ธรรมทั้งหลาย มิใช่ อัตตา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 3 มิถุนายน 2013.

  1. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    คงเป็นความต้องการของพี่น่ะครับ
    เอา สนุก ให้ได้สาระ ใจความ
    ผมว่าไม่ได้อยู่ที่ข้อความสั้นยาว อยู่ที่ความเข้าใจในการสื่อสารกันมากกว่า

    อืมถูกพี่สามลากมายาวอีกแล้ว ไปพักดีกว่า
    ขอบคุณครับ
     
  2. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เฮ้ยยยยย

    ก็นั่น มันตัวคุณ เข้าใจ

    คุณมา สนทนา เอาแต่ ความเข้าใจ ลั่นในหัวสมอง ลำพัง เฉพาะตัวคุณ
    คุณก็ทำได้สิ พูดสั้นๆ คนถาม ก็ไม่ตอบ

    คนเขาบอก แถลง อยู่ว่า " พระ " ประโยค " ท้ายสองวรรคหลัง " ไม่
    รู้ว่าเป็นพระไหน เป็น ประโยคท้าย ของคำพูดคนไหน

    ให้ชี้แจงมา ป่านนี้แล้ว คุณ ก็ยัง ถือ เอา สมงอคุณว่า ข้ารู้ของข้า
    ว่าประโยคไหน วรรคไหน คำสอนไหน พระไหน

    เรื่องอะไร จะต้องไปชี้แจง ทำความกระจ่าง ให้เกิดขึ้น กับ สัตว์อื่น

    ....

    เนี่ยะ ถ้า จะมาสนทนา กันแบบนี้ ผมก็ไล่ไปเห่า โน้น ไม่ต้องมาคุย
    กันแบบ คน !!
     
  3. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..เอ้ยยส์ๆๆๆ..อย่ามากัดลูกศิษย์ตัวเอง..ซิวะ..เดี๋ยวปั๊ดเหนี่ยว ไอ้นี่ อิอิ:boo:
     
  4. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    อธิบายไว้แล้ว พี่สามคงยังไม่ได้อ่าน
     
  5. เจ้าทองไปดี

    เจ้าทองไปดี แมว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +223
    นิพพาน เป็นชื่อเรียก สภาวะที่พ้นสมมุติ ที่ต้องบัญญัติเรียกว่านิพพาน ก็เพื่อให้เข้าใจกันได้ว่ามีสภาวะบางอย่างอยู่
    ถ้าถามว่านิพพานอัตตาหรืออนัตตา ก็เท่ากับเอาสมมุติมาอธิบายสิ่งที่พ้นสมมุติ
    เอาสุข เอาทุกข์มาเปรียบนิพพานก็เหมือนกัน

    นิพพานเป็นธรรมเดี่ยว เป็นสภาวะธรรม ที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง

    อัตตา อนัตตามันเป็นคู่ตรงข้ามกัน จะเป็นนิพพานไปได้ยังไง:'(


    เอาธรรมคู่มาเป็นนิพพานมันก็จะเป็นแบบนี้ละ
    *********************
    " สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา " แล้วก็บอกว่า
    " ถ้ามองในเชิงกลับกัน ในเมื่อนิพพานเที่ยง และเป็นสุข เราก็จะสรุปได้ ว่า สิ่งใดเที่ยง
    สิ่งนั้นเป็นสุข สิ่งใดเป็นสุข สิ่งนั้นก็น่าจะเป็นอัตตา "
    **************************
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ....................ความรู้อันยิ่งนั้น มีให้เราท่านศึกษา ยิ่งยิ่งขึ้นไป ใช่ใหม ไม่ง่ายใช่ใหม?......................สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา.....ต้องถามว่าอะไรเกิดขึ้น....ในศาสนาเราเรียกว่าขันธิ์5( หรือมีอุปาทานในขันธิ์5ปัญจุปาทานักขันธิื) รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน......ถ้าจะเอาตามปฎิจสมุปบาท อวิชชา ปัจจัยสังขาร สังขารปัจจัยวิญญาน วิญญานปัจจัยนามรูป....ถ้าดูจากวิญญาน ปัจจัยนามรูปก็ได้........หรือสังขารปัจจัยวิญญาน ก็ได้ หรืออวิชชาปัจจัยสังขารก้ได้.......ผู้มีอวิชชาคือผู้ไม่รู้อริยสัจสี่(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค):cool:
     
  7. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    แป่ว ลูกส่ง อะใช่ ลูกสิด นี่ยัง งงอยู่

    คุยกับ จิตตนนท์ สงสัยต้อง สวมบท คุณชาย ถึง จะง้างปากให้พูด ให้ชี้แจง ได้

    ...........

    อันตัวข้าพเจ้านี้ จำเดิมแต่นานมาหารู้ไม่ว่า มังคลามุนี นี้คือ พระ
    ทราบแต่เพียงการกระทำในใจว่า เป็น พวก "ปฏิภาณว่าเป็นพระ"
    และคงมีเป้าหมายในการเขียนหนังสือ จึงได้ใช้ ฉายา แบบพระ แต่
    เป็นไปเพื่อ นามปากกา อย่างหนึ่ง

    ครั้น ท่านเจ้าคุณจิตตินนท์มาแย้งว่า ให้อ่านสองวรรคหลังของพระ
    โดยที่ โพสก่อนหน้า ก็มาเกริ่นไปเรื่อง คำสอนหลวงพ่อชาที่ ยกเรื่อง แก้ว
    ไว้อีกนัยหนึ่ง พูดสั้นๆว่า ยกอีกแก้ว ท่านชายผู้เข้าใจเร็ว ก็ไม่รู้แล่น
    ไปสู่ สัญญาไหน จึงยิ่งอมพนำไม่ชี้แจง ความสับสน ในการนำเสนอ
    ข้อความที่เกิดขึ้น

    จึงอยากเรียนให้ท่านทราบว่า

    กรุณาเถิดเจ้าข้า เมตตาเถืดเจ้าข้า ช่วยกล่าว ข้อความอันปราณีต
    อันหาที่ค้นหาที่มามิได้ ให้ทราบด้วยเถิดว่า พระ และ คำ สองวรรค
    ท้ายนั้น คือ คำไหน คนไหน อย่างไร

    ควรไม่ควรแล้วแต่จะโปรด
     
  8. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984

    ..ก็นิสสัย..อวดรู้..อวดเข้ารู..เหมือนกันนะ
    เถียงข้างๆรูรู..เหมียนกัน จะว่าไปทำไม
    ..พอตอบด้วยเหตุผลไม่ได้ มันก็ออก พูดไปแล้วหรือออก..ทะเลมั่ง..บึงมั่ง..ห้วย..หนองมั่ง พอกันละว้า อิอิ:boo:
     
  9. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    อะไร ว๊า เขียนไว้แล้ว ตรงไหน หน้าก่อนหน้านี้ หากพลาดไป ก็ ยกมาอีกทีสิ

    เครื่องคอม มันไม่เร็ว ก็ไม่ได้กด ย้อนหน้า ย้อนหลัง เพื่ออ่านหน้า ถ้าขี้เกียจ
    มาก ก็บอกมาก็ได้ว่า โพสไว้ที่หน้าไหน

    แต่.....


    ถ้า บอกว่า เขียนเอาไว้แล้ว แล้ว เป็นการ มาเติมภายหลัง เอา ก็เอา

    ว่าแต่ว่า



    ในประโยคเนี่ยะ ใช้คำว่า พระ มันก็ต้องเป็น คำที่พระเขียนสิ

    ถ้าหากมา กล่าวโยนๆ ให้ผม อ่านข้อความของตนเอง ในวรรค
    ว่ามันเขียนสลับ หรือ อะไรกัน

    เฮ้ยยย !!

    ไม่เคยตรวจการบ้านเด็ก หรือไง

    อะไรที่เป็น ผลงานเขียนของคนๆ นั้น เวลาให้ เขาอ่านทวน หาที่ผิดเนี่ยะ
    คนเขียนเอง มันจะ อ่านไม่เจอ ว่าผิดตรงไหน

    มันต้องให้คนอื่นเข้ามาช่วย ชี้ จี้เป็นจุดๆ เลย มันถึงจะเห็น

    และที่แน่ๆ ผมไม่ใช่พระ ถ้าคำว่า คำพระที่คุณหมายๆ จะให้ผมเข้าใจ
    ยังมีประเด็นอยู่ ก็ กรุณา ยกมา

    ส่วน คำพูดของผม ตรงไหนผิด ตรงไหนไขว้ ก็ทำสี สรร สำแดง ขึ้นมา สิคร้าบ ท่าน
     
  10. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    คำพี่สาม ผมว่า สองวรรคสุดท้าย ไขว้กันอยู่
    ตรงนี้
    "ส่วน อนัตตาธรรม ไม่ใช่ เอามา บรรยาสภาพธรรม หลังแก้วแตก หรือ หลังการสลาย

    อนัตตาธรรม เป็น หลักธรรม ที่จะต้อง แทงตลอด ไม่ขึ้นกับกาล เวลา
    แล้ว โน้มกล่าวเห็นว่า มันไม่มีมาตั้งแต่ต้น !! ( ประมาณ นั้น ) "

    ก็คือผมเห็นว่า ไปลงกับที่หลวงพ่อชา สนทนากับศิษย์ในเรื่องแก้ว
    ซึ่งผมใช้ประโยค ว่า
    "คงไม่เห็นส่วนท้ายที่พระท่านกันไว้เช่นกัน "

    ในส่วนคำหลวงพ่อชากล่าวคือ
    ***
    ฉะนั้น การจะรู้เรื่องอนัตตา จะต้องรู้ด้วยการปฏิบัติ ถ้าเอาไปคิดเฉยๆ นะ ศีรษะมันจะแตก!

    วันนั้นพูดให้ฟังแล้วครั้งหนึ่ง คงจะยังไม่เข้าใจ เพราะว่าเรื่องอนัตตานี้จะไม่สามารถเข้าใจได้โดยการฟังจากคนอื่น จะต้องพิจารณาตนเอง
    ***


    ส่วนเรื่องคุณมังคละมุนี ผมไม่ได้พูดถึงเลย ตรงนี้จึงเป็นความเข้าใจของพี่ว่าผมอาจไปยกคุณมังคละมุนี

    ส่วนลิงค์นี้เป็นบทสนทนาเรื่องแก้ว ที่ผมไปอ้างถึงมาครับ
     
  11. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    แอบ ไปอ่าน วิกิพีเดีย ที่เขียนเรื่องนิพพานมา ค่อนข้างเหมือนที่เข้าใจ ไม่รู้ใครเขียน เลยยกมาให้อ่านกันเล่นๆๆ มันยาวมาก หัวข้อ สภาวะของนิพพานจากหลักฐานในพระไตรปิฎก

    "คำว่า "นิพพาน" เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่า นิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานเช่นเดียวกับคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุกข์

    คัมภีร์ชั้นอรรถกถา ของฝ่ายเถรวาท ระบุว่า "นิพพานอันว่างจากตัวตน(อัตตา)" "นิพพานเป็นอนัตตา" เช่น ในคัมภีร์พระวินัยปิฎก ปริวารระบุว่า อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา "สังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้" (วิ.ป.บาลี 8/257/194)

    นิพพานก็อยู่ใน อริยสัจ 4 ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจข้อ 3 ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม 31 ระบุว่าอริยสัจ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้ อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . . นิโรธสฺส นิโรธฏฺโฐ อนตฺตฏฺโฐ. (ขุ.ปฏิ. 31/546/450) แปลว่า: "สัจจะทั้ง 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มีการตรัสรู้ด้วยกันเป็นอันเดียว (คือด้วยมรรค ญาณเดียวกัน) โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา . . . นิโรธมีความหมายว่าดับ (ทุกข์) ก็มีความหมายว่า เป็นอนัตตา " อรรถกถาอธิบายว่า อนตฺตฏฺเฐนาติ จตุนฺนมฺปิ สจฺจานํ อตฺตวิรหิตตฺตา อนตฺตฏฺเฐน. (ปฏิสํ.อ.2/229)

    ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรคระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" และในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาตมีระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ซึ่ง "ธรรม" ในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายต่อว่า "หมายรวมถึงนิพพานด้วย" นอกจากนี้ ยังมีข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกอีกหลายแห่งทั้งที่ระบุโดยตรงและโดยอ้อมที่มีนัยบอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา" คำว่า "อนัตตา" มีความหมายระดับปรมัตถ์ มีนัยที่ต้องไขความต่ออีก โดยเฉพาะในคัมภีร์ชั้นหลังจะบอกว่า "ที่ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะเกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่าง ๆ มาประชุมกัน ไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอยู่ ไม่มีตัวตนที่คงที่ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้เสวย ไม่มีอำนาจในตัวเอง บังคับให้เป็นไปในอำนาจไม่ได้ แย้งต่ออัตตา"

    ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ที่ทรงถามว่า ถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย นิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า

    "ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่ พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตร เหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่ แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่ เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมาฉันใด มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มี (แต่) พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..."(มิลินฺท.336)

    ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา ยังมีข้อความแสดงสภาวะของนิพพานอีกหลายแห่ง เช่นในปฏิสัมภิทามรรค มีอธิบายว่า นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ "ธรรมคือนิพพาน ว่างจากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา" (ขุ.ป.อ.2/287) นอกจากนี้ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสะพยายามอธิบายให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนของผู้ได้ชื่อว่าบรรลุนิพพาน ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีอัตตา และนิพพานก็มิใช่สิ่งที่จะต้องมีอัตตาถึงจะมีอยู่ได้ ดังที่พระพุทธโฆสะกล่าวว่า "นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" (วิสุทฺธิ.3/101) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ๆ ที่ปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วบรรลุนิพพาน เมื่อปราศจาก "ตัวตน" ของผู้เข้าถึงนิพพาน นิพพานก็ย่อมไม่ใช่อัตตาไปด้วย

    ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350)

    เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ใช่นาม(จิตเป็นต้น)และรูป หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะของพรหมันหรืออาตมันของปรัชญาฮินดู ทั้นนี้เพราะล้วนแต่เป็นสังขตธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง มีธรรมชาติเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ แต่นิพพานอยู่เหนือสภาพเช่นนี้ และว่างเปล่าจากสิ่งเหล่านี้ ขณะเดียวกัน นิพพานก็ไม่ใช่ความดับสูญอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นลักษณะของอุจเฉททิฏฐิการใช้ภาษาอธิบายนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นอัตตาเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ) หรือว่าเป็นความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งเป็นทัศนะที่คลาดเคลื่อนจากพระบาลีทั้งสิ้น

    พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่า อสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด

    นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก การอธิบายนิพพานโดยอาศัยพื้นฐานในทางโลกตลอดจนภาษาทางตรรกวิทยาจึงไม่อาจกระทำได้ การจำกัดความจึงมักใช้การปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ไม่ใช่ทั้งสิ่งนั้นและสิ่งนี้ ไม่มีการอุบัติ ไม่มีการจุติ ไม่มีองค์ประกอบ ไม่มีการสร้างสรรค์ ไม่มีการแตกทำลาย ไม่ใช่ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น ดังปรากฏในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." (ขุ.ขุ.อ.25/50)

    เมื่อนิพพานพ้นไป นิพพานจึงเทียบได้กับ ไฟอันที่หมดเชื้อไฟแล้วและดับไป อันเชื้อไฟนั้นเปรียบได้กับกิเลส ตัณหา อุปาทาน เป็นต้น
    "
     
  12. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    แล้ว ยกมา ทำแปะ อะไร เรื่องแก้ว

    แก้ว ที่มีการยกขึ้นมาวางบนโต๊ะ ชักชวนให้เห็นว่า นี่ แก้ว

    เสร็จแล้ว วิทยากร ก็กล่าวด้วยเงื่อนเวลาว่า 100ปีหลังจากนี้ แก้วก็
    ต้องแตก เมื่อแก้วแตกแล้ว แก้วยังมีอยู่ไหม

    วิทยากรณ์จะใช้เทคนิคนี้ เพื่อชี้ให้เข้าใจเรื่อง อัตตา กับ ไม่มีอัตตา( โดย
    ไขว้ไปอีกศัพท์อีกทีว่า ส่วนท้ายนั้นคือ อนัตตา )

    ซึ่ง มันคนละ อุบายธรรมกับ หลวงพ่อชา

    หลวงพ่อชา เกริ่นขึ้นมาเรื่องแก้ว ท่านก็จี้ลงไปอยู่แล้ว ลำพังแก้วมันมีทุกขัง
    ของมันแต่แรก หากเห็นตามความเป้นจริง คนๆนั้น ก็จะไม่กล่าวว่า มีแก้ว อยู่
    เด็ดขาด มันจะละลายไปจากการยึดจับ สัญญาวปลาสแล่นไปสู่การถือเอา
    ว่ามี แล้วเอาอัตตาไปเสริฟว่าของกู ขึ้นมา

    ผมถึงได้ถามว่า แก้วกาแฟ จิตตินนท์เห็นทุกขังของมันไหม ถ้าเห็น จิตตินนท์
    ก็ละสักกายทิฏฐิ ทำลายสัญญาลิปลาส ตัดเรื่องการบัญญัติ อัตตา การมีตัวมีตน ออกไป
    จากการสดับธรรม ไม่ให้ สัญญาวิปลาสเข้ามาขวางธรรมได้

    ตอบว่า "เห็นครับ " มันก็จบ แต่ ย่อมมีต่อ เพราะ ผมจะยกต่อว่า " สัทธรรมคำสอน
    ของพระพุทธองค์ " ที่อ่านๆ กันอยู่นี้ มีอยู่ไหม หากจิตตินนท์ กล่าวว่า มีอยู่ ฮับ
    ก็ โหลยโถ้ย !!

    ***********

    แต่ดูไปดูมา จิตตินนท์ เหมือนยกมาสนับสนุน แต่ อาการเสวนา เหมือนมาย้อนแย้ง

    ตกลง เอายังไง

    จริงๆ จะมา สนับสนุน เรือง อนัตตา ที่ผมอธิบาย หรือ จะมาย้อนแย้ง

    สมมติว่า มาย้อนแย้ง ผมก็จะจี้ไปลงคำที่ใช้ว่า " โน้มกล่าวเห็นว่า " ตรงนี้
    เข้าใจว่า " คิดเอา "

    หรือ

    "โยนิโสมนสิการ" (งานปฏิบัติทางใจ ของคนใฝ่ธรรมพึงรู้เห็นกัน )

    ยังไงกันแน่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  13. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ความรู้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนั้นเเหละ ใครจะคิดค้นขึ้นมาได้ นอกจากมหาบุรุษ
    ในปฏิจสมุปบาท พระตถาคตย่อมเเสดงธรรมโดย"สายกลาง"ไม่เข้าไปหาส่วนสุตทั้ง2
    เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลายทั้ง เป็นต้น. ก็อธิบายสภาวะตรงตามเป็นจริง ได้ถูกสุด ตรงนี่ ถึงอรรถจะเหมือนกัน เเต่ความเข้าใจต่างกัน
    เป็นเรื่องยากที่จะเเทงตลอด ซึ่งอริยสัจ4 ปฏิจสมุปบาท มันขึ้นอยู่กับความเข้าใจ รวมถึงสุตตะของเเต่ละคน
    เป็นเรื่องเข้าใจได้ลึกเป็นอณู ไอทีเราคิดว่าเข้าใจเเล้ว ได้ยินเค้าอธิบายต่างๆ มันก็ไม่ใช่ว่ามันจะจบ ไม่ใช่ง่ายๆ เห็นนิดๆเข้าใจเเล้ว ง่ายไป จนกว่าเเน่ใจจริงๆทุกหมวดทั้ง อุปทานขันธ์ กามวิตก กามสัญญา ตัณหา (เหตุเกิด)
    นิโรธ คืออะไร เพราะอะไรมี จึงมีนิโรธ . เเล้ว ปฏิปทาคืออะไร. ต้องเเทงตลอด อันเกิดจาก โยนิโส
     
  14. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เรื่อง แก้ว ที่วิทยากรณ์ เอามาอธิบายเรื่อง อัตตา อนัตตา

    อันนี้ คุณ ขนมโตเกียว เขารู้จัก เขาดูจนตาแฉะ

    พอเขาเห็น เขาก็จำของเขาได้ แล้ว เขาก็ โต้กลับมาแล้ว

    แต่ไปโน้น ไถย ไถล ยอมวงเล็บด้วย ลีลา ใช้วาจา แบบผู้หญิง ยอมลงทุน
    เขียน

    กลายเป็น เป้า นิ่งโดยไม่จำเป็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ............สัมมาทิฎฐิที่ว่านี้คือเบื้องต้นเข้าใจว่า (มีเกิด มีตั้งอยู่ มีดับ)(สำหรับเราท่านอาจจะยังไม่บริบูรณ์).....นำไปสู่ ความพ้นทุกข์ ใช่ใหม อีกต่อหนึ่ง.....ในอริยสัจสี่ ทุกข์(ปัญจุปาทานักขันธิื)ควรกำหนดรู้ ทุกข์สมุทัย(ตัณหา ตัณหา108 ควรละกามตัณหา ภวตัณหาวิภวะตัณหา)....ตัวนี้แหละที่ยึดเอาปัญจุปาทานักขันธิ์ว่าเป็นตัวเรา ของเรา นั่นเป็นตัวเรา อันเป็นสาเหตุของ ภพ ชาติ ชรา มรณะ..สัมมาทิฎฐินี้เป้นองค์หนึ่งในมรรคทั้งแปด เพื่อเจริญเพื่อถึงความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง ต่างหาก...........:cool:.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  16. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    เข้าใจยังไงก็เข้าใจไป เเต่ขอให้เอาไปเห็นจริงๆ ไม่ใช่เห็นในสมมุติบัญญัติ โดยที่ไม่ได้เอาไปเห็นตามจริง ซึ่งมันก็เป็นอีกก้าว

    ตัวอย่าง พิจราณาอสุภะที่เเท้จริง เมื่อนำไปพิจรานาไม่ควรคิด ไม่ควรนึก ไม่ควรพูด หรือ บริกรรมใดๆให้มีเสียง ในมโนเด็ดขาด ถึงเป็นการ พิจารนาอสุภะที่ไม่มีสมมุติเจือปน
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..................เรื่องรถ นี่ ถ้าคุณใช้คำว่า ปรมัตถ์....มันใช้แทนอะไร ถ้าใช้แทนคำว่าคุณเห็นความไม่เที่ยงก็พอได้อยู่....เพราะสมมุติและปรมัตถ์ของคุณ จะอธิบายให้เข้าใจยาก:cool:
     
  18. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    จิตใจของคุณตอนนี้เหมือนสุนัขที่กลัวต่อโลก ระเเวงผู้ที่เข้ามาใกล้ๆตน
    พอผมทำเป็นไม่สนใจ คุณก็จะผ่อนคราย เข้าไปซุกในรูตามเดิม
     
  19. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    เข้าใจตรงกันครับ ^_^
    เรื่องหลวงพ่อชา
    เรื่องวิทยากร เพิ่งฟังจากพี่ ตรงนี้ล่ะจุดเริ่มเลยอยากฟังตัวเต็มครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 มิถุนายน 2013
  20. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ต้องกราบงามๆ

    ที่ ขนมโตเกียว พูดจาให้มากๆ จนเขา ยอมยก ลิงค์ ให้ ก็อาจจะได้ โอกาส

    โอกาส มันไม่ได้ลอยมาง่ายๆ ต้อง ขอเอา

    จะให้ดี ให้ขนมโตเกียว อ้างจาก คำพูดของตน เรื่อง แก้ว กับ อัตตา
    ขนมยายก่อนแล้ว จึงแสดง ลิงค์ ของพระ

    เพราะ เรื่องแก้วนี่ ขนมโตเกียวเขาเป็นคนยกมา ก็ ต้องให้เกรียติเขา
    ในการยกแสดงลิงค์
     

แชร์หน้านี้

Loading...