ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    บทความ และบทวิเคราะห็ ทั้งหมดที่ได้ทราบกันจากข้างบนนี้สมบูรณ์อยู่ในตัวแล้ว ถ้าจะแยกเป็น 2 กรณี 2 พวกอาจแยกได้คือ
    1.พวกที่นับถือในตัวพระอาจาร์แก้วของพวกเรา หลวงพ่อสด สด จันทสโร(หลวงพ่อวัดปากน้ำ) ไม่ต้องสงสัยในตัวปรมาจารย์ในวิชชาธรรมกาย และวิชาธรรมกายใดๆทั้งสิ้นแล้ว ขอท่านจงเร่งศึกษาปฏิบัติในแนววิชชาธรรมกายต่อไป ดังคำที่ท่านสอนศิษย์ผู้ใกล้ชิดให้เร่งทำวิชชา เราทำเราได้ อย่าได้กังวลใจในคำหลบหลู่จากผู้อื่น สำนักอื่นอีกต่อไป รังแต่จะทำให้จิตใจของเราเองขุ่นหมองตามเขาจะเป็นอุปสรรคให้การปฏิบัติธรรมของเราเอง และจะเนิ่นนานล่าช้าไปโดยไม่สมควรแก่เหตุ


    2.พวกที่นับถือในครูบาอาจารย์ ที่ยกย่องว่าครูบาอาจารย์ของตน เก่งกล้า หรือเหนือกว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำ หรือพวกที่ติดในแนวคำสอนของสำนักตนที่คิดว่าแนวคำสอนของสำนักตนเท่านั้นถูกต้องตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาหรือเหนือกว่าวิชชาธรรมกายก็ตาม ท่านคิดถูกแล้ว????ในส่วนของท่าน หรือถูกเพียงส่วนน้อยเพียงส่วนเดียว

    ( กำลังทำกรรมบางอย่างโดยไม่เจตนาหรือไม่ คือ ย้ำความต่างของแนวการปฏิบัติ จนเกิดความแตกแยกในหมู่สงฆ์ หมู่พุทธบริษัท แต่ ไม่ย้ำให้เห็นผลของการปฏิบัติ
    ว่าต่างสำนัก ต่างวิธี แต่เป้นคนดีขึ้นหรือไม่ )


    อย่าลืมว่าการปฏิบัติสมถวิปัสสนานั้นมี 40 แบบ 40 แนวทางการปฏิบัติ การที่มุ่งโจมตีวิชชาธรรมกาย ขอบอกให้เลยว่าท่านคิดผิด ท่านจงรู้ตามที่จะบอกนี้ คือ
    *** วิชชาธรรมกาย มิใช่ยึดกรรมฐานแบบใดแบบหนึ่งเป็นแบบในการปฏิบัติเท่านั้น แต่เป็นแนวปฏิบัติที่รวมกรรมฐานหลายๆกองมารวมเป็นหนึ่ง เพื่อใช้เป็นบาทในการเจริญธรรมะตือ เริ่มแรกให้กำหนดดวงแก้วใส แล้วเพ่งดวงแก้วใสให้เห็นในศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ให้ท่านพิจารณาแบบง่ายๆใกล้ตัวท่าน สมมติว่าแก้วน้ำวางอยู่ข้างหน้าท่าน ในความมืดท่านจะเห็นแก้วใบนั้นไหม ก็ต้องตอบว่าไม่เห็น แล้วเห็นเพราะอะไรล่ะ ถ้าไม่ใช่เพราะมีแสงสว่าง เฉกเช่นเดียวกับวิชชาธรรมกายก็เป็นเช่นนั้น การกำหนดแก้วใสให้เห็นก็คือการเพ่งอโลกสิณรวมกับจตุธาตุวิวัฏฐานคือลูกแก้ว ลูกแก้วนั้นยิ่งสำคัญยิ่งนัก คือเปรียบเหมือนดวงธรรมกายที่หลวงพ่อได้สอนไว้ ในดวงธรรมกายประกอบด้วยธาตุดิน้ำลมไฟ ไม่ใช่แค่นั้นยังมีอากาศธาตุอยู่ตรงกลาง กลางอากาศธาตุมีวิญญษนธาตุ และสำคัญที่สุด(ที่ท่านและเราต่างมุ่งหวังไขว่คว้ากันนักคือ คือนิพพานธาตุ ซึ่งอยู่ในสุดกลางสุด นี่สิคือจุดสำคัญที่สุดที่หลวงพ่อให้เพ่งให่พิจารณาที่ว่าหยุดในหยุด กลางในกลาง ไม่ใช่อื่นใดเลยคือ สมานัสติ(การพิจารณานิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งก็อยู่ในอนุสสติ 10 เหมือนกัน)
    สรุปแล้ววิชชาธรรมกายมิใช่ถือเอากรรมฐานกองหนึ่งกองใดเป็นอารมณ์ ที่เป็นการรวมกรรมฐานหลายๆกองมาใช้ในการทำกรรมฐานคือ
    1.อโลกกสิณ(แสงสว่าง)
    2.ปฐวีกสิณ (ดิน)
    3.อาโปกสสิณ(น้ำ)
    4.วาโยกสิณ(ลม)
    5.เตโชกสิณ (ไฟ)
    6.อากาศกสิณ (อากาศธาตุ) ..อรูปฌาน 4
    7.วิณณานกสิณ...อรูณาน 4
    8.สมานัสสติ (การพิจารณานิพพานเป็นอารมณ์ ...อยู่ในอนุสติ 10)
    9.พุทธานุสสติ
    10.ธรรมานุสสติ
    11.สังฆานุสติ (9,10,11 คือการภาวนาสัมมาอรหัง (2ถึง 10 ไปดูผังแบบในเหรียญถวายภัตตาหาร
    วิชชาธรรมกายจึงเป็นการฝึกที่ค่อนข้างจะยาก น้อยคนนักที่จะได้ (จึงหายไปหลังพุทธกาล 500 ปี) ยิ่งวิชชาธรรมกายชั้นสูงด้วยแล้ว ก็ยิ่งน้อยมากที่จะได้ วิชชาปราบมารเราท่านก็พึ่งได้ยินในสมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำนี้แหละ ก่อนหน้าเคยได้ยินบ้างไหม เคยมีคนกล่าวว่าคนที่ฝึกวิชชาธรรมกายไม่เห็นมีใครเป็นพระอรหันต์สักคน นั่นเพราะส่วนมากคนที่เดินสายธรรมกายนั้นไม่ค่อยจะเข้านิพพานกัน มันสูงกว่านั้นมากนัก (ความปรารถนา) ทุกๆคนมักจะเดินตามรอยเท้าหลวงพ่อวัดปากน้ำกันทุกคน (โพธิญานและการรื้อขนสัตว์โลกตามแนววิชชาธรรมกาย)

    เพราะทุกคนคือลูกหลานลูกศิษย์หลวงพ่อทั้งสิ้น การจะช่วยเหลือสัตว์ให้พ้นทะเลวัฏฏสงสารมิใช่เรื่องง่ายๆเลย ต้องช่วยกันหลายคนหลายฝ่าย การเข้านิพพานของวิชชาธรรมกายก็ไม่ใช่เรื่องยาก หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านผ่านอายตนนิพพานมานับมิถ้วนอสงขัยนับนิพพานไม่ถ้วน ทำไมล่ะล่ะท่านจึงไม่เข้านิพพาน ได้เพียงแต่ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกนิพพาน ไปอาราธนาพระพุทธเจ้าทุกนิพพานให้กระทำพระของขวัญของท่านให้ศักดิ์สิทธิ์ เท่านั้น

    ดังนั้นผู้ที่เคยลบหลู่ดูหมิ่นเจ้าประคุณพ่อ และวิชชาธรรมกาย ของท่านจงเปลี่ยนความคิดยึดถือที่ผิดๆก่อนหน้านั้นเสีย เพราะจะเป็ยภัยเป็นบาปอย่างมหันต์ต่อตัวท่านเอง และจะทำให้การปฏิบัติของท่านผลจะเนิ่นช้าออกไปอีก

    (ไปอ่านหนังสือประวัติหลวงพ่อปานตอนแรกๆ ที่หลวงพ่อฤาษี กล่าวถึงพระที่ลุงพุฒิ (พระยายม) บอกไว้ว่ามีพระโพธิญาน และอรหันต์ที่ควรกราบไหว้อยู่ 7-8 รูป จะมีหลวงพ่อสด วัดปากน้ำด้วย 1 รูป)
    <!-- google_ad_section_end -->.
    .
    .
    .
    .
    .
    .
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2010
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    หลวงพ่อสดวัดปากน้ำเทศน์ที่วัดมหาธาตุ

    <TABLE class=tablebg cellSpacing=1 width="100%"><TBODY><TR><TD align=middle>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลวงพ่อสดวัดปากน้ำเทศน์
    ที่วัดมหาธาตุ
    วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๐



    พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฏิ์ องค์ที่ ๑๕ สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง และปฐมสภานายกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยท่านมีความตั้งใจ และทุ่มเทชีวิตจิตใจเพื่อความเจริญของพระพุทธศาสนาส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาของพระภิกษุและสามเณร ทั้งการศึกษาพระไตรปิฎก และวิชาชั้นสูง ในพระพุทธศาสนา (การปฏิบัติสมถวิปัสสนา)



    จากเรื่องราวใน “สมเด็จป๋า เล่าเรื่อง หลวงพ่อวัดปากน้ำ” ทำให้ทราบว่า พระเดชพระคุณพระพิมลธรรม ฐานทตฺต นั้น ท่านชอบพอกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จฺนทสโร) และพอใจการปฏิบัติด้วย ท่านเคยพูดว่า ท่านพระครูวัดปากน้ำถึงมีข่าวอกุศลอย่างไรก็ดี มีคนมาขอปฏิบัติธรรมเจริญพระกัมมัฏฐานทุกวัดน่าจะทำตามบ้าง



    เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรมเจ้าอาวาส และอธิบดีสงฆ์



    วัดมหาธาตุ ได้มีหนังสือมาอาราธนาหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ไปแสดงธรรมเรื่องกัมมัฏฐาน ซึ่งข้าพเจ้า (พระทิพย์ปริญญา) เองได้ฟังอยู่ด้วย จำมาได้เล็กน้อยจึงนำมาเล่าสู่ กันฟังพอเป็นเลา ๆ ดังต่อไปนี้



    ในวันที่กล่าวนี้ เวลา ๑๖.๐๐ น. ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุเมื่อภิกษุสามเณรวัดนั้น ซึ่งมีเจ้าพระคุณพิมลธรรมเป็นประธานได้ทำวัตรนมัสการพระเสร็จแล้ว ก็อาราธนาหลวงพ่อขึ้นธรรมาสน์ ในท่ามกลางหมู่ภิกษุสามเณรเป็นจำนวนมาก จนล้นอาสนะที่มีอยู่ตามปกติลงมาถึงพื้นพระอุโบสถ นอกนี้ยังมีอุบาสกอุบาสิกาอีกที่พากัน มาประชุมฟัง



    ในการแสดง ท่านยกบาลีในพระสูตรว่าด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะเป็นหลัก แล้วอรรถธิบายว่าศีล สมาธิ ปัญญาเป็นเหตุ วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล ศีลเป็นกัมมัฏฐานอันหนึ่งซึ่งจัดไว้ในข้อที่ ๒๔ ของกัมมัฏฐาน ๔๐



    กัมมัฏฐาน แปลว่าที่ตั้งมั่นของการกระทำสมาธิก็เป็นกัมมัฏฐานอันหนึ่งซึ่งจัดไว้ในกัมมัฏฐาน ๔๐ เป็น มัสสกนัยเจือได้ทุกข้อ


    ศีลอยู่ไหน สมาธิอยู่นั่น สมาธิอยู่ที่ไหน ปัญญาอยู่ที่นั่นปัญญาอยู่ที่ไหน วิมุตติอยู่ที่นั่นวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ที่นั่น


    ศีลที่เป็นกัมมัฏฐานนั้น เพราะศีลเป็นที่ตั้งของการกระทำให้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ บริสุทธิ์กาย วาจา เป็นเจตนาศีล บริสุทธิ์ใจ เป็นเจตสิกศีล ศีลซึ่งจัดไว้ในคัมภีร์ใด ๆ จะเป็นศีลของคฤหัสถ์หรือศีลของบรรพชิตก็ดี ไม่อื่นไปจากบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ ซึ่งได้จัดไว้ในวิสุทธิมรรคว่า บริสุทธิ์กาย วาจา เป็นเจตนาศีล บริสุทธิ์ใจเป็นเจตสิก ศีล บริสุทธิ์ไตรทวาร เป็นแต่อาการของศีลเท่านั้น ยังไม่เป็นที่ตั้งของสมาธิได้ ที่จะเป็นที่ตั้งของสมาธิได้ ต้องเป็นศีลกัมมัฏฐาน คือ ศีลานุสสติ ระลึกเนือง ๆ ซึ่งศีลนี้เป็นที่ตั้งของสมาธิได้


    สีลมฺปิ สิกฺขติ แปลว่าศึกษาศีล การศึกษาให้รู้จักศีล เมื่อรู้จักศีลแล้วจะได้รักษาศีลให้บริสุทธิ์ เมื่อบริสุทธิ์ แล้ว จะได้ระลึกถึงความบริสุทธิ์นั้นเนือง ๆ


    [​IMG]



    ความบริสุทธิ์นั้นอยู่ตรงไหน ?

    อยู่ตรงกำเนิดเดิม

    กำเนิดเดิมอยู่ตรงไหน?

    อยู่ที่สิบ

    ที่สิบอยู่ตรงไหน?

    อยู่ตรงกลางกาย

    ตัดขาดแค่สะดือ เรียบเหมือนหน้ากลอง แล้วบังเวียนเข้ามาถึงจุดศูนย์กลาง ว่างมีอยู่เท่าเมล็ดหรือ เมล็ดไทร (คือสมมติขึงเส้นด้ายจากสะดือทะลุหลังไปเส้นหนึ่ง จากเอวขาวทะลุเอวซ้ายไปเส้นหนึ่งภายในตัวนั้นจะเป็นเส้นด้ายพาดตัดกันเป็นรูปกากบาท ตรงนั้นแหละเป็นกำเนิดเดิม
    เมื่อแรกเกิดในครรภ์นั้น เป็นที่ตั้งของใจ เป็นที่หยุดของใจ เมื่อในหยุดแล้ว ลมก็หยุด ดุจพระเข้านิโรธ ใจหยุดเรียกว่าสันติ ลมหยุดเรียกว่าอนาปานสันติกับอนาปาเป็นธรรมอาศัยกัน คือ ใจหยุดลม ก็หยุด ลมหยุดใจก็หยุด อปุพฺพํ อจริมํ ไม่ก่อนไม่หลังกัน



    คำว่าใจ กับ ลม ทั้งสองนี้ ลมพอจะรู้จักว่าลมหายใจเข้าออกส่วนใจนั้นไม่รู้จักว่าอะไร ต้องพูดถึงใจต่อไป


    คำว่า “ใจ” หมายถึงความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ๔ อย่างนี้รวมกันเรียกว่าใจ เหมือนรูปก็เป็นคำรวมธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ๔ อย่างรวมกันเรียกว่า รูป นาม ก็เหมือนกัน เป็นคำรวม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๔ อย่างรวมกันเรียกว่า นาม


    ใจก็เช่นเดียวกัน เห็นอย่างหนึ่ง จำอย่างหนึ่ง คิดอย่างหนึ่งรู้อย่างหนึ่ง รวม ๔ อย่างนี้เรียกว่าใจ


    ใจนี่แหละเป็นสิ่งสำคัญในตัวเรา สิ่งอื่นจะสำคัญยิ่งกว่าใจเป็นอันไม่มี ตามบาลีได้กล่าวไว้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมิมา ฯ ธรรมทั้งหลาย มีใจถึงก่อน มีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐกว่า สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้า ใจชั่ว การทำก็ชั่ว การพูดก็ชั่ว การคิดก็ชั่ว ถ้าใจดี การทำก็ดี การพูดก็ดี การคิดก็ดี แล้วแต่ใจนี้



    การทำใจให้หยุดเป็นของทำได้ยากแก่บุคคลผู้เกียจคร้าน คนมี ความเพียรทำไม่ยาก การทำใจให้หยุดนั้น จะให้หยุดตรงไหน?

    ให้หยุดที่กำเนิดเดิม

    หยุดเหมือนอะไร?

    เหมือนนายสารถีห้ามล้อรถไม่ให้พ้นขีดหมายไปได้

    ใจกับกำเนิดเดิมอย่าให้ละจากกันและกันได้

    ใจเป็นศีลหรือกำเนิดเดิมเป็นศีล?



    ใจก็หาใช่ศีลไม่ กำเนิดเดิมก็หาใช่ศีลไม่ แต่ก็ไม่อื่นจากศีล ศีล อาศัยใจและกำเนิดเดิมประกอบถูกส่วนกันเข้าเกิดขึ้น เหมือนไม้สีไฟตะบันไฟ ไม้ขีดไฟ ประกอบถูกส่วนกันเข้าก็เป็นไฟขึ้นได้ นี้ศีลตามข้อศึกษา



    ส่วนศีลตามข้อปฏิบัติ เมื่อประกอบถูกส่วนเข้าก็จะเกิดเป็นดวงไฟเท่าฟองไข่แดงของไก่ หรือเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทเหมือนกระจกเงาส่องหน้า เมื่อเห็นตามข้อปฏิบัติดังนี้แล้วให้เอาใจหยุดอยู่ที่กลางดวงศีลที่เห็นนั้นให้ชำนาญในอิริยาบถทั้ง ๔ นั่ง นอน เดิน ยืน นั่งก็เห็น นอนก็เห็น เดินก็เห็น ยืนก็เห็นอยู่เสมอไม่ให้หายไป



    ดวงใสนั้นตั้งอยู่เหนือกำเนิดเดิมราว ๒ นิ้ว เมื่อเห็นดวงศีลแล้วในกลางดวงศีลนั้นมีดวงสมาธิ ในกลางดวงสมาธินั้นจะมีดวงปัญญาในกลางดวงปัญญาจะมีดวงวิมุตติ ในกลางดวงวิมุตตินั้นจะมีดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้นจะมีกายมนุษย์หยาบ กลางกายมนุษย์หยาบนั้นจะมีดวงศีล ฯลฯ



    ท่านได้ชักอุปมาการประกอบสมาธิเหมือนการสีไฟ และชักนิยามเทียบว่า ฤษีตนหนึ่งเมื่อจะไปป่าให้ลูกศิษย์เฝ้าอาศรมแล้วสั่งว่า “ไอ้หนู...ระวังไฟในเตาไว้ให้ดี อย่าให้ดับนะ ถ้าดับ ไม้สีไฟอยู่ในกระบอกนั้น” ครั้นแกไปแล้ว ไอ้เจ้าเด็กนั่นมัวเล่นเพลิน ไฟในเตาดับ เด็กน้อยกลัวพระเจ้าตากลับมาจะเฆี่ยนเอาก็ไปเอาไม้สีไฟในกระบอก มาดูว่าไฟอยู่ที่ไหน ดูทั่วแล้วก็ไม่เห็นไฟก็คิดว่าทำอย่างไรจึงจะได้ไฟ จึงเอมมีดมาผ่าไม้สีไฟนั้นเป็นสองซีกก็ไม่เห็นมีไฟปรากฏ จึงผ่าซอยละเอียดออกไปอีกเป็น ๔ ซีกก็ไม่ เห็นไฟ ผ่าอีกเป็น ๑๖ ซีก ก็ไม่เห็นไฟอีก หมดปัญญาเลยเอาไม้ ๓๒ ซีกมารวมกัน แล้วใส่ครกตำจนละเอียด เอาออกมาโปรยก็ไม่เห็นไฟ



    ตกตอนเย็น ตาฤษีกลับมาไม่เห็นไฟ แล้วซักถามไซ้ถามดู เด็กนั้นก็เล่าความตามเป็นจริงให้ฟังโดยตลอด ฤษีจึงกล่าวว่าเจ้ามันโง่ ใครเขาสอนให้หาไม้มาใหม่ ๒ อัน แล้วเอาถูกัน แล้วสอนว่าการสีไฟเกิดขึ้นเขาไม่เอาไม้มาผ่าหาไฟในไม้อย่างเจ้านี้ดอก จำไว้



    ตัวอย่างที่อุปมานี้บ่งให้เห็นถึงการปฏิบัติกิจภาวนา ที่ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า อาตาปี สมฺปชาโน สติมา นั้นแปลเป็นใจความในทางปฏิบัติว่า ประกอบด้วยความเพียร ๑ รู้ตัวอยู่เสมอ ๑ ไม่เผลอ ๑ วิเนยฺยโลเก อภิชฺฌา โทมนสฺสํ คอยระวังอย่างให้เกิดความอยากได้ และการเสียใจเมื่อยังไม่ได้ ต้องทำจิตให้เป็นอุเบกขาไว้ ให้สมกับบาลีว่า อุเปกฺขา สติปาริสุทธิ



    นอกจากนี้ยังอธิบายถึงฌานว่า ไปที่สุดจนถึงตอนพระพุทธเจ้าได้ทรงเพิกฌานเพิกกสิณ

    แล้วตัดเข้าหาอาณาปานสติอย่างไร กว่าจะจบประมาณหนึ่งชั่วโมงเศษ


    นอกจากนี้ยังอธิบายถึงฌานว่า ไปที่สุดจนถึงตอนพระพุทธเจ้าได้ทรงเพิกฌานเพิกกสิณ แล้วตัดเข้าหาอาณาปานสติอย่างไร กว่าจะจบ ประมาณหนึ่งชั่วโมงเศษ


    -->> เมื่อเทศน์จบแล้ว เจ้าคุณพระพิมลธรรมได้ออกปากชมเชยต่อหน้าข้าพเจ้าว่า ท่านเทศน์ดีมาก ยกพระสูตรมาแปลและอธิบายได้คล่องแคล่ว คุณพระทิพย์ปริญญา ท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่า เท่าที่ท่านเคยพบปะมา พระที่เป็นฝ่ายสมถะ มักไม่ใคร่แสดงธรรม พระที่แสดงธรรมโดยมากเป็นฝ่ายปริยัติ แต่หลวงพ่อวัดปากน้ำนี้ ท่านเป็นพระปฏิบัติที่ชอบแสดงธรรมโดยความที่ท่านเป็นนักปริยัติมาแต่เก่าก่อนแล้วแนวการแสดงธรรมในเบื้องต้น แต่ละกัณฑ์ ฯ ระวังบาลีมิให้คลาดเคลื่อนและแปลเป็นข้อ ๆ ไปก่อน แล้วจึงจะขยายความชี้แนวปฏิบัติท่านแสดงธรรมอยู่ในหลักนี้เสมอ ไม่ใช่นึกว่าเอาตามใจชอบ ถ้าจะยกอะไรขึ้นเป็นต้องอ้างอาคตสถานที่มาแห่งธรรมเหล่านั้นประกอบด้วย


    ด้วยเกียรติคุณของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดที่ท่านดูแลเอาใจใส่ให้



    ภิกษุสามเณรมีการศึกษาดี มีการปฏิบัติดี กาลต่อมาเมื่อพระเดชพระคุณพระพิมลธรรม ได้ทำเรื่องขอแต่งตั้งพระครูสมณธรรมสมาทาน วัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร) เป็นอุปัชฌายะไม่ช้าหลวงพ่อวัดปากน้ำ ก็ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ คณะวัดปากน้ำมีความชื่นชมยินดี กุลบุตรพากันมาบรรพชาอุปสมบทในสำนักวัดปากน้ำทวีขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2010
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->



    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010101.wma[/MUSIC]
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ธรรมกายในความหมายของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    หลวงพ่อสดวัดปากน้ำเทศน์...ที่วัดมหาธาตุ
    หลวงพ่อสดนั้นไม่เคยกล่าวว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง
    ท่านวัดอัมพวันVS นิยายมักรีผล VS ... สวนแก้ว โดย ธารณธรรม
    หลวงพ่อไม่เคยเลิกฝึกธรรมกาย โดยนายมหา
    พระเทพกิตติปัญญาคุณ(กิตติวุฑโฒ)เล่าเรื่องกรณีหลวงพ่อเขียนรับรองกรรมฐานแบบหนอ
    บทวิเคราะห์จากการสืบหาความจริงกรณีหลวงพ่อวัดปากน้ำเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบหนอ โดยคุณธารณธรรม
    พระดร.มหาทวนชัย อธิจิตโต ผู้อยู่ในเหตุการณ์ท่านเจ้าคุณโชดกมาเชิญหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    มีคนโจทย์กันว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำเลิกฝึก"ธรรมกาย" จริงหรือ?
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เหตุจากนิยายที่แต่งขึ้น เพื่อให้ความเท็จแก่หลวงปู่สด<!-- google_ad_section_end -->

    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->คิดไม่ถึง ไม่น่าเชื่อ เป็นได้ไง ! โปรดพินิจพิเคราะห์ตามกลักกาลามสูตร แล้วจะเห็นแจ้ง

    ท่านป่าม่วงVS นิยายตุ๊กตาผล VS บรรยายธรรมที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว เป็นดังนี้คือ:

    ๑.ท่านป่าม่วงเกิดเมื่อ ปี ๒๔๗๑ ที่สารขัณฑ์ประเทศ



    ๒.ท่านป่าม่วงอุปสมบทเมื่อ ปี ๒๔๙๑ ณ วัดพรหมบุรี สิงห์นคร ขณะที่มีอายุ๑๙ ปี ๘ เดือน (เพราะปี ๒๔๘๓ หายไป ๓ เดือน คือเดือน มกรคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม โดยทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ของประเทศไทยจากวันที่ ๑๓ เมษายน ไปเป็นวันที่ ๑ มกราคม ตามอย่างสากล โดยถือเอาปี ๒๔๘๔ เป็นปีแรก

    2.นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี เพราะได้นับรวมอายุที่ในท้องแม่ประมาณ ๑๐ เดือน
    แต่คิดเพิ่ม ๑ ปี จึงเป็นมีอายุ ๒๐ปี ๘ เดือน



    ๓.ท่านป่าม่วงสำเร็จมัธยมปีที่๔จากโรงเรียนสุวิทดารามาส เมื่อ ปี ๒๔๘๗
    3.นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าท่านป่าม่วงเรียนมัธยมปีที่ ๔ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ แต่ไม่ปรากฏชื่อโรงเรียนสวนกุหลาบในประวัติท่านป่าม่วง



    ๔. ศึกษาดนตรีไทย มีปี่พาทย์มอญ แตรวงเครื่องสาย การประพันธ์บทขับร้อง จากโยมบิดาและคุณหลวงธารา ต่อมาคุณปู่ พันตรี หลวงธารา ได้นำพระคุณเจ้าเข้าฝากตัวกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าศึกษาโรงเรียนนายตำรวจ พระคุณเจ้าศึกษาอยู่ประมาณ ๑ เดือน จึงขอลาออกเนื่องจากไม่ถูกอัธยาศัยในวิชานี้

    4.แต่นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าเรียนดนตรีไทยกับหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ต่อมาหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้พาไปพบจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อขอให้ฝากเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ท่านป่าม่วงเรียนนายร้อยตำรวจเพียงสามเดือน ก็ขอลาออก โดยอ้างว่าโดนรุ่นพี่กลั่นแกล้ง

    ยิ่งกว่านี้นิยายตุ๊กตาผลยังบอกต่อไปว่า หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้พาไปเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม และบอกว่าจอมพล ป. พาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เพื่อเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ในประวัติท่านป่าม่วงไม่ได้เป็นศิษย์หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ดังนั้นเรื่องที่ว่าจอมพล ป. พาเข้าเฝ้า *สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเพื่อเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์นั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัย เป็นการไม่สมควร เป็นการอาจเอื้อมเบื้องสูง*



    ๕. ปี ๒๔๙๑ ศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสสนากรรมฐาน (จากหนังสือเลื่อนสมณศักดิ์ชั้นเทพ)

    5.แต่ในหนังสือกฎแห่งกรรม...เล่ม ๑ บอกว่า ศึกษาพระธรรมวินัย เพียงอย่างเดียว



    ๖. ปี ๒๔๙๓ ศึกษากัมมัฏฐานกับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) อำเภอหนองโพธิ์
    จังหวัดนครสวรรค์

    6.นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อเดิม ระหว่างปลายปี ๒๔๙๑ - ต้นปี ๒๔๙๒ เป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อเดิม และได้เรียนวิชาคชศาสตร์เป็นคนแรกและคนสุดท้าย”
    แต่มีข้อสังเกตนิดหนึ่งที่นิยายตุ๊กตาผล ไม่ได้กล่าวถึงกิจที่หลวงพ่อเดิม ท่านตื่นที ๔ เพื่อปฏิบัติกรรมฐานทุกวัน และมีหนังสือ๒ เล่มติดตัวหลวงพ่อเดิมอยู่ตลอดเวลาคือ ๑. มูลสมถะและทางวิปัสสนา และพระอภิธรรมภายใน(รัตนะและคณะ, ๒๕๔๖(?), พระอภิญญาเมืองสยาม, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฉัตรแก้ว,หน้า๑๘).



    ๗.ปี ๒๔๙๓ ศึกษาและ “ปฏิบัติสมถกรรมฐาน” วิชชาธรรมกาย กับพระภาวนาโกศลเถระ(สด จันฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (จากหนังสือเลื่อนสมณะศักดิ์ชั้นเทพ..... ๒๕๔๔)

    7.1ตรงกันกับที่ท่านป่าม่วงเทศน์ที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้วเมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ ว่ามาเรียนวิชชาธรรมกายกับหลวงพ่อวัดปากน้ำปี ๒๔๙๓และสำเร็จวิชชาธรรมกายในปีนั้นด้วย

    7.2 ตรงกับนิยายตุ๊กตาผลที่บ่งบอกว่า ท่านป่าม่วงเรียนวิชชาธรรมกาย กับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ครั้งแรก ปี ๒๔๙๓ แต่ต่างกันที่ตุ๊กตาผลไม่ได้บอกว่าท่านป่าม่วงสำเร็จวิชชาธรรมกายในปี ๒๔๙๓



    ๘. ในประวัติท่านป่าม่วงไม่พูดถึงหลวงปู่ศุขวัดมะขามเลย

    8. แต่นิยายตุ๊กตาผล บอกว่าไปเรียนวิชาอาคมกับหลวงปู่ศุขโดยตรง ทั้งๆที่หลวงปู่ศุขมรณภาพ

    ก่อนท่านป่าม่วงเกิดประมาณประมาณ๕ปีครึ่ง คือหลวงปู่ศุข มรณภาพ ปี ๒๔๖๖ .(ประเจียด คงศาสตรา,...๒๕๓๕(?) ,ประวัติ อภินิหาร คาถาอาคม และพระเครื่อง หลวงปู่ศุข วัดคลองมะขามเฒ่า, พิมพ์ครั้งที่ ๑ ,กรุงเทพฯ:สำนักงานนิตยสารโอม, หน้า๕๐) ส่วนท่านป่าม่วงเกิดปี ๒๔๗๑



    ๙. ปี๒๔๙๔ ศึกษาและปฏิบัติกรรมฐานกับพระสุทธิธรรมรังสี(หลวงพ่อลี ธมฺมโร) วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และท่านเจ้าพระคุณอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดข่อนแก่น
    9.นิยายตุ๊กตาผล บอกว่าเรียนสะเดาะกุญแจกับหลวงพ่อลี และติดตามหลวงพ่อลีไปวัดบางปิ้ง ทั้งที่ปี ๒๔๙๔ วัดอโศการามยังไม่เกิด นางกิมหงษ์และนายสุเมธ ไกรกาญจน์ ได้ถวายที่ดินชื่อ “นามาขาว” เนื้อที่ประมาณ ๕๓ ไร่ เมื่อปี ๒๔๙๗ ได้ตั้งเป็นสำนักขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ (พระประวัติ พระสุทธิธรรมรังสัมภีรเมธาจารย์ ,๒๕๑๔, หน้า๙๔)

    ที่สำคัญท่านพ่อลีไม่เคยธุดงค์ผ่านถิ่นท่านป่าม่วง ท่านพ่อลีไม่สนใจเดรัจฉานวิชา ท่านสอนไม่ให้คนเชื่อผี ท่านมีบารมีด้านพระธาตุเป็นพิเศษ *โดยเฉพาะ ท่านเตรียมเดินทางไปทางประเทศตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ ออกเดินทางไปพม่าตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ แล้วเดินทางต่อไปจำพรรษาที่ประเทศอินเดีย ออกพรรษาแล้ว เดินทางกลับพม่า ท่านเดินทางกลับประเทศไทยในเดือน ธันวาคม ๒๔๙๔ และพักอยู่กับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน) ที่วัดบรมนิเวส ได้ตรึกตรองอยู่หลายวัน เกือบๆจะได้รับอนุญาตให้เดินทางจึงเดินทางไปพม่าอีก* ก็เผอิญมีบางเรื่องบางอย่างแทรกซึมเข้ามา ............ จึงได้เดินทางกลับไปเยี่ยมญาติโยมที่จังหวัดจันทบุรี อยู่มาจวนจะเข้าพรรษาก็ได้เดินทางจากจันทบุรี กลับมาพักอยู่ที่วัดบรมนิเวสตามเคย{ พระประวัติ พระสุทธิธรรมรังสัมภีรเมธาจารย์(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) ซึ่งท่านพ่อลีเล่าเอง พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๕ หน้า ๖๔ –๖๘ [หนังสือเล่มนี้ พลโท(ยศขณะนั้น) พงษ์ ปุณณกัณต์ เป็นประธานจัดพิมพ์] วัดอโศการาม โทร ๐๒ ๓๘๙-๒๒๙๙, ๐๒ ๓๙๕-๐๐๐๓ }

    จะเห็นว่าทั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ จนหมดปี ๒๔๙๔ ท่านพ่อลีไม่ว่าง จึงเป็นไปไม่ได้ที่ท่านป่าม่วงจะมีโอกาสพบท่านพ่อลีที่ถิ่นท่านป่าม่วง อีกประการหนึ่งท่านพ่อลีสอนกรรมฐานโดยใช้อานาปานสติ ซึ่งท่านป่าม่วงบอกว่ารู้สึกขยาดกรรมฐานอานาปานสติของหลวงพ่อพูน แล้วจะมาเรียนกรรมฐานกับท่านพ่อลีได้อย่างไร? ไม่เข้าใจว่าทำไมได้เขียนเรื่องแบบนี้ลงไปในประวัติของตนและในตุ๊กตาผล ทั้งๆเรื่องนี้สามารถพิสูจน์ทราบได้ไม่ยากว่าว่าเป็นไปไม่ได้ อยากให้ช่วยกันวิจารณ์ว่า อะไรเป็นเหตุให้เขียนเรื่องที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือเป็นว่าเป็นนโยบายที่บอกให้ใครๆทราบว่า ท่านป่าม่วงมีพระอาจารย์ดังทุกสาย



    ๑๐. ปี ๒๔๙๖ ท่านป่าม่วง ศึกษา *วิชาสมถวิปัสสนา* กับพระภาวนาโกศลเถร (สด จนฺทสโร) หรือหลวงพ่อวัดปากน้ำ อ.ภาษีเจริญ จ. ธนบุรี (หนังสือกฏแห่งกรรม.......... เล่ม ๑ ) เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ตรงกับข้อมูลหนังสือที่ระลึกในงานเลื่อนสมณะศักดิ์ชั้นเทพ ที่บอกว่า ปี ๒๔๙๓ ศึกษาและ*ปฏิบัติสมถกรรมฐาน* วิชชาธรรมกาย กับ พระภาวนาโกศลเถระ (สด จันทฺสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี
    10. ที่แปลกเอามาก ๆ ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ท่านป่าม่วงเขียนจดหมายเรียนเจ้าประคุณสมเด็จฯวัดปากน้ำว่าเคยมาเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อวัดปากน้ำในปี ๒๔๙๖ (หนังสือ..ชั้นเทพ หน้าโมทนาพจน์ ๓) ซึ่งแสดงว่าต้องมาเรียนวิชชาธรรมกายกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ๒ ครั้ง คือครั้งแรก ๒๔๙๓ และครั้งสอง มาเรียน ๒๔๙๖ น่าเสียดายที่ท่านป่าม่วงไม่ได้เรียนเจ้าประคุณสมเด็จฯวัดปากน้ำอย่างตรงไปตรงมา ว่าเคยมาเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อ ๒ ครั้ง คือครั้งแรกมาเรียนปี ๒๔๙๓ ครั้งที่๒ เรียนในปี ๒๔๙๖ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง



    ๑๑. ท่านป่าม่วงเทศน์ที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ ว่ามาเรียนวิชชาธรรมกายเมื่อ ปี ๒๔๙๓ และบอกว่าตนได้ธรรมกายบนรถเมล์ขาว ในปีนั้นด้วย และบอกว่าเห็นคนสิงห์บุรี ๓* คน กำลังกราบหน้า พระรูปรัชการที่๑
    11.แต่ที่น่าสังเกต ในนิยายตุ๊กตาผลบอกว่าพอสำเร็จวิชชาธรรมกาย ก็มองว่าเห็นคนสิงห์บุรี ๑ *คน อยู่หน้าพระรูปรัชกาลที่๑ ทำไมจำนวนคนที่เห็นไม่เท่ากัน ในเมื่ออยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน นี้ต่างกันถึง ๒ คน
    นิยายตุ๊กตาผลนั้นบ่งชี้ว่าท่านป่าม่วงอ้างว่าสำเร็จวิชชาธรรมกายในปี ๒๔๙๖ ไม่ใช่ปี ๒๔๙๓

    *ที่ว่าสำเร็จวิชชาธรรมกายนั้น ขอบอกว่าไม่ใช่ การสำเร็จวิชชาธรรมกายนั้น จะต้องเดิน ๑๘ กายได้แบบทั้งรู้ทั้งเห็น จึงจะถือว่าสำเร็จวิชชาธรรมกายตามคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ*

    แก้ไขเมื่อ 18 ส.ค. 49 17:44:04

    จากคุณ : ธารณธรรม - [ 18 ส.ค. 49 17:23:44 ]

    ----------------------------------------------------------



    ๑๒. ปี ๒๔๙๗ ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน กับเจ้าคุณอาจารย์พระอุดมวิชาญาณเถระ วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนคร ต่อมาเป็นพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าคณะภาค๙(พระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)

    12.นิยายมักกะลีผลบอกให้ทราบว่าท่านป่าม่วงเรียนกรรมฐานกับท่านเจ้าคุณโชดกเมื่อ“เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม ๒๔๙๗” ดังนั้นท่านป่าม่วงต้องได้ฟังการเทศน์ลำดับญาณปลายเดือนตุลาคม ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่วัดระฆังเพื่อเรียนอภิธรรมที่วัดระฆังเป็นเวลา ๓ เดือน

    จึงเป็นไปไม่ได้ที่ท่านป่าม่วงจะได้ฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี เพราะพระองค์ท่านทรงเริ่มปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ หลักสูตร ๑ เดือน ดังนั้นการบอกใครๆ เขียนในเว็บ หรือ**เขียนประกาศว่าฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี นั้นเป็นการอาจเอื้อมเบื้องสูงโดยแท้ ถ้ามีการเอาเรื่องนี้ขึ้นสู่โรงศาล คงมีคนต้องคดีหลายคน**

    *และเป็นไปไม่ได้ที่ได้ฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่ถูกเกณฑ์ให้เรียนกรรมฐานแบบหนอเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ หลักสูตร ๑ เดือน เพราะท่านป่าม่วงออกจากวัดมหาธาตุไปแล้วประมาณ ๓-๔ เดือน เพราะการฟังเทศน์ลำดับญาณนั้น เขาฟังกันเฉพาะผู้ที่บรรลุญาณ ๑๖ ใหม่ ๆ ไม่ใช่จบไปตั้งนานแล้วกลับมาฟังพร้อมผู้เพิ่งจบ* ไม่มีสำนักปฏิบัติกรรมฐานแบบหนอที่ไหนเขาปฏิบัติกัน

    ***ดังนั้นเรื่องที่บอกว่าได้ฟังได้ยินเรื่องที่หลวงพ่อวัดปากน้ำพูดกับเจ้าคุณโชดก จึงเป็นไปไม่ได้ เป็นการจินตนาการเขียนเอาเอง***

    เป็นที่ทราบกันดีสำหรับพวกปฏิบัติกรรมฐานสายหนอ ว่าสำนักวิเวกอาศรม ชลบุรี สมัยที่พระอาจารย์อาสภเถระเป็นเจ้าสำนัก หลวงพ่อเดือนเป็นผู้ช่วยนั้น ทางสำนักวิเวกอาศรมไม่รับรองผู้ที่ต้นสำนักท่านป่าม่วงบอกว่าบรรลุญาณ ๑๖ เพราะเคยมีตัวอย่างที่ต้นสำนักรับรองสามเณรรูปหนึ่งเข้าใจว่าเป็นรูปแรกเพราะเห็นตื่นเต้นกันใหญ่ แต่พระอาจารย์อาสถเถระท่านคัดค้านว่าไม่ใช่ และเป็นดังที่ท่านอาจารย์อาสภเถระบอก เพราะสามเณรคนนั้นสึกแล้วเป็นขโมย

    มีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ทางสำนักเดิมรับรองว่าบรรลุญาณ๑๖ แล้ว ไปปฏิบัติธรรมที่สำนักวิเวกอาศรม เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นไม่ได้บรรลุญาณ ๑๖ จริง จึงคิดทำการใหญ่ อยากเป็นเจ้าสำนัก จึงรวมหัวกันทำร้ายพระอาจารย์อาสภเถระจนท่านสลบ โชคดีที่ท่านไม่มรณภาพ พวกบรรลุญาณ๑๖เทียม เลยเข้าคุกไปตามระเบียบ



    ๑๓.ปี ๒๔๙๘ ศึกษาพระอภิธรรม กับอาจารย์เตชิน(ชาวพม่า) วัดระฆังโฆษิตาราม จังหวัดธนบุรี
    ๓ เดือน
    13. นิยายตุ๊กตาผลบอกให้ทราบว่าท่านป่าม่วงเรียนอภิธรรมที่วัดระฆังเมื่อ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ – มกราคม ๒๔๙๘



    ๑๔. กฎแห่งกรรม ......เล่มที่๕ ท่านป่าม่วงบอกว่าพบแม่ชุมศรีแม่ในอดีตชาติเมื่อ ๕ กุมภาพันธ์... และบอกว่าจำปีไม่ได้ (หมายถึงขณะที่กำลังเทศน์ ต้องกลับไปดูบันทึกจึงจะทราบ)
    14.โชคดีที่นิยายตุ๊กตาผลบอกให้ทราบว่าท่านป่าม่วงได้พบแม่ในอดีตชาติเมื่อ“๕กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘”



    ๑๕. ปี ๒๔๙๘ ศึกษาการพยากรณ์ จากสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) วัดสระเกศ จังหวัดพระนคร
    15. เป็นที่น่าสังเกตว่า นิยายตุ๊กตาผลเขียนว่า ท่านป่าม่วงประกาศว่าตนบรรลุญาณ ๑๖ แล้ว เป็นพระโสดาบัน เหมือนจบปริญญาตรีแล้ว หลังจากเรียนอภิธรรมวัดระฆัง ๓เดือนแล้วจึงกลับไปอยู่วัด

    ดังนั้นการศึกษาการพยากรณ์กับสมเด็จพระสังฆราชอยู่วัดสระเกศต้องหลังกลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ไปแล้ว แต่อยากตั้งข้อสังเกตว่า การศึกษาวิชาโหราศาสตร์นั้นผิดวิสัยของพระอริยบุคคล เพราะวิชาโหราศาสตร์จัดเป็นสีลัพพตปรามาส นั้นหมายความว่าท่านป่าม่วงยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคลเท่านั้นเอง สมจริงตามที่พระอาจารย์อาสภเถระไม่รับรองบุคคลที่ทางต้นสำนักของท่านป่าม่วงบอกว่าบรรลุญาณ ๑๖

    อ่านเพิ่มเติมจากเว็บ“พระอริยบุคคลเรียนวิชาโหราศาสตร์หรือไม่ ?” เพราะเหตุผลใด?
    http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4630777.html



    ๑๖. หนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม๕ เขียนว่า “ท่านป่าม่วงมีนิมิตกรรมฐานว่า เราก็รู้มาก่อนที่จะไปบ้านแม่...... ในนิมิตนี้ก็บอกว่า ไปรบทัพจับศึกกัน ยังรู้สึกว่าจำได้ว่ามันฟันอะไร เพราะอ้ายพม่ารามัญเตรียมจากธนบุรีตามลำน้ำ มันก็ขึ้นมาหมดแล้ว ไม่มีเหลือแล้ว และเราจำต้องไปรบกับพม่า ใช้เรือรบที่บางไทร ฆ่าพม่าตายมากมาย เลยพอดีโดนกลศึกวิธีคนไทยด้วยกัน ถีบเราหลุดตกน้ำถึงแก่ความตาย แล้วดาบนั้นพวกนี้เอาไป แล้วก็ซัดเซพเนจรไปเรื่อยๆ กระทั่งไปอยู่ถึงเชียงใหม่ แล้วล่องกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาตามเดิม แล้วเราก็นิมิตว่าเราตกน้ำตาย นี่อาตมาไม่ได้ดาบอาตมาตายไปแล้ว’ (กฏแห่งกรรม –ธรรมปฏิบัติ เล่ม ๕ หน้า ๖๔-๖๕)
    16. แต่นิยายตุ๊กตาผล “...ส่วนตัวท่านป่าม่วงซึ่งเป็นแม่ทัพจะหนีเอาตัวรอดไม่ได้ จึงจำใจสู้แม้ขาดขวัญและกำลังใจ ด้วยฝีมือและชั้นเชิงในการรบ ท่านไม่มีวันแพ้พม่าได้ แต่ฝ่ายพม่าใช้แผนสกปรก ใช้กลศึกวิธีฆ่าท่านจนได้ เมื่อทหารนำศพท่านใส่เรือมาส่งที่ศาลาท่าน้ำ แม่........วิ่งร้องให้มาจากบนเรือน ผ้าผ่อนท่อนสไบหลุดลุ่ย หล่อนกอดศพท่านร่ำให้จนปิ่มว่าจะขาดใจ และในชาตินี้หล่อนก็ได้มาเกิดอีก รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนไป

    จะเห็นว่าเรื่องเดียวกัน เหตุการณ์เดียวกัน ท่านป่าม่วงไม่เคยเล่าตรงกัน นี่เป็นเรื่องน่าคิด ว่าเป็นเรื่องที่เห็นในนิมิตจริง ๆ หรือเป็นเรื่องยกเมฆ เพราะว่าถ้าเห็นจริงพูดร้อยครั้งก็ต้องเหมือนกันร้อยครั้ง

    ถามว่าแม่ทัพคนเก่งของอยุธยา ที่ไม่มีใครสู้ได้ แม่ทัพคนอื่นต่างพากันอิจฉา อยากได้ตำแหน่งของตน แต่ไร้ความสามารถ ไม่รู้จักวิชาทางน้ำเลยเชียวหรือ แค่ถีบตกน้ำก็ถึงแก่ความตาย และที่น่าสงสัยยิ่ง ที่บอกว่าสารขัณฑ์ประเทศจะต้องนำแม่ทัพคนอื่นไปแลกเปลี่ยน พม่าหรือจะโง่ยอมแลกแม่ทัพคนเก่งกับแม่ทัพที่ไร้ฝีมือ เว้นแต่ได้เกลี่ยกล่อมให้แม่ทัพเชลยศึกคนนั้นเป็นใส้ศึกเรียบร้อยแล้วจึงจะยอมให้แลกเปลี่ยน ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่เคยมีปรากฏในประวัติศาสตร์แห่งสารขัณฑ์ประเทศ และที่น่าสังเกตท่านเทศน์ดูถูกคนไทย แล้วชี้ที่ตัวเองว่าตนไม่ใช่คนไทย ...... พ่อเป็น........ แม่เป็น.......

    จึงใคร่เชิญชวนนักประวัติศาสตร์ หันมาพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่ใช่กลัวต่อคำว่าพระอรหันต์ จนไม่กล้าทำอะไร อย่างที่นักวิชาการควรกระทำ เพราะพระอรหันต์จริง ท่านยินดีสนับสนุนให้ผู้คนพิสูจน์สิ่งที่ท่านพูดว่าจริงหรือเท็จ ไม่มีโทษ มีแต่คุณสถานเดียว เว้นแต่อรหันต์เทียมเท่านั้นที่กลัวการพิสูจน์



    ๑๗. คุณแม่ท้วมเป็นนางสาวท้วม หุตานุกรม ไม่เคยแต่งงาน ท่านมาอยู่วัดปากน้ำตั้งแต่อายุ ๓๕ ท่านเป็นหัวหน้าอุบาสิกาวัดปากน้ำและหัวหน้าโรงครัว (วุฑฺฒสีล, ๒๔๙๗, ประวัติ “คุณแม่” ใน นวกะ อนุสรณ์ ๒๔๙๗, วัดปากน้ำ, ภาษีเจริญ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยพณิชยการ, หน้า ๗๑ –๗๘. )
    17. แต่นิยายตุ๊กตาผล เขียนว่าท่านป่าม่วงบอกว่าโยมท้วม ครั้นสามีตายและลูกเต้าออกเหย้าออกเรือนกันไปหมด แกจึงมาอยู่วัดอย่างถาวรตอนอายุหกสิบพอดิบพอดี ซึ่งไม่ทราบว่าเขียนมาได้อย่างไร ไม่กลัวเขาจับได้หรือว่าเป็นเรื่องไม่จริง เป็นการทำลายเครดิตตัวเองโดยแท้ คงเป็นเรื่องนึกไม่ถึงว่าจะมีคนมาค้นพบความจริงในภายหลัง เพราะว่าความลับไม่มีในโลก



    ๑๘. เรื่องพระเวสสันดรในนิยายตุ๊กตาผลนั้น บอกว่าพระอินทร์เนรมิตต้นตุ๊กตาผล ๑๖ ต้น ให้ออกผลเฉพาะวันที่พระนางมัทรีออกหาอาหาร เพื่อป้องกันฤาษีลามกไม่ให้ไปลวนลามพระนางมัทรี เปิดโอกาสให้ฤาษีลามกเก็บตุ๊กตาผลไปทำเมีย และบอกว่าป่าหิมพานต์ที่พระเวสสันดรอยู่มีหิมะปกคลุม
    18.ถ้าป่าที่พระเวสสันดรอยู่มีหิมะปกคลุมจริง ตุ๊กตาผลก็จะกลายเป็นตุ๊กตาหิมะ ใครจะเอามาทำเมียได้ ป่าที่พระเวสสันดรอยู่ไม่ใช่ป่าหิมพานต์ ถ้าเป็นป่าหิมพานต์จริง ก็ต้องมีต้นนารีผลโดยธรรมชาติ ไม่ต้องให้ใครเนรมิต และนารีผลนี้จะอยู่ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น นานกว่านี้ก็จะเน่า และป่าที่พระเวสสันดรอยู่ ก็ไม่มีฤาษีลามกแม้แต่ตนเดียว มีพูดถึงฤาษีเพียงตนเดียวคืออจุตฤาษีซึ่งเป็นผู้บอกทางให้ชูชกไปพบพระเวสสันดร



    ๑๙. ท่านป่าม่วงเทศน์ที่สำนักปฏิบัติธรรมส่วนแก้ว เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ เทศน์ว่า **“อาจารย์แม่ชีหวานใจ ( เจ้านักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว) จิตท่านงอก จิตท่านสดใส ใจสะอาดเหมือนดวงแก้ว กล่าวคือนิพพาน ปราศจากโลภโกรธหลง ไม่มีอะไร ฉุดให้พะวักพะวง อยู่ในดวงใจให้ขุ่นมัวอีก นึกเงินไหลหนองนึกทองไหลมา” **
    19.อาจารย์แม่ชีหวานใจ ชูกร เป็นศิษย์หลวงพ่อโดยตรง ท่านไปสร้างสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว ที่อำเภอจอมบึง ปฏิบัติกรรมฐานสมถวิปัสสนาวิชชาธรรมกายมาตลอด ท่านเขียน หนังสือ “วิชชาพระธรรมกาย (ปราบมาร) ดังนั้นถ้าท่านจะเป็นพระอริยบุคคล ท่านก็เป็นด้วยวิชชาธรรมกาย การที่ท่านป่าม่วงพูดแบบนี้ก็ถือว่ารับรองวิชชาธรรรมกายไปในตัว ว่าวิชชาธรรมกายก็ทำให้คนบรรลุพระอรหันต์ได้ ไม่เป็นการขัดแย้งกับที่ท่านป่าม่วงชอบพูดว่าวิชชาธรรมกายแก้ทุกข์ประจำไม่ได้หรือ

    จากคุณ : ธารณธรรม - [ 18 ส.ค. 49 17:24:52 ]
    ------------------------------------------------------------



    ความคิดเห็นที่ 2

    อ่านกระทู้ “จิตท่านงอก จิตท่านสดใส ใจสะอาด เหมือนดวงแก้ว กล่าวแล้วนิพพาน” ชาวพุทธเข้าใจว่าอย่างไร ? http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4622966.html

    การที่ท่านป่าม่วงพูดหรือเขียนบิดเบือนบอกว่าหลวงพ่อสดบอกว่าวิชชาธรรมกายแก้ทุกข์ประจำไม่ได้ แต่แก้ทุกข์จรได้ และยังให้ร้ายวิชชาธรรมกายอีกด้วยว่าเป็นวิชชามุ่งให้ความร่ำรวยเป็นที่ตั้ง ไม่ได้มุ่งไปนิพพาน และกล่าวหาศิษย์วัดปากน้ำว่าจะเผาตำราที่เรียนกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุทิ้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างยิ่ง เป็นเรื่องที่นึกไม่ถึงว่า ท่านป่าม่วงที่มีบางคนเข้าใจว่าเป็นอรหันต์กล้ากระการนี้ตามลำพัง


    จะพิสูจน์ทราบได้อย่างไรว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำปฏิบัติกรรมฐานแบบไหน ? http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4534507.html

    หลวงพ่อวัดปากน้ำเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบหนอจริงหรือเท็จ?
    http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4537078.html

    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้พยายามทำให้ความจริงปรากฏขึ้นมา เหมือนพลิกภาชนะที่คว่ำให้หายขึ้น จนมองเห็นกระจ่างว่ามีอะไรในภาชนะนั้นบ้าง สามารถพิสูจน์ได้ทุกขั้นตอน มีเอกสารอ้างอิงไม่ใช่นั่งเทียนเขียน


    เป็นพระโยชน์ต่อพระศาสนา เป็นประโยชน์แก่ชาวพุทธที่ต้องการทราบความจริง ช่วยให้ชาวพุทธไม่ต้องทำบาป โดยไม่ต้องนำความเท็จไปบอกต่อๆกันไป ส่วนที่มีโทษนั้นมี คือผู้บิดเบือนและคณะคงไม่ชอบใจเป็นแน่ แต่ถ้าเทียบกับส่วนที่ได้ประโยชน์นั้นเทียบกันไม่ติด ถือว่าน้อยมาก เป็นการป้องปรามไม่ให้ใครคิดเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เขียนบิดเบือนให้ร้ายผู้อื่นในทำนองนี้อีก


    เนื่องจากความลับไม่มีในโลก ดังนั้นจะต้องมีคนมาพิสูจน์ทราบความจริงได้ในที่สุด แม้ว่าจะต้องใช้เวลาเป็นสิบๆปีในการแสวงหาข้อมูลก็ตาม เชื่อว่าเรื่องนี้ต่อไปคงได้ใช้เป็นกรณีศึกษาวิจัย แล้วผลการวิจัยนั้นจะได้รับการบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ศาสนาแห่งสารขัณพ์ประเทศในศตวรรษที่สองพันหกเป็นแน่


    ***ข้อสังเกตที่สำคัญมากที่สุดอันหนึ่งคือ บุคคลหรือพระเถระสำคัญที่ท่านป่าม่วงเอ่ยถึง หรือนิยายตุ๊กตาผลอ้างถึง จะเป็นบุคคลหรือพระเถระที่เสียชีวิตไปแล้วทั้งนั้น ไม่มีโอกาสจะมาชี้แจงข้อเท็จจริง เป็นการปิดโอกาสไม่ให้ใครที่สงสัยไปสักถามข้อเท็จจริงได้ ***


    ขอชี้แจงเรื่องใน http://www.jarun.org/v5/th/lrule06h0501.html ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่คุณมะตาดที่กรุณาส่งให้อ่าน การที่เขียนชมวิธีการของหลวงพ่อวัดปากน้ำอันนี้เป็นเทคนิคลวงผู้คนให้ตายใจ ว่าตนเป็นคนกตัญญู แต่ขอยืนยันว่าวิชาหลวงพ่อที่เอาไปใช้นั้นดีจริงๆ


    ในเว็บนี้ยังบอกว่าไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อ ๒ ครั้ง แต่สายไปแล้ว คงเป็นการเขียนแก้เกมหลังจากมีคนเขียนไปต่อว่าถึงสำนักป่าม่วง เพราะว่าถ้าเป็นคนทำอะไรตรงไปตรงมาก็ต้องเรียนสมเด็จฯวัดปากน้ำแล้วว่า มาเรียน๒ ครั้ง แต่กลับเรียนสมเด็จว่ามาเรียนปี ๒๔๙๖ ทำไมไม่กล้าบอกสมเด็จฯ ว่ามาเรียนปี ๒๔๙๓ มาเขียนที่หลังจะได้ประโยชน์อะไร


    จากข้อความในเว็บดังกล่าวที่ว่า“ขอบูชาพระสักกำเถอะ จะนำไปแจกญาติ” ท่านบอก “ไม่ได้ ต้องเอาไปองค์เดียว” อาตมาก็ไม่ทราบว่านโยบายท่านทำไมให้องค์เดียว อาตมาก็ไปเซ้าซี้ถามท่าน ท่านก็ตอบออกมาคำหนึ่ง........
    “หลวงพ่อครับ ญาติผมเยอะนะ” ก็ยังไปเซ้าซี้กับท่านอีก วันสุดท้ายท่านบอก “ตามใจ”
    อาตมาก็บอกว่า “ตามใจ อย่าให้เป็นบาปนะหลวงพ่อนะ” **หยิบใส่ย่ามมา** จะเป็นบาปหรือไม่ก็ไม่ทราบ ได้มาตั้งแต่พ.ศ.๒๔๙๖ เดี๋ยวนี้ไม่มีเหลือติดย่ามสักองค์เดียว”


    ท่านป่าม่วงเป็นบุคคลพิเศษอะไร ? หลวงพ่อจึงอนุญาตให้ยิบพระใส่ย่าม และที่ตุ๊กตาผลอ้างว่าได้เป็นศิษย์ก้นกุฏิเพราะเป็นหลานหลวงธารา โดยอ้างว่าหลวงธาราเคยไปทอดกฐินที่วัดปากน้ำ ขออภัยต้องขอบอกไม่เคยได้ยินชื่อหลวงธาราเลย เป็นเรื่องที่พูดเอาเอง ศิษย์หลวงพ่อทุกคนทราบดีว่าหลวงพ่อเล็กเป็นศิษย์ก้นกุฏิ
    เป็นไปไม่ได้ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำจะอนุญาตให้หยิบพระใส่ย่าม เพราะอะไร เพราะว่าแม้แต่สมเด็จสังฆราชปุ่น วัดโพธิ์ฯ หลานหลวงพ่อ รับใช้หลวงพ่อตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก เป็นสามเณรจนเป็นพระภิกษุ ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชตามคำพยากรณ์ของหลวงพ่อ หลวงพ่อยังให้พระของขวัญเพียงองค์เดียว เพราะหลวงพ่อสร้างพระของขวัญขึ้นมาเพื่อแจกเป็นของขวัญแก่คนที่มาทำบุญเพื่อสร้างอาคารโรงเรียนปริยัติธรรมวัดปากน้ำตั้งแต่ ๒๕ บาทขึ้นไป ไม่ว่าจะทำบุญเป็นพัน หรือเป็นหมื่นก็ให้องค์เดียว คือคนเดียวองค์เดียว ถ้าท่านมอบให้ใครเปล่า ๆ หลวงพ่อจะต้องเอาเงินส่วนตัวท่านออกแทน เพราะหลวงพ่อบอกว่าพระของขวัญท่านทำให้วัดไม่ใช่ของท่าน {สมเด็จพระสังฆราชปุ่น ครั้งมีสมณะศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต, ๒๕๒๙, ประวัติพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ)และอนุภาพธรรมกาย ใน พระมงคลเทพมุนี ประวัติหลวงพ่อ และคู่มือสมภาร. ๒๕๒๙ วัดปากน้ำ, ภาษีเจริญ, และสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, หน้า ๙๖}


    -->> หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านเป็นคนจริง พูดจริงทำจริง มีวาทะตรงกับใจ ไม่ชอบคนโกหก มีเมตตาธรรมสูง มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรมสูง มีความกล้าหาญ กล้าพูดกล้าสอน ไม่ครั่นคร้ามต่อใคร เมื่อเห็นดีอย่างไร ก็ปฏิบัติไปตามนั้น หลวงพ่อบอกว่าใครโกหกท่านเป็นคนหมดดี พระไม่ใช่ของท่าน มีหรือหลวงพ่อจะอนุญาตให้ท่านป่าม่วงยิบพระของขวัญใส่ย่าม โดยเฉพาะผู้มีบารมีอย่างหลวงพ่อ มีหรือจะไม่ทราบว่า ต่อไปในอนาคตท่านป่าม่วงจะให้ร้ายวิชชาธรรมกาย ดังที่กระทำอยู่ในปัจจุบัน


    และขอบคุณคุณมะตาดอีกครั้งหนึ่งที่ส่ง http://www.jarun.org/v5/th/lrule08h0102.html มาให้ ข้อความในเว็บที่ว่า “อาตมาได้ฟังเทศน์ลำดับญาณ โดยอาจารย์พม่ามาเทศน์และมีทูตมาแปลเป็นภาษาไทย ฟังพร้อมกับหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ เดิมทีอาตมาไม่ทราบว่าท่านมานั่งกรรมฐานที่วัดมหาธาตุฯ พอดีท่านเจ้าคุณอาจารย์ไปสอบอารมณ์ อาตมาก็ตามไปฟัง หลวงพ่อสดบอกอาตมาว่า เราเป็นขี้ข้าเขามาหลายสิบปี มีแต่นิมิตเครื่องหมายมากมาย และติดนิมิต พอกำหนด เห็นหนอ ๆ นิมิตธรรมกายหายไป ปัญญาเกิด และเข้าผลสมาบัติได้ถึง ๘๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นก็เข้านิโรธสมาบัติได้ด้วย อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้ว และท่านยังบอกอาตมาอีกว่า ถ้าเราอยู่เราจะสอนอย่างนี้ต่อไป แต่ถ้าเราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์”


    เป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างยิ่งหากศิษย์คิดล้างครู
    เป็นเรื่องที่ท่านป่าม่วงจินตนาการเอาเอง เพราะหลวงพ่อถูกเกณฑ์ให้เรียน ไม่ใช่มาเรียนเอง ท่านถูกเกณฑ์มาเรียน หลังท่านป่าม่วงเรียนจบไปแล้วประมาณ ๔ เดือน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ฟังเทศลำดับญาณพร้อมหลวงพ่อวัดปากน้ำ เป็นที่น่าสังเวชยิ่งที่เขียนว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำบอกตนว่า “เราเป็นขี้ข้าเขามาหลายสิบปี มีแต่นิมิตเครื่องหมายมากมาย และติดนิมิต พอกำหนด เห็นหนอ ๆ นิมิตธรรมกายหายไป ปัญญาเกิด และเข้าผลสมาบัติได้ถึง ๘๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นก็เข้านิโรธสมาบัติได้ด้วย อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้ว และท่านยังบอกอาตมาอีกว่า ถ้าเราอยู่เราจะสอนอย่างนี้ต่อไป แต่ถ้าเราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์” เป็นที่น่าสังเกตว่าท่านป่าม่วง ไม่กล้าเขียนว่าตนเรียนกับเจ้าคุณโชดกวันไหนเดือนไหน สำเร็จวันไหนเดือนไหน เพียงแต่บอกเรียนปี ๒๔๙๗


    เป็นข้อความที่ท่านป่าม่วงพูดไม่ตรงความจริงหรือไม่????

    เป็นที่น่าเวทนาแบบสุด ๆ เป็นคำเท็จจับได้ง่ายมากว่าเป็นคำมุสา ดังข้อความว่า “เราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์” เพราะเป็นไปไม่ได้ที่คนบรรลุญาณ ๑๖ แล้ว กลับเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากผู้มากไปด้วยความเมตตา กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว คิดจะเอาตัวรอดคนเดียว ไม่คิดช่วยเหลือศิษย์ที่มีจำนวนเป็นแสนเป็นล้านให้บรรลุคุณวิเศษเหมือนตน ไม่สมกับผู้บรรลุญาณ ๑๖ เลย แปลกจริงหนอ ๆ ๆ ๆ


    สวรรค์มีตา จึงทำให้สามารถมองเห็นเจตนาของผู้กล่าวหาหลวงพ่อวัดปากน้ำ ว่าจะเลิกวิชชาธรรมกาย ฯลฯ

    ที่ท่านป่าม่วงบอกว่า “อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้ว” นี้เป็นเหลี่ยมคูของผู้คนที่สุจริตหรือไม่?

    เพราะถ้ามุสาแบบนี้ สมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำมีชีวิตอยู่คงทำไม่ได้ เพราะคนคงไปถามหลวงพ่อ
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เหตุจากนิยายที่แต่งขึ้น เพื่อให้ความเท็จแก่หลวงปู่สด<!-- google_ad_section_end -->


    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->คิดไม่ถึง ไม่น่าเชื่อ เป็นได้ไง ! โปรดพินิจพิเคราะห์ตามกลักกาลามสูตร แล้วจะเห็นแจ้ง

    ท่านอัมพวัน ท่านป่าม่วงVS นิยายตุ๊กตาผล VS บรรยายธรรมที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว เป็นดังนี้คือ:

    ๑.ท่านป่าม่วงเกิดเมื่อ ปี ๒๔๗๑ ที่สารขัณฑ์ประเทศ



    ๒.ท่านป่าม่วงอุปสมบทเมื่อ ปี ๒๔๙๑ ณ วัดพรหมบุรี สิงห์นคร ขณะที่มีอายุ๑๙ ปี ๘ เดือน (เพราะปี ๒๔๘๓ หายไป ๓ เดือน คือเดือน มกรคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม โดยทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ของประเทศไทยจากวันที่ ๑๓ เมษายน ไปเป็นวันที่ ๑ มกราคม ตามอย่างสากล โดยถือเอาปี ๒๔๘๔ เป็นปีแรก

    2.นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี เพราะได้นับรวมอายุที่ในท้องแม่ประมาณ ๑๐ เดือน
    แต่คิดเพิ่ม ๑ ปี จึงเป็นมีอายุ ๒๐ปี ๘ เดือน



    ๓.ท่านป่าม่วงสำเร็จมัธยมปีที่๔จากโรงเรียนสุวิทดารามาส เมื่อ ปี ๒๔๘๗
    3.นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าท่านป่าม่วงเรียนมัธยมปีที่ ๔ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ แต่ไม่ปรากฏชื่อโรงเรียนสวนกุหลาบในประวัติท่านป่าม่วง



    ๔. ศึกษาดนตรีไทย มีปี่พาทย์มอญ แตรวงเครื่องสาย การประพันธ์บทขับร้อง จากโยมบิดาและคุณหลวงธารา ต่อมาคุณปู่ พันตรี หลวงธารา ได้นำพระคุณเจ้าเข้าฝากตัวกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าศึกษาโรงเรียนนายตำรวจ พระคุณเจ้าศึกษาอยู่ประมาณ ๑ เดือน จึงขอลาออกเนื่องจากไม่ถูกอัธยาศัยในวิชานี้

    4.แต่นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าเรียนดนตรีไทยกับหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ต่อมาหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้พาไปพบจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อขอให้ฝากเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ท่านป่าม่วงเรียนนายร้อยตำรวจเพียงสามเดือน ก็ขอลาออก โดยอ้างว่าโดนรุ่นพี่กลั่นแกล้ง

    ยิ่งกว่านี้นิยายตุ๊กตาผลยังบอกต่อไปว่า หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้พาไปเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม และบอกว่าจอมพล ป. พาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เพื่อเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ในประวัติท่านป่าม่วงไม่ได้เป็นศิษย์หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ดังนั้นเรื่องที่ว่าจอมพล ป. พาเข้าเฝ้า *สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเพื่อเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์นั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสงสัย เป็นการไม่สมควร เป็นการอาจเอื้อมเบื้องสูง*



    ๕. ปี ๒๔๙๑ ศึกษาพระธรรมวินัย และวิปัสสนากรรมฐาน (จากหนังสือเลื่อนสมณศักดิ์ชั้นเทพ)

    5.แต่ในหนังสือกฎแห่งกรรม...เล่ม ๑ บอกว่า ศึกษาพระธรรมวินัย เพียงอย่างเดียว



    ๖. ปี ๒๔๙๓ ศึกษากัมมัฏฐานกับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) อำเภอหนองโพธิ์
    จังหวัดนครสวรรค์

    6.นิยายตุ๊กตาผลบอกว่าศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อเดิม ระหว่างปลายปี ๒๔๙๑ - ต้นปี ๒๔๙๒ เป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อเดิม และได้เรียนวิชาคชศาสตร์เป็นคนแรกและคนสุดท้าย”
    แต่มีข้อสังเกตนิดหนึ่งที่นิยายตุ๊กตาผล ไม่ได้กล่าวถึงกิจที่หลวงพ่อเดิม ท่านตื่นที ๔ เพื่อปฏิบัติกรรมฐานทุกวัน และมีหนังสือ๒ เล่มติดตัวหลวงพ่อเดิมอยู่ตลอดเวลาคือ ๑. มูลสมถะและทางวิปัสสนา และพระอภิธรรมภายใน(รัตนะและคณะ, ๒๕๔๖(?), พระอภิญญาเมืองสยาม, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฉัตรแก้ว,หน้า๑๘).



    ๗.ปี ๒๔๙๓ ศึกษาและ “ปฏิบัติสมถกรรมฐาน” วิชชาธรรมกาย กับพระภาวนาโกศลเถระ(สด จันฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (จากหนังสือเลื่อนสมณะศักดิ์ชั้นเทพ..... ๒๕๔๔)

    7.1ตรงกันกับที่ท่านป่าม่วงเทศน์ที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้วเมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ ว่ามาเรียนวิชชาธรรมกายกับหลวงพ่อวัดปากน้ำปี ๒๔๙๓และสำเร็จวิชชาธรรมกายในปีนั้นด้วย

    7.2 ตรงกับนิยายตุ๊กตาผลที่บ่งบอกว่า ท่านป่าม่วงเรียนวิชชาธรรมกาย กับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ครั้งแรก ปี ๒๔๙๓ แต่ต่างกันที่ตุ๊กตาผลไม่ได้บอกว่าท่านป่าม่วงสำเร็จวิชชาธรรมกายในปี ๒๔๙๓



    ๘. ในประวัติท่านป่าม่วงไม่พูดถึงหลวงปู่ศุขวัดมะขามเลย

    8. แต่นิยายตุ๊กตาผล บอกว่าไปเรียนวิชาอาคมกับหลวงปู่ศุขโดยตรง ทั้งๆที่หลวงปู่ศุขมรณภาพ

    ก่อนท่านป่าม่วงเกิดประมาณประมาณ๕ปีครึ่ง คือหลวงปู่ศุข มรณภาพ ปี ๒๔๖๖ .(ประเจียด คงศาสตรา,...๒๕๓๕(?) ,ประวัติ อภินิหาร คาถาอาคม และพระเครื่อง หลวงปู่ศุข วัดคลองมะขามเฒ่า, พิมพ์ครั้งที่ ๑ ,กรุงเทพฯ:สำนักงานนิตยสารโอม, หน้า๕๐) ส่วนท่านป่าม่วงเกิดปี ๒๔๗๑



    ๙. ปี๒๔๙๔ ศึกษาและปฏิบัติกรรมฐานกับพระสุทธิธรรมรังสี(หลวงพ่อลี ธมฺมโร) วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และท่านเจ้าพระคุณอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดข่อนแก่น
    9.นิยายตุ๊กตาผล บอกว่าเรียนสะเดาะกุญแจกับหลวงพ่อลี และติดตามหลวงพ่อลีไปวัดบางปิ้ง ทั้งที่ปี ๒๔๙๔ วัดอโศการามยังไม่เกิด นางกิมหงษ์และนายสุเมธ ไกรกาญจน์ ได้ถวายที่ดินชื่อ “นามาขาว” เนื้อที่ประมาณ ๕๓ ไร่ เมื่อปี ๒๔๙๗ ได้ตั้งเป็นสำนักขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ (พระประวัติ พระสุทธิธรรมรังสัมภีรเมธาจารย์ ,๒๕๑๔, หน้า๙๔)

    ที่สำคัญท่านพ่อลีไม่เคยธุดงค์ผ่านถิ่นท่านป่าม่วง ท่านพ่อลีไม่สนใจเดรัจฉานวิชา ท่านสอนไม่ให้คนเชื่อผี ท่านมีบารมีด้านพระธาตุเป็นพิเศษ *โดยเฉพาะ ท่านเตรียมเดินทางไปทางประเทศตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ ออกเดินทางไปพม่าตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ แล้วเดินทางต่อไปจำพรรษาที่ประเทศอินเดีย ออกพรรษาแล้ว เดินทางกลับพม่า ท่านเดินทางกลับประเทศไทยในเดือน ธันวาคม ๒๔๙๔ และพักอยู่กับสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน) ที่วัดบรมนิเวส ได้ตรึกตรองอยู่หลายวัน เกือบๆจะได้รับอนุญาตให้เดินทางจึงเดินทางไปพม่าอีก* ก็เผอิญมีบางเรื่องบางอย่างแทรกซึมเข้ามา ............ จึงได้เดินทางกลับไปเยี่ยมญาติโยมที่จังหวัดจันทบุรี อยู่มาจวนจะเข้าพรรษาก็ได้เดินทางจากจันทบุรี กลับมาพักอยู่ที่วัดบรมนิเวสตามเคย{ พระประวัติ พระสุทธิธรรมรังสัมภีรเมธาจารย์(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) ซึ่งท่านพ่อลีเล่าเอง พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๕ หน้า ๖๔ –๖๘ [หนังสือเล่มนี้ พลโท(ยศขณะนั้น) พงษ์ ปุณณกัณต์ เป็นประธานจัดพิมพ์] วัดอโศการาม โทร ๐๒ ๓๘๙-๒๒๙๙, ๐๒ ๓๙๕-๐๐๐๓ }

    จะเห็นว่าทั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ จนหมดปี ๒๔๙๔ ท่านพ่อลีไม่ว่าง จึงเป็นไปไม่ได้ที่ท่านป่าม่วงจะมีโอกาสพบท่านพ่อลีที่ถิ่นท่านป่าม่วง อีกประการหนึ่งท่านพ่อลีสอนกรรมฐานโดยใช้อานาปานสติ ซึ่งท่านป่าม่วงบอกว่ารู้สึกขยาดกรรมฐานอานาปานสติของหลวงพ่อพูน แล้วจะมาเรียนกรรมฐานกับท่านพ่อลีได้อย่างไร? ไม่เข้าใจว่าทำไมได้เขียนเรื่องแบบนี้ลงไปในประวัติของตนและในตุ๊กตาผล ทั้งๆเรื่องนี้สามารถพิสูจน์ทราบได้ไม่ยากว่าว่าเป็นไปไม่ได้ อยากให้ช่วยกันวิจารณ์ว่า อะไรเป็นเหตุให้เขียนเรื่องที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือเป็นว่าเป็นนโยบายที่บอกให้ใครๆทราบว่า ท่านป่าม่วงมีพระอาจารย์ดังทุกสาย



    ๑๐. ปี ๒๔๙๖ ท่านป่าม่วง ศึกษา *วิชาสมถวิปัสสนา* กับพระภาวนาโกศลเถร (สด จนฺทสโร) หรือหลวงพ่อวัดปากน้ำ อ.ภาษีเจริญ จ. ธนบุรี (หนังสือกฏแห่งกรรม.......... เล่ม ๑ ) เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่ตรงกับข้อมูลหนังสือที่ระลึกในงานเลื่อนสมณะศักดิ์ชั้นเทพ ที่บอกว่า ปี ๒๔๙๓ ศึกษาและ*ปฏิบัติสมถกรรมฐาน* วิชชาธรรมกาย กับ พระภาวนาโกศลเถระ (สด จันทฺสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี
    10. ที่แปลกเอามาก ๆ ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ท่านป่าม่วงเขียนจดหมายเรียนเจ้าประคุณสมเด็จฯวัดปากน้ำว่าเคยมาเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อวัดปากน้ำในปี ๒๔๙๖ (หนังสือ..ชั้นเทพ หน้าโมทนาพจน์ ๓) ซึ่งแสดงว่าต้องมาเรียนวิชชาธรรมกายกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ๒ ครั้ง คือครั้งแรก ๒๔๙๓ และครั้งสอง มาเรียน ๒๔๙๖ น่าเสียดายที่ท่านป่าม่วงไม่ได้เรียนเจ้าประคุณสมเด็จฯวัดปากน้ำอย่างตรงไปตรงมา ว่าเคยมาเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อ ๒ ครั้ง คือครั้งแรกมาเรียนปี ๒๔๙๓ ครั้งที่๒ เรียนในปี ๒๔๙๖ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง



    ๑๑. ท่านป่าม่วงเทศน์ที่สำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ ว่ามาเรียนวิชชาธรรมกายเมื่อ ปี ๒๔๙๓ และบอกว่าตนได้ธรรมกายบนรถเมล์ขาว ในปีนั้นด้วย และบอกว่าเห็นคนสิงห์บุรี ๓* คน กำลังกราบหน้า พระรูปรัชการที่๑
    11.แต่ที่น่าสังเกต ในนิยายตุ๊กตาผลบอกว่าพอสำเร็จวิชชาธรรมกาย ก็มองว่าเห็นคนสิงห์บุรี ๑ *คน อยู่หน้าพระรูปรัชกาลที่๑ ทำไมจำนวนคนที่เห็นไม่เท่ากัน ในเมื่ออยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน นี้ต่างกันถึง ๒ คน
    นิยายตุ๊กตาผลนั้นบ่งชี้ว่าท่านป่าม่วงอ้างว่าสำเร็จวิชชาธรรมกายในปี ๒๔๙๖ ไม่ใช่ปี ๒๔๙๓

    *ที่ว่าสำเร็จวิชชาธรรมกายนั้น ขอบอกว่าไม่ใช่ การสำเร็จวิชชาธรรมกายนั้น จะต้องเดิน ๑๘ กายได้แบบทั้งรู้ทั้งเห็น จึงจะถือว่าสำเร็จวิชชาธรรมกายตามคำสอนของหลวงพ่อวัดปากน้ำ*

    แก้ไขเมื่อ 18 ส.ค. 49 17:44:04

    จากคุณ : ธารณธรรม - [ 18 ส.ค. 49 17:23:44 ]

    ----------------------------------------------------------



    ๑๒. ปี ๒๔๙๗ ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน กับเจ้าคุณอาจารย์พระอุดมวิชาญาณเถระ วัดมหาธาตุ จังหวัดพระนคร ต่อมาเป็นพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าคณะภาค๙(พระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ)

    12.นิยายมักกะลีผลบอกให้ทราบว่าท่านป่าม่วงเรียนกรรมฐานกับท่านเจ้าคุณโชดกเมื่อ“เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม ๒๔๙๗” ดังนั้นท่านป่าม่วงต้องได้ฟังการเทศน์ลำดับญาณปลายเดือนตุลาคม ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่วัดระฆังเพื่อเรียนอภิธรรมที่วัดระฆังเป็นเวลา ๓ เดือน

    จึงเป็นไปไม่ได้ที่ท่านป่าม่วงจะได้ฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี เพราะพระองค์ท่านทรงเริ่มปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ หลักสูตร ๑ เดือน ดังนั้นการบอกใครๆ เขียนในเว็บ หรือ**เขียนประกาศว่าฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี นั้นเป็นการอาจเอื้อมเบื้องสูงโดยแท้ ถ้ามีการเอาเรื่องนี้ขึ้นสู่โรงศาล คงมีคนต้องคดีหลายคน**

    *และเป็นไปไม่ได้ที่ได้ฟังเทศน์ลำดับญาณพร้อมหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่ถูกเกณฑ์ให้เรียนกรรมฐานแบบหนอเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ หลักสูตร ๑ เดือน เพราะท่านป่าม่วงออกจากวัดมหาธาตุไปแล้วประมาณ ๓-๔ เดือน เพราะการฟังเทศน์ลำดับญาณนั้น เขาฟังกันเฉพาะผู้ที่บรรลุญาณ ๑๖ ใหม่ ๆ ไม่ใช่จบไปตั้งนานแล้วกลับมาฟังพร้อมผู้เพิ่งจบ* ไม่มีสำนักปฏิบัติกรรมฐานแบบหนอที่ไหนเขาปฏิบัติกัน

    ***ดังนั้นเรื่องที่บอกว่าได้ฟังได้ยินเรื่องที่หลวงพ่อวัดปากน้ำพูดกับเจ้าคุณโชดก จึงเป็นไปไม่ได้ เป็นการจินตนาการเขียนเอาเอง***

    เป็นที่ทราบกันดีสำหรับพวกปฏิบัติกรรมฐานสายหนอ ว่าสำนักวิเวกอาศรม ชลบุรี สมัยที่พระอาจารย์อาสภเถระเป็นเจ้าสำนัก หลวงพ่อเดือนเป็นผู้ช่วยนั้น ทางสำนักวิเวกอาศรมไม่รับรองผู้ที่ต้นสำนักท่านป่าม่วงบอกว่าบรรลุญาณ ๑๖ เพราะเคยมีตัวอย่างที่ต้นสำนักรับรองสามเณรรูปหนึ่งเข้าใจว่าเป็นรูปแรกเพราะเห็นตื่นเต้นกันใหญ่ แต่พระอาจารย์อาสถเถระท่านคัดค้านว่าไม่ใช่ และเป็นดังที่ท่านอาจารย์อาสภเถระบอก เพราะสามเณรคนนั้นสึกแล้วเป็นขโมย

    มีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ทางสำนักเดิมรับรองว่าบรรลุญาณ๑๖ แล้ว ไปปฏิบัติธรรมที่สำนักวิเวกอาศรม เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นไม่ได้บรรลุญาณ ๑๖ จริง จึงคิดทำการใหญ่ อยากเป็นเจ้าสำนัก จึงรวมหัวกันทำร้ายพระอาจารย์อาสภเถระจนท่านสลบ โชคดีที่ท่านไม่มรณภาพ พวกบรรลุญาณ๑๖เทียม เลยเข้าคุกไปตามระเบียบ



    ๑๓.ปี ๒๔๙๘ ศึกษาพระอภิธรรม กับอาจารย์เตชิน(ชาวพม่า) วัดระฆังโฆษิตาราม จังหวัดธนบุรี
    ๓ เดือน
    13. นิยายตุ๊กตาผลบอกให้ทราบว่าท่านป่าม่วงเรียนอภิธรรมที่วัดระฆังเมื่อ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ – มกราคม ๒๔๙๘



    ๑๔. กฎแห่งกรรม ......เล่มที่๕ ท่านป่าม่วงบอกว่าพบแม่ชุมศรีแม่ในอดีตชาติเมื่อ ๕ กุมภาพันธ์... และบอกว่าจำปีไม่ได้ (หมายถึงขณะที่กำลังเทศน์ ต้องกลับไปดูบันทึกจึงจะทราบ)
    14.โชคดีที่นิยายตุ๊กตาผลบอกให้ทราบว่าท่านป่าม่วงได้พบแม่ในอดีตชาติเมื่อ“๕กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘”



    ๑๕. ปี ๒๔๙๘ ศึกษาการพยากรณ์ จากสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) วัดสระเกศ จังหวัดพระนคร
    15. เป็นที่น่าสังเกตว่า นิยายตุ๊กตาผลเขียนว่า ท่านป่าม่วงประกาศว่าตนบรรลุญาณ ๑๖ แล้ว เป็นพระโสดาบัน เหมือนจบปริญญาตรีแล้ว หลังจากเรียนอภิธรรมวัดระฆัง ๓เดือนแล้วจึงกลับไปอยู่วัด

    ดังนั้นการศึกษาการพยากรณ์กับสมเด็จพระสังฆราชอยู่วัดสระเกศต้องหลังกลางเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๙๘ไปแล้ว แต่อยากตั้งข้อสังเกตว่า การศึกษาวิชาโหราศาสตร์นั้นผิดวิสัยของพระอริยบุคคล เพราะวิชาโหราศาสตร์จัดเป็นสีลัพพตปรามาส นั้นหมายความว่าท่านป่าม่วงยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคลเท่านั้นเอง สมจริงตามที่พระอาจารย์อาสภเถระไม่รับรองบุคคลที่ทางต้นสำนักของท่านป่าม่วงบอกว่าบรรลุญาณ ๑๖

    อ่านเพิ่มเติมจากเว็บ“พระอริยบุคคลเรียนวิชาโหราศาสตร์หรือไม่ ?” เพราะเหตุผลใด?
    http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4630777.html



    ๑๖. หนังสือกฎแห่งกรรมเล่ม๕ เขียนว่า “ท่านป่าม่วงมีนิมิตกรรมฐานว่า เราก็รู้มาก่อนที่จะไปบ้านแม่...... ในนิมิตนี้ก็บอกว่า ไปรบทัพจับศึกกัน ยังรู้สึกว่าจำได้ว่ามันฟันอะไร เพราะอ้ายพม่ารามัญเตรียมจากธนบุรีตามลำน้ำ มันก็ขึ้นมาหมดแล้ว ไม่มีเหลือแล้ว และเราจำต้องไปรบกับพม่า ใช้เรือรบที่บางไทร ฆ่าพม่าตายมากมาย เลยพอดีโดนกลศึกวิธีคนไทยด้วยกัน ถีบเราหลุดตกน้ำถึงแก่ความตาย แล้วดาบนั้นพวกนี้เอาไป แล้วก็ซัดเซพเนจรไปเรื่อยๆ กระทั่งไปอยู่ถึงเชียงใหม่ แล้วล่องกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาตามเดิม แล้วเราก็นิมิตว่าเราตกน้ำตาย นี่อาตมาไม่ได้ดาบอาตมาตายไปแล้ว’ (กฏแห่งกรรม –ธรรมปฏิบัติ เล่ม ๕ หน้า ๖๔-๖๕)
    16. แต่นิยายตุ๊กตาผล “...ส่วนตัวท่านป่าม่วงซึ่งเป็นแม่ทัพจะหนีเอาตัวรอดไม่ได้ จึงจำใจสู้แม้ขาดขวัญและกำลังใจ ด้วยฝีมือและชั้นเชิงในการรบ ท่านไม่มีวันแพ้พม่าได้ แต่ฝ่ายพม่าใช้แผนสกปรก ใช้กลศึกวิธีฆ่าท่านจนได้ เมื่อทหารนำศพท่านใส่เรือมาส่งที่ศาลาท่าน้ำ แม่........วิ่งร้องให้มาจากบนเรือน ผ้าผ่อนท่อนสไบหลุดลุ่ย หล่อนกอดศพท่านร่ำให้จนปิ่มว่าจะขาดใจ และในชาตินี้หล่อนก็ได้มาเกิดอีก รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนไป

    จะเห็นว่าเรื่องเดียวกัน เหตุการณ์เดียวกัน ท่านป่าม่วงไม่เคยเล่าตรงกัน นี่เป็นเรื่องน่าคิด ว่าเป็นเรื่องที่เห็นในนิมิตจริง ๆ หรือเป็นเรื่องยกเมฆ เพราะว่าถ้าเห็นจริงพูดร้อยครั้งก็ต้องเหมือนกันร้อยครั้ง

    ถามว่าแม่ทัพคนเก่งของอยุธยา ที่ไม่มีใครสู้ได้ แม่ทัพคนอื่นต่างพากันอิจฉา อยากได้ตำแหน่งของตน แต่ไร้ความสามารถ ไม่รู้จักวิชาทางน้ำเลยเชียวหรือ แค่ถีบตกน้ำก็ถึงแก่ความตาย และที่น่าสงสัยยิ่ง ที่บอกว่าสารขัณฑ์ประเทศจะต้องนำแม่ทัพคนอื่นไปแลกเปลี่ยน พม่าหรือจะโง่ยอมแลกแม่ทัพคนเก่งกับแม่ทัพที่ไร้ฝีมือ เว้นแต่ได้เกลี่ยกล่อมให้แม่ทัพเชลยศึกคนนั้นเป็นใส้ศึกเรียบร้อยแล้วจึงจะยอมให้แลกเปลี่ยน ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่เคยมีปรากฏในประวัติศาสตร์แห่งสารขัณฑ์ประเทศ และที่น่าสังเกตท่านเทศน์ดูถูกคนไทย แล้วชี้ที่ตัวเองว่าตนไม่ใช่คนไทย ...... พ่อเป็น........ แม่เป็น.......

    จึงใคร่เชิญชวนนักประวัติศาสตร์ หันมาพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่ใช่กลัวต่อคำว่าพระอรหันต์ จนไม่กล้าทำอะไร อย่างที่นักวิชาการควรกระทำ เพราะพระอรหันต์จริง ท่านยินดีสนับสนุนให้ผู้คนพิสูจน์สิ่งที่ท่านพูดว่าจริงหรือเท็จ ไม่มีโทษ มีแต่คุณสถานเดียว เว้นแต่อรหันต์เทียมเท่านั้นที่กลัวการพิสูจน์



    ๑๗. คุณแม่ท้วมเป็นนางสาวท้วม หุตานุกรม ไม่เคยแต่งงาน ท่านมาอยู่วัดปากน้ำตั้งแต่อายุ ๓๕ ท่านเป็นหัวหน้าอุบาสิกาวัดปากน้ำและหัวหน้าโรงครัว (วุฑฺฒสีล, ๒๔๙๗, ประวัติ “คุณแม่” ใน นวกะ อนุสรณ์ ๒๔๙๗, วัดปากน้ำ, ภาษีเจริญ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยพณิชยการ, หน้า ๗๑ –๗๘. )
    17. แต่นิยายตุ๊กตาผล เขียนว่าท่านป่าม่วงบอกว่าโยมท้วม ครั้นสามีตายและลูกเต้าออกเหย้าออกเรือนกันไปหมด แกจึงมาอยู่วัดอย่างถาวรตอนอายุหกสิบพอดิบพอดี ซึ่งไม่ทราบว่าเขียนมาได้อย่างไร ไม่กลัวเขาจับได้หรือว่าเป็นเรื่องไม่จริง เป็นการทำลายเครดิตตัวเองโดยแท้ คงเป็นเรื่องนึกไม่ถึงว่าจะมีคนมาค้นพบความจริงในภายหลัง เพราะว่าความลับไม่มีในโลก



    ๑๘. เรื่องพระเวสสันดรในนิยายตุ๊กตาผลนั้น บอกว่าพระอินทร์เนรมิตต้นตุ๊กตาผล ๑๖ ต้น ให้ออกผลเฉพาะวันที่พระนางมัทรีออกหาอาหาร เพื่อป้องกันฤาษีลามกไม่ให้ไปลวนลามพระนางมัทรี เปิดโอกาสให้ฤาษีลามกเก็บตุ๊กตาผลไปทำเมีย และบอกว่าป่าหิมพานต์ที่พระเวสสันดรอยู่มีหิมะปกคลุม
    18.ถ้าป่าที่พระเวสสันดรอยู่มีหิมะปกคลุมจริง ตุ๊กตาผลก็จะกลายเป็นตุ๊กตาหิมะ ใครจะเอามาทำเมียได้ ป่าที่พระเวสสันดรอยู่ไม่ใช่ป่าหิมพานต์ ถ้าเป็นป่าหิมพานต์จริง ก็ต้องมีต้นนารีผลโดยธรรมชาติ ไม่ต้องให้ใครเนรมิต และนารีผลนี้จะอยู่ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น นานกว่านี้ก็จะเน่า และป่าที่พระเวสสันดรอยู่ ก็ไม่มีฤาษีลามกแม้แต่ตนเดียว มีพูดถึงฤาษีเพียงตนเดียวคืออจุตฤาษีซึ่งเป็นผู้บอกทางให้ชูชกไปพบพระเวสสันดร



    ๑๙. ท่านป่าม่วงเทศน์ที่สำนักปฏิบัติธรรมส่วนแก้ว เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑ เทศน์ว่า **“อาจารย์แม่ชีหวานใจ ( เจ้านักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว) จิตท่านงอก จิตท่านสดใส ใจสะอาดเหมือนดวงแก้ว กล่าวคือนิพพาน ปราศจากโลภโกรธหลง ไม่มีอะไร ฉุดให้พะวักพะวง อยู่ในดวงใจให้ขุ่นมัวอีก นึกเงินไหลหนองนึกทองไหลมา” **
    19.อาจารย์แม่ชีหวานใจ ชูกร เป็นศิษย์หลวงพ่อโดยตรง ท่านไปสร้างสำนักปฏิบัติธรรมสวนแก้ว ที่อำเภอจอมบึง ปฏิบัติกรรมฐานสมถวิปัสสนาวิชชาธรรมกายมาตลอด ท่านเขียน หนังสือ “วิชชาพระธรรมกาย (ปราบมาร) ดังนั้นถ้าท่านจะเป็นพระอริยบุคคล ท่านก็เป็นด้วยวิชชาธรรมกาย การที่ท่านป่าม่วงพูดแบบนี้ก็ถือว่ารับรองวิชชาธรรรมกายไปในตัว ว่าวิชชาธรรมกายก็ทำให้คนบรรลุพระอรหันต์ได้ ไม่เป็นการขัดแย้งกับที่ท่านป่าม่วงชอบพูดว่าวิชชาธรรมกายแก้ทุกข์ประจำไม่ได้หรือ

    จากคุณ : ธารณธรรม - [ 18 ส.ค. 49 17:24:52 ]
    ------------------------------------------------------------



    ความคิดเห็นที่ 2

    อ่านกระทู้ “จิตท่านงอก จิตท่านสดใส ใจสะอาด เหมือนดวงแก้ว กล่าวแล้วนิพพาน” ชาวพุทธเข้าใจว่าอย่างไร ? http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4622966.html

    การที่ท่านป่าม่วงพูดหรือเขียนบิดเบือนบอกว่าหลวงพ่อสดบอกว่าวิชชาธรรมกายแก้ทุกข์ประจำไม่ได้ แต่แก้ทุกข์จรได้ และยังให้ร้ายวิชชาธรรมกายอีกด้วยว่าเป็นวิชชามุ่งให้ความร่ำรวยเป็นที่ตั้ง ไม่ได้มุ่งไปนิพพาน และกล่าวหาศิษย์วัดปากน้ำว่าจะเผาตำราที่เรียนกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุทิ้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างยิ่ง เป็นเรื่องที่นึกไม่ถึงว่า ท่านป่าม่วงที่มีบางคนเข้าใจว่าเป็นอรหันต์กล้ากระการนี้ตามลำพัง


    จะพิสูจน์ทราบได้อย่างไรว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำปฏิบัติกรรมฐานแบบไหน ? http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4534507.html

    หลวงพ่อวัดปากน้ำเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบหนอจริงหรือเท็จ?
    http://www.pantip.com/cafe/religious.../Y4537078.html

    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้พยายามทำให้ความจริงปรากฏขึ้นมา เหมือนพลิกภาชนะที่คว่ำให้หายขึ้น จนมองเห็นกระจ่างว่ามีอะไรในภาชนะนั้นบ้าง สามารถพิสูจน์ได้ทุกขั้นตอน มีเอกสารอ้างอิงไม่ใช่นั่งเทียนเขียน


    เป็นพระโยชน์ต่อพระศาสนา เป็นประโยชน์แก่ชาวพุทธที่ต้องการทราบความจริง ช่วยให้ชาวพุทธไม่ต้องทำบาป โดยไม่ต้องนำความเท็จไปบอกต่อๆกันไป ส่วนที่มีโทษนั้นมี คือผู้บิดเบือนและคณะคงไม่ชอบใจเป็นแน่ แต่ถ้าเทียบกับส่วนที่ได้ประโยชน์นั้นเทียบกันไม่ติด ถือว่าน้อยมาก เป็นการป้องปรามไม่ให้ใครคิดเอาเป็นเยี่ยงอย่าง เขียนบิดเบือนให้ร้ายผู้อื่นในทำนองนี้อีก


    เนื่องจากความลับไม่มีในโลก ดังนั้นจะต้องมีคนมาพิสูจน์ทราบความจริงได้ในที่สุด แม้ว่าจะต้องใช้เวลาเป็นสิบๆปีในการแสวงหาข้อมูลก็ตาม เชื่อว่าเรื่องนี้ต่อไปคงได้ใช้เป็นกรณีศึกษาวิจัย แล้วผลการวิจัยนั้นจะได้รับการบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ศาสนาแห่งสารขัณพ์ประเทศในศตวรรษที่สองพันหกเป็นแน่


    ***ข้อสังเกตที่สำคัญมากที่สุดอันหนึ่งคือ บุคคลหรือพระเถระสำคัญที่ท่านป่าม่วงเอ่ยถึง หรือนิยายตุ๊กตาผลอ้างถึง จะเป็นบุคคลหรือพระเถระที่เสียชีวิตไปแล้วทั้งนั้น ไม่มีโอกาสจะมาชี้แจงข้อเท็จจริง เป็นการปิดโอกาสไม่ให้ใครที่สงสัยไปสักถามข้อเท็จจริงได้ ***


    ขอชี้แจงเรื่องใน http://www.jarun.org/v5/th/lrule06h0501.html ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่คุณมะตาดที่กรุณาส่งให้อ่าน การที่เขียนชมวิธีการของหลวงพ่อวัดปากน้ำอันนี้เป็นเทคนิคลวงผู้คนให้ตายใจ ว่าตนเป็นคนกตัญญู แต่ขอยืนยันว่าวิชาหลวงพ่อที่เอาไปใช้นั้นดีจริงๆ


    ในเว็บนี้ยังบอกว่าไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อ ๒ ครั้ง แต่สายไปแล้ว คงเป็นการเขียนแก้เกมหลังจากมีคนเขียนไปต่อว่าถึงสำนักป่าม่วง เพราะว่าถ้าเป็นคนทำอะไรตรงไปตรงมาก็ต้องเรียนสมเด็จฯวัดปากน้ำแล้วว่า มาเรียน๒ ครั้ง แต่กลับเรียนสมเด็จว่ามาเรียนปี ๒๔๙๖ ทำไมไม่กล้าบอกสมเด็จฯ ว่ามาเรียนปี ๒๔๙๓ มาเขียนที่หลังจะได้ประโยชน์อะไร


    จากข้อความในเว็บดังกล่าวที่ว่า“ขอบูชาพระสักกำเถอะ จะนำไปแจกญาติ” ท่านบอก “ไม่ได้ ต้องเอาไปองค์เดียว” อาตมาก็ไม่ทราบว่านโยบายท่านทำไมให้องค์เดียว อาตมาก็ไปเซ้าซี้ถามท่าน ท่านก็ตอบออกมาคำหนึ่ง........
    “หลวงพ่อครับ ญาติผมเยอะนะ” ก็ยังไปเซ้าซี้กับท่านอีก วันสุดท้ายท่านบอก “ตามใจ”
    อาตมาก็บอกว่า “ตามใจ อย่าให้เป็นบาปนะหลวงพ่อนะ” **หยิบใส่ย่ามมา** จะเป็นบาปหรือไม่ก็ไม่ทราบ ได้มาตั้งแต่พ.ศ.๒๔๙๖ เดี๋ยวนี้ไม่มีเหลือติดย่ามสักองค์เดียว”


    ท่านป่าม่วงเป็นบุคคลพิเศษอะไร ? หลวงพ่อจึงอนุญาตให้ยิบพระใส่ย่าม และที่ตุ๊กตาผลอ้างว่าได้เป็นศิษย์ก้นกุฏิเพราะเป็นหลานหลวงธารา โดยอ้างว่าหลวงธาราเคยไปทอดกฐินที่วัดปากน้ำ ขออภัยต้องขอบอกไม่เคยได้ยินชื่อหลวงธาราเลย เป็นเรื่องที่พูดเอาเอง ศิษย์หลวงพ่อทุกคนทราบดีว่าหลวงพ่อเล็กเป็นศิษย์ก้นกุฏิ
    เป็นไปไม่ได้ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำจะอนุญาตให้หยิบพระใส่ย่าม เพราะอะไร เพราะว่าแม้แต่สมเด็จสังฆราชปุ่น วัดโพธิ์ฯ หลานหลวงพ่อ รับใช้หลวงพ่อตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก เป็นสามเณรจนเป็นพระภิกษุ ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชตามคำพยากรณ์ของหลวงพ่อ หลวงพ่อยังให้พระของขวัญเพียงองค์เดียว เพราะหลวงพ่อสร้างพระของขวัญขึ้นมาเพื่อแจกเป็นของขวัญแก่คนที่มาทำบุญเพื่อสร้างอาคารโรงเรียนปริยัติธรรมวัดปากน้ำตั้งแต่ ๒๕ บาทขึ้นไป ไม่ว่าจะทำบุญเป็นพัน หรือเป็นหมื่นก็ให้องค์เดียว คือคนเดียวองค์เดียว ถ้าท่านมอบให้ใครเปล่า ๆ หลวงพ่อจะต้องเอาเงินส่วนตัวท่านออกแทน เพราะหลวงพ่อบอกว่าพระของขวัญท่านทำให้วัดไม่ใช่ของท่าน {สมเด็จพระสังฆราชปุ่น ครั้งมีสมณะศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต, ๒๕๒๙, ประวัติพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ)และอนุภาพธรรมกาย ใน พระมงคลเทพมุนี ประวัติหลวงพ่อ และคู่มือสมภาร. ๒๕๒๙ วัดปากน้ำ, ภาษีเจริญ, และสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, หน้า ๙๖}


    -->> หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านเป็นคนจริง พูดจริงทำจริง มีวาทะตรงกับใจ ไม่ชอบคนโกหก มีเมตตาธรรมสูง มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรมสูง มีความกล้าหาญ กล้าพูดกล้าสอน ไม่ครั่นคร้ามต่อใคร เมื่อเห็นดีอย่างไร ก็ปฏิบัติไปตามนั้น หลวงพ่อบอกว่าใครโกหกท่านเป็นคนหมดดี พระไม่ใช่ของท่าน มีหรือหลวงพ่อจะอนุญาตให้ท่านป่าม่วงยิบพระของขวัญใส่ย่าม โดยเฉพาะผู้มีบารมีอย่างหลวงพ่อ มีหรือจะไม่ทราบว่า ต่อไปในอนาคตท่านป่าม่วงจะให้ร้ายวิชชาธรรมกาย ดังที่กระทำอยู่ในปัจจุบัน


    และขอบคุณคุณมะตาดอีกครั้งหนึ่งที่ส่ง http://www.jarun.org/v5/th/lrule08h0102.html มาให้ ข้อความในเว็บที่ว่า “อาตมาได้ฟังเทศน์ลำดับญาณ โดยอาจารย์พม่ามาเทศน์และมีทูตมาแปลเป็นภาษาไทย ฟังพร้อมกับหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ เดิมทีอาตมาไม่ทราบว่าท่านมานั่งกรรมฐานที่วัดมหาธาตุฯ พอดีท่านเจ้าคุณอาจารย์ไปสอบอารมณ์ อาตมาก็ตามไปฟัง หลวงพ่อสดบอกอาตมาว่า เราเป็นขี้ข้าเขามาหลายสิบปี มีแต่นิมิตเครื่องหมายมากมาย และติดนิมิต พอกำหนด เห็นหนอ ๆ นิมิตธรรมกายหายไป ปัญญาเกิด และเข้าผลสมาบัติได้ถึง ๘๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นก็เข้านิโรธสมาบัติได้ด้วย อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้ว และท่านยังบอกอาตมาอีกว่า ถ้าเราอยู่เราจะสอนอย่างนี้ต่อไป แต่ถ้าเราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์”


    เป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างยิ่งหากศิษย์คิดล้างครู
    เป็นเรื่องที่ท่านป่าม่วงจินตนาการเอาเอง เพราะหลวงพ่อถูกเกณฑ์ให้เรียน ไม่ใช่มาเรียนเอง ท่านถูกเกณฑ์มาเรียน หลังท่านป่าม่วงเรียนจบไปแล้วประมาณ ๔ เดือน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ฟังเทศลำดับญาณพร้อมหลวงพ่อวัดปากน้ำ เป็นที่น่าสังเวชยิ่งที่เขียนว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำบอกตนว่า “เราเป็นขี้ข้าเขามาหลายสิบปี มีแต่นิมิตเครื่องหมายมากมาย และติดนิมิต พอกำหนด เห็นหนอ ๆ นิมิตธรรมกายหายไป ปัญญาเกิด และเข้าผลสมาบัติได้ถึง ๘๔ ชั่วโมง หลังจากนั้นก็เข้านิโรธสมาบัติได้ด้วย อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้ว และท่านยังบอกอาตมาอีกว่า ถ้าเราอยู่เราจะสอนอย่างนี้ต่อไป แต่ถ้าเราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์” เป็นที่น่าสังเกตว่าท่านป่าม่วง ไม่กล้าเขียนว่าตนเรียนกับเจ้าคุณโชดกวันไหนเดือนไหน สำเร็จวันไหนเดือนไหน เพียงแต่บอกเรียนปี ๒๔๙๗


    เป็นข้อความที่ท่านป่าม่วงพูดไม่ตรงความจริงหรือไม่????

    เป็นที่น่าเวทนาแบบสุด ๆ เป็นคำเท็จจับได้ง่ายมากว่าเป็นคำมุสา ดังข้อความว่า “เราจะหมดอายุเราก็ขอแค่ตัวเราพ้นทุกข์” เพราะเป็นไปไม่ได้ที่คนบรรลุญาณ ๑๖ แล้ว กลับเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากผู้มากไปด้วยความเมตตา กลายเป็นคนเห็นแก่ตัว คิดจะเอาตัวรอดคนเดียว ไม่คิดช่วยเหลือศิษย์ที่มีจำนวนเป็นแสนเป็นล้านให้บรรลุคุณวิเศษเหมือนตน ไม่สมกับผู้บรรลุญาณ ๑๖ เลย แปลกจริงหนอ ๆ ๆ ๆ


    สวรรค์มีตา จึงทำให้สามารถมองเห็นเจตนาของผู้กล่าวหาหลวงพ่อวัดปากน้ำ ว่าจะเลิกวิชชาธรรมกาย ฯลฯ

    ที่ท่านป่าม่วงบอกว่า “อันนี้ขอเปิดเผยเพราะท่านมรณภาพไปแล้ว” นี้เป็นเหลี่ยมคูของผู้คนที่สุจริตหรือไม่?

    เพราะถ้ามุสาแบบนี้ สมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำมีชีวิตอยู่คงทำไม่ได้ เพราะคนคงไปถามหลวงพ่อ
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    อย่าลืมว่าหลวงพ่อสดนั้นไม่เคยกล่าวว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง

    ถามว่ามีหลักฐานอะไรที่บ่งชี้ว่าหลวงพ่อสดไม่ได้ว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง ?


    ที่ปรากฏเป็นหลักฐานทางเอกสาร มีดังนี้คือ:


    ๑. ท่านแนะนำให้หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฯ ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อโหน่งวัดคลองมะดัน (ทั้งที่ตอนนั้นหลวงพ่อสดท่านค้นพบวิชชาธรรมกายแล้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์กรรมฐานองค์แรกของหลวงพ่อ ((( ประชุมพระธรรมเทศนาและหลวงปู่สอนธรรม, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราช ทาน, ในงานพระราชทานเพลิงศพ, พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวรรณณเถร), เจ้าอาวาส วัดประดู่ฉิมพลี, ๒๕๔๒, กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒ หน้า. (หน้า ๑๔และหน้า ๖๑ ))) หลวงพ่อโหน่งนั้นเมื่อท่านมรณภาพปรากฏว่าศพท่านไม่เน่า หลวงพอปานวัดบางนมโคบอกว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นพระอรหันต์


    ๒. หลวงพ่อเขียนรับรองวิชาหนอว่าถูกต้องตรงร่องรอยสติปัฏฐาน ๔ (แต่ท่านละคำว่าต้องปฏิบัติอย่างเข้าใจจริง จึงจะถูกต้อง) ซึ่งได้มีกลุ่มบุคคลนำข้อความที่ท่านเขียนรับรองวิชาหนอในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาไปบิดเบือนเพื่อสนับสนุนวิชาของพวกตน ซึ่งจะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก


    ๓. แม้หลวงพ่อชา จะได้มาพักที่วัดปากน้ำ ๑ อาทิตย์ หลวงพ่อสดก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะหลวงพ่อท่านทราบดีว่า หลวงพ่อชานั้นสร้างบารมีมาทางสายพระอาจารย์มั่น (ซึ่งหาอ่านได้ในประวัติหลวงพ่อชาบางเล่ม) เหมือนๆกับที่หลวงพ่อทราบว่าสมเด็จป๋าจะได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะว่าถ้าพระพิมลธรรมไม่ต้องคดีเสียก่อน สมเด็จป๋าจะไม่มีโอกาสขึ้นเป็นสมเด็จพระสังราชเลย เรียกปิดประตูตายทีเดียว


    ๔. หนังสือกรรมฐานชื่อ “สมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน” ซึ่งประพันธ์ โดยคุณโสภณ ชื่นชุ่ม เป็นศิษย์วิชชาธรรมกายรุ่นแรกๆ ของพระอาจารย์พระราชพรหมเถร วิ (วีระ คณุตฺตโม ) ต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้พระอาจารย์พระราชพรมเถรได้ตรวจทานอย่างละเอียด


    ***ในหนังหนังสือกรรมฐานเล่มดังกล่าวมีคำอธิบายกรรมฐานแบบไตรลักษณ์ กรรมฐานแบบโบราณ และสมถวิปัสสนาแบบธรรมกาย ***



    จากหลักฐานทั้ง ๔ ข้อนี้ สามารถใช้ยืนยันได้ว่า หลวงพ่อสดไม่เคยว่าการปฏิบัติกรรมฐานของไทยสายไหนไม่ดี



    จากคุณ : CALAVERITE



    ************************************************************************

    โดยสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุกับท่านเจ้าคุณโชดกที่วัดมหาธาตุช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ที่ต้องปิดกันให้แซด


    ท่านเจ้าคุณโชดกท่านเป็นปราชญ์ทางปริยัติจริง แต่ไม่ใช่ทางปฏิบัติ การศึกษาภาคปฏิบัติของท่านที่พม่านั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะท่านมีความตั้งใจจะเอาวิชาหนอมาสอนมากเกินไป


    ทราบจากวิทยาศาสตร์บัณฑิต แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยท่านหนึ่งเล่าให้ฟัง


    ซึ่งปฏิบัติกรรมฐานที่พม่ารุ่นเดียวกับท่านเจ้าคุณโชดก แต่ผลการปฏิบัติของท่านเหนือกว่าเจ้าคุณโชดกมาก


    ข้อพิสูจน์ที่ทำให้เห็นได้ชัดว่าท่านเจ้าคุณโชดกนั้นยังไม่เข้าใจวิชาหนออย่างท่องแท้

    คือ ๑. สามเณรรูปแรกที่วัดมหาธาตุรับรองว่าบรรลุญาณ๑๖ ทั้งที่พระอาจารย์อาสภ ค้านว่าน่าจะได้ปฐมฌาณหยาบ


    ทางสำนักหนอได้นำสามเณรรูปนี้ไปนั่งโชว์ตัวแข็งตามวัดต่าง ๆ โด่งดังมากในสมัยนั้น


    แต่ไม่สามารถทำให้ตัวแข็งได้ที่วัดปากน้ำ เป็นไปตามที่หลวงพ่อสดบอกให้ศิษย์ท่านทราบล่วงหน้า

    ต่อมาสามเณรรูปนั้นสึก กลายเป็นหัวขโมยวัวควายตัวยง บ้านอยู่ใกล้วัดพระพุทธบาตรตากผ้าลำพูน

    ๒. พระที่บรรลุญาณ ๑๖ จากสายหนอ ไปปฏิบัติธรรมที่วิเวกอาศรม ด้วยความอยากเป็นเจ้าสำนักแทนอาจารย์อาสถ จึงได้คบคิดกันรุมทำร้ายพระอาจารย์อาสภ โชคดี พระอาจารย์อาสภไม่มรณภาพ พวกบรรลุญาณ ๑๖ ปลอมเหล่านั้น ก็ถูกจับเข้าตะรางไปตามระเบียบ ไปสืบถามตำรวจที่ชลบุรีได้


    ๓. ท่านไพรวัลวัดทุ่งกร่าง เล่าว่า ท่านสงสัยว่าทำไมสามเณรที่อาจารย์รับรองว่าบรรลุญาณ ๑๖ ได้ไม่ถึงอาทิตย์ชกต่อยกัน นี้ก็แสดงว่าสามเณรเหล่านั้นบรรลุญาณ ๑๖ ปลอม



    ๔. อาจารย์โด่งดังอีกท่านหนึ่งโม้ว่าบรรลุญาณ ๑๖ เป็นพระโสดาบันของวัดมหาธาตุ แล้วยังคุยโม้ว่า หลังจากนั้นได้ไปเรียนวิชาโหราศาสตร์กับสมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ แปลกเหนาะพระโสดาบันยังอยากเรียนวิชาขวางทางนิพพาน นี้ก็แสดงว่าบรรลุโสดาปลอม แถมไปโม้ต่อว่าดุสิตเป็นชั้นสูงสุดของดาวดึงส์ พระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ไปโปรดพุทธมารดาที่ดาวดึงส์ด้วยกายทิพย์

    ๕.สำนักวิเวกอาศรมของอาจารย์อาสภะไม่รับรองผู้จบญาณ๑๖ สายวัดมหาธาตุ ไปสืบดูก็จะเห็นจริง แต่ไม่ใช่ไปสืบกับพวกที่วัดมหาธาตุส่งไปนะ

    ขอให้ไปพิสูจน์ตามที่แนะนำ จะได้ตาสว่าง ไม่เอาอะไรมาตั้งกระทู้ทำนองนี้อีก


    ขอแถมอีกเรื่อง หลังจากมีหนังสือวิจารณ์นิทานมุสาวาทเล่มหนึ่งส่งให้คณะ ๕ วัดมหาธาตุฯอ่าน

    ปรากฏว่าประวัติเจ้าคุณโชดกฉบับพิมพ์ใหม่ โดยสำนักพิมพ์กู๊ดมอนิ่ง& วันเวิลด์ ที่บอกว่าพิมพ์ครัง้แรก ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘ จัดพิมพ์ถวาย มี ๑๗ หน้า ไม่รวมหน้าปก

    ถึงกับต้องเอาวันเวลาที่เขาเกณฑ์ให้หลวงพ่อสดไปเรียนกรรมฐานแบบหนอออก เพื่อจะทำให้การจับผิดนิทานโกหกยากขึ้นอีกนิด

    ไปขอหนังสือระวัติ พระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙)เล่มดังกล่าวได้ที่คณะ ๕ วัดมหาธาตุ โทร ๐ ๒๒๒๒-๖๐๑๑, ๐ ๒๒๒๒-๔๙๘๑

    หรือว่าเอามะพร้าวมาขายสวน ไม่ว่ากันนะ


    จากคุณ : CALAVERITE <!-- google_ad_section_end -->
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    <TABLE id=post3834843 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_3834843 class=alt1>ดิฉันได้ยินผู้แนะนำธรรมปฏิบัติบางรายเขาว่า ถ้าจะปฏิบัติให้เห็นดวงปฐมมรรคได้เร็ว ก็ให้กำหนดนิมิตภายนอกตัวหรือที่ไหนๆ ก็ได้ ให้เห็นชัดเจนเสียก่อน แล้วจึงค่อยน้อมนำเข้าไปข้างในเมื่อไรก็ได้ เพราะถ้าปฏิบัติตามวิธีของหลวงพ่อวัดปากน้ำ แล้วรู้สึกว่าจะเห็นได้ยาก หลวงพ่อเห็นว่าดิฉันควรเปลี่ยนวิธีฝึกตามแบบเขาไหม จึงจะเห็นง่ายๆ ?

    ตอบ

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านสอนให้น้อมใจเข้าไปตามฐานต่างๆ ในเบื้องต้น เพียงเพื่อให้รู้ทางเดินของจิตว่า เวลาจะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น จิตนั้นเข้าออกทางไหน อย่างไร ในตอนแรกของการปฏิบัติภาวนานั้น ในการปฏิบัติคราวต่อๆ ไป ท่านให้เอาใจไปจรดที่ศูนย์กลางกายโดยตลอด ไม่ให้ส่งใจออกนอกเลย
    ในการน้อมใจไปตามฐานต่างๆ นั้น ท่านสอนให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใสเท่าดวงตาดำ กลมใสดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ให้ปรากฏขึ้นที่ปากช่องจมูก (หญิง-ซ้าย/ชาย-ขวา) นี่ฐานที่ ๑ ให้ใจอยู่กลางดวงที่ใส และให้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหัง” ๓ ครั้ง แล้วก็ให้เลื่อนดวงแก้วนั้นเข้าไปหยุดนิ่งอยู่ที่หัวตาด้านใน (หญิง-ซ้าย/ชาย-ขวา) ให้หยุดนิ่งอยู่ที่หัวตาด้านในนั้น นี่ฐานที่ ๒ ให้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหัง” ๓ ครั้ง แล้วก็ให้เลื่อนไปหยุดที่กลางกั๊กศีรษะ เป็นฐานที่ ๓ แล้วก็เลื่อนไปหยุดที่ฐานที่ ๔ ช่องเพดานปาก ฐานที่ ๕ ปากช่องลำคอ, ฐานที่ ๖ เลื่อนลงไปตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ, แล้วก็เลื่อนกลับสูงขึ้นมาตรงๆ อีกประมาณ ๒ นิ้วมือ นี่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อันเป็นที่ตั้งของกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งของกาย เวทนา จิต และธรรม ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกาย และพระนิพพานอีกด้วย เวลาสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น จิตดวงเดิมก็จะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ แล้วจิตดวงใหม่ซึ่งอยู่ท่ามกลางดวงธรรมของกายละเอียด ก็จะลอยเด่นมาที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้ก่อนจะทำหน้าที่ต่อไป จุดนี้จึงเป็นที่ตั้งถาวรของใจ
    ทีนี้ ก็ให้เอาใจจรดที่ตรงนี้เรื่อยไปตลอด ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ล่าง-บน นอก-ใน ไม่ไปทั้งนั้น ทำใจให้หยุดในหยุด กลางของหยุด ณ ที่ตรงนี้เรื่อยไป ไม่ถอยหลังกลับ เพราะการทำใจหยุดในหยุด กลางของหยุด ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้ จิตหยุดปรุงแต่ง (ไม่สังขาร) จึงถูกถิ่นทำเลของพระ (กุสลาธัมมา) แต่ถ้าใจออกนอกตัวก็จะปรุงแต่งด้วยอำนาจของกิเลสได้มาก จุดอื่นนอกจากตรงศูนย์กลางกายจึงเป็นถิ่นทำเลของภาคมาร (อกุสลาธัมมา) เพราะเหตุนี้ จึงให้เอาใจจรดตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ไว้เสมอ เวลาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นและถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ และของกายอื่นๆ ตลอดถึงดวงธรรมของกายธรรมต่อๆ ไปจนสุดละเอียดที่แท้จริง จะได้ไม่ถูกหลอกด้วยนิมิตลวงที่จิตปรุงขึ้น (สังขาร)
    หลวงพ่อท่านจึงไม่ยอมให้ใครสอนโดยให้เอาใจไปไว้นอกตัว ให้เห็นดวงใสก่อน แล้วจึงค่อยน้อมเข้ามาภายใน เพราะแม้ว่าวิธีกำหนดนิมิตภายนอกตัวก่อนนั้นมันง่ายกว่าการเอาใจไปจรด ณ ที่ศูนย์กลางกายตั้งแต่เบื้องต้นก็จริง แต่การเห็นนิมิตนอกตัวนั้น แม้จะน้อมเข้ามา ณ ภายในได้ ก็เสี่ยงต่อการที่จิตจะเคลื่อนจากศูนย์ออกไปรับอารมณ์ภายนอกตัว อันเป็นเหตุให้เกิดกิเลสเข้ามาประสม แล้วปรุงแต่งจิตให้เห็นนิมิตที่จิตปรุงแต่งขึ้นในดวงกสิณภายนอกตัวนั้นได้มากทีเดียว แปลว่า อาจถูกกิเลสมารแทรกซ้อนให้เห็นนิมิตลวง (ไม่จริง) ได้ง่าย อันเป็นเหตุให้รู้ผิด เห็นผิด จึงคิดผิด พูดผิด ทำผิด ได้ง่ายมาก และนี่แหละคืออันตรายของการเห็นนิมิตนอกตัว
    ท่านจึงสอนให้ทำใจหยุด ณ ศูนย์กลางกายเลย เพื่อให้ติดเป็นนิสัยปัจจัยตั้งแต่ต้น และให้ทำไว้ในทุกอิริยาบถ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถ้าผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมใดที่เคยฝึกทำนิมิตหรือเพ่งกสิณนอกตัวก่อน ท่านจะสอนให้รีบนำใจเข้าไปหยุด ณ ภายใน ศูนย์กลางกายไว้เสมอ เวลาปฏิบัติภาวนาไม่ให้ส่งใจออกนอกตัว และไม่ให้ใช้นิมิตที่เกิดขึ้นหรือที่เห็นภายนอกตัวเลย เพราะฉะนั้น ถ้าประสงค์ของจริงในพระพุทธศาสนา เวลาเจริญหรือปฏิบัติภาวนา ต้องพยายามไม่ส่งใจออกนอกตัว และไม่ควรเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติภาวนาไปเป็นวิธีเอาใจออกนอกตัวเป็นอันขาด
    <!-- google_ad_section_end -->

    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2><SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("3834843")</SCRIPT></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=post3834843 class=tborder border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" id=td_post_3834843 class=alt1>
    <!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid" class=alt2><SCRIPT type=text/javascript> vbrep_register("3834843")</SCRIPT></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    บัดนี้ ท่านทั้งหลายอายุเท่าไร และอย่าประมาทความตาย ความเสื่อมของร่างกายที่ยังถูกกฏไตรลักษณ์ครอบงำอยู่เลย


    เรามีที่พึ่งคือ รัตนะในกายได้มั่นคงแค่ไหน

    ได้บารมีธรรม ที่ประจักษ์ชัด แก่ใจตัวเองแค่ไหน


    อาจจะถกเถียงใครต่อใครได้มากมาย แต่ แน่ใจหรือว่าจะเอาชนะทุกขเวทนาตอนจะตาย
    หรือ เอาชนะอวิชชา บาปอกุศล ที่ตนทำไว้ได้


    หากยังมัวเมา กับลาภ ยศ สรรเสริญ เงินทอง ตำแหน่ง คำป้อยอลวงโลก ฯลฯ
    อันเป็นเครื่องล่อภายนอกอยู่

    ...เมื่อวันจะหมดลม เราอาจไม่มีกำลังพอจะต้านทานกำลังของอกุศลธรรมทั้งมวลได้

    มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ แม้แต่ความเป็นเทพ พรหม...ยังตกอยู่ใต้อาณัติของมาร

    รีบเข้าถึงและทำวิชชาธรรมกายให้มากที่สุด ถูกต้อง ถูกตรงให้มากที่สุด


    แค่บุญระดับเทวโลก และโลกียฌาณ ยังสามารถถูกพลิกธาตุธรรมให้เป็นดำ
    นำไปใช้ทางบาปอกุศลได้ ตราบที่ยังไม่เข้าสู่โลกุตรธรรม
    เป็นธรรมกายโลกุตตระ<!-- google_ad_section_end -->
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    หลักฐานอยู่ในอัคคัญญสูตร ที่พระองค์ตรัสแก่วาเสฎฐสามเณรว่า ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฎฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ ในพระสุตตันตปิฎก ฑีฆนิกาย ปาฎิกวรรค ยืนยันความว่าดูกรวาเสฎฐสามเณร “คำว่าธรรมกายนี้ เป็นชื่อของพระตถาคตโดยแท้

    เรื่องพระวักกลินั้น เมื่อระลึกถึงคตวามในอัคคัญญสูตรนี้ ประกอบแล้ว ย่อมส่องความให้เห็นว่า ที่พระองค์ตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” นั้น หมายความว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเรา คือตถาคตนั่นเอง มิใช่อื่นไกลหรือพูดให้เข้าใจง่ายกว่านี้ ก็ว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ว่านี้ ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า หรืออีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า

    ทำไมจึงหมายความเช่นนั้นก็เพราะว่า ขณะนั้นพระวักกลิก็อยู่ใกล้ๆ กับพระพุทธองค์ หากจะแลดูด้วยลูกตาธรรมดา ทำไมจะไม่เห็นพระองค์ เพราะไม่ปรากฏว่าพระวักกลินั้นตาพิการ เมื่อเช่นนี้ไฉนพระองค์จะตรัสเช่นนั้นเล่า ที่ตรัสเช่นนั้น จึงตีความหมายได้ว่า ที่แลเห็นด้วยตาธรรมดานนั้น เห็นแต่เปลือกของพระองค์ ก็คือกายพระสิตถัตถะที่ออกบวช ซึ่งมิได้อยู่ในความหมายแห่งคำว่าเรา และยังตรัสว่าเป็นที่เปื่อยเน่าด้วย นั่นคือกายพระสิตธัตถะที่ออกบวช ก็คือกายภายนอกนั่น คำว่าเราในที่นี้จึงสันนิษฐานได้ว่า หมายถึงกาภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในซึ่งมิใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในคืออะไรเล่า ก็คือธรรมกายนั่นเอง จะเห็นได้อย่างไร ข้อนี้ตอบไม่ยาก เมื่อได้บำเพ็ญกิจภาวนาถูกส่วนแล้ว ท่านจะเห็นด้วยตาของท่านเอง คือเห็นด้วยตาธรรมกาย (ตาของกายละเอียด) ไม่ใช่ตาธรรมดา

    พระดำรัสของพระองค์ดังยกขึ้นมากกล่าวนั้นเป็นปัญหาธรรมมีนัยลึกซึ้งอยู่ อันผู้มิได้ปฏิบัติธรรมแล้ว เข้าใจได้ยาก แต่ถ้าผู้ปฏิบัติได้แล้ว จะตอบปัญหานี้ได้ด้วยตนเองอย่างง่ายดาย ไม่ต้องไปถามใคร...”
    พระวักกลินั้นออกบวชด้วยความติดใจในพระรูปพระโฉมอันงดงามของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เลื่อมใสในพระธรรมคำสอน ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จไปประทับ ณ ที่ใด พระวักกลิจะติดตามไปคอยเฝ้าดูพระพุทธองค์ทุกพระอิริยาบถ ด้วยความประทับใจ

    พระพุทธองค์ทรงทราบดี แต่ก็มิได้ทรงว่ากล่าวแต่ประการใด เพราะเห็นว่ายังไม่ถึงเวลา เมื่อทรงเห็นว่าญาณของพระวักกลิแก่กล้าแล้ว จึงตรัสว่า อเปหิ วกฺกลิ กึเต วกฺกลิ อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเฐน จงถอยออกไป วักกลิ ร่างกายตถาคตเป็นของเปื่อยเน่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ แน่ะสำแดงวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ ผู้ตถาคตคือธรรมกาย พระวักกลิเสียใจที่พระพุทธเจ้าไม่ให้โอกาสได้ใกล้ชิดอีกต่อไป ทั้งมีพระวาจาตัดรอนจึงคิดจะไปกระโดดหน้าผา ฆ่าตัวตาย พระพุทธองค์ทรงติดตามไปแสดงธรรมโปรด จนพระวักกลิบรรลุธรรม

    พระเดชพระคุณพระธรรมทัศนาธร ได้อธิบายเพิ่มเติมเรื่องพระวักกลิกับธรรมกายของหลวงพ่อ ไว้ดังนี้

    “การที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสกับพระวักกลิว่า ถ้าบุคคลผู้ใดเห็นธรรม นั่นจึงจะเห็นตถาคต พระตถาคตอยู่ที่ธรรมใน เป็นเครื่องยืนยันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการที่จะให้คนรู้จักพระองค์ท่านเห็นพระองค์ท่านให้ลึกซึ้งเข้าไปถึงธรรม เมื่อรวมความกับที่พระองค์ตอบกับวาเสฎฐพราหมณ์ว่า คำว่าธรรมกายเป็นชื่อของตถาคต จึงน่าจะจับใจความได้ว่าธรรมนั้นคือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมเสกสรรปั้นให้พระองค์เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อบุคคลเราจะระลึกถึงพระองค์ท่าน ก็ควรจะระลึกถึงพระธรรม พระเดชพระคุณที่อยู่ในหีบ จึงได้ตั้งเป็นสถาบันของคณะวิปัสสนานี้ไว้ เพื่อให้บรรดาประชาชนได้เข้าถึงธรรมกาย คือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

    มีคำว่า ธรรมกาย ปรากฏอยู่อีกหลายแห่งจาก หลักฐานในคัมภีร์

    (๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย

    “ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”

    “วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”

    ที.ปา.๑๑/๕๕/๙๒

    (๒) พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="63%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>“อหํ สุคต เต มาตา</TD><TD>ตุวํ ธีร ปิตา มม</TD></TR><TR><TD>สทฺธมฺมสุขโท นาถ</TD><TD>ตยา ชาตมฺหิ โคตม.</TD></TR><TR><TD>สํวทฺธิโตยํ สุคต</TD><TD>รูปกาโย มยา ตว</TD></TR><TR><TD>อานนฺทิโย ธมฺมกาโย</TD><TD>มม สํวทฺธิโต ตยา.</TD></TR><TR><TD>มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ </TD><TD>ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา</TD></TR><TR><TD>ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ</TD><TD>ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.</TD></TR><TR><TD>พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ</TD><TD>อนโณ ตฺวํ มหามุเน.” </TD></TR></TBODY></TABLE>
    “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
    ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
    ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
    ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
    หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรม
    อันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
    ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน.”

    ขุ.อป.๓๓/๑๕๓/๒๘๔

    (๓) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่

    “เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรมคืออริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี. เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.”

    (๔) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า “ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า


    “วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...” ​

    “นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”

    ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐





    (๕) ปฐมสมโพธิกถา ตอนมารพันธปริวรรต ปริเฉทที่ ๒๘ หน้า ๕๐๙ ความว่า

    หลังพุทธปรินิพพานมีพระสาวกองค์หนึ่ง ชื่ออุปคุตต์มหาเถระ เป็นพระอรหันต์ บรรลุอภิญญา ๖ มีฤทธานุภาพมาก สามารถปราบพญามารให้ละพยศได้ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย แล้วปรารถนาพุทธภูมิ พระอุปคุตต์มหาเถระ ได้ขอร้องได้ขอร้องให้พญามารเนรมิตพระรูปกายของพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยอัครสาวกซ้ายขวาดังนี้

    "ท่านจงได้อนุเคราะห์แก่อาตมา ด้วยสมเด็จพระศาสดา บังเกิดในโลก เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานเสียแล้ว เราได้เห็นแต่ธรรมกายบมิได้เห็นซึ่งพระสรีรกาย ท่านจงสงเคราะห์นฤมิตพระรูปกายแห่งพระศาสดาจารย์ พร้อมด้วยอาการทั้งปวงสำแดงแก่เรา ให้เห็นประจักษ์กับทั้งพระอัครสาวกทั้งคู่ให้ปรากฏ…"
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    วัตถุประสงค์และวิธีตรวจจักรวาล ภพ ๓


    วัตถุประสงค์ ของการตรวจจักรวาล ภพ และโลกันต์



    ก็เพื่อให้รู้เห็นธรรมชาติที่เป็นไปในภพ ๓ และโลกันต์ ว่า เป็นสภาพที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร/สังขตธรรม) อย่างไร ได้แก่ปรุงแต่งด้วยบุญ (ปุญญาภิสังขาร) ปรุงแต่งด้วยบาป (อปุญญาภิสังขาร) และปรุงแต่งด้วยฌานสมาบัติที่ไม่หวั่นไหว (อเนญชาภิสังขาร) และเพื่อให้เห็นแจ้งรู้แจ้ง ในสามัญญลักษณะคือสภาวะที่เป็นเองเสมอกันหมดของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวงว่า เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อย่างไร


    ให้เห็นสัจจธรรม คือ ทุกขสัจ และ สมุทัยสัจ ตามที่เป็นจริง และพัฒนาขึ้นเป็นความเห็นแจ้งรู้แจ้งในอีก ๒ สัจจธรรมที่เหลือ คือ นิโรธสัจ และ มรรคสัจ อันเป็นการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้สภาวธรรมและสัจจธรรม ตามที่เป็นจริงอย่างแจ่มแจ้ง เป็นหนทางให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานตามรอยบาทพระพุทธองค์


    สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว

    ก็ให้พิสดารกาย
    เจริญฌานสมาบัติพร้อมกันหมดทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด โดยอนุโลมปฏิโลมหลายๆ เที่ยว ให้ใสละเอียดหมดทุกกาย


    หากประสงค์จะตรวจดูความเป็นไปในภพ ๓

    ก็ให้น้อมเอาภพ ๓ เข้ามาเป็นกสิณ คือมาไว้ ณ ศูนย์กลางกาย

    แล้วใช้ตาคือญาณพระธรรมกายตรวจดูความเป็นไปในแต่ละภพ เริ่มตั้งแต่ อรูปภพ ๔ ชั้น รูปภพ ๙ ชั้น (๑๖ ภูมิจิต) ตลอดไปจนถึงกามภพ ทั้งสวรรค์ ๑๖ ชั้น และ นรก ๘ ขุมใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้เขาพระสุเมรุลงไป ให้รู้เห็นความเป็นไปโดยตลอด


    หากประสงค์จะทราบบุพพกรรมคือกรรมเก่าที่กระทำไว้ในภพก่อนอย่างไร จึงได้มาเสวยผลบุญหรือผลบาปอยู่ในขณะนี้ ก็ไต่ถามดูได้ ดังต่อไปนี้

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="70%" border=0><TBODY><TR><TD width="33%">< ลักษณะจักรวาล ภพ ๓ โลกันต์</TD><TD width="33%"></TD><TD width="34%"></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ลักษณะภพ ๓ และโลกันต์


    ก่อนที่จะได้กล่าวถึงภพ ๓ และโลกันต์ ในรายละเอียดต่อไป ก็จะได้กล่าวถึงจักรวาลสักเล็กน้อย พอให้เห็นเค้าโครงหยาบๆ เสียก่อน คือว่า ในจักรวาลหนึ่งๆ นั้นมี ภพ ๓ เป็นที่รองรับสัตว์ที่ประกอบกรรมดีกรรมชั่ว ปานกลาง มี ๓ คือ กามภพ รูปภพ และ อรูปภพ
    อรูปภพ
    เป็นภูมิหรือที่สถิตของอรูปพรหม มีอยู่ ๔ ชั้นด้วยกัน คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อายตนะของอรูปภพนี้จะดึงดูดสัตว์ที่ประกอบกรรมดีที่สุดของชาวโลกคือผู้ได้อรูปฌาน แล้วทำกาลกิริยาคือตายไปในขณะที่ยังไม่เสื่อมจากอรูปฌานนั้น ไปเสวยสุขอย่างชาวโลกที่ละเอียดประณีตที่สุดในภพนี้ แต่ตราบใดที่ยังมีอวิชชา ตัณหา ราคะ อยู่ ก็ยังไม่พ้นจากสังสารจักรคือการเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีกได้
    รูปภพ
    เป็นภพที่อยู่รองลงมาก็ได้แก่ เป็นภพของรูปพรหม มีอยู่ ๙ ชั้น ๑๖ ประเภท (ซึ่งมักกล่าวกันว่ามี ๑๖ ชั้น ตามภูมิจิตของรูปพรหม) เป็นที่รองรับหรือดึงดูดสัตว์ที่ประกอบความดีอย่างชาวโลก รองลงมาจากอรูปพรหม คือเป็นผู้ที่ได้ รูปฌาน แล้วทำกาลกิริยาในขณะที่ยังไม่เสื่อมจากรูปฌานนั้นๆ จึงได้มาเสวยสุขที่ละเอียดประณีตรองลงมาจากอรูปพรหม นอกเสียจากพรหมในชั้นสุทธาวาส ๕ ชั้นแล้ว เมื่อจุติคือเคลื่อนหรือตายจากพรหมโลก ก็ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารจักรต่อไปอีก
    ที่ว่า ยกเว้นพรหมในชั้นสุทธาวาส ๕ ชั้นซึ่งเป็นพรหมชั้นสูงที่สุดนั้น ก็เพราะว่า รูปภพ ชั้นสุทธาวาสทั้ง ๕ ชั้นนี้ เป็นที่สถิตของพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามีกับชั้นพระอรหัตตมรรค ซึ่งละโลกไปในระหว่างที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล และยังไม่เสื่อมจากปัญจมฌาน จึงได้มาบังเกิดในรูปภพชั้นสุทธาวาส ตามภูมิธรรมของท่าน และเมื่อได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วก็จะปรินิพพานในภพนี้เลยทีเดียว โดยไม่ต้องไปเกิดในภพภูมิอื่นอีก
    รองลงมาจากรูปภพ ก็เป็น กามภพ เป็นภูมิหรือที่รองรับสัตว์ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม ได้แก่ ภพทิพย์หรือเทวโลก ซึ่งมี ๖ ชั้นด้วยกัน ความเป็นอยู่ในภพเหล่านี้มีความละเอียดประณีต รองลงมาจากรูปภพ, ที่หยาบกว่าภพทิพย์ลงมาอีกก็ได้แก่ ภพของมนุษย์ หรือที่เรียกว่า มนุษย์โลก แล้วก็มีอบายภูมิทั้ง ๔ คือ ภพของ เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และ สัตว์ดิรัจฉาน
    ตั้งแต่ภพมนุษย์ขึ้นไป ตลอดถึงภพของทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหม จัดว่าเป็น สุคติภพ คือ เป็นที่ไปดี ด้วยว่าสัตว์ที่ได้มาบังเกิดในภพเหล่านี้เพราะกรรมดีส่งผล สัตว์ในภพนี้จึงมีความเป็นอยู่สุขสบายตามส่วนแห่งผลบุญกุศลที่ได้เคยสร้างไว้ในอดีต
    ส่วนอบายภูมิทั้ง ๔ คือ ภูมิของเปรต อสุรกาย สัตว์นรก และ สัตว์เดรัจฉานนั้น จัดรวมอยู่ในประเภท ทุคคติภพ ซึ่งหมายถึง ที่ไปไม่ดี เป็นภพของสัตว์ที่ประกอบกรรมชั่วเป็นชนกกรรมนำให้ไปบังเกิดในภพหรือภูมิเหล่านี้ ซึ่งมีความเป็นอยู่ที่เป็นความทุกข์เดือดร้อนไปกว่าสุคติภพที่กล่าวมาแล้ว ตามส่วนแห่งอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตว์นรกทั้งหลายนั้นต่างได้รับความทุกข์ทรมานด้วยเครื่องกรรมกรณ์อย่างแสนสาหัส อย่างเช่นใน อเวจีมหานรก ซึ่งเป็นชั้นต่ำที่สุดของกามภพ เป็นที่รองรับสัตว์ผู้ประกอบกรรมชั่วที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๕ อย่าง คือ เป็นผู้ฆ่าบิดา, ฆ่ามารดา, ฆ่าพระอรหันต์, ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต และทำให้ภิกษุสงฆ์แตกแยกกัน เรียกว่า อนันตริยกรรม คือกรรมหนักที่ผู้ใดกระทำลงไปแล้วจะต้องได้รับผลกรรมในทันทีที่ตายลง แม้จะกระทำกรรมดีมาก่อน แต่กรรมดีนั้นก็ไม่มีช่องไม่มีโอกาสที่จะให้ผลได้ คือช่วยไม่ได้ จะต้องมาบังเกิดในอเวจีมหานรกนี้อย่างแน่นอน ให้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ด้วยไฟนรกเผาผลาญให้เร่าร้อนทุรนทุรายอยู่อย่างนั้นถึงชั่วอนันตรกัปป์ทีเดียว อย่างเช่นพระเทวทัตผู้ประกอบกรรมชั่วหลายอย่างในสมัยพุทธกาล ก็ได้ไปบังเกิดในอเวจีมหานรก และขณะนี้ก็ยังอยู่ในนรกชั้นนี้
    อายตนะโลกันต์
    อยู่นอกภพ ๓ ตั้งแต่ขอบล่างจักรวาลนี้ออกไป เป็นที่รองรับสัตว์ที่ประกอบกรรมชั่วที่สุด ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิอย่างแรงกล้า แม้แต่อเวจีมหานรกก็ไม่สามารถจะรองรับไว้ได้ เมื่อตายลงจึงถูกอายตนะโลกันต์นี้ดึงดูดไป เป็นภพที่อยู่ขอบล่างสุดของจักรวาล คืออยู่ระหว่างล่างที่สุดของจักรวาลทั้งหลาย มีลักษณะที่มืดมิด ไม่เห็นกัน สัตว์โลกันต์นั้นต้องทุกข์ทรมานทั้งด้วยความหิวโหย และทั้งทะเลน้ำกรดเย็นที่กัดกินละลายหมดทั้งร่างของสัตว์นั้นให้ตายลง แล้วก็เกิดใหม่ วนเวียนอยู่นั่นแหละ ตราบชั่วพุทธันดร กล่าวได้ว่า กว่าจะได้มาผุดมาเกิดในภพ ๓ นี้อีกก็ลืมกันได้เลยทีเดียว
    ส่วนลักษณะของจักรวาล ตามคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์นั้น ท่านได้แสดงไว้ว่า ตรงกลางจักรวาล มีภูเขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่เป็นแกนกลาง หยั่งลงไปในท้องมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ (๑ โยชน์เท่ากับ ๔ คาวุต หรือ ๔๐๐ เส้น) สูงพ้นน้ำขึ้นไปเบื้องบนอีก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ จักรวาลหนึ่งๆ อันมี สังขารโลก สัตว์โลก โอกาสโลก แม้ทั้งหมด ชื่อว่า “โลกธาตุ” หนึ่งๆ
    ลักษณะของจักรวาล เว้นไว้แต่โลกมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน และดาวนพเคราะห์ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ ทั้งหลายแล้ว มีสภาวะที่เป็นทิพย์ทั้งสิ้น คือไม่อาจเห็นได้ด้วยมังสจักษุ หรือ ไม่อาจสัมผัสรู้ได้ด้วยอายตนะหยาบของมนุษย์หรือของสัตว์เดรัจฉานที่อาศัยอยู่ร่วมกับโลกมนุษย์นี้ ดังที่ท่านได้กล่าวว่า
    “เหมือนอย่างว่า พระองค์ทรงรู้แจ้งสัตวโลก ฉันใด, แม้โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน) ก็ทรงรู้แจ้งแล้ว ฉันนั้น. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงรู้แจ้ง คือได้ทรงทราบ ได้แก่ทรงแทงตลอดแล้ว ซึ่งโลกธาตุ อันไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยพระพุทธญาณอันไม่มีที่สุด ตลอดอนันตจักรวาล อย่างนี้ คือ
    จักรวาลหนึ่ง ว่าด้วยส่วนยาวและส่วนกว้าง มีประมาณ ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์, ท่านกล่าวประมาณไว้โดยรอบ,
    จักรวาลมีปริมณฑลทั้งหมด ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์, แผ่นดินนี้ในจักรวาลนั้น บัณฑิตกล่าวไว้ว่าโดยความหนามีประมาณ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์.
    น้ำสำหรับรับรองแผ่นดินซึ่งมีประมาณ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์นั้นนั่นแลไว้ โดยความหนา ก็มีประมาณเท่านั้น ตั้งอยู่บนลม, ลมสำหรับธารน้ำแม้นั้นไว้ พุ่งขึ้นจดท้องฟ้าสูง ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์, ความตั้งอยู่แห่งโลกเป็นดังนี้.
    ก็ในจักรวาลนี้ ที่ตั้งอยู่แล้วอย่างนี้ มีภูเขาสิเนรุ เยี่ยมกว่าบรรดาภูเขาทั้งหลาย หยั่งลงในห้วงมหรรณพ ถึง ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไป (เบื้องบน) ก็มีประมาณเท่านั้น เหมือนกัน.
    มหาบรรพตใหญ่ทั้ง ๗ เหล่านี้ คือ เขายุคันธร ๑ เขาอิสินธร ๑ เขากรวิกะ ๑ เขาสุทัสสนะ ๑ เขาเนมินธร ๑ เขาวินัตตกะ ๑ เขาอัสสกัณณะ ๑ เป็นของทิพย์ วิจิตรด้วยรัตนะต่างๆ หยั่งลง (ในห้วงมหรรณพ)
    และสูงขึ้นไป (เบื้องบน) ตามลำดับโดยประมาณกึ่งหนึ่งๆ จากประมาณแห่งสิเนรุที่กล่าวแล้ว ทั้งเบื้องล่างและเบื้องบนนั้น เป็นสถานที่อยู่ของท้าวมหาราช (ทั้ง ๔) มีเทวดาและยักษ์อาศัยอยู่แล้ว ตั้งเรียงรายอยู่โดยรอบภูเขาสิเนรุ ด้วยอำนาจเป็นเครื่องล้อม.
    หิมวันตบรรพต สูง ๕๐๐ โยชน์ โดยส่วนยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด.
    ชมพูทวีปท่านประกาศแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งต้นชมพูใด, ต้นชมพูที่ชื่อว่า นคะ นั้น วัดโดยรอบลำต้นประมาณ ๑๕ โยชน์ ความยาวของลำต้นและกิ่งประมาณ ๕๐ โยชน์ ความกว้างโดยรอบประมาณ ๑๐๐ โยชน์ และสูงขึ้นไป (เบื้องบน) ก็มีประมาณเท่านั้น นั่นแล.
    จักรวาลบรรพต หยั่งลงในห้วงมหรรณพ ๒๘,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไป (เบื้องบน) ก็มีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน, จักรวาลบรรพต นี้ตั้งล้อมรอบโลกธาตุทั้งหมดนั้นอยู่.
    ในโลกธาตุนั้น ดวงจันทร์ (วัดโดยตรงโดยส่วนยาวส่วนกว้างและส่วนสูง) ๔๙ โยชน์ ดวงอาทิตย์ประมาณ ๕๐ โยชน์, ภพดาวดึงส์ประมาณ ๑๐,๐๐๐ โยชน์, ภพอสูร อเวจีมหานรก และ ชมพูทวีปก็มีประมาณเท่านั้น, อปรโคยานทวีป ประมาณ ๗,๐๐๐ โยชน์, ปุพพวิเทหทวีป ก็มีประมาณเท่านั้น, อุตตรกุรุทวีป ประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์, ก็แล ทวีปใหญ่ๆ ในโลกธาตุนี้ แต่ละทวีปๆ มีทวีปเล็กๆ เป็นบริวาร ทวีปละ ๕๐๐ๆ, จักรวาลหนึ่งแม้ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า โลกธาตุหนึ่ง. ในระหว่างแห่งจักรวาลนั้น เป็นโลกันตริกนรก
    แม้โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้แจ้งแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคนั้นทรงพระนามว่า โลกวิทู เพราะความที่พระองค์ทรงรู้แจ้งโลก โดยประการทั้งปวง แม้ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.” (พระพุทธโฆษาจารย์, สมนฺตปาสาทิกา นาม วินยฏฺฐกถา (ปฐโม ภาโค): มหามกุฏราชวิทยาลัย, พ.ศ.๒๕๓๔, หน้า ๑๒๕-๑๒๗.)
    ดู แผนที่มงคลจักรวาล และได้แสดง ลักษณะ ที่ตั้ง ของนิพพาน ภพ ๓ โลกันต์ที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้แสดงไว้
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]ลักษณะภพ ๓ และโลกันต์[​IMG] วัตถุประสงค์และวิธีตรวจ [​IMG]
    ภูมิ ๓๑

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="45%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-TOP: 2px solid" align=middle>อรูปภูมิ ๔</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>อากิญจัญญายตนภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>วิญญาณัญจายตนภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>อากาสานัญจายตนภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid"></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 2px solid" align=middle>รูปภูมิ ๑๖</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>สุทธาวาสภูมิ ๕ ชั้น</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>อกนิฏฐภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>สุทัสสีภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>สุทัสสาภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>อตัปปาภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>อวิหาภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>จตุตถฌาน/ปัญจมฌานภูมิ ๒ : เวหัปผลภูมิ / อสัญญสัตตภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ตติยฌานภูมิ ๓ : ปริตตสุภาภูมิ อัปปมาณสุภาภูมิ สุภกิณหาภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ทุติยฌานภูมิ ๓ : ปริตตาภาภูมิ อัปปมาณาภาภูมิ อาภัสสราภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ปฐมฌานภูมิ : มหาพรหมาภูมิ พรหมปุโรหิตาภูมิ พรหมปาริสัชชาภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid"></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 2px solid" align=middle>เทวภูมิ ๖</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle><A href="http://www.dhammakaya.org/เทวภูมิ%20๖#ชั้นที่ ๖ ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ>ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ</a></td></tr><tr><td style=" align="center" jQuery1263999952218="52" border-top-style: solid; border-top-width: 1px;?>นิมมานรตีภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ดุสิตภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ยามาภูมิ </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ตาวติงสาภูมิ (ดาวดึงส์เทวโลก)</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>เขาพระสุเมรุ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>จาตุมมหาราชิกาภูมิ

    อากาสัฏฐเทวดา
    ภุมมัฏฐเทวดา
    รุกขเทวดา</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid"></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 2px solid" align=middle>มนุสสภูมิ</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>ปุพพวิเทหทวีป
    ชมพูทวีป
    อปรโคยานทวีป
    อุตตรกุรุทวีป
    </TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid"></TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 2px solid" align=middle>ทุคคติภูมิ ๔</TD></TR><TR><TD style="BORDER-TOP: 1px solid" align=middle>เปตติวิสยภูมิ
    อสุรภูมิ ติรัจฉานภูมิ
    นิรยภูมิ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    หลวงปู่สด ท่านสอนไว้ว่า .....


    หลอกตัวเองเป็นอย่างไร ตัวอยากได้ความสุข แต่ไปประพฤติทุกข์เสีย มันก็หลอกตัวเองอยู่อย่างนี้ละซี ตัวเองอยากได้ความสุข แต่ความประพฤตินั่นหลอกตัวเองเสีย ไปทางทุกข์เสีย มันหลอกอยู่อย่างนี้นี่ ใครเข้าใกล้มันก็โกง โกงทุกเหลี่ยมนั่นแหละ ถ้าลองหลอกตัวเองได้มันก็โกงคนอื่นได้
    ไว้ใจไม่ได้ทีเดียว เหตุนี้พุทธศาสนาท่านตรง ตรงตามท่านล่ะ
    ก็มรรคผลไม่ไปไหน อยู่แค่เงื้อมมือ อยู่ในกำมือทีเดียว พุทธศาสนาท่านตรงแต่ผู้ปฏิบัติไม่ตรงตามพุทธศาสนา มันก็หลอกลวงตัวเองโกงคนอื่นเท่านั้น นี่หลักจริงเป็นอย่างนี้ ให้จำไว้ให้มั่น ฯ
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ถ้าฝึกธรรมกายมานาน ๑๐ ปี แล้วไม่เห็นดวงปฐมมรรค ควรจะฝึกต่อไปหรือเปลี่ยนไปฝึกแบบอื่น ?




    หลายคนมีจิตใจหลายอย่าง มีหลายอารมณ์ กระผมจะกล่าวเฉพาะอารมณ์ของกระผมว่า อะไรที่มันถูกต้องดีแล้ว ทำไปเลยจนตาย ไม่ต้องเปลี่ยน หลวงพ่อรับรองว่าก่อนตายได้เห็นทุกคน มีแม่ชีคนหนึ่ง วัดปากน้ำ
    แกนั่งเท่าไรก็ไม่เห็น ตั้งแต่สาวเล็กๆ จนกระทั่งสาวใหญ่ ใหญ่ไปจนกระทั่งสาวแก่ ก็ไม่เห็น ก็หงุดหงิด เจ็บใจนัก เลยไปทำหน้าที่ประเภทล้างถ้วยล้างชาม ล้างกระโถน ตอนหลังแก่ป่วยจะตาย แกเห็นจริงๆ แกบอกแกเห็นแล้ว
    ปฏิบัติไป ประกอบด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่าง กว่าที่จะเห็นได้ บางคนช้า บางคนเร็ว เมื่อเราเห็นว่าเป็นวิธีที่ถูกต้อง เหมาะสมแล้ว เราเดินหน้าอย่างเดียว เดี๋ยวเดียวก็ถึง อย่าไปนึกว่ามันช้า
    หลวงพ่อเองก็หลายปีกว่าจะเห็น อาศัยว่าว่ากันเต็มที่ จนถึงกับปล่อยชีวิต คำว่าปล่อยชีวิต มีคนค้านว่า เมื่อยอมตายแล้วจะอยู่ได้อย่างไร คำว่าปล่อยชีวิต หมายว่า เมื่อไม่ได้อย่างนี้แล้วปล่อย ยอมตาย ท่านทำได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องตาย เหมือนพระพุทธเจ้าสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ ถ้าไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณจะไม่ลุกจากที่ ถึงแม้เลือดเนื้อจะแห้งเหือดไปก็ตาม ก็คือตาย แต่พระองค์ท่านบรรลุธรรมที่ตั้งใจจะบรรลุ เรียบร้อยกันไป อันนี้ก็กราบเรียนเพื่อทราบ
    เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผม ผมจะไม่เปลี่ยน คือเราไปนึกว่าอย่างนี้จะต้องเห็นดวงเห็นกาย ถ้าไม่เห็นดวงเห็นกาย หงุดหงิดเสียแล้ว ที่แท้ใจสงบด้วยสติสัมปชัญญะครบด้วยการเจริญภาวนาสมาธิ ถึงยังไม่เห็นดวงเห็นกาย ทำบ่อยๆ เนืองๆ กิเลสก็เบา เบาไป ดีไปเรื่อยๆ ให้รู้ตัวอยู่เรื่อยไป เคยหงุดหงิดจะโกรธซัก ๑๐ ที ก็ให้เหลือ ๘ พอทีหลังให้เหลือ ๖ สติคอยกำกับเอาไว้ ยังไม่เห็นช่างมัน
    ถึงเวลาเบากาย เบาใจ จิตใจเป็นอิสระได้ มันหยุดนิ่งมันถูกส่วนเข้า เห็นเองเป็นธรรมดาครับ
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ...........โทษ่ของการดูหมอ..................

    หลวงพ่อช่วยบรรยายให้ผู้ปฏิบัติธรรมรุ่นนี้เขาซึมลึกๆ หน่อยซิเจ้าคะว่า เรามาอยู่ตรงนี้ทำไม หลวงพ่อทราบไหมคะว่า มีการดูหมอ ?



    ก็เคยพูดในหลักธรรมแล้วว่า การมาปฏิบัติธรรมที่นี่ เราตั้งเป้าของเราไว้แล้วว่า สพฺพทุกขนิสฺสรณ เราจะมาสลัดตนออกจากทุกข์ทั้งปวง นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย เราจะมาทำนิพพานให้แจ้ง นั่นหมายความว่า
    เรามีหน้าที่รับผิดชอบต่อตัวเองในการมาศึกษาและปฏิบัติธรรม เพื่อทำความเข้าใจให้แจ้งชัดว่า การมีชีวิตเวียนว่ายตายเกิดในสังสารจักรนี้มีทุกข์มาก และที่เป็นทุกข์เช่นนั้นก็เพราะมีเหตุแห่งความทุกข์เป็นเหตุเป็นปัจจัย ปรุงแต่งสัตว์โลกให้เป็นไปกรรมไม่ดี จึงเป็นทุกข์ ในส่วนที่ทำกรรมดีก็เป็นสุข เมื่อทำทั้งดีและชั่วก็ทุกข์ระคนสุข แม้สุขก็ไม่ถาวร ลงท้ายก็ทุกข์อย่างเก่า กรรมไม่ดีมีอะไรบ้าง คงไม่ต้องแจกแจง แต่ว่าอย่างน้อยท่านทราบความประพฤติผิดศีลเป็นความประพฤติไม่ดี อุบาสกอุบาสิกามาอยู่ที่นี่จึงตั้งใจรักษาศีล ๘ เพื่อที่จะรักษากาย วาจา ใจให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษต่อตนเองและผู้อื่น สามเณรรักษาศีล ๑๐ พระตั้งใจรักษาศีล ๒๒๗ นั่นจำเพาะที่มีมาในพระปาฏิโมกข์ นอกพระปาฏิโมกข์อีกต่างหาก ก็ต้องการให้สำรวมกาย วาจา ให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษ ซึ่งความจริงไม่ใช่ศีล ๘ ข้อ ๑๐ ข้อ หรือ ๒๒๗ ข้อเท่านั้น แต่มีมากกว่านั้นมากมาย อะไรขึ้นชื่อว่ากายทุจริตคือไม่ดีทางกายเป็นอันให้โทษทั้งหมด เราต้องศึกษาว่าที่ไม่ดีนั้นมีอะไรบ้าง แม้กระทั่งการดูหมอ ก็ไม่ทราบว่าใครเป็นคนดูละ และก็จะไม่ถามหาด้วย แต่ให้ทราบว่าการมาดูหมอไม่ใช่กิจที่พึงกระทำ ณ สถานที่นี้ และในขณะเช่นนี้ เพราะนั้นไม่ใช่ทางให้หลุดพ้น เราจะทำอะไรจะต้องทำเฉพาะในส่วนที่เป็นทางให้หลุดพ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ส่วนผู้ที่มาดูก็ไม่ได้ผลให้เป็นความพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง เพราะว่าถ้าหมอเขาดูว่าชะตาไม่ดี เราก็เสียใจ เป็นห่วงเป็นใยตัวเอง ดีไม่ดีก็ต้องเชื่อหมอว่า ต้องสะเดาะเคราะห์อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ถ้าหมอว่าจะดี ก็ลิงโลดดีอกดีใจ ประมาทต่อไปอีก ที่แท้คนจะดีหรือไม่ดีไม่ต้องดูหมอ ถ้าทำไม่ดี ดูหมอ เอาหมอมาเรียงตั้งแต่นี้ไปถึงกรุงเทพฯ ก็ช่วยอะไรไม่ได้ แต่ถ้าทำดี ไม่ต้องมีหมอเลยสักหมอเดียวก็ดีได้ แต่บางครั้งบางท่านอาจจะนึกว่า เอ๊ะเดี๋ยวนี้ก็ทำดีแล้วแต่ยังไม่ได้ผลดี หรือว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้อยู่ กรรมเก่ายังไงล่ะ มันกำลังให้ผล หมอก็ช่วยไม่ได้ ถ้าหมอช่วยได้ ไม่ต้องมาสอนให้ปฏิบัติธรรมหรอก
    เพราะฉะนั้น เรื่องหมอดูนี่เกือบไม่มีผลเลยในชีวิตถ้าคนที่มีปัญญา เพราะจะดีหรือชั่วอยู่ที่เราทำ เราทำดี ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล หมอดูทำอะไรไม่ได้ ดูก็ไม่เห็นมีอะไรที่จะต้องไปศักดิ์สิทธิ์อะไร เพราะฉะนั้น พูดเรื่องนี้มาก็วกมาถึงเรื่องที่เรามาศึกษาปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อกระทำคุณความดีให้เกิดความเจริญและสันติสุขและพ้นทุกข์ เราถามตัวเองก่อนว่า ดูหมอช่วยให้พ้นทุกข์ไหม? ทั้งผู้ดูหมายถึงผู้ที่เป็นหมอ และผู้มาขอให้ดูนั่นแหละ มันใช่ไหมทางพ้นทุกข์ เพราะคนเราจะทุกข์หรือจะสุขจะดีหรือจะชั่วมันอยู่ที่กรรมการกระทำของเรา เท่านั้นเอง ไม่มีอะไรอื่น มีเท่านี้แหละ ไม่ต้องไปหาอะไร ทำดีก็สบาย ทำไม่ดีก็ไม่สบาย มีเท่านี้ ให้เรามารู้ตรงนี้ มีหลักตรงนี้ แล้วสบาย นี้ในเรื่องของที่กล่าวว่าการดูหมอ
    แม้กระทั่งไปถึงการใบ้หวย การพนัน เวลาเล่นไปแล้วมันเหมือนผีสิงนะ อาตมาสมัยเป็นคฤหัสถ์ก็เคยเล่นนะการพนัน ไม่ใช่ไม่เคย เล่นอะไรมันติดไอ้นั่นแหละโยม เล่นไพ่ติดไพ่ เล่นหวยติดหวย ซื้อล๊อตเตอรี่ติดล๊อตเตอรี่ ขณะรู้ๆ มันแกะไม่ออกนะโยม เพราะฉะนั้นมันเป็นประเภทผีสิงนะอบายมุขน่ะ มันหนักพอๆ กันกับยาเสพติดนะ เพราะฉะนั้นตัดได้เลิกได้ก็ดี แล้วนอกจากนั้นผู้ให้หวยอย่านึกว่าดี ทำให้ผู้อื่นติดอบายมุข ตนเองเป็นเปรตด้วย ไม่ว่าเป็นพระเป็นเณรเป็นเถรเป็นชี ไม่เจริญหรอกชีวิตน่ะ ไม่ว่าใคร กายในกายเป็นเปรตตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาละที่นี้ ทั้งภวตัณหาชื่นชมยินดี ถ้าเกิดถูกหวย หรือว่าใบ้หวยไปแล้วบังเอิญมันถูก คนอื่นเขาชื่นชม แหมชอบใจ และก็คนที่ไปตีหวยถูกก็ดีใจ ยึดติด ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาและทิฏฐิ เป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ ทำให้เกิดภพ ชาติ เกิดเลยตามสายปฏิจสมุปบาทธรรม กายในกาย ณ ภายในเปลี่ยนจากกายสุคติจากกายมนุษย์ละเอียดที่บริสุทธิ์ผ่องใสถ้ามีศีลมีธรรม เป็นกายเปรต เหมือนกายมนุษย์แต่ว่าซ่อมซ่อ ตัวสูงๆ ใหญ่ๆ ตัวเองไม่รู้ แต่หน้าดำๆ หน้าไม่มีราศี และเดี๋ยวก็เดือดร้อน เพราะมันทุกข์ นำไปสู่ความทุกข์ ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ ก็เท่านั้น เพราะฉะนั้นก็อุตส่าห์มีแม่ชีมาขอให้หลวงพ่อมาบอกผู้ที่มาปฏิบัติที่ยังหลงผิด ให้ถามตัวเองก่อนปฏิบัติทำไม ? ปฏิบัติเพื่อสลัดตนออกจากทุกข์ ถ้าเราทำอะไรที่มันผูกพันตัวเองเข้าไปสู่ความเป็นทุกข์ ทำทำไม ? และเราต้องรู้ด้วย มันไม่พ้นทุกข์ มันกลับผูกพันตัวเองเข้าไปในทุกข์ เพราะการกระทำของเรา เพราะฉะนั้นจงเลิกละเสีย และก็ตั้งใจกระทำคุณความดี ให้มีผลเป็นความเจริญและสันติสุขต่อตัวเองและพ้นทุกข์ตามแนวทางพระพุทธศาสนา เริ่มตั้งแต่ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล และก็ศีล สมาธิ ปัญญา ให้ถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ให้ถึงธรรมโคตรภู โสดา พระสกิทาคา พระอนาคา อรหัต ถึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แต่ละท่านๆ ก็มีสิทธิ์ทำและดำเนินไปในแนวทางนี้ ธรรมะเป็นเครื่องชี้ทางมีอยู่แล้ว ผู้บอกก็มีอยู่แล้ว ท่านจะเดินหรือท่านไม่เดินก็ตัวท่าน อาตมาก็เลยบอกเท่านี้ อันนี้ก็ให้เป็นที่เตือนใจ ให้นึกว่าแม่ชีที่เขียนมานี้คือผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ จงนึกขอบคุณและอนุโมทนาท่านด้วย
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    การเข้าวัดของพวกกระผมจำเป็นต้องปฏิบัติสมาธิให้ถึงธรรมกายหรือไม่ ? เพราะในชีวิตสังคมภายนอกยังต้องแก่งแย่งแข่งขันเพื่อความอยู่รอด การเรียนรู้ธรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การไม่ทำชั่ว และทำบุญตามโอกาส จะเป็นการเพียงพอหรือไม่ ?




    ข้อนี้อาตมาใคร่จะเปรียบเทียบให้โยมคุณตำรวจทั้งหลายได้ทราบว่า การทำความดีนี่ จะถามว่าดีแค่ไหนจึงจะเพียงพอ ก็เปรียบเหมือนคำถามว่า จะหาเงินเท่าไรจึงจะเพียงพอ จะเอาแค่ว่าพอเลี้ยงตัว เก็บกระถินข้างรั้ว
    เก็บผักตำลึงข้างรั้ว ปลูกตะไคร้ข่าพริกผักเล็กๆ น้อยๆ พอรับประทาน แค่นี้พอไหม ? นี่ท่านก็ตอบได้เอง จะว่าพอก็ใช่ แต่ว่าในเรื่องของอาหาร ท่านก็ต้องดูต่อไปอีกว่า อาหารบางอย่างเป็นพิษ อาหารบางอย่างมีแต่คุณ อาหารบางอย่างเป็นทั้งคุณและเป็นทั้งพิษ ถ้ากินมากก็ถึงความเป็นโทษได้
    มีอย่างหนึ่งให้ท่านพิจารณา ในการที่จะรู้ว่าอาหารใดดีเลิศประเสริฐศรีอย่างเดียว และต้องมีคุณค่าครบถ้วนในร่างกายอย่างเพียงพอด้วยนะ ไม่ใช่มีคุณค่าเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือว่าอาหารอย่างใดเป็นโทษแต่อย่างเดียว หรืออาหารอย่างไรมีโทษบ้าง เป็นคุณบ้าง ที่จะเกิดแก่ร่างกายของเรา เราจะเอาแบบชาวบ้านเอาแค่นี้พอไหม ? จะตอบว่าพอก็ได้ แต่ว่าเมื่อไหร่ ไปหลงรับประทานอาหารที่เป็นโทษโดยที่ไม่รู้ตัว โดยที่ไม่ศึกษา หรือขาดแคลนสารอาหารที่สำคัญบางอย่าง ท่านก็มีสุขภาพที่เจริญดีได้ในระดับหนึ่ง หรืออาจจะแย่ลงไปอีกในระดับหนึ่งก็ได้
    แต่ถ้าท่านได้ศึกษาว่าอาหารที่ดีมีประโยชน์คุณค่าแก่ร่างกายแท้ๆ มีอะไร ? กี่อย่าง ? ควรจะรับประทานกี่มากน้อย ? อะไรเป็นโทษอย่างแท้จริงก็หลีกเลี่ยงไปเลย อะไรที่มีคุณบ้างโทษบ้าง ถ้าว่ารบทานเกิดขนาดจะมีโทษ ท่านก็พึงพิจารณาเอา อย่างนี้ สำหรับตัวท่าน และในขณะเดียวกันจะรับประทานกี่มากน้อย ? ท่านจะต้องหารายได้เท่าไหร่จึงจะเพียงพอเหมาะที่ท่านจะรักษาสังขารร่างกายของท่าน อยู่ยงคงกระพันไม่รู้จักตายนั่นแหละ เมื่อท่านยังไม่รู้ตรงนี้แน่ชัด ก็เหมือนไม่รู้ธรรมข้อปฏิบัติที่ดีเลิศให้ทั้งคุณเป็นความเจริญและทั้งสันติสุขอย่างเดียว ตลอดไปจนถึงความพ้นทุกข์อย่างถาวรอย่างแท้จริง นี่ท่านก็ยังไม่รู้หมด ท่านจะรู้ว่าธรรมปฏิบัติข้อนี้เป็นคุณบ้างข้อนี้เป็นโทษบ้าง ข้อไหนควรละเว้นก็ละเว้น ข้อปฏิบัติบางอย่างดูเหมือนว่ามีคุณแต่กลับมีโทษ เหล่านี้ท่านอาจรู้บ้างไม่รู้บ้าง เพราะฉะนั้นการทำคุณความดีในระดับหนึ่งมันก็ได้ผลในระดับหนึ่ง และมันอาจจะมีส่วนเสียได้ในระดับหนึ่ง แต่ท่านพิจารณาเห็นว่าชีวิตเราน้อยนัก มีโอกาสเกิดมานี้มีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ ๗๕ ปี เดี๋ยวนี้แต่ละท่านมีอายุเท่าไรแล้ว ในช่วงชีวิตที่เหลือนี่ท่านได้ทำคุณความดีสั่งสมไว้สำหรับเป็นเสบียงเลี้ยงตัวไปได้แค่ไหน จึงจะให้ถึงระดับที่เทลง ลุ่มลง ลาดลงสู่พระนิพพาน สู่ทางพ้นทุกข์อย่างแท้จริง เริ่มตั้งแต่ให้เกิดผลเป็นความเจริญและสันติสุขอย่างชาวโลก ยิ่ง ๆ ขึ้นไปจนถึงความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง ท่านได้ทำแค่ไหนและอย่างไร พูดอย่างง่าย ๆ ท่านทำที่พึ่งของท่านไว้แค่ไหนแล้ว เหมือนกับว่าท่านสร้างอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของท่าน ท่านจะถามว่า สร้างกระต๊อบแค่นี้ท่านก็อยู่ได้พอใจไหมครับ ? ท่านก็ก็ตอบเองได้ แต่บางทีหลังคามันรั่ว ฝนเปียกมั่ง น้ำท่วมบ้าง เหลือบยุงลิ้นไรมันกัดท่านบ้าน ดีไม่ดีงูพลอยขึ้นมาบนบ้านท่าน กัดท่านก็ได้ ตายโดยไม่รู้ตัวโดยเร็วก็ได้ แต่ถ้าท่านทำบ้านของท่านให้ดีให้มั่นคงขึ้นไป มันก็ปลอดภัยสำหรับท่านมากขึ้น คำถามของท่านเป็นฉันใด คำตอบเรื่องธรรมก็มีอุปมาอุปไมยดั่งเรื่องอาหารหรือเรื่องการสร้างบ้านที่อยู่อาศัยสำหรับท่านฉันนั้น
    อย่างอาตมานี้พอเห็นแล้ว โอ้ ! เรามีชีวิตเหลืออยู่เพียง เอาละ ๓๐ ปี ๔๐ ปี อย่างเก่ง นานไปกว่านี้ก็คงอยู่ไม่ได้แล้ว ประการแรกเราต้องทำประโยชน์แก่ตัวเอง ประการที่สองต้องทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เรื่องนี้มันเป็นอารมณ์ของผู้บำเพ็ญบารมีอีกประเภทหนึ่ง แต่อย่างน้อยต้องทำประโยชน์แก่ตัวเอง อยู่ในการครองเรือนก็สามารถบรรลุมรรคผลได้ หรือทำความดียิ่งๆ ขึ้นไปได้ มีตัวอย่างมากไปในสมัยพุทธกาล หรือสมัยนี้ก็น่าจะมี แต่เขาไม่เปิดเผย คือทำความดีไปจนถึงขั้นเป็นพระอริยบุคคล บุคคลที่บรรลุมรรคผลนิพพานตั้งแต่พระโสดาบันบุคคลขึ้นไปแม้เป็นคฤหัสถ์ เขาเรียกว่า “อริยบุคคล” นับว่า เป็นผู้ประเสริฐแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเรียกอย่างนั้นแล้ว ถ้าถึงขั้นเป็นอริยบุคคลก็เที่ยงต่อพระนิพพาน และปิดประตูอบายทั้งหมด แต่ว่าแม้เราไม่ถึงขั้นนั้นก็ตั้งใจให้ดีที่สุด นี้คืออาตมาใคร่จะบอกย้ำว่า จงตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ดีที่สุด อย่าถอยหลัง อย่าเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา ออกนอกทางศีลธรรม ให้อยู่ในศีลธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป “ศีล” ท่านก็รู้แล้ว “ธรรม” ก็คุณความดี ธรรมะตั้งแต่ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล จงตั้งใจทำไปเลย ให้ได้ผลดีตามลำดับ
    เราทำได้เมื่อก่อนจะบวช อาตมาตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังได้ ๑๐ ปีที่ยังอยู่ในเพศคฤหัสถ์ และเมื่อเราทำได้มากนะคุณโยมจะบอกให้ คุณโยมพิจารณาดูให้ดี บางคนมีครอบครัวมีลูกมีหลาน หรือแม้แต่ในครอบครัวทีมีพ่อแม่พี่น้อง มันมีทั้งคนดีและคนไม่ดี มีอยู่ด้วยกันทั้งดีมากดีน้อย เลวมากเลวน้อย อยู่ในบ้านเรานั้นแหละ แต่ถ้ามีคนประพฤติปฏิบัติชอบมากขึ้นแม้แต่คนหนึ่งในครอบครัวนั้น ก็จะเป็นแสงสว่างคือเป็นตัวอย่างที่ดีต่อผู้อื่น เป็นข้าราชการตำรวจที่มีจิตใจสูง ใครเห็นก็เคารพนับถือ เป็นเกราะป้องกันเราทุกเมื่อทุกด้าน เรายกตัวอย่างง่ายๆ เอาละเหมือนท่านรัฐบุรุษหรือองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นี้เป็นตัวอย่างที่เราพึงเข้าใจว่า อ้อ คนดี ท่านดีระดับประมาณนี้ คนก็นับถือ หรือแม้แต่นักการเมือง หรือนายกรัฐมนตรีที่มีความประพฤติดี ไม่กินไม่โกง สมถะ ยังเป็นเกราะป้องกัน ป้องกันไปถึงพรรคการเมืองนั้นแม้จะมีคนไม่ดีอยู่บ้าง นี่คือเกราะป้องกัน นี่ในระดับสูง ในระดับเราก็เหมือนกัน ลองทำดีอย่างนั้นแล้วนี้ ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ดีประเสริฐยิ่งๆ ขึ้นไป และทำกิจการงานดี ด้วยอัธยาศัยใจคอที่ดี ปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังสติปัญญาความรู้ความสามารถ ถามว่า ถ้าจะมีการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง ถ้าท่านเป็นผู้บังคับบัญชาท่านจะเลือกใคร ? ท่านก็ตอบได้เองว่า การปฏิบัติธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนั้นควรกระทำหรือไม่
    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าเกิดตายเสียก่อน เรายังไม่ได้ทันตัว ถ้าเราทำความดีอยู่แล้วก็ไม่ต้องห่วง มันเปลี่ยนแต่ร่าง เหมือนท่านเปลี่ยนฟอร์มนี่ เท่านั้นน่ะ ขณะนี้ ท่านก็กำลังใส่แบบฟอร์มอย่างนี้ เดี๋ยวท่านถอดออกแล้ว ออกมาเป็นอีกแบบหนึ่งแล้ว ด้วยคุณความดีที่ปรุงแต่งขึ้นมา โอ้ ! มีความสุขความเจริญในภพภูมิที่ดียิ่งๆ ขึ้น เพราะความตายมันไม่เลือกใครนะ และก็ไม่เลือกเวลาด้วย
    นี่อาตมาจึงขอบอกให้ท่านไปคิดเอาเองว่า ท่านควรจะปฏิบัติในระดับไหน และยิ่งในวงการทำงานที่จะต้องแข่งขันกัน เราก็แข่งขันกันโดยธรรม อาตมาเคยทำงาน ไม่ใช่ที่ทำงานไม่มีการแข่งขัน แต่เราใช้ขันติธรรม เราใช้พรหมวิหารธรรม เราใช้คุณธรรมของเราคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ของเรานี้ โยมเชื่อไหม ? ชนะได้ ชนะเลย ผู้บังคับบัญชาบางคนก็แย่ พอได้รับการประจบสอพลอ เช่น มีการนำเจ้านายไปเลี้ยงสุรานารี ผู้บังคับบัญชาบางคนก็ชอบสิ มีประเภทนี้มากเสียด้วย แต่คนหัวประจบก็ไม่ค่อยทำงานเท่าไร ดีแต่เดินไปเดินมา ชอบนินทาคนนั้น เที่ยวเอาเรื่องคนนั้นไปฟ้องเจ้านาย คนผู้มีอำนาจที่ไม่ฉลาดนักหรือเจ้านายก็เลยเชื่อ เชื่อเจ้าคนหัวประจบ แล้วกลับมาบีบอาตมาน่ะ อาตมาอยู่ด้วยขันติธรรม แต่ทำความดีตลอด ลงท้ายคนนั้นก็แพ้ภัยตัวเอง เจ้านายนั่นตอนหลังถูกผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือสั่งให้ย้ายให้ไปรักษาการหรือให้ไปช่วยราชการ ณ ที่อื่นอีกแห่งหนึ่ง เพื่อหาตำแหน่งลงที่นั่น พอย้ายไป ๓ เดือนหาตำแหน่งลงไม่ได้จึงกลับมาที่ทำงานเดิม ลอยไปลอยมาอยู่หนึ่งเดือน เขาก็ย้ายกลับไปต่างประเทศแล้วก็สั่งปลด หลังจากนั้นเขาก็ส่งคนดีมาเป็นผู้บังคับบัญชาของอาตมา ทีนี้ได้คนดีมีความรู้ความสามารถ ผู้บังคับบัญชาคนใหม่เขาอ่านออกว่าคนไหนดีคนไหนเลว อาตมาก็เลยได้รับการยกย่อง ถูกให้เพิ่มหน้าที่การงาน ถูกส่งให้ไปศึกษาในต่างประเทศบ่อยๆ เป็นของปกติ ชีวิตก็จึงเจริญรุ่งเรือง ดีกว่าเมื่อครั้งก่อนๆ ที่เคยประพฤติผิดศีลผิดธรรมบ้าง
    เรื่องตัวอย่างที่จะเล่าให้ฟังว่า ถ้าทำความดีมีศีลมีธรรมแล้วฐานะเจริญขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ว่าเมื่ออาตมาปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ หนักเข้าก็เลยวางแผนชีวิตของตน ๑๐ ปีก่อนบวช แล้วก็บวชก่อนเกษียณ ๓ ปีเพื่อปฏิบัติพระศาสนา และเป็นอยู่มาดังที่ทำให้ท่านเห็นนี่ ทุกอย่างก็ทำไว้ให้ลูกหลาน และก็ใคร่จะบอกกับทุกท่านว่าอาตมาเคยมีประสบการณ์ในชีวิตทางโลกมามาก ไม่ใช่น้อยๆ ๕๗ ปีเต็มก่อนบวช ก็มีประสบการณ์เต็มที่ เพราะฉะนั้นพวกท่านบางคนอาจจะแค่ลูก ระดับลูกระดับหลานก็ยังมี เพราะฉะนั้นทุกท่านจงตั้งใจศึกษาและปฏิบัติธรรมให้มาก ทำไปเถอะมีผลดีเหลือเกิน.
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    มีคนบอกว่า คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ นั่นจริงหรือไม่ ? อย่างไรครับ ?



    ก็บอกแล้วว่า เขาไม่รู้ว่าติดรูปคืออะไร เพราะเขาไปเข้าใจเรื่องธรรมกายเป็นนิมิต และกระผมจะบอกให้ชัดเจนกันตรงนี้ พระคุณเจ้าโปรดทราบ โจมตีกันมานานแล้วว่า ธรรมกายวัดปากน้ำติดนิมิต ติดรูป กระผมอยากจะเรียนถามว่า
    มีอยู่ตรงไหนที่พระพุทธเจ้า ไม่ให้ใช้นิมิต มีไหม ! ใครเอามาแสดงให้ดูหน่อยได้ไหมครับ ผมจะประกาศให้ก้องทั่วโลก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ไม่มีใครเอาบทนี้มาดูเลย นี่ หลักทำนิพพานให้แจ้ง
    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความเงียบสงัด จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้
    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่ง วิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลบริบูรณ์ได้แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มี ได้เลย”
    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ตามประกอบความยินดี ความพอใจในหมู่อยู่แล้วหนอ เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความเงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้
    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาจิตวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้”
    คิดดูเถอะ..พระพุทธเจ้าน่ะตรัสให้ทำนิมิต มันเรื่องอะไรเราจะไปปฏิเสธนิมิต มันเป็นฐานสำคัญ นิมิตเป็นอุบายรวมใจให้มาหยุด เพราะใจมันมีตัวตนที่ไหน จะให้ใจหยุด ถึงได้สอนกัน บางท่านก็บอกว่า สมาธิแบบธรรมชาตินั่นถูกต้องแล้ว เท่านี้ก็พอแล้ว ความจริงพอหรือไม่พอ ให้ดูอริยมรรคมีองค์ ๘ : สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌานทั้ง ๔ ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ มันต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต นั่นแปลว่า มันเริ่มมาตั้งแต่บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตจึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติกำจัดพยาบาท สุขกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตากำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ ๕ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ ๕ อยู่ที่ไหน ? ก็อยู่ที่มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ นั่นแหละ ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น ใครตั้งนิมิตขึ้นถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย มันผิดที่ไหนกันครับ
    เกจิอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณานิมิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณาให้เห็นนิมิตตามที่เป็นจริงว่านี่..สังขารนิมิต ไม่ว่าจะเอาอะไรมาพิจารณา จะเป็นเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ก็ยกขึ้นมาพิจารณานี่ ก็ให้พิจารณานิมิตนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะนิมิตนั้นเป็นของจริงโดยสมมติ เมื่อพิจารณาแล้วถูกต้องตรงถึงธรรมกาย จะไปปฏิเสธได้ยังไง นิมิตมันต้องเกิดด้วย และถ้านิมิตไม่เกิด หรือไม่ได้ใช้นิมิตแล้วจะยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้อย่างไร นี้มีอยู่ใน ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย ไปเปิดดูได้ทุกท่าน เป็นพระพุทธวจนะด้วย ไม่ใช่เป็นของพระอรหันต์ธรรมดาด้วยซ้ำไป
    เพราะฉะนั้น นิมิตนี่เป็นของต้องมี สมถภูมิ ๔๐ น่ะบอกไว้ชัดเจนเลย กสิณ ๑๐ นี่มันชัดอยู่แล้วก็มันนิมิตอยู่แล้วนี่ จริงๆ แล้ว แม้ อนุสสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ ก็ต้องเห็นนิมิต แต่นิมิตที่เห็นอย่าง อนุสสติ นี่ยังไม่แท้ แปลว่า พิจารณาจริงๆ จะเอาแน่ๆ เช่น เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าคนที่เห็นนิพพาน สัมผัสนิพพาน ซ้อนนิ่งอยู่กลางนิพพานทั้งรู้ทั้งเห็นและได้อารมณ์พระนิพพาน ส่งกระแสพระนิพพานมันผิดตรงไหน แต่นั่นนิพพานไม่เรียกว่านิมิต แต่ว่าสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน
    แต่เทวตานุสสตินี่มันชัดอยู่แล้วมันต้องเห็น แต่ไม่เห็นก็ได้ ก็นั่งท่องเอาว่าเทพยดามี เขาทำกุศลสำคัญ มีศีลกุศล ทานกุศล ภาวนา กุศล เป็นต้น เลยไปเกิดเป็นเทพยดา มีหิริโอตตัปปะ อย่างนี้ก็ได้...ก็ลองดูสิว่า ใจมันสงบได้เท่าไร กระผมว่าสงบได้นิดเดียว แต่ถ้าเป็นผู้สื่อกับเทวดาได้ โดยวิธีการที่ถูกต้องไม่ใช่โดยบังเอิญหรือถูกหลอก อันนั้นล่ะดีที่สุด เป็นนิมิตของจริงโดยสมมติ รู้เลยว่าเทวธรรมมีอะไร อย่างชัดเจนและถ้าคนถึงเทวกายได้เห็นเทพยดา ผมรับรองว่า สงบครับ..สงบแน่ ๆ เพราะขึ้นชื่อว่าสมถกัมมัฏฐาน ต้องสงบจากกิเสลนิวรณ์
    ดังนั้น นิมิตคือ สื่อที่ทำให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ ๑๐ อาโลกกสิณเป็นกสิณครอบจักรวาล เป็นกสิณกลาง ไม่ว่าบุคคลจะมีอัธยาศัยอย่างไรก็ตาม ใช้กสิณนี้กสิณเดียวครอบได้หมด ใช้แก้ไขป้องกันได้เลย กสิณก็คือนิมิตนั่นแหละ
    และแม้แต่คนที่ทำวิปัสสนาไม่ว่าจะสายไหนก็เอานิมิตทั้งนั้น ท่านสูดลมหายใจเข้าออก ท่องพุทโธๆ ไป พอจิตละเอียดหนักท่านเห็นอะไรล่ะ ให้ไปถามผู้ที่ถึงจุดนี้ได้ทุกคน..ก็เห็นดวงใสครับ กระผมเชื่อแน่และรับรอง ๑๐๐% ว่าหลวงพ่อมั่นนี่ท่านเห็นดวงใส แล้วท่านก็เอาเข้ากลางดวงนั้น กลางของกลางดวงนั้น แต่ท่านปฏิเสธการเอาดวงออกนอก ท่านบอกมันไม่ถูกต้อง แต่ดวงใสอยู่ในใจของท่าน อยู่ศูนย์กลางข้างในกายท่าน พิจารณาเช่นนี้ครับ ทิพพจักขุ ทิพพโสต เกิดตรงนั้น เห็นแจ้ง เห็นชัด ก็เห็นจากตรงนั้น ไปถามเอาเถอะครับ
    ยุบหนอพองหนอ นั่งภาวนาก็เห็นครับ ทำไมจะไม่เห็น เห็นตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำไป ไปถามดูก็ได้ แต่ก็เห็นด้วยใจหรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้จักหรือไม่ก็ตาม นึกออกไปเห็น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ไม่ใช่นั่งท่องเอานะครับ เห็นน่ะนิมิตทั้งนั้น แต่ต้องเห็นด้วยใจ ทีนี้..นิมิตมันไปหมดตรงไหน ? ไปดูเถอะครับ ตำราวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ว่าเมื่ออริยมรรคญาณจะเกิดขึ้นปหานสังโยชน์กำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะเดียวกันปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ ได้ชื่อว่าท่านออกจากภาคทั้ง ๒ คือสังขารนิมิตและตัณหาปวัตติ อุภโตวุฏฐานะ ไปดูได้ในปัญญานิทเทส ปวัตติ คือเครื่องปรุงแต่ง ก็ตัณหานั่นแหละหรือสัญโญชน์ อุภโตวุฏฐานะ คือออกจากภาคทั้ง ๒
    ทีนี้ ออกจากสังขารนิมิตนี่ครับ วิชชาอื่นกระผมอธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จัก แต่วิชชาธรรมกายน่ะให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนจิตละเอียดหนัก สมถพละคือกำลังสมาธิ และวิปัสสนาพละมีกำลังเสมอกัน แล้วจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่พิสดารละเอียดไปจนจิตละเอียดหนัก จนวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้ชั่วคราว หรือ สำหรับพระอรหัตมรรคก็ต้องได้ถาวร หรือปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียดปรากฏเข้าไปในอายตนะนิพพาน หรือซ้อนเข้าไปในพระนิพพาน หรือปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน ก็ได้อารมณ์พระนิพพาน นั่นจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงออกจากภาคทั้ง ๒ คือ จิตละเอียดหนัก พ้น..หลุดจากสังขารนิมิต คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในภพ ๓ ตั้งแต่มนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไปจนสุดละเอียด จึงวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้เบื้องต้นในระดับโคตรภูญาณเป็นเพียงชั่วคราว แต่จะไปได้โดยเด็ดขาดตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้ เมื่อมรรคจิตเกิดปหานสัญโญชน์ ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เช่น โสดาบันบุคคล ก็ปหานสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ แล้วเข้าผลสมาบัติไปเลย ธรรมกายรู้เลยครับ เพราะมันดับหยาบไปหาละเอียด ส่วนหยาบเมื่อมรรคจิตเกิดสมบูรณ์ปหานสังโยชน์ นั่นธรรมกายมรรค เมื่อธรรมกายมรรคเกิดขึ้นธรรมกายผลก็ตามมาเลยชั่วขณะจิตเข้าผลสมาบัติ เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ มันตรง..เข้าใจได้เลย ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก แต่ว่า..วิธีอื่น สายอื่น กระผมไม่เข้าใจว่าละสังขารนิมิตได้โดยวิธีไหน..ผมไม่ทราบ..ไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นเรื่องนิมิตได้ โปรดเข้าใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า..เธอ อย่าใช้นิมิต ถ้าใครเอามา ให้ผมดูสักนิดเถอะครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...