ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ผมมองเห็นรูปนิมิตเป็นรูปพระสีเขียวเข้มจนเกือบดำ ทรงเครื่อง คล้ายทรงเครื่อง ฤดูร้อน อยู่กลางทรงกลม ตอนแรกเห็นทรงกลมสีขาวขุ่น มองนานๆ กลายเป็นแก้วใสติดอยู่นาน จะถือเอาเป็นนิมิตแทนลูกแก้วใสได้หรือไม่ ?

    ได้ครับ ใช้ได้เลย ถ้าเห็นเป็นดวงกลมใส ให้เข้าใจว่าองค์พระอยู่ในดวงกลมนั้น หยุดนิ่งไปกลางดวงกลมใสนั้น หยุดนิ่งถูกส่วนก็จะใสสว่าง ศูนย์กลางขยายออก ประเดี๋ยวองค์พระก็จะปรากฏ
    หรือกายมนุษย์ละเอียดจะปรากฏ เมื่อปรากฏแล้ว ท่านก็นึกเข้าไปเป็นกายละเอียดใหม่ จะเป็นกายมนุษย์ละเอียดหรือองค์พระก็แล้วแต่ ให้ใจหยุดนิ่งกลางกายมนุษย์ละเอียดหรือองค์พระนั้น ให้ใสสว่างหมดทั้งดวงทั้งกาย จะปรากฏขึ้นมาเรื่อยๆ ตามขั้นตอนของเขา แต่บางทีข้ามขั้นตอนได้ ถ้าจิตละเอียดหนักจริงๆ เห็น จำ คิด รู้ ขยายโตเต็มส่วน เต็มธาตุเต็มธรรม แล้วกายธรรมหรือธรรมกายจะปรากฏขึ้นมา ข้ามขั้นตอน แทนที่จะต้องผ่านกายมนุษย์ละเอียด ทิพย์ พรหม อรูปพรหมก็ข้ามขั้นตอนไปได้ ไม่เป็นไร
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    นั่งแล้วกำหนดเห็นแสงสีขาว แต่จะมีเหมือนรูปรอยเท้าอยู่ จะมีแสงกลมๆ ขนาดลูกมะพร้าวเป็นสีม่วง สีแดง สีเหลืองสลับกัน ลอยห่างออกไป กำหนดเห็นจุดขาวเล็กๆ แต่ถ้าเพ่งจะหายไป จะกำหนดอย่างไร ?

    กำลังจะได้ที่ อย่าอธิบายว่าอะไรเป็นอะไรเลย กระผมจะถวายคำแนะนำวิธีปฏิบัติเลย
    ถ้าใครเห็นแสงเฉยๆ อยู่ภายนอก หรือเห็นดวงเฉยๆ อยู่ภายนอกแล้วหายไป จะเป็นสีอะไร ปล่อยครับ หลวงพ่อจงปล่อยเลย อย่าสนใจ ให้เหลือบตากลับนิดๆ กำหนดเป็นจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางกายไว้
    ค่อยๆ นึกให้เห็นดวงใส ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น ใจเย็นๆ หยุดในหยุด กลางของหยุด แต่อย่าเพ่งแรง ถ้าเพ่งแรงแล้วหาย นึกถึงการกดลูกปิงปองให้จมลงในน้ำ ถ้ากดแรงเกินไปก็จะกลิ้งหลุดมือ ถ้ากดค่อยเกินไปก็ไม่จมลง ต้องกดเบาๆ ตรงศูนย์กลางพอดีๆ
    เหมือนเมื่อครั้งพระอานนท์เถรเจ้าปฏิบัติธรรมเกือบตาย เพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า ท่านจะได้บรรลุธรรมก่อนการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑ หนึ่งวัน พอถึงวันทำสังคายนาพระมหาเถระ ที่จะประชุมทำสังคายนาได้ให้จัดอาสนะเตรียมพร้อมไว้ให้ท่านอานนท์ ท่านปฏิบัติเต็มที่แต่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน สังขารของท่านเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการจัดงานถวายพระเพลิง สังขารไม่สบาย จิตใจจึงไม่สงบ ท่านจึงฉันยาระบาย สันนิษฐานว่าเป็นสมอดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฉันแล้วระบายท้อง ระบายท้องแล้วสบายตัว ดึกแล้ว เอนกายในท่าพอเหมาะพอสบาย ก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพานทันที ตื่นเช้าขึ้นมา ไปแสดงตนในที่ประชุมสงฆ์ทำสังคายนาด้วยวิธีปรากฏตัวขึ้นโดย ไม่ต้องเดินมาให้เห็น เพื่อแสดงความเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทา เพราะการทำปฐมสังคายนานั้น อาราธนาแต่เฉพาะพระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทา* ทั้งสิ้น เพราะว่าทรงจำข้อธรรมต่างๆ ได้ด้วย ระลึกเหตุการณ์และเห็นแจ้งในพระธรรมได้ด้วยพระญาณ
    คำตอบที่ว่า เมื่อเพ่งไปที่จุดเล็กแล้วหายไป คงจะเข้าใจดีว่า ต้องมีความพอดี อย่าเพ่งแรง อย่าอยากเห็นเกินไป นั่นเป็นอุปกิเลสของสมาธิ ระวังจิตใจอย่าให้ฟุ้งซ่านเผลอออกไป ก็จะจืดจางจากความเป็นสมาธิ ปล่อยใจให้ดิ่งลงที่กลางของกลางจุดเล็กใส ณ ศูนย์กลางกายเลย ปักดิ่งไม่ถอน ให้ปักดิ่งแต่ต้องเบาๆ สบายๆ ไม่เคร่งครัดเกินไป ดังที่หลวงพ่อท่านว่า “ต้องให้ถูกศูนย์ ถูกส่วน” แล้วจะได้ที่ เพราะฉะนั้นเรื่องอื่นไม่อธิบายละเอียด นึกกำหนดศูนย์กลาง ทุกอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน เดี๋ยวติด เห็นใสสว่างเลย อย่างนี้ไม่ช้า

    <HR color=#008000 SIZE=1 noShade>* พระอรหันต์ประดับด้วยอภิญญา ด้วยปฏิสัมภิทานั้นก็คือ ๑) อรรถปฏิสัมภิทา คือมีญาณหยั่งรู้ในเหตุ ไปถึงต้นๆ เหตุ ๒) ธรรมปฏิสัมภิทา รู้ผล ๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา รู้ภาษาหลายภาษา แม้กระทั่งภาษาสัตว์ และ ๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา รู้การโต้ตอบปัญหาที่ถูกต้อง ตรงประเด็น ตรงไหนควรย่อควรไหนควรขยาย พระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทา มีอภิญญาด้วย มีญาณหยั่งรู้ เมื่อมี ๔ อย่างนี้ คุณธรรมมีเพียบเลย ไม่ใช่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ หรือสุกขวิปัสสโก ยกตัวอย่าง ท่านพระจักขุปาล เทวดาเดินมา ท่านก็ยังไม่ทราบว่าเป็นเทวดา ต่อเมื่อท่านกำหนดจิตดู สังเกตได้ว่า นี่ไม่ใช่เป็นคนธรรมดา แต่เป็นพระอินทร์ เป็นท้าวสักกเทวราช แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์จตุปฏิสัมภิทา เทวดาแปลงโผล่มาก็รู้ ก็เห็นได้เลย หรือไม่มาก็รู้ได้เลย​
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    เมื่อจิตเริ่มเป็นสมาธิ จะเห็นความสว่างเกิดขึ้นบริเวณท้อง ?











    เมื่อเวลาปฏิบัติธรรม พอจิตเริ่มเป็นสมาธิจะเห็นความสว่างเกิดขึ้นบริเวณท้อง เป็นความสว่างโล่งๆ จะต้องทำอย่างไรต่อไป ?
    เมื่อเวลาปฏิบัติธรรม เห็นความสว่างเกิดขึ้น อาจเหมือนดวงจันทร์ หรือความสว่างพอสมควร นั่นแสดงว่าเริ่มใช่แล้ว ใจเริ่มหยุดใกล้ๆ กับฐานที่ตั้งของใจ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม จึงปรากฏมีความสว่างขึ้น อาจเห็นข้างหน้า
    หรือรอบๆ ตัว เป็นของจริงทั้งนั้นแต่ยังไม่แท้ จะแท้ก็ต่อเมื่อใจหยุดนิ่งตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม (ฐานที่ ๗) จะเห็นดวงใสสว่างขึ้นมา เป็นดวงปฐมมรรค นั่นแหละของแท้ แต่เป็นของแท้โดยสมมุติ คือ เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ซึ่งยังจัดเป็นสังขารนิมิตอยู่
    ถ้าเห็นอย่างที่กล่าวมา ให้กำหนดนึกหยุดนิ่งที่ศูนย์กลาง หรือกำหนดตั้งศูนย์กลางไว้ พร้อมอธิษฐานขอให้เห็นศูนย์กลางที่ใส และขยายศูนย์กลางออก แต่อย่าเพ่งแรง พอศูนย์กลางขยาย ในไม่ช้าก็จะเห็นดวงใสสว่างขึ้นมา แต่ถ้าเราเผลอง่วงหรือเผลอสติ ความมืดจะเข้ามาแทนที่เป็นธรรมดา นั่นคือกิเลสนิวรณ์ เพราะฉะนั้นขอให้มีสติว่า กิเลสนิวรณ์จะเกิดขึ้น วิธีแก้โดยการนึกให้เห็นจุดเล็กใสตั้งขึ้นมาใหม่ แล้วอธิษฐานขยายศูนย์กลางจุดเล็กใสนั้น ดวงก็จะปรากฏใสสว่างขึ้น ให้หมั่นนึกเข้ากลางของกลางจุดเล็กใสนั้นไว้เรื่อยๆ ให้ใจหยุดในหยุดกลางของหยุดอย่างสม่ำเสมอ อย่าเพ่งแรง นึกเข้ากลางของกลาง หยุดในหยุดอย่างต่อเนื่อง ก็จะเห็นศูนย์กลางใสขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งความมืดหมดไป (ที่เรียกว่า ธัมโม ปทีโป ความสว่างของธรรมที่สว่างเปรียบประดุจ ดังประทีปหรือดวงอาทิตย์)
    หลักสำคัญ กำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางกาย แล้วค่อยๆ อธิษฐานขยายจุดเล็กใสขึ้น อย่าให้ใจเคลื่อนจากศูนย์ ความมืดก็จะหายไป ความสว่างก็จะปรากฏขึ้นแทนที่ อย่าใช้สายตาเนื้อ เพราะจะปวดตา และไปแย่งหน้าที่ของตาใน หมั่นจดใจอยู่เสมอทุกขณะ เดิน ยืน นั่ง นอน ก็จะเห็นดวงในดวง แล้วต่อไปก็จะเห็นกายในกายต่อไปเอง
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]


    [​IMG]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010101.wma[/MUSIC]
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ดิฉันได้ยินผู้แนะนำธรรมปฏิบัติบางรายเขาว่า ถ้าจะปฏิบัติให้เห็นดวงปฐมมรรคได้เร็ว ก็ให้กำหนดนิมิตภายนอกตัวหรือที่ไหนๆ ก็ได้ ให้เห็นชัดเจนเสียก่อน แล้วจึงค่อยน้อมนำเข้าไปข้างในเมื่อไรก็ได้ เพราะถ้าปฏิบัติตามวิธีของหลวงพ่อวัดปากน้ำ แล้วรู้สึกว่าจะเห็นได้ยาก หลวงพ่อเห็นว่าดิฉันควรเปลี่ยนวิธีฝึกตามแบบเขาไหม จึงจะเห็นง่ายๆ ?

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านสอนให้น้อมใจเข้าไปตามฐานต่างๆ ในเบื้องต้น เพียงเพื่อให้รู้ทางเดินของจิตว่า เวลาจะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น จิตนั้นเข้าออกทางไหน อย่างไร ในตอนแรกของการปฏิบัติภาวนานั้น ในการปฏิบัติคราวต่อๆ ไป ท่านให้เอาใจไปจรดที่ศูนย์กลางกายโดยตลอด ไม่ให้ส่งใจออกนอกเลย
    ในการน้อมใจไปตามฐานต่างๆ นั้น ท่านสอนให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วกลมใสเท่าดวงตาดำ กลมใสดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ให้ปรากฏขึ้นที่ปากช่องจมูก (หญิง-ซ้าย/ชาย-ขวา) นี่ฐานที่ ๑ ให้ใจอยู่กลางดวงที่ใส และให้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหัง” ๓ ครั้ง แล้วก็ให้เลื่อนดวงแก้วนั้นเข้าไปหยุดนิ่งอยู่ที่หัวตาด้านใน (หญิง-ซ้าย/ชาย-ขวา) ให้หยุดนิ่งอยู่ที่หัวตาด้านในนั้น นี่ฐานที่ ๒ ให้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหัง” ๓ ครั้ง แล้วก็ให้เลื่อนไปหยุดที่กลางกั๊กศีรษะ เป็นฐานที่ ๓ แล้วก็เลื่อนไปหยุดที่ฐานที่ ๔ ช่องเพดานปาก ฐานที่ ๕ ปากช่องลำคอ, ฐานที่ ๖ เลื่อนลงไปตรงศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ, แล้วก็เลื่อนกลับสูงขึ้นมาตรงๆ อีกประมาณ ๒ นิ้วมือ นี่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อันเป็นที่ตั้งของกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งของกาย เวทนา จิต และธรรม ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกาย และพระนิพพานอีกด้วย เวลาสัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น จิตดวงเดิมก็จะตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ แล้วจิตดวงใหม่ซึ่งอยู่ท่ามกลางดวงธรรมของกายละเอียด ก็จะลอยเด่นมาที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้ก่อนจะทำหน้าที่ต่อไป จุดนี้จึงเป็นที่ตั้งถาวรของใจ
    ทีนี้ ก็ให้เอาใจจรดที่ตรงนี้เรื่อยไปตลอด ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ล่าง-บน นอก-ใน ไม่ไปทั้งนั้น ทำใจให้หยุดในหยุด กลางของหยุด ณ ที่ตรงนี้เรื่อยไป ไม่ถอยหลังกลับ เพราะการทำใจหยุดในหยุด กลางของหยุด ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้ จิตหยุดปรุงแต่ง (ไม่สังขาร) จึงถูกถิ่นทำเลของพระ (กุสลาธัมมา) แต่ถ้าใจออกนอกตัวก็จะปรุงแต่งด้วยอำนาจของกิเลสได้มาก จุดอื่นนอกจากตรงศูนย์กลางกายจึงเป็นถิ่นทำเลของภาคมาร (อกุสลาธัมมา) เพราะเหตุนี้ จึงให้เอาใจจรดตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ไว้เสมอ เวลาถูกส่วนเข้าก็จะเห็นและถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ และของกายอื่นๆ ตลอดถึงดวงธรรมของกายธรรมต่อๆ ไปจนสุดละเอียดที่แท้จริง จะได้ไม่ถูกหลอกด้วยนิมิตลวงที่จิตปรุงขึ้น (สังขาร)
    หลวงพ่อท่านจึงไม่ยอมให้ใครสอนโดยให้เอาใจไปไว้นอกตัว ให้เห็นดวงใสก่อน แล้วจึงค่อยน้อมเข้ามาภายใน เพราะแม้ว่าวิธีกำหนดนิมิตภายนอกตัวก่อนนั้นมันง่ายกว่าการเอาใจไปจรด ณ ที่ศูนย์กลางกายตั้งแต่เบื้องต้นก็จริง แต่การเห็นนิมิตนอกตัวนั้น แม้จะน้อมเข้ามา ณ ภายในได้ ก็เสี่ยงต่อการที่จิตจะเคลื่อนจากศูนย์ออกไปรับอารมณ์ภายนอกตัว อันเป็นเหตุให้เกิดกิเลสเข้ามาประสม แล้วปรุงแต่งจิตให้เห็นนิมิตที่จิตปรุงแต่งขึ้นในดวงกสิณภายนอกตัวนั้นได้มากทีเดียว แปลว่า อาจถูกกิเลสมารแทรกซ้อนให้เห็นนิมิตลวง (ไม่จริง) ได้ง่าย อันเป็นเหตุให้รู้ผิด เห็นผิด จึงคิดผิด พูดผิด ทำผิด ได้ง่ายมาก และนี่แหละคืออันตรายของการเห็นนิมิตนอกตัว
    ท่านจึงสอนให้ทำใจหยุด ณ ศูนย์กลางกายเลย เพื่อให้ติดเป็นนิสัยปัจจัยตั้งแต่ต้น และให้ทำไว้ในทุกอิริยาบถ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถ้าผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมใดที่เคยฝึกทำนิมิตหรือเพ่งกสิณนอกตัวก่อน ท่านจะสอนให้รีบนำใจเข้าไปหยุด ณ ภายใน ศูนย์กลางกายไว้เสมอ เวลาปฏิบัติภาวนาไม่ให้ส่งใจออกนอกตัว และไม่ให้ใช้นิมิตที่เกิดขึ้นหรือที่เห็นภายนอกตัวเลย เพราะฉะนั้น ถ้าประสงค์ของจริงในพระพุทธศาสนา เวลาเจริญหรือปฏิบัติภาวนา ต้องพยายามไม่ส่งใจออกนอกตัว และไม่ควรเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติภาวนาไปเป็นวิธีเอาใจออกนอกตัวเป็นอันขาด
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    การให้ทานที่มีผลมาก


    การให้นั้นผู้รับย่อมได้รับอานิสงส์เสมอ แต่อานิสงส์คือผลแห่งทานที่ได้ทำไปแล้วนั้น จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ประการ เช่น ทายกทายิกาคือผู้ให้นั้นตนเอง เป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยศีลด้วยคุณธรรม ให้ด้วย เจตนาที่บริสุทธิ์ และวัตถุทานที่มอบให้นั้นได้ มาด้วยความบริสุทธิ์ ปฏิคาหกคือผู้รับนั้นเป็น ผู้บริสุทธิ์ด้วยศีลด้วยคุณธรรม เมื่อเป็นเช่น นี้ ผลของทานย่อมจะได้มาก
    การให้ เป็นการกำจัดกิเลสประเภทความ ตระหนี่ ยึดติดลุ่มหลงที่เป็นทั้งโลภะและโมหะ ถ้าเกิดความเสียดายก็จะเป็นโทสะตามมาด้วย ผู้ให้ยังได้อานิสงส์เป็นการลดกิเลสภายในตน
    ปัจจัยสำคัญของการให้ที่มีผลมากประการ หนึ่ง ก็คือ เจตนาในการให้ ถ้าเจตนาบริสุทธิ์ ประกอบด้วยกุศล เช่น ให้เพื่อมุ่งสงเคราะห์ ให้เพื่อสละละความตระหนี่ ให้ด้วยศรัทธา ยินดี เต็มใจ และไม่เจือด้วยอกุศล เช่นความ ตระหนี่ ความโอ้อวด เป็นต้น ไม่ว่าในขณะ ก่อนให้ ขณะที่ให้ และภายหลังที่ให้ หรือทั้ง ๓ กาล ย่อมจะได้อานิสงส์มาก
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจตนาในการให้โดย ไม่เจาะจงตัวบุคคล มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ แก่ส่วนรวมหรือหมู่คณะ ซึ่งมีพระพุทธพจน์ กล่าวรับรองการให้ประเภทนี้ว่า ให้อานิสงส์ ผลบุญนับประมาณมิได้ การให้ประเภทนี้ เรียกว่า “สังฆทาน” คำว่า “สังฆะ” แปลว่า หมู่ คณะ เพราะฉะนั้น สังฆทานจึงเป็น เรื่องของเจตนาอันกว้างขวาง ไม่คับแคบ ของ ผู้ให้ที่ให้สิ่งของปัจจัย ๔ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อ สงฆ์ ต่อส่วนรวม ให้ได้ใช้สอยร่วมกัน เป็น การช่วยจรรโลงสงฆ์คือหมู่ภิกษุ ให้ท่าน สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาสืบต่อไปได้
    เจตนาเช่นนี้แหละจะช่วยรักษาพระศาสนาไว้ ได้ จึงมีอานิสงส์มาก
    เนื้อแท้ของการให้แบบสังฆทานนี้ ก็คือ ตัวเจตนาของผู้ให้หรือผู้ถวาย ซึ่งให้หรือ ถวายไม่เจาะจงแด่พระรูปใดหรือบุคคลใด เพียงเท่านี้ก็จัดว่าเป็นสังฆทานสมบูรณ์แบบแล้ว ส่วนคำกล่าวถวายสังฆทานก็เป็นเพียง รูปแบบที่มาประกอบเข้าเท่านั้น และสิ่งของ ที่นำมาถวายก็ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นถัง พลาสติกสีเหลืองใส่อาหารและเครื่องใช้ต่างๆ ที่ซื้อมาจากร้านค้า (ที่พากันเรียกว่า ถังสังฆทาน) จึงจะเรียกว่าเป็น "สังฆทาน" ได้ ในส่วนของผู้รับก็ไม่จำเป็นต้องเป็นภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป แม้มีพระภิกษุเพียงรูปเดียวรับ ทานนั้น แต่ผู้ถวายมีเจตนาถวาย โดยไม่เจาะจงแก่ภิกษุรูปใด และตั้งใจถวาย แก่พระพุทธศาสนาโดยส่วนรวม ดังที่กล่าว แล้ว ก็จัดว่าเป็นสังฆทานอย่างแน่นอน สรุป ว่าจะเป็นสังฆทานหรือไม่ อยู่ที่เจตนาเพียง ประการเดียวเท่านั้น
    ด้วยเหตุนี้ ถ้าวัดใด หมู่คณะใด ส่งเสริม การทำบุญของสาธุชน ให้เป็นไปและยัง ประโยชน์ให้เกิดแก่หมู่สงฆ์ เพื่อประโยชน์ ต่อส่วนรวมแก่สงฆ์ ที่เรียกว่า สังฆทาน ผู้ให้ ย่อมได้รับผลแห่งทานมาก ผู้ทำบุญจึงต้อง พิจารณาด้วยปัญญาว่าทานใดจัดเป็น สังฆทาน การทอดกฐิน ผ้าป่า สร้างเสนาสนะ เผยแพร่ธรรมะ และการให้การอบรมธรรมปฏิบัติ จัดเป็นการถวายแด่หมู่สงฆ์ จึง เป็นสังฆทาน ตามนัยแห่งประโยชน์ที่เกิดขึ้น และเจตนาที่ให้ด้วยศรัทธา เพื่อประโยชน์ต่อพุทธบริษัท ก็ย่อมได้อานิสงส์มากเช่นกัน
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    หาบุญได้ ใช้บุญเป็น


    เมื่อกล่าวถึงเรื่องการหาบุญได้ใช้บุญเป็นก็เป็นเรื่องของบัณฑิตผู้มีปัญญา รู้จักทางเจริญ รู้จักทางเสื่อม รู้จักประโยชน์ปัจจุบัน รู้จักประโยชน์ภายหน้า รู้จัดธรรมะหรือสิ่งที่เป็นแก่นสารสาระ และสิ่งที่มิใช่แก่นสารสาระตามที่เป็นจริง คุณสมบัติดังกล่าวนี้เป็นคุณสมบัติของ “บัณฑิต” ความจริงคุณสมบัติที่ดีของบัณฑิตผู้รู้หรือผู้มีปัญญานั้นมีมากกว่านี้ แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะนำมากล่าวในหัวข้อหาบุญได้ใช้บุญเป็นนั้นเป็นอย่างไร
    หาบุญได้ใช้บุญเป็นนั้นมีความหมายไปถึงว่า รู้จักวิธีทำบุญเพื่อให้ได้บุญที่บริสุทธิ์ที่สุด และบุญนั้นเมื่อบริสุทธิ์ที่สุดย่อมให้ผลเป็นความสันติสุข และเป็นความเจริญรุ่งเรืองแก่เราผู้บำเพ็ญนั้นอย่างดีที่สุดทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
    คำว่า “ในปัจจุบัน” มีความหมายทั้งอย่างแคบและอย่างกว้างว่า ปัจจุบันหมายถึงขณะนี้ และปัจจุบันภพหรือภพนี้ ส่วน “อนาคต” หมายถึง เวลาที่ถัดออกไปจากปัจจุบันเป็นต้นไป จนถึงหมายถึงข้ามภพข้ามชาติ
    พึงเข้าใจว่า สัตว์โลกทั้งหลาย ตราบใดที่อวิชชาคือความไม่รู้แจ้งในสภาวธรรมและสัจจธรรมคืออริยสัจ ๔ ตามที่เป็นจริง ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารจักรนี้ ไม่มีที่สิ้นสุด และการเวียนว่ายตายเกิดนั้นย่อมต้องประสบทุกข์บ้าง สุขบ้างตามกรรม ย่อมเป็นผู้ที่มีคุณความดี หรือความชั่ว มีมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติที่หยาบ ประณีตแตกต่างกันไปตามกรรม
    เพราะฉะนั้น สัตว์โลกทั้งหลายที่มีปัญญาจึงพึงต้องทำเหตุเป็นกรรมดี ที่จะส่งผลให้เป็นความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขด้วยมนุษย์สมบัติ ด้วยสวรรค์สมบัติ และเจริญยิ่งๆ ขึ้นเป็นนิพพานสมบัติ
    บุญทาน บุญศีล บุญภาวนา
    คุณความดีเบื้องต้นที่จะให้ประโยชน์สุขแก่ผู้ประกอบบำเพ็ญทั้งในปัจจุบันและในอนาคต นั้นก็คือ ทานกุศล ทานกุศลจัดเป็นบุญอย่างหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุหลายๆ อย่าง แต่อย่างย่อ บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ คือ ทาน ศีล และ ภาวนา อย่างกว้างเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ อย่างพิสดารนับไม่ถ้วน ขึ้นชื่อว่าบุญ นับไม่ถ้วน ความดีมีมากนับไม่ถ้วน การกระทำความดีทั้งหมดใดๆ ก็ตามที่มีสภาวะเป็นธรรมปฏิบัติเครื่องชำระกิเลสออกจากใจ ให้กาย วาจา และใจ สะอาด บริสุทธิ์ การกระทำนั้นชื่อว่า “บุญ” (บุญที่เป็นเหตุ) และ ธรรมปฏิบัติใดที่ส่งผลให้ผู้ประกอบบำเพ็ญนั้นได้รับความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขทั้งในปัจจุบันและต่อไปภายหน้า ธรรมปฏิบัตินั้น ก็ชื่อว่า “บุญ” (บุญที่เป็นผล)
    ทานกุศล มีผลเป็นธรรมปฏิบัติเครื่องกำจัดกิเลส ความตระหนี่เหนียวแน่น ความขาดปัญญา ไม่รู้บาป บุญ คุณ โทษ ไม่รู้ทางเจริญทางเสื่อม ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนตัว หรือพวกพ้องหมู่เหล่าให้หมดสิ้นไปจากจิตตสันดาน ทานกุศลจึงจัดเป็น “บุญ” อย่างยิ่ง ประการหนึ่ง เพราะเป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลสออกจากจิตใจ และเป็นธรรมเครื่องบำรุงผู้ประพฤติปฏิบัติให้เจริญรุ่งเรืองและให้บริสุทธิ์ทั้งด้วยกาย วาจา และด้วยใจ
    บุญ บารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี
    ที่ว่าให้ความเจริญรุ่งเรืองนั้นเป็นอย่างไร บุญนั้นเมื่อประกอบบำเพ็ญมากๆ เข้า แก่กล้าเข้า แก่กล้า คือ กล้าเสียสละ ยอมเสียสละด้วยปัญญา รู้ว่าการเสียสละนี้กระทำไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น เสียสละไปในสิ่งที่เป็นสาระประโยชน์ มิใช่เป็นไปในเรื่องราวหรือสิ่งที่ไร้สาระ ธรรมปฏิบัติอย่างนี้เมื่อแก่กล้าเข้าก็จะกลั่นตัวเองเป็นบารมี บารมีนั้นเมื่อผู้ประกอบบำเพ็ญแก่กล้าเข้าก็จะกลั่นตัวเองเป็นอุปบารมีและปรมัตถบารมี ตามลำดับ
    บุญบารมีอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบบำเพ็ญไว้ด้วยดี ต่อเนื่อง เจริญด้วยธรรมปฏิบัตินั้นยิ่งๆ ขึ้นไป ก็จะมีผลสำคัญในการที่จะเป็นบาทฐาน เป็นพื้นฐาน เป็นอุปการะ ให้บุญและบารมีอื่นๆ เจริญตามไปด้วย บุญบารมีเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุญบารมีที่จะเป็นพลวปัจจัยให้ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงได้ และบุญบารมีที่จะเจริญงอกงามตามกันไปนั้น ได้แก่ ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี รวมเรียกว่า บารมี ๑๐ ทัศ บารมี ๑๐ ทัศ นี้ หากเจริญเต็มส่วนเป็นอุปบารมี ปรมัตถบารมีแล้ว ย่อมเป็นพลวปัจจัยให้ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้น เฉพาะทานบารมีอย่างเดียวจึงนับเป็นการประพฤติปฏิบัติธรรมที่เป็นบุญเป็นกุศลอย่างยิ่ง
    ที่ตั้งของบุญ
    บุญบารมีทุกประการที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นอยู่ที่ไหน ? อยู่ที่ใจ ใจมีที่ตั้งถาวรอยู่ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือนั้นแหละ เป็นที่ตั้งของกายในกาย จิตในจิต และธรรมในธรรมของสัตว์โลก ธรรมในธรรมนั้นก็คือ บุญหรือบาป หรือธรรมชาติกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว
    บุญของผู้ที่ประกอบบำเพ็ญและเจริญรุ่งเรืองมาดีแล้วนั้น จะปรากฏเห็นได้อยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ที่ศูนย์กลางกายนั้นเอง ถ้าเอาใจไปหยุดรวมเป็นจุดเดียวกันตรงนั้นจะเห็น “ดวงบุญ” เป็นดวงใส บริสุทธิ์ พร้อมด้วยขนาดโตใหญ่ของบุญ บารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี เพราะฉะนั้น ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้จึงเป็นทะเลบุญ และเป็นศูนย์กลางที่สั่งสมบุญ นี้เรารู้ได้ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย ที่หลวงพ่อท่านรู้จุดสำคัญ คือ ที่ตั้งของบุญนี้
    บุญอันอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ เมื่อสะสมกันแล้วกลั่นตัวเองเป็นบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี จะส่งผลสะท้อนย้อนกลับมาสู่สัตว์โลกที่ประพฤติปฏิบัติธรรมที่เป็นบุญเป็นกุศลนั้น ให้ได้รับแต่สิ่งที่เป็นความสุขความเจริญรุ่งเรืองและสันติด้วย ถ้าหากว่ารู้จักหาบุญได้และใช้บุญเป็น
    และตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นชื่อว่า “ธรรม” แต่ธรรมะ ณ ที่นี้ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ หมายเอาธรรมชาติ ๓ ฝ่าย คือฝ่ายบุญกุศล ฝ่ายบาปอกุศล และฝ่ายกลางๆ เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเจริญขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งก็จะหายไป ประดุจดังแสงสว่าง หรือความขาว ใส ละเอียด ประณีตปรากฏขึ้น ความมืด ความหยาบ ความขุ่นมัว ย่อมหมดไป บุญที่บำเพ็ญดีแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติที่ชำระบาปอกุศลได้เช่นนั้นเหมือนกัน
    โดยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงแสดงธรรมปฏิบัติให้แก่ผู้มีปัญญาว่า พึงมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ณ ภายใน เราจะเห็นธรรมชาติว่า เรานั้นมีธรรมชาติฝ่ายที่เป็นบุญกุศล หรือเป็นบาปอกุศล หรือธรรมชาติฝ่ายกลางๆ มากน้อยเพียงไร แต่ว่า การเห็นนั้น เห็นได้ไม่ง่าย ถ้าไม่เอาใจไปรวมหยุดเป็นจุดเดียวกันตรงนั้นไม่ได้ เห็นไม่ได้ ก็ได้แต่เพียงรู้ เพียงคิดเอา เพียงตรึกเอา พิจารณาเอาด้วยสติสัมปชัญญะธรรมดาว่า ขณะนี้ใจเราเป็นบุญหรือบาป เรียกว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นบุญรู้เรื่องบาปว่ามีปรากฏอยู่ในกิริยาการกระทำของเราทางกาย ทางวาจาและทางใจ ก็เป็นความรู้ว่าเป็นธรรมในธรรม เรียกว่ามีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ว่าสิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติไปนั้นเป็นบุญหรือเป็นบาป เป็นความดี หรือความชั่ว
    “รู้จักหาบุญได้” เป็นอย่างไร ?
    เฉพาะในส่วนของทานกุศล เรามาพูดจุดนี้เสียก่อน ทานกุศลนั้นประกอบด้วยบุญกุศลที่เราเสียสละ ที่เราบริจาคไปใน ๒ ทางใหญ่ๆ
    • ประการที่หนึ่ง คือ การให้ การบริจาคหรือเสียสละทรัพย์สิน สละขาดออกจากใจ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น นี้เรียกว่า “อามิสทาน”
    • อีกประการหนึ่ง การให้วิชา ความรู้ คำแนะนำ แก่ผู้อื่นโดยตรง หรือการทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นโดยการสละ โดยการกำจัดธรรมชาติที่เป็นบาปอกุศลหรือเป็นความชั่วที่มีอยู่ในจิตตสันดานแล้วก็ดี ที่ยังไม่มีแต่อาจจะมีขึ้นก็ดี เราเสียสละออกไปและป้องกันไม่ให้เกิดอีก อันนี้ชื่อว่า “ธรรมทาน”
    ผู้ที่ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ในทางความประพฤติปฏิบัติสะอาด บริสุทธิ์และประณีตยิ่งๆขึ้นไป ผู้ที่ปฏิบัติดีด้วยกาย วาจา ใจ เช่นนี้ จึงชื่อว่า ผู้แจกธรรมะ ส่วนผู้ปฏิบัติตนไม่ดี ไม่ว่าในทางใดก็ตาม ได้ชื่อว่าเป็นผู้แจกอธรรม
    ธรรมทาน ด้วยการทำตนเป็นแบบอย่างนั้น สามารถทำได้ใน ๓-๔ วิธีใหญ่ๆ คือ
    1. ทานกุศล เสียสละความสุขส่วนตัว ทรัพย์สินแม้ชีวิตเลือดเนื้อ ร่างกาย สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ ให้ผู้อื่น
    2. ศีลกุศล รักษากาย วาจา ใจให้เรียบร้อยดี ไม่มีโทษแก่ผู้ใด ทั้งแก่ตนเองและทั้งผู้อื่น
    3. ภาวนากุศล ทำใจให้สะอาด บริสุทธิ์ และเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะของธรรมชาติและสัจจธรรมตามที่เป็นจริง ในพระพุทธศาสนา คือ ทุกขสัจจะ สมุทัยสัจจะ นิโรธสัจจะ และมรรคสัจจะ นี่เป็นทางมรรค ผล นิพพาน
    เครื่องกำจัดขัดเกลากิเลสเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายคือให้ทั้งอามิสทาน และธรรมทานคือปฏิบัติกำจัดขัดเกลากิเลสของตนเองอีกด้วย และสนับสนุนชักนำ เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นในการกระทำความดี
    ซึ่งข้อนี้สำคัญเช่น ท่านทั้งหลายมาบำรุง สนับสนุนผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมในโครงการกิจกรรมของ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม และ สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย หรือทีไหนๆ ก็แล้วแต่ ซึ่งทำดีอย่างนี้ หรือมากกว่านี้ และการสนับสนุนนี้ยิ่งมีประโยชน์ คือ คณะผู้บริหารยิ่งทำประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านให้กว้างขวางขึ้นไปเพียงใด ละเอียดลึกซึ้งและสูงขึ้นไปเพียงใด ผลย่อมตอบแทนมาถึงท่านให้ได้รับผลสูงขึ้นเพียงนั้น
    อย่างเช่น ท่านทั้งหลายได้รักษาศีล เจริญภาวนา ร่วมบุญกุศลทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างเสนาสนะ วิหารทาน เป็นต้น อีกประการหนึ่งชักนำตั้งแต่บิดามารดา ครูอาจารย์ ญาติมิตร ผู้มีอุปการคุณ และเพื่อนทั้งหลายผู้ที่ยังไม่ศรัทธาในทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศลให้เกิดมีศรัทธาขึ้น ผู้ที่มีศรัทธาอยู่แล้วให้มีศรัทธายิ่งขึ้น นี่ปฏิบัติเองหนึ่ง สนับสนุนหนึ่ง แนะนำชักนำผู้อื่นหนึ่ง เป็นธรรมทาน โดยเฉพาะชักนำพ่อแม่ ผู้มีอุปการคุณ ครูอาจารย์ที่ยังไม่มีศรัทธาให้มีศรัทธาโดยถูกต้อง ที่มีศรัทธาแล้วให้มียิ่งๆขึ้นไป ในทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรมอย่างเยี่ยมยอด ยิ่งกว่าการให้อามิสทานหรือบูชาท่านด้วยอามิสทานเสียอีก เพราะนั่นจะเป็นเสบียงเลี้ยงตนแก่ผู้มีอุปการคุณแก่เราให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นไปในสัมปรายภพอีกด้วย
    “การใช้บุญเป็น” เป็นอย่างไร?
    ถ้าเราหาบุญได้แล้วไม่ประพฤติปฏิบัติธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ถึงแม้บุญที่เราทำได้ทำไว้นั้นมีอยู่ แต่บางทีบาปหรือกรรมไม่ดีมาบัง ทำให้บุญนั้นยังไม่สามารถให้ผล ถ้าไม่ต้องการให้บาปอกุศลหรือกรรมไม่ดีบัง ทำอย่างไร ? คือการไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง และเมื่อเราบริจาคทาน จงทำทานให้ครบวงจร ทั้งอามิสทานและธรรมทาน ธรรมทานนั้นปฏิบัติธรรมเอง ชักนำให้ผู้อื่นให้ปฏิบัติ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นให้ปฏิบัติ นี้ ๓ ประการ เมื่อปฏิบัติเองก็ปฏิบัติทางตรงในทาน ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อไปสู่วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ และทั้งทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลสเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย และเป็นธรรมที่จะเป็นเหตุให้ส่งผลเป็นความเจริญรุ่งเรืองด้วยมนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ
    “การใช้บุญเป็น” ทำอย่างไร ?
    บุญอยู่ที่ไหน ได้กล่าวไว้แล้ว อยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม เมื่ออยากจะให้บุญนั้นบริสุทธิ์อยู่เสมอ และให้บุญนั้นส่งผลให้เราเต็มที่ ทั้งบริสุทธิ์และสมบูรณ์ จงเอาใจไปจรดที่ทะเลบุญตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม บุญหยาบจะเริ่มเห็นได้เป็นดวงใส ด้วยทานกุศล และถ้าจรดละเอียดเข้าไปๆ จะเห็นและเข้าถึงบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมีที่อยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของเราทุกกายสุดหยาบสุดละเอียด
    แต่การที่เอาใจไปจรดตรงนั้นได้ก็ด้วยศีล เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าถึงธรรมฝ่ายบุญกุศลแล้ว กาย วาจา ใจ ของเราบริสุทธิ์แล้วก็จะถึงศีลบริสุทธิ์ ศีลบริสุทธิ์ในกัมมัฏฐานอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมอีกเช่นกัน กลางดวงบุญนั่น เพราะมีศีล ศีลนั้นคือความบริสุทธิ์เจตนา ความคิดอ่าน ทั้งหลายทางใจ กาย วาจา ก็บริสุทธิ์ตามด้วย และกลางดวงศีลมีธรรมปฏิบัติที่บริสุทธิ์อีก คือ จิตบริสุทธิ์ หรือเรียกว่า “จิตยิ่ง” หรือ “สมาธิยิ่ง” กลางดวงสมาธิเป็น “ดวงปัญญา” กลางดวงปัญญาเป็น “ดวงวิมุตติ” กลางดวงวิมุตติเป็น “วิมุติญาณทัสสนะ” กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะถึงกายสุคติของเรา ภพสุคติของเรา ด้วยมนุษยธรรมคือ “บุญ” อยู่ตรงกลางนั่นแหละ เมื่อเราจรดให้ใสสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอแล้ว บุญย่อมส่งผล เพราะของละเอียด ยิ่งละเอียดขึ้นไปเท่าไรด้วยบุญ ด้วยบารมีของมนุษย์ ละเอียดเข้าไปของทิพย์ ของรูปพรหม ของอรูปพรหมจนถึง “ธรรมกาย” คือกายธรรม เจริญด้วยบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ ยิ่งขึ้นสุดละเอียดเข้าไปเท่าไร สุดละเอียดเราเชื่อมถึงบุญศักดิ์สิทธิ์ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ได้เท่าไร ย่อมส่งผลมาจากภาคผู้เลี้ยง ผู้สอด ผู้ส่ง ผู้บังคับ ผู้ปกครอง ต้นๆในอายตนะนิพพาน ส่งผลมาเป็นความสุข ความเจริญรุ่งเรืองสู่กายหยาบ คือ กายมนุษย์ ให้กอปรด้วยเป็นผู้มีสติ มีปัญญาอันเห็นชอบ ให้ดำเนินชีวิตไปสู่ทางเจริญ รุ่งเรืองและสันติสุข ไม่ดำเนินไปในทางเสื่อม
    ถ้ารักษาดวงบุญที่ละเอียดบริสุทธิ์อยู่อย่างนี้เสมอ จะได้รับผลอย่างนี้ และประการสำคัญที่สุด การดำเนินชีวิตนั้นจะไปสู่แต่ความสุขความเจริญด้วยมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติโดยตรงแต่ฝ่ายเดียว นี่แหละเรียกว่า “หาบุญได้ ใช้บุญเป็น” ไม่ต้องไปใช้ที่ไหน ใช้ที่กาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ หาบุญหาทั้งหยาบเป็นอามิสทาน หาทั้งละเอียดเป็นธรรมทาน ไปจนถึงใจทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งหยาบและละเอียด หาแล้วต้องรักษาไว้ ถ้าไม่รักษาเดี๋ยวมีบุญแต่กรรมมันบัง ต้องรักษา ต้องปฏิบัติ ขจัดขัดเกลากิเลสเครื่องเศร้าหมองที่จะมากีดกั้นบุญของเราไม่ให้ให้ผล เช่น เวลามีความทุกข์เดือดร้อน จะมีอันตรายใดๆ เกิดขึ้น หรือป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยจรดใจไว้ที่ทะเลบุญให้สุดละเอียดเข้าไป ก็จะได้รับผลเป็นความเจริญ รุ่งเรืองและสันติสุขทั้งทางโลกและทางธรรมแต่ฝ่ายเดียว.
    <TABLE border=0 width=776 background=../images/footer.jpg height=69><TBODY><TR><TD> </TD></TR><TR style="LINE-HEIGHT: 15px"><TD><!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="dhamma";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits1.gits.net.th/data/j0019008.js"></SCRIPT>[​IMG] <!-- END WEBSTAT CODE -->Powered by bythailand.com</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ทะเลบุญ


    ทะเลบุญคืออะไร
    ทะเลบุญคือสภาพที่เปรียบเสมือนศูนย์รวมของบุญอันมากมายมหาศาล ไม่มีขอบเขตจำกัด ผู้ที่จะสามารถตักตวงบุญได้จะต้องเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติในส่วนที่จะเกิดบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ จึงจะสามารถตักตวงบุญจากทะเลบุญได้ ยิ่งผู้ที่สามารถเข้าถึงความละเอียดประณีตในการปฏิบัติธรรม ก็สามารถที่จะเข้าถึงการตักตวงบุญที่ละเอียดประณีตในทำนองเดียวกันได้
    ทะเลบุญอยู่ที่ไหน
    ทะเลบุญอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ที่มีอยู่ภายในตัวของทุกคน ยิ่งกลางของกลางกาย ยิ่งเข้าสู่ทะเลบุญที่ละเอียดยิ่งขึ้น เหตุที่ทะเลบุญอยู่ที่ศูนย์กลางกายเพราะว่า เป็นที่ตั้งของกำเนิดธาตุธรรมเดิมของมนุษย์ อันเป็นจุดที่รวมทั้งบุญที่ได้กระทำสะสมมาแล้วนับภพนับชาติไม่ถ้วน เป็นศูนย์กลางกายและใจในการกำจัดกิเลสภายในให้หมดสิ้นไปสู่มรรค ผล นิพพาน เป็นที่รวมของกายในกาย ณ ภายใน และใจตั้งแต่กายสุดหยาบจนถึงละเอียด นับแต่กายมนุษย์จนถึงกายที่ละเอียด ณ ภายใน เข้าไปจนถึงกายพระ หรือกายธรรมที่เรียกว่า ธรรมกาย ซ้อนอยู ณ ภายใน การจรดใจที่ศูนย์กลางกายเท่ากับการจรดใจถูกตรงกับศูนย์กลางองค์พระซึ่งเป็นที่รวมของทะเลบุญนั่นเอง
    นอกจากนี้ศูนย์กลางกายหรือทะเลบุญยังเป็นที่ตั้งของใจ คือ เห็น จำ คิด รู้ เป็นที่ตั้งแห่งสติอยู่ขณะหลับและตื่นของมนุษย์ เป็นจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของชีวิต คือ มาเกิดและจะไปเกิดจะเริ่มจากจุดนี้
    ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จึงเป็นที่รวมของความสำคัญที่ได้กล่าวมาแล้ว บุญกุศลที่จะเกิดขึ้นจึงอยู่ที่ความสามารถ ความบริสุทธิ์ของแต่ละคนที่จะเข้าถึงทะเลบุญหรือศูนย์กลางกายมากน้อยเพียงใด
    การเข้าถึงทะเลบุญ
    โดยการบำเพ็ญบุญกุศลที่ได้กล่าวไว้ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ เมื่อก่อนจะกระทำ ขณะกระทำ และหลังจากกระทำ จึงให้เอาใจจรดลงไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อยู่เสมอ ซึ่งจะตรงกับทะเลบุญ ผลบุญที่ได้รับก็จะบังเกิดแก่ผู้กระทำมากน้อยตามความละเอียดประณีตของใจ โดยเฉพาะการปฏิบัติเจริญภาวนาตามแนววิชชาที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนทสโร) ท่านแนะนำให้เอาใจไปตั้งไว้ฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นศูนย์กลางกายตรงกับทะเลบุญ ย่อมได้รับผลบุญโดยตรงตามระดับภูมิธรรมที่เข้าถึงและปฏิบัติได้
    ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมยินดีในโลกนี้, ละไปแล้ว ย่อมยินดี, ชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง.
    เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว, ไปสู่สุคติ ย่อมยินดียิ่งขึ้น.
    ขุ.ธ.๒๕/๑๗
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    บุญเป็นของกลาง


    แม่ชีจินตนา บุญประเสริฐ*
    ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญชื่อ “ทีฆนิกายมหาวัคค์” ส่วนที่ว่าด้วยมหาสมยสูตร ซึ่งเรียกว่าตามความเข้าใจในภาษาไทยว่า “สูตรว่าด้วยการประชุมใหญ่” เนื้อความพระสูตรกล่าวถึงเมื่อคราวที่พระผู้มีภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกราว ๕๐๐ รูป และได้ปรากฏต่อมาว่า เทพชั้นสุทธาวาส ๔ ตน เข้าใจว่ามีเทวดาจาก ๑๐ โลกธาตุมาประชุมกันเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงได้พากันมาเฝ้าบ้าง และในครั้งนั้น พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงการที่เทวดามาประชุมใหญ่ พร้อมทั้งตรัสประกาศชื่อของเทวดานั้นๆ ให้พระสงฆ์สาวกทราบด้วย
    จะเห็นได้ว่าเรื่องของชาวสวรรค์คือพวกเทวดานั้นได้มีมานานแล้ว แม้ในสมัยพุทธกาล และถ้าชาวพุทธจะได้ค้นคว้าศึกษาถึงเรื่องเหล่านี้ก็จะพบว่า ตลอดพระชนม์ชีพของพระพิชิตมารนั้นได้ทรงพบเหล่าเทพยดาและแก้ปัญหาต่างๆ ให้เสมอๆ ไม่ละเว้นแม้แต่ท้าวสักกเทวราช ดังมีปรากฏใน สักกปัญหสูตร เช่นกัน
    ก่อนที่จะนำเอาประสบการณ์ของตนเองบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานของสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ในการปฏิบัติธรรมที่ได้รู้เห็น มาเป็นเครื่องยืนยันให้ทราบว่า อันเรื่องของบุญกุศลนั้น อย่าว่าแต่มนุษย์อย่างเราเท่านั้นเลยที่ได้กระทำกันอยู่ แม้แต่เทวดาทั้งหลายต่างก็หาโอกาสสร้างบุญกุศลกระทำความดีเช่นกัน เพราะบุญเป็นของกลางใครทำใครได้
    เมื่อราวปี พ.ศ.๒๕๑๖ ผู้เล่าได้เริ่มถือศีล ๕ และปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังโดยสม่ำเสมอ และเพิ่มเป็นศีล ๘ ในวันพระและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะได้เริ่มเข้าใจและสัมผัสได้กับสิ่งที่ไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่าของคนทั่วไป ระหว่างนั้นผลจากการฝึกฝนในเรื่องของการเจริญภาวนาก็ได้รุดหน้าไปเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๐ จึงได้เริ่มรักษาศีล ๘ โดยตลอด
    คงเป็นด้วยอำนาจแห่งศีลและการปฏิบัติธรรมที่ได้สะสมมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ จิตใจจึงปรารภถึงวิถีชีวิตในเนกขัมม์ [การออกจากกาม] มากยิ่งขึ้น และที่สุดก็ได้พาตนเองไปสู่ชีวิตที่สงบ ร่มเย็น ขาวสะอาด คือการได้บวชเป็นแม่ชีที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรเป็นผู้บวชให้
    จนเมื่อวันที่ ๑๗ พ.ย.๒๕๑๘ ในฐานะเจ้าภาพร่วมโดยเสด็จพระกุศลกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรชายาฯ เพื่อทอดผ้ากฐินที่สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ขณะที่นั่งรอรับเสด็จอยู่บนศาลาอเนกประสงค์ที่กว้างใหญ่ขาวสะอาด แต่ได้รองรับผู้คนมากมายที่มาจากหลายที่หลายแห่ง เพื่อร่วมงานบุญกุศลใหญ่ครั้งนี้ แล้วสายตาก็มองเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งกำลังเดินทักทายผู้คนอยู่ เมื่อใกล้เข้ามาจึงรู้ว่าเป็นท่านพระอาจารย์เสริมชัยนั่นเอง ท่านกำลังพูดคุยกับคนนั้นทีคนโน้นทีด้วยความอ่อนโยนและมีเมตตา และเมื่อท่านเดินเข้ามาใกล้ ข้าพเจ้าก็เกิดอาการรับสัมผัสขึ้นอย่างรวดเร็ว ขนตามผิวลุกชัน ผิวกายรู้สึกซ่าไปหมด จิตใจชื่นบานเป็นปีติที่รับได้ ในขณะที่ท่านเดินผ่านเข้ามาใกล้ เมื่อจิตรับทราบแล้ว ญาณก็รับรู้ต่อไปอีกว่าท่านอาจารย์รูปนี้ ได้รับบารมีมาจากเบื้องบนซึ่งทรงคุณค่าสูงสุด
    เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ พ.ค.๒๕๒๙ หลังจากทำวัตรสวดมนต์ก็เจริญภาวนาอันเป็นกิจปกติธรรมดาที่กระทำอยู่เสมอ และเมื่ออารมณ์จิตอยู่ในความสงบจากนิวรณ์ทั้งหลายอยู่นั้น ก็เกิดคำสั่งขึ้นท่ามกลางความสงบว่า “ถึงเวลาแล้วให้ไปช่วยเขา” และนั่นคือวันเริ่มต้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังในโครงการเผยแพร่พระสัทธรรมตามแนววิชชาธรรมกาย เมื่อเริ่มต้นที่วัดสระเกศฯ ก็ได้ไปช่วยงานที่สถาบันฯ ในเวลาต่อมา ซึ่งความจริงก็ไม่ได้ตั้งใจจะไปพิสูจน์อะไรในตัวท่านพระอาจารย์เสริมชัย แต่ก็ได้รู้เองเห็นเองว่า แท้จริงของท่านที่ไม่ได้ปิดบังวิชาความรู้ ทำให้ตนเองเกิดมีกำลังใจเสียสละขึ้นอีก และตั้งใจจะช่วยทำงานให้แก่สถาบันฯ ต่อไป
    เมื่อได้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรอยู่ที่ดำเนินสะดวก วันหนึ่งเวลาราว ๑๙.๐๐ น. เผอิญวันนั้นไม่ได้ขึ้นบนศาลากับคนอื่นๆ เพราะไปนั่งอยู่ที่เต็นท์หลวงพ่อ และเกิดมีใจนึกสนุก จึงได้เห็นว่า เหล่าโอปปาติกะและภูมิเทวดาจำนวนมาก แต่งกายเรียบร้อย สะอาดสะอ้าน มีใบหน้ายิ้มแย้มอย่างผู้มีความสุข พากันเดินเข้ามาแล้วนั่งอยู่รอบกายข้าพเจ้า แล้วเริ่มนั่งกันในท่าขัดสมาธิ เมื่อดูพิจารณาไปก็พบว่า มีหลายท่านที่นุ่งห่มงดงามด้วยผ้าสไบเฉียง มีความตั้งใจจะประพฤติดีและใฝ่ในบุญกุศล ข้าพเจ้าจึงเดินวิชชาต่อไปและได้ช่วยให้พวกเขาได้เข้าใจในธรรมะของพระพุทธเจ้ามากยิ่งขึ้น และนี่เองได้มีส่วนช่วยให้เกิดมีกำลังใจเพิ่มมากขึ้นที่จะคิดช่วยเหลือคนอื่นๆ ต่อไป ในเมื่อภพภูมิอื่นๆ เขาก็ยังไม่ทอดธุระ แล้วเราจะวางเฉยได้อย่างไร เพราะวิสัยของบัณฑิตย่อมเพียรมุ่งแสวงหาหนทางแห่งความดีเป็นนิจ
    วันหนึ่งหลังจากนั่งเจริญภาวนาทำวิชชากันใกล้จะเลิกเพื่อหยุดพัก ท่ามกลางสายฝนที่โปรยพรำๆ อยู่ ท่านอาจารย์ได้สั่งให้ทำวิชชาเก็บฝนก่อนที่จะพัก และเมื่อสิ้นสุดเวลาแห่งการนั่งภาวนาอึดใจต่อมาฝนก็หยุด พร้อมๆ กับเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงามขึ้น เริ่มด้วยมีแสงสีเหลืองอร่ามสดใสสว่างขึ้นจับบริเวณอาคารศาลาอเนกประสงค์ที่ได้นั่งทำภาวนากันนั้น ขณะที่หลายคนกำลังแปลกใจกับสีเหลืองที่ปกคลุมศาลาอยู่ ธรรมชาติก็สร้างความตื่นตาตื่นใจขึ้นอีกด้วยการที่ค่อยๆ มีรุ้งเกิดขึ้นครอบศาลาเป็นชั้นๆ หลายสีสวยงามมาก ทุกคนเห็นชัดเจนว่าได้เกิดรุ้งถึง ๓ วง แต่ละวงยังประกอบด้วยสีต่างๆ หลายชั้น ครอบไว้เป็นระยะๆ หลายคนรู้สึกชื่นใจกับการที่ได้รู้เห็นสิ่งอัศจรรย์ของธรรมชาติอย่างใกล้ตัวเช่นนี้ ในคืนนั้นเองข้าพเจ้าก็ได้รับการบอกเล่าจากบรรดาเทวดาที่อยู่ที่สถาบันฯ ว่า ได้มีพวกเทพช่วยกันทำเรื่องอัศจรรย์นั้นขึ้น เป็นการอนุโมทนาการเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงของผู้ปฏิบัติภาวนาในวันนั้นเป็นพิเศษ
    เมื่อได้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยการเป็นวิทยากรนี้ บุญคืออานิสงส์จากการนี้ได้กลับย้อนส่งให้ตัวเราเองมีผลก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม ได้เข้าถึงสภาวธรรมต่างๆ ตามความเป็นจริง ธรรมะบังเกิดขึ้นในใจและเจริญงอกงามยังผลให้รู้ละปล่อยวางได้มากขึ้นไปกว่าเดิม มีความเสียสละและให้อภัย เพราะจิตกอปรด้วยเมตตาธรรม ปรารถนาจะช่วยเหลือผู้อื่น มีความสงบเย็นและความตั้งใจมั่นที่จะตัด จะละวางสิ่งต่างๆ ที่เป็นอกุศลแก่จิตใจมีความโกรธขุ่นเคืองเป็นต้น ได้ปรากฏหล่อเลี้ยงอยู่ภายในตลอดเวลา บุญนี้สำคัญนักเพราะได้ส่งผลให้เกิดปัญญาใคร่ครวญพิจารณาอยู่เสมอ จิตใจจึงอาจหาญร่าเริงมีเมตตาแม้แต่ผู้ที่ล่วงเกินด้วยความเห็นผิด ครั้นเมื่อปฏิบัติถูกต้องมากยิ่งขึ้น ท่ามกลางความสะดวกทั้งหลายที่อยู่โดยรอบ เช่น บรรยากาศของธรรมชาติที่ดี มีครูอาจารย์ที่เป็นกัลยาณมิตรอย่างแท้จริง อาหารการกินสะดวกสบายเช่นนี้ ความสงบอันเกิดจากการได้เจริญภาวนาพิจารณาสภาวธรรมต่างๆ ก็ได้เป็นตัวเร่งให้มีปัญญาสว่างไสวนำไปสู่มัชฌิมาปฏิปทาอย่างยิ่ง
    วันนั้นเป็นวันที่ ๑ มี.ค.๒๕๓๐ ก่อนวันคล้ายวันเกิดของท่านอาจารย์ ๒ วัน เนื่องจากท่านจะต้องเดินทางไปต่างจังหวัดเพื่อไปประกอบสมณกิจที่สำคัญ บรรดาศิษย์ที่เคารพนับถือ จึงได้กำหนดให้ร่วมกันถวายมุทิตาจิตเป็นการล่วงหน้า ในวันดังกล่าวจึงมีผู้คนมากมายได้พากันมาเจริญภาวนาร่วมกัน พวกเราได้เตรียมจัดพุ่มดอกไม้บูชากันมาเป็นชุดๆ อย่างสวยงามตามกำลังที่ทำได้เพื่อจะถวายท่านหลังจากนั่งภาวนากันเสร็จ แต่เมื่อเจริญภาวนาไปไม่นานก็ได้เห็นว่า ในบริเวณศาลาการเปรียญวัดสระเกศฯ นั้น มิได้มีแต่พวกเราผู้ปฏิบัติเจริญภาวนาอยู่เท่านั้นไม่ แต่ได้มีเหล่าเทพบุตร เทพธิดาหลายพวกหลายกลุ่ม มาชุมนุมกันมากมาย พร้อมด้วยพุ่มพานที่จัดแต่งด้วยดอกไม้สีสันงดงาม มีทั้งชุดเล็กชุดใหญ่ที่ออกแบบแปลกตาแปลกใจในความวิจิตรบรรจงที่เหล่าเทพยดาจัดทำมา อย่างที่พูดได้ว่า ของๆ เราที่ได้เตรียมมานั้นสู้ไม่ได้ทีเดียว และได้รับรู้ว่าเทพทั้งหลายนี้มาเพื่อแสดงการสักการบูชาท่านเช่นกัน
    จึงเห็นได้ว่าบุคคลผู้ตั้งใจสร้างคุณความดี ย่อมได้รับการสรรเสริญอยู่เสมอ อย่าว่าแต่เพียงมนุษย์ผู้อยู่ในภพที่หยาบเช่นนี้เลย แม้เทวดาทั้งหลายต่างก็มีใจเป็นกุศล และปรารถนาจะได้สร้างบุญกุศลให้เกิดขึ้นในตนทั้งสิ้น ด้วยเพราะว่าบุญเป็นของกลางๆ ที่ใครทำผู้นั้นย่อมได้รับ เป็นเช่นนี้มานานแล้ว แม้ในสมัยพุทธกาลก็เช่นกัน ดังปรากฏเป็นหลักฐานในพระสูตรต่างๆ ของพระพุทธศาสนา
    <TABLE style="COLOR: #0644e6" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="25%">มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา</TD><TD width="47%">มโนเสฏฺฐา มโนมยา,</TD></TR><TR><TD></TD><TD>มนสา เจ ปทุฏฺเฐน</TD><TD>ภาสติ วา กโรติ วา,</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ตโต น ทุกฺขมเนฺวติ</TD><TD>จกฺกํ ว วหโต ปทํ.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="65%"><TBODY><TR><TD width="18%"></TD><TD width="63%"> ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขาเพราะเหตุนั้น ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น.
    </TD><TD width="19%"></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE style="COLOR: #0644e6" width="65%"><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="25%">มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา</TD><TD width="47%">มโนเสฏฺฐา มโนมยา,</TD></TR><TR><TD></TD><TD>มนสา เจ ปสนฺเนน</TD><TD>ภาสติ วา กโรติ วา,</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ตโต นํ สุขมเนฺวติ</TD><TD>ฉายาว อนุปายินี</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="65%"><TBODY><TR><TD width="18%"></TD><TD width="63%">ธรรมทั้งหลายมี ใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขาเพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัว.
    </TD><TD width="19%"></TD></TR></TBODY></TABLE>* วิทยากรสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย (ปัจจุบันคือ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี)
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    บุญส่งผลตามเจตนา


    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) ท่านเคยแสดงธรรมสั้นๆ เป็นข้อคิดว่า “บุญส่งผลตามเจตนา” จึงใคร่ขอนำธรรมะนี้มาขยายความ (คำว่า “บุญ” ณ ที่นี้ หมายถึง บุญทาน คือ บุญที่เกิดจากการให้)
    ขอให้เข้าใจว่าบุญส่งผลตามเจตนานี้ มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ ๓ ประการ คือ
    1. ทำบุญด้วยความเต็มใจ เมื่อจิตเกิดเป็นกุศล มีความเต็มใจ จงทำบุญหรือปวารณาว่าจะทำบุญหรือปวารณาว่าจะทำบุญ ตามความพร้อมในขณะนั้น เมื่อถึงเวลาที่บุญจะให้ผล (กาลสมบัติ) บุญจะส่งผลให้ตามเจตนาที่เป็นกุศลเต็มที่โดยพลัน โดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง แต่ถ้าทำบุญอย่างเสียมิได้ หรือด้วยความลังเล ผัดผ่อน เสียดาย ผลบุญที่ได้รับก็จะไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ฉับพลันเหมือนใจของเราที่ลังเลเช่นกัน
    2. ทำบุญด้วยความศรัทธา ศรัทธาที่ว่านี้ต้องตั้งอยู่บนความมีเหตุมีผล ที่เรียกว่าศรัทธาบริสุทธิ์จากกิเลส ผลบุญจากการที่ทำบุญอย่างศรัทธาที่มีเหตุผลนี้ จะเกิดปัญญาในการทำบุญปัญญาในการรู้รักษาตัวรอด ปัญญาในการหาบุญได้ ใช้บุญเป็น แม้ชาตินี้ยังฐานะไม่ดีนักก็สามารถอยู่อย่างสุขสบายในการทำมาหากินไปได้ ไม่ฝืดเคือง ตรงข้ามกับผู้มีทรัพย์มากแต่ถ้าไม่รู้จักใช้ทรัพย์ในการทำบุญ คือไม่มีปัญญาที่จะใช้ทรัพย์นั้นให้เกิดบุญดังคำกล่าวที่ว่า “บุญมาปัญญาช่วย ที่ป่วยก็หาย ที่หน่ายก็รัก บุญไม่มา ปัญญาไม่ช่วย ที่ป่วยก็หนัก ที่รักก็หน่าย”
    3. ทำบุญให้ถูกบุญ คือ การทำบุญให้ถูกสถานที่และบุคคลเพื่อเป็นเนื้อนาบุญ เช่น ทำบุญเพื่อทำนุบำรุงธรรมปฏิบัติ และผู้มาปฏิบัติขัดเกลากิเลส เพื่อการเผยแพร่ธรรมะที่มีวัตถุประสงค์และการดำเนินงานที่จะเป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัท
    บุญที่บุคคลได้ตั้งใจกระทำทั้ง ๓ ประการนี้ บุญย่อมส่งผลตามเจตนาอย่างเต็มเปี่ยม ปรุงแต่งให้เกิดในภพภูมิที่ดี เกิดในปฏิรูปเทศ มีปัญญา เจริญรุ่งเรืองในบวรพุทธศาสนาฝ่ายสัมมาทิฎฐิแต่ส่วนเดียว
    <TABLE style="COLOR: #0644e6" width="65%" ?><TBODY><TR><TD width="28%"></TD><TD width="25%">ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา</TD><TD width="47%">กยิราเถน ปุนปฺปุนํ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ</TD><TD>สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="65%"><TBODY><TR><TD width="18%"></TD><TD width="63%"> ถ้าบุรุษพึงทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อยๆ ควรทำความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญนำความสุขมาให้</TD><TD width="19%"></TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD><TD>ขุ.ธ.๒๕/๓๐.</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    อานิสงส์ของการเป็นผู้นำบุญ


    ขึ้นชื่อว่า “บุญ” ย่อมมีทั้ง บุญทาน บุญศีล และบุญภาวนา ซึ่งมีอานิสงส์สูงขึ้นไปตามลำดับ การทำบุญเหล่านี้มีอานิสงส์เพียงใด ผู้นำบุญ ผู้ชักชวนให้ทำบุญ และทำด้วยตนเองด้วย เป็นเสมือนผู้ส่องทางสว่างให้แก่ตนเองและแก่ผู้อื่น ย่อมได้อานิสงส์เป็นทับทวี
    อยากทำคนเดียว
    มีหลายท่านค่อยๆ ทยอยมาบอกว่า “ต้องการสร้างพระประธานในโบสถ์ จะทำคนเดียว” คนนั้นก็มาบอกว่า “ขอทำคนเดียว” คนนี้มาก็บอก “ขอทำคนเดียว” แต่ก็ได้อธิบายไปกับบางท่านให้เข้าใจแล้วว่า สำหรับพระประธานนั้นมีเพียงองค์เดียวในอุโบสถ เพราะฉะนั้นเรามาเฉลี่ยบุญกันเถอะ ตั้งใจจะทำเท่าไรก็ทำเลย ไม่มีใครว่าอะไร
    อีกประการหนึ่ง ไม่ได้ให้มุ่งหมายแต่เพียงองค์พระเท่านั้น ให้กินหมายรวมถึงฐานพระและสิ่งประกอบ เพราะฉะนั้น อย่าไปคิดเพียงว่า บุญจะต้องไปใหญ่อยู่ที่องค์พระ ถ้าไปคิดอยู่อย่างนั้นก็จะหงุดหงิดกัน ถ้าทำบุญแล้วมีความหงุดหงิดเข้า ก็จะเป็นกิเลส โดยเริ่มมาตั้งแต่จะขอ “ทำแต่เพียงผู้เดียว” นี่อย่างนี้ก็มี บางคนก็ยังใจกว้างหน่อยว่า “เออ คนอื่นจะทำด้วยก็ดี”
    ผู้นำคนเนื่องจากผลผู้นำบุญ
    ความจริงเรื่องของบุญนี่เป็นเรื่องใจกว้างนะ ต้องใจกว้าง ไม่ใช่ใจแคบ เพราะบุญเป็นเครื่องกำจัดกิเลส ใจจะได้ใส สภาพของใจมันใหญ่ตรงที่มันใสนะ
    ความจริงแท้ๆ นี่ ถ้าจะนึกว่าทำบุญอะไร จะได้เป็นผู้นำคนก็คือ บุญที่เกิดจากการเป็นผู้นำบุญนั่นเอง คืออะไร คือ การบอกบุญ ชักนำคนอื่นเข้ามาในกองการกุศล มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล นี่แหละผลบุญจึงจะส่งให้เป็นผู้มีบริวารสมบัติ เมื่อมีบริวารสมบัติตัวเองก็จะเป็นผู้นำ
    แต่ผู้ที่ร่วมอนุโมทนาบุญก็อย่าไปคิด อย่าน้อยใจว่า “เอ ! แล้วเราจะต้องไปกินน้ำใต้ศอกคนอื่นละกระมัง !” ไม่ใช่ ถ้าเรายังมีสติปัญญาความสามารถน้อยกว่าผู้อื่น ที่เขาเป็นผู้นำบุญ เราก็อนุโมทนาบุญ ร่วมบุญไปกับเขาได้ และในโอกาสเช่นนี้ ก็จะเป็นเหตุเป็นผลให้เรามีพลัง กลายเป็นผู้นำบุญต่อไปอีกได้ และได้พบกับผู้นำที่ดีด้วย เหมือนอะไร ? เหมือนว่าแต่เดิมเราก็เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการชั้นตรี เมื่อมีคุณสมบัติเพียงพอเมื่อใด ก็เป็นชั้นโท แล้วก็ชั้นเอก แล้วก็ได้ตำแหน่งหัวหน้ากองเป็นหัวหน้าเขา และยังมีอธิบดีที่ดีเป็นผู้นำอีก
    ถ้าเรารู้จักอนุโมทนาบุญที่ดี รู้จักเลือกผู้นำบุญที่ดี ก็จะได้ผู้นำที่ดี แล้วกำลังของเราก็จะสูงขึ้นๆ ไปตามลำดับ นี่คือลักษณะของบุญในทานกุศล จะให้ผลในอาการอย่างนี้
    ดั่งกษัตริย์ไร้บัลลังก์
    เพราะฉะนั้นจะไปกลัวใย ที่เราจะอนุโมทนาบุญคนอื่น และเราจะคิดแต่เพียงว่าจะตามคนอื่น ไยไม่คิดว่าจะนำคนอื่นบ้างละหรือ ? การเป็นผู้นำบุญนั่นแหละ บุญจะส่งให้เป็นผู้มีบริวารสมบัติ แล้วนั่นก็หมายถึงว่า การเป็นหัวหน้าหรือผู้นำ เป็นที่เคารพสักการบูชา หรือเป็นปูชนียบุคคลแก่ผู้อื่น ไม่ใช่มัวไปแย่งกันว่า “พระประธานนี้ ดิฉันอยากจะทำคนเดียว” มันจะกลายเป็นกิเลสเสียส่วนหนึ่งแล้ว บุญก็พลอยไม่สะอาดไปด้วย เอ้า ! ถ้าอยากจะสร้างพระประธาน ทำบุญลงไปเลย เสียสละลงไปเลย แม้เราอยากจะสร้างทั้งองค์ ก็ทำลงไปเลยทั้งองค์ ใครเขาจะมาร่วม ก็อนุโมทนาบุญกับเขา และลองถามตัวเองดูว่า “พระประธานไม่มีฐานตั้งอยู่ น่าดูไหม?” และ “มีแต่พระมีฐาน ไม่มีโบสถ์ อยู่ได้ไหม ?” นี่ขอให้คิดดูให้ดี
    อุปมาว่า แม้เราจะอยากเป็นกษัตริย์ แต่ถ้าเราเป็นกษัตริย์ไร้บัลลังก์ จะเป็นอย่างไรบ้าง? ถ้าเป็นกษัตริย์มีบัลลังก์ มีประเทศอยู่ แต่ไม่มีปราสาทราชวัง จะอยู่ได้ไหม ?
    หรือ ถ้าเป็นกษัตริย์มีบัลลังก์ มีปราสาทราชวัง มีประเทศอยู่ แต่ไม่มีบริวาร ไม่มีพลเมืองที่ซื่อสัตย์จงรักภักดี จะอยู่ได้ไหม ?
    เห็นไหมล่ะ เพราะฉะนั้น บุญที่เราจะได้ทำนี่ ได้บุญรวมกันไปหมดเลย ดังนั้นเราจึงควรมาคิดช่วยกันสร้างโบสถ์ก่อนโดยเป็นทั้งผู้นำบุญ ชักชวนผู้อื่นให้มาร่วมบุญ ก็จะได้อานิสงส์คือ บริวารสมบัติ เหมือนกับว่า มีพื้นดิน มีประเทศ มีพลเมือง นี่อุปมานะ เป็นบริวารสมบัติ แล้วเราค่อยมาสร้างพระประธาน พร้อมด้วยรัตนบัลลังก์ด้วยกัน พอถึงตอนนั้นก็กลายเป็นของเล็กน้อยแล้ว ก็เพียง ๑ ล้านบาทเศษเท่านั้นนี่ เพราะบางทีเพียงเจ้าภาพ ๒-๓ เจ้าก็ครบแล้ว เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างหมดทั้งประเทศนะ เหมือนใคร ? ก็เหมือนต้นๆ ตระกูลของพระพุทธเจ้าของเรานะซิ
    ก่อนเป็นศากยวงศ์
    ต้นตระกูลศากยวงศ์ ท่านทราบไหมว่า มีความเป็นมาอย่างไร เริ่มแต่สมัยก่อนพุทธกาลเป็นเวลาย้อนหลังไปนาน มีพระเจ้าโอกกากราชและมเหสีที่มีพระราชโอรส ๔ พระราชธิดา ๕ รวมเป็น ๙ พระองค์ ต่อมาพระมเหสีองค์นั้นก็เสด็จทิวงคต ท่านก็มีมเหสีใหม่ แต่ต่อมาก็ประสูติราชโอรส ๑ องค์ มเหสีใหม่ก็อยากจะให้ลูกของตนเองเป็นใหญ่ เมื่อเวลาเหมาะก็ทูลขอพรจากพระเจ้าโอกกากราช ซึ่งพระองค์ก็ลั่นพระวาจาไปว่า จะขออะไรก็จะให้ ทั้งนี้ก็ด้วยรักในพระมเหสีและราชโอรส พระนางจึงทูลทันทีว่า ขอราชบัลลังก์ให้โอรสของตน เลยจบกัน โอรสองค์ใหญ่เลยไม่ได้ราชสมบัติ ด้วยพระเจ้าโอกกากราชได้ทรงพลั้งพระโอษฐ์ไปแล้ว เลยจำต้องให้ราชโอรสราชธิดาทั้ง ๙ องค์ไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ ซึ่งอยู่ในเขตสักกชนบท อันเป็นส่วนเหนือของชมพูทวีป ทั้ง ๙ พระองค์พร้อมด้วยอำมาตย์ ๘ คนและข้าราชบริพาร ก็ไปก่อตั้งเมืองขึ้นโดยคำแนะนำของท่านกบิลดาบส เมื่อสร้างเสร็จก็ได้ชื่อว่า “นครกบิลพัสดุ์”
    ในสมัยนั้นพวกกษัตริย์ถือเอาความบริสุทธิ์ในการสืบสายเลือด ดังนั้นพระราชโอรสกับราชธิดาทั้ง ๘ องค์ ยกเว้นพระธิดาองค์ใหญ่ ก็ได้มีงานพิธีวิวาหมงคลขึ้นเป็น ๔ คู่ แล้วจึงได้ตั้งวงศ์ขึ้นเป็น “ศากยวงศ์” นี่คือวงศ์ต้นๆ ของพระพุทธเจ้า หลังจากนั้นไม่นานพระเชษฐภคินี คือพระธิดาองค์ใหญ่เกิดมีความรักกับเจ้าครองนครเทวทหะ ก็ได้มีการอภิเษกสมรสไปตั้งวงศ์ใหม่ ชื่อ “โกลิยวงศ์” ต่อแต่นั้นมา ๒ วงศ์นี้ก็มีการแต่งงานกันมาตลอด เพื่อรักษาวงศ์อันบริสุทธิ์ไว้ จนมาถึงพระเจ้าสุทโธทนะ และเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งมีพระนางพิมพายโสธราเป็นมเหสีอย่างนี้เป็นต้น นี่ก็เป็นตัวอย่างว่า เขาได้พากันสร้างกันทั้งเมืองเลยนะ บุญที่ส่งให้สามารถทำได้เช่นนั้นก็คือ บุญที่เกิดจากทานกุศล ซึ่งได้ทำไว้ทุกสิ่งทุกอย่างประกอบกันขึ้น อย่างเช่นพวกเราช่วยกันสร้างสถาบันฯ สร้างโบสถ์ และจึงไปสร้างพระประธาน นี่แหละที่สร้างกันได้อย่างนั้นก็ด้วยอานิสงส์ทำนองนี้
    บุญตามให้ผล
    ตามเรื่องราวในพระไตรปิฎกบางตอนก็แสดงได้ว่า แม้เพียงถือศีล ๘ แล้วตั้งจิตอธิษฐาน อยากจะเกิดเป็นพระราชโอรสพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อแตกกายทำลายขันธ์แล้ว ก็ได้ไปบังเกิดตามนั้นเหมือนกัน จะเห็นว่าเรื่องบุญนี่ เมื่อจิตใจสะอาดแล้วอธิษฐานไปด้วยดีแล้วนี้ บุญย่อมส่งผลให้ได้ หรือหากแม้ไม่ได้อธิษฐาน บุญก็ย่อมทำหน้าที่เองให้ผลเอง อย่าได้สงสัยเลย เท่าที่ได้เล่ามานี้ ก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้มีจิตใจที่กล้าหาญ รื่นเริงที่จะประกอบการบุญการกุศลที่ดีทุกอย่าง โดยไม่เฉพาะเจาะจง แต่ให้รู้จักเขตหรือเนื้อนาบุญที่อุดมแก่การสร้างบุญสร้างกุศล ดั่งพันธุ์พืชที่ดี บรรยากาศที่ดี มีการดูแล ประคบประหงมที่ดี ทั้งทาน ศีล ภาวนา ลงท้ายก็คือการอบรมจิต ดำเนินไปตามแนวนี้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุขแต่ฝ่ายเดียว.
    อานิสงส์ผู้นำคน เนื่องจากผลผู้นำบุญ
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    หยุดเพื่อเข้าถึงบุญ


    การเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายมีหลักอยู่นิดเดียวเท่านั้น คือ “หยุด” ตัวเดียว หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง กำเนิดธาตุธรรมเดิมของแต่ละกายสุดหยาบสุดละเอียด เท่านั้นแหละ
    เมื่อหยุดเข้าไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสังขารเช่นขันธ์ ๕ หรือวิสังขารของธรรมกาย ก็มีดวงกับกายเท่านั้นแหละ
    ในส่วนที่เป็นสังขาร กายมนุษย์ มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายในกายในภพ ๓ กายเหล่านี้เรียกว่า รูป
    แล้วส่วนที่เรียกว่า “ดวง” นั่น ประกอบด้วยอะไร ? ประกอบด้วย “ธรรม” ธรรม ๓ ฝ่าย ฝ่ายขาว ฝ่ายกลาง ฝ่ายดำ เมื่อเราหยุดในหยุดกลางของหยุด ไปถูกธรรมฝ่ายขาว ฝ่ายสัมมาทิฏฐิ ละเอียดเรื่อยไป เมื่อสุดละเอียดของธรรมซึ่งตั้งอยู่บนธาตุกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมที่เราเรียกว่า ปฐมมรรค เมื่อสุดละเอียดด้วยคุณความดี คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สูงขึ้นไปเป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เราก็จะถึงกายและดวงของกายอื่นๆ ที่ละเอียดๆ ณ ภายใน ต่อๆ ไปจนสุดละเอียดของกายในภพ ๓
    ดวงนั้นนอกจากประกอบด้วย ธรรม และ ธาตุ ซึ่งตั้งอยู่บนธรรมนั้นแล้ว ยังประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ ซึ่งเฉพาะในกายในภพสามนี้ เห็น จำ คิด รู้ ในแต่ละกายนั้นขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของขันธ์ ๕ คือ ธาตุละเอียดของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งตั้งอยู่ที่กลางกำเนิดของธาตุธรรมเดิมของแต่ละกายไปสุดหยาบสุดละเอียด
    เห็น จำ คิด รู้ นี้แหละ ที่เราเข้ากลางของกลาง เพื่อเข้าสู่ธรรมชาติที่เป็นฝ่ายบุญฝ่ายกุศล ส่วนธรรมชาติฝ่ายบาปอกุศล ธรรมดำหรือธรรมกลางนั้นก็จะจางไปเรื่อยๆ เห็น จำ คิด รู้ จึงเบิกบาน โตใหญ่ใสละเอียดไปตามธาตุและธรรมของกายในกายแต่ละกาย จากหยาบ ละเอียดเข้าไปๆ ก็โตใหญ่ใสละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด นี่ของกายในภพ ๓ สุดละเอียดของกายในภพ ๓ ก็ถึงดวงถึงกาย
    ธาตุล้วน ธรรมล้วน
    “ดวง” ก็คือ “ธรรม” นั่นเอง ของธาตุล้วนธรรมล้วน นับตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู โคตรภูละเอียด โสดา โสดาละเอียด สกิทาคา สกิทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัต อรหัตละเอียด ทับทวีเป็นเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด จนสุดละเอียดนั้นแหละ สุดละเอียดนี้ก็เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน ล้วนนี้ยังไม่ล้วนแท้นะ จะบอกเสียก่อน ธาตุล้วนธรรมล้วนที่แท้ คือ ที่เป็นพระนิพพาน คือ ธรรมกายที่บรรลุอรหัตผลแล้ว จึงเบิกบานเต็มธาตุเต็มธรรม ไม่ถอยหลังอีกโดยเด็ดขาด คือไม่มีต่ำลงมา คือสูงไปสุดสูง นั่นแหละ ธาตุล้วนธรรมล้วนแท้ๆ
    ถ้าตั้งแต่ธรรมกายโคตรภูไปยังไม่ถึง ขึ้นไปจนถึงอริยบุคคล ธรรมกายมรรคธรรมกายผลจริงๆ ก็นับว่าเป็นแท้เหมือนกัน แต่แท้ยังไม่แท้หมดจด ยังไม่ใช่วิสุทธิสัตว์ จะเป็นหมดจดแท้ๆ เมื่อเป็นถึงนิพพาน พระนิพพาน ธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ธรรมชาตินี้ก็ยังมีดวงกับกายนั่นแหละ แต่ดวงกับกายนั่นเป็นธาตุล้วน คือ ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ธรรมกายเราไม่เรียกว่ารูป ใจเราก็ไม่เรียกว่านาม ไม่มีนามไม่มีรูป เพราะนามรูปเกิดแต่สังขาร สังขารเกิดแต่อวิชชา ธรรมกายที่สุดละเอียดเข้าไปเท่าไรนั้นยิ่งปราศจากอวิชชาธาตุล้วนธรรมล้วน ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเรียกว่า “ธรรมภูต” ความอุบัติขึ้นแห่งความบริสุทธิ์ ธรรมะอันนี้หมายถึงธรรมที่บริสุทธิ์ฝ่ายบุญกุศล เรียกว่า “ธรรมภูต” หรือ “ธรรมกาย” หรือ หมู่ธรรมอันประมวลไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ เห็นได้เพราะเป็นอายตนะ บางทีเขาเรียกว่า พรหมภูต ความอุบัติขึ้นอย่างประเสริฐ คือ ไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกต่อไป ไม่เป็นอนิจจัง ไม่เป็นทุกขัง ไม่เป็นอนัตตา จึงเรียกว่าพรหมกาย คือ หมู่ธรรมที่บริสุทธิ์ ที่ประเสริฐ เพราะฉะนั้นเราทำธรรมะไปนี่ เราชำระกิเลสไปในตัวอยู่ในสภาวะของวิกขัมภนวิมุตติ หรือตทังควิมุตติ หลุดพ้นชั่วคราว สำหรับท่านที่ทำได้บ้าง เดี๋ยวแวบเห็น เดี๋ยวแวบหาย อันนี้ก็เป็นทางสู่ สมุจเฉทวิมุตตินิสสรณวิมุตติต่อไปอีก นิสสรณะนั้นก็เป็นปกติเหมือนพระนิพพาน เรียกว่า “นิสสรณวิมุตติ” หรือ “นิสสรณนิโรธ” เป็นนิโรธดับหยาบไปหาละเอียดตลอดเวลา เพราะฉะนั้นธรรมของเราก็เป็นขั้นเป็นตอนไปอย่างนี้
    เข้าสู่สุดละเอียด
    นี่เป็นเพียงส่วนที่เราเข้าถึงเท่านั้น แต่ส่วนที่ทำวิชชาไปสู่สมุจเฉทวิมุตติ หรือนิสสรณวิมุตติ ในวิชชาธรรมกายนั้น เราทำสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานคู่กัน โดยความเป็นนิโรธ หรือมีนิโรธเป็นโคจร ดับหยาบไปหาละเอียด ดับสมุทัยปหานอกุศลจิตของกายในภพสาม จึงชื่อว่าละเอียดเข้าไปเป็นปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญาของกายธรรมนั่น เพื่อไปสู่โลกุตตรมรรค เป็นปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญาของกายธรรม อันนี้เราทำไปดับหยาบไปหาละเอียด
    วิชชานี้หลุดพ้นไปด้วยการข่มกิเลสนั้น เสมือนกับยิงจรวดขึ้นพ้นแนวแรงดึงดูดของโลกด้วยการบังคับแนวดิ่งขึ้นไป พ้นแนวแรงดึงดูดของโลกก็ตั้งทิศทางเข้าสู่ มุ่งตรงต่อธาตุล้วนธรรมล้วน เป็นขั้นตอนของการเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูง กล่าวคือเข้าสู่ขั้นของการคำนวณ คำนวณธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ที่สะอาดบริสุทธิ์ของธรรมกาย ที่มีจักรพรรดิภาคผู้เลี้ยงซ้อนอยู่ สุดละเอียดเข้าไปๆ เป็นภาคผู้สอด ผู้ส่ง ผู้บังคับ ผู้ปกครอง ต้นธาตุต้นธรรมในอายตนนิพพานเป็น
    จักรพรรดิภาคผู้เลี้ยง เลี้ยงอะไร ? เลี้ยง ๒ อย่างคือ ภาคผู้เลี้ยงฝ่ายบุญก็เลี้ยงด้วยธรรมฝ่ายบุญกุศลนั้นอย่างหนึ่ง จิตใจนั้นจะเป็นบุญกุศล กาย วาจา ใจ ก็บริสุทธิ์เรียบร้อยดี เลี้ยงจากสุดละเอียดเข้ามาทีเดียว ต่อเนื่องกันมาจนถึงสุดหยาบกายมนุษย์ใจก็เป็นบุญกุศล เพราะใจมนุษย์หยาบนี่ไปเชื่อมอยู่กับจักรพรรดิของธรรมกายที่สุดละเอียด มันเนื่องกันอย่างนี้ ความจริงจักรพรรดิมีประจำทุกกาย มีภาคผู้เลี้ยงทุกกาย ตั้งแต่กายมนุษย์ไปจนถึงสุดละเอียดมีเท่าไรมีเท่ากัน นี่ภาคผู้เลี้ยง แล้วเลี้ยงด้วยผลของกรรมดี อีกประการหนึ่ง คือเมื่อสัตว์ทำกรรมดีไปเรื่อยๆ ก็ทางฝ่ายพระก็จะเก็บเหตุเข้าไปสุดละเอียด ถึงเครื่องธาตุเครื่องธรรม แล้วก็ปรุงผลส่งออกมายังภาคผู้เลี้ยงอีกเช่นกัน เพราะฉะนั้น ภาคผู้เลี้ยง คือ จักรพรรดิฝ่ายบุญนี่ทำหน้าที่อย่างนี้
    ผู้เลี้ยงฝ่ายบาปอกุศล หรือฝ่ายกลางๆ ก็ทำหน้าที่ตรงกันข้าม ให้ผลเป็นทุกข์ มีกาย วาจา และมีใจที่ไม่สะอาด เพราะฉะนั้นการทำวิชชาเข้าไปนั้น ย่อมรู้ ย่อมเห็น ไปตามลำดับภูมิธรรมแต่ละท่านอย่างนี้ การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายจึงต้องทำนิโรธ หยุดในหยุด กลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดเรื่อยไป ไม่ถอยหลังกลับ
    ตรงศูนย์กลางภาคผู้เลี้ยงก็มี “ภาคผู้สอด” สอดอะไร ? สอดวิชชา ยกตัวอย่างง่ายๆ สอดวิชชาอะไร ? เฉพาะที่สอดเข้ามาสุดหยาบถึงกายมนุษย์ในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์พึงเข้าใจว่าภาคผู้สอดฝ่ายบุญเขาสอดทาน ศีล ภาวนา ภาคบุญเขาสอดมาอย่างนี้ เพื่ออะไร ? เพื่อเก็บหรือดับอวิชชาของภาคมารที่เขาก็ประมูลฤทธิ์สอดธรรมที่เป็นบาปอกุศลมาเหมือนกัน สอดอะไร ? สอดอภิชฌา วิสมโลภะ พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ นี่แหละอยู่ท่ามกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของกายมนุษย์นั่นแหละ เพราะฉะนั้น เราทำไปยิ่งละเอียดเท่าไร เราก็จะได้ธาตุธรรมของภาคผู้เลี้ยง ผู้สอด ผู้ส่ง ผู้สั่ง ผู้บังคับ ถึงภาคผู้ปกครอง ถึงต้นธาตุต้นธรรมที่เป็นฝ่ายบุญกุศลฝ่ายสัมมาทิฏฐิเชื่อมถึงกันตลอดหมด ภาคบาปอกุศลเขาก็พยายามตัดวิชชาด้วยอวิชชาของเขาในหลายรูปแบบ ซึ่งท่านจะได้ยินชื่อซึ่งฟังดูแล้วแปลกๆ หู เฉพาะคนที่ไม่รู้นะ คนที่เขารู้เพราะเข้าถึงแล้ว เพราะฉะนั้นนี้เป็นจุดเดียวที่เล่าให้ฟัง เพื่อให้รู้ว่าวิชชาชั้นสูงทำทำไม เพื่ออะไร ? เพื่อเก็บธาตุและธรรมของภาคมารหรือฝ่ายบาปอกุศลในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของแต่ละกาย ณ ภายในจากสุดหยาบไปสุดละเอียดถึงต้นธาตุต้นธรรมของเขา เราละเอียดไปเท่าไร มีอานุภาพเป็นการเก็บธาตุธรรมภาคมารหรือฝ่ายบาปอกุศล ให้เหลือเป็นแต่ธาตุธรรมของฝ่ายบุญกุศลเข้าไปจนสุดละเอียดไปเพียงนั้น
    ถ้าทำบุญช้าไป ใจจะยินดีในบาป
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ


    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้
    1. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม
    2. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม
    3. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด
    4. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์
    5. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ
    6. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป
    7. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย
    8. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป
    9. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป
    10. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ
    บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย หยุดในหยุด เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    [​IMG]


    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=contentheading width="100%">ติลกฺขณาทิคาถา (๒)



    </TD><TD class=buttonheading width="100%" align=right></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD class=createdate vAlign=top colSpan=2></TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว


    เมื่อใดบุคคลเห็นตามความเป็นจริงว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว รูปธรรม นามธรรมก็ไม่ใช่ตัว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ มนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ตลอดจนกระทั่งถึงพระอนาคา ทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดจนกระทั่งถึงพระอรหัตต์ ไม่ใช่ตัวทั้งนั้น ตัวต้องอาศัยธรรมนั้น ธรรมต้องอาศัยตัวนั้น อาศัยซึ่งกันและกัน แต่ว่าธรรมทั้งหลายเหล่านั้นไม่ใช่ตัวจริงๆ เมื่อเห็นจริงลงไปดังนี้ว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวแล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษลึกซึ้งดุจเดียวกัน



    ธรรมทั้งหลาย ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด กายธรรม กายธรรมละเอียด กายโสดา โสดาละเอียด กายสกทาคา สกทาคาละเอียด กายอนาคา อนาคาละเอียด กายอรหัตต์ อรหัตต์ละเอียด ทุกดวงธรรมไม่ใช่ตัวทั้งนั้น เห็นจริงๆ เข้าเช่นนี้ ที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์อยู่เพราะอะไรล่ะ เพราะสภาพของขันธ์ที่เป็นโลกีย์นั้นไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ถึงที่เป็นโลกุตตระที่ข้ามขึ้นจากโลกไป อ้ายนั่นไม่กล่าวจากภพสามไปเสียแล้ว ถ้าจะกล่าวลึกลับเข้าไปอีกไม่มีเวลาจบ ต้องขอสงบไว้ว่าเบญจขันธ์ทั้งห้าในภพทั้งสาม กามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์จริงๆ แล้วก็ธรรมทั้งหลายที่สัตว์เหล่านั้นอาศัยเป็นดวงๆ ๘ ดวงนั้นไม่ใช่ตัวจริงๆ แม้ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมโคตรภู โคตรภูละเอียด โสดา โสดาละเอียด สกทาคา สกทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัตต์ อรหัตต์ละเอียด ๑๐ ดวง หรือเกินไปเท่าไรๆ ก็ไม่ใช่ตัว ตัวอาศัยธรรมนั้น
    ทีนี้จะกล่าวถึงตัวละ เมื่อว่าไม่ใช่ตัวแล้วอะไรเป็นตัวล่ะ เรื่องนี้ได้แสดงแล้วเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าโปรดภัททิยะราชกุมาร ๓๐ หย่อนอยู่หญิงแพศยาคนหนึ่ง ทั้งราชกุมาร ๓๐ มเหสีอีก ๒๙ ก็รวมเป็น ๕๙ หย่อน ๖๐ อยู่คนหนึ่งพระองค์ทรงตรัสเทศนาบอกตัวทีเดียว นี่ได้แสดงมาแล้วแสดงมาก ก็กัณฑ์ใหญ่ทีเดียว ไม่ใช่กัณฑ์ย่อย แสดงถึงตัวนี้ กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัวโดยสมมุติกายมนุษย์ละเอียดก็เป็นตัวโดยสมมุติไม่ใช่ตัวจริงๆ ไม่ใช่ตัวโดยวิมุตติ ทั้ง ๘ กาย
    กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เป็นตัวโดยสมมุติทั้งนั้น เป็นตัวโดยวิมุตติล่ะ กายธรรม กายธรรมละเอียด กายโสดา โสดาละเอียด กายธรรมสกทาคา สกทาคาละเอียด กายธรรมอนาคา อนาคาละเอียด กายธรรมอรหัตต์ อรหัตต์ละเอียด นี่เป็นตัวโดยวิมุตติทั้งนั้น เป็นชั้นๆ ไปเป็นวิมุตติแต่ว่า ถึงกายพระอรหัตต์ ถึงวิราคธาตุ วิราคธรรมทีเดียว ถึงวิราคธาตุ วิราคธรรม ถึงกระนั้น ที่จะไปเป็นพระอรหัตต์ เป็นตัววิมุตติแท้ๆ ทีเดียว เข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรม ออกจากสราคธาตุ สราคธรรมไปทีเดียว นี่ความจริงเป็นอย่างนี้
    ถ้าว่าวิปัสสนาเห็นมีวิปัสสนาก็มีธรรมกาย เห็นด้วยตาธรรมกาย นั่นแหละเรียกว่าวิปัสสนา แปลว่าเห็นแจ้งเห็นวิเศษ เห็นต่างๆ เห็นไม่มีที่สุด ตาธรรมกายโคตรภูเห็นแค่นี้ ตาธรรมกายโสดา โสดาละเอียดเห็นแค่นี้ สกทาคา สกทาคาละเอียด เห็นแค่นี้ พระอนาคา อนาคาละเอียดเห็นแค่นี้ พระอรหัตต์ อรหัตต์ละเอียดเห็นแค่นี้ หนักขึ้นไปไม่มีที่สุด นับอสงไขยไม่ถ้วน เห็นไม่มีที่สุด รู้ไม่มีที่สุด เห็น จำ คิด รู้ เท่ากัน เห็นไปแค่ไหนรู้ไปแค่นั้น จำไปแค่ไหน รู้ไปแค่นั้น คิดไปแค่ไหนรู้ไปแค่นั้น เท่ากัน ไม่ยิ่งไม่หย่อนกว่ากัน นี่อย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนา เห็นอย่างนี้เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็นด้วยตากายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เห็นเท่าไรก็เห็นไป เรียกว่าอยู่ในหน้าที่สมถะทั้งนั้น ไม่ใช่วิปัสสนา ถ้าวิปัสสนาละก็ต้องเห็นด้วยตาธรรมกาย นั่นแหละเป็นตัววิปัสสนาจริงๆ ละ
    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- google_ad_section_end -->
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ติลกฺขณาทิคาถา
    ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน) <TABLE style="COLOR: #666666" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="33%" align=center><COLGROUP><COL width="49%"><COL width="42%"><TBODY><TR><TD>สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ</TD><TD>ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข</TD><TD>เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา</TD></TR><TR><TD>สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ</TD><TD>ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข</TD><TD>เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา</TD></TR><TR><TD>สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ</TD><TD>ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข</TD><TD>เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา</TD></TR><TR><TD>อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ</TD><TD>เย ชนา ปารคามิโน</TD></TR><TR><TD>อถายํ อิตรา ปชา</TD><TD>ตีรเมวานุธาวติ</TD></TR><TR><TD>เย จ โข สมฺมทกฺขาเต</TD><TD>ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน</TD></TR><TR><TD>เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ</TD><TD>มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ</TD></TR><TR><TD>กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย</TD><TD>สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต</TD></TR><TR><TD>โอกา อโนกมาคมฺม</TD><TD>วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ</TD></TR><TR><TD>ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย</TD><TD>หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน</TD></TR><TR><TD>ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ</TD><TD>จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต</TD></TR><TR><TD>เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ</TD><TD>สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ</TD></TR><TR><TD>อาทานปฏินิสฺสคฺเค</TD><TD>อนุปาทาย เย รตา</TD></TR><TR><TD>ขีณาสวา ชุติมนฺโต</TD><TD>เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ. </TD></TR></TBODY></TABLE>


    สังขารทั้งหลายก็ต้องอาศัยธาตุอาศัยธรรม ถ้าว่าไม่มีธาตุไม่มีธรรมแล้ว สังขารทั้งหลายก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ตั้ง ติณชาติ ต้นหญ้า รุกขชาติ ต้นไม้ พฤกษชาติ ก็ต้นไม้ที่แน่นหนาถาวร และวัลลีชาติเครือวัลย์ต่างๆ เครือเถาต่างๆ ไม่มีแผ่นดินแล้วจะตั้งอยู่อย่างไร ก็ย่อมอันตรธานหายไปหมด ไม่ปรากฏแม้แต่น้อย หายไปหมด เพราะไม่มีแผ่นดินเป็นที่ตั้ง เมื่อมีแผ่นดินเป็นที่ตั้งขึ้น ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ก็ย่อมปรากฏขึ้นฉันใดก็ดี ธาตุธรรมที่มีขึ้นแล้วปรากฏขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการปรากฏขึ้นเป็นขึ้นของสังขาร ถ้าว่าธาตุธรรมไม่มีแล้ว สังขารก็ไม่มีเหมือนกัน นี่เพราะอาศัยธาตุอาศัยธรรม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของดับได้เคลื่อนไปได้ ส่วนธาตุธรรมนั้นไม่แปรไปตามใคร
    ” ​

    วันนี้เป็นวันอัฏฐมีดิถีขึ้นแปดค่ำแห่งปักษ์ในมาฆมาสนี้ ที่เราท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า เมื่อถึงวันธรรมสวนะ ได้พากันมาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพราะว่าเราช่วยกันรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ให้เป็นตัวอย่างอันดีแก่กุลบุตรกุลธิดาในยุคนี้และภายหน้า เป็นตัวอย่างอันดีแก่ภิกษุสามเณรในยุคนี้และต่อไปในภายหน้า ได้ชื่อว่าทำตัวของอาตมาให้เป็นเนติแบบแผนตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไป การกระทำของตนให้เป็นแม่พิมพ์หรือให้เป็นกระสวนหรือให้เป็นตัวอย่างเช่นนี้ ได้ชื่อว่า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่จะชี้แจงแสดงธรรมเทศนาในวันนี้ แก้ด้วย หนทางอันหมดจดวิเศษ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเป็นผู้รู้เห็นเหตุอันลึกลับยิ่งนักหนา จึงได้ ทรงแสดงหนทางอันหมดจดวิเศษ ให้เป็นตำรับตำราไว้
    หนทางอันหมดจดวิเศษนั้น ท่านยกพระไตรลักษณ์ขึ้นไว้เป็นตำรับตำราว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เมื่อนั้นก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา นี่หนทางหมดจดวิเศษข้อ ๑
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าสังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่าย ในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษข้อที่ ๒
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตน ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษข้อที่ ๓
    หนทางหมดจดวิเศษนั้นคืออะไร ? เมื่อฟังเพียงแค่นี้ก็ไม่เข้าใจ หนทางหมดจดวิเศษน่ะ หนทางตั้งต้นที่จะไปสู่มรรคผลนิพพาน ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงพระอรหัต พระอรหัตเป็นหนทางหมดจดวิเศษ หนทางหมดจดวิเศษน่ะอะไร ? ก็ทำใจให้หยุดคำเดียวเท่านั้นแหละ ให้หยุดที่ตรงไหน ? หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ไปหยุดอยู่ตรงนั้นแหละ ไปหยุดก็เข้ากลางของหยุดเชียว กลางของกลางๆๆๆ ที่ใจหยุดนั่น อย่าไปที่อื่นต่อไปเชียว กลางของกลางๆๆๆ ที่ใจหยุดนั่น หยุดคำเดียวเท่านี้แหละ ตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว ถ้าหยุดไม่ได้ ก็ไม่ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าอรหันต์ ถ้าหยุดได้ก็ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ หยุดนั่นแหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษละ ที่พระองค์ทรงรับสั่งทางมรรคผลนิพพานว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา ขนฺตี นั่นความอดทน ตีติกฺขา กล่าวคือ ความอดใจ อดจนกระทั่งหยุด พอใจหยุดเรียกว่าอดละ ต่ออดมันก็หยุดทีเดียว ใจหยุด หยุดนั่นแหละเป็นสำคัญละ ยืนยันด้วยตำรับตำราว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี ยังรับรองอย่างนี้อีก สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี ต้องทำใจให้หยุดนั่นแหละ เป็นหนทางบริสุทธิ์หมดจดวิเศษทีเดียว
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้ว ต่อจากนี้จงฟังวาระพระบาลีสืบต่อไปว่า อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนเหล่าใดมี ปกติไปสู่ฝั่งคือนิพพาน ชนทั้งหลายเหล่านั้นน้อยนัก ส่วนชนนอกนี้เลาะอยู่ชายฝั่งนั่นเทียว คือ โลกโอกอ่าววัฏฏสงสาร ฝั่งน่ะคือวัฏฏะนี่เอง กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ วัฏฏะ นี่เป็นฝั่งข้างนี้ ที่ไปสู่ฝั่งคือนิพพาน คือฝั่งข้างโน้น โบราณท่านแปลว่าไปสู่ฝั่งข้างโน้น คือ พระนิพพาน ไปสู่ฝั่งข้างนี้คือวัฏฏสงสาร วางหลักไว้สองประการดังนี้ เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน ก็ชนเหล่าใดแล ประพฤติธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งฝั่งคือนิพพานได้ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ เป็นที่ตั้งอันล่วงเสียซึ่งวัฏฏะ เป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ อันบุคคลข้ามได้ยากยิ่งนัก กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตละธรรมอันดำเสียแล้ว ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ อาศัยนิพพานไม่มีอาลัยจากอาลัย ยินดีในนิพพานอันสงัด ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน พึงละกามทั้งหลายเสีย ไม่มีกังวลแล้ว พึงปรารถนายินดีในนิพพานนั้น ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต บัณฑิตควรชำระตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺตํ สุภาวิตํ จิตอันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดอบรมดีแล้ว ในองค์เป็นเหตุแห่งตรัสรู้ อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดไม่ถือมั่นยินดีแล้วในอันสละความยึดถือ ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ มีความโพลงดับสนิทในโลก ด้วยประการดังนี้ นี่เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา
    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป เป็นทางปริยัติ หาใช่ทางปฏิบัติไม่ เป็นทางปริยัติก่อน ทางปริยัติชี้ชัดอยู่ว่า คนทั้งหลายเหล่าใด คนทั้งหลายเห็นตามปัญญา เมื่อบุคคลเห็นตามปัญญา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ บรรดามนุษย์ทั้งสิ้น ชนพวกใด ชนที่เป็นมนุษย์พวกใดที่จะไปถึงฝั่งข้างโน้น คือ พระนิพพานนั่น น้อยตัวนัก ส่วนชนนอกนี้ ส่วนชนคือมนุษย์นอกนี้ แล่นไปสู่ฝั่งนั้นแล ไปในกามวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ก็ชนเหล่าใดแลเป็นผู้ประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว เป็นธรรมที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก ไม่ใช่เป็นของเล็กน้อย ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงพระนิพพานได้ พระนิพพานไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ไม่ใช่เป็นของง่าย เพราะฉะนั้นทางไปนิพพานก็เป็นของไม่ใช่ง่าย เป็นของยากนัก ธรรมอันนี้ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงชี้ว่า ทางอันหมดจดวิเศษ เมื่อเห็นความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย เห็นความเป็นทุกข์ของสังขารทั้งหลาย เห็นความไม่ใช่ตัวของธรรมทั้งปวง นี่เป็นข้อสำคัญควรจะเข้าใจให้มั่นหมายทีเดียว สังขารทั้งหลายคือธาตุธรรมผลิตขึ้นเป็นสังขารทั้งหลาย เหมือนแผ่นดินเป็นที่ตั้งของติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ถ้าไม่มีแผ่นดินแล้ว ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ผุดเกิด นี่เพราะอาศัยแผ่นดินนี้ฉันใด สังขารทั้งหลายก็ต้องอาศัยธาตุอาศัยธรรม ถ้าว่าไม่มีธาตุไม่มีธรรมแล้ว สังขารทั้งหลายก็ตั้งขึ้นไม่ได้ ไม่มีที่ตั้ง ติณชาติ ต้นหญ้า รุกขชาติ ต้นไม้ พฤกษชาติ ก็ต้นไม้ที่แน่นหนาถาวร และวัลลีชาติเครือวัลย์ต่างๆ เครือเถาต่างๆ ไม่มีแผ่นดินแล้วจะตั้งอยู่อย่างไร ก็ย่อมอันตรธานหายไปหมด ไม่ปรากฏแม้แต่น้อย หายไปหมด เพราะไม่มีแผ่นดินเป็นที่ตั้ง เมื่อมีแผ่นดินเป็นที่ตั้งขึ้น ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติ ก็ย่อมปรากฏขึ้นฉันใดก็ดี ธาตุธรรมที่มีขึ้นแล้วปรากฏขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการปรากฏขึ้นเป็นขึ้นของสังขาร ถ้าว่าธาตุธรรมไม่มีแล้ว สังขารก็ไม่มีเหมือนกัน นี่เพราะอาศัยธาตุอาศัยธรรม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของดับได้เคลื่อนไปได้ ส่วนธาตุธรรมนั้นไม่แปรไปตามใคร
    ธาตุธรรมนั้นแยกออกเป็นสราคธาตุสราคธรรม เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ธาตุธรรมที่ยังเกลือกกลั้วอยู่ด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นสราคธาตุสราคธรรม ธาตุธรรมที่ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ แล้วนั่นเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม นี่อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ธาตุธรรมที่ยังเกลือกกลั้วด้วย ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสังขตธาตุสังขตธรรม ธาตุธรรมที่กะเทาะจากราคะ โทสะ โมหะ ไปได้บ้างแล้ว ยังไม่สิ้นเชื้อ เป็นอสังขตธาตุอสังขตธรรม ธาตุธรรมที่กะเทาะจากราคะ โทสะ โมหะ สิ้นเชื้อแล้ว นั่นเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม นี่เราจะเอาธาตุธรรมที่ไหน เราจะเห็นอย่างไร รู้อย่างไรกัน ธาตุธรรมทั้งหมดปรากฏที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นสราคธาตุสราคธรรม ไม่ใช่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม อาศัยสราคธาตุสราคธรรมอยู่ เมื่ออาศัยสราคธาตุสราคธรรมอยู่เช่นนี้ เราจะต้องเข้าไปถึงวิราคธาตุวิราคธรรมให้ได้ ถ้าเข้าไปถึงวิราคธาตุวิราคธรรมไม่ได้ ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี่ไม่มีจบมีสิ้น เหตุนี้ต้องตั้งใจให้แน่แน่ว ต้องทำใจให้หยุด ตั้งใจให้หยุด มุ่งที่จะไปพระนิพพานทีเดียว เพราะน้อยตัวนักที่ตั้งใจจะไปสู่ฝั่งพระนิพพาน มากตัวนักที่จะมุ่งไปสู่โลกในสราคธาตุในสราคธรรม ในสังขารทั้งหลาย มุ่งไปในสังขารทั้งหลายน่ะมากตัวนัก ที่จะปราศจากสังขารทั้งหลายนะน้อยตัวนัก เหตุนี้เราต้องคอยระแวดระวังทีเดียวในเรื่องนี้ เมื่อเป็นผู้จะไปสู่ในทางวิราคธาตุวิราคธรรม ต้องประกอบตามธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวแล้ว ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วน่ะธรรมอะไร ? ธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้วนั่นน่ะไม่ใช่อื่น ทางมรรคทางผลนี่เอง ทางมรรคผลไม่ใช่ทางอื่น ทางมรรคผลน่ะอะไร ? อะไรเป็นทางมรรค ? อะไรเป็นทางผล ? นี้จะกล่าวถึงทางมรรคผล ก็การทำใจให้หยุดนั่นแหละเป็นตัวมรรคทีเดียว พอใจหยุดก็เป็นตัวมรรค ก็จะมีผลต่อไปเมื่อใจหยุดเป็นตัวมรรคแน่นอนแล้ว มรรคผลเกิดเป็นลำดับไป พอใจหยุดก็ได้ชื่อว่าเริ่มต้นโลกิยมรรค เข้าถึงมรรคแล้ว มรรคผลนี้แหละเป็นธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ต้องเอาใจหยุด ถ้าใจไม่หยุดเข้าทางมรรคไม่ได้ เมื่อไปทางมรรคไม่ได้ ผลก็ไม่ได้เหมือนกัน
    เมื่อวานนี้บวชสามเณรองค์หนึ่ง พอใจหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้น ไปตลอดเทียวทางมรรคผล ทำใจได้หยุด เอาผมมาปอยหนึ่งที่โกนแต่เมื่อบวชนั่น เขาก็จำได้ ให้น้อมเข้าไปในช่องจมูกข้างขวา ไปตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางตัวเจ้านาคที่บวชเป็นเณรนั่น เห็นผมจำได้ว่าโคนน่ะไปทางตะวันออก ปลายไปทางตะวันตก ผมมันมีคู้กลางอยู่กลางหน่อย ถามว่ามันล้มไปทางซ้ายหรือล้มไปทางขวา ตรงกลางที่โค้งอยู่หน่อยน่ะ เจ้านาคบอกว่าไม่ล้ม โคนตั้งโค้งขึ้นมาด้วย โค้งก็เอาใจหยุดอยู่ ตรงกลางโค้งนั่นแหละ หยุดอยู่ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น หยุดนิ่งเถอะประเดี๋ยวเถอะ ผมนั่นแปรไป แปรสีไป พอถูกส่วนเข้าก็เป็นดวงใส ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละ เณรเห็นแล้วเป็นดวงใส ผมนั่นก็แปรไปๆ แปรสีไปเป็นดวงใส ดวงนั้นโตเล็กเท่าไหน เจ้านาคบอกเท่าหัวแม่มือได้ เอ้ารักษาไว้ดวงนั่นน่ะ ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่นแหละ ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั่น พอนิ่งแล้ว ก็เข้ากลางของกลางๆๆ นิ่งหนักเข้า นึกว่ากลางของกลางหนักเข้า ประเดี๋ยวเดียวแหละ ดวงนั่นขยายโตออกไปๆๆ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นเจ้านาคขยายได้แล้ว ดวงนั่นขยายออกไปเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์แล้ว ถูกส่วนเข้า ใจหยุดนิ่งกลางของกลางๆๆ นิ่งหนักเข้าหนักเข้าเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นั่นแหละดวงนี้แหละเขาเรียกว่า เอกายนมรรค หรือเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่แหละทางหมดจดวิเศษละทางนี้ ไม่มีทางอื่นมาคัดง้างได้ละ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้วนั่นแหละ กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น หยุดเข้าเถอะ พอใจหยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าๆๆ ก็เข้าถึงดวงศีล เมื่อเข้าถึงดวงศีลแล้ว ใจหยุดอยู่กลางของดวงศีลนั่นแหละ ก็เท่ากับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ กลางของกลางดวงศีลหนักเข้ากลางของ กลางหนักเข้าๆๆ ก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน เจ้านาคทำได้ประเดี๋ยวเดียวเข้าถึงดวงสมาธิแล้ว กลางดวงสมาธินั่นแหละ หยุดเข้าเถอะ กลางของกลางๆๆ ดวงสมาธินั่น พอหยุดถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธินั่น หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอใจหยุดกลางดวงปัญญา ก็กลางของกลางๆๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ อยู่กลางดวงปัญญานั่น หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่น พอหยุดก็กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ จนกระทั่งหยุดหนักเข้า หนักเข้า ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ หยุดหนักเข้า กลางของกลางๆๆๆ พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายมนุษย์ละเอียด ที่นอนฝันออกไป ถามเจ้านาคว่า อย่างไร กายนี้เคยเห็นไหมละ เมื่อเวลานอนฝัน เจ้านาคบอกว่าเห็นเมื่อนอนฝัน เห็นมัน ถูกทีเดียว นี่ไม่ใช่เป็นของยาก ชั่วบวชนาคประเดี๋ยวเดียวเท่านั้นแหละไปตลอดแล้ว พอเห็นกายละเอียดก็เอาละถูกส่วนละ จำได้นะ
    • ต่อไปอีก ให้กายละเอียดนะ นั่งเหมือนกายมนุษย์นี่ เขาก็ทำถูกแบบเดียวกัน แล้วเอาใจของกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ นิ่งอยู่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกัน พอนิ่งถูกส่วนเข้าละก้อ กลางของกลางๆๆ ที่นิ่งนั่นแหละ ประเดี๋ยวเดียว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอหยุดก็เข้ากลางของหยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เห็นดวงศีลอยู่ในดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ในกลางดวงศีลนั่นแหละ พอใจหยุดก็หยุดอยู่กลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ หนักเข้าเห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ พอหยุดถูกส่วนแล้วก็เข้ากลางของกลางๆๆ ที่หยุดนั่นเห็นดวงปัญญา อยู่ในดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ในกลางดวงปัญญานั่นแหละ พอหยุดถูกส่วนเข้าแล้ว กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า ถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติแล้ว ก็กลางของกลางๆๆ ที่หยุดนั่นแหละ ไม่ได้ไปไหน พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ พอเห็นกายทิพย์เข้า เอ้าเป็นกายที่ ๒ ละ อยากจะรู้มรรคผลไหมละ นั่นแหละที่ดำเนินการนั่นแหละเป็นมรรคทั้งนั้น ที่มาโผล่เห็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นเป็นผลแล้ว ตั้งแต่ดำเนินมาหยุดอยู่ที่กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เข้าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็นกายทิพย์เข้า นั่นกายทิพย์นั่นเป็นผลแล้ว แต่ว่าเป็นโลกียผล โลกียมรรค ไม่ใช่ โลกุตตรผล ไม่ใช่โลกุตตรมรรค ให้รู้จักหลักอันนี้ นี่โลกีย์ นี่ทางหมดจดวิเศษ ไม่ใช่ทางอื่น นี้เป็นทางหมดจดวิเศษทีเดียว
    • ให้กายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดนิ่งพอถูกส่วนเท่านั้น ให้เอาใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ หยุดนิ่งพอถูก ส่วนเข้า ก็หยุดอยู่กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานของกายทิพย์ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางที่ใจหยุดอีกนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆ ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ล่าง-บน-นอก-ใน ไม่ไป กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลาง ดวงศีลนั่นอีก พอใจหยุด ก็เข้ากลางของใจที่หยุดอีกนั่นแหละ แบบเดียวกัน กลางของ กลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้าเห็นกายทิพย์ละเอียด ทำไปดังนี้อีก นี่เป็นมรรคเป็นผลไปอย่างนี้ แล้วก็เดินไปตามมรรคอีก
    • ให้นั่งนิ่งแบบเดียวกับกายทิพย์หยาบอีก นั่งนิ่ง ก็เอาใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดอีก นั่นเข้ามรรค หยุดนิ่งแล้วก็กลางของกลางๆๆ ที่ใจนิ่งทีเดียว พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นี่มรรคทั้งนั้น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลอีก กลางของกลางๆๆ เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิอีก กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ที่ใจหยุดนิ่งเข้าถึงดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก กลางของกลางๆๆ กลางดวงปัญญานั่น ก็เข้าถึงดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก กลางของกลางๆๆ ที่ใจหยุดนั่น เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่ในกลางดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางๆๆ ที่ให้หยุดนั่น ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายรูปพรหม พอถึงกายรูปพรหม นี่ก็เป็นตัวผลแล้ว นี่มรรค มาแล้ว มาถึงผลแล้ว นี่ ๕ ผลแล้ว
    • พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีลอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอใจหยุดก็กลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางที่หยุดนั่น เข้าถึงดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอหยุดก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติอยู่กลางดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติอีก พอถูกส่วนเข้าก็กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางที่ใจหยุดนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมละเอียดนี่ก็เป็นตัวผลอีก เดินมาตามมรรคนั่น เข้าถึงผลอีกแล้ว นี่ต้องเข้าใจอย่างนี้ ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้จะไม่รู้จักมรรคผล มรรคผลนี่เป็นของยากนัก ไม่ใช่เป็นของง่าย
    • ใจของกายรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ไม่ได้ถอยออกละ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอีก พอใจหยุด ก็กลางของกลางๆๆ เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ ใจหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติอีก พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก กลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม เห็นกายอรูปพรหม นี่เป็นผล กายอรูปพรหมนี่เป็นผล ที่ดำเนินมานั้นเป็นมรรค
    • ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก หยุดอยู่นั่น หยุดนิ่งอยู่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของใจที่หยุด ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เข้ากลางของหยุดอีก พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลอีก ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงสมาธิอีก ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึง ดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก ถูกส่วนเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด
    • จากกายอรูปพรหมละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด แบบเดียวกัน ไม่ได้มีเคลื่อนกันละ พอใจหยุดก็เข้ากลางของหยุด กลางของกลางๆๆ พอกลางของกลางหนักเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อยู่ในกายอรูปพรหมละเอียด ใจกายอรูปพรหมละเอียดหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งกลางของกลางๆๆ หนักเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิอยู่กลางดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมาเกตุดอกบัวตูม ใสบริสุทธิ์เหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน อย่างโตที่สุดไม่ถึง ๕ วา หย่อน ๕ วา อย่างเล็กที่สุดก็ตามส่วนลงมา นั่นเรียกว่า กายธรรม เข้าถึงพุทธรัตนะแล้ว พุทธรัตนะนั่นแหละเป็นตัวผล ไม่ใช่ตัวมรรค เป็นตัวผลทีเดียว มรรคเดินมาตามลำดับนั่น
    • ใจของกายธรรมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมละเอียด หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสยิ่งกว่ากระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของกายธรรมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด นี่เข้าถึงผลอีกแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลม รอบตัว ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายธรรม หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดนั่น พอหยุดถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่น ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงธรรมกายพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดาก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว
    • ใจของพระโสดาหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นธรรมกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของพระโสดาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของพระสกทาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระสกทาคา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๑๐ วา กลมรอบตัว ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็เท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของพระสกทาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นสกทาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอนาคา
    • ใจของพระอนาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    • ใจของพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด ถูกส่วนเข้าเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา ใสหนัก ขึ้นไป
    • ใจพระอรหัตหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็ถึงดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตละเอียด ใสหนักขึ้นไป
    นี้วานนี้ได้สอนเจ้านาคให้ถึงนี้ พอบวชเณรเสร็จแล้ว ไปตามญาติ ไปนิพพานก็ได้ ไปโลกันต์ก็ได้ พวกพ้องไปตายอยู่ที่ไหน ไปตามเอารับส่วนบุญเสียด้วย ตากับยายทั้งสองคนไปตามมาและเห็น ฝ่ายพระบวชใหม่ก็เห็นด้วย นี่ทางพุทธศาสนาความจริงเป็นอย่างนี้
    นี่แหละ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา หนทางหมดจดวิเศษทีเดียว หมดจดวิเศษกว้างขวางนัก ทางปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา โคตรภู โสดา สกทาคา อนาคา อรหัต ทางมรรค ทางผล ทางศีล ทางสมาธิ ทางปัญญา ทางวิมุตติ ทางวิมุตติญาณทัสสนะ นี่แหละเป็นทางหมดจดวิเศษ ทางอื่นไม่มี นี่วันนี้ที่ตั้งใจแสดงก็ให้รู้ทางหมดจดวิเศษ ที่จะเข้าไปทางนี้ก็เพราะเห็นสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ก็ตกอกตกใจหา หนทางไป ทางนี้ก็ถูกมรรคผลนิพพานทีเดียว นี้ทางเป็นหลักเป็นประธานเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ต้องฟังจริงๆ ตั้งใจจริงๆ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย ไม่ใช่เป็นง่าย เป็นของยากนัก ผู้แสดงก็ตั้งอกตั้งใจแสดง ถ้าผู้ฟังไม่ตั้งใจฟัง ก็ขี้เกียจ เดี๋ยวก็เลิกเสียเท่านั้น ถ้าผู้ฟังตั้งใจฟัง ผู้แสดงก็ตั้งใจแสดง ตรงกันเข้า ขันกับพานมันก็รับกันเท่านั้น นี่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ผู้แสดงก็ได้ ผู้รับก็ได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าว่าพูดเสีย ผู้แสดงก็สะดุดใจเสีย ก็หยุดเสียไม่แสดง ก็เสียทั้งสอง ฝ่ายเป็นฝ่ายดำไป ไม่ใช่ฝ่ายขาว ได้ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายขาวไม่ใช่ฝ่ายดำ ให้รู้จักความจริงทางพุทธศาสนาดังนี้ เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้แล้ว ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดิ์จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ความทุกข์อันเกิดแต่กาม











    [​IMG]

    ปาฐกถาธรรมเรื่อง

    ความทุกข์อันเกิดแต่กาม

    โดย พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖)

    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี​

    ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย​

    วันอาทิตย์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เวลา ๐๘.๐๐ น.​

    [​IMG]

    เจริญสุข/เจริญพร ญาติโยมสาธุชนผู้ฟังทุกท่าน
    สำหรับวันนี้อาตมภาพจักได้กล่าวถึงความทุกข์อันเกิดแต่กามตามพระพุทธภาษิต (ขุ.ชา.เอกาทสก.๒๗/๑๕๔๙/๓๑๕) ว่า “นตฺถิกามา ปรํ ทุกขํ” แปลว่า “ทุกข์อื่นยิ่งกว่ากามไม่มี”ตามสมควรแก่เวลาสืบไป
    ก่อนอื่นขอท่านผู้ฟังมาทำความเข้าใจในคำว่า“กาม” เสียก่อน
    คำว่า “กาม” นั้นหมายถึง ความใคร่ คือความอยาก ความต้องการความปรารถนา
    คำว่า “วัตถุกาม”หรือ “กามคุณ” หมายถึงสิ่งที่น่าปรารถนา๕ อย่าง คือ รูป ที่งดงาม เสียง ที่ไพเราะอ่อนหวาน กลิ่น ที่หอมหวนรัญจวนใจ รส ที่อร่อย และสิ่งสัมผัสทางกายที่พระท่านเรียกโผฏฐัพพะที่น่ากำหนัดยินดีที่น่าพอใจ
    วัตถุกาม หรือกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียงกลิ่น รส สิ่งสัมผัส ทางกายที่น่ากำหนัด ยินดี พอใจนี้ พระท่านจัดเป็น “บ่วงแห่งมาร”คือเป็นอารมณ์เครื่องผูกใจให้ติดแห่งมาร
    คำว่า “มาร” ท่านหมายถึงธรรมชาติที่เป็นโทษล้างผลาญคุณความดีและทำให้เสียคนกล่าวชื่อเต็มๆ ณ ที่นี้ว่า“กิเลสมาร” คือ “กิเลสกาม”นั่นเอง
    “กิเลส” แปลว่าเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตใจคือเมื่อเกิดขึ้นในจิตใจของผู้ใดแล้วย่อมทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่ผ่องใสเมื่อใช้ร่วมกับคำว่า “กาม”เรียกว่า “กิเลสกาม” พระท่านแสดงความหมายว่าคือ เจตสิกอันเศร้าหมองชักให้ใคร่ ให้รักให้อยากได้ กล่าวคือ ตัณหาราคะ ความกำหนัด และ อรติความขึ้งเคียด เป็นอาทิ ท่านจัดว่าเป็น“มาร”เพราะเป็นโทษล้างผลาญคุณความดี และทำให้เสียคน (นี้เป็นความหมายของคำว่า“กิเลสกาม” ในหนังสือ “ธรรมวิจารณ์”ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส จัดพิมพ์โดย มหามกุฎราชวิทยาลัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่๒๓/๒๕๒๐, หน้า ๖)
    พระพุทธดำรัสว่า “ทุกข์อื่นยิ่งกว่ากามไม่มี” นั้นก็เพราะได้ทรงเห็น “กามตัณหา”คือความทะยานอยากในกามคุณทั้ง๕ ได้แก่ ในรูปที่สวยงามในเสียงที่ไพเราะอ่อนหวานในกลิ่นที่หอมหวนรัญจวนใจในรสที่อร่อยและในสิ่งสัมผัสทางกายที่น่ากำหนัดยินดีพอใจได้แก่ ที่เย็นสบายที่อบอุ่นหรือที่ละเอียดเนียนเป็นต้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานคือ ความยึดถือ ในรูปเสียง กลิ่น รสสิ่งสัมผัสทางกาย ด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือความเห็นผิดว่าเป็นแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนเป็นเรา เป็นเขา เป็นของเรา-ของเขาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์แท้ๆชื่อว่า “ทุกขสมุทัยอริยสัจ”แล้วสักวันหนึ่งไม่ช้าก็เร็วก็ต้องพลัดพรากจากบุคคลหรือสิ่งที่เคยรักและหวงแหนทั้งหลายเหล่านี้หมดทั้งสิ้นและก็ต้องทุกข์มากไปตามส่วนแห่งความยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐินั้นนี้ชื่อว่า “ทุกข์อริยสัจ”คือ ความจริงอย่างประเสริฐความจริงแท้ๆในเรื่องของทุกข์
    ความจริง วัตถุกามหรือกามคุณทั้ง ๕ ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รสสิ่งสัมผัสทางกายที่น่ากำหนัด ยินดี พอใจนั้น เว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์พระอริยะเจ้าชั้นสูงขึ้นไปแล้วใครๆ ก็ชอบทั้งนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งปุถุชนผู้ที่ยังหนาด้วยกิเลสตัณหา ราคะ ต่างก็ชอบใจและปรารถนาจะได้ รูปกิริยาอาการและเครื่องตบแต่งที่สวยสง่างามตา น่าดูน่าชม, เสียงและวาจาที่ไพเราะอ่อนหวานระรื่นหู, รสที่อร่อยถูกปากกลิ่นที่หอมหวนและสิ่งสัมผัสทางกายที่ละเอียดเนียนประณีต นิ่มนวล อบอุ่นหรือเข้มแข็งที่ถูกใจด้วยกันทั้งนั้น
    แต่ บัณฑิตผู้มีปัญญาที่รู้เท่าทันโลกซึ่งมีทั้งสิ่งอันเป็นโทษโดยส่วนเดียวเปรียบด้วยยาพิษก็มี, สิ่งอันให้โทษในเมื่อเกินพอดีเปรียบด้วยของมึนเมา ก็มี และสิ่งอันเป็นอุปการะเปรียบด้วยอาหารและเภสัชอันสบายก็มีจึงรู้จักโทษของกิเลสกาม และมีความสำรวมในกามไม่หลงติดอยู่ในกามคุณจึงดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความสันติสุขไม่ต้องเป็นทุกข์เพราะกาม
    ทุกข์อันเกิดแต่กามมีตัวอย่างเช่นชายหรือหญิงมีความรักใคร่ในบุคคลใด ย่อมเกิด “กามฉันทะ”คือความกำหนัดยินดีในบุคคลนั้นและปรารถนาที่จะได้พบเห็นได้ยินได้ฟังเสียงได้อยู่ใกล้ชิดสนิทสนมได้สัมผัสแนบชิดกับบุคคลที่ตนรักใคร่ที่กำหนัดยินดีนั้นอยู่เมื่อจิตใจมีความรักใคร่คะนึงหา อยู่ด้วยกามฉันทะและความปรารถนาที่จะได้พบเห็นได้ยินได้ฟัง เสียงได้อยู่ใกล้ชิดสนิทสนมและได้สัมผัสบุคคลที่ตนรักใคร่และปรารถนา อยู่นั้นย่อมเป็นทุกข์เมื่อกามฉันทะรุนแรงกลายเป็นความปรารถนาที่แรงกล้าขึ้นชื่อว่าเป็น “กามตัณหา” คือความทะยานอยากปรารถนาที่จะได้บุคคลที่ตนรักใคร่มาไว้ในครอบครองของตนเพื่อจักได้พบ ได้เห็นได้ยินได้ฟังได้อยู่ใกล้ชิดสนิทสนมและปรารถนาที่จะได้สัมผัสได้เชยชิดพิสมัยตามที่ใจปรารถนาจิตใจก็ยิ่งเดือดร้อนกระวนกระวายหนักขึ้นนี้แหละคือ กามตัณหาเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์แท้ๆความทุกข์แท้ๆ นี้แหละชื่อว่า “ทุกขสัจ” ตามตัวอย่างนี้เป็นเพียงความทุกข์ขั้นเริ่มต้นส่วนกามตัณหาอันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์แท้ๆนี้จัดเป็น “ทุกขสมุทัยอริยสัจ”
    เมื่อมีความปรารถนาอันแรงกล้าคือความทะยานอยากในวัตถุกามคือ ในบุคคลที่ตนรัก จึงมีการแสวงหาด้วยวิธีการต่างๆด้วยความทุ่มเท กำลังกายกำลังใจ กำลังทรัพย์เพื่อให้ได้บุคคลที่ตนมีความรักใคร่นั้นมาไว้ในครอบครองของตนบางครั้งก็ต้องแข่งขันชิงดีกันหรือถึงความชิงรักหักสวาทกันหญิงบางรายยอมพลีเรือนร่างของตนเพื่อผูกใจชายที่ตนรักก่อนเวลาอันสมควรหรือกระทำเสน่ห์เล่ห์กลด้วยประการต่างๆชายบางคนก็ทุ่มเทเงินทองข้าวของให้เพื่อผูกใจคนรักเพื่อให้ได้บุคคลที่ตนรักมาไว้ในครอบครองของตนบางรายถึงฉุดคร่าอนาจารหรือถึงรบราฆ่าฟันกัน ก็มีแม้ใกล้จะสมหวัง สมปรารถนาก็เต็มไปด้วยความหึงหวงหวาดระแวงว่าจะหลุดมือไปเสียอีกตลอดระยะเวลาแห่งการแสวงหานี้ก็ต้องทุกข์ทรมานทั้งกายและทั้งใจอีกไม่น้อยนับเดือน นับปีบางรายก็หลายๆ ปีจนกว่าจะได้บุคคลที่ตนรักมาเป็นคู่ครองจริงๆนี่นับเป็น ความทุกข์ในขั้นแสวงหา
    ทีนี้ถ้าไม่ได้สมปรารถนาหรือได้มาเพียงชั่วคราวแล้วหลุดลอยไปเป็นอื่นเสียก็ยิ่งเป็นทุกข์ใหญ่เพราะยิ่งมีความรักใคร่มีความทะยานอยากปรารถนาที่จะได้บุคคลที่ตนรักมากก็เกิดอุปาทาน คือความยึดถือ ด้วยตัณหาและทิฏฐิคือหลงผิดว่าเป็นสิ่งที่เป็นแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนบุคคล เรา-เขา ของเรา-ของเขามากเมื่อไม่ได้สมปรารถนาหรือได้มาเพียงชั่วคราวแล้วเป็นอื่นไปหรือต้องพลัดพรากจากกันไปโดยเหตุใดๆก็ตาม ย่อมรู้สึกเสียดายและเจ็บปวดในจิตใจอย่างมากที่ต้องสูญเสียคนที่ตนรักและหวงแหนไปจึงเป็นความทุกข์ระทมขมขื่นหรือทุกข์ใหญ่ ในขั้นอกหักหรือพลัดพรากจากผู้ที่ตนรักหรือความไม่สมปรารถนาต่างๆ ที่บางรายทำใจไม่ได้ก็ปล่อยตัวปล่อยใจกินเหล้าเมายาประชดชีวิตของตนเองส่วนบางรายแก้ปัญหาทางจิตใจของตนไม่ได้ถึงฆ่าตัวตายก็มีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เยาวชนหรือวัยหนุ่มสาวในยุคปัจจุบันนี้ผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์เพราะความที่ไม่ได้สนใจที่จะเรียนรู้พระสัทธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้รู้บาป-บุญคุณ-โทษ ตามที่เป็นจริงความทุกข์ในขั้นนี้จะรุนแรงหรือหนักเบาก็เป็นไปตามส่วนแห่งอุปาทานคือความยึดถือในบุคคลที่ตนรักปรารถนาจะได้มาไว้เป็นคู่ครองของตนด้วยตัณหาคือความทะยานอยาก และทิฏฐิคือความหลงผิดว่าเป็นแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนบุคคล เรา-เขา ของเรา-ของเขา
    ส่วนผู้ที่ได้บุคคลที่ตนรักมาเป็นคู่ครองของตนสมปรารถนาก็ย่อมมีความสุขใจมีความพอใจยินดีในคนรักที่ได้มานั้นและปรารถนาจะได้มีความสุขกับคนที่ตนรักตลอดไปไม่ปรารถนาที่จะให้พลัดพรากจากไปด้วยประการใดๆจึงต้องทุ่มทั้งกำลังกายกำลังใจ และกำลังทรัพย์เลี้ยงดู บำรุงบำเรอและระวังรักษาจึงเกิดความหวงแหนหรือหึงหวงให้เป็นทุกข์อีกนี้เป็น ทุกข์ในขั้นหวงแหนอันเป็นทุกข์ในระยะเวลายาวนานตราบใดที่ยังเป็นคู่ครองกันอยู่ยิ่งรักมากก็ยิ่งหวงแหนมากและยิ่งทุกข์มากขึ้นตามส่วน
    ขณะที่อยู่กินด้วยกันเป็นครอบครัวอีกหน่อยก็มีสมาชิกครอบครัวคือ บุตรเกิดขึ้นมา และต่อๆไปก็มีหลานเพิ่มขึ้นมาอีกตามลำดับก็ต้องทุ่มเท ทั้งกายและใจแสวงหาทรัพย์มาเลี้ยงดูกันเพิ่มขึ้นต้องห่วงใย ดูแลรักษาและต้องอุปถัมภ์บำรุงกันเพิ่มขึ้นรวมความว่า ความเกิดแห่งบุตรหลานย่อมต้องแบกภาระและความห่วงใยเพิ่มขึ้นต่อไปก็ย่อมจะถึงความแก่ความเจ็บไข้แล้วก็ตายจากกันไปรวมความว่า ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ และความตายก็เป็นทุกข์ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนมีมูลเหตุจาก “กามตัณหา”ตามที่กล่าวมาแล้วทั้งสิ้น
    ระหว่างที่ใช้ชีวิตร่วมกันเป็นสามี-ภรรยากันอยู่นั้นนานไปหรือบางรายก็ไม่นานเท่าไรนัก“กามฉันทะ” คือความรักใคร่ความกำหนัดยินดีพอใจในกันและกันก็ชักจะจืดจางลงเพราะความเคยชินบ้างเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจของครอบครัวบ้างความคิดเห็นขัดแย้งกันบ้างที่เคยทนุถนอมน้ำใจเอาอกเอาใจกันก็กลับขาดความยับยั้งชั่งใจปล่อยอารมณ์ หรือระเบิดอารมณ์ใส่กันถึงความทะเลาะเบาะแว้งกันบ้างและ/หรือ เพราะความบกพร่องหรือความเสื่อมสมรรถภาพแห่งสังขารร่างกายของฝ่ายใดๆอันเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดยินดีจากคู่ครองของตนเฉพาะกรณีผู้ถือความรักอันเป็นไปกับด้วยความใคร่คือ ผู้ถือความกำหนัดยินดีพอใจในกามคุณเป็นสำคัญจึงขาดความสันโดษในคู่ครองของตนและไม่มีความสำรวมในกามก็จะแสวงหาวัตถุกามอื่นมาสนองกามตัณหาของตนอีกต่อๆไปไม่มีที่สิ้นสุดเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์ระหว่างคู่ครองทั้งสองฝ่ายอันกระทบกระเทือนถึงสถานภาพของครอบครัวให้ถึงความแตกแยกยังผลให้สมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือบุตรหลานต้องขาดความอบอุ่นเป็นทุกข์เดือดร้อนจนเด็กๆบางรายก็หันไปคบหมู่สู่เพื่อนหลงตามเพื่อนที่ล้วนแต่ไร้เดียงสารู้เท่าไม่ถึงการณ์ในบาป-บุญคุณ-โทษ ในทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริงก็พากันหลงไปในทางเสื่อมเช่นหลงติดเที่ยวเตร่ตามแหล่งบันเทิงเริงรมย์หรือตามห้างสรรพสินค้าหลงฟุ้งเฟ้อติดอยู่ในแฟชั่นแปลกๆ บางรายก็เสพ และติดยาเสพติดและหมกมุ่นในกิเลสกามไม่เอาใจใส่ในการศึกษาเล่าเรียนก่อให้เกิดปัญหาต่างๆแก่พ่อ-แม่ ญาติ-พี่น้องและแก่สังคมดังที่เราได้ยินได้ฟังข่าวอยู่เสมอในปัจจุบันนี้
    ส่วนกรณีคู่สมรสที่ถือความรักอันเป็นไปกับด้วยความเมตตา-กรุณาธรรมต่อกันมีความเห็นอกเห็นใจกันรู้จักทนุถนอมน้ำใจกันเอาอกเอาใจกันไม่ถือกามคุณเป็นใหญ่เป็นผู้ไม่มักมากมีความสำรวมในกามมีความสันโดษในคู่ครองของตนก็จะไม่เกิดปัญหาร้ายแรงถึงความแตกแยก ในครอบครัว ดังกล่าวข้างต้นก็จะสามารถครองเรือนอยู่ร่วมกันด้วยความสันติสุขตามสมควรแก่ความเป็นผู้มีคุณธรรมคือ มีศีลธรรมประจำใจในทุกวันนี้ เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ที่การเผยแพร่สื่อลามกทั้งหลายถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วและถึงกันได้ตลอดทั่วทั้งโลกอนารยธรรมคือความไม่เจริญทางจิตใจความไร้ศีลธรรมเพราะความไม่รู้บาป-บุญ คุณ-โทษไม่รู้ทางเจริญทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริงได้ไหลบ่าท่วมทับจิตใจของประชาชนทุกหมู่เหล่าให้ตกอยู่ในกามฉันทะคือความกำหนัด ยินดี พอใจในวัตถุกามทุกรูปแบบชนผู้ขาดวิจารณญาณคือขาดสติปัญญาที่สามารถรู้เหตุปัจจัยแห่งความทุกข์และเหตุปัจจัยแห่งความเจริญและสันติสุขในชีวิตที่แท้จริงจึงพากันหลงมัวเมาติดอยู่กับบ่วงแห่งมารคือวัตถุกาม หรือกามคุณทั้ง ๕ ได้แก่ ในรูป เสียงกลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกายที่น่ากำหนัด ยินดี พอใจและปรารถนาที่จะได้ให้ยิ่งๆขึ้นไป ด้วยจิตใจที่สดชื่นชุ่มโชกอยู่ด้วย กามตัณหาคือความทะยานอยากในกามร่ำไปดังปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนกันมากในทุกวันนี้ว่าสังคมส่วนหนึ่งที่ขาดการสำรวมในกามถึงขั้นไร้ศีลธรรมไร้ยางอายเห็นการเสพกามเป็นปกติธรรมดาตั้งแต่ยังเป็นเด็กในวัยเรียนทำให้เสียการเรียนบางรายถึงการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควรและเสี่ยงต่อโรคติดต่อร้ายแรงอีกมากทำให้เยาวชนส่วนนี้เสียสุขภาพอนามัยและไม่มีคุณภาพเพราะด้อยความรู้ความสามารถและเป็นผู้ไร้สติปัญญาสามารถรู้ผิดชอบชั่วดีกลายเป็นปัญหาสังคมที่จะต้องดูแลแก้ไขอีกมากส่วนผู้ใหญ่บางส่วนที่มักมากในกามมีพฤติกรรมสำส่อนในกามกันมากขึ้นถึงขั้นแลกเปลี่ยนคู่นอนกันคือแลกผัวแลกเมียกันชั่วคราวเรียกว่า“swinging” เพื่อต้องการเปลี่ยนรสชาติเพื่อหนีความจำเจและเพื่อกระตุ้นความกำหนัดยินดีให้ยิ่งขึ้นมีข่าวว่าพฤติกรรมนี้มีอย่างกว้างขวางในทุกวันนี้ดังเช่น ปรากฏข่าวใน นสพ.ไทยโพสต์ประจำวันอาทิตย์ที่ ๔พฤศจิกายน ศกนี้ หน้า ๗ในหัวข้อข่าวว่า “ชุมชน ‘สวิงกิ้ง’ดอทคอม” มีเนื้อข่าวว่ามีชุมชนหรือสโมสรสวิงกิ้ง (swingingclub) ในอินเทอร์เน็ต หรือในเว็บไซต์ xxxเสนอตัวเป็นคู่นอนหรือเสนอเปลี่ยนคู่นอนกันเกร่อล้ำหน้าชาวตะวันตกเสียอีก
    พฤติกรรมที่สำส่อนในกามอย่างนี้แม้ชาวสวิงกิ้งเขาจะเห็นว่าเขาสมัครใจกันเองไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนก็จริงแต่ไม่นานเกินรอเขาจะต้องประสบกับความทุกข์ด้วยเหตุหลายประการเป็นต้นว่า เสียงต่อโรคติดต่อร้ายแรงเช่น โรคเอดส์,โรคตับอักเสบ หรือ ไวรัสบี,โรคซิฟิลิส, โรคโกโนเรีย,โรคเริม, วัณโรคและแม้โรคหวัด และโรคอื่นๆอีกมากและปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาที่สำคัญสำหรับผู้ถือเรื่องกามเป็นใหญ่ก็คือ ปัญหาความอกหักปัญหาการถูกทอดทิ้ง หรือปัญหาความแตกแยกในครอบครัวเพราะการเสพกามอันจำเจไม่ช้าก็จะเกิดความเคยชิน และ/หรือเกิดมีความบกพร่อง คือ เสื่อมสมรรถภาพแห่งสังขารร่างกายตามธรรมชาติด้วยกันทุกฝ่ายไม่ช้าก็เร็ว ไม่มีใครจะบังคับบัญชาให้ดำรงคงสมรรถภาพอยู่ได้ตลอดไปเมื่อสังขารร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถึงความบกพร่องหรือเสื่อมสมรรถภาพก่อนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งยังติดในรสแห่งกามอยู่ก็จะยังคงแสวงหากามคุณที่ตนชอบใจอีกต่อๆไปคู่ครองฝ่ายที่สังขารร่างกายเสื่อมสมรรถภาพก็ย่อมจะเริ่มทุกข์ระทมใจด้วยปัญหาความรักจืดจางและบุคคลที่ตนรักเหินห่างจากตนไปทุกทีแม้แต่ก่อนตนจะเคยยอมแลกเปลี่ยนคู่นอนเพื่อกามสุขที่แปลกและน่าตื่นเต้นมาแล้วเมื่อถึงตอนที่ตนเสื่อมสมรรถภาพก็จะกลับเป็นความทุกข์ระทมใจเพราะตนไม่อาจแสวงหากามสุขชดเชยกันได้เหมือนแต่ก่อนและอาจจะกลับกลายเป็นความรู้สึกหึงหวงและอาจถึงความแตกแยกในภายหลังได้แล้วก็จะได้แต่นั่งจับเข่าเจ่าจุกเป็นทุกข์อยู่เหมือนนกกะเรียนโทรมๆที่ขนปีก-หาง หลุดร่วงจนบินไปหาเหยื่อไม่ได้อีกแล้วต้องยืนซึมเศร้าเฝ้าหนองน้ำที่แห้งแล้งและไร้เหยื่อฉันใดฉันนั้น หรือไม่ถ้าสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบไม่พอก็จะหันไปหาทางชดเชยหรือประชดชีวิตด้วยการเสพสุรายาเสพติด หรือเที่ยวเตร่สำมะเลเทเมาเพื่อกลบเกลื่อนความทุกข์ระทมตรอมใจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพกายและสุขภาพจิตถึงความเจ็บไข้หรือถึงตายได้
    อนึ่งอาตมภาพใคร่ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าพ่อแม่ผู้มีพฤติกรรมสำส่อนในกามชอบเปลี่ยนคู่นอนกันอย่างนี้แล้วถ้าลูกรู้พฤติกรรมสำส่อนของพ่อ-แม่ลูกๆ จะคิดอย่างไร ?และจะสอนลูกให้ดำเนินชีวิตไปให้ดีได้อย่างไร?เพราะการมีลูกนั้นง่ายแต่การเลี้ยงลูกให้ได้ดีนั้นยากหนักหนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันนี้นอกจากนี้ความหมกมุ่นในกิเลสกามการสำส่อนในกาม หรือความไม่สำรวมในกามนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น “อบายมุข” คือ ปากทางแห่งความฉิบหายและการประพฤติผิดในกาม ได้แก่ไม่มีความสันโดษในคู่ครองของตนอันนับเป็นความประพฤติผิดศีลผิดธรรม ทั้งหลายเหล่านี้จัดเป็นบาปอกุศลอันให้ผลเป็นโทษเป็นความทุกข์เดือดร้อนเป็นความอัปมงคลแก่ชีวิต คือจะเป็นเหตุให้ชีวิตไม่เจริญหากินไม่ขึ้น อับเฉา และถึงความล้มเหลวได้หรืออาจถึงความวิบัติเสียหายเช่นเป็นเหตุให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเสียฐานะหน้าที่การงาน และเสื่อมเสียฐานะทางสังคมได้ดังที่ปรากฏเป็นข่าวให้ได้ยินได้ฟังอยู่บ่อยๆในทุกวันนี้
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสภาวธรรมทั้งหลายผู้ตรัสรู้พระอริยสัจ ๔แล้วเองโดยชอบจึงได้ตรัสโทษของกามไว้ในที่อเนกสถานว่า“นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ -ความทุกข์อื่นยิ่งกว่ากามไม่มี” และตรัส (ขุ. ธ. ๒๕/๒๕/๔๒)ว่า “นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ -ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี”เป็นต้น
    สำหรับกรณีเรื่องโทษของกามนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้รู้จักสำรวมระวังความประพฤติทางกายและวาจาด้วยการรักษาศีลอย่างน้อยศีล ๕ให้บริสุทธิ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พึงมีความสันโดษในคู่ครองของตนพึงสำรวมในกามไม่สำส่อนในกาม นี้ประการที่หนึ่ง พึงสำรวมจิตของตนที่มักตกลงไปในอารมณ์ที่ใคร่หรือมักใฝ่ต่ำอีกประการหนึ่ง ดังที่ได้ตรัส(ขุ. ธ. ๒๕/๑๓/๒๐) ว่า

    “เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา”
    ผู้ใดจักระวังจิตผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร.
    อธิบายความว่า “มาร”ณ ที่นี้คือ “กิเลสกาม” หรือตัณหาราคะ นั่นเองผู้ใดจะสำรวมระวังจิตใจไม่ปล่อยให้หลงระเริงเพลิดเพลินไม่หลงพัวพันติดอยู่ครุ่นคิดคะนึงถึงอยู่แต่ในรูปเสียง กลิ่น รสสิ่งสัมผัสทางกายที่น่ากำหนัดยินดีพอใจเหล่านั้นแล้วผู้นั้นย่อมจะพ้นจากบ่วงคือเครื่องผูกแห่งมารเหล่านั้น
    ข้อที่พึงปฏิบัติเพื่อสำรวมจิตตามพระพุทธดำรัสนี้ คือ
    . มีอินทรีย์สังวรกอปรด้วยสติ สัมปชัญญะอันประกอบด้วยปัญญาอันเห็นชอบพิจารณาเห็นโทษของกามตามที่เป็นจริงแล้วรู้จักระงับยับยั้งชั่งใจไม่ปล่อยให้ความกำหนัดยินดีหรือตัณหาราคะเข้าครอบงำในเมื่อได้ พบเห็นรูปได้ฟังเสียง ได้ดมกลิ่นได้ลิ้มรสและได้ถูกต้องสัมผัสในบุคคลหรือสิ่งอันน่าปรารถนา
    ๒. เจริญภาวนาสมาธิแล้วพิจารณาให้เห็นสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นตรงกันข้ามกับกามคุณหรือที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ
    กล่าวคือเมื่อเจริญภาวนาสมาธิทำใจให้สงบดีแล้วพึงพิจารณาส่วนต่างๆของร่างกาย ทีละอย่างๆให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงว่าเป็นแต่ปฏิกูลหรือที่ตั้งแห่งปฏิกูลโสโครกน่าเกลียดไม่ได้สวยสดงดงามอะไร เช่นพิจารณา “เกสา” คือผมบนหนังศีรษะของตน “โลมา”คือเส้นขนทั่วร่างกายของตนให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงว่าย่อมเป็นธรรมชาติที่แปดเปื้อนติดอยู่ของเหงื่อไคลไขมันที่ถูกขับออกมาจากร่างกายทางรูขุมขนและแปดเปื้อนด้วยฝุ่นละอองติดอยู่เป็นสภาพที่ไม่สะอาดต้องทำความสะอาดอยู่เสมอมิฉะนั้นก็จะสกปรกและมีกลิ่นเหม็น “นขา” คือเล็บก็เช่นกันเป็นสภาพธรรมชาติที่ไม่สะอาดต้องชำระล้างทำความสะอาดอยู่เสมอพิจารณา “ทันตา” คือฟันในช่องปากนี่ยิ่งล้วนแต่ไม่สะอาดเพราะแปดเปื้อน หมักหมมอยู่ด้วยน้ำลายเสมหะ เศษอาหาร หินปูนจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่ตามไรฟันทำให้เศษอาหารที่ติดค้างอยู่เน่าเหม็นต้องทำความสะอาดอยู่เสมอแม้ผิวหนังก็เป็นที่ขับถ่ายเหงื่อไคลไขมันและกลิ่นเหม็นออกจากร่างกายเป็นสภาพที่ไม่สะอาดโดยธรรมชาติและยิ่งถ้าพิจารณาเห็นสภาพภายในกระเพาะอาหารลำไส้ ช่องตา ช่องหูช่องจมูก และทวารหนักทวารเบา หมดทั้งสิ้นแล้วก็จะเห็นตามที่เป็นจริงว่าเป็นแต่ปฏิกูลและที่ตั้งที่แปดเปื้อนด้วยสิ่งปฏิกูลโสโครกน่าเกลียดทั้งสิ้นไม่มีส่วนไหนๆเป็นที่น่ารักน่าใคร่แต่ประการใดเลยของเราเป็นอย่างไรของผู้อื่นก็เป็นอย่างนั้น
    การเจริญภาวนาสมาธิแล้วพิจารณาส่วนต่างๆของร่างกายนี้ ชื่อว่า “กายคตาสติ”เมื่อเห็นด้วยปัญญาตามธรรมชาติที่เป็นจริงอย่างนี้เนืองๆ “กามฉันทะ”คือ ความกำหนัดยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รสสิ่งสัมผัส ทางกายที่น่ากำหนัดยินดีก็จะบรรเทาเบาบางลงตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้และจะสามารถช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีความสำรวมในศีลและอินทรีย์ดีขึ้นเป็นลำดับความสันติสุขก็จะเกิดมีขึ้นทั้งณ ภายใน คือในจิตใจ และทั้งณ ภายนอกคือความประพฤติปฏิบัติทางกายและวาจาที่เรียบร้อยดีไม่มีโทษอันมีผลให้เกิดความสงบสุขภายในครอบครัวและในสังคมได้มาก
    ๓. เจริญวิปัสสนาพิจารณาสังขารธรรม คือ ธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งที่มีชีวิตมีวิญญาณครองดังเช่นมนุษย์เรานี้ ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าต่างมีสภาพไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยได้แก่ ต้องแก่ เฒ่าและเจ็บไข้ได้ป่วยที่เคยมีพลังกล้าแข็งก็กลับเสื่อมสมรรถภาพไปตามธรรมชาตินี้ชื่อว่า “อนิจฺจํ” และทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้นานตลอดไปผู้ใดยึดถือว่าเป็นแก่นสารสาระเป็นตัวตน บุคคล เรา-เขาของเรา-ของเขาด้วยตัณหาราคะและทิฏฐิแล้วเป็นทุกข์ ยิ่งยึดมากก็ทุกข์มาก นี้ชื่อว่า “ทุกฺขํ”ลงท้ายต้องแตกสลายหมดสภาพเดิมของมันไปหรือต้องพลัดพรากจากกันไป ไม่มีอะไรเป็นของใครได้ตลอดไปแม้แต่ตัวเราเอง สุดท้ายก็หาตัวเราเองไม่เห็นคือ “ไม่มี” นี้ชื่อว่าเป็น “อนตฺตา”
    เมื่อเห็นสภาพความเป็นเองของสังขารด้วยปัญญาแจ้งชัดด้วยตนว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอย่างนี้ “กามฉันทะ”ก็จะสงบลง และถึงความเบื่อหน่ายในสังขารจิตใจก็จะปล่อยวางอุปาทานความยึดถือในกามคุณทั้ง ๕ด้วยตัณหา ราคะ และทิฏฐิ คือความหลงผิดเสียได้ เมื่อกิเลส ตัณหา อุปาทานอันเป็นเหตุแห่งทุกข์สงบระงับลงเพียงไร ความสันติสุขในชีวิตก็ย่อมเกิดมีและเจริญขึ้นได้มากเพียงนั้น สังคมน้อยใหญ่นับจากสังคมภายในครอบครัวตลอดไปถึงสังคมใหญ่ทั้งประเทศและทั้งโลกก็จะพลอยสงบ และมีความสันติสุขเพิ่มขึ้นไปตามส่วนด้วย
    บัณฑิตผู้มีปัญญา พึงเห็นธรรมชาติของสัตว์โลกทั้งหลายว่าถึงมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานจะต่างมีพฤติกรรมในการกินอยู่พักผ่อนหลับนอน และเสพกามคล้ายๆกัน แม้ก็จริง แต่ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐกว่าสัตว์เดรัจฉานก็เพราะเหตุความเป็นผู้มีคุณธรรมสูงกว่าสัตว์เดรัจฉานคือ ย่อมเป็นผู้มีศีลมีธรรม มีหิริ โอตตัปปะ คือรู้จักมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอกุศลและจึงรู้จักสำรวมระวังกาย วาจา และใจในการกินอยู่ หลับนอน และในการเสพกามดีกว่าสัตว์เดรัจฉานหาไม่แล้วมนุษย์ที่ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐจะมีอะไรแตกต่างจากสัตว์เดรัจฉาน
    สำหรับวันนี้อาตมภาพขอยุติการบรรยายธรรมแต่เพียงนี้ก่อนผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์และเพื่อความเจริญสันติสุขในชีวิตก็ขอเชิญเข้าศึกษาปฏิบัติธรรมได้ทุกวันอาทิตย์เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น.ที่ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรีแห่งที่ ๑ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามอ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี และขออาราธนาพระภิกษสามเณรและขอเชิญญาติโยมสาธุชนเข้ารับการอบรมสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (รุ่นที่๔๒) ได้ ณ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรีแห่งที่ ๑วัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามแห่งนี้เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯระหว่างวันที่ ๑-๑๔ธันวาคม ศกนี้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆเฉพาะญาติโยมชายหญิงแต่งชุดขาวถือศีล ๘จะอยู่ตลอดหรือไม่ตลอดระยะเวลาการอบรม๑๔ วัน ก็ได้
    ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ผู้ฟังทุกท่าน... เจริญพร
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ก่อนชีวิตนี้...

    ที่เสมือนกับน้ำค้างยามเช้า จะระเหยไปกับความร้อนบนโลกนี้



    ไม่รู้จุดหมาย ที่จะไปตามกระแสลม ดั่งกระแสกรรม


    .........รีบหา ที่พึ่งแห่งชีวิต คือ พระรัตนตรัย เถิด............






    [​IMG]
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    คุณค่าของพระรัตนตรัย ๑











    [​IMG]

    ปาฐกถาธรรมเรื่อง

    คุณค่าของพระรัตนตรัย (ตอนที่ ๑)


    โดย หลวงพ่อพระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖

    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

    วันอาทิตย์ ที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ​
    เจริญพร ญาติโยมสาธุชนผู้ฟังทุกท่าน
    วันนี้อาตมภาพจะได้กล่าวถึงคุณค่าของพระรัตนตรัย แต่ก่อนที่จะได้อธิบายขยายความต่อไปนั้น อาตมภาพใคร่ขออัญเชิญ พระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้ทรงกอบกู้ชาติไทย มาคู่กับ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีปรากฏจารึกในศาลพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม ก่อน ดังต่อไปนี้
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="65%"><TBODY><TR><TD width="20%"></TD><TD width="20%">“อันตัวพ่อ </TD><TD width="17%">ชื่อว่า </TD><TD width="33%">พระยาตาก</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ทนทุกข์ยาก</TD><TD>กู้ชาติ</TD><TD>พระศาสนา</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ถวายแผ่นดิน</TD><TD>ให้เป็น</TD><TD>พุทธบูชา</TD></TR><TR><TD></TD><TD>แด่พระศาสนา</TD><TD>สมณะ</TD><TD>พระพุทธโคดม</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ให้ยืนยง</TD><TD>คงถ้วน</TD><TD>ห้าพันปี</TD></TR><TR><TD></TD><TD>สมณะพราหมณ์ชี</TD><TD>ปฏิบัติ</TD><TD>ให้พอสม</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เจริญสมถะ</TD><TD>วิปัสสนา</TD><TD>พ่อชื่นชม</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ถวายบังคม</TD><TD>รอยบาท</TD><TD>พระศาสดา</TD></TR><TR><TD></TD><TD>คิดถึงพ่อ</TD><TD>พ่ออยู่</TD><TD>คู่กับเจ้า</TD></TR><TR><TD></TD><TD>ชาติของเรา</TD><TD>คงอยู่</TD><TD>คู่พระศาสนา</TD></TR><TR><TD></TD><TD>พุทธศาสนา</TD><TD>อยู่ยง</TD><TD>คู่องค์กษัตรา</TD></TR><TR><TD></TD><TD>พระศาสดา</TD><TD>ฝากไว้</TD><TD>ให้คู่กัน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    สาธุชนทั้งหลาย พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยของเรา มาช้านานตั้งแต่โบราณกาล จนตราบเท่าถึงทุกวันนี้ ด้วยว่า คนไทยกว่า ๙๕ % นับตั้งแต่พระมหากษัตราธิราชเจ้า ลงมาถึงไพร่ฟ้าประชาชน ต่างนับถือพระพุทธศาสนาทั้งนั้น และบัณฑิตผู้มีปัญญาจะเป็นชาวไทย หรือชาวต่างประเทศก็ตาม ผู้ได้ศึกษาปฏิบัติธรรม และเห็นแจ้งตามพระสัทธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว ก็จะไม่ละพระพุทธศาสนาไปอื่นเลย มีแต่จะยิ่งศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัยไม่มีคลอนแคลนไปได้ ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตรัสแก่ ฟอลคอน ราชทูตพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่รับสั่งมากับราชทูต ชักชวนให้พระองค์เข้ารีต ปรากฏในประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑๖, องค์การค้าคุรุสภา, พ.ศ.๒๕๐๗ หน้า ๒๓-๒๔ ว่า
    “พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จะให้เราเข้ารีตดังนั้นหรือ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะในราชวงศ์ของเราก็ได้นับถือพระพุทธศาสนามาช้านานแล้ว จะให้เราเปลี่ยนศาสนาอย่างนี้เป็นการยากอยู่ และถ้าพระเจ้าผู้สร้างฟ้าสร้างดินจะต้องการให้คนทั่วโลกได้นับถือศาสนาอันเดียวกันแล้ว พระเจ้ามิจัดการให้เป็นเช่นนั้นเสียแล้วหรือ ?”
    เพราะเหตุไรเล่า ผู้มีปัญญาทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่ได้ศึกษาและปฏิบัติพระสัทธรรมดีแล้ว จึงได้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ? พระพุทธศาสนามีความสำคัญอย่างไร ?
    วันนี้อาตมภาพจะขอชี้แจงทบทวน ข้อดีพิเศษ อันเป็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาและเสริมสร้างศรัทธาปสาทะในการศึกษาและปฏิบัติพระสัทธรรมให้ยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อประโยชน์สุขของตนและเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ดังต่อไปนี้
    พระสัทธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นสัจจธรรมที่ถูกต้องจริงแท้และเป็นหลักธรรมที่ประเสริฐ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ คือได้ทรงเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยพระองค์เองแล้วจึงตรัสสั่งสอนผู้อื่นเพราะเหตุนั้นพระสัจจธรรมอันประเสริฐสูงสุด ๔ ประการ ที่พระองค์ได้ตรัสรู้ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ ๒๕๘๕ ปีที่ผ่านมานี้ จึงชื่อว่าพระอริยสัจ ๔ อันมี ทุกขอริยสัจ ๑ คือ สัจจธรรมอย่างประเสริฐในเรื่องของทุกข์ สมุทัยอริยสัจ ๑ คือ สัจจธรรมอย่างประเสริฐในเหตุให้เกิดความทุกข์ นิโรธอริยสัจ ๑ คือ สัจจธรรมอย่างประเสริฐในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ โดยความบรรลุมรรคผลนิพพาน และมรรคอริยสัจ ๑ คือ สัจจธรรมอันประเสริฐในทางปฏิบัติให้ถึงมรรค ผล นิพพาน ได้ถึงความสิ้นทุกข์ และถึงความสันติสุข อันยั่งยืน เป็นบรมสุขอย่างถาวร
    พระพุทธศาสนามีความสำคัญยิ่ง ประการแรก ก็เพราะพระสัทธรรมเป็นสัจจธรรมที่ถูกต้องจริงแท้ คือเป็น พระสัจจธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ด้วยพระปัญญาอันยิ่งเอง คือทรงเห็นแจ้งและทรงรู้แจ้งด้วยพระองค์เอง แล้วได้ตรัสสั่งสอนผู้อื่นนั้น ล้วนแต่เป็นความจริงแท้ทั้งสิ้น เมื่อผู้ใดศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสั่งสอนไว้ดีแล้ว ย่อมเห็นผลด้วยตนเอง เป็น สนฺทิฏฺฐิโก คือ เป็นพระสัทธรรมที่พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง ว่าเป็นจริงแท้ ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้วนั่นแหละ พระพุทธศาสนาจึงมิใช่ลัทธิศาสนาที่สอนให้คนหลงเชื่ออย่างงมงาย แต่เป็นศาสนาที่สอนให้ผู้มีปัญญาได้ศึกษาให้เข้าใจและปฏิบัติให้เห็นผล เป็นข้อพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง คือ ให้ได้ข้อมูลพระสัจจธรรมนี้ จริงตามที่พระพุทธองค์ได้ปฏิบัติและได้ทรงเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ด้วยพระองค์เองแล้ว จึงได้นำมาแนะนำสั่งสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติ เพื่อให้เห็นแจ้งรู้แจ้งได้ด้วยตนเอง ตามรอยบาทพระพุทธองค์
    การศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านี้ จึงเป็นวิทยาศาสตร์แท้ (pure science) และเป็นวิทยาศาสตร์ทางธรรมชาติ (natural science) โดยแท้ การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าการวิจัย (research) ในยุคปัจจุบันนี้เป็นเช่นไร การศึกษาค้นคว้าในทางพระพุทธศาสนาก็เป็นเช่นนั้น และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานี้นี่แหละ ได้ทรงปฏิบัติมาก่อนแล้ว จนได้ตรัสรู้คือทรงเห็นแจ้ง รู้แจ้ง พระอริยสัจจธรรมอันเป็นกฎเกณฑ์ที่แท้จริงของธรรมชาติด้วยพระองค์เองเมื่อคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะเมื่อ ๒๕๘๕ ปีมาแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ก็เพิ่งจะได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของทางธรรมชาติตามหลักวิทยาศาสตร์ เมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้เท่านั้นเอง
    ที่ว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เคยศึกษาค้นคว้าพระอริยสัจจธรรม อันเป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่แท้จริง โดยวิธีการศึกษาวิจัยตามหลักวิทยาศาสตร์ นั้นคืออย่างไร ? ก็จะขออธิบายวิธีการศึกษาค้นคว้าตามทางวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันนี้ โดยย่อ พอเป็นพื้นฐานทำความเข้าใจเรื่องนี้ก่อนว่า
    การวิจัย คือการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์แท้นั้น เป็นวิธีการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ (systematic study) ให้ได้ข้อมูลอันเป็นความจริงทางธรรมชาติที่ต้องการทราบ โดยกระบวนการ (processes) จัดเก็บหรือรวบรวมข้อมูล ที่ถูกต้องตามความเป็นจริง (fact findings) ๑ ที่เชื่อถือได้ (reliable data) ๑ และที่สมบูรณ์ (perfect data) ๑ แล้วนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ (analysis of data) คือแยกแยะหาเหตุผล ให้ถูกต้องตรงประเด็น (valid) เพื่อให้ได้ผลสรุปเรื่องที่ทำการศึกษาค้นคว้านั้น วางเป็นหลัก (generalization) หรือตั้งเป็นทฤษฎี (theory formation) ขึ้น แล้วก็ใช้ทฤษฎีนี้แหละพิสูจน์ความจริงต่อๆ ไปได้อีก ดังตัวอย่างเช่น
    เมื่อเราค้นคว้าและได้ข้อมูลตามที่เป็นจริง ที่เชื่อถือได้ และที่สมบูรณ์พอ จากบุคคลกลุ่มตัวอย่างที่ตายลงเป็นประจำ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงสรุปและวางเป็นหลักทั่วไป หรือตั้งเป็นทฤษฎีขึ้นว่า “ทุกคนต้องตาย” ดังนี้ วิธีการศึกษาค้นคว้า เพื่อพิสูจน์ความจริง โดยการพิจารณาข้อมูลจากส่วนย่อยมาตั้งเป็นหลักทั่วไป หรือตั้งเป็นทฤษฎีสำหรับประชากรส่วนรวมทั้งหมด อย่างนี้ ชื่อว่า inductive method เมื่อวางเป็นหลักทั่วไปหรือตั้งเป็นทฤษฎีขึ้นดังนี้แล้ว ก็พิสูจน์ความจริงโดยการพิจารณาจากหลักทั่วไป หรือทฤษฎีนี้ ไปหากลุ่มบุคคลหรือรายบุคคล อันเป็นส่วนย่อยได้อีกต่อไป เช่น พิสูจน์ความจริงได้อีกต่อไปว่า แม้บุคคลที่ยังไม่ตายในปัจจุบัน ต่อไปในกาลข้างหน้าก็จะต้องตายไปด้วยกันทั้งนั้น ไม่ช้าก็เร็ว วิธีการศึกษาค้นคว้าเพื่อพิสูจน์ความจริง โดยการพิจารณาจากหลักทั่วไป หรือทฤษฎีที่ได้ตั้งไว้แล้วนี้ ไปหาส่วนย่อย เช่นนี้ ชื่อว่า deductive method
    นี้คือวิธีการศึกษาค้นคว้าหาความจริงของธรรมชาติ อย่างมีระบบ ที่ชื่อว่า การศึกษาวิจัย (research study) โดยทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ก็ได้ทรงบำเพ็ญสมณธรรม คือ ปฏิบัติธรรมเพื่อพิสูจน์ความจริงของธรรมชาติ คือ เหตุผลของการเวียนว่ายตายเกิด แล้วก็แก่ เจ็บ ตาย ต่อๆ ไป อันเป็นทุกข์ และเหตุผลของความไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย คือ อมตธรรมอันเป็นสุข โดยวิธีการอย่างที่เรียกว่า “วิธีการทางวิทยาศาสตร์” อย่างนี้ มาตั้งแต่ยังทรงเป็นพระมหาโพธิสัตว์ จนถึงได้ตรัสรู้ คือได้ทรงเห็นแจ้ง และรู้แจ้งพระอริยสัจ ๔ อันเป็นกฎเกณฑ์ที่แท้จริงของธรรมชาติด้วยพระองค์เอง และได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ทรงรู้แจ้งโลกหมด ทั้งมารโลก มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ตลอดหมดทั่วทั้งจักรวาล เป็นอันมาก ถึงพระนิพพานอันพ้นโลก ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อ ๒๕๘๕ ปีที่แล้วมานี้
    พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญสมณธรรมคือปฏิบัติธรรมโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างไร ?
    อาตมภาพจะขอยกตัวอย่างอาการตรัสรู้ของพระมหาโพธิสัตว์เจ้า (มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๓ ข้อ ๕๐๖-๕๐๘ หน้า ๔๖๐-๔๖๑) แต่พอสังเขป เฉพาะในคืนวันที่ตรัสรู้นั้นแหละ ว่า ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั้น เมื่อพระมหาโพธิสัตว์เจ้าของเรา ได้รับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา นำมาถวายและได้เสวยจนหมด ทำให้พระวรกายมีกำลังแล้ว ครั้นตกเวลาเย็น ได้ประทับนั่งคู้บัลลังก์ คือประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงผินพระพักตร์ไปทางด้านบูรพาทิศ
    ในยามต้นแห่งราตรี ได้ทรงเจริญฌานสมาบัติ ถึงจตุตถฌาน คือรูปฌานที่ ๔ ให้พระทัยผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา ควรแก่งานแล้ว จึงน้อมไปเพื่อ “ปุพเพนิวาสานุสติญาณ” คือญาณระลึกชาติได้ นับกัปป์นับกัลป์ไม่ถ้วน ได้ทรงเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ความเป็นไปในอดีตของพระองค์เอง และได้ทรงเห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลกทั้งหลาย ไปสู่สุคติภพ คือ ภพภูมิที่ดี ที่มีความสุขความเจริญ ได้แก่ ไปเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นเทพยดาบ้าง เป็นรูปพรหมบ้าง อรูปพรหมบ้าง และไปสู่ทุคติภพ คือ ภพภูมิที่ไม่ดี ที่ลำบาก ที่มีความทุกข์ เดือดร้อน เช่น ไปเกิดเป็นเปรตบ้าง เป็นสัตว์นรก เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง ทรงเห็นสัตว์โลกทั้งหลายต่างเวียนว่ายตายเกิด แล้วก็แก่ เจ็บ และตาย วนเวียนอยู่อย่างนี้นับภพนับชาตินับกัปป์นับกัลป์ไม่ถ้วน เป็นทุกข์ นี้เป็นวิชชาที่ ๑ อันเป็นความสามารถพิเศษ ที่ให้เห็นแจ้ง รู้แจ้ง ความเป็นไปในอดีตทั้งของพระองค์เองและทั้งของสัตว์โลกอื่น นับไม่ถ้วน ที่พระองค์ได้ทรงบรรลุแล้ว ในยามต้นแห่งราตรี นับเป็นการเห็นสัจจธรรมข้อที่ ๑ คือ ทุกขอริยสัจ แล้วจึงทรงสลดพระทัยและได้ทรงดำริว่า“อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์โลกทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในสังสารจักรไม่มีที่สิ้นสุดอยู่อย่างนี้
    ครั้นถึงยามกลางแห่งราตรี จึงได้ทรงเจริญฌานสมาบัติถึงจตุตถฌาน เพื่อให้พระทัยผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์อ่อนโยนควรแก่งานอีกครั้งหนึ่งแล้วทรงน้อมพระทัยไปเพื่อ “จุตูปปาตญาณอันเป็นวิชชาที่ ๒ด้วยทิพยจักษุ และทิพยโสตอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ จึงได้ทรงเห็นแจ้งรู้แจ้งว่า “สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม” คือ สัตว์โลกจะไปสู่สุคติหรือทุคติ ที่จะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ก็เพราะกรรมดีหรือกรรมชั่วที่ตนเองได้กระทำไว้ให้ผล กล่าวคือ เมื่อสัตว์โลกใดทำกรรมดีอย่างนี้ๆ ย่อมได้รับผลเป็นวิบากจากกรรมดี เป็นความสุขความเจริญอย่างนี้ๆ และกรรมดีนั้นยังเป็นชนกกรรมนำให้ไปเกิดในสุคติภพตามส่วนแห่งกรรมดีหรือบุญกุศลที่ตนได้ประพฤติปฏิบัติมาเมื่อก่อนตาย ส่วนสัตว์โลกใด เมื่อทำกรรมชั่วอย่างนั้นๆ ย่อมได้รับผลเป็นวิบากจากกรรมชั่วนั้นๆ เป็นความทุกข์เดือดร้อนอย่างนั้นๆ แล้วกรรมชั่วนั้นยังเป็นชนกกรรมนำให้เป็นเกิดในทุคติภพตามส่วนแห่งกรรมชั่วหรือบาปอกุศลที่ตนได้ประพฤติปฏิบัติเมื่อก่อนตายนั้นเอง เมื่อสัตว์โลกกระทำกรรมดีบ้าง ทำกรรมชั่วบ้าง ในแต่ละช่วงชีวิต กรรมดีและกรรมชั่วนั้นก็จะถูกสะสมไว้ในจิตสันดานคอยติดตามให้ผลตามหน้าที่และกาลเวลาที่เหมาะสมต่อๆไป หมุนเวียนให้ผลต่อๆ กันไป ไม่รู้จักจบสิ้น และต้องเวียนว่ายตายเกิดในสุคติภพบ้าง แต่ไม่ยั่งยืน และในทุคติภพบ้าง ไปตามกรรมที่คอยติดตามให้ผล แล้วก็แก่ เจ็บ และตาย ต่อๆ ไป อยู่อย่างนี้ นับภพนับชาติไม่ถ้วนจึงเป็นทุกข์ และไม่มีใครหรือผู้ทรงอำนาจเบื้องบนใดทั่วทั้งจักรวาลนี้ที่จะช่วยให้ใครรอดพ้นจากความทุกข์เช่นนี้ และให้ถึงซึ่งความสุขอันถาวรที่แท้จริง ตามที่สัตว์โลกทั้งหลายปรารถนาได้เลย พระมหาบุรุษจึงได้ทรงสรุปข้อมูลอันเป็นสัจจธรรมที่พระองค์ได้ทรงเห็นแจ้งรู้แจ้งกฎเกณฑ์ของธรรมชาติตามที่เป็นจริงแล้วนี้ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง ว่า กมฺมุนา วตฺตตี โลโก “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” แล้วจึงได้ตรัสไว้ มีปรากฏในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ หน้า ๓๓๓ ว่า
    <TABLE width="48%" align=center><TBODY><TR><TD width="12%"></TD><TD width="42%">ยาทิสํ วปเต พีชํ</TD><TD width="46%">ตาทิสํ ลภเต ผลํ</TD></TR><TR><TD></TD><TD>กลฺยาณการี กลฺยาณํ</TD><TD>ปาปการี จ ปาปกํ.</TD></TR><TR><TD colSpan=3>บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว.</TD></TR></TBODY></TABLE>และได้ตรัสสอนว่า
    อตฺตา หิ อตฺตาโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา.

    ตนนั่นแหละ เป็นที่พึ่งของตน คนอื่นใคร่เล่า จะเป็นที่พึ่งได้.
    ซึ่งเป็นพระสัทธรรมคำสั่งสอนที่ตรงตามความเป็นจริง และตรงเป้าที่สุด เพราะบุคคลจะดีหรือชั่ว จะสุขหรือทุกข์ ก็เพราะกรรมดีกรรมชั่วที่ตนได้กระทำไว้แล้วนั่นแหละ การที่บุคคลหรือสัตว์เมื่อตายลงแล้ว จะไปเกิดในภพภูมิที่ดี จะได้เสวยความสุข ความเจริญ หรือจะไปเกิดในภพภูมิที่ไม่ดี จะได้รับความทุกข์ เดือดร้อน ก็เพราะกรรมดีหรือกรรมชั่วที่ตนทำไว้ ให้ผลเป็นชนกกรรมนำให้ไปเกิด และให้ได้รับผลเป็นวิบากจากกรรมดีหรือกรรมชั่วเอง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเห็นความเป็นไปของสัตว์โลกหมดทั่วทั้งจักรวาล นับตั้งแต่พรหมโลก เทวโลก มนุษยโลก มารโลก จนถึงโลกของเปรต สัตว์นรก อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ทั้งหมดแล้ว จึงได้ตรัส (ขุ.สุ. ๒๕/๔๕๗) ว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม และได้ทรงสั่งสอนให้พึ่งตนเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น
    เมื่อได้ทรงเห็นความเป็นไปของสัตว์โลกตามที่เป็นจริง ว่า สัตว์โลกเป็นไปตามกรรมเช่นนั้น จึงได้ทรงดำริต่อไปว่า “อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์โลกทั้งหลายหลงกระทำความผิด กระทำความชั่วหรือบาปอกุศล ให้ต้องได้รับความทุกข์เดือดร้อน ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต แม้ได้กระทำคุณความดีและได้รับผลจากกรรมดีบ้าง แต่ก็ไม่ยั่งยืน ยังคงต้องรับผลจากทั้งกรรมดีและทั้งกรรมชั่ว เป็นความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามกรรม และต้องเกิด แก่ เจ็บ และตาย เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารจักรต่อๆ ไป ไม่มีที่สิ้นสุดอยู่อย่างนี้ ?
    ครั้นถึงยามปลายแห่งราตรีพระมหาโพธิสัตว์เจ้าก็ทรงได้เจริญฌานสมาบัติถึงจตุตถฌาน ให้พระทัยผ่องใส ควรแก่งานอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม คือ พิจารณาเห็นแจ้ง รู้แจ้ง เหตุในเหตุ ถึงต้นๆ เหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ รวม ๑๒ ข้อด้วยกัน แต่ ณ ที่นี้ จะขอยกตัวอย่างมาแสดงแต่เพียงสังเขป พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาขั้นพื้นฐาน ไว้ก่อนว่า
    เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน และกรรม อันเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ชาติ ชรา มรณะและทุกข์ ดังนี้ นี้เป็นพระอริยสัจจธรรมที่ ๒ คือ “สมุทัยอริยสัจ” และพร้อมกันนี้ก็ได้ทรงเห็นแจ้งรู้แจ้ง ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ คือมรรค ผล นิพพาน อันเป็นพระอริยสัจจธรรมที่ ๓ คือ “นิโรธอริยสัจ” และทั้งได้ทรงเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ในข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ให้ถึงความพ้นทุกข์และเป็นบรมสุขอย่างถาวรได้แท้จริงคืออริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นพระอริยสัจจธรรมที่ ๔ คือ “มรรคอริยสัจ” ได้บรรลุ วิชชาที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้วิธีทำอาสวะกิเลสเครื่องหมักดองอยู่ในจิตสันดานให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษเป็นพระอรหันตขีณาสพ คือพระผู้มีอาสวกิเลสหมดสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลสและบาปธรรมทั้งปวง และได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงรู้แจ้งโลกหมดทั่วทั้งจักรวาล ในยามรุ่งอรุณแห่งวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ ๒๕๘๕ ปีมาแล้วนั้น นั่นเอง
    เมื่อพิจารณาการบำเพ็ญสมณธรรมของพระมหาโพธิสัตว์เจ้าของเรา ตั้งแต่ยามต้นถึงยามปลายแห่งราตรี จนถึงได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน และบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงรู้แจ้งโลก เมื่อคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั้นแล้ว ก็จะเห็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าข้อมูลให้เห็นแจ้งรู้แจ้งพระอริยสัจจธรรมอย่างมีระบบ ที่จะให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามธรรมชาติที่เป็นจริงที่เชื่อถือได้และที่สมบูรณ์ที่สุด แล้ววิเคราะห์ข้อมูลนั้นอย่างตรงประเด็น จนได้ผลสรุปเป็นทฤษฎีอันเป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่แท้จริง ในลักษณะของ inductive method ว่า สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม ใครทำกรรมชั่วเอง ย่อมได้รับผลชั่วเอง ใครทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดีเอง ไม่มีใครหรือผู้ทรงอำนาจเบื้องบนใด ที่จะช่วยใครผู้กระทำกรรมชั่วแล้ว ให้พ้นทุกข์ และให้ไปสู่สุคติเสวยสุขอันถาวรแท้จริงได้เลย
    และได้สรุปข้อมูลอันเป็นกฎเกณฑ์ตามธรรมชาติที่เป็นจริงแท้ อย่างประเสริฐ โดยวิธี inductive method นี้รวมเป็นพระอริยสัจจธรรม ๔ ประการ ที่ได้ตรัสรู้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง จากการที่ได้ทรงบำเพ็ญสมณธรรมจนทรงเห็นแจ้ง รู้แจ้งเอง คือ ทุกขอริยสัจ ๑ สมุทัยอริยสัจ ๑ นิโรธอริยสัจ ๑ และมรรคอริยสัจ ๑ ได้อย่างแท้จริง ใครผู้ใดประพฤติปฏิบัติตรงตามพระสัทธรรมคือพระอริยมรรคมีองค์๘นี้แล้วย่อมสามารถพิสูจน์โดยวิธี deductive mothod ให้เห็นผลประจักษ์ชัดจริงได้ด้วยตนเอง และได้รับผลเป็นความเจริญและสันติสุข ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้จริงเอง เป็นสนฺทิฏฺฐิโก คือ เป็นข้อปฏิบัติที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติตามด้วยดีแล้วพึงเห็นผลดีได้ด้วยตนเองจริงๆ กล่าวคือเป็นคำสอนที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นผลดีได้ด้วยตนเอง มิใช่เป็นคำสอนให้หลงเชื่องมงาย โดยที่ทั้งผู้สอนและผู้ฟังต่างก็ไม่ได้เห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตนจริงๆ แม้แต่เรื่องนรก สวรรค์ ก็เป็นความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้โดยทางปฏิบัติ แต่ที่มีผู้กล่าวหรือเข้าใจเรื่องนรกสวรรค์ว่า เป็นเรื่องไม่มีจริง เป็นเรื่องที่พิสูจน์ให้เห็นผลจริงไม่ได้นั้นก็เพราะเขามิได้พิสูจน์โดยทางปฏิบัติพระสัทธรรมได้แก่อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา คือการศึกษาอบรมศีลอันยิ่ง อบรมจิตให้ถึงสมาธิอันยิ่งและปัญญาอันยิ่งเอง ก็จึงไม่สามารถจะรู้แจ้งเห็นจริงได้ด้วยตนเอง จึงได้แต่คิดและพูดจากการอนุมานด้วยสติปัญญาเพียงเท่านั้นของตน จะถือเอาเป็นครูเป็นแบบอย่างเหมือนอย่างพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบผู้ปฏิบัติตรงตามพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า จนเห็นแจ้งรู้จริงเป็นปัจจักขสิทธิญาณเอง ที่จริงแท้ ยังไม่ได้
    พระพุทธศาสนามีความสำคัญยิ่ง อีกประการหนึ่ง ก็คือว่า พระอริยสัจจธรรม เป็นหลักธรรมที่ประเสริฐ กล่าวคือเป็นข้อปฏิบัติที่สามารถปฏิบัติได้ตามศักยภาพแห่งบุญบารมีที่ตนได้เคยสั่งสมอบรมมา ใครผู้ใดปฏิบัติตรงตามพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยดีแล้ว ย่อมได้รับผลดีตามระดับภูมิธรรม ภูมิปัญญาและบารมีของแต่ละท่าน โดยไม่จำกัดกาลเวลา เป็นอกาลิโก พระสัทธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านี้ จึงเป็นโอปนยิโก คือเป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัวด้วย กล่าวคือ เป็นธรรมปฏิบัติที่ควรศึกษาและปฏิบัติให้ได้ผลดีด้วยตนเอง และเป็น เอหิปสฺสิโก คือควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด กล่าวคือ เป็นธรรมที่พึงแนะนำให้ผู้อื่นมาศึกษาและปฏิบัติให้ได้ผลพิสูจน์ที่ดีจริง และที่จะได้รับผลเป็นความเจริญและสันติสุขให้ถึงความสิ้นทุกข์อย่างถาวรแท้จริงได้เอง
    พระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นสัจจธรรมจริงแท้และประเสริฐ อย่างนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งแก่สัตว์โลก ผู้ประสงค์จะพ้นทุกข์ ได้ถึงความเจริญและสันติสุขอย่างถาวร แท้จริง ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เพราะไม่มีใครผู้ใดที่จะช่วยให้ถึงความพ้นทุกข์และถึงความสันติสุข อันถาวรที่แท้จริงได้ นอกจากตนจะเป็นที่พึ่งของตน โดยอาศัยตนโลกียะที่ยังมีชีวิตอยู่นี่ ศึกษาและปฏิบัติธรรมให้ถึงตนโลกุตตระ จึงจะได้ที่พึ่งประเสริฐ เป็น “ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา คือ มีธรรมเป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง” เป็น “อตฺตทีปา อตฺตสรณา คือ มีตนโลกุตตระเป็นเกาะ เป็นที่พึ่ง” ได้จริง
    เพราะเหตุนี้แหละที่ผู้มีปัญญาจึงมีศรัทธาปสาทะมั่นคงในพระรัตนตรัยมั่นคงในพระพุทธศาสนา และได้ช่วยกันพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาด้วยชีวิต มาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันนี้ พระพุทธศาสนาจึงเป็นพระศาสนาประจำชาติไทย โดยแท้ ด้วยประการฉะนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทาน พระบรมราโชวาท ปรากฏใน เทศนาเสือป่า, องค์การค้าคุรุสภา, พ.ศ.๒๕๒๖ มีพระราชดำรัสบางตอน ที่หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ ที่ ๑ มิถุนายน ศกนี้ ได้อัญเชิญมาลงไว้ในหน้า ๒๑ ว่า
    “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา เราจำเป็นต้องถือด้วยความกตัญญูต่อบิดามารดา และต้นโคตรวงศ์ของเรา...
    เมื่อรู้สึกแน่นอนแล้วว่า ศาสนาในสมัยนี้เป็นของที่แยกจากชาติไม่ได้... ถ้าข้าพเจ้าจะขอแก่ท่านทั้งหลายว่า พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาช่วยกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด... ผู้ที่แปลงศาสนา คนเขาดูถูกยิ่งเสียกว่าผู้ที่แปลงชาติ... เพราะเหตุฉะนั้น เป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลายผู้เป็นไทยจะต้องมั่นอยู่ในศาสนาพระพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา...
    เหตุฉะนี้ เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องตั้งใจที่จะรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย อย่าให้มีอันตรายมาถึงได้... ผู้ที่คนอื่นเขาส่งเข้ามาปลอมแปลงเพื่อทำลายพระพุทธศาสนา เราทั้งหลายต้องคอยระวังรู้เท่าไว้จึงจะควร... ต้องรักษาพระศาสนาอันนี้ให้คงอยู่ในเมืองไทยอีกต่อไป ต้องรักษาไว้เพื่อเป็นมรดกแก่ลูกหลานของเราทั้งหลาย ให้เขารักษากันต่อไปยั่งยืน เป็นเกียรติยศแก่ชาติของเราชั่วกัลปาวสาน
    เราเคราะห์ดีที่สุด ที่นานมาแล้วเราได้ตกไปอยู่ในพระพุทธศาสนา จึงได้เป็นมนุษย์ขั้นสูงที่สุดที่มนุษย์จะเป็นได้ในทางธรรม
    เหตุฉะนี้ ขอท่านทั้งหลายที่นั่งฟังอยู่ ผู้ที่ตะเกียกตะกายอยากเป็นฝรั่ง อย่าทำเหมือนฝรั่งในทางธรรมเลย ถ้าจะเอาอย่างฝรั่ง จงเอาอย่างในทางที่ฝรั่งเขาทำดี คือในทางวิชาการบางอย่างซึ่งเขาทำดี เราควรเอาอย่าง แต่การรักษาศีลรักษาธรรม เรามีตัวอย่างดีกว่าฝรั่งเป็นอันมาก ถือพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างของเราแล้ว เรามีตัวอย่างหาที่เปรียบเสมอเหมือนมิได้
    ข้าพเจ้ารู้สึกว่าได้ทำหน้าที่สมควรแก่ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เราตั้งใจจะรักษาศาสนาของเราด้วยชีวิต ข้าพเจ้าและท่านตั้งใจอยู่ในข้อนี้ และ ถ้าท่านตั้งใจจะช่วยข้าพเจ้าในกิจอันใหญ่นี้แล้ว ก็จะเป็นที่พอใจข้าพเจ้าเป็นอันมาก
    เมืองเราก็จะเป็นเมืองเดียวแล้วในโลก ที่ได้มีบุคคลนับถือพระพุทธศาสนามากและเป็นเหล่าเดียวกัน เพราะฉะนั้น เป็นหน้าที่ของเราทั้งหลายที่จะช่วยกันบำรุงรักษาพระพุทธศาสนา อย่าให้เสื่อมสูญไป... เราจะต้องรักษาความเป็นไทยของเราให้ยั่งยืน เราจะต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้ถาวรวัฒนาการ อย่างที่เป็นมาแล้วหลายชั่วโคตรของเราทั้งหลาย
    ดังนี้ เราจึงหวังว่าสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จักได้ระบุพระพุทธศาสนา ตามที่เป็นจริง และตามพระราชปณิธานของพระมหากษัตราธิราชเจ้าของไทย พร้อมด้วยบรรพบุรุษของไทยที่ได้รักษาไว้แม้ด้วยชีวิตมาแล้ว ว่า “เป็นศาสนาประจำชาติไทย” ด้วย ก็จะยังประโยชน์และความสันติสุขแก่สาธุชน ทุกชาติ ทุกศาสนา ในประเทศไทย ผู้ปรารถนาความเจริญและสันติสุขอันถาวร มั่นคง ที่แท้จริงได้ เพราะพระพุทธศาสนาไม่เคยมีคำสอนหรือนโยบาย ที่จะรุกรานหรือเบียดเบียนใคร มีแต่ยังความร่มเย็นเป็นสุข ด้วยความสงบแก่ทุกชาติ ทุกศาสนา ถ้าชาวโลกเพียงแต่พากันรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ด้วยกันเท่านั้น โลกก็สันติสุขแล้ว แต่ที่โลกขาดสันติสุขอยู่ในทุกวันนี้ ก็เพราะชาวโลกต่างประพฤติผิดศีล ผิดธรรม มีแต่ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่พวกพ้องหมู่เหล่าจัด ด้วยอำนาจกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน อย่างหนาแน่น จึงหลงงมงายไม่รู้บาป บุญ คุณ โทษตามที่เป็นจริง และจึงเบียดเบียนรบราฆ่าฟันกัน บางพวกได้เคยทำสงครามกันยืดเยื้อมากว่าร้อยปี ก็ยังมี แม้พระพุทธศาสนาในประเทศที่เคยมีชื่อว่าชมพูทวีปนั้นเองแหละ ก็ยังไม่วายถูกรุกรานทำลายล้าง เพราะหมู่คนกิเลสหนาปัญญาทราม และเพราะผู้ไม่รู้คุณของพระพุทธศาสนา มาแล้ว หากท่านได้ดูประวัติศาสตร์โลก ก็จะรู้ได้ จะได้ตาสว่างกันเสียที และจะได้ช่วยกันป้องกัน มิให้เหตุการณ์เช่นที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ มาเกิดซ้ำขึ้นอีกในประเทศไทยของเรา ให้เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ได้แผ่ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ทุกคนในชาติตลอดไป
    วันนี้อาตมภาพขอยุติปาฐกถาธรรม แต่เพียงเท่านี้ก่อน ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่ท่านผู้ฟังทุกท่าน เจริญพร.
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...