ธรรมหลังกึ่งกลางพุทธกาลเป็นต้นไป เป็นธรรมบัวบาน จะเปิดเผยครั้งแรกในยุคนี้นะ

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย anakarik, 12 พฤษภาคม 2016.

  1. คนโง่โง่

    คนโง่โง่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2012
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +302
    ก็รอบใครคนนั้นก็ต้องมีสิทธิ์คัดเลือกก่อนละครับ ผ่านก็ได้เดินต่อไปไม่ผ่านก็เก็บธรรมคืนไปรับรอบนี้ไม่ได้ก็รอรอบหน้าครับซึ่งก็ไม่รู้ต้องรอนานแค่ไหนกัน ได้ไม่ได้อย่างน้อยเข้าใจไว้มั่งก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลยนะครับ
     
  2. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    โพธิจิตก่อกำเนิด ยามเมื่อดอกบัวบาน ...


    ดังที่กล่าวแล้วว่าสัจธรรมแท้อธิบายไม่ได้ จำต้องเข้าถึงเองดุจการชิมเกลือด้วยตนเอง ไม่ต้องอธิบายนั้น ก่อให้เกิด "ธรรมะอุปปายะ" ธรรมะที่อธิบายได้ เป็นอุบายให้ปวงสัตว์เข้าถึงธรรมด้วยตนเอง ดังคำกล่าวที่ว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ นั้น ธรรมะจึงมีลักษณะดังเช่น แก่นและเปลือกของไม้ โดยแก่นของไม้คือสัจธรรม ย่อมมีลักษณะเดียว เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ขึ้นกับกาล (อกาลิโก) ไม่ว่านานเท่าใด ก็คงเป็นสัจธรรมดุจเดิมนั้น ส่วนเปลือกของธรรมะคือธรรมะอุปปายะ นั้น เข้ามาเสริม ช่วยให้ปวงสัตว์เข้าถึงสัจธรรมได้ หากไร้ซึ่งเปลือกหรือแก่นแล้ว ไม้ก็ไม่อาจเป็นไม้ที่สมบูรณ์ได้ ธรรมจึงมีลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า "ธรรมในธรรม" ตามหลักธรรมานุสติปัฏฐานนั้น สัจธรรมอันเป็นแก่นแท้ จึงไม่ต่างกันเลย ไม่ว่าจะเป็นมหายานหรือเถรวาท ล้วนมีสัจธรรมเดียวกัน ส่วนธรรมะอุปปายะหรือเปลือกธรรมะนั้น ย่อมแตกต่างกันได้ ตามจริตวิสัยของผู้ฟังบ้าง, ตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปบ้าง, ตามบริบทของสังคมที่ต่างกันบ้าง ฯลฯ ดังนี้ ธรรมะอุปปายะในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง อาจใช้ได้ดี เป็นอุบายที่ชักชวนให้ปวงสัตว์เข้าถึงธรรมได้มาก แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ปวงสัตว์เปลี่ยนไป จริตของสัตว์เปลี่ยนไป ธรรมะอุปปายะก็ต้องเปลี่ยนไป

    ในกึ่งกลางพุทธกาลเป็นต้นไปนี้ ธรรมะอุปปายะที่เหมาะสม ก็คือ ธรรมใน "สัทธรรมปุณฑริกสูตร" ซึ่งอุปมาเป็นดั่งดอกบัวตูมที่รอเบิกบานออก นั่นเอง ดอกบัวที่บานแล้ว จะเปิดรับ "ภาวะวิสัยเดิม" ของปวงสัตว์ อันสำแดงออกไปในนิรมาณกายต่างๆ เช่น ปีศาจ, มาร, ซาตาน, ยักษ์อสูร ฯลฯ เป็นต้น เหล่านี้ ย่อมหวนทวนกลับคืน เพื่อทบทวนอนัตตาในภาคต่างๆ ของบุคคลนั้นๆ ที่เรียกว่าปัจจเวกขณญาณหมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวนนั่นเอง ในการพิจารณาทบทวนนี้ จะเป็นการคลี่คลาย "อนุสัยเก่าๆ" ของเราได้ อนุสัยเหล่านี้ ถูกสะท้อนออกมาในรูปนิรมาณกายต่างๆ ดังที่กล่าวแล้ว ดอกบัวบานก็จะเปิดรับ อนุสัยเก่าๆ เพื่อการชำระสะสาง เมื่ออนุสัยเก่าๆ ในรูปนิรมาณกายต่างๆ กลับคืนสู่ดอกบัวบาน แลเข้าสู่กระบวนการพิจารณาทบทวนภายในแล้ว อุปมาดั่งมาร, ปีศาจ เข้ามาสู่ดอกบัวบาน เพื่อรอการกำเนิดใหม่เป็นโพธิจิต อันธรรมทั้งหลายก็จะกลายเป็นปัจจัยปรุงประกอบให้กระบวนการพิจารณาทบทวนนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อดอกบัวนั้นบานออกอีกครั้งหนึ่ง ย่อมเผย "โพธิจิต" ให้เห็นชัดเพียงเท่านั้น ดังนี้ นิรมาณกายในรูปลักษณ์อันน่าเกลียดน่ากลัวต่างๆ ก็เป็นเพียงกุศโลบายในการพิจารณาทบทวนเท่านั้นเอง แลยังผลเป็น "โพธิจิต" เป็น "ธรรมกาย" อยู่ภายในนั้น ไม่ต่างกัน

    แลการพิจารณาทบทวนนั้น ย่อมดำเนินกลับไปมาซ้ำๆ หลายชั้น
     
  3. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
  4. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    ธรรมะอุปปายะในศาสนาและความไม่มีศาสนาต่างๆ


    ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าสัจธรรมแท้ไม่อาจอธิบายได้ ดุจเกลือเค็มเป็นเช่นไรต้องชิมเอง ส่วนธรรมะที่อธิบายได้ ก็คือ "ธรรมะอุปปายะ" เป็นเพียงอุบายอันนำไปสู่การเข้าถึงสัจธรรมเท่านั้นเอง ในบทนี้จะกล่าวถึงธรรมะอุปปายะว่าได้ขยายวงกว้างออกไป เป็นรูปแบบที่แตกต่างกัน เป็นศาสนาและความไม่มีศาสนา เป็นลัทธินิกายที่ต่างกัน ทว่า ทั้งหมดย่อมมี "สัจธรรม" เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แตกต่าง แต่หากบุคคลลุ่มหลงอยู่ในเนื้อหาแลธรรมะอุปปายะอันอธิบายได้เหล่านี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับคนเสพยาเสพติด ย่อมติดอยู่เพียงเปลือกของธรรม ไม่อาจเข้าถึงแก่นแท้แห่งธรรมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมะอุปปายะที่งดงามและเต็มไปด้วยคำปลอบใจ, ความดีงาม, ความรัก, พลังเชิงบวก และการมองโลกในแง่ดี ฯลฯ ธรรมะเหล่านี้ ทำให้ผู้คนเสพติดได้โดยง่าย ทำให้ผู้คนลุ่มหลงได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีความทุกข์ ก็จะหนีความทุกข์ ความเจ็บปวด มาเสพธรรมะดุจเสพฝิ่นให้หลงลืมความทุกข์ใจไปชั่วขณะหนึ่ง แต่หากเขาผู้นั้นตื่นแจ้งขึ้นมาได้ว่าธรรมะเหล่านี้ล้วนเป็นเพียงธรรมะอุปปายะเท่านั้น หาใช่สัจธรรมที่แท้จริงไม่ พวกเขาก็จะหลุดพ้นจากการเสพติดธรรมะนั้น ดุจบุรุษที่เลิกยาเสพติดฉะนั้น

    ศาสนาต่างๆ แลความไม่มีศาสนาก็ตาม จึงเป็นเครื่องสะท้อนถึงรูปธรรมแห่งองค์คุณมหากรุณาแห่งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ที่สำแดงออกมาในรูปลักษณ์แห่งนิรมาณกายอันต่างกันเพื่อเกื้อกูลต่อปวงสัตว์ที่มีจริตวิสัยบุญวาสนาอันแตกต่างกันไป ทว่า แท้แล้วก็มีแก่นแท้เป็นสัจธรรมหนึ่งเดียวกัน ดุจเงาจันทร์ในน้ำนั้น หากไม่มีดวงจันทร์อยู่จริงแล้ว จะมีเงาจันทร์ในน้ำได้อย่างไร? บัญฑิตทั้งหลายจึงฉลาดที่จะใช้ศาสนาและความไม่มีศาสนานั้น ในการเป็นเครื่องช่วยนำพาไปสู่สัจธรรมที่แท้จริง หาใช่ยึดติดและหลงอยู่ในความมีหรือไม่มีศาสนาต่างๆ เหล่านั้นเลย ด้วยเห็นชัดแจ้งใน "มหาอุปปายะ" ผ่านรูปลักษณ์ภายนอกที่ต่างกัน ดุจเปลือกไม้นั้น แลย่อมเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีเปลือกย่อมไม่มีแก่น ด้วยที่ใดมีเปลือกที่นั่นย่อมมีแก่น ฉะนี้แล ไม่ว่าจะมีศาสนาหรือไม่มีศาสนา ไม่ว่าจะลัทธิหรือนิกายใดๆ ก็ล้วนเป็นเพียงดั่งเปลือกไม้ เป็นธรรมะอุปปายะอย่างหนึ่ง อันจะนำพาบัณฑิตทั้งหลาย ไปสู่สัจธรรมได้ เท่านั้นเอง หาใช่เครื่องนำพาไปสู่ความขัดแย้งบาดหมางกันเลย แลบัณฑิตทั้งหลาย จึงไม่พึงขัดแย้งกัน

    เหตุฉะนี้ ไยต้องบาดหมางกันด้วยอุปปายะอันไม่ใช่แก่นสารเล่า?
     
  5. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    ไม่จำเป็นต้องแสวงหาทางดับทุกข์ หรือแสวงหาสุขอะไร?


    เพราะมนุษย์มีปกติสุขอยู่แล้ว เรียกว่า "สุคติภูมิ" มนุษย์ไม่ได้อยู่ในทุคติภูมิ ไม่ได้อยู่ในอบายภูมิสี่ ไม่ได้อยู่ในภพภูมิแห่งเปรต, สัตว์นรก, อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน มนุษย์จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องแสวงหาทางดับทุกข์ หรือแสวงหาความสุขอะไร มนุษย์อยู่กับโลกตามธรรมชาติ ก็มีความสุขตามอัตภาพ บางคนนั่งเล่นริมทุ่งนาก็มีความสุขได้ ความสุขแบบเรียบๆ ง่ายๆ นี้ ไม่จำเป็นต้องปรุงแต่งอะไรมากมายเลย เป็นความสุขแบบปกติ ธรรมดามนุษย์มาก ส่วนความสุขของเทพ ยิ่งละเอียดขึ้นไปใหญ่ เทพไม่ต้องเสพกามแบบหยาบๆ เช่น มนุษย์ เทพมีความรักใคร่ต่อกันและมีความสุขได้โดยมีจิตที่ดีงามส่งถึงกันเท่านั้นเอง ไม่ต้องครอบครอง ไม่ต้องเป็นเจ้าของ ไม่มีความหึงหวง ไม่มีการล่วงล้ำร่างกายของกันและกันแต่อย่างใด มนุษย์มีความสุขแบบหยาบกว่าเทพ ส่วนมนุสสเทโวเป็นมนุษย์ที่ม่ีใจสูงเหมือนเทพ ก็จะมีความสุขแบบเทพ มีความรัก มีกามขั้นเทพ จึงมีความสุขในกามนั้นได้แบบละเอียด แบบไม่ต้องกระทำกรรมใดๆ อย่างมนุษย์ การแสวงหาความดับทุกข์จึงเป็นแค่ความหลงของเจ้าชายสิทธัตถะที่เกิดขึ้นขณะยังไม่บรรลุธรรมแค่นั้นเอง เมื่อบรรลุธรรมแล้ว เจ้าชายถือว่าได้ตายไปแล้ว พระสมณโคดมได้เกิดมาแทนที่แล้ว จะไปยึดแนวทางเดิมของคนเดิมไม่ได้

    เพราะมนุษย์นั้นมีปกติสุขอันบริบูรณ์โดยธรรมะ ธรรมชาติ อยู่เช่นนี้เป็นปกติอยู่แล้ว มิได้มีสิ่งใดขาดตกบกพร่องลงไปเลย แลไม่มีสิ่งใดมากเกินไปอีกด้วย จึงไม่ต้องแสวงหาความสุขใดมาเพิ่ม แลไม่ต้องแสวงหาทางดับทุกข์ให้น้อยลงไป สุขและทุกข์ก็คือธรรมะ คือ ธรรมดาคือ อริยสัจสี่ คือ สัจธรรม อย่างหนึ่งเท่านั้นเอง อันบัณฑิตพึงมีใจเป็นกลาง มีสัมมาทิฏฐิ เห็นความเป็นกลาง เป็นความเป็นธรรมะ ธรรมดาของสุขและทุกข์นี้ อันเป็นของคู่กัน อันเป็นสิ่งทางโลก อันเป็นหนึ่งในโลกธรรมแปด ที่บัณฑิตมิได้จมปลักอยู่ในส่วนหนึ่งส่วนใด แลมิได้แปลกแยกตัวเองออกมาจากสิ่งนั้นเลย ดุจดังหยดน้ำบนใบบัวฉะนั้น หยดน้ำยังคงใสบริสุทธิ์แม้เกลือกกลิ้งอยู่บนใบบัว มิได้แปดเปื้อนด้วยมลทิน มิได้ติดอยู่ในส่วนหนึ่งส่วนใดของใบบัว สุขและทุกข์นั้นก็บริบูรณ์โดยธรรม มีความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่แล้ว คือ ไม่เที่ยง มีสภาวะไม่คงทน กระทบกระทบไปมา แลไม่อาจยึดมั่นเป็นตัวตนของตนได้ ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เช่นนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องแสวงหาสุข และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดับทุกข์ ที่ไม่อาจยึดมั่นนั้น แต่อย่างใดเลย

    พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมเห็นสุขและทุกข์เป็นธรรมดาอย่างนี้แลฯ
     
  6. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,283
    ค่าพลัง:
    +1,505
    .

    เขียน ๘.๔๑

    ธรรมชาติคือความหลากหลาย
    แล้วแต่สภาวะจิตของใครดีกว่านะ
    จะหาสุข หรือจะดับทุกข์ ก็ตามแต่ใจ
    อยู่ที่ "ปัจจุบันขณะ" ของใครของมันมั้ง

    ที่สำคัญ น่าจะเป็นการรับมือกะทุกข์ รึป่าว
    ถ้ารู้วิธีที่ถูกที่ควร โลกก็ไม่ได้น่ารังเกียจนัก
    โลกไม่ได้แจกทุกข์ให้ใครๆ มากจนรับไม่ไหว
    สวรรค์น่ะ "ไม่คุกคามคน ให้อับจนสิ้นหนทาง" มั้ง


    จอมยุทธ์กระต่ายป่า / เหล่าเต้บในสวน
    .
     
  7. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    หลักการปฎิรูปประเทศจากประชานิยมไปสู่ประชารัฐ


    อย่างที่ชายได้บอกแล้วว่าการปฏิรูปประเทศจาก ประชานิยม ไปสู่ ประชารัฐ นั้นเป็นแนวคิดที่ถูกต้องแล้วแต่ในทางปฏิบัติ ผิดทั้งหมด ในบทความนี้ ชายจะได้กล่าวถึงการลงมือปฏิบัติเพื่อปฏิรูปประเทศ อย่างไร จึงจะถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งมีหลักสำคัญ 5 ประการ ดังนี้

    1 คงนโยบายเดิมที่มีประโยชน์ต่อประชาชนไว้ (Stay the structure)
    เพราะหากไม่คงไว้ ประชาชนที่เสียผลประโยชน์ก็จะต่อต้านการปฏิรูป เมื่อประชาชนต่อต้าน แทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูป การปฏิรูปก็ไม่ประสบผลสำเร็จ การปฏิรูปจะประสบผลสำเร็จได้จะต้องได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากประชาชนด้วย ทั้งนี้ การคงไว้ซึ่งนโยบายเหล่านี้ จะเป็นการคงไว้เชิงโครงสร้าง (Structure)

    2 ถ่ายเทภาระจากภาครัฐไปสู่ภาคประชาชน (Stay the people)
    จากเดิมนโยบายประชานิยมนั้นภาครัฐจะเป็นผู้แบกรับภาระทั้งหมด แต่เมื่อเป็นประชารัฐแล้ว ผู้ที่ดูแลโครงการเหล่านี้จะต้องเป็น ปชช. พวกเขาจะต้องมีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติให้มากขึ้น เช่น การร่วมจ่ายในระบบประกันสุขภาพที่มากขึ้น เพื่อถั่วเฉลี่ยไปให้แก่ผู้ป่วยอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับการดูแล และมีค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไต

    3 คงระบบงานราชการแบบเดิมไว้ให้มากที่สุด (Stay the office)
    เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดในการปฏิรูป เราจำเป็นต้องทำให้ระบบการทำงานของข้าราชการ ใกล้เคียงเดิมมากที่สุด เสมือนการผ่าตัดที่ทิ้งรอยแผลไว้น้อยที่สุด เช่น ระบบการทำงานในระบบประกันสุขภาพยังคงเดิม เปลี่ยนแปลงเพียงค่าใช้จ่ายของ ปชช. จะมากขึ้น เพื่อเป็นการรับผิดชอบ แบกรับภาระแทนภาครัฐ เป็นต้น

    4 ไม่สร้างอะไรใหม่ ไม่ทำลายของเก่า (Stay the old and new)
    การสร้างสิ่งใหม่นั้น กว่าระบบจะเข้าที่ได้จะต้องใช้เวลานานมาก หากเป็นสิ่งที่มีผลกระทบมากต่อภาพรวม ก็ยิ่งต้องใช้เวลาในการปรับตัวร่วมกันนานมาก บางโครงการ, บางระบบ อาจต้องใช้เวลาในการปรับตัวนานถึง 10 ปีก็มี ดังนั้น ต้องพยายามที่จะไม่สร้างอะไรใหม่ และไม่ทำลายของเก่า ของเดิมมีเท่าไร ก็ปรับใช้ดู

    5 เปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุดแต่ได้ผลมากที่สุด (Stay the least)
    เหมือนการผ่าตัด จะต้องให้มีแผลน้อยที่สุด แต่ได้ผลมากที่สุด ในการปฏิรูปประเทศยิ่งกว่าการผ่าตัด เพราะผลกระทบอาจขยายวงกว้างออกไปจนไม่อาจคาดคิดได้ เช่น กระทบไปสู่ระดับโลกก็ได้ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุด จึงแสดงถึงความสามารถในการปฏิรูป เหมือนหมอที่เก่งจะทิ้งบาดแผลผ่าตัดไว้ให้น้อยที่สุด

    หลักการปฏิรูปแบบ 5 Stays นี้จะส่งผลกระทบอย่างน้อยที่สุดครับ
     
  8. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    อย่าเอาความคิดของเจ้าชายสิทธัตถะมาเป็นของพระสมณโคดม


    หลายคนยังไม่บรรลุธรรม จึงไม่เข้าใจความคิดของผู้บรรลุธรรม จึงคิดว่าพระสมณโคดมคิดเหมือนตน เหมือนเจ้าชายสิทธัตถะ จึงเอาความคิดของเจ้าชายสิทธัตถะมาเป็นของพระสมณโคดม จึงเข้าใจธรรมะของพระสมณโคดมผิดเพี้ยนไป ความเข้าใจผิดนี้มีมา ตั้งแต่รจนาคัมภีร์ไตรปิฎกไม่อาจระบุได้ว่ายุคไหน เมื่อคนรุ่นหลังใช้คัมภีร์ที่ผ่านการรจนาและสังคายนาหลายครั้ง ก็เข้าใจผิดตามๆ กันไปด้วย ขอแยกแยะให้เห็นความแตกต่างของมุมคิดของทั้งสองภาวะก่อนและหลังตรัสรู้ ดังนี้ต่อไปนี้

    มุมมองของเจ้าชายสิทธัตถะ
    เจ้าชายถูกหลอกและขังอยู่แต่ในปราสาทสามฤดูเมื่อได้พบเทวทูตทั้งสี่ จึงตกใจและยังยอมรับความจริงของโลกไม่ได้ จึงเตลิดไปแม้ฉันนะจะบอกแล้วว่า "คนเราทุกคนก็มีเกิด, แก่, เจ็บ, ตาย เป็นธรรมดาอย่างนี้ทุกคน" แต่เจ้าชายยังรับความจริงข้อนี้ไม่ได้ เพราะยังไม่บรรลุธรรม จึงเกิด "อคติ" ต่อความจริงของโลก มองว่าโลกนี้ มีแต่ทุกข์ มีแต่ความเลวร้าย การเกิดเป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ เราจะต้อง "หนีทุกข์" (หนีความจริง) เราจะต้องหาทางพ้นทุกข์ (หาอวิชชาแทนที่จะยอมรับความจริง) เราจะต้อง "ไม่เกิดอีก" เราจึงจะต้องทำการดับทุกข์ ทำสมาธิจิต เพื่อให้ไม่เกิดอีก

    มุมมองของพระสมณโคดม
    เมื่อค้นพบ "ทางสายกลาง" แล้ว จึงได้หยุดทำทุกขกริยา เลิกมองสิ่งต่างๆ อย่างเป็นอคติ เห็นสิ่งต่างๆ เป็นกลาง เป็นธรรมะ ธรรมดา มีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นกลางต่อธรรมทั้งปวง ไม่มีดีหรือชั่ว เพราะไม่ได้ปรุงแต่งดีชั่วลงไป ทุกอย่างเป็นแค่ธรรมชาติหนึ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนของตน ตั้งแต่แรกเท่านั้น ทุกข์ก็ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนของตนแต่แรก จึงไม่จำเป็นต้องไปสาระวนเพียรจมดับทุกข์อีก การเกิด, การแก่, การเจ็บ และการตาย ล้วนเป็นธรรมะ ธรรมดาของโลก ของปวงสัตว์เท่านั้น ไม่มีดีหรือชั่วอะไร และเป็นเช่นนั้นเอง ด้วยสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง ไม่อาจยึดมั่นถือมั่นแต่แรกอยู่แล้ว จึงไม่ต้องไปแสวงหาทางดับทุกข์อะไร ไม่ต้องไปแสวงหาการไม่เกิดอีกแต่อย่างใด ทุกข์เป็นธรรมะ ธรรมดาในอริยสัจสี่ การเกิดแก่เจ็บตาย เป็นธรรมะ ธรรมดา ตามกฏไตรลักษณ์ ซึ่งเมื่อเห็นธรรมะเป็นกลาง เป็นธรรมดาได้อย่างนี้จึงเกิด "สัมมาทิฏฐิ" ตามมรรคมีองค์แปดได้ และเห็นธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนของตน จึงจะปล่อยคลายความยึดถือในธรรมทั้งหลายนี้ (สัพเพ ธัมมา อนัตตา) ไม่ยึดมั่นแม้แต่พระนิพพาน

    ความคิดของเจ้าชายสิทธัตถะกับพระสมณโคดม แตกต่างกันดังนี้
     
  9. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    บุญมากเหนื่อยมาก บุญน้อยเหนื่อยน้อย คนเรามีสมดุลในตัว


    ทุกคนมีค่าเท่ากัน มีสมดุลในตัวเหมือนกัน และมีครรลองในการดำเนินไปเหมือนกัน คือ ต้องผ่านการกำเนิดใหม่เหมือนเจ้าชายสิทธัตถะที่ต้องกำเนิดใหม่เป็นพระสมณโคดม ธรรมชาติสร้างมนุษย์มาให้เป็นเช่นนี้ คือ มีความบริบูรณ์พร้อมด้วย "เจตจำนงค์อิสระ" เมื่อเรามีเจตจำนงค์อิสระ เรามีอิสระที่จะเลือกได้ว่าจะทำอะไร ไม่ทำอะไร ในช่วงแรกของชีวิต เราเป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น จำได้ไหมครับ? ลองระลึกนึกดู เรามีอิสระมาก จะเลือกทางไปได้มากมาย เลือกเรียนอะไร? เลือกมีอาชีพอะไร? เลือกเป็นอะไร? โห ทางเลือกมีให้เลือกเต็มไปหมดอย่างอิสระ แต่เมื่อเราโตขึ้น เราก็แทบจะเลือกอะไรไม่ได้เลย นี่แหละครับ ชีวิต เราทุกคนเหมือนๆ กันคือ เราจะมีช่วงชีวิตช่วงแรกที่เต็มไปด้วยเจตจำนงค์เสรี เลือกอะไรได้มากมายเลย มันคือ การเลือกโจทย์ในการพัฒนาตัวเรา นั่นเอง เพื่อให้เราได้ "กำเนิดใหม่" เราได้มีโอกาสลองผิด ลองถูกมามาก จนกว่าจะถึงจุดที่ "ลงตัว" ก็จะเลือกอะไรแทบไม่ได้อีกเลย ทุกคนมีสมดุลชีวิตแบบนี้เหมือนๆ กัน ต้องผ่านการกำเนิดใหม่เหมือนๆ กัน ไม่ใช่อยู่เฉยๆ เพราะธรรมะ เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว แล้วจะกลายเป็นอรหันต์กันได้ หรือหลุดพ้นกันได้ อย่างนั้นก็หาไม่ หลงทางครับ

    คนที่มีบุญหรือกรรมก็แล้วแต่ จะต้อง "ชำระล้างพลังงานเก่า" ซึ่งแสดงผลในรูปบุญและกรรมให้หมดก่อน เพราะบุญและกรรมมันเป็นมายาการครับ เช่น เราอาจยังไม่ทันได้ขยันเรียนอะไรจริงๆ เลย เราก็ได้เกรดดีแล้ว เพราะผลบุญเก่าออกผล ทำให้เราสมองปลอดโปร่งจำอะไรได้ดีไปหมด ก็มี เห็นไหม? บุญเป็นพลังงานเก่า เป็นมายาการ หากเราไม่ชำระล้างพลังงานเก่าหมดก่อน มันก็จะหลอกลวงให้เราหลงตัวเองไปเรื่อยๆ ทีนี้ คนเราทำบุญมาไม่เหมือนกัน มากน้อยไม่เท่ากัน เช่น บางคนทำบุญมารวย, บางคนทำบุญมามีกำลังมาก, บางคนทำบุญมามีฤทธิ์มาก, บางคนทำบุญมามีปัญญามาก ฯลฯ เราจะต้อง "กระทำถึงที่สุดแห่งการกระทำ" คือ จนสุดบุญที่เรามี ถ้าเรามีเงินเยอะ ต้องทำจนหมดเงินถึงจะหมดบุญแล้วเกิดบารมี, ถ้าเรามีพละกำลังมากต้องทำจนหมดพละกำลังถึงจะหมดบุญแล้วเกิดบารมี ฯลฯ เห็นไหม? คนเราไม่ต่างกัน เท่าเทียมกันด้วยกฎนี้ทุกคน คนมีบุญมากก็ต้องเหนื่อยมาก คนมีบุญน้อยก็เหนื่อยน้อย สุดท้าย เราก็ต้องทำจนสุดบุญที่มีจึงจะหมดมายาการแห่งบุญ ชำระล้างพลังงานเก่าของเราได้หมด มันจึงจะปรากฎ "บารมีธรรม" อันแท้จริง ให้เราเห็น โพธิจิตจะเกิดก็ต้องทำให้สุดกำลังบุญที่มีก่อน ใครมีบุญอะไร ก็ทำให้หมด ให้สุดบุญนั้นๆ มีกำลังมาก ทำให้สุดกำลัง, มีเงินมากทำให้สุดเงิน, มีปัญญามากทำให้สุดปัญญา ฯลฯ สุดแล้ว ก็จะได้ "กำเนิดใหม่" เหมือนพระสมณโคดมที่กระทำอย่างยิ่งยวดทุกคน

    คนเราทุกคนจึงเท่าเทียมกัน เพราะมีสมดุลในตัวด้วยเหตุนี้ครับ
     
  10. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    สอนศาสนาแห่งพุทธะ
    เมื่อได้สดับแล้วใจเบิกบานได้ทันทีนี่แหล่ะใช่เลยฮะ
    สำหรับยุคนี้
    หากฟังแล้วต้องคิดต้องสงสัยและลังเลในตนเอง
    ว่าตัวเองมาอย่างไร เป็นอย่างไร และจะไปอย่างไร
    คงไม่ตอบโจทย์ชีวิตยุคปัจจุบันสักเท่าไร...

    คนจึงหันมายึดเอาไอโฟนเป็นที่พึ่ง
    เอซุส แอปเปิ้ล แซมซัง สรณัง คัจฉามิ ฯ
     
  11. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    ธรรมอัศจรรย์อันพิสูจน์ได้จริง ณ ชาติปัจจุบัน


    ดังที่กล่าวแล้วว่าหลังกึ่งกลางพุทธกาลเป็นต้นไป ธรรมะอุปปายะจะเปลี่ยน จากเดิมที่เป็นอุบายหลอกล่อให้ไปชิมเกลือเอง ให้รู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องบอก ไม่ต้องอธิบาย ก็จะกลายเป็น "อุบายที่ไร้อุบาย" ไม่ต้องหลอกล่ออีกต่อไป ดังนั้น จึงไม่มีปัญหาว่าผู้ใช้อุบายโง่กว่าผู้อื่นแล้วจะใช้อุบายหลอกล่อได้หรือไม่? เพราะอุบายนี้ไม่มีการหลอกล่อแต่อย่างใด ด้วยเป็น "ธรรมอัศจรรย์" (สัทธรรม) กล่าวคือ เป็นธรรมที่เป็นจริง ณ ปัจจุบัน ไม่ต้องรอชาติหน้าหรือชาติไหน เช่น คนๆ หนึ่ง เดิมอาจเคยถูกหลอกว่าโลกนี้มีแต่ทุกข์ เกิดมามีแต่ทุกข์ ให้รีบไปปฏิบัติธรรมเสีย (แท้จริงแล้ว มนุษย์อยู่ในสุคติภูมิ ไม่ได้ทุกข์ขนาดนั้น กล่าวเช่นนั้นเป็นอุบายหลอกล่อเฉยๆ) ก็ไม่ต้อง ไม่ต้องหลอกล่อเช่นนั้นอีก แต่เขาอาจป่วยจริงๆ เจอความทุกข์จริง อย่างน่าอัศจรรย์ บีบให้ต้องมาปฏิบัติธรรมได้ หลายคนหลงโลกอยู่ ไม่สนใจทางธรรม ไม่ทำหน้าที่ อยู่ๆ เกิดเหตุไม่คาดฝัน ทำให้ต้องมาปฏิบัติธรรม เห็นไหม นี่คือ "อุบายที่ไร้อุบาย" ไม่มีการหลอกล่อใดๆ ไม่ต้องหลอกล่อ เพราะเกิดขึ้นจริง ณ ปัจจุบันเลย สมัยก่อนยังไม่จริง อย่างเจ้าชายสิทธัตถะก็ไม่ได้เจอทุกข์จริง แค่ไปเห็นเทวทูตทั้งสี่ซึ่งเป็นอุบายหลอกล่อให้ทรงออกไปแสวงหาธรรมเท่านั้นแล้วยังทรงกระทำทุกขกริยา ซึ่งเป็นการกระทำกรรมต่อตัวเอง ทว่า ยุคใหม่นี้เป็นธรรมอัศจรรย์ ไม่ต้องมีอุบายอย่างนั้น จะเกิดขึ้นจริง ณ ปัจจุบันเลย จึงไม่ต้องใช้อุบายใดๆ นี่ละ "สัทธรรมปุณฑริกสูตร"

    แลธรรมอัศจรรย์นั้นพึงบังเกิดขึ้น ณ กึ่งกลางพุทธกาลเป็นต้นไป ซึ่งเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้จริง ณ ปัจจุบันนั้น มิต้องใช้การหลอกล่อแต่อย่างใด ความอัศจรรย์ของธรรมนี้ มิใช่ปาฏิหาริย์ที่นำมาอวดให้ลุ่มหลง แต่เป็นไปโดยแยบคายเพื่อโปรดสรรพสัตว์โดยแท้ เพื่อต้อนสรรพสัตว์ทั้งหลายดุจฝูงแกะที่ถูกต้อนนั้น ให้ตรงเข้าสู่ธรรม ณ เวลานั้นจะมีปาฏิหาริย์ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์อยู่ทั่วไป ผู้คนทั้งหลายต่างอวดอิทธิฤทธิ์ อิทธิเดช แข่งกันจนเห็นอยู่ทั่วไปหมด เรียกว่ายุค "อภิญญาสาธารณะ" แลอภิญญาเหล่านั้น มิใช่อภิญญาในพุทธแท้ๆ มิใช่อภิญญาที่นำไปสู่การบรรลุธรรมแต่อย่างใด มีแต่เพียงสัทธรรมเท่านั้น ที่จะมีความอัศจรรย์แลนำทางสัตว์เหล่านั้นสู่ธรรมได้

    แลธรรมอัศจรรย์นั้นก็อยู่เหนืออภิญญาอื่นใดทั้งมวลด้วยเประการฉะนี้
     
  12. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    รธน. ควรแก้ไขหรือไม่ อย่างไร?


    ชายคิดว่ารธน. ควรแก้ไขบางส่วนเพื่อเปิดทางให้ประเทศมีทางออกครับ เนื่องจาก ปัจจุบัน เราพบทางตันหลายจุด ไม่ใช่แปลว่า รธน. ที่เคยใช้ ไม่ดี หรือผิดนะครับ ของเก่าก็ดีแล้ว แต่สถานการณ์ปัจจุบันมีบางเรื่องที่เราพบ "ทางตัน" ไปต่อไม่ได้ ดังนั้น เราก็ควรแก้ไขเสีย ดังต่อไปนี้ครับ

    1 หมวดแต่งตั้งสังฆราช
    ปัจจุบัน เราพบทางตันเรื่องการแต่งตั้งพระสังฆราช กฏหมายเก่ายังมีความคลุมเครือเรื่องการแต่งตั้งพระสังฆราชครับ ดังนั้น จำเป็นจะต้องแก้ให้ชัดเจน จะได้ไม่เป็นปัญหาขัดแย้งกันภายหลัง ตาม รธน. เก่านั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ "พระราชวินิจฉัย" เลย แต่เขียนแบบง่ายๆ คร่าวๆ เพียงแค่ "ความอาวุโส" มิติเดียว ซึ่งมันไม่ถูกต้องครับ เราจะดูแค่ความอาวุโสอย่างเดียวไม่ได้ ดังนั้น ต้องแก้ไขหมวดนี้

    2 หมวดแต่งตั้งกษัตริย์
    ปัจจุบัน หมวดนี้ไม่มีใครกล้าแตะต้อง แต่ชายมองว่าอนาคตจะมีปัญหาอีกอย่างแน่นอน ถ้าไม่แก้ไขตอนนี้ จะแก้ไขตอนไหน? ต้องปฏิวัติอีกรอบ แล้วมาแก้กันใหม่หรืออย่างไร? (เหมือนผ่าตัดหลายครั้ง คงไม่ดี) เราก็รู้ดีกันอยู่ว่าสถาบันกษัตริย์ขาดผู้สืบทอด ดังนั้น เราควรแก้เปิดทางให้ผู้สืบทอดนั้น มีทางเลือกที่หลากหลายขึ้นได้จริงหรือไม่? นี่คือ ปัญหา นี่คือ ทางตัน ที่เราต้องเผชิญในอนาคต

    3 หมวดปลีกย่อยอื่นๆ
    เช่น หมวดการเลือกตั้ง เราควรแก้ไขหมวดนี้ ปัจจุบัน การเลือกตั้งนี้ อยู่ในมือ อยู่ในเกมของนักการเมืองบางพรรค กฏกติกาที่ถูกใช้ไปนานๆ หากไม่เปลี่ยนเลย คนเล่นก็จะหา "ช่องโหว่" เล่นได้ ดังนั้น จึงต้องเปลี่ยนกฏกติกาการเลือกตั้งเป็นระยะๆ เช่น การโฆษณาและประชาสัมพันธ์พรรคการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นนอกเวลาหาเสียง ผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ, อินเตอร์เน็ต ฯลฯ เหล่านี้ มันไม่ควรจะมีนะครับ

    ส่วน "หมวดที่ไม่ต้องไปแก้" คือ หมวดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบ้านเมือง ไม่ต้องไปยุ่งเรื่องของเขา ปล่อยให้นายกเขาบริหารไป อย่าไปเสือก อย่าไปก้าวก่าย อย่าไปยุ่งไปแตะอะไรมาก อย่างเรื่องโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค มันเป็นเรื่องฝ่ายบริหาร ไม่สมควรที่จะเอา รธน. มาบังคับควบคุมว่าจะต้องทำอย่างไร แถมออกมาแล้วก็ผิดเพี้ยน กลายพันธุ์เป็นรธน. ศักดินา แบ่งชนชั้นให้สังคมแตกแยก ทำให้คนเสียผลประโยชน์ ทำให้คนไม่อยากสนับสนุนการปฏิรูป แค่เรื่องสถาบันฯ เรื่องของตัวเอง ยังเอาตัวเองไม่รอดเลย ยังจะมายุ่ง มาเสือก มาก้าวก่ายเรื่องการบริหารของนายกเขาทำไม?

    ชายแนะนำให้แก้เรื่องของตัวเองครับ อย่าเสือกเรื่องการบริหาร!
     
  13. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    พราหมณ์ย่อมกล่าวธรรมะเพื่อให้ชนทั้งหลายเกิดศรัทธา


    พระอรหันต์บางรูปบรรลุธรรมแล้วกล่าวอะไรไม่ได้เลย เงียบอย่างเดียวก็มี ในขณะที่บางรูปพูดมากเพราะได้ปฏิสัมภิทาญาณก็มี บางรูปกล่าวแต่ว่าโลกมีแต่ทุกข์ ทุกข์เท่านั้นเกิด ทุกข์เท่านั้นดับไป แต่อีกรูปกลับบอกว่า "นิพพานเป็นสุขแท้" บางรูปบอกว่ามีแต่ความว่างเปล่าหนอ แต่อีกรูปกลับบอกว่าทุกอย่างล้วนเป็นธรรม มีแต่ธรรมทั้งนั้น ฟังดูแล้วย่อมขัดแย้งกันแน่นอน นี่เพราะ "สำคัญมั่นหมายในคำบัญญัติและความหมายต่างๆ" ทว่า สำหรับท่านที่บรรลุธรรมเหมือนกันแล้ว ท่านจะไม่เถียงกัน แม้กล่าวคำเหล่านี้ออกมาจะดูขัดแย้งกันก็ตาม เพราะอะไร? เพราะท่าน "รู้จิต รู้ธรรม" ข้างใน ท่านไม่ได้สนคำที่พูดออกมา เหมือนกันหมด เป็นแบบนี้ พระอรหันต์บางรูปพูดไม่รู้เรื่องเลย คือ มันไม่รู้จะอธิบายอย่างไรดี แล้วท่านก็ได้อาสวักขยญาณอย่างเดียว ไม่ได้ปฏิสัมภิทาญาณ ท่านจึงอธิบายธรรมะไม่ได้ นี่คือ ปกติของพระอรหันต์ท่านนะ เฉพาะท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณเท่านั้นที่อธิบายธรรมะได้ แต่ก็อธิบายไปงั้นๆ แหละ ท่านก็รู้ว่ามันไม่ใช่หรอก เพราะ "ธรรมแท้อธิบายไม่ได้" นี่ ท่านรู้เหมือนกันทุกรูป แต่คนที่ยังไม่รู้ ยังคิดไม่ได้เพราะยังไม่บรรลุธรรม พวกเขาก็จะมีลักษณะเหมือน "พราหมณ์" ไม่ใช่อรหันตะ คือ ไปอ่านจำ ไปเรียน ไปรู้มา พอเข้าใจดีแล้วก็พูดต่อจนคนเคลิ้มว่าใช่กันเลย

    แลบัดนั้น ธรรมทั้งหลายที่อธิบายได้ล้วนดูขัดแย้งกันไปหมด ด้วยเพราะ "สัจธรรมที่แท้นั้น อธิบายไม่ได้" ทว่า พระอรหันต์เหล่านั้นกลับไม่ขัดแย้งกันเลย แม้แต่ละท่านจะกล่าวธรรมที่แตกต่างกัน แต่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นต่างเข้าใจกันดีว่าทุกรูปล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น ดุจบุปผาเบิกบานต่างพันธุ์ แตกต่างกันออกไป แต่ก็เบิกบานเฉกเช่นกันฉะนั้นด้วยเหตุนี้พระสมณโคดมจึงแสดงปริศนาธรรมโดย "ชูดอกบัวบานดอกเดียว แล้วไม่กล่าวธรรมอันใด" แลพระอรหันต์ในสายเซนบางรูป เมื่อบรรลุธรรมแล้วกลับกล่าวอันใด ไม่ออกเลย เพราะสัจธรรมแท้นั้นอธิบายไม่ได้ สิ่งที่อธิบายได้ล้วนเป็นสมมุติทั้งสิ้น เกลือเค็มอย่างไร ต้องชิมเอง มิอาจอธิบายได้ เป็นปัจจัตตัง เว ทิตัพโพ วิญญูหิติ การกล่าวผ่านคำศัพท์, ภาษา, สมมุติบัญญัติใดๆ นั้น ว่างเปล่า ไร้ความหมาย เมื่อใดที่ให้ค่าให้ความหมายในสิ่งเหล่านี้ ก็คือ "อุปทาน" ปรุงแต่งไป ตามความคิดคำนึงของแต่ละบุคคลก็เท่านั้นเอง เหตุนี้ ปุถุชนจึงถกเถียงกันด้วยธรรม ขัดแย้งกันด้วยธรรม นั่นเพราะเขานั้นไม่อาจบรรลุ รู้แจ้งในนัยยะแห่งธรรม ดังนี้ นั่นเอง

    แลชนทั้งหลายก็คล้อยเคลิ้มเชื่อธรรมะที่อธิบายได้ของพราหมณ์เหล่านั้น
     
  14. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    เถรวาทหรือ "เถรตรง" ของแท้


    ในไทย, ลาว, พม่า ก็คือ สายของหลวงปู่เทพโลกอุดรครับ สำหรับนิกายเถรวาทในไทยนั้นเป็น "มหายานในทางปฏิบัติ" มานานแล้ว ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เราให้พระไปเทศน์ แสดงธรรมตามบ้าน เพราะในยุคนั้น เดิมชาวบ้านเขานับถือพราหมณ์และมหายานกันมาก่อน จึงมีพราหมณ์ไปทำพิธีให้ชาวบ้านเยอะ เช่น พิธีตั้งศาลพระภูมิ, พิธีขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ พอพ่อขุนรามฯ ปลดอำนาจขอมลงไปได้ ท่านก็จะลดอำนาจของฝ่ายทางธรรม คือ พวกพราหมณ์ลงไปด้วย จึงให้พระเข้าไปทำสิ่งต่างๆ แทนพราหมณ์ ปัจจุบัน เราก็เห็นพระเจิมรถ, พระปลุกเสกของขลัง ฯลฯ เป็นเรื่องปกติครับ นั่นคือ ในไทยเรานิกายเถรวาทนั้นเป็น "มหายานในทางปฏิบัติ" มานานแล้ว ตั้งแต่ยุคสุโขทัยแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาเป็นเอาตอนนี้ ถ้าเห็นพระไปปลุกเสกอะไร ตั้งศาลพระภูมิ, เจิมรถ, ขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ ให้ใคร โอ้ย อย่าตกใจ มันมีมานานแล้วครับ แล้วอย่าไปคิดว่านั่นคือเถรตรง เถรวาทของแท้ ของแท้นั้นมีอยู่ "รอแต่ท่านสร้างบุญวาสนาไปถึงหรือเปล่า" ถ้าสะเทือนถึงท่าน ท่านมาโปรดเราได้ อย่างชายนี่ หลวงปู่เทพโลกอุดรก็มาหาเองครับ

    ดังนั้น ชายถึงเข้าใจไงว่าอะไรคือ เถรตรง เถรวาทของแท้!
     
  15. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค : ระบบ "ร่วมจ่าย" กับระบบ "ถัวเฉลี่ย"


    โครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค มาถึงจุดที่ต้องถกกันเรื่องการจ่ายครับ มีกลุ่มหนึ่งเสนอจะเอา "ระบบร่วมจ่าย" เช่น 30% ทว่า ก็มีนายแพทย์ท่านหนึ่งเสนอความเห็นว่า หากเป็นเช่นนั้น ก็ช่วยคนยากจนไม่ได้อยู่ดี เช่น คนจนไม่มีสิทธิ์ป่วยเป็นโรคไต หาก 30% นี้ มันหมายถึง เงินจำนวนมาก เช่น ฟอกไตครั้งหนึ่งอาจต้องใช้เงินเป็นหมื่นขึ้นมา คนจนก็ไม่สามารถจ่ายได้แม้จะจ่ายแค่ 30% ก็ตามครับ เพราะ 30% ของเงินหมื่น อาจหมายถึง สามพันของคนยากจน อาจไม่มีจ่ายก็ได้ ดังนั้น จึงไม่ช่วยอะไรคนยากจนได้ครับ

    ระบบถัวเฉลี่ย คือ การที่ประชาชนทุกคนต้องเฉลี่ยการแบกรับภาระให้เท่าเทียมกันไม่ว่ารวยหรือจน ไม่ว่าป่วยด้วยโรคอะไรเช่น คนรวยหรือจนก็แล้วแต่ถ้าป่วยด้วยโรคไต ก็จ่ายเท่ากัน และเท่ากับโรคอื่นด้วย ที่ต้องจ่ายมากคือใคร? ไม่ใช่คนจนหรือรวยครับ แต่เป็นคนที่ "ป่วยไม่มาก" แต่อยากได้รับการดูแลจาก รพ. เช่น ป่วยนิดหน่อยก็ไปใช้สิทธิ์บัตรทองละ เพราะถือว่าเป็น "ของฟรี หรือของถูก" ทีนี้ก็ไม่ฟรี ไม่ถูกละ เพราะต้องจ่ายในระบบ "ถัวเฉลี่ย" แทนที่จะจ่ายแค่ไม่ถึงร้อย ก็อาจต้องจ่ายสามร้อยเป็นต้น แบบนี้ เท่ากับคัดคนที่ไม่ได้ป่วยอะไรมาก แต่อยากได้ยาเยอะๆ เข้ามากรูเอาของถูกของฟรีกันใน รพ. แต่ไม่ได้ป่วยอะไรมากมายจริงๆ คนพวกนี้มีเยอะ และไม่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม อยากได้ของฟรี ของถูก ก็ควรจะต้องจ่ายมากขึ้น จริงไหมครับ? คำถามคือ คนป่วยน้อยไม่มีสิทธิ์ป่วยละสิ? มีครับ ป่วยได้ แต่ถ้าดูแลตัวเองไม่ได้ แค่ป่วยเล็กๆ น้อยๆ ก็จะต้องจ่ายค่าบริการแพงครับ เพราะคุณมา รพ. ซึ่งเป็นสถานบริการ เขาต้องบริการคนเยอะมาก เขาต้องดูแลคนที่ป่วยจริงๆ แต่ถ้าคุณไม่ได้ป่วยอะไรมาก ดูแลตัวเองได้ แต่ยังอยากได้ของถูก ของฟรี คุณก็ต้องจ่ายมาก เรียกว่า "ค่าบริการถัวเฉลี่ย" คือ คิดจากการที่ รพ. ต้องบริการคนมากมายเป็นต้นทุนใหญ่ เอามาเฉลี่ยกันครับ ไม่ได้คิดตาม "ยา" ว่ายานั้นๆ แพงแค่ไหน นึกออกไหมครับ

    ต้นทุนของ รพ. ก็มีหลายต้นทุน ต้นทุนค่าบริการเป็นต้นทุนสูงสุด หมายถึง การที่แพทย์และบุคลากรต้องมาเสียเวลากับคนไข้มากมาย ทั้งที่ป่วยมาก และไม่ได้ป่วยอะไรนักหนาก็มี (บางคนแค่หายากินเอง ก็ดูแลตัวเองได้แล้วครับ) ต้นทุนตรงนี้ สมมุติเป็น X ส่วนต้นทุนแปรผันคือ ยา, ค่ารักษาเฉพาะโรค, ฉายรังสี, เคมีบำบัด, ฟอกไต ฯลฯ พวกนี้ หลายตัว เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เดิมเราจะปัดไปให้ผู้ป่วย "เฉพาะราย" คนไหนป่วยคนนั้นต้องจ่ายของตัวเอง แต่ระบบ "ถัวเฉลี่ย" เราจะมาร่วมกันแบกรับ "ถือว่าทุกโรค ทุกการป่วย เป็นหน้าที่ของส่วนรวม" ทุกคนต้องร่วมกันจ่ายครับ เช่น คนป่วยโรคไต ก็จ่ายเท่ากับโรคอื่น เพราะคนป่วยโรคอื่นมีมากมาย ร่วมกันจ่ายแล้ว สมมุติ เดิมคนป่วยโรคไต จ่ายเป็นหมื่น ก็มีคนไข้อื่นๆ ที่ป่วยไม่มากเป็นพันๆ หมื่นๆ มาช่วยร่วมจ่ายด้วย ภาระของคนไข้ก็ลดลง ภาระของหมอก็ไม่มี ภาระของรัฐก็ไม่ต้องรับแทนใคร เพราะ "ประชาชนร่วมกันแบกรับแทน" จึงเป็นประชาธิปไตยภายใต้แนวคิด "โดยประชาชน เพื่อประชาชน" ไงละครับ

    ระบบ "ถัวเฉลี่ย" จะช่วยให้ประชาชนช่วยกันรับผิดชอบกันเองครับ
     
  16. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    มหายาน VS หีนยาน


    จริงๆ แล้วไม่ใช่นิกายครับ เริ่มต้นคือ "แนวคิด" ที่ต่างกัน คือ แนวคิดในการโปรดสัตว์ ก่อนที่จะพัฒนาจากแนวคิดไปเป็นนิกาย ดังนี้

    หีนยาน
    มีแนวคิดว่า "เลือกโปรดสัตว์ที่พร้อมบรรลุธรรมก่อน" เหมือนพระศาสดา เลือกดอกบัวเหล่าบน เพราะเขามีโอกาสบรรลุธรรมได้จริง ปัจจุบัน หีนยานได้รับการสืบทอดผ่านสายหลวงปู่เทพโลกอุดรครับ

    มหายาน
    มีแนวคิดว่า "โปรดสัตว์ให้ได้มากๆ แม้ไม่บรรลุก็ไม่เป็นไร" เหมือนพระศาสดาที่เทศนาโปรดสัตว์ทีหนึ่งเป็นร้อยเป็นพันคน อาจมีบรรลุแค่คนเดียว นอกนั้นก็ได้เป็นบุญวาสนาต่อไปชาติหน้า นั่นเองครับ

    มหายานเน้นเอาปวงสัตว์จำนวนมากๆ ไม่เน้นบรรลุธรรม แต่หีนยานเน้นสัตว์จำนวนน้อยแต่พร้อมบรรลุธรรม เหมือนยอดพีรามิดกับฐานพีรามิดจะขาดกันไม่ได้ ทั้งหีนยานและมหายานจึงมีครบในพระศาสดา แต่เมื่อพระศาสดาสิ้นแล้ว แนวคิดสองอย่างจึงแตกแยกออกไป พัฒนาจนกลายเป็นนิกายสองนิกายใหญ่คือ นิกายเถรวาท ซึ่งรับเอาแนวคิดหีนยานมาใช้ และนิกายมหายาน ซึ่งรับเอาแนวคิดมหายานไปใช้ นั่นเอง

    หลายท่านเป็นพุทธมาจนถึงวันนี้ อาจยังไม่เข้าใจคำสองคำนี้ดีครับ
     
  17. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    ยุคแห่งการจัดสรรพลังงานใหม่ : ไฉนมนุษย์โปรดได้ยาก?


    เทพธรรมบาลนั้นมีหลายลักษณะ บางลักษณะเป็นเหมือนผีปู่โสมเฝ้าทรัพย์ แต่พวกเขาจะเฝ้าอย่างอื่นต่างกันไป เช่น เฝ้าวัด, เฝ้าสถานธรรม, เฝ้าพระพุทธรูป, เฝ้าเทวรูป, เฝ้าตำรา, เฝ้าคัมภีร์ธรรม ฯลฯ เนื่องจาก "จิตผูกติด" กับสิ่งนั้นๆ เช่น ยึดติดตำรามากเกินไป ยึดติดธรรมะข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อมากเกินไป ผลจากจิตที่ยึดนั้นเป็นมโนกรรม มากพอที่จะสร้างชาติสืบภพต่อไปได้ จนก่อเกิดเป็น "เทพธรรมบาล" ซึ่งเทพธรรมบาลจะมีอยู่หลายชุด ชุดก่อนจะได้รับการปลดปล่อยแล้ว เพราะเฝ้าดูแลสมมุติธรรมเหล่านี้มานาน ชุดต่อไปกำลังมาแทนที่เป็น "เทพธรรมบาลพลังงานใหม่" พวกนี้ จะไม่มีใครโปรดได้ ไม่มีใครสอนได้จริงๆ ไม่มีใครทำให้เลิกยึดติดในธรรมะ ในตำรา ในคัมภีร์ ในสมมุติต่างๆ ทางธรรมเหล่านั้นได้ ก็เลยไปเกิดเป็นเทพธรรมบาลชุดใหม่ ตอนเป็นมนุษย์ก็ดูไม่ยาก ที่มาถกเถียงธรรมะกับเรานี่ละ ไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมลดละ ไม่ยอมคลายจากการยึดมั่นในธรรมเหล่านั้น ซึ่งไม่ใช่ธรรมของตน ไม่ใช่ธรรมในตน (เป็นธรรมะในพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เอาไว้ ไม่ใช่ของพวกเขา) ตรงนี้แตกต่างจากพระอรหันต์ เพราะท่านจะมีกายธรรมหรือธรรมกายภายใน แสดงธรรมก็แค่แสดงธรรมชาติออกมาจากข้างใน ไม่ได้ยึดติดตำราหรือธรรมใดๆ เลย

    ดังที่กล่าวว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตา" ธรรมทั้งหลายมิใช่ตัวตนของตน อันบุคคลใดควรไปยึด ทว่า เหล่ามนุษย์ที่ยึดติดธรรมะเหล่านั้นแล้ว กระทำ "มโนกรรม" เป็นเหตุ ก่อเกิดชาติภพไว้ เมื่อละสังขารลงก็ไปเกิดเป็นเทพธรรมบาลชุดใหม่ แทนที่ชุดเดิม อันนี้ไปห้ามเขาไม่ได้ เพราะเป็นการ "จัดสรรพลังงานใหม่" พลังงานเก่า เทพชุดเก่าได้หมดอายุลงแล้ว เขาจะได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นไปโดยธรรมของเรา ธรรมบัวบานเป็นธรรมใหม่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ส่วนหนึ่งใช้ปลดปล่อยพลังงานเก่า โปรดเหล่าเทพชุดเก่าให้หลุดพ้นไป แต่ผลคือ คนกลุ่มใหม่จะต้องไปแทนที่พลังงานเก่า จนกว่าจะสมดุล นี่คือ "กฏสมดุลของโลก ของจักรวาล" จึงได้กล่าวว่า "โลกนี้ไม่มีใครผิด ไม่มีใครหลง" ทุกเส้นทางมีความสำคัญ ทุกจุดมีความจำเป็น มีค่าเท่าเทียมกันทั้งหมด คนทุกคน รูปนามทั้งหลาย ล้วนต้องดำเนินไปตามธรรมะ ธรรมชาติที่ตนได้ทำไว้ สร้างไว้ ก่อไว้ ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น นี่ไม่ใช่ความหลง แต่เป็นธรรมะ ธรรมดาของโลกและจักรวาลที่จัดสรรให้เกิดความแตกต่างหลากหลายไปเท่านั้นเอง แลเพียงหยิบยืมใช้สมมุติว่า "ความหลง" นั้นพาไปยังจุดที่แตกต่างกัน หากไม่มีความหลงเป็นเหตุปัจจัยปรุงประกอบแล้ว มีหรือที่พวกเขาจะยอมกลายเป็นเทพธรรมบาลเฝ้าธรรม?

    แลธรรมบัวบานนี้ก็ได้ช่วยปวงสัตว์ชุดเก่าให้หลุดพ้นไปก่อนนั่นเอง
     
  18. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    คุณธรรมความดี : ธรรมประโลมโลกที่ไม่ช่วยให้เข้าถึงสัจธรรม


    ธรรมทั้งหลายมีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาโดย "ธรรมมานุสติปัฏฐาน" ในสติปัฏฐานสี่แล้ว ท่านจะเห็นว่าธรรมทั้งหลายนั้น มีทั้งธรรมะที่ช่วยให้เข้าถึงสัจธรรมความจริงได้ แม้ตัวธรรมะนั้นไม่ใช่สัจธรรมความจริงโดยตัวมันเอง อุปมาเหมือนเรือนำพาคนไปถึงฝั่ง หรือนิ้วที่ชี้ดวงจันทร์ย่อมไม่ใช่ดวงจันทร์ฉะนั้น และยังมีธรรมะที่ไม่ได้ช่วยให้เข้าถึงสัจธรรมความจริงๆ ใดๆ ได้เลย เป็นเพียงแค่ธรรมะประโลมโลก ใช้ปลอมใจ ประโลมจิตใจคน ให้เคลิบเคลิ้มหลงไปก็เท่านั้นเช่น คุณธรรม, ความดี, การเสียสละ, การให้, ความรัก, ความกตัญญู ฯลฯ คุณธรรมความดีพื้นฐานเหล่านี้ แท้จริงแล้ว ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้สอนหรือชี้นำใดๆ เพราะมนุษย์ที่มีจิตสำนึกตามปกตินั้น ย่อมมีจิตสำนึกแห่งความดีงามเหล่านี้อยู่แล้ว แต่เมื่อพวกเขาเสื่อมลงไปจากความเป็นมนุษย์ "การสอนคุณธรรมความดี" จึงเกิดขึ้น ผู้สอนคุณธรรมความดีเหล่านี้ ไม่ใช่ผู้บรรลุธรรมใดๆ ไม่ใช่พระอรหันต์ใดๆ เป็นเพียง "พราหมณ์" ที่อาศัยคุณธรรมความดีเหล่านี้ เพื่อให้ตนเองได้รับการยอมรับ, นับถือ, ศรัทธา และลาภสักการะ ซึ่งธรรมะเหล่านี้มีมานานก่อนพระศาสดาจะตรัสรู้เสียอีก และใครๆ ก็รู้และสอนกันได้ เรียกว่า "คุณธรรมความดีพื้นฐาน" นั่นเอง จึงไม่จัดเป็นธรรมะของพระอริยเจ้าแต่ประการใดเลย

    ดังที่กล่าวแล้วว่า "สัจธรรมแท้นั้น อธิบายไม่ได้" เป็นสิ่งที่สอนกันไม่ได้ จึงต้องมี "ธรรมะอุปปายะ" เป็นอุบายหลอกล่อให้เข้าถึงเอง มี "โกอาน" หรือปริศนาธรรม เพื่อให้บุคคลขบคิดพิจารณา เข้าถึงเอง เป็นต้น ธรรมะทั้งหลายนี้แตกต่างกัน หากพิจารณาด้วยธรรมมานุสติปัฏฐานแล้ว ย่อมแยกแยะธรรมต่างๆ ได้ชัดเจน ร่วมไปถึงธรรมที่เหมาะสมในบริบทต่างๆ กัน เหมาะสมกับบุคคลที่มีจริตต่างๆ กัน เหมาะสมกับยุคสมัยต่างๆ กัน ฯลฯ อีกด้วย นี่เรียกว่า "มีสติในธรรม" ตามหลักธรรมมานุสติปัฏฐาน หากไม่มีสติในธรรมตัวนี้แล้ว เราก็จะแยกแยะธรรมะทั้งหลายไม่ได้ จริงอยู่ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนเป็นธรรมะ เป็นธรรมดา มีทั้งสัจธรรมอยู่เป็นแก่นแท้ และสมมุติธรรมอยู่เป็นเปลือกหุ้ม ทว่า ในสรรพสิ่งทั้งหลายนี้ หากเราผู้ปฏิบัติธรรมขาดซึ่งสติในธรรม (ธรรมมานุสติปัฏฐาน) เสียแล้ว ธรรมเหล่านี้ก็ไม่ช่วยให้เราเข้าถึงได้ เราไม่อาจ "ตื่นแจ้งในธรรมเหล่านี้ได้เลย" อุปมาดั่งข้าวที่หอมอร่อยปรุงไว้ แล้วเรามิได้กิน ย่อมมิรู้รส ฉันใดก็ฉันนั้น แล "ธรรมประโลมโลก" ทั้งหลายนั้น ก็มิอาจเป็นอุบายให้บุคคลใดเข้าถึงสัจธรรมความจริงได้ เป็นได้แต่เพียง "ยาฝิ่น" กล่อมเกลาผู้คนให้เคลิบเคลิ้ม มอมเมาให้ผู้คนลุ่มหลงยึดติดในธรรมนั้นๆ ธรรมเหล่านี้ล้วนขาดซึ่งอุบาย, ความแยบคาย และความลุ่มลึก เป็นเพียงธรรมะพื้นๆ ที่ใครๆ ก็พูดได้ พูดแล้วใครๆ ก็ยอมรับ ไม่มีข้อให้ถกเถียง อันเป็นธรรมะที่อาศัยหากินของพราหมณ์เหล่าต่างๆ เพียงเท่านั้นเอง

    สัทธรรมปุณฑริกสูตรนั้นมิใช่ธรรมประโลมโลกแต่เป็นอุบายชั้นดี!
     
  19. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,283
    ค่าพลัง:
    +1,505

    เขียน ๑๔.๓๐

    คุณธรรมความดี เป็นอีกหนึ่งก้าว สู่สัจธรรม ล่ะมั้ง นะ

    สมมุติว่าเราเข้าถึง "ธรรมมานุสติปัฏฐาน" แล้วนะ
    เราก็คงเห็นว่า ธรรมทั้งหลายล้วนมีส่วน
    ช่วยในการก้าวไปสู่สัจธรรม

    และคงช่วยประโลมโลก
    ให้สวยงามขึ้นได้แน่

    คุณธรรมความดีพื้นฐานเหล่านี้
    จำเป็นต้องยัดใส่ห้วให้มากๆ
    โดยเฉพาะในยุคนี้น่ะนะ
    ยิ่งต้องยัดให้แยะๆ

    พุทธะ พระอรหันต์ หรือผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว
    ล้วนเคยสอนสั่ง ธรรมะพื้นฐานเหล่านี้
    ก็พอจะนับได้ว่าเป็นของ อริยะ น่า

    หากพิจารณาด้วยสติแล้ว ย่อมแยกแยะธรรมได้ชัดเจน
    รวมไปถึงธรรมที่เหมาะสมในบริบทต่างๆ กัน
    เหมาะสมกับบุคคลที่มีจริตต่างๆ กัน
    เหมาะสมกับยุคสมัยต่างๆ กัน
    เพื่อประโยชน์ต่างกัน

    ด้วยธรรมะพื้นๆ แบบบ้านๆ นี่แหละ
    จะนำไปสู่วิถีแห่งสัจธรรมได้แน่
    แม้จะยังห่างไกล แต่ก็นะ
    ดีกว่าไม่มีเลยตั้งแยะ

    และถ้าเพิ่มอุบาย ความแยบคาย และความลุ่มลึก
    อันสอดคล้องกับเหตุปัจจัย และยุคสมัยให้เหมาะสม
    ให้โดนใจผู้คน ก็มีสิทธิ์รุ่งได้นะ แต่ก็ไม่ใช่ใครๆ ก็ทำได้


    สัทธรรมปุณฑริกสูตรนั้นมิใช่ธรรมประโลมโลก แต่เป็นอุบายชั้นดี!



    .
     
  20. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +1,722
    จิตบริสุทธิ์อยู่แล้ว แล้วเราจะต้องทำอะไรกันอีกทำไม?


    สรรพจิตทั้งหลายมีลักษณะบริสุทธิ์, สว่างไสวอยู่แล้ว และมีสภาวะ "รู้" ไม่ใช่ความว่าง เป็นธาตุชนิดหนึ่งเรียกว่า "มโนธาตุ" ธาตุๆ นี้ เป็นสมมุติธรรม เมื่อดับสนิทจึงนิพพาน เรียกว่า "พระธาตุนิพพาน" เมื่อจิตนิพพานสภาวะรู้ก็ดับสนิทตามไปด้วย รู้ก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ จิตไม่ใช่กิเลส, กิเลสไม่ใช่จิต สองอย่างมาพบกันเหมือนเมฆกับดวงจันทร์ (จิตเดิมแท้ประภัสสร มีกิเลสมาจรเป็นครั้งคราว) เหมือนอาคันตุกะจรเท่านั้นเอง กิเลสจึงไม่ได้อยู่ในจิตแต่แรกแล้ว และไม่จำเป็นต้อง "เช็ด" (กระจกใสแล้วไม่ต้องเช็ด) ส่วนกิเลสมีอนิจจังไม่เที่ยงอยู่แล้ว (ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง) จึงมิใช่เรื่องต้อง "ทำจิตใจให้บริสุทธิ์" แต่อย่างใด เพราะจิตเดิมแท้ประภัสสร บริสุทธิ์อยู่แล้ว นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นจิตของคน, สัตว์, อสุรกาย ฯลฯ ล้วนบริสุทธิ์ไม่ต่างกัน ความแตกต่างไม่ได้อยู่ที่จิต แต่อยู่ที่ขันธ์ทั้งห้าที่ปรุงแต่งเข้ามาเท่านั้น กิเลสที่จรมาบดบังเป็นครั้งคราวเท่านั้น ทว่า แม้เราจะมีจิตที่บริสุทธิ์อยู่แล้วก็ไม่ได้แปลว่าเราบรรลุธรรมอยู่แล้ว หรือเป็นพระพุทธเจ้าอยู่แล้วนะ คนละเรื่องกัน อย่าปรุงแต่งมากเกินไปกว่าคำว่า "บริสุทธิ์" เพราะพระพุทธเจ้าทรงมีทั้ง "พระบริสุทธิคุณ, พระปัญญาธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ" เรามีแค่ความบริสุทธิ์เป็นตัวเริ่มต้น แต่เรายังต้องพัฒนาปัญญาและมหากรุณาไปอีก อยู่ๆ จะเป็นพุทธะอยู่แล้วเลยนั้น ไม่มี เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ครบองค์คุณ

    ถามว่า "แล้วคนเราจะไม่ทำอะไรเลยหรือ? ทำไมเราต้องทำอะไรตั้งมากมาย?" คำตอบคือ เพราะ "จิตมีวิวัฒนาการไม่เท่ากัน" เช่น จิตของพระอรหันตสาวก ไม่อาจมีสัพพัญญูญาณได้เช่นพระพุทธเจ้า จิตของคนเรามีกำลังในการหยั่งรู้ต่างกัน เรียกว่า "ญาณ" ญาณนั้นมีหลากหลายชนิด เช่น อนาคตังสญาณ คือ ญาณหยั่งรู้อนาคต, อตีตังสญาณ ญาณหยั่งรู้อดีต ฯลฯ เห็นไหม? จิตรู้เหมือนกัน เป็นธาตุรู้ ตัวรู้ มโนธาตุเหมือนกัน แต่รู้ไม่เท่ากัน กำลังญาณหยั่งรู้ของจิตไม่เท่ากัน การที่เราต้องทำอะไรมากมาย เกิดมาหลายชาติภพนั้นจึงมีสาเหตุมาจากการที่เราจะต้อง "พัฒนาจิตของเรา" ให้มีวิวัฒนาการสูงขึ้น จิตของมนุษย์โลกปกติมีวิวัฒนาการอยู่ใน "มิติที่สาม" แต่จิตของผู้ที่มีวิวัฒนาการแล้วอาจพัฒนาไปสู่มิติที่สูงขึ้นได้มากมายเช่น มิติที่สี่, มิติที่ห้า, มิติที่หกฯลฯ จิตพระพุทธเจ้าทัั้งหลายมีวิวัฒนาการสูงกว่าพระอรหันตสาวก จึงมีญาณหยั่งรู้มากกว่า การเวียนว่ายตายเกิดนั้นก็เพื่อให้จิตเกิดวิวัฒนาการ และเลื่อนระดับไปสู่มิติที่สูงขึ้นๆ นั่นเอง การชำระล้างจิต ทำจิตใจให้บริสุทธิ์นั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็นแต่อย่างใดเลย

    หน้าที่เราคือพัฒนาองค์คุณทั้งสามให้บริบูรณ์ เพื่อกลับคืนสู่พุทธะ ต่างหาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...