ธรรมทั้งหลาย มิใช่ อัตตา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 3 มิถุนายน 2013.

  1. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ถูกต้อง แต่สภาพดับที่เป็นนิโรธนี่ไม่ใช่นิพพาน

    สมุทัยสัจดับ ทุกขสัจดับ มรรคสัจหมดหน้าที่ก็ดับพร้อมกัน
    นี่คือสภาพดับแห่งนิโรธ ไม่ใช่นิพพาน

    แต่สภาวะที่ปรากฏขึ้นพร้อมกับความดับนั่นแหละนิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2013
  2. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    จิตนี้เปรียบเหมือนภาชนะรองรับได้ทั้งธรรมและกิเลส
    ถ้าจิตยังมีกิเลสก็ ก็ยังเป็นจิตของเรา มีของเราอยู่ร่ำไป ด้วยอำนาจของกิเลส

    แต่เมื่อจิตบรรจุด้วยธรรมล้วน ๆ โดยปราศจากการเจือปนของกิเลสแล้ว
    ความเป็นจิตของเรา เป็นของเรา ก็หมดไป
    เพราะไม่มีกิเลสตัวยึดว่าเป็นของเราอีกต่อไป

    พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงอนัตตาตลอดว่า
    ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่เป็นตนของเรา
    ไม่ได้ตรัสเพียงแค่ว่า ไม่มีตัวตน ไม่เป็นตัวตน
    เพราะฉนั้นหากพิจารณา อนัตตา เพียงแค่ว่า ไม่มีตัวตน ไม่เป็นตัวตน
    ก็จะเข้าใจว่าอนัตตา เป็นเพียงสภาวะหนึ่ง ที่ไม่มีตัวตน ไม่เป็นตัวตน

    แต่ความจริงแล้ว อนัตตา พระพุทธองค์กล่าวถึงคำว่า เรา ของเรา เสมอ
    นั่นคือ ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่เป็นตนของเรา
    เมื่อมองตามเป็นจริงของอนัตตาว่าเกี่ยวกับ เรา ของเรา แล้ว
    อนัตตาจะเพียงเรื่องของความยึดมั่นถือมั่นของเราเท่านั้น
    ไม่ใช่สภาวะใดสภาวะหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2013
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    พิจารณาทุกตัวอักษรณ์ครับ
    ฉะนั้นที่มีการโต้แย้งกันอยู่นี้ก็คงจะพอเข้าใจได้ว่า เป็นพุทธนิกายอื่น ๆ
    ที่ท่านได้อธิบายมานี้นั้นต้องขอบคุณครับ แต่ความจริงเหมือนว่าผมก็เคยได้อ่านอยู่เหมือนกัน
    คือ เป็นหนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ของพระเทพดิลก(ระแบบ ฐิตญาโณ) แต่ก็อ่านเพียงผ่านๆไป
    เพราะคิดไปว่าไม่ใช่ประเด็นหลักสำคัญ (^)(^)(^)
    ที่ท่านที่อธิบายมานี้ต้องขอบคุณที่นำมาเผยแผ่ความรู้เพื่อเป็นธรรมทาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 มิถุนายน 2013
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    "งง"จริงๆสิให้ดิ้นตาย

    แค่สมมุติบัญญติที่มีไว้เพื่อให้ใช้ ไม่ใช่มีเอาไว้ให้ยึดเป็นของๆตน

    กลับติดอยู่สมมุติบัญญัติ ที่เป็นบัญญัตซ้อนบัญญัติ(สมมุติ)นั้น

    ถ้าจิตไม่เป็นเราผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แล้วจิตเป็นของใคร?

    เราผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่ปฏิบัติที่จิตของเรา แล้วไปปฏิบัติที่จิตของใคร?

    ถึงปฏิบัติไปๆ จนกระทั่งจิตได้รับความบริสุทธิ์หมดจดหลุดพ้นดีแล้ว

    กลายเป็นธรรมธาตุ เช่นท่่านพระอาจารย์หลวงตามหาบัว

    ท่านพูดเองว่า"เราหายสงสัยแล้ว" ใช่จิตของเราหลวงตามหาบัว

    ที่หายสงสัยใช่หรือไม่? หรือจิตของใคร?

    ใช่จิตเป็นเรา เราเป็นจิตมั้ย? สมมุติบัญญัตินั้นมีไว้ให้ใช้เพื่อสื่อสารกัน

    ไม่ใช่ให้ยึดมั่นเอาไว้เป็นของๆตน

    เพราะจิตหมดความยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งหลายลงได้

    จิตของเราจึงสิ้นการปรุงแต่ง(เราหายสงสัย) บรรลุประโยชน์ตนแล้ว

    อย่าให้ตำรา อาจารย์ ตัวหนังสือมาบดบังสัจธรรมความจริงที่ควรเป็น

    เจริญในธรรมที่สัจธรรมความจริงที่พ้นสมมุติบัญญัติทุกๆท่าน

    ปล.ว่าจะขึ้นกระทู้ระดมความคิดเห็นเรื่อง"จิต" เพื่อค้นหาสัจธรรมความจริงให้ปรากฏ
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    มีคนที่ฉลาดสุดๆจนคนอื่นโง่ไปหมด ไม่ยกเว้น แม้องค์ศาสดาบรมครู

    อื้อ!!! ขอให้มันฉลาดอยู่คนเดียวเที่ยวตีความไปทั่ว

    พูดมั่วๆแต่ในสิ่งตนเองอยากพูดเท่านั้น แม้พระพุทธพจน์จากพระโอษฐ์มันยังเมินดูเบาเลย

    มีพระพุทธพจน์รับรองหนักแน่นว่า "จิตเปลี่ยนแปลงเร็วมาก"

    เจริญในธรรมที่เป็นสัจธรรมความจริงเท่านั้น
     
  6. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687

    ต่อจากโพส จิตคือเรา ต่อมาภายหลังเพิ่มศัพท์ คำว่า บริสุทธิ์เข้าไปอีก เป็น จิตของตนที่บริสุทธิ์

    ดังที่ยกตัวอย่างเปรียบเทียบ นิพพานพรหม คือมีอัตตาในสภาวะนิพพาน พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ ยังมีตัวผู้เห็นนิพพาน

    ก็ตัวผู้เห็น ในที่นี้หมายถึงจิต แล้วขมวดเอา ว่าจิตเป็นเราในขั้นนี้

    อันที่จริง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นโทสะ ความสิ้นอวิชา นั้น

    ไม่สามารถเอาอัตตา ตัวกู หรือความถือมั่นของกูไปสิ้นกิเลสได้

    ขอยกความหมาย นิพพานก่อนพุทธกาล หรือ นิพานนอกพุทธศาสนา

    คำว่า อาตมัน (อาตฺมนฺ) สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นมาจากธาตุ อนฺ (อัน) ที่แปลว่า “หายใจ” ใช้เรียกส่วนเสี้ยวของพรหมัน ซึ่งเป็นจิตบริสุทธิ์ (ชีวาตมัน) ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด และใช้เรียกสิ่งที่เป็นแก่นสารที่แท้จริงของทุกสิ่งในจักรวาล

    คำว่า อาตมัน แปลว่า ตัวตน (สิ่งที่เป็นอมตะ นิรันดร) มาจาก อนฺ ธาตุ แปลว่า หายใจ ซึ่งเป็นลมหายใจของชีวิต ความหมายของอาตมันแผ่กว้างออกไปตามลำดับ จนมีความหมายครอบคลุมถึงชีวิต วิญญาณหรือตัวตน


    คำว่า
    ที่พระพุทธองค์ตรัสนั้น ให้มองข้ามทัสนะ จิตของเราในอาตมันไปได้เลย

    เพราะ คำว่า จิตของเรา หากผู้กล่าวยังยึดมั่นจิตว่าเป็นเราของเราอยู่อีก ก็ไม่ต่างกับเห็นขันธ์เป็นอนัตตา แต่ไปยึดผู้เห็นขันธ์เป็นอัตตาขึ้นมา สภาวะนี้เรียก บรมอัตตาก็ได้

    แต่ คำว่า จิตเรา จิตของ พบมากในพระสูตร ก็เป็นอันทราบกันดีว่า

    พระสุตตันตะ ลักษณะการกล่าวธรรม เป็นระดับสมมุติ คือ มีบุคคล สถานที่ อุปมา ส่วนปัจจุบัน ส่วนอดีต ส่วนอนาคต

    อีกนัย คือ ผู้ฟังธรรมอยู่ในระดับกามวจร จึงใช้โวหารตามโลก ไม่ขวางโลก

    คำว่า จิตเรา จึงไม่ได้หมายความว่า จิตของเรา ในเชิงยึดมั่นถือมั่น


    ทีนี้ เมื่อศึกษาพระสูตรไม่เข้าใจ ก็เอาทัศนะตนเป็นสำคัญ ตัดสินว่า จิตเรา

    หมายเอา จิตบริสุทธิ จนเลยไปถึง จิตของเราพ้น ตีความเป็นจิตของกู คือผู้พ้น

    เกิดภาวะยึดมั่นจิตผู้พ้นเป็นกูขึ้นมาอีกชั้นโดยไม่รู้ตัว


    ก็พึงเข้าใจว่า จิตเรา หมายถึง ระดับโวหาร ใช้แทนตัวคนกล่าวในขณะนั้น
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เทวธาวิตักกสูตร....2

    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
    อุปกิเลส อ่อน ควร แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ

    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

    เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี
    เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น
    ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ฉะนั้น.

    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=3953&Z=4098
    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ชัดๆนะ
    ไม่ต้องตีความเพิ่มเติ่มเสริมแต่งใดๆ ให้เคืองพระหฤทัยของพระพุทธองค์เลย


    เรียนเข้าไปได้ไม่มีเหตุผล อะไรก็ไม่มีทั้งนั้น อะไรก็ไม่ใช่ทั้งนั้น
    แล้วแบบนี้ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระนิพพาน จะมี จะใช่ ขึ้นมาได้ยังไง(สอนไปได้)


    "เรานั้น" เมื่อ"จิต"เป็นสมาธิ
    เมื่อ"เรานั้น"รู้เห็นอย่างนี้ "จิต"จึงหลุดพ้นแล้ว

    จิตคือเรานั้น เรานั้นคือจิตใช่หรือไม่?
    จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็มีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว
    รู้ชัดว่า จิตไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว(ชาติสิ้นแล้ว) พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

    ต้องยอมใจจริงๆ "เด็กว่าดื้อ ใครก็ไม่รู้ดื้อจน...ยิ่งกว่าเด็กเสียอีก"

    เจริญในธรรมที่เป็น(พระธรรม)พระพุทธพจน์ทุกๆท่าน

     
  8. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687

    ดีแล้ว

    ถ้าเข้าใจว่าเป็นโวหาร ไม่ได้ตีความผิดไปยึดมั่นว่าจิตเป็นเราขึ้นมาจริงๆ

    ก็ค่อย เบาใจขึ้นมาหน่อย ^^
     
  9. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    กำ

    เพิ่งปลื้มใจอยู่ตะกี้ เข้าใจว่าโยมธรรมภูต กลับทิฏทิแล้วหนอ! โยมธรรมภูต กลับทิฏทิแล้วหนอ!

    สุดท้ายก็กลับมาเหทือนเดิม

    อ่านบ้างไหม

    คำว่า อาตมัน (อาตฺมนฺ) สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นมาจากธาตุ อนฺ (อัน) ที่แปลว่า “หายใจ” ใช้เรียกส่วนเสี้ยวของพรหมัน ซึ่งเป็นจิตบริสุทธิ์ (ชีวาตมัน) ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด และใช้เรียกสิ่งที่เป็นแก่นสารที่แท้จริงของทุกสิ่งในจักรวาล

    คำว่า อาตมัน แปลว่า ตัวตน (สิ่งที่เป็นอมตะ นิรันดร) มาจาก อนฺ ธาตุ แปลว่า หายใจ ซึ่งเป็นลมหายใจของชีวิต ความหมายของอาตมันแผ่กว้างออกไปตามลำดับ จนมีความหมายครอบคลุมถึงชีวิต วิญญาณหรือตัวตน
     
  10. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    คราวที่แล้ว ผมพิมพ์ผิดเยอะไปหน่อย หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ของพระเทพดิลกอันนี้ก็เคยเห็นแล้ว แต่ยังสู้ที่ฝรั่งเขียนไม่ได้แต่ก็ถือว่าใช้ได้ครับ ก็เป็นธรรมดาของหนังสือภาษาไทยครับ น้อยเล่มจริงๆๆที่จะมีคุณภาพดี
    หนังสือทำนองประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ที่เขียนในบ้านเรานี้ผมว่ามีอันตรายอยู่ในตัวเพราะเขียนในมุมมองของเถรวาท (ตามบันทึกของลังกาทวีป)ด้วยจึ่งมีอคติ ค่อนข้างสูงต่อนิกายอื่น นี่อันตรายมาก ทั้งๆๆที่ผู้เขียนไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงในนิกายนั้นๆๆเลย และงานเขียนเมืองไทยส่วนใหญ่จะนิยมลอกๆๆกันมา ยิ่งทำให้ความเข้าใจผิดกระจายไปไกลอย่างน่าเสียดาย
    ผู้เขียนมักไม่มีความเข้าใจที่กว้างต่อพระพุทธศาสนานิกายอื่น อย่างแท้จริง(แม้บางท่านอาจจะมีความเข้าใจในพุทธเถรวาทก็ตาม)

    ซึ่งเป็นเรื่องปกติครับใครมันจะไปรู้หมดพุทธศาสนามันกว้างอย่างกับมหาสมุทร

    อย่างหนังสือทำนองปรัชญาฮินดู จีน กรีก อะไรทำนองนี้ ถ้าอ.บ้านเราเขียนก็มักจะเอามาปนกับพื้นความรู้พุทธเถรวาทเดิม จนกลายเป็นกำลังอธิบายอะไรกันแน่ ปรัชญาฮินดู จีน กรีก หรือพุทธปรัชญากันแน่ และที่สำคัญคือฮินดูเองก็มีวิวัฒนาการไปจากเดิมเยอะมาก แต่อ.บ้านเรายังคงเขียนจากคำวิจารณ์ในพระไตรปิฏกคือลอกมาลงเลย ซึ่งบางอย่างก็ล้าสมัยไปแล้ว เพราะพวกฮินดูยุคนี้ไม่ได้อธิบายหลักการแบบ2,000กว่าปีที่แล้วอีกแล้ว มันมีการพัฒนามาตลอด เป็นต้น

    จึ่งต้องอาศัยความเข้าใจอย่างแท้จริง ของคนที่ลงไปศึกษาปฏิบัติจริงๆๆ แบบที่พระพุทธเจ้าท่านทดลองมาแล้ว จึ่งวิจารณ์ได้ คือลงไปสัมผัสฮินดูยุคใหม่และเขียนจากตรงนั้น

    ทีนี้พอถึงเขียนในฐานะชาวพุทธ แล้วไม่กล้าวิพากษ์พุทธธรรม พอเจอพุทธธรรมก็ว่าดีสมบรูณ์ ถูกต้องไปหมด ซึ่งผมไม่ได้ว่าเขาว่าเขาพูดผิดนะ แต่ผมว่าเขาเขียนจากอคติที่เขาเป็นชาวพุทธมากกว่า ที่เขาจะทดสอบทดลองแล้วได้คำตอบแบบนี้


    ทีนี้ ก็มีประเด็นว่า ถ้าจะศึกษาพุทธธรรม อย่างเถรวาทก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ ไม่ต้องสนใจเรื่องพวกนี้ก็ได้ แต่จากความรู้สึกส่วนตัวคือปรัชญาฮินดูมีประโยชน์ตรงที่ช่วยให้เราเข้าใจพุทธศาสนามากขึ้น ตรงที่ประเด็นที่ลึกซึ้งต่างๆๆว่าไหนพุทธไหนฮินดู จะเห็นว่ามีจุดที่เหมือนและต่างชัดเจน

    อีกอย่าง เรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์พุทธศาสนาอย่างน้อยก็ถึงช่วงการสังคายนาครั้งที่ สาม ก็จะช่วยให้เราตีประเด็นวิธีการตีความพุทธธรรมแบบเถรวาทได้ลึกซึ้งขึ้นเราไม่มีทางอ่านคัมภีร์กถาวัตถุ เข้าใจได้ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้

    และ คัมภีร์กถาวัตถุเล่มนี้เล่มเดียว มีความสำคัญมากที่สุดในพระอภิธรรมปิฏกทั้งหมด และลึกซึ้งที่สุด เข้าใจยากที่สุดด้วย จึ่งไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันอย่างน่าเสียดาย

    เพราะแสดงถึงจุดยืน ของพุทธศาสนาเถรวาทเรา ว่าเราตีความพุทธศาสนาอย่างไร ต่างจากนิกายอื่น(อีก17นิกาย)อย่างไร เราก็จะได้ประเด็นที่ลึกซึ้งมากมายและหลายประเด็นที่ทุกวันนี้สำนักน้อยใหญ่อย่างน้อยในบ้านเราที่มัวแต่เถียงๆๆ กันนี้ ก็ไม่ใช่ประเด็นใหม่เลย ส่วนใหญ่มีในคัมภีร์กถาวัตถุทั้งนั้น เช่น อัตตานี้คัมภีร์กถาวัตถุได้แสดงจุดยืนหักล้างทุกแง่ทุกมุ่ม

    ในแง่ว่าชาวเถรวาทตีความพุทธธรรมว่ายังไง เราต้องระวังที่จะไม่พูดว่ามติของเถรวาทคือมติของพระพุทธเจ้าที่แท้จริง เพราะเราไม่มีทางรู้ เรารู้แต่ว่าชาวเถรวาทรักษาคำสอนได้บริสุทธิ์ครบถ้วนสมบรูณ์ที่สุดคือพระบาลีนั้น แต่คำสอนทุกอย่างจำเป็นต้องตีความ เพื่อทำความเข้าใจ ตรงนี้แหละที่เราต้องระวังที่จะไม่พูดว่ามติของเถรวาทคือมติของพระพุทธเจ้าที่แท้จริง เพราะก็ยังเป็นเพียงการตีความพุทธธรรมที่รักษากันมา ในรูปของการตีความนิกายหนึ่งซึ่งเชื่อกันว่าเก่าแก่ที่สุด(ที่ยังเหลืออยู่เท่านั้น)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2013
  11. สันดุสิต

    สันดุสิต Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +86
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การเขียนก็นับว่าทำใจยังไม่เปิดกว้าง ผู้เขียนอยู่ในลัทธิใดก็ย่อมนำลัทธินั้นมาเผยแผ่ เท่ากับไปปิดกั้นลัทธิอื่น
    ซึ่งทำให้ผู้อ่านมองเห็นมุมมองในด้านเดียว ก็เป็นการชวนเชื่อในลัทธินั้นๆ
     
  13. สันดุสิต

    สันดุสิต Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +86
    การหลุดพ้นก็ต้องผ่านอัตตาและอนัตตาก่อนครับ อัตตามันอยู่ที่ภาวะจิต เป็นกันทุกคน เมื่อภาวนาถ่ายถอนกิเลสจึงรู้ว่า นี้รูป นี้เวทนา นี้สัญญา นี้สังขาร นี้วิญญาณ เรียกว่าขันธ์5 ขันธ์5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา.....
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สติเมื่อฝึกฝนมาตีแล้วปัญญาก็เกิดร่วมด้วย
    ฉะนั้น สันตติที่มีการสืบต่อ ย่อมขาด
    ฆนะที่เป็นกลุ่มเป็นก้อนก็แตก อนัตตาก็ปรากฏ
     
  15. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
    เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะย่อมมี
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
    เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
    ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
    1คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา(ธัมมัฏฐิตตา)
    2คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา)
    3คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
    เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
    ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
    1คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา(ธัมมัฏฐิตตา)
    2คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา)
    3นั้นย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ดังนี้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
    ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
    1คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา(ธัมมัฏฐิตตา)
    2คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา)
    3นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์” ดังนี้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม
    ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
    1คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา(ธัมมัฏฐิตตา)
    2คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา)
    3นั้นย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา” ดังนี้
    ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น
    ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้
    ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง
    ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ เพื่อให้รู้ทั่วกันว่า“ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา” ดังนี้


    ตถาคตย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น
    ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว
    ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้
    ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง
    ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ และ ได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล: ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น
    1อันเป็น ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น
    2เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
    3เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
    4เป็น อิทัปปัจจยตาคือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...