ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    คุณค่าของพระรัตนตรัย ๒











    [​IMG]

    ปาฐกถาธรรมเรื่อง

    คุณค่าของพระรัตนตรัย (ตอนที่ ๒)


    โดย หลวงพ่อพระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖

    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

    วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ​
    เจริญพร ญาติโยมสาธุชนทุกท่าน
    วันนี้เป็นวันเข้าปุริมพรรษา คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาต้น เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ตลอดไปเป็นเวลา ๓ เดือน จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ในปีนี้วันที่พระภิกษุสงฆ์ได้อยู่พรรษาครบ ๓ เดือน จะตรงกับวันที่ ๑๖ ตุลาคม วันรุ่งขึ้นเป็นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ จึงจะเป็นวันออกพรรษา ซึ่งจะตรงกับวันศุกร์ ที่ ๑๗ ตุลาคม
    ในเทศกาลเข้าพรรษา ซึ่งเป็นฤดูฝน ที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องอยู่ในอาวาสของตน ตามพระวินัยพุทธบัญญัติ จะไม่ไปค้างแรม ณ ที่อื่น ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน เว้นแต่จะมีกิจจำเป็น เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ก็ขอลาไปค้างแรมที่อื่นในระหว่างพรรษาได้ ๗ วัน
    ในเทศกาลเข้าพรรษาเช่นนี้ จึงเป็นโอกาสเหมาะที่สาธุชนพุทธบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน จักได้รำลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม และคุณของพระสงฆ์ ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรมสืบบวรพระพุทธศาสนา ให้ยืนยาวมาถึงทุกวันนี้ โดยการประกอบกุศลคุณความดี ตามหลักธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองและยืนยาว เป็นประทีปส่องทางดำเนินชีวิตของสาธุชนผู้สนใจในธรรม ให้สามารถดำเนินชีวิตไปในแนวทางที่ให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขแก่ตนเองและผู้อื่นไม่เป็นไปในทางเสื่อมที่เป็นโทษที่จะเป็นความทุกข์เดือดร้อน ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
    หลักธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้ถึงความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข ไม่เป็นไปในทางเสื่อม หรือที่จะเป็นโทษ ความทุกข์เดือดร้อนนั้น ปรากฏตามพระพุทธดำรัส พระคาถาแรกในพระโอวาทปาฏิโมกข์ ๓ พระคาถากึ่ง ที่ได้ตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ได้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ที่พระเวฬุวนารามมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ว่า
    <TABLE width="48%" align=center><TBODY><TR><TD width="12%"></TD><TD width="42%">สพฺพปาปสฺส อกรณํ</TD><TD width="46%">กุสลสฺสูปสมฺปทา</TD></TR><TR><TD></TD><TD>สจิตฺตปริโยทปนํ</TD><TD>เอตํ พุทฺธาน สาสนํ.</TD></TR><TR><TD colSpan=3>การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑

    การทำจิตให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>หลักคำสอนที่ได้ทรงแสดงแก่พระอรหันต์ทั้ง ๑,๒๕๐ รูป เพื่อเป็นหลักในการออกเผยแพร่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้คำแนะนำสั่งสอนเวไนยสัตว์ คือ สัตว์โลกที่พอจะสอนได้ ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในคุณความดี ๓ ประการนี้นี่แหละ ที่สาธุชนพึงสนใจ เอาใจใส่ ศึกษาและปฏิบัติ เพื่ออบรมกาย วาจา ใจ ของตนให้เป็นไปในทางที่ดี ที่สงบ ที่เป็นคุณประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ในสังคม ให้อยู่ดีมีสันติสุขในกาลทุกเมื่อ ไม่ใช่แต่เฉพาะในกาลใดกาลหนึ่ง แต่อย่างน้อยที่สุด ในเทศกาลเข้าพรรษานี้ ให้พึงนึกถึงคุณของพระพุทธ คุณพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าใน ๓ ข้อนี้ แล้วตั้งใจศึกษาอบรม กาย วาจา ใจ ของตน ในธรรมปฏิบัติ ๓ ประการนี้ คือ
    ๑) การไม่ทำความชั่วทั้งปวง สาธุชนทุกท่านพึงพิจารณาตนเองว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตนเองได้ประกอบกรรมที่ไม่ดีที่เรียกว่าทุจริตหรือความชั่วเหล่านี้บ้างหรือไม่ คือ การประกอบกายทุจริต ได้แก่ เจตนาฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือเบียดเบียนสัตว์ที่มีชีวิตให้เดือดร้อน เจตนาประกอบอาชีพทุจริต คดโกง ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม หมกมุ่นสำส่อนในกาม เสพสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เล่นและติดการพนัน ติดเที่ยวกลางคืน คบคนชั่วเป็นมิตร เป็นต้น เหล่านี้บ้างหรือไม่ ? วจีทุจริต ได้แก่ กล่าวถ้อยคำที่ไม่จริง ที่โป้ปดมดเท็จ ถ้อยคำที่ก้าวร้าวหยาบคาย ถ้อยคำที่ยุแยกให้แตกสามัคคี และถ้อยคำที่ไร้แก่นสารสาระประโยชน์ บ้างหรือไม่ ? มโนทุจริต ได้แก่ ความคิดที่ประกอบด้วยความโลภจัด เห็นแก่ตัว แก่พวกพ้องหมู่เหล่าจัด และที่ประกอบด้วยตัณหา ราคะจัด ความคิดที่โกรธแค้น พยาบาท และความคิดที่ไม่รู้บาปบุญคุณโทษ หลงตัวหลงตน หลงอำนาจ บ้างหรือไม่ ?
    พึงพิจารณาความประพฤติปฏิบัติของตนเอง ด้วยความเที่ยงธรรม คือ ไม่เข้าข้างตนเอง ไม่ยกเว้นให้กับความชั่ว ไม่แก้ตัวให้กับความผิดของตนเอง จงยืนอยู่บนความจริง คือ ยอมรับความจริงเสีย จึงจะสามารถแก้ไขปรับปรุงตนให้เป็นคนดีได้ ถ้าไม่ยืนอยู่บนความจริง ไม่ยอมรับความจริง ก็ย่อมไม่มีการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาตนให้ดีขึ้นได้ เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณาตนเองพบเห็นทุจริตหรือความชั่วของตนเอง แม้แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ก็จงตั้งใจเลิกละเสีย ด้วยการตั้งใจรักษาศีล อย่างน้อยศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ อย่างน้อยก็ตลอดเทศกาลเข้าพรรษานี้ และถ้ากระทำได้ตลอดไป ก็จะเป็นกุศลบุญราศรีแก่ตนเอง และจะยังความสันติสุขแก่ผู้อื่น ที่อยู่ร่วมกันในสังคมได้มาก
    สาธุชนพึงทราบว่า ที่สังคมประเทศชาติและตลอดไปถึงสังคมของโลกมีความเดือดร้อน วุ่นวาย สับสันด้วยปัญหาต่างๆ ทั้งทางการเมือง การปกครอง การบริหาร และการเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้เป็นผลแต่ที่บุคคลในสังคม และ/หรือผู้มีอำนาจหน้าที่บางคนหรือหลายคน ในทางการเมือง การปกครอง การบริหาร และการเศรษฐกิจ ทุกอย่าง ขาดศีลขาดธรรม ไม่มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปอกุศล หรือความชั่ว ความทุจริตต่างๆ เพราะความโลภจัด ความเห็นแก่ตัวแก่พวกพ้องหมู่เหล่าจัด มีตัณหาราคะจัด มักมีความโกรธแค้นผูกใจเจ็บ พยาบาท และความไม่รู้บาปบุญคุณโทษ หลงตัวหลงตน หลงอำนาจทั้งนั้น
    แต่ถ้าประชาชน ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ทุกฐานะ ทุกหมู่เหล่า ในสังคม พากันรักษาศีล ๕ ให้ดีโดยทั่วหน้ากัน เท่านั้นแหละ สังคมประเทศชาติและสังคมโลก ก็จะอยู่เย็นเป็นสุขยิ่งขึ้น กว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ อย่างมากมายนัก
    เพราะฉะนั้นสาธุชน คนมีปัญญา จึงพึงเลิกละความชั่วหรือทุจริต ทางกาย ทางวาจา และทางใจเสีย ด้วยการรักษาศีล อย่างน้อยศีล ๕ ให้มั่นคง ความสันติสุขและความร่มเย็น จะบังเกิดมีแก่ตัวท่านเองและแก่ผู้อื่น ในสังคมประเทศชาติและในโลก อย่างมากมายทีเดียว
    ๒) การบำเพ็ญแต่ความดี คือ ประพฤติแต่กัลยาณธรรม ทั้งโดยทางกาย วาจา และทางใจ คือข้อปฏิบัติที่ดีงามของกัลยาชนคนดี ได้แก่ การอบรมจิตใจของตนให้เป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา คือความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นอยู่เย็นเป็นสุข และปรารถนาให้ผู้มีทุกข์ได้พ้นทุกข์ เป็นผู้มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี เผื่อแผ่ รู้จักการบำเพ็ญทาน บริจาคทรัพย์สินของตน และรู้จักเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อผู้อื่น ให้เป็นผู้มีหิริ โอตตัปปะ คือเป็นผู้มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอกุศล หรือทุจริตต่างๆ ว่ารังแต่จะมีโทษแก่ตนเองและผู้อื่น เพราะเหตุนั้นจงตั้งใจประกอบแต่กิจการงานที่สะอาด ที่โปร่งใส และประกอบการอาชีพที่สุจริต ที่ดีที่ชอบ มีความสันโดษในคู่ครองของตน มีความสำรวมกาม ไม่ประพฤติสำส่อน หมกมุ่นในกาม มีแต่ความซื่อสัตย์และจริงใจต่อตนเอง และผู้อื่น มีสติสัมปชัญญะรู้ผิดชอบชั่วดี รู้บาป-บุญ คุณ-โทษ รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิต ตามที่เป็นจริง เป็นต้น หากประพฤติปฏิบัติตนอยู่แต่ในคุณความดีอยู่อย่างนี้ ก็จะยังตนและผู้อื่นให้ประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขในชีวิตยิ่งๆ ขึ้นไป และจะเป็นการช่วยป้องกันแก้ไขปัญหา ในทางการเมือง การปกครอง การบริหาร และการเศรษฐกิจของประเทศชาติ ตลอดถึงสังคมของโลก ได้อย่างดีที่สุด
    ๓) การทำจิตใจของตนให้ผ่องใส คือการอบรมใจของตนเอง ให้บริสุทธิ์ผ่องใส จากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา ด้วยการเจริญภาวนาสมาธิ อบรมจิตใจให้สงบ ให้หยุดให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง ถึงเกิดองค์คุณเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์ให้หมดไปอยู่เสมอ จิตใจก็จะผ่องใส ให้สามารถเจริญปัญญาด้วยการพิจารณาวิเคราะห์ปัญหาให้เห็นแจ้งรู้แจ้งปัญหาตลอด ทั้งข้อแก้ไขและป้องกันปัญหาทางโลกได้เป็นอย่างดี และให้สามารถพิจารณาสภาวธรรมให้เห็นแจ้งรู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติและสัจจธรรมตามที่เป็นจริง ได้เป็นอย่างดี
    อีกอย่างหนึ่ง การอบรมจิตใจให้สงบเป็นสภาพผ่องใสบริสุทธิ์อยู่เสมออย่างนี้ ยังเป็นธรรมช่วยพัฒนาและรักษาสุขภาพจิตใจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
    ที่ชาวโลกไม่อาจพิจารณาเห็นแจ้งชัดในประเด็นของปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนและข้อแก้ปัญหาในทางโลกได้อย่างชัดเจน ถูกต้องตรงประเด็นนั้น ก็เพราะจิตใจขาดการอบรมให้สงบเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงให้จิตใจสงบและผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา ควรแก่งาน พิจารณาเห็นปัญหาที่แท้จริงและเห็นข้อป้องกันแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ที่ตรงประเด็นได้ แจ้งชัดนั่นเอง
    “กิเลส” แปลว่า เครื่องเศร้าหมองแห่งจิตใจ “นิวรณ์” แปลว่า อุปสรรค กิเลสนิวรณ์ จึงหมายถึง เครื่องเศร้าหมองแห่งจิตใจอันเป็นอุปสรรค หรือเครื่องกั้นปัญญา กิเลสนิวรณ์ ๕ อย่างต่อไปนี้ คือ ความง่วง จิตใจหดหู่ท้อถอย หรือเกียจคร้าน ๑ ความลังเลสงสัย ไม่แน่วแน่ ๑ ความหงุดหงิด ขัดเคืองใจ ฉุนเฉียว เจ้าอารมณ์ ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตใจหรือความวิตกกังวล ห่วงใยไปในเรื่องต่างๆ ๑ และความยินดีพอใจ ยึดติดในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย อีก ๑ เหล่านี้ แม้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใดแล้ว จิตใจของผู้นั้นจะขุ่นมัวไม่ผ่องใส การที่จะพิจารณาเห็นแจ้งชัดในปัญหาและข้อป้องกัน-แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น ย่อมเป็นไปไม่ได้ และจิตใจที่เต็มไปด้วยกิเลสนิวรณ์เหล่านี้ ดังเช่น ผู้ที่มีจิตใจไม่สงบ มีแต่ความฟุ้งซ่านมากๆ เข้า สุขภาพจิตก็เสีย กลายเป็นโรคจิตหรือโรคประสาทไปมากต่อมากในทุกวันนี้ ก็เพราะไม่รู้คุณค่าของการอบรมจิตใจให้สงบ ตามแนวทางพระพุทธศาสนา จึงขาดสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ รอบรู้ทางเจริญทางเสื่อมตามที่เป็นจริง จึงพากันสร้างปัญหา สะสมหมักหมมปัญหาจนซับซ้อนยุ่งเหยิง ยากแก่การพิจารณาเห็นทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น จึงเกิดความทุกข์เดือดร้อนกันไปทั่ว เสียสุขภาพจิต ทำให้ขาดความสันติสุขทั้งของตนเองของครอบครัวและทั้งของสังคมประเทศชาติกันไปหมด ดังที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้
    การอบรมจิตใจให้สงบ ให้หยุดให้นิ่ง เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา ตามแนวทางพระพุทธศาสนา เป็นวิธีที่ดีที่สุด มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เพราะเป็นพื้นฐานให้เกิดสติปัญญาอันเห็นชอบ รู้บาป-บุญ คุณ-โทษ รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิต ตามที่เป็นจริงได้เป็นอย่างดีและเป็นการพัฒนาและรักษาสุขภาพจิตใจได้อย่างถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ของธรรมชาติที่สุด
    ข้อปฏิบัติ๓ประการนี้ คือ ข้อที่ท่านสาธุชนผู้มีปัญญาพึงพิจารณาเห็นคุณของพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้พระสัทธรรมนี้ คือ ผู้ได้ทรงเห็นแจ้ง รู้แจ้ง และได้ทรงปฏิบัติได้ผลดีมาแล้ว จึงตรัสสั่งสอนให้ผู้พอจะแนะนำสั่งสอนได้ คือผู้ที่พอจะรับพระสัทธรรมนี้ได้ ให้ปฏิบัติพระสัทธรรมนี้คือให้ศึกษาอบรมกาย วาจา ใจ ของตนตามพระธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ให้ได้รับผลดี เป็นความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขของตนเอง และให้เกิดประโยชน์สันติสุขแก่ผู้อื่นในสังคมน้อยใหญ่ทั้งหลาย และพึงเห็นคุณของพระภิกษุสงฆ์ ผู้ศึกษาและปฏิบัติพระสัทธรรม สืบต่อบวรพระพุทธศาสนาให้เจริญและมั่นคงมาจนถึงทุกวันนี้
    อาตมภาพจึงขอเชิญชวนแนะนำ ให้ทุกท่านได้ประพฤติปฏิบัติธรรม โดยการเลิกละความชั่ว ประพฤติปฏิบัติอยู่แต่ในทางดี และอบรมจิตใจให้ผ่องใส ด้วยการเสียสละหรือบริจาคทาน มีการทำบุญตักบาตร ทำนุบำรุงพระภิกษุสงฆ์ผู้ตั้งใจศึกษาและประพฤติปฏิบัติธรรม และแนะนำ สั่งสอน เผยแพร่พระสัทธรรมแก่สาธุชนทั้งหลาย ให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติทุกท่าน ไม่เลือกเชื้อชาติศาสนา และให้พึงรักษาศีลอย่างน้อยศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ ถ้ารักษาศีล ๘ ได้ก็จะยิ่งดี และจงฝึกเจริญภาวนาสมาธิ เพื่อชำระจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญาอยู่เสมอ ก็จะเป็นการ “สร้างพระในใจตนเอง” คือ ทำตนให้เป็นคนประเสริฐ ก็จะถึงความสงบและสันติสุขด้วยตน
    การเข้าศึกษาปฏิบัติธรรม มีการรักษาศีล และการเจริญภาวนาเป็นต้นนั้น สามารถเข้าฝึกฝนอบรมได้ที่วัดหรือสำนักปฏิบัติธรรม ที่มีการแนะนำสั่งสอนศีลธรรม และภาวนาธรรม ทุกแห่ง เช่นที่ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ก็มีเป็นประจำทุกวัน หลังทำวัตรเช้า เวลา ๐๖.๐๐ น. และหลังทำวัตรเย็น เวลา ๑๙.๐๐ น. และมีทุกอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ น. ถึง ๑๓.๐๐ น. จึงขอเชิญทุกท่านเข้ารับการอบรมตามวัน เวลา และสถานที่ ดังกล่าวได้
    เมื่อท่านได้เข้าศึกษาอบรม กาย วาจา ใจ ดังที่ได้กล่าวข้างต้น และได้รับผลดีจริงแล้ว ท่านย่อมประจักษ์คุณค่าของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ และจักเกิดศรัทธาปสาทะ ในการศึกษาและปฏิบัติธรรม เพื่อถึงความเจริญรุ่งเรือง และสันติสุข และถึงความพ้นทุกข์ ด้วยตัวของท่านเอง
    สาธุชนผู้ฟังพึงเข้าใจว่า ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ คือผู้ที่จะได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ผู้เป็นสัตว์โลกที่ประเสริฐกว่าสัตว์โลกในภพภูมิอื่นๆ ที่ต่ำกว่า ที่ไม่มีความเจริญ ได้แก่ สัตว์เดรัจฉาน เปรต สัตว์นรกและอสุรกาย นั้นยากนักหนา และแม้เมื่อได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ที่จะมีโอกาสได้พบพระพุทธศาสนานั้นก็ยากนัก และแม้ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว ที่จะมีโอกาสได้ฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ก็ยิ่งยากนักหนา ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ มีปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ หน้า ๑๗๔ ว่า
    <TABLE width="48%" align=center><TBODY><TR><TD width="12%"></TD><TD width="42%">กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ</TD><TD width="46%">กิจฺฉํ มจฺจานชีวิตํ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ</TD><TD> กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท</TD></TR><TR><TD colSpan=3> “ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก, การฟังพระสัทธรรม เป็นของยาก, การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก.”</TD></TR></TBODY></TABLE>ข้อเหล่านี้เพราะเหตุใด ? เพราะเหตุว่า “สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม” นี้เป็นกฎเกณฑ์ตามธรรมชาติจริงแท้ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว แล้วได้ตรัสสอนไว้ดีแล้ว เพราะเหตุนี้ สัตว์โลก ผู้ที่จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้น จักต้องเป็นผู้ประกอบกรรมดี ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ในระดับ “มนุษยธรรม” ที่หนักแน่น มั่นคงพอ ให้กรรมดีนั้น ทำหน้าที่เป็นชนกกรรมหนุนนำให้ได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์
    กรรมดีในระดับมนุษยธรรม นี้ ก็คือ การกระทำแต่กรรมดี ด้วยการงดเว้นกรรมชั่ว ที่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น โดยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ นี้ ประการ ๑ และด้วยการเจริญกัลยาณธรรม นี้อีกประการ ๑ ดังที่ได้กล่าวแนะนำให้ท่านประพฤติปฏิบัติมาแล้วในตอนต้นนั่นเอง
    ท่านลองพิจารณาดูว่า ผู้มีปกติประพฤติปฏิบัติในระดับมนุษยธรรมนี้ หมดทั้งโลกนี้ มีประมาณเท่าใด ? ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในระดับมนุษย์ธรรม จำนวนเพียงเท่านี้แหละที่เมื่อตายลง จะมีโอกาสได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ที่ดี ส่วนผู้ปฏิบัติผิดศีล ผิดธรรมเป็นอาจิณ มีกี่มากน้อย ? สำหรับบุคคลเช่นนั้น ผู้มักประพฤติผิดศีลผิดธรรมบ่อยๆ เป็นอาจิณ เหล่านี้ คือผู้มักเจตนาฆ่าสัตว์ตัดชีวิต มักลักฉ้อ คดโกง หรือประกอบอาชีพทุจริต มักประพฤติผิดในกาม มักเสพและติดสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษ เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มักกล่าวถ้อยคำที่ไม่จริง ถ้อยคำที่ยุแยกให้เขาแตกสามัคคีกัน และความเป็นผู้มีความคิดชั่วร้าย กอปรด้วยความโลภจัด ราคะจัด ความพยาบาท และความหลงยึดถือที่ผิดๆ เป็นมิจฉาทิฏฐิ จนติดในจิตตสันดาน เหล่านี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า “เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นที่หวังได้” เพราะเหตุนี้แหละ พระพุทธองค์จึงได้ตรัสไว้อีก มีปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ข้อ ๒๐๖ (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ.๒๕๒๑ เล่มที่ ๒๐ หน้า ๔๗) ว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่จุติในเทพยดากลับมาเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากเทพยดา ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากเทพยดากลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากเทพยดาไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัยมากกว่าโดยแท้ ...” ดังนี้เป็นต้น
    พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ทั้งๆ ที่ความได้มาเป็นมนุษย์เป็นการยากอย่างนี้ แม้เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ที่จะได้พบพระพุทธศาสนา ได้ฟังพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังยากยิ่งขึ้นไปอีก การที่จะได้ศึกษาทำความเข้าใจ และปฏิบัติพระสัทธรรมให้เห็นแจ้งรู้แจ้งสัจจธรรมตามที่เป็นจริง จึงเป็นการยากนักหนา เพราะเหตุว่า การเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้นเป็นการยากนัก และเป็นระยะเวลายาวนานนับเป็นกัปเป็นกัลป์ หลายกัปหลายกัลป์ทีเดียว กัปกัลป์หนึ่งๆ ก็เป็นกำหนดระยะเวลายาวนานอย่างเหลือเกินของโลก มนุษยโลกที่เกิดมาในกัปที่ว่างจากผู้มีคุณสมบัติหรือคุณธรรมสูง อย่างเช่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ ที่มิได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก เรียกว่า เป็นกัปที่ว่างจากพระพุทธศาสนา ชื่อว่า สุญญกัป ย่อมมีแต่ความเดือดร้อน โกลาหล เพราะมนุษย์มิได้เรียนรู้หลักธรรม จึงไม่รู้บาปบุญคุณโทษ ไม่มีศีลมีธรรมประจำใจ ย่อมประพฤติตนไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน ให้เกิดความทุกข์เดือดร้อน และโกลาหลยิ่งนัก
    ท่านผู้ฟังลองพิจารณาดูว่าแม้เป็นยุคที่ยังมีพระสัทธรรมและพระภิกษุสงฆ์ผู้ศึกษาปฏิบัติธรรม และเผยแพร่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ ดังเช่นในทุกวันนี้ โลกก็ยังเต็มไปด้วยความเดือดร้อน โกลาหลอยู่ เพราะคนไม่สนใจในธรรม ไม่ศึกษาและประพฤติปฏิบัติธรรม จึงมีแต่ผู้ขาดศีลขาดธรรมเป็นจำนวนมาก ให้โลกต้องเดือดร้อนวุ่นวายถึงเพียงนี้
    ถ้าในระหว่างสุญญกัป คือกัปที่ว่างจากพระพุทธศาสนา ชาวโลกที่เกิดมาในยุคนั้น จะต้องเดือดร้อน วุ่นวาย โกลาหล สักเพียงไหน ?
    ที่ว่าการเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ เป็นการยาก คือ มีขึ้นได้ยากนั้น ก็เพราะว่า การที่สัตว์โลกจะสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุข พร้อมด้วยคุณธรรมพิเศษ คือ พระสัพพัญญุตญาณ พระปรีชาญาณหยั่งรู้ธรรมชาติทั้งปวง (ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ชื่อว่า สังขารหรือสังขตธรรม และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ชื่อว่า วิสังขารหรืออสังขตธรรม) ทั้งที่ได้มีแล้วในอดีต ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีต่อไปในอนาคต อย่างถูกต้อง รวมเรียกว่า พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ พระปรีชาญาณที่สูงสุดยิ่ง เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น จักต้องได้บำเพ็ญพุทธการกธรรม คือ คุณธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี จนแก่กล้าเป็น อุปบารมี และปรมัตถบารมี ครบทั้ง ๑๐ ประการ ซึ่งจะต้องบำเพ็ญคุณความดีอย่างยิ่งยวดเช่นนี้ เป็นระยะเวลายาวนานหลายอสงไขยกัป จึงแก่กล้าเป็นปรมัตถบารมี เต็มบริบูรณ์ ดังปรากฏใน “ชินกาลมาลีปกรณ์” (ซึ่งรจนาโดยพระรัตนปัญญาเถระเมื่อ พ.ศ.๒๐๖๐-๒๐๗๑ แปลโดย ศ.ร.ต.ท.แสง มนวิทูร (เปรียญ) จัดพิมพ์โดยกรมการศาสนา เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗) ได้แสดงว่า
    พระพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ คือ พระสมณโคดมนี้ เมื่อก่อนที่จะบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็น พระปัญญาธิกโพธิสัตว์ ได้บำเพ็ญบารมีทั้งกาย วาจา และใจ นับตั้งแต่ได้รับพุทธพยากรณ์จากสำนักพระพุทธเจ้าทีปังกร ตลอดมาจนถึงกาลแห่งพระพุทธเจ้ากัสสปะ จนถึงพระชาติสุดท้าย เป็นระยะเวลาถึง ๔ อสงไขยกับอีกแสนกัป ได้ผ่านการพยากรณ์จากสำนักพระพุทธเจ้าถึง ๒๔ พระองค์ แล้วจึงได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยกำลังพระปัญญินทรีย์ แรงกล้ามาก คือยิ่งด้วยกำลังพระปัญญา
    แต่ก่อนที่จะถึงกาลแห่งพระพุทธเจ้าทีปังกร ที่พระมหาโพธิสัตว์เจ้าทรงได้รับพุทธพยากรณ์ เป็นครั้งแรกนั้น ยังได้ทรงกระทำความปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าด้วยพระทัย ตั้งแต่กาลแห่งพระพุทธเจ้าพรหมเทวะ มาตลอดจนถึงกาลแห่งพระพุทธเจ้าศากยมุนี (องค์ก่อน) แล้ว เป็นเวลาถึง ๗ อสงไขยครั้นถึงกาลแห่งพระพุทธเจ้าศากยมุนีองค์ก่อนก็ทรงได้กระทำความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าด้วยพระวาจา มาตลอดจนถึงกาลพระพุทธเจ้าทีปังกร เป็นระยะเวลาถึง ๙ อสงไขย จึงได้รับพุทธพยากรณ์จากสำนักพระพุทธเจ้าทีปังกรว่า ต่อไปอีก ๔ อสงไขยกับแสนกัป จักได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งถ้าจะรวมระยะกาลเวลาที่ได้ทรงบำเพ็ญบุญบารมี มาแต่แรกเริ่มปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าในพระทัย จนถึงสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เมื่อ ๒๕๘๕ ปีที่ผ่านมานี้นั้น เป็นระยะเวลายาวนานถึง ๒๐ อสงไขยกับแสนกัป
    พระสัทธาธิกโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญบารมีจนสำเร็จความเป็นพระพุทธเจ้าด้วยพระศรัทธาแก่กล้ามากก็ต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมีเป็น ๒ เท่าของพระปัญญาธิกโพธิสัตว์ คือถึง ๘ อสงไขยกับแสนกัป จึงจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
    พระวิริยาธิกโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญบารมีจนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยพระวิริยะแก่กล้ามาก ก็ต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมีถึง ๒ เท่าของพระสัทธาธิกพุทธเจ้า อย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรย ผู้จักได้เสด็จอุบัติขึ้นในกาลต่อจากกาลของพระพุทธเจ้าสมณโคดมนี้ เป็นพระวิริยาธิกโพธิสัตว์ ซึ่งจะมีระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีช่วงสุดท้าย นับตั้งแต่เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก ถึงพระชาติสุดท้าย ถึง ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป จึงจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
    ความเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า อันสัตว์โลกมีได้ด้วยยากอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า “กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท - ความอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นการยาก” ด้วยประการฉะนี้ การที่สัตว์โลก มีมนุษย์เป็นต้น จะมีโอกาสได้ฟังพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าจึงยากนักหนา ที่กล่าวว่าการจะได้อัตภาพเป็นมนุษย์นับว่ายากอยู่แล้ว แต่การที่จะได้พบพระพุทธศาสนานั้นยากยิ่งกว่ามากนัก และเมื่อได้พบพระพุทธศาสนา คืออยู่ในกาลสมัยที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ได้ตรัสรู้และแสดงพระธรรมไว้ดีแล้ว แต่โอกาสที่มนุษย์จะได้ฟังธรรม จักได้มีโอกาสศึกษาทำความเข้าใจในพระธรรม และจะได้ปฏิบัติพระสัทธรรม ให้ได้รับผลสมควรแก่ธรรมนั้น ก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก พระพุทธองค์จึงได้ทรงตรัสว่า “กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ - การได้ฟังธรรมเป็นการยาก” และได้ตรัสมีปรากฏในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต ข้อ ๒๐๕ อีกว่า
    “สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ไม่ได้ มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรม แล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่าโดยแท้.”
    เพราะเหตุนั้น ทุกท่านพึงพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า เมื่อท่านได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนาแล้วอย่างนี้ ท่านจะพึงปฏิบัติตนเพื่อยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านผู้อื่นให้สำเร็จด้วยดีได้อย่างไร ?
    อาตมภาพได้ชี้ให้เห็นคุณค่าของพระรัตนตรัย คือ คุณพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้พระสัทธรรมอย่างถูกต้อง และได้ทรงปฏิบัติจนได้ผลดีด้วยพระองค์เองมาแล้ว จึงได้ทรงแนะนำสั่งสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติให้ได้ผลดีตามด้วย คุณพระธรรม ซึ่งผู้สนใจศึกษาและปฏิบัติด้วยอิทธิบาทธรรม คือ ด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ย่อมเห็นผลประจักษ์ด้วยตนเองทุกเมื่อ และคุณพระสงฆ์ ผู้ศึกษาและปฏิบัติพระสัทธรรม และแนะนำสั่งสอน สืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้ ครบคุณพระรัตนตรัยแล้ว
    จึงขอทุกท่านจงศึกษาและปฏิบัติธรรมให้ได้รับผลตามสมควรแก่ธรรม และขอจงเจริญรุ่งเรืองในพระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และขอจงมีความสุข สวัสดี ในกาลทุกเมื่อเทอญ เจริญพร.
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps47022803.wma[/MUSIC]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    คำอธิษฐานบุญบารมี

    [​IMG]







    <!-- google_ad_section_end -->



    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG]
    </FIELDSET><!-- google_ad_section_end -->
    __________________
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    เพ่งอากาศว่างเป็นอารมณ์นั้น ละเอียดจนใจออกจากฌานนั้นได้ยาก จะทำอย่างไร ?

    ลูกเณรถามมาว่า เมื่อทำความรู้สึกหรือเข้าไปเป็นธรรมกาย แล้วเพ่งอากาศว่างเป็นอารมณ์นั้น ละเอียดจนใจออกจากฌานนั้นได้ยาก ควรจะทำอย่างไร ?

    ให้เข้าใจอย่างนี้เสียก่อนว่า ท่านใดที่ปฏิบัติภาวนาได้ถึงธรรมกาย ให้ฝึกเจริญสมาธิภาวนาเฉพาะรูปฌานก่อน ตอนนี้ก็ยังไม่ได้สอนไปถึงอรูป เหตุที่ยังไม่ได้สอนก็เพราะว่า ถ้าพูดสอนมากไปก็จะทำให้ผู้อื่นเสียสมาธิ ส่วนท่านใดประสงค์จะฝึกขึ้นต่อไปนั้น ถึงเวลาก็ให้ไปฝึกเจริญภาวนากับหลวงตาที่ในอุโบสถ ค่อยเรียนกันให้ละเอียดลึกซึ้งไป
    เรื่องของการเจริญภาวนาสมาธิเข้าสู่อรูปฌานนั้น ให้พึงเข้าใจว่าละเอียดมากเสียจนแทบไม่รู้สึกตัว หรือจะเรียกว่าไม่รู้สึกตัวก็ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีเคล็ดลับแล้วจะออกจากฌานลำบาก คือออกยาก แล้วทั้งจะติดสุขที่ละเอียดมากอยู่ในฌานนั้นอีกด้วย
    เคล็ดลับก็ไม่ได้ยากอะไร คือ เมื่อธรรมกายดับหยาบไปหาละเอียด หยุดในหยุด กลางของหยุด จนสุดละเอียดแล้วนั้น เช่นว่าเมื่อเพ่งที่อากาศว่างเป็นอารมณ์ไปนั้นละเอียดหนัก เพราะเหตุนั้น ก่อนจะเข้าอรูปฌานให้จำไว้เลยว่า ให้ตั้งอธิษฐานไว้ก่อนว่า เมื่อเข้าไปสุดละเอียดไปถึงเพียงไหน ถึงสุดละเอียดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น “อากาสานัญจายตนฌาน” หรือละเอียดไปถึง “วิญญาณัญจายตนฌาน” หรือว่าใครทำต่อไปถึง “อากิญจัญญายตนฌาน” ถึง “เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน” ก็แล้วแต่แล้วแต่บุญบารมีของใครที่สั่งสมอบรมมาแล้วทำได้ ก็อธิษฐานจิตไว้ก่อนว่า เมื่อถึงสุดละเอียดแล้วให้ถอยหรือลดระดับสมาธิลงเป็นปฏิโลม ไม่ติดอยู่ นี้เป็นเรื่องสำคัญ
    เพราะฉะนั้น การที่จะให้ใจเราออกจากฌานนั้นได้โดยง่าย มีเคล็ดลับประการสำคัญที่ดีคือ ให้ตั้ง จิตอธิษฐานไว้ก่อนดังที่ได้กล่าวแล้ว เมื่อเจริญภาวนาได้ถึงจุดสุดละเอียด เราก็จะรู้ตัวขึ้นมาเลยว่า ถึงสุดละเอียด แล้วก็ลดระดับสมาธิลง ประเดี๋ยวเดียวก็ออกมาได้ ไม่ลำบากอะไร มีวิธีง่ายๆ อย่างนั้น
    แต่ให้เข้าใจเสียก่อนว่า การเข้าฌานสมาบัตินั้นมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพียงเพื่อ ๑) กำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา และ ๒) ผู้ที่ปฏิบัติได้ถึงธรรมกาย ถ้าพิสดารกายไปด้วยก็จะช่วยให้กายต่างๆ ชัดขึ้น แต่ในขณะที่ชัดขึ้นนั้น ถ้าหลงติดสุข อยู่ในฌาน ก็ไม่มีประโยชน์ คือมีประโยชน์น้อย เราไม่ต้องการอย่างนั้น เราต้องการประโยชน์คือ เพียงเพื่อชำระกิเลสนิวรณ์เท่านั้นเอง แล้วก็ออกจากฌานที่เราเข้าถึงระดับสูงสุดนั่น แต่ถ้าเป็นกรณีที่เจริญภาวนาเข้าถึงอรูปแล้ว การออกจากฌานนั้นค่อนข้างลำบาก คืออรูปฌานนั้นละเอียดมาก กว่าจะกำหนดใจได้ในขณะที่นิ่งอยู่ในฌานนั้นมักจะเพลินมักจะอิ่มไปในฌานนั้น
    ให้จำไว้ว่า จุดมุ่งหมายสำคัญของการเจริญภาวนาสมาธิ เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์ เมื่อใจเราผ่องใสสะอาดบริสุทธิ์แล้ว อภิญญาก็เกิด ได้แก่ทิพยจักขุ ทิพยโสต เกิดให้เราสามารถใช้พิจารณาสภาวธรรมที่ละเอียดๆ เกินกว่าประสาทตา หู ของกายมนุษย์จะสามารถรับรู้ คือเห็น หรือได้ยินได้ ให้เห็นแจ้งและรู้แจ้งในสภาวะของสังขารธรรม หรือธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ที่กว้างขวาง และใช้เป็นกำลังสำคัญ ในการที่จะทำนิโรธดับสมุทัย ที่พูดกันเข้าใจง่ายๆ ในภาษาที่รู้กันในหมู่ผู้ปฏิบัติภาวนาวิชชาธรรมกายว่า “พิสดารกายไปสุดกายหยาบกายละเอียด” เพื่อกำจัดกิเลสในใจเราจากสุดหยาบไปสุดละเอียด
    เพราะในธาตุธรรม คือในธาตุละเอียดของเรา เป็นที่ตั้งของธรรม คือธรรมฝ่ายดีและธรรมฝ่ายชั่ว กำจัดหรือละธรรมฝ่ายชั่วอย่างหยาบหมดไป แต่อย่างละเอียดยังมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อนุสัยกิเลส” หรือ “อาสวกิเลส” นั้นแหละ เมื่อเราพิสดารไปสุดละเอียด เพื่อชำระธาตุธรรมฝ่ายบาปอกุศล ให้เป็นแต่ใจของธรรมกายล้วนๆ ที่บริสุทธิ์ผ่องใส แล้วตกศูนย์เข้าอายตนะนิพพาน มุ่งจะยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ และทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับหยาบไปหาละเอียดต่อไปจนถึง “นิพพานเป็น” เมื่อทำนิโรธจนสุดละเอียดถึงนิพพานเป็นนั้น วิชชาชั้นสูงจะเกิดขึ้นมาก ซึ่งเรื่องนี้จะแนะนำในภายหลัง ในส่วนของการพิจารณาสภาวธรรมก็จะค่อยๆ แนะนำไป เมื่อแนะไปหน่อยก็เป็น เป็นแล้วจะรู้เรื่อง รู้เรื่องแล้วก็จะไม่ลำบากอะไร เหลือแต่การเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง เพื่อช่วยตนเอง ช่วยผู้อื่นด้วย เป็นผลอย่างสูงของวิชชาธรรมกาย
    สรุปความว่า การเจริญฌานสมาบัติ เพื่อชำระกิเลสนิวรณ์เป็นวัตถุประสงค์สำคัญข้อที่ ๑ ส่วนข้อที่ ๒ คือ เพื่อให้เป็นวสี ให้ธรรมกายชัดเจน ให้เกิดความชำนาญในการเข้า การออก การพิจารณาอารมณ์ฌาน ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม ทำให้ธรรมกายไม่สูญหาย ถ้าขยันทำบ่อยๆ ไม่ใช่ว่าเมื่อปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว เป็นธรรมกายอยู่ได้ตลอดไป ตราบใดที่ยังไม่ บรรลุมรรคผลนิพพาน ยังไม่ใช่พระอริยเจ้าแท้ๆ นั้น ธรรมกายมีโอกาสถอยหน้าถอยหลังได้ เพราะใจของเรานั้น ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามอำนาจของกิเลสแล้วละก็ ธรรมกายก็ดับ เพราะเหตุนั้น จึงให้ทำบ่อยๆ เพื่อรักษาไว้ ถ้าไม่รักษาไว้ก็หาย ที่ว่าหาย หมายความว่า เมื่อมีกิเลสมากๆ ธรรมกายก็หาย หายเพราะว่า ธรรมกายเกิดขึ้นด้วยความบริสุทธิ์ ส่วนผู้ที่เป็นพระอริยเจ้าแล้วนั้น ท่านก็เป็นปกติของท่าน คือธรรมกายที่บรรลุมรรคผลนิพพานของท่านจะใสสว่างอยู่ตลอด ข้อนี้เราไม่ต้องพูดกัน เป็นเรื่องของท่านที่มีภูมิธรรมสูงแล้ว
    เมื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์ได้แล้ว ยังมีผลอีกประการหนึ่ง นอกจากเราใช้พิจารณาสภาวธรรมแล้ว ยังเป็นพื้นฐานให้เกิดอภิญญา และเพื่อให้เกิดวิชชา ให้สามารถทำวิชชาเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูง เพื่อช่วยตนเองและช่วยผู้อื่น ข้อนี้มีสมบูรณ์อยู่ในวิชชาธรรมกาย แต่ใครจะทำได้เท่าไหร่ เป็นเรื่องของใคร ที่จะรักษาใจตนให้ได้บริสุทธิ์ผ่องใสแค่ไหน และรักษาใจของตนให้ดำรงอยู่ในภูมิธรรมระดับไหนเท่านั้นเอง โปรดเข้าใจอย่างนี้
    การทำฌานสมาบัติที่ละเอียดไปถึงอรูป ให้มีเคล็ดลับว่า ต้องหยุดในหยุดกลางของหยุด กลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียด คือให้สำเร็จด้วยใจของธรรมกาย แล้วการจะถอยกลับออกมานั้น โดยไม่ติดสุขอยู่ในอรูปฌานนั้น ก็ทำได้สะดวก หาไม่แล้วจะติดสุขอยู่ในอรูปฌานได้โดยง่าย
    อีกประการหนึ่ง ถ้าไม่กำหนดศูนย์กลาง หรือไม่เห็นศูนย์กลาง และไม่ดับหยาบไปหาละเอียดอยู่เสมอแล้ว มีโอกาสหลงทางได้มาก เช่นบางคนทำละเอียดไปแล้วหาที่ตั้งของใจไม่พบ คือว่างไปเฉยๆ จนอะไรๆ ก็เห็นว่างไปหมด ตัวเองก็ไม่มี แม้กระทั่งบางคนนั่งอยู่ในรถ เมื่อเจริญภาวนาถึงอรูป ก็เลยเห็นแม้รถก็ไม่มี นั่นอรูปฌานที่หลงอยู่ในอรูปภพ จิตหลงอยู่ในอรูปภพ แล้วไม่รู้ทางไป แต่ถ้าหยุดในหยุดกลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียดแล้ว ก็จะอยู่ในธรรมกายนั้นเอง
    เพราะฉะนั้น เมื่อตั้งจิตอธิษฐาน ถอยกลับลดระดับสมาธิลงสู่รูปฌาน แล้วก็พิสดารกายออกจากรูปฌานแล้วก็ทำนิโรธให้หลุดพ้น แม้ชั่วคราว ธรรมกายก็จะตกศูนย์ถึงพระนิพพาน ได้พระนิพพานเป็นอารมณ์ และได้รู้เห็นสภาวะของวิสังขารคือพระนิพพานธาตุได้ เคล็ดลับเป็นอย่างนี้
    ที่หลงกัน เหมือนท่านอาฬารดาบส อุทกดาบส ที่พระมหาบุรุษของเราได้เคยไปเรียนฌานสมาบัติ หลงติดอยู่ กับอรูปอยู่นั่นแหละ หลงอยู่ในอรูป ท่านอาฬารดาบสหลงติดอยู่ใน “อากิญจัญญายตนฌาน” ได้ฌานสมาบัติ ๗ ตายไป ไม่เสื่อมจากฌานนี้ เลยไปเกิดอยู่ในชั้นนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติเท่าไร ก็แช่อิ่มอยู่ในฌานนี้ ไม่ได้ไปไหน ส่วนท่านอุทกดาบส หลงติดอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะไม่ได้ออกไปไหน ยิ่งนานหนักเข้าไปแช่อิ่มอยู่นั่น นี่แหละเรื่องเคยมีมาแล้ว ในอดีตมาถึงปัจจุบัน
    ได้เคยมีพระคุณเจ้ารูปหนึ่งเคยมาหาเมื่อเดือนธันวาคมที่แล้ว ได้เคยมาเรียนวิชชาธรรมกายรุ่นก่อนๆ นั้นแหละ แต่ว่าเรียนแล้วก็ฟังไม่ได้ศัพท์ คือนำส่วนสำคัญไปได้ไม่หมด ก็รู้ในระดับขั้นต้นนั้นแหละ รู้แต่ว่าดับหยาบไปหาละเอียด หยุดในหยุดกลางของหยุด แค่นั้นแหละ มาฝึกเพียงระยะหนึ่ง กลับไปก็ไม่ได้มาอีก ก็ไปสอนเพื่อนภิกษุ ความที่ไม่ได้มาอีกเคล็ดลับต่างๆ ก็คงจะลืมไป ก็ไปสอนผู้อื่น บอกให้เพื่อนพระภิกษุนั่งดูดวง พระภิกษุนั้นท่านก็ทำได้ดีเหลือหลาย ให้ดูดวงก็เห็นได้เร็ว แต่ไม่ได้กำหนดศูนย์ เมื่อไม่กำหนดศูนย์ก็ว่างไปๆ เหมือนเข้าอรูป แล้วก็เข้าอรูปฌานไปโดยไม่รู้ตัว แต่ยังปฏิบัติไม่ถึงธรรมกาย พอเห็นเป็นดวงใหญ่ไปๆ ลงท้ายก็หาย หายหมดทั้งตัวเองก็ไม่เห็นอะไรๆ ก็ไม่เห็น นั่งอยู่อย่างนั้นครึ่งคืนค่อนคืน นั่งเห็นแต่ว่างๆ อยู่อย่างนั้นตลอดทั้งพรรษา
    ทั้งพระผู้สอนและผู้เรียนก็ต้องกลับมาหา มาพบอาตมาที่ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ เหตุที่มาก็เพราะว่าท่านได้รับอาราธนาไปช่วยสอนธรรมะที่ประเทศญี่ปุ่น ท่านก็มากราบเรียนหารือกับเจ้าประคุณหลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ก็คงจะไปเล่าถวายท่านฟัง เจ้าประคุณหลวงพ่อสมเด็จฯ จึงได้แนะนำให้รีบมาหาท่านเสริมชัยเสียเร็วๆ เจ้าประคุณหลวงพ่อสมเด็จฯ ท่านบอกว่าอย่างนั้น ท่านรู้แล้วว่าชักจะหลงทางเสียแล้วรายนี้ เลยได้มาคุยกัน คนที่ทำเป็นแล้วแนะนิดเดียว ท่านก็สามารถก้าวหน้าไปได้เร็ว ท่านมีบุญบารมีเก่า ขอให้ทำตามคำแนะนำเท่านั้น เป็นอันใช้ได้ แต่ก็ได้อยู่ด้วยกันเพียงน้อยนิด ยังนึกเป็นห่วงว่าต่อไป ถ้าท่านเจริญวิชชาชั้นสูงไปแล้ว เกิดมีปัญญาอาจจะไม่ได้ถามมาเห็นเงียบหายไป ไม่ได้ถามมา ซึ่งอาจจะมีอะไรๆ หลงผิดไปได้ ถึงอย่างไรถ้าได้ไปปรึกษากันหน่อยก็ยังดี
    อาตมาเองสมัยเป็นฆราวาส ยังไม่ได้บวชเป็นพระอยู่ที่วัดปากน้ำ ก็ต้องเข้าหาปรึกษากับครูบาอาจารย์อยู่พอสมควร เพราะว่าเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ถ้าได้รับการแนะนำเหมือนสะกิดนิดเดียวก็รู้เรื่อง เคล็ดลับเล็กๆ น้อยก็จริง แต่มีมาก ถ้าทำได้ตรงทางก็จะดี จะดีจริงๆ ไม่ใช่ดีน้อยๆ วิชชาธรรมกายถ้าใครเข้าถึงธรรมกายทำได้สุดละเอียดแล้ว จะดีมากเลยทีเดียว มีอานุภาพมาก สามารถช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขได้มาก
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    10 ตุลาคม 2553 ครบรอบ126 ปี หลวงปู่สด แก้วล้ำค่าแห่งรัตนตรัย<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->[​IMG]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- google_ad_section_start -->[​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    เกิดมาเพื่อคว้าแก้ว คือ รัตนตรัย

    พบแล้ว อย่าดูเบา
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    สถานที่หนึ่ง ที่นิยมไปรำลึกถึงหลวงปู่สดคือ

    วัดปากน้ำภาษีเจริญ ไปกราบร่างท่านใน
    โลงสีทอง แม้ท่านไม่พูด แต่ยังคงความศักดิ์สิทธิ์






    วัดปากน้ำ (วัดปากน้ำภาษีเจริญ)
    เลขที่ 300 ถ.รัชมงคลประสาธน์
    แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
    โทรศัพท์ สำนักงานประชาสัมพันธ์ 02-467-0811,
    02-457-9042 โทรสาร (Fax.) 02-869-0482
    โทรศัพท์ หอเจริญวิปัสสนา 02-457-4001
    โทรสาร (Fax.) 02-869-0272


    สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.9)
    เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ รูปปัจจุบัน

    พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร) อดีตเจ้าอาวาส


    วัดปากน้ำ (วัดปากน้ำภาษีเจริญ) เป็นวัดปฏิบัติสายพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด จนฺทสโร)

    วัดปากน้ำ (วัดปากน้ำภาษีเจริญ) พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ทำการบูรณะวัดปากน้ำครั้งใหญ่เกือบทั้งอาราม ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 วัดปากน้ำได้ชำรุดทรุดโทรมลง และขาดเจ้าอาวาสประจำวัด ทางเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์จึงได้ส่ง พระสมุห์สด จนฺทสโร (หรือที่เรียกกันว่าหลวงพ่อสด) จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งหลวงพ่อสด จนฺทสโร มีชื่อเสียงมากในเรื่องการอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านจึงเป็นผู้ดูแลเรื่องการศึกษา การอบรมปฏิบัติธรรม จนกลายเป็นที่เคารพนับถือของสาธุชนทั่วไป กระทั่งหลวงพ่อสดได้มรณภาพลง จึงได้นำร่างของท่านมาบรรจุในโลงตั้งไว้ที่วัดปากน้ำ และทำหุ่นขี้ผึ้งขนาดองค์จริงให้ประชาชนได้สักการบูชา

    เนื่องจากหลวงพ่อสด จนฺทสโร เป็นผู้ปลุกเสกวัตถุมงคลหลวงพ่อวัดปากน้ำรุ่นแรกๆ โดยทำจากเนื้อดินเผา พระเครื่อง พระผง ในการทำพระผงจะนำดินที่เป็นมงคลจากสถานที่ต่างๆ หลายๆ ที่เอามารวมกัน แล้วทำพิธีกรรมประกอบขึ้นมา จึงมีเรื่องเล่ากันว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำรุ่นหนึ่งนั้น ท่านจะเลือกผู้ที่มาเป็นเจ้าของด้วยตัวเอง ถ้าผู้นั้นมีบุญพอหลวงพ่อวัดปากน้ำรุ่นหนึ่งก็จะไปปรากฏหรือทำให้ผู้นั้นพบเจอ แต่ถ้าผู้ที่ได้เป็นเจ้าของหมดบุญหรือทำผิดศีลผิดธรรม หลวงพ่อวัดปากน้ำรุ่นหนึ่งจะเดินทางกลับมาหาหลวงพ่อสดท่านเอง เรื่องนี้จะจริงหรือเท็จอย่างไรไม่อาจรู้ได้ รู้แต่ว่าไม่ลบหลู่เป็นดีที่สุด

    [​IMG]
    ประชาชนมาไหว้พระปิดทองหลวงพ่อสดองค์จำลองกันเป็นจำนวนมาก

    [​IMG]
    รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อสดขนาดเท่าองค์จริง
    และด้านหลังเป็นโลงบรรจุร่างของหลวงพ่อสด



    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
    เว็บไซต์วัดปากน้ำภาษีเจริญ
    Wat Paknam – Buddhism
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    มีคนโจทย์กันว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำเลิกฝึก "ธรรมกาย" จริงหรือ?
    <!--MsgIDBody=0-->พระดร.มหาทวนชัย อธิจิตโต

    ขอย้อนไปเมื่อหลวงพ่อมาอยู่ใหม่ๆ มีปัญหามากคือญาติโยมบริเวณวัดไม่ศรัทธา ไม่มีใครเข้าวัด ตอนที่ท่านเล่าให้ฟัง แล้วรองเจ้าอาวาสก็เล่าให้ฟัง อดีตก่อนที่อาตมาจะเข้าไป มีปัญหาแม้กระทั่งญาติโยมที่ไม่พอใจ คนต่างจังหวัดมาทำบุญมากๆ เขาอิจฉา เขาหาว่าหลวงพ่อจะมาทำอะไรที่ล้ำหน้า แล้วก็เจริญเกินไป พอเด่นขึ้นมาจะต้องมีคนอิจฉา ถึงขนาดที่ว่ายิงท่าน ทำร้ายท่าน ใช้ปืนยิง ทะลุจีวรตามที่ทราบมา แต่หลวงพ่อก็ไม่เป็นอะไรหรอก หลวงพ่อก็อดทนตลอดมา ตั้งใจที่จะมาฟื้นฟูที่นี่ให้เป็นแดนพระพุทธศาสนา เป็นแดนศักดิ์สิทธิ์ แล้วก็เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาซึ่งก็เป็นจริงในปัจจุบันนี้ วัดปากน้ำก็มีชื่อเสียง และเป็นศูนย์กลางและเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาเป็นจำนวนมาก


    หลวงพ่อท่านจะไม่เหมือนคนทั่วไป ปกติท่านจะอยู่ในฌาณ ท่านมีฌาณสูงมากเลย การปฏิบัติของท่านคือท่านจะอยู่ในธรรมกาย จิตของท่านอยู่ในธรรมกายจะอยู่ในฌาณอยู่ในสมาบัติ ท่านไม่ใช่พระธรรมดา ท่านอยู่ในสมาธิ อันนี้เท่าที่อาตมาวัดได้นะ เพราะว่าท่านจะไม่มีการขาดสติ การทำอะไรโดยขาดสติจะไม่มี จะเป็นคล้ายๆ พระอรหันต์งั้นแหละ หลวงพ่อท่านเดินก็มีสติ เอี้ยวแขนก็มีสติ นอนก็มีสติ จะนั่ง จะฉัน จะเดิน จะทำอะไรรู้สึกว่าท่านมีสติเต็มบริบูรณ์ สิ่งนี้อาตมารู้สึกประทับใจแล้วก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่แปลก ซึ่งไม่เห็นจากพระองค์อื่นๆ เราเป็นเณร เราก็ช่างสังเกตนะ พระองค์อื่นตลกคะนอง หัวเราะเอิ๊กอ๊าก อยากหัวเราะก็หัวเราะ อยากกระโดด หรือวิ่ง หรืออะไร บางทีมันขาดสตินะ หลวงพ่อไม่มี เดินนี้คล้ายพระอรหันต์ เหมือนพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เรื่องนี้แปลก อาตมามารู้ทีหลังตอนเรียนปริยัติแล้วว่า พระอรหันต์คือผู้ไม่ขาดสติ ทำอะไรทำด้วยสติ มาเจอกับหลวงพ่อวัดปากน้ำนี่แหละ


    สมัยที่อยู่ในโบสถ์รุ่นแรกๆ นั้น ในโบสถ์ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม คือเวลา ๑ ทุ่ม จะมีทั้งญาติโยม ทั้งพระเณรที่รักการปฏิบัติธรรมกาย จะมารวมกันเพื่อนั่งสมาธิ อาตมาก็นอนที่นั่น อยู่ที่นั่น ทำงานที่ในโบสถ์นั้น ก็ใช้เวลาส่วนมาก ทุกวันไม่ว่างเว้น ก็ต้องทำด้านสมาธิ ตามหลักการที่ทำในวันพฤหัส หรือสอนในโบสถ์ทุกเช้า หรือมีพระผู้ใหญ่ เช่น มหาโชดก ขอโยงซะเลย เพราะว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุด


    มหาโชดก เป็นพระผู้ใหญ่ และมีตำแหน่งใหญ่ ควบคุมวัดปากน้ำด้วยในสมัยนั้น ท่านได้ไปเรียนกรรมฐานแบบสายยุบหนอ พองหนอ มาจากประเทศพม่า แล้วท่านก็จะมาเปลี่ยนแปลง หมายความว่า จะมาล้างสมองหลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยท่านมีความเข้าใจว่า การปฏิบัติสายวัดปากน้ำ มันไม่ใช่พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ทางวิปัสสนา ไม่ใช่ทางหลุดพ้น และก็ไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง ที่ท่านไปได้มาจากพม่า สายยุบหนอ พองหนอ ท่านก็เดินทางไปปราบหลวงพ่อวัดปากน้ำ สมัยนั้น อาตมามีชีวิตอยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน อยู่ในโบสถ์ หลวงพ่อก็ให้โอกาสพระผู้ใหญ่ โดยตำแหน่ง โดยยศแล้ว ท่านมหาโชดกใหญ่กว่า หลวงพ่อเราก็อ่อนน้อมถ่อมตน ก็นัดพบกันในโบสถ์เวลาบ่ายนะ จำได้ภาพยังปรากฏอยู่ในความทรงจำ เราก็ปูอาสนะสองที่ไว้ในโบสถ์ ต่อหน้าพระพุทธรูป ให้ท่านได้โต้ตอบกัน เรียกว่า เสือเจอสิงห์ แล้วเราก็ปิดประตูให้ท่านคุยกัน แล้วเจ้าคุณโชดกมาทราบทีหลังว่า ต้องการอยากจะไปปรับการสอนธรรมะ หรือการปฏิบัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำให้เปลี่ยนแปลง ให้มาใช้สายวิปัสสนาแบบยุบหนอ พองหนอ ท่านอ้างว่า มันมีมาในพระไตรปิฎก มันถูกต้อง ส่วนสายธรรมกาย มันเพี้ยน มันไม่ถูกต้อง มันไม่มี อะไรทำนองนั้น


    เสร็จแล้วท่านก็ถกเถียงกัน เราก็อยู่ข้างนอก คอยปิดประตูโบสถ์ไม่ให้ใครเข้าไปก่อความรำคาญ ท่านก็เจอกันอย่างนี้อยู่หลายวัน เราก็ไม่ทราบผล ได้ผลยังไง ใครปราบใครยังไง เสร็จแล้วมารู้ทีหลังว่า หลวงพ่อด้วยความเกรงใจก็เลยให้รูปอันใหญ่ไปอันหนึ่ง ให้เจ้าคุณโชดก พร้อมทั้งเขียนข้อความว่า รูปนี้ให้ไว้เป็นที่ระลึก เนื่องในโอกาสพระเดชพระคุณได้มาสอนวิปัสสนากรรมฐานให้กระผม ซึ่งเห็นว่าถูกต้องทุกอย่าง


    ด้วยมารยาทและเป็นผู้น้อย หลวงพ่อก็ชมเชย และยอมก้มหัวให้ว่าของท่านโชดกถูกต้อง อันนี้เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ซึ่งหลวงพ่อรู้จักวางตัวให้เกียรติกับพระเถระ ไม่ไปขัดข้องกับผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นสังฆาธิการปกครองเราด้วย หลวงพ่อถึงกราบก่อน ทั้งที่จริง อายุพรรษาของหลวงพ่อนั้นมากกว่า แต่เจ้าคุณโชดกเป็นรุ่นลูกรุ่นหลาน แต่เขาเป็นผู้ใหญ่ เขามาหลวงพ่อก็กราบ แล้วเจ้าคุณโชดกก็กราบคืนนะ มาทราบว่าเป็นอย่างนั้น


    ก็มีปัญหาต่อมาว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำยอมสละทิ้งหลักการจริงหรือไม่ อาตมาบอกว่าไม่จริง ฝ่ายตรงข้ามบอกว่า ฝ่ายมหาโชดกเป็นฝ่ายชนะ โดยที่หลวงพ่อรับว่าตัวเอง ยอมรับนับถือฝ่ายการปฏิบัติสายยุบหนอ พองหนอ อันนี้จะตัดสินอย่างไร ในความคิดเห็นของอาตมามีความเห็นว่า ไม่ใช่ หลวงพ่อไม่เคยทิ้งหลักการวิชชาธรรมกาย สั่งสอนมาตลอด ไม่มีเทปม้วนไหน ไม่มีคำพูดใดเลยที่หลวงพ่อบอกว่า ของเรามันผิดนะลูกทั้งหลาย ให้เลิกนะ หันไปนับถือสายยุบหนอพองหนอ ทำแบบวัดมหาธาตุนะ ไม่มี แต่ฝ่ายทางโน้น เอาหลักเกณฑ์ เอาคำพูดที่หลวงพ่อให้เกียรติท่านเจ้าคุณโชดกนี้เป็นตัวตั้ง เสร็จแล้วก็โพนทะนาว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำทิ้งหลักการ และก็ยกย่องฝ่ายยุบหนอ พองหนอว่าถูกต้อง ธรรมกายผิดพลาด นี่เขาพูดเอาเอง ตามความรู้สึกของอาตมา ยืนยัน นั่งยัน นอนยันได้เลยว่า ที่พูดของเขามันก็ไม่ถูกเหมือนกัน เขาไม่ได้ชนะหลวงพ่อก็ไม่ได้แพ้ และก็ไม่ได้ทิ้งหลักการ หลวงพ่อวัดปากน้ำก็ไม่ได้สอนธรรมะใหม่ สอนการปฏิบัติใหม่แต่อย่างใด


    อาตมาลาสิกขาตอนอายุ ๒๕ ปี ไปเรียนนิติศาสตร์ รามคำแหง พอจบปริญญาตรีก็ไปต่อปริญญาโท ปริญญาเอกด้านกฏหมายที่มหาวิทยาลัยอิลินอย สหรัฐอเมริกา แล้วกลับมาบวชอีกครั้ง ในปี ๒๕๓๘ มีหลวงพ่อพระเทพกิตติปัญญาคุณบวชให้ ปัจจุบันอาตมาอายุ ๖๒ ปี ก็ขอทำหน้าที่ลูกศิษย์ทายาทธรรมของหลวงพ่อให้ดีที่สุด

    พระดร.มหาทวนชัย อธิจิตโต
    <!--MsgFile=0-->
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    พระมหาวิชัย วุฑฺฒสีโล


    เพื่อทราบความเป็นมา ในการที่พระคุณท่านได้มาทำการปกครองวัดปากน้ำภาษีเจริญ ตั้งแต่ต้นมาจนถึงปุจจุบัน ข้าพเจ้าจะได้บรรยายถึงวัดปากน้ำภาษีเจริญ สมัยก่อนที่พระคุณท่านจะได้มาทำการปกครอง เท่าที่พอจะสืบทราบได้ไว้สักเล็กน้อย เพื่อประกอบเรื่องของท่าน


    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ปรากฏในตำนานเล่มหนึ่งกล่าวว่า เป็นพระอารามหลวงมาแต่โบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลักฐานที่ควรเชื่อถือได้นั้นคือ พระพุทธรูปทุกองค์ในพระอุโบสถ (เว้นพระพุทธรูปสี่องค์ที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยเมื่อไม่นานมานี้) นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นาพระพุทธรูปสมัยอยุธยาทั้งสิ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้น วัดนี้ท่านเจ้าคุณพระสุธรรมมุนีวัดพระเชตุพนฯ ได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ตั้งแต่สมัยพระครูสมณธรรมสมาทาน(แสง)เป็นเจ้าอาวาสมีการปกครองเหลวแหลกมาก หลังจากท่านพระครูสมณธรรมสมาทานมรณภาพแล้ว ท่านพระครูพุทธพยากรณ์เจ้าอาวาสวัดอัปสรสวรรค์เจ้าคณะตำบลเป็นผู้รักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พระภิกษุสามเณรโดยมากเป็นพระเณรในท้องถิ่นนั้น มีพระจรมาอยู่น้อยเนื่องจากการศึกษาเล่าเรียนไม่มี ความประพฤติย่อหย่อนต่อพระธรรมวินัยมาก ด้วยเหตุนี้ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก(เผื่อน)พระอาจารย์ของท่าน จึงได้อ้อนวอนแกมบังคับให้ท่านมาอยู่วัดปากน้ำสัก ๓ เดือนแล้วก็จะกลับ เมื่อท่านมาอยู่แล้ว ท่านเจ้าคุณธรรมปิฎกได้แต่งตั้งสมณศักดิ์ให้เป็นพระครูสมุห์ฐานานุกรมของท่านและสั่งกำชับซ้ำอีกว่า "ถ้าแผ่นดินยังไม่กลบหน้าแกอย่ากลับมา" ทั้งนี้ก็เท่ากับบังคับให้เป็นเจ้าอาวาส


    ต่อจากนั้นท่านก็เริ่มปราบปรามเหล่าภิกษุที่มีความประพฤติเหลวแหลกต่างๆ พระคุณท่านเคยเล่าว่า กว่าจะผ่ากระดานหมากรุกให้หมดได้ก็อ่อนใจ จึงเป็นเรื่องกระทบกระเทือนเจ้าคุณตำบลและพระภิกษุที่เคยอยู่มาก่อน ซึ่งเป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในถิ่นนั้น การปกครองเป็นไปด้วยความยากลำบาก แม้แต่ชาวบ้านในแถวนั้นก็พากันเป็นศัตรูอย่างร้ายแรงกับท่านด้วย พวกที่เลื่อมใสในท่านก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย พวกที่ตั้งตัวเป็นศัตรูได้ช่วยกันแพร่ข่าวอกุศลทับถมพระคุณท่านด้วยประการต่างๆ บางพวกก็เมาเอะอะอาละวาดในวัด บ้างก็ดักทำร้ายท่านถึงกับขึ้นโรงศาลก็มี บางพวกถึงกับคิดปล้นทำร้ายท่านก็มี ครั้งหนึ่งคนร้ายได้บุกขึ้นไปบนหน้าศาลาหาเรื่องต่างๆ ขณะพระภิกษุกำลังประชุมกันอยู่ เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ท่านถือเสียว่าเป็นการเพิ่มพูนบารมีให้แก่ท่าน ท่านมีคติว่า "พระเราต้องไม่สู้ ต้องไม่หนี ชนะทุกที" ดังเช่นครั้งหนึ่งมีคนร้ายประมาณ ๘ คน มีอาวุธครบมือเข้าลอบทำร้าย และจะทำร้ายท่านในเวลากลางคืนขณะที่ท่านอยู่ในห้องกรรมฐาน พอดีพระมหาแจ้ง (พระครูสถิตย์บุญญาธร) ซึ่งคอยคุ้มภัยให้ท่านอยู่แล้ว ได้ฉวยดาบเข้าป้องกัน ท่านได้เห็นเข้าก็ออกมาห้ามว่า "แจ้งอย่าๆ พระเราต้องไม่สู้ไม่หนี" ผู้ร้ายเห็นท่าไม่เข้าทีก็หลบหนีไป เรื่องราวต่างๆ ที่จะทำให้ท่านต้องเดือดร้อนรำคาญมีมากยิ่งกว่านี้ เหลือที่จะพรรณา แต่ท่านก็พยายามต่อสู้ด้วยความสงบ ผ่านพ้นอุปสรรคนานาประการ ทำความเจริญให้แก่พระศาสนาอยู่ตลอดมาจนทุกวันนี้ ลำดับต่อจากนั้นมาเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๔๖๔ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสมณธรรมสมาทาน


    ตั้งแต่ท่านได้มารับตำแหน่งเป็นผู้ปกครองวัดปากน้ำ ท่านได้ดำเนินการค้นคว้าหลักวิปัสสนาธุระและทำการเผยแพร่อยู่เรื่อยๆ มิได้มีการหยุดยั้งแม้แต่จะมีอุปรรคต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนนั้น ข่าวการปฏิบัติการค้นคว้าและการเผยแพร่ธรรมนี้ ได้ล่วงรู้ถึงสมเด็จพระวันรัต (เผื่อน)ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน จนถึงกับเรียกตัวท่านไป ตำหนิว่า "เฮ้ย! แกอย่าบ้าไปนักเลย เดี๋ยวนี้อรหัตอรหันต์ไม่มีกันแล้ว มาช่วยกันทำงานปกครองคณะสงฆ์เถอะ" การที่ท่านอาจารย์ของท่านตักเตือนเช่นนี้ ถ้าพิจารณษแล้วก็เป็นการเตือนด้วยความหวังดี เพราะท่านไม่เห็นธรรมอันลึกซึ้ง จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ท่านต้องไม่เชื่อและขอให้ระงับเสีย เจ้าพระคุณหลวงพ่อรับฟัง แต่ไม่ปฏิบัติตามคงทำงานค้นคว้าและสอนธรรมอยู่เช่นนั้น จึงเป็นที่ขัดใจของท่านอาจารย์ของท่านนัก แต่ต่อมาเมื่อสมเด็จพระวันรัต(เผื่อน) ทรงประชวรหนัก ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อได้จัดพระภิกษุไปช่วยแก้โรคตามหลักวิชาการของท่าน ในตอนนี้สมเด็จฯ ได้เคยทรงอ่านหนังสือธรรมกาย ซึ่งคุณพระทิพย์ปริญญา (ธูป กลัมพะสุต ป.๖ เนติบัณฑิต) ซึ่งได้รวบรวมและเรียบเรียง จากเทศนาของพระคุณหลวงพ่อ พระคุณท่านได้เคยทดลองปฏิบัติตาม ประกอบทั้งเจ้าคุณหลวงพ่อได้เคยไปถวายคำแนะนำเพิ่มเติมท่านจึงเชื่อว่าเป็นของจริงของแท้และเกิดความเลื่อมใส ข้าพเจ้าเองก็ได้เคยฟังจากคำพูดของท่านเจ้าคุณวิเชียรธรรมคุณ เลขานุการท่านว่า สมเด็จฯ ได้เรียกท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม(ช้อย) ไปเฝ้าและรับสั่งว่า "ท่านเจ้าคุณช่วยจัดการเรื่องอุปัชฌาย์วัดปากน้ำที ฉันดูพระผิดเสียองค์หนึ่งแล้ว" พระพิมลธรรมก็รับคำสมเด็จฯ รับสั่งต่อไปว่า "สาธุ" พร้อมกับยกมือขึ้นประนมแล้วกล่าวสืบต่อไปอีกว่า "ฉันกดเขามาหลายปีแล้ว ช่วยจัดการให้เรียบร้อยด้วย" <!--MsgFile=3-->


    <CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ป้าฉลวย สมบัติสุข

    หลวงพ่อท่านบอกว่าต้องการช่วยคนให้พ้นทุกข์ทำได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำจะว่าใจดีก็ใจดี จะว่าดุก็ดุและท่านเป็นคนตรง ถ้าเห็นว่าเป็นอย่างนี้ก็ต้องเป็นอย่างนี้ ขนาดสมเด็จวัดโพธิ์เป็นหลานของท่าน ท่านบอก "เฮ้ย ของเรามันถูกอยู่แล้วแน่นอนอยู่แล้วจะไปกลัวอะไร"

    อย่างท่านบอกว่าสมเด็จวัดโพธิ์จะได้เป็นสังฆราช ไม่น่าเชื่อไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นจริง เพราะว่าคนที่รอจะขึ้นเป็นสังฆราชมีอยู่อีกองค์คือพระพิมลธรรม วัดมหาธาตุ ถ้าสังฆราชองค์เก่าสิ้น พระวัดมหาธาตุต้องได้ขึ้นแน่นอนแต่พอดีมีเรื่องเกิดขึ้น ก็มาเป็นวัดโพธิ์ ท่านจะพูดเฉพาะเรื่องที่จำเป็น คิดไม่ถึง ถึงเวลาจริงๆ คาดไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้

    สมัยตอนหลวงพ่อมาอยู่วัดปากน้ำแรกๆ หลวงพ่อมาอยู้ท่านก็ทำตามความถูกต้อง ไม่มีอะไรกับใคร แต่คนที่มาอยู่รุ่นเก่า ที่เขาอยู่แถวนั้นก็มีบารมีเป็นที่นับถือ อาจจะไม่ชอบใจ เวลาหลวงพ่อท่านทำอะไรลงไปก็จะเป็นข่าวโจมตี แต่ยิ่งว่าไม่ดียิ่งดัง ของเรามันดีอยู่แล้วไม่ได้ไปทำความเสียหายอะไร คล้ายๆ กลองยิ่งตีมันยิ่งดัง แทนที่คนเขาว่าจะทำให้เสื่อมเสียหาย แต่กลับเป็นตรงกันข้าม <!--MsgFile=7-->

     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ...เหตุจากเรื่อง ที่มีการเขียนรับรองกรรมฐานสายหนึ่ง....<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->เหตุผลที่หลวงพ่อสดเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบพม่าสายหนึ่ง


    ก็ เพราะว่า


    ท่านเจ้าประคุณผู้มียศสูงทางสงฆ์ท่านหนึ่ง

    เมื่อครั้งมีสมณศักดิ์ปกครอง วัดมหาธาตุ สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง (สมัยนั้นมีสังฆมนตรีเพียง๔ รูป)


    ผู้มีอำนาจมาก มีบารมีมาก มีบริวารมาก และมีสมณศักดิ์เกือบสูงสุด ท่านเจ้าประคุณ มีความดำริจะส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานให้เจริญแพร่หลายในประเทศไทย โดยเฉพาะท่านเชื่อว่าการสอนวิปัสสนาธุระที่เป็นระบบถูกต้องมีเฉพาะในประเทศพม่าเท่านั้น ทั้งที่ตอนนั้นสายพระอาจารย์มั่นและสายวัดปากน้ำได้ปฏิบัติธรรมอย่างมีระบบแล้ว



    หลวงพ่อวัดปากน้ำและพระเถระผู้เชี่ยวชาญกรรมฐานฝ่ายมหานิกายจึงถูกเกณฑ์ให้เรียนกรรมฐานแบบพม่าสายนั้น



    สำหรับหลวงพ่อสดนั้นถูกขอร้องเป็นพิเศษ

    ด้วยหลวงพ่อมีลูกศิษย์ลูกหามาก น่าจะมากที่สุดในประเทศไทยในสมัยนั้น ให้ช่วยเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุฯให้ด้วย ไม่ใช่เป็นอย่างคำบิดเบือน “ที่กล่าวว่าหลวงพ่อปฏิบัติไป ๆ แล้วติดตันขึ้นมา ต้องไปขอให้ให้อาจารย์วัดมหาธาตุแนะทางให้ จึงรู้ว่าที่ท่านปฏิบัติมานั้นผิดทาง” ซึ่งยุทธการกล่าวบิดเบือนดังกล่าวมีมาตลอด

    แต่ที่เขียนบิดเบือนเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นปรากฏเป็นครั้งแรกในหนังสือมักกะลีผล



    ในการเกณฑ์ให้เรียนนั้น ท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก ญาณสิทธิ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมวิชาญาณเถรต้องไปถวายการสอนที่ในโบสถ์วัดปากน้ำตอนบ่าย หลายวัน โดยปิดประตูโบสถ์ ไม่อนุญาตให้ใครเข้าไปฟัง หลวงพ่อวัดปากน้ำและท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนีถกอะไรกันบ้าง นั้นไม่มีใครทราบ


    พระดร. มหาทวนชัย อธิจิตโต ท่านเล่าว่าตอนนั้นท่านยังเป็นสามเณรมีหน้าที่ปูอาสนะสองที่หน้าพระประธาน เมื่อหลวงพ่อ และท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี เข้าไปในโบสถ์แล้ว หลวงพ่อสั่งให้ท่านปิดประตู ห้ามใครเข้าใกล้



    แต่สามารถอนุมานได้ว่าท่านเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี และเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(ครั้งมีสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรม) มีประสงค์จะให้หลวงพ่อเปลี่ยนการปฏิบัติกรรมฐานจากวิชชาธรรมกายเป็นแบบวัดมหาธาตุ ซึ่งหลวงพ่อไม่ยอม(พระดร. มหาทวนชัย อธิจิตโต, ๒๕๔๕, ใต้บารมีหลวงพ่อ ใน ที่ระลึกงานมุทิตา ฉลองพัดยศ พระครูสัญญาบัตรชั้นโท พระครูมงคลพัฒนคุณ เจ้าอาวาส วัดโบสถ์ (บน) บางคูเวียง นนทบุรี, หน้า ๓๗)



    หลวงพ่อวัดปากน้ำได้เล่าให้ศิษย์บรรพชิตท่านฟังว่า ท่านปฏิบัติบรรลุญาณ ๑๖ มาเป็นสิบๆปีแล้ว ก่อนที่กรรมฐานแบบวัดมหาธาตุจะเข้ามาสู่ประเทศไทย เพราะวิชชาธรรมกายก็มีการพิจารณาไตรลักษณ์ และพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ คือพิจารณากายในกาย เวทนาใน้เวทนา จิตในจิต และพิจารณาธรรมในธรรม และท่านยังได้บอกศิษย์ว่า สามเณรที่ทางวัดมหาธาตุรับรองว่าบรรลุญาณ๑๖แล้ว(เข้าใจว่าเป็นรูปแรก) ที่บอกใครๆว่าสามารถเข้าสมาบัตินั่งตัวแข็งได้ทุกที่นั้น ซึ่งโด่งดังมากในสมัยนั้น จะไม่สามารถเข้าสมาบัตินั่งตัวแข็งได้ที่วัดปากน้ำ และเป็นจริงตามที่หลวงพ่อพูด ต่อมาสามเณรรูปนั้นสึกแล้วเป็นหัวขโมย [หลวงพ่อฤาษีลิงดำ(พระราชพรหมยาน มหาวีระ ถาวโร) , ......, เรื่องจริงอิงนิทานเล่ม๑, น.๑๖๙- ๑๗๒. ]



    -->> หลวงพ่อวัดปากน้ำได้เขียนรับรองให้จริง แต่เขียนให้ในฐานะที่ท่านเป็นพระอาจารย์ที่ปรึกษา เขียนรับรองวิทยานิพนธ์ของศิษย์ เพราะคนที่จะเขียนรับรองอะไรได้นั้น จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชานั้น ๆ ใช่หรือไม่

    (หลวงพ่อสดวัดปากน้ำเทศน์...ที่วัดมหาธาตุ) หลวงพ่อสดท่านเป็นพระผู้ใหญ่กว่าอย่างไร ท่านได้รับการไว้วางใจจากเจ้าคุณพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺต มหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์ องค์ที่ ๑๕ สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง และปฐมสภานายกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมาก่อนที่จะเกิดเรื่องนี้ พิจารณาในกระทู้นี้...
    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/07/Y5650448/Y5650448.html




    การที่หลวงพ่อยอมเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุฯ ตามที่เจ้าประคุณฯผู้มียศสูง ขอร้องแกม..... และตามคำขอของเจ้าคุณ..... ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ท่านทั้งสองเสียหน้า หลวงพ่อได้เขียนรับรองไว้ใต้ภาพถ่ายของท่านที่มอบให้วัดมหาธาตุฯ มีใจความดังต่อไปนี้ :

    “ให้สำนักวิปัสสนา ในการที่ฉันได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนาตามแบบวัดมหาธาตุสอนอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว ยืนยันได้ว่าการปฏิบัติแบบนี้ ถูกต้องร่องรอยในมหาสติปัฏฐานสูตรทุกประการ” พระภาวนาโกศล วัดปากน้ำ ธนบุรี ๒๐ เมษายน ๒๔๙๘
    [วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, ไม่ระบุปีที่พิมพ์, ประวัติและผลงานพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. ๙), วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, กรุงเทพมหานคร หน้า ๑๓. (คณะ๕ โทร ๐๒ ๒๒๒-๖๐๑๑)] แต่หลวงพ่อไม่ยอมเขียนว่าวิชชาธรรมกายไม่เป็นวิปัสสนา




    จึงเป็นเหตุให้ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อวิชชาธรรมกายนำไปบิดเบือน คือพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว แต่อีกครึ่งไม่ยอมบอกใครๆว่า ที่หลวงพ่อยอมเขียนรับรองให้นั้นเป็นการเขียนรับรองตามคำขอ เพราะเจ้าประคุณฯสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองนั้นใหญ่มาก มีอำนาจมาก เป็นเรื่องที่ได้ยินได้ฟังจากครูอาจารย์ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตไปแล้วเล่าให้ฟัง



    วิชชาธรรมกายนั้นเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย สามารถบรรลุนิพพานได้เช่นเดียวกัน แถมยังมีฤทธิ์ประดับบารมีด้วย
    ต่างกับการปฏิบัติวิปัสสนาแบบวัดมหาธาตุฯ ซึ่งโดยปรกติแล้วการปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุฯจะไม่มีฤทธิ์ประดับบารมี เว้นแต่เป็นของที่ติดภพเก่ามา หลักฐานที่ยืนยันได้แน่นอนว่าการปฏิบัติวิชชาธรรมกายนั้น สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้จริง คือตัวของหลวงพ่อเอง หลวงพ่อวัดปากน้ำได้บอกศิษย์บรรพชิตให้ทราบว่าท่านบรรลุญาณ ๑๖ มานานแล้ว ก่อนที่วิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุจะเข้ามาสู่ประเทศไทย โดยเฉพาะอัฐิธาตุศิษย์วิชชาธรรมกายบางท่านกลายเป็นพระธาตุก็มีให้เห็นแล้ว



    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกว่า “ต้นธาตุสั่งให้ท่านมาเกิดเพื่อปราบมาร” เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๔๙๘ (นางแฉล้ม อุศุภรัตน์, ๒๔๙๙, โอวาทเจ้าคุณพ่อ, ใน เรื่องธรรมกาย ของพระมงคลราชมุนี, วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ, กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ไทยพณิชยการ,หน้าธ–ป.) ซึ่งหลวงพ่อสดเทศน์ภายหลังจากที่ท่านเขียนรับรองการปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุฯในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วประมาณ ๕ เดือนครึ่ง นี้เป็นหลักฐานชัดเจนว่าหลวงพ่อเชื่อมั่นในวิชชาธรรมกาย




    การที่หลวงพ่อสดได้พยากรณ์ว่าสมเด็จป๋าจะได้เป็นใหญ่ที่สุดในหมู่สงฆ์เมื่อปี ๒๔๙๗ นั้น เพราะหลวงพ่อหยั่งทราบว่าพระผู้มียศฯจะต้องคดีจนหมดสิทธิ์ที่จะขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ทั้งๆโดยตำแหน่งแล้วพระผู้มียศสูงท่านนั้นฯจะต้องได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก่อนสมเด็จป๋าอย่างแน่นอน


    สมมุติว่าถ้าพระผู้มียศสูงทางสงฆ์ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว สมเด็จป๋าหมดสิทธิ์ที่จะเป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะว่าสมเด็จป๋าสิ้นพระชนม์ก่อนถึง ๑๖ ปี คือสมเด็จป๋าสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่๗ ธันวาคม ๒๕๑๖ ส่วนพระท่านผู้มียศฯ มรณภาพ เมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๓๒ นั้นแสดงให้เห็นว่าหลวงพ่อทราบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


    หลวงพ่อสดหยั่งรู้อยู่แล้วว่าในปี ๒๔๙๘ ท่านจะต้องถูกเกณฑ์ให้เรียนกรรมฐานแบบวัดมหาธาตุ
    ท่านผู้มากไปด้วยความเมตตา ทราบดีว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์จะต้องคดี ยากที่หาหลักฐานมาแก้ต่าง แต่ถ้าได้คำรับรองของท่านไปใช้แก้ต่างก็สามารถช่วยให้ชนะคดีได้ ซึ่งทนายของสมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ใช้ข้อเขียนของหลวงพ่อสดที่เขียนรับรองว่าการปฏิบัติกรรมฐานวัดมหาธาตุถูกต้องตามสติปัฏฐาน ๔ ใช้เป็นหลักฐานหักล้างในการต่อสู้ จนชนะคดีในที่สุด (...มหาจุฬาฯ, ๒๕๓๕,ประวัติการสถาปนา เลื่อนชั้น ลดตำแหน่ง แต่งตั้ง ถอดถอน คืนสมณศักดิ์ พระพุทธาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ พระพิมลธรรม สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๕๓๕ , (๒๐๘) ๒๕๓๒, หน้า ๒๐๗)




    “ระหว่างต้องคดี ท่านผู้นั้นต้องถูกคุมขังอยู่ที่ห้องสันติบาลตำรวจ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ถึงวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นเวลา ๕ พรรษา” (...มหาจุฬาฯ, ๒๕๓๕,หน้า๑๑๙) โดยนุ่งห่มผ้าขาวแบบสบงและอังสะ และมีจีวรห่มคลุม และท่านถือวัตรอย่างพระภิกษุ’ ( .....มหาจุฬาฯ, ๒๕๓๓, หน้า ๒๑๕ )




    บั้นปลายชีวิตของพระผู้มียศฯ เมื่อมีอายุสูงขึ้นได้ถูกโรคาอาพาธเบียดเบียน จนมือและเท้าด้านซ้ายเป็นอัมพฤกษ์ ไม่สามารถใช้งานได้ตามปรกติ ต้องอาศัยศิษย์ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์คอยปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิด ทุก ๆ อย่างในช่วงนี้เอง ศิษย์บางคนจำพวกได้ถูกความโลภเข้าครอบงำจิตสันดาน จึงอาศัยเกียรติคุณและตำแหน่งการงานของท่าน แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ทั้งภายในและภายนอกวัดมหาธาตุ ฯ โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์ปลอมของสมีเจี๊ยบ ซึ่งเป็นข่าวโด่งดังเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒







    ถามว่าทำไม วิบากกรรมของพระสงฆ์ผู้มียศบางรูป จึงมีมากมายขนาดนี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีเจตนาดีต่อพระศาสนา แต่พลาดที่ไปกระทำต่อหลวงพ่อวัดปากน้ำฯ ผู้บริสุทธิ์


    -->> เป็นไปได้ไหมว่า วิบากกรรมของพระที่มียศสูงฯบางรูปนั้น ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการที่ท่านได้บัญชาให้พระเถระผู้เชี่ยวชาญกรรมฐานฝ่ายมหานิกายของสงฆ์ไทย ต้องไปเรียนกรรมฐานแบบพม่า เพราะผู้เขียนเคยทราบจากพระเถระผู้เชี่ยวชาญกรรมฐานรูปหนึ่ง ท่านบอกว่ากรรมที่กระทำต่อผู้ทรงญาณสัมมาทิฏฐินั้นเป็นบาปมาก ยิ่งกระทำต่อพระอริยเจ้าแล้วจะบาปมากขนาดไหน

    <!-- google_ad_section_end -->
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    <EMBED height=385 type=application/x-shockwave-flash width=480 src=http://www.youtube.com/v/ISTK1Yo5AUo?fs=1&hl=en_US allowfullscreen="true" allowscriptaccess="always"></EMBED>

    ......................................................................................
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    10 ตุลาคม 2553 ครบรอบ126 ปี หลวงปู่สด แก้วล้ำค่าแห่งรัตนตรัย<!-- google_ad_section_end -->

    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->[​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ผู้ที่เจริญวิชชาธรรมกาย ได้คล่องตัว

    จิตส่วนหนึ่งจะอยู่ในที่สุดละเอียด คือ กลางของกลาง ของกายละเอียด

    ของกายภายในหรือธรรมกาย รวมทั้ง กายในพระนิพพาน ที่บริสุทธิ์
    เกือบตลอดเวลา


    ณ เวลาที่จิต อยู่ที่สุดละเอียดที่มีธรรมกายของพระพุทธเจ้า
    พระอรหันต์ พระอริยเจ้าจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน ซ้อนอยุ่นั้น
    บุคคลนั้น แม้ยังไม่ใช่พระอริยะเจ้า แต่ ก็ทรงความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ

    ไม่ว่านั่ง เดิน ยืน นอน ทำงานทางโลกปกติ คนภายนอกอาจดูไม่ออก


    ว่า จิตของบุคคลผู้นั้น อยู่ในธรรมกายที่เสวยอารมณ์พระนิพพาน
    หรือ ทรงอารมณ์ฌาณระดับใดระดับหนึ่งเป็นปกติ สลับกันไป




    อย่าเพิ่งคิดว่า คนที่อยู่ในธรรมกาย ต้องนั่งเข้าฌาณตลอด

    เพราะ ยิ่งเข้าถึงแล้ว ไม่ว่าอิริยาบถไหน ก็ชัดเจนได้ เพราะ จิตเข้าไป"เป็น"
    ธรรมกาย แล้ว ไม่ได้แค่ รู้ หรือ เห็น<!-- google_ad_section_end -->
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    บทวิเคราะห์


    -ตอนที่พระอริยคุณาธาร(เส็ง ปุสโส)ได้ออกความเห็นในมหาเถรสมาคม ที่วัดบวรนิเวศนั้น (พ.ศ.2490-2491) เกี่ยวกับข่าวลือว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำเห็นพระพระพุทธเจ้า และสามารถอาราธนาพระพุทธเจ้า ให้ชาวบ้านได้เห็นกันในวันเวียนเทียน และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ไปสืบเรื่องดังกล่าว นั้น


    1.พระอริยคุณาธาร เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถร ย่อมเป็นผู้ทรงคุณในทางสมถะ-วิปัสสนา

    2.ก่อนหน้านั้น (พ.ศ.2489) ท่านได้ทราบจากฤาษีพรหมรอด(เข้าทรงเจ้าอาวาสวัดที่นครจำปาศักดิ์) พยากรณ์ว่าจะมีพระผู้มีญาญวิเศษ สามารถเห็นพระพระพุทธเจ้าได้ และจะเป็นผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างกว้างไกล และพระพุทธศาสนาจะดำรงจนครบ 5,000 พรรษา (ขณะนั้นความสงสัยนี้ อยู่ในใจท่านว่าจะเป็นผู้ใด)


    และเมื่อท่านได้พบหลวงพ่อวัดปากน้ำแล้ว ได้สนทนาธรรมกัน และได้ถามถึงพุทธลักษณะของพระพระพุทธเจ้า หลวงพ่อวัดปากน้ำก็ได้ชี้ให้ดูพระพุทธรูป แล้วก็บอกลักษณะอย่างนั้น พระเกศเป็นแหลมๆอย่างนั้น
    ต่อมาข่าวเล่ารือเกี่ยวกับหลวงพ่อวัดปากน้ำก็เงียบไป
    ข้อสังเกตุ -เมื่อเหตุการณ์ข้อ 2 ประกอบที่ท่านทรงคุณในทางสมถะ วิปัสสนา ท่านคงต้องคิดในเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นหลวงพ่อวัดปากน้ำอย่างแน่แท้ จึงได้ถวายความเห็นแก่สมเด็จพระสังฆราช และมหาเถระ
    บทสรุป-"วิชาของเรานี้เป็นของแท้ พระพุทธศาสนาเก๊ได้หรือ" วาทะของหลวงพ่อ
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ท่านผู้ใฝ่ธรรมะทั้งหลาย

    ลองค้น และอ่านบทความที่กล่าวถึงพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะ

    ในตอนที่ท่านกล่าวกับลูกศิษย์ใกล้ชิดนามว่า วิมุตโตมัย กับพระเณรอีก 2-3 รูป ที่กล่าวถึงการที่มีผู้นำพระพุทธศานาไปเผยแผ่และสอนพวกฝรั่งนั้น ท่านบอกว่าเขาเหล่านั้น(ฝรั่ง) ไม่มีทางเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง และบรรลุ(ธรรม)ได้เลย เพราะเป็นพาหิประเทศ(น่าหมายรวมถึงประเทศและบุคคล..ไม่แน่ใจในคำว่า
    พานิประเทศ จะถูกต้องไหม ลองช่วยค้นหาด้วย..ขอบคุณ) ซึ่งท่านหมายถึงบุคคลนอกวงวาน(พระพุทธศาสนา) และท่านยังได้กล่าวถึงตอนที่ท่านธุดงตวัตรไปที่พม่า ท่านกล่าวว่าพม่านั้นไม่มีพระอริยบุคคลขั้นสูงสุดเลย จะมีแต่เพียงผ้าขาวที่สำเร็จอริยบุคคลขั้นที่ 3 เท่านั้น สู้ประเทศไทย ลาว ไมได้ มากไปด้วยพระอริยบุคคลขั้นสูงสุด และไม่ขาด(ตอน)เลย
    ***ดังนั้น ท่านจงตรึกตรอง(เหตุ)ดูเถิดเกี่ยวกับเรื่องธรรมะในพม่า(ทั้งหมด) และผลในความจริงที่กล่าวนั้น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...