )

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  15. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ถูกกล่าวหา

    ตอน ถูกกล่าวหา ๒

    ผู้ถูกกล่าวหา พึงตั้งอยู่ในความดี ๒ ประการ

    ๑. ความจริง (สัจจะ)
    ๒. ความไม่หวั่นไหวขุ่นเคือง (อกุปปะ)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๗ "ปาติโมกขฐปนขันธกะ" ข้อ ๕๑๑)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  16. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ธรรมคุ้มครองโลก

    ตอน ธรรมคุ้มครองโลก ๒

    ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ย่อมคุ้มครองโลก

    ๑. หิริ (ความละอายต่อการกระทำผิด)
    ๒. โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อการกระทำผิด)

    หากไม่มีธรรม ๒ อย่างนี้ คุ้มครองโลก
    โลกจะถึงความสำส่อนกันเยี่ยงดิรัจฉาน

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ "ปฐมปัณณาสก์ ข้อ ๒๕๕)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  17. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    รู้ทั่วถึงคุณของธรรม

    ตอน รู้ทั่วถึงของคุณของธรรม ๒

    การรู้ทั่วถึงของคุณของธรรม ๒ อย่างนี้
    จะทำให้แจ้งถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม

    ๑. ไม่สันโดษในกุศลธรรม (อสันตุฏฐิตา)
    ๒. ไม่ย่อหย่อนในความเพียร (อัปปฏิวาณิตา)

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ "ปฐมปัณณาสก์" ข้อ ๒๕๑)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  18. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อปัณณกปฏิปทา

    ตอน อปัณณกปฏิปทา ๓

    คือ ข้อปฏิบัติไม่ผิดเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ (กิเลส)

    ๑. อินทรียสังวร
    (คุ้มครองระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

    ๒. โภชเนมัตตัญญุตา
    (รู้ประมาณในการบริโภค)

    ๓. ชาคริยานุโยค
    (การหมั่นทำความตื่น (มีสติ) อยู่เสมอ

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ "อปัณณกสูตร" ข้อ ๔๕๕)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  19. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    อัตถะ

    ตอน อัตถะ ๓
    คือ ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม ๓ อย่าง

    ๑. อัตตัตถะ (ประโยชน์ตน)
    ๒. ปรัตถะ (ประโยชน์ผู้อื่น)
    ๓. อุภยัตภะ (ประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย)

    (พระไตรปิฏกเล่ม ๓๐ "ขัคควิสาณสุตตนิทเทส" ข้อ ๖๗๓)

    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ :cool:
     
  20. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    ธรรมวินัยน่าอัศจรรย์ มหาสมุทรน่าอัศจรรย์

    ตอน ธรรมวินัยน่าอัศจรรย์ ๔
    มหาสมุทรน่าอัศจรรย์ ๔

    ๑. ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ
    กระทำตามลำดับ ปฏิบัติตามลำดับ
    มิใช่บรรลุอรหัตตผลโดยตรง

    เหมือนมหาสมุทร ลาด ลุ่ม ลึกลงไปตามลำดับ
    ไม่โกรกชันเหมือนเหว


    ๒. สาวกไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้
    แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต

    เหมือนมหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง


    ๓. สงฆ์ไม่อยู่ร่วมกับผู้ทุศีล เน่าใน ชุ่มด้วยกิเลส
    ประชุมกันยกวัตร (ห้ามร่วมทำกิจวัตรและสังฆกรรม) ทันที

    เสมือนมหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ
    คลื่นย่อมซัดซากศพเข้าหาฝั่ง ให้ขึ้นบกโดยพลัน


    ๔. กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร บวชในธรรมวินัยนี้
    ละชื่อและตระกูลเดิม นับเป็นสมณศากยบุตรทั้งนั้น

    เหมือนแม่น้ำใหญ่หลายสาย ไหลไปถึงมหาสมุทร
    ย่อมละชื่อและโคตรเดิมหมด
    นับเป็นมหาสมุทรนั้นเดียว


    ๕. ภิกษุจำนวนมาก แม้ปรินิพพานดับสูญไปแล้ว
    สภาวะแห่งนิพพานก็ไม่พร่องหรือเต็มเลย

    เหมือนแม่น้ำและสายฝน
    ไหลไปร่วมที่มหาสมุทร
    มหาสมุทรก็ไม่พร่องหรือเต็มเลย


    ๖. ธรรมวินัยนีมีวิมุติรส รสเดียว

    เหมือนมหาสมุทรมีรสเค็ม รสเดียว


    ๗.มีรัตนะ (ของมีค่า) มากมายในธรรมวินัยนี้ เช่น
    สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
    อินทรีย์ ๔ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อาริยมรรคมีองค์ ๘

    เสมือนมีรัตนะมากมายในมหาสมุทร เช่น
    แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วประพาฬ
    สังข์ ศิลา เงิน ทอง ทับทิม มรกต


    ๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ
    คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี
    พระอนาคามี พระอรหันต์

    เหมือนมหาสมุทรเป็นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ
    คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา
    พวกอสูร นาค คนธรรพ์

    (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ "ปหาราทสูตร" ข้อ ๑๐๙)


    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...