ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    การกำหนดลูกแก้วใสขึ้นในใจ ถ้าไม่สามารถเห็นเป็นลูกแก้วใสได้ จะสามารถใช้ลูกกลมสีขาวที่เกิดขึ้นในใจแทนการเห็นลูกแก้วใสได้หรือไม่ ?




    ได้ ใช้ได้เลย เรื่องการกำหนดลูกแก้วหรือดวงแก้วนั้น ถ้ากำหนดหรือเห็นได้เป็นดวงขาวที่ยังไม่ใส หรือนึกเห็นเป็นดวงแก้วใสก็ได้ หรือจะนึกเห็นพระพุทธรูปแก้วใสก็ได้
    แต่ที่ยังไม่ใสน่ะ เพราะใจยังไม่หยุดนิ่งเข้าไปที่กลางจุดเล็กใสที่กลางดวงขาวๆ ที่เห็นนั้น ถ้าหยุดนิ่งสนิทเข้าไป ณ ภายในแล้ว จุดเล็กใสตรงกลางดวงขาวนั้นจะขยายตัวเองออก แล้วจะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
    ดวงขาวใช้ได้ เช่น ใครอาจจะติดใจลูกกอล์ฟ อาจจะนึกเห็นลูกกอล์ฟก็ได้ ไม่เป็นไร แต่ว่าเมื่อใจมันรวมลงหยุดนิ่งจริงๆ แล้ว จะเห็นใสขึ้นมาเอง แต่ในเบื้องต้นอาจจะต้องช่วยเล็กน้อย ด้วยการอธิษฐานขยายจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางดวงใส หรือดวงที่เห็นขาวๆ นั้น แล้วหยุดในหยุดกลางของหยุดนิ่งๆ กลางของกลางๆ นิ่งๆ เข้าไว้ เมื่อศูนย์กลางนั้นขยายออก ก็จะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]


    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010101.wma[/MUSIC]

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เมื่อปฏิบัติธรรมเวลาเห็นดวงแล้ว จากดวงจะเห็นเป็นกายพระขึ้นมาเลย ไม่ได้เห็น ๑๘ กาย ตามขั้นตอนถูกหรือผิด และจะต้องทำอย่างไร ?

    การเห็นจากดวงเป็นองค์พระ ไม่ผิดเรื่องนี้ เป็นเพราะเหตุว่า จิตละเอียดเข้าไปมากจนข้ามขั้นตอนกายที่หยาบกว่าเข้าสู่กายละเอียดๆ ยังทำนิโรธ คือ ดับหยาบไปหาละเอียด ได้ไม่เต็มที่ การเห็นก็อาจไม่ครบถ้วน
    ข้ามขั้นไปถึงธาตุธรรมที่ละเอียดเลย ส่วนธาตุธรรมส่วนหยาบ ได้แก่ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไม่เห็น แต่จริงๆ มีซ้อนอยู่ข้างใน ในทางปฏิบัตินั้นเมื่อเข้าถึง ๑๘ กาย ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการเจริญวิชชาแล้ว เมื่อพิสดารไปสู่สุดละเอียด กายเหล่านี้จะละเอียดขึ้นเป็นกายธรรมทั้งหมด วิธีการให้เห็นครบ ๑๘ กาย ก็โดยการถอนจิตมาให้หยาบลง ที่สำคัญคือต้องดับหยาบไปหาละเอียด ซึ่งเมื่อปฏิบัติได้ดังนี้ ขอให้ไปต่อวิชชากับหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ หรือที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เวลาที่เขามีการอบรมพระกัมมัฏฐานระหว่างวันที่ ๑-๑๔ พฤษภาคม และวันที่ ๑-๑๔ ธันวาคม ของทุกปี
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก
    ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน
    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า
    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ
    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ
    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย
    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง
    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา
    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง
    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย
    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร


    [​IMG]




    <!-- google_ad_section_end -->
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    กระผมได้ภาวนาวิชชาธรรมกายมาตั้งแต่บวชเมื่อปลายปี ๒๕๒๙ นั่งภาวนาเพียงอาทิตย์เศษ ก็เห็นองค์ธรรมกาย แต่ยังไม่เห็นดวงปฐมมรรค พอได้ธรรมกายเพียง ๒-๓ วัน ก็มองอะไรไม่เห็นอีกเลย เวลานั่งภาวนาก็เข้ากลางไม่ได้ จับได้แต่กว้างๆ และนิมิตก็ต้องเป็นองค์พระ ถ้าเห็นเป็นดวงแล้วจะเข้าไม่ได้เลย แต่ระยะหลังนี้ เข้ากลางได้ ประคองนิมิตได้ แต่พอเข้ากลางก็จะเกิดแสงสว่างวูบขึ้นอย่างแรง จิตจะเคลื่อนที่ แล้วจะทำใหม่ไม่ได้ ขอได้โปรดแนะนำด้วยครับ ?






    เรื่องเห็นดวงปฐมมรรคหรือไม่นี้ ไม่เป็นประมาณนะ เพราะว่า ในที่สุดละเอียดของดวงธรรมก็เป็นองค์พระ ในกลางองค์พระก็มีดวงธรรม หรือ ณ ศูนย์กลางของกายในกายต่างๆ ก็มีดวงธรรม เหมือนกัน
    สุดละเอียดของดวงธรรมนั้นอันประกอบด้วยคุณความดีในธาตุในธรรม เป็นดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ สุดละเอียดไปก็เป็นกายในกายที่ละเอียดยิ่งไปกว่ากายเดิม แปลว่า ในกายก็มีดวง ในดวงก็มีกาย นี่เป็นธรรมดา
    เมื่อเห็นธรรมกายแล้ว โปรดจำไว้ว่า เห็นแล้วต้องเข้าถึง ทุกอย่างต้องเข้าถึง วิธีเข้าถึงนั้น ไม่ว่าจะเห็นดวงธรรมหรือเห็นกายละเอียดกายใดก็ตาม มีอุบายวิธีคือ เหลือบตากลับนิดๆ เพื่อมิให้สายตาเนื้อไปแย่งหน้าที่ตาใน
    ขณะเดียวกันนั้น ก็มีธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่ง คือ ใจของคนเรานี้ชอบที่จะฟุ้งซ่านออกข้างนอกตัว ถ้าจะให้เข้าใน เห็น จำ คิด รู้ จะเข้าในได้ แต่พอใจจะเข้าในเมื่อไร ตาจะเหลือบกลับเองเมื่อนั้น นี้เป็นธรรมชาติ แต่เราไม่ได้สังเกตตัวเอง
    ถ้าใครเคยสังเกตเด็กทารกเวลานอนหลับ ก็จะพบว่า ตาของเด็กนั้นจะเหลือบกลับตลอดเวลา และนี่ก็เป็นธรรมชาติที่แปลก ซึ่งหลวงพ่อใหญ่ คือ หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านพบและเข้าใจเลยว่า เวลาที่สัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น เมื่อจิตหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่จะเกิดขึ้นมาใหม่ตรงนั้น อาการของสัตว์โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์เรา ตาจะเหลือบกลับ
    เพราะฉะนั้นอุบายนี้เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเราเหลือบตากลับนิดๆ ใจจะหยุดข้างในได้โดยง่าย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกให้ชำนาญ ผู้ที่ทำวิชชาชั้นสูงนั้น ตาเขาเหลือบกลับตลอดเวลา แต่ต้องไม่ลืมตา คือตาจะพรึมๆ อยู่นั่นแหละ ใจจะเข้าในและตกศูนย์อย่างละเอียดด้วย เพราะฉะนั้นวิธีทำให้ใจสามารถเข้าไปเห็นดวงในดวงกายในกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระหรือธรรมกายได้สนิทดีนั้น ให้เหลือบตากลับนิดๆ แล้วนึกเข้าไปเห็นศูนย์กลางองค์พระ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่มองดูเฉยๆ ถ้ามองดูเฉยๆ มองไปอย่างไร ก็ไม่ก้าวหน้า ต้องนึกเข้าไปเห็นและเข้าไปเป็น ถ้าเพียงดวงก็นึกเข้าไปเห็น ณ ภายในดวง ทิ้งความรู้สึกภายนอกของเรา เข้าไปเห็นภายใน เหมือนกับมีกายอีกกายหนึ่งของเราเข้าไปเห็นข้างใน ทำอย่างนี้จะก้าวหน้าได้ ถ้าเห็นกายแล้ว ก็ให้ดับหยาบไปหาละเอียด คือ สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นกายละเอียดนั้นเลย ทิ้งความรู้สึกอันเนื่องอยู่กับกายเนื้อของเรา กายละเอียดปรากฏขึ้นมาเมื่อไร ก็ดับหยาบไปหาละเอียดเข้าไปเป็นกายละเอียดนั้นแล้วใจมันจะตกศูนย์เอง เพราะว่าใจของกายละเอียดนั้นจะทำหน้าที่เอง โดยวิธีดังนี้ ใจของกายละเอียดจะทำหน้าที่เจริญภาวนาต่อ หยุดนิ่งเข้าไปจนถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นเจตสิกธรรมที่สุดละเอียดของใจของกายนั้น แล้วก็จะถึงธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ของ อีกกายหนึ่งที่ละเอียดๆ ต่อไป เหมือนกับการถ่ายทอดถึงซึ่งกันและกันเข้าไปจนสุดละเอียด
    ที่กล่าวมานี้นั้นก็เป็นอุบายวิธีในการเจริญจิตภาวนาให้ได้ผลดี ซึ่งพอจะสรุปหลักย่อๆ ได้ ๔ ประการ คือ
    1. เห็นดวงให้เดินดวง คือ นึกเข้าไปเห็นจุดเล็กใสที่ศูนย์กลางดวง ให้ใจหยุดใน หยุด กลางของหยุด กลางของกลางดวงให้เห็นใสละเอียดไปจนสุดละเอียด
    2. เห็นกายให้เดินกาย คือ ดับหยาบไปหาละเอียด คือ นึกเข้าไปเห็นจุดเล็กใสที่ ศูนย์กลางกายละเอียดที่ปรากฏขึ้นใหม่ ให้ใจของกายละเอียดนั้นเจริญภาวนา หยุดในหยุด กลางของหยุด ให้เห็นใสละเอียดทั้งดวง ทั้งกาย ทั้งองค์ฌาน
    3. เหลือบตากลับนิดๆ (ไม่ต้องลืมตา) ขณะเจริญภาวนา จะป้องกันมิให้สายตาเนื้อไปแย่งงานจิตตภาวนาของตาใน (คือใจ) และจะช่วยให้ใจหยุดนิ่ง กลางของหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ดี
    4. เข้ากลางทำให้ขาว คือ นึกเข้าไปหยุดในหยุดกลางของหยุด ณ ศูนย์กลางดวงหรือธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของกายที่ใสละเอียดที่สุด ไว้เสมอ
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ถ้าพระหรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้ที่ปฏิบัติเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย เกิดธรรมกายขึ้นมา โดยที่ไม่เห็นกายมนุษย์หยาบ จนถึงกายอรูปพรหมละเอียด จะต้องดำเนินการอย่างไร ?

    ถ้าปรากฏธรรมกายขึ้นมา เห็นใสสว่างเลยโดยไม่ผ่านกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหมนั้น ถูกต้องเหมือนกัน เป็นการข้ามขั้นตอนไปถึงจุดหมายปลายทางในเบื้องต้นคือ ถึงธรรมกายเลยทีเดียว ไม่ผิดครับ ถูก ไม่ต้องกังวลใจ เป็นธรรมกายต่อไปให้สุดละเอียด คือว่า
    เมื่อเห็นธรรมกายแล้ว ใจหยุดนิ่งที่กลางของกลางธรรมกาย ทำความรู้สึกเป็นธรรมกาย หยุดนิ่งกลางธรรมกาย ใสสว่างแล้วศูนย์กลางขยายออก ธรรมกายที่ละเอียดๆ ก็จะปรากฏขึ้นใหม่ โตใหญ่ใสละเอียดขึ้นไปตามลำดับ ให้ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายอรหัต ขนาดหน้าตักและความสูง ๒๐ วาขึ้นไป ให้ใสสว่างดี พอใสสว่างดีแล้ว นึกชำเลืองดูนิดเดียว นึกชำเลืองไปที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ใจหยุดในกลางกายมนุษย์ให้ใส ศูนย์กลางดวงธรรมขยายออก กายมนุษย์ละเอียดก็ปรากฏ ใจหยุดนิ่งกลางกายมนุษย์ละเอียด เห็นเป็นดวงใส ศูนย์กลางขยายออก เดี๋ยวกายทิพย์ก็ปรากฏ ใจหยุดกลางกายทิพย์ หยุดนิ่งเป็นดวงใส ขยายออกทิพย์ละเอียดก็ปรากฏ ใจหยุดกลางทิพย์ละเอียดให้ใส รูปพรหมก็ปรากฏ ทำไล่ไปทีละกายๆ อย่างนี้ในภายหลังก็ได้ ไม่ยาก เมื่อทำไล่ไปทีละกาย ถึง ๑๘ กายสุดท้าย ธรรมกายใหม่ที่สุดละเอียดใสสว่างก็จะปรากฏ ดำเนินต่อไป เราเข้าไปสุดละเอียดเท่าไหร่ กายหยาบก็อยู่ในนั้นอยู่แล้ว ตัวเราก็อยู่ในนั้นอยู่แล้วไม่มีปัญหา เพราะที่สุดละเอียดนั้นก็เป็นที่สุดละเอียดของสุดหยาบนี้แหละ ไม่ได้เป็นของใคร ไม่ต้องเป็นห่วง
    ผู้ที่เป็นวิชชาแล้วนั้น เมื่อถึง ๑๘ กายแล้วนั้น เราไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งทำไล่ ๑๘ กายทุกวันๆ ให้ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ใสละเอียด จนตกศูนย์เข้าพระนิพพาน ทับทวีเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของพระพุทธเจ้าไปเลย เมื่อชำนาญแล้วนึกเหลือบดู ๑๘ กาย ขยับใจตรึกนึกดูนิดหน่อยก็จะเห็น เมื่อเห็นใสดีแล้วก็ปล่อย ไม่ต้องสนใจ ถึงกายละเอียดแล้วไม่ต้องสนใจกายหยาบ เวลาทำวิชชาไปสุดละเอียดแล้ว ถ้าจะดูว่ากายหยาบผ่องใสหรือไม่ เพราะเหตุบางคนมีโรคภัยไข้เจ็บหรือมีปัญหาชีวิต ซึ่งเกิดในธาตุในธรรมนั้นแหละ ไม่ได้เกิดที่ไหน เมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียดเป็นองค์พระใสแล้ว กระดิกใจดูนิดเดียว เห็นดวงธรรมของกายมนุษย์หยาบผ่องใสดี ก็หยุดนิ่งกลางดวงธรรมดูกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ-ทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด ไปสุดละเอียด เห็นผ่องใสดีแล้วก็ปล่อย คือไม่ติดอยู่ แล้วดับหยาบไปหาละเอียดเป็นกายธรรมที่สุดละเอียด เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน ส่วนกายโลกิยะทั้งหยาบและละเอียดนั้น มีสักแต่มี เป็นสักแต่เป็น นี้เป็นอาการของพระอริยเจ้าแล้ว พระอริยเจ้าท่านมีสติครบอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดสุดละเอียดอยู่เสมอ
    สำหรับผู้เบื้องต้น เมื่อถึงธรรมกายสุดละเอียดแล้ว ควรที่จะทำ ๑๘ กายให้ครบ เพื่อฝึกซ้อมพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวีตามที่หลวงพ่อฯท่านกล่าวไว้แล้ว เพื่อให้เป็นวสี (ชำนาญ) เมื่อชำนาญแล้วนั้น การจะน้อมเข้าสู่วิชชาชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็น “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” “จุตูปปาตญาณ” ก็จะสะดวกหรือจะทำวิชชาชั้นสูงที่ละเอียดยิ่งไปกว่า เช่นชำระธาตุธรรมที่ละเอียดๆ ต่อไปสุดละเอียด ก็จะสามารถทำได้ชำนาญกว่า สะดวกกว่า
    แต่ถึงอย่างไรเมื่อพิสดารกายไปสุดละเอียด จนใจของกายธรรมยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว กายโลกิยะทั้งหยาบ-ละเอียดทั้งหมดนั้นจะเหมือนว่าหมดไปเอง เพราะใจของธรรมกายละเอียดปล่อยความยึดมั่นในกายโลกิยะ อันเป็นสังขารธรรม เรียกว่า ออกจาก “สังขารนิมิต” อย่างที่เวลาสอนว่าให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ขึ้นชื่อว่ากายเถา คือ ๑๘ กายนั้นเอง เป็นเถาเหมือนปิ่นโต แต่ต่างซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ กลางของกลางซึ่งกันและกัน ศูนย์กลางตรงกัน ๑๘ กายนั้นรวมเรียกว่า กายเถา สุดละเอียดของกายเถา คือธรรมกายอรหัต เมื่อเราเดินกายในกายไปสุดละเอียดกายเถา ๑๘ กายนั้นแล้ว กายอรหัตชื่อว่ากายสุดละเอียด กายที่หยาบรองลงมาได้แก่ กายอรหัตหยาบ ชื่อว่ากายชุด ซึ่งแต่ละกายที่หยาบรองลงมาก็จะมี ๑๘ กาย ซึ่งจะพิสดารไปเป็นธรรมกายอรหัตเหมือนกัน กายที่หยาบรองลงมาตามลำดับนั้นชื่อว่ากายชั้น ตอน ภาค พืด ซึ่งต่างก็มีกายละ ๑๘ กายซ้อนกันอยู่ และต่างก็จะพิสดารไปสู่สุดละเอียดเหมือนกัน
    แปลว่าเมื่อเราดับหยาบไปหาละเอียด กายที่ละเอียดรองลงมาแต่ละกายมี ๑๘ กาย ทั้งหมดก็จะพิสดารตัวเองให้ละเอียดไปๆ สุดละเอียด ดับหยาบไปหาละเอียดถึงธรรมกายและเป็นแต่ธรรมกายอรหัตๆๆ ไปจนสุดละเอียดกายเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ตรงนี้แหละเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ เพราะเป็นการปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ ทั้งหมด ใจจึงเป็นใจที่ผ่องใสบริสุทธิ์ของกายธรรม นั้นคือตัวนิโรธดับสมุทัย แต่มิใช่นิโรธสมาบัติ เมื่อสัมผัสตรงนั้นแล้วจะรู้ นี่เองคือนิโรธดับสมุทัย เพราะเป็นการเจริญภาวนาที่ปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ ทั้งหมด จนเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกายไปสุดละเอียด กำจัดหรือละกิเลสทั้งหมดได้ชั่วคราวเป็น “วิกขัมภนวิมุตติ” เมื่อจิตละเอียดหนักจะปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ของกายในภพ ๓ และเมื่อปล่อยความยินดีในฌาน ต้องปล่อยจนใจเป็นกลาง ถ้าไม่ปล่อยจะติดอยู่ในชั้นรูปภพ อยู่ในกายเรานั้นแหละ หรือติดอยู่ในชั้นอรูปภพมี อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ยังติดอยู่ เมื่อติดอยู่ จะไม่เห็นนิพพาน จะไม่ถึงนิพพาน ต่อเมื่อปล่อยวางจิตนิ่งสนิท ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจะไปปรากฏในนิพพาน แม้เพียงชั่วคราวเป็นวิกขัมภนวิมุตติ จึงสามารถเข้าไปเห็นนิพพานได้
    เพราะฉะนั้น ธรรมกายนี่แหละสำคัญนัก เมื่อเข้าถึงแล้วจงเป็นเลย ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ โตใหญ่ ใสละเอียดไปตามกาย จนถึงธรรมกายอรหัต ดับหยาบไปหาละเอียด เรื่อยไปจนถึงนิพพาน ทำไปเถิด ๑๘ กายอยู่ข้างในนั้น ไม่มีปัญหา เมื่อทำละเอียดหนัก กายที่หยาบก็หายไปเอง สุดละเอียดไปแล้ว พ้นกายในภพ ๓ ไปแล้วดำเนินต่อไป ถูกต้องแล้ว
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]


    [​IMG]




    เมื่อกระผมทำภาวนา ความตั้งใจของกระผมเกือบทั้งหมดจะจับอยู่ที่ดวงกลมใส และกายในกายต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมา แล้วเมื่อไรกระผมจึงจะมีโอกาสพิจารณา สภาวธรรม และเมื่อไรกระผมจึงจะสามารถพัฒนาปัญญา ที่สำคัญทั้งหมดได้ ?






    เวลาใดที่ใจเป็นอิสระจากกิเลสนิวรณ์ ท่านก็สามารถจะดำเนินการพิจารณาสภาวธรรมได้เสมอ ตัวอย่างเช่น ท่านเห็นดวงกลมใส ท่านก็สามารถขยายให้ใหญ่ขึ้นได้ตามปรารถนา ซึ่งเมื่อนั้นหมายความว่า ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ของท่านจะ ขยายใหญ่ขึ้นด้วย ให้ทำเช่นนั้นไปจนกระทั่งใหญ่ประมาณขนาดเท่าร่างกายทั้งหมดของท่าน
    ในสภาวะนั้นทิพจักษุก็จะเกิดและเจริญขึ้น ให้ท่านสามารถพิจารณาเห็นทุกส่วนต่างๆ ของร่างกายของท่านพร้อมๆ กันได้ หรืออาจจะพูดได้ว่า ท่านไม่ต้องเลื่อนการเห็นจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง ต่อๆ ไป เพื่อให้เห็นทั่วร่างกาย แต่ท่านจะเห็นได้โดยรอบเลยทีเดียว
    บัดนี้ท่านก็จะสามารถพิจารณาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายของท่าน ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงได้ว่า ไม่มีแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดที่น่ารักใคร่เลย แท้จริงแล้วอวัยวะทุกส่วน ล้วนแต่เป็นของไม่สะอาด นี้เป็นวิธีพิจารณากายคตาสติที่มีประสิทธิภาพมาก ที่จะช่วยให้จิตใจของท่านสงบจากกามตัณหา ดังที่อาตมาจะขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง
    เมื่อครั้งที่อาตมายังเป็นฆราวาสอยู่ วันหนึ่งอาตมานั่งรถสองแถวกลับบ้าน อาตมาโชคดีที่ได้ที่นั่ง รถแน่นมากจนต้องยืนเบียดกัน มีสาวรุ่นคนหนึ่งยืนข้างหน้าของอาตมา หันหน้าเข้าหาอาตมาเสียด้วย หน้าอกของเธอสัมผัสที่หน้าอาตมาหลายครั้งเมื่อรถโคลงไปมา อาตมาทำภาวนาตลอดเวลา ตั้งใจดูในสมาธิว่าเธอเป็นอย่างไร ระหว่างการเดินทางนั้น ในสมาธิ อาตมาเห็นทุกส่วนของร่างกายเธอที่ต้องการจะดู ขณะนั้นอาตมาตระหนักว่า แท้จริงแล้ว ทุกส่วนของร่างกายนั้นสกปรกมาก พอดีเห็นเธอกำลังมีประจำเดือนอยู่ และขณะนั้นอาตมาก็รับรู้สัมผัสได้ด้วยใจ ถึงกลิ่นที่ค่อนข้างน่ารังเกียจนั้นด้วย
    นั้นเป็นการพิจารณากายคตาสติ และอาตมาก็ได้ใช้วิธีการนั้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทั้งในการพิจารณาสังขารร่างกายของตนเอง และของผู้อื่นช่วยให้อาตมาสามารถประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับภรรยาของอาตมาได้ดีเป็นเวลา ๑๐ ปีก่อนที่จะบวช
    เมื่อท่านมีความรู้สึกทางเพศควรกำหนดใจทันที ใช้ปัญญาของท่านเริ่มพิจารณากายคตาสติทันที จะช่วยให้สามารถกำจัดนิวรณ์ได้ แล้วจงชำระจิตใจของท่านให้บริสุทธิ์ โดยวิธีดับหยาบไปหาละเอียดให้มากขึ้นๆ เมื่อท่านถึงจุดที่ใจบริสุทธิ์ผ่องใสที่สุด สงบที่สุด กามตัณหาของท่านจะสงบลง โดยการพิจารณาเห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายตามที่เป็นจริง ว่าน่ารังเกียจ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมจึงควรพิจารณากายคตาสตินี้ตลอดเวลา.
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เมื่อผมนั่งสมาธิปล่อยกายสบายดีแล้ว เอาจิตนึกถึงลูกแก้ว แล้วไปจรดไว้ที่ฐานที่ ๗ นึกจะภาวนา แต่จิตไม่ยอมภาวนา พอฝืนภาวนาไปจะมีอาการตึงเครียด มึนศีรษะและอึดอัด เป็นเพราะอะไร ? จะแก้ไขอย่างไร ?




    โดยปกติ ถ้าจิตรวมดิ่งหยุดนิ่งไปแล้วนั้น องค์บริกรรมภาวนา (คำว่าสัมมาอรหัง) ก็จะหายไปด้วย กล่าวคือ เมื่อลมหายใจ (กายสังขาร) ระงับ จิตจะยิ่งละเอียดและหยุดนิ่ง ความนึกคิด (วจีสังขาร) ก็จะระงับด้วย นี่แหละ ที่ใจกำลังรวมหยุดเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ถึงขั้นฌาน
    วจีสังขารระงับด้วยนั้นคืออย่างไร ? คือเมื่อจิตละเอียดและรวมลงแล้ว องค์บริกรรมภาวนาจะเลือนไปเอง แต่ถ้าเราฝืนบริกรรมภาวนาเข้า ก็ผิดหลักปฏิบัติ เพราะจิตละเอียดและรวมลงแล้ว บางคนลืมองค์ภาวนา ก็ไม่ต้องภาวนา ไม่เป็นไร ขอแต่อย่าให้เคลื่อนศูนย์ ให้หยุดในหยุด กลางของหยุดๆๆ ปล่อยให้ใจดิ่งหยุดนิ่งๆ แล้วก็อย่าบังคับหรือเพ่งแรง เมื่อจิตยิ่งดิ่งละเอียดลงไปแล้ว ขอให้หยุดนิ่งๆ เบาๆ ประเดี๋ยวจิตดวงเดิมจะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ตรงระดับสะดือ แล้วจิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมาใสสว่างตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือเอง
    ธรรมชาติของใจ เมื่อใจจะรวมหยุด
    1. ประการแรก ลมหายใจจะหยุดด้วย แต่เราแทบไม่รู้สึกตัว คือลมหายใจของผู้ที่เป็นสมาธิจะละเอียดเหมือนกับจะไม่ได้หายใจ ถ้าลมหายใจยังหยาบอยู่ ยังไม่เป็นสมาธิที่แนบแน่น ใจที่จะเป็นสมาธิแนบแน่น ลมหายใจจะละเอียดและสั้นเข้าๆ แล้วรวมลงหยุดนิ่งสนิท แต่ไม่รู้สึกอึดอัด ใจจะเบาและสบายเป็นปกติ อาการที่ลมหายใจหยุดนั้น เรียกว่า “กายสังขาร” ระงับแล้ว
    2. ส่วน “วจีสังขาร” กล่าวคือองค์บริกรรมภาวนา (คำว่าสัมมาอรหัง) ก็จะค่อยๆ ระงับตามไป จะรู้สึกลืมๆ เลือนหายไปไม่เป็นไร ขอแต่อย่าให้เคลื่อนศูนย์ ให้เห็นศูนย์ไว้เรื่อย หยุดในหยุดกลางของหยุดๆๆ ปล่อยใจให้ดิ่ง หยุดนิ่งลงไป ประเดี๋ยวก็ใสสว่างขึ้นมาเอง
    ท่านผู้นี้ได้ถามต่อไปว่า “เมื่อผมภาวนาไม่ได้ ผมก็เปลี่ยนละครับ ไม่ภาวนา เอาจิตไปจรดไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้วกำหนดลมในท้องกระเพื่อมไปกระเพื่อมมา” นี่คงเคยติดการภาวนายุบหนอพองหนอมา ไม่เป็นไร แต่ว่าต่อไปไม่ต้องไปมองเห็นความกระเพื่อม ไม่ต้องสนใจความกระเพื่อม จิตจะได้หยุดดิ่งนิ่งสนิทลงไปจริงๆ
    ถ้าบังคับจิตให้เข้าๆ ออกๆ จากสมาธิ พอจิตจะหยุดนิ่งเข้า ก็ไปฝืนให้จิตทำงานคือบริกรรมภาวนาใหม่อีก อย่างนั้นย่อมจะทำให้จิตเครียด เพราะถูกบังคับจึงเกร็ง อย่างนั้นผิดวิธี จงปล่อยใจตามสบาย กายก็ปล่อยตามสบาย อย่าเกร็งเป็นอันขาด คือเราอย่าไปสนใจ เพราะฉะนั้นมันจะไม่เกร็ง การเกร็งนั้นเป็นอาการหนึ่งของใจที่ถูกเราบังคับเกินไป พอบังคับเกินไป จิตก็จะไม่ยอมรวมลง ไม่ยอมหยุด จงนึกถึงการกดลูกปิงปองให้จมลงน้ำ ถ้ากดแรง ลูกปิงปองจะหลุดมือ จิตที่ถูกบังคับหรือกดดันมาก จะถอนทันที จิตบังคับไม่ได้ ต้องค่อยๆ ประคองเบาๆ ปล่อยใจสบายๆ แต่อย่าให้สบายจนง่วงและหลับ อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ปล่อยใจตามสบาย คือทำใจให้โปร่งสบายนิ่งๆ อย่าเพ่งนิมิตแรง เพราะความอยากเห็นเกินไป อย่าบีบบังคับใจเกินไป เบาๆ ธรรมดา ไม่ต้องเกร็ง แล้วจิตจะค่อยๆ รวมดิ่งลงไปเอง
    เพราะฉะนั้น จงปรับนิดหน่อย นี่มีประสบการณ์ดีแล้ว ปรับปรุงอีกนิดหน่อยก็จะดีขึ้น ส่วนว่าที่เคยติดยุบหนอพองหนอมานั้น ก็ไม่ต้องสนใจ เพียงแต่จรดใจนิ่งที่ศูนย์กลางของกลางๆๆๆ พอใจหยุดนิ่ง ใสสว่าง ความรู้สึกกระเพื่อมจะหายไปเอง อย่าสนใจก็แล้วกัน
    สรุปว่า จรดใจนิ่งๆ เฉยๆ อย่าเกร็ง อย่าบังคับใจแรง องค์บริกรรมภาวนาจะค่อยๆ ลืมเลือนไป เพราะเราไม่สนใจ ใจไปหยุดดิ่งลงที่กลางของกลางนั้นถูกต้องแล้ว บริกรรมภาวนาคือการท่องในใจนี้ เมื่อกำหนดไปแล้วจะหยุดเอง จิตละเอียดเข้าๆๆ ต่อไปลมหายใจก็ไม่สนใจ แล้วละเอียดเข้าไปๆ ใจจะสงบและหยุดนิ่งนั้นถูกต้องแล้ว แต่อย่าบังคับใจเกินไป อย่าเกร็ง อย่าอยากเห็นเกินไป นิ่งๆ เฉยๆ เบาๆ แล้วใจจะหยุดสงบนิ่งกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หรือดวงปฐมมรรคใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง​
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เวลาปฏิบัติธรรม คำว่า "เห็นองค์พระกับเข้าไปเป็นองค์พระ" ต่างกันอย่างไร ?




    คำว่า “เห็นองค์พระ” หมายถึง มองเห็นที่อยู่ห่างออกไป ไม่ใช่ตัวเรา
    คำว่า “เป็นองค์พระ” หมายถึง เมื่อเห็นองค์พระปรากฏขึ้น ให้นึกเข้าไปที่ศูนย์กลางองค์พระ องค์พระก็จะขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และจะปรากฏองค์ใหม่และดวงใหม่ที่ศูนย์กลางองค์พระ ละความรู้สึกเป็นตัวเราหรืออันเนื่องกับกายเนื้อ ก็จะปรากฏองค์พระที่ใสละเอียดกว่าเดิม เกิดขึ้นใหม่ เอาใจจรดเข้าไปเป็นองค์พระใหม่เรื่อยๆ เรียกว่า “ดับหยาบไปหาละเอียด” แล้วก็หยุดในหยุด กลางของหยุด ที่ศูนย์กลางดวงศูนย์กลางกายละเอียดใหม่ ให้เห็นใสละเอียด ทั้งดวงและกายเรื่อยๆ ไปจนสุดละเอียด เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่วิชชาจะเจริญขึ้น ดับกิเลส อวิชชามูลรากฝ่ายเกิดได้ดี
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เมื่อเวลาปฏิบัติธรรม พอจิตเริ่มเป็นสมาธิจะเห็นความสว่างเกิดขึ้นบริเวณท้อง เป็นความสว่างโล่งๆ จะต้องทำอย่างไรต่อไป ?

    เมื่อเวลาปฏิบัติธรรม เห็นความสว่างเกิดขึ้น อาจเหมือนดวงจันทร์ หรือความสว่างพอสมควร นั่นแสดงว่าเริ่มใช่แล้ว ใจเริ่มหยุดใกล้ๆ กับฐานที่ตั้งของใจ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม จึงปรากฏมีความสว่างขึ้น อาจเห็นข้างหน้า
    หรือรอบๆ ตัว เป็นของจริงทั้งนั้นแต่ยังไม่แท้ จะแท้ก็ต่อเมื่อใจหยุดนิ่งตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม (ฐานที่ ๗) จะเห็นดวงใสสว่างขึ้นมา เป็นดวงปฐมมรรค นั่นแหละของแท้ แต่เป็นของแท้โดยสมมุติ คือ เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ซึ่งยังจัดเป็นสังขารนิมิตอยู่
    ถ้าเห็นอย่างที่กล่าวมา ให้กำหนดนึกหยุดนิ่งที่ศูนย์กลาง หรือกำหนดตั้งศูนย์กลางไว้ พร้อมอธิษฐานขอให้เห็นศูนย์กลางที่ใส และขยายศูนย์กลางออก แต่อย่าเพ่งแรง พอศูนย์กลางขยาย ในไม่ช้าก็จะเห็นดวงใสสว่างขึ้นมา แต่ถ้าเราเผลอง่วงหรือเผลอสติ ความมืดจะเข้ามาแทนที่เป็นธรรมดา นั่นคือกิเลสนิวรณ์ เพราะฉะนั้นขอให้มีสติว่า กิเลสนิวรณ์จะเกิดขึ้น วิธีแก้โดยการนึกให้เห็นจุดเล็กใสตั้งขึ้นมาใหม่ แล้วอธิษฐานขยายศูนย์กลางจุดเล็กใสนั้น ดวงก็จะปรากฏใสสว่างขึ้น ให้หมั่นนึกเข้ากลางของกลางจุดเล็กใสนั้นไว้เรื่อยๆ ให้ใจหยุดในหยุดกลางของหยุดอย่างสม่ำเสมอ อย่าเพ่งแรง นึกเข้ากลางของกลาง หยุดในหยุดอย่างต่อเนื่อง ก็จะเห็นศูนย์กลางใสขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งความมืดหมดไป (ที่เรียกว่า ธัมโม ปทีโป ความสว่างของธรรมที่สว่างเปรียบประดุจ ดังประทีปหรือดวงอาทิตย์)
    หลักสำคัญ กำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางกาย แล้วค่อยๆ อธิษฐานขยายจุดเล็กใสขึ้น อย่าให้ใจเคลื่อนจากศูนย์ ความมืดก็จะหายไป ความสว่างก็จะปรากฏขึ้นแทนที่ อย่าใช้สายตาเนื้อ เพราะจะปวดตา และไปแย่งหน้าที่ของตาใน หมั่นจดใจอยู่เสมอทุกขณะ เดิน ยืน นั่ง นอน ก็จะเห็นดวงในดวง แล้วต่อไปก็จะเห็นกายในกายต่อไปเอง
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เทวภูมิ ๖











    ตรวจจักรวาล ภพ ๓ และโลกันต์



    ๓. กามสุคติภูมิ ๗
    ก) เทวภูมิ ๖
    เทวภูมิ ๖ คือ เทวโลก ๖ ชั้น เป็นที่สถิตอยู่ของเทวดา จัดเป็นสุคติกามภูมิ คือ ภูมิที่ยังเสพกามที่นับเนื่องในสุคติภูมิ
    ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกาย เมื่อตรวจอรูปภพ รูปภพ แล้ว ก็น้อมเทวโลกมาเป็นกสิณ คือน้อมเข้ามาตั้งที่ศูนย์กลางพระธรรมกาย พระธรรมกายเจริญฌานสมาบัติในกสิณ หรือพิสดารธรรมกายให้สุดละเอียด แล้วขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้เต็มเทวโลก พิจารณาดูความเป็นไปในเทวโลกชั้นต่างๆ จากสูงสุดถึงต่ำสุด ดังนี้
    ชั้นที่ ๖ ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ
    เป็นที่เกิดที่สถิตอยู่ของอากาสัฏฐเทวดา (เทวดาที่มีวิมานล่องลอยอยู่ในอากาศ ตั้งแต่ยอดเขาพระสุเมรุ ไปจรดขอบจักรวาล) ที่เมื่อต้องการเสวยกามคุณ (รูป-เสียง-กลิ่น-รส-โผฏฐัพพะ) เวลาใด เวลานั้น เทวดาผู้รับใช้ทราบความต้องการของตนนั้น ก็จะจัดการเนรมิตขึ้นให้ได้เสวยตามประสงค์ เทวดาในชั้นนี้จึงไม่ต้องมีคู่ครองประจำของตน มีอายุ ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์ (๙,๒๑๖ ล้านปีมนุษย์)
    ท้าววสวัตตีมารเทพบุตร เป็นจอมเทพชั้นนี้ และเป็นผู้ปกครองเทวดาทั่วทั้ง ๒ ชั้นอีกด้วย เคยเป็นเทวดามิจฉาทิฏฐิ ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นผู้คอยเป็นอุปสรรคขัดขวางการบำเพ็ญสมณธรรม และการบำเพ็ญพุทธกิจของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่ออกมหาภิเนษกรมน์ จนถึงปรินิพพาน ต่อมาอีก ๓๐๐ ปีหลังกาลเสด็จปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังได้ขัดขวางการสร้างมหาเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชผู้ครองเมืองปาตลีบุตร ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทรงให้สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระรัตนตรัย และยังแกล้งทำลายพิธีฉลองเจดีย์ จึงถูกพระอุปคุตตมหาเถระทรมานจนสิ้นพยศ ละมิจฉาทิฏฐิได้ กลับเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้ตั้งความปรารถนาพุทธภูมิ กลายเป็นจอมเทพผู้สัมมาทิฏฐิตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
    ชั้นที่ ๕ นิมมานรตีภูมิ
    เป็นที่เกิดที่สถิตอยู่ของอากาสัฏฐเทวดาที่มีปกติเสวยกามคุณ (รูป-เสียง-กลิ่น-รส-โผฏฐัพพะ) ที่ตนเนรมิตขึ้นเอง ตามความพอใจของตนเอง จึงไม่ต้องมีคู่ครองประจำของตน มีทั้งเทพบุตร และเทพธิดา มีอายุ ๘,๐๐๐ ปีทิพย์ (๒,๓๐๔ ล้านปีมนุษย์)
    ชั้นที่ ๔ ดุสิตภูมิ
    เป็นที่เกิดที่สถิตอยู่ของอากาสัฏฐเทวดาผู้ถึงพร้อมด้วยความยินดีและแช่มชื่นอยู่ในสมบัติอันเป็นสิริมงคลของตน ผู้ที่บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ มักจะมาบังเกิดในภูมินี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ก่อนแต่จะเสด็จมาอุบัติในมนุษย์โลกในพระชาติสุดท้าย แล้วได้สำเร็จพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ก็จะได้มาบังเกิดในชั้นดุสิตเทวโลกนี้ก่อน ดังเช่นพระมหาโพธิสัตว์ของเราก็ได้มาบังเกิดในดุสิตเทวโลกนี้ ก่อนที่จะเสด็จหยั่งลงสู่พระครรภ์พระมารดาในคืนวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ แล้วได้ประสูติจากพระครรภ์พระมารดาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ ๒๖๒๐ ปี (ปีนี้ ๒๕๔๐) ที่ผ่านมานี้ได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในพระชาติสุดท้ายนี้ พระศรีอารยเมตไตรยโพธิสัตว์ พร้อมด้วยผู้ที่จะมาบังเกิดเป็นอัครสาวกนั้น เวลานี้ก็เสวยทิพยสมบัติอยู่ในดุสิตเทวโลกนี้เหมือนกัน
    เทวดาในชั้นนี้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์ (๕๗๖ ล้านปีมนุษย์)
    ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกาย เมื่อตรวจดูภพภูมินี้ ประสงค์จะดูว่าการบำเพ็ญบารมีของท่านมีผลอะไรปรากฏในดุสิตเทวโลกนี้ จงตั้งจิตอธิษฐานจักรแก้ว (จากศูนย์กลางธรรมกาย) ว่าหากมีผลบุญในการที่ได้บำเพ็ญบารมีมาจนถึงบรรลุธรรมกายนี้ปรากฏในดุสิตเทวโลกนี้อย่างไร ก็ขอให้จักรแก้วนำไปสู่ทิพยวิมานนั้น แล้วธรรมกายตามจักรแก้วนั้นไปดู ก็จะเห็นวิมานของตน พร้อมด้วยทิพยสมบัติ มีเทวดาผู้เป็นบริวารคอยรักษาอยู่หรือไม่ อย่างไร ถ้าเห็นมีเทวดาผู้เฝ้าประตูวิมานของเรา ก็จะเห็นเขาเปิดประตูเชื้อเชิญให้เข้าไปข้างในวิมาน ก็จงเข้าไปดู ไปสัมผัส และไปนั่งบนเตียงทิพย์ ก็จะได้รู้ได้เห็นและได้สัมผัสด้วยตนเอง
    มีข้อที่น่าสังเกตว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ (ศีล ๘ ขึ้นไป และเจริญสมาธิ-ปัญญา) จะมีแต่บริวารที่เป็นเทพบุตรทั้งนั้น ไม่มีเทพธิดา และจงสังเกตว่าเมื่อเราเข้าไปในวิมานของตนนั้น บรรดาเทพบุตรที่เป็นบริวารรักษาทิพยสมบัติรออยู่นั้น เขาแสดงอาการต้อนรับเราอย่างไร
    ความที่ว่า ผู้บำเพ็ญบารมี หรือผู้ประกอบคุณความดีที่ยังไม่ตายจากมนุษย์โลก แล้วยังปรากฏมีวิมานและทิพยสมบัติพร้อมด้วยบริวารรออยู่ในเทวโลก ตามศักดิ์แห่งบุญบารมีที่ประกอบบำเพ็ญอยู่นั้น มีตัวอย่างดังนี้
    ในสมัยเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนมชีพอยู่ ได้เสด็จประทับอยู่ที่อิสิปตนะ แขวงเมืองพาราณสี นันทิยะผู้เป็นบุตรของคฤหบดีอันเป็นตระกูลผู้มีศรัทธาในเมืองพาราณสี ได้สดับพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า แล้วมีความเลื่อมใสในอานิสงส์ของการถวายอาวาส จึงสร้างศาลา ๔ มุข ประดับด้วยห้อง ๔ ห้อง ในป่าอิสิปตนะ ถวายพระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอานิสงส์แห่งวิหารทานนั้น ก็ปรากฏปราสาทอันเป็นทิพย์สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ สูง ๑๐๐ โยชน์ กว้างและยาว ๑๒ โยชน์ พร้อมด้วยทิพยสมบัติและหมู่นางอัปสรเทพธิดาผุดขึ้นในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ รอนันทิยะผู้เป็นเจ้าของ ผู้ยังดำรงชีวิตในมนุษย์โลกอยู่
    ต่อมาวันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ได้เห็นปราสาทอันยังไม่มีเจ้าของสถิตอยู่ ผุดลอยอยู่ จึงถามหมู่นางอัปสรเทพธิดาว่า ปราสาททิพย์นี้เป็นของผู้ใด พระมหาเถระได้รับคำตอบว่า เป็นของนันทิยะบุตรคฤหบดีเมืองพาราณสี พระมหาเถระจึงได้ลงจากเทวโลกมาทูลถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมบัติอันเป็นทิพย์ย่อมเกิดแก่ชนทั้งหลาย ผู้ยังดำรงอยู่ในโลกมนุษย์ ผู้กระทำกรรมอันงาม ด้วยหรือพระเจ้าข้า ?”
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสว่า
    “โมคคัลลานะ สมบัติอันเป็นทิพย์ ที่บังเกิดแล้วแก่นันทิยะในเทวโลก อันเธอก็เห็นเองแล้วมิใช่หรือ ไฉนจึงถามเราเล่า ?” (ธ.อ.๑๕๖-๑๕๗)
    ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้อีก ความว่า
    “ญาติมิตร และคนมีใจดีทั้งหลาย เห็นบุรุษผู้ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน มาแล้วแต่ที่ไกลโดยสวัสดี ย่อมยินดียิ่งว่า 'มาแล้ว' ฉันใด บุญทั้งหลายก็ย่อมต้อนรับแม้บุคคลผู้กระทำบุญไว้ ซึ่งไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า ดุจพวกญาติเห็นญาติที่รักมาแล้ว ต้อนรับอยู่ ฉะนั้นแหละ.” (อ้างแล้ว)
    ชั้นที่ ๓ ยามาภูมิ เป็นภูมิที่สถิตอยู่ของอากาสัฏฐเทวดา ผู้ปราศจากความลำบาก มีเทวราชผู้ปกครองชื่อ “ท้าวสุยามา” เทวดาชั้นนี้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ (๑๔๔ ล้านปีมนุษย์)
    ชั้นที่ ๒ ตาวติงสาภูมิ หรือที่เรียกว่า ดาวดึงส์เทวโลก เป็นภูมิที่สถิตอยู่ของทั้ง อากาสัฏฐเทวดา และ ภุมมัฏฐเทวดา คือเทวดาที่อยู่บนพื้นดินซึ่งเป็นทิพย์ ได้แก่ พระอินทร์หรือท้าวสักกเทวราช และเทวดาชั้นผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ พร้อมด้วยบริวารทั้งหมด แต่พื้นดินอันเป็นที่สถิตของเทวดาชั้นนี้ คือ บริเวณตอนบนสุดหรือยอดเขาพระสุเมรุ มีลักษณะกลม กว้าง (เส้นผ่าศูนย์กลาง) ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ซึ่งล้วนสำเร็จด้วยแก้วกายสิทธิ์ ภุมมัฏฐเทวดาชั้นนี้เท้าจึงไม่ถึงพื้น
    ลักษณะเขาพระสุเมรุ
    ตามไหล่เขาพระสุเมรุทั้ง ๔ ด้าน ทิศตะวันออกเป็นเงิน ทิศตะวันตกเป็นแก้วผลึก ทิศเหนือเป็นทอง ทิศใต้เป็นแก้วมรกต เขาพระสุเมรุนี้ล้วนเป็นทิพย์ มีลักษณะเหมือนตะโพน (กลอง ๒ หน้า ตรงกลางกว้างกว่าหัวท้าย ที่เขาตีในวงปี่พาทย์) ที่วางตั้งขึ้น ตั้งอยู่ตรงกลางจักรวาล ความสูง ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ ครึ่งบน (๘๔,๐๐๐ โยชน์) อยู่เหนือพื้นน้ำ (คือมหาสมุทรสีทันดร) ขึ้นไป ครึ่งล่าง (๘๔,๐๐๐ โยชน์) หยั่งลงในมหาสมุทร มีพื้นรากอยู่ระหว่างเขา ๓ ลูก ตั้งรับอยู่ ใต้พื้นฐานของเขาพระสุเมรุเป็นอุโมงค์กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นภพ (ที่อยู่) ของพวกเทวอสูร ๕ เหล่า คือ เวปจิตติอสูร, สุพลิอสูร, ราหุอสูร, ปหารอสูร และสัมพรตีอสูร ซึ่งสงเคราะห์เข้าในจำพวกภุมมัฏฐเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยเหมือนกัน
    บริเวณตอนบนยอดเขาพระสุเมรุนั้นแหละ เป็นที่สถิตอยู่ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ซึ่งมีทั้งอากาสัฏฐเทวดาและภุมมัฏฐเทวดา เทวดาชั้นนี้มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ (๓๖ ล้านปีมนุษย์) เทวราชหรือจอมเทพชั้นดาวดึงส์นี้ คือพระอินทร์ หรือท้าวสักกเทวราช หรือท้าวโกสีย์อมรินทร์ นั่นเอง เป็นผู้ปกครองทั้งเทวดาชั้นดาวดึงส์และทั้งเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาด้วย มีช้างทรงชื่อ เอราวัณ (เป็นเทวดาเนรมิต ไม่ใช่สัตว์เดรัจฉาน) มีนครชื่อ สุทัสสนะ มีปราสาทเวชยันต์ตั้งอยู่ตรงกลาง เป็นที่สถิตของท้าวสักกเทวราช สุทัสสนนครนี้กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ มีกำแพงล้อมรอบ ๔ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตู ๒๕๐ ประตู รวม ๔ ด้านมี ๑,๐๐๐ ประตู ภายในพระนครมีสวนดอกไม้เป็นที่พักผ่อนรื่นเริงของเทวดาทั้งหลาย ๔ แห่ง คือ สวนนันทวัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระนคร สวนจิตรลดา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก สวนมิสสกวัน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ สวนผรุสสวัน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ แต่ละสวนมีสระ ๒ สระ
    ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระนครมีสวน ๒ แห่ง คือ สวนปุณฑริก กับ สวนมหาวัน ที่สวนปุณฑริกมีต้นปาริฉัตร หรือต้นปาริชาต (เหมือนต้นทองหลางลาย) ใต้ต้นปาริฉัตรมีพระแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ มีสีดุจผ้ากัมพลแดงอมเหลือง เป็นที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เคยประทับเพื่อแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดพุทธมารดาและเทวดาทั้งหลาย มีศาลาสุธัมมาเทวสภา เป็นที่ประชุมเทวดาผู้มาฟังธรรมด้วย
    ณ สวนปุณฑริกนี้ ยังมีเจดีย์ที่สำเร็จด้วยอัญญมณีแก้วมรกต ชื่อ พระจุฬามณี สูง ๑๐๐ โยชน์ เป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาและพระเกษาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระขรรค์ที่ทรงใช้ตัดพระเกษา เมื่อครั้งเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ได้อธิษฐานบรรพชา แล้วใช้พระขรรค์ตัดพระเกษา ทรงโยนขึ้นไปในอากาศ แล้วท้าวสักกเทวราชได้ทรงรับไว้ นำไปประดิษฐานไว้ ณ พระเจดีย์จุฬามณีนี้
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ในกูฏาคารศาลา เมืองเวสาลี เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลิ ได้ทูลถามปัญหาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าวสักกะจอมแห่งเทพทั้งหลาย พระองค์ทรงเห็นแล้วหรือ ?” ตรัสตอบว่า “มหาลิ ท้าวสักกะจอมแห่งเทพทั้งหลาย เราเห็นแล้ว” แล้วตรัสเล่าต่อไป มีความย่อที่สำคัญว่า ที่ทรงพระนามว่า สักกะ เพราะเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้เป็นผู้ชอบให้ทานก่อนผู้อื่นและให้ทานด้วยความเคารพ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์เป็นมานพชื่อ มฆะ มีภรรยา ๔ คน ชื่อ สุนันทา สุจิตรา สุธัมมา และ สุชาดา เป็นหัวหน้าคณะผู้ใจบุญ ๓๓ คน ชื่อ คณะสหบุญญการี อยู่ในหมู่บ้าน มจลคาม ชอบช่วยกันทำความสะอาดปัดกวาดถนนหนทางภายในหมู่บ้าน ตั้งโรงน้ำไว้บริเวณข้างทางให้คนที่สัญจรไปมาได้ดื่ม และได้ช่วยกันสร้างศาลาที่พักคนเดินทาง ครั้นสิ้นชีวิตลง ได้ไปเกิดเป็นจอมเทพในชั้นดาวดึงส์ จึงชื่อว่า มฆวา หรือ มัฆวาน ส่วนสหายอีก ๓๒ คนนั้น เมื่อสิ้นชีวิตลงต่างก็ไปเกิดเป็นเทวดาผู้ใหญ่ ในชั้นเดียวกันนี้ ช่างไม้ผู้ช่วยสร้างศาลาที่พักคนเดินทาง เมื่อสิ้นชีวิตลงก็ได้ไปบังเกิดเป็น วิสสุกัมมเทพบุตร มฆมานพนั้น ด้วยอานิสงส์ที่ได้สมาทานวัตตบท ๗ (สํ.ส.๑๕/๙๐๖/๓๓๕) อย่างสมบูรณ์ ตลอดชีวิต เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว จึงได้มาบังเกิดเป็นพระอินทร์ หรือ ท้าวสักกเทวราช

    วัตตบท ๗ นั้น คือ
    1. เป็นผู้เลี้ยงบิดามารดาตลอดชีวิต
    2. เป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ในตระกูลตลอดชีวิต
    3. เป็นผู้พูดอ่อนหวาน (ไม่กล่าววาจาหยาบคาย, ด่าทอผู้อื่น) ตลอดชีวิต
    4. ไม่เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ยุแยกให้เขาแตกสามัคคีกันตลอดชีวิต
    5. เป็นผู้มีจิตปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ ยินดีในการเสียสละ หรือการ บริจาคทาน อยู่ครอบครองเรือนตลอดชีวิต
    6. เป็นผู้กล่าวคำสัตย์ ตลอดชีวิต
    7. เป็นผู้ไม่โกรธตลอดชีวิต ถ้ามีความโกรธเกิดขึ้น ก็หักห้ามข่มความโกรธโดยพลัน
    ดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสอีกว่า
    “ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เรียกนรชนผู้เลี้ยงมารดาบิดา มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล กล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ละวาจาส่อเสียด ประกอบในการกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์ ข่มความโกรธได้ นั้นแล ว่า 'สัปบุรุษ'.” (สํ.ส.๑๕/๙๐๗/๓๓๖)
    อนึ่ง ท้าวสักกเทวราชนี้ ทรงได้เคยสดับพระธรรมเทศนาจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (พรหมชาลสูตร) จบแล้ว ก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน ดังที่พระพุทธองค์เมื่อประทับอยู่ในเวฬุคาม ได้ตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลายผู้กำลังประชุมกันอยู่ ถึงท้าวสักกเทวราชที่ทรงมีความสิเนหาในพระบรมศาสดา ได้ทรงสละทิพยสมบัติ และทรงสละอัตตภาพประมาณ ๓ คาวุต๑๒ (๓๐๐ เส้น) ของพระองค์ เสด็จมาบำรุงพระบรมศาสดา ขณะอาพาธลงพระโลหิต ท้าวสักกะได้ทรงทูนหม้อพระบังคนหนัก (หม้ออุจจาระ) ของพระบรมศาสดาไว้บนพระเศียร (เพื่อนำไปทิ้ง) โดยมิได้ทรงรังเกียจ ทรงสรรเสริญท้าวสักกะว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ท้าวสักกเทวราชทำความรักในเรานั้น ไม่น่าอัศจรรย์ เพราะท้าวสักกเทวราชนี้ฟังธรรมเทศนาแล้วเป็นพระโสดาบัน ละความเป็นท้าวสักกะชรา ถึงความเป็นท้าวสักกะหนุ่ม เหตุอาศัยเรา ...” (ธ.อ.๑๓๕)
    และได้ยินว่า ท้าวเธอจะอยู่ในภพดาวดึงส์นี้จนตลอดสิ้นอายุ เมื่อจุติจากดาวดึงส์แล้วจะได้มาบังเกิดเป็นจักรพรรดิในมนุษย์โลก และจะได้สำเร็จมรรคผลเป็นพระสกิทาคามี เมื่อสิ้นชีวิตจากมนุษย์โลกแล้ว จะได้ไปบังเกิดในดาวดึงส์เทวโลกอีก และจะได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามี เมื่อสิ้นอายุในภพดาวดึงส์แล้ว จะได้ไปบังเกิดในชั้นสุทธาวาส ตั้งแต่ชั้นอวิหา เป็นต้นไป จนถึงชั้นอกนิฏฐภพ ได้บรรลุพระอรหัตตผล แล้วปรินิพพานในชั้นนั้น
    ชั้นที่ ๑ จาตุมมหาราชิกาภูมิ

    อยู่ตอนกลางของเขาพระสุเมรุ เสมอๆ ระดับภูเขายุคันธร ลงจนถึงโลกมนุษย์ อาณาเขตแผ่กว้างไปจนจรดขอบภูเขาจักรวาล นี้เป็นที่สถิตอยู่ของท้าวมหาราช ๔ องค์ ผู้รักษาโลกมนุษย์ด้วย จึงชื่อว่า “ท้าวจตุโลกบาล” คือ
    1. ท้าวธตรฐ มีอาณาเขตปกครองอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ เป็นผู้ปกครองคนธรรพเทวดา ทั้งหมด
    2. ท้าววิรุฬหก มีอาณาเขตปกครองอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ เป็นผู้ปกครองกุมภัณฑ์ (เทวดาท้องพลุ้ย) ทั้งหมด
    3. ท้าววิรูปักษ์ มีอาณาเขตปกครองอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ เป็นผู้ปกครองนาคเทวดาทั้งหมด
    4. ท้าวเวสสวัณ หรือ ท้าวกุเวร มีอาณาเขตปกครองอยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ เป็นผู้ปกครองยักษ์เทวดาทั้งหมด
    เทวดาเหล่านี้มีอายุ ๕๐๐ ปีทิพย์ (๙ ล้านปีมนุษย์) มีทั้งที่เป็นอากาสัฏฐเทวดา และ ภุมมัฏฐเทวดา
    • อากาสัฏฐเทวดา มีวิมานเป็นของตนๆ อยู่ในอากาศ เช่น สุริยเทพ (เทวดาสถิตอยู่กับพระอาทิตย์), จันทิมเทพ (เทวดาสถิตอยู่กับพระจันทร์), สีตวลาหกเทพ (เทวดาทำให้อากาศเย็น), อุณหวลาหกเทพ (เทวดาทำให้อากาศร้อน), พิรุณเทพ (เทวดาแห่งฝน) เป็นต้น
    • ภุมมัฏฐเทวดา คือเทวดาที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน รวมทั้งที่อาศัยอยู่ตามถ้ำหรือภูเขา (ปัพพตเทวดา) หรือตามต้นไม้ ซึ่งมีทั้งรุกขเทวดาและคนธรรพเทวดา ตามแม่น้ำ มหาสมุทร ตามศาลา เจดีย์ ซุ้มประตูของวัดหรือบ้านเรือน เป็นต้น
    • รุกขเทวดา อาศัยอยู่ตามต้นไม้มีแก่นโดยทั่วไป เมื่อต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัดไปแล้ว เทวดานั้นก็หาที่อยู่อาศัยใหม่ ส่วนคนธรรพเทวดา มีกำเนิดและอาศัยอยู่ตามต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม (แก่นหอม, เปลือกหอม, ดอกหอม, รากหอม) เช่น ต้นจันทน์หอม จันอิน กฤษณา กันเกรา ตะเคียนทอง สารภี กรรณิการ์ กากะทิง ลำดวน พิกุล สาละลังกา ฯลฯ ที่เราเรียกว่า “นางไม้” หรือ “แม่ย่านาง” ก็มี และเทวดาพวกนี้ แม้ต้นไม้นั้นจะตายไปแล้ว หรือถูกคนตัดเอาไปสร้างบ้านเรือนหรือเรือแล้วก็ตาม มักจะไม่ค่อยยอมละทิ้งที่อยู่ของตนไปง่ายๆ คงอาศัยสิงอยู่ที่ต้นไม้นั้น บางครั้งก็จะแสดงตนให้คนเห็น
    เทวดาในชั้นจาตุมมหาราชิกานี้ ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาก็มี ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาก็มี ที่มีใจคอโหดร้ายก็มี ได้แก่ เทวดายักษ์, เทวดาคนธรรพ์, เทวดากุมภัณฑ์, เทวดานาค ถ้าใครทำให้ไม่ถูกใจ ก็จะให้โทษได้ เช่นพวกเทวดากุมภัณฑ์ที่ท้าววิรุฬหกกำหนดให้เฝ้าสมบัติ ได้แก่ แก้วมณี ของวิเศษ เช่น เหล็กไหล หรือต้นยาประเสริฐ ที่อยู่ตามถ้ำตามเขา เป็นต้น ถ้าใครล่วงล้ำกล้ำกรายไปในเขตที่เขาดูแลรักษา เพื่อจะเอาสมบัติหรือของวิเศษนั้นด้วยความโลภ ก็จะให้โทษ และมีสิทธิจับกินได้ ส่วนพระอริยเจ้าเป็นผู้มีคุณธรรมสูง ผู้มีกำลังฤทธิ์หรือมีอำนาจสิทธิสูงกว่าพวกเขา ก็จะปลอดภัย และอาจข่ม/บังคับเขาได้ เช่นเรื่องสุมนสามเณร (ธ.อ.๙๓-๙๙) มีความย่อว่า
    สุมนสามเณร เป็นอันเตวาสิก (ศิษย์) ของพระอนุรุทธ ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์ในเวลาปลงผมเสร็จ ซึ่งมีอายุในขณะนั้นเพียง ๗ ขวบ ได้เคยทรมานปันนกนาคราช (พญานาคผู้อาศัยอยู่ในสระอโนดาต ในป่าหิมพานต์) เพื่อนำน้ำดื่มไปประกอบยาถวายพระอนุรุทธผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ เพื่อให้หายจากโรคลมเสียดท้อง พญานาคไม่ยอมให้ โดยนอนแผ่พังพานปกคลุมปิดสระอโนดาตซึ่งกว้างประมาณ ๕๐ โยชน์เอาไว้ ไม่ยอมให้สุมนสามเณรได้นำน้ำไปถวายพระอุปัชฌาย์ สุมนสามเณรจึงไปบอกเทวดาและพรหมให้มาดูการต่อสู้ประลองฤทธิ์ของตนกับพญานาคนี้ พญานาคได้กล่าวท้าทายสุมนสามเณรว่า ถ้าสามเณรเก่งจริง ก็มาเอาน้ำดื่มไปเถิด ถึง ๓ ครั้ง สุมนสามเณรก็รับคำท้านั้นทั้ง ๓ ครั้ง แล้วจึงเหาะขึ้นไปยืนบนอากาศนิรมิตกายเป็นพรหมโตขนาดประมาณ ๑๒ โยชน์ แล้วลงจากอากาศ เหยียบที่พังพานของพญานาค กดหน้าพญานาคให้คว่ำลง พญานาคพ่ายแพ้ต่ออานุภาพของสามเณร แผ่นพังพานได้หดเล็กลงเหลือขนาดประมาณเท่าทัพพี พอแผ่นพังพานหดเล็กลง สายน้ำก็พุ่งขึ้นจากสระอโนดาตเท่าลำตาล สามเณรก็เอาขวดที่นำมา รองน้ำได้เต็มขวด แล้วนำไปถวายพระอุปัชฌาย์ หมู่ทวยเทพที่มาประชุมกันเพื่อดูการประลองฤทธิ์ ณ ที่นั้น ต่างให้อนุโมทนาสาธุการแก่สุมนสามเณร พญานาคเกิดความละอายต่อหมู่เทพยดา โกรธจัด จึงรีบติดตามสามเณรเพื่อจะจับฆ่าเสีย แต่ไม่อาจตามทันและทำอันตรายได้ ภายหลังจึงยอมรับอานุภาพของสามเณร และได้ปวารณาตัวรับใช้สามเณร หากสามเณรต้องการน้ำจากสระอโนดาตอีก.
    <CENTER>
    </CENTER>​
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ในขณะที่ปฏิบัติภาวนาและกำหนดจิตอยู่นั้น ดวงแก้วอยู่ฐานที่ ๗ ได้สักพักใหญ่จะมีอาการมึนศีรษะที่ท้ายทอย ?




    เพราะเหตุว่าท่านบังคับใจที่จะให้เห็นนิมิตด้วยสายตาเนื้อจนเกินไป ซึ่งผิดวิธี ที่ถูก จะต้องไม่บังคับใจที่จะให้เห็นนิมิตโดยการเพ่ง พยายามที่จะให้เห็นด้วยสายตาเนื้อ แต่ให้ใช้ใจนึกให้เห็นจุดเล็กใสกลางดวงแก้วกลมใส
    ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เพื่อให้ “ใจ” คือความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้ รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เมื่อใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
    วิธีป้องกันและแก้ไขมิให้สายตาเนื้อแย่งหน้าที่ใจที่จะทำกิจภาวนาก็คือ ให้เหลือบตากลับนิดๆ เพื่อให้ใจคือความเห็น-จำ-คิด-รู้ กลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้รวมลงหยุดนิ่ง ณ ภายใน ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ แล้วตาในจะทำหน้าที่รู้-เห็นได้อย่างสมบูรณ์เอง
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    <TABLE id=post3867408 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_3867408 class=alt1>ผู้ถึงธรรมกายแล้วมีลักษณะเหมือนเข้าฌานหรือไม่ เวลาปกติไม่ได้นั่งสมาธิ สภาพจิต ยังคงสภาพของธรรมกายไว้ได้ตลอดไปหรือ ?
    การที่เราจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ จะต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะฉะนั้นระดับสมาธิก็ขึ้นสูงไปเป็นลำดับ เหมือนกับท่านจะส่งดาวเทียมออกนอกโลก ท่านต้องใช้ “ฐาน” ไม่มีฐาน ยิงไม่ได้ ไม่ทะยานขึ้น
    ฐานนั้นอุปมาดัง “ศีล” ต้องมีท่อนเชื้อเพลิง ที่จะจุดเพื่อให้เกิดพลังผลักดัน เพื่อจะผลักดันจรวดให้พ้นออกนอกโลก อาจจะ ๒-๓ ท่อน แล้วแต่พลังของเชื้อเพลิงนั้น นี้อุปมาดั่ง “สมาธิ” และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้น ก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุด เหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้นก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุดเหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด “ปัญญา” ปัญญาส่งให้ดับกิเลสและเข้าถึงธรรมกาย อันเป็นธาตุล้วนธรรมล้วน เพราะฉะนั้นทั้งศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เป็นขันธ์ ๕ มีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ ตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียดเป็นไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ฯลฯ โดยตลอด เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยสมาธิเพื่อเป็นแรงขับดัน กล่าวคือ เพื่อชำระกิเลสนิวรณ์ออกจากใจ เพื่อให้ใจหยุดนิ่ง เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วน คือ “ธรรมกาย” ให้ถึงให้ได้เสียก่อน เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละคน คนที่ธาตุธรรมแก่กล้ามากขึ้น ก็จะเห็นธรรมกายสว่างโพลง อยู่ได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชำระกิเลสได้มาก ยิ่งเข้าเขตความเป็นพระอริยบุคคลเพียงไร ธรรมกายนั้นย่อมสว่างโพลงตลอดเวลาเพียงนั้น แม้จะเดิน จะยืน จะนอน จะลืมตา หลับตา ก็ย่อมจะเห็นอยู่
    เพราะฉะนั้นสมาธิเบื้องต้น จึงเป็นเสมือนพลังของจรวดที่จะผลักดันหัวจรวด ซึ่งมีดาวเทียมให้หลุดออกไปนอกแรงดึงดูดของโลก เมื่อพ้นแนวแรงดึงดูดของโลกแล้วก็จะลอยได้ พ้นโลกได้ เหมือนกับคนที่ก้าวข้ามโคตรปุถุชนได้แล้ว ธรรมกายจะสว่างโพลงตลอด จะยืน นอน นั่ง เดิน ทุกอิริยาบถ แต่ญาณ (ความเบิกบาน) ของธรรมกายจะไม่เท่ากัน ของพระโสดาบันนั้น ประมาณ ๕ วาขึ้นไป สกิทาคามี ๑๐ วาขึ้นไป อนาคามี ๑๕ วาขึ้นไป พระอรหัต ๒๐ วาขึ้นไป ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ใหญ่โตขึ้นไปตามลำดับ
    ทีนี้ แม้ผู้ที่จะเป็นโคตรภูบุคคลก็ดี หรืออาจจะก้าวเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคลก็ดี ก็ย่อมเห็นธรรมกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เห็น หรือผู้ที่ธาตุธรรมแก่ ถึงแม้จะยังไม่ถึง แต่ใกล้ความเป็นพระอริยบุคคล ก็ย่อมเห็นได้มากได้บ่อย เพราะฉะนั้น ใครที่จรดใจอยู่ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ดับหยาบไปหาละเอียดไปเสมอ มากเพียงไร ธาตุธรรมของท่านผู้นั้นก็แก่กล้ามากเพียงนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เดิน ยืน นั่ง นอน ท่านก็จะเห็นอยู่ เรียกว่า มีนิพพานคือความสงบระงับจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน (ความยึดติดในขันธ์ ๕) ในอารมณ์ แต่ว่าท่านจะถอนออกมาครึ่งหนึ่ง หรือกว่าครึ่งก็แล้วแต่ ถ้าอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดๆ ดับหยาบไปหาละเอียด ใจจรดอยู่ที่สุดละเอียดอยู่เสมอ สติก็ครบบริบูรณ์ยิ่งขึ้นตามส่วน ใจก็จะไม่ไปรับอารมณ์อื่นให้เกิดตัณหาอุปาทานได้มาก
    เพราะฉะนั้นเรื่องธรรมกายจึงเป็นที่เข้าใจว่า ถึง ธรรมกายแล้วมีหยาบ-ละเอียด มีอ่อน มีแก่ ตามธาตุธรรม ถ้าใครทำดับหยาบไปหาละเอียดได้เรื่อยตลอดเวลา จิตจรดที่ก้อนธาตุก้อนธรรมอยู่เรื่อย อย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถรท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ จิตท่านจรดอยู่ที่สุดละเอียดในอายตนะนิพพานเป็นตลอดเวลา อยู่ที่ธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดละเอียดของนิพพาน แม้ขณะพูดหลวงพ่อฯ ก็ทำวิชชาอยู่ เท่าที่อาตมาทราบหลวงพ่อพระภาวนาฯ ก็เป็นเช่นนั้นมาก จิตท่านในส่วนละเอียดบริสุทธิ์มาก
    เพราะฉะนั้นคงจะเข้าใจขึ้น อยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละบุคคล บางคนอยู่ในระดับโคตรภูมาก ธาตุธรรมยังอ่อนอยู่ ก็ต้องทำ (ภาวนา) ต่อให้สุดละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะฉะนั้นพวกที่ธาตุธรรมอ่อนก็มักจะหลุดๆ ติดๆ ที่ธรรมกาย ซึ่งเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนนั้น เห็นๆ หายๆ ก็ต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่าธาตุธรรมจะแก่กล้า แล้วจะเห็นและเป็นถี่ขึ้น จนถึงตลอดเวลาเอง คงจะเข้าใจได้ว่า ในสมัยพุทธกาลพอพระพุทธเจ้าท่านแสดงนิดเดียว ผู้ฟังส่งใจไปตามธรรมนั้น ก็บรรลุแล้วนั้นแหละธาตุธรรมเขาแก่กล้ามาก
    <!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2>[​IMG] [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("3867408")</SCRIPT> [​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    วิชชาธรรมกายเหตุไรจึงหายสาบสูญไป และหลวงพ่อสดค้นคว้ากลับคืนมาจากไหน ?

    วิชชาธรรมกายในคัมภีร์มิได้หายสาบสูญ แต่คนปฏิบัติไป ค่อยๆ ข้ามเรื่องนี้ไปทุกที เพราะเหตุไร อันนี้ก็เป็นไปตามธรรมชาติของการบำเพ็ญบารมีสร้างสมอบรมของสัตว์โลก ที่ว่ายิ่งนานยิ่งห่างจากต้นเดิมคือ
    พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ที่ทรงคุณธรรมสูง ได้แก่พระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทาเป็นต้น ยิ่งห่างออกไป การปฏิบัติของสัตว์โลกก็ยิ่งคลาดเคลื่อนหรือจืดจางจากคุณธรรมที่ปฏิบัติได้ นี่กล่าวโดยส่วนรวมส่วนเฉลี่ย ที่จะลดลงเป็นธรรมชาติ เรื่องนี้เป็นธรรมชาติ
    ที่ว่าหายสาบสูญ ก็ไม่ได้หายไปไหน ในคัมภีร์มีอยู่ เมื่อท่านได้รับนิพพาน ๓ นัย ท่านจงอ่านดู มีอยู่ในคัมภีร์ครบถ้วน แต่ว่าผู้ปฏิบัติรู้เห็นและเป็นค่อยจางไป น้อยไปตามลำดับ ถ้าจะพูดในลักษณะของวิชชาชั้นสูง ก็คือ ภาคมารเขาปิดบัง มารคือกิเลสตั้งแต่อวิชชาเขาปิดบังมากขึ้น เพราะผู้ปฏิบัติที่ห่างจากต้นตอพระศาสนา คือพระพุทธเจ้าและจากพระอรหันต์ขีณาสพที่ทรงคุณวิเศษ มันห่างออกไปทุกทีๆ ทั้งพระธรรมพระวินัยก็ย่อหย่อนไป เปิดช่องให้ภาคมารมาสกัดกั้นมากขึ้น มารคือกิเลสในแต่ละบุคคล เป็นไปตามธรรมชาติ ยิ่งห่างไกลจากพุทธกาล ก็ยิ่งเป็นอย่างนี้ คัมภีร์มีจึงอ้างถึงได้
    หลวงพ่อสดค้นคว้ากลับคืนมาได้จากไหน จากภาวนามยปัญญานี้แหละ ภิกษุสามเณรเรียนแต่ภาคปริยัติ และถ้าหากไม่ใส่ใจในการปฏิบัติ ถึงจะฉลาดเก่งกาจเพียงไหน ก็เป็นปัญญาที่เกิดและเจริญขึ้นได้แต่เพียงสุตมยปัญญา และจินตมยปัญญา มันไม่ละเอียดสุขุมลุ่มลึกลงไปถึงแก่นแน่ชัด หรือชัดแจ้งจากการที่ได้ทั้งเห็นทั้งรู้
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตัวอย่างไว้แล้ว คือ พระองค์เองตรัสรู้ก็เพราะเห็น เห็นแล้วจึงตรัสรู้ ทรงแสดงในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่า จกฺขุ ํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ (อาโลโก อุทปาทิ)
    ถ้าว่าได้ปฏิบัติเพื่อเจริญปัญญาด้วยภาวนามัย ปัญญาย่อมแจ้งชัด ละเอียดสุขุมลุ่มลึก ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักทำนิพพานให้แจ้ง อันนี้ไม่ค่อยนำมาพูดกัน แต่หลวงพ่อวัดปากน้ำปฏิบัติดำเนินตามแนวนั้น เริ่มตั้งแต่เข้าสมถะเต็มรูปแล้วจึงวิปัสสนาเป็นชั้นไปว่ามหาสติปัฏฐาน ๔ เบื้องต้นเป็นอนุวิปัสสนา เมื่อถึงธรรมกายแล้วจึงพิจารณาเห็นอริยสัจ ทุกขสัจ สมุทัย นิโรธสัจ นิโรธต้องสัมผัส ต้องได้อารมณ์พระนิพพาน มรรคสัจจึงจะเกิดและเจริญ
    หลวงพ่อสดได้ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ในลักษณะนี้ ในทำนองนี้ ก็ได้เห็น แล้วจึงรู้อย่างนี้ หลวงพ่อสดศึกษาคัมภีร์มาก ฝึกปฏิบัติหลายครูหลายอาจารย์ หลายสำนัก แต่ว่าท่านปฏิบัติไปด้วยบุญบารมีของท่านที่ได้ความรู้จากทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายปริยัติด้วย ท่านเรียนภาคบาลีสูง ผมได้ยินพระมหาเถระฝ่ายปริยัติว่าท่านสอนได้ถึงประโยค ๗ คือสามารถสอนได้ เพราะสอนแปลได้
    เพราะฉะนั้น การได้สมณศักดิ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ เขาถึงให้พัดฝ่ายวิปัสสนาถึงราหูใหญ่ เทียบความรู้เปรียญธรรม ๔ ประโยค เป็นหลักเกณฑ์การถวายพระสมณศักดิ์แก่หลวงพ่อ หลวงพ่อจึงได้พัดยศฝ่ายวิปัสสนาที่เทียบได้กับการสำเร็จเปรียญธรรม ๔ ประโยค เป็นราหูใหญ่ เป็นที่แน่นอน แปลว่าได้จากการปฏิบัติวิชชาธรรมกายได้แท้ๆ เข้าไปถึงไปรู้ไปเป็น และมาถึงบางอ้อในคัมภีร์ที่เคยผ่านมาแล้ว
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    คนที่ตายไปแล้ว วิญญาณเข้าสู่ร่างใหม่ เป็นวิญญาณเดิมหรือไม่ ?

    อย่านึกว่าเป็นร่างเก่าร่างใหม่ ดวงวิญญาณจะเข้าร่าง อย่างนั้นไม่ได้ เมื่อมีวิญญาณก็ต้องมีกายด้วย แต่กายเป็นกายทิพย์ มองไม่เห็น เป็นที่ประชุมผลกรรมทั้งหมดที่ทำไว้ จะไปผลิดอกออกผลมาตั้งปฏิสนธิวิญญาณนั้นเป็นเพียง
    “กลลรูป” ไม่ใช่ไปเข้าสู่ร่าง หรือผู้ถามอาจหมายถึงมาเข้าสู่บิดามารดา เรียกว่าเข้าสู่ร่างก็แล้วแต่นะ ความหมายนี้ แต่อาตมาจะพูดว่า ที่มาตั้งปฏิสนธิวิญญาณนั้นเป็นธาตุละเอียด ขนาดเล็กเท่าหยาดน้ำมันงาที่ติดอยู่ที่ปลายขนจามรี ซึ่งสมมติว่าเอาปลายขนจามรีจุ่มลงในน้ำมัน ให้คนที่แข็งแรงสลัด ๗ ครั้ง ส่วนที่เหลือนิดหนึ่ง นั้นคือ ขนาดของกลลรูปที่มาตั้งปฏิสนธิวิญญาณ แต่ในกลางนั้นมีกายทิพย์อยู่ ขนาดใหญ่โต และกลลรูปนั้นนั่นแหละประกอบด้วยธาตุละเอียดของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ฯลฯ เฉพาะรูปขันธ์ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงกาย” ประกอบด้วยธาตุละเอียดของมหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ และธาตุ ลม (มีอากาศธาตุและวิญญาณธาตุอยู่ตรงกลาง) และดวงกายขยายส่วนหยาบเจริญเติบโต ออกมาเป็น “เปสิ” คือก้อนเนื้อ เป็นก้อนเนื้อก้อนเล็กๆ แล้วก็แตกออกเป็นปัญจสาขา คือเป็นห้าปุ่ม เพื่อจะเป็นหัว เป็นแขน เป็นขา แล้วค่อยๆ เจริญเติบโตออกมาเป็นกาย
    ทีนี้ ที่ว่าวิญญาณธาตุนั้นเป็นวิญญาณดวงเดิมหรือไม่นั้น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายหรือเรียกย่อๆ ว่า “ดวงกาย” อันมีวิญญาณธาตุตั้งอยู่ในท่ามกลางนั้นเกิดดับเกิดดับตลอดเวลา แต่ถ่ายทอดกรรมเดิมไปเป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใหม่ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นวิญญาณธาตุดวงเดิมจึงดับไป และเป็นวิญญาณธาตุดวงใหม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของอวิชชาและกรรมปรุงแต่งขึ้น มันเกิดดับแต่มันถ่ายทอดกรรมไปเรื่อยๆ เขาเรียกว่า การสืบต่อ (สันตติ)
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]


    หลวงพ่อวีระ คณุตฺตโม
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...