ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    [​IMG]


    หลวงปู่สด จนฺทสโร
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010101.wma[/MUSIC]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    ในการปฏิบัติธรรม การนึกนิมิตกับการเห็นจริง ต่างกันอย่างไร ?






    การปฏิบัติธรรม ณ ที่นี้หมายเฉพาะการปฏิบัติภาวนาธรรมนะ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ และมีหลักการปฏิบัติแตกต่างกัน แต่เป็นกระบวนการปฏิบัติทางจิตที่ต่อเนื่องกัน คือ
    ประการแรก คือ สมถภาวนา เป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งที่จะชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ หรือบางท่านเรียก นิวรณูปกิเลส นิวรณ์ ได้แก่ ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า แห่งจิต (ถีนมิทธะ) ๑ ความลังเลสงสัยว่าวิธีนี้ถูกหรือไม่ถูกทาง (วิจิกิจฉา) ๑ ความหงุดหงิดถึงโกรธพยาบาท (พยาปาทะ) ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต (อุทธัจจกุกกุจจะ) ๑ และ ความยินดีพอใจ ยึดมั่นหรือติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย (กามฉันทะ) ๑
    กิเลสนิวรณ์ดังกล่าวนี้ หากมีอยู่ในจิตใจของผู้ใดแล้ว ก็ย่อมทำให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว ทำให้ไม่อาจเห็นอรรถ (เนื้อความธรรม) เห็นธรรม (ธรรมชาติตามสภาวะที่เป็นจริง) ได้ ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องกำจัดกิเลสนิวรณ์นี้อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถพิจารณาเห็นสภาวธรรมทั้งปวง ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และสูงขึ้นไปถึงอริยสัจ ตามที่เป็นจริงได้แจ้งชัด
    กิเลสนิวรณ์เหล่านี้จะกำจัดได้ก็ด้วยองค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร (ความตรึกตรองประคองนิมิต) สามารถกำจัดถีนมิทธะและวิจิกิจฉาได้ ปีติ และ สุข สามารถกำจัดพยาบาทและอุทธัจจะกุกกุจจะได้ และเอกัคคตารมณ์ (ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) สามารถกำจัดกามฉันทะได้
    วิธีอบรมจิตเพื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌาน เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์นั้น เป็นที่ทราบและเรียกกันโดยทั่วไปว่า “การทำสมาธิ” หรือ “การเจริญภาวนาสมาธิ” ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสมถกัมมัฏฐาน
    อุบายวิธีที่จะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌานนี้มีหลายวิธีด้วยกัน พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๔๐ วิธี รวมเรียกว่า สมถภูมิ ๔๐ วิธีปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายได้เลือกอุบาย ๓ ประการขึ้นมาประกอบกัน เพื่อให้เหมาะแก่จริตอัธยาศัยของผู้ปฏิบัติธรรมต่างๆ กัน และก่อให้เกิดผลดีแก่การปฏิบัติเป็นอย่างมาก อุบายวิธีทั้ง ๓ นั้นก็คือ พุทธานุสติ อานาปานสติ กับ อาโลกกสิณ กล่าวคือใช้อุบาย
    1. ให้กำหนด “บริกรรมนิมิต” คือนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใสด้วย “ใจ” ซึ่งเป็นส่วนผลเบื้องต้นของอาโลกกสิณ เพื่อเป็นอุบายรวมใจอันประกอบด้วยธรรมชาติ ๔ อย่าง คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้มาอยู่ในอารมณ์เดียวกัน โดยการนึก (วาดมโนภาพ) ให้เห็นดวงแก้วกลมใส จำดวงแก้วดวงใส คิดจดจ่ออยู่กับดวงแก้วกลมใส และรู้อยู่ ณ ภายในตรงศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสนั้น เพื่อให้ธรรมชาติ ๔ อย่างของใจนั้น รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันได้นิ่งสนิท
      การนึกนิมิต บางคนจึงอาจนึกเห็นได้บ้าง บางคนก็นึกเห็นไม่ได้บ้าง เป็นธรรมดา แต่เมื่อ “นึกเห็น” ได้ที่ไหน ก็แปลว่า “ใจ” อยู่ที่นั่น แม้จะนึกเห็นได้แต่ก็ไม่ค่อยชัดนัก นี่เป็นเครื่องการนึกให้เห็นนิมิต เป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจให้มาหยุดเป็นจุดเดียวกัน เพราะใจนั้นเป็นสภาพที่เบากวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านง่าย แต่รักษาให้หยุดนิ่งได้ยาก แต่ก็จะต้องอบรมให้หยุดให้นิ่ง มิฉะนั้นเมื่อมีกิเลสนิวรณ์อยู่ในจิตใจแม้แต่อย่างหนึ่ง ย่อมไม่อาจเห็นอรรถเห็นธรรมได้แจ่มแจ้ง
    2. ให้กำหนด “บริกรรมภาวนา” คือให้ท่องในใจว่า “สัมมา อรหังๆๆๆ” ต่อไป เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งได้ง่ายเข้า เพื่อให้ใจมีงานทำ ณ ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส ที่ให้ใจนึกเห็นนั้นแหละ คำบริกรรมภาวนานี้จัดเป็น “พุทธานุสติ” กล่าวคือให้รำลึกถึงพระพุทธคุณอยู่ทุกขณะจิตว่า “เป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ และเป็นผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์” (สัมมา = โดยชอบ, อรหัง = ผู้ตรัสรู้ ผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์)
    3. กำหนดฐานที่ตั้งของใจ กล่าวคือกำหนดจุดที่ให้เอาใจไปจดที่ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นจุดที่พักใจอันถาวร คือเวลาสัตว์จะไปเกิดมาเกิด หรือเวลาจะหลับ จะดับ จะตื่น จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นมาที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ ณ ที่ตรงนี้ และ ณ จุดนี้ยังเป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอีกด้วย กล่าวคือเมื่อจิตละเอียดหนักเข้าเพราะใจค่อยๆ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันนั้น ลมจะหยุด ณ ที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือประมาณ ๒ นิ้วมือนี้เอง ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะว่าจุดนี้เป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก จึงมีลักษณะของ “อานาปานสติ” เพราะเป็นธรรมชาติของใจ เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน และลมหายใจละเอียดเข้าๆ แล้วลมจะหยุด ณ ที่ตรงนี้
    ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมพึงเข้าใจว่า เมื่อกำหนดบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กันไว้เรื่อยนั้น ใจอันประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ จะมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กล่าวคือแรกๆ จะเห็นนิมิตเกิดขึ้นชั่วขณะ แล้วก็หายไป เรียกว่าเห็นๆ หายๆ เรียกว่า “อุคคหนิมิต” อันมีผลให้ใจเป็นสมาธิบ้างเป็น ครั้งคราว จัดเป็น “ขณิกสมาธิ” ต่อเมื่อเห็นนิมิตใสแจ่ม ติดตาติดใจ แนบแน่น จนนึกจะขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงก็ได้ นี้เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต” อันนี้มีผลทำให้ใจหยุดนิ่งแนบแน่น จัดเป็นสมาธิขั้น “อัปปนาสมาธิ” อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ซึ่งประกอบด้วยอารมณ์แห่งฌาน ทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต (เห็นใสแจ่มอยู่ได้) และเกิดปีติ สุข และเอกัคคตารมณ์ เป็นธรรมชาติเครื่องเผากิเลสนิวรณ์ทั้ง ๕ ให้สิ้นไป
    การเห็นนิมิตเป็นดวงกลมใสแจ่มในช่วงนี้ ก็เป็นการเห็นผลของการอบรมจิตใจให้หยุดให้นิ่งเป็นสมาธิได้แนบแน่นดี ไม่ใช่เห็นด้วยการนึกเอา จัดเป็นการเห็นของจริง คือ “ปฏิภาคนิมิต” ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่ใจหยุดนิ่งสนิท โดยอาศัยองค์บริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนา เป็นอุบายวิธีให้ใจมีที่ยึดเกาะ แล้วค่อยๆ รวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ ทั้งนี้เมื่อกำหนดฐานที่ตั้งของใจให้หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายที่ ๗ นั้น ถูกตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อีกโสดหนึ่งด้วย กำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด และโดยอาการของใจที่มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ตรงนี้ ธาตุละเอียดของวิญญาณธาตุทั้ง ๖ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ก็จะมาประชุมอยู่ ณ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เองด้วย มีผลให้เกิดทิพจักขุ ทิพโสต ให้สามารถเห็นกาย เวทนา จิต และธรรมของกายในกาย ณ ภายใน จากสุดหยาบคือของมนุษย์ ละเอียดไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะ คือ กายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมของตนเอง เมื่อยิ่งละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดนั้น จิตใจก็จะพลอยสะอาดบริสุทธิ์ไปด้วย สูงขึ้นไปถึงเห็น และเข้าถึงธรรมกายต่อๆ ไปตามลำดับจนสุดละเอียด
    การเห็นกายในกาย และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายในละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะนี้ ก็เป็นการเห็นของจริงที่เป็นสังขารธรรม คือสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และมีสภาวะหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ถ้าจะพูดการเห็นของจริงในขั้นนี้ให้ถูกต้อง ควรจะเรียกว่า “เห็นจริงโดยสมมุติ” เพราะเป็นการเห็นสังขารธรรมตามที่เป็นจริง เหมือนกับการเห็นมนุษย์ เช่นเห็นนาย ก. นาย ข. หรือสัตว์โลกกายหยาบทั้งหลาย เช่นเห็นช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น เพราะฉะนั้นการเห็นกาย เวทนา จิต และธรรม (ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ ขั้นโลกิยะ) ทั้งของมนุษย์ มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็น ณ ภายในตัวเราเอง หรือของผู้อื่นก็จัดเป็นการ “เห็นจริง” ตามภาษาคนธรรมดา แต่ถ้าจะพูดภาษาธรรม ก็เรียกว่าเห็นของจริงโดยสมมุติ ต่อเมื่อเข้าถึงธรรมกายที่ละเอียดไปสุดละเอียด นั้นเป็นการเห็นธาตุล้วนธรรมล้วนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง นับเป็นการ “เห็นของจริง” สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งในบรรดาของการชิมลองโลกุตตรธรรม แต่ยังไม่ได้ “เป็น” เพียงแค่ “เห็น” หรือเข้าถึงเป็นคราวๆ ที่ใจสะอาดบริสุทธิ์ และหยุดถูกศูนย์ถูกส่วน
    ประการที่ ๒ คือ วิปัสสนาภาวนา มุ่งที่การเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริงว่า ธรรมชาตินี้เป็นสังขารธรรม อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างไร ? (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร) และมีสภาวะตามธรรมชาติหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาอย่างไร ? ปัญญาเห็นแจ้งในขั้นนี้ชื่อว่า “วิปัสสนาปัญญา” แล้วจะพัฒนาสูงขึ้นไปเป็นการเห็นแจ้งในอริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ อันเป็นปัญญาขั้น “โลกุตตรปัญญา” ให้สามารถเห็นว่ามีธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานคือพระธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ว่าเป็นบรมสุขยิ่งตามที่เป็นจริงอย่างไร นี้จัดเป็นการเห็นธรรมชาติที่เป็นปรมัตถธรรม ถึงขั้นนี้จึงเป็นการ “เห็นจริงแท้” เป็นการเห็นปรมัตถธรรม คือธรรมชั้นสูงสุด หรือเห็นธรรมชาติที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์
    อันที่จริง การเห็นของหรือธรรมชาติจริงโดยปรมัตถ์นั้น เริ่มเห็นมาตั้งแต่เมื่อพระโลกุตตรมรรคญาณเกิด ให้หยั่งรู้การกำจัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย ๓ ประการคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ ก้าวล่วงเข้าสู่ภูมิของพระอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบันบุคคลขึ้นไปนั่นแล้ว แต่มาเห็นชัดแจ้งที่สุดเมื่อถึงพระนิพพาน เมื่อพระอรหัตตมรรคญาณเกิด เป็นการเห็นของจริงธรรมชาติจริงๆ ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายสังขตธาตุสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง แล้ววางอุปาทานได้หมด) กับฝ่ายอสังขตธาตุ อสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระนิพพานอย่างแท้แน่นอน
    กล่าวโดยสรุป
    1. การนึกนิมิตเป็นเพียงอุบายวิธีการอบรมจิตใจให้มารวมอยู่เสียที่บริกรรมนิมิต เพื่อให้ใจรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวกันตรงจุดเดียวกัน นี้นับเป็นการเห็นที่ยังไม่จริง
    2. ต่อเมื่อเกิดอุคคหนิมิตจึงนับเป็นการเห็นนิมิตจริง เพราะเป็นการเห็นขณะที่ใจหยุดนิ่ง ไม่ได้คิดเห็น แต่เป็นการเห็นนิมิตตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองโดยอุบายวิธีดังกล่าว และมีผลให้เกิดทิพจักขุ ทิพโสต ให้สามารถได้เห็นและได้ยินหรือสัมผัสสิ่งที่ละเอียดประณีตยิ่งกว่าสายตาเนื้อมนุษย์ หรือประสาทหูมนุษย์จะสัมผัสรู้ได้ นี้ก็เป็นการเห็นของจริง เช่นเดียวกันกับตาเนื้อเห็นกายมนุษย์ หรือประสาทหูได้ยินเสียงที่เราพอได้ยินกันได้ ทั้งหมดนี้ถ้าจะพูดกันในภาษาธรรมก็ชื่อว่า เป็นการเห็นจริงโดยสมมุติ คือเห็นสังขารทั้งหยาบและทั้งละเอียด
    3. การเห็นพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง สูงขึ้นไปถึงการเห็นอริยสัจและเห็นธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานตามที่เป็นจริง จึงนับเป็นการเห็นแท้จริงโดยปรมัตถ์
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    พระธรรมเทศนา ของหลวงปู่สด




    [๑๗]
    สมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง
    ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗


    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)

    กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตนฺติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชมฺปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชมฺปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ. สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพ ว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตีติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตาติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในเรื่องสมาธิ ซึ่งเป็นลำดับอนุสนธิมาจากศีล ศีลแสดงแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ และโดยปริยายเบื้องสูง ส่วนสมาธิเล่าก็จักแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำ โดยปริยายเบื้องสูงดุจเดียวกัน ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้น จะแปลความเป็นสยามภาษา พอเป็นเครื่องประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่าน ผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า เริ่มต้นแห่งพระธรรมเทศนาในเรื่องสมาธิ เป็นลำดับต่อไป
    มีคำปุจฉาวิสัชชนาว่า กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำนั้นเป็นไฉนเล่า
    อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำสละอารมณ์เสียแล้ว ลภติ สมาธึ ย่อมได้ซึ่งสมาธิ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ย่อมได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง เอวํ โข เหฏฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า
    อิธ ภิกฺขุ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่ ๑ เป็นไปด้วยกับวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
    วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบเสียซึ่งวิตกวิจาร ความตรึกตรองนั่นสงบเสียได้ อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส จิตผ่องใสในภายใน เอโกทิภาวํ ถึงซึ่งความเป็นเอกอุทัย เข้าถึงซึ่ง ทุติยฌาน ความเพ่งที่ ๒ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติสุขเกิดแต่วิเวก วิเวกชํ มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกดังนี้ อย่างนี้แหละเป็นฌานที่ ๒
    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ปราศจากความปีติ อุเปกฺขโก จ วิหรติ มีอุเบกขาอยู่ ๑, สโต จ สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ ๑, สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ เสวยความสุขด้วยนามกาย ๑, อริยา อาจิกฺขนฺติ อันพระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่าเข้าถึงซึ่ง ตติยฌาน ความเพ่งที่ ๓ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ เสวยสุขอยู่ มีสติอยู่เป็นอุเบกขา ชื่อว่าเข้าถึงซึ่งตติยฌาน เป็นความเพ่งที่ ๓ อย่างนี้แหละ
    สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้แล้ว ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา สงบสุขทุกข์อันมี ในก่อนเสีย สงบความดีใจเสียใจอันมีในก่อนเสียได้ อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ เข้าถึงซึ่ง จตุตถฌาน ความเพ่งที่ ๔ ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีสติเป็นอุเบกขาวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์เป็นอุเบกขาอยู่อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความ ของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้
    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในสมาธิสืบต่อไป เป็นข้อที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก แต่สมาธิจะแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำก่อน
    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ถือเอาความตามพระบาลีนี้ ว่า อิธ อริยสาวโก แปลว่า พระอริยสาวกในพระธรรมวินัย โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำให้ปราศจากอารมณ์ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ อารมณ์ทั้ง ๖ ไม่ได้เกี่ยวแก่ ใจเลย เรียกว่าปราศจากอารมณ์ ลภติ สมาธึ นั่นแหละสมาธิล่ะ ได้สมาธิในความตั้งมั่น ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง หรือได้ความที่แห่งจิตเป็นธรรมชาติหนึ่ง ไม่มี สองต่อไป นี่ส่วนสมาธิโดยเบื้องต่ำ
    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง บาลีว่า อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัย ของพระตถาคตเจ้านี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่ง เป็นไปด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา “วิตก” ความตรึกถึงฌาน “วิจาร” ความตรองในเรื่องฌาน เต็มส่วนของวิจารแล้วชอบใจอิ่มใจ “ปีติ” ชอบอกชอบใจ ปลื้มอกปลื้มใจ เรียกว่า ปีติ “สุข” มีความสบายกายสบายใจ เกิดแต่วิเวก วิเวกชํ ประกอบ ด้วยองค์ ๕ ประการ วิตก วิจาร ปีติ สุข เกิดจากวิเวก ก็เข้าเป็นองค์ ๕ ประการ นี้ปฐมฌาน
    ทุติยฌานเล่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบวิตกวิจารเสียได้ ความตรึกความตรอง ตรวจตราไม่มี สงบวิตกวิจารเสียได้ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เข้าถึงซึ่งทุติยฌาน ความเพ่งที่สอง ระคนด้วยองค์ ๓ ประการ คือ ปีติ สุข เกิดแต่สมาธิเหมือนกัน นี่เข้าถึงทุติยฌาน
    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ ปราศไปจากความปีติ ไม่มีปีติ เข้าถึงซึ่งตติยฌาน ความเพ่งที่สาม ระคนด้วยองค์ ๒ ประการ คือ สุข เกิดแต่สมาธิ หรือ “สุข” “เอกัคคตา” อย่างนี้ ก็ได้ เพราะเกิดแต่สมาธิ
    ระงับสุข สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้ หรือดับความดีใจ เสียใจอันมีในก่อนเสียได้ เข้าถึงจตุตถฌาน ความเพ่งที่สี่ ระคนด้วยองค์ ๒ ประการ มีสติ บริสุทธิ์ วางเฉย อยู่สองประการเท่านั้น ที่จับตามวาระพระบาลี ได้ความอย่างนี้ นี่เป็นปริยัติ แท้ๆ ยังไม่เข้าถึงทางปฏิบัติ
    ส่วนสมาธิในทางปฏิบัติเป็นไฉน ในทางปฏิบัติละก้อ มีรสมีชาติดีนัก สมาธิในทาง ปฏิบัติ ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงแบบเดียวกัน
    อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ นี่สมาธิในทางปฏิบัติ กระทำอารมณ์ทั้ง ๖ รูปารมณ์ สัททารมณ์ รสารมณ์ คันธารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ ไม่ให้ติดกับจิต หลุดจากจิตทีเดียว เหลือแต่จิตล้วนๆ ไม่มีอารมณ์เข้าไปแตะทีเดียว เหมือนอะไร เหมือนคนที่เวลานอนจะใกล้หลับ เมื่อยังไม่หลับ มีอารมณ์เข้าไปติดอยู่ รูปารมณ์บ้าง นึกถึงอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง สัททารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต คันธารมณ์บ้าง ที่เป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต รสารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต โผฏฐัพพารมณ์บ้าง ที่เป็น ของเก่าของใหม่ ของปัจจุบัน หรือธรรมารมณ์บ้างที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนั้น ที่ล่วงไปแล้ว และ ที่จะเกิดต่อไป อารมณ์เหล่านี้แหละวุ่นอยู่กับใจ ติดอยู่กับใจ เปลื้องจากกันไม่ได้ ไม่หลับนอน ตลอดคืนยังรุ่งก็ไม่หลับ เพราะอารมณ์มันเข้าไปติดกับใจ มันไปเกี่ยวข้องกับใจ มันไปบังคับใจเสียนอนไม่หลับ มันไม่หลุด เมื่อไม่หลุดเช่นนี้ละก็ เรียกว่าสละอารมณ์ไม่ได้
    เมื่อสละอารมณ์ได้ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่ง บางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทาง เห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางกายมนุษย์นี่ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ใสบริสุทธิ์เท่า ฟองไข่แดงของไก่นั่นแหละ แต่ส่วนจิตที่เป็นสมาธิก็อยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ไม่ใช่จิตดวงเดียว ในกลางดวงจิตมีวิญญาณ แต่ดวงจิตอยู่ในกลางดวงจำ ดวงจำอยู่ในกลางดวงเห็น แต่ว่าพูดถึงจิตดวงเดียวแล้วก็ จิตไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทีเดียว อารมณ์ไม่เข้าไปแตะทีเดียว นิ่งหยุด ดิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ แล้วผู้ปฏิบัติของตัวก็เห็น ใครเห็น นี้เป็นทางปฏิบัติ กายมนุษย์ละเอียดมันเห็น ไม่ใช่กายมนุษย์คนหยาบนี่ กายมนุษย์ละเอียดที่มันฝันออกไป กายมนุษย์คนนั้นแหละมันเห็น มันอยู่ในกลางดวงนั่นแหละ มันเห็นดวงจิตบริสุทธิ์สนิทหลุดจากอารมณ์ดังนี้ ไม่มีอารมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องเลยทีเดียว เป็นดวงจิตใสเหน่งอยู่นั่นแหละ เหมือนไข่แดง แต่ว่ามันไม่ใสอย่างไข่แดงหรอก ใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้า ใสเหน่งทีเดียว ตากายมนุษย์ละเอียดมันเห็น เพราะว่ามันก็รู้ว่าดวงจิตของมนุษย์ เวลานี้ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทั้ง ๖ เลย อารมณ์ทั้ง ๖ ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวเลย หลุดจากกันหมด เห็นอย่างนี้เรียกว่า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ มันก็นิ่ง นิ่งแน่นอนอยู่กับดวงจิต มั่นไม่คลาดเคลื่อน ดวงจิตนั่นก็ซ้อนอยู่กับดวงจำ ดวงเห็น ดวงวิญญาณก็ซ้อนอยู่ในกลาง ดวงจิตนั่นแหละ ทั้ง ๔ อย่างนี้ซ้อนไม่คลาดเคลื่อนกันเป็นจุดเดียวกันนั่นแหละ ไม่ลั่นลอดจากกัน เป็นก้อนเดียวชิ้นเดียวอันเดียวทีเดียว เห็นชัดๆ อย่างนี้เรียกว่าสมาธิในทางปฏิบัติแท้ๆ อย่างนี้เรียกว่าได้สมาธิ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ถึง เอกคฺคตา ได้ถึงซึ่งความเป็นหนึ่ง จิตดวงนั้นแหละ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว ไม่มีสอง ไม่มีเขยื้อน แน่นแน่ว เหมือนอย่างกับน้ำที่ใส่ไว้ในแก้วตั้งไว้ ในที่มั่น ไม่มีลมพัดมาถูกต้องเลย ไม่เขยื้อนเลยทีเดียว อยู่ทีดียว หยุดอยู่กับที่ทีเดียว นั้นได้ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว จิตถึงซึ่งความเป็นหนึ่งขนาดนั้น นั่นได้สมาธิอย่างนี้ เรียกว่าได้สมาธิแล้ว แต่ว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ อย่างนี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่สมาธิ โดยปริยายเบื้องสูง
    สมาธิท่านวางหลักมาก ไม่ใช่แต่จิตแน่นเท่านี้ ไม่ใช่แต่จิตปราศจากอารมณ์ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเท่านี้ สมาธิท่านวางหลักไว้ถึง ๔๐ แต่ว่า ๔๐ ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย ๘ เหลืออีก ๓๒ นั้นก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกัน แต่ว่าเป็นสมาธิฝ่ายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอกแล้วก็น้อมเข้าไปข้างในได้ ถ้าสมาธิตรงข้างในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว
    สมาธินอกพุทธศาสนาออกไปน่ะ ที่พระพุทธเจ้ารับรองอนุโลมเข้ามาในพระพุทธศาสนา นั่น กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, อนุสสติ ๑๐ เป็น ๓๐ แล้ว อาหาเรปฏิกูลสัญญา, จตุธาตุววัตถาน เป็น ๓๒ นี่สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำทั้งนั้น ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ถึงจะทางปริยัติก็ดี ทางปฏิบัติก็ดี ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยทางปริยัติก็แบบเดียวกัน สมาธิโดยทางปฏิบัติ ก็แบบเดียวกัน แต่ว่าสมาธิโดยทางปริยัติไม่เห็น ผู้ทำสมาธิไม่เห็น นั่นสมาธิในทางปริยัติ
    ถ้าสมาธิในทางปฏิบัติ ผู้ได้ ผู้ถึง เห็นทีเดียว เห็นปรากฏชัดทีเดียว นั่นสมาธิในทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัด เห็นปรากฏชัดดังนั้น
    ส่วนสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ต้องพูดถึงฌาน จิตที่เป็นดวงใส ที่เห็นเป็นดวงใสอยู่นั่นแหละ ผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงซึ่งสมาธิโดยปริยายเบื้องสูงต่อไปได้ ใจต้องหยุดนิ่งกลางดวงจิตที่ใสนั่น ต้องหยุดนิ่งทีเดียว พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นฌานขึ้นกลางดวงจิตที่หยุดนั่น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กลางดวงจิตที่หยุดนั่น นิ่งหนักเข้าๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของหยุดนั้น เข้ากลางของหยุดพอถูกส่วนถึงขนาดถึงที่เข้า เป็นดวงผุดขึ้นมา เป็นดวงผุดขึ้นๆ กลางนั่นแหละ ดวงใหญ่ไม่ใช่ดวงย่อย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา (๘ ศอก) หนาคืบหนึ่ง กลมเป็นปริมณฑล กลมรอบตัว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ถ้าดวงนั้นผุดขึ้นมา มีกายๆ หนึ่ง กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละขึ้น นั่งอยู่กลางดวงนั้น
    เมื่อกายมนุษย์ละเอียดขึ้นนั่งอยู่กลางดวงนั้นแล้ว นี่เนื่องมาจากดวงนั้นนะ ใจของกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นดวงจิตของตัวอีก นี่เป็นสมาธิทำไว้แล้วน่ะ แต่ว่าไม่ใช่ดวงจิตมนุษย์คนโน้น เป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นปรากฏทีเดียว มันก็นั่งนิ่งอยู่ กายมนุษย์ละเอียดก็เอาใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวนั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่ขึ้นมาเสียชั้นหนึ่งแล้ว พ้นจากกายมนุษย์หยาบขึ้นมาแล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็นั่งอยู่กลางดวงฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๘ ศอก (๒ วา) กลมรอบตัวเป็นวงเวียนหนาคืบหนึ่ง จะไปไหนก็ไปได้แล้ว เข้าฌานแล้ว กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว เมื่อเข้าฌานเช่นนั้นแล้วก็คล่องแคล่ว จะไปไหนก็คล่องแคล่ว เมื่อเข้าฌานเข้ารูปนั้นแล้ว เกิดวิตกขึ้นแล้วว่านี่อะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ ไม่เคยพบเคยเห็น เกิดวิตกขึ้น ตรึกตรองทีเดียว ลอกคราบลอกคูดู วิจารก็เกิดขึ้นเต็มวิตกก็ตรวจตรา สีสันวรรณะ ดูรอบเนื้อรอบตัว ดูซ้ายขวาหน้าหลัง ดูรอบตัวอยู่ ตรวจตราแน่นอนแล้ว เป็นส่วนของความตรวจตราแล้ว เกิดปีติชอบอกชอบใจปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ เต็มส่วนของปีติเข้ามีความสุขกายสบายใจ เมื่อสุขกายสบายใจแล้วก็นิ่งเฉยเกิดแต่วิเวก ใจวิเวกวังเวง นิ่งอยู่กลางดวงนั่น นี่เต็มส่วนขององค์ฌานอย่างนี้ กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้วอย่างนี้ เรียกกายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานอยู่กลางดวงนั่น นี่สมาธิในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้ แต่ว่าขั้นสูงขึ้นไป เมื่อตัวอยู่ในฌานนี้ ยังใกล้กับของหยาบนัก
    เราจะทำให้สูงขึ้นไปกว่านี้ ใจกายละเอียดก็ขยาย ใจขยายจากปฐมฌานของกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กลางกายนั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตที่เห็นใสนั่น นิ่งหนักเข้าๆๆๆ พอถูกส่วนเข้า เกิดขึ้นมาอีกดวงเท่ากัน นี่เรียกว่า ทุติยฌาน พอเกิดขึ้นอีกดวงหนึ่งแล้วละก็ กายทิพย์ทีเดียว กายทิพย์ละเอียดทีเดียวเข้าฌาน ไม่ใช่กายทิพย์หยาบล่ะ กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานอีก แบบเดียวกับกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดก็เข้าฌาน อาศัยกายทิพย์หยาบเข้าฌานทีเดียว นั่งอยู่กลางดวงอีกแบบเดียวกัน ชนิดเดียวกัน นั่งอยู่กลางดวงอีก ทีนี้ ไม่มีวิตกวิจาร ละวิตกวิจารเสียแล้ว เหลือแต่ปีติ ชอบอกชอบใจ มันดีกว่าเก่า ใสสะอาดดีกว่าเก่ามาก ปลื้มอกปลื้มใจ เมื่อปลื้มอกปลื้มใจเช่นนั้น เต็มส่วนของความปีติก็เกิดความสุขขึ้น เต็มส่วนของความสุข เข้าใจก็นิ่งเฉย นิ่งเฉยอยู่ในอุราเรียกว่า อุเบกขา นิ่งเฉยอยู่กลางนั่น นี่กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็นึกว่าใกล้ต่อกายมนุษย์ละเอียด ที่ละเอียดกว่านี้มีอีก
    ใจของกายทิพย์ละเอียดก็ขยายจากฌานที่ ๒ ใจก็นิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวดังเก่า ต่อไปอีก ของกายทิพย์ละเอียดต่อไปอีก กลางดวงจิตนั่น พอถูกส่วนเข้า ฌานก็ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเท่ากัน ดวงเท่ากันแต่ใสกว่านั้น ดีกว่านั้น วิเศษกว่านั้น คราวนี้กายรูปพรหมขึ้นมาแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็เข้าฌานนั่น แต่ว่าอาศัยกายรูปพรหมหยาบนั่งนิ่งอยู่กลางดวงของตติยฌาน ในนี้ไม่มีปีติ เป็นสุข เอกคฺคตา ก็นิ่งเฉยอยู่กับสุขนั่น มีองค์ ๒ เต็มส่วน รับความสุขของตติยฌานนั่นพอสมควรแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็นึกว่าละเอียดกว่านี้มีอีก
    ใจกายรูปพรหมละเอียดก็ขยายจิตจากตติยฌาน นิ่งอยู่ในกลางดวงจิตของตัวนั่น ใส อยู่นั่น กลางของกลางๆๆๆๆๆ ถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเป็นดวงที่ ๔ เข้าถึงจตุตถฌาน เข้าถึงจตุตถฌานอาศัยกายอรูปพรหมหยาบ และกายอรูปพรหมละเอียดเข้าจตุตถฌาน กายอรูปพรหมละเอียดก็เข้าจตุตถฌานไป เมื่อเข้าจตุตถฌานหนักเข้าเป็นอุเบกขา กายอรูปพรหม เมื่อเข้าฌานนี้มีแต่ใจวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์อยู่เท่านั้น มีสติวางเฉยบริสุทธิ์เป็น ๒ ประการ พอถูกหลักฐานดีแล้ว เมื่อเข้าสู่รูปฌานแน่นอนดังนี้แล้ว ใจกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด อยู่ศูนย์กลางดวงจตุตถฌานนั้น จะเข้าอรูปฌานต่อไป เข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ต่อนี้ไปใช้กายรูปพรหมละเอียดไม่ได้ ใช้กายอรูปพรหม ใช้กายอรูปพรหมกายเดียวเข้าฌานเหล่านั้น นี้เป็นฌานในภพ ไม่ใช่ฌานนอกภพ ฌานทั้ง ๔ ประการนี้แหละเป็นสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง โดยทางปฏิบัติดังกล่าวมานี้ ปฏิเวธ ที่ปรากฏชัด ตามส่วนของตนๆ มารู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นตัวปฏิเวธทั้งนั้น เมื่อเข้าถึงฌานที่ ๑ ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้ว เข้าถึงฌานที่ ๒ ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่อีก รู้เห็นปรากฏชัด เมื่อเข้าถึงฌานที่ ๓ ก็เป็นปฏิเวธอีก ปรากฏชัดด้วยตาของตัว เข้าฌานที่ ๔ ก็เป็นปฏิเวธอีก เป็นปฏิเวธทั้งกายมนุษย์ เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธอยู่อีก เข้าถึงกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียดก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด ส่วนอรูปพรหมเป็นของละเอียด ส่วนจตุตฌานก็เป็นของละเอียดแต่ว่าเกี่ยวกัน ที่จะเข้าอรูปฌานต้องเริ่มต้นแต่รูปฌานนี้ พอเข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ใช้กายอรูปพรหมอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้แล สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง แสดงมาโดยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านเจ้าภาพและสาธุชน จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้.
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    ถ้านั่งเจริญภาวนาสมาธิ ถ้านั่งไม่นาน นิ่งไม่นาน เป็นไปได้ไหมที่อาจจะเห็นภาพ หลอกหลอนต่างๆ ?

    ถ้าผิดวิธี เป็นไปได้ แต่ที่สอนให้เอาใจมาหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายนี้ถูกวิธีที่ไม่ต้องให้เห็นภาพหลอน เพราะเมื่อเจริญภาวนารวมใจให้หยุดในหยุด กลางของหยุด ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของกายในกาย
    เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมแล้ว ก็จะเข้าถึง-รู้-เห็น และเป็นกาย เวทนา จิต และธรรม ที่สะอาดผ่องใสยิ่งกว่ากันเข้าไปตามลำดับภูมิของจิตจะบริสุทธิ์ผ่องใส จากมนุษยธรรมถึงเทวธรรม พรหมธรรม แล้วก็ถึงพุทธธรรมไปตามลำดับ ขั้นตอนของเขาอย่างนี้
    เรื่องภาพหลอนจึงไม่มี ไม่ต้องสงสัย แต่ถ้าใจออกนอกตัวโดยสมาธิจิตไม่ได้ตั้งอยู่ที่กลางของกลาง อย่างนี้แล้ว โอกาสที่จะเห็นภาพหลอนมีได้เป็นได้มาก จึงให้รวมใจ หยุดนิ่งเข้ากลางของกลาง หยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด เห็นดวงใสสว่างให้หยุดนิ่งกลางดวง เห็นกายในกายให้ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นกายละเอียดๆ ต่อๆ ไป จนถึงธรรมกายและเป็นธรรมกายไป ก็จะมีแต่ความสันติสุขและร่มเย็นอย่างเดียว ภาพหลอนไม่เห็น แล้วใจก็จะสามารถปล่อยวางอุปาทานได้มาก โดยวิธีเจริญภาวนาเข้าถึงกาย เวทนา จิต ธรรม ดับหยาบไปหาละเอียด จนถึงธรรมกาย และเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด เรื่องที่ไม่ดีทั้งหลายก็จะหายไป ใจก็จะสงบและบริสุทธิ์ผ่องใส นี้แหละ ที่บอกให้ปฏิบัติภาวนาให้เข้าถึง รู้ เห็น และเป็น กาย เวทนา จิต ธรรมที่ละเอียดๆ ต่อไป จนสุดละเอียด ถึงธรรมกายและเป็นธรรมกายที่ใส ละเอียด ก็จะมีแต่ความสันติสุขและร่มเย็นตลอดไป
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    เป็นไปได้ไหมที่ผู้ปฏิบัติธรรมติดฌาน โดยผู้ปฏิบัติไม่รู้ตัว คือไม่เคยเห็นดวงเห็นกายเลย นั่งทีไรพบแต่ความว่าง เผลอสติได้ง่าย ทั้งๆ ที่พยายามกำหนดจุดเล็กใสแล้ว จะแก้ไขอย่างไร ?

    เรื่องติด ก็คือหลงติดสุขในฌาน แต่ถ้าเราปฏิบัติ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำหนดศูนย์กลางไปเรื่อย เห็นดวง หยุดนิ่งกลางดวงให้ใสสว่าง ละเอียดไปสุดละเอียด เห็นกายในกาย ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไป
    หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้ใสละเอียด ทีละกายๆ ไปจนสุดละเอียด อย่างนี้แล้วก็ถูกวิธี อย่างนี้ไม่ติดสุข
    เพราะฉะนั้น เรื่องติดสุขในฌาน ไม่ต้องไปคิดละครับ ให้มีฌานจริงๆ ก่อนแล้วค่อยคิด แล้วถ้าปฏิบัติในวิชชาธรรมกายแลัวง่ายครับ ไม่ต้องคิดละครับ เพราะอะไร ผมจะเรียนเพิ่มเติมนิดหน่อยในเรื่องฌานนี้ ตัวเองไม่ได้เก่งกาจละครับ ครูบาอาจารย์สั่งสอนมานะครับ มีประสบการณ์นิดนึง ไม่มาก ทีนี้จะเรียนให้ทราบ
    ในวิชชาธรรมกายนั้น เราเจริญฌานสมาบัติให้ละเอียดสุดละเอียด มุ่งหมายที่การกำจัดกิเลสนิวรณ์ บางท่านที่จะปฏิบัติให้ละเอียดไปถึงอรูปฌาน แต่ต้องอธิษฐานจิตก่อนว่า ให้ถอยกลับมาเป็นปฏิโลม ถึงเวลาแล้ว ภายในเขาจะบอกเอง เราจะรู้สึกเองว่า ถอยกลับได้แล้ว เมื่อถอยกลับเป็นอนุโลมปฏิโลมแล้ว ไม่ติดอยู่ทีไหน แล้วเที่ยวสุดท้ายโดยอนุโลมแค่จตุตถฌาน ถ้าใครทำได้นะครับ รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางธรรมกายอรหัต ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จะอยู่ตรงกลางธรรมกาย ก็เห็น พอเห็นแล้วจิตหยาบลงมาเลย จากจตุตถฌานโดยอัตโนมัติ เมื่อหยาบลงมาแล้ว เราเอาใจธรรมกายเป็นหลักอีกครั้งหนึ่ง ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ซึ่งจะผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด กายหยาบกายละเอียดทั้งหมด ๑๘ กาย จนถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต เรียกว่าสุดละเอียดของกายเถา ๑๘ กาย รวมเรียกว่ากายเถา
    เพราะฉะนั้น เรามุ่งอย่างเดียวจะเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต คือให้ผ่องใสสุดละเอียดของธรรมกายอรหัตจากกายเถา กายที่หยาบรองลงมาชื่อว่ากายชุด เพราะแต่ละกายก็มีชุด ๑๘ กายของเขา พิสดารไปสุดละเอียด เป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ชุดเหล่านั้นล้วนแต่มีกิเลสอนุสัยกิเลสของเรา มันเกาะอยู่นับภพนับชาติไม่ถ้วน ไม่รู้เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นสัตว์โลกมานี่แหละ
    นั้นแหละ มีกายเถา กายชุด กายชุดสุดละเอียดไปแล้วเป็นธรรมกายอรหัตในอรหัต ที่หยาบรองลงมาอีกก็เป็นกายชั้น กายตอน กายภาค ภายพืด ซึ่งจะมีกายในกายที่ยังไม่บริสุทธิ์อีกมาก แต่ก็ละเอียดไป ละเอียดไปจนสุดละเอียดหมด เป็นแต่ธรรมกายล้วนๆ นั่นแหละที่ว่าปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ เพราะไม่พิจารณาลบฌาน แต่ระดับสมาธิที่ละเอียดๆ สมาธิยิ่งหยุดยิ่งนิ่ง สมาธิก็สูงขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ แต่ไม่ต้องคำนึงว่าสูงแค่ไหน ถึงอย่างไรเมื่อสุดละเอียดจนถึงละเอียดหนัก ปล่อยอุปาทานในเบญจขันธ์ได้แม้ชั่วคราว ปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ นั่นเขาทะลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ภพชาติติดอยู่ในศูนย์กลางธรรมในธรรมของเรา ธรรมในธรรมนั้นแหละ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ นั่นแหละ ธาตุละเอียดมันอยู่ตรงนั้น ธาตุละเอียดนั้นแหละครับ มันมีทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ เปลี่ยนแปลงไปตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรมตลอดเวลา
    เมื่อพิสดารกาย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทำนิโรธ สุดละเอียดเข้าไปอย่างนั้นแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ในส่วนละเอียดคือธรรมในธรรมที่เป็นกุสลาธัมมา มันจะเต็มเปี่ยม เป็นมรรคมีองค์ ๘ ถ้ายังไม่ถึงอริยมรรค ก็เป็นมรรคในโคตรภูญาณ นั่นมรรคเขารวมกันเป็นเอกสมังคี แต่ในระดับโคตรภูญาณแล้ว เตรียมพร้อม ถ้าบุญบารมีเต็ม ก็พร้อมที่จะ... ประเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังว่า จิตของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้นจะพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นภพสุดท้ายที่สุดละเอียด ธรรมกายหยาบจึงตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจึงพ้นโลก ไปปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอายตนะนิพพานใหม่ๆ ที่ไม่เคยชิน รู้สึกมันหวิวนิดๆ นั้นแหละ ธรรมกายที่หยาบตกศูนย์ หยาบในขณะนั้นคือสุดละเอียดแล้วนะ แล้วที่สุดละเอียดก็ยังจะปรากฏในอายตนะนิพพาน เพราะความบริสุทธิ์ของธรรมกาย บริสุทธิ์พอที่จะสัมผัสรู้เห็นอายตนะนิพพานและความเป็นไปในอายตนะนิพพาน กล่าวคือ พระนิพพานธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทั้งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้า และของพระอรหันต์ขีณาสพที่ดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ สัมผัสได้ เห็นได้ รู้ได้ ด้วยอาการอย่างนี้นะครับ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานไปโดยอัตโนมัติครับ เมื่อจิตละเอียด สุดละเอียด เหมือนกับยิงจรวดนะครับ ยิงไปด้วยกำลังที่สูง แล้วพ้นแรงดึงดูดของโลก ตัวจรวดที่พ้นคือตัวดาวเทียมที่เขาส่งไป แต่ว่าตัวที่เป็นโลกๆ ก็ยังอยู่ทางโลกนี้แหละ หล่นอยู่ทางโลก แต่ตัวที่เขาต้องการให้พ้น มันก็พ้นออกไป พ้นแนวดึงดูดของโลก พ้นโลกแต่ยังอยู่ในโลกๆ เลยเล่าให้ฟัง
    เพราะฉะนั้น การติดฌาน ในแนววิชชาธรรมกายไม่ต้องพูดถึง ถ้าปฏิบัติถูกจะเป็นอย่างนี้ หรือจะเจริญแม้ถึงอรูปฌานเป็นสมาบัติ ๘ ทบไปทวนมา เมื่อจะทวนขึ้นถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานไปได้โดยอัตโนมัติก็หลุดไปได้เหมือนกัน เพราะธรรมกายที่หยาบ เมื่อละเอียดไปสุดละเอียด ตกศูนย์ พ้นจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ ธรรมกายที่สุดละเอียดก็ไปปรากฏได้เหมือนกัน นั้นเขามักเรียกว่า เจโตวิมุตติ แต่ว่าจริงๆ ปัญญาวิมุตติด้วย กระผมก็เลยกราบเรียนเพื่อทราบว่าอย่างนี้
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    [​IMG]
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    ปัญญาเบื้องต่ำและปัญญาเบื้องสูง
    ๔ มีนาคม ๒๔๙๗





    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยาติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ ภิกฺขุ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตาติ.




    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในทางปัญญา ในวันมาฆบูชา ทางปัญญาเป็นขั้นปลายของศีล สมาธิ แต่ในวิสุทธิมรรค ในอัฏฐังคิกมรรค ได้แสดงปัญญาไว้เบื้องต้น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป แสดงศีลไว้ในท่ามกลาง สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว แสดงสมาธิไว้ในเบื้องท้าย สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็ย่อลง ศีลอยู่เบื้องกลาง สมาธิอยู่เบื้องปลาย ปัญญาอยู่เบื้องต้น แต่ในลำดับของเทศนาอื่น พระองค์ทรงตรัสเทศนา ทรงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น สมาธิเป็นท่ามกลาง ปัญญาเป็นเบื้องปลาย ที่พระองค์ทรงตรัสเทศนา เป็นปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรในครั้งนั้น ทรงตรัสเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เพราะปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เป็นผู้ชำนาญดีแล้วในเรื่องศีล สมาธิ แต่ว่าไม่ฉลาดในทางปัญญา ยังไม่คล่องแคล่วในทางปัญญา พระศาสดาทรงเห็นเหตุนั้น เป็นผู้รู้แล้วเห็นแล้ว จึงได้ทรงแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ทีเดียว เมื่อแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้งแล้ว ก็กลับมาแสดงศีลโดยปริยายท่ามกลาง สมาธิเป็นเบื้องปลายไป ครั้นจะไม่มาแสดงเรื่องศีล สมาธิ ก็จะแตกแยกกันไป หาเข้าเป็นแนวเดียวรอยเดียวกันไม่
    เพราะพุทธศาสนามีศีลเป็นเบื้องต้น มีสมาธิเป็นท่ามกลาง มีปัญญาเป็นเบื้องปลาย แม้พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปกระทำปฐมสังคายนา ก็เลยประชุมสงฆ์ทั้ง ๕๐๐ พร้อมกัน พระมหาอริยกัสสปได้แสดงในที่ประชุม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า อิธ ภิกฺขุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติรู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติรู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นความดับทุกข์ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติรู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตาอย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้
    ต่อแต่นี้จะได้อรรถาธิบายขยายความในปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ และปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงเป็นลำดับไป
    ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ยกอริยสาวกขึ้นเป็นตำรับตำรา ก็เพราะพระอริยสาวกมีความไม่ยักเยื้องแปรผันแล้ว มีความรู้ความเห็นที่แน่นอนแล้ว ยกพระสาวกของพระตถาคตเจ้าตั้งแต่ โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค-สกิทาคามิผล, อนาคามิมรรค-อนาคามิผล, อรหัตตมรรค-อรหัตตผล ๘ จำพวกนี้เป็นอริยสาวก ไม่ใช่เป็นปุถุชนสาวก ถ้าต่ำกว่านั้นลงมามีธรรมกาย แต่ว่าไม่ได้พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต อะไร นั่นสาวกชั้นโคตรภู พวกไม่มีธรรมกายมีมากน้อยเท่าใด เป็นสาวกชั้นปุถุชน เรียกว่า ปุถุชนสาวก สาวกที่ยังหนาอยู่ด้วยกิเลส ที่เป็นโคตรภูบุคคลน่ะ ปรารภจะข้ามขึ้นจากโลก จะเข้าเป็นอริยสาวกล่ะ เป็นอริยสาวกก็ไม่ใช่ เป็นปุถุชนก็ไม่เชิง ถ้ากลับมาเป็นปุถุชนก็ได้ เข้ากลับเป็นอริยสาวกก็ได้ ทั้งสองอย่างนี้เรียกว่าโคตรภู ท่านเหล่านั้นเป็นโคตรภู
    เพราะว่า ที่ท่านยกว่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เอาความเห็นความรู้ที่ตายตัวกัน ปญฺญวา โหติเป็นผู้มีปัญญา ปัญญาที่แสดงแล้วน่ะ ที่แสดงนี่แหละ คำว่าปัญญานี้น่ะ ไม่ใช่เป็นของง่าย ถ้าให้ฟังไปร้อยปีว่าปัญญาน่ะอะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร โตเล็กเท่าไหน อยู่ที่ไหน กลม แบน ยาว รี สี่เหลี่ยม อย่างไรกัน เอาเถอะ หมดทั้งประเทศไทย ถ้าว่าเข้าดังนี้ละก็ ไม่รู้เรื่องกันทีเดียวแหละ ได้ยันกันป่นปี้ เหตุนี้ ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา ปัญญานี้ประสงค์อะไร ประสงค์ว่า อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามนั้นว่า ปิฎกทั้ง ๓ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก เราจะยกปิฎกใดขึ้นก่อนจึงจะสมควร พระอรหันต์ทั้งหลายก็พร้อมกันว่าวินัยปิฎกเป็นข้อสำคัญอยู่ ถ้าว่าวินัยปิฎกยังครบถ้วน ผ่องใสแล้ว ศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองเพราะอาศัยวินัยปิฎก เมื่อจบวินัยปิฎกพระอริยกัสสปก็ถามอีก ในปิฎกทั้ง ๒ คือสุตตันตปิฎกกับปรมัตถปิฎก ใครจะเป็นผู้วิสัชชนา ตกลงให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นพหูสูต พระองค์ทรงตั้งไว้เป็นเอตทัคคะเลิศกว่าสาวกในพระพุทธศาสนา ให้วิสัชนาในสุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎกทั้งสองนี้ แต่ว่า ปรมัตถปิฎกเป็นข้อสำคัญ เป็นทางปัญญา วินัยปิฎกน่ะเป็นศีล สุตตันตปิฎกเป็นสมาธิ
    ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ นี้จะเคลื่อนมิได้เลย เพราะศีลมีหน้าที่สำหรับปราบปรามชั่วด้วยกาย วาจา ฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม มุสาวาท ชั่วด้วยกายนี้ต้องอาศัยศีลสำหรับปราบความชั่ว อันนี้ ไม่ให้เข้าไปแตะต้องกับกายได้ ให้กายสะอาดผ่องใส ถ้าไม่มีศีลแล้วละก็ ปราบความชั่วด้วยกายอย่างนี้ไม่ได้ ฝ่ายสมาธิก็สำหรับปราบความชั่วทางใจ ความเกียจคร้านไม่ให้มีทางใจ หรือความพลั้งเผลอไม่ให้มีทางใจ หรือความไม่มั่นคงเหลวไหลลอกแลกไม่ให้มีทางใจ แก้ไขให้ใจมั่นคง ให้มีสติมั่นไม่ฟั่นเฟือน ให้มีความเพียรอาจหาญ ไม่ครั่นคร้าม ๓ อย่างนี้เป็นหน้าที่ของสมาธิ ส่วนปัญญาเล่ายังหาได้แสดงไม่ ที่แสดงแล้วนี่ทางศีลทางสมาธิ
    ปัญญาที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นตัวสำคัญนัก แต่ว่าไม่ค่อยจะได้แสดง ที่วัดปากน้ำนี่ สมภารผู้เทศน์นี้ได้มาจำพรรษาอยู่วัดปากน้ำนี้ ๓๗ พรรษาแล้ว แต่ว่าในทางปัญญาไม่ค่อยแสดงมากนัก แสดงในศีล สมาธิ เป็นพื้นไป ทีนี้ตั้งใจจะแสดงในทางปัญญา ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยชอบนั้น โดยปริยายเบื้องสูงบ้าง จึงได้มีปุจฉาวิสัชนาเป็นลำดับไปว่า กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเป็นไฉนเล่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ปญฺญวา โหติย่อมเป็นผู้มีปัญญา อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต เป็นผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา อย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ ปัญญาที่รู้ความเกิดความดับนั่นเป็นตัวสำคัญ ปัญญาน่ะมีแต่รู้ ไม่ใช่เห็น ปัญญาที่เป็นแต่รู้ แต่เขาว่าเห็นด้วยปัญญา เห็นปัญญาไม่มีดวงตานี่ ถ้ามีดวงตาค่อยพูดเห็นกัน นี่ปัญญาจะมีดวงตาอย่างไร ไม่มีดวงตา แต่ว่าแปลกประหลาดอัศจรรย์เหลือเกิน เมื่อถึงพระอริยบุคคลแล้ว เป็นธรรมกายแล้ว ถ้ามารไม่ขวางนะ ความเห็นของตาไปแค่ไหน ความรู้ของทางปัญญาก็ไปแค่นั้น ความจำก็ไปแค่นั้น ความคิดก็ไปแค่นั้น
    ความรู้ ความคิด ความจำ ความเห็น ๔ อย่างนี้แหละ ๔ อย่างนี้เขาเรียกว่า ใจ ๑ ความเห็น ๒ ความจำ ๓ ความคิด ๔ ความรู้ ๔ อย่างนี้แหละ หยุดเข้าเป็นจุดเดียว ซ้อนเป็นจุดเดียวเข้า เรียกว่า “ใจ” ดวงรู้มันซ้อนอยู่ข้างในดวงคิด ดวงคิดซ้อนอยู่ข้างในดวงจำ ดวงจำซ้อนอยู่ข้างในดวงเห็น มันเป็นชั้นๆ กันอย่างนี้ ๔ อย่างนี้แหละ รวมเข้าเรียกว่าใจ ถ้าแยกออกไปละก็ เห็นน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางกาย จำน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางเนื้อหัวใจ มันย่อมกว่าดวงเห็นลงมาหน่อย คิดน่ะอยู่ในกลางดวงจำ นั่นย่อมลงมาหน่อย รู้น่ะอยู่ในกลางดวงคิดนั่น ย่อมลงมาเท่าดวงตาดำข้างใน นั่นมีหน้าที่รู้ เรียกว่า ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างนอกนั่น ดวงจิตเท่าลูกตานั่นดวงใจ เท่ากับเบ้าตานั่นดวงเห็น หมดทั้งร่างกายมี ๔ อย่างเท่านี้ มี ๑) ดวงเห็น ครอบอยู่ข้างนอกดวงจำ ๒) ดวงจำ อยู่ข้างนอกดวงคิด ๓) ดวงคิด อยู่ข้างนอกดวงรู้ ๔) ดวงรู้ อีกดวงอยู่ข้างในดวงคิด เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างนี้แหละเป็นตัวสำคัญล่ะ
    เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ อย่างนี้มาจากไหน ที่ตั้งของมันอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ นั่นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ดวงนั้น เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แท้ๆ กายมนุษย์จะเป็นอยู่ได้ก็เพราะอาศัยธรรมดวงนั้น ถ้าธรรมดวงนั้นไม่มีแล้วละก็ กายมนุษย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ ดับ ถ้าธรรมดวงนั้นยังมีปรากฏอยู่ละก็ มนุษย์ไม่ดับ เป็นมนุษย์ปรากฏอยู่เหมือนกัน จะแก่เฒ่าชราช่างมัน พอดวงนั้นดับมนุษย์ก็อยู่ไม่ได้ ต้องดับกัน ถ้าธรรมดวงนั้นผ่องใส มนุษย์ก็รุ่งโรจน์ผ่องใสเหมือนกัน ถ้าธรรมดวงนั้นขุ่นมัวเสีย มนุษย์ก็ซูบเศร้าไปไม่ผ่องใส ดวงนั้นเป็นสำคัญ ดวงนั้นแหละเป็นที่ตั้งของเห็นของจำ ของคิด ของรู้ ดวงเห็นก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่อยู่ข้างนอก ดวงจำก็อยู่ในกลางดวงนั้น อยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดก็อยู่ในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้ก็อยู่ข้างในกลางดวงนั้น แต่ว่าอยู่ในกลางของดวงคิดอีกทีหนึ่ง ๔ ดวงอยู่นั่น ต้นเหตุอยู่นั่น ที่ออกมาปรากฏที่กายมนุษย์ก็ดี ที่หัวใจมนุษย์นี่ก็ดี ออกมาปรากฏอยู่เป็นดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ข้างนอกนี้ นี่เป็นดวงหยาบ นี่เป็นชั้นเป็นต้นเป็นปลาย นี่เป็นรากเง่า อยู่ในกลางดวงนั้น อยู่ในกลางดวงนั้นแท้ๆ
    อ้าย ๔ ่ดวงนั้นแหละเรียกว่า ใจ ถ้าว่าหยุดเป็นจุดเดียวกันละก็ เอาละ ท่านยืนยันสมาธิมาแล้ว สมาหิตํ ยถาภูตํ ปชานาติ จิตตั้งมั่น หยุดเป็นจุดเดียวกัน รู้ตามความเป็นจริงทีเดียว ถ้าว่าไม่ตั้งมั่นก็ไม่เรียกว่าเป็นสมาธิ ตั้งมั่นแล้วก็เป็นสมาธิ นี่ได้แสดงมาแล้ว สมาธินี่แหละเป็นต้นของปัญญา ปัญญาที่จะมีขึ้นก็เพราะอาศัยสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ เข้าถึงสมาธิไม่ได้ก่อน มีปัญญาไม่ได้ ปัญญาเป็นตัวสำคัญ เป็นปลาย เป็นของละเอียดมากทีเดียว ผู้ที่มีปัญญาเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา ผู้ที่มีปัญญาต้องเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา ปัญญาเป็นดวงอยู่ ปัญญาที่เป็นดวงอยู่นั่น จะต้องพูดให้กว้าง แสดงให้กว้างออกไป จึงจะเข้าเนื้อเข้าใจกันแท้ๆ ปัญญาเป็นดวงปลาย
    ธรรมในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๕ ดวง ถ้าว่าจะกล่าวถึงองค์ มี ๑๐ ทสหิ องฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหาติ วุจฺจติ ผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๑๐ ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ องค์ ๑๐ คืออะไร สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี่ ๘ องค์แล้ว สัมมาญาณ เป็นองค์ที่ ๙ สัมมาวิมุตติ เป็นองค์ที่ ๑๐ นี่มี ๑๐ อย่างนี้ เมื่อผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๑๐ ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์ ต้องมี ๑๐ องค์ อย่างนี้จึงจะเป็นพระอรหันต์ได้ ถ้าไม่เข้าถึงองค์ ๑๐ อย่างนี้ เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ ๘ องค์ย่อลงเป็น ๓ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นปัญญาไป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว เป็นศีลไป สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิไป ก็รวมว่าศีลอยู่กลาง สมาธิอยู่ปลาย ปัญญาอยู่ต้น แต่ว่าเมื่อมาถึงพระสูตรนี้เข้า ปัญญาอยู่ข้างปลาย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา องค์ ๑๐ ย่อลงเหลือ ๕ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ นี่แหละหลักพระพุทธศาสนาละ

    ศีลน่ะ อยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ศีลถ้าว่าจะกล่าวตัวจริงละก็ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายนั่นแหละ อยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด นี้แหละเป็นที่ตั้งของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้งนั้น ตลอดขึ้นไป ๑๘ ดวง
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด ๘ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม-กายธรรมละเอียด [รวมเป็น] ๑๐ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา-กายพระโสดาละเอียด [รวมเป็น] ๑๒ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคา-กายพระสกิทาคาละเอียด [รวมเป็น] ๑๔ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา-กายอนาคาละเอียด [รวมเป็น] ๑๖ กาย
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต-กายพระอรหัตละเอียด [รวมเป็น] ๑๘ กาย
    มีดวงธรรมทั้งนั้น ดวงโตขึ้นไปเป็นลำดับ เมื่อถึงธรรมกายโคตรภู ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย เมื่อถึงธรรมกายแล้วดวงธรรมจะมีขนาดเท่าหน้าตักธรรมกาย ตลอดจนกระทั่งถึงเป็นพระอรหัต พระอรหัตหน้าตัก ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใส ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว อยู่ศูนย์กลางกายพระอรหัตนั้น นี่ให้รู้จักหลักนี้ก่อน
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในกลางดวงนี้ ดวงศีลเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ดวงสมาธิก็อยู่ศูนย์กลางดวงศีลนั่นแหละ ดวงเท่าๆ กัน ดวงปัญญาก็อยู่ศูนย์กลางดวงสมาธินั่นแหละ ดวงวิมุตติก็อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญานั่นแหละ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็อยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ กายมนุษย์ละเอียดก็อยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น ถ้าต้องแสดงให้กว้างออกไปกว่านี้ ให้เข้าใจปัญญาชัดๆ อย่างนี้ละก็ จนกระทั่งถึงพระอรหัต ก็จะเข้ารู้จักปัญญาชัดๆ อย่างนี้ว่าปัญญามีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร

    เมื่อรู้จักดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา เช่นนี้แล้ว
    • ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด
    • กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เดินไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะอีก เข้าถึงกายทิพย์
    • กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด
    • ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด เดินแบบเดียวกันนี้ทั้ง ๑๘ กาย เดินไปแบบเดียวถึงพระอรหัตทีเดียว
    นั่นแหละต้องเดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะทั้งนั้น เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นั่นแหละเป็นหนทางนี่ ไม่ใช่ธรรมนี่ บอกเป็นหนทางนี่ อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโคหนทางมีองค์ ๘ ประการ ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ก็พูดถึงหนทางนี่ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทาง ถ้าว่าไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีทางไป ไปนิพพานไม่ถูก ถ้าจะไปนิพพานให้ถูก ต้องไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนี่
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ วันนี้จะแสดงในเรื่องปัญญา ดวงปัญญาของมนุษย์ก็ขนาดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ของมนุษย์ละเอียด ทิพย์-ทิพย์ละเอียด รูปพรหม-รูปพรหมละเอียด โตเป็นลำดับขึ้นไป ของอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด โตหนักขึ้นไป แต่ว่าถึงเป็นลำดับขึ้นไปเท่าไร ก็ยังไม่ถึงเท่ากายธรรม กายธรรมใหญ่มาก ดวงปัญญานั้นขนาดไหน ปัญญาน่ะออกจากดวงนั้น ธรรมดวงนั้นของปุถุชน ปัญญาของปุถุชนมัว ความเห็นมัวไม่ชัดนัก คล้ายๆ เปลือกๆ ปัญญา ไม่ได้ใช้กำเนิดของปัญญา ไม่ได้ใช้ปัญญาที่เป็นแก่น ใช้ปัญญาที่เป็นเปลือกๆ เท่านั้น ปุถุชนใช้ปัญญาผิวๆ เผินๆ ตัวเองก็ไม่เห็นปัญญา ไม่รู้จักว่ามันอยู่ที่ไหน และก็ไม่รู้จักว่ารูปพรรณสัณฐานมันเป็นอย่างไร เพราะไม่เห็น เพราะทำไม่เป็น พอทำเป็นแล้วจึงเห็น ทำเป็นน่ะเห็นปัญญาทีเดียวว่า ดวงโตเท่านั้นเท่านี้ อยู่ที่นั่นที่นี่ ใช้ถูกทีเดียว ถ้าว่าทำไม่เป็นแล้วไม่เห็นปัญญา เป็นแต่รู้จักปัญญาเท่านั้น ไม่เห็นมัน ปัญญาที่ว่า อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อริยสาวกในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีปัญญา ปัญญานั่นดวงนั้นแหละ ประสงค์ดวงนั้น เรียกว่ามีปัญญาละ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิดความดับ ปัญญาก็ไม่ได้ดูอื่นนี่ ปัญญาน่ะมองดูแต่ความเกิดดับเท่านั้นแหละ หมดทั้งสากลโลกมีเกิดกับดับเท่านั้น รู้ชัดปรากฏชัดอยู่ว่าเกิดดับๆๆ เท่านั้น มีเกิดกับดับ ทั้งรู้ทั้งเห็นชัดทีเดียว เห็นอย่างไรก็รู้อย่างนั้น รู้อย่างไรก็เห็นอย่างนั้น เห็นกับรู้ ตรงกัน แต่ว่าเมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ ตั้งต้นแต่มนุษย์ถึงรูปพรหมอรูปพรหม เห็นไม่ถนัดนักหรอก เห็นรัวๆ ไม่ชัดนัก เพราะเป็นของละเอียด เห็นความเกิดดับจริงๆ ตามนุษย์เรานี่ก็เห็น เอาไปเผาไฟเสียออกย่ำแย่เชียว ทิ้งน้ำ ฝังดิน เกิดดับๆ ทั้งนั้นแหละ หมดทั้งสากลโลก ตึกร้านบ้านเรือน ต้นไม้ ภูเขา สิ่งที่เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดดับ หมดทั้งนั้น เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้แหละ ไม่ใช่เห็นพอดีพอร้าย เราก็รู้ด้วยเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด รู้ชัดทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนปลาย รู้ได้ถี่ถ้วนดีทีเดียว นี้เรียกว่าปัญญา
    ปัญญาที่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ ก็รู้เรื่องเหมือนกัน จะสิ้นไปแห่งทุกข์ด้วยวิธีอย่างไร ใช้ปัญญา แต่ว่ามัว ไม่ชัดทีเดียว เห็นโดยชอบที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันจริงแท้ หรือที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ เห็นจริงๆ รู้จริงๆ อย่างนี้ เห็นความสิ้นไป สิ้นไปแห่งทุกข์ทีเดียว ว่าทุกข์จะหมดไปได้ด้วยวิธีนี้อย่างนี้ ถ้าไม่ถึงธรรมขนาดนี้ทุกข์หมดไปไม่ได้ นี้ความจริงก็รู้อยู่ชัด แต่ว่ารู้ด้วยปัญญา อย่างนี้รู้ด้วยปัญญา รู้อย่างชนิดนี้ เรียกว่า ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง
    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงนั้นขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งว่า อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ หมดทั้งก้อนกายเป็นตัวทุกข์แท้ๆ เกิดนี้เป็นทุกข์แท้ๆ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พวกนี้เป็นทุกข์แท้ๆ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ว่า อ้ายนี่ทุกข์แท้ๆ ทุกข์ทั้งก้อน พึงเห็นชัดว่าเป็นตัวทุกข์ทีเดียว ทุกข์แท้ๆ อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ อ้ายทุกข์อันนี้เป็นผล ทำอะไรไม่ได้ เป็นทุกข์แท้ๆ ทั้งก้อนร่างกายนี้ เหตุให้มี เหตุให้เกิดทุกข์ มีอยู่ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ให้รู้ชัดเห็นชัดเทียว กามตัณหา ความอยากได้ ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น วิภวตัณหา ความไม่อยากให้มีให้เป็น นึกดูซี อยากได้อะไรเล่า ถ้าอยากได้ลูกสักคนซี เมื่อได้ แล้วเอามาทำไม เอามาเลี้ยงน่ะซี เมื่ออยากได้สัก ๑๐๐ คนเล่า ให้เสีย ๑๐๐ คนเทียว เอาแล้ว เห็นทุกข์แล้ว ๑๐๐ ร้อยคน ต้องทำบริหารใหญ่แล้ว นี่ทุกข์แท้ๆ อยากได้ลูกนี่ อยากได้เมียสักคน อ้าวได้มาแล้ว เอามาทำไม อ้าวให้สัก ๑๐๐ คนเชียว เอาอีกแล้ว เลี้ยงไม่ไหวอีกแล้ว เห็นทุกข์อีกแล้ว อ้าวอยากได้ไปซี เป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่ใช่อื่น เพราะกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อได้มาแล้ว ไม่อยากให้มันแปรไปเป็นอย่างอื่น มันก็ต้องแปรเป็นธรรมดา ไม่แปรไม่ได้ ต้องแปรอยู่เป็นธรรมดา เมื่อไม่อยากให้แปรไปเป็นอย่างอื่น มันก็ได้ฝืนกันล่ะ ได้ขืนกันล่ะ รู้ชัดๆ ซีว่าเป็นอย่างนี้ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นทุกข์แท้ๆ

    ที่จะหมดไปสิ้นไป ไม่เป็นทุกข์ เราจะทำอย่างไร ต้องดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกข์เหล่านั้นจึงจะหมด ถ้าไม่ดับกามตัณหา ทุกข์ไม่หมดหรอก ถ้าดับเสียได้เป็นอย่างไร ถ้า ดับเสียได้ก็เป็นนิโรธนะซี นิโรธเขาแปลว่าดับ จะเข้าถึงซึ่งความดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องทำอย่างไร จะเข้าดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องเข้าถึงซึ่งมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง ไม่ใช่อื่น มรรคน่ะ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง เดินไปทาง ศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์หยาบ
    • เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด หลุดเสียแล้วกายมนุษย์หยาบ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด
    • เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียด หลุดไปแล้ว หมดทุกข์ไป อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น ทุกข์หมด เข้ากายมนุษย์ละเอียด อย่างหยาบหมด เข้าถึงกายทิพย์ อย่างหยาบอย่างละเอียดหมด
    • เข้าถึงกายรูปพรหม ส่วนโลภะ โทสะ โมหะ ทั้งหยาบทั้งละเอียดหมด
    • เข้าถึงกายอรูปพรหม ส่วนราคะ โทสะ โมหะ หมด
    • เข้าถึงกายธรรม กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย หมด เข้าถึงกายธรรม เดินทาง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายพระโสดา สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส หมด
    • เข้าถึงกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างหยาบหมด
    • เข้าถึงกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดหมด เหลือแต่รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด หมดกิเลส รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หมดไม่เหลือเลย เข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรม
    ที่พระองค์แนะนำให้รู้จักว่า สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ดี อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็ดี วิราคธรรม เป็นยอดกว่าธรรมเหล่านั้น ถึงพระอรหัต ก็เข้าวิราคธรรมทีเดียว เป็นธรรมกายหน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป นี่หมดทุกข์ แค่นี้หมดทุกข์ ทุกข์หมดไป สิ้นไป หาเศษ มิได้ นี่ดับทุกข์ได้จริงๆ อย่างนี้ เพราะดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เข้าถึงวิชชา ดับ อวิชชาได้ทีเดียว นี่หลุดได้อย่างนี้นะ เมื่อหลุดได้อย่างนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในพระอรหัตยังมีไหมล่ะ ก็มีอยู่ซิ ทำไมจะไม่มีล่ะ ถ้าศีลไม่มี ท่านจะ บริสุทธิ์ได้ดีอย่างไร สมาธิมีไหมล่ะ สมาธิก็ดวงวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา ศีลก็เท่ากัน สมาธิ ก็เท่ากัน ปัญญาก็เท่ากัน นั่นแหละของพระอรหัต ท่านเรียกว่า โลกุตตรปัญญา เรียก ศีล สมาธิ ปัญญา ขั้นนั้นเป็นโลกุตตระอย่างสูง เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว พ้นจากสราคธาตุสราคธรรมไป เมื่อรู้จักชัดอย่างนี้แล้ว นี้แหละ ทางปัญญานี่แหละให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ครั้นจะชี้แจงแสดงให้กว้างขวาง เวลาไม่จุพอ เสียงระฆังตีบอกเวลาอาราธนาให้สวด มนต์อีกแล้ว เหตุนี้ต้องย่นย่อในทางปัญญานี้ไว้พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวจฺเชน ด้วยอำนาจ ความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ในเรื่องทางปัญญาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจง บังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    [๑๖]
    ศีลเบื้องต่ำและศีลเบื้องสูง
    ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    อเนกปริยาเยน โข ปน เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา.
    กถญฺจ สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา. อิธ อริยสาวโก ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต โหติ อทินฺนาทานา ปฏิวิรโต โหติ กาเมสุ มิจฺฉาจารา ปฏิวิรโต โหติ มุสาวาทา ปฏิวิรโต โหติ สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา ปฏิวิรโต โหตีติ เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา. อิธ ภิกฺขุ สีลวา โหติ ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ อาจารโคจรสมฺปนฺโน อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสูติ เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตาติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยธรรมที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนา ที่พระศาสดาทรงวางพระพุทธศาสนา และตั้งหลักเกณฑ์เป็นเบื้องต้น พุทธศาสนิกชนต้องรีบล้นขวนขวายให้มีศีลตั้งมั่นอยู่ในธรรมของตนทุกถ้วนหน้า เพราะการปฏิบัติพระพุทธศาสนา ไม่มีศีลแล้วจะปฏิบัติศาสนาให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์พุทธศาสนาไม่ได้ จำจะต้องให้มีศีล ศีลที่มีแล้วตัวก็ต้องรู้ด้วย ตัวเองมีศีลให้แน่นอนในใจทีเดียว จะชี้แจงตามวาระพระบาลีว่า อเนกปริยาเยน โข ปน เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้แล้วเห็นแล้ว เป็นองค์พระอรหันต์ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ ทรงรับสั่งแล้วโดยปริยายมิใช่น้อย หรือโดยปริยายมิใช่อย่างเดียว กถญฺจ สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วนั้นเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับสั่งแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเป็นไฉนเล่า อิธ อริยสาวโก พระอริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต คือ ฆ่าสัตว์ที่เป็นให้จำตาย อทินนาทานา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากการถือเอาวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย กาเมสุ มิจฉาจารา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มุสาวาทา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากคำเท็จไม่จริง สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากน้ำที่ทำให้บุคคลผู้ดื่มเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา อย่างนี้แหละ ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉน อิธ ภิกฺขุ สีลวา โหติ ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ อาจารโคจรสมฺปนฺโน อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสูติ ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ สีลวา โหติ ย่อมเป็นผู้มีศีล ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ ย่อมเป็นผู้สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาตอยู่ อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมแล้วด้วยมารยาทเครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อและโคจร อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยทั้งหลายในโทษมีประมาณน้อย สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสูติ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา อย่างนี้แหละ ศีลที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง กล่าวถึงศีล แต่ว่าสมาธิ ปัญญา ยังจะมีต่อไป
    ส่วนศีลนี้ให้เข้าเนื้อเข้าใจเสียก่อน ผู้พุทธศาสนิกชน ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต ให้รู้จักบริสุทธิ์สนิท ศีลมีทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต ไม่ใช่มีแต่คฤหัสถ์ บรรพชิตด้วย คฤหัสถ์ตั้งอยู่ในศีลเบื้องต่ำ เพียงศีล ๕ ประการของคนครองเรือน ส่วนศีล ๘ ประการ เป็นอติเรกศีล สูงขึ้นไปกว่าศีล ๕ แต่ว่าศีล ๕ ประการให้มั่นในขันธสันดานเสียก่อน ต้องสละขาดจากใจนะว่าเราเป็น คนมีศีล แล้วก็เริ่มต้นมีศีล ๕ ทีเดียว ศีล ๕ รู้จักกันพร้อมดี บริบูรณ์ดี ต้องให้รู้จักแม่นยำ แน่นอนว่าการฆ่าสัตว์น่ะ ต้องให้รู้จักสัตว์เสียก่อนว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าสัตว์ คำที่เรียกว่า สัตว์น่ะ ผู้ข้องอยู่ในภพ แปลว่าผู้ข้องอยู่ ลกฺขตีติ แปลว่าข้องอยู่ สัตว์ที่ข้องอยู่มีกำเนิดถึง ๔ คือ อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ อุปปาติกะ นี่กำเนิด ๔
    อัณฑชะ สัตว์ที่เกิดด้วยฟองไข่ สัตว์ชนิดอะไรไม่ว่าที่เกิดด้วยฟองไข่แล้วก็ฟักเป็นตัวอีกหนหนึ่ง เรียกว่าอัณฑชะทั้งนั้น นี่เราก็ระวังยากนะ ไข่เป็ด ไข่ไก่ ระวังยากเหมือนกัน ไข่มด ไข่เหา ไข่เรือด ไข่เล็น ไข่เหล่านี้ระวังยากทั้งนั้น มีไข่ทั้งนั้นสัตว์พวกนี้ นี่เรียกว่าอัณฑชะ ต้องเว้นกันจริงๆ
    สังเสทชะ สัตว์ที่เกิดด้วยเหงื่อไคล เหา เล็น เรือด ไร ที่กัดเราอยู่ทุกวันนี้ อ้ายนั่นสำคัญอีกเหมือนกัน ยุงไม่ได้เกิดด้วยเหงื่อไคล ถ้าว่าพวกสังเสทชะเกิดด้วยเหงื่อไคล เหา เล็น เรือด ไร เหล่านี้ทุกชนิด อาศัยเหงื่อไคลเป็นแดนเกิดละก้อ เรียกว่าสังเสทชะทั้งนั้น
    ชลาพุชะ สัตว์อาศัยน้ำบังเกิดขึ้น ถ้าไม่มีน้ำเกิดไม่ได้ ต้องมีน้ำจึงบังเกิดขึ้น นั่นเรียกว่า ชลาพุชะ มนุษย์เป็นอันมากก็เรียกว่าชลาพุชะทั้งนั้น แพะ แกะ วัว ควาย ช้าง ม้า อาศัยน้ำเป็นแดนเกิดทั้งนั้น สัตว์เกิดในน้ำเป็นอเนกประการ เกิดในน้ำก็อาศัยไข่บ้าง อาศัยเหงื่อไคลบ้าง มนุษย์ก็เกิดด้วยเหงื่อไคลได้ มนุษย์นี่แหละที่เรียกว่าชลาพุชะ นี่มีเหงื่อไคลเป็นแดนเกิดได้เหมือนกัน เหมือนพระปัจเจกโพธิ ๕๐๐ อาศัยครรภ์มลทินของมารดาคลอดออกมาคนเดียว อาศัยครรภ์มลทินเหงื่อไคลของครรภ์นั้น ด้วยของสกปรกโสโครกเหล่านั้น เกิดเป็น ๔๙๙ นี่ เกิดด้วยเหงื่อไคลเหมือนกัน มนุษย์เรียกว่าสังเสทชะเหมือนกัน
    อุปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เกิดขึ้นละ อายุ ๑๔-๑๕ ทีเดียว นั่นก็เป็นสัตว์อีกพวกหนึ่ง เช่นนี้เราจะฆ่าเขาไม่ค่อยได้หรอก แต่ว่าได้เหมือนกัน เช่น นางอัมพปาลีเกิดในค่าคบต้นมะม่วง แล้วอยู่ร่วมด้วยมนุษย์ราชกุมาร ๕๐๐ เป็นสามี ๕๐๐ ต้องผลัดกันอยู่ร่วมคนละ ๗ วันไป ๕๐๐ นี่ก็เต็มทีไม่มีเวลา สร้างปราสาทขึ้นไว้ในสวนมะม่วงนั้นไม่ให้เป็นของใคร ถ้ามิฉะนั้นราชกุมารจะเกิดทะเลาะกัน จะเกิดฆ่าฟันทะเลาะบาดหมางกันขึ้น นี่พราหมณ์ตัดสินให้เป็นไปดังนั้น นี่นางอัมพปาลีอาศัยค่าคบมะม่วงเกิดขึ้น นี่ก็เป็นมนุษย์ เกิดเป็นอุปปาติกะ แปลกไหมล่ะ เป็นอุปปาติกะ กำเนิดทั้ง ๔ นี้ มนุษย์มีทั้งสิ้น พระเถระ ๒ รูป ลูกนางกุลตีกินรีไข่ออกมา ออกมาเป็นไข่ พอกะเทาะออกมาเป็นมนุษย์ เป็นชาย ๒ คน เป็นชายด้วยกันทั้ง ๒ คนนั่นแหละ นี้ก็เกิดด้วยฟองไข่ เกิดด้วยฟองไข่ก็มี เกิดด้วยเหงื่อไคลก็มี เกิดเป็นอุปปาติกะก็มี เกิดเป็น ชลาพุชะก็มี กำเนิดทั้ง ๔ มนุษย์มีพร้อม
    สัตว์ที่เป็นอยู่ปรากฏไปไหนไปได้ กระดุกกระดิกได้ หรือมีชีวิตเป็นอยู่กระดุกกระดิกไม่ได้ เช่น สัตว์เกิดในฟองไข่ ยังไม่ออกตัว อยู่ในฟองไข่ดิ้นไม่ได้ ไม่มีตัวดิ้น นี่ก็เป็นกำเนิดของสัตว์เหมือนกัน ที่เรียกว่า ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์เหล่านี้ไม่ได้เลย ฆ่าแล้วด้วยเจตนาน่ะ ศีลขาดทีเดียว รู้ว่าสัตว์มีชีวิตเป็นอยู่ เมื่อรู้ว่าชีวิตเป็นอยู่แล้ว ก็จิตคิดจะฆ่าเสีย ถ้าทำความเพียร เพื่อจะฆ่า ฆ่าได้สมเจตนา สัตว์มีชีวิตเป็นอยู่เรียกว่า ปาโณ หรือรู้ว่าสัตว์มีชีวิตเป็นอยู่เรียกว่า ปาณสญฺญี จิตคิดจะฆ่าเรียกว่า วธกจิตฺตํ ถ้าทำความเพียรเพื่อจะฆ่าเรียกว่า อุปกฺกโม เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรทีเดียว สัตว์ตายสมเจตนา ยกมือแพล็บเดียวก็พร้อมด้วยองค์ ๕ นิดเดียวเท่านั้น พร้อมด้วยองค์ ๕ จัดเป็นองค์ ๕ การฆ่าสัตว์ ให้รู้จักชัดๆว่าการฆ่าสัตว์น่ะ เป็นอย่างนี้
    ถ้าว่าผู้มีศีล ๕ นี้ ต้องเว้นขาดจริงๆ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ท่านยกเอาอริยบุคคล อริยสาวโก อริยสาวกในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้า ตั้งต้นแต่พระโสดาขึ้นไป ท่านยกเป็นตัวอย่าง พระโสดาเจตนาฆ่าสัตว์ของท่านไม่มีเลยทีเดียว เจตนาฆ่าสัตว์ของท่านไม่มีเลยทีเดียว ที่เรารักษาปาณาติบาตนี้ ต้องตัดเจตนาให้ขาด เจตนาไม่ฆ่าสัตว์ต้องขาดจากใจทีเดียว ไม่ฆ่าอย่างเด็ดขาดทีเดียว เจตนาของปุถุชนก็มีที่ไม่คิดฆ่าสัตว์เลยทีเดียว นี่แหละเป็นศีลกันจริงๆ ทีเดียว ขึ้นถึงปาณาติบาตทีเดียว
    ส่วนอทินนาทานล่ะ วัดปากน้ำเราก็ยังใช้ไม่ใคร่ได้นะ ดูข้าวของอะไรเล็กน้อยๆ ก็เผลอกันไม่ใคร่ได้ หายกันเป็นควันไปทีเดียว ดูๆ ก็เป็นซ่องขโมยทีเดียว นี่ร้ายกาจนักทีเดียว จะมีศีลอย่างไรกัน ถ้ามีศีลแล้วของเหล่านี้ไม่ต้องเอื้อเฟื้อ ไม่ต้องห่วงใย ลักกันเป็นไม่มี ไม่ใช่แต่ลักฝ่ายเดียว ฉ้อโกงกันเป็นไม่มี อทินนาทานน่ะขาดจากใจทีเดียว ขึ้นชื่อว่าลักละก็ หรือ เจ้าของเขาไม่ได้ให้ละก็ เป็นไม่ถือเอาทีเดียว ต้องถืออย่างเด็ดขาด อย่างพระอริยบุคคล เจตนาจะลักเขาก็ไม่มี ปรปริคฺคหิตํ วัตถุมีเจ้าของหวงห้าม ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้อยู่วัตถุมีเจ้าของหวงห้าม เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลักก็ไม่มี อุปกฺกโม ความเพียรเพื่อจะลักก็ไม่มี เตน หรณํ นำไปด้วยความเพียรขโมยก็ไม่มี นี้ได้ชื่อว่ามีศีลล่ะ มีศีลอทินนาทาน แต่ว่าศีลอทินนาทานนี้ต้องมั่นในขันธสันดานทีเดียว อย่าให้เคลื่อนคลาดได้ ถ้าเคลื่อนคลาดเป็นใช้ไม่ได้ทีเดียว เรียกว่าจอมปลอม พวกจอมปลอมนี่แหละทำศาสนาให้เสื่อม เข้ามาประพฤติปฏิบัติในศาสนา ทำศาสนาให้เสื่อม ผู้ประพฤติจริงทำศาสนาให้เจริญ อย่างพระอริยบุคคลนะ เป็นตัวทำศาสนาให้เจริญ ถ้าว่าปุถุชนประพฤติอย่างพระอริยบุคคล เจตนาจะลักก็ไม่มี อ้ายการลักน่ะ เงินทองเล็กน้อยพออดได้ ไม่พอใช้พอกินอะไร พออดได้ แต่ว่าอ้ายเพชรนิลจินดา ราคามันมากขึ้นมาล่ะ ราคาตั้งหมื่น ยังไม่พอใจ ยังไม่ลักเลย ทีนี้ราคามันสูงกว่าหมื่นขึ้นไป สองหมื่น สามหมื่น สี่หมื่น ห้าหมื่น ถึงแสนหนึ่ง ราคาถึงแสนหนึ่ง เอาแล้ว ทำใจคนมีศีลกระดุกกระดิกไปอีกแล้ว เอ๊ะ นี่ยังไง ถ้าคว้าหมับเลี้ยงชีพได้ตลอดตายทีเดียว แสนหนึ่ง ให้เขากู้เอาร้อยละ ๒ บาท ก็เอาเดือนละสองพัน นั่นแน่ อ้ายนี่พอเลี้ยงชีพตลอดเวลาเชียวนะ ลาศีลกันเสียเถอะน่ะ เอาแล้ว ใจกระดุกกระดิกอีกแล้ว อย่างนี้ก็ยังใช้ไม่ได้ เรียกว่ามีศีลไม่จริง มีศีลจอมปลอม ต้องไว้วางใจได้ทีเดียว จะมีค่าสักแสนหนึ่ง สักล้านหนึ่ง สักโกฏิหนึ่ง ก็ช่าง ถ้าว่าไม่ใช่ของตัวละก้อ จิตไม่แลบไม่ขยับไปทีเดียว ไม่ลักไม่ขโมย ไม่มีทีเดียว ปกครองป้องกันรักษาไว้ให้เจ้าของทีเดียว ไม่พลาดพลั้งอย่างหนึ่งอย่างใด อย่างนี้เรียกว่ามีศีลใช้ได้ มีศีลจริงๆ ละ อย่างพระอริยบุคคลในธรรมวินัยของพระศาสดาละ อย่างนี้ใช้ได้ อทินฺนาทานา มีพอใช้ได้แล้ว ให้ความสุขแก่ตนได้แล้ว ให้ความสุขแก่คนอื่นได้ละ ถ้าไว้ใจยังไม่ได้ให้ความสุขแก่ตัวก็ยังไม่ได้ ให้ความสุขแก่คนอื่นจะให้ได้อย่างไร ให้ไม่ได้ทีเดียว นี่ข้อที่ ๒
    ข้อที่ ๓ ประพฤติผิดล่วงกามทั้งหลาย การประพฤติผิดล่วงกามทั้งหลายน่ะ ทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกัน ยืนยันใกล้ๆ อย่างนี้ ทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกัน อาการที่ทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกันน่ะ เป็นอันผิดในกามทั้งหลาย ล่วงล้ำประเวณีชั่วช้าลามก ปรกติที่ลับต้องล่วงไม่ได้ ที่ลับลมบังลมอยู่ข้างใน ถ้าล่วงล้ำเข้าไปเช่นนั้นเท่าเส้นผมเดียวเท่านั้น ก็เป็นกาเมแล้ว ผิดในกามทั้งหลายแล้ว การประพฤติในกามทั้งหลายนี้โทษร้ายนัก ให้ความทุกข์แก่มนุษย์มากมายในโลก ถ้าโลกเว้นขาดหมดทั้งสากลโลก ทั้งหญิงทั้งชายประพฤติซื่อตรงในกามทั้งหลาย เมื่อถือสิทธิ์ร่วมสามีภรรยากันแล้ว ก็ร่วมแต่เท่านั้น นอกจากสามีภรรยาไม่ล่วงทีเดียวเด็ดขาด อย่างพระอริยบุคคลเจตนาที่ล่วงกามเช่นนั้นไม่มีเลย ไม่ได้คิดเลย ไม่คิดเลยทีเดียวที่จะล่วงกาม นอกจากบุคคลที่มีศีลไม่สมบูรณ์บริบูรณ์ ถ้ามีศีลสมบูรณ์บริบูรณ์แล้วก็ไม่คิดล่วงเหมือนกัน ในกามเช่นนั้น ไม่คิดล่วงทีเดียว ขาดจากใจทีเดียวที่มีศีลไม่สมบูรณ์บริบูรณ์ ศีลอับปางทีเดียว อำพรางศีล หลบศีล หลอกศีล หลอกตัวเอง โกงตัวเองอยู่นั่น ถ้าว่าอ้ายที่ไม่พอใจก็พออดได้ ถ้าพอใจอยู่สิ้นกาลช้านาน พอใจอยู่ ต้องแก่พอใจอยู่หลายปี หลายสิบปี เมื่อมาสมเจตนาของตัวเข้าละก้อ กลัวจะทนทานไม่ไหว จะขยับเขยื้อนไปอีก จะล่วงกามนั้นๆ เข้าอีก อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เรียกว่าศีลไม่สมบูรณ์บริบูรณ์ หรือขาดตกบกพร่อง ยังไม่แน่นอนในใจอยู่ในกาเมสุมิจฉาจาร นี่ก็สำคัญอยู่ ท่านจัดไว้มีประพฤติเป็น ๒๐ นั่นแน่ แต่ว่าเคยได้กล่าวมาแล้ว เรื่องกาเมสุมิจฉาจาร
    มุสาวาท มุสาวาทก็ให้เดือดร้อนอยู่ ถ้าว่ากล่าวจริงๆ กันเสีย ไม่พลั้งเผลอละก็ ไม่เดือดร้อน ถ้าว่าอำพรางกันเสีย ต้องพูดกันหลายคำ ต้องทำสัญญา ถ้าเลิกมุสากันหมดทั้งประเทศเสีย คำเดียวเท่านั้นแหละ สบายกันหมดทั้งประเทศทีเดียว อ้ายมุสานี่ร้ายกาจนัก ให้โทษมาก กล่าวคำเท็จไม่จริง ท่านกล่าวหลักไว้ อตถํ วตฺถุ เรื่องไม่จริง วิสํวาทกจิตฺตํ จิตคิดจะกล่าวให้คลาด ปชฺโช วายาโม ทำความเพียรเพื่อจะกล่าว ปรสฺส วิชานนํ บุคคลอื่นรู้ ความที่ตนกล่าวนั้นๆ มันก็เริ่มเป็นปดขึ้น ถ้าไม่จริงก็เป็นปดทีเดียว เป็นมุสาทีเดียว ถ้ากล่าวตามจริงครบองค์อยู่เช่นนั้น เรื่องนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นถ้อยคำที่จริงไม่มีโทษ ถ้อยคำเหล่านี้แหละ ผู้มีศีล ผู้ถือศีลในสิกขาบทมุสาวาทแล้ว ต้องเว้นขาดจากใจเหมือนพระอริยบุคคล ไม่มีกริกในใจทีเดียวที่จะปดน่ะ ไม่มีเลือกไม่มีเฟ้นต่อไป นี้ต้องแก้ไขตัวของตัวให้ดีนะ ถ้ายังมีเลือกเฟ้นว่า จะปดดีหรือไม่ปดดี ยังงี้ละก็ ศีลยังเหลวอยู่ ศีลมุสายังเหลวอยู่ ต้องไว้ใจได้ว่าจะตัดหัวคั่วแห้งอย่างหนึ่งอย่างใด ตีรันฟันแทงสักเท่าหนึ่งเท่าใด จะตัดชีวิตจิตใจสักเท่าหนึ่งเท่าใด จะให้กล่าวเท็จน่ะ กล่าวไม่ได้เสียแล้ว ขาดจากใจเสียแล้วว่า คำเท็จเป็นอันไม่กล่าว กล่าวแต่คำจริงทั้งนั้น อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล ยกตัวอย่างพระอริยบุคคลเป็นตัวหลัก รักศีลเหมือนอย่างกับพระอริยบุคคลดังนั้น ได้ชื่อว่ามีศีลมุสาวาทล่ะ
    สุรา ทั้งสี่สิกขาบทนั่นแหละ ถ้าเว้นสุราไม่ได้ตัวเดียว หมด ละลายหมด สุราเป็นตัวสำคัญ สุราเป็นเจ้าโขลงทีเดียว เป็นเจ้าหมู่ทีเดียว เจ้าหมู่เจ้าหมวดของศีลทั้ง ๕ นี่แหละสุรา เป็นเจ้าหมู่ทีเดียว ยกออกไปเสีย ยกสุราออกเป็นเจ้าหมู่เสีย เหลืออีก ๔ สุราบังคับได้ทุกข้อทุกสิกขาบท เหตุฉะนั้นต้องงดสุราให้ขาด ถ้างดสุราไม่ขาดละก็ หมด ไม่ได้เลยสักข้อหนึ่ง สุราน่ะ น้ำที่ทำบุคคลผู้ดื่มให้เมา คือสุราและเมรัย ดื่มเข้าไปแล้วก็เมา ส่วนพระอริยบุคคล จิตของท่านที่จะคิดดื่มสุราสักนิดนั่นก็ไม่มี เหมือนพวกเราบัดนี้ก็มีถมไป ที่ไม่คิดจะดื่มสุราแม้แต่นิด เหมือนพระอริยบุคคลทีเดียว ไม่คิดเลยที่จะดื่มสุรา นั่นแหละ คนอย่างนั้นเขามีศีลสุรามั่นในขันธสันดานละ ถ้าว่ายังจะดื่มอยู่ละก็ ไม่มั่นในขันธสันดาน ยังคลอนแคลนอยู่ ต้องตัดสินตัวเสียใหม่ น้ำที่ทำบุคคลผู้ดื่มให้เมาสุราและเมรัย จิตคิดจะดื่ม ทำความเพียรเพื่อจะดื่ม ดื่มให้ล่วงล้ำลำคอเข้าไป ก็ได้ชื่อว่าล่วงสิกขาบท คือศีลสุรานี้
    ศีลสุราสิกขาบทนี้ ท่านวางหลักไว้เทียบด้วยคชสารช้างตัวหนึ่ง มีเท้า ๔ มีงวง ๑ และ ช้างนั่นมันเป็นอยู่ด้วยงวงมัน ถ้าว่าเมื่องวงมันมีอยู่ตราบใดละก็ งวงนั่นมันเลี้ยงชีพของมัน มันฉุดหญ้ามาเลี้ยงร่างกายมัน ใส่ปากมันได้ ถ้าไม่มีงวงละก้อ ช้างมันจะก้มลงกินหญ้าอย่างกับโค อย่างกับกระบือ อย่างไรล่ะ มันสูง มันก้มไม่ถึงนี่ จะต้องนอนลงละซี ทำลำบาก เหตุนี้ งวงจึงเป็นตัวสำคัญ เป็นชีวิตของช้างทีเดียว ศีลทั้ง ๕ สิกขาบท สุราเป็นชีวิตทีเดียวหนา ถ้าเลิกสุราไม่ได้ละก็ มารักษาศีลมันลำบากนักละ เพราะว่าได้แต่ ๔ สิกขาบท ๕ ไม่ได้ นั้นก็พูดเอาตามชอบใจ ถ้าล่วงสุราเสียสิกขาบทเดียวเท่านั้นแหละ อีก ๔ สิกขาบทรักษาอยู่ไม่ได้ สลายหมด ล้มละลายหมด สุราสิกขาบทเดียว เขาจึงได้ตั้งว่า พระนครๆ หนึ่งมีประตู ๕ แห่ง ถ้าออกประตูที่ ๑ จะต้องฆ่าสัตว์ ออกประตูที่ ๒ จะต้องลักทรัพย์สมบัติ ออกประตูที่ ๓ จะต้องล่วงกาม ออกประตูที่ ๔ จะต้องพูดปด ออกประตูที่ ๕ จะต้องดื่มสุรา จะออกประตูไหน ถ้าออกไปประตูที่ ๑ ต้องฆ่าสัตว์ ก็ล่วงสิกขาบทเดียวเท่านั้น ถ้าออกประตูที่ ๒ จะต้อง ลักทรัพย์สมบัติ ล่วงสิกขาบทเดียวเท่านั้น ถ้าออกประตูที่ ๓ จะต้องล่วงกาเมสุมิจฉาจาร ก็ล่วงสิกขาบทเดียวเท่านั้น ถ้าออกประตูที่ ๔ จะต้องพูดปด ก็ล่วงสิกขาบทเดียวของตามประตูนั้นๆ ถ้าออกประตูที่ ๕ จะต้องล่วงสุรา ดื่มสุราละก็ หมดทั้ง ๔ สิกขาบท ๕ สิกขาบท ล้มหมดทีเดียว ท่านวางหลักไว้อย่างนี้
    เมื่อรู้จักดังนี้แล้ว ศีล ๕ สิกขาบท สุราเป็นตัวสำคัญ ตัวสำคัญทีเดียว แบบเดียวกัน โลภะ โทสะ โมหะ ๓ ข้อนี้ ใครเป็นสำคัญ โมหะเป็นสำคัญ ตัวหลงเป็นตัวสำคัญ เพราะฉะนั้น สุรานี้เป็นตัวประมาททีเดียว ธรรมที่เป็นกุศลในพระไตรปิฎกมากน้อยเท่าใด สรุปลงในความไม่ประมาททั้งนั้น ถ้าว่าประมาทแล้วออกนอกธรรมทีเดียว ไม่อยู่ในธรรมเสียแล้ว ถ้าประมาทละก็ ออกนอกธรรม ไม่อยู่ในธรรมทีเดียว ถ้าว่าไม่ประมาทละก็ อยู่ในธรรมที่เป็นกุศลทีเดียว ถ้าประมาทขึ้นแล้ว อยู่ในธรรมที่เป็นอกุศลทีเดียว ตรงกันข้าม เพราะฉะนั้นสุรานี่เป็นที่ตั้งของความประมาท ถ้าเลิกสุราเสียได้ ก็เป็นเหตุของความไม่เป็นที่ตั้งของความประมาท ศีล ๔ สิกขาบทก็รวมอยู่ในสุรานั่น อยู่ในความประมาทนั่น นี่เป็นตัวสำคัญ
    ให้รู้จักหลักมั่นดังนี้ละก็ เป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ต้องมั่นอยู่ในศีลทั้ง ๕ นี้ ได้ชื่อว่าพุทธศาสนิกชน หรือเรียกว่าชนภายในพระพุทธศาสนา ต้องให้มีศีล ๕ นี้ให้มั่นอยู่ในขันธสันดานเสียตอนหนึ่ง นี้เรียกว่าศีลโดยปริยายเบื้องต่ำนะ
    แต่โดยปริยายเบื้องต่ำนี่แหละ ศีลของภิกษุก็มีเหมือนกัน ๕ สิกขาบทนี่ก็เป็นสิกขาบทของภิกษุเหมือนกัน แต่ท่านจัดศีลของภิกษุโดยปริยายเบื้องสูงขึ้นไปอีกว่า อิธ ภิกฺขุ ภิกษุใน ธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ สีลวา โหติ ย่อมเป็นผู้มีศีล ภิกษุมีศีลน่ะมีอย่างไร ไม่ต้องสมาทานเหมือนอุบาสกอุบาสิกาอย่างนี้หรอก ภิกษุมีศีลน่ะ ศีลสำเร็จด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา พระสงฆ์ในปัจจันตประเทศตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ในมัชฌิมประเทศตั้งแต่ ๑๐ รูปขึ้นไป มาประชุมพร้อมกัน ต้องมีอุปัชฌาย์ มีพระกรรมวาจา พระอุปัชฌาย์ตรัสขึ้นในหมู่พระสงฆ์นั้นให้สวดญัตติจตุตถกรรมวาจา สมมุติกุลบุตรคนใดคนหนึ่งขึ้นให้เป็นภิกษุภาวะในพุทธศาสนา เหมือนเราที่เรียกว่า เราบวชนาคบวชพระกันอยู่ทุกวันนี้ ที่เป็นเจ้าภาพบวชให้ภิกษุสามเณรน่ะ บวชให้เป็นภิกษุทีเดียว หรือสามเณรก็ต้องมีศีล ๑๐ ขึ้นไป
    ศีล ๕ เป็นเหฏฐิมศีล ศีล ๘ ที่เรารักษาวันนี้เป็นเหฏฐิมศีลไหมล่ะ ไม่เป็นเหฏฐิมศีล เป็นอติเรกศีล ศีลสูงกว่าศีล ๕ ขึ้นไป สำคัญอยู่ข้อไหน ศีล ๘ น่ะ ที่ยกขึ้นเป็นอติเรกศีลขึ้นไปน่ะ สำคัญในข้อ วิกาลโภชนา นัจจคีตะ มาลา อุจจา ชาตรูปะ คือเว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล การบริโภคอาหารเป็นอย่างไรหรือ ? การบริโภคอาหารนั้นเป็นรสตัณหา ถ้าว่าเว้นเสียละก็ เว้นรสตัณหาทีเดียว บริโภคอาหารที่เป็นรสที่อร่อย มีรสมีชาติขึ้นสำคัญนัก อ้ายรสอันนั้นสำคัญ นัจจคีตะ ฟ้อนรำ ขับร้อง เครื่องประโคมขับร้องดีดสีตีเป่าต่างๆ ฟ้อนรำ ขับร้อง ให้เกิดเป็นสัททตัณหา [ตัณหาในเสียง] ฟ้อนรำ ขับร้อง เหล่านี้ ดีดสีตีเป่าเหล่านี้ เป็นสัททตัณหา เป็นสัททตัณหาขึ้น ตรึงใจสัตว์โลกให้หมุนเวียนอยู่ในภพ ออกจากภพไม่ได้ ทัดทรงประดับ ประดาด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องให้เกิดยั่วยวนต่างๆ เครื่องลูบไล้ละลายทาต่างๆ นี่เป็นรูปตัณหา [ตัณหาในรูป] และคันธตัณหา [ตัณหาในกลิ่น] ขึ้น นั่งนอนอาสนะสูงใหญ่ ภายในมีนุ่นและสำลี ให้เกิดเป็นโผฏฐัพพตัณหา [ตัณหาในสัมผัส] ขึ้น
    รับเงินและทองเหล่านี้ เงินทองอันเดียวเป็นตัวสำคัญใน ๑๐ สิกขาบทนั่น เงินทองเป็นตัวสำคัญ ถ้าว่าเงินทองหยิบเข้าได้แล้ว อื่นหมด เสียหมด ใช้ไม่ได้แบบเดียวกับสุรา สำคัญนัก ถ้าว่าศีล ๘ ไม่ถึงเงินและทอง ไม่ห้ามเงินและทองเพียงแค่ ๘ สิกขาบท ก็เพื่อตัดตัณหา เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นอติเรกศีล เป็นอุดมศีลขึ้น ไม่ใช่ศีล ๕ ธรรมดา ศีล ๕ ธรรมดาเป็นเหฏฐิมศีล
    ภิกษุเป็นผู้มีศีล ศีลของภิกษุ ศีล ๕ ก็รวมอยู่ด้วย ศีล ๘ ศีล ๑๐ รวมอยู่ด้วยทั้งนั้น เข้ามารวมอยู่ในศีลของภิกษุหมด แต่ภิกษุเป็นผู้มีศีลน่ะ เมื่อสำเร็จญัตติจตุตถกรรมวาจาในท่ามกลางพระสงฆ์ สำเร็จญัตติจตุตถกรรมในท่ามกลางของสงฆ์แล้ว ศีลสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ ไม่ได้สมาทานเลย สมบูรณ์บริบูรณ์เมื่อจบญัตติจตุตถกรรมวาจา เป็นภิกษุภาวะในพุทธศาสนาขึ้น
    ศีลของภิกษุเป็นอปริยันตปาริสุทธิสีลทีเดียว ศีลไม่มีที่สุด ในวิสุทธิมรรคแสดงไว้ ศีลมีสามล้านกว่าสิกขาบท ศีลของภิกษุจบพระวินัยปิฎกเป็นศีลของภิกษุน่ะ มากมายนัก เพราะเหตุนั้น ภิกฺขุ สีลวา ภิกษุเป็นผู้มีศีลนะ มีจริงนะ มีทั้งหมดทีเดียว แต่นี้ท่านจำแนกแยกย่นลงไป ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ ผู้สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามที่พระองค์ทรงอนุญาตอยู่นี้น้อยนิดเดียว ขึ้นสู่พระปาติโมกข์นี้น้อยนิดเดียว โดยสามัญทั่วไปละก็ ๒๒๗ สิกขาบทนิดเดียว ศีลขึ้นสู่พระปาติโมกข์ แต่ว่าข้อสำคัญทั้งนั้น ไม่ใช่ข้อเล็กน้อย เพราะฉะนั้น ควรไหว้ควรบูชา ภิกษุประพฤติได้ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ของตัวได้ละก็ น่าไหว้น่าบูชานัก เป็นของทำยาก ไม่ใช่เป็นของทำง่าย
    อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยอาจารมารยาท เครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ และโคจรมารยาท เครื่องมาประพฤติและโคจรของภิกษุน่ะ ภิกษุจะเดินไป หาตำหนิไม่ได้ ตาก็ทอดลงมองชั่วแอกหนึ่ง เรียกว่า ตาตายไม่ใช่ตาเป็น ทอดลง แม้จะเบิกตาขึ้นก็เพียงว่าดู อันตรายเท่านั้น ที่จะแสวงหาวิสภาคารมณ์ ที่จะแสวงหารูปที่จะชอบก็ไม่มีเสีย ไม่มีแก่ภิกษุเลย ภิกษุเดินไปก็ตั้งอยู่ในความสำรวม เรียกว่า อินทรียสังวร สำรวมทีเดียว สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ได้ยินดียินร้าย เวลาเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้อง โผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ สำรวมระวังไม่ให้โทมนัสเล็ดลอดเข้าไปประทุษร้ายจิตได้ คอยระแวดระวังอยู่ทีเดียวนั่น ภิกษุหน้าที่สำรวมล่ะ เรียกว่าอาจาระ นั่นแหละเรียกว่าอาจาระทั้งนั้น มารยาทของภิกษุด้วยกาย หาติเตียนไม่ได้ ด้วยวาจาก็หาติเตียนไม่ได้ จะเปล่งวาจาใดๆ ไม่ครูดโสต ไม่กระทบโสตใครเลย สำรวมทางวาจาทีเดียว มารยาทของกาย ของวาจา ตลอดจนกระทั่งถึงใจ เป็นอัพโพหาริกลงไปในเจตนาของภิกษุก็ไม่ประทุษร้ายผู้หนึ่งผู้ใด เจตนาประกอบอยู่ด้วยเมตตา เป็นปุเรจาริกทีเดียว นั่นเรียกว่าอาจาระทั้งนั้น ไม่ใช่โคจรสัมปันโน เป็นอาจารสัมปันโน ถึงพร้อมแล้วด้วยมารยาท เครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ นี่ย่อลงไปได้ความดังนี้
    โคจรสัมปันโน ภิกษุถึงพร้อมด้วยโคจร อโคจร ภิกษุไม่ไปในที่อโคจร ที่อโคจรมากนัก กว้างขวาง โคจรสัมปันโน ถึงพร้อมแล้วด้วยโคจรน่ะ ไปในที่โคจรของตัว ท่านกล่าวที่อโคจรไว้ เวสิยาทิเภเท ภิกษุไม่ไปหาในหญิงแพศยา หญิงม่าย หญิงสาวใหญ่ ภิกษุไม่ไปมาหาสู่ เมื่อเขาเชื้อเชิญนิมนต์ก็ไปตามหน้าที่ แต่ว่าเรื่องจะไปเรื่องกิจอื่นนอกจากเขานิมนต์ไปเช่นนั้น จะไปสนทนาปราศรัยอย่างสามัญชนธรรมดาไม่มี เพราะภิกษุไม่ไปในที่เช่นนั้น ในสกุลหญิง แพศยา หญิงม่าย หญิงสาวใหญ่ ภิกษุไม่ไป เรียกว่าเป็นอโคจรของภิกษุ หรือในโรงสุรา โรงยาฝิ่น เหล่านี้เป็นอโคจรของภิกษุ ภิกษุไม่เข้าไป ถ้าภิกษุสามเณรองค์หนึ่งองค์ใดเข้าไป ในโรงสุรายาฝิ่นเป็นอย่างไร ๒-๓ หนเท่านั้นแหละ ภิกษุอื่นก็นึกว่ามันกระไรๆ เสียแล้วล่ะ ภิกษุองค์นั้นน่ะ เห็นจะไปติดฝิ่นเสียก็ไม่รู้ หรือจะไปดื่มสุราก็ไม่รู้ แม้โรงดื่มที่เขาตั้งในถนนหนทางก็ไม่เข้าไปนั่ง เข้าไปนั่งในที่นั้น กลัวเพื่อนสหพรหมจารีรังเกียจ จะไม่นั่งดื่มแต่กาแฟน่ะซี จะกระซิบหรือใช้เลศนัยให้เจ้าของกาแฟส่งสุรามาให้น่ะซี ไม่เข้าไปนั่งทีเดียว โรงดื่มเช่นนั้น ละอายแก่ใจไม่เข้าไป กลัวจะเสียชื่อ อโคจรของภิกษุยังมีอีกมาก โรงมหรสพต่างๆ เป็นอโคจรทั้งนั้น ที่ใดเขาประชุมกันในเรื่องพลเมือง เขาต้องการสนุกสนานกันในสถานที่ใดๆ เป็นอโคจรของภิกษุทั้งนั้น แม้เขากรีฑาทัพกันภิกษุเข้าไปดูไม่ได้ เป็นอโคจรของภิกษุ ที่ไปแล้วเขาติเตียนในสถานที่ใดๆ ในสถานที่นั้นๆ เป็นอโคจรของภิกษุทั้งนั้น อโคจรของภิกษุมีมากอย่างนี้ เมื่อเป็นภิกษุเข้าแล้ว มีศีลแล้ว มีในพระปาติโมกข์แล้ว อยู่ในมารยาทที่ดีแล้ว อโคจรก็ไม่มี ตั้งอยู่ในโคจรทีเดียว ไปในที่ๆ ควรไปทีเดียว
    อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยทั้งหลายในโทษมีประมาณน้อย ขึ้นชื่อว่าโทษแล้ว เท่าปลายผมปลายขน ไม่ให้กระเซ็นถูกทีเดียว อุปมาดุจดังว่าอุจจาระ ของที่เหมือนเท่าปลายผม ปลายขน กระเซ็นถูกเข้า รู้สึกว่าเหม็นสกปรก ภิกษุระวังความบริสุทธิ์ของภิกษุไม่ให้กระทบ ไม่ให้เข้าไปใกล้ของโสโครกปฏิกูลทีเดียว สิ่งที่เป็นโทษแล้วมีประมาณน้อยเท่าปลายผมปลายขน ก็ถอยใจออกห่าง เหมือนยังกับปีกไก่ใส่เข้าไปในไฟ ปีกไก่ไม่เข้า งอกลับเสีย ร่นตัวถอยเข้ามา ถอยเข้ามา ไม่ไปฉันใด ใจของภิกษุที่บวชในพระธรรมวินัยโดยซื่อตรงแล้ว ไม่เข้าไป ในโทษแม้มีประมาณน้อย ใจถอยกลับ ไม่เข้าไปในโทษทีเดียว สิ่งที่เป็นโทษไม่เข้าไปทีเดียว สิ่งที่เป็นอาบัติ สิ่งที่เป็นโทษ ไม่เอาใจสอดเข้าไปทีเดียว ไม่เจตนาทีเดียว ถอยกลับทีเดียว นี้ได้ชื่อว่า เห็นภัยทั้งหลายในโทษมีประมาณน้อย อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยทั้งหลายในโทษมีประมาณน้อย
    สมาทาย สิกฺขาปเทสูติ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทน้อยใหญ่ สิกขาบททั้งหลายมากน้อยเท่าใด สมบูรณ์บริบูรณ์ เหมือนน้ำในมหาสมุทร น้ำจะไหลไปในทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘ ใน แม่น้ำน้อยใหญ่ ไหลเข้าไปในมหาสมุทรเท่าหนึ่งเท่าใด มหาสมุทรก็มีฝั่งรักษาน้ำไว้ได้ ไม่ให้ล้นบ่าท่วมไปในประเทศที่ไม่มีน้ำ รักษาไว้จำเพาะที่มีน้ำเท่านั้น นี้ฉันใด ภิกษุเมื่อเป็นภิกษุในธรรมวินัยเข้าแล้ว อยู่ในศีลของตัว ไม่ล้นกรอบศีลของตัวไปฉันนั้นเหมือนกัน อยู่ในกรอบของพระวินัยไม่ล้นกรอบพระวินัยฉันนั้นเหมือนกัน อย่างนี้ได้ชื่อว่าภิกษุนั่นแหละตั้งอยู่ในศีลเบื้องบน ไม่ใช่ศีลเบื้องต่ำ ศีลเบื้องสูงเป็นศีลของภิกษุ ต้องรักษาปฏิบัติดังนี้ สามเณรก็อยู่ในหน้าที่ของสามเณร ศีลเพียง ๑๐ สิกขาบทก็หนักมืออยู่เหมือนกัน นั่นก็หนักมือเหมือนกัน ถ้าว่าสะเพร่าละก็ รักษาได้ยาก ต้องละเอียดจึงจะรักษาได้ง่าย ฝ่ายภิกษุเล่า ถ้าว่าสะเพร่า ก็รักษาไม่ได้ เป็นของสูง ของละเอียด ต้องละเอียดทีเดียวจึงรักษาได้
    เหตุนี้ ศีลที่แสดงมานี้ในเหฏฐิมศีลและอุปริมศีลทั้ง ๒ ประการนี้ เป็นเบื้องต้นของพุทธศาสนิกชนทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า ถ้าว่าไม่มีศีลจริงแล้ว จะอวดว่าปฏิบัติศาสนาละโกงตัวเอง ไม่ทำตัวเองให้พ้นจากทุกข์ได้ ตัวเองจะต้องอยู่ในปลักกิเลสนั่นเอง เปลื้องตนพ้นกิเลสไม่ได้ เหตุนี้ต้องคอยระแวดระวัง ต้องตั้งตนให้อยู่ในศีลจริง เหมือนพระอริยบุคคล อิธ อริยสาวโก ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ จริงๆ เหมือนพระอริยบุคคลตั้งอยู่ในศีล ๘ จริงๆ เหมือนพระอริยบุคคลตั้งอยู่ในศีล ๑๐ จริงๆ เหมือนพระอริยบุคคลตั้งอยู่ในศีล ๒๒๗ เหมือนยังกับ ภิกษุในพุทธศาสนาที่เป็นผู้มีความประพฤติดีงามตามพระธรรมวินัยของพระศาสดา ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา แห่งศีล ทั้งเหฏฐิมศีลและอุปริมศีล ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ในศีลเบื้องต่ำและเบื้องสูงทั้ง ๒ ประการนี้ พอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    มีคนบอกว่า คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ นั่นจริงหรือไม่ ? อย่างไรครับ





    ตอบ....
    ก็บอกแล้วว่า เขาไม่รู้ว่าติดรูปคืออะไร


    เพราะเขาไปเข้าใจเรื่องธรรมกายเป็นนิมิต



    และกระผมจะบอกให้ชัดเจนกันตรงนี้ พระคุณเจ้าโปรดทราบ โจมตีกันมานานแล้วว่า ธรรมกายวัดปากน้ำติดนิมิต ติดรูป




    กระผมอยากจะเรียนถามว่า
    มีอยู่ตรงไหนที่พระพุทธเจ้า ไม่ให้ใช้นิมิต มีไหม ! ใครเอามาแสดงให้ดูหน่อยได้ไหมครับ ผมจะประกาศให้ก้องทั่วโลก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ไม่มีใครเอาบทนี้มาดูเลย นี่ หลักทำนิพพานให้แจ้ง
    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความเงียบสงัด จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้
    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่ง วิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลบริบูรณ์ได้แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มี ได้เลย”
    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ตามประกอบความยินดี ความพอใจในหมู่อยู่แล้วหนอ เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความเงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาจิตวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้”
    คิดดูเถอะ..พระพุทธเจ้าน่ะตรัสให้ทำนิมิต มันเรื่องอะไรเราจะไปปฏิเสธนิมิต มันเป็นฐานสำคัญ นิมิตเป็นอุบายรวมใจให้มาหยุด เพราะใจมันมีตัวตนที่ไหน จะให้ใจหยุด ถึงได้สอนกัน บางท่านก็บอกว่า สมาธิแบบธรรมชาตินั่นถูกต้องแล้ว เท่านี้ก็พอแล้ว ความจริงพอหรือไม่พอ ให้ดูอริยมรรคมีองค์ ๘ : สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌานทั้ง ๔ ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ มันต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต นั่นแปลว่า มันเริ่มมาตั้งแต่บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตจึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติกำจัดพยาบาท สุขกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตากำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ ๕ อยู่ที่ไหน ? ก็อยู่ที่มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ นั่นแหละ ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น ใครตั้งนิมิตขึ้นถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย มันผิดที่ไหนกันครับ
    เกจิอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณานิมิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณาให้เห็นนิมิตตามที่เป็นจริงว่านี่..สังขารนิมิต ไม่ว่าจะเอาอะไรมาพิจารณา จะเป็นเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ก็ยกขึ้นมาพิจารณานี่ ก็ให้พิจารณานิมิตนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะนิมิตนั้นเป็นของจริงโดยสมมติ เมื่อพิจารณาแล้วถูกต้องตรงถึงธรรมกาย จะไปปฏิเสธได้ยังไง นิมิตมันต้องเกิดด้วย และถ้านิมิตไม่เกิด หรือไม่ได้ใช้นิมิตแล้วจะยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้อย่างไร นี้มีอยู่ใน ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย ไปเปิดดูได้ทุกท่าน เป็นพระพุทธวจนะด้วย ไม่ใช่เป็นของพระอรหันต์ธรรมดาด้วยซ้ำไป
    เพราะฉะนั้น นิมิตนี่เป็นของต้องมี สมถภูมิ ๔๐ น่ะบอกไว้ชัดเจนเลย กสิณ ๑๐ นี่มันชัดอยู่แล้วก็มันนิมิตอยู่แล้วนี่ จริงๆ แล้ว แม้ อนุสสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ ก็ต้องเห็นนิมิต แต่นิมิตที่เห็นอย่าง อนุสสติ นี่ยังไม่แท้ แปลว่า พิจารณาจริงๆ จะเอาแน่ๆ เช่น เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าคนที่เห็นนิพพาน สัมผัสนิพพาน ซ้อนนิ่งอยู่กลางนิพพานทั้งรู้ทั้งเห็นและได้อารมณ์พระนิพพาน ส่งกระแสพระนิพพานมันผิดตรงไหน แต่นั่นนิพพานไม่เรียกว่านิมิต แต่ว่าสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน
    แต่เทวตานุสสตินี่มันชัดอยู่แล้วมันต้องเห็น แต่ไม่เห็นก็ได้ ก็นั่งท่องเอาว่าเทพยดามี เขาทำกุศลสำคัญ มีศีลกุศล ทานกุศล ภาวนา กุศล เป็นต้น เลยไปเกิดเป็นเทพยดา มีหิริโอตตัปปะ อย่างนี้ก็ได้...ก็ลองดูสิว่า ใจมันสงบได้เท่าไร กระผมว่าสงบได้นิดเดียว แต่ถ้าเป็นผู้สื่อกับเทวดาได้ โดยวิธีการที่ถูกต้องไม่ใช่โดยบังเอิญหรือถูกหลอก อันนั้นล่ะดีที่สุด เป็นนิมิตของจริงโดยสมมติ รู้เลยว่าเทวธรรมมีอะไร อย่างชัดเจนและถ้าคนถึงเทวกายได้เห็นเทพยดา ผมรับรองว่า สงบครับ..สงบแน่ ๆ เพราะขึ้นชื่อว่าสมถกัมมัฏฐาน ต้องสงบจากกิเสลนิวรณ์
    ดังนั้น นิมิตคือ สื่อที่ทำให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ ๑๐ อาโลกกสิณเป็นกสิณครอบจักรวาล เป็นกสิณกลาง ไม่ว่าบุคคลจะมีอัธยาศัยอย่างไรก็ตาม ใช้กสิณนี้กสิณเดียวครอบได้หมด ใช้แก้ไขป้องกันได้เลย กสิณก็คือนิมิตนั่นแหละ
    และแม้แต่คนที่ทำวิปัสสนาไม่ว่าจะสายไหนก็เอานิมิตทั้งนั้น ท่านสูดลมหายใจเข้าออก ท่องพุทโธๆ ไป พอจิตละเอียดหนักท่านเห็นอะไรล่ะ ให้ไปถามผู้ที่ถึงจุดนี้ได้ทุกคน..ก็เห็นดวงใสครับ กระผมเชื่อแน่และรับรอง ๑๐๐% ว่าหลวงพ่อมั่นนี่ท่านเห็นดวงใส แล้วท่านก็เอาเข้ากลางดวงนั้น กลางของกลางดวงนั้น แต่ท่านปฏิเสธการเอาดวงออกนอก ท่านบอกมันไม่ถูกต้อง แต่ดวงใสอยู่ในใจของท่าน อยู่ศูนย์กลางข้างในกายท่าน พิจารณาเช่นนี้ครับ ทิพพจักขุ ทิพพโสต เกิดตรงนั้น เห็นแจ้ง เห็นชัด ก็เห็นจากตรงนั้น ไปถามเอาเถอะครับ
    ยุบหนอพองหนอ นั่งภาวนาก็เห็นครับ ทำไมจะไม่เห็น เห็นตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำไป ไปถามดูก็ได้ แต่ก็เห็นด้วยใจหรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้จักหรือไม่ก็ตาม นึกออกไปเห็น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ไม่ใช่นั่งท่องเอานะครับ เห็นน่ะนิมิตทั้งนั้น แต่ต้องเห็นด้วยใจ ทีนี้..นิมิตมันไปหมดตรงไหน ? ไปดูเถอะครับ ตำราวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ว่าเมื่ออริยมรรคญาณจะเกิดขึ้นปหานสังโยชน์กำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะเดียวกันปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ ได้ชื่อว่าท่านออกจากภาคทั้ง ๒ คือสังขารนิมิตและตัณหาปวัตติ อุภโตวุฏฐานะ ไปดูได้ในปัญญานิทเทส ปวัตติ คือเครื่องปรุงแต่ง ก็ตัณหานั่นแหละหรือสัญโญชน์ อุภโตวุฏฐานะ คือออกจากภาคทั้ง ๒
    ทีนี้ ออกจากสังขารนิมิตนี่ครับ วิชชาอื่นกระผมอธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จัก แต่วิชชาธรรมกายน่ะให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนจิตละเอียดหนัก สมถพละคือกำลังสมาธิ และวิปัสสนาพละมีกำลังเสมอกัน แล้วจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่พิสดารละเอียดไปจนจิตละเอียดหนัก จนวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้ชั่วคราว หรือ สำหรับพระอรหัตมรรคก็ต้องได้ถาวร หรือปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียดปรากฏเข้าไปในอายตนะนิพพาน หรือซ้อนเข้าไปในพระนิพพาน หรือปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน ก็ได้อารมณ์พระนิพพาน นั่นจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงออกจากภาคทั้ง ๒ คือ จิตละเอียดหนัก พ้น..หลุดจากสังขารนิมิต คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในภพ ๓ ตั้งแต่มนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไปจนสุดละเอียด จึงวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้เบื้องต้นในระดับโคตรภูญาณเป็นเพียงชั่วคราว แต่จะไปได้โดยเด็ดขาดตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้ เมื่อมรรคจิตเกิดปหานสัญโญชน์ ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เช่น โสดาบันบุคคล ก็ปหานสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ แล้วเข้าผลสมาบัติไปเลย ธรรมกายรู้เลยครับ เพราะมันดับหยาบไปหาละเอียด ส่วนหยาบเมื่อมรรคจิตเกิดสมบูรณ์ปหานสังโยชน์ นั่นธรรมกายมรรค เมื่อธรรมกายมรรคเกิดขึ้นธรรมกายผลก็ตามมาเลยชั่วขณะจิตเข้าผลสมาบัติ เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ มันตรง..เข้าใจได้เลย ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก แต่ว่า..วิธีอื่น สายอื่น กระผมไม่เข้าใจว่าละสังขารนิมิตได้โดยวิธีไหน..ผมไม่ทราบ..ไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นเรื่องนิมิตได้ โปรดเข้าใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า..เธอ อย่าใช้นิมิต ถ้าใครเอามา ให้ผมดูสักนิดเถอะครับ
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    <TABLE id=post4028727 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_4028727 class=alt1>ในการปฏิบัติธรรม การนึกนิมิตกับการเห็นจริง ต่างกันอย่างไร ?





    การปฏิบัติธรรม ณ ที่นี้หมายเฉพาะการปฏิบัติภาวนาธรรมนะ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ และมีหลักการปฏิบัติแตกต่างกัน แต่เป็นกระบวนการปฏิบัติทางจิตที่ต่อเนื่องกัน คือ
    ประการแรก คือ สมถภาวนา เป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งที่จะชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ หรือบางท่านเรียก นิวรณูปกิเลส นิวรณ์ ได้แก่ ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่า แห่งจิต (ถีนมิทธะ) ๑ ความลังเลสงสัยว่าวิธีนี้ถูกหรือไม่ถูกทาง (วิจิกิจฉา) ๑ ความหงุดหงิดถึงโกรธพยาบาท (พยาปาทะ) ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต (อุทธัจจกุกกุจจะ) ๑ และ ความยินดีพอใจ ยึดมั่นหรือติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย (กามฉันทะ) ๑
    กิเลสนิวรณ์ดังกล่าวนี้ หากมีอยู่ในจิตใจของผู้ใดแล้ว ก็ย่อมทำให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว ทำให้ไม่อาจเห็นอรรถ (เนื้อความธรรม) เห็นธรรม (ธรรมชาติตามสภาวะที่เป็นจริง) ได้ ผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องกำจัดกิเลสนิวรณ์นี้อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถพิจารณาเห็นสภาวธรรมทั้งปวง ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และสูงขึ้นไปถึงอริยสัจ ตามที่เป็นจริงได้แจ้งชัด
    กิเลสนิวรณ์เหล่านี้จะกำจัดได้ก็ด้วยองค์แห่งฌาน คือ วิตก วิจาร (ความตรึกตรองประคองนิมิต) สามารถกำจัดถีนมิทธะและวิจิกิจฉาได้ ปีติ และ สุข สามารถกำจัดพยาบาทและอุทธัจจะกุกกุจจะได้ และเอกัคคตารมณ์ (ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) สามารถกำจัดกามฉันทะได้
    วิธีอบรมจิตเพื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌาน เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์นั้น เป็นที่ทราบและเรียกกันโดยทั่วไปว่า “การทำสมาธิ” หรือ “การเจริญภาวนาสมาธิ” ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสมถกัมมัฏฐาน
    อุบายวิธีที่จะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แห่งฌานนี้มีหลายวิธีด้วยกัน พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๔๐ วิธี รวมเรียกว่า สมถภูมิ ๔๐ วิธีปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายได้เลือกอุบาย ๓ ประการขึ้นมาประกอบกัน เพื่อให้เหมาะแก่จริตอัธยาศัยของผู้ปฏิบัติธรรมต่างๆ กัน และก่อให้เกิดผลดีแก่การปฏิบัติเป็นอย่างมาก อุบายวิธีทั้ง ๓ นั้นก็คือ พุทธานุสติ อานาปานสติ กับ อาโลกกสิณ กล่าวคือใช้อุบาย
    1. ให้กำหนด “บริกรรมนิมิต” คือนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใสด้วย “ใจ” ซึ่งเป็นส่วนผลเบื้องต้นของอาโลกกสิณ เพื่อเป็นอุบายรวมใจอันประกอบด้วยธรรมชาติ ๔ อย่าง คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้มาอยู่ในอารมณ์เดียวกัน โดยการนึก (วาดมโนภาพ) ให้เห็นดวงแก้วกลมใส จำดวงแก้วดวงใส คิดจดจ่ออยู่กับดวงแก้วกลมใส และรู้อยู่ ณ ภายในตรงศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสนั้น เพื่อให้ธรรมชาติ ๔ อย่างของใจนั้น รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันได้นิ่งสนิท
      การนึกนิมิต บางคนจึงอาจนึกเห็นได้บ้าง บางคนก็นึกเห็นไม่ได้บ้าง เป็นธรรมดา แต่เมื่อ “นึกเห็น” ได้ที่ไหน ก็แปลว่า “ใจ” อยู่ที่นั่น แม้จะนึกเห็นได้แต่ก็ไม่ค่อยชัดนัก นี่เป็นเครื่องการนึกให้เห็นนิมิต เป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจให้มาหยุดเป็นจุดเดียวกัน เพราะใจนั้นเป็นสภาพที่เบากวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านง่าย แต่รักษาให้หยุดนิ่งได้ยาก แต่ก็จะต้องอบรมให้หยุดให้นิ่ง มิฉะนั้นเมื่อมีกิเลสนิวรณ์อยู่ในจิตใจแม้แต่อย่างหนึ่ง ย่อมไม่อาจเห็นอรรถเห็นธรรมได้แจ่มแจ้ง
    2. ให้กำหนด “บริกรรมภาวนา” คือให้ท่องในใจว่า “สัมมา อรหังๆๆๆ” ต่อไป เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งได้ง่ายเข้า เพื่อให้ใจมีงานทำ ณ ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใส ที่ให้ใจนึกเห็นนั้นแหละ คำบริกรรมภาวนานี้จัดเป็น “พุทธานุสติ” กล่าวคือให้รำลึกถึงพระพุทธคุณอยู่ทุกขณะจิตว่า “เป็นผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ และเป็นผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์” (สัมมา = โดยชอบ, อรหัง = ผู้ตรัสรู้ ผู้ไกลจากกิเลส ผู้บริสุทธิ์)
    3. กำหนดฐานที่ตั้งของใจ กล่าวคือกำหนดจุดที่ให้เอาใจไปจดที่ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นจุดที่พักใจอันถาวร คือเวลาสัตว์จะไปเกิดมาเกิด หรือเวลาจะหลับ จะดับ จะตื่น จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือพอดี เรียกว่า ศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นมาที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ ณ ที่ตรงนี้ และ ณ จุดนี้ยังเป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอีกด้วย กล่าวคือเมื่อจิตละเอียดหนักเข้าเพราะใจค่อยๆ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันนั้น ลมจะหยุด ณ ที่ศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือประมาณ ๒ นิ้วมือนี้เอง ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะว่าจุดนี้เป็นที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก จึงมีลักษณะของ “อานาปานสติ” เพราะเป็นธรรมชาติของใจ เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน และลมหายใจละเอียดเข้าๆ แล้วลมจะหยุด ณ ที่ตรงนี้
    ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมพึงเข้าใจว่า เมื่อกำหนดบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กันไว้เรื่อยนั้น ใจอันประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ จะมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กล่าวคือแรกๆ จะเห็นนิมิตเกิดขึ้นชั่วขณะ แล้วก็หายไป เรียกว่าเห็นๆ หายๆ เรียกว่า “อุคคหนิมิต” อันมีผลให้ใจเป็นสมาธิบ้างเป็น ครั้งคราว จัดเป็น “ขณิกสมาธิ” ต่อเมื่อเห็นนิมิตใสแจ่ม ติดตาติดใจ แนบแน่น จนนึกจะขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงก็ได้ นี้เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต” อันนี้มีผลทำให้ใจหยุดนิ่งแนบแน่น จัดเป็นสมาธิขั้น “อัปปนาสมาธิ” อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน ซึ่งประกอบด้วยอารมณ์แห่งฌาน ทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต (เห็นใสแจ่มอยู่ได้) และเกิดปีติ สุข และเอกัคคตารมณ์ เป็นธรรมชาติเครื่องเผากิเลสนิวรณ์ทั้ง ๕ ให้สิ้นไป
    การเห็นนิมิตเป็นดวงกลมใสแจ่มในช่วงนี้ ก็เป็นการเห็นผลของการอบรมจิตใจให้หยุดให้นิ่งเป็นสมาธิได้แนบแน่นดี ไม่ใช่เห็นด้วยการนึกเอา จัดเป็นการเห็นของจริง คือ “ปฏิภาคนิมิต” ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติที่ใจหยุดนิ่งสนิท โดยอาศัยองค์บริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนา เป็นอุบายวิธีให้ใจมีที่ยึดเกาะ แล้วค่อยๆ รวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ ทั้งนี้เมื่อกำหนดฐานที่ตั้งของใจให้หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายที่ ๗ นั้น ถูกตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อีกโสดหนึ่งด้วย กำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด และโดยอาการของใจที่มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ตรงนี้ ธาตุละเอียดของวิญญาณธาตุทั้ง ๖ คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ ก็จะมาประชุมอยู่ ณ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้เองด้วย มีผลให้เกิดทิพจักขุ ทิพโสต ให้สามารถเห็นกาย เวทนา จิต และธรรมของกายในกาย ณ ภายใน จากสุดหยาบคือของมนุษย์ ละเอียดไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะ คือ กายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมของตนเอง เมื่อยิ่งละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดนั้น จิตใจก็จะพลอยสะอาดบริสุทธิ์ไปด้วย สูงขึ้นไปถึงเห็น และเข้าถึงธรรมกายต่อๆ ไปตามลำดับจนสุดละเอียด
    การเห็นกายในกาย และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายในละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดของกายโลกิยะนี้ ก็เป็นการเห็นของจริงที่เป็นสังขารธรรม คือสิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และมีสภาวะหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ถ้าจะพูดการเห็นของจริงในขั้นนี้ให้ถูกต้อง ควรจะเรียกว่า “เห็นจริงโดยสมมุติ” เพราะเป็นการเห็นสังขารธรรมตามที่เป็นจริง เหมือนกับการเห็นมนุษย์ เช่นเห็นนาย ก. นาย ข. หรือสัตว์โลกกายหยาบทั้งหลาย เช่นเห็นช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น เพราะฉะนั้นการเห็นกาย เวทนา จิต และธรรม (ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ ขั้นโลกิยะ) ทั้งของมนุษย์ มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็น ณ ภายในตัวเราเอง หรือของผู้อื่นก็จัดเป็นการ “เห็นจริง” ตามภาษาคนธรรมดา แต่ถ้าจะพูดภาษาธรรม ก็เรียกว่าเห็นของจริงโดยสมมุติ ต่อเมื่อเข้าถึงธรรมกายที่ละเอียดไปสุดละเอียด นั้นเป็นการเห็นธาตุล้วนธรรมล้วนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง นับเป็นการ “เห็นของจริง” สูงขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งในบรรดาของการชิมลองโลกุตตรธรรม แต่ยังไม่ได้ “เป็น” เพียงแค่ “เห็น” หรือเข้าถึงเป็นคราวๆ ที่ใจสะอาดบริสุทธิ์ และหยุดถูกศูนย์ถูกส่วน
    ประการที่ ๒ คือ วิปัสสนาภาวนา มุ่งที่การเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริงว่า ธรรมชาตินี้เป็นสังขารธรรม อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างไร ? (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร) และมีสภาวะตามธรรมชาติหรือสามัญญลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาอย่างไร ? ปัญญาเห็นแจ้งในขั้นนี้ชื่อว่า “วิปัสสนาปัญญา” แล้วจะพัฒนาสูงขึ้นไปเป็นการเห็นแจ้งในอริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ อันเป็นปัญญาขั้น “โลกุตตรปัญญา” ให้สามารถเห็นว่ามีธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานคือพระธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ว่าเป็นบรมสุขยิ่งตามที่เป็นจริงอย่างไร นี้จัดเป็นการเห็นธรรมชาติที่เป็นปรมัตถธรรม ถึงขั้นนี้จึงเป็นการ “เห็นจริงแท้” เป็นการเห็นปรมัตถธรรม คือธรรมชั้นสูงสุด หรือเห็นธรรมชาติที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์
    อันที่จริง การเห็นของหรือธรรมชาติจริงโดยปรมัตถ์นั้น เริ่มเห็นมาตั้งแต่เมื่อพระโลกุตตรมรรคญาณเกิด ให้หยั่งรู้การกำจัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย ๓ ประการคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ ก้าวล่วงเข้าสู่ภูมิของพระอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้นพระโสดาบันบุคคลขึ้นไปนั่นแล้ว แต่มาเห็นชัดแจ้งที่สุดเมื่อถึงพระนิพพาน เมื่อพระอรหัตตมรรคญาณเกิด เป็นการเห็นของจริงธรรมชาติจริงๆ ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายสังขตธาตุสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง แล้ววางอุปาทานได้หมด) กับฝ่ายอสังขตธาตุ อสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระนิพพานอย่างแท้แน่นอน
    กล่าวโดยสรุป
    1. การนึกนิมิตเป็นเพียงอุบายวิธีการอบรมจิตใจให้มารวมอยู่เสียที่บริกรรมนิมิต เพื่อให้ใจรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวกันตรงจุดเดียวกัน นี้นับเป็นการเห็นที่ยังไม่จริง
    2. ต่อเมื่อเกิดอุคคหนิมิตจึงนับเป็นการเห็นนิมิตจริง เพราะเป็นการเห็นขณะที่ใจหยุดนิ่ง ไม่ได้คิดเห็น แต่เป็นการเห็นนิมิตตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเองโดยอุบายวิธีดังกล่าว และมีผลให้เกิดทิพจักขุ ทิพโสต ให้สามารถได้เห็นและได้ยินหรือสัมผัสสิ่งที่ละเอียดประณีตยิ่งกว่าสายตาเนื้อมนุษย์ หรือประสาทหูมนุษย์จะสัมผัสรู้ได้ นี้ก็เป็นการเห็นของจริง เช่นเดียวกันกับตาเนื้อเห็นกายมนุษย์ หรือประสาทหูได้ยินเสียงที่เราพอได้ยินกันได้ ทั้งหมดนี้ถ้าจะพูดกันในภาษาธรรมก็ชื่อว่า เป็นการเห็นจริงโดยสมมุติ คือเห็นสังขารทั้งหยาบและทั้งละเอียด
    3. การเห็นพระไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง สูงขึ้นไปถึงการเห็นอริยสัจและเห็นธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ พระนิพพานตามที่เป็นจริง จึงนับเป็นการเห็นแท้จริงโดยปรมัตถ์
    <!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2>[​IMG] [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("4028727")</SCRIPT> [​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    คนไม่ทราบมักจะวิจารณ์ว่าการปฏิบัติแบบวัดปากน้ำภาษีเจริญนี้
    เป็นวิปัสสนึก คือนึกเอา ที่แท้ไม่ได้นึก

    ก็ให้หยุดๆ นึกที่ไหนเล่า ใจหยุด ไม่ใช่ใจนึก นึกตอนแรกเพื่อให้ใจมารวมกัน คือ เห็น จำ คิด รู้มารวมกัน

    พอใจหยุดแล้ว ก็หยุดในหยุดกลางหยุด ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อย สิ่งที่เห็นก็จึงเป็นของจริงโดยสมมติถ้าสิ่งที่เห็นนั้นยังอยู่ในระดับโลกิยะ

    ถ้าสุดละเอียดไปเมื่อถึงโลกุตตรธรรมจึงเป็นของจริงโดยปรมัตถ์
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    จากชาวคริสต์ เข้าถึงพุทธ ที่สุดละเอียด<!-- google_ad_section_end -->

    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->ลอเรน รีด จอห์นสัน อายุ 24 ปี อาศัยอยู่ที่นอร์ธฮอลิวูด แคลิฟอร์เนีย เขาเป็นนักบำบัดด้วยการนวด เป็นครูสอนโยคะ และเป็นนักเรียนการแสดง


    ลอเรนฝึกโยคะซึ่งเรียนมาจากครูชาวอินเดียอยู่ทุกวันเป็นเวลานานถึง 5 ปี เขารู้สึกว่ารีชี่โยคะช่วยให้เขานั่งเจริญภาวนาได้ดี การฝึกโยคะนี้รวมถึงการจำกัดอาหารเหลือแค่ผลไม้และผักเท่านั้น


    ลอเรนและภรรยามาฮันนีมูนกันในประเทศไทยซึ่งเป็นบ้านเกิดของฝ่ายหญิง แล้วตระเวนไปตามวัดต่างๆ เพื่อหาผู้ที่สอนเจริญภาวนาเป็นภาษาอังกฤษได้ ด้วยเหตุนี้เองได้นำเขามาสู่วัดหลวงพ่อสดฯ เขาไม่รู้อะไรเกี่ยวกับธรรมกายเลย พระภาวนาวิสุทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดจึงแนะนำให้เขามาร่วมกิจกรรมแบ่งกลุ่มเจริญภาวนาตอนเช้าวันอาทิตย์ ซึ่งทำให้ท่านรับรู้ถึงความสามารถอันพิเศษของลอเรน ท่านจึงให้รองอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาทำหน้าที่สอนเขาทุกๆ วัน หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ หลวงป๋าก็เริ่มสอนเขาเป็นการส่วนตัว แม้ลอเรนเรียนได้แค่ 2 สัปดาห์ แต่เขาก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ได้บันทึกการสัมภาษณ์ลอเรนมีความยาว 15 นาที



    ผู้สัมภาษณ์ของช่อง 9 : สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้พบคุณ. คุณได้เรียนรู้อะไรจากการเจริญภาวนา ?


    ลอเรน: อันดับแรก ผมได้เรียนวิธีการรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกาย. หยุดนิ่งถูกส่วนตรงนั้น ศูนย์กลางขยายออกไปเป็นดวงใสรอบตัว เมื่อใจหยุดกลางของหยุดเรื่อยไปก็หยุดในหยุดกลางของหยุดเรื่อยๆ ไป ได้เข้าถึงกายละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนสุดละเอียดจนถึงธรรมกาย


    คุณรู้สึกอย่างไร เมื่อคุณถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายในท้องของคุณ ?


    ผมรู้สึกสงบเยือกเย็นมาก อย่างล้ำลึก และความสุขที่แผ่ขยายออกมา


    เมื่อเจริญภาวนาถึง 18 กาย และถึงธรรมกายนั้น คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง ?


    รู้สึกว่าแต่ละกายที่เข้าถึงนั้น [กิเลส]เบาบางลงตามลำดับ เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ซึ่งเป็นกายที่หยาบที่สุดและเป็นกายโลกิยะ ถึงกายมนุษย์ละเอียดต่อๆ ไปจนถึงสุดละเอียดได้ถึงธรรมกาย ซึ่งเป็นกายที่ทึบน้อยที่สุด. มันพ้นจากความรู้สึกยึดถือในความเป็นตัวตนใดๆ ทั้งสิ้น.


    คุณรู้สึกไหมว่า สิ่งที่คุณได้เห็นเป็นของจินตนาการหรือของจริง ?


    ใช้จินตนาการน้อยมาก [อาจใช้ในช่วงแรกๆ ในระดับขณิกสมาธิ]. แต่สิ่งที่เห็นนั้นปรากฏขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ. ผมเพียงแต่เพ่งไปที่กลางของกลาง แล้ว[ดวงและกายต่างๆ]ก็ปรากฏขึ้นเอง.



    คุณได้เห็นนรก-สวรรค์บ้างไหม

    เห็นครับ

    แล้วคุณเห็นอะไรที่นั่น


    ได้เห็นหลายอย่างครับ. ในนรก, เห็นการลงโทษที่แตกต่างกันหลายระดับมาก. เห็นผู้คน[สัตว์นรก]มากมายกำลังถูกสุนัขกัด มันดุร้ายและเกรี้ยวกราดมาก. พวกเขาพยายามวิ่งหนี - ปีนต้นไม้ที่มีหนามแหลม [ต้นงิ้ว]. ยังถูกสัตว์ที่คล้ายแร้งจิกทึ้งจนพลัดตกลงมาจากต้นงิ้ว แล้วก็ถูกสุนัขก็จะเข้ามาจัดการกับพวกเขา.


    ผมได้เพ่งดูที่ศูนย์กลางดวงธรรมของสัตว์นรกเหล่านี้ เห็นเป็นสีดำมืด. ผมได้มองเข้าไปในจุดศูนย์กลางกายของพวกเขาเพื่อดูว่าทำไมพวกเขาจึงต้องไปอยู่ในนั้น - เป็นเพราะประพฤติผิดในกาม. และผมได้เห็น[ว่าเขาทำ]สิ่งที่น่าละอาย ความผิด และสิ่งที่ชั่วร้ายต่อจิตใจ.


    ผมไปยังอีกระดับหนึ่ง [นรกอีกขุมหนึ่ง] เห็นผู้คน[สัตว์นรก]อยู่ในกระทะ[ทองแดง]ใหญ่ … ใหญ่มาก! ร้อน! มีสิ่งซึ่งดูเหมือนของเหลวร้อนหรือโลหะหลอมเหลว เหมือนตะกั่ว [หมายถึงน้ำทองแดงร้อนจัดที่สัตว์นรกต้องดื่ม]. มันแผดเผา[อวัยวะ]ภายใน. บางคนก็ต้องดื่มของเหลว ที่มีกลิ่นเหม็นมาก แย่มาก [หมายถึงน้ำทองแดงนั้นเอง].


    และผมได้เพ่งดูที่ศูนย์กลางดวงธรรมของสัตว์นรกเหล่านี้อีก ได้เห็นว่า [พวกเขาได้รับวิบากกรรมเช่นนี้ เป็นเพราะ]ดื่มแอลกอฮอล์กันเป็นส่วนมาก. รวมทั้งยาเสพติดอื่นๆ, แต่ส่วนมากเป็นแอลกอฮอล์ [เพราะเป็นสิ่งเสพติดที่ถูกกฎหมาย และโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้].


    และแล้ว, ในนรก, สิ่งที่ร้ายสาหัสที่สุดที่ผมเห็น - ลึกลงไปกว่าระดับ[นรกขุม]ที่ 8 - ลึกกว่านรกของพวกที่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต พวกที่พูดโกหกหลอกลวง และพวกที่ขโมย โกง คอร์รัปชั่น ของผู้อื่น - ในนรกขุมนั้น ผมเห็นผู้ที่สอนผู้อื่นผิดๆ พวกเขาเหล่านี้ถูกปิดตาจนมืดมิด. พวกเขาไม่สามารถมองเห็นได้และต่างคนต่างวิ่งเข้าหากันด้วยความสับสนอลหม่าน และทุกข์ทรมานมาก. ร่างกายของพวกเขาถูกเผาไหม้จนดำเหมือนกับถูกลวกด้วยน้ำกรด มีกลิ่นเหม็นเหมือนซากศพ กลิ่นตลบอบอวลมาก.


    ผมได้เจริญภาวนาถึงธรรมกายที่สุดละเอียด ได้เห็นสวรรค์ซึ่งตรงข้ามกับนรก อย่างสิ้นเชิง. สว่างไสวมาก - สวยงามมาก. ศูนย์กลาง[กาย - ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย]ของเทพดาเหล่านี้ส่องรัศมีสว่างนัก. ในนรก สัตว์นรกมีศูนย์กลาง ดำมืดมัวมาก. ในสวรรค์ ผมเห็นเทพยดาบนสวรรค์มีรัศมีใสสว่างเป็นประกาย ประดุจดังแก้วผลึก. และผมสามารถดูไปที่ศูนย์กลางของเทพดาเหล่านี้ และรู้เห็นว่า ทำไมพวกเขาได้มาอยู่บนสวรรค์ - ก็เนื่องจากสิ่งที่เป็นบุญกุศลทั้งหมด, กรรมดีมากมายที่เขาได้ทำแก่[ตนและ]ผู้อื่น.


    เทวดาบางตนอยู่บนพื้นดิน; บางตนอยู่ในอากาศ และผมเห็นเทวดาอยู่ในต้นไม้ก็มาก.


    แต่, ความแตกต่างสำคัญระหว่างสวรรค์กับนรก ก็คือ สิ่งที่ผมเห็นที่ศูนย์กลางกายของสัตว์นรกและเทพดาเหล่านั้น - ไม่กรรมดีก็กรรมชั่ว อย่างใดอย่างหนึ่ง [สองอย่างนี้เท่านั้น ที่พวกเขาได้ทำลงไป เห็นปรากฏได้ที่ศูนย์กลางกาย - บุญกุศลนำให้มาเกิดเป็นเทวดา ส่วนบาปอกุศลนำให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก].


    คุณก็ได้เห็นทั้ง 2 ฝ่าย - ระหว่างสวรรค์กับนรก ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่ผู้คนพากันทำ. แล้วคุณได้เห็นพระนิพพานไหม ?


    ครับ, ผมเห็น. พระนิพพานอยู่นอกเหนือไปจากสิ่งที่เราคิดว่าเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ. ผมไม่เห็นธาตุทั้ง 4 เหล่านี้เลย. ผมได้เห็นพระนิพพานธาตุ นับไม่ถ้วน - เท่าที่ผมจะเห็นได้. และมีรัศมีเจิดจ้า สว่างไสว.


    คุณคิดว่าอะไร คือประสบการณ์ที่ดีที่คุณได้ปฏิบัติเข้าถึง ได้รู้ และได้เห็นจากการเจริญภาวนานี้ ?


    ผมรู้สึกว่า วิธีเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายนี้ มีความพิเศษ เป็นการปฏิบัติทางตรง ทำให้ผมได้มีประสบการณ์อย่างสูง.



    เมื่อคุณกลับไปสหรัฐอเมริกาแล้ว คุณจะทำอะไร ?


    ผมวางแผนไว้ว่า จะสอนวิชชาธรรมกาย. ผมมีลูกค้าซึ่งผมสอนโยคะ, การเจริญภาวนา และการนวดอยู่แล้ว และผมเชื่อว่าการแนะนำวิชาธรรมกายให้จะช่วยให้พวกเขาให้ช่วยตนเองได้.






    ลอเรน รีด



    <CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) --><!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2010
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    พระธรรมเทศนา
    ของ
    พระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)



    รตนตฺตยคมนปณามคาถา
    ๖ มีนาคม ๒๔๙๒



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="65%"><TBODY><TR><TD width="30%"></TD><TD vAlign=top width="27%">อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ
    นานาโหนฺตมฺปิ วตฺถุโต
    เอกิภูตมฺปนตฺถโต
    ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต
    </TD><TD vAlign=top width="43%">พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ จาติ
    อญฺญมญฺญาวิโยคาว
    พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา
    สงฺโฆ จ สาวโก พุทฺธสฺส
    อิจฺเจกาพุทฺธเมวิทนฺติ.






    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    “ ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก

    อาตมาขอโอกาสแด่ท่านมหาชนทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบรรดามีศาสนาเป็นภารกิจ หวังปฏิบัติให้ถูกสนิทตามศาสนาของตนๆ จึงได้อุตส่าห์พากันทรมานร่างกายในเวลาทำกิจทางศาสนา ทุกๆ ศาสนาล้วนแต่สอนให้ละความชั่วประพฤติความดีสิ้น ด้วยกันทุกชาติทุกภาษา
    ส่วนในทางพระพุทธศาสนา เวลาเช้าเวลาเย็นไหว้พระบูชาพระ และสวดสังเวคกถา ปสาทกถา ตามกาลเวลาเสร็จแล้ว ที่มีกิจเรียนคันถธุระก็เรียนไป ที่มีกิจเรียนวิปัสสนาธุระก็เรียนไป ฝ่ายพระเถรานุเถระก็เอาใจใส่ตักเตือนซึ่งกันและกันตามหน้าที่ เพื่อจะได้รักษาเนติแบบแผนอันดีของสาธุชนในพุทธศาสนาไว้ ให้เป็นตำรับตำราสืบสายพระศาสนาไป
    บัดนี้ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย ฟังปณามคาถา ความนอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต อนาคต ปัจจุบัน และถึงเป็นที่พึ่ง โดยย่อ
    ความนอบน้อมมาจาก นโม“นโม” แปลว่า นอบน้อม เป็นบุคลาธิษฐาน คือ นอบน้อมด้วยกาย นอบน้อมด้วยวาจา นอบน้อมด้วยใจ นอบน้อมในพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์มีพระชนมายุอยู่ อุบาสกอุบาสิกาเข้าไปสู่ที่เฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือกราบพร้อมด้วยองค์ ๕ เข่าและศอกทั้ง ๒ ต่อกัน ฝ่ามือทั้ง ๒ วางลงให้เสมอกัน ก้มศีรษะลงให้หน้าจรดพื้นในระหว่างมือทั้ง ๒ นั้น หรือในระหว่างที่เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั้น คอยฟังพระโอวาทานุสาสนีของพระองค์ ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาออกในระหว่างที่พระองค์ทรงรับสั่งอยู่ เป็นการรบกวนพระองค์ด้วยวาจา ให้เป็นที่ระแคะระคายพระทัย
    อนึ่ง เมื่อเข้าไปสู่ที่เฝ้า ไม่นั่งให้ไกลนัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ ด้วยต้องออกพระกำลังเสียงในเวลารับสั่ง ไม่นั่งให้ใกล้นัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ด้วยกายอันเป็นของปฏิกูล จะเป็นที่รำคาญพระนาสิกในเวลากลิ่นกายฟุ้งไป ไม่นั่งในที่เหนือลม ด้วยเคารพพระองค์ กลัวจะลมพัดเอากลิ่นกายที่ฟุ้งออกไปมากระทบพระนาสิกของพระองค์ ไม่นั่งในที่ตรงพระพักตร์นัก กลัวจะเป็นที่รำคาญพระเนตรทั้งสองของพระองค์ ไม่นั่งในที่เบื้องหลังนัก เกรงว่าพระองค์จะต้องหันพระพักตร์มากไปในเวลาจะทรงรับสั่ง ต้องนั่งในที่สมควรนอกจากที่ๆ แสดงมาแล้ว ในเวลาอยู่ในที่เฝ้า ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาให้เป็นที่รำคาญพระทัยแด่พระองค์ ดังนี้แล นอบน้อมด้วยกายในพระองค์
    ในเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ยังเหลือแต่เจดีย์ ๔ เหล่า คือ บริโภคเจดีย์ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ พุทธศาสนิกชนไปถึงที่เช่นนั้นเข้าแล้ว ในเมื่อกั้นร่ม ควรลดร่มลง ห่มผ้าปิด ๒ บ่า ควรลดออกเสียบ่าหนึ่ง ในเมื่อสวมรองเท้าเข้าไป ควรถอดรองเท้าเสีย และเข้าไปในที่นั้นไม่ควรแสดงอึงคะนึงและไม่เคารพ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องแสดงเคารพอย่างจริงใจ ไม่ทิ้งของที่สกปรกลงไว้ เช่น ก้นบุหรี่ หรือชานหมาก น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่บริเวณนั้น เมื่อเข้าไปในที่นั้นเห็นรกปัดกวาดเสีย ถากถางเสีย เห็นไม่สะอาด ทำให้สะอาด เห็นผุพัง ควรแก้ไข ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ได้ก็ยิ่งดี ดังนี้เป็นความนอบน้อมพระผู้มีพระภาคด้วยกาย โดยบุคลาธิษฐาน
    อนึ่ง นำเรื่องของพระรัตนตรัยไปสรรเสริญในที่นั้น แก่บุคคลนั้นอยู่เนืองๆ ดังนี้ ก็ชื่อว่า นอบน้อมด้วยวาจา
    และคิดถึงพระรัตนตรัยอยู่เนืองๆ ไม่ยอมให้ใจไปจรดอยู่กับอารมณ์สิ่งอื่นมากนัก คอยบังคับใจให้จรดอยู่กับพระรัตนตรัยเนืองๆ ดังนี้ ชื่อว่า นอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยใจ
    ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นองค์อรหันต์ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายต้องว่าดังนี้ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายในเวลาทำศาสนกิจทุกครั้ง เช่น พระเถรานุเถระกระทำสังฆกรรม และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายจะสมาทานศีล ก็ต้องว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” ถึง ๓ หน จะว่าแต่เพียงหนหนึ่งหรือสองไม่ได้ หรือได้เหมือนกันแต่ว่าไม่เต็มรัตนตรัยทั้ง ๓ กาล จะให้เต็มหรือถูกรัตนตรัยทั้ง ๓ กาลแล้ว ต้องว่าให้เต็ม ๓ หน หนที่ ๑ นอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต หนที่ ๒ นอบน้อมพระรัตนตรัยในปัจจุบัน หนที่ ๓ นอบน้อมพระรัตนตรัยในอนาคต ทั้งหมดต้องว่า ๓ หน จึงครบถ้วนถูกพระรัตนตรัยทั้ง ๓ กาล
    รัตนตรัยแบ่งออกเป็น ๒ คือ รัตนะ ๑ ตรัย ๑, รัตนะ แปลว่า แก้ว ตรัย แปลว่า ๓ รัตนตรัยรวมกันเข้า แปลว่า แก้ว ๓ พุทธรัตนะ แก้วคือพระพุทธ ธรรมรัตนะ แก้วคือพระธรรม สังฆรัตนะ แก้วคือพระสงฆ์ ทำไมจึงต้องเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มาเปรียบด้วยแก้ว ที่ต้องเปรียบด้วยแก้วนั้น เพราะแก้วเป็นวัตถุทำความยินดีให้บังเกิดแก่เจ้าของผู้ปกครองรักษา ถ้าผู้ใดมีแก้วมีเพชรไว้ในบ้านในเรือนมาก ผู้นั้นก็อิ่มใจ ดีใจ ด้วยคิดว่าเราไม่ใช่คนจน ปลื้มใจของตนด้วยความมั่งมี แม้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเล่า เห็นแก้วเห็นเพชรเข้าแล้ว ที่จะไม่ยินดีไม่ชอบนั่นเป็นอันไม่มี ต้องยินดีต้องชอบด้วยกันทั้งนั้น ฉันใด รัตนตรัยแก้ว ๓ ดวง คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ นี้ ก็เป็นที่ยินดีปลื้มใจของเทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย ฉันนั้น
    พระรัตนตรัยเป็นแก้วจริงๆ หรือเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปริยัติเข้าใจตามอักขระแล้ว เป็นอันเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปฏิบัติเข้าใจตามปฏิบัติแล้ว เป็นแก้วจริงๆ ซึ่งนับว่าประเสริฐ เลิศกว่าสวิญญาณกรัตนะและอวิญญาณกรัตนะ ซึ่งมีในไตรภพ ลบรัตนะในไตรภพทั้งหมดสิ้น
    จะกล่าวถึงรัตนะในทางปฏิบัติ “ปฏิปตฺติ”
    แปลว่า ถึงเฉพาะ ผู้ปฏิบัติถึงเฉพาะซึ่งพระรัตนตรัย การถึงรัตนตรัยของผู้ปฏิบัติในยุคนี้ต่างๆ กัน ผู้ไม่ได้เล่าเรียนศึกษาก็ถึงรูปพระปฏิมาในโบสถ์วิหารการเปรียญ ถึงพระธรรมในตู้ในใบลาน ถึงพระสงฆ์สมมติทุกวันนี้ ผู้ได้เล่าเรียนศึกษา รู้พุทธประวัติ ก็ถึงพระสิทธัตถราชกุมารที่ได้ตรัสรู้ใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ที่ได้มาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ถึงพระธรรมก็คือปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กับธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ให้ได้บรรลุมรรคผล ทั้งสิ้น ถึงพระสงฆ์ก็คือพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ จนถึงสุภัททภิกษุซึ่งเป็นปัจฉิมสาวกเวไนย
    ผู้มีสติปัญญา เป็นผู้เฒ่าเหล่าเมธา เล่าเรียนศึกษามาก การถึงรัตนตรัยของท่านลึกล้ำ ท่านคิดว่า “พุทธ” ก็แปลกันว่า ตรัสรู้ ตรัสรู้เป็นภาษาเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าท่านเป็นเจ้า จึงแปลว่า “ตรัสรู้” ภาษาสามัญก็แปลว่า “รู้” เท่านั้น ท่านก็ทำขึ้นในใจของท่านว่ารู้นั่นเอง เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ถึงความรู้ของท่านที่ถูกดี ถึงธรรมของท่านความดีไม่มีผิด ถึงสงฆ์ของท่าน “สงฺเฆน ธาริโต” พระสงฆ์ทรงไว้ ตัวของเรานี้เองที่รักษาความรู้ถูกรู้ดีไม่ให้หายไป เป็นสงฆ์
    การถึงพระรัตนตรัยดังแสดงมาแล้วนี้ก็ถูก เหมือนต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กะเทาะ ก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่เปลือกก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กระพี้ก็ถูกต้นไม้ ถูกแต่ กะเทาะ เปลือก กระพี้ เท่านั้น หาถูกแก่นของต้นไม้ไม่
    การถึงพระรัตนตรัย ต้องเอากาย วาจา ใจ ของเราที่ละเอียด จรดเข้าไปให้ถึงแก่นพระรัตนตรัยจริงๆ รัตนตรัยซึ่งแปลว่า แก้ว ๓ แก้วคือพระพุทธ ๑, แก้วคือพระธรรม ๑, แก้ว คือพระสงฆ์ ๑ ได้ในบทว่า สกฺกตฺวา พุทฺธรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือพุทธ สกฺกตฺวา ธมฺมรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือธรรม สกฺกตฺวา สงฺฆรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือสงฆ์
    การเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องใช้กายวาจาใจที่ละเอียด ที่หยาบเข้าไม่ถึง กายที่ละเอียดซึ่งได้กับกายสังขาร วาจาที่ละเอียดซึ่งได้กับวจีสังขาร ใจที่ละเอียดซึ่งได้กับจิตสังขาร กายสังขารคือลมหายใจเข้าออกซึ่งปรนเปรอกายให้เป็นอยู่ วจีสังขารคือความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขารคือความปรุงของจิตสำหรับใช้ทางใจ กายสังขารหยุด วจีสังขารก็หยุด จิตสังขารก็หยุด เป็นจุดเดียวกัน อยู่ที่ตรงศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสดังกระจกส่องเงาหน้า กายวาจาใจที่ละเอียดจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมนั้น ก็หยุดพร้อมทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นับว่าหยุดเป็นจุดเดียวกัน ได้ชื่อว่าสังขารสงบ การสงบสังขารชนิดนี้ เด็กในท้องมารดาก็สงบ จึงอยู่ในที่แคบเป็นอยู่ได้ เทวดาใน ๖ ชั้นทำได้ รูปพรหมและอรูปพรหมทำได้ เด็กในท้องก็นับว่าสังขารสงบ เทวดาก็นับว่าสังขารสงบได้ รูปพรหมและอรูปพรหมก็นับว่าสังขารสงบได้ การสงบสังขารเสียเป็นสุข สมด้วยคาถา ๔ บาท ในบาทเบื้องปลายว่า “เตสํ วูปสโม สุโข” สงบสังขารเหล่านั้นเสียได้ นำมาซึ่งความสุข นี้สงบสังขารได้ตามสมควร เป็นทางทำตนให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    กายสังขารสงบคือลมหายใจหยุด วจีสังขารสงบคือความตรึกตรองหยุด จิตสังขารสงบคือใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ชื่อว่า สันติ ลมหยุดลงไป ในที่เดียวกันชื่อว่า อานาปาน ซึ่งแปลว่าลมหยุดนิ่งหรือไม่มี เมื่อสังขารทั้ง ๓ หยุดถูกส่วนเข้าแล้ว เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยส่วนหนึ่ง เมื่อสังขารสงบมีความสุขเกิดขึ้น เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตคิดว่าเป็นสุขเรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในเมื่อสติปัฏฐานทั้ง ๓ ถูกส่วนพร้อมกันเข้า เกิดเป็นดวงใสขึ้นเท่าฟองไข่แดง หรือเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทเหมือนกระจกส่องเงาหน้านั่นแหละ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงนี้บางท่านเรียกว่าพระธรรมดวงแก้ว โบราณท่านใช้แปลในมูลกัจจายน์ว่า “ปฐมมรรค” ธรรมดวง นี้แหละคือ ดวงศีล เพราะอยู่ในเหตุว่างของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ไม่มีราคี ตาของกายทิพย์เห็น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ตรงกลางของดวงศีลนั้น ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่ พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไปเห็นดวงสมาธิ เอาใจหยุดนิ่ง ลงไปที่กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงปัญญาที่อยู่ในกลางดวงสมาธินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ทำให้ใจหยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติ ก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะที่อยู่ในกลางดวงวิมุตตินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสะก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายมนุษย์ เห็นตัวของกายมนุษย์ฉะนั้น ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ แต่พอถูก ส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็ว่างออกไป ตาของกายรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายทิพย์เห็นตนของกายทิพย์เองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายอรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายรูปพรหมเห็นตนของกายรูปพรหมเองฉะนั้น ที่แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายธรรมก็เห็นกายของพระองค์เองอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายอรูปพรหม เห็นตนของตนเองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้เป็นวิธีที่ทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    เมื่อทำมาถึงกายธรรมหรือธรรมกายดังนี้แล้ว ก็รู้จักตัวตนชัดเจนโดยไม่ต้องสงสัย เพราะกายทั้ง ๕ บอกตัวของตัวเอง กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้ง ๔ กายนี้ บอกตัวเองอยู่ว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเป็นแต่สมมติเท่านั้น รู้ได้เองว่ากายมนุษย์มาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ชั่วคราวตามอายุขัยและวัย สิ้นปัจจัยคือบุญและบาปแล้วก็แตกสลายไป รู้ได้จริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่แต่รู้เห็นด้วยตาของตนทุกๆ คนด้วยกันทั้งนั้น
    ส่วนกายทิพย์ หรือ รูปพรหม อรูปพรหม สิ้นอำนาจของบุญกรรม และรูปฌาน อรูปฌานแล้ว ก็แปรไปเหมือนกายมนุษย์ ต่างกันแต่ช้าและเร็วเท่านั้น
    ส่วนกายธรรมหรือธรรมกายเป็นตัวยืนบอกความจริงว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว ส่วนกาย ทั้ง ๔ เป็นตัวยืนบอกเท็จว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เท็จต่อความจริงอย่างนี้ เมื่อไม่รู้เห็นจริง จะรู้เห็นเท็จได้อย่างไร ต้องรู้จริงเห็นจริงเสียก่อน จึงย้อนมารู้จักเท็จได้ดังนี้
    ธรรมกายนี้เองเป็นพุทธรัตนะ ซึ่งแปลว่าแก้วคือพุทธะ เมื่อรู้จักพุทธรัตนะแล้ว ก็ควรรู้จักธรรมรัตนะเสียทีเดียว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม อรูปพรหม เป็นธรรมรัตนะ แต่เป็นส่วนโลกีย์ ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั้นเป็นโคตรภู ต่อเมื่อใด ธรรมกายเลื่อนขึ้นไปเป็นพระโสดาแล้ว ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดานั้นเองเป็นโลกุตตระ
    ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม แลกายอรูปพรหมเป็นโลกียมรรค เพราะกายทั้ง ๔ นั้นเป็นโลกีย์ ธรรมจึงเป็นโลกีย์ไปตามกาย ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเป็นโลกุตตระ เพราะธรรมกายของพระโสดาเป็นโลกุตตระ ธรรมจึงเป็นโลกุตตระไปตามกาย ธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ นี้เอง เป็นธรรมรัตนะ ซึ่งแปลว่า แก้วคือธรรม เมื่อรู้จักธรรมรัตนะแล้วก็ควรรู้จักสังฆรัตนะเสียทีเดียว ธรรมกายหรือกายธรรมหมดทั้งสิ้น ยกธรรมกายของพระสัพพัญญู และธรรมกายของพระปัจเจกพุทธเจ้าออกเสีย นอกจากนั้นเป็นธรรมกายของสาวกพุทธทั้งสิ้น มีมากน้อยเท่าใดเป็นสังฆรัตนะ แก้วคือสงฆ์
    การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยที่ถูกแท้นั้น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์เท่าๆ ฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่ศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีเหมือนกันหมดทุกคน จำเดิมแต่อยู่ในท้องมารดา ใจของกุมารกุมารีจรดจี้หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมนั้นทุกคน ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมมีว่างอยู่ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร ใจของกุมารหรือกุมารีก็จรดอยู่ศูนย์กลางนั้น
    ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก ขอผู้จงรักภักดีต่อตนของตนที่แท้แล้ว จงตั้งใจแน่แน่ว ให้ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เถิดประเสริฐนัก พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไปทางเดียวเหมือนกันทั้งหมด
    เพราะฉะนั้นพวกเราที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย จึงต้องทำใจให้หยุดให้นิ่ง ให้ตรงต่อทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ จึงจะถูกหลักฐานในพุทธศาสนา ทั้งถูกตำราของสัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดด้วย สัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดเข้าสิบไม่ถูก ก็ไม่ตกศูนย์ เมื่อไม่ตกศูนย์ก็ไปเกิดมาเกิดไม่ได้ ธรรมดาของเกิดแลตาย ต้องมีสิบศูนย์เป็นเครื่องหมายเหมือนกันทั้งหมด ทั้งในภพ และนอกภพ การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยก็เหมือนกัน ต้องเข้าสิบศูนย์เป็นชั้นๆ ไป จึงจะเข้าถึงพระรัตนตรัยได้ ดังแสดงมาตั้งแต่ต้นเป็นชั้นๆ มาแล้วทุกประการ
    รัตนะทั้ง ๓ นี้ เป็นแก้วจริงๆ จังๆ แก้วที่มีในไตรภพนี้มีคุณภาพไม่เทียมทัน ส่วนแก้วในไตรภพที่มนุษย์ใช้อยู่บัดนี้ เพชรเป็นสูงกว่า หรือแก้วที่มีรัศมีเป็นของหายาก ไม่มีใครจะใช้กันนัก แก้วชนิดอย่างนั้น มีสีต่างๆ ถ้าสีนั้นเขียว ใส่ลงไปในน้ำ น้ำก็เขียวไปตามสีแก้วนั้น ถ้าสีเหลือง น้ำก็เหลืองไปตาม ถ้าแดง น้ำก็แดงไปตามสีแก้ว ตกว่าแก้วสีอะไร น้ำก็เป็นไปตามสีแก้วนั้นๆ นี้เป็นรัตนะที่สูงในโลก สูงยิ่งกว่านี้ขึ้นไป ก็ต้องเป็นแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ์
    พระเจ้าจักรพรรดิ์มีแก้ว ๗ ประการคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว แก้ว ๗ ประการนี้เกิดขึ้นในโลกกาลใด มนุษย์ในโลกได้รับความสุข ปราศจากการไถและหว่าน สำเร็จความเป็นอยู่ อาศัยแก้ว ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ให้เป็นอยู่ได้โดยตลอดชีวิต ไม่ต้องทำกิจการใดๆ ทั้งสิ้น พระเจ้าจักรพรรดิ์สอนให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ไปบังเกิดในสุคติโดยส่วนเดียว ไม่มีตกไปอยู่ในทุคตติเลย
    แก้วทั้งหลายในโลกพิเศษถึงเพียงนี้แล้ว ยังไม่มีพิเศษเท่าแก้ว คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แก้วคือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั้น ถ้าผู้ใดเข้าไปได้เข้าไปถึงแล้ว ลืมแก้วลืมสวรรค์ลิบๆ ในโลกหมดทั้งสิ้น
    ผู้ที่จะเข้าไปได้ถึงแก้วทั้ง ๓ นี้ ต้องดำเนินไปตามต้น กาย วาจา ใจ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ดังแสดงมาแล้วในเบื้องต้น จนถึงธรรมกาย คือให้ดำเนินไปตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ตั้งต้นแต่ กาย เวทนา จิต ธรรม ไป แต่พอถึงธัมมานุปัสสนา ก็เห็นเป็นดวงใส ที่เรียกว่าดวงศีล ต่อแต่นั้นก็ถึงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งนับว่าเป็นที่รวมพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกรวมอยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ทั้งสิ้น เมื่อจับที่รวมของกายมนุษย์ได้แล้ว กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายธรรม ก็เหมือน กันดังแสดงมาแล้ว
    ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ เป็นวิธีให้เข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มีอาการต่างๆ กัน ในเมื่อจับหลักยังไม่ได้ ต่อเมื่อจับหลักคือธรรมกายเสียได้แล้ว จะเห็นว่าไม่ต่างกัน เนื่องเป็นอันเดียวกันแท้ๆ สมด้วยกระแสบาลีในเบื้องต้นว่า “หมวด ๓ ของรัตนะนี้ คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ” แม้ต่างกันโดยวัสดุ แต่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน เป็นของเนื่องซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมพระสงฆ์ทรงไว้ พระสงฆ์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เนื่องเป็นอันเดียวกันเป็นบรรทัดฐาน ดังแสดงทุกประการ พอสมควรแก่เวลา ด้วยประการฉะนี้.
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    [​IMG]

    พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    (บรรดาศิษยานุศิษย์เรียกท่านด้วยความเคารพรักว่า หลวงป๋า)

    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี


    อ่านประวัติของท่าน ได้ที่Linkด้านล่างนี้ครับ
    http://www.dhammakaya.org/teacher/teacher_lpa.php




    * โอวาทของ หลวงป๋า(เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    เรื่อง
    วิชชาธรรมกาย เป็นทั้งสมถะเเละวิปัสสนากัมมัฏฐาน


    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาได้ถึง "ธรรมกาย" แล้ว
    ย่อมสามารถเจริญภาวนาทั้ง สมถะและวิปัสสนา ให้เกิดอภิญญาและวิชชา
    ให้สามารถพิจารณาเห็น กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม
    ให้เจริญ “วิปัสสนาปัญญา” เห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะของสังขาร อันประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) ว่า
    มีสามัญญลักษณะที่เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ และ อนตฺตา อย่างไร
    อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการเจริญโลกุตตรวิปัสสนา ให้เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ เป็น “โลกุตตรปัญญา” ต่อไป

    กล่าวคือ เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว

    ๑. พึงฝึกเจริญฌานสมาบัติให้เป็นวสี แล้วย่อมเกิดอภิญญา
    มีทิพพจักษุ ทิพพโสต เป็นต้น ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    เพราะ การเริ่มเจริญสมถภาวนาโดยการกำหนดบริกรรมนิมิต เป็นดวงแก้วกลมใสนั้น
    มีลักษณะเป็นการเพ่งกสิณแสงสว่าง ชื่อว่า “อาโลกกสิณ” อันเป็นกสิณกลาง และมีผลให้เกิดอภิญญาได้ง่าย

    ๒. สามารถน้อมไปเพื่อ “อตีตังสญาณ” เห็นอัตตภาพของตนและสัตว์อื่นในภพก่อนๆ
    น้อมไปเพื่อ “อนาคตังสญาณ” เห็นจุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม
    และน้อมไปเพื่อ “ปัจจุปปันนังสญาณ” เห็นสัตว์โลกในทุคคติภูมิ ได้แก่ ภูมิของเปรต สัตว์นรก อสุรกาย
    และในสุคติภูมิ ได้แก่ เทวโลก และพรหมโลก ตามที่เป็นจริง ตามพระพุทธดำรัสได้

    ให้สามารถรู้เห็นสภาวะของสังขาร ได้แก่ เบญจขันธ์ของสัตว์โลกทั้งหลาย
    อันปัจจัยปรุงแต่งด้วย ปุญญาภิสังขาร คือความปรุงแต่งด้วยบุญ คือ กุศลกรรม
    อปุญญาภิสังขาร คือความปรุงแต่งด้วยบาป คือ อกุศลกรรม
    และ อเนญชาภิสังขาร คือ ความปรุงแต่งที่ไม่หวั่นไหว (ด้วยรูปฌานที่ ๔ ถึงอรูปฌานทั้ง ๔)

    ได้เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลกในสังสารจักร
    อันเป็นไปตามกรรม โดยวัฏฏะ ๓ คือ กิเลสวัฏ กัมมวัฏ และ วิปากวัฏ

    และ ให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของสังขารธรรม
    คือธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตธรรม) กล่าวคือ ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งสิ้น
    ว่ามีสามัญญลักษณะที่เป็น อนิจฺจํ ทุกขํ และ อนตฺตา อย่างไร ละเอียดและกว้างขวาง

    ให้เจริญวิปัสสนาญาณ รวบยอดผ่านถึง "โคตรภูญาณ" ของธรรมกายได้อย่างรวดเร็ว
    และเป็นบาทฐานให้เจริญ "โลกุตตรวิปัสสนา"ได้เป็นอย่างดี




    * คัดลอกจาก หนังสือหลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อทำนิพพานให้เเจ้ง
    โดย พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖
    จัดพิมพ์โดย วัดหลวงพ่อสดธรรมการาม
    พิมพ์ครั้งที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๑ จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    [​IMG]


    * ประวัติสังเขป
    ของ
    พระภาวนาโกศลเถร (ธีระ ธมฺมธโร)
    อดีตรองเจ้าอาวาส วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระเเละฝ่ายคันถธุระ​



    พระภาวนาโกศลเถร (ธีระ ธมฺมธโร) เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗
    ตรงกับวันแรม ๙ ค่ำ เดือนยี่ ปีชวด
    ณ บ้านคลองหนองตากล้า ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

    ท่านปฏิบัติได้ธรรมกาย ตั้งเเต่ยังเป็นสามเณร
    การปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐานของท่านนั้น กล่าวได้ว่า
    ท่านเป็นนักปฏิบัติที่ดีเลิศ เเละเชี่ยวชาญที่สุดรูปหนึ่ง


    ท่านได้รับความไว้วางใจจากหลวงพ่อวัดปากน้ำมาก
    โดยหลวงพ่อได้มอบหมายให้ท่านเป็นครูสอนบาลีเเละนักธรรม
    ตลอดจนเป็นอาจารย์สอนสมถวิปัสสนากรรมฐาน
    เเละต้องช่วยเหลือด้านปกครองภายในวัดอีกด้วย

    เมื่อหลวงพ่อสดอาพาธ
    ท่านได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อสด ให้ป็นผู้มอบพระของขวัญเเทนท่าน

    ท่านเป็นที่รักเเละเคารพโดยสนิทใจ จากบรรดาพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
    ทำให้ท่านได้รับสมญาว่า "หลวงพ่อเล็ก"
    ซึ่งเมื่อเอ่ยขึ้นเมื่อใด ก็จะเป็นอนุสติถึงหลวงพ่อวัดปากน้ำ ซึ่งนิยมเรียกท่านว่า "หลวงพ่อใหญ่" ด้วย

    ท่านมีสุขภาพไม่เเข็งเเรงมาเเต่กำเนิด เเละเคยปรารภว่า...
    "ฉันอยู่ไม่ได้นาน อย่างมากมีอายุไม่เกิน ๔๕ ปี ก็ตาย"
    ท่านมรณภาพเมื่อวันพุธที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๑
    รวมอายุได้ ๔๔ ปี อยู่ในสมณเพศได้ ๓๑ ปี

    ท่านได้ฝากผลงานเเละปฏิปทาอันยิ่งใหญ่
    สมศักดิ์ศรีของศิษย์เอกรูปหนึ่งของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ให้ศิษยานุศิษย์รุ่นหลังดำเนินตาม
    เเละบัดนี้ งานสืบทอดวิชชาธรรมกาย ของต้นธาตุต้นธรรมที่สุดละเอียดในอายตนนิพพานเป็น
    ก็ได้สืบต่อมายัง......พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) องค์ปัจจุบัน









    โอวาทของ หลวงพ่อเล็ก (ธีระ ธมฺมธโร)

    ธรรมกายเป็นกายธรรมะ อยู่ที่กลางใจเรานี่แหละ
    หากได้พัฒนาให้ถึงจุดละเอียด จะทำให้จิตใจบริสุทธิ์
    อันจะมีผลสะท้อนให้การปฏิบัติภารกิจประจำวันเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง...

    การเข้าถึงจุดธรรมกาย ยังเป็นเพียงขั้น "โคตรภูญาณ" เท่านั้น
    อันอยู่กึ่งกลางระหว่าง โลกียะ และ โลกุตระ
    ดังนั้นจึงมีการเข้าถึง และการเสื่อมได้ หากประมาทเพียงแค่นั้น ย่อมยังอยู่ในวิสัยแห่งโลกียะ
    ต่อเมื่อพัฒนาต่อไปจึงถึงขั้นละเอียด...เป็นโลกุตตระ
    ขีดขั้นแห่งคำว่า "ธรรมกาย" จึงมีอยู่หลายระดับ
    การปฏิบัติเท่านั้น...ที่จะตอบคำถามได้ดีที่สุด




    * ข้อมูลจาก หนังสือชีวประวัติ ผลงาน รวมพระธรรมเทศนา ๖๓ กัณฑ์ หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    เนื่องในโอกาสฉลองชนมายุ ๑๐๐ ปี
    จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ กรุงเทพ
    พิมพ์ครั้งที่๒ พ.ศ.๒๕๒๘ จำนวน ๑,๕๐๐ เล่ม
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    [​IMG]

    ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่
    พระราชพรหมเถร
    รองเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ



    อ่านประวัติของท่าน ได้ที่Linkด้านล่างนี้ครับ
    http://www.dhammakaya.org/teacher/teacher_lpveera.php



    [​IMG]

    โอวาทของ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    เรื่อง
    ผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกายเเล้ว
    จัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมได้ถึงที่สุด (บรรลุ มรรค ผล นิพพาน) แล้วหรือ ?


    ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกายเเล้ว ตราบใดที่ยังไม่สามารถละสัญโญชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก)
    เบื้องต่ำอย่างน้อย ๓ ประการ (คือ สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส) ได้โดยเด็ดขาด
    ตราบนั้นก็ยังมิได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคล
    จึงยังมิใช่ผู้ปฏิบัติธรรม ที่ได้(บรรลุ)ถึงที่สุดเเล้ว

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    ผู้สอนภาวนาตามเเนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า
    ได้กล่าวถึงผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกาย
    เเต่ยังไม่สามารถละสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย ๓ ประการได้ ดังกล่าวเเล้วว่า
    "ยังจัดเป็นเเต่เพียง โคตรภูบุคคล"

    ซึ่งท่านอุปมาว่า
    เสมือนหนึ่งว่า ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นได้ก้าวขาข้างหนึ่ง ขึ้นไปอยู่บนพระนิพพาน
    ส่วนขาอีกข้างหนึ่ง ยังยืนอยู่ในภพสาม

    กล่าวคือ หากผู้ปฏิบัติธรรมที่ถึงธรรมกายเเล้วนั้น ก้าวหน้าต่อไป
    คือ ปฏิบัติภาวนาต่อไปอีกจนสามารถละสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย ๓ ประการนั้น ได้โดยเด็ดขาด
    ก็ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคล ตามภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    เเต่หากว่าผู้ที่เคยปฏิบัติได้ถึงธรรมกายเเล้ว ได้ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะของการก้าวถอยหลัง
    กลับคืนมาสู่โลก (ภพสาม) ด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำ เหตุหนุน
    จนธรรมสัญญาขาดจากใจ เเละธรรมกายดับลงเมื่อใด
    บุคคลผู้นั้นก็กลับเป็นปุถุชนธรรมดาที่หนาไปด้วยกิเลส เเละมีสิทธิ์ถึงทุคติได้เมื่อนั้น




    * ข้อมูลจาก หนังสืออานุภาพธรรมกาย
    จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ กรุงเทพ
    พิมพ์เมื่อ พุทธศักราช ๒๕๒๗
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    ชนชาติอื่นที่ไม่นับถือพระพุทธศาสนา จะมีนรกสวรรค์อยู่ในสถานที่เดียวกันหรือไม่

    ชนชาติอื่นที่ไม่นับถือพระพุทธศาสนา จะมีนรกสวรรค์อยู่ในสถานที่เดียวกันหรือไม่ ?

    [​IMG]



    ถามโยมง่ายๆ ว่า ฝรั่ง แขก จีน ไทย อยู่ในโลกเดียวกันหรือเปล่า อยู่ เหมือนกันนะ เพราะเป็นเรื่องของภูมิจิต สัตว์โลกไปที่ไหน ไปอยู่รวมกัน นั่นเป็นเรื่องของภูมิจิต ภูมิจิตในระดับมนุษยธรรมก็มาเกิดอยู่ในโลกนี้
    โลกกลมๆ นี่ เดิน ๒ ขา มี ๒ แขน หัวตั้งอยู่บนคอเรียก คน” หรือ มนุษย์” ถ้ารูปร่างทำนองนี้ละก็อยู่ในโลกนี้ แต่ถ้าภูมิจิตต่ำไปกว่านี้ ก็มีโลกอันหนึ่งอยู่ของเขา รวมกันแบบอยู่ในโลกนี้แหละ แต่เป็นอีกโลกหนึ่ง อยู่ในโลกเดียวกัน เช่น ภูมิจิตในระดับสัตว์ดิรัจฉานก็อาศัยโลกนี้ ทั้งในและบนแผ่นดิน ในน้ำ และในอากาศ เช่น หมู หมา กา ไก่ ช้าง ม้า วัว ควาย หลายประเภทไปจนถึงยุงอยู่ในป่า ไส้เดือนอยู่ในดิน นกบินอยู่ในท้องฟ้า ไปจนถึงปลาวาฬที่อยู่ในน้ำ เชื้อโรคจุลินทรีย์อยู่ในน้ำครำน้ำสกปรก และจุลินทรีย์ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ นี่โลกของเขาเรียกว่า โลกของสัตว์ดิรัจฉาน แต่ว่าภูมิจิตต่ำแตกต่างกันไปนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
    ภูมิของเปรต เปรตก็อาศัยโลกนี้เหมือนกัน แต่ว่าเรามองไม่เห็น เปรตนี่มีและมีเยอะด้วย ถ้าถึงธรรมกายแล้วจะได้ดูว่าเปรตเป็นอย่างไร ตามที่เขาว่านั่นแหละ เปรตมีเป็นร้อยๆ ชนิด แต่เปรตที่อยูใกล้มนุษย์ที่คอยขอส่วนบุญชื่อ ปรทัตตูปชีวิกเปรต นั่นนะถ้าเราทำบุญแล้วอุทิศให้แล้วเขาได้รับ เราทำดีแล้วอุทิศส่วนกุศลให้เขารับได้ แต่ไปยื่นให้อย่างนี้กินไม่ได้ คนจีนเข้าใจผิดเอาของไปเซ่น แหม ส้มก็ไม่ปอกซะด้วยนะ เอากลับไปกินเองใหม่ได้ หัวหมูบ้าง อะไรบ้าง ไปตั้งเซ่นไหว้ให้บรรพบุรุษได้กิน ก็กินไม่ได้ ด้วยอำนาจของกรรม จะเอื้อมมือไปหยิบก็ไม่ถึง หรือแม้ว่าจะเอาอาหารดีๆ ไปให้กิน เปรตบางชนิดไม่กิน คือบุญไม่ถึงจะให้กินได้ แล้วกินอะไร ? บาปอกุศลบังคับให้กินน้ำเหลืองตัวเอง ถ้าหาน้ำเหลืองของคนอื่นไม่ได้ก็กินของตัวเอง หรือเที่ยวได้กินน้ำลายเสมหะหรืออุจจาระ เหมือนหมูเหมือนสุนัข สูบกินอย่างนั้น มีหลายอย่าง บางรายกินอะไรก็ไม่ได้เพราะปากมันเล็กนิดเดียว บางรายรูปร่างก็เป็นแต่ชิ้นเนื้อ โดนอะไรหน่อยก็เจ็บแสบ บางทีก็ถูกกาปากเหล็กจิกกิน มีสารพัดละเปรต ด้วยอำนาจของกรรม กินเองไม่ได้ บางทีเห็นว่าเป็นน้ำ กระหายเหลือเกิน วิ่งเข้าไปพอจะกินเข้า บางทีเห็นเป็นน้ำแน่นอนละ พอกระโดดเข้าไปว่าจะอาบจะกิน ก็กลายเป็นหินเป็นดินเป็นทราย แห้งแล้ง คอแห้งผากเลย หิวต่อไปอีกเป็นร้อยปีเป็นพันปี โลกของเปรตก็อาศัยพื้นพิภพนี่ แต่เรามองไม่เห็น อยู่ตามหุบเขาก็มี อยู่ตามวัดวาอารามเที่ยวไปขอส่วนบุญก็มี นี่เปรต สัตว์นรกก็อยู่ด้วยกันอีกแหละ แต่ว่าเป็นโลกของสัตว์นรก มีภูมิใหญ่อยู่ ๘ ภูมิ ๘ ขุมใหญ่ อยู่ที่ไหน ? โยมต้องเข้าใจว่าในจักรวาลนี้ ศูนย์กลางจักรวาลนี่เป็นของทิพย์ มึภูเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง ในส่วนเชิงเขาพระสุเมรุเป็นดิน แต่เป็นดินที่เป็นทิพย์ด้วยนะ แล้วก็มีดินหยาบ ดินหยาบก็คือว่า อย่างทวีปนี้เป็นชมพูทวีป มีดินนี่ผืนแผ่นดินอย่างนี้ ทวีปอื่นๆ มีอีก แต่เป็นของทิพย์มีอยู่ ของทิพย์ใหญ่รวมหมดแหละ กามภพ มีตั้งแต่สัตว์โลกประเภทชั่นต่ำคือ สัตว์นรก อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน ภูมิสูงขึ้นมาเป็นมนุษย์ เทวโลก นี่ภูมิสูงขึ้นไปถึงเทวโลก เทวโลกบางส่วนอย่างชั้นดาวดึงส์ก็อยู่บนพื้นดิน แต่ดินนั้นเป็นทิพย์อยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ เทวดาก็เดินบนดิน อย่างพระอินทร์นี่เดินบนดิน แต่เป็นดินทิพย์และเต็มไปด้วยแก้วกายสิทธิ์อันเป็นทิพย์ พระอินทร์และเทวดาบนชั้นดาวดึงส์จึงเหมือนเดินลอยๆ ไปบนดินเพราะมีแก้วกายสิทธิ์รองอยู่ นั่นอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ แล้วข้างล่างเขาพระสุเมรุนี่ ส่วนที่เป็นดินนั้นก็จะเป็นดินเป็นหินที่เป็นทิพย์และที่เป็นของหยาบ อย่างที่เราเห็นๆ อยู่นี่แหละ และใต้ลงไปอีก เป็นที่อยู่ของอสูร ที่เรียกว่า อสุรกาย อสุรกายเป็นยักษ์นะ แล้วก็อีกส่วนหนึ่งที่ตรงกับพื้นดินที่เป็นทิพย์นั่นแหละ ข้างล่างลงไปน่ะเป็น นรก ๘ ขุม ขุมสุดท้าย คือ อเวจีมหานรก ขุมนั้นส่วนมากผู้ที่ทำมาตุฆาต ปิตุฆาต ฆ่าพ่อฆ่าแม่ อรหันตฆาต คือฆ่าพระอรหันต์ แล้วก็ทำร้ายพระพุทธเจ้าแม้เพียงทำให้เท้าห้อเลือด หรือยังสงฆ์ให้แตกแยกกัน เป็นต้น เป็นอนันตริยกรรม ประเภทนี้จะอยู่ในขุมนั้นทั้งสิ้น ได้รับผลกรรมนี้ก่อนใครเพื่อน แม้ใครจะเคยได้ทำความดีมาก่อน ทำบุญมามากเพียงใด พอตายก็ลงพรวดไปโน่นแหละ ลงอเวจีมหานรกนี้ก่อน เพราะอนันตริยกรรมนั้นเป็นกรรมหนัก จึงต้องได้รับผลกรรมนั้นก่อน อเวจีมหานรกนี้อยู่ชั้นล่างสุดของกามภพ อยู่ต่ำสุด ท้ายนรกขุมอื่น ส่วนบนภพมนุษย์ขึ้นไปเป็นเทวโลก มีอยู่ ๖ ชั้น พ้นจากอเวจีมหานรกนี้ไป เป็นอากาศว่างจนสุดของจักรวาลไปเป็นโลกันตนรก โลกันตนรกอยู่นอกขอบจักรวาลเหมือนกับบริเวณพื้นที่นอกของวงกลม ๓ วงที่มาจรดกันพอดี เรียกว่า อยู่นอกขอบจักรวาล ๓ จักรวาล ที่ขอบนอกจักรวาลจรดกันพอดีนั่นแหละ โอกาสที่จะได้กลับมาเป็นมนุษย์หรือแต่จะได้กลับมาอยู่ในภพ ๓ อีกนั้นยากเต็มที เป็นสถานที่มืดมิด อยู่ด้วยทะเลน้ำกรด พอสัตว์นรกที่ไต่อยู่ตามขอบจักรวาลพลัดตกลงไปในน้ำกรดก็ฟู่กัดกินละลายจนเละ แต่ไม่ตาย เจ็บปวดแสบปวดร้อน แล้วก็พยายามตะเกียกตะกายกลับขึ้นมาใหม่ด้วยอำนาจของกรรม ไต่ขึ้นมาเหมือนกับตัวอะไรก็ไม่รู้ผอมๆ โทรมๆ ตัวสั่นแหง็กๆ เล็บยาวๆ นั้น นั่นกรรมหนัก เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้วก็ทำผิดระดับหนักๆ เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างแรงกล้า เช่น พวก สัสสตทิฏฐิ” ที่เห็นผิดว่าโลกเที่ยง หรือพวก อุจเฉททิฏฐิ” ที่เห็นผิดว่าโลกสูญ เป็นต้น อยู่นั่นแหละ แทบจะไม่มีโอกาสได้มาผุดมาเกิดในภพ ๓ นี้อีกเลย ลืมบอกไปหน่อยเวลาเขาจัดมวย แหมชื่อรายการ ศึกสะท้านโลกันต์” โอ้โฮ ! นั่นไม่รู้ว่าาแย่ที่สุด !! แต่ยังไม่เคยได้ยินรายการ ศึกสะท้านอเวจี” นี้ยังไม่ได้ยิน มีแต่สะท้านโลกันต์ นี่เป็นเพราะพวกเขายังไม่เคยไปเห็น แต่ถ้าได้ไปเห็นละก็ไม่ได้มาจัดมวยรายการศึกสะท้านโลกันต์อีกล่ะพ่อเอ๋ย
    เพราะฉะนั้น ที่ถามว่าชนชาติอื่นจะอยู่ในนรกเดียวกันหรือเปล่า ? ก็ตอบว่า ถ้าทำความชั่วหรือบาปอกุศลก็ไปเกิดในนรกเดียวกันนั้นแหละ แต่ว่าไปเกิดอยู่ในชั้นที่เคยทำกรรมหนักเบาแตกต่างกัน จะอยู่ตรงไหน ก็ไม่เลือกว่าจะเป็นชาติไหนศาสนาใด เพราะเป็นของกลาง ภูมิธรรมภูมิจิตของใครสูงหรือต่ำแค่ไหนก็ไปตามกรรมในระดับชั้นนั้นละ อยู่ตรงนั้นละ ไม่ว่าแขกไม่ว่าไทยไม่ว่าใครทั้งนั้น ทางสวรรค์ใครทำดีพ้นระดับมนุษยธรรมถึงเทวธรรมก็ไปสวรรค์ ๖ ชั้นนั่นแหละ ไปตามลำดับคุณความดี ถ้าใครมีฌาน ก่อนจะตายจิตไม่เสื่อมจากฌาน แต่ไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนาให้มันแก่กล้า ตายไปก็ไปเกิดเป็นพรหม ชาติไหนก็เป็น แขกก็เป็น แต่ฟอร์มเขาเหมือนๆ กันนะ ฟอร์มเทวดาก็เป็นกายโปร่งแสง มีรัศมี มีเครื่องประดับ เครื่องทรงอลงกรณ์ ฟอร์มสัตว์นรกก็เหมือนคนนั้นแหละแต่รุ่งๆ ริ่งๆ เสื้อผ้าไม่มีนุ่ง เปรตก็เหมือนกันโทงๆ เลยแหละ เทวดานั่นโปร่งสวยงามตามอำนาจของบุญ
    บุญทำอย่างไรถึงจะได้เป็นเทวดา ? เป็นมนุษย์ก่อน มนุษย์นี่เป็นคนมีทานกุศล ศีลกุศล นี่เฉพาะเบื้องต้นนะ บุญกุศลคุณความดีมาตรฐานเบื้องต้น และก็ประพฤติปฏิบัติละเว้นอกุศลกรรมบถ คือ ไม่ประพฤติทุจริตทางกาย เช่น ไม่ลักฉ้อ ไม่กบฏคดโกงใคร ไม่ผิดลูกผิดเมียใคร ไม่ฆ่าใครโดยเจตนาเป็นต้น ละวจีทุจริต คือ ไม่พูดปด ไม่ยุแยกให้แตกสามัคคี ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ ละมโนทุจริต คือไม่โลภจัดหรือตัณหาราคะจัด ไม่โกรธพยาบาทอาฆาตจองเวร และไม่หลงถึงขนาดไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง หรือเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าละอย่างนั้นได้ เป็นผู้มีศีลอย่างน้อยศีล ๕ ทำคุณความดี มีทานกุศล ศีลกุศล เป็นต้น อย่างนี้เป็นคุณความดีในระดับมนุษยธรรม ตายไปได้มาเกิดเป็นมนุษย์ นี่ว่าแต่คุณความดีขั้นมาตรฐานเบื้องต้นนะ มนุษย์อื่นที่บำเพ็ญบารมีมีความดีสูงกว่านี้ บุญกุศลก็ติดตามเป็นวิบากกรรมให้ได้รับผลต่อๆ ไป หลังจากการเกิดเรียกว่า “ปวัตติกาล” คือหลังจากการตั้งปฎิสนธิแล้วเกิดมาก็ได้รับผลเป็นความสุขความเจริญดำเนินชีวิตไไปด้วยดีต่อๆ ไป
    เทวดา มีศีล มีธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ คือเป็นผู้มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปอกุศล มีทั้งศีลทั้งธรรม มีธรรมได้แก่ทานกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น นั่นตายไปแล้วมักจะได้ไปเกิดในเทวโลก โยมนี่ถือศีล ๘ แม้ถือเพียงครึ่งวัน ถ้าเกิดตายไปเดี๋ยวนี้ ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์อยู่ เพียงครึ่งวันเคยมีตัวอย่างมาแล้ว มีเรื่องอยู่ในคัมภีร์ รักษาศีล ๘ เพียงครึ่งวัน ตายไปคืนนั้นได้ไปเกิดเป็นเทวดา นี่แหละถือคุณความดีเพียงได้ถือศีล ๘ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกล่าวถึงอานิสงส์ของการเจริญภาวนาให้ใจสงบจากกิเลสนิวรณ์ แล้วก็พิจารณาสภาวธรรมให้เกิดปัญญาเป็นวิปัสสนาปัญญา ซึ่งมีอานิสงส์สูงขึ้นไปอีก ว่าจะได้รับผลานิสงส์คือผลจากบุญกุศลดังกล่าวมากเพียงไหน
    บุญกุศลอย่างนี้ถ้าได้มาเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ชั้นสูง ถ้าไปเกิดในเทวโลก โน่นแหละก็อยู่ในเทวโลกชั้นสูง อาจถึงชั้นดุสิตเทวโลก ซึ่งเป็นชั้นของผู้บำเพ็ญบารมี ไม่ว่าใครทำความดีเป็นบุญกุศลอย่างนี้ ก็เป็นอย่างนี้เหมือนกันหมดไม่ว่า เจ๊ก จีน แขก ไทย ฝรั่งมังค่า ได้รับผลานิสงส์เหมือนกันหมด
    ถ้าใครมีฌานโดยการเจริญสมถภาวนาอย่างเดียว แต่ไม่ได้กระทำวิปัสสนาให้มาก ตายไป จิตยังไม่เสื่อมจากฌานชั้นไหน ก็ไปเกิดเป็นรูปพรหมอยู่ชั้นนั้น แต่ว่าถ้าเป็นพระอริยเจ้าระดับพระอนาคามีบุคคลตั้งแต่ยังเป็นมนุษย์ ก่อนตายยังไม่เสื่อมจากปัญจมฌานคือฌานที่ ๕ ตายแล้วไปเกิดแห่งเดียว ในโลกที่เป็นพรหมชั้นสูงสุด ๕ ชั้น ชื่อว่า รูปพรหมชั้น สุทธาวาส” และก็ปรินิพพานในชั้นนั้น คือตายแล้วก็เข้านิพพานเลย
    ใครเจริญอรูปฌาน ก่อนตายไม่เสื่อมจากอรูปฌานชั้นไหนก็ไปเกิดเป็น อรูปพรหม ในอรูปโลก เหมือนกันหมดไม่ว่าแขก ไม่ว่าไทย จีน ฝรั่ง
    เพราะฉะนั้นให้เข้าใจไว้ว่า โลกเป็นที่สถิตอยู่ของผู้ที่ภูมิจิตโดยเฉลี่ยระดับเดียวกัน แต่ว่าอาจจะแบ่งชั้นกันบ้างตามระดับภูมิจิตที่เป็นบุญเป็นกุศลหรือเป็นบาปอกุศลต่างๆ กันไปตามระดับภูมิจิต
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,947
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    พระธรรมเทศนา โดย หลวงปู่สด จันทสโร





    [๑๕]
    ปัจฉิมวาจา
    ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)

    ภาสิตา โข ปน ภควตา ปรินิพฺพานสมเย อยํ ปจฺฉิมวาจา หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ. ภาสิตญฺจิทํ ภควตา เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยานิ กานิจิ ชงฺคลานํ ปาณานํ ปทชาตานิ สพฺพานิ ตานิ หตฺถิปเท สโมธานํ คจฺฉนฺติ หตฺถิปทํ เตสํ อคฺคมกฺขายติ ยทิทํ มหนฺตตฺเตน. เอวเมว โข ภิกฺขเว เยเกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อปฺปมาทมูลกา อปฺปมาทสโมสรณา อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายตีติ. ตสฺมา ติหมฺเหหิ สิกฺขิตพฺพํ ติพฺพาเปกฺขา ภวิสฺสาม อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน อธิจิตฺตสิกขาสมาทาเน อธิปญฺญาสิกฺขาสมาทาเน อปฺปมาเทน สมฺปาเทสฺสามาติ. เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพนฺติ.

    นึกถึงความเสื่อมอยู่เสมอ ให้เจอความเสื่อมไว้เสมอ นึกหนักเข้าๆ แล้วใจหาย เอ๊ะนี่เรามาคนเดียวหรือ เอ๊ะนี่เราก็ตายคนเดียวซิ บุรพชนต้นตระกูลของเราไปไหนหมดล่ะ อ้าวตายหมด เราล่ะ ก็ตายแบบเดียวกัน ตกใจล่ะคราวนี้ ทำชั่วก็เลิกละทันที รีบทำความดีโดยกะทันหันทีเดียว เพราะไปเห็นอ้ายความเสื่อมเข้า ถ้าไม่เห็นความเสื่อมละก้อ กล้าหาญนัก ทำชั่วก็ได้ ด่าว่าผู้หลักผู้ใหญ่ได้ตามชอบใจ ถ้าเห็นความเสื่อมเข้าแล้ว กราบผู้ใหญ่ปะหลกๆๆ ทีเดียว เพราะเหตุอะไรล่ะ เพราะเห็นความเสื่อมเข้า มันไม่ประมาท
    ” ​
    ณ บัดนี้ท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย คฤหัสถ์ บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า มาสโมสรสันนิบาตในพระอุโบสถวัดปากน้ำ ณ เวลาวันนี้ ล้วนมีสวนเจตนาใคร่เพื่อจะสดับตรับรับฟังพระธรรมเทศนาในวันมาฆบูชา สมเด็จพระบรมศาสดาไว้อาลัยให้แก่เราท่านทั้งหลาย ให้เป็นเครื่องประจำใจของเราท่านทั้งหลายทุกถ้วนหน้า เรียกว่า ปัจฉิมวาจา พระองค์ทรงรับสั่งพระวาจานี้ แล้วหับพระโอษฐ์ไม่ทรงรับสั่งต่อไป
    พระวาจาอันนี้เป็นที่ตรึงใจของหญิงชายในโลกทุกถ้วนหน้า ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต สมเด็จพระบรมสามิตสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้อาลัยให้แก่เราท่านทั้งหลายในเรื่อง วยธรรม ของ สังขารทั้งหลาย อาลัยอันนี้แหละเป็นปัจฉิมวาจาของพระจอมไตร ให้เราจำไว้อย่าลืมหลงว่า เราต้องเป็นอย่างนี้แน่ไม่แปรผัน เมื่อทราบชัดด้วยใจของตนมั่นในขันธสันดานแล้ว ความเสื่อมไปของสังขารทั้งหลาย หรือสังขารทั้งหลายเสื่อมไป ไม่ได้มีถอยกลับเลยแม้แต่สังขารใดสังขารหนึ่ง อาศัยสราคธาตุสราคธรรม หรืออาศัยวิราคธาตุวิราคธรรม เกิดขึ้นที่เรียกว่าสังขาร สิ่งที่มีขึ้นเกิดขึ้น ปรุงขึ้นแล้ว ตกอยู่ในความแปรไป เสื่อมไป ไม่มีเหลือเลยแม้สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง เสื่อมไปทั้งนั้น ความเสื่อมอันนี้แหละเป็นเครื่องประจำใจของเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต หญิงชายทุกถ้วนหน้า ให้นึกถึงความเสื่อมอันนี้ไว้
    ความเสื่อมน่ะจะนึกที่ไหน นึกถึงในตัวของเรานี่ อัตภาพร่างกายนี้ไม่คงที่เลย ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาก็เสื่อมเรื่อยไป เสื่อมไปตามหน้าที่ เสื่อมขึ้น เสื่อมลง เสื่อมขึ้น ก็เจริญขึ้นเป็นลำดับไป พอเต็มอายุก็เสื่อมลงเรื่อยไป เสื่อมไม่มีหยุดเลย เสื่อมเรื่อย เมื่อเสื่อมเป็นดังนี้ละก็ สิ่งทั้งสิ้นหมดทั้งสากลโลก ที่เราได้เห็นด้วยตา หรือได้ยินด้วยหู หรือได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย รู้แจ้งทางใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเสื่อมทั้งนั้น ไม่มีความตั้งอยู่ได้มั่นอยู่ได้สักชั่วกัลปาวสานเลย มีความเสื่อมเป็นเบื้องหน้า ให้นึกความเสื่อมอันนี้แหละให้ติดอยู่กับใจของอาตมา [ของตนเอง] ถ้านึกถึงความเสื่อมดังนี้ละก็ สังเกตได้นะ หัวเราะเสียงดังไม่ค่อยมีหรอก อย่างดัง ก็แต่ยิ้มๆ แหละ เพราะมันนึกถึงความเสื่อมอยู่ มันไม่ไว้ใจทั้งนั้น นึกว่าเสื่อมแล้ว หน้าไม่ค่อยดีหรอก หัวเราะดังกับเขาไม่เป็นหรอก เป็นแต่ยิ้มๆ อย่างขบขันเต็มทีก็เป็นแต่ยิ้มๆ เท่านั้น หรือแย้มโอษฐ์เท่านั้น มันนึกถึงความเสื่อมประจำใจอยู่
    ถ้านึกถึงความเสื่อมประจำใจได้ดังนี้ละก็ หากว่าเป็นภิกษุสามเณรจะต้องเรียนเป็นนักปราชญ์ของเขาได้ ทางคันถธุระ ทางวิปัสสนาธุระ เพราะแกนึกถึงความเสื่อมอยู่ ถ้าเป็นหญิงเป็นชาย เป็นฆราวาสครองเรือน จะต้องมีหลักฐานมั่นคงใหญ่โตทีเดียว ไม่ใช่คนเหลวไหล ไม่ใช่คนเลวทราม ต้องเป็นคนอยู่ในความพยายามทีเดียว มันหมดไปสิ้นไป รออยู่ไม่ได้ ใจกายขยันนัก เพราะนึกถึงความเสื่อมอยู่ แกไม่รอผู้หนึ่งผู้ใดล่ะ แกกลัวชีวิตของแกจะหมดไป แกรักษาชีวิตของแก หากว่าแกจะมารักษาศีลทางวัด แกก็ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทีเดียว แกกลัวชีวิตมันหมดไปเสีย กลัวจะไม่ได้ศีลเต็มที่ เป็นแต่เพียงรักษาศีล กลัวจะไม่เข้าถึงอธิศีล ถ้าว่าแกทำสมาธิล่ะ แกก็ทำได้อย่างงดงามทีเดียว เพราะแกพยายามไม่หยุดยั้ง แกกลัวชีวิตจะไม่พอ แกรีบทั้งกลางวันกลางคืนทีเดียว นี้สมาธิของแกก็มั่นคง ผิดกับบุคคลธรรมดา ถ้าแก เจริญทางปัญญาล่ะ แกก็โชติช่วงทีเดียว คนอื่นไม่อาจที่จะเข้าถึง เพราะแกคำนึงถึงความเสื่อมของอัตภาพร่างกายของแกอยู่เสมอ แกทำปัญญาได้รุ่งเรืองเจริญดี แกทำธรรมละก้อ เจริญดีทีเดียว เพราะแกนึกถึงความเสื่อม ทางโลกก็เจริญดีเหมือนกัน เพราะแกกระวีกระวาดจัดแจง ให้เรียบเสียในการเลี้ยงชีพ จะได้ทำความดียิ่งขึ้นกว่านั้นต่อไป เหตุนี้ความเสื่อมที่พระจอมไตรวางโอกาสไว้ให้เราท่านทั้งหลายนะ ตรึงใจไว้ในวันมาฆบูชา ที่พระจอมไตรทรงรับสั่งในเรื่องธรรม ในวันมาฆบูชาน่ะเป็นโอวาท ย่อย่นสกลพุทธศาสนาสำคัญนัก
    แต่วันนี้จะกล่าวในโอวาทสุดท้าย ที่เรียกว่า ปัจฉิมวาจา ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้เป็นนิเขปกถาว่า ภาสิตา โข ปน ภควตา ปรินิพฺพานสมเย อยํ ปจฺฉิมวาจา หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ. แปลเนื้อความว่า จริงอยู่ วาจาสุดท้ายนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับสั่งแล้วว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลาย เราเรียกท่านทั้งหลายเข้ามาสู่ที่เฝ้าเรานี้ว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ” นี่จำไว้อันนี้ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ สิ่งที่ได้เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ได้รู้แจ้งทางใจ เสื่อมไปเสมอ ไม่เหลือเลย อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ท่านจงถึงพร้อมด้วยความไม่เผลอไม่ประมาท ท่านจงถึงพร้อมด้วยความไม่เผลอในความเสื่อมไปนั้น ให้ตรึงไว้กับใจเสมอ นี้แหละเจอละ ทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เป็นหนทางหมดจดวิเศษทีเดียว นึกถึงความเสื่อมอันนั้น นึกถึงความเสื่อมได้เวลาไรละก้อ บุญกุศลยิ่งใหญ่เกิดกับตนเวลานั้น ให้นึกอย่างนี้ นี่เป็นข้อสำคัญ นี้เนื้อความของพระบาลีแปลเป็นสยามภาษาได้ความดังนี้
    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายเป็นลำดับไปว่า ความเสื่อมอันนี้แหละมีอยู่กับใครบ้าง หมด เราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต หญิงชาย เด็กเล็กผู้ใหญ่ไม่ว่า เสื่อมทีละนิดๆๆ เหมือนกับนาฬิกาเดิน เหมือนกันทุกคน ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติใดๆ ไม่เหลือเลย ในกำเนิดทั้ง ๔ สังเสทชะ อัณฑชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ
    อัณฑชะ สัตว์เกิดด้วยฟองไข่ ก็เสื่อมเหมือนกัน สังเสทชะ สัตว์เกิดด้วยเหงื่อไคล ก็เหมือนกัน ชลาพุชะ เกิดขึ้นอาศัยน้ำเป็นแดนเกิด ก็เสื่อมเหมือนกัน โอปปาติกะ จะลอยขึ้นบังเกิด บังเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เปรต นรก อสุรกาย เหล่านี้ หรือว่าเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานก็เสื่อม เกิดเป็นกายทิพย์ ภุมมเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดา จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ก็มีเสื่อมอีกเหมือนกัน เสื่อมทีละนิดๆ ไปตามหน้าที่ พอหมดหน้าที่ก็แตกกายทำลายขันธ์ เสื่อมอย่างนี้เหมือนกันหมด หรือไปเกิดในชั้นพรหม ทั้ง ๑๖ ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิต มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา อสัญญี เวหัปผลา ก็เสื่อมเหมือนกัน แบบเดียวกัน ไม่คลาดเคลื่อน อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา ในปัญจสุทธาวาส ก็เสื่อมเหมือนกัน หรืออรูปพรหมทั้ง ๔ อากาสานัญจายตนภพ วิญญาณัญจายตนภพ อากิญจัญญายตนภพ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ก็มีความเสื่อมดุจเดียวกัน
    เมื่อมีความเสื่อมเช่นนี้นะ พระพุทธองค์ประสงค์อะไร จะต้อนพวกเราให้พ้นจากความเสื่อมเหล่านี้ ให้ออกจากภพไปเสีย ให้เข้าถึงธรรมกายไปนิพพาน ต้องการอย่างนั้นหนา ไม่ใช่ต้องการท่าอื่นหนา จะต้อนพวกเรา จะขับจูงพวกเรา จะเหนี่ยวรั้งพวกเราพ้นจากไตรวัฏ กรรมวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ให้ขึ้นจาก วัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารน่ะคือ กรรมวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารนี้ จะให้ขึ้นจากภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ พ้นจากภพทั้ง ๓ ไป ให้มีนิพพานมีที่ไปในเบื้องหน้า ประสงค์อย่างนั้นจึงได้ทรงรับสั่ง เช่นนี้ ให้เราไม่เผลอในความเสื่อมนั้น ถ้าไม่เผลอในความเสื่อมนั้น ทำอะไรเป็นได้ผลหมด เป็นภิกษุสามเณรทำอะไรเป็นได้ผลหมด เล่าเรียนก็สำเร็จ คันถธุระก็สำเร็จ วิปัสสนาก็สำเร็จ ไม่ท้อถอยกันละ ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกาทำนาก็รวยกันยกใหญ่ ทำสวนก็รวยกันยกใหญ่ ทำไร่ก็ร่ำรวยกันยกใหญ่ เป็นคนไม่เกียจคร้านทีเดียว ถ้าว่ารับราชการงานเดือนก็เอาดีได้ทีเดียว หรือไม่ว่าทำหน้าที่อันใดเป็นเอาดีได้ทั้งนั้น รุ่งเรืองเจริญด้วยกันทั้งนั้น เพราะแกไม่เผลอ แกระวังตัวอยู่เสมอเช่นนี้ แล้วก็ทางชั่วแกไม่ทำทีเดียว แกกลัวมันตามไปลงโทษแก แกไม่ยอมเด็ดขาดทีเดียว แกเห็นความเสื่อมอยู่เสมอดังนี้ ให้เห็นอยู่อย่างนี้แหละจึงจะเอาตัวรอดได้ ถ้าไม่เห็นอย่างนี้เอาตัวรอดไม่ได้ ต้องเห็นความเสื่อมอยู่เช่นนี้
    เมื่อเห็นความเสื่อมดังนี้แล้ว ท่านอุปมาอุปไมยไว้หลายนัยหลายประการ อุปมาอุปไมยไว้ว่า ภาสิตํ อิทํ ภควตา คำอันนี้พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งแล้วว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยานิ กานิจิ ชงฺคลานํ ปาณานํ ปทชาตานิ สพฺพานิ ตานิ หตฺถิปเท สโมธานํ คจฺฉนฺติ หตฺถิปทํ เตสํ อคฺคมกฺขายติ แปลเนื้อความว่า ปทชาติทั้งหลาย รอยเท้าสัตว์ทั้งหลายทั้งหมดในชมพูทวีป ปทชาตานิ น่ะ เขาแปลว่า ปทชาติทั้งหลาย ทับศัพท์ ถ้าว่าจะขยาย [ความ] รอยเท้าสัตว์หมดทั้งชมพูทวีป ไม่เหลือเลย ปทชาติทั้งหลายของสัตว์ที่ไปด้วยแข้ง ยานิ กานิจิ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง สพฺพานิ ตานิ ปทชาติทั้งหลายเหล่านั้นทั้งสิ้น คจฺฉนฺติ ย่อมถึง สโมธานํ ซึ่งการประชุมลง หตฺถิปเท ในรอยเท้าแห่งช้าง แปลเนื้อความออกไปดังนี้ หตฺถิปทํ อันว่ารอยเท้าแห่งช้าง เตสํ อคฺคมกฺขายติ อันบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าประเสริฐกว่าปทชาติทั้งหลายเหล่านั้น เรียกว่ารอยเท้าช้างเป็นใหญ่กว่ารอยสัตว์อื่นทั้งหมด เลิศกว่ารอยสัตว์ทั้งหมด เสยฺยถาปิ แม้ฉันใด ยทิทํ มหนฺตตฺเตน นี้อะไร เพราะรอยเท้าของช้างนั้นเป็นวิปทชาติใหญ่
    เอวเมว โข ภิกฺขเว เย เกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อปฺปมาทมูลกา อปฺปมาทสโมสรณา อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายติ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นกุศลเหล่าใด สพฺเพ เต ธรรมเป็นกุศลทั้งสิ้น อปฺปมาทมูลกา มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า เป็นโคน รากทีเดียว มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า อปฺปมาทสโมสรณา ประชุมลงด้วยความไม่ประมาท อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายติ ความไม่ประมาทบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ ตสฺมา ติหมฺเหหิ สิกฺขิตพฺพํ เพราะเหตุนั้นเราควรศึกษา ติพฺพาเปกฺขา ภวิสฺสามิ เราจักเป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญ เราจะเป็นผู้บากบั่นตรากตรำ เราจะเป็นผู้บากบั่นมั่นคง จะเป็นผู้ดำรง อยู่ด้วยความไม่ประมาท ในอันสมาทานซึ่งอธิศีล ในอันสมาทานซึ่งอธิจิต ในอันสมาทานซึ่ง อธิปัญญา นี้ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ๓ ข้อนี้เป็นข้อที่คาดคั้นนัก ความประมาทหรือความ ไม่ประมาท ๒ อันนี้เป็นข้ออันสำคัญ ความประมาททำให้เสื่อมเสีย ความไม่ประมาทไม่ทำให้เสื่อมเสีย ธรรมของพระบรมศาสดาจบพระไตรปิฎกมีความไม่ประมาทนี่แหละเป็นต้นเค้า ที่จะดำเนินถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระบรมศาสดา ที่จะพลาดพลั้งไม่ถูกต้องร่องรอย ความประสงค์ของพระบรมศาสดาก็เพราะความประมาท นี่เป็นข้อสำคัญนัก
    ความประมาทน่ะคือเผลอไป ความไม่ประมาทน่ะคือความไม่เผลอ ไม่เผลอล่ะ ใจจด ใจจ่อทีเดียว นั่น อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา นี่เรียกว่าผู้ไม่ประมาท ท่านจึงได้อุปมาไว้ ไม่ประมาท ไม่เผลอด้วยอะไร ไม่ประมาทไม่เผลอในความเสื่อมไปในข้างต้น ในปัจฉิมวาจา ไม่ประมาท ไม่เผลอ ในความเสื่อมไป นึกถึงความเสื่อมอยู่เสมอ ให้เจอความเสื่อมไว้เสมอ นึกหนักเข้าๆ แล้วใจหาย เอ๊ะนี่เรามาคนเดียวหรือ เอ๊ะนี่เราก็ตายคนเดียวซิ บุรพชนต้นตระกูลของเราไปไหนหมดล่ะ อ้าวตายหมด เราล่ะ ก็ตายแบบเดียวกัน ตกใจล่ะคราวนี้ ทำชั่วก็เลิกละทันที รีบทำความดีโดยกะทันหันทีเดียว เพราะไปเห็นอ้ายความเสื่อมเข้า ถ้าไม่เห็นความเสื่อมละก้อ กล้าหาญนัก ทำชั่วก็ได้ ด่าว่าผู้หลักผู้ใหญ่ได้ตามชอบใจ ถ้าเห็นความเสื่อมเข้าแล้ว กราบผู้ใหญ่ปะหลกๆๆ ทีเดียว เพราะเหตุอะไรล่ะ เพราะเห็นความเสื่อมเข้า มันไม่ประมาท ถ้าว่าประมาท เข้าก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้นสำคัญนัก ความประมาท
    ความประมาทน่ะ คืออะไรทำให้ประมาทล่ะ สุราซิ ความเมาซิ ทำให้ประมาท ความเมานั่นแหละ ถ้าว่าไปขลุกขลุ่ยกับมันนัก ไปคุ้นเคยกับมันหนักเข้าละก้อ มันทำให้เสียคนนะ ไม่รู้จักพ่อไม่รู้จักแม่พี่ป้าน้าอาปู่ย่าตายาย ว่าต่ำๆ สูงๆ นี่เพราะมันเมา อ้ายเมาสุราน่ะมีเวลาสร่างนะ อ้ายเมาอีกอย่างหนึ่งล่ะ อ้ายนั่นเมาสำคัญ เขาเรียกว่าเมามัน ถ้าว่าช้างก็เรียกว่า เมามัน อ้ายเมามันนี่สำคัญนัก อ้ายเมามันนี่ไม่ได้ พ่อแม่เลี้ยงลูกหญิงลูกชายมาน่ะ ถ้าเมามันขึ้นมาแล้วก็ไม่ได้ละ แม้ว่าเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นแหละ หญิงก็ลงจมูกฟิดทีเดียว ชายก็ลงจมูกฟิด ลงจมูกฟิดแล้วก็ไปแล้ว เหนี่ยวไม่อยู่รั้งไม่อยู่ พ่อแม่ก็รั้งไม่อยู่ไปเสียแล้ว นั่นแน่ มันเมาขึ้นมาแล้วอย่างไรล่ะ อ้ายนั่นสำคัญ อ้ายนั่นประมาท นี่เป็นเหตุประมาทสำคัญ อ้ายเมามันนั่นแหละประมาท ถ้าว่าช้างเรียกว่ากลัดมัน ไม่กลัวใครจะอ้ายนั่น ไม่กลัวใคร นั่นแน่ ในคุกตะรางเมามันทั้งนั้น ไปอยู่โน่น ถ้าเมามันละก้อ ประมาทยกใหญ่ ถ้าเมาสุราก็ประมาทยกใหญ่ ถ้าว่าเมามันด้วย เมาสุราด้วย ๒ อย่างละก้อ เสียยกใหญ่ทีเดียว ประมาท ตั้งอยู่ในประมาทแท้ๆ ทีเดียว นี่ความประมาท ไม่ประมาทมันอยู่อย่างนี้นะ ให้เลิกเมามันเสีย ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
    รอยเท้าของสัตว์หมดทั้งสากล จะเป็น ๔ เท้า ๒ เท้าไม่เข้าใจ ต้องประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างน่ะเป็นของใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์อื่นหมดทั้งสิ้น ฉันใดก็ดี ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลที่ดีน่ะ หมดทั้งสกลพุทธศาสนา หมดทั้งพระไตรปิฎกทั้งหลายที่เป็นกุศลนั่น ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูลราก นั่นแน่ อปฺปมาทมูลกา มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า มีความไม่ประมาทเป็นมูลราก อุปฺปมาทสโมสรณา ประชุมลงในความไม่ประมาท เหมือนรอยเท้าสัตว์อื่นประชุมลงในรอยเท้าช้าง ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมดประชุมอยู่ในความไม่ประมาททั้งนั้น นี้หลักพระพุทธศาสนาอยู่ตรงนี้ ไม่ให้ประมาท เมื่อไม่ประมาท ความดีมีเท่าไรในพระพุทธศาสนา ในธาตุในธรรม ย่อมประชุมลงในความไม่ประมาท คนไม่ประมาท ผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทแล้ว คนมีธรรมควรไหว้ควรเคารพควรนับถือทีเดียว คนมีธรรม คนตั้งอยู่ในธรรม นี้แล ความไม่ประมาทนี้นักปราชญ์สรรเสริญนัก อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายติ ว่าเลิศประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลายแล้ว กล่าวไว้อีกหลายนัย อปฺปมาทรโต วิโรจติ ผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทย่อมรุ่งโรจน์ทีเดียว เป็นของไม่ใช่พอดีพอร้าย เพราะฉะนั้นความประมาทและไม่ประมาทนี้ นักปราชญ์ทั้งหลายสรรเสริญความไม่ประมาทว่าเป็นธรรมของนักปราชญ์ บัณฑิตชาติทั้งหลายดำเนินอยู่เนืองนิตย์อัตรา ความประมาทนักปราชญ์ทั้งหลายติเตียนว่า เป็นทางไปของคนเมา ของคนไม่มีสติ ของคนพลั้งเผลอ ของคนพาล ไม่ใช่ทางไปของบัณฑิต ความไม่ประมาทเป็นทางไปของบัณฑิตแท้ๆ
    ใครเป็นคนไม่ประมาทในสากลโลก เมื่อครั้งพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ พระบรมศาสดาเป็นผู้ไม่ประมาท พระอรหันต์ทั้งหลายที่ได้บรรลุอรหัตแล้วเป็นผู้ไม่ประมาท ก็ได้แก่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์น่ะซิเป็นผู้ไม่ประมาท นั่นอย่างสูงอย่างเด็ดขาด ไม่ประมาทแท้ๆ ถ้าจะลดส่วนกว่านั้นลงไป พระอนาคาก็ไม่ประมาทตามส่วนของท่านทั้งมรรคทั้งผล พระสกทาคาก็ไม่ประมาทตามส่วนของท่านทั้งมรรคทั้งผล พระโสดาก็ไม่ประมาทตามส่วนของท่านทั้งมรรคทั้งผล โคตรภูบุคคลที่มีธรรมกายแล้วก็ไม่ประมาทเหมือนกัน มีความประมาทน้อย ความไม่ประมาทมีมาก ถ้าปุถุชนแท้ๆ ละก้อ น้อยคนจึงจะมีความไม่ประมาทมาก มีความประมาทมากโดยมาก มีความประมาทน้อยโดยน้อย นี้ความจริงเป็นเช่นนี้ เมื่อรู้จักความจริงเช่นนี้แล้ว สิ่งที่ดีที่หายาก ถ้าว่าเราตั้งอยู่ได้ในความไม่ประมาท คอยนึกถึงความเสื่อมไป มีอารมณ์อยู่ ไม่ใช่ไม่มีอารมณ์ ว่าตั้งใจว่าเรานึกถึงความเสื่อมนี้ว่า ตั้งแต่นี้ไปเมื่อรู้ เมื่อเข้าใจแล้ว จะนึกถึงความเสื่อมในสกลร่างกายนี้ไม่ขาดอยู่ จะเอาใจจรดอยู่ที่ความเสื่อมนั่นแหละ เราจะนึกถึงความเสื่อมของตน นึกถึงความเสื่อมบุคคลผู้อื่น เมื่อลืมตาขึ้นเห็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา แน่ะความเสื่อมมันแสดงให้ดู นั่นแปรผันไปถึงแค่นั้น แล้วมันก็แปรผันไปถึงแค่นั้น ประเดี๋ยวก็ตายให้ดู แน่ะทำให้ดูแล้ว ได้ยินเสียงพระสวดก็ดี เห็นโลงก็ดี แน่ะเป็นอย่างนี้แหละ หมดทั้งสากลโลก เราก็เป็นอย่างนี้ เพราะเหตุฉะนั้นเมื่อบุคคลไม่เผลอในความเสื่อมเช่นนี้ ไม่พลั้งไม่เผลอละก้อนั่นแหละ ผู้นั้นแหละได้ชื่อว่า ได้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พระจอมปราชญ์สรรเสริญนัก
    ถ้าแม้ว่าจะเป็นภิกษุหรือสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ทั้งหญิงชาย คฤหัสถ์ บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า ถ้าผู้ที่มีใจจรดอยู่ในความเสื่อมไม่พลั้งเผลอละก้อ เป็นเจอซึ่งสมบัติในภพนี้ ต่อไปภายหน้า สมบัติในภพนี้ก็เป็นคนมั่งมีทีเดียว สมบัติในภายหน้าก็จะไม่เลินเล่อเผลอตัวทีเดียว เหมือนอย่างกับเราท่านทั้งหลายเป็นนักบวชเหล่านี้ เป็นอุบาสกอุบาสิกาเหล่านี้ นี่ก็เพราะอาศัยเราเห็นว่ามีความเสื่อม เห็นมีความเสื่อมอย่างไร ก็เราเห็นนี่ เราเกิดมาถึงแค่นี้แล้ว เราต้องตายแน่ นั่นแน่มันไปเห็นอ้ายต้องตายแน่นั้น นั่นไปเห็นความเสื่อมแล้วนี่ นี้จึงได้แสวงหาธรรมในพุทธศาสนา แสวงหาบุญกุศลน่ะ รู้จะต้องละโลกนี้แล้วไปสู่ปรโลกเบื้องหน้า แสวงหาสิ่งที่เป็นที่พึ่งของตน นี่เพราะเห็นความเสื่อมเข้าแล้วนี่ ถ้าไม่เห็นความเสื่อม มันจะอย่างนี้อย่างไรเล่า เพราะมันเห็นความเสื่อมเข้าแล้ว ความเสื่อมอันนี้แหละ เมื่อเช่นนั้นแล้ว ให้อุตส่าห์มั่นคงอยู่ในอธิศีล ให้อุตส่าห์มั่นคงอยู่ในอธิจิต ให้อุตส่าห์มั่นคงอยู่ในอธิปัญญา
    อธิศีลเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน นี่ตรงนี้เราต้องเข้าใจ วัดปากน้ำทั้งหญิงและชาย ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เขาเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นพื้นเชียวมีมากนัก ตั้ง ๑๐๐ ที่เราบริสุทธิ์กายบริสุทธิ์วาจาน่ะ นั่นเป็นแค่ศีลนะ ศีลบริสุทธิ์เป็นแต่ศีลบริสุทธิ์ เราบริสุทธิ์เจตนานั่นก็เป็นแต่เจตนาศีลน่ะ เราบริสุทธิ์กายบริสุทธิ์วาจาเป็นสังวรศีล สำรวมระวังไว้ เราบริสุทธิ์เจตนาคิดอ่านทางใจ เป็นเจตนาศีลนะ ไม่ใช่อธิศีลหรอก ยังไม่ถึงอธิศีล ถ้าถึงอธิศีลแล้วละก็ เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำ ให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ เหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ กลมอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ถ้าเห็นศีลดวงนั้นเข้าแล้วละก็ นั่นแหละเขาเรียกว่า อธิศีล
    เมื่อไปรู้จักอธิศีลแล้วละก็ อธิจิตก็อยู่ในกลางอธิศีลนั่นแหละ ดวงเท่าๆ กับอธิศีล ที่กายวาจาเราสงบดีก็เพราะอาศัยจากใจของเราเจตนาสงบดี นั่นเป็นสมาธิ เป็นสมาธิแต่ภายนอก ไม่ใช่สมาธิสำคัญ เมื่อเข้าถึงอธิจิตอยู่ในกลางของศีลนั่นดวงเท่าๆ กัน ดวงเท่ากับดวงศีล อยู่ในกลางดวงของศีลนั่น เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ถ้าเข้าถึงอธิจิตเช่นนั้นละก็ ได้ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคงละ ไม่โยกคลอนไปตามใครละ เข้าถึงอธิจิตเสียแล้ว
    ยังไม่ลึกซึ้งเท่าอธิปัญญา อธิปัญญาสูงกว่านั้น เราอุตส่าห์พยายามให้เข้าถึงอธิปัญญา แม้จะเฉลียวฉลาดในกายวาจาสักเท่าหนึ่งเท่าใดเรียกว่าฉลาด อ้ายนั่นก็ปัญญาภายนอก เจตนาคล่องแคล่วอย่างหนึ่งอย่างใด ก็เรียกว่าความฉลาดของปัญญาเป็นภายนอก เข้าถึงปัญญาอยู่ ในกลางดวงของศีลนั่นแหละ ใสยิ่งกว่าใสขึ้นไป สะอาดยิ่งกว่าสะอาดขึ้นไป เท่าๆ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน เมื่อเข้าถึงดวงปัญญาเช่นนั้นละก็ นั่นแหละทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เข้าไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ เข้าไปในทางอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา นั่นแหละ เมื่อเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แล้วละก็ ก็จะเข้าถึงธรรมกายเป็นลำดับไป เมื่อเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ละก็ ไม่พ้นละ ต้องเข้าถึงธรรมกายแน่ เป็นทางไปของ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์จริงๆ แท้ๆ เมื่อรู้จักแน่เช่นนี้ละก็ จะไปนรกกันได้อย่างไร ไม่ไปแน่นอน ถ้าทำหนักเข้า ปฏิบัติหนักเข้า ก็จะเป็นลำดับไป มรรคผลต้องอยู่กับเราแน่ ต้องออกจากวัฏฏะทั้ง ๓ แน่ๆ คือ กิเลสวัฏ กัมมวัฏ วิปากวัฏ ต้องออกจากภพ ๓ แน่ๆ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่ต้องอาศัย มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
    ทีนี้ นิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้าน่ะลึกซึ้ง ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย เมื่อรู้จักอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาแล้ว ก็จะเข้าถึงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ถึงกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ก็แบบเดียวกันอย่างนี้แหละ เข้าไปในกลางกายมนุษย์ละเอียด กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะเข้าถึงกายทิพย์ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะถึงกายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหม ละเอียด พอเข้าถึงเช่นนั้นแล้ว จะเข้าถึงกายธรรมด้วยอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะเข้าถึงกายธรรมที่เป็นโคตรภู กายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรม พระโสดา-โสดาละเอียด กายธรรมพระสกทาคา-สกทาคาละเอียด กายธรรมอนาคา-อนาคาละเอียด กายธรรมอรหัต-อรหัตละเอียด ที่จะถึงอรหัตตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้เช่นนี้ ต้องอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาหนา ถ้าไม่อาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไปไม่ได้ ตำรับตำราก็ได้กล่าวไว้ วางเป็นเนติแบบแผนว่า ทางปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา ทางอื่นไม่มีหรอก นอกจากทางศีล สมาธิ ปัญญา วินัยปิฎกทั้งปิฎก เมื่อย่อลงไปแล้วก็คือศีลนั่น ถ้าเข้าถึงอธิศีล แล้วละก็ ตัววินัยปิฎกทีเดียว ถึงโคนรากวินัยปิฎกทีเดียว ถ้าเข้าถึงอธิจิต เข้าโคนรากของสุตตันตปิฎกทีเดียว ถ้าเข้าถึงอธิปัญญา เข้าโคนรากของปรมัตถปิฎกทีเดียว นี่เป็นตัวสำคัญอย่างนี้
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ วันนี้เราได้ฟังเทศนา ให้ตรงใจไว้ว่าเราจะเอาใจจรดอยู่ในความเสื่อม ตามปัจฉิมวาจาที่พระองค์ทรงรับสั่งว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ ทรงรับสั่งแล้วหับพระโอษฐ์ ไม่รับสั่งต่อไป เราก็นึกถึงตัวเราเสื่อมไปเสมอไม่หยุดไม่ยั้งเลย หมดทั้งสากลโลก เสื่อมไปเสมอ นี่แบบเดียวกัน นี่ต้องหยุดอย่างนี้ไม่เผลอหนา เมื่อตรึกเช่นนี้แล้วละก็ ตั้งอยู่ในความไม่ประมาททีเดียว ข้อที่สองไม่พลั้งไม่เผลอไม่ประมาท เมื่อรู้ว่าเสื่อมเช่นนี้แล้วละก็ เราจะไปทางไหน ไปทางอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไปทางโน้น ต้องเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ให้ได้ ถ้าเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่ได้ ต้องรีบเร่งค้นคว้าหาอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เหมือนอย่างบุคคลที่มีกระเช้าไฟหรือเตาอั้งโล่ตั้งอยู่บนศีรษะ มันร้อนทนไม่ไหว ต้องรีบหาน้ำดับ หรือเอาทิ้งเสียให้ได้นั้นฉันใดก็ดี ต้องให้เจอในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถ้าไม่เจอ ต้องรีบเร่งขวนขวายทีเดียว จึงจะเอาตัวรอดได้ ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...