ธรรมทั้งหลาย มิใช่ อัตตา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 3 มิถุนายน 2013.

  1. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419


    นิพพาน เป็นสภาวะ ที่ไม่เกิดปรากฏ ไม่เสื่อม ไม่ดับ

    เราจะเรียกว่า ไปเกิดก็ไม่ได้ หรือ ไม่เกิดก็ไม่ได้. เพราะจะอยู่ใน ขันธ์5
    เเต่มันเป็นสภาวะที่มีอยู่ก่อนเเล้ว คือ การกลับไปสภาวะเดิม
    จะเรียกว่าไปเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่
    เมื่อหมดเชื้ออุปทานของการเกิดเเล้วนั้น ย่อมปรินิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เฮ้อ!!!

    ขอหลักฐานพระบาลีแปลด้วย เห็นชอบนำมาอ้าง

    มีพระพุทธพจน์แปลไว้ตรงไหนชัดๆว่า อนัตตา=ไม่มีตัวตน

    ที่มีแปลไว้ชัดๆคือ อนัตตา=ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ไม่มีตัวตน

    เพราะไม่มี กับไม่ใช่ มันคนละเรื่องกันเลย

    ไม่มีตัวตน ก็แสดงว่า ไม่เคยมีตัวตนในที่ไหนๆอยู่จริงมาก่อน

    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีตัวตนอยู่จริงหรือไม่? อย่าเลี่ยงบาลีหละ

    ไม่ใช่ตัวตน ก็แสดงว่าที่ใช่ต้องมี ใช่หรือไม่่?

    เรื่องนี้มีพระพุทธพจน์ตรัสยืนยันรับรองไว้ชัดเจน

    และยังมีพระพุทธพจน์ยืนยันอีกว่า

    "สิ่งใดเป็นอนัตตา พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย"

    ถ้าพระนิพพานเป็น"อนัตตา" แบบที่ชอบคิดกันเอง

    ทำไมพระพุทธองค์จึงให้ละเสียหละ

    เมื่อพระนิพพานเป็น"อนัตตา" แบบนี้แล้วยังจะหวังพระนิพพานได้หรือ?

    เจริญในรรมสมควรแก่ธรรมใทุกๆท่าน
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ไม่ได้ศึกษาบาลีมา แต่หามาให้พออ่านได้ใจความดังนี้
    คำว่า อนตฺตา เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ น บทหนึ่ง อตฺตา บทหนึ่ง
    น แปลว่าไม่ใช่ อตฺตา แปลแยกแล้วได้ ๔ อย่าง คือ จิต ๑ กาย ๑ สภาวะ ๑ ปรมอัตตะ ๑ รวมเป็น ๔ อย่าง

    ข้อที่ ๑ อตฺตา ในพระบาลี ว่า อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา แปลว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกฝนตน
    คำว่าตนในที่นี้ในพระบาลี ได้แก่จิต

    ข้อที่ ๒ อตฺตา ในพระบาลีว่า นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ แปลว่า ความรักเสมอตนไม่มี
    คำว่าตน ในพระบาลีนี้ ได้แก่กาย

    ข้อที่ ๓ อตฺตา ในพระบาลีว่า อตฺตาทีปา ภิกฺขเว วิหรถ แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย จงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่งอยู่
    คำว่าตน ในพระบาลีนี้ ได้แก่ กุศลธรรม คือ สภาวะ

    ข้อที่ ๔ อตฺตา ในพระบาลีว่า อยํ อตฺตา นิจฺโจ ธุโว สสฺสโต อวิปริณามธมฺโม แปลว่า ตนเป็นของเที่ยง แข็งแรง ตั้งอยู่มั่นคง ไม่มีการแตกดับ
    คำว่า ตน ในพระบาลีข้อที่ ๔ ได้แก่ ปรมอัตตะ หรือ ปรมวิญญาณ ที่ชาวอินเดียถือกันมาตลอดจนถึงปัจจุบันนี้

    ในคำแปล อัตตา ทั้ง ๔ นี้ ข้อสำคัญ คือข้อที่ว่าเป็นของเที่ยงของชาวอินเดียนั่นเอง
    ส่วนอัตตาอีก ๓ อย่างนี้ คือ จิต กาย สภาวะ นั้น ก็ถูกต้องตามหลักฐานของตนๆ
    เพราะฉะนั้น อัตตาที่เป็นของเที่ยงนั้น เป็นข้อธรรมสำคัญที่ตรงข้ามกับอนัตตาธรรม อนัตตา
    ที่แปลว่า ไม่ใช่อัตตานั้น มุ่งหมายถึงไม่ใช่อัตตาข้อที่ ๔ นี้ นั่นเอง

    ชาวอินเดียส่วนมากยึดถือว่า อัตตาไม่ตาย ไม่มีการแตกดับ เป็นของเที่ยงเสมอ
    บุคคลทุกคนต้องมีอัตตา คนและสัตว์ตายแต่อัตตาไม่ตาย อัตตาจะทำอะไรก็ได้
    คุณอำนาจ ความสามารถ ของอัตตานี้มีหลายอย่าง คือ คำว่า อัตตานี้เป็นชื่อของ ชีวะ
    ในที่นี้ชาวอินเดียมุ่งหมายถึงวิญญาณพิเศษอย่างหนึ่ง เมื่อตนตายไปแล้ว ชีวะหรืออัตตาไม่ตาย ต้องหาที่อยู่ใหม่อีก

    อัตตา เป็น เวทกะ คือ ผู้เสวยความสุขและความทุกข์ การทำดีหรือทำชั่ว อัตตาจะต้องเป็นผู้เสวยผลในชาติใหม่ในอนาคต
    อัตตา เป็น นิวาสี คือ ผู้เที่ยงไม่ตาย เมื่อบ้านเก่าแตกดับ ก็ย้ายไปอยู่ที่ใหม่ต่อไป
    อัตตา เป็น สยํวาสี คือ การกระทำอะไรๆ ก็ดีเป็นไปตามอัตตา คือ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส เป็นต้น
    แล้วแต่อัตตาตามใจอัตตาทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะฉะนั้นอัตตาจึงเป็นเจ้าโลก เป็นผู้สร้างโลก

    ผู้ถือมั่นในคุณของอัตตา หรือนามของอัตตา ที่กล่าวมานี้ในบวรพุทธศาสนาท่านเรียกว่า ผู้มีอัตตวาทุปาทาน
    คือผู้ยึดถืออัตตวาทะ อัตตวาทะนี้ในพระพุทธศาสนาอธิบายเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด
    เป็นความเห็นที่ไม่ถูกต้อง เป็นความเห็นที่หลงทาง

    ตามวจนัตถะว่า น+อตฺตา = อนตฺตา แปลความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้ไม่ใช่อัตตา
    ฉะนั้นจึงเป็น อนัตตา
    หรืออีกนัยหนึ่ง นตฺถิ อตฺตา เอตสฺส ขนฺธปญฺจสฺสาติ วา อนตฺตา แปลความว่า ในรูปนาม ขันธ์ ๕ นั้น ไม่มีอัตตา
    ฉะนั้นจึงเรียกว่าอนัตตา
    หมายความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แห่งรูปนาม ขันธ์ ๕ นั้น ไม่มอัตตา ฉะนั้น รูปนามขันธ์ ๕ ทั้งหมดเป็นอนัตตา
    นอกจากจาก รูปนาม ขันธ์ ๕ นิพพาน บัญญัติ ไม่มีอัตตาเหมือนกัน ดังนั้นได้แก่สังขาร(สังขตะ)และอสังขต คือนิพพานและบัญญัติทั้งปวง
    ดังนั้นพระองค์จึงทรงเทศนาว่า สพพฺเพ สงฺขารา อนิจจา, สพฺเพสงขารา ทุกขา, สพฺเพธมฺมาอนตฺตา ดังนี้

    หรืออีกนัยหนึ่ง พระศาดาทรงเทศนาไว้ในวินัยปิฎกปริวารบาลีว่า :-
    อนิจฺจา สพฺพสงฺขตา ทุกฺขานตฺตา จ ลกฺขิตา นิพฺพานํ เจว ปญฺญตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉิตาสังขารธรรมทั้งปวง
    หมายจำว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่อัตตา นิพพานก็ดี บัญญัติก็ดี ตัดสินว่าเป็น อนัตตา ดังนี้

    หรืออีกนัยหนึ่ง คำว่า อนตฺตา อสารกฏฺเฐน แปลว่า เพราะไม่มีแก่นสาร ไม่อยู่ในอำนาจของใคร
    ฉะนั้นจึงเรียกว่า อนัตตา
    หมายความว่า ธรรมดารูปธรรมย่อมไม่เป็นสาระ ทุกๆขณะย่อมไปสู่ความดับเมื่อปราศจากชีวิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มิถุนายน 2013
  4. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    อนิจจา อนัตตา นิพพาน

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    ๑. เมฆิยสูตร​
    [๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ จาลิกบรรพต ใกล้เมืองจาลิกา
    ก็สมัยนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาค

    ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    .
    .
    .


    [๘๙] ดูกรเมฆิยะ ก็แลอันภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ

    พึงเจริญอสุภะ เพื่อละราคะ
    พึงเจริญเมตตา เพื่อละพยาบาท
    พึงเจริญอานาปานสติ เพื่อตัดวิตก
    พึงเจริญอนิจจสัญญา เพื่อเพิกถอนอัสมิมานะ

    ดูกรเมฆิยะ
    อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา
    ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพานอันเป็นที่เพิกถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ ในปัจจุบันเทียว ฯ

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทาน นี้ในเวลานั้นว่า
    วิตกอันเลวทราม วิตกอันสุขุม ตั้งมั่นแล้วทำใจให้เย่อหยิ่ง
    บุคคลผู้มีจิตหมุนไปแล้วไม่ทราบวิตกแห่งใจเหล่านี้ ย่อมแล่นไปสู่ภพน้อยและภพใหญ่
    ส่วนบุคคลผู้ มีความเพียร มีสติ ทราบวิตกแห่งใจเหล่านี้แล้ว ย่อมปิดเสีย

    พระอริยสาวกผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมละได้เด็ดขาดไม่มีส่วนเหลือซึ่ง วิตกเหล่านี้ที่ตั้งมั่นแล้ว ทำใจให้เย่อหยิ่ง ฯ
    จบสูตรที่ ๑​

    ______________________________________________________________________________________________

    ธรรมะมีเหตุปัจจัย เกิดขึ้นเรียงไป ตามลำดับ
    เมื่อมีเหตุ ผลย่อมเป็นไปตามเหตุนั้นๆ

    ธรรมานุปัสสนา
    อนิจจานุปัสสี วิราคานุปัสสี นิโรธานุปัสสี ปฏินิสสัคคานุปัสสี
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ุ^
    ^
    ที่ยกมานั้น พระบาลีก็ชัดเจนในตัวแล้ว

    ส่วนคำวินิจฉัยของอาจาริยวาทนั้น ถือเป็นที่สุดไม่ได้ เพราะขัดแย้งกับพระพุทธพจน์

    อาจาริยวาทเองก็รจนาไว้ว่า "ถ้าขัดแย้งกับพระพุทธวจนะ ต้องเชื่อพระัพุทธวจนะเท่านั้น"

    พระบาลีที่ยกมาเห็นชัดว่า คำว่า"ไม่มีตัวตน"นั้น ใช้คำว่า "นัตฺถิ อตฺตา"

    ซึ่งแตกต่างจากคำว่า "อนัตตา"ที่แปลว่า "ไม่ใช่ตัวตน" ไม่ใช่"ไม่มี" อย่างสิ้นเชิง

    อาจาริยวาทเอง ก็ยังเผื่อความผิดพาดด้วยคำว่า "วินิจฉัยไว้ดังนี้" ที่จขทก.ไม่ได้ยกมาลงเอง

    คำว่า วินิจฉัยนั้น เป็นการคาดคะเน จากการคิดเอาเอง จากความเชื่อของตน หรือ คณะ

    พระบาลีในส่วนนี้ยิ่งชัดเจนมากขึ้นไปอีก

    "สพพฺเพ สงฺขารา อนิจจา, สพฺเพสงขารา ทุกขา, สพฺเพธมฺมา อนตฺตาติ"

    ธรรมทั้งปวงที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงนั้น บริบทข้างหน้าบอกชัดเจนว่า

    เป็นธรรมที่ล้วนเป็นสังขารทั้งหลายเท่านั้นที่ "อนัตตา"

    พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงตรัสถึงพระนิพพานที่เป็น "วิสังขารธรรม"

    "วิสังฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา=

    จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้วดังนี้"

    เจริญในธรรมสมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2013
  6. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    แนะนำผู้ที่จะศึกษาจากไตรปิฏก ให้ไปอ่านเฉพาะที่เค้าได้แปลเต็มๆก่อน เช่นของท่านพุทธทาส
    เเล้วจะข่องขึ้น ถ้าไม่เริ่มตรงนั้น เนี่ยพอมาเจอสำนวนแปลกๆสลับไปมา เจอสำนวนแปลไม่ตรงอย่างนี้ หรือว่ายากกว่านี้ จนต้องหาสูตรอื่นๆมาใส มันจะอ่านไม่รู้ใจความเลย ต้องเริ่มจับหลักคำสอนให้ถูก อ่านที่เค้าแปลเต็ม พอไปอ่านในไตรปิฏกง่ายเลย สักปี2ปี ประมานนั้น




    เมฆิยะ ! ภิกษุนั้น ตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการเหล่านี้แล้ว พึงเจริญ
    ธรรมสี่ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ :-
    เจริญ อสุภะ เพื่อ ละราคะ.
    เจริญ เมตตา เพื่อ ละพยาบาท.
    เจริญ อานาปานสติ เพื่อ ตัดเสียซึ่งวิตก.
    เจริญ อนิจจสัญญา เพื่อ ถอนอัสมิมานะ; กล่าวคือ เมื่อเจริญอนิจจ-
    สัญญา อนัตตาสัญญาย่อมมั่นคง. ผู้มีอนัตตสัญญา ย่อมถึงซึ่งการถอนอัสมิมานะ
    คือ นิพพาน ในทิฏฐธรรม นั่นเทียว.
    ^
    ไม่ใช่เอาอนัตตาสัญญาไปเรียกนิพพาน นอกจากเห็นว่ามันเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ก่อน ถึงถอนอัสมิมานะ(ถือตัวว่าเป็นเรา)ออกไปได้
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .......................โยนิโส ตามพระสูตร แค่นี้ก็ เหลือแหล่ แล้วครับ จะไป....ค้นบัญญัติ ที่ ไม่มี บัญญัติ ทำไม.....ในเมื่อไม่มี ก็ ไม่มีสิ บัญญัติ:cool:
     
  8. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    ผมว่าคุณหลุดไปไกลแล้วนะครับ คำว่า "สพพฺเพ สงฺขารา อนิจจา, สพฺเพสงขารา ทุกขา, สพฺเพธมฺมา อนตฺตาติ"

    สังเกตให้ดีนะครับว่าพระพุทธเจ้าใช้คำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์(สภาพที่คงตัวเอาไว้ไม่ได้) และ ประโยคสุดท้ายพระพุทธเจ้าไม่ได้ใช้คำว่าสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา แต่ใช้คำว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงซึ่งเราก็รู้ความหมายดีอยู่แล้วว่าหมายถึงทั้งฝ่ายที่เป็นสังขารและวิสังขาร

    อีกอย่างอนัตตา ที่มีคนบอกว่า ไม่มีตัวไม่มีตนก็ไม่ผิด แต่ต้องพูดให้ชัดว่าไม่มีตัวมีตนที่แยกเป็นเอกเทศ ไม่ได้เกิดมาจากเหตุปัจจัยอื่น ไม่ใช่ไม่มีตัวตนจริงๆๆลอยๆๆ ในทางกลับกัน คำว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ก็ชี้หมายประเด็นเดียวกันว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ที่แยกเป็นเอกเทศ ไม่ได้เกิดมาจากเหตุปัจจัยอื่น อย่างต้นไม้ มันไม่ได้เป็นต้นไม้ขึ้นมาลอยๆๆ มันมาจากเมล็ดของมัน มาจากปุ๋ย น้ำ ดิน แร่ธาตุ แสงแดด จนมาเป็นต้นไม้ได้ นี่ว่าตามหลักอิทัปปัจจยตา ซึ่งแม่บทคำสอนพระพุทธศาสนา และความดับของเหตุปัจจัยนี้แหละคือ นิพพาน (จึ่งเป็นอนัตตาเช่นกัน)

    ถ้าเข้าใจว่ามีตัวมีตนที่แยกเอกเทศไม่ได้เกิดมาจากเหตุปัจจัยอื่น ดั้งนั้นจึ่งเที่ยง นั้นไม่ใช่พุทธ อนันตาไม่ได้ปฏิเสธอัตตา แต่ชี้หมายว่าปฏิเสธว่าไม่มีอัตตาที่เกิดขึ้นมาลอยๆๆไม่ต้องมีเหตุมีปัจจัยอะไรเลย ดั้งนั้นเขาถึงว่า พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับมีอัตตาโดยปรมัตถ์ โดยประการทั้งปวง แต่ถือว่ามีโดยสมมุติเท่านั้นเอง ดั้งนั้นจึ่งไม่ได้ใช้คำว่า นัตฺถิ อตฺตา เพราะไม่ได้ใช้เพื่อปฏิเสธว่าอัตตาไม่โดยเด็จขาด อันนี้เป็นของลัทธิจารวาท ที่พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิร้ายแรง

    หลักฐานคัมภีร์

    ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 8 มีคำสรุประบุชัดไว้ ดังนี้ว่า
    อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา
    นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา ฯ (วินย. 8/826/224)
    แปลว่า: "สังขารทั้งปวง อันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็น
    อนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้


    คัมภีร์วิมติวิโมทนี (ชั้นอรรถกถา เขียนโดยพระพุทธโฆษา ชาวเถรวาทถือว่าท่านเป็นพระอรหันต์ที่ยิ่งใหญ่เสมือนพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง ดูที่ชื่อก็จะรู้ว่ายกย่องว่าท่านแถลงไขข้อธรรมได้ดุจพระพุทธเจ้าแถลงเอง ชาวเถรวาทเราถือว่าท่านเป็นต้นนิกายเรา เป็น บิดาแห่งพระพุทธศาสนาเถรวาท คล้ายๆๆนอกจากถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาแล้วก็จะมีอ.ต้นนิกาย โดยถือว่าการตีความคำสอนของท่านคือแบบแผนการตีความคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้อง อีกอย่างเซนก็ตักม้อ มหายานบางลัทธิก็ท่านนาคารชุน ทางธิเบตก็ คุรุริมโปเช ) ได้อธิบายข้อความในคาถาสรุปนี้ไว้ว่า

    ปาฬิยํ นิพฺพานญฺเจว ปญฺญตฺตีติ เอตฺถ ยสฺมา สงฺขตธมฺเม อุปาทาย ปญฺญตฺตา สมฺมุติสจฺจภูตา
    ปุคฺคลาทิปญฺญตฺติ ปรมตฺถโต อวิชฺชมานตฺตา อุปฺปตฺติวินาสยุตฺตวตฺถุธมฺมนิยเตน อนิจฺจทุกฺข-ลกฺขณทฺว
    เยน ยุตฺตาติ วตฺตุํ อยุตฺตา, การกเวทกาทิรูเปน ปน ปริกปฺปิเตน อตฺตสภาเวน วิรหิตตฺตา " อนตฺตา "ติ
    วตฺตุํ ยุตฺตา.
    ตสฺมา อยํ ปญฺญตฺติปิ อสงฺขตตฺตสามญฺญโต วตฺถุภูเตน นิพฺพาเนน สห " อนตฺตา อิ ติ นิจฺฉยา "
    ติ วุตฺตา.
    อวิชฺชมานาปิ หิ สมฺมุติ เกนจิ ปจฺจเยน อกตตฺตา อสงฺขตา อวาติ (วิมติวิโนทนีฏีกา 2/351)

    แปลว่า: " ในข้อความนี้ว่า " นิพฺพานญฺเจว ปญฺญตฺติ " ในพระบาลี อธิบายความว่า ด้วยเหตุที่
    บัญญัติมีบุคคลเป็นต้น อันเป็นสมมติสัจจะ ซึ่งท่านบัญญัติไว้โดยอาศัยสังขตธรรม เพราะเหตุที่เป็น
    สิ่งไม่มีจริงโดยปรมัตถ์ จึงไม่ควรจะกล่าวว่าประกอบด้วยลักษณะ 2 คือ อนิจจลักษณะ และทุกข
    ลักษณะ ซึ่งกำหนดด้วยสิ่งที่ประกอบด้วยอุบัติ และวินาศ (เกิด-ดับ) แต่ควรจะกล่าวว่าเป็นอนัตตา
    เพราะปราศจากสภาวะที่เป็นอัตตา อันกำหนดด้วยอาการที่เป็นผู้กระทำและเป็นผู้เสวยหรือรับผล
    เป็นต้น
    เพราะฉะนั้น แม้บัญญัตินี้ พร้อมด้วยนิพพานซึ่งเป็น สิ่งที่มีอยู่ ท่านกล่าวว่า "วินิจฉัยว่าเป็น
    อนัตตา" เพราะเสมอกันโดยความเป็นอสังขตะ
    จริงอยู่ สมมติแม้ไม่มีอยู่ ก็เป็นอสังขตะ เพราะไม่ถูกปัจจัยใดๆ กระทำขึ้น"
    (นิพพานเป็นอสังขตธรรมที่มีจริง ส่วนบัญญัติเป็นอสังขตะที่ไม่มีจริง เพราะฉะนั้นอสังขตธรรมแท้จริงมี
    อย่างเดียว คือนิพพาน แต่ทั้ง 2 อย่างนั้นเป็นอนัตตา)


    มีหลักฐานทางคัมภีร์อีกมาก ไม่จำเป็นต้องยกมาทั้งในระดับพระไตรปิฏก และชั้นอรรถกถา ไม่มีแย้งกันแปลกปลอมไปจากนี้ ถ้าว่าตามคัมภีร์ก็ต้องว่านิพพานเป็นอนัตตา อันนี้เป็นมติพระไตรปิฏก และคัมภีร์ชั้นอื่นๆๆ ส่วนใครจะเชื่อว่าเป็นอัตตาไม่ใชอัตตาเป็นนู้นนี่นั้นอะไรก็เถอะ ยังไงก็เป็นเรื่องส่วนตัว ของเขานะไม่มีความเห็น


    ปล.ที่มีการอ้างว่ามีพระพุทธพจน์ว่า "สิ่งใดเป็นอนัตตา พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย"
    อันนี้ผมว่า ไม่มีนะ ไม่เคยเห็น ......ทำนองว่าให้ละเรื่องอนัตตา มีแต่สอนให้ใช้ความคิดหลักธรรมะนี้ หรือพูดง่ายๆๆว่าทรงสองให้พิจารณาเรื่องอนัตตา(คนที่เห็นอนัตตาได้ต้องเห็นอนิจจัง ทุกขังด้วย) เพื่อละความยึดมั่นถือมั่นว่ามีตัวกูมีอัตตา มีวิญญาณที่เที่ยงแท้ เป็นอิสระลอยๆๆนะ อย่างใน สติปัฏฐานหรือในอานาปานสติอะในตอนท้ายๆๆ มันจะเน้นเรื่องความคิดอารมณ์อะไรเทือกนี้ที่เกิดขึ้นมาให้พิจารณาว่า มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    (บางคนทีนี้ถ้าไปยึดเรื่องอนัตตาขึ้นมาในความคิด นี่ไม่ใช่อนัตตานะ เป็นอนัตตาแบบปลอมๆที่ความยึดถือว่าตัวเป็นตนอิสระนี้ปลอมแปลงมาอีก)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2013
  9. เจ้าทองไปดี

    เจ้าทองไปดี แมว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +223
    ผมเห็นด้วยกับ นิพพานคือนิพพาน
     
  10. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ทำไมไม่ตอบ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค


    อานันทสูตร​
    [๘๐๑] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

    ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัตตามีอยู่หรือ เมื่อวัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามอย่างนี้แล้ว
    พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งเสีย
    วัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามอีกว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อัตตาไม่มีหรือ แม้ครั้งที่สอง
    พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงนิ่งเสีย
    เหมือนกัน ครั้นแล้ว วัจฉโคตรปริพาชกก็ได้ลุกขึ้นจากที่นั่งหลีกไป ฯ

    [๘๐๒] ครั้งนั้น เมื่อวัจฉโคตรปริพาชกหลีกไปแล้วไม่นาน
    ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุอะไรหนอ
    พระผู้มีพระภาคอันวัจฉโคตรปริพาชกทูลถามปัญหาแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรอานนท์ เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตามีอยู่หรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตามีอยู่ไซร้
    คำพยากรณ์นั้นก็จักไปร่วมกับลัทธิของ พวกสมณพราหมณ์ผู้เป็นสัสสตทิฐิ

    ดูกรอานนท์ เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตาไม่มีหรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตาไม่มีไซร้
    คำพยากรณ์นั้นก็จักไปร่วมกับลัทธิของ พวกสมณพราหมณ์ผู้เป็นอุจเฉททิฐิ

    ดูกรอานนท์ เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตามีอยู่หรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตามีอยู่ไซร้
    คำพยากรณ์ของเรานั้น จักอนุโลมเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งญาณว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา บ้างหรือหนอ ฯ
    อา. หามิได้ พระเจ้าข้า ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ถ้าหากเราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตาไม่มีหรือจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตาไม่มีไซร้
    คำพยากรณ์นั้นคงจักเป็นไปเพื่อความหลงงมงายแก่วัจฉโคตรปริพาชกผู้งมงายอยู่แล้วว่า
    เมื่อก่อนอัตตาของเราได้มีแล้วแน่นอน บัดนี้ อัตตานั้นไม่มี ดังนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐​
    _________________________________________________________________________________________________

    อัตตามี–อัตตาไม่มี ทำไม พระพุทธองค์ ไม่ตอบ???​
    เท่าที่กระผมได้เรียนธรรมมา พระพุทธองค์ไม่เคยย่อท้อ ต่อการตอบ คำถามใดๆเลย
    โดยเฉพาะแล้วคำถามเรื่อง อัตตา-อนัตตา
    ในทางตรงข้าม กลับจะชี้แจง ด้วยคำตอบละเอียดยิบ ชนิดที่เรียกว่าตอบจนหมดเปลือก จนถึงอกถึงใจ แก่ผู้ถามอย่างยิ่ง
    เรามักจะคุ้นเคยกับคำที่ว่า “ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เหมือนเปิดของที่ปิด หงายของที่คว่ำ บอกทางแก่ผู้หลงทาง”

    แต่ทำไมพระพุทธองค์ ท่านจึงไม่ตอบคำถาม แก่วัจฉโคตรปริพาชก
    กระผมมีความเห็นส่วนตัวว่า วัจฉโคตรปริพาชกผู้นี้ เป็นผู้ไม่สมควรแก่ธรรม
    ในพุทธคุณ๙ มีบทสวด อยู่บทหนึ่งว่า
    อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ แปลว่า เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

    วัจฉโคตรปริพาชก เป็นผู้ไม่สมควรฝึก เพราะ ถ้าได้รับคำตอบจากพระพุทธองค์แล้ว
    จะใช้มิจฉาทิฐิของตนไปรวบเข้าใจพุทธพจน์แบบผิดๆ ดังที่ พระพุทธองค์ได้สนทนากับพระอานนท์ ว่า
    วัจฉโคตรปริพาชกจะประยุกต์ธรรมที่พระองค์แสดง เพื่อให้เข้ากับมิจฉาทิฐิที่มีอยู่เดิมของตน ดังนี้

    ๑.ถ้าพระพุทธองค์ตอบว่า อัตตามี
    คนทั่วไป(ผู้ที่ไม่ได้เรียนธรรมจากตถาตค) จะเข้าใจว่า นี่เป็นลัทฺธิเข้าพวกกับ สัสสตทิฐิ

    ๒.ถ้าพระพุทธะองค์ตอบว่า อัตตาไม่มี
    คนทั่วไป(ผู้ที่ไม่ได้เรียนธรรมจากตถาตค) จะเข้าใจว่า นี่เป็นลัทฺธิเข้าพวกกับ อุจเฉททิฐิ

    ๓.ถ้าพระพุทธองค์ตอบว่า อัตตามี
    ด้วยคำตอบเพียงแค่นี้ จะสามารถทำให้ วัจฉโคตรปริพาชก อนุโลมตามความรู้เรื่อง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ได้หรือ?
    พระอานนท์ตอบว่า ไม่เลย
    (คือพระพุทธเจ้าถามพระอานนท์ว่า ถ้าพระองค์ตอบ วัจฉโคตรปริพาชก ว่า “อัตตามี” ด้วยคำตอบเพียงเท่านี้ จะทำให้ วัจฉโคตรปริพาชก
    รู้จักเรื่องธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ได้เลยหรือ? คือบรรลุความรู้ความเข้าใจ เรื่องธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ได้เลยหรือ?
    ซึ่งพระอานนท์ ตอบว่าไม่ คือ เป็นไปไม่ได้ ที่ จะบรรลุความรู้ความเข้าใจ เรื่องธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ด้วยคำตอบสั้นๆว่า “อัตตามี”)
    [หมายเหตุ ; คำว่า บังเกิดขึ้นแห่งญาณ หมายถึง การเกิดมีญาณหยั่งไปรู้ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง]

    ๔.ถ้าพระพุทธองค์ตอบว่า อัตตาไม่มี
    วัจฉโคตรปริพาชก ก็จะเข้าใจเอาเองไปดื้อๆไปเลยว่า “เมื่อก่อนอัตตาของเราได้มีแล้วแน่นอน บัดนี้ อัตตานั้นไม่มี”
    คือ วัจฉโคตรปริพาชกจะบรรลุนิพพานแบบมิจฉาวิมุตติโดยคิดเอาไปอย่างนั้น และมิได้ประกอบเหตุปัจจัยอันสมควรใดๆต่อสัมมาปฏิปทาเลย
    แสดงว่า วัจฉโคตรปริพาชก เป็นพวกที่เข้าใจการบรรลุมิจฉาวิมุตติแบบอุจเฉททิฐิ

    พระพุทธองค์เป็นผู้มีสัพพัญญุตญาณ
    ย่อมใช้พระญาณตรวจสอบผู้ฟังธรรม(วัจฉโคตรปริพาชก)ได้ว่า ถ้าฟังธรรมแล้ว จะมีแต่เพียงส่วนเสีย โดยส่วนเดียว
    จึงเลือกที่จะเอื้อเฟื้อ โดยการไม่แสดงธรรม แก่ผู้ไม่สมควรแก่ธรรม เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้นั้นหลงติดหนักเข้าไปอีก

    วัจฉโคตรปริพาชก คงได้ยินมาว่า ปุถุชนมาฟังธรรมจากพุทธองค์เพียงเล็กน้อย ก็ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ทันที
    โดยไม่ทราบเลยว่า ผู้บรรลุธรรมนั้น ต้องเคยสร้างเหตุปัจจัยต่อการบรรลุธรรม มาแล้วอย่างมากมาย
    แล้ว จึงมาอาศัย พระพุทธองค์ ผู้ซึ่งชำนาญในอินทรีย์แห่งสัตว์
    เพื่อ พระพุทธองค์ จะได้ปรับปรุงอินทรีย์ให้กับผู้ควรแก่ธรรม โดยการแสดงธรรมเทศนาที่สมควรแก่บุคคลนั้นๆ
    ในขณะที่ผู้ฟังธรรมอาจจะไม่ทันทราบเลยว่า อินทรีย์ของตนกำลังถูกปรับ-ขับเคลื่อน รวมทั้งเกิดอนุโลมญาณตามธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอยู่

    สมจริงตามพระคาถาพุทธคุณ๙ ที่ว่า
    อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ แปลว่า เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

    ท่านปุกกุสาติ(ใน POST #20) หรือ พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นผู้สมควรฝึก แต่ วัจฉโคตรปริพาชก เป็นผู้ไม่สมควรฝึก
    พุทธพจน์ ที่ พระพุทธองค์ เคยตรัสกับ ท่านปุกกุสาติ หรือ พระอัญญาโกณฑัญญะ แล้วได้มรรคผล
    แต่ไม่อาจจะใช้ ตรัสกับ วัจฉโคตรปริพาชก ผู้มีมิจฉาทิฐิหนาแน่นได้เลย

    แล้ว พวกเราล่ะ เป็นผู้สมควรฝึกหรือไม่ ???

    ดังนั้น ในบางครั้ง การไม่ตอบ จึงดีกว่า การตอบ

    นี่เป็นเพียง บทวิจารณ์ ของ ผู้เรียนธรรมคนหนึ่ง
    ซึ่งบรรยาย มา ฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  11. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    เราจะเรียกอะไรว่าเป็น อนัตตา ในธรรมทั้งหลาย
    สิ่งนั้นต้องเป็นทุกข์
    สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ถ้าไม่เป็นทุกข์เรียกว่าเป็นอนัตตาไม่ได้ เป็นการกล่าวตู่ธรรม
    พระองค์กำลังอธิบาย สิ่งที่มันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป สังขตธรรม ว่าที่มันแปรปรวนเป็นอนัตตา เป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรา เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย? ที่มันเป็นอนัตตาเพราะเป็นทุกขัง ฉนั้น ไม่ได้สอนว่า ความแปรปรวนที่เรียกว่า อนัตตา เป็นเรา เป็นของเรา
    พื้นฐานอย่างนี้. ถ้าไม่ได้อย่าพึ่งไปไหน หรือที่เรียนอยู่ก็โยนทิ้งไปให้หมด เอาตรงนี้ให้ได้ก่อน ไปที่ระดับอย้าไปฟืน
    เเล้วอะไรเป็นอนัตตา "ขอยืมคำพูดมาใช้หน่อย". คุณต้องเห็นให้เป็นปรมัติ อย่ามองเป็นสมมติ
    ตัวอย่างในคิริมานนท์สูตร
    "อานนท์ อนัตตสัญญาเป็นอย่างไรเล่า? อานนท์ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า สู่โคนไม้หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาเห็นประจักษ์อย่างนี้ว่า ตา เป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผลฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมรมณ์เป็นอนัตตา ดังนี้
    เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความเป็นอนัตตา ในอายตนะภายในและภายนอกหก เหล่านี้อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา"

    ^
    ให้เห็นธรรมต่างๆเป็น อนัตตา.อย่างเเท้จริง ไม่ใช่ให้คุณเอาอนัตตามากอดไว้ นั้นหมายถึงคุณกอดสังขารอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่





    เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า "สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง" เมื่อนั้น เขาย่อม
    เบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง : นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็น
    ธรรมหมดจด.

    เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า "สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์" : เมื่อนั้น เขาย่อม
    เบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง : นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็น
    ธรรมหมดจด.

    เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า "ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา" : เมื่อนั้น เขา
    ย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง : นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอัน
    เป็นธรรมหมดจด.

    -ธ.ขุ. ๒๕/๕๑/๓๐.

    ^
    ^
    สรุปเมื่อเห็นธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา. ย่อมถอนความถือตัวว่าเป็นเราได้ ก็คือนิพพาน
    พระองค์ไม่ได้ เอานิพพาน มารวมในธรรมที่เป็นอนัตตา
    เพราะ อนัตตา คือความแปรปรวน ความไม่ยั่งยืน ความทุกข์นั้นเอง
     
  12. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    เพราะฉนั้นในเรื่องนี้ ถ้าใครมีความเห็นว่า ในปี2556 คำสอนไม่เป็นอกาลิโกเเล้ว เปลี่ยนใหม่
    ในปีนี้ พูดออกมาชัดๆเเบบไม่คุมเครือ ว่า
    สิ่งใด้เป็นสุข สิ่งนั้นเป็นอนัตตา (แปรปรวน). เป็นเรา
    สิ่งใดเที่ยงเเท้นั้นคืออนัตตา
    อะไรก็ตามที่เป็นอนัตตา บุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตรงตามที่ฉันคิด ว่า นั้นเป็นเรา เป็นของเรา นั้นตัวตนของเรา.อะไรบ้างที่เที่ยงเเท้เป็นเรา
    รูปเป็นอนัตตา รูปเป็นเรา เวทนาเป็นอนัตตา เป็นเราฯ
    นิพพาน เป็นอนัตตา เป็นของเรา ดังนี้
     
  13. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ก็ถ้า วิจารณ์มา ก็ขอออนุญาติ ย้อนแย้งว่า

    คุณอ่านพระสูตรเดียว แล้ว ตัดสินไปว่า พระพุทธองค์ไม่ทรงตรัสสอน

    ถ้าอ้านพระไตรปิฏกมากกว่านี้อีก สัก สอง สาม หรือ สี่ พระสูตร ก็จะ
    เห็น พระสูตรไม่มากไม่น้อย ที่ พระพุทธองค์ตรัสสอนแก่ ปริพาชก ท่านนี้

    ซึ่ง เสียดายอยู่ว่า ใน อานันทสูตร ไม่ได้ระบุชื่อ สถาณที่ ทำให้ลำดับ
    เรื่องราวการ เทศนาได้ยากส์

    แต่โดยหลักการ ความลาดลุ่มของธรรมะ จะทำให้ ทราบว่า พระสูตร
    "อานันทสูตร" เกิดก่อน เมื่อ ปริพาชกกลับไปแล้ว ก็ได้ พิจารณา
    ใคร่ครวญ การนิ่งเป็นคำตอบ ทำให้กลับมาถามพระพุทธองค์อีกครั้ง
    ถึงเรื่อง "การบัญญัติโลกว่าเที่ยง หรือไม่เที่ยง การเกิดทิฏฐิหลากหลาย"
    ซึ่ง คำเทศนาที่พระพุทธองค์ตรัสสอนกลับไปคือ กล่าว ฟันลงไปที่
    เรื่อง " ขันธ์5 " ตรงๆ

    นั่นก็แปลว่า ปริพาชกท่านนี้ มีปัญญาอินทรีย์กล้า จึง ขึ้น ธรรมานุปัสสนา ได้เลย
     
  14. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ในเคส ของ อานันทสูตร

    ก็เหมือน เคสของการ ยกตัวอย่าง แก้ว เอามาตั้ง แล้วกล่าวว่า
    ตอนนี้ มีอัตตา คือ มีแก้ว

    แล้วก็ ชักชวนให้พิจารณาเงื่อนเวลา พอผ่านไป หรือ ทำให้แก้ว
    แตกลงเสีย ก็ประกาศว่า บัดนี้ แก้วไม่มี

    ซึ่งเป็นอาการ บัญญัติโลก เดี๋ยวมี เดี๋ยวไม่มี เรียกว่า อาการเข้าไปส่วนสุดทั้งสอง

    ซึ่งเป็นลักษณะ ของ มิจฉาทิฏฐิ

    ส่วน อนัตตาธรรม ไม่ใช่ เอามา บรรยาสภาพธรรม หลังแก้วแตก หรือ หลังการสลาย

    อนัตตาธรรม เป็น หลักธรรม ที่จะต้อง แทงตลอด ไม่ขึ้นกับกาล เวลา
    แล้ว โน้มกล่าวเห็นว่า มันไม่มีมาตั้งแต่ต้น !! ( ประมาณ นั้น )
     
  15. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    เหอๆๆๆ เริ่มเละ แล้ว ขนาดชัดเจนนะว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่สังขารหรือสังขตธรรมเท่านั้นที่เป็นอนัตตา ไม่ได้ตรัสแค่ สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตานะแต่จงใจใช้คำว่า สพฺเพธมฺมา อนตฺตาติ ถ้าเป็นอย่างที่ว่ากันท่านก็ต้องใช้คำว่า "สพพฺเพ สงฺขารา อนิจจา, สพฺเพ สงขารา ทุกขา,สพฺเพ สงขารา อนตฺตาติ"สิ ทำไมไปใช้คำว่า สพฺเพธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตาล่ะ ก็รู้ๆๆกันอยุ๋ว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงตัวนี้โยงไปที่สังขตธรรมและอสังขตธรรม มันก็มีสองตัวนี้เท่านั้นในระบบคิดแบบพุทธ ก็ยังจะมีคนหลอนอีก
    ส่วนสูตรที่ยกมานี่เข้าใจความหมายกันฮะเปล่า หรือยกมาให้ดูเท่ๆๆ ครับสูตรพูดไปทาง พี่พูดกันไปทางเลย ผม งง ว่าที่ยกมานี่มันคนล่ะเรื่องเลย


    ตามใจนะใครจะเชื่อยังไง แต่ถ้าว่าตามคัมภีร์ นะ เขาเขียนไว้ชัดเจนว่านิพพานเป็นอนัตตา

    อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา
    นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา ฯ (วินย. 8/826/224)
    แปลว่า: "สังขารทั้งปวง อันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็น
    อนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้ "


    ก็ขนาดพระไตรปิฏกเล่มแปดเองนะเนี่ย........ใครจะว่าของปลอม ก็ตามใจ ก็มีคาถาย้ำชัดเจนว่า ให้วินิจฉัยว่านิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา(พฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา ฯ )

    จะให้ยกมาอีกเป็นหน้าก็ได้.......แต่ไม่ยกล่ะจะเอามาทำไมในเมื่อไม่อ่านกัน....

    สรุป

    1 สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง, ในเมื่อนิพพานพ้นจากความเป็นสังขาร นิพพานก็
    เที่ยง เป็นนิจจัง ข้อนี้ถูก

    2. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์, นิพพานไม่เป็นสังขาร พ้นจากสังขาร เพราะฉะนั้น
    นิพพานก็เป็นสุข ข้อนี้ก็มีหลักฐานยืนยันมากมาย ไม่มีปัญหา

    3.แต่หลักฐานที่จะบอกว่า นิพพานเป็นอัตตานั้น ไม่มี ไม่เชื่อก็ไปหามาให้ชมสิ
    (สำหรับคนที่ว่านิพพานเป็นอัตตานะ สำหรับคนที่ว่าไม่ใช่ทั้งสองไม่พูดถึงล่ะเพราะไม่รู้จะเอาไงกับชีวิต เพราะพอถามว่าเป็นอะไรก็นิพพานเป็นนิพพานไง ก็เหมือนไก่เป็นไก่ ไม่ได้ช่วยอะไรเลย)

    มีแต่ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ซึ่งรวมทั้งนิพพานด้วยอยู่แล้ว ......มีเยอะมาก
    เพราะฉะนั้น ข้อ 3 นี้ ถึงอย่างไรก็เอานิพพานเป็นอัตตาไม่ได้ ....ถ้าว่าตามตำรา

    ทีนี้มีตรรกะประเภทวิบัติ ที่น่าจะด่าจริงๆๆ เขาว่างี้เลยนะ

    " สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา " แล้วก็บอกว่า
    " ถ้ามองในเชิงกลับกัน ในเมื่อนิพพานเที่ยง และเป็นสุข เราก็จะสรุปได้ ว่า สิ่งใดเที่ยง
    สิ่งนั้นเป็นสุข สิ่งใดเป็นสุข สิ่งนั้นก็น่าจะเป็นอัตตา "

    นี่เป็นการว่าเอาเอง ซึ่งไร้สาระทางตรรกวิทยาเขาคงหัวเราะคนที่ใช้ตรรกะแบบนี้ ถ้าว่ายังงี้งั้นเรามาว่า

    " ชีวิตใด เคลื่อนไหวย้ายที่เองได้ ชีวิตนั้นเป็นสัตว์, ชีวิตที่เป็นสัตว์ทั้งปวงต้องตาย"
    แล้วก็จะมาสรุปเอาว่า " พืชไม่เป็นชีวิตที่เคลื่อนไหวย้ายที่เอง ได้ ก็จึงไม่เป็นสัตว์ เพราะฉะนั้น พืชก็
    ไม่ต้องตาย "
    การสรุปอย่างนี้ ใช้ไม่ได้ ถูกปะ แล้วทำไมทำกะ นิพพานทำนองเดียวกันล่ะ มันเป็นตรรกะที่ผิดพลาดวิบัติ มาดูอุปมาอุปมัยของเราก็จะเห็นชัดว่า ชีวิตที่เป็นพืชก็ต้องตายเหมือนกัน เฉพาะ
    ข้อความที่ว่าต้องตายนี้ครอบคลุมหมด ไม่เฉพาะชีวิตที่เคลื่อนไหวย้ายที่เองได้ ที่เป็นสัตว์เท่านั้น จะสรุปแบบนั้นมันไม่ได้ เห็นอะไร บ่
    สรุปง่ายๆๆชัดๆๆ ว่า
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา = สังขาร (ขันธ์ 5หรือ สังขตธรรม)ทั้งปวง ไม่เที่ยง
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา = สังขาร (ขันธ์ 5หรือ สังขตธรรม)ทั้งปวง เป็นทุกข์
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา = ธรรม (ขันธ์ 5 หรือ สังขตธรรม+ อสังขตธรรม)ทั้งปวง เป็นอนัตตา
    ชีวิต มีความหมายกว้างกว่าสัตว์ คลุมไปถึงพืชด้วย ฉันใด
    ธรรม ก็มีความหมายกว้างกว่าสังขาร(สังขตธรรม) คลุมไปถึงวิสังขาร (อสังขตธรรม) คือ นิพพานด้วย ฉันนั้น

    ตัวอย่างตรรกะตรงนี้ข่อยไปยืมเขามานะ มันชี้ให้เห็นพฤติกรรมของคนบางคนอย่างชัดเจนในนี้

    นึกถึงพระสูตรมีเรื่องน่ารักๆๆๆ จำไม่ได้และว่าสูตรไหน จำได้คร่าวๆๆ ว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาและ พระพุทธเจ้าไปเจอพราหณ์เข้า พราหมณ์ แกก็กวนตีนทันทีเพราะแกรู้มาว่าพระพุทธเจ้าสอนเรื่องอนัตตา ค้านหลักในลัทธิเขา เขาก็ล้อว่านี่ พระโคดม อัตตาไหนที่ท่านว่าควรล่ะเสีย ความยึดถือในอัตตาไหนล่ะ บอกมาสิ คงทำหน้าตากวนตีนด้วยแหละ

    พระพุทธเจ้าทรงพระสรวล ท่านว่า จะอัตตาไหนล่ะพราหมณ์ ก็อัตตาแบบนี้และ ควรล่ะเสีย ความยึดถือในอัตตา แบบที่เธอกำลังแสดงต่อหน้าตถาคตนี้แหละ

    อันนี้พราหมณ์ ก็เอ๋อแดกไปเลย

    เรื่องนี้ก็ทำนองเดียวกันนะ


    ล้อเล่นนะครับ เอาเถอะใครอยากเชื่อยังไงก็ตามใจนะ ไม่ว่ากัน....ไม่ได้อยู่ข้างใคร ก็ว่าไปตามตำรานะ......ถ้าไปยึดมากๆๆจนคำว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตาแบบเป็นทฤษฏีตายตัว ระวังมันจะเป็นอนัตตาแบบปลอมๆๆ ไม่ใช่แบบที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แนวทางไป เป็นการยึดอัตตาไป อัตตา(หรือการยึดถือในอัตตา)ในพระพุทธศาสนา หมายถึง การไปยึดเอาทฤษฏีในใจด้วยนะ เพราะความยึดมั่นถือมั่นในอัตตามันจะแสดงตัวออกมาได้สามลักษณะ เรียกว่า ตัณหา มานะ ทิฏฐิ กรณีนี้ระวังจะเป็นทิฏฐินั้นก็แสดงว่ากำลังยึดมั่นถือมั่นในอัตตาอยู่กลายเป็น ความคิดกูไปไง ก็จะไปต่างอะไรกับคนๆๆอื่นที่เราไปเถียงๆๆเขา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  16. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    เเค่นี้ก็พูดกันไม่ตรงแล้ว. ท่านพุทธโฆจาร ท่านสอนอย่างนีง คุณก็เอามาพูดอีกอย่าง
    ท่านว่า อสังขตก็ดี นิพพาน ก็ดีจัดเป็น อนัตตาทั้งสิ้ง
    ฉนั้นไม่ได้พูดเเค่ สังขตธรรม ว่าเป็น อนัตตาอย่างเดียว อย่างที่เข้าใจ

    อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา
    นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา ฯ (วินย. 8/826/224)
    แปลว่า: "สังขารทั้งปวง อันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็น
    อนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้ "


    ^
    อีกอย่าง บทนี้มันจะไปตรงกับบุคคลท่านนึง กล่าวถึง เมื่อเอาอนัตตามาเจาะจงเข้าฝั่งใดฝั่ง1นั้นเรียกว่าสุตโต่ง
    กลายไปเรียกว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา(ขาดสูญ). นิพพาน บัญญัติต่างๆ อนัตตา(ขาดสูญ)ทั้งสิ้นไม่มีตัวตน
    เเต่ ถ้าจะเรียกให้ถูก ต้องไม่เข้าหาส่วนสุดทั้ง2
    โน้น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    นั้น อนิงจัง ทุกขัง อนัตตา
    นี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ถ้าเรียกเเบบนี้จะไม่เข้าไปหาส่วนสุดข้างใดได้. คือเห็นธรรมชาติอย่างนั้นของมัน ธรรมธาตุที่ไม่ใช่เราตรงตามที่เป็นจริว เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ไม่เข้าหาส่วนสุตทั้ง2
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ก็เป็นที่น่าน้อมนำไปศึกษาดู ... อนุโมทนาครับ
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ก็อป คุณหลงเข้ามา มา

     
  19. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    อนัตตาไม่ใช่ขาดสูญนะ ใครเข้าใจแบบนี้เข้าใจผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า อนัตตาไม่ได้ปฏิเสธว่า ความเชื่อว่ามีอัตตา แต่ปฏิเสธความคิดว่าว่ามีอัตตาที่เที่ยงแท้ อมตะ ลอยๆๆ ไม่ได้มาจากเหตุปัจจัยอะไรเลย
    นึกถึงรถสิ รถมาจากไหน มาจากล้อ เพลา กระจก โครงรถ เกียร์ อื่นๆๆ มารวมกันได้รถ อัตตาก็เหมือนกัน....เหมือนกับรถนี่แหละ ดั้งนั้นถ้ามองแบบนี้จะว่ามีรถมันไม่ได้เพราะว่ารถนะมันไม่ได้อยู่ ในล้อ เพลา กระจก โครงรถ เกียร์ อื่นๆๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    แต่เกิดจาก เหล่านี้มารวมกันจึ่งได้รถ ขาดไปเป็นรถไม่ได้ มันจึ่งไม่มีรถจริงๆๆอยู่ นี่ว่าโดยปรมัตถ์ แต่มีอยู่อย่างสมมติ ที่เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกัน
    อนัตตาสอนให้เห็นตรงนี้ ในตอนที่เราพิจารณาอัตตา.....เอาอนัตตามาจับก็จะเห็นว่า อัตตามีโดยสมมุติ แต่ไม่มีโดยปรมัตถ์


    พระพุทธเจ้าตรัสชัดว่า ว่าลัทธิถืออัตตา ไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ตโยเม เสนิย สตฺถาโร สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมึ . . . ตตฺร เสนิย ยฺวายํ สตฺถา ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อตฺตานํ
    สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ, อภิสมฺปรายญฺจ อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ; อยํ วุจฺจติ เสนิย สตฺถา สสฺสตวา
    โท.
    ตตฺร เสนิย ยฺวายํ สตฺถา ทิฏฺเฐว หิ โข ธมฺเม อตฺตานํ สจฺจเถตโต ปญฺญเปติ, โน จ โข อภิสมฺปรายํ อตฺตา
    นํ สจฺจโต เถตโต ปญฺญเปติ; อยํ วุจฺจติ สตฺถา อุจฺเฉทวาโท.
    ตตฺร เสนิย ยฺวายํ สตฺถา ทิฏฺเฐ เจว ธมฺเม อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต น ปญฺญเปติ, อภิสมฺปรายญฺจ อตฺตา
    นํ สจฺจโต เถตโต น ปญฺญเปติ; อยํ วุจฺจติ เสนิย สตฺถา สมฺมาสมฺพุทฺโธ.
    (อภิ.ก. 37/188/82 และ อภิ.ปุ 36/103/179)
    แปลว่า: "ดูกรเสนิยะ ศาสดา ๓ ประเภทนี้มีปรากฏอยู่ในโลก . . . ในศาสดา 3 ประเภทนั้น
    1. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้องหน้า
    นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นสัสสตวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าเที่ยง)

    2. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ เฉพาะในปัจจุบัน ไม่บัญญัติ
    เช่นนั้นในเบื้องหน้า นี้เรียกว่าศาสดาที่เป็นอุจเฉทวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิว่าขาดสูญ )

    3. ศาสดาที่ไม่บัญญัติ อัตตา โดยความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ (หรือโดยปรมัตถ์)ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในเบื้อง
    หน้า นี้เรียกว่าศาสดาผู้สัมมาสัมพุทธะ "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  20. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    เรื่องแก้ว แก้วแตก ในการอธิบายธรรมเคยอ่านที่หลวงพ่อชาท่านกล่าวถึงเรื่องทุกข์
    เลยสงสัยว่า พี่สามยกเคสไหนมา
     

แชร์หน้านี้

Loading...