ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    สมถวิปัสสนากรรมฐานแบบธรรมกาย


    วิปัสสนากรรมฐาน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิปัสสนาแบบที่มุ่งหวังผลอันสืบแต่ปัจจัยภายใน หรือ สูงกว่าวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ได้แก่การเจริญวิปัสสนาโดยใช้ เจโตสมาธิเป็นบาท


    เจโตสมาธิ คือ สมาธิที่ประดับด้วยอภิญญา หรือวิชชาสาม ถ้าบรรลุความหลุดพ้นโดยทางนี้ เรียกว่า หลุดพ้นโดยทางเจโตวิมุตติ วิปัสสนาประเภทนี้ เป็นประเภทที่ใคร่เชิญชวนให้ท่านทั้งหลาย ลองปฏิบัติดูบ้าง ถึงแม้จะปฏิบัติไปยังไม่ถึงขั้นบรรลุมรรคผล ก็ยังอาจจะได้ ความสามารถทางสมาธิบางประการ ไว้เป็นเครื่องแก้เหงา ถ้าโชคดีบรรลุมรรคผล ก็จะตระหนักด้วยตนเองว่า สุขใดจะสุขยิ่งไปกว่าสุขในกายตนนิพพานไม่มี ทั้งในขณะที่กำลังปฏิบัติวิปัสสนาแบบนี้อยู่ ใคร่จะปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์บ้าง เพียงแต่น้อมใจไปพิจารณาวิปัสสนาญาณ ไม่ช้าก็อาจจะบรรลุมรรคผลทางปัญญา เป็นผลพลอยได้อีกทางหนึ่ง


    การเจริญวิปัสสนาโดยใช้เจโตสมาธิเป็นบาท ปฏิบัติกันมากในหมู่ผู้เลื่อมใสในนิกายมหายาน ในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทก็อ้างถึงวิชชาแขนงนี้ไว้หลายตอน พุทโธวาทตอนใน ที่กล่าวถึงอาโลก หรือแสงสว่าง ที่กล่าวถึง


    ทิพพจักขุ วิชชาสาม และธรรมกาย เป็นเรื่องของวิปัสสนาแบบนี้ทั้งสิ้น การเจริญวิปัสสนาแบบนี้ไม่รุ่งเรืองทางฝ่ายเถรวาท แต่ทางมหายานกลับนิยมปฏิบัติกันทั่วไป อาจจะสันนิษฐานได้ว่า คงสืบมาแต่การกระทำทุติยสังคายนา ที่เมืองไพสาลี หลังจาก ปฐมสังคายนาราว 100 ปี ในครั้งนั้น พระสงฆ์ได้แตกแยกออกไปเป็นสองนิกาย เถรวาทนิกายหนึ่ง มหายานนิกายหนึ่ง ต่อมาต่างฝ่ายต่างพยายามแสดงว่าตนสังกัดในนิกายหนึ่งนิกายใดอย่างเคร่งครัด ผลก็คือว่า หลักปฏิบัติวิปัสสนาแขนงนี้ได้สูญไปจากนิกายเถรวาท หลวงพ่อวัดปากน้ำ เพิ่งได้ค้นพบวิชชานี้อย่างใหม่อย่างพิสดาร เมื่อปี พ.ศ. 2459 นี้เอง และได้ให้นามว่า “วิชชาธรรมกาย”


    วิชชาธรรมกาย เป็นกรรมฐานแบบเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา อาการของคู่กันนั้น ตามปฏิสัมภิทามรรค ยุคอรรถกถากล่าวว่า 1.คู่กันด้วยอารมณ์ 2.ด้วยความเป็นโคจร 3.คู่กันด้วยความละ 4.ด้วยความสละ 5.ด้วยความออก 6.ด้วยความหลีกพ้นไปจากกิเลส 7.คู่กันด้วยความเป็นธรรมละเอียด 8.ด้วยความเป็นธรรมประณีต 9.ด้วยความหลุดพ้น 10.ด้วยความไม่มีอาสวะ 11.ด้วยความเป็นเครื่องข้าม 12.คู่กันด้วยความไม่มีนิมิต 13.ด้วยความไม่มีที่ตั้ง 14.ด้วยความว่างเปล่า 15.คู่กันด้วยการภาวนา 16.คู่กันด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน 17.ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและกัน และ 18.คู่กันด้วยความเป็นคู่กัน อาการคู่กันข้างต้น มีข้อที่น่าสนใจเป็นพิเศษอยู่ข้อหนึ่ง ได้แก่อาการคู่กันด้วยความไม่มีนิมิต การเจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา ด้วยความไม่มีนิมิตนี้ ก็คือ อนิมิตเจโตสมาธิ นั่นเอง พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระอานนท์ ณ บ้านเวฬุคาม ในนครไพสาลี ก่อนจะทรงปลงอายุสังขารเล็กน้อยว่า [FONT=Verdana, Tahoma, Helvetica, sans-serif]<CENTER>"อนิมิตเจโตสมาธินี้ ถ้าทำให้มากแล้วสามารถทำให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่านั้น"</CENTER>[/FONT][FONT=Verdana, Tahoma, Helvetica, sans-serif]ถ้าจะอธิบาย อนิมิตเจโตสมาธิ ตามหลักของสมาธิแล้วอาจอธิบายได้ว่า ได้แก่การเกิดสมาบัติภายหลังที่ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว โดยเดินสมาบัติตามแบบของเจโตสมาธิ ให้นิมิตละเอียดเข้าๆ จนไม่เห็นนิมิต ทำนองอรูปฌาน ถึงขั้นนี้อำนาจสมาบัติจะทำให้ไม่มีมลทินและเชื้อโรคอะไรเหลืออยู่ในกายเลย การเดินสมาบัติทำนองนี้มากๆ ก็เท่ากับเป็นการพักผ่อนระบบของร่างกาย รวมทั้งสมองไปในตัว จึงมีเหตุผลพอเพียงที่จะทำให้อายุยืนได้ [/FONT]มีผู้แปลความหมายของ อนิมิตเจโตสมาธินี้ว่า เป็นอิทธิบาท 4 บ้าง นำความหมายของวิโมกข์ มาอธิบายว่า เป็นสมาธิที่ไม่มี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นนิมิตบ้าง ซึ่งก็ถูกด้วยกันทั้งสิ้น แต่ถ้าจะให้ตรงกันจริงแล้ว น่าจะอธิบายดังที่ได้อธิบายมา
    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2010
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ......................รัตนะ 7..........................

    เมื่อสามารถเข้าไปได้ถึงอายตนนิพพานแล้ว ก็
    เข้าไปเฝ้าพระนิพพาน แล้วขอประทานรัตนะ 7 ประการ คือ
    กำแพงแก้ว 7 ชั้น เพื่อเป็นเครื่องป้องกันสรรพอุปัทวันตราย
    ไม่ให้มากล้ำกราย ในกายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร

    จะขอรัตนะ 7 ประการนี้ได้ โดยจรดเข้ากลางพระ
    นิพพาน เมื่อตกศูนย์พระนิพพาน ก็จะดูดธรรมกายพระอรหัตต์
    ของผู้ปฏิบัติอย่างแรง คล้ายมีอะไรมาดูด อนุโลมตามแรง
    ดูดนั้น ก็จะได้เข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้รักษาพระนิพพาน ที่
    กลางกายของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นทางที่จะเข้าไปถึงรัตนะทั้ง
    7 นับแต่นี้ไป จะสามารถเห็นรัตนะทั้ง 7 ได้ภายในกายของผู้
    ปฏิบัติเอง ไม่จำเป็นจะต้อง ไปดูที่พระนิพพานอีก รัตนะทั้ง 7
    นี้ มีความหมายทำนองเดียวกับ รัตนะคู่บุญของสมเด็จพระเจ้า
    จักรพรรดินั่นเอง ต่างกันแต่ว่ารัตนะทั้ง 7 ของสมเด็จพระเจ้า
    จักรพรรดิ เป็นสิ่งที่มีรูปร่างปรากฏให้เห็นได้ด้วยตาธรรมดา
    แต่รัตนะ 7 ประการในที่นี้ เป็นของทิพย์ รัตนะทั้ง 7 ได้แก่


    1.จักรแก้ว ตามคัมภีร์กล่าวว่า เมื่อจักรแก้วมา
    ปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์พระองค์ใด พระมหา
    กษัตริย์พระองค์นั้น ได้ชื่อว่าเป็นสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ
    สามารถปราบได้ทั่วทุกทิศ จักรทิพย์เป็นอาวุธสำหรับปราบภูต
    ผีปีศาจต่างๆ และเป็นยานนำไปสู่สถานที่ทุกแห่ง ไม่ว่าจะเร้น
    ลับซับซ้อนเพียงใด

    2.ช้างแก้ว
    เป็นช้างทรงของ สมเด็จพระเจ้า
    จักรพรรดิ ในการเสด็จพยุหยาตรา ช้างทิพย์เป็นเครื่องมือใน
    การสร้างเกียรติประวัติและสะสมกองบุญในด้านการปฏิบัติ เมื่อ
    อธิษฐานจิตขึ้นขี่ช้างแก้ว ซึ่งเมื่อทำได้คล่องแล้ว จะกระทำได้
    ทันที ตัวของผู้ปฏิบัติจะมีความสง่าน่าเกรงขาม และเป็นที่
    ชื่นชมของคนทั่วไป

    3.ม้าแก้ว
    เป็นม้าทรงของสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ
    ในการเสด็จประพาสที่ต่างๆ เป็นการส่วนพระองค์ หรือ
    ลำลอง ม้าทิพย์เป็นพาหนะสำหรับไปเที่ยวในที่ต่างๆ ทั้งใน
    นรกและในสวรรค์ ในระหว่างเดินทาง ถ้าหากมีภยันตรายหรือ
    อุปสรรคอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ม้าแก้วจะขจัดภยันตราย
    หรืออุปสรรคเหล่านั้นให้สิ้นไป นิยายจีนได้นำอิทธิฤทธิ์ของ
    กายสิทธิ์ประเภทนี้ ไปผูกเป็นคุณสมบัติของม้ามังกร

    4.นางแก้ว
    เป็นพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้า
    จักรพรรดิ พระสิริร่างมีความอบอุ่นในฤดูหนาว มีความเยือก
    เย็นในฤดูร้อน ในด้านที่เป็นของทิพย์ได้แก่ นางแก้วทิพย์ ผู้มี
    ไออุ่น ไอเย็น ที่สามารถเนรมิตให้เกิดขึ้นเอง ไม่จำเป็นต้องง้อ
    ขอพึ่งไออุ่น ไอเย็นจากอกสาว อกหนุ่ม ให้ต้องเปลืองตัว
    และเปลืองใจ

    5.แก้วมณี
    คือ ดวงแก้วที่สมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ
    ทรงใช้ส่องดูเหตุการณ์ต่างๆ ในราชอาณาจักรของพระองค์
    แว่นทิพย์ก็สามารถใช้มองดูอะไรได้ทั้งในนรก สวรรค์และใน
    เมืองมนุษย์ ตามปรกติเมื่อปฏิบัติกรรมฐานได้สูงแล้ว ก็
    สามารถจะมองเห็นนรก มองเห็นสวรรค์ แต่ถึงจะมองได้ก็
    เห็นไม่ทั่ว จึงนำมาเล่าแตกต่างกันไป ถ้าใช้ดวงแก้ว
    กายสิทธิ์นี้ส่องจะเห็นได้ทั่วถึง

    6.ขุนพลแก้ว
    ได้แก่ แม่ทัพผู้เกรียงไกร ผู้ปฏิบัติ
    ภารกิจเพื่อเพิ่มพูนพระบารมี ต่างพระเนตรพระกรรณ ขุน
    พลทิพย์ คือ ผู้ ช่วยเหลือขจัดอุปสรรคที่เกิดขึ้น ในระหว่าง
    การบำเพ็ญกรณียกิจ เพื่อสาธารณประโยชน์และการกุศล
    ต่างๆ ขุนพลแก้วมีรูปร่างคล้ายนักรบไทยโบราณ

    7.ขุนคลังแก้ว
    คือ ผู้แสวงหาและรักษาพระราช
    ทรัพย์ให้ มั่งคั่งและมั่นคง ขุนคลังทิพย์คือผู้รักษาทรัพย์สมบัติ
    ทั่วไปทั้งหมด มีกายสิทธิ์ต่างๆเป็นบริวาร ทรัพย์สมบัติเหล่า
    นี้ สามารถขอมาใช้ในการบุญการกุศลต่างๆได้ ส่วนการที่จะ
    ขอมาเพื่อประโยชน์ส่วนตัวนั้น ถ้าขอในจำนวนเพียงเล็ก
    น้อยอาจได้บ้าง เคล็ดลับในความสำเร็จของวัดปากน้ำ ใน
    การสร้างโรงครัวและอาคารสถานที่ ก็สืบมาแต่การอาศัย
    กายสิทธิ์ประเภทนี้เอง ขุนคลังแก้วมีรูปร่างคล้ายขุนนาง
    โบราณ

    คุณสมบัติของรัตนะ 7 ประการที่กล่าวมาข้างต้นนี้
    กล่าวเพียงเป็นเค้าพอให้เข้าใจ ยังมีความพิสดารที่ไม่ได้รับ
    อนุญาตให้เปิดเผยอีกมาก หากผู้ใดใฝ่ฝัน ใคร่จะได้เชยชมใกล้
    ชิด กับสมบัติของสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิบ้างในชาตินี้ หรือ
    ใคร่จะสังสรรค์กับหนุ่มสาวชาวเมืองทิพย์ หรืออยากจะทราบ
    ด้วยตนเองว่า ไออุ่น ไอเย็นอย่างว่าของนางแก้วจะมีรสซึม
    ซาบ ลึกซึ้งเพียงใด จะสมหวังได้ก็ด้วยการปฏิบัติวิชชา
    ธรรมกาย

    เมื่อได้รัตนะทั้ง 7 ประการแล้ว กำลังสมาธิจะแรงมาก
    ขึ้น คล้ายกับว่ามีของศักดิ์สิทธิ์ไว้กับตัว เพียงแต่ตั้งจิตให้นิ่ง
    อยู่ที่เหนือสะดือสองนิ้ว ภายในกาย ก็จะมีการสับฌานขึ้น
    ลง เท่ากับเป็นการเดินสมาบัติไปในตัว ถ้าในขณะที่นิ่งอยู่
    อย่างนั้น

    <CENTER>
    มีอะไรปรากฏขึ้นมาให้เห็น เรียกว่า เป็นการ"ตรัสเห็น"
    ถ้าเกิดรู้อะไรขึ้นมา เรียกว่า "ตรัสรู้"
    ถ้าได้ยินเสียงอะไรก็เรียก "ตรัสได้ยิน"
    การนิ่งเช่นนี้เรียกว่า "นิ่งในนิโรธ"
    นิโรธในที่นี้ มีความหมายว่า "ทำให้แจ้ง"
    </CENTER>
    ถ้าอธิษฐานจิตใจขณะที่นิ่งอยู่ในนิโรธ ขอดูความเป็นไปของ
    สรรพสัตว์ ก็เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์สัตว์ปรากฏ
    ขึ้นรอบตัวเรา ความสามารถนี้เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ" ด้วย
    จุตูปปาตญาณนี้เอง จะทำให้ทราบได้ว่า กายทิพย์ของสัตว์
    ทั้งหลายรอบตัวเรานี้เป็นมนุษย์ จะต่างกันก็แต่รัศมีของบุญ
    บารมีที่ได้สร้างสมมา เมื่อทำบาปหนัก หรือตายในขณะมี
    ความห่วงใยในทรัพย์สมบัติหรือบุตรภรรยา ก็ต้องมาได้ร่าง
    เป็นสัตว์ในภพนี้ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตจึงเป็นเรื่องที่ไม่ห่างไกล
    จากการฆ่ามนุษย์เท่าใดนัก

    สิ่งมีชีวิตที่มาพัวพันกับเราในชาตินี้ล้วนได้อุปการะ
    เกื้อกูลกัน หรือมีเวรต่อกันมาในชาติก่อน การอโหสิให้แก่
    การกระทำของผู้อื่น ย่อมทำให้เวรนั้นระงับไป เนื่องด้วยกาย
    ทิพย์ของสัตว์ทั้งหลายเป็นมนุษย์ มนุษย์จึงสามารถทำความ
    เข้าใจกับสัตว์ต่างๆได้ โดยการพูดกันทางใจ ข่าวที่ว่า หลวง
    พ่อคล้ายแห่งนครศรีธรรมราช สามารถหยุดยั้งช้างป่าที่กำลัง
    อาละวาดอยู่ให้สงบลงได้นั้น จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แม้วิธี
    การอาจจะผิดแผกแตกต่างกันไปบ้าง หลักการก็คงจะเป็น
    อย่างเดียวกัน

    จุตูปปาตญาณ จะนำไปสู่เคล็ดลับหลายประการ รวม
    ทั้งเคล็ดลับ ที่พระพุทธองค์ทรงสงเคราะห์ พระนางเขมาให้
    บรรลุอรหัตผล หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ใช้เคล็ดลับทำนองเดียว
    กันนี้ สงเคราะห์ให้สานุศิษย์บรรลุธรรมได้เป็นอันมาก นอก
    จากนี้ ยังสามารถจะช่วยให้ผู้อื่น พ้นจากการเจ็บไข้ได้ป่วย
    และทุกข์ภัยต่างๆอีกด้วย

    การเจริญจุตูปปาตญาณ ถ้าทำให้มาก จนรู้สึกเบื่อ
    หน่ายสังเวชในการเวียนว่ายตายเกิดอย่างแรงกล้า อำนาจ
    ของเจโตสมาธิ จะทำให้สามารถบรรลุอรหัตผลได้โดยฉับ
    พลัน แต่ถ้ายังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี
    ถ้า
    หากว่าไม่อาจจะทำให้ความเบื่อหน่ายเกิดขึ้นได้โดยรวดเร็ว ก็
    ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกเป็นบาท เช่น ในกรณีพระจูฬปันถก
    โดยโน้มใจไปพิจารณาญาณทั้ง 10 ญาณ ไม่ช้าก็จะบรรลุ
    มรรคผลขั้นต้น

    ตามที่บรรยายมาข้างต้นนี้ เป็นหลักทั่วไปของวิชชา
    ธรรมกายโดยสมบูรณ์ หลักทั่วไปของวิชชาธรรมกายมี
    เพียงเท่านี้เอง ดู ๆ ก็น่าจะเป็นวิชชาที่ปฏิบัติได้โดยง่าย
    แต่เป็นเรื่องที่ง่ายจริงสำหรับผู้ที่ปฏิบัติได้ ไม่ง่ายสำหรับผู้
    ปฏิบัติไม่ได้ วิชชานี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีความมั่นใจในตน
    เอง
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2010
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ...........สติปัฏฐาน 4 ตามแนววิชชาธรรมกาย.............

    ให้เพ่งตรงกลางดวงปฐมมรรค เมื่อถูกส่วน
    ก็จะเห็นดวงศีล ในกลางดวงศีลเห็นดวงสมาธิ ในกลางดวง
    สมาธิเห็นดวงปัญญา ในกลางดวงปัญญาเห็นดวงวิมุตติ
    ในกลางดวงวิมุตติเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อได้ครบทั้ง
    5 ดวง ในกลางวิมุตติญาณทัสสนะ จะเห็นรูปคล้ายตัวผู้ปฏิบัติ
    เองนั่งอยู่ ในดวงกายนี้เรียกว่ากายมนุษย์ละเอียด เป็นกายที่
    เห็นได้ในความฝัน ถ้าเพ่งที่กลางกายมนุษย์ ก็จะมีดวงอีก 5
    ดวง คือดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    แล้วก็มีกายทิพย์เกิดขึ้น ตั้งแต่กายทิพย์นี้เป็นต้นไป จะมีกาย
    ประเภทเดียวกันเกิดขึ้นสองครั้ง ครั้งแรกเป็นกายสบายหรือ
    กายอดีต กายปัจจุบันเป็นกายละเอียด เมื่อเพ่งที่รูปกายเหล่า
    นี้ จะมีดวงอีก 5 ดวง เช่นนี้ทุกกาย ที่กลางกายทิพย์จะมีกาย
    รูปพรหม กลางกายรูปพรหม มีกายอรูปพรหม กลางกายอรูป
    พรหม มีกายธรรม

    พอปฏิบัติมาได้ถึงตอนนี้ ผู้ปฏิบัติจะเห็นสติ
    ปัฏฐาน 4 อย่างครบถ้วน

    การเห็นกายในกาย ได้แก่ การเห็นกายต่างๆดังได้กล่าว
    มาแล้ว กายเหล่านี้เป็นกายหยาบ กายละเอียด เป็นการเห็น
    กายหยาบละเอียด

    การเห็นเวทนาในเวทนา ได้แก่ การเห็นดวงในดวงขุ่น และ
    ดวงไม่ใส ไม่ขุ่น ถ้าสุขก็ใส ถ้าทุกข์ก็ขุ่น ถ้าไม่สุขไม่ทุกข์
    ก็เป็นสีตะกั่วตัด จะว่าดำก็อมขาว จะว่าขาวก็อมดำ
    ปรากฏการณ์นี้ จะเห็นได้ด้วยตากายมนุษย์ละเอียด

    การเห็นจิตในจิต ได้กล่าวมาแล้วว่า จิตนั้นลอยอยู่ในเบาะ
    น้ำเลี้ยงหัวใจ การเห็นจิตในจิต ก็คือ การเห็นจิตของกาย
    มนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ที่เปลี่ยน
    ไป ตามสีของน้ำเลี้ยงหัวใจ

    ในเวลาเรียนอภิธรรมตอนวิถีจิต อาจารย์มักเขียนทาง
    เดินของจิตเป็นวงกลม ตามหางกันเป็นแถว ๆ ด้วยท่าทางอัน
    ทะมัดทะแมง มอง ๆ ดูคล้ายกับว่าอาจารย์กำลังสอนวิธี
    เล่นงูกินหาง ทำให้สำคัญไปว่า จิตคงเดินเช่นนั้น แต่ความ
    จริงแล้ว จิตเกิดขึ้นในจิตเอง คล้ายน้ำพุ


    การเห็นธรรมในธรรม ก่อนจะได้กายมนุษย์ กายทิพย์ และ
    กายอื่นๆ แต่ละกายจะมีดวงธรรม ขนาดไข่แดงของไก่นำมา
    ก่อน แล้วกายจึงจะเกิด การเห็นดวงธรรมหรือดวงขันธ์ 5
    ที่ทำให้เป็นกายต่างๆนี้แหละ คือการเห็นธรรมในธรรม จะรู้ว่า
    ดวงนั้นเป็นกุศล อกุศล อพยากฤต ก็คือสีของดวงนั้น
    ทำนองเดียวกันกับ การเห็นเวทนาในเวทนา เมื่อปฏิบัติได้จน
    เห็นกายทิพย์ ผู้ปฏิบัติจะมีอภิญญาขั้นต่ำ สามารถเห็นโลก
    ทิพย์บนพื้นพิภพนี้ได้ คือ สามารถเห็นพวกอมนุษย์ แต่ไม่
    สามารถทำจิตให้ลอยเหนือพื้นดินได้ อย่างสูงได้เพียงทำจิต
    ให้กระโดดไปอยู่บนตึก 10 ชั้น 20 ชั้น อย่างในนิยายจีน
    เท่านั้น ทั้งนี้เพราะกิเลสยังหนา ดวงจิตจึงหนัก ถ้าปฏิบัติ
    ได้ถึงกายธรรม ก็สามารถจะไปเที่ยวนรก สวรรค์ หรือ ชั้น
    พรหม ได้

    มีผู้กล่าวว่า การเห็นเทวดา พรหม นรก สวรรค์ เป็น
    ภาพลวง หรือได้เห็นภาพในโลกมนุษย์ แล้วติดตาไปปรากฏ
    เป็นนิมิตขึ้น ถ้าเป็นนักปฏิบัติเพียงได้สมาธิชั้นจตุตถฌาน จะ
    ไม่กล้ากล่าวอย่างนี้เลย เพราะถึง แม้ปรากฏการณ์ในนรก
    สวรรค์ และความเป็นไปของเทวดา พรหม จะได้มีผู้นำมา
    ใช้ประโยชน์ในการสร้างวิจิตรศิลป์ หรือสถาปัตยกรรมบ้างแล้ว
    ก็ตาม ก็ยังไม่อาจนำมาได้หมด ทั้งในการเห็นนรกสวรรค์
    เทวดา พรหม นักปฏิบัติก็ไม่ได้กำหนดรายละเอียด และการ
    เคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้น ทั้งบางทีสิ่งเหล่านั้น ก็เกิดขึ้น
    เอง โดยไม่ได้อธิษฐาน
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010101.wma[/MUSIC]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก
    ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน
    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า
    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ
    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ
    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย
    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง
    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา
    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง
    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย
    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    สมาธิทำให้ไม่ง่วงซึม ทำไมดิฉันทำสมาธิครั้งใดต้องง่วงนอน ทุกครั้งไป ?
    อันนี้เป็นคำถามที่ดีครับ โปรดเข้าใจว่าจิตใจที่กำลังจะเป็นสมาธิที่แนบแน่น กับจิตใจที่กำลังจะหลับ มีอาการคล้ายกัน จิตใจที่ก่อนจะตายด้วย จิตใจที่กำลังจะเกิด จะดับ (คือตาย) จะหลับจะตื่น จะมีอาการอย่างนี้คือ
    จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกาย ตรงระดับสะดือพอดี จิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาทำหน้าที่ต่อไป เช่นถ้าคนนอนหลับก็อาจจะทำหน้าที่ฝัน ถ้าคนจะตายก็ไปเกิด เพราะฉะนั้นอาการของใจคนที่จะเป็นสมาธิก็มีว่า จิตดวงเดิมที่ขุ่นมัวด้วยกิเลสนิวรณ์ก็จะตกศูนย์ จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสปราศจากกิเลสนิวรณ์ก็จะลอยปรากฏขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ ในอาการเดียวกันกับคนจะหลับ จิตดวงเดิมก่อนหลับก็จะตกศูนย์ ใจที่จะทำหน้าที่หลับ แล้วไปทำหน้าที่ฝันก็จะลอยขึ้นมา อาการตรงนี้จะมีอาการเคลิ้มๆ แต่ความเคลิ้มนั่นเพราะใจมารวมหยุดนิ่งโดยอัตโนมัติโดยธรรมชาติ ถ้ามีสติสัมปชัญญะอยู่นั่นเป็นสัมมาสมาธิ แต่ถ้าเผลอสติมันก็หลับ เพราะฉะนั้น อาการหลับกับอาการที่สมาธิกำลังจะเกิดแนบแน่น เป็นอาการเดียวกัน ต่างกันที่สติสัมปชัญญะ ยังอยู่หรือว่าเผลอสติ ถ้าเผลอสติก็หลับ เช่น เราตั้งใจว่าเราจะหลับ เราบริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆ เราตั้งใจจะหลับ เราปล่อยใจให้เผลอสติพอจิตรวมกันหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ศูนย์กลางกายที่นี่ก็จะหลับเลย
    เพราะฉะนั้นวิธีแก้โรคคนที่ใจฟุ้งซ่านนอนไม่หลับ ให้บริกรรมภาวนาเอาใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย สัมมาอรหังๆๆ ให้ใจรวมลงหยุดที่ศูนย์กลางกาย พอรวมแล้วเรากำหนดในใจว่าเราจะหลับ สติจะเผลอแล้วก็จะหลับได้โดยง่าย
    เพราะฉะนั้น คนทำสมาธิแล้วง่วง เพราะตรงนี้เผลอสติ ถ้าไม่เผลอสติ ทำใจให้สว่างไว้ ให้รู้สึกตัวพร้อมอยู่ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์จะรู้สึกมีอาการเหมือนหวิว นิดหน่อย แล้วใจดวงใหม่ จะปรากฏใสสว่างขึ้นมาเอง แล้วใจก็หยุดนิ่งกลางดวงใสสว่างนั่น ก็จะใสสว่างไปหมดเลย ไม่ง่วง ไม่ซึม เข้าใจนะ ถ้าใครนั่งง่วงหลับงุบงับๆ แล้วก็ให้พึงเข้าใจว่า ใจไม่เป็นสมาธิแล้วนะ กำลังเผลอสติจะหลับแล้ว ต้องพยายามอย่าเผลอสติ ให้มีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันกิเลสนิวรณ์อยู่เสมอ
    แต่ถ้าประสงค์จะทำสมาธิเพื่อให้หลับสนิท ก็กำหนดใจไปว่า เราจะหลับก็หลับ เมื่อทำบ่อยๆ แล้วเราจะกำหนดได้แม้แต่ว่าจะตื่นภายใน ๑ ชั่วโมง เราจะตื่นภายใน ๑๕ นาที เราจะ ตื่นภายในเวลาเท่าไร ก็จะเป็นไปตามนั้น
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    กดฟัง

    เสียงสวดนำบูชาพระกรรมฐาน ก่อนเจริญภาวนา


    ของ หลวงปู่สด จันทสโร ( วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ )





    http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010103.wma
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เมื่อจิตสงบดีแล้วอาการเย็นไปทั้งตัวรู้สึกสบาย และลอยเหมือนไม่ได้นั่งอยู่บนพื้น แล้วรู้สึกมีอาการหมุน แต่ไม่ได้เห็นดวงแก้ว รู้สึกกลัวจึงลืมตาขึ้น แล้วลากัมมัฏฐาน ?

    ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เมื่อใจค่อยๆ สงบ รวมหยุดนิ่งสนิทระดับหนึ่ง ใจคือความเห็น-จำ-คิด-รู้ จะทำหน้าที่รับอารมณ์ภายนอกน้อยลงๆ “ใจ” ซึ่งเป็นนามธรรม เริ่มเป็นอิสระ ขาดจากรูปธรรม จึงรู้สึกกายเบาเหมือนกับจะลอย และกิเลสนิวรณ์ค่อยๆ ถูกกำจัดให้หมดไปด้วยสมถภาวนานี้ จึงเกิดปีติ รู้สึกมีอาการเย็นไปทั้งตัวและรู้สึกสบาย
    แต่ที่ไม่ได้เห็นดวงแก้วนั้น เพราะใจอันประกอบด้วยเห็น-จำ-คิด-รู้ ยังไม่รวมหยุด เป็นจุดเดียวกันนิ่งสนิทถูกส่วนตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ธาตุทั้ง ๖ คือธาตุละเอียดของ ธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม-อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ ยังไม่ประชุมกันถูกส่วนตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ปฐมมรรคจึงยังไม่เกิด และอายตนะภายในอันเป็นทิพย์ก็ยังไม่เกิดและเจริญขึ้น จึงยังไม่เห็นดวงปฐมมรรคหรือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายปรากฏขึ้นตามธรรมชาติที่เป็นจริง
    ที่รู้สึกมีอาการหมุน เพราะใจยังไม่หยุดนิ่งสนิทได้ถูกส่วนเครื่องธาตุเครื่องธรรม ฝ่ายบุญกุศลจึงทำงานไม่เต็มที่ เพราะถูกต่อต้านด้วยเครื่องธาตุเครื่องธรรมฝ่ายบาปอกุศล เรื่องนี้ลึกซึ้ง เข้าใจเท่านี้ก็พอ แล้วท่านลืมตาจากกัมมัฏฐาน... น่าเสียดาย
    ถ้าท่านกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใสกลางดวงแก้วกลมใส ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมต่อไปไว้เรื่อย พอถูกส่วนก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสแจ่มปรากฏขึ้นมาเอง สบายใจยิ่งกว่าเดิมอีก ดังพระพุทธวจนะว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ (ใจหยุดใจนิ่ง) ไม่มี
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ทำอย่างไรเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้องค์พระใหม่ๆ จะรักษาองค์ธรรมกายให้ชัดอยู่ได้นานๆ ?

    ธรรมกายนั้นอุบัติขึ้นเพราะความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ จากธรรมปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะรักษาธรรมกาย จึงต้องรักษากาย วาจา และใจของตนให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ โดย
    1. เว้นจากกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ประพฤติแต่กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต กล่าวคือ
      ไม่เจตนา ฆ่าสัตว์-ลักฉ้อ-ประพฤติผิดในกาม ไม่ติดอบายมุข เช่น นักเลงสุรา นักเลงผู้หญิง นักเลงการพนัน และไม่หมกมุ่นอยู่แต่กับพัสดุกาม เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารีต่อเพื่อน มนุษย์และสัตว์ร่วมโลก รู้จักแบ่งปันทรัพย์และความสุขส่วนตนแก่ผู้อื่น มีสันโดษในคู่ครองของตน และไม่เสพติดสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งปวง
      ไม่มักพูดจาโป้ปดมดเท็จหลอกลวงผู้อื่น-พูดคำหยาบ-สาบถ-สาบาน-พูดยุแยก ให้เขาแตกสามัคคีกัน และไม่พูดจาเหลวไหลไร้สาระจนเป็นอาจิณ จงพูดแต่คำพูดที่จริง พูดแต่คำพูดที่สุภาพไพเราะ อ่อนหวาน พูดแต่คำพูดที่เป็นสิริมงคลมีแกนสารมีสารประโยชน์ เป็นปกติ
      ไม่เป็นคนมักโกรธ พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น เป็นผู้มักไม่ลุแก่โทสะ ตัณหาราคะ ไม่โลภ และเห็นแก่ตัวจัด ไม่หลงมัวเมาในเรื่องหรือสิ่งที่เป็นโทษที่มิใช่พระธรรมวินัย ให้เป็นผู้ดำรงอยู่แต่ในพระธรรมพระวินัยเป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ และมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ต่อกัน
    2. หมั่นมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันจิตที่มักใฝ่ชั่วด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทานและมิจฉาทิฏฐิ มีความสำรวมระวังตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เมื่อกระทบเข้ากับ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย มิให้หลงเคลิบเคลิ้ม สยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารักและ มิให้หลงเคียดแค้นชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กิเลสฟุ้งและให้ตัณหา อุปาทาน เข้าครอบงำได้
    3. เพียรละกิเลสที่เกิดขึ้นแล้วในสันดานโดยมีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เกิดขึ้นในจิตใจอยู่เสมอ และเพียรระวังป้องกันมิให้กิเลสเกิดขึ้นใหม่อีก เพียรยังกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน และรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อมด้วยธรรมปฏิบัติมีทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
      ยามว่างจากธุรกิจหน้าที่การงาน ก็ให้หมั่นเจริญภาวนา ทำนิโรธดับสมุทัย (ปหาน อกุศลจิต) พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด เพื่อชำระและรักษาธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้ใสสะอาดอยู่เสมอ อย่างน้อยที่สุดก็ให้หมั่นจรดใจสักเสี้ยวหนึ่งของใจไว้ ณ ศูนย์กลางธรรมกาย หรือพระนิพพาน หรือต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียด ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้อยู่เสมอ
    4. ควรหมั่นพบครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในวิชชาธรรมกาย เพื่อฝึกวิชชาชั้นสูง ต่อๆ ไป ก็จะช่วยให้ธรรมเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปไม่รู้เสื่อมถอย
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ผู้ปรารถนาจะเป็นอสีติมหาสาวก หรือปรารถนาเป็นพุทธสาวก เบื้องซ้าย เบื้องขวา จะต้องบำเพ็ญบารมีอย่างไรบ้าง จะใช้เวลานานเท่าไร ?

    บารมี ๑๐ อย่างนะครับ คือ ทำความดี ๑๐ อย่างเป็นบุญเป็นกุศล แก่กล้ามากเข้าเป็นบารมี แก่กล้ามากเข้าเป็นอุปบารมี และก็เป็นปรมัตถบารมี ได้แก่ ทานบารมี ขันติบารมี ศีลบารมี สัจจบารมี เนกขัมมบารมี อธิษฐานบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี อุเบกขาบารมี
    ความเพียรก็ต้องเลิศ ขันติก็ต้องเลิศ ไม่ใช่นิดหน่อย ๆ ก็พาลจะทนไม่ได้นะครับ
    ต้องใช้เวลานานเท่าไร เทียบเอา พระพุทธเจ้าพระสมณโคดมของเรา ๔ อสงไขย แสนมหากัป พระพุทธเจ้าบางองค์ ๘ อสงไขยแสนมหากัป บางองค์ ๑๖ อสงไขยแสนมหากัป ขึ้นอยู่กับประเภทที่พระพุทธเจ้าจะบรรลุในระดับไหน ในระดับวิริยาธิกะก็ ๑๖ อสงไขย สัทธาธิกะก็ ๘ อสงไขย ปัญญาธิกะก็ ๔ อสงไขยแสนมหากัป นั่นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ถ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าก็หย่อนลงมาหน่อย พระอรหันต์ประเภทอสีติมหาสาวก ก็หย่อนลงมาตามลำดับน้อยกว่า ๔ อสงไขยแสนกัป แต่ที่ปรากฏขึ้นไว้เป็น ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย กระผมเองยังเชื่อแน่ว่า ๓๒ อสงไขย ๖๔ อสงไขยแสนกัปก็ต้องมี นั่นคือนิพพานเป็น อันนี้เป็นคำสันนิษฐานนะครับ แต่อย่าไปคิดเลยว่าเป็นเวลานานเท่าไร เพราะมันเกิดมาชาติหนึ่ง ถ้าระลึกชาติไม่ได้ก็นึกว่าเพิ่งเกิด ที่แท้มันบำเพ็ญบารมีมาด้วยกันทุกท่าน บำเพ็ญมาไม่รู้จะกี่กัปมาแล้ว
    พระพุทธเจ้าท่านตรัสบอก ถ้าใครอ่านในธรรมบทคงจะจำได้ ครั้งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ ปรากฏว่าพราหมณ์คนหนึ่งนั่งฟังไปเอามือเขี่ยดินไป คนหนึ่งแหงนดูท้องฟ้า คนหนึ่งนั่งเขย่าขา เขย่าต้นไม้ กิ้งๆ ๆ เขย่าอยู่นั่นแหละ พระอานนท์ทนไม่ได้ ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระธรรมของพระองค์นี้วิเศษสุดแล้ว ทำไมพราหมณ์ ๕ คน ถึงเป็นอย่างนี้ บางคนนั่งหลับสัปหงก บางคนนั่งขีดพื้น บางคนนั่งมองท้องฟ้า บางคนนั่งฟังด้วยความตั้งใจ จึงทรงแสดงธรรมว่า พวกนี้เกิดเป็นอะไรมาก่อน พวกชอบเขย่าแข้งขามือ ต้นไม้ พวกนี้พวกลิงมาเกิด คนนั่งตรงไหนหลับตรงนั้น สัปหงกโงกๆ นั่นพวกงู พวกนั่งตรงไหนขีดดินเขียนดินนั่นไส้เดือน บางคนนั่งมองดาว นี่พวกชอบดูดาวฤกษ์ พวกหมอดู ประเภทนั่งฟังตาแป๋ว ตั้งใจฟัง อันนี้ท่านว่าได้ผ่านการสดับฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้ามาแล้วนับแสนๆ ชาติ คิดดูสิครับว่ามันนานแค่ไหน ส่วนพวกที่ไม่ได้ผ่านการฟังพระธรรมเทศนาเป็นแสนๆ ชาติ ถึงได้เป็นอย่างนั้น เห็นมั๊ยล่ะครับ กว่าจะเปลี่ยนมิจฉาทิฏฐิมาเป็นสัมมาทิฏฐิได้นี่ต้องผ่านมาเยอะ เพราะฉะนั้นชาตินี้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วตั้งใจขุดให้เต็มที่ อย่าประมาทนะครับ มันเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว เอาเลยเต็มที่ อย่าลังเลสงสัย ไม่อย่างนั้นพลาดพลั้งไปก็ไม่รู้อีกกี่แสนชาติยิ่งไปเจอที่ว่างจากพระพุทธศาสนา เสร็จเลยครับ
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เมื่อผมนั่งสมาธิปล่อยกายสบายดีแล้ว เอาจิตนึกถึงลูกแก้ว แล้วไปจรดไว้ที่ฐานที่ ๗ นึกจะภาวนา แต่จิตไม่ยอมภาวนา พอฝืนภาวนาไปจะมีอาการตึงเครียด มึนศีรษะและอึดอัด เป็นเพราะอะไร ? จะแก้ไขอย่างไร ?




    โดยปกติ ถ้าจิตรวมดิ่งหยุดนิ่งไปแล้วนั้น องค์บริกรรมภาวนา (คำว่าสัมมาอรหัง) ก็จะหายไปด้วย กล่าวคือ เมื่อลมหายใจ (กายสังขาร) ระงับ จิตจะยิ่งละเอียดและหยุดนิ่ง ความนึกคิด (วจีสังขาร) ก็จะระงับด้วย นี่แหละ ที่ใจกำลังรวมหยุดเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ถึงขั้นฌาน
    วจีสังขารระงับด้วยนั้นคืออย่างไร ? คือเมื่อจิตละเอียดและรวมลงแล้ว องค์บริกรรมภาวนาจะเลือนไปเอง แต่ถ้าเราฝืนบริกรรมภาวนาเข้า ก็ผิดหลักปฏิบัติ เพราะจิตละเอียดและรวมลงแล้ว บางคนลืมองค์ภาวนา ก็ไม่ต้องภาวนา ไม่เป็นไร ขอแต่อย่าให้เคลื่อนศูนย์ ให้หยุดในหยุด กลางของหยุดๆๆ ปล่อยให้ใจดิ่งหยุดนิ่งๆ แล้วก็อย่าบังคับหรือเพ่งแรง เมื่อจิตยิ่งดิ่งละเอียดลงไปแล้ว ขอให้หยุดนิ่งๆ เบาๆ ประเดี๋ยวจิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ตรงระดับสะดือ แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาใสสว่างตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือเอง
    ธรรมชาติของใจ เมื่อใจจะรวมหยุด
    1. ประการแรก ลมหายใจจะหยุดด้วย แต่เราแทบไม่รู้สึกตัว คือลมหายใจของผู้ที่เป็นสมาธิจะละเอียดเหมือนกับจะไม่ได้หายใจ ถ้าลมหายใจยังหยาบอยู่ ยังไม่เป็นสมาธิที่แนบแน่น ใจที่จะเป็นสมาธิแนบแน่น ลมหายใจจะละเอียดและสั้นเข้าๆ แล้วรวมลงหยุดนิ่งสนิท แต่ไม่รู้สึกอึดอัด ใจจะเบาและสบายเป็นปกติ อาการที่ลมหายใจหยุดนั้น เรียกว่า “กายสังขาร” ระงับแล้ว
    2. ส่วน “วจีสังขาร” กล่าวคือองค์บริกรรมภาวนา (คำว่าสัมมาอรหัง) ก็จะค่อยๆ ระงับตามไป จะรู้สึกลืมๆ เลือนหายไปไม่เป็นไร ขอแต่อย่าให้เคลื่อนศูนย์ ให้เห็นศูนย์ไว้เรื่อย หยุดในหยุดกลางของหยุดๆๆ ปล่อยใจให้ดิ่ง หยุดนิ่งลงไป ประเดี๋ยวก็ใสสว่างขึ้นมาเอง
    ท่านผู้นี้ได้ถามต่อไปว่า “เมื่อผมภาวนาไม่ได้ ผมก็เปลี่ยนละครับ ไม่ภาวนา เอาจิตไปจรดไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้วกำหนดลมในท้องกระเพื่อมไปกระเพื่อมมา” นี่คงเคยติดการภาวนายุบหนอพองหนอมา ไม่เป็นไร แต่ว่าต่อไปไม่ต้องไปมองเห็นความกระเพื่อม ไม่ต้องสนใจความกระเพื่อม จิตจะได้หยุดดิ่งนิ่งสนิทลงไปจริงๆ
    ถ้าบังคับจิตให้เข้าๆ ออกๆ จากสมาธิ พอจิตจะหยุดนิ่งเข้า ก็ไปฝืนให้จิตทำงานคือบริกรรมภาวนาใหม่อีก อย่างนั้นย่อมจะทำให้จิตเครียด เพราะถูกบังคับจึงเกร็ง อย่างนั้นผิดวิธี จงปล่อยใจตามสบาย กายก็ปล่อยตามสบาย อย่าเกร็งเป็นอันขาด คือเราอย่าไปสนใจ เพราะฉะนั้นมันจะไม่เกร็ง การเกร็งนั้นเป็นอาการหนึ่งของใจที่ถูกเราบังคับเกินไป พอบังคับเกินไป จิตก็จะไม่ยอมรวมลง ไม่ยอมหยุด จงนึกถึงการกดลูกปิงปองให้จมลงน้ำ ถ้ากดแรง ลูกปิงปองจะหลุดมือ จิตที่ถูกบังคับหรือกดดันมาก จะถอนทันที จิตบังคับไม่ได้ ต้องค่อยๆ ประคองเบาๆ ปล่อยใจสบายๆ แต่อย่าให้สบายจนง่วงและหลับ อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ปล่อยใจตามสบาย คือทำใจให้โปร่งสบายนิ่งๆ อย่าเพ่งนิมิตแรง เพราะความอยากเห็นเกินไป อย่าบีบบังคับใจเกินไป เบาๆ ธรรมดา ไม่ต้องเกร็ง แล้วจิตจะค่อยๆ รวมดิ่งลงไปเอง
    เพราะฉะนั้น จงปรับนิดหน่อย นี่มีประสบการณ์ดีแล้ว ปรับปรุงอีกนิดหน่อยก็จะดีขึ้น ส่วนว่าที่เคยติดยุบหนอพองหนอมานั้น ก็ไม่ต้องสนใจ เพียงแต่จรดใจนิ่งที่ศูนย์กลางของกลางๆๆๆ พอใจหยุดนิ่ง ใสสว่าง ความรู้สึกกระเพื่อมจะหายไปเอง อย่าสนใจก็แล้วกัน
    สรุปว่า จรดใจนิ่งๆ เฉยๆ อย่าเกร็ง อย่าบังคับใจแรง องค์บริกรรมภาวนาจะค่อยๆ ลืมเลือนไป เพราะเราไม่สนใจ ใจไปหยุดดิ่งลงที่กลางของกลางนั้นถูกต้องแล้ว บริกรรมภาวนาคือการท่องในใจนี้ เมื่อกำหนดไปแล้วจะหยุดเอง จิตละเอียดเข้าๆๆ ต่อไปลมหายใจก็ไม่สนใจ แล้วละเอียดเข้าไปๆ ใจจะสงบและหยุดนิ่งนั้นถูกต้องแล้ว แต่อย่าบังคับใจเกินไป อย่าเกร็ง อย่าอยากเห็นเกินไป นิ่งๆ เฉยๆ เบาๆ แล้วใจจะหยุดสงบนิ่งกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หรือดวงปฐมมรรคใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ................เห็นนิมิตร ต่างๆ ???!!!..........................

    นั่งแล้วกำหนดเห็นแสงสีขาว แต่จะมีเหมือนรูปรอยเท้าอยู่ จะมีแสงกลมๆ ขนาดลูกมะพร้าวเป็นสีม่วง สีแดง สีเหลืองสลับกัน ลอยห่างออกไป กำหนดเห็นจุดขาวเล็กๆ แต่ถ้าเพ่งจะหายไป จะกำหนดอย่างไร ?




    กำลังจะได้ที่ อย่าอธิบายว่าอะไรเป็นอะไรเลย กระผมจะถวายคำแนะนำวิธีปฏิบัติเลย
    ถ้าใครเห็นแสงเฉยๆ อยู่ภายนอก หรือเห็นดวงเฉยๆ อยู่ภายนอกแล้วหายไป จะเป็นสีอะไร ปล่อยครับ หลวงพ่อจงปล่อยเลย อย่าสนใจ ให้เหลือบตากลับนิดๆ กำหนดเป็นจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางกายไว้
    ค่อยๆ นึกให้เห็นดวงใส ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น ใจเย็นๆ หยุดในหยุด กลางของหยุด แต่อย่าเพ่งแรง ถ้าเพ่งแรงแล้วหาย นึกถึงการกดลูกปิงปองให้จมลงในน้ำ ถ้ากดแรงเกินไปก็จะกลิ้งหลุดมือ ถ้ากดค่อยเกินไปก็ไม่จมลง ต้องกดเบาๆ ตรงศูนย์กลางพอดีๆ
    เหมือนเมื่อครั้งพระอานนท์เถรเจ้าปฏิบัติธรรมเกือบตาย เพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า ท่านจะได้บรรลุธรรมก่อนการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑ หนึ่งวัน พอถึงวันทำสังคายนาพระมหาเถระ ที่จะประชุมทำสังคายนาได้ให้จัดอาสนะเตรียมพร้อมไว้ให้ท่านอานนท์ ท่านปฏิบัติเต็มที่แต่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน สังขารของท่านเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการจัดงานถวายพระเพลิง สังขารไม่สบาย จิตใจจึงไม่สงบ ท่านจึงฉันยาระบาย สันนิษฐานว่าเป็นสมอดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฉันแล้วระบายท้อง ระบายท้องแล้วสบายตัว ดึกแล้ว เอนกายในท่าพอเหมาะพอสบาย ก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพานทันที ตื่นเช้าขึ้นมา ไปแสดงตนในที่ประชุมสงฆ์ทำสังคายนาด้วยวิธีปรากฏตัวขึ้นโดย ไม่ต้องเดินมาให้เห็น เพื่อแสดงความเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทา เพราะการทำปฐมสังคายนานั้น อาราธนาแต่เฉพาะพระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทา* ทั้งสิ้น เพราะว่าทรงจำข้อธรรมต่างๆ ได้ด้วย ระลึกเหตุการณ์และเห็นแจ้งในพระธรรมได้ด้วยพระญาณ
    คำตอบที่ว่า เมื่อเพ่งไปที่จุดเล็กแล้วหายไป คงจะเข้าใจดีว่า ต้องมีความพอดี อย่าเพ่งแรง อย่าอยากเห็นเกินไป นั่นเป็นอุปกิเลสของสมาธิ ระวังจิตใจอย่าให้ฟุ้งซ่านเผลอออกไป ก็จะจืดจางจากความเป็นสมาธิ ปล่อยใจให้ดิ่งลงที่กลางของกลางจุดเล็กใส ณ ศูนย์กลางกายเลย ปักดิ่งไม่ถอน ให้ปักดิ่งแต่ต้องเบาๆ สบายๆ ไม่เคร่งครัดเกินไป ดังที่หลวงพ่อท่านว่า “ต้องให้ถูกศูนย์ ถูกส่วน” แล้วจะได้ที่ เพราะฉะนั้นเรื่องอื่นไม่อธิบายละเอียด นึกกำหนดศูนย์กลาง ทุกอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน เดี๋ยวติด เห็นใสสว่างเลย อย่างนี้ไม่ช้า

    <HR color=#008000 SIZE=1 noShade>* พระอรหันต์ประดับด้วยอภิญญา ด้วยปฏิสัมภิทานั้นก็คือ ๑) อรรถปฏิสัมภิทา คือมีญาณหยั่งรู้ในเหตุ ไปถึงต้นๆ เหตุ ๒) ธรรมปฏิสัมภิทา รู้ผล ๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา รู้ภาษาหลายภาษา แม้กระทั่งภาษาสัตว์ และ ๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา รู้การโต้ตอบปัญหาที่ถูกต้อง ตรงประเด็น ตรงไหนควรย่อควรไหนควรขยาย พระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทา มีอภิญญาด้วย มีญาณหยั่งรู้ เมื่อมี ๔ อย่างนี้ คุณธรรมมีเพียบเลย ไม่ใช่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ หรือสุกขวิปัสสโก ยกตัวอย่าง ท่านพระจักขุปาล เทวดาเดินมา ท่านก็ยังไม่ทราบว่าเป็นเทวดา ต่อเมื่อท่านกำหนดจิตดู สังเกตได้ว่า นี่ไม่ใช่เป็นคนธรรมดา แต่เป็นพระอินทร์ เป็นท้าวสักกเทวราช แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์จตุปฏิสัมภิทา เทวดาแปลงโผล่มาก็รู้ ก็เห็นได้เลย หรือไม่มาก็รู้ได้เลย​
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    กระผมได้ภาวนาวิชชาธรรมกายมาตั้งแต่บวชเมื่อปลายปี ๒๕๒๙ นั่งภาวนาเพียงอาทิตย์เศษ ก็เห็นองค์ธรรมกาย แต่ยังไม่เห็นดวงปฐมมรรค พอได้ธรรมกายเพียง ๒-๓ วัน ก็มองอะไรไม่เห็นอีกเลย เวลานั่งภาวนาก็เข้ากลางไม่ได้ จับได้แต่กว้างๆ และนิมิตก็ต้องเป็นองค์พระ ถ้าเห็นเป็นดวงแล้วจะเข้าไม่ได้เลย แต่ระยะหลังนี้ เข้ากลางได้ ประคองนิมิตได้ แต่พอเข้ากลางก็จะเกิดแสงสว่างวูบขึ้นอย่างแรง จิตจะเคลื่อนที่ แล้วจะทำใหม่ไม่ได้ ขอได้โปรดแนะนำด้วยครับ ?

    เรื่องเห็นดวงปฐมมรรคหรือไม่นี้ ไม่เป็นประมาณนะ เพราะว่า ในที่สุดละเอียดของดวงธรรมก็เป็นองค์พระ ในกลางองค์พระก็มีดวงธรรม หรือ ณ ศูนย์กลางของกายในกายต่างๆ ก็มีดวงธรรม เหมือนกัน
    สุดละเอียดของดวงธรรมนั้นอันประกอบด้วยคุณความดีในธาตุในธรรม เป็นดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ สุดละเอียดไปก็เป็นกายในกายที่ละเอียดยิ่งไปกว่ากายเดิม แปลว่า ในกายก็มีดวง ในดวงก็มีกาย นี่เป็นธรรมดา
    เมื่อเห็นธรรมกายแล้ว โปรดจำไว้ว่า เห็นแล้วต้องเข้าถึง ทุกอย่างต้องเข้าถึง วิธีเข้าถึงนั้น ไม่ว่าจะเห็นดวงธรรมหรือเห็นกายละเอียดกายใดก็ตาม มีอุบายวิธีคือ เหลือบตากลับนิดๆ เพื่อมิให้สายตาเนื้อไปแย่งหน้าที่ตาใน
    ขณะเดียวกันนั้น ก็มีธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่ง คือ ใจของคนเรานี้ชอบที่จะฟุ้งซ่านออกข้างนอกตัว ถ้าจะให้เข้าใน เห็น จำ คิด รู้ จะเข้าในได้ แต่พอใจจะเข้าในเมื่อไร ตาจะเหลือบกลับเองเมื่อนั้น นี้เป็นธรรมชาติ แต่เราไม่ได้สังเกตตัวเอง
    ถ้าใครเคยสังเกตเด็กทารกเวลานอนหลับ ก็จะพบว่า ตาของเด็กนั้นจะเหลือบกลับตลอดเวลา และนี่ก็เป็นธรรมชาติที่แปลก ซึ่งหลวงพ่อใหญ่ คือ หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านพบและเข้าใจเลยว่า เวลาที่สัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น เมื่อจิตหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่จะเกิดขึ้นมาใหม่ตรงนั้น อาการของสัตว์โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์เรา ตาจะเหลือบกลับ
    เพราะฉะนั้นอุบายนี้เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเราเหลือบตากลับนิดๆ ใจจะหยุดข้างในได้โดยง่าย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกให้ชำนาญ ผู้ที่ทำวิชชาชั้นสูงนั้น ตาเขาเหลือบกลับตลอดเวลา แต่ต้องไม่ลืมตา คือตาจะพรึมๆ อยู่นั่นแหละ ใจจะเข้าในและตกศูนย์อย่างละเอียดด้วย เพราะฉะนั้นวิธีทำให้ใจสามารถเข้าไปเห็นดวงในดวงกายในกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระหรือธรรมกายได้สนิทดีนั้น ให้เหลือบตากลับนิดๆ แล้วนึกเข้าไปเห็นศูนย์กลางองค์พระ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่มองดูเฉยๆ ถ้ามองดูเฉยๆ มองไปอย่างไร ก็ไม่ก้าวหน้า ต้องนึกเข้าไปเห็นและเข้าไปเป็น ถ้าเพียงดวงก็นึกเข้าไปเห็น ณ ภายในดวง ทิ้งความรู้สึกภายนอกของเรา เข้าไปเห็นภายใน เหมือนกับมีกายอีกกายหนึ่งของเราเข้าไปเห็นข้างใน ทำอย่างนี้จะก้าวหน้าได้ ถ้าเห็นกายแล้ว ก็ให้ดับหยาบไปหาละเอียด คือ สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นกายละเอียดนั้นเลย ทิ้งความรู้สึกอันเนื่องอยู่กับกายเนื้อของเรา กายละเอียดปรากฏขึ้นมาเมื่อไร ก็ดับหยาบไปหาละเอียดเข้าไปเป็นกายละเอียดนั้นแล้วใจมันจะตกศูนย์เอง เพราะว่าใจของกายละเอียดนั้นจะทำหน้าที่เอง โดยวิธีดังนี้ ใจของกายละเอียดจะทำหน้าที่เจริญภาวนาต่อ หยุดนิ่งเข้าไปจนถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นเจตสิกธรรมที่สุดละเอียดของใจของกายนั้น แล้วก็จะถึงธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ของ อีกกายหนึ่งที่ละเอียดๆ ต่อไป เหมือนกับการถ่ายทอดถึงซึ่งกันและกันเข้าไปจนสุดละเอียด
    ที่กล่าวมานี้นั้นก็เป็นอุบายวิธีในการเจริญจิตภาวนาให้ได้ผลดี ซึ่งพอจะสรุปหลักย่อๆ ได้ ๔ ประการ คือ
    1. เห็นดวงให้เดินดวง คือ นึกเข้าไปเห็นจุดเล็กใสที่ศูนย์กลางดวง ให้ใจหยุดใน หยุด กลางของหยุด กลางของกลางดวงให้เห็นใสละเอียดไปจนสุดละเอียด
    2. เห็นกายให้เดินกาย คือ ดับหยาบไปหาละเอียด คือ นึกเข้าไปเห็นจุดเล็กใสที่ ศูนย์กลางกายละเอียดที่ปรากฏขึ้นใหม่ ให้ใจของกายละเอียดนั้นเจริญภาวนา หยุดในหยุด กลางของหยุด ให้เห็นใสละเอียดทั้งดวง ทั้งกาย ทั้งองค์ฌาน
    3. เหลือบตากลับนิดๆ (ไม่ต้องลืมตา) ขณะเจริญภาวนา จะป้องกันมิให้สายตาเนื้อไปแย่งงานจิตตภาวนาของตาใน (คือใจ) และจะช่วยให้ใจหยุดนิ่ง กลางของหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ดี
    4. เข้ากลางทำให้ขาว คือ นึกเข้าไปหยุดในหยุดกลางของหยุด ณ ศูนย์กลางดวงหรือธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของกายที่ใสละเอียดที่สุด ไว้เสมอ
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    Phra Baitika Walter Uttamapanyo
    Friday, May 18, 2001

    1. Introduce yourself:
    I am Phra Baitika Walter Uttamapanyo (lay name: Walter Troelsen). I had a life long career as composer/song writer/singer/pianist, performing all over the world. After discovering Buddhism I started considering the possibility of becoming a monk. I finished my career in 2539 and moved to Thailand in order to study Thai language at the AUA. In 2541 I received the government P6 diploma. I then went on a pilgrimage to the holy Buddhist places in India, and after returning to Thailand I ordained as a monk at Wat Luang Phor Sodh on May 30, 2541.

    2. How did you come to know about this temple?
    As a layman I often went to Buddhist temples, wherever in the world I was performing. One day I met with a monk from Wat Saket. He was staying at the Thai temple in Sweden. I told him about my plans of becoming a monk. He recommended me to contact Luang Pa, the abbot at Wat Luang Phor Sodh, because Luang Pa speaks English very well. I wrote a letter to Luang Pa, who then invited me to come to Thailand to ordain.

    3. How long have you been practicing meditation?
    I have practiced Vijja Dhammakaya for about 9 years.

    4. What is the good way for you to learn how to meditate?
    The best way is by coming to Wat Luang Phor Sodh and being taught straight from Luang Pa. He is teaching all levels to everyone. Luang Pa’s book “The heart of Dhammakaya meditation” is also a good guideline. It explains all levels and is very detailed. Meditating on you own is very good, too, as long as you also have personal contact with the teacher at a regular basis.

    5. What is your recommendation for others who wish to learn more about meditation?
    Come to the retreats in May and December, and come to the wat on Sundays. Luang Pa is always teaching on Sundays at 9:30 at the new dining/meditation hall. If there are foreigners present, he will also teach in English. If you live far away, you can always study the meditation section on our website, and ask questions by email. Our information center at the wat also sells books and tapes with meditation instructions.

    6. “Meditation is one of the best ways to make your mind concentrate on everything.” - From your experiences, please give some samples that prove that statement.
    I have noticed that I have much higher concentration when studying. Before taking the final Nak Tham 2 exam last year I would sit and meditate while waiting for the exam to begin. By the time they distributed the questions my mind was already calm and peaceful, and I found it easier to remember the answers to the questions.

    7. “Meditation is a very good way for earning merit.” Do you agree?
    Definitely. Unfortunately a lot of people in Thailand think that making merit has something to do with making donations at the wat. It is quick and easy. However, there is nothing more meritorious than making an effort to purify one’s mind through meditation. A person who keeps at least 5 precepts, will already have pure body and speech, which is needed in order to go on to the next step, concentration of mind. When the mind is one-pointed he/she will be able to reach higher and higher absorption level, and soon Wisdom will start to develop. Wisdom will make a person capable of understanding the way things are, cutting all fetters, reaching Nirvana….. and what can be meritorious than that?

    8. Any ideas for foreigners to come to learn in Thailand?
    If they can speak Thai, the possibilities are countless. All temples in Thailand will receive people interested in Buddhism and meditation. If they don’t speak Thai, they can always contact us by email at
    right@concentration.org and schedule a visit. This is important, because the English-speaking monks at the wat are not always in residence.



    <CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD bgColor=#000000 vAlign=top rowSpan=2><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224444><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#000000 colSpan=2 align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#224444><TBODY><TR><TD width=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เมื่อปฏิบัติธรรมเวลาเห็นดวงแล้ว จากดวงจะเห็นเป็นกายพระขึ้นมาเลย ไม่ได้เห็น ๑๘ กาย ตามขั้นตอนถูกหรือผิด และจะต้องทำอย่างไร ?

    การเห็นจากดวงเป็นองค์พระ ไม่ผิดเรื่องนี้ เป็นเพราะเหตุว่า จิตละเอียดเข้าไปมากจนข้ามขั้นตอนกายที่หยาบกว่าเข้าสู่กายละเอียดๆ ยังทำนิโรธ คือ ดับหยาบไปหาละเอียด ได้ไม่เต็มที่ การเห็นก็อาจไม่ครบถ้วน
    ข้ามขั้นไปถึงธาตุธรรมที่ละเอียดเลย ส่วนธาตุธรรมส่วนหยาบ ได้แก่ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไม่เห็น แต่จริงๆ มีซ้อนอยู่ข้างใน ในทางปฏิบัตินั้นเมื่อเข้าถึง ๑๘ กาย ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการเจริญวิชชาแล้ว เมื่อพิสดารไปสู่สุดละเอียด กายเหล่านี้จะละเอียดขึ้นเป็นกายธรรมทั้งหมด วิธีการให้เห็นครบ ๑๘ กาย ก็โดยการถอนจิตมาให้หยาบลง ที่สำคัญคือต้องดับหยาบไปหาละเอียด ซึ่งเมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ ขอให้ไปต่อวิชชากับหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ หรือที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เวลาที่เขามีการอบรมพระกัมมัฏฐานระหว่างวันที่ ๑-๑๔ พฤษภาคม และวันที่ ๑-๑๔ ธันวาคม ของทุกปี
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ผู้ถึงธรรมกายสามารถแก้โรคต่างๆ ได้จริงหรือ ?

    ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ ๕ เริ่มตั้งแต่ ธาตุละเอียดดวงแรก คือรูปขันธ์ เท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร ขยายส่วนหยาบออกมาเป็นดวงกาย เป็นที่ตั้งของธรรมที่เรียกว่า ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
    และดวงกายนี้แหละมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม อากาศ ผู้ถึงธรรมกายย่อมเห็นได้ธาตุละเอียด นี้เองที่เจริญเติบโตออกมาเป็นกายเนื้อ
    ทีนี้ การที่สัตว์โลกทำความดีหรือทำความชั่ว เช่น ทำ ปาณาติบาตมากๆ ผลเป็นอย่างไร ? เกิดขึ้นที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมย่อมสัมปยุตหรือเกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกธรรมคือตัวกิเลสนั่นเอง ธาตุอันตั้งอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เป็น ที่ตั้งของธรรม
    ธรรม คือกุสลาธัมมา (ธรรมฝ่ายบุญกุศล) อกุสลาธัมมา (ธรรมฝ่ายบาปอกุศล) และ อพยากตาธัมมา (ธรรมฝ่ายกลางๆ)
    ยามเมื่ออกุศลจิตเกิด อกุสลาธัมมา ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน เกิดแล้วไปไหน ? ทรงอยู่ ตั้งอยู่ที่กลางธาตุ เอิบ อาบ ซึมซาบ ปน เป็นอยู่ในธาตุทั้ง ๖ นั้น ย่อมทำให้ทั้งใจคือ เห็น จำ คิด รู้ ที่ขยายส่วนหยาบออกจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้ขุ่นมัว ด้วยอำนาจของกิเลสนั้น นี้ประการหนึ่ง และย่อมเป็นวิบากซ่อนอยู่ ฝังอยู่ ปนเป็นอยู่ ในธาตุทั้ง ๖ นั้นด้วย อีกประการหนึ่งและเมื่อซ้อนอยู่แล้ว เป็นอย่างไรต่อไป ? ถึงเวลาก็ให้ผลที่ธาตุนั่นแหละ วิบากขันธ์เกิดขึ้นที่ธาตุละเอียดอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ มันเกิดขึ้นที่ธาตุละเอียดนั้น เกิดขึ้นแล้วให้ผลอย่างไร ? ธาตุละเอียดของมหาภูตรูป ๔ นี่ขยายส่วนหยาบเจริญเติบโตมาเป็นกาย เพราะฉะนั้นเหตุปัจจัยที่กำลังให้ผลมาจากธาตุละเอียด มีอย่างไร ก็ปรากฏขึ้นมาทางกายตามเหตุตามปัจจัย มีบาปอกุศลอันเนื่องแต่กิเลสต่างๆ ให้ผลเป็นการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือความวิบัติต่างๆ เป็นต้น ตามกรรมนั้นๆ เช่นนั้นจะเห็นว่า เป็นมาแต่ธาตุละเอียด ส่งผลมาถึงธาตุส่วนหยาบคือกายเนื้อ เมื่อธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม อากาศนั่นแหละ วิปริตแปรปรวน ก็ทำให้เกิดเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเกิดวิบัติต่างๆ เป็นต้น ตามกรรมอันเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้นๆ
    เพราะฉะนั้น ในทางกลับกัน ถ้าท่านทำใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์กุศลจิตย่อมเกิดพร้อมด้วยเจตสิกธรรมฝ่ายบุญกุศล บุญกุศลเป็นอะไร ? เป็นธรรมชาติเครื่องชำระใจ คือ เห็น จำ คิด รู้ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ ก็ทำให้ธรรมฝ่ายบุญกุศลนั้นตั้งอยู่ ปนเป็นอยู่ ใน เห็น จำ คิด รู้ และในธาตุละเอียด ให้เป็นธาตุที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นธาตุส่วนละเอียด ซึ่งเคยมีอกุศลธรรมปนเป็นอยู่ ก็กลับเป็นธาตุที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ด้วยกุศลธรรมนั่นสะอาดบริสุทธิ์ จะให้ผลเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ? ข้อนี้ท่านคิดดู นี้แหละ “มีสติเห็นธรรมในธรรม” จะมีผลเป็น ทุกข์หรือเป็นสุข ?
    เพราะฉะนั้นถ้าหากท่านอบรมใจให้หยุดในหยุด กลางของหยุด ในกลางของกลางธาตุละเอียด ให้ใสบริสุทธิ์อยู่เสมอและยิ่งๆ ขึ้นไป จากกายมนุษย์ มนุษย์ละเอียด, ทิพย์ ทิพย์ละเอียด, พรหม พรหมละเอียด ฯลฯ จนสุดละเอียดถึงกายธรรมละเอียดไปเพียงไรธาตุ และธรรมของท่านก็ยิ่งบริสุทธิ์เพียงนั้น เมื่อยิ่งบริสุทธิ์ อะไรให้ผลก่อน ? ก็ “บุญ” นั่นแหละย่อมให้ผลก่อน ยิ่งบุญมากเท่าไรบุญก็ย่อมให้ผลก่อนเท่านั้น บาปอกุศลไม่ทันได้ให้ผล เพราะฉะนั้น เมื่อธาตุธรรมสะอาดไปเพียงไหน ความเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้ามันมี ถ้าไม่ถึงขั้นอเตกิจฉา และไม่ถึงขั้นเป็นโรคเวรโรคกรรมหนักจริงๆ แล้วละก็ จึงมีผลจากหนักเป็นเบา จากเบาก็หายไปเลยได้
    นี่แหละที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านได้แก้โรคด้วยวิชชาธรรมกาย ซึ่งทางการได้เคยส่ง สายสืบไปคอยจับผิดหลวงพ่อฯ ท่านก็ไม่ได้ให้ทำอะไร ท่านให้นั่งสมาธิเจริญภาวนาเฉยๆ อย่างนี้ แล้วมันก็หายไปเอง หนักเป็นเบา เบาก็หายไปเลย และท่านก็ไม่ได้บอกว่าท่านทำอะไร ท่านบอก ให้คนไข้รับศีลและเจริญภาวนาธรรมด้วยนะ เครื่องรับเครื่องส่งมันจะได้ตรงกัน วิชชาธรรมกายที่เล่านี้ เป็นเพียงเหตุผลเบื้องต้นเท่านั้น แต่ในตัววิชชามีละเอียดลึกซึ้งยิ่งกว่านี้ ซึ่งนำมาพูดโดยทั่วไปอย่างนี้ไม่ได้ นอกจากผู้ที่ปฏิบัติเข้าถึงแล้วจะได้รู้เห็นและเข้าใจ มีอีกมากมายนักอยู่เบื้องหลังวิชชาแก้โรค เพราะฉะนั้น อันนี้สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) หรือสมเด็จป๋า ได้พูดรับรองเรื่องนี้ไว้อย่างเต็มที่ว่า ธรรมกายแก้โรคได้ ถ้าไม่ใช่ถึงอเตกิจฉา หรือไม่ใช่โรคเวรโรคกรรมหนักจริงๆ แล้ว จากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นหายไปเลย แต่ท่านที่เคยมีประสบการณ์ก็คงจะรู้
    เพราะฉะนั้นคำถามของพระคุณเจ้าว่า ผู้เข้าถึงธรรมกายสามารถแก้โรคต่างๆ ได้จริงหรือ ? ก็ขอเรียนว่าได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็เหมือนหมอละครับ หมอก็แก้ได้บ้างไม่ได้บ้าง ลงท้ายก็ตายทุกคน หมอก็ตาย คนแก้ก็ตาย คนไข้ก็ตายนั่นแหละ เพราะฉะนั้นถ้าจะสงสัยว่า ถ้าอย่างนั้นก็แก้โรคแทนหมอเลยซิ จะมีหมอทำไม ? เราบอกได้ว่าเอาแค่หมอเถิดครับ แค่หมอนี้ เราก็ว่าวิเศษแล้วนะ แต่จริงๆ แล้วหมอนั่นแหละตาย ตายเหมือนกัน เป็นทุกอย่างเหมือนกัน เพราะมันยังไม่มีอะไรชนะโรคได้โดยเด็ดขาด เพราะนี่มันเป็นสังขารมารนะครับ แต่ว่าในทางปฏิบัติ กระผมไม่ได้พูดเองนะครับ สมเด็จพระสังฆราชป๋า ท่านว่าแก้ได้ แต่ก็ได้อย่างที่พูด คือ มีเงื่อนไข และเงื่อนไขอย่างว่านี้ก็เหมือนหมอ แก้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บางอย่างแก้ก็ตาย ไม่แก้ก็ตาย บางอย่างแก้ก็ดีขึ้นมาหน่อย บางอย่างแก้ก็หายไม่แก้ก็หาย ผู้ที่เขามีประสบการณ์ก็มีอยู่ เพราะฉะนั้นทุกท่านจึงพึงช่วยตนเองโดยการปฏิบัติธรรมมีทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล ให้เป็นประจำ แล้วก็จะดีสำหรับตัวท่านเอง

     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...