ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ปฏิบัติระดับไหนจึงจะเป็นสมถวิปัสสนา ?

    ใจสงบจากกิเลสนิวรณ์ทั้ง ๕ ชื่อว่าสมถะ ปฏิบัติพิจารณา มีสติเห็น กาย เวทนา จิต ธรรม ที่..
    หนึ่ง ถ้าในส่วนอสุภะ หรือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐานพิจารณา เห็นสังขาร ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามที่เป็นจริงว่าไม่งามหนึ่ง หรือ เห็นความโสโครกของสังขารที่มันเปลี่ยนแปรไป แล้วทำให้ใจมันสงบ..นี่หนึ่ง
    สอง เห็นอนิจจัง เห็นทุกขังหนึ่ง แค่นี้ยังชื่อว่าสมถะ แต่ถ้าเห็นถึงอนัตตา คือ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่เรียกว่าวิปัสสนา เริ่มตั้งแต่วิปัสสนาปัญญา ทีนี้ก็มีสูงขึ้นไปถึง ปัญญาโลกุตตระ นั่นเห็นอริยสัจ ถึงตอนนั้นถ้าสมบูรณ์แล้วมรรคจิตเกิดปหานสังโยชน์ กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้
    เพราะฉะนั้น อย่าไปเชื่อใครเลย เชื่อตัวเอง ถามตัวเองว่า
    “ความสงบต้องการไหม มันมีคุณมีโทษ” ถ้าเห็นว่ามีคุณ ก็จงทำความสงบให้เกิด ให้ใจสงบจากกิเลสนิวรณ์ โดยการทำสมาธิ ซึ่งมีอุบายวิธี สมถภูมิ ๔๐ ถ้าคิดอะไรไม่ได้ก็.. สัมมาอะระหัง..ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใส ใจอยู่ในกลางของกลางจุดเล็กใส อันนี้เป็น อาโลกกสิณครอบจักรวาล
    สัมมาอะระหัง นึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ข้อปัญญาคุณ ข้อพระวิสุทธิคุณ น้อมเข้ามา สู่ใจเราเป็นนิจเป็นพุทธานุสสติอีกโสดหนึ่ง หายใจเข้าออก.. มองดูลูกแล้วว่ามันเห็นชัดหรือยัง ถ้าเห็นชัดแล้วจึงค่อยปล่อยลมหายใจ มีสติเห็นลมหายใจเข้า..ออกกระทบดวงแก้ว ตรงนั้น เป็นอานาปานสติ สามกษัตริย์รวมกันเข้าล่ะก็ รับรองเลยครับ ได้ผลสมบูรณ์ที่สุดไม่ต้องไปเชื่อใคร แต่ถ้าเท่านี้ยังทำไม่ได้ ก็อย่าไปคิดหาวิธีอื่นเลยครับ เพราะวิธีนี้ดีที่สุดแล้ว ถึงแม้จะมีวิธีอื่นที่เป็น ที่สบายแก่ตน แต่ผลสำเร็จไม่สูงครับ จะให้ได้ผลสำเร็จสูงต้องสมถวิปัสสนา ด้วยวิธี ๓ วิธีนี้ รวมกันเรียกว่า วิธีสามกษัตริย์ คือ อาโลกกสิณ อานาปานสติ และพุทธานุสสติ ดีที่สุดแล้ว ครอบจักรวาลหมดแล้วครับ
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    วิชชาธรรมกายนี้ เป็นวิปัสสนาหรือไม่ ? อย่างไร ? หรือเป็นเพียงสมาธิ คือ สมถกัมมัฏฐาน ?

    เมื่อไรที่อบรมใจให้สงบหยุดนิ่งเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง เป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์ ชื่อว่า “สมถ-กัมมัฏฐาน”
    และเมื่อไรเข้าไปรู้ไปเห็นกาย-เวทนา-จิต-ธรรม ทั้ง ณ ภายในและภายนอก เห็นอนิจจัง เห็นทุกขัง เพียงสองอย่างนั้น ก็ยังจัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน ในระดับสมาธิ คือให้ใจสงบ
    แต่เมื่อไรเห็นแจ้งถึงความเป็นอนัตตา คือ ธรรมชาติที่เป็นสังขาร ทั้งหลายทั้งปวง ว่าลงท้ายล้วนแตกสลายหมดสภาพเดิมของมันไปหมด แล้วเห็นว่าความเข้าไป ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงอย่างนี้เป็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเข้าไป ยึดมั่นถือมั่นโดยมีอวิชชา คือ ความไม่รู้สัจธรรมตามที่เป็นจริง ไม่รู้เหตุในเหตุไปถึงต้น ๆ เหตุ แห่งทุกข์ ทำให้บุคคลคิดผิด เห็นผิด รู้ผิด แล้วประพฤติผิด ๆ ด้วยอำนาจของกิเลสและความ เข้าไปยึดมั่น จึงเป็นทุกข์ เมื่อรู้แจ้งอย่างนี้ คือรู้แจ้งในทุกข์ เหตุแห่งทุกข์และได้สัมผัสที่ สภาวะแห่งทุกข์ดับเพราะเหตุดับ และรู้แจ้งในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ปัญญาแจ้งชัด เหล่านี้ชื่อว่า วิปัสสนาปัญญา และโลกุตตรปัญญา การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายให้ สามารถเข้าถึง และรู้เห็นอย่างนี้ จึงเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010103.wma[/MUSIC]
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ถ้าพระหรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้ที่ปฏิบัติเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย เกิดธรรมกายขึ้นมา โดยที่ไม่เห็นกายมนุษย์หยาบ จนถึงกายอรูปพรหมละเอียด จะต้องดำเนินการอย่างไร ?

    ถ้าปรากฏธรรมกายขึ้นมา เห็นใสสว่างเลยโดยไม่ผ่านกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหมนั้น ถูกต้องเหมือนกัน เป็นการข้ามขั้นตอนไปถึงจุดหมายปลายทางในเบื้องต้นคือ ถึงธรรมกายเลยทีเดียว ไม่ผิดครับ ถูก ไม่ต้องกังวลใจ เป็นธรรมกายต่อไปให้สุดละเอียด คือว่า
    เมื่อเห็นธรรมกายแล้ว ใจหยุดนิ่งที่กลางของกลางธรรมกาย ทำความรู้สึกเป็นธรรมกาย หยุดนิ่งกลางธรรมกาย ใสสว่างแล้วศูนย์กลางขยายออก ธรรมกายที่ละเอียดๆ ก็จะปรากฏขึ้นใหม่ โตใหญ่ใสละเอียดขึ้นไปตามลำดับ ให้ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายอรหัต ขนาดหน้าตักและความสูง ๒๐ วาขึ้นไป ให้ใสสว่างดี พอใสสว่างดีแล้ว นึกชำเลืองดูนิดเดียว นึกชำเลืองไปที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ใจหยุดในกลางกายมนุษย์ให้ใส ศูนย์กลางดวงธรรมขยายออก กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏ ใจหยุดนิ่งกลางกายมนุษย์ละเอียด เห็นเป็นดวงใส ศูนย์กลางขยายออก เดี๋ยวกายทิพย์ก็ปรากฏ ใจหยุดกลางกายทิพย์ หยุดนิ่งเป็นดวงใส ขยายออกทิพย์ละเอียดก็ปรากฏ ใจหยุดกลางทิพย์ละเอียดให้ใส รูปพรหมก็ปรากฏ ทำไล่ไปทีละกายๆ อย่างนี้ในภายหลังก็ได้ ไม่ยาก เมื่อทำไล่ไปทีละกาย ถึง ๑๘ กายสุดท้าย ธรรมกายใหม่ที่สุดละเอียดใสสว่างก็จะปรากฏ ดำเนินต่อไป เราเข้าไปสุดละเอียดเท่าไหร่ กายหยาบก็อยู่ในนั้นอยู่แล้ว ตัวเราก็อยู่ในนั้นอยู่แล้วไม่มีปัญหา เพราะที่สุดละเอียดนั้นก็เป็นที่สุดละเอียดของสุดหยาบนี้แหละ ไม่ได้เป็นของใคร ไม่ต้องเป็นห่วง
    ผู้ที่เป็นวิชชาแล้วนั้น เมื่อถึง ๑๘ กายแล้วนั้น เราไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งทำไล่ ๑๘ กายทุกวันๆ ให้ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ใสละเอียด จนตกศูนย์เข้าพระนิพพาน ทับทวีเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของพระพุทธเจ้าไปเลย เมื่อชำนาญแล้วนึกเหลือบดู ๑๘ กาย ขยับใจตรึกนึกดูนิดหน่อยก็จะเห็น เมื่อเห็นใสดีแล้วก็ปล่อย ไม่ต้องสนใจ ถึงกายละเอียดแล้วไม่ต้องสนใจกายหยาบ เวลาทำวิชชาไปสุดละเอียดแล้ว ถ้าจะดูว่ากายหยาบผ่องใสหรือไม่ เพราะเหตุบางคนมีโรคภัยไข้เจ็บหรือมีปัญหาชีวิต ซึ่งเกิดในธาตุในธรรมนั้นแหละ ไม่ได้เกิดที่ไหน เมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียดเป็นองค์พระใสแล้ว กระดิกใจดูนิดเดียว เห็นดวงธรรมของกายมนุษย์หยาบผ่องใสดี ก็หยุดนิ่งกลางดวงธรรมดูกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ-ทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด ไปสุดละเอียด เห็นผ่องใสดีแล้วก็ปล่อย คือไม่ติดอยู่ แล้วดับหยาบไปหาละเอียดเป็นกายธรรมที่สุดละเอียด เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน ส่วนกายโลกิยะทั้งหยาบและละเอียดนั้น มีสักแต่มี เป็นสักแต่เป็น นี้เป็นอาการของพระอริยเจ้าแล้ว พระอริยเจ้าท่านมีสติครบอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดสุดละเอียดอยู่เสมอ
    สำหรับผู้เบื้องต้น เมื่อถึงธรรมกายสุดละเอียดแล้ว ควรที่จะทำ ๑๘ กายให้ครบ เพื่อฝึกซ้อมพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวีตามที่หลวงพ่อฯท่านกล่าวไว้แล้ว เพื่อให้เป็นวสี (ชำนาญ) เมื่อชำนาญแล้วนั้น การจะน้อมเข้าสู่วิชชาชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็น “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” “จุตูปปาตญาณ” ก็จะสะดวกหรือจะทำวิชชาชั้นสูงที่ละเอียดยิ่งไปกว่า เช่นชำระธาตุธรรมที่ละเอียดๆ ต่อไปสุดละเอียด ก็จะสามารถทำได้ชำนาญกว่า สะดวกกว่า
    แต่ถึงอย่างไรเมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียด จนใจของกายธรรมยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว กายโลกิยะทั้งหยาบ-ละเอียดทั้งหมดนั้นจะเหมือนว่าหมดไปเอง เพราะใจของธรรมกายละเอียดปล่อยความยึดมั่นในกายโลกิยะ อันเป็นสังขารธรรม เรียกว่า ออกจาก “สังขารนิมิต” อย่างที่เวลาสอนว่าให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ขึ้นชื่อว่ากายเถา คือ ๑๘ กายนั้นเอง เป็นเถาเหมือนปิ่นโต แต่ต่างซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ กลางของกลางซึ่งกันและกัน ศูนย์กลางตรงกัน ๑๘ กายนั้นรวมเรียกว่า กายเถา สุดละเอียดของกายเถา คือธรรมกายอรหัต เมื่อเราเดินกายในกายไปสุดละเอียดกายเถา ๑๘ กายนั้นแล้ว กายอรหัตชื่อว่ากายสุดละเอียด กายที่หยาบรองลงมาได้แก่ กายอรหัตหยาบ ชื่อว่ากายชุด ซึ่งแต่ละกายที่หยาบรองลงมาก็จะมี ๑๘ กาย ซึ่งจะพิสดารไปเป็นธรรมกายอรหัตเหมือนกัน กายที่หยาบรองลงมาตามลำดับนั้นชื่อว่ากายชั้น ตอน ภาค พืด ซึ่งต่างก็มีกายละ ๑๘ กายซ้อนกันอยู่ และต่างก็จะพิสดารไปสู่สุดละเอียดเหมือนกัน
    แปลว่าเมื่อเราดับหยาบไปหาละเอียด กายที่ละเอียดรองลงมาแต่ละกายมี ๑๘ กาย ทั้งหมดก็จะพิสดารตัวเองให้ละเอียดไปๆ สุดละเอียด ดับหยาบไปหาละเอียดถึงธรรมกายและเป็นแต่ธรรมกายอรหัตๆๆ ไปจนสุดละเอียดกายเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ตรงนี้แหละเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ เพราะเป็นการปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ ทั้งหมด ใจจึงเป็นใจที่ผ่องใสบริสุทธิ์ของกายธรรม นั้นคือตัวนิโรธดับสมุทัย แต่มิใช่นิโรธสมาบัติ เมื่อสัมผัสตรงนั้นแล้วจะรู้ นี่เองคือนิโรธดับสมุทัย เพราะเป็นการเจริญภาวนาที่ปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ ทั้งหมด จนเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกายไปสุดละเอียด กำจัดหรือละกิเลสทั้งหมดได้ชั่วคราวเป็น “วิกขัมภนวิมุตติ” เมื่อจิตละเอียดหนักจะปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ของกายในภพ ๓ และเมื่อปล่อยความยินดีในฌาน ต้องปล่อยจนใจเป็นกลาง ถ้าไม่ปล่อยจะติดอยู่ในชั้นรูปภพ อยู่ในกายเรานั้นแหละ หรือติดอยู่ในชั้นอรูปภพมี อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ยังติดอยู่ เมื่อติดอยู่ จะไม่เห็นนิพพาน จะไม่ถึงนิพพาน ต่อเมื่อปล่อยวางจิตนิ่งสนิท ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจะไปปรากฏในนิพพาน แม้เพียงชั่วคราวเป็นวิกขัมภนวิมุตติ จึงสามารถเข้าไปเห็นนิพพานได้
    เพราะฉะนั้น ธรรมกายนี่แหละสำคัญนัก เมื่อเข้าถึงแล้วจงเป็นเลย ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ โตใหญ่ ใสละเอียดไปตามกาย จนถึงธรรมกายอรหัต ดับหยาบไปหาละเอียด เรื่อยไปจนถึงนิพพาน ทำไปเถิด ๑๘ กายอยู่ข้างในนั้น ไม่มีปัญหา เมื่อทำละเอียดหนัก กายที่หยาบก็หายไปเอง สุดละเอียดไปแล้ว พ้นกายในภพ ๓ ไปแล้วดำเนินต่อไป ถูกต้องแล้ว
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายเป็นอานาปานสติหรือไม่ ?

    เป็น และหลวงพ่อก็แนะนำสั่งสอน มีอยู่ในพระธรรมเทศนาของท่าน แต่ท่านไม่พูดเรื่องนี้มาก ที่อาตมาจะกล่าวต่อไปนี้ โปรดเข้าใจว่าการเจริญภาวนาธรรมตามแนวนี้มีวิธีปฏิบัติในขั้นสมถะหลายอย่างรวมกัน
    นับตั้งแต่เอาผลในระดับอุคคหนิมิตของอาโลกกสิณคือกสิณแสงสว่าง เอามาใช้เป็นเบื้องต้นของพระกัมมัฏฐาน คือให้นึกถึงดวงแก้วใส ณ ศูนย์กลางกาย นี้ก็เป็นอาโลกกสิณ ซึ่งผู้เพ่งกสิณแสงสว่าง เมื่อได้ประมาณอุคคหนิมิต จะเห็นเป็นดวงใส หลวงพ่อเอาผลของอาโลกกสิณในระดับนี้ เอามาเป็นเบื้องต้น เป็นบริกรรมนิมิต นึกให้เห็นดวงใส เพื่อให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวได้โดยง่าย เพราะเมื่อนึกเห็นอยู่ที่ไหน ใจก็อยู่ที่นั่น
    ใจประกอบด้วยธรรมชาติ ๔ อย่าง ภาษาพระเรียก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยธรรมปฏิบัติหลวงพ่อเรียก เห็น จำ คิด รู้ จริง ๆ แล้ว มีลักษณะเป็นดวงใสซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างใน ศูนย์กลางตรงกัน ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ ๔ คือ เวทนาขันธ์ ขยายออกเป็น “ดวงเห็น” ขนาดประมาณเท่าเบ้าตา “ดวงจำ” ประมาณเท่าลูกตาทั้งหมด ขยายส่วนหยาบออกมาจากสัญญาขันธ์ “ดวงคิด” ประมาณเท่าลูกตาดำแต่ใส ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ขยายส่วนหยาบออกมาจากสังขารขันธ์ “ดวงรู้” ประมาณเท่าแววตา ใสบริสุทธิ์ อยู่กลางเห็น จำ คิด นั่นขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของวิญญาณขันธ์ รวมเป็นนามขันธ์ ๔ ธาตุละเอียดของนามขันธ์ ๔ นี้ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน ตรงกลางรูปขันธ์ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม
    ทีนี้ เมื่อใจเห็น ท่านเลยเรียกว่า “ดวงเห็น” เพราะเห็นด้วยใจ ธาตุเห็นอยู่ในท่ามกลางนั้น ใจเห็นดวงแก้ว จำอยู่ที่ดวงแก้ว คิดตรึกนึกอยู่ที่ดวงแก้ว รู้อยู่ที่ดวงแก้วกลางของกลางนั้น รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ใจจะเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงเร็ว และเป็นที่เกิดที่เจริญของทิพพจักขุ ทิพพโสต นี่วิธีปฏิบัติขั้นสมถะประการหนึ่งที่สำคัญ ที่ท่านเอามาไว้ให้เหมาะกับจริตอัธยาศัยของบุคคลทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทที่มักฟุ้งซ่านเสมอ
    นอกจากนั้น ยังเอาพุทธานุสติมาเป็นบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอะระหังๆ” ซึ่ง “สัมมา” มาจาก “สัมมาสัมพุทโธ” แปลว่า พระผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ หมายเอาพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า “อรหัง” แปลว่า พระผู้ไกลจากกิเลส หมายเอาพระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า ท่านให้ท่อง สัมมาอะระหัง ๆ นั่นเป็นพระนามใหญ่ของพระพุทธเจ้า ควบพระพุทธคุณในข้อปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เป็นพุทธานุสติ ซึ่งก็ควบเอาธัมมานุสติ สังฆานุสติเข้าด้วยกัน ธัมมานุสติก็คือธรรมฝ่ายบุญฝ่ายกุศล ใจสะอาดบริสุทธิ์ด้วยธรรมฝ่ายบุญฝ่ายกุศล นั่นแหละ “สัมมาอะระหัง” ควบตั้งแต่พุทธานุสติ ธัมมานุสติ ถึงสังฆานุสติ คือน้อมพระพุทธคุณมาสู่ใจเรา ผู้ปฏิบัติผู้รักษาพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า ถ้ารู้จักวิเคราะห์จะเห็นเลย สัมมาอะระหัง คำเดียว จึงศักดิ์สิทธิ์ด้วย ใครทำบ่อยๆ ใจใส ใจหยุด ใจนิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ คือสำเร็จได้ด้วยใจ ตรึกอธิษฐานใดๆ โดยชอบ ย่อมสำเร็จตามระดับภูมิธรรมของตน นี่สัมมาอะระหังดีอย่างนี้ เป็นพระนามใหญ่ของพระพุทธเจ้า นี่เอามา ๒ เรื่อง อาโลกกสิณ กับพุทธานุสติ ซึ่งควบเอาธัมมานุสติ สังฆานุสติ เข้าไว้ อันนี้เหมาะกับผู้มีจริตอัธยาศัยชอบวิตกวิจารณ์ คือไม่ค่อยเชื่ออะไรง่ายๆ น้อมเอาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเข้ามา ก็ทำให้ใจอ่อนโยนได้ ให้นึกถึงบุญกุศลของตัวด้วย นี่ ๒ อย่าง
    อย่างที่ ๓ ก็คือ ให้ตั้งใจไว้ตรงกลางกายซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันนี้พระเดชพระคุณหลวงพ่อกำหนดฐานที่ตั้งใจไว้สำคัญนัก เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งของธรรมในธรรมฝ่ายบุญฝ่ายกุศล และก็กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต คือ ทั้งธรรม และกายและใจตั้งอยู่ตรงนั้น ณ ภายในมีเท่าไร สุดละเอียดเพียงไหน อยู่ตรงนั้นถึงนิพพานทีเดียว
    เพราะฉะนั้น ท่านให้เอาใจไปจรดไว้ตรงนั้นที่นี้ศูนย์กลางกาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อยู่เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ ถ้าท่านหายใจเข้าออก ท่านจะพบว่าลมหายใจเข้าไปจนสุดนั้น สุดตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี และก็ตั้งต้นหายใจออกตรงนั้น เป็นต้นทางลมและก็เป็นปลายทางลมหายใจเข้าออก ตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี ใจหยุดก็ต้องไปหยุดตรงนั้น เขาเรียกว่า “กลางพระนาภี”
    พระพุทธเจ้าทรงสอนอานาปานสติ เมื่อลมหยุดก็ไปหยุดกลางพระนาภี ถึงให้กำหนดใจกี่ฐานๆ ก็แล้วแต่ สำหรับผู้ทำอานาปานสติกำหนดที่ตั้งสติลมหายใจผ่านเข้าออก ทางปากช่องจมูกหรือปลายจมูก ที่ลำคอ และที่กลางพระนาภี นี่อย่างน้อย ๓ ฐาน เขามักจะกำหนดกันกำหนดอานาปานสติ ๓ ฐาน เป็นอย่างน้อย กำหนดอะไร กำหนดสติรู้ลมหายใจเข้าออกกระทบอย่างน้อย ๓ ฐาน นี้สำหรับผู้ปฏิบัติทั่วไป แต่เมื่อลมละเอียดเข้าไปๆ ๆ แล้ว โดยธรรมชาติลมหายใจมันจะสั้นเข้าๆ ๆ ละเอียดเข้า
    ทรงสอนว่า ลมหายใจเข้าออกพึงมีสติรู้ ลมหยาบ ลมละเอียด ลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น พึงรู้ มีสติรู้ จนถึงลมหยุด หยุดที่ไหน ? หยุดที่กลางพระนาภี หยุดกลางพระนาภี ก็คือศูนย์กลางกายนั่นแหละ ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก หรือที่ตั้งต้น หรือจะเรียกว่าต้นทางลม หรือปลายทางลมก็แล้วแต่จะเรียก จริงๆ แล้ว อยู่ตรงกลางกายตรงระดับสะดือพอดี ที่หลวงพ่อเรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖
    แต่ว่า ถ้าว่าเอาใจไปจรดตรงนั้นนะ จะไม่เห็นธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้ชัด เพราะเหมือนอะไร เหมือนเอาตาแนบกระจก ไม่เห็นเงาหรือภาพข้างใน ฉันใด หลวงพ่อก็เลยให้ขยับเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ที่ตั้งเห็น จำ คิด รู้ ให้สูงขึ้นมาเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ เหมือนเราขยับสายตาเราห่างจากกระจก เราจะเห็นเงาได้ชัดเจน ประกอบกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายและใจมีธรรมชาติหรืออาการเกิดดับตามระดับจิตหรือภูมิของจิต คือเมื่อจิตสะอาดยิ่งขึ้นจากกิเลส จิตดวงเดิมก็ตกศูนย์จากศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ลงไปสู่ศูนย์กลางฐานที่ ๖ ธรรมในธรรม ที่ใสบริสุทธิ์ซึ่งมีจิต หรือจิตในจิตซ้อนกันอยู่ ที่ใสบริสุทธิ์กว่า ก็ลอยเด่นขึ้นมาศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้วก็ทำหน้าที่ของตนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เพื่อทำหน้าที่ต่อไป
    ตรงนี้นักปริยัติบางท่านก็เข้าใจว่า จิตเกิดดับ แต่เกิดดับอย่างไรไม่รู้ เพราะไม่เคยเห็น และยังมีบางท่านที่ละเอียดเข้าไปกว่านั้นอีก บอกว่าจิตเดิมแท้ๆ ไม่ได้เกิดดับนะ ที่เกิดดับนั้น มันเฉพาะอาการของจิตที่มีกิเลสของจรมาผสม หรือว่ามีบุญเข้ามาชำระกิเลสนั้น จิตก็เปลี่ยนวาระ เป็นอาการของจิต คือถูกทั้งนั้น แต่ว่าอาการของจิตที่เกิดดับตรงนั้น มันมาปรากฏตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หลวงพ่อก็เลยกำหนดที่เหมาะๆ สำหรับที่ควรเอาใจไปหยุดไปจรดไปนิ่งตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นที่ตั้งของกายในกาย จิตในจิตและธรรมในธรรม อาตมาพูดจิตในจิต ให้พึงเข้าใจว่า รวมทั้งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเข้าด้วยกัน นี้เป็นเรื่องที่ ๓ ที่หลวงพ่อกำหนดไว้เพื่อให้เข้าพิจารณาเห็นกาย เวทนา จิตธรรม ณ ภายในไปสุดละเอียด เป็นตัวสติปัฏฐาน ๔ ไปจนถึงนิพพาน และเป็นตัวชำระ กิเลส ณ ที่ตรงนั้น ด้วยหยุดในหยุดกลางของหยุด เพราะถูกกลางของกลางธรรมในธรรม ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป เป็นการละหรือปหานอกุศลจิตเรื่อยไป จึงมีสภาวะที่เป็น “นิโรธ” ดับสมุทัย
    ทีนี้ มีธรรมชาติสำคัญอันหนึ่ง เมื่อกี้กล่าวมาถึงว่า เมื่อใจหยุดนิ่งจะตกศูนย์เองโดยธรรมชาติ ณ ที่ตรงนั้น ลอยเด่นขึ้นมาก็ตรงนั้น กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม เมื่อผู้เจริญภาวนากระทำอานาปานสติหรือเจริญอานาปานสติ ถึงจะตั้งสติไว้ตรงไหนฐานไหนก็ตาม ถ้าว่าจิตละเอียด ลมหายใจจะสั้นเข้าๆ ๆ สติสัมปชัญญะก็อยู่ตรงนั้น รู้ตรงนั้น ลมหายใจไม่ได้ไปอยู่ตรงแม่เท้าหรือหัวเข่า หรืออยู่บนกลางกระหม่อม ก็ไม่ใช่ทั้งนั้นนะ ลมหายใจมันละเอียดไปๆ ไปหยุดตรงกลางพระนาภี เพราะฉะนั้นหลวงพ่อก็เลยให้ตั้งใจไว้ตรงนั้น ที่แท้ก็คือเป็นตัวอานาปานสตินั้นเอง เป็นอยู่แล้ว แต่ว่าหลวงพ่อไม่เพ่งเล็งเรื่องให้สาวลมหายใจเข้าออก เพราะอะไร เพราะรู้ว่าธรรมชาติของใจมันจะหยุดนั้น ให้สังเกตดูว่าหลวงพ่อเอาอะไรมาประกอบการเจริญภาวนา ท่านจะเอาผลอย่างน้อยส่วนหนึ่งหรือขั้นหนึ่งเอามาเป็นเหตุเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการปฏิบัติ ในเมื่อผลของอานาปานสติ ใจหยุดตรงกลางพระนาภี ก็เลยให้กำหนดใจอยู่ตรงนั้น สติรู้ลมหายใจเข้าออกจึงอยู่ตรงนั้น จะได้ไม่ต้องสาวไปสาวมา ผู้ที่ไม่รู้เหตุรู้ผลของอานาปานสติ จะสาวลมหายใจเข้าออกอยู่นั้นแหละ จิตก็หยาบ คือจะละเอียดได้ครึ่งหนึ่ง แต่จะไม่ละเอียดที่สุด เพราะหยาบ ต้องสาวลมหายใจเข้าออก ลมจึงไม่ละเอียดที่สุดและก็ไม่สามารถที่จะหยุดนิ่งเป็นเอกัคคตารมณ์ที่แท้จริงได้ เลยไม่ได้ถึงผลของอานาปานสติที่แท้จริงตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ก็ได้ผลส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ไม่ได้เลย แต่ผู้ที่รู้ผู้ที่ปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน รู้เรื่องอานาปานสตินี่ เขารู้นะว่าลมหายใจเข้าออกยาว แล้วค่อยๆ สั้นเข้าๆ ค่อยๆ ละเอียด ไปหยุดอยู่ตรงกลางพระนาภี รู้ทุกท่าน พระอริยเจ้ารู้ทุกท่าน เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนว่า ให้นำนิมิตไปพิจารณาที่ศูนย์กลางกาย
    เพราะฉะนั้น เรื่องอานาปานสตินี้ วิชชาธรรมกายมีอยู่ เป็นอยู่แล้ว และหลวงพ่อพูดและสอนถึงอยู่เสมอ แต่มิให้ไปกังวลเรื่องการสาวลมหายใจเข้าออก ซึ่งจะทำให้ใจไม่ละเอียดที่สุด คือละเอียดได้ส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ถึงที่สุด เพราะฉะนั้น จึงให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ที่ศูนย์กลางกายอันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นที่สุดเป็นที่ตั้งต้นลมหายใจเข้าออก ให้มีสติรู้ตรงนั้น เมื่อจิตละเอียดก็หยุดตรงนั้นเอง
    บางครั้งกำหนดนิมิตดวงแก้วใส นึกไม่เห็น ก็จะมีอุบายบอกว่า ทำใจให้สว่างเหมือนกลางวัน นึกให้เห็นดวงแก้ว เหมือนกับว่ามีอยู่แล้วในท้องของเรา นึกให้เห็นลมหายใจเข้าออกกระทบดวงแก้ว ก็แปลว่าให้สติอยู่ตรงศูนย์กลางดวงแก้ว เห็นลมหายใจเข้าออก นี้เป็นตัวอานาปานสติ แต่ไม่ต้องสาวลมหายใจเข้าให้จิตละเอียดเร็วขึ้น หยุดเร็วขึ้นกว่าเห็น พอนึกเห็นลมหายในเข้าออกกระทบดวงแก้วได้ที่แล้ว ปล่อยความสนใจในลมหายใจเข้าออก เพื่อให้จิตละเอียดยิ่งขึ้นและหยุดได้เร็วตรงนั้น นี่ก็เป็นอุบายและเป็นตัวอานาปานสติจริงๆ ด้วย ให้เข้าใจนะว่า หลวงพ่อท่านสอน แต่ไม่สอนให้สาวลมหายใจเข้าออก ให้มีสติรู้อยู่ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมแห่งเดียว เพื่อจิตจะได้หยุดเร็ว หยุดถูกที่ เร็วด้วยและก็ถูกที่ด้วย ถูกที่อะไร? ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ถูกกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ตรงนั้นเป็นตัวอานาปานสติ และเข้าสติปัฏฐาน ๔ ตรงนั้นเลย มีสติเห็นคือเห็นจริงๆ ไม่ใช่นึกเห็น เพราะใจหยุด มันไม่ได้นึกหรอก สิ่งที่เห็นนั้นไม่เคยนึกเห็นได้มาก่อน อย่างเช่นกายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหมนี้ไม่ได้เคยไปนึกเห็นกายละเอียดมาก่อนว่า สวยอย่างนั้น ละเอียดอย่างนั้น มีไอ้โน่น มีไอ้นี่ ไม่รู้หรอก แต่พอใจเข้าถึง ก็เห็นด้วยใจอย่างนั้น
    เพราะฉะนั้น คนไม่ทราบมักจะวิจารณ์ว่าการปฏิบัติแบบเรานี้เป็นวิปัสสนึก คือนึกเอา ที่แท้ไม่ได้นึก ก็ให้หยุดๆ นึกที่ไหนเล่า ใจหยุด ไม่ใช่ใจนึก นึกตอนแรกเพื่อให้ใจมารวมกัน คือ เห็น จำ คิด รู้มารวมกัน พอใจหยุดแล้ว ก็หยุดในหยุดกลางหยุด ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อย สิ่งที่เห็นก็จึงเป็นของจริงโดยสมมติ ถ้าสิ่งที่เห็นนั้นยังอยู่ในระดับโลกิยะ ถ้าสุดละเอียดไปเมื่อถึงโลกุตตรธรรมจึงเป็นของจริงโดยปรมัตถ์ ให้เข้าใจอย่างนี้นะ
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ผู้ถึงธรรมกายแล้วมีลักษณะเหมือนเข้าฌานหรือไม่ เวลาปกติไม่ได้นั่งสมาธิ สภาพจิต ยังคงสภาพของธรรมกายไว้ได้ตลอดไปหรือ ?

    การที่เราจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ จะต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะฉะนั้นระดับสมาธิก็ขึ้นสูงไปเป็นลำดับ เหมือนกับท่านจะส่งดาวเทียมออกนอกโลก ท่านต้องใช้ “ฐาน” ไม่มีฐาน ยิงไม่ได้ ไม่ทะยานขึ้น
    ฐานนั้นอุปมาดัง “ศีล” ต้องมีท่อนเชื้อเพลิง ที่จะจุดเพื่อให้เกิดพลังผลักดัน เพื่อจะผลักดันจรวดให้พ้นออกนอกโลก อาจจะ ๒-๓ ท่อน แล้วแต่พลังของเชื้อเพลิงนั้น นี้อุปมาดั่ง “สมาธิ” และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้น ก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุด เหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้นก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุดเหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด “ปัญญา” ปัญญาส่งให้ดับกิเลสและเข้าถึงธรรมกาย อันเป็นธาตุล้วนธรรมล้วน เพราะฉะนั้นทั้งศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เป็นขันธ์ ๕ มีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ ตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียดเป็นไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ฯลฯ โดยตลอด เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยสมาธิเพื่อเป็นแรงขับดัน กล่าวคือ เพื่อชำระกิเลสนิวรณ์ออกจากใจ เพื่อให้ใจหยุดนิ่ง เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วน คือ “ธรรมกาย” ให้ถึงให้ได้เสียก่อน เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละคน คนที่ธาตุธรรมแก่กล้ามากขึ้น ก็จะเห็นธรรมกายสว่างโพลง อยู่ได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชำระกิเลสได้มาก ยิ่งเข้าเขตความเป็นพระอริยบุคคลเพียงไร ธรรมกายนั้นย่อมสว่างโพลงตลอดเวลาเพียงนั้น แม้จะเดิน จะยืน จะนอน จะลืมตา หลับตา ก็ย่อมจะเห็นอยู่
    เพราะฉะนั้นสมาธิเบื้องต้น จึงเป็นเสมือนพลังของจรวดที่จะผลักดันหัวจรวด ซึ่งมีดาวเทียมให้หลุดออกไปนอกแรงดึงดูดของโลก เมื่อพ้นแนวแรงดึงดูดของโลกแล้วก็จะลอยได้ พ้นโลกได้ เหมือนกับคนที่ก้าวข้ามโคตรปุถุชนได้แล้ว ธรรมกายจะสว่างโพลงตลอด จะยืน นอน นั่ง เดิน ทุกอิริยาบถ แต่ญาณ (ความเบิกบาน) ของธรรมกายจะไม่เท่ากัน ของพระโสดาบันนั้น ประมาณ ๕ วาขึ้นไป สกิทาคามี ๑๐ วาขึ้นไป อนาคามี ๑๕ วาขึ้นไป พระอรหัต ๒๐ วาขึ้นไป ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ใหญ่โตขึ้นไปตามลำดับ
    ทีนี้ แม้ผู้ที่จะเป็นโคตรภูบุคคลก็ดี หรืออาจจะก้าวเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคลก็ดี ก็ย่อมเห็นธรรมกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เห็น หรือผู้ที่ธาตุธรรมแก่ ถึงแม้จะยังไม่ถึง แต่ใกล้ความเป็นพระอริยบุคคล ก็ย่อมเห็นได้มากได้บ่อย เพราะฉะนั้น ใครที่จรดใจอยู่ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ดับหยาบไปหาละเอียดไปเสมอ มากเพียงไร ธาตุธรรมของท่านผู้นั้นก็แก่กล้ามากเพียงนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เดิน ยืน นั่ง นอน ท่านก็จะเห็นอยู่ เรียกว่า มีนิพพานคือความสงบระงับจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน (ความยึดติดในขันธ์ ๕) ในอารมณ์ แต่ว่าท่านจะถอนออกมาครึ่งหนึ่ง หรือกว่าครึ่งก็แล้วแต่ ถ้าอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดๆ ดับหยาบไปหาละเอียด ใจจรดอยู่ที่สุดละเอียดอยู่เสมอ สติก็ครบบริบูรณ์ยิ่งขึ้นตามส่วน ใจก็จะไม่ไปรับอารมณ์อื่นให้เกิดตัณหาอุปาทานได้มาก
    เพราะฉะนั้นเรื่องธรรมกายจึงเป็นที่เข้าใจว่า ถึง ธรรมกายแล้วมีหยาบ-ละเอียด มีอ่อน มีแก่ ตามธาตุธรรม ถ้าใครทำดับหยาบไปหาละเอียดได้เรื่อยตลอดเวลา จิตจรดที่ก้อนธาตุก้อนธรรมอยู่เรื่อย อย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถรท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ จิตท่านจรดอยู่ที่สุดละเอียดในอายตนะนิพพานเป็นตลอดเวลา อยู่ที่ธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดละเอียดของนิพพาน แม้ขณะพูดหลวงพ่อฯ ก็ทำวิชชาอยู่ เท่าที่อาตมาทราบหลวงพ่อพระภาวนาฯ ก็เป็นเช่นนั้นมาก จิตท่านในส่วนละเอียดบริสุทธิ์มาก
    เพราะฉะนั้นคงจะเข้าใจขึ้น อยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละบุคคล บางคนอยู่ในระดับโคตรภูมาก ธาตุธรรมยังอ่อนอยู่ ก็ต้องทำ (ภาวนา) ต่อให้สุดละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะฉะนั้นพวกที่ธาตุธรรมอ่อนก็มักจะหลุดๆ ติดๆ ที่ธรรมกาย ซึ่งเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนนั้น เห็นๆ หายๆ ก็ต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่าธาตุธรรมจะแก่กล้า แล้วจะเห็นและเป็นถี่ขึ้น จนถึงตลอดเวลาเอง คงจะเข้าใจได้ว่า ในสมัยพุทธกาลพอพระพุทธเจ้าท่านแสดงนิดเดียว ผู้ฟังส่งใจไปตามธรรมนั้น ก็บรรลุแล้วนั้นแหละธาตุธรรมเขาแก่กล้ามาก
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ผู้ที่จะได้รูปฌาน อรูปฌาน เป็นของไม่ใช่จะได้กันง่ายๆ (เป็นบางคนเท่านั้น) และผู้ที่อยู่ในฌาน เหมือนคนนอนหลับ ที่มีความสุขมาก จะพิจารณาอะไรไม่ได้ นอกจากจะอยู่ในอุปจารสมาธิ พระศาสดากว่าจะเข้าปรินิพพานยังเข้าฌานออกฌานแล้วออกจากฌานที่ ๔ จึงปรินิพพาน ความเข้าใจเช่นนี้ของผม ถูกต้องหรือไม่ ?



    ประการสำคัญที่สุด คำว่าเจริญฌานสมาบัติ แล้วพิจารณาสภาวธรรม เจริญฌานสมาบัติแล้วน้อมเข้าสู่วิชชา จะเป็นวิชชา ๓ หรือจะเรียกว่า อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุปันนังสญาณ ก็ได้ พิจารณาสภาวธรรม
    การพิจารณสภาวธรรม ไม่ได้เจริญฌานสมาบัติ ๘ ท่านเข้าใจผิด ไปอ่านใหม่ เขากล่าวถึงเจริญฌานสมาบัติเฉยๆ ที่ให้พิจารณาทั้งหมด เขาถอยฌานลงมาทั้งหมด เจริญฌานเพื่อให้จิตละเอียด จิตละเอียดตั้งมั่น อ่อนโยนแล้ว อธิษฐานจิต เช่นว่า พิจารณากายคตาสติทั่วสังขารร่างกาย อธิษฐานจิตลงมาในระดับอุปจารสมาธิ คือ อธิษฐานให้เห็นรูป สัณฐาน กลิ่น สี ตามที่เป็นจริง เราเกือบจะไม่พูดกันถึงเรื่องฌาน เมื่อพูดไปแล้วจะไปเรื่องใหญ่เรื่องโตของสมถะอย่างเดียว แต่เราพูดถึงเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ทั้งสมาธิและปัญญา เราเจริญขึ้นพร้อมกัน
    ในทางปฏิบัติ เมื่อพิจารณาสังขารร่างกาย ให้ถอยให้เห็นสี กลิ่น สัณฐาน ตามที่เป็นจริง
    ฌาน ยากสำหรับคนทำไม่ได้ คนทำได้ก็ง่าย ท่านพูดเรื่องฌาน อรูปฌาน ท่านไม่พูดเรื่องสติปัฏฐาน ๔ เราทำสติปัฏฐาน ๔ อย่าไปสนใจเรื่องฌาน เพราะเกิดขึ้นเป็นผล แต่ถ้าเราไปตั้งต้นทำฌานสมาบัติ จะออกไปทางฤาษีชีไพร
    เพราะฉะนั้น การพิจารณาสภาวธรรม ละระดับสมาธิลงโดยอัตโนมัติที่ในหนังสือบอกไว้ นั่นเขาพิจารณาสภาวธรรมแล้ว เขาอาศัยกำลังฌาน อาศัยวิกขัมภณวิมุตติ เพื่อชำระธาตุธรรมเขา เพื่อให้ถึงธรรมกายที่ละเอียดๆ สุดละเอียด เพื่อไม่ให้อวิชชาทำอะไรได้ ธรรมกายที่สุดละเอียดจะไปปรากฏในอายตนนิพพาน ได้รู้ได้เห็น ได้สัมผัส และได้อารมณ์พระนิพพานด้วย
    จริงๆ แท้ๆ พระคุณเจ้า อันนี้กระผมไม่กล้ายืนยัน เพราะยังไม่เห็นในตำราไหน แต่มันเป็นเพียงคำพูดที่จงเก็บมาฟังไว้ ในตำราวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส กล่าวถึงอาการที่จะบรรลุมรรคผล อันชื่อว่า อุภโตวุฏฐาน คือ ออกจากภาคทั้ง ๒ คือ ออกจากสังขารนิมิต และออกจากตัณหาปวัตติเครื่องปรุงแต่ง พร้อมกันว่า
    เมื่อพระโยคาวจร เจริญสมถวิปัสสนา เมื่อมรรคจิตจะเกิดขึ้นนั้น กำลังฝ่ายสมถะและวิปัสสนาเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ มรรคจิตมรรคญาณเจริญขึ้นปหานสัญโญชน์ให้หมดสิ้นไป จึงเข้าสู่ผลสมาบัติ เป็นพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้
    คำว่า เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ใช่นึกเอา ในวิชชาธรรมกาย พิสดารกายไปสู่สุดละเอียด มีสภาวะเป็นตัวนิโรธ หรือจะเรียกว่า วิกขัมภณะก็ได้ ด้วยการข่มกิเลส ปหานอกุสลจิตของกายในภพ ๓ หรือดับสมุทัย ดับหยาบไปหาละเอียดจะอวิชชาทำอะไรไม่ได้ เป็นวิกขัมภณวิมุตติ ตกศูนย์เข้าอายตนนิพพาน แล้วจึงซ้อนหยุดแน่นนิ่งไปตรงกลางของพระนิพพาน ตรงนี้แหละ เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ประการหนึ่ง
    ประการที่สอง ออกจากสังขารนิมิต ดับหยาบไปหาละเอียดจนจิตละเอียดหนัก ปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้ชั่วคราว ของกายในภพ ๓ เป็นอันว่านิมิตซึ่งประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง คือตัณหานั้นหมดไป พ้นจากสังขารนิมิตนี้ เป็นแต่ธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกาย
    ในขณะเดียวกัน เมื่อมรรคจิตของธรรมกายเกิดและเจริญเต็มที่ ปหานสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก หรือปหานตัณหาปวัตติเครื่องปรุงแต่งให้หมดไป เข้าผลสมาบัติเป็นพระอริยบุคคลตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ ชื่อว่า อุภโตวุฏฐานะ ออกจากภาคทั้ง ๒
    เมื่อมาถึงตรงนี้ ท่านจะเข้าใจที่ผมพูดนี้ ผมพูดตามตำราที่ครูบาอาจารย์สอนไว้ หรือประสบการณ์ของคนที่เขาปฏิบัติได้ กระผมกราบเรียนไว้อย่างนี้ กระผมมิได้กล่าวว่ากระผมเป็นอริยเจ้า.
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    มีคนบอกว่า คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ นั่นจริงหรือไม่ ? อย่างไรครับ ?

    ก็บอกแล้วว่า เขาไม่รู้ว่าติดรูปคืออะไร เพราะเขาไปเข้าใจเรื่องธรรมกายเป็นนิมิต และกระผมจะบอกให้ชัดเจนกันตรงนี้ พระคุณเจ้าโปรดทราบ โจมตีกันมานานแล้วว่า ธรรมกายวัดปากน้ำติดนิมิต ติดรูป กระผมอยากจะเรียนถามว่า
    มีอยู่ตรงไหนที่พระพุทธเจ้า ไม่ให้ใช้นิมิต มีไหม ! ใครเอามาแสดงให้ดูหน่อยได้ไหมครับ ผมจะประกาศให้ก้องทั่วโลก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ไม่มีใครเอาบทนี้มาดูเลย นี่ หลักทำนิพพานให้แจ้ง
    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความเงียบสงัด จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้
    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่ง วิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลบริบูรณ์ได้แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มี ได้เลย”
    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ตามประกอบความยินดี ความพอใจในหมู่อยู่แล้วหนอ เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความเงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาจิตวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้”
    คิดดูเถอะ..พระพุทธเจ้าน่ะตรัสให้ทำนิมิต มันเรื่องอะไรเราจะไปปฏิเสธนิมิต มันเป็นฐานสำคัญ นิมิตเป็นอุบายรวมใจให้มาหยุด เพราะใจมันมีตัวตนที่ไหน จะให้ใจหยุด ถึงได้สอนกัน บางท่านก็บอกว่า สมาธิแบบธรรมชาตินั่นถูกต้องแล้ว เท่านี้ก็พอแล้ว ความจริงพอหรือไม่พอ ให้ดูอริยมรรคมีองค์ ๘ : สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌานทั้ง ๔ ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ มันต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต นั่นแปลว่า มันเริ่มมาตั้งแต่บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตจึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติกำจัดพยาบาท สุขกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตากำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ ๕ อยู่ที่ไหน ? ก็อยู่ที่มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ นั่นแหละ ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น ใครตั้งนิมิตขึ้นถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย มันผิดที่ไหนกันครับ
    เกจิอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณานิมิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณาให้เห็นนิมิตตามที่เป็นจริงว่านี่..สังขารนิมิต ไม่ว่าจะเอาอะไรมาพิจารณา จะเป็นเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ก็ยกขึ้นมาพิจารณานี่ ก็ให้พิจารณานิมิตนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะนิมิตนั้นเป็นของจริงโดยสมมติ เมื่อพิจารณาแล้วถูกต้องตรงถึงธรรมกาย จะไปปฏิเสธได้ยังไง นิมิตมันต้องเกิดด้วย และถ้านิมิตไม่เกิด หรือไม่ได้ใช้นิมิตแล้วจะยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้อย่างไร นี้มีอยู่ใน ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย ไปเปิดดูได้ทุกท่าน เป็นพระพุทธวจนะด้วย ไม่ใช่เป็นของพระอรหันต์ธรรมดาด้วยซ้ำไป
    เพราะฉะนั้น นิมิตนี่เป็นของต้องมี สมถภูมิ ๔๐ น่ะบอกไว้ชัดเจนเลย กสิณ ๑๐ นี่มันชัดอยู่แล้วก็มันนิมิตอยู่แล้วนี่ จริงๆ แล้ว แม้ อนุสสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ ก็ต้องเห็นนิมิต แต่นิมิตที่เห็นอย่าง อนุสสติ นี่ยังไม่แท้ แปลว่า พิจารณาจริงๆ จะเอาแน่ๆ เช่น เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าคนที่เห็นนิพพาน สัมผัสนิพพาน ซ้อนนิ่งอยู่กลางนิพพานทั้งรู้ทั้งเห็นและได้อารมณ์พระนิพพาน ส่งกระแสพระนิพพานมันผิดตรงไหน แต่นั่นนิพพานไม่เรียกว่านิมิต แต่ว่าสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน
    แต่เทวตานุสสตินี่มันชัดอยู่แล้วมันต้องเห็น แต่ไม่เห็นก็ได้ ก็นั่งท่องเอาว่าเทพยดามี เขาทำกุศลสำคัญ มีศีลกุศล ทานกุศล ภาวนา กุศล เป็นต้น เลยไปเกิดเป็นเทพยดา มีหิริโอตตัปปะ อย่างนี้ก็ได้...ก็ลองดูสิว่า ใจมันสงบได้เท่าไร กระผมว่าสงบได้นิดเดียว แต่ถ้าเป็นผู้สื่อกับเทวดาได้ โดยวิธีการที่ถูกต้องไม่ใช่โดยบังเอิญหรือถูกหลอก อันนั้นล่ะดีที่สุด เป็นนิมิตของจริงโดยสมมติ รู้เลยว่าเทวธรรมมีอะไร อย่างชัดเจนและถ้าคนถึงเทวกายได้เห็นเทพยดา ผมรับรองว่า สงบครับ..สงบแน่ ๆ เพราะขึ้นชื่อว่าสมถกัมมัฏฐาน ต้องสงบจากกิเสลนิวรณ์
    ดังนั้น นิมิตคือ สื่อที่ทำให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ ๑๐ อาโลกกสิณเป็นกสิณครอบจักรวาล เป็นกสิณกลาง ไม่ว่าบุคคลจะมีอัธยาศัยอย่างไรก็ตาม ใช้กสิณนี้กสิณเดียวครอบได้หมด ใช้แก้ไขป้องกันได้เลย กสิณก็คือนิมิตนั่นแหละ
    และแม้แต่คนที่ทำวิปัสสนาไม่ว่าจะสายไหนก็เอานิมิตทั้งนั้น ท่านสูดลมหายใจเข้าออก ท่องพุทโธๆ ไป พอจิตละเอียดหนักท่านเห็นอะไรล่ะ ให้ไปถามผู้ที่ถึงจุดนี้ได้ทุกคน..ก็เห็นดวงใสครับ กระผมเชื่อแน่และรับรอง ๑๐๐% ว่าหลวงพ่อมั่นนี่ท่านเห็นดวงใส แล้วท่านก็เอาเข้ากลางดวงนั้น กลางของกลางดวงนั้น แต่ท่านปฏิเสธการเอาดวงออกนอก ท่านบอกมันไม่ถูกต้อง แต่ดวงใสอยู่ในใจของท่าน อยู่ศูนย์กลางข้างในกายท่าน พิจารณาเช่นนี้ครับ ทิพพจักขุ ทิพพโสต เกิดตรงนั้น เห็นแจ้ง เห็นชัด ก็เห็นจากตรงนั้น ไปถามเอาเถอะครับ
    ยุบหนอพองหนอ นั่งภาวนาก็เห็นครับ ทำไมจะไม่เห็น เห็นตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำไป ไปถามดูก็ได้ แต่ก็เห็นด้วยใจหรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้จักหรือไม่ก็ตาม นึกออกไปเห็น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ไม่ใช่นั่งท่องเอานะครับ เห็นน่ะนิมิตทั้งนั้น แต่ต้องเห็นด้วยใจ ทีนี้..นิมิตมันไปหมดตรงไหน ? ไปดูเถอะครับ ตำราวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ว่าเมื่ออริยมรรคญาณจะเกิดขึ้นปหานสังโยชน์กำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะเดียวกันปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ ได้ชื่อว่าท่านออกจากภาคทั้ง ๒ คือสังขารนิมิตและตัณหาปวัตติ อุภโตวุฏฐานะ ไปดูได้ในปัญญานิทเทส ปวัตติ คือเครื่องปรุงแต่ง ก็ตัณหานั่นแหละหรือสัญโญชน์ อุภโตวุฏฐานะ คือออกจากภาคทั้ง ๒
    ทีนี้ ออกจากสังขารนิมิตนี่ครับ วิชชาอื่นกระผมอธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จัก แต่วิชชาธรรมกายน่ะให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนจิตละเอียดหนัก สมถพละคือกำลังสมาธิ และวิปัสสนาพละมีกำลังเสมอกัน แล้วจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่พิสดารละเอียดไปจนจิตละเอียดหนัก จนวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้ชั่วคราว หรือ สำหรับพระอรหัตมรรคก็ต้องได้ถาวร หรือปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียดปรากฏเข้าไปในอายตนะนิพพาน หรือซ้อนเข้าไปในพระนิพพาน หรือปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน ก็ได้อารมณ์พระนิพพาน นั่นจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงออกจากภาคทั้ง ๒ คือ จิตละเอียดหนัก พ้น..หลุดจากสังขารนิมิต คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในภพ ๓ ตั้งแต่มนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไปจนสุดละเอียด จึงวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้เบื้องต้นในระดับโคตรภูญาณเป็นเพียงชั่วคราว แต่จะไปได้โดยเด็ดขาดตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้ เมื่อมรรคจิตเกิดปหานสัญโญชน์ ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เช่น โสดาบันบุคคล ก็ปหานสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ แล้วเข้าผลสมาบัติไปเลย ธรรมกายรู้เลยครับ เพราะมันดับหยาบไปหาละเอียด ส่วนหยาบเมื่อมรรคจิตเกิดสมบูรณ์ปหานสังโยชน์ นั่นธรรมกายมรรค เมื่อธรรมกายมรรคเกิดขึ้นธรรมกายผลก็ตามมาเลยชั่วขณะจิตเข้าผลสมาบัติ เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ มันตรง..เข้าใจได้เลย ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก แต่ว่า..วิธีอื่น สายอื่น กระผมไม่เข้าใจว่าละสังขารนิมิตได้โดยวิธีไหน..ผมไม่ทราบ..ไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นเรื่องนิมิตได้ โปรดเข้าใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า..เธอ อย่าใช้นิมิต ถ้าใครเอามา ให้ผมดูสักนิดเถอะครับ
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ถ้ามนุษย์มีกรรมเก่าจริง ทำอย่างไรจึงจะลบล้างกรรมเก่าได้ ?

    การลบล้างกรรมเก่านั้นไม่ได้ เพียงแต่ว่าทำอย่างไรจะให้กรรมดีให้ผล ก็ทำกรรมดีให้มันหนักๆ ไป มากๆ เข้า เมื่อมากเข้ากรรมดีกระทำให้หนัก ก็เป็นครุกรรม ทำให้เป็นอาจิณกรรมคือทำให้เป็นนิสัยเรื่อยๆ
    กรรมนี้ก็ย่อมมีโอกาสให้ผลก่อนกรรมอื่น กรรมไม่ดีนั้นเปรียบเหมือนสุนัขไล่เนื้อกำลังไล่ตามเรา จะกัดเรา ถ้าเรามัวยืนกะเป๋อเหรออยู่ แน่ละ เดี๋ยวเดียวมันก็มาทัน หรือปะเหมาะกลับทำกรรมชั่วไปอีก ก็เท่ากับหันหลังกลับ วิ่งเข้าไปหาสุนัขไล่เนื้อ เป็นอย่างไร ได้รับผลเร็วเลย แต่ถ้าเราวิ่งหนีไปข้างหน้าตามกำลังเพียงใด ก็เท่ากับทำกรรมดีส่วนหนึ่ง มันก็มีผลว่าอาจจะพ้นหรือไม่พ้น แต่ถ้าเราทำกรรมดีสุดดี หรือดียิ่งดีขึ้น เช่นทั้ง ศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา เสมือนหนึ่งขี่จักรยาน แล้วก็ขี่รถยนต์ แล้วก็ขี่จรวด ไอ้สุนัขไล่เนื้อก็ตามไม่ทัน เป็นของธรรมดา เรียกว่าเมื่อทำกรรมดีมากๆ เข้า กรรมดีก็ชิงให้ผลก่อน กรรมชั่วจึงตามไม่ทัน หนักๆ เข้า สุนัขไล่เนื้อก็หอบแฮ่กๆ ลิ้นห้อย เรื่องล้างกรรมนั้นล้างไม่ได้ กรรมนั้นยังอยู่ แต่ถ้าทำกรรมดีมากๆ ก็ได้รับผลจากกรรมดีก่อน
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ถ้าพ่อแม่ไม่ให้บวช ผมจะบวชได้หรือเปล่าครับ ผมจะบาปหรือเปล่าครับ ถ้าทำให้พ่อแม่เสียใจ ผมกลัวว่าจะบาปก็เลยไม่บวช ?

    ตอบตามพระวินัย ก็ต้องว่า ให้พ่อแม่อนุญาตก่อนจึงบวชได้
    ถึงกระนั้น ถ้าพ่อแม่ไม่อนุญาต พระอุปัชฌาย์บวชให้ กุลบุตรนั้นก็สำเร็จเป็นพระภิกษุได้ (๑๐๐%) เพียงแต่พระอุปัชฌาย์ผู้ประกอบพิธีบวช จะต้องอาบัติทุกกฏ (อาบัติเล็กน้อย) เพราะเรื่องนี้บ้าง
    การบวชนั้นลูกก็ได้บุญมาก พ่อแม่ได้บุญมาก พ่อแม่ควรจะดีใจอนุโมทนาด้วย หากท่านจะเกิดเสียใจบ้าง เพราะลูกไม่ตามใจ ไม่นานก็คงทำใจได้ เมื่อได้ฟังธรรมะจากพระลูกชายแล้ว ก็จะได้เพิ่มศรัทธาปัญญาในพระศาสนาให้มากขึ้น
    ยิ่งท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นว่าบุญบาปไม่มี หรือถือศาสนาอื่น ถ้าเราค่อยๆ เปลี่ยนทิฏฐิของท่านไม่ได้ เมื่อถึงเวลาที่สมควร ก็ต้องตัดสินใจเองว่า ทางไหนจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2010
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    วิธีเดินสมาบัติในวิชชาธรรมกายอาจทำได้สองวิธี



    วิธีแรกเป็นวิธีสำหรับผู้มีสมาธิแก่กล้า เมื่อได้ปฐมฌานแล้ว ก็อธิษฐานจิตให้ได้ฌานที่ละเอียดกว่าขึ้นไป แล้วย้อนลงมา อีกวิธีหนึ่ง เริ่มด้วยการดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หรือ ปฐมมรรคที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ให้เห็นเป็นดวงใส แล้วขยายให้กว้างออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางด้วยฌานได้ 2 วา หนา 1 คืบ วัดโดยรอบ 6 วา สัณฐานกลมใสเหมือนกระจกส่องหน้า นี่เป็นปฐมฌาน แล้วธรรมกายนั่งบนนั้น ดังนี้เรียกว่าธรรมกายเข้าปฐมฌาน


    แล้วเอาตาธรรมกายที่นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ ให้เห็นเป็นดวงใส แล้วขยายส่วนให้เท่ากัน นี่เป็นทุติยฌาน


    เอาธรรมกายน้อมเข้าฌานที่ได้จากศูนย์กลางกายรูปพรหม และอรูปพรหม จะได้ตติยฌานและจตุตถฌานตามลำดับ


    แล้วเอาธรรมกายเข้าฌาน คือ นั่งอยู่บนฌานนั้น เหล่านี้เป็นรูปฌานต่อจากนี้ไป ให้ใจธรรมกายน้อมไปในเหตุว่าง หรือ ตรงกลางของปฐมฌาน จะเห็นเป็นดวงใสเท่าจตุตถฌาน ธรรมกายก็นั่งบนดวงนั้น เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนอากาสานัญจายตนฌานดังนี้แล้ว ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ ในเหตุว่างของ ทุติยฌาน อากาสานัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิด วิญญาณัญจายตนฌาน ธรรมกายนั่งอยู่บนวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ละเอียด ในเหตุ ว่างของ ตติยฌาน วิญ ญาณัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิดอากิญจัญญายตนฌาน ธรรมกายนิ่งอยู่บนอากิญจัญญายตนฌานนั้น ใจธรรมกายน้อมไปใน รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ ในเหตุว่างของจตุตถฌาน อากิญจัญญายตฌานก็จางหายไป เกิดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานขึ้นมาแทน ขณะนี้ จะมีฌานรู้สึกว่าละเอียดจริง ประณีตจริง เอา ธรรมกายนั่งอยู่บนเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ถ้าเข้าฌานตั้งแต่ 1 ถึง 8 เรียกว่า อนุโลม การเดินฌานในวิชชาธรรมกาย กระทำได้ง่ายกว่าที่เข้าใจกันโดยทั่วไปมากนัก


    อันที่จริงนั้น เมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว ย่อมถือได้ว่า ได้เห็นอริยสัจ 4 ด้วย แต่ในด้านการปฏิบัติ เราจะต้องเดินฌานแทงตลอดอริยสัจ 4 ทุกระยะ มิฉะนั้นแล้ว วิปัสสนาญาณจะไม่เกิดขึ้น ดวงอริยสัจ 4 นี้ ซ้อนอยู่ที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นเอง



    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็กเท่าไข่แดงของไก่ -ดวงเกิด มีสีขาวใส -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้าใหญ่ก็แก่มาก -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้ามาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกายทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวงพระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อยเท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด


    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวงสมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกามตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา


    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวงสมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลายไปฉะนั้น

    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีลดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด 5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก


    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาดแล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ตามที่เขียนอย่างข้างบนนี้ เขียนเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ในด้านการปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนด รู้ทุกข์ทั้งในแง่สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน


    ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเอง ในระหว่างการปฏิบัติ ไม่ได้เป็นวิปัสสนึก เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม 12 ญาณของอริยสัจ(4x3=12) ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่ นิพพิ ทาญาณ ที่นั้น ฐานทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการเป็น ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 (โปรดดูปฏิสัมภิทามัคค์ มหา วรรคญาณกถา ข้อ 10 ถึงข้อ 29 ) ทำให้สามารถกำหนดรู้ อนิจจัง และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้ อริยสัจ และพระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ซึ่งเป็นธรรมาวุธ อันคมกล้าประหารสังโยชน์พินาศไปในพริบตา


    ญาณทั้งสามกลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ หรืออริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้ ก็โดยการปฏิบัติทางเจโตสมาธิ หรือวิชชาธรรมกายเท่านั้น (ในพระไตรปิฎกมีระบุอย่างชัดแจ้งไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรปฐมเทศนา พระวินัยปิฎกข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12) ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ที่เคยปฏิบัติสมถะมาก่อน กำหนดรู้ญาณทั้งสามนี้ได้ เมื่ออุทยัพพยญาณเกิด จะต้องแทงตลอดอริยสัจขั้นหยาบนี้ก่อน ภังคญาณจึงจะเกิดตามมา


    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2010
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]
    วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปี ปีมะเส็ง (ตรงกับวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๐) เมื่อ ๙๒ ปีที่แล้ว หลวงพ่อวัดปากน้ำ เมื่อครั้งยังเป็นพระภิกษุสด จนฺทสโร ได้ตั้งมโนปณิธานที่จะพากเพียรในพระกัมมัฏฐาน โดยมีชีวิตเป็นเดิมพัน ณ อุโบสถ วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
    การค้นพบอันยิ่งใหญ่ได้ประจักษ์แก่หลวงพ่อวัดปากน้ำในคืนวันนั้น



    ตลอดชีวิตของหลวงพ่อวัดปากน้ำ การปฏิบัติกิจภาวนาเป็นงานที่หลวงพ่อทุ่มเททั้งชีวิต เพื่อให้มวลมนุษย์ชาติได้เข้าพบสันติสุขภายใน
    ถึงแม้เวลาจะล่วงเลยมาเกือบศตวรรษ การปฏิบัติภาวนาตามแนวทางของหลวงพ่อวัดปากน้ำหาได้ลดน้อยถอยลงไปไม่ กลับมีผู้ศรัทธามาศึกษาปฏิบัติมากขึ้นเป็นทวีคูณ



    เสียงคำภาวนา"สัมมาอะระหัง" กำลังดังอยู่ในศูนย์กลางกายของผู้มีศรัทธาทุกทวีปในโลก
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ...........อีกความรู้ที่สนับสนุน ปฏิจจสมุปบาทธรรม............

    ก่อนจะผ่านลึกเข้าไปในวิชชาธรรมกาย ขออธิบาย การ
    เกิด การตายให้ทราบล่วงหน้าว่า เรามาเกิดอย่างไร และตาย
    ไปอย่างไร ส่วนการที่จะปฏิบัติ ให้เห็น ให้รู้ได้เอง ต้องรอ
    ไว้เมื่อรู้วิธีแทงตลอดอริยสัจแล้ว

    กายไปเกิด กายมาเกิดเรียกว่า กายสัมภเวสี ๆ วัดด้วย
    ญาณได้สูง 8 ศอก



    เมื่อมาเกิดจะเข้าไปทางช่องจมูกของ
    บิดา ถ้าเป็นชายเข้าช่องขวา หญิงเข้าช่องซ้าย ตอนนี้กาย
    สัมภเวสี มีชื่อเรียกใหม่ว่าเป็นกายทิพย์ ๆ เข้าไปตั้งอยู่ในศูนย์
    กลางกายบิดา รอกำหนดอยู่ที่นั่น ช้าวันบ้าง เร็ววันบ้าง
    แล้วบังคับบิดาให้ไม่อาจทนอยู่ได้ ต้องวิ่งพล่านเข้าไปหา
    มารดา การสัมผัสจะทำให้เกิดการประกอบกิจร่วมกัน เมื่อ
    แรงปรารถนามีความเข้มข้นยิ่งขึ้น ดวงใจทั้งสามจะแนบสนิท
    นิ่งแน่นเป็นจุดเดียวกัน ดวงเห็นจำคิดรู้ของบิดาอยู่บน ของลูก
    อยู่กลาง ของมารดาอยู่ล่าง กายทิพย์ของลูกซึ่งนิ่งอยู่ตรง
    สะดือของบิดา จะเข้าศูนย์กลางตัวกลายเป็นดวงกลมโต
    ประมาณไข่แดงของไก่ การดึงดูดต่อจากนั้นจะทำให้ดวงกาย
    ทิพย์ของลูกเข้าสิบ คือลอยขึ้นมาอยู่ที่ฐานที่ 7 หรือเหนือ
    สะดือของบิดาสองนิ้ว โอกาสนี้การดึงดูดจะหนักหน่วงรุนแรง
    ยิ่งขึ้น คล้ายกับการตอกตะปู จนกระทั่งบิดา และมารดาลืม
    ตัวไปกับความเพลิดเพลินจนตากลับ พอบิดามารดาเผลอ
    ตัว กายทิพย์จะเคลื่อนที่จากบิดาเข้าสู่อู่ มดลูกของมารดา
    แล้วก็ไปตั้งอยู่ตรงกลางต่อมเลือดที่ขั้วมดลูก ที่ขั้วมดลูกมีทาง
    เดินของระดู คล้ายหัวนมมีทางเดินของน้ำนม เมื่อกายทิพย์มา
    ปิดทางเดินของเลือด ระดูก็ขาดไป และกลละรูปก็เกิดขึ้น มี
    ขนาดเล็ก และใสสะอาด ประมาณเท่าหยาดน้ำมันงาที่เหลือติด
    ปลายขนจามรี หลังจากสลัดเสียแล้ว 7 ครั้ง หรือ เท่าเมล็ด
    โพธิ์เมล็ดไทร บางทีเราเรียกกลละรูปนี้ว่า กำเนิดธาตุธรรม
    เดิมบ้าง พืดเดิมบ้าง
    ต่อแต่นี้ไป กำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น ก็เริ่ม
    งอกงามเจริญขึ้นเป็นลำดับไป การที่ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมให้ลูกบวช
    เณรแทนคุณแม่เมื่ออายุ 12 ขวบ และบวชแทนคุณพ่อเมื่อ
    อายุ 21 ปีนั้น เป็นเพราะลูกได้อาศัยธาตุดิน 21 ประเภทจาก
    มารดา มาประกอบเป็นกายขึ้น อาการตากลับเป็นเคล็ดลับ
    ประการหนึ่งของวิชชาธรรมกาย ถ้าในตอนเริ่มปฏิบัติครั้งแรก
    ไม่อาจทำให้ดวงนิมิตลงไปยังศูนย์กลางกายได้ ต้องทำ
    อาการตากลับ ดวงจึงจะเคลื่อนลงไปได้ สมตามความ
    ปรารถนา

    ส่วนกายไปเกิดนั้น เมื่อกายจะแตก ชีพจะสลาย ดวง
    เห็นจำคิดรู้ จะกลับเข้าข้างในกาย ดึงดูดกันนิ่งแนบหนักเข้า
    จนหัวต่อที่เชื่อมกายมนุษย์กับกายทิพย์ หลุดออกจากกัน เจ้า
    ตัวจะรู้สึกคล้ายมีอะไรดึงดูดจิตอย่างแรงคล้ายถูกกระชาก ตอน
    นี้จะมีสังหรณ์ให้ทราบคติในอนาคต แล้วกาลกิริยาก็เกิดขึ้น มี
    อาการบิดตัวบ้าง สยิวหน้าบ้าง หรือคว้าไขว่บ้าง อย่างใด
    อย่างหนึ่งแล้วก็ลืมตัว ต่อจากนั้นกายทิพย์จะสลายตัว หรือ
    เข้าศูนย์กลาง เป็นวงกลมใสสะอาดเท่าไข่แดงของไข่ไก่
    ลอยอยู่ที่สะดือหรือฐานที่ 6 เมื่อดวงเห็นจำคิดรู้ดึงดูดหนักยิ่ง
    ขึ้น ก็ลอยขึ้นมาอยู่ฐานที่ 7 เมื่อดึงดูดหนักยิ่งขึ้น ก็เคลื่อน
    ถอยกลับไปอยู่ที่ฐานที่ 6 แล้วกลายกลับเป็นกายทิพย์ เดินย้อน
    ผ่านฐานต่าง ๆ ออกไปทางช่องจมูก หญิงช่องซ้าย ชายช่อง
    ขวา ต่อจากนั้น ก็เที่ยว แสวงหาที่เกิดต่อไป ในนามกาย
    สัมภเวสี วิธีไปเกิด ก็ต้องเข้าสิบเข้าศูนย์ เหมือนวิธีมาเกิด
    เหมือนกัน

    ที่อธิบายมาข้างต้นนี้คือ ปฏิจจสมุปบาทธรรม โอกาส
    นี้จะได้เห็นและทราบว่ามนุษย์เรา เวียนเกิดเวียนตาย เดี๋ยวไป
    เกิดในสวรรค์บ้าง ในนรกบ้าง มีความเป็นอยู่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง
    เหมือนคนดำน้ำจากที่นี่ แล้วไปโผล่ที่โน่น เปลี่ยนแปลง
    ไปต่างๆ ไม่มีอะไรคงที่แน่นอน ดุจ ดังความฝัน ต้องละทิ้ง
    สมบัติพัสถานบุตรภรรยา หรือสามีที่รักยิ่งไป อย่างน่าเศร้า
    ด้วยผลของเครื่องล่อเครื่องหลง ชีวิตต้องหมุนเวียนไปตาม
    ผลแห่งกรรม อย่างไม่มีทางที่จะขัดขืน จะได้เห็นได้รู้ด้วยตน
    เองว่า ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน ต้องเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ
    ไม่มีทางที่จะเป็นตัวของเราเองได้ และไม่ได้ถูกปล่อยให้อยู่
    ตามลำพัง แม้แต่โอกาสเดียว ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง
    อนัตตา ถ้าสามารถดับตัณหาและอุปาทาน โดยการพิจารณา
    ให้บังเกิดความสังเวช ในการเวียนว่ายตายเกิด อวิชชาและ
    กรรมก็จะดับไป ถ้าเห็นเฉพาะตัวเราเอง ก็เป็นปุพเพนิวาสานุ
    สสติญาณ ถ้าเห็นของผู้อื่นและสัตว์ทั้งหลายด้วย เรียกว่า
    จุตูปปาตญาณ

    ผู้ได้สมาธิอย่างคล่องแคล่ว ตั้งแต่ชั้น จตุตถฌาน เป็น
    ต้นไป จะสามารถถอดกาย หรือ ที่พูดกันติดปากว่า ถอด
    จิตออกไปหาที่อยู่ใหม่ เสียก่อนที่จะตายไปจริงๆได้ การถอด
    จิตนี้ ก็คือ ถอดกายทิพย์ออกไป จากกายเนื้อ กายทิพย์นี้ มี
    ความงดงามและมีรัศมีเรืองรอง กายทิพย์เมื่อออกจากกาย
    เนื้อแล้ว ก็ตรงไปยังวิมานของตน อันเกิดขึ้นสืบแต่บุญบารมี
    ที่ได้สร้างสะสมไว้ นักปฏิบัติผู้ที่ยังไม่เป็นพระอนาคามี มักไป
    อยู่ชั้นดุสิต ที่วิมานนั้นจะมีบริวารรอท่าอยู่แล้วหน้าสลอน แต่
    บางท่านอาจผิดหวัง เพราะเทวภูมิเฉพาะในชั้นดุสิต ไม่มี
    เทพธิดาเลย มีแต่เทพบุตรเท่านั้น ก่อนจะไปวิมาน ถ้าผู้
    ปฏิบัติหยุดพิจารณากายมนุษย์ของตนเอง จะเห็นว่า ถ้าไป
    เทียบกับความงามของเทพบุตรเทพธิดาแล้ว มนุษย์มีความ
    งามเท่ากับหน้าตาของลิงเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีกลิ่นสาบอีก
    ด้วย กลิ่นสาบนี้คล้ายกลิ่นผมเหม็น คล้ายกลิ่นเหงื่อไคลที่
    หมักหมม ซึ่งก็นับได้ว่าใกล้เคียงกัน ส่วนมติของตำราบาง
    ตำราที่ว่ากลิ่นสาบของมนุษย์นั้น คล้ายกลิ่นซากศพหรือสุนัข
    เน่านั้น ไม่ถูกต้อง เพราะกลิ่นเน่ากับกลิ่นสาบไม่เหมือนกัน
    เรื่องความสวยของมนุษย์เมื่อเปรียบกับเทวดา เท่ากับความ
    สวยของลิงนี้ ในพระไตรปิฎกบอกใบ้ไว้แล้ว ในเรื่องของพระ
    นันทะ มนุษย์เราเหม็นสาบนี้เองกระมัง ที่เป็นสาเหตุสำคัญที่
    เทพธิดาท่านไม่แยแสด้วย ผู้ที่ถอดกายไปเลือกที่อยู่ใหม่นี้
    ต้องหมดเวรกรรมแล้ว จึงจะไปอยู่ที่อยู่ใหม่ได้ตลอดไป ถ้า
    ยังมีเวรอยู่จะต้องกลับมาเมืองมนุษย์อีก จะไปได้แน่ๆก็ตอน
    จวนตาย ซึ่งมักจะรู้ก่อน อย่างน้อย ก็มีเวลาพอที่จะถอด
    จิตออกไปได้ทัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2010
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ......ใจ และ ที่ตั้งของใจ...........

    ฐานที่ตั้งของใจ

    เป็นลักษณะที่เด่นอีกอย่างหนึ่ง ของ
    การปฏิบัติธรรมตามแนววิชชาธรรมกาย ที่นอกจากจะสามารถ
    ให้ความหมายที่ชัดเจนต่อการทำงานของใจได้โดยละเอียด
    แล้ว ยังสามารถแบ่งลักษณะความละเอียดของใจออกไว้เป็น
    7 ระดับอีกด้วย การปฏิบัติธรรมตามแนววิชชาธรรมกาย จึงมี
    ขั้นตอนของวิธีการปฏิบัติที่สามารถเข้าใจง่ายและไม่สับสน
    ตลอดจนมีแนวทางเพื่อยกระดับความสงบ ที่ได้รับจากการ
    ปฏิบัติเป็นลำดับๆไปอย่างชัดเจน และแน่นอนอีกด้วย

    คำว่า "ใจ" ตามความหมายของวิชชาธรรมกายนี้
    พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) ได้ให้คำ
    จำกัดความไว้ว่า คือระบบการทำงาน ซึ่งสามารถแบ่ง
    ออกได้ 4 อย่าง คือ

    1. เวทนา คือ ความเห็น
    มีหน้าที่ในการรับหรือเสวย
    อารมณ์ต่าง ๆ

    2. สัญญา คือ ความจำ
    มีหน้าที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ หลัง
    จากได้รับเข้ามาแล้ว

    3. สังขาร คือ ความคิด
    มีหน้าที่พิจารณาข้อมูลที่รวบรวม
    ไว้แล้ว

    4. วิญญาณ คือ ความรู้
    มีหน้าที่ในการรับรู้ เพื่อตัดสินอารมณ์
    ต่าง ๆ ว่าดีหรือเลว ควรหรือไม่ควร เป็นต้น

    เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง 4 อย่างนี้ เป็นเพียงการทำงานที่เกิดขึ้น
    ในรูปของนามหรือพลังงาน แต่มิได้หมายถึง เนื้อหัวใจที่สูบ
    ฉีดโลหิต เพื่อไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของกายเนื้อในส่วน
    หยาบ คือ ร่างกายมนุษย์

    ดังนั้น การปฏิบัติในเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องไป
    สนใจหรือกังวลเกี่ยวกับการทำงานทั้ง 4 นี้ ให้วุ่นวายไปโดย
    เปล่าประโยชน์ เพราะระบบการทำงานนี้ ยังไม่เกี่ยวข้องโดย
    ตรงต่อการปฏิบัติ เนื่องจากผู้ปฏิบัติเพียงแต่ใช้ความคิดเป็น
    หลักของการปฏิบัติเท่านั้น คือ ใช้ความคิดดึงเอาความจำใน
    เรื่องของนิมิตมาใช้เท่านั้น
    จนกว่าจะเกิดความสงบระงับจนถึง
    ระดับเข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง 4 จึงถูกนำมา
    ใช้ เพื่อเป็นตัวพิจารณาสภาวธรรมต่างๆ จนถึงระดับเข้าสู่มรรค
    ผลนิพพานนั่นเอง


    จากหลักการดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่าทั้งสมถกรรมฐาน
    และวิปัสสนากรรมฐาน มีความแตกต่างกันในส่วนของการ
    สร้างอารมณ์กรรมฐาน คือ สมถกรรมฐานใช้จิตหรือความคิด
    เพื่อปูทางไปสู่ความสงบระงับ ส่วนวิปัสสนากรรมฐาน ต้อง
    ใช้ระบบการทำงานทั้ง 4 อย่าง ( เห็น, จำ, คิด, รู้ ) เป็นตัว
    ในการสร้างปัญญา เพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง จนถึงที่สุด
    แห่งปัญญา คือ ความรอบรู้นั้น


    เมื่อได้ศึกษาพิจารณาถึงการทำงานของใจแล้ว ฐานที่
    ตั้งของใจก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ในวิธีการ
    ปฏิบัติ ซึ่งพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) ได้
    แบ่งฐานที่ตั้งของใจไว้ 7 ฐาน คือ


    <CENTER>[​IMG]
    </CENTER>

    ฐานที่ 1 คือ บริเวณปากช่องจมูก หญิงอยู่ข้างซ้าย ชายอยู่
    ข้างขวา

    ฐานที่ 2 คือ บริเวณหัวตาด้านใน หญิงอยู่ข้างซ้าย ชายอยู่
    ข้างขวา

    ฐานที่ 3 คือ บริเวณกึ่งกลางศีรษะ ระดับเส้นตรง แนวเดียวกับ
    ส่วนบนของใบหู

    ฐานที่ 4 คือ บริเวณปากช่องเพดานอยู่ภายในบริเวณกึ่งกลาง
    ดั้งจมูก

    ฐานที่ 5 คือ บริเวณปากช่องลำคอ เหนือลูกกระเดือกเพียง
    เล็กน้อย

    ฐานที่ 6 คือ จุดตัดกันของแนวเส้น ที่ลากจากหน้าไปหลัง
    และจากซ้ายไปขวา ที่ระดับแนวสะดือ

    ฐานที่ 7 คือ ฐานสุดท้าย ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ถาวรของใจ อยู่สูง
    ขึ้นมาจากฐาน ที่ 6 ประมาณ 2 นิ้วมือ

    <CENTER>
    [​IMG]</CENTER>

    การปฏิบัติที่ถูกต้องนั้น ผู้ปฏิบัติควรเริ่มต้นที่ฐานที่ 1
    ก่อน จากนั้นจึงค่อยไต่ขึ้นไป ตามฐานที่สูงขึ้น ตามระดับของ
    ความหยาบ ความละเอียดของความคิดอันเป็นผลจากการ
    ปฏิบัติโดยตรง โดยลักษณะเช่นนี้ เมื่อผู้ปฏิบัติฝึกฝนไปตาม
    ลำดับขั้นของฐานแล้ว ย่อมได้รับความสงบเป็นขั้นๆไป จาก
    อารมณ์ที่หยาบ ไปสู่อารมณ์ที่ละเอียดกว่า ซึ่งจัดได้ว่า เป็นไป
    ตามวัตถุประสงค์ ของการฝึกฝนอบรมใจอย่างแท้จริง และ
    ย่อมสามารถเข้าถึง ซึ่งความสงบระงับจากอารมณ์ อันเป็น
    กิเลสได้ในที่สุดนั่นเอง
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    โลกียจิต


    ในอาณาจักรใจ โอกาสใดที่สามารถทำใจให้เป็นหนึ่ง ไม่วอกแวกไปทางไหน เมื่อนั้น พลังทางจิตนี้ เรียกในภาษาสมาธิว่า ฌาน แบ่งออกเป็น 8 เป็นรูปฌาน 4 เป็นอรูปฌาน 4 การจะอธิบายว่าฌานเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อใด นานเท่าใด ท่านว่าเป็นอจินไตย คือ จะอธิบายให้เข้าใจจริงๆ หรือ ยอมรับฟังได้โดยยาก จึงจำเป็นต้องกำหนดโดยนิมิต นิมิตของรูปฌานเป็นรูปแท่น หรือ แว่นสีขาว มีความละเอียดมากกว่ากันตามลำดับ


    นิมิตของ ปัญจมฌาน

    มีแตกต่างออกไปเป็นสองประเภท สำหรับผู้ปฏิบัติ ที่กำหนดนิมิตให้อยู่นอกกาย มักผ่านอารมณ์ของ รูปปัญจมฌาน นิมิตของรูปปัญจฌานเหมือนภาพยนต์จอกว้าง มีแต่ท้องฟ้า ไม่มีสิ่งที่ติดกับแผ่นดินให้เห็นเลย ความละเอียดชั้นแรกเป็นสีทอง ชั้นที่สองเป็นสีขาว ชั้นที่สามเป็นดวงสีแดงกระจายไป จนแดงเต็มพื้นสีขาว ชั้นที่สี่เป็นสีฟ้า พร้อมกับมีปัญญาตามลำดับของอรูปฌาน เป็นการเห็น และ รู้อรูปฌาน โปรดดูรายละเอียดในเรื่องนี้ในสุภสูตร


    อรูปฌานของวิชชาธรรมกายและอานาปานสติเป็นความว่างพร้อมกับมีตัวรู้

    ถ้าอากาสานัญจายตนะ และ วิญญาณัญจายตนะ ก็รู้ว่า อากาศ และ วิญญาณ ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้า อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็รู้ว่าไม่มีอะไรเลยแม้แต่นิดหนึ่ง และจะว่า ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่ มีสัญญา ก็ไม่ใช่ การเดินฌานขึ้นลงกลับไปกลับมาเรียกว่าสมาบัติ เคยมีผู้กล่าวว่า ถ้าทำสมาบัติได้ 2,000 ครั้ง อภิญญาจะเกิดขึ้น แล้วจะต้องฝึกหัดให้ชำนาญ คือต้องให้มีวสิอีกด้วย ฟังดูแล้วออกจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องค่อนข้างยากอยู่สักหน่อย อันที่จริงนั้น อภิญญาบางประการเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ปฏิบัติได้ถึงขั้นจตุตถฌาน แต่ความแน่นอนมีน้อย ถ้าได้สมาบัติ 8 ความแน่นอนจึงจะเกิดขึ้น การเดินสมาบัตินั้นยากในตอนต้นเท่านั้น ร้อยเที่ยวพันเที่ยว ต่อไปก็เป็นไปตามจังหวะ และแรงดันทำนองเดียวกับการขี่รถจักรยาน โดยปกติ สมาธินั้นต้องมีการเดินสมาบัติเสมออยู่แล้ว เมื่อเดินบ่อยๆ ก็เข้ามากครั้ง และคล่องขึ้นเอง ต่อจากสมาบัติ 8 พระพุทธองค์ได้ค้นพบสมาบัติอีกขั้นหนึ่งเรียกย่อๆว่า



    สมาบัติที่ 9 หรือ สัญญาเวทยิตนิโรธ สมาบัติที่ 9 นี้ เป็นการดับวจี กาย และจิต วจีดับมาแต่ทุติยฌาน กายดับคือไม่มี ลมหายใจแต่จตุตถฌาน จิตดับเมื่อเข้านิโรธ จะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้ ต้องเป็นบุคคลที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ หรือได้บรรลุมรรคผลแล้ว ซึ่งหมายความว่า เป็นเรื่องที่จำกัดอยู่ในวงการพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาอื่น เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธไม่ได้ แม้บางท่านที่อาศัยกำลัง สมถะแต่อย่างเดียว ทำตัวแข็งได้วันหนึ่งหรือสามวันก็ไม่ถือว่าเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์ ปัญหาต่อไปมีว่า การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อเข้าไปแล้วมีความรู้สึกอย่างไร ไม่มีผู้ใดเขียน ไว้อย่างแจ้ง อย่างมากก็บอกว่า ต้องเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะสองครั้ง และการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนี้ เป็นการลิ้มรสอริยสมบัติเป็นการชั่วคราว ที่พอจะจับเค้าได้บ้างก็ที่กล่าวว่า นิโรธสมาบัติวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาที่เจริญคู่กับสมถะ และมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุคนัทธวิปัสสนา จึงพอสรุปความได้ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธจะเข้าได้ก็โดยใช้การเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา ตาม ที่กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามัคค์ หรือ ได้แก่การเดินสมาบัติเข้าไปอยู่ในอายตนนิพพาน หรือเมืองแก้วเป็นการชั่วคราว ตามวิธีของการเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนาแบบธรรมกายหรือแบบโบราณนั่นเอง การเข้าไปในเมืองแก้ว จะต้องใช้สมาธิที่ลึกกว่าสมาบัติ 8 ธรรมดา ประมาณสามเท่า โดยวิธีเดินสมาบัติ 8 มีนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างช้าเพียงสามรอบครึ่งก็เข้าไปได้แล้ว เมื่อเข้าไปจะรู้และจำได้ แต่เพียงเรื่องในอายตนนิพพานเท่านั้น ความเป็นไปของร่างมนุษย์นี้เกือบไม่รู้เรื่องเลย จะรู้บ้างก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในกรณีพระสารีบุตรถูกยักษ์ตี การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนี้ จะต้องอธิษฐานจิตขอให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวงก่อน ภัยพิบัติจึงจะไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม สัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่อาจห้ามความตายได้ อย่างการเข้าฌานธรรมดา เมื่อพูดถึงวงการปฏิบัติกรรมฐานกันแล้ว ย่อมจะเว้นไม่กล่าวถึง สำนักกรรมฐานลพบุรี และสระบุรีเสียไม่ได้ สำนักกรรมฐานทั้งสองแห่งนี้เป็นเครือเดียวกัน วิธีปฏิบัติเบื้องต้นคงได้แก่ การเจริญสมถกรรมฐาน พอปฏิบัติได้จนสามารถเห็นมหาภูตรูป คือ ธาตุทั้งสี่แล้ว ก็อธิษฐานจิตแบ่งอาการ 32 ของตัวผู้ปฏิบัติออกตามธาตุ เช่น เกศา โลมา ธาตุดิน เป็นต้น ถอยหลังกลับให้เห็นอาการ 32 เหล่านั้นไปกองรวมอยู่ในดวงปรมาณูต้นธาตุเดิม เมื่อแยกได้สำเร็จครบถ้วนแล้ว ดวงจะหายวับ แล้วปรากฏอดีตภพของผู้ปฏิบัติให้เห็นสองหรือสามชาติ หรือมากกว่านั้น แล้วแต่กำลังกรรมฐานของแต่ละท่าน นับว่าเป็นกรรมฐานที่แปลกออกไปสำนักหนึ่ง ที่ใช้จตุธาตุววัฏฐานเป็นบาทให้บรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ โดยใช้อิทธิพลของกสิณเข้าช่วย น่าเสียดายที่ไม่อาจทราบได้ว่า สำนักทั้งสองนี้ สามารถจะบรรลุจุตูปปาตญาณได้โดยวิธีใด หวังว่าคงจะเปิดเผยในอนาคตไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ชนรุ่นหลัง นอกจากสำนักกรรมฐานสองแห่งที่กล่าวข้างต้น มีสำนักกรรมฐานที่กำลังมีชื่ออีกแห่งหนึ่งคือ สำนักกรรมฐานที่ไชยา สังเกตดูจากการบรรยายและเผยแพร่ธรรมของสำนักนี้ แสดงว่าเป็นวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ไม่ได้มุ่งให้บรรลุมรรคผลทางปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และ จุตูปปาตญาณ ในยุคปัจจุบันนี้ นอกจากหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญแล้ว มีนักปฏิบัติที่ยิ่งใหญ่อีกท่านหนึ่งคือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่าน ผู้นี้เกิดที่ บ้านกำบง ตำบล โขงเจียม จังหวัด อุบลราชธานี เมื่อ 20 มกราคม 2413 มรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาส ใกล้จังหวัดสกลนคร แม้ท่านอาจารย์ลีก็เป็นศิษย์ของท่านผู้นี้ ในโอกาสปลงศพพระอาจารย์มั่น ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโทเถระ) ได้เขียนคำสดุดีไว้ในลีลาของการสรรเสริญคุณพระอรหันต์ กล่าวกันว่ากระดูกของท่านผู้นี้เป็นพระธาตุ แต่เหตุใด จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง จะว่าเป็นเพราะท่านไม่ใช่พระอรหันต์ชาวอินเดียก็ไม่ใช่ เข้าใจว่าคงเป็นเพราะไม่มีทางพิสูจน์นั่นเอง



    การที่จะพิสูจน์ว่ากระดูกนั้นเป็นพระธาตุหรือไม่



    กล่าวกันว่ามีทางพิสูจน์คือ สำรวจดูผู้รักษากระดูกนั้นตามวิธีในวิชชาธรรมกาย ถ้าเป็นพระธาตุ เจ้าของจะปรากฏ ร่างให้เห็นเป็นพระภิกษุครองจีวรใสเป็นประกายคล้ายทำด้วยเพชร บางกรณีปรากฏกายธรรมของท่านผู้นั้น พระอรหันต์หรือผู้สามารถค้นหลักปฏิบัติมาเผยแพร่ให้ประชาชนปฏิบัติ เพื่อบรรลุมรรคผลได้ถูกทางและรวดเร็ว ชื่อว่าเป็น ขุนพลแก้วในกองทัพธรรม ของราชอาณาจักรอันประเสริฐ


    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2010
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,734
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    .................โลกุตตรปัญญา..................

    โลกุตตรปัญญา


    โลกุตตรปัญญา คือปัญญาที่ทำให้หลุดพ้นไปจากโลก การหลุดพ้นไปจากโลกในทางพระพุทธศาสนา มีอยู่ 2 ทาง คือ


    ก. หลุดพ้นโดยการเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ หรือการตัดสังโยชน์ เครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก ให้ขาดเป็นสมุจเฉท คือขาดไปโดยเด็ดขาด
    </PRE>


    </PRE>


    </PRE>

    สังโยชน์นี้มี 10 ประการ ได้แก่

    1) อริยบุคคลชั้นโสดาบัน ตัดสังโยชน์ได้ 3 คือสักกายทิฏฐิ การยึดมั่นในขันธ์ 5 วิจิกิจฉา การลังเลสงสัยในพระพุทธศาสนา สีลัพพตปรามาส เลื่อมใสในศีลวัตรของศาสนาอื่น
    2) อริยบุคคลชั้นสกิทาคามี ตัดสังโยชน์ได้ 3 เหมือนอริยบุคคลชั้นโสดาบัน กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
    3) อริยะบุคคลชั้นอนาคามี ตัดสังโยชน์ได้อีก 2 ประการ คือ กามราคะ และ พยาบาท ( ปฏิฆะ )
    4) อริยบุคคลชั้นอรหันต์ ตัดสังโยชน์ได้อีก 5 ประการ คือรูปราคะ ความพอใจในรูปภพ คืออยากเป็นพรหมชั้นนี้ อรูปราคะ ความพอใจในอรูปภพ มานะ ความถือตน อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน อวิชชา เครื่องกั้นปัญญา



    ข. หลุดพ้นโดยทางปฏิจจสมุปบาทธรรม
    ธรรมข้อนี้มี 12 ประการคือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ กองทุกข์ (ชรามรณะ) แม้สังโยชน์และปฏิจจสมุปบาทธรรม จะมีวิถีทางเพื่อความหลุดพ้นต่างกัน ธรรมทั้งสองก็ไม่ล่วงเกินกัน นักศึกษาย่อมทราบดีอยู่แล้วว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรมย่อมมีสภาพของไตรลักษณ์อยู่ในตัว ทั้งสังโยชน์และปฏิจจสมุปบาท เมื่อย่อลงแล้วจะได้แก่ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และ อวิชชาสวะ สรุปแล้วไม่ว่าจะหลุดพ้นทางใด ย่อมมี อาสวักขยญาณ ด้วยกันทั้งสิ้น
    </PRE>


    </PRE>

    อริยบุคคลชั้นโสดาบัน มี 3 ประเภท1. เอกพีชีโสดาบัน เกิดในภพมนุษย์อีกครั้งเดียวก็นิพพาน2. โกลังโกละโสดาบัน เกิดอย่างช้าอีก 2 หรือ 3 ครั้ง3. สัตตักขัตตุงปรมะโสดาบัน กลับมาสู่สุคติภูมิ คือ สวรรค์ และ มนุษย์โลกอีกไม่เกิน 7 ชาติ บุคคลทั้งสามจำพวกนี้ แม้จะกลับมาเกิดในมนุษย์อีก ก็จะมีความเป็นอยู่อย่างสมบูรณ์ เพียบพร้อมไปด้วยลาภยศสรรเสริญสุข มี จิตใจใฝ่ในทางธรรม แต่จะไม่มีโอกาสได้ไปปฏิสนธิในอบายภูมิอีกเลย อบายภูมิ 4 ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน



    อริยบุคคลชั้นสกิทาคามี จะปฏิสนธิอีกอย่างมากเพียงครั้งเดียว
    ส่วน พระอนาคามี นั้น มี 5 ประเภท 1.อันตราปรินิพพายี ยังอริยมรรคให้เกิดได้ง่าย แล้วปรินิพพานในเวลาติดต่อกับ ที่เกิดบ้าง ไม่ถึงกึ่งอายุบ้าง 2. อุปหัจจปรินิพพายี ปรินิพพานเมื่อท่ามกลางอายุบ้าง เมื่ออายุจวนจะสุดแล้วบ้าง 3. สสังขารปรินิพพายี ต้องใช้ความเพียร ในการเจริญอริยมรรคจึงจะปรินิพพาน 4. อสังขารปรินิพพายี ไม่ต้องใช้ความเพียร ในการเจริญอริยมรรคนัก 5. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี จะต้องเลื่อนขึ้นไปอยู่พรหมชั้นสูงสุดก่อนจึงจะปรินิพพาน
    พระอนาคามี เมื่อสิ้นบุญในโลกนี้ จะได้ไปเกิด เป็น พระพรหมชั้นสุทธาวาสซึ่งมี 5 ชั้น คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา แล้วก็ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นเอง
    พระอรหันต์ มีอยู่ 4 ประเภทคือ1. พระอรหันต์ ที่ถึงพร้อมด้วยจตุปฏิสัมภิทาญาณ คือ มี พระปรีชาแตกฉานในธรรม 1 ปรีชาแตกฉานในอรรถ 1 ปรีชาแตกฉานในภาษาบาลี และ ภาษาคนและสัตว์ 1 และมีปรีชาไหวพริบแตกฉานในการโต้ตอบปัญหา และ เทศนาไปตามจริตอัธยาศัยของผู้ฟัง 12. พระอรหันต์ ที่ถึงพร้อมด้วย อภิญญา 63. พระอรหันต์ ที่ถึงพร้อมด้วย วิชชา 34. พระอรหันต์ ที่หลุดพ้นไปเฉย ๆ ไม่มีอิทธิฤทธิ์อะไรเลย


    พระพุทธองค์ในวันจะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงระลึกได้ถึงวิธีเจริญกรรมฐาน ที่ได้ทรงเจริญ ที่ใต้ต้นหว้า เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ จึงได้ทรงกำหนด อานาปานสติ เป็นเบื้องต้น ทรงบรรลุ ปุพเพนิวาสานุสติญาณในปฐมยาม บรรลุจุตูปปาตญาณในมัชฌิมยาม ทรงทวนกระแสจิต มาใคร่ครวญถึงธรรมอันอาศัยซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นและดับไป พิจารณากลับไปกลับมา ในปฏิจจสมุปบาท ปัจจยาการ จนเกิดความสลดสังเวชเต็มที่ แล้วก็บรรลุถึงญาณๆหนึ่ง ประหารอาสวะสิ้นไป ทำให้พระองค์พ้นจากบ่วงมาร จากความทุกข์ และ ลุถึงความสุข ในอายตนนิพพาน ได้ทรงบัญญัติญาณนี้ว่า อาสวักขยญาณ
    </PRE>

    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำไปจำพรรษาที่วัดคูเวียง ในพรรษาที่ 11 (พ.ศ.2459) พอถึงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ได้เข้าไปปฏิบัติกรรมฐานในพระอุโบสถแต่ตอนเย็น ท่านได้ตั้งสัตยาธิฐานว่า ถ้าไม่บรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเห็น จะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่จนตลอดชีวิต แล้วเริ่มเจริญกรรมฐานอ้อนวอนพระพุทธองค์ให้ทรงโปรดประทานธรรมที่ทรงเห็น ตรัสรู้แม้แต่เพียงส่วนน้อย พอตกดึกในคืนนั้นเอง หลวงพ่อก็บรรลุธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ให้ชื่อว่า "วิชชาธรรมกาย" </CENTER>ต่อมาวิชชาธรรมกาย ได้แพร่หลายไปทั่วทิศานุทิศ ทั้งภายในและภาย นอกประเทศ แต่ในระหว่างคนไทยเรากันเอง กลับติเตียนพระเดชพระคุณท่าน ในทางตรงกันข้าม ชาวเราน่าจะภาคภูมิใจที่หลวงพ่อได้เกิดมาเป็นคนไทย บนผืนแผ่นดินไทย เพราะการค้นพบของท่าน ได้เชิดชู ให้วงการพระพุทธศาสนาของประเทศไทย เป็นตักศิลาแห่งสมถวิปัสสนากรรมฐาน ตราบใดที่ความสามารถอันสูงเด่นนี้ ยังมีอยู่ทั้งในด้านปฏิบัติ ปริยัติ และวินัย ตราบนั้น เราสามารถจะพูดได้เต็มปากว่า กรุงเทพมหานคร คือ กรุงโรมแห่งพระบวรพุทธศาสนา <CENTER>ทำจริง ได้ผลจริง ๆ </CENTER>
    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2010
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...