ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ .........ตถาคตคือธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 31 สิงหาคม 2010.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    เหตุใดผู้กระทำความชั่วในปัจจุบัน เช่น ฆ่าสัตว์ คดโกงประเทศชาติ จึงเป็นผู้ที่ร่ำรวย มีคนเคารพนับถือมากมาย แสดงว่า การกระทำชั่วไม่ได้ให้ผลตอบแทนในการทำความชั่ว ใช่หรือไม่ ?

    มีคำบาลีบอกอยู่ว่า ในกรณีมีเหตุการณ์เช่นนี้ เพราะเขามีสมบัติ ๔ ประการ
    1. กาลสมบัติ คืออยู่ระหว่างบุญที่ได้เคยทำไว้กำลังให้ผล
    2. คติสมบัติ คือ เขามาเกิดในตระกูลที่มียศถาบรรดาศักดิ์ มีทรัพย์สินบริวาร โภคทรัพย์ บริวาร มีทรัพย์สมบัติมาก มีบริวารสมบัติมาก
    3. ปโยคสมบัติ ทำดี มีคนเห็นมีคนยกย่องสรรเสริญ ทำไม่ดี คนไม่เห็น พิสูจน์ไม่ได้ หรือเห็นไม่กล้าพูด นี่เรียกว่า ปโยคสมบัติ
    4. อุปธิสมบัติ เกิดมาแล้ว มีสมบัติอีกประการหนึ่ง เป็นคนมีบุคลิกดี น่าเกรงขาม พูดจาเข้าท่า คนเลยเชื่อถือไปในลักษณะแห่งความดี
    สมบัติ ๔ ประการนี้กำลังให้ผลแก่เขาอยู่ ก็เลยยังไม่ตกต่ำ แต่กรรมชั่วที่เขากำลังทำอยู่นั้น ก็จะให้ผลแก่เขาต่อไปในกาลข้างหน้า
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2010
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    [MUSIC]http://www.dhammakaya.org/wma/wlps00010101.wma[/MUSIC]
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ในสมัยพุทธกาล ผู้ไม่มีความรู้นักธรรม เปรียญธรรม ได้ปฏิบัติธรรมอย่างไร ?

    ในสมัยพุทธกาล ไม่ใช่ว่าไม่ศึกษา ปริยัตินี่ศึกษาประมาณ ๕ ปี โดยเท่าที่ฟังดู เฉลี่ยโดยมาก เข้ามาบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าแล้ว จะอยู่ในสำนักพระพุทธเจ้าโดยตรง หรือในสมัยหลังๆ จะอยู่ในสำนักพระมหาเถระอื่นๆ
    ก็แล้วแต่ สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ แรกๆ ก็ให้บวชเอหิภิกขุอุปสัมปทา ถัดมาก็ติสรณคมนูปสัมปทา ถัดมาก็บวชอย่างองค์สงฆ์ อนุญาตให้สงฆ์เป็นผู้บวชมีพระอุปัชฌาย์
    เมื่ออยู่ในสำนักพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์อยู่ประมาณ ๕ พรรษา ศึกษาภาคปริยัติ และเมื่อได้ระยะเวลาพอสมควร พากันออกไปอยู่ป่าลึกๆ จึงขอกัมมัฏฐานจากพระอุปัชฌาย์อาจารย์ หรือจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เพราะฉะนั้นในสมัยพุทธกาล จึงเรียนทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติ อย่าสงสัยเลย แต่ไม่มีการให้ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร พัดยศ เรียกเปรียญ ๑ ๒ ๓ ประโยค ไม่มี เรียนเพื่อรู้ เหมือนหลวงพ่อวัดปากน้ำ เรียนจน เทศน์ออกมาบาลีคำหนึ่ง ไทยคำหนึ่ง และผลของการปฏิบัติออกมาได้อย่างไรอีกคำหนึ่ง ให้ไปอ่านดู จะมี ๓ อย่างนี้ไล่กันหมด
    หลวงพ่อวัดปากน้ำเรียนเพื่อรู้ ท่านเทศน์ออกมาพร้อมทั้งพระบาลี แปลเป็นภาษาไทย และแสดงผลของการปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร
    เพราะฉะนั้น ในสมัยพุทธกาล อย่านึกว่าไม่เรียนปริยัติ เข้าป่าหมด ไม่จริง แต่มีบางท่านอาจจะเรียนน้อย เอาแต่กัมมัฏฐานหลักๆ แล้วไป อย่างเช่น พระจักขุบาล เป็นเศรษฐีมีเงิน ทิ้งทรัพย์สมบัติให้น้องชายตัวเองไปบวช เพราะรู้สึกว่าตัวเองแก่แล้ว น้องชายร้องห่มร้องไห้ ไม่อยากให้ไปบวช พี่ชายไม่เชื่อ เพราะแก่แล้ว กลัวตายเปล่า นี้สรุปง่ายๆ
    เมื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ตัวเองก็ไปด้วย ไปนั่งอยู่ไกล พระพุทธเจ้าเลยสอนเรื่องศีล เรื่องอานิสงส์ของศีล สอนเรื่องทานกุศล อานิสงส์ของทาน ให้ได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ ว่าเสวยสุขอย่างไร พอเคลิบเคลิ้ม จึงตลบกลับเรื่องอริยสัจ ๔ สภาวธรรมที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วเข้าอริยสัจ ๔ ชอบใจนัก ขอบวช บวชเสร็จ เรียนอยู่ระยะหนึ่ง ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ธุระในพระพุทธศาสนานี้มีอะไรบ้าง พระพุทธเจ้าว่า มีเรียนปริยัติอย่างหนึ่ง เรียนปฏิบัตินี้อย่างหนึ่ง เพื่อให้เป็นปฏิเวธ พระจักขุบาลว่าปริยัตินี้ ข้าพระองค์เห็นจะไม่ไหว เพราะแก่แล้ว เห็นจะต้องเรียนภาคปฏิบัติ จะปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ขอพระองค์ทรงบอกพระกัมมัฏฐานให้ด้วย พระพุทธองค์ตรัสบอกพระกัมมัฏฐานตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงพระอรหัต ทรงบอกตามอัธยาศัยและอินทรีย์ของผู้นั้น คือปัญญินทรีย์ บรรลุด้วยปัญญา และอัธยาศัยเป็นคนมัธยัสถ์ ถ้าพูดภาษาธรรมดาก็คนสมถะ
    หลังจากได้กัมมัฏฐาน พระจักขุบาลพาเพื่อน ๖๐ รูปออกไปไกล เข้าป่า ท่านถามพรรคพวกท่านว่า ท่านทั้งหลาย เราจะอยู่กันในอิริยาบถเท่าไร พรรคพวกภิกษุอื่นบอกว่าจะอยู่ในอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน พระภิกษุรูปอื่นถามพระจักขุบาล ท่านตอบว่า ผมจะอยู่ในอิริยาบถ ๓ คือ เดิน ยืน นั่ง นอนไม่มี เดินตลอดคืน นอนไม่มี ประกอบด้วยวิริยินทรีย์แก่กล้า และเดินจนตาแตก ตาแตกพอดีที่บรรลุพระอรหัตผล
    เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะแก่ ปัญญาจะทึบ อะไรๆ ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และให้พึงเข้าใจว่า ในสมัยพุทธกาลต้องเรียนทั้งพระธรรมพระวินัย ไม่ใช่ไม่เรียน ในยุคนี้ สังเกตดู อาจจะเรียนพระธรรมหนักดี แต่พระวินัยไม่ทราบว่าเรียนแล้วหนักแค่ไหน อันนี้กระผมฝากไว้ด้วย เรียนนักธรรม ตรี โท เอก ก็สอบได้อยู่ แต่คำว่าสิกขา เรียนให้รู้ ให้ละเอียดลออ และต้องปฏิบัติด้วย อบรมด้วย ทั้งอบรม ทั้งสั่งสอน ทั้งแนะนำ ไตรสิกขา
    เพราะฉะนั้น สรุปว่า ในสมัยพุทธกาลมีเรียน แต่ไม่ได้เรียกว่าประโยค ๑ ๒ ๓ เรื่อง ป.ธ. เรื่องของการเรียนแปลบาลี เป็นภาษาซึ่งทรงไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ แต่ในสมัยโบราณ เรียนเพื่อรู้พระธรรมพระวินัย ในยุคปัจจุบัน ควรจะเรียนทั้งแปลบาลีและทั้งเพื่อรู้พระธรรมพระวินัย ตรงนี้แหละครับ คือหัวใจของการที่พระพุทธศาสนาของเราจะตั้งมั่น ต้องเรียนเพื่อรู้ รู้ด้วยการเข้าใจและปฏิบัติ มิใช่รู้ท่องจำเอาเฉยๆ
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ในขณะที่ปฏิบัติภาวนาและกำหนดจิตอยู่นั้น ดวงแก้วอยู่ฐานที่ ๗ ได้สักพักใหญ่จะมีอาการมึนศีรษะที่ท้ายทอย ?

    เพราะเหตุว่าท่านบังคับใจที่จะให้เห็นนิมิตด้วยสายตาเนื้อจนเกินไป ซึ่งผิดวิธี ที่ถูก จะต้องไม่บังคับใจที่จะให้เห็นนิมิตโดยการเพ่ง พยายามที่จะให้เห็นด้วยสายตาเนื้อ แต่ให้ใช้ใจนึกให้เห็นจุดเล็กใสกลางดวงแก้วกลมใส
    ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เพื่อให้ “ใจ” คือความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้ รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เมื่อใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสสว่างปรากฏขึ้นมาเอง
    วิธีป้องกันและแก้ไขมิให้สายตาเนื้อแย่งหน้าที่ใจที่จะทำกิจภาวนาก็คือ ให้เหลือบตากลับนิดๆ เพื่อให้ใจคือความเห็น-จำ-คิด-รู้ กลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้รวมลงหยุดนิ่ง ณ ภายใน ตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ แล้วตาในจะทำหน้าที่รู้-เห็นได้อย่างสมบูรณ์เอง
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    คุณปราโมทย์: อยากทราบว่าเมื่อระหว่างหลวงพ่อยังมี
    ชีวิตอยู่นั้น ได้รับการยกย่องอย่างไรบ้าง ?


    คุณกุล:
    เรื่องนี้ พล.ต.ต.เนื่อง อาขุบุตร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ
    เรื่องพระสมเด็จของตรียัมปวายว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำมี
    คุณวิเศษในทางวิปัสสนาอย่างสูง ท่านเลื่อมใส ได้เคยมาขอ
    ผง ไปทำพระ 25 พุทธศตวรรษ

    เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว ได้มีชาวคณะอินเดียเข้ามาเยี่ยม
    คารวะหลวงพ่อ เข้าใจว่าเป็นพวกนักปราชญ์ที่เก่งในทางใน
    เหมือนกัน หลวงพ่อได้ให้การต้อนรับที่ตึกขาว เมื่อออกมาแล้ว
    หัวหน้าได้บอกว่า หลวงพ่อสำเร็จสมาธิขั้นสูง โดยดูจาก
    นัยน์ตาของหลวงพ่อ ได้เล่ากันมานานแล้วว่า ได้มี
    ชาวอเมริกันท่านหนึ่ง มาเยี่ยมวัดปากน้ำ ตั้งแต่ศาลาหลังเก่า
    ยังไม่รื้อ เมื่อได้สอบถามความ เป็นไปในการเลี้ยงพระของ
    วัดแล้ว เขาก็บอกว่าอย่างนี้ มหาเศรษฐีของโลกก็เลี้ยงไม่ได้
    ท่านเซอร์วิตติงตัน อดีตเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศ
    ไทย ก่อนกลับประเทศอังกฤษ ได้มาเยี่ยมชมความมีชื่อ
    เสียงของวัดปากน้ำ

    คุณอาสา:
    อยากทราบว่าเหตุไรหลวงพ่อจึงต้องมาค้นคว้า
    วิชชาธรรมกาย?


    คุณกุล:
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อพระ
    พุทธเจ้าได้เข้าปรินิพพานเป็นเวลานานนับร้อยๆปี ทางมรรคผล
    นิพพานนี้ก็ได้หมดไปด้วย ท่านจึงได้มาค้นพบวิชชา
    ธรรมกายขึ้นในครั้งนี้

    คุณสุรภาพ:
    ที่ว่า ผู้ที่มาพบทางมรรคผลนิพพานของหลวงพ่อ
    นี้ นับว่าเป็น ลาภอันประเสริฐนั้น เป็นอย่างไร?

    คุณกุล:
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า “....จนชาติสุดท้ายจึงได้
    สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงพระปรีชาญาณ รอบรู้
    สิ่งทั้งหลายที่มนุษย์ไม่รู้ พระองค์เสียสละชีวิต มเหสี ราช
    โอรส ราชบัลลังก์ บิดา ประชาราษฎร์ ไปเสาะแสวงหา
    ธรรมะ หาทางตรัสรู้พระโพธิญาณ ลดฐานะพระองค์ ลงไป
    บิณฑบาตอาหารที่เลวๆ จากคนจนยาก เวลาไม่มีอาหารต้อง
    ฉันใบไม้อ่อน บางครั้งอดอาหารจนสลบไป ทรมานพระ
    วรกาย เพื่อหาทางตรัสรู้อยู่ในป่าแต่พระองค์เดียว ประทับ
    บัลลังก์หญ้า ใต้ต้นไม้ เป็นอาหารของยุงริ้น มากัดกินพระ
    โลหิต จนพระวรกายผ่ายผอมไป จนจับท้อง พบกระดูก
    สันหลัง ซี่โครงนับได้เป็นซี่ๆ พอเอามือลูบขนที่อยู่ตามผิว
    หนัง ขนก็หลุดออกมา (จากพุทธประวัติตรัสจากพระโอษฐ์ของ
    พระองค์เอง)”

    บัดนี้ หลวงพ่อได้มาค้นคว้าหาหนทางไปสู่ความสำเร็จให้ใหม่
    แล้ว โดยหลวงพ่อก็ได้อุทิศชีวิตให้เหมือนกัน บัดนี้เราพบหน
    ทาง แทนที่จะต้องลำบากอย่างแสนสาหัสอย่างพระองค์ จึงนับ
    ว่าเป็นลาภอันประเสริฐอย่างแท้จริง
    <B. คุณปราโมทย์:< b> อยากทราบว่าธรรมกายนั้นเป็นอย่างไร?

    คุณกุล:
    เป็นรับสั่งขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า“นี่คือ
    ธรรมกาย วักกลิภิกขุ จงถอยออกไป จะมาดูไย ร่างกาย
    ตถาคต เป็นของเปื่อยเน่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้
    ตถาคต คือธรรมกาย”

    คุณอาสา:
    เรามีวิธีเรียนลัด เพื่อให้ถึงธรรมกาย โดยวิธี
    ง่ายๆ อย่างไรบ้าง?


    คุณกุล:
    มีครับ โดยใช้พระของขวัญ ดูด้วยตามนุษย์เสียให้
    จำให้แม่น ให้น้อมเข้าไปในตัวให้ถูกสัดส่วน จะได้ศักดิ์สิทธิ์
    จริงๆ ตามความจริง

    หญิงน้อมเข้าไปทางจมูกซ้าย (ภาพของพระ)
    ชายน้อมเข้าไปในช่องจมูกขวา

    เข้าไปตั้งไว้ในกลางตัว กลางตัวนั้น สะดือทะลุหลัง ขวาทะลุ
    ซ้าย กลางกั๊กที่เส้นด้ายจดกันตรงกลาง เรียกว่า กลางกั๊ก
    ตรงกลางกั๊กนั้น ถูกดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์พอดี ตั้งอยู่
    กลางดวงธรรมนั้นพอดี เจ้าของหันหน้าไปทางไหนพระก็หัน
    หน้าไปทางนั้น หันหน้าไปทางเดียวกัน นี่ขั้นที่หนึ่ง

    ขั้นที่สอง ใจของตัวหญิงสอดเข้าไปทางช่องจมูกซ้าย ชาย
    สอดเข้าไปทางช่องจมูกขวา เข้าไปตั้งไว้กลางองค์พระ สอด
    ใจเข้าไปตั้งไว้ในกลางองค์พระ ถูกตัวพระพุทธเจ้านับอสงไขยมิ
    ถ้วน เพราะพระพุทธเจ้าท่านทำแบบสำเร็จไว้ นิ่งอยู่กลางองค์
    พระนั้น ใจนิ่งอยู่นั้นแล้ว ประกอบบาลีระลึกถึงความบริสุทธิ์ของ
    พระพุทธจ้า ให้ประคองใจเราให้หยุด ว่า

    “สัมมา อรหัง สัมมา อรหัง สัมมา อรหัง”

    หยุดอยู่กลางองค์พระนั้น พอหยุดเข้ากลาง หยุด ซ้าย ขวา
    หน้า หลัง ล่าง บนไม่ไป กลางของกลางละเอียดหนักเข้า ก็เห็น
    พระแจ่ม นั่งเห็น นอนเห็น ยืนเห็น เดินเห็น อยู่กับพระที่เห็น
    แจ่มแล้ว สักอึดใจเดียวเท่านั้น สร้างวัด สร้างวา สร้างวิหารการ
    เปรียญสู้ไม่ได้ หยุดกับพระที่เห็นแจ่มนั้น เป็นสมาธิแล้ว สร้าง
    วัดวาอารามเป็นกามาพจร กุศลใจที่หยุดนิ่งกลางองค์พระของ
    ขวัญนั้น เป็นสมาธิเรียกว่ามหัคคตกุศล กุศลใหญ่กว่า สูงกว่า
    เข้ากลางไปเรื่อยๆ พระจะโตและแปลงสีได้ ในกรณีที่เราไม่
    เห็น เราก็เอาใจไปหยุดนิ่งกลางองค์พระ แล้วเราก็ภาวนา
    สัมมา อรหัง หรือทำใจให้หยุดให้นิ่ง ที่ในกลางนั้นแหละ จนกว่า
    จะเห็นองค์พระ นิ่งเข้าไว้ ที่ไม่รู้ก็รู้ไปเอง ที่ไม่เห็นก็เห็นไป
    เอง นิ่งนี้แหละเข้าถึงพระพุทธเจ้าได้ สิ่งที่จะช่วยให้เกิดความ
    สำเร็จก็คือ เราต้องมีศรัทธาและความเพียร พบเศษเวลาที่
    ไหนก็ทำไปเรื่อย เช่น เดิน นั่งรถเมล์ ห้องน้ำ ทำไปจนเคย
    ชิน

    คุณสุรภาพ:
    เหตุไรเราจึงต้องเรียนวิชชาธรรมกาย?

    คุณกุล:
    ก็เพราะมีวิชชาธรรมกายเป็นที่พึ่ง กำจัดทุกข์และโรค
    ภัยได้จริง เป็นวิชชาของพระพุทธเจ้า นตฺถิ สนฺติ ปรมํ สุขํ
    ไม่มีความสุขอะไรยิ่งไปกว่าความสงบ (ธรรมกาย) คิดทำเถิด
    หญิง-ชาย ชูช่วย ตนแฮ

    คุณปราโมทย์:
    หลวงพ่อเคยเทศน์เรื่องอะไรดีๆบ้าง จะขอ
    ฟังสักเรื่องหนึ่งได้ไหม?

    คุณกุล:
    ได้ครับ หลวงพ่อได้เทศน์อานิสงส์ไว้ เมื่อวันที่ 20
    กันยายน 2496 ความตอนหนึ่งว่า “เรานับได้ในประเทศไทย
    พระพุทธเจ้ามีจริงในที่ลับๆ ประเทศนิดเดียวเท่านี้แหละ เป็น
    เอกราชอยู่ได้ ปืนผาหน้าไม้ทำกับเขาไม่เป็น เรือแพนาวา เรือ
    ยนต์กลไฟต่อไม่ได้ทั้งนั้น แต่ก็เป็นเอกราชได้ แปลกเหลือ
    เกิน เป็นเอกราชได้ด้วยอะไร ที่เป็นเอกราชด้วยพุทธศาสนา
    ด้วยพระพุทธเจ้าท่านคอยดูแลแก้ไข รักษาชาติ ศาสนาของ
    ท่านไว้ ให้ศาสนาดำรงอยู่ เพราะหมดทั้งชมพูทวีป
    ศาสนาเดี๋ยวนี้มาแน่นหนา อยู่ในเมืองไทยเท่านั้น ”

    คุณอาสา:
    หลวงพ่อได้เคยพูดเรื่องอะไรเป็นพิเศษ
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ........................มรรค ผล....................................

    เมื่อบุคคลใดได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานมากขึ้นเรื่อย ๆ
    แล้ว ก็จะเกิดปัญญามองเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งต่าง ๆ
    มากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เรียกว่าญาณขั้นต่าง ๆ (คำว่าญาณนี้เป็นชื่อ
    ของปัญญาในวิปัสสนา ต่างจากฌานซึ่งเป็นขั้นต่าง ๆ ของ
    สมาธิ) จนกระทั่งปัญญาญาณนั้นแก่กล้าจนสามารถทำลาย
    ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ อย่างถาวร อันเป็นผลให้กิเลสที่
    เกิดจากความยึดมั่นในขั้นนั้นถูกทำลายลงไปอย่างสิ้นเชิง จิต
    ในขณะที่เห็นแจ้งในความที่ไม่สามารถยึดมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง
    ได้อย่างชัดเจน จนสามารถทำลายกิเลสได้นี้เรียกว่ามรรคจิต
    ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงแค่ขณะจิตเดียว คือเกิดอาการปิ๊งขึ้นมาแว๊ป
    เดียว กิเลสและความยึดมั่นในขั้นนั้นก็จะไม่เกิดขึ้นอีกเลย

    บุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นนี้เรียกว่ามรรคบุคคล
    ซึ่งนับเป็นอริยบุคคลประเภทหนึ่ง

    บุคคลจะเป็นมรรคบุคคลแค่เพียงชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้น
    หลังจากนั้นก็จะได้ชื่อว่าผลบุคคล คือบุคคลผู้เสวยผลจากมรรค
    นั้นอยู่ ไปจนกว่ามรรคจิตในขั้นที่สูงขึ้นไปจะเกิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อ
    ทำลายความยึดมั่นและกิเลสที่ประณีตขึ้นไปอีก

    มรรคจิตแต่ละขั้นนั้นจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
    แล้วจะไม่เกิดขึ้นในขั้นเดิมซ้ำอีกเลย จะเกิดก็แต่ขั้นที่สูงขึ้นไป
    เท่านั้น เพราะความยึดมั่นในขั้นที่ถูกทำลายไปแล้ว จะไม่มี
    โอกาสกลับมาให้ทำลายได้อีกเลย


    อริยบุคคล 8 ประเภทนั้นประกอบด้วยมรรคบุคคล
    4 ประเภท และผลบุคคล 4 ประเภท ดังนี้คือ


    [​IMG]1.) โสดาปัตติมรรคบุคคล
    คือบุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้น
    เป็นครั้งแรก ที่เรียกว่าโสดาปัตติมรรคจิต โสดาปัตติมรรค
    บุคคลนี้นับเป็นอริยบุคคลขั้นแรก และได้ชื่อว่าเป็นผู้หยั่งลงสู่
    กระแสพระนิพพานแล้ว มรรคจิตในขั้นนี้จะทำลายกิเลสได้ดังนี้
    คือ(ในที่นี้จะใช้สัญโยชน์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการแบ่ง
    ประเภทของกิเลส เป็นหลักในการอธิบาย - ดูเรื่องสัญโยชน์
    10 ประกอบ)

    - สักกายทิฏฐิ
    - วิจิกิจฉา
    - สีลพตปรามาส

    รวมทั้งโลภะ(ความโลภ) โทสะ(ความโกรธ, ขัดเคืองใจ,
    กังวลใจ, เครียด, กลัว) โมหะ(ความหลง คือไม่รู้ธรรมชาติที่
    แท้จริงของสรรพสิ่ง) ในขั้นหยาบอื่น ๆ อันจะเป็นผลให้ต้องไป
    เกิดในอบายภูมิ (เดรัจฉาน, เปรต, อสุรกาย, นรก) ด้วย

    [​IMG]2.) โสดาปัตติผลบุคคล
    หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโสดาบัน
    คือผู้ที่ผ่านโสดาปัตติมรรคมาแล้ว

    คุณสมบัติที่สำคัญของโสดาบันก็คือ


    - พ้นจากอบายภูมิตลอดไป คือจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกเลย
    เพราะจิตใจมีความประณีตเกินกว่าที่จะไปเกิดในภูมิเหล่านั้นได้
    (ใครจะไปเกิดในภูมิใดนั้น ขึ้นกับสภาพจิตตอนใกล้ตายที่เรียก
    ว่ามรณาสันนวิถี ถ้าขณะนั้นจิตมีสภาพเป็นอย่างไร ก็จะส่งผล
    ให้ไปเกิดใหม่ในภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับสภาพจิตนั้นมากที่สุด)

    - อีกไม่เกิน 7 ชาติจะบรรลุเป็นพระอรหันต์

    - มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน
    จะไม่คิดเปลี่ยนศาสนาอีกเลย

    - มีศีล 5 บริบูรณ์ (ไม่ใช่แค่บริสุทธิ์) คือความบริสุทธิ์ของศีล
    นั้นเกิดจากความบริสุทธ์/ความประณีต ของจิตใจจริง ๆ
    ไม่ใช่ใจอยากทำผิดศีลแต่สามารถข่มใจไว้ได้ คือใจสะอาด
    จนเกินกว่าจะทำผิดศีลห้าได้

    [​IMG]3.) สกทาคามีมรรคบุคคล
    หรือสกิทาคามีมรรคบุคคล
    คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้น
    เป็นครั้งที่ 2 ที่เรียกว่าสกทาคามีมรรคจิต มรรคจิตในขั้นนี้ ไม่
    สามารถทำลายกิเลสตัวใหม่ให้หมดไปได้อย่างสิ้นเชิงเหมือน
    มรรคจิตขั้นอื่น ๆ เป็นแต่เพียงทำให้ โลภะ โทสะเบาบางลงเท่า
    นั้น โดยเฉพาะกามฉันทะ และปฏิฆะ ถึงแม้ว่าความยึดมั่นที่มี
    อยู่จะน้อยลงไปก็ตาม ทั้งนี้เพราะกามฉันทะและปฏิฆะนั้นมี
    กำลังแรงเกินกว่า จะถูกทำลายไปได้ง่าย ๆ

    [​IMG]4.) สกทาคามีผลบุคคล
    หรือสกิทาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่าน
    สกทาคามีมรรคมาแล้ว

    คุณสมบัติสำคัญของสกทาคามีผลบุคคลก็คือ ถ้ายังไม่
    สามารถบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ในชาตินี้ ก็จะกลับมาเกิดใน
    กามภูมิอีกเพียงครั้งเดียวก็จะบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ แล้วจะ
    พ้นจากกามภูมิตลอดไป เพราะอริยบุคคลขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้าย
    ที่จะเกิดในกามภูมิได้อีก

    คำว่ากามภูมินั้นได้แก่ สวรรค์ 6 ชั้น มนุษยภูมิ เดรัจฉาน
    เปรต อสุรกาย นรก แต่สกทาคามีบุคคลนั้นพ้นจากอบายภูมิไป
    แล้วตั้งแต่เป็นโสดาบัน จึงเกิดได้เพียงในสวรรค์ และมนุษย์เท่านั้น

    [​IMG]5.) อนาคามีมรรคบุคคล
    คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไป
    อีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ที่เรียกว่าอนาคามี
    มรรคจิต ทำลายกิเลสได้เด็ดขาดเพิ่มขึ้นอีก 2 ตัวคือ

    - กามฉันทะ
    - ปฏิฆะ


    [​IMG]6.) อนาคามีผลบุคคล
    คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว

    คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคล
    คือ ถึงจะยังไม่บรรลุ
    เป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะไป
    เกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกามคือรูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น
    (ดูหัวข้อรูปราคะ และอรูปราคะในเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)
    ในรูปภูมิ 16 ชั้นนั้น จะมีอยู่ 5 ชั้นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผล
    บุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่าสุทธาวาสภูมิ ดังนั้น ใน
    สุทธาวาสภูมิทั้ง 5 ชั้นนี้ จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคล อรหัต
    ตมรรคบุคคล และพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้
    แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น

    สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้นประกอบด้วย

    - อวิหาภูมิ
    - อตัปปาภูมิ
    - สุทัสสาภูมิ
    - สุทัสสีภูมิ
    - อกนิฏฐาภูมิ

    [​IMG]7.) อรหัตตมรรคบุคคล
    คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไป
    อีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่เรียกว่าอรหัตต
    มรรคจิต ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มี
    กิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป
    ได้แก่

    - รูปราคะ
    - อรูปราคะ
    - มานะ
    - อุทธัจจะ
    - อวิชชา

    [​IMG]8.) อรหัตตผลบุคคล
    หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์
    คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะกิเลสตัวสุดท้าย
    ถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นผู้ที่
    พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย แต่ยังคง
    ต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป จนกว่าจะปรินิพพาน เพราะตราบ
    ใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้


    นิพพานนั้นมี 2 ชนิด คือ


    [​IMG]- สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานเป็น
    หมายถึงนิพพาน
    ที่ยังมีส่วนเหลือ คือกิเลสทั้งหลายดับไปหมดแล้ว พ้นจากทุกข์
    ทางใจทั้งปวงแล้ว แต่ยังมีร่างกายอยู่ ทำให้ต้องทนทุกข์ทาง
    กายต่อไปอีก ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง

    [​IMG]- อนุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานตาย
    หมายถึงนิพพาน
    โดยไม่มีส่วนเหลือ คือพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ทั้งทางกาย และทาง
    ใจอย่างสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ที่ตายแล้วนั่นเอง ซึ่งเรียกได้
    อีกอย่างว่าปรินิพพาน (ปริ = โดยรอบ, ปรินิพพาน = นิพพาน
    โดยรอบทุกส่วน คือทั้งร่างกายและจิตใจ คือนิพพานจากทุกข์
    ทั้งปวงนั่นเอง)

    <CENTER>
    พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า
    ปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำลึก
    ต้องทนทุกข์ทรมาน สำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต
    ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย

    โสดาบันเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้
    จนสามารถมองเห็นฝั่ง(แห่งพระนิพพาน)
    แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น

    สกทาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง

    อนาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมาก
    คือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้
    แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่ง จึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว

    พระอรหันต์เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้ว
    พ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้ว รอวันปรินิพพานอยู่
    </CENTER>
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- google_ad_section_start -->[​IMG]


    [​IMG]




    [​IMG]

    [​IMG]
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- google_ad_section_start -->

    <CENTER>สถานที่ปฏิบัติธรรม</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER>การที่บุคคลมีความสนใจต่อการปฏิบัติธรรม ซึ่งหมายถึง “เมื่อเข้าใจถึงแนวทาง การปฏิบัติธรรม ที่ถูกกับจริตของผู้ปฏิบัติแล้ว" ก็ให้มีความตั้งใจจริงในการปฏิบัติ โดยจะเลือกปฏิบัติธรรมด้วยตนเองที่บ้าน หรือปฏิบัติธรรมในสถานที่ที่มีผู้สอนควบคุมการปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติทั้งสองวิธี” เพราะหากมีความตั้งใจในการปฏิบัติแล้ว จะปฏิบัติที่ใดก็ได้ผลเหมือนกัน เนื่องจากสภาพโดยทั่วไปในปัจจุบันนี้ ผู้ปฏิบัติต่างก็มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานและครอบครัวมากน้อยแตกต่างกัน ยิ่งหน้าที่การงานสูงขึ้นเพียงใด เวลาที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองอย่างแท้จริงก็ยิ่งมีน้อยลงตามลำดับ ดังนั้น ถ้าสามารถแบ่งหรือจัดเวลาสำหรับการปฏิบัติได้ ในแต่ละวัน ซึ่งจะเป็นสถานที่ใดก็ได้ โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาทีขึ้นไป เป็นอย่างน้อย ผู้ปฏิบัติย่อมได้รับประโยชน์ เพราะการปฏิบัติธรรมติดต่อกันทุกวัน สามารถส่งผลในเบื้องต้นให้จิตใจได้พักผ่อน จากสภาพอารมณ์อันวุ่นวาย ในแต่ละวันลงได้บ้าง ฝึกฝนการรู้จักปล่อยวางความคิด เพื่อเข้าสู่ความสงบในเบื้องต้น อันจะทำให้จิตใจมีกำลังที่จะต่อสู้กับกิเลส ในความคิดของตนเองให้เบาบาง หรือคลายตัวลงได้บ้าง ซึ่งทั้งนี้ บุคคลที่จะสามารถหาเวลาเพื่อตนเองเช่นนี้ได้ นับวันก็มีแต่จะน้อยลง



    แต่อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติธรรมด้วยตนเองที่บ้าน เพียงลำพังนั้น ผู้ปฏิบัติมักจะประสบกับปัญหาต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. การปฏิบัติธรรมที่บ้าน มักไม่สามารถปฏิบัติได้เป็นเวลานานๆ เพราะผู้ปฏิบัติมักตามใจตนเอง เมื่อรู้สึกปวดเมื่อยมากๆ หรือนึกถึงบริกรรมนิมิต คือ ดวงแก้ว ไม่ค่อยได้ ก็มักจะลืมตา โดยไม่พยายามอดทน หรือฝืนร่างกายของตนเองไว้ ในที่สุด ก็ต้องหยุด การปฏิบัติเพียงแค่นั้น ซึ่งมักไม่เกิน 10 – 15 นาที เป็นส่วนใหญ่ มีผู้ปฏิบัติเพียงจำนวนน้อยเท่านั้น ที่สามารถปฏิบัติด้วยตนเองโดยใช้เวลานานกว่า 10 – 15 นาที 2. เนื่องจากบ้านถือเป็นสถานที่ส่วนตัว สมาชิกภายในบ้านอาจรบกวนผู้ปฏิบัติได้โดยง่าย ในระหว่างการปฏิบัติ และอาจไม่เห็นด้วยก็ได้ 3. การปฏิบัติธรรมที่บ้านเพียงลำพัง มักทำให้ขาดความระมัดระวังในการควบคุมตนเอง ทั้งกายและใจ เช่น เผลอหลับ นั่งปฏิบัติสัปหงก หรือฟุ้งซ่านบ่อยๆ นอกจากนี้ เมื่อมีปัญหาคั่งค้างจากการทำงาน ร่างกายอาจอ่อนเพลียจนไม่อาจปฏิบัติได้นาน 4. การปฏิบัติเพียงลำพังคนเดียว หรือถึงแม้ มีสมาชิกภายในบ้านร่วมปฏิบัติอยู่ด้วยก็ตาม มักขาดความมุ่งมั่น เกิดการท้อถอยได้โดยง่าย แต่ถ้าปฏิบัติอยู่ในสถานที่ที่มีจำนวนผู้ปฏิบัติมากๆ ย่อมรู้สึกอบอุ่นและเกิดกำลังใจที่จะตั้งใจปฏิบัติต่อไป โดยไม่ท้อถอย 5. ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติเกิดขึ้น ในระหว่างการปฏิบัติที่บ้าน ผู้ปฏิบัติย่อมไม่สามารถสอบถาม เพื่อแก้ไขปัญหานั้นได้ทันท่วงที แต่ถ้าเป็นการปฏิบัติ อยู่ในสถานที่ที่มีผู้สอน ควบคุมการปฏิบัติอยู่ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ย่อมได้รับความสะดวก ในการสอบถามได้ทันที หลังจากหมดเวลาปฏิบัติแล้ว ดังนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติมีเวลาเป็นของตนเอง ควรอย่างยิ่งที่จะเดินทางไปปฏิบัติในสถานที่ ที่มีผู้สอนสามารถให้คำแนะนำ และตอบคำถามได้ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ซึ่งถ้าเป็นผู้ปฏิบัติที่ยังไม่มีครอบครัว คือเป็นโสดอยู่ ย่อมมีโอกาสที่ดีกว่า ในการมีเวลาเป็นของตนเอง เพื่อปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง



    การที่บุคคลมีความสนใจ ต่อการปฏิบัติธรรม ซึ่งหมายถึงการฝึกฝนอบรมใจของตนเอง เพื่อให้เกิดความสงบนั้น ย่อมเป็นเรื่องที่น่ายินดี น่าอนุโมทนา เพราะในปัจจุบันนี้ มนุษย์มีภารกิจของชีวิตมากมาย จนไม่สามารถจะทำความเข้าใจให้กับตนเองได้ว่า มีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร เพื่องาน หรือ เพื่อการหาเลี้ยงชีพแต่เพียงอย่างเดียว จนลืมคิดไปว่า การมีชีวิตอยู่นั้น จำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความจริงให้เข้าใจเกี่ยวกับ เรื่องของการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ด้วยหลักของศีล สมาธิ ปัญญาเมื่อบุคคลสนใจที่จะปฏิบัติธรรม ผู้นั้นจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของสถานที่ ที่จะไปปฏิบัติธรรม ว่าตั้งอยู่ที่ไหน สอนการปฏิบัติธรรมด้วยวิธีการอะไร ผู้สอนหรือที่เรียกว่า ผู้บอกกรรมฐาน มีความรู้ เรื่องการปฏิบัติมากน้อยเพียงใด และ กิจกรรมของสถานที่นั้นๆ ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งผู้สนใจจะต้องติดตาม สอบถามให้แน่ใจเสียก่อน เพราะถ้าผู้นั้นไม่เข้าใจให้ถูกต้องแล้ว อาจจะผิดหวังก็ได้ เพราะในปัจจุบันนี้ ผู้ปฏิบัติควรเลือกจากสถานที่ ที่ให้ประโยชน์สูงสุดเท่านั้น



    ที่ตั้งของสถานที่


    ถ้าตั้งอยู่ไกลมากเช่น ชานเมือง หรือต่างจังหวัด ผู้ปฏิบัติจะต้องพิจารณาว่า การเดินทางไป-กลับนั้นสะดวกหรือไม่ เพราะการปฏิบัติธรรมที่จะให้ได้ผลจริงจังนั้น จะต้องเกิดจากการมาปฏิบัติติดต่อกันเป็นประจำเกือบทุกวัน ในระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควรด้วย ถ้าอยู่ไกลออกไปมากแล้ว จะทำให้ผู้ปฏิบัติเสียเวลาในการเดินทางมา อาจทำให้ผู้นั้นเกิดเบื่อหน่าย หรือท้อใจก่อนก็ได้ ข้อสำคัญ การปฏิบัติสมาธินั้น ถ้าผู้ปฏิบัติต้องเสียเวลาในการเดินทางมาก ร่างกายก็อาจอ่อนเพลียได้ เมื่อปฏิบัติธรรมเสร็จแล้ว อาจได้ความสงบของใจกลับมาบ้าง แต่เมื่อต้องเสียเวลาเหน็ดเหนื่อยต่อการเดินทางกลับอีก ความสงบนั้นก็อาจตกต่ำลง หรือหมดไปเลยก็ได้ แสดงว่าเสียเวลาไปเปล่า ต่อการเดินทางไปปฏิบัติในวันนั้นๆ และถ้า ติดต่อกันทุกวัน ก็อาจรู้สึกเบื่อหน่ายต่อการปฏิบัติในที่สุด


    วิธีการปฏิบัติ


    อารมณ์ของสมถกรรมฐานนั้น มีมากถึง 40 อารมณ์ ดังนั้น การปฏิบัติธรรมจึงมีวิธีการได้หลายๆแบบ ซึ่งย่อมพาผู้ปฏิบัติให้เข้าถึงซึ่งความสงบในเบื้องต้นได้ใกล้เคียงกัน แต่หลังจากเกิดความสงบได้แล้ว มีวิธีการใดบ้าง ที่สามารถนำผู้ปฏิบัติให้เข้าสู่สมาธิขั้นสูงได้ จนถึงเข้าสู่มรรคผล คือการหลุดพ้นได้ในที่สุด ผู้ปฏิบัติจะต้องพิจารณา ถึงวิธีการต่างๆด้วยว่า เป็นเช่นที่กล่าวมาหรือไม่ อาจกล่าวได้ว่า ถ้าต้องการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นแล้ว จะต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ ถูกต้อง ที่สุด ซึ่งอาจมีเพียงวิธีการเดียวก็ได้ และเมื่อปฏิบัติได้ ถูกทาง แล้ว จะต้องพิจารณาด้วยว่า ถูกที่ (สถานที่ที่ไปปฏิบัติ) หรือยัง เพราะในปัจจุบันนี้ สถานปฏิบัติธรรมมีมากมายหลายแห่ง สถานที่ที่ให้ประโยชน์อย่างแท้จริง อาจมีจำนวนเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น


    ความสามารถของผู้สอน


    ในปัจจุบัน เริ่มเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นว่า การปฏิบัติสมาธิเป็นสิ่งที่ดี และมีประโยชน์แท้จริง จนในโรงเรียนบางแห่ง ก็เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีการฝึกปฏิบัติสมาธิที่โรงเรียนด้วย ดังนั้นการปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน จึงมีประชาชนโดยทั่วไป ให้การยอมรับ และให้ความเชื่อถืออยู่มาก แต่เมื่อพิจารณาจากความสามารถแล้ว ผู้สอนจะอยู่ในสมณเพศ หรือเพศฆราวาสย่อมไม่สำคัญ แต่ความสามารถที่แสดงออกนั้น ย่อมหมายถึง การแนะนำการปฏิบัติที่ถูกต้อง ให้กับผู้ปฏิบัติ ได้อย่างแท้จริง และสามารถให้ความรู้ แนะนำการใช้ชีวิตที่เหมาะสม ต่อการปฏิบัติธรรม ได้อย่างเหมาะสมด้วย อย่างไรก็ตาม มีผู้ปฏิบัติธรรมจำนวนไม่น้อย ที่ต้องเสียประโยชน์ของตนเองไป เนื่องจากพยายามที่จะแสวงหาผู้สอนการปฏิบัติธรรมที่ครองตนอยู่ในสมณเพศ และมีวัยวุฒิแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งเมื่อพบแล้ว ผู้สอนนั้นอาจเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของการฝึกฝนอบรมใจของตนเอง เพื่อความหลุดพ้น น้อยกว่า ผู้สอนบางท่านในปัจจุบัน แม้อายุจะน้อยกว่า และครองตนในเพศฆราวาสเสียอีก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของศาสนานั้น มิใช่ว่าผู้มีความรู้สูง จะต้องเป็นผู้ที่มีอายุมากเสมอไป เพราะจุดเริ่มต้นของผู้มีอายุน้อย อาจจะเป็นจุดอิ่มตัวแล้ว ของผู้มีอายุมากก็ได้ ควรที่ผู้ปฏิบัติจะได้ตระหนักถึงความเป็นจริง ในข้อนี้ ด้วยใจที่เปิดกว้าง อย่างแท้จริง


    กิจกรรมของสถานที่


    ถ้าสถานปฏิบัติธรรมต่างๆ มีแนวการสอนที่ถูกต้องแล้ว ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ในปัจจุบันนี้ สถานที่บางแห่งนอกจากจะสอนการปฏิบัติน้อยลงแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่มีผลทำให้การปฏิบัติย่อหย่อนลงด้วย เช่น มีการรับบริจาคบ่อยครั้งจนเกินไป หรือมีการทำบุญเรี่ยไร ในรูปแบบของสถานที่นั้นๆทุกเดือน ย่อมเป็นการแน่นอน ที่ผู้ที่ไปปฏิบัติในสถานที่แห่งนั้น ต้องถูกรบเร้า ให้บริจาคไปด้วย จากกิจกรรมนั้นเช่นกัน


    นอกจากนี้ ต้องพิจารณาถึงคำสอนด้วย

    เพราะสถานที่บางแห่ง อาจให้ความรู้แก่ผู้ที่ไปปฏิบัติ ด้วยคำสอนที่ครอบคลุมถึงเนื้อหาเพียงแค่การรักษาศีล และการบริจาคทานเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่ไปปฏิบัติมีความรู้แคบ มีพื้นฐานความเข้าใจทางด้านศาสนาน้อย ซึ่งเมื่อถึงโอกาส ที่ผู้ปฏิบัติจะได้มีโอกาสชักชวนให้ผู้อื่น รู้จักคุณค่าของการปฏิบัติธรรมแล้ว อาจทำให้ ไม่สามารถให้ความรู้แก่ผู้อื่นได้เท่าที่ควร อันอาจจะกลายเป็นการบั่นทอน ความศรัทธาของผู้อื่น ที่มีต่อพุทธศาสนา และ การปฏิบัติธรรมได้ด้วย

    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2010
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ





    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต
    โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ.




    พระองค์ตรัสถึง “อนิจจัง” ก็เพื่อให้ค้นคิดหา “นิจจัง” ตรัสถึง “ทุกขัง” ก็เพื่อให้ค้นคิดหา “สุขัง” ตรัสถึง “อนัตตา” ก็เพื่อให้คิดหา “อัตตา”




    คนที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประกอบด้วยความเพียรพินิจพิจารณา ย่อมจะมองเห็นแนวพระโอวาทของพระองค์ จะเทียบให้เห็น เช่น มีคน ๒ คนยืนอยู่ คนหนึ่งสูง คนหนึ่งต่ำ เรารู้จักคนสูง ใครมาถามเราว่า คนสองคนนั้นรู้จักไหม เราตอบว่าคนสูงเรารู้จัก เมื่อคนอื่นได้ยินคำตอบเช่นนั้น แม้ตาของเขาไม่แลเห็นคนสองคนนั้นเลย เขาย่อมจะรู้ว่าคนที่เราไม่รู้จักนั้นต่ำกว่าคนที่เรารู้จัก โดยเราไม่จำเป็นจะต้องพูดว่าคนต่ำเราไม่รู้จัก นี่ฉันใด อนิจจังบอกนิจจัง ทุกขังบอกสุขัง อนัตตา บอกอัตตา ฉันนั้น อะไรเล่าเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา ก็คือธรรมกายนี้เอง เป็นตัวนิจจัง สุขัง อัตตา






    ณ บัดนี้ จะได้แสดงธรรมีกถาว่าด้วย พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เพื่อประดับสติปัญญาและปสาทะแห่งท่านสัปปุรุษพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จักแสดงตามลำดับพระบาลีที่ยกไว้ข้างต้น เริ่มแต่คำว่า อิติปิ โส ภควา ไปจนจบ แต่การแสดงจะหนักไปในทางปฏิบัติ เพื่อมุ่งประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่
    คำว่า คุณ ในที่นี้ หมายความว่ากระไร เมื่อวิเคราะห์ดูตามถ้อยคำในบาลีนี้แล้ว หมายความว่า ความดีความงามที่ควรเทิดทูนเคารพบูชา ความดีความงามของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ, ของพระธรรม ๖ ประการ, ของอริยสงฆ์ ๙ ประการ ตามที่ปรากฏในพระบาลีนี้ จักได้แสดงแต่ละประการเป็นลำดับไป เริ่มต้นพระพุทธคุณก่อน ซึ่งตั้งต้นด้วยคำว่า อรหํ ตลอดจนจบ สังฆคุณ
    [พระพุทธคุณ]
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ที่มีพระเกียรติคุณเฟื่องฟูจนเป็นที่เคารพสักการะของมวลเทวดา อินทร์ พรหม และมนุษย์ มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ มิใช่เพราะเหตุที่พระองค์เป็นกษัตริย์ แต่เป็นเพราะเหตุอื่น เหตุอื่นคืออะไร ก็คือเหตุที่พระองค์สละราชสมบัติออกบรรพชา ประกอบพระมหาวิริยะความเพียรอันแรงกล้า จนได้บรรลุพระโพธิญาณ ณ ควงไม้ พระศรีมหาโพธิ์ เมื่อวันวิสาขปุรณมีเพ็ญเดือน ๖ นั้นเอง พระองค์ได้ตรัสรู้เญยยธรรมทั้งปวงในเวลารุ่งอรุณวันนั้น คุณงามความดีของพระองค์ได้บังเกิดขึ้นแก่พระองค์ตั้งแต่วันนั้นเป็นลำดับมา จนตราบเข้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน รวมเป็น ๙ ประการด้วยกัน
    อรหํ
    อรหํ เป็นพระคุณข้อต้น มีนัยดังจะแสดงต่อไปนี้
    อรหํ เป็นเนมิตตกนาม เกิดขึ้นเองพร้อมกับที่พระองค์บรรลุพระโพธิญาณ ยกตัวอย่างเทียบเคียงคล้ายกับชื่อพระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อว่า “มัลลิกา” กล่าวคือว่า วันที่พระนางเธอประสูตินั้น มีดอกมะลิร่วงลงมาจากอากาศในเวลาเกิด พระราชธิดาและพระประยูรญาติถือเอานิมิตดอกมะลินั้นขนานนามธิดาองค์นั้นว่า “มัลลิกา” ซึ่งแปลว่า พระนางมะลิ
    อรหํ เป็นคำที่พวกเรานักปฏิบัติธรรมเชิดชูกันนักหนา ถึงแก่ได้นำมาใช้เป็นบทบริกรรมภาวนาในเมื่อนั่งสมาธิ ฉะนั้นจึงขอนำมาแปลไว้ในที่นี้เพื่อได้ซาบซึ้งถึงพระคุณนามข้อนี้ไว้บ้าง แต่การจะพรรณนาให้สิ้นสุดได้ เมื่อคิดเทียบแล้วก็เท่ากับอากาศในปีกนก กล่าวคือ บรรดาอากาศทั้งหลายในสากลโลกมีมากสุดที่จะคณนา แต่คิดเฉพาะอากาศเท่าที่ปีกนกกระพือขณะที่บินหนหนึ่ง จะมีอากาศอยู่ในระหว่างปีกนกนิดเดียว ในจำนวนอากาศทั้งหลาย นี่ฉันใดก็ฉันนั้น
    อรหํแปลสั้นๆ ว่า “ไกล” ว่า “ควร” เป็นสองนัยอยู่ “ไกล” หมายความว่า ไกลจากกิเลส หรือว่า พ้นจากกิเลส เสียแล้ว “ไกล” ตรงกันข้ามกับปุถุชนคนเรา ซึ่งยังอยู่ใกล้ชิดกิเลส พระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่องดังแท่งทองชมพูนุท หรืออีกอย่างหนึ่งว่า ใสเหมือนดวงแก้วอันหาค่ามิได้ สมคำที่ว่า พุทธรัตนะ ประกอบด้วย ตาทิโน เป็นผู้คงที่ไม่หวั่นไหว หากจะมี ของหอมมาชะโลมไล้พระวรกายซีกหนึ่ง และเอาของเหม็นมาชะโลมซีกหนึ่ง พระหฤทัยของพระองค์ก็ไม่แปรผันยินดียินร้ายประการใด และเปรียบได้อีกสถานหนึ่งว่า อินฺทขีลูปโม พระทัยมั่นคงดังเสาเขื่อน ถึงจะมีพายุมาแต่จาตุรทิศ ก็ไม่คลอน เมื่อเช่นนี้ จึงมีนัยที่แปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็น ผู้ควร คือเป็นผู้ที่เราสมควรจะเทิดจะบูชาไว้เหนือสิ่งทั้งหมด อรหํ เป็นนามเหตุ พระคุณนามนอกนั้นเป็นนามผล
    ว่าในด้านภาวนา กายนี้มีซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีกายทิพย์ซ้อนอยู่ในกายมนุษย์ กายรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายทิพย์ กายอรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายรูปพรหม กายธรรมซ้อนอยู่ในกายอรูปพรหม คนเราที่ว่าตายนั้นคือ กายทิพย์กับกายมนุษย์หลุดพรากออกจากกัน เหมือนมะขามกะเทาะล่อนจากเปลือก ฉะนั้น กายทิพย์ก็หลุดจากกายมนุษย์ไป
    การละกิเลสของพระองค์หลุดไปเป็นชั้นๆ ตั้งแต่กิเลสในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เป็นลำดับไป
    • กิเลสในกายมนุษย์ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
    • กิเลสในกายทิพย์ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
    • กิเลสในกายรูปพรหม คือ ราคะ โทสะ โมหะ
    • กิเลสในกายอรูปพรหม คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย
    ต่อแต่นี้ไปจึงชักเข้าถึงกายหนึ่ง คือกายธรรม หรือเรียกว่า ธรรมกาย เข้าชั้นโคตรภูจิต เรียกว่า โคตรภูบุคคล
    • โคตรภูบุคคลนี้เดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ ๔ เป็นอนุโลมปฏิโลม จนหลุดพ้นจากกิเลสพวกสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส แล้วตกศูนย์วับกลับเป็นพระโสดาบัน เป็นอันว่าพระโสดาบัน ละกิเลสได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
    • แล้วกายโสดาบันนี้เดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ ๔ เป็นอนุโลมปฏิโลมต่อไปถึงขีดสุด ละกิเลสได้อีก ๒ คือ กามราคะ พยาบาทชั้นหยาบ จึงเลื่อนชั้นขึ้นเป็นสกทาคามี
    • กายพระสกทาคามีเดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจสี่ทำนองเดียวกันนั้นต่อไป ถึงขีดสุดละกิเลสได้อีก ๒ คือ กามราคะ พยาบาทขั้นละเอียด จึงเลื่อนชั้นเป็นพระอนาคามี
    • แล้วกายพระอนาคามีเดินสมาบัติเพ่งอริยสัจ ๔ ทำนองเดียวกันนั้นต่อไปถึงขีดสุด ละกิเลสได้อีก ๕ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชาจึงเลื่อนขึ้นจาก พระอนาคามี เป็น พระอรหันต์
    • จิตของพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่อง ปราศจากกิเลสทั้งมวล จึงได้พระเนมิตตกนามว่า อรหํ (จะกล่าวละเอียดต่อไปในตอนสังฆคุณ)
    เหตุที่ทำให้พระองค์เป็น อรหํ นั้น สรุปโดยย่อก็ได้แก่ การที่พระองค์บำเพ็ญสมาธิ เจริญวิปัสสนาด้วยพระมหาปธานวิริยะอันแรงกล้า ณ โคนไม้พระศรีมหาโพธิ์ ในวันวิสาขปุรณมีนั้น โดยความเด็ดเดี่ยว ตั้งพระหฤทัยอธิษฐานว่า แม้เนื้อและเลือดในพระสรีระของพระองค์จะเหือดแห้ง เหลือแต่เส้นเอ็น หนัง และกระดูกก็ตามทีเถิด หากไม่ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ ตราบใด พระองค์จะไม่ยอมลุกจากที่นั้นเป็นอันขาด แล้วพระองค์ก็ทรงนั่งสมาธิรุดไปด้วยน้ำ พระทัยอันเด็ดเดี่ยว ในที่สุดก็ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ สมดังพระประสงค์ ในราตรีกาลแห่งวันวิสาขปุรณมีนั้นเอง
    • ยามต้นทรงบรรลุ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความหยั่งรู้ระลึกชาติหนหลังได้
    • ยามที่ ๒ ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ ความหยั่งรู้ถึงความจุติและความเกิด
    • ยามที่ ๓ ทรงบรรลุ อาสวักขยญาณ ความหยั่งรู้ที่กำจัดอาสวกิเลสที่หมักหมมอยู่ในจิตให้หมดสิ้นไป
    ทรงรู้เห็นแจ่มแจ้งหมด เห็นจริงๆ เห็นด้วยตาของธรรมกาย ไม่ใช่เห็นด้วยตามนุษย์ หรือคิดคาดคะเนเอา เห็นตลอดทั่วโลกมนุษย์ โลกสวรรค์ โลกนรก เพราะพระองค์ได้ผ่านพ้นโลก เสด็จออกสู่แดนพระนิพพานแล้ว จึงเห็นได้ทั่วถ้วน โดยมิสงสัย
    สมฺมาสมฺพุทฺโธ
    สัมมาสัมพุทโธ แปลตามศัพท์ว่า ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ หรือนัยหนึ่งว่า ตรัสรู้เองโดยถูกต้อง หรือพูดให้สั้นก็ว่า รู้ถูกเอง เพื่อให้ใกล้กับภาษาสามัญที่ใช้กันว่า รู้ผิด รู้ถูก ได้แก่ คำที่พูดติเตียนคนที่ทำอะไรผิดพลาดไปว่าเป็นคนไม่รู้ถูกรู้ผิด ทำไปอย่างโง่ๆ ดังนี้เป็นต้น แต่แท้จริง “พุทฺโธ” คำนี้ เมื่อวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งลงไปตามรูปศัพท์แล้ว มีความหมายลึกซึ้งมาก ต่างกันไกลกับคำว่า ชานะ หรือ วิชานะ ซึ่งแปลว่ารู้แจ้งนั้น ดังนั้น พุทฺโธ จึงได้แปลกันว่า “ตรัสรู้” ไม่ใช่รู้เฉยๆ เติมคำว่า “ตรัส” นำหน้า “รู้” ซึ่งสะกิดให้สนใจว่า “รู้” กับ “ตรัสรู้” ๒ คำนี้มีความหมายลึกตื้นกว่ากันแน่โดยมิสงสัย
    เมื่อระลึกถึงพระบาลีในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่ว่า “จกฺขุ ํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ” จึงทำให้แลเห็นความว่า คุณวิเศษทั้ง ๕ อย่าง ดังบาลีที่ยกขึ้นกล่าวนี้ จะเป็นความหมายแห่งคำว่า พุทฺโธ กล่าวคือ จกฺขุ ํ ญาณํ ปญฺญา วิชฺชา อาโลโก ทั้ง ๕ อย่างนี้ ประมวลเข้าด้วยกัน รวมเป็นคำแปลของคำว่า พุทฺโธ หรือจะแปลให้สั้นเข้าอีก คำว่า พุทฺโธ ก็ยังต้องแปลว่า ทั้งรู้ทั้งเห็น ไม่ใช่รู้เฉยๆ อาศัยคำว่า จกฺขุ ํ ญาณํ ในบาลีที่ยกขึ้นกล่าวมานั้นเป็นเครื่องประกอบ ยิ่งกว่านั้นยังมีคำว่า ชานตา ปสฺสตา ในมหาสติปัฏฐานสูตรอยู่อีก ซึ่งเป็นเหตุสนับสนุนว่า ที่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น ไม่ใช่รู้เฉยๆ เป็นทั้งรู้ทั้งเห็น
    ที่ว่า “เห็น” นั้น มิได้หมายความว่าเห็นอย่างตาเราเห็นอะไรจริงๆ แต่พระองค์เห็นด้วยตาธรรมกาย และ การที่พระองค์เห็นนี้ โดยมิได้มีผู้ใดสอนให้รู้ สอนให้เห็น รู้เห็นโดยลำพังพระองค์เอง และ สิ่งทั้งหลายที่พระองค์รู้เห็นนั้นตรงตามความเป็นจริงทั้งนั้น มิใช่คาดคะเนหรืออนุมานเอา จึงเป็นองค์สัมมาสัมพุทโธ พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ หรือนัยหนึ่งว่าโดยถูกต้องตรงตามความเป็นจริงทุกประการ จึงได้ชื่อว่า “ตรัสรู้” ยังมีคำว่า “สัม” นำหน้า “พุทธะ” เติมเข้ามาอีกคำหนึ่ง ซึ่งแปลว่า ด้วยพระองค์เอง คือไม่ต้องมีผู้สั่งสอน
    พระองค์ทำอย่างไรจึงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเช่นนั้น ข้อนี้ตอบไม่ยาก พระองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองได้ก็เพราะความเป็น “อรหํ” ของพระองค์ดังกล่าวข้างต้นแล้วนั่นเอง คือเมื่ออำนาจสมาธิทำให้จิตของพระองค์หลุดพ้นจากอาสวะแล้ว จิตของพระองค์ก็ใสยิ่ง หยุด และบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะหยุดนิ่งนั่นเอง จึงมีสิ่งหนึ่งผุดขึ้นในนิ่ง ทำให้รู้พระองค์ก็รู้ตามนั้นไป น้ำขุ่นแม้อิฐสักก้อนหนึ่งอยู่ก้นโอ่ง เราก็มองไม่เห็น แต่ถ้าน้ำนั้นนอนนิ่งใสบริสุทธิ์แล้ว แม้แต่เข็มอยู่ก้นโอ่ง เราก็เห็น ฉันใดก็ฉันนั้น
    ยังมีคำว่า “สมฺมา” นำหน้า “สมฺพุทฺโธ” อีกคำหนึ่ง คำว่า สมฺมา แปลว่า โดยชอบ หรือ โดยถูกต้อง พระองค์ตรัสรู้อะไร มีเหตุผลยันกันได้เสมอ จึงได้ชื่อว่าถูกต้อง เพราะการพูดอะไรไม่มีเหตุผลรับสมหรือยันกันได้แล้ว ตามหลักธรรมดาเรียกว่าไม่ถูก ต้องมีเหตุผลรับสมกันจึงจะนับว่าถูก พระสัทธรรมคำสอนของพระองค์มีเหตุผลรับสมกันอยู่เสมอ ไม่คลาดเคลื่อน จึงสมควรแล้วที่ได้พระเนมิตตกนามว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ
    พระพุทธวจนะที่ควรนำมาสาธกในที่นี้ ว่าแต่โดยสั้นๆ ก็ว่า พระองค์ตรัสรู้เหตุตรัสรู้ผล ไม่ใช่รู้แต่เหตุหรือรู้แต่ผล พระองค์ตรัสรู้ทั้งเหตุ ตรัสรู้ทั้งผล ที่ว่านี้คืออะไร เหตุสุข เหตุทุกข์ เหตุไม่สุขไม่ทุกข์ หรือที่เรียกว่า อัพยากฤต คือสภาพเป็นกลางๆ ทั้ง ๓ อย่างนี้เป็นรากฐานแห่งการตรัสรู้ของพระองค์ กล่าวคือ สุข พระองค์ก็ไม่ทรงรู้แต่สุขเฉยๆ ตรัสรู้ลึกซึ้งเข้าไปถึงว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดสุขด้วย และอีก ๒ ประการนั้นก็เช่นเดียวกัน รู้ทั้งเหตุรู้ทั้งผลคู่กันไป เป็นต้นว่า สุขเป็นผลคือความสบายกายสบายใจ อะไรเล่าเป็นเหตุที่ให้เกิดผล คือสุขดังกล่าวนั้นพระองค์ตรัสไว้ว่า อโลภะ อโทสะ อโมหะ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง (แปลอย่างย่อที่สุด) ๓ ประการนี้แหละเป็นเหตุ ดังมีบาลีเป็นที่ยืนยันว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา เป็นอาทิ โลภ โกรธ หลง เป็นฝ่ายอกุศล ตรัสว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ เราปุถุชนมักรู้กันแต่ผล สาวหาเหตุไม่ใคร่ถึง เช่น คนทำโจรกรรมแล้วไปต้องโทษอย่างมาก ที่รู้กันทั่วไป มักอยู่ในขั้นหยาบๆ ว่า ผลที่ต้องได้รับทุกข์คือการต้องโทษนั้นเนื่องมาจากโจรกรรม แต่แท้จริงเหตุเท่านั้นยังไม่พอ ต้องสาวเข้าไปอีก ทำไมเขาจึงทำโจรกรรม ก็จะได้ความว่า เพราะโลภะเป็นมูลเหตุ แต่ก็ยังไม่พอ ต้องสาวเข้าไปอีกว่า ทำไมโลภะจึงครอบงำเขาได้ ก็จะได้ความว่า จิตใจของเขาสกปรก ทำไมจิตใจของเขาจึงสกปรก จึงได้เหตุว่า เพราะเขาไม่ประพฤติตามโอวาทพระบรมศาสดา อย่างน้อยก็เป็นคนทุศีล อทินนาทาน ขาดไปเสียองค์หนึ่งแล้ว เหตุใดเขาจึงเป็นคนทุศีล ก็จะได้ความว่าเขาไม่รู้เรื่องศีล หรือรู้แล้วไม่นำพา ทำไมจึงไม่รู้เรื่องศีล ก็อาจเป็นเพราะเหตุที่เขาไม่เคยอ่านหนังสือทางพระพุทธศาสนา หรือสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น พระองค์ทรงสอนไว้ละเอียดถี่ถ้วนว่า ให้รู้เท่าถึงเหตุผล รู้ว่าผลนี้เกิดจากเหตุใด พระองค์มีแนวสอนให้ปฏิบัติเพื่อละเหตุที่ให้เกิดทุกข์ บำเพ็ญเหตุที่ให้เกิดสุข ตลอดจนวิถีทางดับเหตุทั้งปวง ซึ่งเรียกว่า “นิโรธ”
    เพื่อรับสนองข้อความดังกล่าวมา ก็มีถ้อยคำของพระอัสสชิเถระเป็นหลักฐานสนองรับรองพระพุทธวจนะดังกล่าวมา คือภายหลังแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ พระอัสสชิเถระซึ่งเป็นพระสาวก ไปประกาศพระศาสนา ไปพบกับอุปติสสปริพพาชก อุปติสสปริพพาชกตั้งกระทู้ถามกันสั้นๆ ถึงเรื่องพระศาสดาว่า ทรงสั่งสอนอย่างไร พระอัสสชิได้ตอบว่า ทรงสอนถึงเหตุและวิถีทางที่จะดับเหตุเหล่านั้น ดังพระบาลีว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปพฺภวา เตสํ เหตุ ํ ตถาคโต ฯเปฯ หรือพูดอย่างสั้นอีกนัยหนึ่งว่า พระองค์สอนให้รู้ว่าอะไรชั่ว อะไรดี อะไรเป็นเหตุของความชั่ว อะไรเป็นเหตุของความดี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเหตุแห่งความชั่วหรือความเสื่อม อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นเหตุแห่งความดีหรือความเจริญ ทรงสอนว่า ก่อนจะพูด คิด หรือทำสิ่งใด จงมีสติ หรือที่เรียกว่าใช้ความคิดให้รอบคอบเสียก่อน จึงพูด จึงคิดจึงทำการนั้นๆ แลว่าโดยเฉพาะจง ระวังเรื่องโลภะ โทสะ โมหะ นั้นไว้ อย่าให้เข้าครอบงำได้ ในเมื่อจะทำ พูด คิดการสิ่งใด พระองค์ทรงสอนไว้ในทางปรมัตถ์ว่า ธรรมดาจิตนั้นใสบริสุทธิ์อยู่เสมอ ซึ่งหมายความว่า จิตที่ไม่มีกิเลสผสม ส่วนพวกกิเลส เช่น โลภะ เรียกว่าเป็นของจรมา เมื่อมาพ้องพานจิต ก็ย้อมจิตให้เป็นไปตามสภาพอันชั่วช้าของกิเลสนั้นๆ จิตระคนด้วยราคะหรือโลภะ มีสีแดง, ระคนด้วยโทสะ สีดำ, ระคนด้วยโมหะ ขุ่นเหมือนตมหรือน้ำล้างเนื้อ, สิ่งเหล่านี้พระองค์ใช้ตาธรรมกายมองเห็นจริงๆ พวกเราเหล่าศาสนิกชน เมื่อเรียนภาวนาเพ่งถึงขนาด จะเห็นจริงด้วยตนเอง การปฏิบัติกิจทางภาวนานั้นก็คือ พยายามกลั่นเอากิเลสออกเสียจากจิต ให้จิตใจบริสุทธิ์ อันได้ชื่อว่ากิริยาจิต กิริยาจิตเช่นนี้เป็นอัพยากฤตแล้ว ต่อนั้นไปจะเป็นจิตที่ควรแก่การทุกอย่าง
    พระธรรมเทศนาของพระองค์เมื่อตอนตรัสรู้ใหม่ๆ หนักไปในทางแสดงเหตุและการดับเหตุ หรือที่เรียกว่า สมุทัย กับ นิโรธ ดังเช่นในการให้พิจารณาเรื่องสังขาร ในด้าน สมุทัย ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา และในด้าน นิโรธ ว่า อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา
    ในด้าน สมุทัย นั้น แปลความเป็นสยามภาษาว่า อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ, วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป, นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ ๖, อายตนะ ๖ เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ, ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา, เวทนาเป็น ปัจจัยให้เกิดตัณหา, ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน, อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ, ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ, ชาติเป็นปัจจัยให้มีความแก่ ความตาย และความเศร้าโศกต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะดับได้ก็เพราะชาติดับ, ชาติดับได้ก็เพราะภพดับ, ภพจะดับได้ก็เพราะอุปาทานดับ, อุปาทานจะดับได้เพราะตัณหาดับ, ตัณหาจะดับได้ก็เพราะเวทนาดับ, เวทนาจะดับได้เพราะผัสสะดับ, ผัสสะจะดับได้ก็ต่อเมื่ออายตนะดับ, อายตนะจะดับได้ต่อเมื่อนามรูปดับ, นามรูปจะดับได้ต่อเมื่อวิญญาณดับ, วิญญาณจะดับได้ต่อเมื่อสังขารดับ, สังขารจะดับลงก็เพราะอวิชชาดับ, เหตุผลเกิดดับเกี่ยวข้องกันเป็นลูกโซ่เช่นนี้ เรียกว่า ปัจจยาการ ที่พระองค์ได้รู้แจ้งแทงตลอดในวันตรัสรู้นั้นทั้งสิ้น พิจารณาตามลำดับดังที่ยกขึ้นกล่าวมาข้างต้น เมื่อย่นให้ได้ความเข้าใจ อันจะเป็นผลในทางปฏิบัติแล้ว ก็มีตัวสำคัญอันเดียว คือ อวิชชา เป็นมูลรากฝ่ายเกิด หรือที่เรียกว่าสมุทัย และในทางดับ หรือที่เรียกว่า นิโรธ ก็ทำนองเดียวกัน อวิชชาเท่านั้นเป็นตัวการสำคัญ ถ้าดับอวิชชาได้อย่างเดียว อื่นๆ ดับเรียบหมด เพราะอวิชชาเหมือนต้นไฟ แต่ถ้ายังดับอวิชชาไม่ได้แล้ว ก็ไม่มีหวังว่าอย่างอื่นจะดับได้ ที่หมายสำคัญในคำสอนของพระองค์จึงอยู่ที่ว่า ให้ผู้ปฏิบัติเพียรหาทางกำจัดอวิชชาเสีย จึงจะพ้นจากห้วงลึก คือวัฏฏสงสารได้
    อเนกชาติสํสารํ ฯเปฯ ในขณะเมื่อแสงทองเรื่อเรืองแข่งแสงเงินขึ้นมายังขอบฟ้าเบื้องบูรพา อันเป็นสัญญาณว่าดวงอาทิตย์เตรียมทำหน้าที่จะส่องโลกอยู่แล้ว เป็นเวลาที่อากาศยะเยือกเย็นสดชื่น ส่งให้เราหวนไประลึกถึงเวลารุ่งอรุณแห่งวันเพ็ญวิสาขมาส อันเป็นวันที่พระบรมโลกนาถอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น เราจะแลเห็นโอภาสรัศมีอันรุ่งโรจน์ยิ่งกว่าแสงทองนั้นร้อยเท่าพันทวี ช่วงโชติอยู่ภายใต้โพธิพฤกษ์อันมหาศาล ใบเขียวชอุ่มรับกับรัศมีอันเหลืองอร่ามอยู่ภายใต้นั้น ในใจกลางแห่งรัศมีอันช่วงโชติชัชวาลอยู่นั้น มิใช่อื่นไกล คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ประทับพริ้มอยู่ด้วยพระอาการชื่นบานพระหฤทัยที่ได้เสวยวิมุตติสุข อันเป็นผลแห่งการที่พระองค์ได้ทรงประกอบพระมหาปธานวิริยะมาเป็นเวลาช้านาน จึงได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สมดังพระหฤทัยประสงค์ พระองค์จึงทรงเปล่งพระอุทานเย้ยตัณหาว่า อเนกชาติ สํสารํ ดังที่ได้ยกขึ้นกล่าวไว้ข้างต้นนั้น ซึ่งแปลใจความเป็นสยามภาษาว่า “เราสืบเสาะหาตัวช่างไม้ผู้สร้างปราสาทมานานแล้ว เมื่อเรายังหาไม่พบ เราต้องท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร เวียนว่ายตายเกิดอยู่แทบจะนับชาติไม่ถ้วน การเกิดนำความทุกข์มาให้เราแล้วๆ เล่าๆ ไม่รู้จักจบสิ้น นี่แน่ะท่านนายช่างไม้กล่าวคือตัณหา บัดนี้เราเจอะตัวท่านแล้วละ ท่านหมดโอกาสที่จะมาสร้างปราสาทคืออัตภาพร่างกายเราต่อไปได้อีกแล้ว กระดูกซี่โครงท่านกล่าวคือกิเลส เราหักเสียกรอบหมดแล้ว มิหนำซ้ำยอดปราสาทกล่าวคืออวิชชา เราก็รื้อทำลายหมดสิ้นแล้ว จิตของเราปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว เราถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว” พระอุทานนั้นมีข้อความเป็นบุคคลาธิษฐานสั้นๆ แต่มีอรรถรสลึกซึ้งน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ที่แปล คหกูฏํ ว่ายอดปราสาท ก็เพื่อความเหมาะสมที่พระองค์เป็นกษัตริย์ เพราะบ้านเรือนของพระมหากษัตริย์ เรียกกันว่า ปราสาทราชฐาน พระอุทานนั้นมีข้อความชัดเจนแล้ว มิจำต้องอธิบาย
    วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
    คำว่า “วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน” แปลว่า พระองค์ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คุณวิเศษของพระองค์ในที่นี้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ (๑) วิชชา, (๒) จรณะ อะไรเรียกว่า วิชชา วิชชาในที่นี้หมายเอา ความรู้ที่กำจัดมืดเสียได้ มืดคืออะไร ในที่นี้หมายเอาขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรงกันข้ามกับ อวิชชา ที่แปลว่า ไม่รู้ คือไม่รู้ถูก หรือผิด เพราะว่าเข้าไปยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน จึงมืดมน ไม่รู้ไม่เห็นของจริงคือนิพพาน ข้อสำคัญอยู่ที่อุปาทาน ซึ่งแปลว่ายึดมั่น คือยึดมั่นในขันธ์ ๕ ถ้ายังตัดอุปาทานไม่ได้ตราบใด ก็คงมืดตื้ออยู่อย่างนั้น ตัดอุปาทานได้ มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า หรือพูดให้ฟังง่ายกว่านี้ก็ว่า เมื่อตัดอุปาทานเสียได้ จะมองเห็นนิพพานอยู่ข้างหน้า อวิชชา ที่แปลว่า ไม่รู้นั้น ได้แก่ ไม่รู้อดีต ปัจจุบัน อนาคต ของสังขาร ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท และ อริยสัจจะ
    ขันธ์ ๕ เป็นชื่อของอุปาทาน ถ้าปล่อยขันธ์ ๕ หรือวางขันธ์ ๕ ไม่ได้ ก็พ้นจากภพไม่ได้ คงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เอง มืดมนวนอยู่ในที่มืดคือโลกนี้เอง ได้ในคำว่า อนฺธภูโต อยํ โลโก ซึ่งแปลว่า โลกนี้น่ะมืด ผู้แสวงหาโมกขธรรมถ้ายังติดขันธ์ ๕ อยู่แล้ว ยังจะพบโมกขธรรมไม่ได้เป็นอันขาด กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ กล่าวคือ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก ก็พวกมีขันธ์ ๕ พวกมืดทั้งนั้น ยิ่งในโลกันตนรก เรียกว่า มืดใหญ่ทีเดียว
    วิชชา ที่ว่านี้หมายเอา วิชชา ๓ คือ (๑) วิปัสสนาวิชชา, (๒) มโนมยิทธิวิชชา, (๓) อิทธิวิธีวิชชา, แต่ถ้านับรวมตลอดถึง อภิญญา ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของวิชชา เข้าด้วยกันแล้ว รวมกันเป็น ๘ คือ (๔) ทิพพจักษุวิชชา, (๕) ทิพพโสตวิชชา, (๖) ปรจิตตวิชชา, (๗) ปุพเพนิวาสวิชชา, (๘) อาสวักขยวิชชา
    ส่วน จรณะ นั้น มี ๑๕ คือ (๑) ศีลสังวร, (๒) อินทรียสังวร, (๓) โภชเน มัตตัญญุตา, (๔) ชาคริยานุโยค, (๕) ศรัทธา, (๖) สติ, (๗) หิริ, (๘) โอตตัปปะ, (๙) พาหุสัจจะ, (๑๐) อุปักกโม (วิริยะ), (๑๑) ปัญญา กับ รูปฌาน ๔ จึงรวมเป็น ๑๕
    วิปัสสนา ต่อไปนี้จักแสดงถึงวิชชา และจะยกเอา วิปัสสนาวิชชา ขึ้นแสดงก่อน “ วิปัสสนา” คำนี้ แปลตามศัพท์ว่า เห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หรือนัยหนึ่งว่า เห็นต่างๆ เห็นอะไร ? เห็นนามรูป, แจ้งอย่างไร ? แจ้งโดยสามัญญลักษณะว่าเป็นของไม่เที่ยง เต็มไปด้วยทุกข์ และเป็นอนัตตา ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา มีข้อสำคัญที่ว่า เห็นอย่างไร ? เป็นเรื่องแสดงยากอยู่ เห็นด้วยตาเรานี่หรือเห็นด้วยอะไร ? ตามนุษย์ไม่เห็น ต้องหลับตาของมนุษย์เสีย ส่งใจไปจรดจ่ออยู่ศูนย์ดวงปฐมมรรค (คำว่าปฐมมรรคนี้ได้มาจากบาลีในสนธิกับประโยคว่า “ตฺตรายมาทิ” ซึ่งแปลกันมาว่า อยํ ปฐมมคฺโค อันว่าปฐมมรรคนี้ อาทิ ภวติ มีอยู่เป็นเบื้องต้น ตตฺร นิพฺพาเน ในพระนิพพานนั้น) เห็น จำ คิด รู้ มีอยู่ในดวงปฐมมรรคนั้น ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมไม่เห็น ก็เพราะว่าพวกเหล่านี้ยังไม่พ้นโลก เสมือนลูกไก่อยู่ในกระเปาะไข่ จะให้แลลอดออกไปเห็นข้างนอกย่อมไม่ได้ เพราะอยู่ในกระเปาะของตัว เพราะโลกมันบัง ด้วยเหตุว่าโลกมันมืดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น พวกเหล่านี้จึงไม่สามารถจะเห็น กล่าวคือ พวกที่บำเพ็ญได้จนถึงชั้นรูปฌานและอรูปฌาน ก็ยังอยู่กระเปาะภพของตัว ยังอยู่จำพวกโลก หรือที่ เรียกกันว่าฌานโลกีย์ ยังเรียกวิปัสสนาไม่ได้ เรียกสมถะได้ แต่อย่างไรก็ดี วิปัสสนาก็ต้องอาศัยสมถะเป็นรากฐานก่อน จึงจะก้าวขึ้นสู่ชั้นวิปัสสนาได้
    การบำเพ็ญสมถะนั้น ส่งจิตเพ่งดวงปฐมมรรคตรงศูนย์ คือ กึ่งกลางกายภายใน ตรงกลางพอดี ไม่เหลื่อมซ้ายขวาหน้าหลัง แล้วเลื่อนสูงขึ้น ๒ นิ้ว เมื่อถูกส่วน ก็จะเห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เป็นชั้นๆ ซ้อนกันอยู่ภายในตามลำดับ จากกายมนุษย์เข้าไปพิจารณาประกอบธาตุธรรมถูกส่วน รูปจะกะเทาะล่อนออกจากกัน เห็นตามลำดับเข้าไป กายมนุษย์กะเทาะออกเห็นกายทิพย์ กายทิพย์กะเทาะออกเห็นกายรูปพรหม กายรูปพรหมกะเทาะออกเห็นกายอรูปพรหม ในเมื่อประกอบธาตุธรรมถูกส่วน วอกแวกไม่เห็น นิ่งหยุดจึงเห็น หยาบไม่เห็น ละเอียดจึงเห็น อาตาปี สมฺปชาโน สติมา ประกอบความเพียรมั่น รู้อยู่เสมอ ไม่เผลอ เพียงแต่ชั้นกายทิพย์เท่านั้น ก็ถอดส่งไปยังที่ต่างๆ ได้ ไปรู้ไปเห็นเหตุการณ์ได้เหมือนตาเห็น คล้ายกับนอนหลับฝัน แต่นี่ไม่ใช่หลับ เห็นทั้งตื่น ตื่นจากการนอน คนธรรมดาสามัญจะหลับเมื่อไรไม่รู้ จะตื่นเมื่อไรก็ไม่รู้ แต่ถ้าถึงชั้นกายทิพย์แล้ว จะต้องการให้หลับเมื่อไร จะให้ตื่นเมื่อไร ทำได้ตามใจชอบ พวกฤาษีที่ได้บำเพ็ญฌาน เขาก็ทำได้ แต่ทั้งนี้ก็อยู่ในขั้นสมถะนั้นเอง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราก็ได้เรียนฌานมาแล้วจากในสำนักฤาษี กล่าวคือ อาฬารดาบสและอุทกดาบส ก็ได้ผลเพียงแค่นั้น พระองค์เห็นว่ายังมีอะไรดียิ่งกว่านั้น จึงได้ประกอบพระมหาวิริยะบำเพ็ญเพียรต่อไป จนในที่สุด พระองค์ได้บรรลุวิปัสสนาวิชชา เมื่อถึงขั้นนี้แล้วจึงมองเห็นสามัญญลักษณะ เห็นนามรูป ด้วยตาธรรมกาย เพราะพระองค์ทะลุกระเปาะไข่คือโลกออกมาได้แล้ว
    พระองค์เห็นโลกหมดทั่วทุกโลก ด้วยตาธรรมกาย พระองค์รู้ด้วยญาณธรรมกาย ผิดกว่าพวกกายทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหมเหล่านั้น เพราะพวกเหล่านั้นรู้ด้วยวิญญาณ แต่พระองค์รู้ด้วยญาณ จึงผิดกัน สภาพเหตุการณ์ทั้งหลายแหล่ พระองค์รู้หมด แต่มิใช่รู้ก่อนเห็น พระองค์เห็นก่อนรู้ทั้งสิ้น
    การเห็นรูปด้วยตามนุษย์ อย่างเช่น พระยสะกับพวกไปพบซากศพและช่วยกันเผา ขณะเผาได้เห็นศพนั้นมีการแปรผันไปต่างๆ เดิมเป็นตัวคนอยู่เต็มทั้งตัว รูปร่าง สี สัณฐาน ก็เป็นรูปคน ครั้นถูกความร้อนของไฟเผาลน สีก็ดำด่างแปรไป ดำจนคล้ายตะโก หดสั้นเล็กลงทุกทีๆ แล้วแขนขาหลุดจากกัน จนดูไม่ออกว่าเป็นร่างคนหรือสัตว์ ไม่เพียงเท่านั้น ครั้นเนื้อถูกไฟกินหมด ก็เหลือแต่กระดูกเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย ในที่สุดกระดูกเหล่านั้นแห้งเปราะแตกจากกัน ล้วนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จนดูไม่ออกว่าเป็นกระดูกสัตว์หรือกระดูกมนุษย์ พระยสะปลงสังเวชถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แห่งสังขารร่างกายที่เป็น ซากศพนั้น แม้กระนั้นก็ยังไม่ทำให้บรรลุมรรคผล จนกว่าจะได้พบพระพุทธเจ้า จึงบรรลุมรรคผล นี่ก็เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า เห็นด้วยตามนุษย์ไม่ทำให้บรรลุมรรคผลได้ อย่างมากก็เป็นเพียงปัจจัยเพื่อจะให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น การเห็นด้วยตาทิพย์ ตารูปพรหม และอรูปพรหม ก็เช่นเดียวกัน เป็นเพียงปัจจัยเพื่อให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น ต้องเห็นด้วยตาธรรมกาย จึงจะบรรลุมรรคผลได้
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า เบญจขันธ์ คือขันธ์ ๕ รูป จะกล่าวในที่นี้เฉพาะรูปหยาบๆ คือ สิ่งซึ่งธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันเข้า รวมกันเป็นก้อน เป็นชิ้น เป็นอัน แลเห็นด้วยตา เช่น ร่างกายมนุษย์และสัตว์ ที่เรียกว่ารูป เพราะเหตุว่า เป็นของซึ่งจะต้องแตกสลายไปด้วยเหตุต่างๆ มีหนาวและร้อน เป็นต้น กล่าวคือหนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีดย่อมแตกสลายไป แต่ถ้าแยกโดยละเอียดแล้ว รูปนี้มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น อุปาทายรูป เป็นต้น แต่ว่าจักยังไม่นำมาแสดงในที่นี้ การพิจารณาโดยสามัญญลักษณะ พิจารณาไปๆ ละเอียดเข้าซึ้งเข้าทุกที จนเห็นชัดว่านี่มิใช่ตัวตน เรา เขา อะไร สักแต่ว่าธาตุประชุมตั้งขึ้นแล้วก็ดับไป ตาธรรมกายนั้นเห็นชัดเจน เห็นเกิดเห็นดับ ติดกันไปทีเดียว คือเห็นเกิดดับๆๆๆ คู่กันไปทีเดียว ที่เห็นว่าเกิดดับๆ นั้นเหมือนอะไร เหมือนฟองน้ำ เหมือนอย่างไร เราเอาของฝาด เช่น เปลือกสนุ่นมาต้มแล้วรินใส่อ่างไว้ ชั้นต้นจะแลเห็นเป็นน้ำเปล่าๆ ต่อมาเมื่อเอามือแกว่งเร็วๆ อย่างที่เขาเรียกว่า ตีน้ำให้เป็นฟอง เราจะเห็นมีสิ่งหนึ่งปรากฏขาวขึ้นมา เป็นรูปเป็นร่าง ดูให้ดี จะเห็นในฟองนั้นมีเม็ดเล็กๆ เป็นจำนวนมากติดต่อกันเป็นพืดรวมกัน สิ่งนี้เรียกว่าฟองน้ำ เราจ้องดูให้ดีจะเห็นว่าเม็ดเล็กๆ นั้น พอตั้งขึ้นแล้วก็แตกย่อยไปเรื่อยๆ ไม่อยู่นานเลย นี่แหละ เห็นเกิดดับๆ ตาธรรมกายเห็นอย่างนี้ เห็นเช่นนี้จึงปล่อยอุปาทานได้
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อีก ๔ กองนั้นก็ทำนองเดียวกัน เห็นเกิดดับๆ ยิบไป เช่นเดียวกับเห็นในรูป ทุกข์เป็นของมีและขึ้นประจำกับขันธ์ ๕ เป็นของธรรมดา แต่ที่เราเดือดร้อนก็เป็นเพราะไปขืนธรรมดาของมันเข้า ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ย่อมแปรผันไปตามธรรมดาของมัน เกิดแล้วธรรมดามันก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เมื่อมันถึงคราวแก่ เราไม่อยากจะแก่ หรือไม่ยอมแก่ อาการของมันที่แสดงออกมามีผมหงอกเป็นต้น ถ้าเราขืนมัน ตะเกียกตะกายหายาย้อมมันไว้ นี่ว่าอย่างหยาบๆ ก็เห็นแล้วว่าเกิดทุกข์แล้ว เกิดลำบากแล้ว ถ้าเราปล่อยตามเรื่องของมัน ก็ไม่มีอะไรมาเป็นทุกข์
    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกัน ความทุกข์เกิดขึ้น เพราะขืนมัน ขืนธรรมดาของมัน สิ่งไม่เที่ยงจะให้เที่ยง สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนก็ยังขืนยึดว่าเป็นตัวตน เหตุที่ให้ขืนธรรมดาของมันเช่นนี้ อะไร? อุปาทาน นั่นเอง ถ้าปล่อยอุปาทานได้ การขืนธรรมดาก็ไม่มี ตามแนวที่พระปัญจวัคคีย์ตอบกระทู้ถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสถามว่า เมื่อมันมีอาการแปรผันไปเป็นธรรมดา แก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้แล้ว เบญจขันธ์นี้จะเรียกว่าเป็นของเที่ยงไหม ตอบว่าไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงแล้วเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ตอบว่าเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้นควรละหรือจะยึดเป็นตัวตน ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า
    อะไรเล่าเป็นเหตุให้เกิดอุปาทาน ตัณหานั่นเอง ได้แก่ กามตัณหา ความทะยานอยาก เกี่ยวด้วยอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น ภวตัณหา ความทะยานอยากเป็นไปในอารมณ์ ๖ ประกอบ ด้วย สัสสตทิฏฐิ ถือว่าเที่ยงถาวร วิภวตัณหา ความทะยานอยากเป็นไปในอารมณ์ ๖ ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ ถือว่าขาดสูญ เมื่อละตัณหาได้ อุปาทานก็ไม่มี ดังจะยกอุทาหรณ์ เทียบเคียงให้เห็น ดังเช่น สามีภรรยาที่หย่าขาดจากกัน เมื่อเขายังไม่หย่ากัน สามีไปทำอะไรเข้า ภรรยาก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย หรือเมื่อฝ่ายภรรยาไปทำอะไรเข้า ฝ่ายสามีก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย ถ้าเขาหย่าขาดกันแล้ว มิไยที่ฝ่ายใดจะไปก่อกรรมทำเข็ญขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่มีทุกข์ไม่มีร้อนด้วยเลย ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะเขาต่างหมดความยึดถือ (อุปาทาน) ว่าเขาเป็นสามีภรรยากันแล้ว นี่ฉันใดก็ฉันนั้น นี่จะเห็นชัดในข้อว่า ทุกข์เกิดจากอุปาทาน อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวดูดดึงเข้ามา แต่ลำพังขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวทุกข์ ได้ในคำว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา รวมความก็ว่า ปล่อยอุปาทานไม่ได้ เป็นทุกข์ ปล่อยได้ หมดทุกข์
    ถอดกายทิพย์ออกเสียจากมนุษย์ กายมนุษย์ก็ไม่มีเรื่อง จะมีใครเป็นทุกข์ และในที่สุดจะต้องปล่อยอุปาทานให้หมดทั้งในกายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม คงแต่ธรรมกายเด่นอยู่
    เหตุใดพระองค์จึงเน้นสอนหนักไปในทางอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อใคร่ครวญโดยสุขุมแล้ว จะมองเห็นว่า พระองค์สอนดังนั้นเพื่อตะล่อมให้คนที่มีความคิดใช้วิจารณปัญญา สอดส่องเห็นได้เอง เช่น พระองค์ตรัสถึง “อนิจจัง” ก็เพื่อให้ค้นคิดหา “นิจจัง” ตรัสถึง “ทุกขัง” ก็เพื่อให้ค้นคิดหา “สุขัง” ตรัสถึง “อนัตตา” ก็เพื่อให้คิดหา “อัตตา” คนที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด ประกอบด้วยความเพียรพินิจพิจารณา ย่อมจะมองเห็นแนวพระโอวาทของพระองค์ จะเทียบให้เห็น เช่น มีคน ๒ คนยืนอยู่ คนหนึ่งสูง คนหนึ่งต่ำ เรารู้จักคนสูง ใครมาถามเราว่า คนสองคนนั้นรู้จักไหม เราตอบว่าคนสูงเรารู้จัก เมื่อคนอื่นได้ยินคำตอบเช่นนั้น แม้ตาของเขาไม่แลเห็นคนสองคนนั้นเลย เขาย่อมจะรู้ว่าคนที่เราไม่รู้จักนั้นต่ำกว่าคนที่เรารู้จัก โดยเราไม่จำเป็นจะต้องพูดว่าคนต่ำเราไม่รู้จัก นี่ฉันใด อนิจจังบอกนิจจัง ทุกขังบอกสุขัง อนัตตา บอกอัตตา ฉันนั้น อะไรเล่าเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา ก็คือธรรมกายนี้เอง เป็นตัวนิจจัง สุขัง อัตตา
    ติด หลุด เป็นหัวข้อสำหรับผู้ปฏิบัติ ปล่อยอุปาทานไม่ได้ เรียกว่า “ติด” ปล่อยได้ เรียกว่า “หลุด” ติด คือติดอยู่ในโลก หลุด คือพ้นจากโลก เรียกว่า โลกุตตระ เข้าแดนพระนิพพาน ต้องปล่อยอุปาทานทั้งในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงแห่งเบญจขันธ์ดังกล่าวมานั้นด้วยตาธรรมกาย จึงเป็นวิปัสสนาวิชชา อันจะเป็นทางให้หลุดได้
    วิปัสสนาวิชชาแยกได้เป็น ๑๐ ประการ คือ
    1. สัมมสนญาณ พิจารณาย่นย่อนามรูป คือ ความเห็นตามเป็นจริงของนามรูปนั้นๆ
    2. อุทยัพพยญาณ คำนึงถึงความเกิดความดับของสังขารร่างกาย ดังอุทาหรณ์เรื่องฟองน้ำ ดังที่กล่าวมาข้างต้น คือ เห็นเกิดดับๆๆๆ ติดต่อกันไป
    3. ภังคญาณ คำนึงถึงแต่ความดับอย่างเดียว ให้เห็นว่าสังขารร่างกายที่เกิดมาแล้วนี้ มันรังแต่จะแตกดับอย่างเดียว และก็จะแตกดับอยู่รอมร่อแล้ว ประหนึ่งเรือนที่ปลูกอยู่ริมตลิ่ง ทั้งตัวเรือนก็เซซวนจวนจะพังอยู่แล้วด้วย ซึ่งเป็นความจริงแท้ เราพูดกันอยู่หยกๆ พอขาดคำ เราอาจจะตายเพราะโรคภัยอันตรายล้อมอยู่รอบข้าง ไม่รู้ว่ามันจะปรากฏขึ้นขณะใด
    4. ภยญาณ คำนึงให้เห็นว่าสังขารร่างกายเป็นภัย เสมือนสัตว์ดุร้ายไม่น่าจะเข้าใกล้ ซึ่งหมายความว่าไม่ควรจะหลงนิยมชมชื่น อันจะดูดดึงให้ใจเราหมกมุ่น เป็นเหตุให้ติดอยู่ในภพ
    5. อาทีนวญาณ นี่เป็นอีกแง่หนึ่งให้คำนึงถึงโทษแห่งสังขารว่า ถ้าเรามีอุปาทานยึดมั่นอยู่ว่า เป็นตัวเป็นตนของเราแล้ว มันจะให้ทุกข์โทษดังกล่าวในประการที่ ๔ นั้นดุจเดียวกัน
    6. นิพพิทาญาณ เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นไปแห่งสังขารดังกล่าวมาใน ๑-๒-๓-๔-๕ นั้นแล้ว ก็ให้เกิดปรีชาคิดเบื่อหน่ายสังขารเป็นกำลัง ไม่อยากได้ใคร่ดีแล้ว
    7. มุญจิตุกัมยตาญาณ ถึงขั้นนี้ก็ใฝ่ใจที่จะให้พ้นเสียจากสังขาร คือ ไม่อยากมีสังขาร แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ทำลายสังขารเสียโดยความโง่ๆ เช่น ฆ่าตัวตาย ให้ดำเนินการที่คิดพ้นจากสังขารโดยอุบายที่ถูกทาง
    8. ปฏิสังขาญาณ คิดคำนึงหาทางพ้นต่อไป แต่หาทางออกทางพ้นไม่ได้ เพราะมันได้เกิดมาเป็นสังขารเสียแล้ว ผะอืดผะอมอย่างนี้ เรียกว่า กลืนไม่เข้า คายไม่ออก สำรอกไม่ไหว ต่อไปก็ถึง
    9. สังขารุเปกขาญาณ วางใจเป็นกลางไว้ เท่ากับว่าเมื่อกลืนไม่เข้า คายไม่ออกแล้ว ก็อมเฉยไว้ก่อน ต่อจากนี้จะมีญาณอีกอันหนึ่งเกิดขึ้น คือ
    10. อนุโลมญาณ คำนึงผ่อนให้เป็นไปตามความที่เป็นจริงของมัน นี่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เดินสายกลางหันเข้าหาอริยสัจ ๔ โดยวิธีดังที่บรรยายมาข้างต้น ว่าโดยรวบรัดตัดความ ก็หันเข้าหลักธรรมกายนั่นเอง พิจารณาเห็นแจ้งชัดอริยสัจ ๔ ด้วยตาธรรมกาย รู้ชัดด้วยญาณธรรมกาย จึงเป็นวิปัสสนาวิชชา แต่ละอย่างๆ ที่กล่าวมาใน ๑๐ ข้อนี้เป็นอาการหรือ อารมณ์ของวิปัสสนาที่จะพยุงจิตให้ข้ามขึ้นจากโลกีย์ไปสู่ภูมิโลกุตตระ คำว่าสังขารร่างกาย ในที่นี้หมายถึงนามรูปนั่นเอง ที่เรียกว่านามรูปนั้นได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๕ อย่างนี้รวมกัน ย่นย่อลงเรียกว่า นามรูป
    มโนมยิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ทางใจ ใครบำเพ็ญได้ถึงที่ ย่อมทำได้ คือทำให้ใจมีฤทธานุภาพผิดไปจากธรรมดา จะนึกให้เป็นอย่างไรก็เป็นไปตามนึก ดังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ นึกจะให้เทวดามนุษย์เห็นกัน เทวดาก็มองเห็นมนุษย์ มนุษย์ก็มองเห็นเทวดา ซึ่งมีปรากฏใน เทโวโรหนสูตร นั้น เพราะมีธรรมกาย ธรรมกายนึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น
    อิทธิวิธี แปลว่า แสดงฤทธิ์ให้ปรากฏได้ต่างๆ ดังเช่น เนรมิตจักร เนรมิตพระกาย และเนรมิตปราสาทราชฐานในครั้งทรงทรมานพระเจ้าชมพูบดี จนพระเจ้าชมพูบดีหมดทิฏฐิมานะ แล้วจึงทรงแสดงธรรมสั่งสอน เป็นต้น
    ทิพพจักขุ แปลว่า ตาทิพย์ ซึ่งหมายความว่า มองเห็นอะไรๆ ได้หมด ไม่ว่าอยู่ใกล้ไกล อย่างไร ดังเช่นเรื่องพระมเหศวรทดลองพระศาสดา ให้ทรงปิดพระเนตรเสีย แล้วพระมเหศวรซ่อนตัว โดยจำแลงตัวให้เล็ก แทรกแผ่นดินไปซุกอยู่ในเมล็ดทรายใต้เชิงเขาพระสุเมรุ พระองค์ก็มองเห็น ทรงเรียกให้ขึ้นมา ยังหาว่าเป็นอุบายของพระองค์จะเดาลักเค้าเอา ในที่สุดพระองค์ก็เอาฝ่าพระหัตถ์ช้อนเอาตัวติดขึ้นมาพร้อมกับเมล็ดทรายนั้นให้เห็นประจักษ์ ตาทิพย์นี้แม้สาวกของพระองค์ก็มีได้ เอาตามนุษย์ ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ซ้อนกัน แล้วเอาตาธรรมกายมองซ้อนตากายอรูปพรหม จะเห็นชัด คล้ายกับว่า แว่นหลายๆ ชั้นซ้อนกัน
    ทิพพโสต แปลว่า หูทิพย์ ใครจะพูดอะไรกันที่ไหนได้ยินหมด โดยเอาแก้วหูกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ซ้อนกันตลอดแก้วหูของธรรมกาย ย่อมสัมฤทธิ์ผลเป็นหูทิพย์ ได้ยินอะไรหมด
    ปรจิตตวิชชา แปลว่า ความรู้ที่สามารถทำให้ล่วงรู้ถึงวาระจิตของผู้อื่นได้ ดังมีเรื่อง พวกยักษ์เป็นอุทาหรณ์ คิดว่าจะตั้งปัญหาถามพระศาสดา ถ้าแก้ไม่ได้จะจับโยนข้ามมหาสมุทร ครั้นมาถึงก็เรียกพระองค์ว่ามานี่ ยังมิทันจะได้พูดอะไรต่อไป พระองค์ก็ล่วงรู้เสียก่อนแล้วว่า อาฬวกยักษ์คิดมาอย่างไร พระองค์ทรงตอบเย้ยไปว่าจะเรียกตถาคตไยเล่า เข้าไปหา ท่านจะจับเราโยนข้ามมหาสมุทร แล้วในที่สุดได้ตรัสตอบไปว่า ปัญหาที่ท่านคิดจะถามเรานั้น พ่อของท่านบอกไว้ใช่ไหม แล้วเราจะบอกท่านได้ต่อไปด้วยว่า พ่อท่านได้รับบอกมาจากพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ล่วงรู้ใจคนได้อย่างนี้
    ปุพเพนิวาสวิชชา แปลว่า ความรู้ที่ระลึกชาติหนหลังได้ ว่าชาติไหนเป็นอะไร เกิดที่ไหนมาแล้ว ดังมีเรื่องเวสสันดรชาดกเป็นหลักฐาน ไม่มีสิ่งที่จะพึงระแวงสงสัยอย่างไร เป็นองค์แห่งสัมมาสัมโพธิญาณแน่แท้
    อาสวักขยวิชชา แปลว่า ความรู้ที่ทำลายอาสวะให้หมดสิ้นไป กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ทั้ง ๔ ประการนี้ พระองค์มีทัศนะปรีชาญาณหยั่งรู้วิถีทางที่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่มีในพระกมลของพระองค์แม้แต่สักเท่ายองใย
    จรณะ ๑๕
    ต่อไปนี้ถึงเรื่องจรณะ ๑๕ จักได้ขยายความพอสมควร จรณะ แปลว่า ประพฤติ หรือธรรมควรประพฤติ
    ๑. ศีลสังวร ได้แก่ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์
    ๒. อินทรีย์สังวร การสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิให้อารมณ์ส่วนที่จะชักนำไปทางชั่วเข้าติดอยู่ได้ แต่การสังวรเหล่านี้มีประจำพระองค์เป็นปกติอยู่ มิจำต้องพยายามฝืน อย่างเช่นปุถุชนทั้งหลาย
    ๓. โภชเน มัตตัญญุตา การรู้ประมาณในการบริโภคพอสมควร ไม่มากไม่น้อยเกินไป เป็นจริยาที่เราควรเจริญรอยตาม ว่าโดยเฉพาะการบริโภคอาหาร ถ้ามากเกินไป แทนที่จะมีคุณค่าแก่ร่างกาย กลับเป็นโทษ
    ๔. ชาคริยานุโยค ทางประกอบความเพียรทำให้พระองค์ตื่นอยู่เสมอ คือ รู้สึกพระองค์อยู่เสมอ นิวรณ์เข้าครอบงำไม่ได้เป็นปกติ
    ๕. สัทธา พระองค์ประกอบด้วยสัทธาอย่างอุกฤษฎ์ ที่ปรากฏในเวสสันดรชาดก เป็นต้น พระองค์ได้บำเพ็ญทานบารมี บริจาคของนอกกาย ทานอุปบารมี สละเนื้อเลือดเมื่อทำความเพียร ทานปรมัตถบารมี สละได้ถึงชีวิตมาแล้วอย่างสมบูรณ์
    ๖. สติ ได้แก่ที่เรียกว่าสติวินัย พระองค์ไม่เผลอในกาลทุกเมื่อ เราผู้ปฏิบัติควรเจริญรอยตามดังแนวที่ทรงสอนไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ไม่ว่าจะเดิน ยืน นั่ง นอน ให้มีสติอยู่เสมอ สติในมหาสติปัฏฐานสูตร ท่านหมายเอาสติที่ตรึกถึงกาย เวทนา จิต ธรรม
    ๗. หิริ การละอายต่อความชั่ว
    ๘. โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวบาป
    ทั้ง ๒ ประการนี้เป็นจรณะที่ติดประจำพระองค์อยู่อย่างสมบูรณ์
    ๙. พาหุสัจจะ ฟังมาก นี่ก็มีประจำพระองค์มาแต่ครั้งยังสร้างบารมี พระองค์ทรงเอาใจใส่ฟังธรรมในสำนักต่างๆ เป็นลำดับมาจนกระทั่งอาฬารดาบสและอุทกดาบส ซึ่งได้ทรงเรียนรู้รูปฌาน อรูปฌาน มาจากสำนักนี้
    ๑๐. อุปักกมะ ความเพียรไม่ละลด ดั่งเช่นทรงบำเพ็ญพุทธกิจ ๕ เป็นประจำ (๑) เวลาเช้าบิณฑบาต (๒) เวลาเย็นทรงแสดงธรรม (๓) เวลาค่ำทรงประทานพระโอวาทแก่ภิกษุ (๔) เวลาเที่ยงคืนทรงเฉลยปัญหาเทวดา (๕) เวลาใกล้รุ่งพิจารณาเวไนยสัตว์ที่จะพึงโปรด
    ๑๑. ปัญญา มีความรู้ความเห็นกว้างขวาง หยั่งรู้เหตุรู้ผลถูกต้อง ไม่มีผิดพลาด จรณะยังประกอบด้วยรูปฌานอีก ๔ จึงรวมเป็นจรณะ ๑๕ รูปฌาน ๔ นั้นพระองค์ได้อาศัยมาเป็นประโยชน์ที่จะขยับขยายโลกิยปัญญาให้เป็นโลกุตตระ เป็นพวกสมาธินั่นเอง และในจำพวกสมาธินั้น อัปปนาสมาธิจึงเป็นองค์ปฐมฌาน แม้กระนั้นยังเป็นโลกีย์ ต้องเห็นด้วยตาธรรมกาย หยั่งรู้ด้วยญาณธรรมกายจึงเป็นโลกุตตระ ฌาน ๘ นั้นเป็นจรณะส่งข้ามโลก พระองค์เรียนฌานนั้นจากดาบส ต่อจากนั้นพระองค์มาแสวงหาด้วยพระองค์เอง จึงได้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นองค์อรหันตสัมมาสัมพุทโธ
    สุคโต
    แปลได้เป็นหลายนัย เช่นว่า ไปดีแล้ว ไปสู่ที่ดี หรือทรงพระดำเนินงาม ที่ว่าไปดีแล้ว หมายถึงว่าพระองค์ประพฤติดี ทั้งกาย วาจา ใจ คือ กายสุจริต วาจาสุจริต ใจสุจริต ประพฤติสม่ำเสมอมาเป็นอเนกชาติ ดับขันธ์จากชาติหนึ่ง ก็ไปสู่สุคติทุกชาติ ไม่ไปสู่ทุคติเลย อย่างนี้เรียกว่า สุคโต ไปดีแล้ว
    นัยหนึ่งพระองค์ดำเนินกาย วาจา ใจ ไปในแนวอริยมรรค ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นปริโยสาน ซึ่งย่อลงเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา พระองค์เดินทางศีลเป็นเบื้องต้น ศีลมีประเภทจำแนกละเอียดไว้มากมาย รวมเข้าเป็นวินัยปิฏกถึง ๕ พระคัมภีร์ รวมยอดเข้าเป็นปฐมมรรคๆ เป็นดวงใสอยู่ในกึ่งกลางกาย นั้นแหละรวมยอดมาจากศีล นี่แหละตัวศีล สุคโต ในทางศีล พระองค์เดินทางใจไปหยุดอยู่ตรงดวงปฐมมรรคนั้น หยุดสงบจนราคะ โทสะ โมหะ อภิชฌา พยาบาท เข้าไม่ได้ ไม่มีอะไรเข้าไปทำให้ขุ่นมัว จึงใสดุจกระจกส่องเงาหน้า ก็เข้าขั้นสมาธิ หยุดนิ่งจนมี “รู้” ผุดขึ้น เรียกว่า ปัญญา หยุดนิ่งอยู่เช่นนั้น เป็นทำนองเดียวกันตั้งแต่กายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม จนถึงธรรมกาย เมื่อธรรมกายหยุดนิ่ง จิตของธรรมกายเป็นมรรคจิต ญาณธรรมกายเป็นมรรคปัญญา ธรรมกายเข้าสมาบัติดูอริยสัจต่อไป ดวงใสถึงขนาดตกศูนย์แล้วกลับเป็นโสดาบันบุคคล แล้วเป็นสกทาคา อนาคา โดยทำนองเดียวกัน จนธรรมกายอนาคาตกศูนย์จึงเป็นพระพุทธเจ้า อย่างนี้เรียก สุคโต
    อีกนัยหนึ่งว่า เขมํ ทิสํ คจฺฉมาโน แปลว่า ไปอยู่สู่แดนอันเกษมกล่าวคือ นิพพาน คือเมื่อธรรมกายเพ่งเล็งถูกส่วน ตกศูนย์ มีอายตนะอีกอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า อายตนะนิพพาน ดึงดูดธรรมกายที่ตกศูนย์นั้นเข้านิพพานอยู่เนืองนิตย์ แม้ในขณะมีพระชนม์อยู่ ชื่อว่าไปอยู่สู่แดนเกษมประการหนึ่ง เมื่อจะดับขันธ์ พระองค์เข้าสมาบัติ อายตนะนิพพานดึงดูดเข้าสู่ นิพพานไป นี่ก็เรียกว่าไปสู่แดนอันเกษม ซึ่งอยู่ในความหมายว่า สุคโต
    สุคโต ที่แปลว่า ทรงพระดำเนินงาม หมายถึงว่าเมื่อครั้งจะทรงดำเนินไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ยังป่าอิสิปตนะนั้น ทรงเดินไปด้วยย่างพระบาท มีฉัพพรรณรังสีรุ่งโรจน์ จนแม้แต่ว่าสัตว์จตุบททวิบาทที่มาแลเห็น ก็งงงัน หยุดนิ่งตะลึงไปไม่ได้ อย่างนี้เรียกว่าทรงพระดำเนินงาม
    สุนฺทรํ ฐานํ คตตฺตา ที่ว่า สุคโต เพราะอรรถว่าไปสู่ที่ไหน ดีที่นั่น ดังเช่นครั้งเมื่อเมืองไพสาลีเกิดไข้ทรพิษระบาดไปทั่วเมือง ผู้คนล้มตายกันมาก จนหาคนจะเก็บศพฝังไม่ได้ ถึงกับปล่อยให้เน่าคาเรือน พวกเจ้าลิจฉวีประชุมกันให้ไปเชิญพระองค์ พระองค์มาถึงฝั่งแม่น้ำข้างหนึ่ง เป็นเวลาเย็นแล้ว จึงทรงประทับยับยั้งอยู่ ในคืนนั้นเทวดาทั้งหลายรู้ว่ารุ่งขึ้น พระศาสดาจะเสด็จข้ามฟากไปสู่นครไพสาลี เห็นว่าที่นั่นอากูลไปด้วยซากศพ จึงประชุมกันให้วัสสวลาหกบันดาลให้ฝนตกลงมากมาย จนถึงเป็นกระแสน้ำพัดซากศพเหล่านั้นไปหมดสิ้น ก่อนเวลาที่พระองค์จะเสด็จไปถึง เมื่อพระองค์เสด็จข้ามฟากไปถึงนครไพสาลีก็สะอาดหมดจดแล้ว พวกเจ้าลิจฉวีถวายอาหารบิณฑบาต ทรงเจริญพระปริตร และให้พระอานนท์เอาน้ำพระพุทธมนต์ไปประพรม ด้วยใช้กำหญ้าคาจุ่มน้ำพระพุทธมนต์ อมนุษย์ก็ปลาสนาการไปหมด โรคภัยก็สงบ ดังนี้ก็ได้ชื่อว่า สุคโต
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ (ต่อ)

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต
    โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ.
    โลกวิทู
    โลกวิทู แปลว่า รู้แจ้งซึ่งโลก โลกแบ่งออกเป็น ๓ คือ สังขารโลก สัตว์โลก โอกาสโลก โลกทั้ง ๓ นี้ สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรู้แจ้งหมด รู้ถึงความเป็นไปของโลกเหล่านี้โดยละเอียดด้วย จึงได้พระนามว่า โลกวิทู
    คำว่า โลก หมายความว่า เป็นที่ก่อแห่งสัตว์ หรือนัยหนึ่งว่าเป็นที่ก่อผลแห่งสัตว์ ซึ่งว่าเป็นที่ก่อแห่งสัตว์ก็คือ เป็นที่เกิดที่อยู่แห่งสัตว์ ที่ว่าเป็นที่ก่อผลแห่งสัตว์ก็คือ เป็นที่ซึ่งสัตว์ได้อาศัยก่อกุศลและอกุศล ว่าโดยเฉพาะโลกมนุษย์เป็นที่มนุษย์อาศัยสร้างบุญ แล้วก็ได้ผลไปบังเกิดในสวรรค์ หรือบำเพ็ญบารมีแล้วส่งผลไปสู่นิพพาน ดังเช่นองค์สมเด็จพระศาสดา ถ้าสร้างบาปแล้วก็เป็นผลให้ไปเกิดในนรก
    สังขารโลก คือโลกที่มีอาหารเป็นปัจจัยแต่ง ได้แก่คำว่า สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา สัตว์ทั้งหลายอยู่ได้เพราะอาหารปรนปรือ อาหารแปลว่าประมวลมา หรือเครื่องปรนปรือ

    อาหารแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ (๑) กวฬิงการาหาร (๒) ผัสสาหาร (๓) มโนสัญเจตนาหาร (๔) วิญญาณาหาร
    1. กวฬิงการาหาร หมายความว่าอาหารที่เป็นคำๆ เช่น คำข้าว ส่วนละเอียดของอาหาร คือโอชะ หรือที่เรียกกันอย่างใหม่ๆ ว่า วิตามิน วิตามินนั้นเข้าไปปรนปรือร่างกาย จึงเป็นปัจจัยให้สัตว์ดำรงชีวิตอยู่ได้ สัตว์ทั้งหลายมีอาหารหยาบมากและละเอียดต่างกันเป็นพวกๆ เช่น จระเข้กินอาหารหยาบมาก กินแม้ก้อนหินหรือสัตว์ตัวใหญ่ๆ แต่แล้วก็มีโอชะไปหล่อเลี้ยงร่างกายมันได้ นกยูงกินแมลงต่างๆ ทั้งตัว หมาไนแทะกินกระดูกสัตว์ที่แข็งๆ ช้างม้าโคกระบือกินหญ้าและใบไม้ กินของหยาบๆ ก็มีโอชะไปหล่อเลี้ยงร่างกายมันได้ มนุษย์กินอาหารละเอียดกว่าสัตว์ที่กล่าวมาเป็นชั้นๆ เช่น ราษฎรสามัญกินหยาบกว่าพระมหากษัตริย์ พวกเทวดากินอาหารละเอียดกว่ามนุษย์ อย่างที่เรียกว่าทิพย์ ก็คือโอชะส่วนละเอียดของอาหาร พวกพรหมละเอียดยิ่งกว่าเทวดาอีก มีจักรพรรดิคอยปรนปรือ แม้เลยชั้นรูปพรหม อรูปพรหมขึ้นไป คือถึงชั้นนิพพาน ก็มีอาหารส่วนละเอียดหล่อเลี้ยงเช่นเดียวกัน อาหารละเอียดเป็นที่สุด แต่อยู่นอกโลก นี่เป็นการสาวหาเหตุผลประกอบเป็นลำดับชั้นไป มิใช่ตำรับตำราโดยตรง แม้ในพวกเทวดากันเองก็มีอาหารละเอียดต่างกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ภุมมเทวดามีอาหารหยาบกว่าพวกเทวดาอื่น ถัดขึ้นไปชั้นยามา และอื่นๆ ละเอียดยิ่งกว่ากันขึ้นไปทุกชั้น การกินอาหารของพวกเทวดามีอาการเหมือนเราฝัน แล้วก็มีความอิ่มเอิบไปตามระยะเวลา แต่ระยะเวลานานกว่ามนุษย์ ต่างกันเป็นลำดับขึ้นไป อาหารเป็นปัจจัยให้เกิดรูป มีโอชะเป็นคำรบ ๘ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณโณ คันโธ รโส โอชา ซึ่งเรียกว่ากลาปรูป คือ รูปเกิดจากอาหารเป็นคำๆ นี้จำพวกกวฬิงการาหาร
    2. ผัสสาหาร ได้แก่ ผัสสะทั้ง ๖ คือ ผัสสะทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผัสสะ แปลว่า ความกระทบ เช่น เมื่อรูปมากระทบตาก็เกิดขึ้น เรียกว่า จักขุสัมผัส อีก ๕ อย่างเช่นกัน ผัสสะนี้เป็นอาหารเพราะประมวลให้เกิดเวทนา หรือปรนปรือให้เกิดเวทนา ๓ ผัสสะที่เกิดจากกระทบอารมณ์ที่ดีก็ให้เกิดสุขเวทนา กระทบอารมณ์ชั่วก็ให้เกิดทุกขเวทนา อารมณ์ไม่ดีไม่ชั่วก็ให้เกิดอุเบกขาเวทนา ดังเช่น พระสารีบุตรยืนกั้นร่มให้พระศาสดาได้เป็นเวลา ๗ วัน โดยไม่หิวโหย ก็เพราะผัสสาหารอย่างนี้ สัตว์นรกดำรงชีพรับเคราะห์กรรมอยู่ได้ก็เพราะผัสสาหารทางชั่ว คนนอนหลับอยู่ได้ก็ด้วยผัสสะชนิดให้เกิดอุเบกขาเวทนา
    3. มโนสัญเจตนาหาร ได้แก่ การคิดอ่านทางใจ มโนสัญเจตนาหารนี้เป็นอาหารประมวลมาซึ่งภพ ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ แล้วแต่เจตนา คือมุ่งไปเกาะภพไหน เมื่อประกอบถูกส่วนก็ไปสู่ภพนั้น เจตนาเป็นตัวกรรม ได้ในบาลีว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ซึ่งแปลความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาว่าเป็นตัวกรรม คนที่ทำกรรมเป็นกุศล สุคติภพย่อมคอยท่ารับรองอยู่ และคนที่ทำกรรมเป็นอกุศล ทุคคติภพก็ย่อมคอยท่ารับรองเขาอยู่เหมือนกัน
    4. วิญญาณาหาร วิญญาณแปลว่าความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งเป็นอาหารชนิดหนึ่งเหมือนกัน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหล่านี้เป็นที่รับรองของวิญญาณ วิญญาณย่อมมีรสในอารมณ์ ๖ อย่าง ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณจึงเป็นอาหารประมวลให้เกิดนามรูปได้ในคำว่า วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ ซึ่งแปลว่า วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป
    สัตว์โลก ที่ว่าพระองค์ทรงรู้แจ้งซึ่งสัตว์โลกนั้น คือพระองค์ทรงรู้แจ้งซึ่งธรรมเป็นที่มาแห่งจิตของสัตว์ทั้งหลาย
    สัตว์โลกทั้งหลายมีอัชฌาสัยหรือความเห็นต่างๆ กัน เช่น จำพวกหนึ่งเห็นว่าโลกเที่ยง ไม่มียักเยื้องแปรผัน และเห็นว่าเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อตายไปก็ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อย่างเดิม อีกพวกหนึ่งเห็นว่าตายแล้วขาดสูญหมดสิ้นกันเท่านั้น ไม่มีอะไรในผู้นั้น จะมาเกิดอีก ทำดี ทำชั่ว ก็สิ้นสุดเพียงวันตาย ไม่มีบุญ ไม่มีบาป จะตามไปสนองในภพหน้าที่ไหนอีก อย่างนี้เรียกว่าไม่รู้ซึ่งความเป็นจริงของโลก

    ส่วนพระองค์ทรงรู้แจ้งเห็นแจ้งซึ่งสัตว์โลกว่าไม่เป็นเช่นนั้น ที่จริงสัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามยถากรรม ทำดี ความดีย่อม ติดตามไปสนองในภพหน้า ทำชั่ว ความชั่วย่อมติดตามไปสนองในภพหน้า เป็นเสมือนเงาตามตัว อันเรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ จึงได้ชื่อว่า โลกวิทู นัยหนึ่ง
    • อนุสเย ชานาติ ทรงรู้แจ้งซึ่งอนุสัย ๗ ประการ คือ กามราคานุสัย ภวราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย มานานุสัย อวิชชานุสัย
    • จริตํ ชานาติ ทรงรู้แจ้งจริตแห่งสัตว์ทั้งหลาย ๖ ประการ คือ ราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต สัทธาจริต พุทธิจริต
    • อธิมุตฺตึ ชานาติ ทรงรู้แจ้งนิสสัยต่ำสูง และความเป็นผู้มีใจบุญ ความเป็นผู้มีใจบาปแห่งสัตว์ทั้งหลาย ทรงรู้แจ้งซึ่งความมีกิเลสหนาบางแห่งสัตว์ทั้งหลาย
    • ทรงรู้แจ้งในอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายว่าแก่อ่อนอย่างไร กล่าวคือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เรียกว่า อินทรีย์ ๕ คือ ความเชื่อ ความเพียร สติ สมาธิ และปัญญา แล้วก็ทรงหาอุบายโปรดในเมื่อทรงเห็นว่าอินทรีย์แก่กล้าสมควรแล้ว ดังเช่น วักกลิพราหมณ์ เห็นพระองค์มีพระสิริโฉมอันงาม ชอบเนื้อชอบใจ จนถึงขอบวชเป็นภิกษุ บวชแล้วก็เฝ้ามองดูพระสิริโฉมของพระองค์เป็นเนืองนิตย์ พระองค์ก็ทรงรอไว้ ครั้นเมื่อเห็นว่าอินทรีย์แก่กล้าแล้ว จึงทรงเริ่มหาอุบายโปรด โดยตรัสว่า วักกลิ ท่านจะมัวมามองดูร่างกายอันเน่าเปื่อยนี้ไย ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นจึงจะเห็นเรา พระวักกลิน้อยใจที่พระองค์ตรัสห้ามเช่นนั้น จึงอำลาจากพระองค์จะไปโดดภูเขาตาย ในเมื่อใกล้โดด พระองค์ได้เปล่งรัศมีให้เห็นประหนึ่งไปประทับอยู่เฉพาะหน้า พระวักกลิวิ่งโลดโผเข้าไปในรัศมีของพระองค์ด้วยความปีติเลื่อมใสอันแรงกล้า ก็ได้บรรลุมรรคผลในกาลบัดนั้น สมความปรารถนาแล้วก็มาเฝ้าพระบรมศาสดาโดยทางอากาศ
    • สฺวากาเร ทฺวากาเร ชานาติ อีกประการหนึ่ง พระองค์ทรงรู้แจ้งว่าสัตว์จำพวกใด มีอาการดี มีอาการชั่ว แก้ไหวหรือไม่ไหว มีสัทธา มีปัญญา หรือว่าหาสัทธา หาปัญญา มิได้เลย
    • ภพฺเพ อภพฺเพ ชานาติ ประการหนึ่ง ทรงรู้ว่าสัตว์จำพวกใดทรงโปรดได้ จำพวกใดทรงโปรดไม่ได้ เช่น สัตว์พวกสัมมาทิฏฐิโปรดได้ จำพวกมิจฉาทิฏฐิโปรดไม่ได้
    โอกาสโลก
    สภาพที่รับรองซึ่งกันและกัน คือ อากาศรับรองธาตุไฟๆ รับรองธาตุน้ำๆ รับรองธาตุดินๆ รับรองภูเขาตรีกูฏๆ รับรองภูเขาสุเมรุราชๆ รับรองชั้นจาตุมหาราชๆ รับรองชั้นดาวดึงส์ๆ รับรองชั้นยามาๆ รับรองดุสิตๆ รับรองนิมมานรตีๆ รับรองปรนิมมิตวสวัตตีๆ รับรองพรหมปริสัชชาๆ รับรองพรหมปุโรหิตาๆ รับรองมหาพรหมาๆ รับรองปริตตภาๆ รับรองอัปปมาณาภาๆ รับรองอาภัสสราๆ รับรองปริตตสุภาๆ รับรองอัปปมาณสุภาๆ รับรองสุภกิณหาๆ รับรองอัสญญสัตตาและเวหัปผลาๆ รับรองอวิหาๆ รับรองอตัปปาๆ รับรองสุทัสสาๆ รับรองสุทัสสีๆ รับรองอกนิฏฐาๆ รับรองอากาสานัญจายตนะๆ รับรองวิญญาณัญจายตนะๆ รับรองอากิญจัญญายตนะๆ รับรองเนวสัญญานาสัญญายตนะ ส่วนสูงแต่มนุษย์โลกขึ้นไปถึงชั้นจาตุมมหาราชิกา ได้ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ (กายเทวดาสูง ๑๐๐ เส้น ใหญ่พอสมควร อายุ ๕๐๐ ปีทิพย์ นับปีมนุษย์ได้ ๙ ล้านปี) แต่จาตุมหาราชิกาขึ้นไปถึงดาวดึงส์ ได้ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ แต่ดาวดึงส์ขึ้นไปถึงยามา ได้ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ แต่ยามาขึ้นไปถึงดุสิต ได้ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ แต่ดุสิตขึ้นไปถึงนิมมานรตี ได้ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ แต่นิมมานรตีขึ้นไปถึงปรนิมมิตวสวัตตี ได้ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ แต่ปรนิมมิตวสวัตตีขึ้นไป ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ ถึงพรหมปริสัชชาขึ้นไปอีกเท่านั้น พรหมปุโรหิตาขึ้นไปเท่าๆ กัน ดังนี้ จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีระยะสูงเท่าๆ กันดังนี้
    ธาตุ ๖-ขันธ์ ๕

    ธาตุส่วนหยาบที่มีอยู่ตามปกติ คือ
    • ดินหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์
    • น้ำหนา ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์
    • ไฟหนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์
    • ลมหนา ๑,๙๒๐,๐๐๐ โยชน์
    • วิญญาณหนา ๓,๘๔๐,๐๐๐ โยชน์
    • อากาศหนาลงไปไม่มีที่สุด เช่น ภพ ๓ นี้อากาศที่อยู่รอบๆ ภพก็ไปจรดกับภพที่อยู่รอบๆ ออกไป ข้างล่างจรดขอบบนของโลกันต์ ข้างบนจรดขอบล่างของนิพพาน ทุกๆ ระหว่างของภพเหล่านี้มีพระพุทธเจ้ารักษาอยู่ทั้งนั้น
    ธาตุเหล่านี้ ความจริงเป็นเพียงธาตุส่วนที่เรียกว่า โอกาสโลก สำหรับธาตุที่เป็นส่วนขันธโลกนั้นละเอียดลงไปยิ่งกว่านี้หลายเท่าพันทวี เพราะขันธ์นั้นเป็นธาตุที่กลั่นมาจากธาตุอีกทีหนึ่ง
    อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
    พระคุณข้อนี้หมายความว่า พระองค์ก็เปรียบเหมือนสารถีผู้ฝึกสอนคนเป็นอย่างดี หาผู้อื่นเสมอเหมือนมิได้ ว่าโดยย่อที่สุดก็คือ พระองค์มีพระปรีชาญาณเฉลียวฉลาดในอันที่ฝึกสอนคนให้เป็นคนดีได้ ว่าโดยที่สุดก็คือให้สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ย่นคำสอนของพระองค์ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่พระองค์มีอุบายสอนต่างๆ นานา สุดแล้วแต่จะทรงพิจารณาเห็นว่าบุคคลจำพวกใดมีนิสัยอย่างไร ก็ทรงใช้อุบายสอนให้ต้องกับนิสัย เช่น พระนันทกุมารมีนิสัยหนักไปในทางราคจริต พระองค์ทรงเนรมิตเป็นรูปนางฟ้าเข้าล่อ จนพระนันทกุมารเห็นว่าสวยกว่านางคู่รักของเธอ แล้วก็ทรงยักเยื้องวิธี จนพระนันทกุมารเบื่อหน่ายในรูป
    ในบางกรณีเพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา พระองค์ทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์มากมาย ดังเช่นเรื่องอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น ซึ่งมีเรื่องว่าครั้งเมื่อพระองค์คิดจะทรงปลูกฝังพระศาสนาให้เป็นปึกแผ่นในกรุงราชคฤห์ แต่มีคณาจารย์คนสำคัญอยู่ที่นั่นชื่ออุรุเวลกัสสปะ ซึ่งมีคนนับถือมาก ถ้าปราบอุรุเวลกัสสปะเสียได้ พระพุทธศาสนาจึงจะรุ่งเรือง พระองค์จึงเสด็จไปยังอาศรมแห่งอุรุเวลกัสสปะ ตรัสขออาศัยพักสักราตรีหนึ่งที่โรงเพลิง อุรุเวลกัสสปะว่าที่นั่นมีพระยานาคพิษร้ายอยู่ตัวหนึ่ง พระองค์ว่าไม่เป็นไร ก็เสด็จประทับอยู่ที่นั่น ครั้นตกเวลากลางดึก พระยานาคสำแดงพิษ หรือเรียกว่าพ่นพิษทำร้ายพระองค์ แต่พระองค์ทรงดำรงพระสติเฉพาะหน้าต่อพระกัมมัฏฐานภาวนานุโยค ประมวลมาซึ่งอิทธาภิสังขาร สำแดงเตโชกสิณสมาบัติ บันดาลให้เป็นเปลวเพลิง ยังพระยานาคให้พ่ายแพ้ด้วยฤทธิ์ของพระองค์ แล้วให้ขดตัวอยู่ในบาตร เอาไปให้อุรุเวลกัสสปะกับบริวารดู แต่อุรุเวลกัสสปะก็ยังไม่เลื่อมใส ยังถือทิฏฐิว่าตนเป็นอรหันต์อยู่ พระองค์ก็ทรงแสดงอีกหลายประการ ตลอดจนแสดงจงกรม คือ เดินอยู่บนน้ำ แล้วเหาะขึ้นบนอากาศ แล้วเลื่อนลอยลงมาสู่เรือของอุรุเวลกัสสปะและบริวารที่ไปดูอยู่นั้น แล้วในที่สุดจึงชี้แจงให้พวกอุรุเวลกัสสปะรู้ตัวว่า ทางที่พวกเธอปฏิบัติอยู่นั้นมิใช่ทางที่จะบรรลุมรรคผล พวกเธอยังไม่ใช่พระอรหันต์ อุรุเวลกัสสปะได้สดับพระพุทธฎีกาก็ละทิฏฐิ ซบเศียรลงแทบฝ่าพระบาทพระองค์ ขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักพระองค์ ลำดับนั้น แล้วนทีกัสสปะและคยากัสสปะผู้เป็นน้องของอุรุเวลกัสสปะ ซึ่งต่างก็มีบริวารและเป็นคณาจารย์ตั้งอาศรมอยู่ถัดๆ กันไปตามลำดับของลำน้ำเนรัญชราทางใต้ ทราบเรื่องราวขึ้นก็พากันเลื่อมใส มาขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักพระองค์หมดสิ้น ดังนี้ พระองค์จึงเป็นผู้ฝึกสอนอย่างดีเลิศ ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน จึงได้พระนามว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
    สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
    แปลว่า พระองค์เป็นบรมครูแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้อนี้สาธกได้ด้วยพุทธกิจ ๕ ประการ ซึ่งว่า (๑) เวลาเช้าบิณฑบาต (๒) เย็นทรงแสดงธรรม (๓) พลบค่ำ ทรงให้โอวาทภิกษุ (๔) เที่ยงคืนแก้ปัญหาเทวดา (๕) ย่ำรุ่งพิจารณาดูเวไนยสัตว์ที่พึงจะโปรด จะเห็นได้ว่าในข้อ ๒-๓ นั้น ทรงเป็นครูมนุษย์ ข้อ ๔ นั้นทรงเป็นครูเทวดา และยังมีมงคลสูตรเป็นข้อยืนยันอีก เพราะเหตุที่พระองค์จะทรงแสดงมงคลสูตรนั้นก็เนื่องจาก เหตุว่าเทวดาลงมาเฝ้าและยกปัญหาขึ้นทูลถามว่า อะไรเป็นมงคล พระองค์จึงทรงประทานเทศนามงคลสูตร ซึ่งเริ่มต้นด้วยบทพระคาถาว่า “อเสวนา จ พาลานํ” เป็นอาทิ ซึ่งแปลว่า อย่าคบคนพาล เป็นต้น ตลอดจนถึง นิพฺพานสจฺฉิกิริยา การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ซึ่งพระองค์ตรัสว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นมงคลทั้งสิ้น ดังนี้จึงได้พระนามว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พระองค์เป็นบรมครู ทั้งเทวดาและมนุษย์
    พุทฺโธ
    คำว่า พุทฺโธ แปลได้หลายนัย แต่ในที่นี้จะขอแปลในทางที่ว่าเป็นผู้บานแล้ว หรือเบิกบานแล้ว ที่ว่าบานนั้นเปรียบด้วยดอกประทุมชาติ คือบานเหมือนดอกบัวที่บานแล้วเต็มที่ การที่พระองค์ทรงประกอบความเพียรอยู่ด้วยประการต่างๆ เมื่อยังไม่ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังตูมอยู่ ต่อรุ่งอรุณแห่งวันวิสาขปุรณมี พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงเปรียบเสมือนดอกบัวที่บานแล้ว บานในเวลารุ่งอรุณแห่งวันวิสาขปุรณมีนั้นเอง
    นัยว่าที่เบิกบานนั้น หมายความว่า เมื่อพระองค์ได้ทรงตรากตรำเป็นเวลาล่วงถึง ๖ พรรษา แล้วจึงได้มาตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้รับผลเป็นองค์ อรหํ และ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ดังบรรยายมาข้างต้นแล้ว พระกมลหฤทัยของพระองค์ก็ย่อมผ่องแผ้วเบิกบานเต็มที่ เหตุว่าได้ผลสมปรารถนาที่พระองค์ทรงตั้งปณิธานเพียรบำเพ็ญมา ฉะนี้จึงได้พระนามว่า พุทฺโธ
    ขอย้ำอีกหน่อยว่า การที่นำเอาดอกบัวบานมาเทียบความหมายแห่ง คำว่า พุทฺโธนั้นก็เพราะเหตุว่า เมื่อปฐมกัปเริ่มตั้งศีรษะแผ่นดินขึ้นใหม่ๆ มีกอบัวเกิดขึ้นพร้อมทั้งมีดอก ๕ ดอก ท้าวสุธาวาสหยั่งรู้ว่านี้เป็นนิมิตว่า ในกัลป์นี้จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสโปรดเวไนยสัตว์ ๕ พระองค์ จึงปกาสิตคำว่า นะ, โม, พุท, ธา, ยะ ไว้ ซึ่งมีความหมายว่า นะ คือ พระกกุสันโธ, โม คือ พระโกนาคมนะ, พุท คือ พระพุทธกัสสปะ, ธา คือ พระสมณโคดม, ยะ คือ พระศรีอารยเมตไตรย ซึ่งได้ปรากฏเป็นที่นับถือกันมาจนบัดนี้
    ภควา
    คำว่าภควา แปลได้หลายนัย แปลว่า หัก ก็ได้ แจก ก็ได้ ที่ว่าหักนั้นหมายความว่า พระองค์หักเสียได้ซึ่งสังสารจักร กล่าวคือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม อันเป็นเสมือนตัวจักรอันพัดผันส่งต่อไปยังกันและกัน เป็นกำลังดันให้หมุนเวียนวนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร มิให้ออกจากภพ ๓ พระองค์หักเสียได้แล้ว พระองค์จึงพ้นไปจากภพทั้ง ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เสด็จออกสู่นิพพานไป
    ที่ว่า แจก นั้นมีความหมายว่า เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์เป็นสัพพัญญูทรงรู้แจ้งธาตุธรรมทั้งปวงหมด จึงทรงสามารถจำแนกแยกแยะธรรมส่วนที่ละเอียดๆ ให้เห็น เช่น ทรงจำแนกขันธ์ ธาตุ อายตนะ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ดังนี้เป็นต้น ตลอดจนหลักธรรมอื่นๆ ทั้งมวลให้สาวกได้รู้เห็นรับปฏิบัติสืบๆ กันมา
    [พระธรรมคุณ]
    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ.
    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
    ต่อไปนี้เป็นเรื่องธรรมคุณ ธรรม ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะพระสัทธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า สฺวากฺขาโต แปลว่า พระองค์กล่าวแล้วดีนั้น ก็คือว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสสอนนั้น ล้วนแต่จะเป็นผลส่งให้ผู้ประพฤติปฏิบัติตามได้รับความร่มเย็นเป็นสุขทั้งสิ้น จึงได้ชื่อว่าเป็นธรรมที่พระองค์กล่าวแล้วดี ดีก็คือไม่มีเสีย คือคำสอนของพระองค์ไม่ให้ทุกข์แก่ผู้ปฏิบัติเลย มีแต่จะนำไปสู่สุขอย่างเดียว มีอริยมรรคเป็นข้อสาธกที่ทรงสอนไว้ว่า ความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ กล่าววาจาชอบ ๑ ประกอบการงานชอบ ๑ หาเลี้ยงชีพโดยชอบ ๑ ทำความเพียรชอบ ๑ ตั้งสติไว้ชอบ ๑ สมาธิชอบ ๑ พิจารณาดูให้ดีจะเห็น ธรรมเหล่านี้ผู้ใดประพฤติได้ จะให้ผลไม่เฉพาะแต่ทางธรรม แม้ในทางโลกก็อำนวยผลดีให้แก่ผู้ปฏิบัติเหมือนกัน ดังนี้ธรรมที่พระองค์ตรัสสั่งสอนไว้ได้ชื่อว่า “สวากขาตธรรม”
    พระสัทธรรมของพระองค์แบ่งเป็นหมวดใหญ่ๆ ได้ ๓ หมวด คือ ปริยัติธรรม ๑ ปฏิบัติธรรม ๑ ปฏิเวธธรรม ๑
    ปริยัติธรรมนั้น ได้แก่ คำสั่งสอนอันเป็นแนวนำไปสู่ปฏิบัติธรรม ส่วนปฏิบัติธรรมนั้นเป็นคำสอนที่บ่งวิธีการปฏิบัติโดยตรง ซึ่งจะมีผลส่งให้ถึงปฏิเวธธรรม คือ การรู้แจ้งแทงตลอดสภาวะความเป็นจริงทั้งมวล
    สนฺทิฏฺฐิโก
    แปลว่า ธรรมดาคำสอนของพระองค์นั้นไม่เหมือนสิ่งของอื่นๆ ซึ่งคนหนึ่งแลเห็น แล้วชี้ไป อีกคนหนึ่งจะแลเห็นได้ด้วยกัน อย่างนั้นหามิได้ ผู้ใดปฏิบัติตาม ผู้นั้นจะเห็นผลได้ด้วยตนเองว่าเป็นอย่างไร
    อกาลิโก
    ผู้ใดปฏิบัติ ผู้นั้นย่อมได้รับผลเสมอ โดยไม่มีจำกัดเวลาว่ามีเขตเพียงนั้น เพียงนี้
    เอหิปสฺสิโก
    เพระเหตุว่าเป็นของดีของจริง เมื่อผู้ใดปฏิบัติได้แล้วจึงเป็นเสมือนสิ่งของที่น่าจะเรียก บอกคนอื่นมาดูว่า นี่ ดีจริง อย่างนี้
    โอปนยิโก
    เพราะเหตุว่า การปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์พบของดีของจริง ดังกล่าวมาแล้วนั้น ควรจะน้อมนำเอาของดีจริงที่พบแล้วนั้นเข้ามาไว้ในตน คือยิ่งถือปฏิบัติเรื่อยไป ไม่ละวางเสีย
    ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ
    แปลว่า ธรรมของพระองค์นั้น วิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะด้วยตนเอง ข้อนี้ก็คล้ายกับ สนฺทิฏฺฐิโก ที่กล่าวข้างต้น ต่างแต่ว่าข้อนั้นกล่าวถึงอาการเห็น ส่วนข้อนี้กล่าวถึงอาการรู้ กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติตามธรรมของพระองค์ จะรู้ว่าธรรมของพระองค์ดีจริงอย่างไร และเมื่อปฏิบัติตามแล้วได้ผลเป็นอย่างไร ดังนี้ย่อมเกิดจากการปฏิบัติของตนเอง ด้วยใจของตนเอง ผู้อื่นจึงพลอยรู้ด้วยไม่ได้ มันเป็นรสทางใจ หากใจผู้ปฏิบัติเขาเยือกเย็นเป็นสุขสักปานใด แม้เขาจะเอามาเล่าให้เราฟัง ใจเราก็จะไม่เย็นอย่างเขา ตามคำที่เขาเล่าบอกนั้นได้ จะไม่ผิดอะไรกับคนหนึ่งได้กินแกงชนิดหนึ่ง มาเล่าให้เราฟังว่ามันอร่อยอย่างนั้นอย่างนี้ ก็จะไม่ทำให้เราเปิบข้าวเปล่าๆ โดยนึกเอารสแกงที่เขาว่านั้นมาประสมให้ได้รสอร่อยอย่างเขาว่านั้นได้
    [พระสังฆคุณ]
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ
    อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ.
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

    สาวกของพระองค์ผู้มีพระภาคเจ้านั้นย่อมมี ๒ จำพวก คือ ปุถุชนสาวก ๑ อริยสาวก ๑ ปุถุชนสาวกนั้นได้แก่ ผู้ที่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย แต่ยังมิได้บรรลุธรรมวิเศษอันใด ยังเป็นปุถุชนอยู่ จึงได้ชื่อว่าปุถุชนสาวก แต่สาวกตามความหมายในบทสังฆคุณที่ยกขึ้นกล่าวข้างต้นนี้ เฉพาะแต่อริยสาวกเท่านั้น อริยสาวก แปลว่าสาวกผู้ประเสริฐ คือสาวกที่ได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว พ้นจากฐานะปุถุชนแล้ว เรียกตามโวหารในทางศาสนาว่าเป็นชั้นอริยะ สาวกชั้นอริยะหรือที่เรียกว่า อริยสาวกนั้น ท่านจัดเป็น ๔ คู่ คือ
    1. โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล คู่ ๑,
    2. สกทาคามิมรรค-สกทาคามิผล คู่ ๑,
    3. อนาคามิมรรค-อนาคามิผล คู่ ๑,
    4. อรหัตตมรรค-อรหัตตผล คู่ ๑
    แต่ถ้าจัดเป็นรายบุคคล ท่านจัดเป็น ๘ คือ
    1. โสดาปัตติมรรค ๑
    2. โสดาปัตติผล ๑
    3. สกทาคามิมรรค ๑
    4. สกทาคามิผล ๑
    5. อนาคามิมรรค ๑
    6. อนาคามิผล ๑
    7. อรหัตตมรรค ๑
    8. อรหัตตผล ๑
    จึงรวมเป็นอริยบุคคล ๘ จำพวกด้วยกัน แบ่งเป็นชั้นๆ ตามลำดับธรรมวิเศษที่ได้บรรลุ
    พระอริยบุคคลบำเพ็ญกิจถูกส่วน เพ่งที่ศูนย์กลางกายเป็นดวงใส จนแลเห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม จนถึงกายธรรมเป็นชั้นที่ ๕ เป็นชั้นๆ ไป โดยนัยดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือ ชั้นต้น ดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ให้เป็นดวงใส แล้วขยายให้กว้างออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๒ วา หนา ๑ คืบ ใสเหมือนกระจกเงาส่องหน้า นี่เป็นปฐมฌาน แล้วกายธรรมนั่งบนนั้น ดังนี้เรียกว่า กายธรรมเข้าปฐมฌาน แล้วเอาตาธรรมกายที่นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ เห็นเป็นดวงใส แล้วขยายส่วนเท่ากันนั้น ธรรมกายน้อมเข้าฌานที่ ๒ นั้น แล้วฌานที่ ๑ ก็หายไป ฌานที่ ๒ มาแทนที่ ธรรมกายนั่งบนนั้น นี้ชื่อว่าธรรมกายเข้าฌานที่ ๒ ทำนองเดียวกันนั้นต่อๆ ไป ในกายรูปพรหม กายอรูปพรหม (นี่เป็นส่วนรูปฌาน) ต่อจากนี้ไปให้ใจธรรมกายน้อมไปว่าละเอียดกว่านี้มี ฌานที่ ๔ ก็หายไป ฌานที่ ๕ เกิดขึ้นแทนที่ เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ (ใสสว่าง) เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนฌานที่ ๕ ดังนี้แล้ว ใจธรรมกายน้อม ไปว่าละเอียดกว่านี้มีอีก ฌานที่ ๕ ก็หายไป ฌานที่ ๖ เข้ามาแทนที่ เรียกว่า วิญญาณัญจายตนะ (ใสยิ่งกว่านั้น) ธรรมกายนั่งอยู่บนฌานที่ ๖ แล้วนั้น ใจกายธรรมน้อมไปอีกว่า ละเอียดกว่านี้มี ฌานที่ ๖ ก็หายไป ฌานที่ ๗ มาแทนที่ เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ (ใสยิ่งขึ้นไปอีก) ธรรมกายนั่งอยู่บนฌานที่ ๗ นั้นแล้ว ใจธรรมกายก็น้อมไปอีกว่าละเอียดกว่านี้มีอีก ฌานที่ ๘ ก็บังเกิดขึ้นทันที เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ รู้สึกละเอียด จริง ประณีตจริง นี้เรียกว่าเข้าฌานที่ ๑-๘ โดยอนุโลม แล้วย้อนกลับจับแต่ฌานที่ ๘ นั้น ถอยลงมาหาฌานที่ ๗-๖-๕-๔-๓-๒-๑ เรียกว่า ปฏิโลม ทำดังนี้ ๗ หน ธรรมกายจึงคงไปอยู่บนฌานที่ ๘ ในระหว่างเข้าฌานนั้น ตั้งแต่ ๑-๘ นั้น ตาธรรมกายดูทุกขสัจ เห็น ชัดแล้วดูสมุทัยสัจ เห็นชัดแล้วดูนิโรธสัจ เห็นชัดแล้วดูมรรคสัจ เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๕ วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นกลายกลับเป็นธรรมกาย หน้าตักกว้าง ๕ วา สูง ๕ วา นี่เป็นพระโสดาแล้ว แล้วธรรมกายโสดานั้นเข้าฌานแล้ว พิจารณาอริยสัจ ๔ ในกายทิพย์ ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อถูกส่วน ธรรมกายโสดาตกศูนย์ วัดผ่าเส้นศูนย์กลางได้ ๑๐ วา ไม่ช้าศูนย์นั้นกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา มีชื่อว่าพระสกทาคามี แล้วธรรมกายเข้าฌานและพิจารณาอริยสัจในกายรูปพรหม ทำนองเดียวกันนั้น เมื่อถูกส่วน ธรรมกายสกทาคาตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๑๕ วา แล้วกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา มีชื่อว่าพระอนาคามี แล้วเอาธรรมกายของพระอนาคามีเข้าฌานพิจารณาอริยสัจ ๔ ในกายอรูปพรหม เห็นชัดเช่นเดียวกันกับที่กล่าวมา เมื่อถูกส่วน ธรรมกายพระอนาคามีตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ ๒๐ วา แวบเดียวกลับเป็นธรรมกายหน้าตักกว้าง ๒๐ วา สูง ๒๐ วา นี้เป็นพระอรหัตแล้ว
    ที่ว่าธรรมกายนั้น สัณฐานเป็นรูปพระพุทธปฏิมา เกตุดอกบัวตูม สีขาวเป็นเงา ใสเหมือนกระจกส่องหน้า ชั้นพระโสดาละกิเลสได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ที่ท่านละสักกายทิฏฐิได้ ก็โดยท่านพิจารณาเห็นชัดว่า สังขารร่างกายนี้เหมือนเรือนที่อาศัยอยู่ชั่วคราว ไม่ช้าก็จะแตกจะทำลายไป จะยึดถือเอาเป็นตัวเป็นตนมิได้ เป็นสักแต่ธาตุทั้งหลายประสมส่วนกันเข้า จึงเป็นรูปเป็นนาม ย่อมแปรผันไปตามลักษณะของมัน ไม่ยืนยงคงที่ ถ้าไปยึดถือเป็นตัวเป็นตนก็รังแต่จะนำความทุกข์มาให้ ดังที่กล่าวมา นี้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ส่วนธรรมกายนั้นท่านเห็นว่าเป็น นิจจัง สุขัง อัตตา ท่านจึงไม่แยแสต่อกายมนุษย์ โดยเห็นว่าเป็นของไม่มีสาระดังกล่าวข้างต้น ท่านจึงข้ามพ้นสักกายทิฏฐิไปได้
    ที่ท่านละวิจิกิจฉาได้ ก็ด้วยท่านเข้าถึงธรรมกายแล้ว ถอดกายทั้ง ๔ ซึ่งเป็นโลกีย์ ถอดเป็นขั้นออกไปเสียได้แล้ว ท่านจึงหมดความกินแหนงสอดแคล้วในพระรัตนตรัย เพราะท่านเป็นตัวพระรัตนตรัยเสียแล้ว
    ที่ท่านละสีลัพพตปรามาสได้นั้น ก็เพราะเมื่อท่านเป็นตัวพระรัตนตรัยเสียเช่นนี้แล้ว ศีลและวัตรใดอันเป็นฝ่ายมิจฉาทิฏฐินอกพระพุทธศาสนา ไม่มีในท่านแล้ว จึงได้ชื่อว่าท่านพ้นจากสีลัพพตปรามาส คือ การยึดมั่นซึ่งศีลและวัตรนอกพระพุทธศาสนา
    ชั้นพระสกทาคามี นอกจากกิเลส ๓ อย่าง ดังที่พระโสดาละได้แล้วนั้น ยังละกามราคะ พยาบาท อย่างหยาบได้อีก ๒ อย่าง กามราคะ ได้แก่ ความกำหนัดยินดีในวัตถุกามและกิเลสกาม พยาบาท คือ การผูกใจโกรธ
    พระอนาคามี ละกามราคะ พยาบาท ขั้นละเอียดได้
    พระอรหันต์ ละกิเลสทั้ง ๕ ดังกล่าวมาแล้วนั้นได้โดยสิ้นเชิง แล้วยังละสังโยชน์เบื้องบนได้อีก ๕ คือ รูปราคะ ความกำหนัดยินดีในรูปฌาน อรูปราคะ ความกำหนัดยินดีในอรูปฌาน มานะ ความถือตน อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน อวิชชา ความมืด ความโง่ ไม่รู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของสังขาร ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทธรรม และอริยสัจ จึงรวมเป็น ๑๐ ที่พระอรหันต์ละได้

    พระอริยบุคคลทั้ง ๘ ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ได้ชื่อว่า อริยสาวก
    • สุปฏิปนฺโน ท่านปฏิบัติแล้วดี คือ ปฏิบัติไปตามแนวมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายกลาง ตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาดำเนินมาแล้ว ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป จึงได้ชื่อว่า ปฏิบัติดี
    • อุชุปฏิปนฺโน ปฏิบัติแล้วตรง คือความปฏิบัติท่านมุ่งตรงต่อพระนิพพาน ไม่วอกแวกไปทางอื่น
    • ญายปฏิปนฺโน ปฏิบัติมุ่งเพื่อรู้ธรรมที่จะออกจากภพ ๓ โดยแท้
    • สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติอย่างดีเลิศ เพราะท่านปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงพระนิพพานจริงๆ ไม่ใช่เพื่อเหตุอื่น จึงสมควรนับว่าเป็นการปฏิบัติอย่างดีเลิศ
    • อาหุเนยฺโย จึงเป็นผู้ควรรับรองสักการะ
    • ปาหุเนยฺโย จึงเป็นผู้ควรต้อนรับ
    • ทกฺขิเณยฺโย จึงเป็นผู้ควรรับของที่เขาทำบุญ
    • อญฺชลีกรณีโย จึงสมควรกราบไหว้
    • อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ ไม่มีอื่นจะดีกว่าอีกแล้ว นี่เป็นเรื่องสังฆคุณ
    เมื่อเรารู้แนวปฏิบัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก ดังกล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว เรามีหน้าที่จะต้องพิจารณาไตร่ตรองดูว่า เราจะทำอย่างไร เราเพียงท่องจำ อิติปิ โส ภควา ไว้กระนั้นหรือ หรือจะพยายามนึกคำแปลไว้ให้เข้าใจด้วย และระลึกถึงพระคุณเหล่านี้เนืองๆ ดังนี้หรือ เราไม่พึงกระทำอะไรยิ่งไปกว่านี้หรือ ในปัญหาเหล่านี้ขอให้เราส่งใจไประลึกถึงพระโอวาทในเรื่องบูชา บูชามี ๒ อย่าง อามิสบูชา คือ บูชาด้วยเครื่องสักการะ อย่างหนึ่ง ปฏิบัติบูชา คือบูชาด้วยการปฏิบัติอย่างหนึ่ง ในการบูชาทั้ง ๒ อย่างนี้ พระองค์ทรงสรรเสริญว่าปฏิบัติบูชาดีกว่าอามิสบูชา เมื่อคิดทบทวนดูเหตุผลในพระโอวาทข้อนี้แล้ว เราจะเห็นได้ชัดทีเดียวว่า พระองค์มีพระประสงค์จะให้พวกเรามีความเพียรพยายามปฏิบัติ เจริญรอยตามพระองค์มากกว่าที่จะมามัวบูชาพระองค์อยู่ หาไม่พระองค์จะตรัสเช่นนั้นทำไม และโดยนัยอันนี้เอง จึงเป็นที่เห็นได้ว่า แม้เวลานี้จะเป็นกาลล่วงมาช้านานจากที่พระองค์ เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นข้อห้ามว่าผู้ที่ปฏิบัติตามจะไม่ได้รับผลอย่างที่ท่านได้รับ นอกจากคำกล่าวอ้างของคนเกียจคร้าน ข้อนี้มีคำว่า อกาลิโก ในบทธรรมคุณ นี้เองเป็นหลักฐานยันอยู่ว่า ธรรมของพระองค์ ผู้ใดปฏิบัติตาม ย่อมจะเกิดผลทุกเมื่อ ไม่มีขีดขั้น พระอริยสาวกทั้งหลายนั้นฐานะเดิมก็เป็นมนุษย์ปุถุชนนี้เอง แม้องค์สมเด็จพระบรมศาสดาก็เช่นกัน มิใช่เทวดา อินทร์ พรหม ที่ไหน แต่ที่เลื่อนขึ้นสู่ฐานะเป็นพระอริยะได้ ก็เพราะการปฏิบัติเท่านั้น แนวปฏิบัติอย่างไหนถูก พระองค์สอนไว้ละเอียดหมดแล้ว ปัญหาจึงเหลือแต่ว่าพวกเราจะปฏิบัติกันจริงหรือไม่เท่านั้น
    ดังที่พรรณนามานี้ก็จะเห็นคำตอบในปัญหาข้างต้นได้แล้วว่า เพียงแต่จะท่องจำ อิติปิ โส ภควา ไว้ หรือเพียงแต่ระลึกถึงพระคุณเหล่านั้นไว้ จะยังไม่พอแก่พระประสงค์ของพระองค์ กิจที่เราควรทำอย่างยิ่งจึงอยู่ที่การปฏิบัติของท่านตามแนวปฏิบัติของท่าน
    ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา นี้เรียกว่า อิทธิบาท ๔ เป็นหัวใจแห่งความสำเร็จทั้งมวล แปลอย่างจำได้ง่ายว่า ปักใจ บากบั่น วิจารณ์ ทดลอง ไม่ว่าจะทำกิจการใด ถ้าประกอบด้วย ๔ อย่างนี้ เป็นสำเร็จทั้งสิ้น ว่าโดยเฉพาะในการบำเพ็ญภาวนา (๑) ต้องปักใจรักการนี้จริงๆ ประหนึ่งชายหนุ่มรักหญิงสาว ใจจรดจ่อต่อหญิงคู่รักฉะนั้น (๒) ต้องบากบั่นพากเพียรเอา จริงเอาจัง (๓) วิจารณ์ตรวจดูการปฏิบัติให้ถูกต้องตามแนวสอนของอาจารย์ให้ดีที่สุด (๔) ทดลอง ในที่นี้ได้แก่ หมั่นใคร่ครวญสอดส่องดูว่า วิธีการที่ทำไปนั้นมีอะไรขาดตกบกพร่องบ้าง รีบแก้ไข อย่างนั้นไม่ดี เปลี่ยนอย่างนี้ ลองดูใหม่ เช่น นั่งภาวนาในที่นอนมักจะง่วง ก็เปลี่ยนมานั่งเสียที่อื่น เป็นต้น ข้อสำคัญให้ยึดแนวสอนเป็นหลักไว้ อย่าออกนอกทาง ๔ อย่างนี้ เรียกว่า อิทธิบาท เป็นเครื่องที่จะช่วยให้เกิดความสำเร็จในกิจทั้งปวง
    [ว่าด้วยรัตนะ]
    รตฺตนตฺตยํ นั้น แปลว่า หมวดสามแห่งรัตนะ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ๓ รัตนะนี้ประเสริฐกว่า สวิญญญาณกรัตนะ และอวิญญาณกรัตนะที่มีในไตรภพ ด้วยเป็นของทำความดีให้แก่โลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก
    กามโลกมีรัตนะที่ใช้กันอยู่ เช่นเพชร หรือแก้วทั้งเป็นและตาย ที่เป็นดังรัตนะเจ็ดของจักรพรรดิ ที่ตายดังรัตนะที่นำมาจากต่างประเทศโดยมาก รูปโลกก็มีรัตนะสำหรับให้เกิดแสงสว่างในโลกของเขา อรูปโลก ก็มีรัตนะสำหรับให้เกิดแสงสว่างในโลกของเขาดุจกัน ตั้งแต่เทวดาขึ้นไป มีรัตนะทั้งเป็น และตาย เป็นเครื่องให้เทวดา พรหม และอรูปพรหม อาศัยรัตนะเหล่านี้ และเป็นของทำความยินดีและปลื้มใจให้เกิดขึ้นแก่มนุษย์ เทวดา พรหม และอรูปพรหม ได้เท่ากำลังของรัตนะนั้นๆ ดังนี้เป็น รัตนะ ๓ ส่วนโลก ที่เกิดของ รัตนะ ๓ ส่วนธรรม ต้องบรรยายแต่เหตุไป รัตนะทั้ง ๓ นี้ เป็นรัตนะที่เป็น ไม่ใช่รัตนะที่ตาย แต่ที่เกิดรัตนะ ๓ นั้นทำให้มีขึ้นได้ด้วยความเพียรระวังกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ เพียรละกาย วาจา ใจ ที่ไม่บริสุทธิ์เสีย เพียรทำกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์ให้เกิดมีขึ้น เพียรรักษากาย วาจา ใจ ที่บริสุทธิ์แล้วให้ คงที่และทวีขึ้น ความที่มีขึ้นแล้วแห่งความบริสุทธิ์นั้นให้รักษาไว้อย่าให้หายไปเสีย นึกถึงความบริสุทธิ์นั้นแหละร่ำไป จนใจของตนบริสุทธิ์เหมือนกับความบริสุทธิ์แล้ว ก็จะเห็นความบริสุทธิ์ใสปรากฏอยู่ตรงกลางของกายมนุษย์ เหนือสะดือขึ้นมาราว ๒ นิ้ว ตรงนั้นเรียกว่า ศูนย์ เป็นดวงประมาณเท่าฟองไข่แดง ใสบริสุทธิ์ ดุจกระจกที่ส่องดูหน้าในเวลาแต่งหน้าและแต่งตัว ประมาณของดวงไม่คงที่ บางทีโตกว่าเล็กกว่าก็ได้ อย่างโตไม่เกินดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ อย่างเล็กไม่เกินดวงตาดำข้างใน นี้เป็นเครื่องกำหนดของดวง ดวงนั้นแหละคือ ปฐมมรรค
    จำเดิมแต่เห็นดวงปฐมมรรคแล้ว ให้เอาใจของตนจรดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงนั้นเสมอในอิริยาบถทั้ง ๔ จนกระทั่งใจของตนนั้นไม่ไปจรดในที่อื่น หยุดอยู่ที่กลางดวงของปฐมมรรคเสมอ เมื่อใจหยุดได้แน่นอนแล้ว ก็ขยับใจนั้นเข้าไปในศูนย์กลางของดวง ก็จะเห็นว่างประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทรที่ศูนย์กลางของดวงนั้น ในเมื่อส่งรู้เข้าไปในกลางว่าง เต็มทั้งคิด ทั้งจำ ทั้งเห็นแล้ว ก็จะเห็นกายทิพย์ของตนเองในกลางของว่างนั้น เห็นดังนี้ชื่อว่า เห็นกายในกาย คือกายทิพย์ในกายมนุษย์ แล้วเข้าดูดวงปฐมมรรคในกายทิพย์ที่ตรงศูนย์ของกายทิพย์อีก ก็จะเห็นเป็นดวงใสในกายทิพย์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้าอีก แล้วเอาเห็น จำ คิด รู้ จรดลงที่ศูนย์กลางของดวง ทำแบบเดียวกับทำมาแล้ว ก็จะเห็นกายรูปพรหมในกลางของดวงนั้น กายนั้นเหมือนกายของตัวเองจึงใช้ได้ ถ้าไม่เหมือนกายของตนเอง ทำใหม่จนเห็นเหมือนกายของตนเองจริงๆ แล้ว ชื่อว่า เห็นกายในกาย คือกายรูปพรหมในกายทิพย์ แล้วเข้าไปดูดวงปฐมมรรคในกายรูปพรหมต่อไป ก็จะเห็นเป็นดวงใสในกลางกายรูปพรหมดุจที่เห็นมาแล้ว เอาเห็น จำ คิด รู้ จรดลงที่ ศูนย์กลางดวง ก็จะเห็นกายอรูปพรหมในกลางดวงนั้น รูปเหมือนตัวเองจึงใช้ได้ ถ้าไม่เหมือน ทำใหม่จนเหมือน แต่พอเหมือนแล้วใช้ได้ เรียกว่าเห็นกายในกาย คือเห็นกายอรูปพรหม แล้วเข้าไปดูดวงปฐมมรรคในกายอรูปพรหมต่อไป ก็จะเห็นดวงใสในกลางกายอรูปพรหมดุจเห็นมาแล้ว เอาเห็น จำ คิด รู้ จรดลงที่ศูนย์กลางดวง ก็จะเห็นกายธรรมในกลางดวงนั้น รูปร่างเหมือนตัวเอง แต่ใสเหมือนดังแก้ว เกตุดอกบัวตูม แล้วเอาเห็น จำ คิด รู้ เข้าหยุดที่ศูนย์กลางของกายธรรม ที่ตรงนั้นเป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงไก่ โตได้ เล็กได้ ใสดุจเพชร ชื่อว่าธรรมสำหรับทำให้เป็นธรรมกาย ธรรมสิ่งนี้แหละสำหรับรักษาเห็น จำ คิด รู้ ให้บริสุทธิ์และให้หยุดด้วย ต้องให้หยุดให้มากที่สุดเท่าที่บังคับให้หยุดได้ หยุดให้มากที่สุดก็เจริญที่สุด หยุดต้องมีกลเม็ด หยุดดับหยาบไปหาละเอียดร่ำไป ไม่ใช่หยุดแล้วไม่ทำอะไร ทำหยุดในหยุดนั้นแหละ หนักขึ้นทุกที ไม่มีเวลาหย่อน จึงจะเจริญถึงที่สุดเร็ว ธรรมกายเป็นกายที่ ๕ นั้นเป็นกายสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ผู้ใดทำกายนี้ให้เป็นขึ้นได้ ผู้นั้นก็ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า ชื่อว่าอนุพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้า ตามเสด็จพระพุทธเจ้า คำว่า พระพุทธเจ้ามีหลายจำพวก เป็นสัพพัญญูพุทธเจ้าบ้าง ปัจเจกพุทธเจ้าบ้าง สาวกพุทธเจ้าบ้าง สุตพุทธเจ้าบ้าง พหุสุตพุทธเจ้าบ้าง อนุพุทธเจ้าบ้าง ดังนี้ตรงกับกระแสพุทธฎีกาว่า เราตถาคตกล่าวว่าท่านผู้สดับมากนั้น เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ชื่อว่า พหสุตพุทธเจ้า เมื่อเป็นธรรมกาย คือเป็นพระพุทธเจ้า ต้องเรียนวิชชาของพระพุทธเจ้าต่อไป ถ้าจะเรียนต่อไป ต้องรู้จักธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้นๆ คือ ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ และธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม ดังแสดงมาแล้วข้างต้น ธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้นๆ มีรูปพรรณสัณฐาน สีสัน วรรณะละม้ายคล้ายคลึงกัน ต่างกันแต่ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายโตมากกว่า แต่ส่วนเนื้อที่ละเอียดและความใสนั้น ก็ละม้ายกันทั้ง ๔ กาย แต่กายธรรมละเอียดและใสกว่าทั้ง ๔ ส่วนที่ตั้งของธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้นๆ คือตรงกลางตัว ตัดขาดแค่สะดือ บังเวียนเข้าไปที่ศูนย์กลางพอดี ไม่เหลื่อมซ้าย ขวา หน้า หลัง สำหรับสัตว์ที่จะไปเกิดมาเกิด ต้องอาศัยศูนย์กลางนั้นด้วยกันทั้งหมด จึงได้ชื่อว่าที่สิบ เทวดา, พรหม, อรูปพรหม ตลอดพระนิพพาน ใช้เป็นแบบเดียวกันทั้งสิ้น ตรงที่สิบนั้นว่างประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร เป็นอากาศว่าง เรียกว่า กำเนิดเดิม ก็ถูก ที่กำเนิดเดิมนั้นมีธรรมดวงหนึ่งเท่าฟองไข่แดงของไก่ สัณฐานกลม เนื้อละเอียดสีขาวใส หุ้มกำเนิดเดิมนั้นโดยรอบ กำเนิดเดิมนั้นอยู่ที่ศูนย์กลางข้างในพอดี ธรรมดวงนั้นแหละชื่อว่า มนุษยธรรม มนุษยธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์อยู่ศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีเหมือนกันทุกกายทั้งสุดหยาบสุดละเอียด มีชื่อตามกายนั้นๆ เช่น ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถ้าธรรมนี้ดับไป กายก็ต้องแตกจากกัน ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะหมดธรรมที่รักษา เหมือนเครื่องยนต์ที่ปลดเอาหม้อไฟออกเสีย เครื่องก็ต้องดับทันทีฉันนั้น ถ้าธรรมกายจะทำวิชชาต่อไป ต้องเอาเห็น จำ คิด รู้ ของธรรมกายจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้ เป็นกายมนุษย์นั้น แต่พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นก็ขยายส่วนออกไป ประมาณวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ ศอก กลมโดยรอบ ๖ วา หนาคืบหนึ่ง ใสเหมือนกระจกเงาส่องหน้า ธรรมกายก็ขึ้นนั่งอยู่บนฌานนั้น เหมือนนั่งอยู่บนแผ่นกระจกเป็นบัลลังก์ จะไปไหนก็คล่องแคล่วเหมือนใจนึก นี้เป็นฌานที่ ๑
    ถ้าจะทำต่อไปธรรมกายต้องส่องเห็น จำ คิด รู้ ไปจรดเข้าที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์นั้น แต่พอถูกส่วนเข้า ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์นั้นก็ขยายส่วนออกไปเท่าฌานที่ ๑ วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ ศอก ปริมณฑลโดยรอบ ๖ วา หนาคืบหนึ่ง ใสเหมือนกระจก เป็นบัลลังก์ ธรรมกายก็ขึ้นนั่งอยู่บนฌานนั้น เหมือนนั่งอยู่บนแผ่นกระจก จะไปไหนคล่องแคล่วเหมือนใจนึก นี่เป็นฌานที่ ๒
    ถ้าจะทำต่อไป ธรรมกายต้องส่องเห็น จำ คิด รู้ ไปจรดเข้าที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมนั้น แต่พอถูกส่วนเข้า ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมก็ขยายส่วนออกไปเท่าฌานที่ ๑ หรือที่ ๒ แล้วธรรมกายขึ้นนั่งอยู่บนฌานนั้น จะไปไหนคล่องแคล่วเหมือนใจนึก นี้เป็นฌานที่ ๓
    ถ้าจะทำต่อไป ธรรมกายต้องส่องเห็น จำ คิด รู้ ไปจรดเข้าที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมนั้น แต่พอถูกส่วนเข้า ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมก็ขยายส่วนออกไปเท่าฌานที่ ๑ หรือที่ ๒ ที่ ๓ ธรรมกายก็ขึ้นนั่งอยู่บนฌานนั้น จะไปทางไหนได้ตามใจนึก
    จบรูปฌาน ทำอรูปฌานต่อไป ธรรมกายที่นั่งอยู่บนจตุตถฌานนั้นต้องส่องเห็น จำ คิด รู้ ไปจรดลงที่ตรงศูนย์ว่างกลางปฐมฌาน แต่พอถูกส่วนเข้า ศูนย์ว่างกลางปฐมฌานนั้น ก็จะขยายส่วนออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ ศอก โดยรอบ ๖ วา หนาหนึ่งคืบ ใส กายธรรมก็ขึ้นไปนั่งอยู่บนศูนย์กลางของอรูปฌานแบบเดียวกันกับรูปฌาน นี่เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ ทำต่อไป
    ธรรมกายต้องส่องเห็น จำ คิด รู้ ไปจรดเข้าที่รู้ในว่างของศูนย์กลางทุติยฌาน ต่อพอถูกส่วนเข้า รู้ในศูนย์ว่างของทุติยฌานนั้น ก็ขยายส่วนออกไปเท่ากับอากาสานัญจายตนฌานนั้น ธรรมกายก็ขึ้นไปนั่งอยู่บนกลางของวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ทำต่อไป
    ธรรมกายที่นั่งอยู่บนฌานนั้นต้องเอาเห็น จำ คิด รู้ เข้าไปจรดที่รู้อันละเอียด ในที่ว่างศูนย์กลางของตติยฌาน แต่พอถูกส่วนเข้า รู้อันละเอียดในตติยฌานนั้นก็ขยายส่วนออกไปเท่ากันกับวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ธรรมกายก็ขึ้นไปนั่งอยู่บนอากิญจัญญายตนฌานนั้น ทำต่อไป
    ธรรมกายต้องเอาเห็น จำ คิด รู้ ไปจรดเข้าที่เหตุว่างกลางของจตุตถฌาน จรดเข้าที่ตรงรู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ แต่พอถูกส่วนเข้า รู้ละเอียดและประณีตนั้นก็ขยายส่วนออกไปเท่ากันกับอากิญจัญญายตนฌานนั้น ธรรมกายขึ้นนั่งบนเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น (เข้าดังนี้เป็น อนุโลม) เมื่อเข้าอนุโลมเป็นอย่างไร เมื่อจะปฏิโลมถอยกลับก็ต้องให้ตรงกับอนุโลม อย่าให้คลาดเคลื่อน ต้องให้ตรงเป็นแบบเดียวกันให้จงได้ จึงจะเป็นอันถูกต้องตามแบบ
    ธรรมกายนั้นแหละชื่อว่าโคตรภูบุคคล ถ้าจะให้เป็นอริยบุคคลต่อไป ธรรมกายต้องเข้าสมาบัติ ๘ ในระหว่างเข้าสมาบัตินั้น ตาธรรมกายต้องดูตาย ดูเจ็บ ดูแก่ ดูเกิด ของมนุษย์ให้เห็นตามความเป็นจริงของทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ถ้ายังไม่เห็นตามความเป็นจริง ต้องดูไปอีก แต่พอเห็นถูกส่วนเข้าเท่านั้น ธรรมกายตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศูนย์นั้น ๕ วา แล้วศูนย์นั้นกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก ๕ วา เป็นพระโสดา ทำต่อไป
    ธรรมกายของพระโสดานั้นเข้าสมาบัติ ๘ ในระหว่างเข้าสมาบัตินั้น ต้องเอาตาธรรมกายของพระโสดาดูตาย ดูเจ็บ ดูแก่ ของเทวกาย เหตุให้เกิดและความดับ เหตุให้ดับ ให้เห็นตามความเป็นจริงของทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ถ้ายังไม่เห็นตามความเป็นจริง ต้องดูต่อไปอีก แต่พอเห็นถูกส่วนเข้าเท่านั้น ธรรมกายของพระโสดาตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศูนย์นั้น ๑๐ วา แล้วศูนย์นั้นกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก ๑๐ วา เป็นพระสกทาคา ทำต่อไป
    ธรรมกายของพระสกทาคานั้นเข้าสมาบัติ ๘ ในระหว่างเข้าสมาบัตินั้น ต้องเอาตาธรรมกายของพระสกทาคาดูตาย ดูเจ็บ ดูแก่ ดูเกิด ของพรหมกาย เหตุให้เกิดและความดับและเหตุให้ดับ ให้เห็นตามความเป็นจริง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ถ้ายังไม่เห็นตามความเป็นจริง ต้องดูต่อไปอีก แต่พอเห็นถูกส่วนเข้าเท่านั้น ธรรมกายของพระสกทาคาก็ตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศูนย์นั้น ๑๕ วา แล้วศูนย์นั้นกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก ๑๕ วา เป็นพระอนาคา ทำต่อไป
    ธรรมกายของพระอนาคานั้นเข้าสมาบัติ ๘ ในระหว่างเข้าสมาบัตินั้น ต้องเอาตาธรรมกายของพระอนาคา ดูตาย ดูเจ็บ ดูแก่ ดูเกิด ของอรูปพรหมกาย ทั้งเหตุให้เกิด และความดับ ทั้งเหตุให้ดับ ให้เห็นตามความเป็นจริงของทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ถ้ายังไม่เห็นตามความเป็นจริง ต้องดูไปอีก แต่พอเห็นถูกส่วนเข้า ธรรมกายของพระอนาคาก็ตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศูนย์นั้น ๒๐ วา แล้วศูนย์นั้นหายวับ กลับเป็นธรรมกายหน้าตัก ๒๐ วา เป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์นี้แล ถ้าค้นคว้าหาให้เป็นขึ้นได้ด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใดแนะนำสั่งสอน อย่างพระสิทธัตถราชกุมารนั้น นั่นเป็นพระพุทธเจ้าในศาสนาของท่าน เป็นพระอรหันต์มากน้อยเท่าไร เป็นสาวกทั้งสิ้น
    ตั้งแต่ธรรมกายซึ่งเป็นกายที่ ๕ ตลอดจนถึงพระอรหันต์เป็นที่สุด นี่แหละเป็นตัวพระรัตนตรัย กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่ใช่รัตนตรัย จำเพาะแต่ธรรมกายอย่างเดียวเป็นตัวพระรัตนตรัย ในองค์ธรรมกายนั้นที่ตรงศูนย์กลางกายของธรรมกายนั้นมีธรรมดวงหนึ่ง คือธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ธรรมดวงนี้เป็นที่ตั้งที่หยุด ของเห็น จำ คิด รู้ ของธรรมกาย เห็น จำ คิด รู้ ของธรรมกายไม่เผลอ หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเสมอ ไม่เผลอเลยนั้นเป็นอรหันต์ ตรงศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น มีเป็นศูนย์ว่างเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร ตรงนั้นเป็นที่ตั้งที่อยู่ของเห็น จำ คิด รู้ หยุดที่อื่นไม่ถูก ผิดศูนย์และไม่ถูกความจริง ซึ่งเป็นทางไปของพระอริยะทั้งหลาย ธรรมกายนั้นมีเห็น จำ คิด รู้ เหมือนกันทุกกาย เห็น จำ คิด รู้ ก็ต้องมีดวงเป็นที่ตั้งเห็น จำ คิด รู้ ดวงเป็นที่ตั้งของเห็นอยู่นอก ดวงเป็นที่ตั้งของจำอยู่ใน ดวงเป็น ที่ตั้งของจำอยู่นอก ดวงเป็นที่ตั้งของคิดอยู่ใน ดวงเป็นที่ตั้งของคิดอยู่นอก ดวงเป็นที่ตั้งของรู้อยู่ใน
    [พระรัตนตรัยและการเข้าถึงพระรัตนตรัย]
    ที่ได้พรรณนามาข้างต้นนั้น ว่าด้วยเรื่องคุณพระรัตนตรัยตามบาลี ที่ขึ้นต้นด้วย อิติปิ โส ภควา และจบด้วยคำว่า โลกสฺสาติ ต่อไปนี้จักแสดงสรุปให้สั้นถึง ตัวพระรัตนตรัยโดยตรงว่า มีอะไรแน่ ที่เรียกว่า พระรัตนตรัย และการเข้าถึงพระรัตนตรัยนั้นจะเข้าถึงได้อย่างไร
    รัตนะ แปลว่า แก้ว ในที่นี้หมายเอาแก้วอย่างประเสริฐ เช่น แก้วมณีโชติ ซึ่งนับถือกันว่าเป็นแก้วมีคุณวิเศษสูงสุด ใครมีไว้ย่อมชื่นชมโสมนัส อิ่มอกอิ่มใจ ยิ่งกว่าทรัพย์สิน อย่างอื่นทั้งหมดในโลก แก้วคือพระรัตนตรัยนี้เหมือนกัน ผู้ใดเข้าถึงก็ย่อมอิ่มใจชื่นใจ เช่นเดียวกัน
    ร่างกายพระสิทธัตถะไม่ใช่พุทธรัตนะ พระสิทธัตถะทรงกระทำความเพียรอยู่ถึง ๖ พรรษา จึงพบรัตนะอันลี้ลับซับซ้อนอยู่ในพระองค์ คือกายธรรม มีสัณฐานเหมือนพระปฏิมา เกตุดอกบัวตูม มีสีใสเหมือนกระจก ปรากฏอยู่ในศูนย์กลางกาย ที่ว่านี้มีหลักฐานใน อัคคัญญสูตร ที่พระองค์ตรัสแก่วาเสฏฐสามเณร ว่า ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐาธิวจนํ ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ. ในสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ยืนยันความว่า ดูก่อนวาเสฏฐสามเณร คำว่าธรรมกาย ธรรมกายนี้เป็นชื่อตถาคตโดยแท้
    เรื่องพระวักกลิ ดังที่ยกขึ้นมากล่าวข้างต้นนั้น เมื่อระลึกถึงความในอัคคัญญสูตรนี้ ประกอบแล้ว ย่อมส่องความให้เห็นว่า ที่พระองค์ตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรานั้น หมายความว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเรา คือตถาคตนั่นเอง มิใช่อื่นไกล หรือพูดให้เข้าใจง่ายกว่านี้ก็ว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ว่านี้ ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า หรืออีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า
    ทำไมจึงหมายความเช่นนั้น ก็เพราะว่า ขณะนั้นพระวักกลิก็อยู่ใกล้ๆ กับพระองค์ หากจะแลดูด้วยลูกตาธรรมดาทำไมจะไม่เห็นพระองค์ เพราะไม่ปรากฏว่าพระวักกลินั้น ตาพิการ เมื่อเช่นนี้ไฉนพระองค์จะตรัสเช่นนั้นเล่า ที่ตรัสเช่นนั้นจึงตีความหมายได้ว่า ที่แล เห็นด้วยตาธรรมดานั้น เห็นแต่เปลือกของพระองค์คือกายสิทธัตถะที่ออกบวช ซึ่งมิได้อยู่ ในความหมายแห่งคำว่า “เรา” และยังตรัสว่าเป็นกายที่เปื่อยเน่าด้วยนั่นคือกายสิทธัตถะ ที่ออกบวช ซึ่งเป็นกายภายนอกนั่นเอง คำว่า “เรา” ในที่นี้จึงสันนิษฐานได้ว่า หมายถึง กายภายใน ซึ่งไม่ใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในคืออะไรเล่า ก็คือธรรมกายนั่นเอง จะเห็นได้ อย่างไร ข้อนี้ตอบไม่ยาก เมื่อได้บำเพ็ญกิจถูกส่วนแล้วท่านจะเห็นด้วยตาของท่านเอง คือ เห็นด้วยตาธรรมกาย ไม่ใช่ตาธรรมดา พระดำรัสของพระองค์ดังยกขึ้นกล่าวมานั้น เป็น ปัญหาธรรมมีนัยลึกซึ้งอยู่ อันผู้ที่มิได้ปฏิบัติธรรมแล้วเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าผู้ที่ปฏิบัติได้แล้ว จะตอบปัญหานี้ได้ด้วยตนเองอย่างง่ายดาย ไม่ต้องไปถามใคร
    ธรรมกาย มีสีใสเหมือนแก้วจริงๆ จึงได้ชื่อว่า พุทธรัตนะ
    ธรรมทั้งหลายที่กลั่นออกจากหัวใจ ธรรมกายจึงได้ชื่อว่าธรรมรัตนะ ธรรมรัตนะ คือ หัวใจธรรมกายนั้นเอง
    ดวงจิตของธรรมกายนั้นได้ชื่อว่า สังฆรัตนะ นี่แหละที่ว่า พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ ประการนี้เกี่ยวเนื่องเป็นอันเดียวนั้น เกี่ยวกันอย่างนี้จะพรากจากกันไม่ได้ ผู้ใดเข้าถึงพุทธรัตนะ ก็ได้ชื่อว่า เข้าถึงธรรมรัตนะ สังฆรัตนะด้วย
    การเข้าถึงรัตนะ ๓ ดังกล่าวมานี้ จะเข้าถึงได้อย่างไร เพียงแต่เลื่อมใสนับถือ ยังไม่ เรียกว่าเข้าถึง แม้จะท่องบ่นน้อมใจระลึกถึง ก็ยังไม่เรียกว่าเข้าถึง แม้จะปฏิญาณตนว่า ยอม เป็นข้า ก็ยังไม่เรียกว่าเข้าถึง อย่างมากจะเรียกได้ก็เพียง ขอถึง
    การที่จะเข้าถึงนั้น จำเป็นจะต้องบำเพ็ญเพียรปฏิบัติเจริญรอยตามปฏิปทาของ พระบรมศาสดาจนบรรลุธรรม คือรู้จริงเห็นแจ้งด้วยตัวของตัวเอง จึงได้ชื่อว่าเข้าถึงพระรัตนตรัยโดยแท้ และการปฏิบัติเช่นนี้ไม่เป็นการพ้นวิสัยของมนุษย์ เพราะในปัจจุบันนี้มีผู้ที่ได้ บำเพ็ญบรรลุธรรมกายก็มีอยู่มากหลาย ผู้ที่ได้ธรรมกายแล้วเขามีความอิ่มเอิบและสุขกาย สุขใจเพียงไหน ถามเขาดูได้ เพื่อได้ทราบว่าการเข้าถึงพระรัตนตรัยมีผลอย่างไร ผิดกว่าที่ ยังมิได้เข้าถึงอย่างไร ทั้งจะได้รู้ด้วยว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นหลักคำสอนของพระบรมศาสดามีความจริงแค่ไหน ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิ สมาธิเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญานั้นอย่างไร ก็จะรู้ความจริงได้ในเมื่อตนบำเพ็ญสำเร็จ หรือถ้าอยากรู้เพียงเงาๆ ก็ลองถามเขาดูได้

    เพียรเถิดจะเกิดผล
    ในการบำเพ็ญภาวนา ความเพียรเป็นข้อสำคัญยิ่ง ต้องทำเสมอ ทำเนืองๆ ในทุก อริยาบถ ไม่ว่านั่ง นอน เดิน ยืน และทำเรื่อยไป อย่าหยุด อย่าละ อย่าทอดทิ้ง อย่า ท้อแท้ มุ่งรุดหน้าเรื่อยไป ผลจะเกิดวันหนึ่ง ไม่ต้องสงสัย ผลเกิดอย่างไร ท่านรู้ได้ด้วยตัว ของท่านเอง
    ตนเป็นที่พึ่งของตน
    นี่หมายความว่ากระไร อะไรเป็นตน ตนคืออะไร นามรูปํ อนตฺตา ก็แปลกันว่า นามและรูปไม่ใช่ตน ถ้ากระนั้นอะไรเล่าจะเป็นตน ซึ่งจะได้ทำให้เป็นที่พึ่งแก่ตน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่าขันธ์ ๕ เมื่อย่อเข้าเรียกอย่างสั้นก็เรียกว่า นามรูป โดย เอากองรูปคงไว้ ส่วนกองเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกัน ๔ กองนี้เรียกว่านาม ฉะนั้น ที่ว่านามรูปก็คือขันธ์ ๕ นั่นเอง เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตน จึงต้องถามว่าอะไรเล่าเป็นตน ถ้าค้นหาตนไม่พบก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรให้เป็นที่พึ่งแก่อะไร พระพุทธวจนะที่มีอยู่ว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ซึ่งแปลว่า ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน จะมิได้มีทางออกหรือ ย่อมเป็นไปไม่ได้
    ได้เคยกล่าวมาข้างต้นบ้างแล้วว่า พระองค์ทรงสอน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ด้วย พระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพ เพื่อให้คิดค้น พระองค์เน้นสอนทางอนัตตา ก็เพื่อให้ เห็นอัตตาเอาเอง สมในคำ สนฺทิฏฺฐิโก ซึ่งแปลว่า ธรรมของพระองค์นั้นผู้ที่ปฏิบัติย่อมเห็น เอง อกฺขาตาโร พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเป็นแต่ผู้ทรงบอกแนวทางให้เท่านั้น
    ฉะนั้น เมื่อมีเรื่อง “อนัตตา” กับ “อัตตา” ยันกันอยู่ จึงต้องคิดค้นต่อไป ธรรมของ พระองค์จะขัดกันเองไม่ได้ เพื่อที่จะไม่ให้ขัดแย้งกัน จึงต้องแบ่งอัตตาออกเป็น ๒ อย่าง คือ อัตตาสมมติ กับ อัตตาแท้ อัตตาสมมติ ได้แก่ กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เพราะกายเหล่านี้ยังมีเกิด มีตาย เป็นกายส่วนโลกีย์ ยังมีกายอีกกายหนึ่ง ซึ่งเป็นกายโลกุตตระ คือธรรมกาย ธรรมกายนี้แหละเป็นอัตตาแท้ หรือตนแท้
    ที่ว่าตนเป็นที่พึ่งแก่ตนนั้น ก็คือเพ่งยึดอาศัยกัน ดำเนินเข้าไปเป็นชั้นๆ คือ เพ่ง กายมนุษย์ส่งให้ถึงกายทิพย์ เพ่งกายทิพย์ส่งให้ถึงกายรูปพรหม เพ่งกายรูปพรหมส่งให้ถึง กายอรูปพรหม เพ่งกายอรูปพรหมส่งให้ถึงธรรมกาย กายคือตน อาศัยพึ่งกันเป็นชั้นๆ เข้าไป เช่นนี้จึงได้ชื่อว่าตนเป็นที่พึ่งแก่ตนในด้านภาวนาตามนัยที่กล่าวไว้แล้วโดยละเอียดข้างต้น นั้น ยังมีคำว่า “กาเย กายานุปสฺสี” ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นหลักฐานสนับสนุนอีก กายานุปสฺสี แปลว่า เห็นตาม หรือตามเห็นซึ่งกาย กาเย แปลว่า ในกาย รูปศัพท์มีวิภัตติ ตรึงอยู่ชัดเช่นนั้น แปลตรงตามศัพท์ และย่นคำให้สั้นก็ว่าตามเห็นกายในกาย คือตามเห็น เรื่อยเข้าไปเป็นชั้นๆ เห็นกายมนุษย์แล้วตามเข้าไปเห็นกายทิพย์ ตามเข้าไปเห็นกายรูปพรหม ตามเข้าไปเห็นกายอรูปพรหม ตามเข้าไปเห็นกายธรรม ดังนี้เป็นหลักฐานรับสมกันอยู่ กายมนุษย์รูปร่างหน้าตาอย่างไร กายมนุษย์รูปร่างหน้าตาก็เป็นมนุษย์ใช่อื่นไกล คือกายเรา นี้เอง กายทิพย์ก็เป็นรูปเป็นร่างเช่นกันแต่สวยกว่า กายรูปพรหมสวยกว่างามกว่านั้นอีก กายอรูปพรหมสวยงามยิ่งกว่ารูปพรหมขึ้นไปอีก ธรรมกายนั้นมีสีใสเหมือนแก้ว สัณฐาน ดังรูปพระพุทธปฏิมานั่งสมาธิ เกตุเป็นดอกบัวตูม ดังได้กล่าวมาแล้ว.

    การรักษาไตรทวาร
    ไตรทวาร แปลว่า ประตูทั้ง ๓ คือ กาย วาจา ใจ ที่เรียกว่าทวาร ก็เพราะความชั่ว และความดีจะลอดเข้าไปถึงจิตนั้นเข้าทางนี้ ความชั่วเรียกว่าทุจริต ความดีเรียกว่าสุจริต วิธีที่จะเข้าไปมีอาการไหวก่อน ซึ่งเขาเรียกว่า วิญญัติ ไหวทางกายเรียกว่า กายวิญญัติ ทางวาจาเรียกว่า วจีวิญญัติ ทางใจเรียกว่า มโนวิญญัติ อะไรทำให้เกิดอาการไหว หรือ บังคับให้ไหว ไม่ใช่อื่นไกล สังขารนั่นเองบังคับให้ไหว บังคับทางกาย ได้แก่ กายสังขาร ทางวาจา ได้แก่ วจีสังขาร ทางใจ ได้แก่ จิตตสังขาร สังขารคือความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง และมีทางเกิดเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายทุจริตเกิดจากอวิชชาและอาสวะ ฝ่ายสุจริตเกิดจากวิชชา และอนาสวะ ฝ่ายเหตุทุจริตเป็นดวงดำมืดมน ฝ่ายเหตุสุจริตเป็นดวงขาวใสซ้อนอยู่ในดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นคู่ปราบกันอยู่ ฝ่ายชั่ว(ดำ) เป็นภาคมาร, ฝ่ายดี(ขาว) เป็น ภาคพระ ต่างมีเจ้าของด้วยกัน ฝ่ายชั่วอำนวยการให้มืด ฝ่ายดีอำนวยการให้สว่างคล้าย โรงงานทำหมอกควันพวกหนึ่ง โรงงานทำไฟฟ้าพวกหนึ่ง เมื่อเราไม่คอยระวังฝ่ายชั่วสอด เข้าไปได้ ย่อมเป็นเหตุให้เราตกไปทางชั่ว คือจะทำอะไรก็ทำในทางชั่ว จะพูดอะไรออกมา ก็เป็นทางชั่ว จะคิดทำอะไรก็เป็นไปในทางชั่วหมด (อกุศลกรรมบถ ๑๐)
    ถ้าเราคอยระวังรักษาไว้ให้ดี บำเพ็ญสมาธิให้ดวงขาวใสปรากฏอยู่ในศูนย์กลางกาย เสมอ เราจะทำอะไรก็เป็นไปในทางดี พูดอะไรก็พูดไปทางดี คิดอะไรก็คิดไปทางดี เพราะ ฉะนั้น จึงควรบำเพ็ญตนให้เป็นฝ่ายขาวเสมอ เวลาจะตายถ้าปล่อยให้ไปตกอยู่ฝ่ายดำ เรียกว่าหลงตาย จะไปสู่ทุคติ ถ้าอยู่ในฝ่ายขาวเรียกว่าไม่หลงตาย จะไปสู่สุคติแน่แท้ จึง เป็นการจำเป็นยิ่งที่จะระวังให้อยู่ฝ่ายขาว
    วรญฺญํ สรณํ นตฺถิ สิ่งอื่นจะเป็นที่พึ่งของเราได้ไม่มี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ รัตนะนี้เท่านั้น เป็นที่พึ่งอันประเสริฐสูงสุดของเรา
    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยสัจจวาจาภาษิตนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่สาธุชนทั้งหลาย ทั่วกัน.




    เทศนาโดย หลวงปู่สด จันทสโร
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    รตนตฺตยคมนปณามคาถา

    รตนตฺตยคมนปณามคาถา



    ๖ มีนาคม ๒๔๙๒

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="65%"><TBODY><TR><TD width="30%"></TD><TD vAlign=top width="27%">อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ
    นานาโหนฺตมฺปิ วตฺถุโต
    เอกิภูตมฺปนตฺถโต
    ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต
    </TD><TD vAlign=top width="43%">พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ จาติ
    อญฺญมญฺญาวิโยคาว
    พุทฺโธ ธมฺมสฺส โพเธตา
    สงฺโฆ จ สาวโก พุทฺธสฺส
    อิจฺเจกาพุทฺธเมวิทนฺติ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก






    อาตมาขอโอกาสแด่ท่านมหาชนทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบรรดามีศาสนาเป็นภารกิจ หวังปฏิบัติให้ถูกสนิทตามศาสนาของตนๆ จึงได้อุตส่าห์พากันทรมานร่างกายในเวลาทำกิจทางศาสนา ทุกๆ ศาสนาล้วนแต่สอนให้ละความชั่วประพฤติความดีสิ้น ด้วยกันทุกชาติทุกภาษา
    ส่วนในทางพระพุทธศาสนา เวลาเช้าเวลาเย็นไหว้พระบูชาพระ และสวดสังเวคกถา ปสาทกถา ตามกาลเวลาเสร็จแล้ว ที่มีกิจเรียนคันถธุระก็เรียนไป ที่มีกิจเรียนวิปัสสนาธุระก็เรียนไป ฝ่ายพระเถรานุเถระก็เอาใจใส่ตักเตือนซึ่งกันและกันตามหน้าที่ เพื่อจะได้รักษาเนติแบบแผนอันดีของสาธุชนในพุทธศาสนาไว้ ให้เป็นตำรับตำราสืบสายพระศาสนาไป
    บัดนี้ขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย ฟังปณามคาถา ความนอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต อนาคต ปัจจุบัน และถึงเป็นที่พึ่ง โดยย่อ
    ความนอบน้อมมาจาก นโม “นโม” แปลว่า นอบน้อม เป็นบุคลาธิษฐาน คือ นอบน้อมด้วยกาย นอบน้อมด้วยวาจา นอบน้อมด้วยใจ นอบน้อมในพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์มีพระชนมายุอยู่ อุบาสกอุบาสิกาเข้าไปสู่ที่เฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือกราบพร้อมด้วยองค์ ๕ เข่าและศอกทั้ง ๒ ต่อกัน ฝ่ามือทั้ง ๒ วางลงให้เสมอกัน ก้มศีรษะลงให้หน้าจรดพื้นในระหว่างมือทั้ง ๒ นั้น หรือในระหว่างที่เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั้น คอยฟังพระโอวาทานุสาสนีของพระองค์ ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาออกในระหว่างที่พระองค์ทรงรับสั่งอยู่ เป็นการรบกวนพระองค์ด้วยวาจา ให้เป็นที่ระแคะระคายพระทัย
    อนึ่ง เมื่อเข้าไปสู่ที่เฝ้า ไม่นั่งให้ไกลนัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ ด้วยต้องออกพระกำลังเสียงในเวลารับสั่ง ไม่นั่งให้ใกล้นัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ด้วยกายอันเป็นของปฏิกูล จะเป็นที่รำคาญพระนาสิกในเวลากลิ่นกายฟุ้งไป ไม่นั่งในที่เหนือลม ด้วยเคารพพระองค์ กลัวจะลมพัดเอากลิ่นกายที่ฟุ้งออกไปมากระทบพระนาสิกของพระองค์ ไม่นั่งในที่ตรงพระพักตร์นัก กลัวจะเป็นที่รำคาญพระเนตรทั้งสองของพระองค์ ไม่นั่งในที่เบื้องหลังนัก เกรงว่าพระองค์จะต้องหันพระพักตร์มากไปในเวลาจะทรงรับสั่ง ต้องนั่งในที่สมควรนอกจากที่ๆ แสดงมาแล้ว ในเวลาอยู่ในที่เฝ้า ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาให้เป็นที่รำคาญพระทัยแด่พระองค์ ดังนี้แล นอบน้อมด้วยกายในพระองค์
    ในเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ยังเหลือแต่เจดีย์ ๔ เหล่า คือ บริโภคเจดีย์ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ พุทธศาสนิกชนไปถึงที่เช่นนั้นเข้าแล้ว ในเมื่อกั้นร่ม ควรลดร่มลง ห่มผ้าปิด ๒ บ่า ควรลดออกเสียบ่าหนึ่ง ในเมื่อสวมรองเท้าเข้าไป ควรถอดรองเท้าเสีย และเข้าไปในที่นั้นไม่ควรแสดงอึงคะนึงและไม่เคารพ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องแสดงเคารพอย่างจริงใจ ไม่ทิ้งของที่สกปรกลงไว้ เช่น ก้นบุหรี่ หรือชานหมาก น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่บริเวณนั้น เมื่อเข้าไปในที่นั้นเห็นรกปัดกวาดเสีย ถากถางเสีย เห็นไม่สะอาด ทำให้สะอาด เห็นผุพัง ควรแก้ไข ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ได้ก็ยิ่งดี ดังนี้เป็นความนอบน้อมพระผู้มีพระภาคด้วยกาย โดยบุคลาธิษฐาน
    อนึ่ง นำเรื่องของพระรัตนตรัยไปสรรเสริญในที่นั้น แก่บุคคลนั้นอยู่เนืองๆ ดังนี้ ก็ชื่อว่า นอบน้อมด้วยวาจา
    และคิดถึงพระรัตนตรัยอยู่เนืองๆ ไม่ยอมให้ใจไปจรดอยู่กับอารมณ์สิ่งอื่นมากนัก คอยบังคับใจให้จรดอยู่กับพระรัตนตรัยเนืองๆ ดังนี้ ชื่อว่า นอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยใจ
    ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นองค์อรหันต์ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายต้องว่าดังนี้ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายในเวลาทำศาสนกิจทุกครั้ง เช่น พระเถรานุเถระกระทำสังฆกรรม และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายจะสมาทานศีล ก็ต้องว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” ถึง ๓ หน จะว่าแต่เพียงหนหนึ่งหรือสองไม่ได้ หรือได้เหมือนกันแต่ว่าไม่เต็มรัตนตรัยทั้ง ๓ กาล จะให้เต็มหรือถูกรัตนตรัยทั้ง ๓ กาลแล้ว ต้องว่าให้เต็ม ๓ หน หนที่ ๑ นอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต หนที่ ๒ นอบน้อมพระรัตนตรัยในปัจจุบัน หนที่ ๓ นอบน้อมพระรัตนตรัยในอนาคต ทั้งหมดต้องว่า ๓ หน จึงครบถ้วนถูกพระรัตนตรัยทั้ง ๓ กาล
    รัตนตรัยแบ่งออกเป็น ๒ คือ รัตนะ ๑ ตรัย ๑, รัตนะ แปลว่า แก้ว ตรัย แปลว่า ๓ รัตนตรัยรวมกันเข้า แปลว่า แก้ว ๓ พุทธรัตนะ แก้วคือพระพุทธ ธรรมรัตนะ แก้วคือพระธรรม สังฆรัตนะ แก้วคือพระสงฆ์ ทำไมจึงต้องเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มาเปรียบด้วยแก้ว ที่ต้องเปรียบด้วยแก้วนั้น เพราะแก้วเป็นวัตถุทำความยินดีให้บังเกิดแก่เจ้าของผู้ปกครองรักษา ถ้าผู้ใดมีแก้วมีเพชรไว้ในบ้านในเรือนมาก ผู้นั้นก็อิ่มใจ ดีใจ ด้วยคิดว่าเราไม่ใช่คนจน ปลื้มใจของตนด้วยความมั่งมี แม้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเล่า เห็นแก้วเห็นเพชรเข้าแล้ว ที่จะไม่ยินดีไม่ชอบนั่นเป็นอันไม่มี ต้องยินดีต้องชอบด้วยกันทั้งนั้น ฉันใด รัตนตรัยแก้ว ๓ ดวง คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ นี้ ก็เป็นที่ยินดีปลื้มใจของเทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย ฉันนั้น
    พระรัตนตรัยเป็นแก้วจริงๆ หรือเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปริยัติเข้าใจตามอักขระแล้ว เป็นอันเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปฏิบัติเข้าใจตามปฏิบัติแล้ว เป็นแก้วจริงๆ ซึ่งนับว่าประเสริฐ เลิศกว่าสวิญญาณกรัตนะและอวิญญาณกรัตนะ ซึ่งมีในไตรภพ ลบรัตนะในไตรภพทั้งหมดสิ้น
    จะกล่าวถึงรัตนะในทางปฏิบัติ “ปฏิปตฺติ”
    แปลว่า ถึงเฉพาะ ผู้ปฏิบัติถึงเฉพาะซึ่งพระรัตนตรัย การถึงรัตนตรัยของผู้ปฏิบัติในยุคนี้ต่างๆ กัน ผู้ไม่ได้เล่าเรียนศึกษาก็ถึงรูปพระปฏิมาในโบสถ์วิหารการเปรียญ ถึงพระธรรมในตู้ในใบลาน ถึงพระสงฆ์สมมติทุกวันนี้ ผู้ได้เล่าเรียนศึกษา รู้พุทธประวัติ ก็ถึงพระสิทธัตถราชกุมารที่ได้ตรัสรู้ใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ที่ได้มาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ถึงพระธรรมก็คือปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กับธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ให้ได้บรรลุมรรคผล ทั้งสิ้น ถึงพระสงฆ์ก็คือพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ จนถึงสุภัททภิกษุซึ่งเป็นปัจฉิมสาวกเวไนย
    ผู้มีสติปัญญา เป็นผู้เฒ่าเหล่าเมธา เล่าเรียนศึกษามาก การถึงรัตนตรัยของท่านลึกล้ำ ท่านคิดว่า “พุทธ” ก็แปลกันว่า ตรัสรู้ ตรัสรู้เป็นภาษาเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าท่านเป็นเจ้า จึงแปลว่า “ตรัสรู้” ภาษาสามัญก็แปลว่า “รู้” เท่านั้น ท่านก็ทำขึ้นในใจของท่านว่ารู้นั่นเอง เป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ถึงความรู้ของท่านที่ถูกดี ถึงธรรมของท่านความดีไม่มีผิด ถึงสงฆ์ของท่าน “สงฺเฆน ธาริโต” พระสงฆ์ทรงไว้ ตัวของเรานี้เองที่รักษาความรู้ถูกรู้ดีไม่ให้หายไป เป็นสงฆ์
    การถึงพระรัตนตรัยดังแสดงมาแล้วนี้ก็ถูก เหมือนต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กะเทาะ ก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่เปลือกก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจรดเข้าที่กระพี้ก็ถูกต้นไม้ ถูกแต่ กะเทาะ เปลือก กระพี้ เท่านั้น หาถูกแก่นของต้นไม้ไม่
    การถึงพระรัตนตรัย ต้องเอากาย วาจา ใจ ของเราที่ละเอียด จรดเข้าไปให้ถึงแก่นพระรัตนตรัยจริงๆ รัตนตรัยซึ่งแปลว่า แก้ว ๓ แก้วคือพระพุทธ ๑, แก้วคือพระธรรม ๑, แก้ว คือพระสงฆ์ ๑ ได้ในบทว่า สกฺกตฺวา พุทฺธรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือพุทธ สกฺกตฺวา ธมฺมรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือธรรม สกฺกตฺวา สงฺฆรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือสงฆ์
    การเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องใช้กายวาจาใจที่ละเอียด ที่หยาบเข้าไม่ถึง กายที่ละเอียดซึ่งได้กับกายสังขาร วาจาที่ละเอียดซึ่งได้กับวจีสังขาร ใจที่ละเอียดซึ่งได้กับจิตสังขาร กายสังขารคือลมหายใจเข้าออกซึ่งปรนเปรอกายให้เป็นอยู่ วจีสังขารคือความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขารคือความปรุงของจิตสำหรับใช้ทางใจ กายสังขารหยุด วจีสังขารก็หยุด จิตสังขารก็หยุด เป็นจุดเดียวกัน อยู่ที่ตรงศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสดังกระจกส่องเงาหน้า กายวาจาใจที่ละเอียดจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมนั้น ก็หยุดพร้อมทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นับว่าหยุดเป็นจุดเดียวกัน ได้ชื่อว่าสังขารสงบ การสงบสังขารชนิดนี้ เด็กในท้องมารดาก็สงบ จึงอยู่ในที่แคบเป็นอยู่ได้ เทวดาใน ๖ ชั้นทำได้ รูปพรหมและอรูปพรหมทำได้ เด็กในท้องก็นับว่าสังขารสงบ เทวดาก็นับว่าสังขารสงบได้ รูปพรหมและอรูปพรหมก็นับว่าสังขารสงบได้ การสงบสังขารเสียเป็นสุข สมด้วยคาถา ๔ บาท ในบาทเบื้องปลายว่า “เตสํ วูปสโม สุโข” สงบสังขารเหล่านั้นเสียได้ นำมาซึ่งความสุข นี้สงบสังขารได้ตามสมควร เป็นทางทำตนให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    กายสังขารสงบคือลมหายใจหยุด วจีสังขารสงบคือความตรึกตรองหยุด จิตสังขารสงบคือใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ชื่อว่า สันติ ลมหยุดลงไป ในที่เดียวกันชื่อว่า อานาปาน ซึ่งแปลว่าลมหยุดนิ่งหรือไม่มี เมื่อสังขารทั้ง ๓ หยุดถูกส่วนเข้าแล้ว เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยส่วนหนึ่ง เมื่อสังขารสงบมีความสุขเกิดขึ้น เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตคิดว่าเป็นสุขเรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในเมื่อสติปัฏฐานทั้ง ๓ ถูกส่วนพร้อมกันเข้า เกิดเป็นดวงใสขึ้นเท่าฟองไข่แดง หรือเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทเหมือนกระจกส่องเงาหน้านั่นแหละ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงนี้บางท่านเรียกว่าพระธรรมดวงแก้ว โบราณท่านใช้แปลในมูลกัจจายน์ว่า “ปฐมมรรค” ธรรมดวง นี้แหละคือ ดวงศีล เพราะอยู่ในเหตุว่างของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ไม่มีราคี ตาของกายทิพย์เห็น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ตรงกลางของดวงศีลนั้น ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่ พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไปเห็นดวงสมาธิ เอาใจหยุดนิ่ง ลงไปที่กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงปัญญาที่อยู่ในกลางดวงสมาธินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ทำให้ใจหยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติ ก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะที่อยู่ในกลางดวงวิมุตตินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ทำใจให้หยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสะก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายมนุษย์ เห็นตัวของกายมนุษย์ฉะนั้น ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ แต่พอถูก ส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็ว่างออกไป ตาของกายรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายทิพย์เห็นตนของกายทิพย์เองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายอรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายรูปพรหมเห็นตนของกายรูปพรหมเองฉะนั้น ที่แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    ทำต่อไป ทำใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่กลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายธรรมก็เห็นกายของพระองค์เองอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายอรูปพรหม เห็นตนของตนเองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้เป็นวิธีที่ทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้น ๑
    เมื่อทำมาถึงกายธรรมหรือธรรมกายดังนี้แล้ว ก็รู้จักตัวตนชัดเจนโดยไม่ต้องสงสัย เพราะกายทั้ง ๕ บอกตัวของตัวเอง กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้ง ๔ กายนี้ บอกตัวเองอยู่ว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวเป็นแต่สมมติเท่านั้น รู้ได้เองว่ากายมนุษย์มาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ชั่วคราวตามอายุขัยและวัย สิ้นปัจจัยคือบุญและบาปแล้วก็แตกสลายไป รู้ได้จริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่แต่รู้เห็นด้วยตาของตนทุกๆ คนด้วยกันทั้งนั้น
    ส่วนกายทิพย์ หรือ รูปพรหม อรูปพรหม สิ้นอำนาจของบุญกรรม และรูปฌาน อรูปฌานแล้ว ก็แปรไปเหมือนกายมนุษย์ ต่างกันแต่ช้าและเร็วเท่านั้น
    ส่วนกายธรรมหรือธรรมกายเป็นตัวยืนบอกความจริงว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว ส่วนกาย ทั้ง ๔ เป็นตัวยืนบอกเท็จว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เท็จต่อความจริงอย่างนี้ เมื่อไม่รู้เห็นจริง จะรู้เห็นเท็จได้อย่างไร ต้องรู้จริงเห็นจริงเสียก่อน จึงย้อนมารู้จักเท็จได้ดังนี้
    ธรรมกายนี้เองเป็นพุทธรัตนะ ซึ่งแปลว่าแก้วคือพุทธะ เมื่อรู้จักพุทธรัตนะแล้ว ก็ควรรู้จักธรรมรัตนะเสียทีเดียว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม อรูปพรหม เป็นธรรมรัตนะ แต่เป็นส่วนโลกีย์ ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั้นเป็นโคตรภู ต่อเมื่อใด ธรรมกายเลื่อนขึ้นไปเป็นพระโสดาแล้ว ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดานั้นเองเป็นโลกุตตระ
    ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม แลกายอรูปพรหมเป็นโลกียมรรค เพราะกายทั้ง ๔ นั้นเป็นโลกีย์ ธรรมจึงเป็นโลกีย์ไปตามกาย ส่วนศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเป็นโลกุตตระ เพราะธรรมกายของพระโสดาเป็นโลกุตตระ ธรรมจึงเป็นโลกุตตระไปตามกาย ธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ นี้เอง เป็นธรรมรัตนะ ซึ่งแปลว่า แก้วคือธรรม เมื่อรู้จักธรรมรัตนะแล้วก็ควรรู้จักสังฆรัตนะเสียทีเดียว ธรรมกายหรือกายธรรมหมดทั้งสิ้น ยกธรรมกายของพระสัพพัญญู และธรรมกายของพระปัจเจกพุทธเจ้าออกเสีย นอกจากนั้นเป็นธรรมกายของสาวกพุทธทั้งสิ้น มีมากน้อยเท่าใดเป็นสังฆรัตนะ แก้วคือสงฆ์
    การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยที่ถูกแท้นั้น ต้องเอาใจของตนจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์เท่าๆ ฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่ศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีเหมือนกันหมดทุกคน จำเดิมแต่อยู่ในท้องมารดา ใจของกุมารกุมารีจรดจี้หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมนั้นทุกคน ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมมีว่างอยู่ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร ใจของกุมารหรือกุมารีก็จรดอยู่ศูนย์กลางนั้น
    ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกนอกจากหยุด ออกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อยู่เสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก ขอผู้จงรักภักดีต่อตนของตนที่แท้แล้ว จงตั้งใจแน่แน่ว ให้ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เถิดประเสริฐนัก พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไปทางเดียวเหมือนกันทั้งหมด
    เพราะฉะนั้นพวกเราที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย จึงต้องทำใจให้หยุดให้นิ่ง ให้ตรงต่อทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ จึงจะถูกหลักฐานในพุทธศาสนา ทั้งถูกตำราของสัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดด้วย สัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดเข้าสิบไม่ถูก ก็ไม่ตกศูนย์ เมื่อไม่ตกศูนย์ก็ไปเกิดมาเกิดไม่ได้ ธรรมดาของเกิดแลตาย ต้องมีสิบศูนย์เป็นเครื่องหมายเหมือนกันทั้งหมด ทั้งในภพ และนอกภพ การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัยก็เหมือนกัน ต้องเข้าสิบศูนย์เป็นชั้นๆ ไป จึงจะเข้าถึงพระรัตนตรัยได้ ดังแสดงมาตั้งแต่ต้นเป็นชั้นๆ มาแล้วทุกประการ
    รัตนะทั้ง ๓ นี้ เป็นแก้วจริงๆ จังๆ แก้วที่มีในไตรภพนี้มีคุณภาพไม่เทียมทัน ส่วนแก้วในไตรภพที่มนุษย์ใช้อยู่บัดนี้ เพชรเป็นสูงกว่า หรือแก้วที่มีรัศมีเป็นของหายาก ไม่มีใครจะใช้กันนัก แก้วชนิดอย่างนั้น มีสีต่างๆ ถ้าสีนั้นเขียว ใส่ลงไปในน้ำ น้ำก็เขียวไปตามสีแก้วนั้น ถ้าสีเหลือง น้ำก็เหลืองไปตาม ถ้าแดง น้ำก็แดงไปตามสีแก้ว ตกว่าแก้วสีอะไร น้ำก็เป็นไปตามสีแก้วนั้นๆ นี้เป็นรัตนะที่สูงในโลก สูงยิ่งกว่านี้ขึ้นไป ก็ต้องเป็นแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ์
    พระเจ้าจักรพรรดิ์มีแก้ว ๗ ประการคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว ปรินายกแก้ว แก้ว ๗ ประการนี้เกิดขึ้นในโลกกาลใด มนุษย์ในโลกได้รับความสุข ปราศจากการไถและหว่าน สำเร็จความเป็นอยู่ อาศัยแก้ว ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ให้เป็นอยู่ได้โดยตลอดชีวิต ไม่ต้องทำกิจการใดๆ ทั้งสิ้น พระเจ้าจักรพรรดิ์สอนให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ไปบังเกิดในสุคติโดยส่วนเดียว ไม่มีตกไปอยู่ในทุคตติเลย
    แก้วทั้งหลายในโลกพิเศษถึงเพียงนี้แล้ว ยังไม่มีพิเศษเท่าแก้ว คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แก้วคือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั้น ถ้าผู้ใดเข้าไปได้เข้าไปถึงแล้ว ลืมแก้วลืมสวรรค์ลิบๆ ในโลกหมดทั้งสิ้น
    ผู้ที่จะเข้าไปได้ถึงแก้วทั้ง ๓ นี้ ต้องดำเนินไปตามต้น กาย วาจา ใจ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ดังแสดงมาแล้วในเบื้องต้น จนถึงธรรมกาย คือให้ดำเนินไปตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ตั้งต้นแต่ กาย เวทนา จิต ธรรม ไป แต่พอถึงธัมมานุปัสสนา ก็เห็นเป็นดวงใส ที่เรียกว่าดวงศีล ต่อแต่นั้นก็ถึงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งนับว่าเป็นที่รวมพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกรวมอยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ทั้งสิ้น เมื่อจับที่รวมของกายมนุษย์ได้แล้ว กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายธรรม ก็เหมือน กันดังแสดงมาแล้ว
    ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ เป็นวิธีให้เข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มีอาการต่างๆ กัน ในเมื่อจับหลักยังไม่ได้ ต่อเมื่อจับหลักคือธรรมกายเสียได้แล้ว จะเห็นว่าไม่ต่างกัน เนื่องเป็นอันเดียวกันแท้ๆ สมด้วยกระแสบาลีในเบื้องต้นว่า “หมวด ๓ ของรัตนะนี้ คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ” แม้ต่างกันโดยวัสดุ แต่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน เป็นของเนื่องซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระธรรม พระธรรมพระสงฆ์ทรงไว้ พระสงฆ์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เนื่องเป็นอันเดียวกันเป็นบรรทัดฐาน ดังแสดงทุกประการ พอสมควรแก่เวลา ด้วยประการฉะนี้.
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ศีลเบื้องต่ำและศีลเบื้องสูง




    ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    อเนกปริยาเยน โข ปน เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา.
    กถญฺจ สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา. อิธ อริยสาวโก ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต โหติ อทินฺนาทานา ปฏิวิรโต โหติ กาเมสุ มิจฺฉาจารา ปฏิวิรโต โหติ มุสาวาทา ปฏิวิรโต โหติ สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา ปฏิวิรโต โหตีติ เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา. อิธ ภิกฺขุ สีลวา โหติ ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ อาจารโคจรสมฺปนฺโน อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสูติ เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตาติ.


    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยธรรมที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนา ที่พระศาสดาทรงวางพระพุทธศาสนา และตั้งหลักเกณฑ์เป็นเบื้องต้น พุทธศาสนิกชนต้องรีบล้นขวนขวายให้มีศีลตั้งมั่นอยู่ในธรรมของตนทุกถ้วนหน้า เพราะการปฏิบัติพระพุทธศาสนา ไม่มีศีลแล้วจะปฏิบัติศาสนาให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์พุทธศาสนาไม่ได้ จำจะต้องให้มีศีล ศีลที่มีแล้วตัวก็ต้องรู้ด้วย ตัวเองมีศีลให้แน่นอนในใจทีเดียว จะชี้แจงตามวาระพระบาลีว่า อเนกปริยาเยน โข ปน เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้แล้วเห็นแล้ว เป็นองค์พระอรหันต์ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ ทรงรับสั่งแล้วโดยปริยายมิใช่น้อย หรือโดยปริยายมิใช่อย่างเดียว กถญฺจ สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วนั้นเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับสั่งแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเป็นไฉนเล่า อิธ อริยสาวโก พระอริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต คือ ฆ่าสัตว์ที่เป็นให้จำตาย อทินนาทานา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากการถือเอาวัตถุที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย กาเมสุ มิจฉาจารา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย มุสาวาทา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากคำเท็จไม่จริง สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา ปฏิวิรโต โหติ ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากน้ำที่ทำให้บุคคลผู้ดื่มเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา อย่างนี้แหละ ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉน อิธ ภิกฺขุ สีลวา โหติ ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ อาจารโคจรสมฺปนฺโน อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสูติ ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ สีลวา โหติ ย่อมเป็นผู้มีศีล ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ ย่อมเป็นผู้สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาตอยู่ อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมแล้วด้วยมารยาทเครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อและโคจร อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยทั้งหลายในโทษมีประมาณน้อย สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสูติ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ ภควตา อย่างนี้แหละ ศีลที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง กล่าวถึงศีล แต่ว่าสมาธิ ปัญญา ยังจะมีต่อไป
    ส่วนศีลนี้ให้เข้าเนื้อเข้าใจเสียก่อน ผู้พุทธศาสนิกชน ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต ให้รู้จักบริสุทธิ์สนิท ศีลมีทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต ไม่ใช่มีแต่คฤหัสถ์ บรรพชิตด้วย คฤหัสถ์ตั้งอยู่ในศีลเบื้องต่ำ เพียงศีล ๕ ประการของคนครองเรือน ส่วนศีล ๘ ประการ เป็นอติเรกศีล สูงขึ้นไปกว่าศีล ๕ แต่ว่าศีล ๕ ประการให้มั่นในขันธสันดานเสียก่อน ต้องสละขาดจากใจนะว่าเราเป็น คนมีศีล แล้วก็เริ่มต้นมีศีล ๕ ทีเดียว ศีล ๕ รู้จักกันพร้อมดี บริบูรณ์ดี ต้องให้รู้จักแม่นยำ แน่นอนว่าการฆ่าสัตว์น่ะ ต้องให้รู้จักสัตว์เสียก่อนว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าสัตว์ คำที่เรียกว่า สัตว์น่ะ ผู้ข้องอยู่ในภพ แปลว่าผู้ข้องอยู่ ลกฺขตีติ แปลว่าข้องอยู่ สัตว์ที่ข้องอยู่มีกำเนิดถึง ๔ คือ อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ อุปปาติกะ นี่กำเนิด ๔
    อัณฑชะ สัตว์ที่เกิดด้วยฟองไข่ สัตว์ชนิดอะไรไม่ว่าที่เกิดด้วยฟองไข่แล้วก็ฟักเป็นตัวอีกหนหนึ่ง เรียกว่าอัณฑชะทั้งนั้น นี่เราก็ระวังยากนะ ไข่เป็ด ไข่ไก่ ระวังยากเหมือนกัน ไข่มด ไข่เหา ไข่เรือด ไข่เล็น ไข่เหล่านี้ระวังยากทั้งนั้น มีไข่ทั้งนั้นสัตว์พวกนี้ นี่เรียกว่าอัณฑชะ ต้องเว้นกันจริงๆ
    สังเสทชะ สัตว์ที่เกิดด้วยเหงื่อไคล เหา เล็น เรือด ไร ที่กัดเราอยู่ทุกวันนี้ อ้ายนั่นสำคัญอีกเหมือนกัน ยุงไม่ได้เกิดด้วยเหงื่อไคล ถ้าว่าพวกสังเสทชะเกิดด้วยเหงื่อไคล เหา เล็น เรือด ไร เหล่านี้ทุกชนิด อาศัยเหงื่อไคลเป็นแดนเกิดละก้อ เรียกว่าสังเสทชะทั้งนั้น
    ชลาพุชะ สัตว์อาศัยน้ำบังเกิดขึ้น ถ้าไม่มีน้ำเกิดไม่ได้ ต้องมีน้ำจึงบังเกิดขึ้น นั่นเรียกว่า ชลาพุชะ มนุษย์เป็นอันมากก็เรียกว่าชลาพุชะทั้งนั้น แพะ แกะ วัว ควาย ช้าง ม้า อาศัยน้ำเป็นแดนเกิดทั้งนั้น สัตว์เกิดในน้ำเป็นอเนกประการ เกิดในน้ำก็อาศัยไข่บ้าง อาศัยเหงื่อไคลบ้าง มนุษย์ก็เกิดด้วยเหงื่อไคลได้ มนุษย์นี่แหละที่เรียกว่าชลาพุชะ นี่มีเหงื่อไคลเป็นแดนเกิดได้เหมือนกัน เหมือนพระปัจเจกโพธิ ๕๐๐ อาศัยครรภ์มลทินของมารดาคลอดออกมาคนเดียว อาศัยครรภ์มลทินเหงื่อไคลของครรภ์นั้น ด้วยของสกปรกโสโครกเหล่านั้น เกิดเป็น ๔๙๙ นี่ เกิดด้วยเหงื่อไคลเหมือนกัน มนุษย์เรียกว่าสังเสทชะเหมือนกัน
    อุปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เกิดขึ้นละ อายุ ๑๔-๑๕ ทีเดียว นั่นก็เป็นสัตว์อีกพวกหนึ่ง เช่นนี้เราจะฆ่าเขาไม่ค่อยได้หรอก แต่ว่าได้เหมือนกัน เช่น นางอัมพปาลีเกิดในค่าคบต้นมะม่วง แล้วอยู่ร่วมด้วยมนุษย์ราชกุมาร ๕๐๐ เป็นสามี ๕๐๐ ต้องผลัดกันอยู่ร่วมคนละ ๗ วันไป ๕๐๐ นี่ก็เต็มทีไม่มีเวลา สร้างปราสาทขึ้นไว้ในสวนมะม่วงนั้นไม่ให้เป็นของใคร ถ้ามิฉะนั้นราชกุมารจะเกิดทะเลาะกัน จะเกิดฆ่าฟันทะเลาะบาดหมางกันขึ้น นี่พราหมณ์ตัดสินให้เป็นไปดังนั้น นี่นางอัมพปาลีอาศัยค่าคบมะม่วงเกิดขึ้น นี่ก็เป็นมนุษย์ เกิดเป็นอุปปาติกะ แปลกไหมล่ะ เป็นอุปปาติกะ กำเนิดทั้ง ๔ นี้ มนุษย์มีทั้งสิ้น พระเถระ ๒ รูป ลูกนางกุลตีกินรีไข่ออกมา ออกมาเป็นไข่ พอกะเทาะออกมาเป็นมนุษย์ เป็นชาย ๒ คน เป็นชายด้วยกันทั้ง ๒ คนนั่นแหละ นี้ก็เกิดด้วยฟองไข่ เกิดด้วยฟองไข่ก็มี เกิดด้วยเหงื่อไคลก็มี เกิดเป็นอุปปาติกะก็มี เกิดเป็น ชลาพุชะก็มี กำเนิดทั้ง ๔ มนุษย์มีพร้อม
    สัตว์ที่เป็นอยู่ปรากฏไปไหนไปได้ กระดุกกระดิกได้ หรือมีชีวิตเป็นอยู่กระดุกกระดิกไม่ได้ เช่น สัตว์เกิดในฟองไข่ ยังไม่ออกตัว อยู่ในฟองไข่ดิ้นไม่ได้ ไม่มีตัวดิ้น นี่ก็เป็นกำเนิดของสัตว์เหมือนกัน ที่เรียกว่า ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์เหล่านี้ไม่ได้เลย ฆ่าแล้วด้วยเจตนาน่ะ ศีลขาดทีเดียว รู้ว่าสัตว์มีชีวิตเป็นอยู่ เมื่อรู้ว่าชีวิตเป็นอยู่แล้ว ก็จิตคิดจะฆ่าเสีย ถ้าทำความเพียร เพื่อจะฆ่า ฆ่าได้สมเจตนา สัตว์มีชีวิตเป็นอยู่เรียกว่า ปาโณ หรือรู้ว่าสัตว์มีชีวิตเป็นอยู่เรียกว่า ปาณสญฺญี จิตคิดจะฆ่าเรียกว่า วธกจิตฺตํ ถ้าทำความเพียรเพื่อจะฆ่าเรียกว่า อุปกฺกโม เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความเพียรทีเดียว สัตว์ตายสมเจตนา ยกมือแพล็บเดียวก็พร้อมด้วยองค์ ๕ นิดเดียวเท่านั้น พร้อมด้วยองค์ ๕ จัดเป็นองค์ ๕ การฆ่าสัตว์ ให้รู้จักชัดๆว่าการฆ่าสัตว์น่ะ เป็นอย่างนี้
    ถ้าว่าผู้มีศีล ๕ นี้ ต้องเว้นขาดจริงๆ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ท่านยกเอาอริยบุคคล อริยสาวโก อริยสาวกในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้า ตั้งต้นแต่พระโสดาขึ้นไป ท่านยกเป็นตัวอย่าง พระโสดาเจตนาฆ่าสัตว์ของท่านไม่มีเลยทีเดียว เจตนาฆ่าสัตว์ของท่านไม่มีเลยทีเดียว ที่เรารักษาปาณาติบาตนี้ ต้องตัดเจตนาให้ขาด เจตนาไม่ฆ่าสัตว์ต้องขาดจากใจทีเดียว ไม่ฆ่าอย่างเด็ดขาดทีเดียว เจตนาของปุถุชนก็มีที่ไม่คิดฆ่าสัตว์เลยทีเดียว นี่แหละเป็นศีลกันจริงๆ ทีเดียว ขึ้นถึงปาณาติบาตทีเดียว
    ส่วนอทินนาทานล่ะ วัดปากน้ำเราก็ยังใช้ไม่ใคร่ได้นะ ดูข้าวของอะไรเล็กน้อยๆ ก็เผลอกันไม่ใคร่ได้ หายกันเป็นควันไปทีเดียว ดูๆ ก็เป็นซ่องขโมยทีเดียว นี่ร้ายกาจนักทีเดียว จะมีศีลอย่างไรกัน ถ้ามีศีลแล้วของเหล่านี้ไม่ต้องเอื้อเฟื้อ ไม่ต้องห่วงใย ลักกันเป็นไม่มี ไม่ใช่แต่ลักฝ่ายเดียว ฉ้อโกงกันเป็นไม่มี อทินนาทานน่ะขาดจากใจทีเดียว ขึ้นชื่อว่าลักละก็ หรือ เจ้าของเขาไม่ได้ให้ละก็ เป็นไม่ถือเอาทีเดียว ต้องถืออย่างเด็ดขาด อย่างพระอริยบุคคล เจตนาจะลักเขาก็ไม่มี ปรปริคฺคหิตํ วัตถุมีเจ้าของหวงห้าม ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้อยู่วัตถุมีเจ้าของหวงห้าม เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลักก็ไม่มี อุปกฺกโม ความเพียรเพื่อจะลักก็ไม่มี เตน หรณํ นำไปด้วยความเพียรขโมยก็ไม่มี นี้ได้ชื่อว่ามีศีลล่ะ มีศีลอทินนาทาน แต่ว่าศีลอทินนาทานนี้ต้องมั่นในขันธสันดานทีเดียว อย่าให้เคลื่อนคลาดได้ ถ้าเคลื่อนคลาดเป็นใช้ไม่ได้ทีเดียว เรียกว่าจอมปลอม พวกจอมปลอมนี่แหละทำศาสนาให้เสื่อม เข้ามาประพฤติปฏิบัติในศาสนา ทำศาสนาให้เสื่อม ผู้ประพฤติจริงทำศาสนาให้เจริญ อย่างพระอริยบุคคลนะ เป็นตัวทำศาสนาให้เจริญ ถ้าว่าปุถุชนประพฤติอย่างพระอริยบุคคล เจตนาจะลักก็ไม่มี อ้ายการลักน่ะ เงินทองเล็กน้อยพออดได้ ไม่พอใช้พอกินอะไร พออดได้ แต่ว่าอ้ายเพชรนิลจินดา ราคามันมากขึ้นมาล่ะ ราคาตั้งหมื่น ยังไม่พอใจ ยังไม่ลักเลย ทีนี้ราคามันสูงกว่าหมื่นขึ้นไป สองหมื่น สามหมื่น สี่หมื่น ห้าหมื่น ถึงแสนหนึ่ง ราคาถึงแสนหนึ่ง เอาแล้ว ทำใจคนมีศีลกระดุกกระดิกไปอีกแล้ว เอ๊ะ นี่ยังไง ถ้าคว้าหมับเลี้ยงชีพได้ตลอดตายทีเดียว แสนหนึ่ง ให้เขากู้เอาร้อยละ ๒ บาท ก็เอาเดือนละสองพัน นั่นแน่ อ้ายนี่พอเลี้ยงชีพตลอดเวลาเชียวนะ ลาศีลกันเสียเถอะน่ะ เอาแล้ว ใจกระดุกกระดิกอีกแล้ว อย่างนี้ก็ยังใช้ไม่ได้ เรียกว่ามีศีลไม่จริง มีศีลจอมปลอม ต้องไว้วางใจได้ทีเดียว จะมีค่าสักแสนหนึ่ง สักล้านหนึ่ง สักโกฏิหนึ่ง ก็ช่าง ถ้าว่าไม่ใช่ของตัวละก้อ จิตไม่แลบไม่ขยับไปทีเดียว ไม่ลักไม่ขโมย ไม่มีทีเดียว ปกครองป้องกันรักษาไว้ให้เจ้าของทีเดียว ไม่พลาดพลั้งอย่างหนึ่งอย่างใด อย่างนี้เรียกว่ามีศีลใช้ได้ มีศีลจริงๆ ละ อย่างพระอริยบุคคลในธรรมวินัยของพระศาสดาละ อย่างนี้ใช้ได้ อทินฺนาทานา มีพอใช้ได้แล้ว ให้ความสุขแก่ตนได้แล้ว ให้ความสุขแก่คนอื่นได้ละ ถ้าไว้ใจยังไม่ได้ให้ความสุขแก่ตัวก็ยังไม่ได้ ให้ความสุขแก่คนอื่นจะให้ได้อย่างไร ให้ไม่ได้ทีเดียว นี่ข้อที่ ๒
    ข้อที่ ๓ ประพฤติผิดล่วงกามทั้งหลาย การประพฤติผิดล่วงกามทั้งหลายน่ะ ทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกัน ยืนยันใกล้ๆ อย่างนี้ ทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกัน อาการที่ทำมรรคต่อมรรคให้ถึงกันน่ะ เป็นอันผิดในกามทั้งหลาย ล่วงล้ำประเวณีชั่วช้าลามก ปรกติที่ลับต้องล่วงไม่ได้ ที่ลับลมบังลมอยู่ข้างใน ถ้าล่วงล้ำเข้าไปเช่นนั้นเท่าเส้นผมเดียวเท่านั้น ก็เป็นกาเมแล้ว ผิดในกามทั้งหลายแล้ว การประพฤติในกามทั้งหลายนี้โทษร้ายนัก ให้ความทุกข์แก่มนุษย์มากมายในโลก ถ้าโลกเว้นขาดหมดทั้งสากลโลก ทั้งหญิงทั้งชายประพฤติซื่อตรงในกามทั้งหลาย เมื่อถือสิทธิ์ร่วมสามีภรรยากันแล้ว ก็ร่วมแต่เท่านั้น นอกจากสามีภรรยาไม่ล่วงทีเดียวเด็ดขาด อย่างพระอริยบุคคลเจตนาที่ล่วงกามเช่นนั้นไม่มีเลย ไม่ได้คิดเลย ไม่คิดเลยทีเดียวที่จะล่วงกาม นอกจากบุคคลที่มีศีลไม่สมบูรณ์บริบูรณ์ ถ้ามีศีลสมบูรณ์บริบูรณ์แล้วก็ไม่คิดล่วงเหมือนกัน ในกามเช่นนั้น ไม่คิดล่วงทีเดียว ขาดจากใจทีเดียวที่มีศีลไม่สมบูรณ์บริบูรณ์ ศีลอับปางทีเดียว อำพรางศีล หลบศีล หลอกศีล หลอกตัวเอง โกงตัวเองอยู่นั่น ถ้าว่าอ้ายที่ไม่พอใจก็พออดได้ ถ้าพอใจอยู่สิ้นกาลช้านาน พอใจอยู่ ต้องแก่พอใจอยู่หลายปี หลายสิบปี เมื่อมาสมเจตนาของตัวเข้าละก้อ กลัวจะทนทานไม่ไหว จะขยับเขยื้อนไปอีก จะล่วงกามนั้นๆ เข้าอีก อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เรียกว่าศีลไม่สมบูรณ์บริบูรณ์ หรือขาดตกบกพร่อง ยังไม่แน่นอนในใจอยู่ในกาเมสุมิจฉาจาร นี่ก็สำคัญอยู่ ท่านจัดไว้มีประพฤติเป็น ๒๐ นั่นแน่ แต่ว่าเคยได้กล่าวมาแล้ว เรื่องกาเมสุมิจฉาจาร
    มุสาวาท มุสาวาทก็ให้เดือดร้อนอยู่ ถ้าว่ากล่าวจริงๆ กันเสีย ไม่พลั้งเผลอละก็ ไม่เดือดร้อน ถ้าว่าอำพรางกันเสีย ต้องพูดกันหลายคำ ต้องทำสัญญา ถ้าเลิกมุสากันหมดทั้งประเทศเสีย คำเดียวเท่านั้นแหละ สบายกันหมดทั้งประเทศทีเดียว อ้ายมุสานี่ร้ายกาจนัก ให้โทษมาก กล่าวคำเท็จไม่จริง ท่านกล่าวหลักไว้ อตถํ วตฺถุ เรื่องไม่จริง วิสํวาทกจิตฺตํ จิตคิดจะกล่าวให้คลาด ปชฺโช วายาโม ทำความเพียรเพื่อจะกล่าว ปรสฺส วิชานนํ บุคคลอื่นรู้ ความที่ตนกล่าวนั้นๆ มันก็เริ่มเป็นปดขึ้น ถ้าไม่จริงก็เป็นปดทีเดียว เป็นมุสาทีเดียว ถ้ากล่าวตามจริงครบองค์อยู่เช่นนั้น เรื่องนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นถ้อยคำที่จริงไม่มีโทษ ถ้อยคำเหล่านี้แหละ ผู้มีศีล ผู้ถือศีลในสิกขาบทมุสาวาทแล้ว ต้องเว้นขาดจากใจเหมือนพระอริยบุคคล ไม่มีกริกในใจทีเดียวที่จะปดน่ะ ไม่มีเลือกไม่มีเฟ้นต่อไป นี้ต้องแก้ไขตัวของตัวให้ดีนะ ถ้ายังมีเลือกเฟ้นว่า จะปดดีหรือไม่ปดดี ยังงี้ละก็ ศีลยังเหลวอยู่ ศีลมุสายังเหลวอยู่ ต้องไว้ใจได้ว่าจะตัดหัวคั่วแห้งอย่างหนึ่งอย่างใด ตีรันฟันแทงสักเท่าหนึ่งเท่าใด จะตัดชีวิตจิตใจสักเท่าหนึ่งเท่าใด จะให้กล่าวเท็จน่ะ กล่าวไม่ได้เสียแล้ว ขาดจากใจเสียแล้วว่า คำเท็จเป็นอันไม่กล่าว กล่าวแต่คำจริงทั้งนั้น อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล ยกตัวอย่างพระอริยบุคคลเป็นตัวหลัก รักศีลเหมือนอย่างกับพระอริยบุคคลดังนั้น ได้ชื่อว่ามีศีลมุสาวาทล่ะ
    สุรา ทั้งสี่สิกขาบทนั่นแหละ ถ้าเว้นสุราไม่ได้ตัวเดียว หมด ละลายหมด สุราเป็นตัวสำคัญ สุราเป็นเจ้าโขลงทีเดียว เป็นเจ้าหมู่ทีเดียว เจ้าหมู่เจ้าหมวดของศีลทั้ง ๕ นี่แหละสุรา เป็นเจ้าหมู่ทีเดียว ยกออกไปเสีย ยกสุราออกเป็นเจ้าหมู่เสีย เหลืออีก ๔ สุราบังคับได้ทุกข้อทุกสิกขาบท เหตุฉะนั้นต้องงดสุราให้ขาด ถ้างดสุราไม่ขาดละก็ หมด ไม่ได้เลยสักข้อหนึ่ง สุราน่ะ น้ำที่ทำบุคคลผู้ดื่มให้เมา คือสุราและเมรัย ดื่มเข้าไปแล้วก็เมา ส่วนพระอริยบุคคล จิตของท่านที่จะคิดดื่มสุราสักนิดนั่นก็ไม่มี เหมือนพวกเราบัดนี้ก็มีถมไป ที่ไม่คิดจะดื่มสุราแม้แต่นิด เหมือนพระอริยบุคคลทีเดียว ไม่คิดเลยที่จะดื่มสุรา นั่นแหละ คนอย่างนั้นเขามีศีลสุรามั่นในขันธสันดานละ ถ้าว่ายังจะดื่มอยู่ละก็ ไม่มั่นในขันธสันดาน ยังคลอนแคลนอยู่ ต้องตัดสินตัวเสียใหม่ น้ำที่ทำบุคคลผู้ดื่มให้เมาสุราและเมรัย จิตคิดจะดื่ม ทำความเพียรเพื่อจะดื่ม ดื่มให้ล่วงล้ำลำคอเข้าไป ก็ได้ชื่อว่าล่วงสิกขาบท คือศีลสุรานี้
    ศีลสุราสิกขาบทนี้ ท่านวางหลักไว้เทียบด้วยคชสารช้างตัวหนึ่ง มีเท้า ๔ มีงวง ๑ และ ช้างนั่นมันเป็นอยู่ด้วยงวงมัน ถ้าว่าเมื่องวงมันมีอยู่ตราบใดละก็ งวงนั่นมันเลี้ยงชีพของมัน มันฉุดหญ้ามาเลี้ยงร่างกายมัน ใส่ปากมันได้ ถ้าไม่มีงวงละก้อ ช้างมันจะก้มลงกินหญ้าอย่างกับโค อย่างกับกระบือ อย่างไรล่ะ มันสูง มันก้มไม่ถึงนี่ จะต้องนอนลงละซี ทำลำบาก เหตุนี้ งวงจึงเป็นตัวสำคัญ เป็นชีวิตของช้างทีเดียว ศีลทั้ง ๕ สิกขาบท สุราเป็นชีวิตทีเดียวหนา ถ้าเลิกสุราไม่ได้ละก็ มารักษาศีลมันลำบากนักละ เพราะว่าได้แต่ ๔ สิกขาบท ๕ ไม่ได้ นั้นก็พูดเอาตามชอบใจ ถ้าล่วงสุราเสียสิกขาบทเดียวเท่านั้นแหละ อีก ๔ สิกขาบทรักษาอยู่ไม่ได้ สลายหมด ล้มละลายหมด สุราสิกขาบทเดียว เขาจึงได้ตั้งว่า พระนครๆ หนึ่งมีประตู ๕ แห่ง ถ้าออกประตูที่ ๑ จะต้องฆ่าสัตว์ ออกประตูที่ ๒ จะต้องลักทรัพย์สมบัติ ออกประตูที่ ๓ จะต้องล่วงกาม ออกประตูที่ ๔ จะต้องพูดปด ออกประตูที่ ๕ จะต้องดื่มสุรา จะออกประตูไหน ถ้าออกไปประตูที่ ๑ ต้องฆ่าสัตว์ ก็ล่วงสิกขาบทเดียวเท่านั้น ถ้าออกประตูที่ ๒ จะต้อง ลักทรัพย์สมบัติ ล่วงสิกขาบทเดียวเท่านั้น ถ้าออกประตูที่ ๓ จะต้องล่วงกาเมสุมิจฉาจาร ก็ล่วงสิกขาบทเดียวเท่านั้น ถ้าออกประตูที่ ๔ จะต้องพูดปด ก็ล่วงสิกขาบทเดียวของตามประตูนั้นๆ ถ้าออกประตูที่ ๕ จะต้องล่วงสุรา ดื่มสุราละก็ หมดทั้ง ๔ สิกขาบท ๕ สิกขาบท ล้มหมดทีเดียว ท่านวางหลักไว้อย่างนี้
    เมื่อรู้จักดังนี้แล้ว ศีล ๕ สิกขาบท สุราเป็นตัวสำคัญ ตัวสำคัญทีเดียว แบบเดียวกัน โลภะ โทสะ โมหะ ๓ ข้อนี้ ใครเป็นสำคัญ โมหะเป็นสำคัญ ตัวหลงเป็นตัวสำคัญ เพราะฉะนั้น สุรานี้เป็นตัวประมาททีเดียว ธรรมที่เป็นกุศลในพระไตรปิฎกมากน้อยเท่าใด สรุปลงในความไม่ประมาททั้งนั้น ถ้าว่าประมาทแล้วออกนอกธรรมทีเดียว ไม่อยู่ในธรรมเสียแล้ว ถ้าประมาทละก็ ออกนอกธรรม ไม่อยู่ในธรรมทีเดียว ถ้าว่าไม่ประมาทละก็ อยู่ในธรรมที่เป็นกุศลทีเดียว ถ้าประมาทขึ้นแล้ว อยู่ในธรรมที่เป็นอกุศลทีเดียว ตรงกันข้าม เพราะฉะนั้นสุรานี่เป็นที่ตั้งของความประมาท ถ้าเลิกสุราเสียได้ ก็เป็นเหตุของความไม่เป็นที่ตั้งของความประมาท ศีล ๔ สิกขาบทก็รวมอยู่ในสุรานั่น อยู่ในความประมาทนั่น นี่เป็นตัวสำคัญ
    ให้รู้จักหลักมั่นดังนี้ละก็ เป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ต้องมั่นอยู่ในศีลทั้ง ๕ นี้ ได้ชื่อว่าพุทธศาสนิกชน หรือเรียกว่าชนภายในพระพุทธศาสนา ต้องให้มีศีล ๕ นี้ให้มั่นอยู่ในขันธสันดานเสียตอนหนึ่ง นี้เรียกว่าศีลโดยปริยายเบื้องต่ำนะ
    แต่โดยปริยายเบื้องต่ำนี่แหละ ศีลของภิกษุก็มีเหมือนกัน ๕ สิกขาบทนี่ก็เป็นสิกขาบทของภิกษุเหมือนกัน แต่ท่านจัดศีลของภิกษุโดยปริยายเบื้องสูงขึ้นไปอีกว่า อิธ ภิกฺขุ ภิกษุใน ธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ สีลวา โหติ ย่อมเป็นผู้มีศีล ภิกษุมีศีลน่ะมีอย่างไร ไม่ต้องสมาทานเหมือนอุบาสกอุบาสิกาอย่างนี้หรอก ภิกษุมีศีลน่ะ ศีลสำเร็จด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา พระสงฆ์ในปัจจันตประเทศตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ในมัชฌิมประเทศตั้งแต่ ๑๐ รูปขึ้นไป มาประชุมพร้อมกัน ต้องมีอุปัชฌาย์ มีพระกรรมวาจา พระอุปัชฌาย์ตรัสขึ้นในหมู่พระสงฆ์นั้นให้สวดญัตติจตุตถกรรมวาจา สมมุติกุลบุตรคนใดคนหนึ่งขึ้นให้เป็นภิกษุภาวะในพุทธศาสนา เหมือนเราที่เรียกว่า เราบวชนาคบวชพระกันอยู่ทุกวันนี้ ที่เป็นเจ้าภาพบวชให้ภิกษุสามเณรน่ะ บวชให้เป็นภิกษุทีเดียว หรือสามเณรก็ต้องมีศีล ๑๐ ขึ้นไป
    ศีล ๕ เป็นเหฏฐิมศีล ศีล ๘ ที่เรารักษาวันนี้เป็นเหฏฐิมศีลไหมล่ะ ไม่เป็นเหฏฐิมศีล เป็นอติเรกศีล ศีลสูงกว่าศีล ๕ ขึ้นไป สำคัญอยู่ข้อไหน ศีล ๘ น่ะ ที่ยกขึ้นเป็นอติเรกศีลขึ้นไปน่ะ สำคัญในข้อ วิกาลโภชนา นัจจคีตะ มาลา อุจจา ชาตรูปะ คือเว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล การบริโภคอาหารเป็นอย่างไรหรือ ? การบริโภคอาหารนั้นเป็นรสตัณหา ถ้าว่าเว้นเสียละก็ เว้นรสตัณหาทีเดียว บริโภคอาหารที่เป็นรสที่อร่อย มีรสมีชาติขึ้นสำคัญนัก อ้ายรสอันนั้นสำคัญ นัจจคีตะ ฟ้อนรำ ขับร้อง เครื่องประโคมขับร้องดีดสีตีเป่าต่างๆ ฟ้อนรำ ขับร้อง ให้เกิดเป็นสัททตัณหา [ตัณหาในเสียง] ฟ้อนรำ ขับร้อง เหล่านี้ ดีดสีตีเป่าเหล่านี้ เป็นสัททตัณหา เป็นสัททตัณหาขึ้น ตรึงใจสัตว์โลกให้หมุนเวียนอยู่ในภพ ออกจากภพไม่ได้ ทัดทรงประดับ ประดาด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องให้เกิดยั่วยวนต่างๆ เครื่องลูบไล้ละลายทาต่างๆ นี่เป็นรูปตัณหา [ตัณหาในรูป]และคันธตัณหา [ตัณหาในกลิ่น] ขึ้น นั่งนอนอาสนะสูงใหญ่ ภายในมีนุ่นและสำลี ให้เกิดเป็นโผฏฐัพพตัณหา [ตัณหาในสัมผัส] ขึ้น
    รับเงินและทองเหล่านี้ เงินทองอันเดียวเป็นตัวสำคัญใน ๑๐ สิกขาบทนั่น เงินทองเป็นตัวสำคัญ ถ้าว่าเงินทองหยิบเข้าได้แล้ว อื่นหมด เสียหมด ใช้ไม่ได้แบบเดียวกับสุรา สำคัญนัก ถ้าว่าศีล ๘ ไม่ถึงเงินและทอง ไม่ห้ามเงินและทองเพียงแค่ ๘ สิกขาบท ก็เพื่อตัดตัณหา เหล่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นอติเรกศีล เป็นอุดมศีลขึ้น ไม่ใช่ศีล ๕ ธรรมดา ศีล ๕ ธรรมดาเป็นเหฏฐิมศีล
    ภิกษุเป็นผู้มีศีล ศีลของภิกษุ ศีล ๕ ก็รวมอยู่ด้วย ศีล ๘ ศีล ๑๐ รวมอยู่ด้วยทั้งนั้น เข้ามารวมอยู่ในศีลของภิกษุหมด แต่ภิกษุเป็นผู้มีศีลน่ะ เมื่อสำเร็จญัตติจตุตถกรรมวาจาในท่ามกลางพระสงฆ์ สำเร็จญัตติจตุตถกรรมในท่ามกลางของสงฆ์แล้ว ศีลสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ ไม่ได้สมาทานเลย สมบูรณ์บริบูรณ์เมื่อจบญัตติจตุตถกรรมวาจา เป็นภิกษุภาวะในพุทธศาสนาขึ้น
    ศีลของภิกษุเป็นอปริยันตปาริสุทธิสีลทีเดียว ศีลไม่มีที่สุด ในวิสุทธิมรรคแสดงไว้ ศีลมีสามล้านกว่าสิกขาบท ศีลของภิกษุจบพระวินัยปิฎกเป็นศีลของภิกษุน่ะ มากมายนัก เพราะเหตุนั้น ภิกฺขุ สีลวา ภิกษุเป็นผู้มีศีลนะ มีจริงนะ มีทั้งหมดทีเดียว แต่นี้ท่านจำแนกแยกย่นลงไป ปาติโมกฺขสํวรสํวุโต วิหรติ ผู้สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามที่พระองค์ทรงอนุญาตอยู่นี้น้อยนิดเดียว ขึ้นสู่พระปาติโมกข์นี้น้อยนิดเดียว โดยสามัญทั่วไปละก็ ๒๒๗ สิกขาบทนิดเดียว ศีลขึ้นสู่พระปาติโมกข์ แต่ว่าข้อสำคัญทั้งนั้น ไม่ใช่ข้อเล็กน้อย เพราะฉะนั้น ควรไหว้ควรบูชา ภิกษุประพฤติได้ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ของตัวได้ละก็ น่าไหว้น่าบูชานัก เป็นของทำยาก ไม่ใช่เป็นของทำง่าย
    อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยอาจารมารยาท เครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ และโคจรมารยาท เครื่องมาประพฤติและโคจรของภิกษุน่ะ ภิกษุจะเดินไป หาตำหนิไม่ได้ ตาก็ทอดลงมองชั่วแอกหนึ่ง เรียกว่า ตาตายไม่ใช่ตาเป็น ทอดลง แม้จะเบิกตาขึ้นก็เพียงว่าดู อันตรายเท่านั้น ที่จะแสวงหาวิสภาคารมณ์ ที่จะแสวงหารูปที่จะชอบก็ไม่มีเสีย ไม่มีแก่ภิกษุเลย ภิกษุเดินไปก็ตั้งอยู่ในความสำรวม เรียกว่า อินทรียสังวร สำรวมทีเดียว สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ได้ยินดียินร้าย เวลาเห็นรูป ได้ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้อง โผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ สำรวมระวังไม่ให้โทมนัสเล็ดลอดเข้าไปประทุษร้ายจิตได้ คอยระแวดระวังอยู่ทีเดียวนั่น ภิกษุหน้าที่สำรวมล่ะ เรียกว่าอาจาระ นั่นแหละเรียกว่าอาจาระทั้งนั้น มารยาทของภิกษุด้วยกาย หาติเตียนไม่ได้ ด้วยวาจาก็หาติเตียนไม่ได้ จะเปล่งวาจาใดๆ ไม่ครูดโสต ไม่กระทบโสตใครเลย สำรวมทางวาจาทีเดียว มารยาทของกาย ของวาจา ตลอดจนกระทั่งถึงใจ เป็นอัพโพหาริกลงไปในเจตนาของภิกษุก็ไม่ประทุษร้ายผู้หนึ่งผู้ใด เจตนาประกอบอยู่ด้วยเมตตา เป็นปุเรจาริกทีเดียว นั่นเรียกว่าอาจาระทั้งนั้น ไม่ใช่โคจรสัมปันโน เป็นอาจารสัมปันโน ถึงพร้อมแล้วด้วยมารยาท เครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ นี่ย่อลงไปได้ความดังนี้
    โคจรสัมปันโน ภิกษุถึงพร้อมด้วยโคจร อโคจร ภิกษุไม่ไปในที่อโคจร ที่อโคจรมากนัก กว้างขวาง โคจรสัมปันโน ถึงพร้อมแล้วด้วยโคจรน่ะ ไปในที่โคจรของตัว ท่านกล่าวที่อโคจรไว้ เวสิยาทิเภเท ภิกษุไม่ไปหาในหญิงแพศยา หญิงม่าย หญิงสาวใหญ่ ภิกษุไม่ไปมาหาสู่ เมื่อเขาเชื้อเชิญนิมนต์ก็ไปตามหน้าที่ แต่ว่าเรื่องจะไปเรื่องกิจอื่นนอกจากเขานิมนต์ไปเช่นนั้น จะไปสนทนาปราศรัยอย่างสามัญชนธรรมดาไม่มี เพราะภิกษุไม่ไปในที่เช่นนั้น ในสกุลหญิง แพศยา หญิงม่าย หญิงสาวใหญ่ ภิกษุไม่ไป เรียกว่าเป็นอโคจรของภิกษุ หรือในโรงสุรา โรงยาฝิ่น เหล่านี้เป็นอโคจรของภิกษุ ภิกษุไม่เข้าไป ถ้าภิกษุสามเณรองค์หนึ่งองค์ใดเข้าไป ในโรงสุรายาฝิ่นเป็นอย่างไร ๒-๓ หนเท่านั้นแหละ ภิกษุอื่นก็นึกว่ามันกระไรๆ เสียแล้วล่ะ ภิกษุองค์นั้นน่ะ เห็นจะไปติดฝิ่นเสียก็ไม่รู้ หรือจะไปดื่มสุราก็ไม่รู้ แม้โรงดื่มที่เขาตั้งในถนนหนทางก็ไม่เข้าไปนั่ง เข้าไปนั่งในที่นั้น กลัวเพื่อนสหพรหมจารีรังเกียจ จะไม่นั่งดื่มแต่กาแฟน่ะซี จะกระซิบหรือใช้เลศนัยให้เจ้าของกาแฟส่งสุรามาให้น่ะซี ไม่เข้าไปนั่งทีเดียว โรงดื่มเช่นนั้น ละอายแก่ใจไม่เข้าไป กลัวจะเสียชื่อ อโคจรของภิกษุยังมีอีกมาก โรงมหรสพต่างๆ เป็นอโคจรทั้งนั้น ที่ใดเขาประชุมกันในเรื่องพลเมือง เขาต้องการสนุกสนานกันในสถานที่ใดๆ เป็นอโคจรของภิกษุทั้งนั้น แม้เขากรีฑาทัพกันภิกษุเข้าไปดูไม่ได้ เป็นอโคจรของภิกษุ ที่ไปแล้วเขาติเตียนในสถานที่ใดๆ ในสถานที่นั้นๆ เป็นอโคจรของภิกษุทั้งนั้น อโคจรของภิกษุมีมากอย่างนี้ เมื่อเป็นภิกษุเข้าแล้ว มีศีลแล้ว มีในพระปาติโมกข์แล้ว อยู่ในมารยาทที่ดีแล้ว อโคจรก็ไม่มี ตั้งอยู่ในโคจรทีเดียว ไปในที่ๆ ควรไปทีเดียว
    อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยทั้งหลายในโทษมีประมาณน้อย ขึ้นชื่อว่าโทษแล้ว เท่าปลายผมปลายขน ไม่ให้กระเซ็นถูกทีเดียว อุปมาดุจดังว่าอุจจาระ ของที่เหมือนเท่าปลายผม ปลายขน กระเซ็นถูกเข้า รู้สึกว่าเหม็นสกปรก ภิกษุระวังความบริสุทธิ์ของภิกษุไม่ให้กระทบ ไม่ให้เข้าไปใกล้ของโสโครกปฏิกูลทีเดียว สิ่งที่เป็นโทษแล้วมีประมาณน้อยเท่าปลายผมปลายขน ก็ถอยใจออกห่าง เหมือนยังกับปีกไก่ใส่เข้าไปในไฟ ปีกไก่ไม่เข้า งอกลับเสีย ร่นตัวถอยเข้ามา ถอยเข้ามา ไม่ไปฉันใด ใจของภิกษุที่บวชในพระธรรมวินัยโดยซื่อตรงแล้ว ไม่เข้าไป ในโทษแม้มีประมาณน้อย ใจถอยกลับ ไม่เข้าไปในโทษทีเดียว สิ่งที่เป็นโทษไม่เข้าไปทีเดียว สิ่งที่เป็นอาบัติ สิ่งที่เป็นโทษ ไม่เอาใจสอดเข้าไปทีเดียว ไม่เจตนาทีเดียว ถอยกลับทีเดียว นี้ได้ชื่อว่า เห็นภัยทั้งหลายในโทษมีประมาณน้อย อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยทั้งหลายในโทษมีประมาณน้อย
    สมาทาย สิกฺขาปเทสูติ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทน้อยใหญ่ สิกขาบททั้งหลายมากน้อยเท่าใด สมบูรณ์บริบูรณ์ เหมือนน้ำในมหาสมุทร น้ำจะไหลไปในทิศทั้ง ๔ ทั้ง ๘ ใน แม่น้ำน้อยใหญ่ ไหลเข้าไปในมหาสมุทรเท่าหนึ่งเท่าใด มหาสมุทรก็มีฝั่งรักษาน้ำไว้ได้ ไม่ให้ล้นบ่าท่วมไปในประเทศที่ไม่มีน้ำ รักษาไว้จำเพาะที่มีน้ำเท่านั้น นี้ฉันใด ภิกษุเมื่อเป็นภิกษุในธรรมวินัยเข้าแล้ว อยู่ในศีลของตัว ไม่ล้นกรอบศีลของตัวไปฉันนั้นเหมือนกัน อยู่ในกรอบของพระวินัยไม่ล้นกรอบพระวินัยฉันนั้นเหมือนกัน อย่างนี้ได้ชื่อว่าภิกษุนั่นแหละตั้งอยู่ในศีลเบื้องบน ไม่ใช่ศีลเบื้องต่ำ ศีลเบื้องสูงเป็นศีลของภิกษุ ต้องรักษาปฏิบัติดังนี้ สามเณรก็อยู่ในหน้าที่ของสามเณร ศีลเพียง ๑๐ สิกขาบทก็หนักมืออยู่เหมือนกัน นั่นก็หนักมือเหมือนกัน ถ้าว่าสะเพร่าละก็ รักษาได้ยาก ต้องละเอียดจึงจะรักษาได้ง่าย ฝ่ายภิกษุเล่า ถ้าว่าสะเพร่า ก็รักษาไม่ได้ เป็นของสูง ของละเอียด ต้องละเอียดทีเดียวจึงรักษาได้
    เหตุนี้ ศีลที่แสดงมานี้ในเหฏฐิมศีลและอุปริมศีลทั้ง ๒ ประการนี้ เป็นเบื้องต้นของพุทธศาสนิกชนทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า ถ้าว่าไม่มีศีลจริงแล้ว จะอวดว่าปฏิบัติศาสนาละโกงตัวเอง ไม่ทำตัวเองให้พ้นจากทุกข์ได้ ตัวเองจะต้องอยู่ในปลักกิเลสนั่นเอง เปลื้องตนพ้นกิเลสไม่ได้ เหตุนี้ต้องคอยระแวดระวัง ต้องตั้งตนให้อยู่ในศีลจริง เหมือนพระอริยบุคคล อิธ อริยสาวโก ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ จริงๆ เหมือนพระอริยบุคคลตั้งอยู่ในศีล ๘ จริงๆ เหมือนพระอริยบุคคลตั้งอยู่ในศีล ๑๐ จริงๆ เหมือนพระอริยบุคคลตั้งอยู่ในศีล ๒๒๗ เหมือนยังกับ ภิกษุในพุทธศาสนาที่เป็นผู้มีความประพฤติดีงามตามพระธรรมวินัยของพระศาสดา ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา แห่งศีล ทั้งเหฏฐิมศีลและอุปริมศีล ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ในศีลเบื้องต่ำและเบื้องสูงทั้ง ๒ ประการนี้ พอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    สมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง




    ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตนฺติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชมฺปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชมฺปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ. สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพ ว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตีติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตาติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในเรื่องสมาธิ ซึ่งเป็นลำดับอนุสนธิมาจากศีล ศีลแสดงแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ และโดยปริยายเบื้องสูง ส่วนสมาธิเล่าก็จักแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำ โดยปริยายเบื้องสูงดุจเดียวกัน ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้น จะแปลความเป็นสยามภาษา พอเป็นเครื่องประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่าน ผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า เริ่มต้นแห่งพระธรรมเทศนาในเรื่องสมาธิ เป็นลำดับต่อไป
    มีคำปุจฉาวิสัชชนาว่า กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำนั้นเป็นไฉนเล่า
    อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำสละอารมณ์เสียแล้ว ลภติ สมาธึ ย่อมได้ซึ่งสมาธิ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ย่อมได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง เอวํ โข เหฏฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า
    อิธ ภิกฺขุ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่ ๑ เป็นไปด้วยกับวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก
    วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบเสียซึ่งวิตกวิจาร ความตรึกตรองนั่นสงบเสียได้ อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส จิตผ่องใสในภายใน เอโกทิภาวํ ถึงซึ่งความเป็นเอกอุทัย เข้าถึงซึ่ง ทุติยฌาน ความเพ่งที่ ๒ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติสุขเกิดแต่วิเวก วิเวกชํ มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกดังนี้ อย่างนี้แหละเป็นฌานที่ ๒
    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ปราศจากความปีติ อุเปกฺขโก จ วิหรติ มีอุเบกขาอยู่ ๑, สโต จ สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ ๑, สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ เสวยความสุขด้วยนามกาย ๑, อริยา อาจิกฺขนฺติ อันพระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่าเข้าถึงซึ่ง ตติยฌาน ความเพ่งที่ ๓ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ เสวยสุขอยู่ มีสติอยู่เป็นอุเบกขา ชื่อว่าเข้าถึงซึ่งตติยฌาน เป็นความเพ่งที่ ๓ อย่างนี้แหละ
    สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้แล้ว ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา สงบสุขทุกข์อันมี ในก่อนเสีย สงบความดีใจเสียใจอันมีในก่อนเสียได้ อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ เข้าถึงซึ่ง จตุตถฌาน ความเพ่งที่ ๔ ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีสติเป็นอุเบกขาวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์เป็นอุเบกขาอยู่อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความ ของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้
    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในสมาธิสืบต่อไป เป็นข้อที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก แต่สมาธิจะแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำก่อน
    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ถือเอาความตามพระบาลีนี้ ว่า อิธ อริยสาวโก แปลว่า พระอริยสาวกในพระธรรมวินัย โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำให้ปราศจากอารมณ์ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ อารมณ์ทั้ง ๖ ไม่ได้เกี่ยวแก่ ใจเลย เรียกว่าปราศจากอารมณ์ ลภติ สมาธึ นั่นแหละสมาธิล่ะ ได้สมาธิในความตั้งมั่น ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง หรือได้ความที่แห่งจิตเป็นธรรมชาติหนึ่ง ไม่มี สองต่อไป นี่ส่วนสมาธิโดยเบื้องต่ำ
    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง บาลีว่า อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัย ของพระตถาคตเจ้านี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่ง เป็นไปด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา “วิตก” ความตรึกถึงฌาน “วิจาร” ความตรองในเรื่องฌาน เต็มส่วนของวิจารแล้วชอบใจอิ่มใจ “ปีติ” ชอบอกชอบใจ ปลื้มอกปลื้มใจ เรียกว่า ปีติ “สุข” มีความสบายกายสบายใจ เกิดแต่วิเวก วิเวกชํ ประกอบ ด้วยองค์ ๕ ประการ วิตก วิจาร ปีติ สุข เกิดจากวิเวก ก็เข้าเป็นองค์ ๕ ประการ นี้ปฐมฌาน
    ทุติยฌานเล่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบวิตกวิจารเสียได้ ความตรึกความตรอง ตรวจตราไม่มี สงบวิตกวิจารเสียได้ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เข้าถึงซึ่งทุติยฌาน ความเพ่งที่สอง ระคนด้วยองค์ ๓ ประการ คือ ปีติ สุข เกิดแต่สมาธิเหมือนกัน นี่เข้าถึงทุติยฌาน
    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ ปราศไปจากความปีติ ไม่มีปีติ เข้าถึงซึ่งตติยฌาน ความเพ่งที่สาม ระคนด้วยองค์ ๒ ประการ คือ สุข เกิดแต่สมาธิ หรือ “สุข” “เอกัคคตา” อย่างนี้ ก็ได้ เพราะเกิดแต่สมาธิ
    ระงับสุข สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้ หรือดับความดีใจ เสียใจอันมีในก่อนเสียได้ เข้าถึงจตุตถฌาน ความเพ่งที่สี่ ระคนด้วยองค์ ๒ ประการ มีสติ บริสุทธิ์ วางเฉย อยู่สองประการเท่านั้น ที่จับตามวาระพระบาลี ได้ความอย่างนี้ นี่เป็นปริยัติ แท้ๆ ยังไม่เข้าถึงทางปฏิบัติ
    ส่วนสมาธิในทางปฏิบัติเป็นไฉน ในทางปฏิบัติละก้อ มีรสมีชาติดีนัก สมาธิในทาง ปฏิบัติ ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงแบบเดียวกัน
    อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ นี่สมาธิในทางปฏิบัติ กระทำอารมณ์ทั้ง ๖ รูปารมณ์ สัททารมณ์ รสารมณ์ คันธารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ ไม่ให้ติดกับจิต หลุดจากจิตทีเดียว เหลือแต่จิตล้วนๆ ไม่มีอารมณ์เข้าไปแตะทีเดียว เหมือนอะไร เหมือนคนที่เวลานอนจะใกล้หลับ เมื่อยังไม่หลับ มีอารมณ์เข้าไปติดอยู่ รูปารมณ์บ้าง นึกถึงอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง สัททารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต คันธารมณ์บ้าง ที่เป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต รสารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต โผฏฐัพพารมณ์บ้าง ที่เป็น ของเก่าของใหม่ ของปัจจุบัน หรือธรรมารมณ์บ้างที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนั้น ที่ล่วงไปแล้ว และ ที่จะเกิดต่อไป อารมณ์เหล่านี้แหละวุ่นอยู่กับใจ ติดอยู่กับใจ เปลื้องจากกันไม่ได้ ไม่หลับนอน ตลอดคืนยังรุ่งก็ไม่หลับ เพราะอารมณ์มันเข้าไปติดกับใจ มันไปเกี่ยวข้องกับใจ มันไปบังคับใจเสียนอนไม่หลับ มันไม่หลุด เมื่อไม่หลุดเช่นนี้ละก็ เรียกว่าสละอารมณ์ไม่ได้
    เมื่อสละอารมณ์ได้ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่ง บางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทาง เห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางกายมนุษย์นี่ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ใสบริสุทธิ์เท่า ฟองไข่แดงของไก่นั่นแหละ แต่ส่วนจิตที่เป็นสมาธิก็อยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ไม่ใช่จิตดวงเดียว ในกลางดวงจิตมีวิญญาณ แต่ดวงจิตอยู่ในกลางดวงจำ ดวงจำอยู่ในกลางดวงเห็น แต่ว่าพูดถึงจิตดวงเดียวแล้วก็ จิตไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทีเดียว อารมณ์ไม่เข้าไปแตะทีเดียว นิ่งหยุด ดิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ แล้วผู้ปฏิบัติของตัวก็เห็น ใครเห็น นี้เป็นทางปฏิบัติ กายมนุษย์ละเอียดมันเห็น ไม่ใช่กายมนุษย์คนหยาบนี่ กายมนุษย์ละเอียดที่มันฝันออกไป กายมนุษย์คนนั้นแหละมันเห็น มันอยู่ในกลางดวงนั่นแหละ มันเห็นดวงจิตบริสุทธิ์สนิทหลุดจากอารมณ์ดังนี้ ไม่มีอารมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องเลยทีเดียว เป็นดวงจิตใสเหน่งอยู่นั่นแหละ เหมือนไข่แดง แต่ว่ามันไม่ใสอย่างไข่แดงหรอก ใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้า ใสเหน่งทีเดียว ตากายมนุษย์ละเอียดมันเห็น เพราะว่ามันก็รู้ว่าดวงจิตของมนุษย์ เวลานี้ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทั้ง ๖ เลย อารมณ์ทั้ง ๖ ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวเลย หลุดจากกันหมด เห็นอย่างนี้เรียกว่า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ มันก็นิ่ง นิ่งแน่นอนอยู่กับดวงจิต มั่นไม่คลาดเคลื่อน ดวงจิตนั่นก็ซ้อนอยู่กับดวงจำ ดวงเห็น ดวงวิญญาณก็ซ้อนอยู่ในกลาง ดวงจิตนั่นแหละ ทั้ง ๔ อย่างนี้ซ้อนไม่คลาดเคลื่อนกันเป็นจุดเดียวกันนั่นแหละ ไม่ลั่นลอดจากกัน เป็นก้อนเดียวชิ้นเดียวอันเดียวทีเดียว เห็นชัดๆ อย่างนี้เรียกว่าสมาธิในทางปฏิบัติแท้ๆ อย่างนี้เรียกว่าได้สมาธิ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ถึง เอกคฺคตา ได้ถึงซึ่งความเป็นหนึ่ง จิตดวงนั้นแหละ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว ไม่มีสอง ไม่มีเขยื้อน แน่นแน่ว เหมือนอย่างกับน้ำที่ใส่ไว้ในแก้วตั้งไว้ ในที่มั่น ไม่มีลมพัดมาถูกต้องเลย ไม่เขยื้อนเลยทีเดียว อยู่ทีดียว หยุดอยู่กับที่ทีเดียว นั้นได้ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว จิตถึงซึ่งความเป็นหนึ่งขนาดนั้น นั่นได้สมาธิอย่างนี้ เรียกว่าได้สมาธิแล้ว แต่ว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ อย่างนี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่สมาธิ โดยปริยายเบื้องสูง
    สมาธิท่านวางหลักมาก ไม่ใช่แต่จิตแน่นเท่านี้ ไม่ใช่แต่จิตปราศจากอารมณ์ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเท่านี้ สมาธิท่านวางหลักไว้ถึง ๔๐ แต่ว่า ๔๐ ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย ๘ เหลืออีก ๓๒ นั้นก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกัน แต่ว่าเป็นสมาธิฝ่ายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอกแล้วก็น้อมเข้าไปข้างในได้ ถ้าสมาธิตรงข้างในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว
    สมาธินอกพุทธศาสนาออกไปน่ะ ที่พระพุทธเจ้ารับรองอนุโลมเข้ามาในพระพุทธศาสนา นั่น กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, อนุสสติ ๑๐ เป็น ๓๐ แล้ว อาหาเรปฏิกูลสัญญา, จตุธาตุววัตถาน เป็น ๓๒ นี่สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำทั้งนั้น ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ถึงจะทางปริยัติก็ดี ทางปฏิบัติก็ดี ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยทางปริยัติก็แบบเดียวกัน สมาธิโดยทางปฏิบัติ ก็แบบเดียวกัน แต่ว่าสมาธิโดยทางปริยัติไม่เห็น ผู้ทำสมาธิไม่เห็น นั่นสมาธิในทางปริยัติ
    ถ้าสมาธิในทางปฏิบัติ ผู้ได้ ผู้ถึง เห็นทีเดียว เห็นปรากฏชัดทีเดียว นั่นสมาธิในทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัด เห็นปรากฏชัดดังนั้น
    ส่วนสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ต้องพูดถึงฌาน จิตที่เป็นดวงใส ที่เห็นเป็นดวงใสอยู่นั่นแหละ ผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงซึ่งสมาธิโดยปริยายเบื้องสูงต่อไปได้ ใจต้องหยุดนิ่งกลางดวงจิตที่ใสนั่น ต้องหยุดนิ่งทีเดียว พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นฌานขึ้นกลางดวงจิตที่หยุดนั่น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กลางดวงจิตที่หยุดนั่น นิ่งหนักเข้าๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของหยุดนั้น เข้ากลางของหยุดพอถูกส่วนถึงขนาดถึงที่เข้า เป็นดวงผุดขึ้นมา เป็นดวงผุดขึ้นๆ กลางนั่นแหละ ดวงใหญ่ไม่ใช่ดวงย่อย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา (๘ ศอก) หนาคืบหนึ่ง กลมเป็นปริมณฑล กลมรอบตัว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ถ้าดวงนั้นผุดขึ้นมา มีกายๆ หนึ่ง กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละขึ้น นั่งอยู่กลางดวงนั้น
    เมื่อกายมนุษย์ละเอียดขึ้นนั่งอยู่กลางดวงนั้นแล้ว นี่เนื่องมาจากดวงนั้นนะ ใจของกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นดวงจิตของตัวอีก นี่เป็นสมาธิทำไว้แล้วน่ะ แต่ว่าไม่ใช่ดวงจิตมนุษย์คนโน้น เป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นปรากฏทีเดียว มันก็นั่งนิ่งอยู่ กายมนุษย์ละเอียดก็เอาใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวนั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่ขึ้นมาเสียชั้นหนึ่งแล้ว พ้นจากกายมนุษย์หยาบขึ้นมาแล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็นั่งอยู่กลางดวงฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๘ ศอก (๒ วา) กลมรอบตัวเป็นวงเวียนหนาคืบหนึ่ง จะไปไหนก็ไปได้แล้ว เข้าฌานแล้ว กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว เมื่อเข้าฌานเช่นนั้นแล้วก็คล่องแคล่ว จะไปไหนก็คล่องแคล่ว เมื่อเข้าฌานเข้ารูปนั้นแล้ว เกิดวิตกขึ้นแล้วว่านี่อะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ ไม่เคยพบเคยเห็น เกิดวิตกขึ้น ตรึกตรองทีเดียว ลอกคราบลอกคูดู วิจารก็เกิดขึ้นเต็มวิตกก็ตรวจตรา สีสันวรรณะ ดูรอบเนื้อรอบตัว ดูซ้ายขวาหน้าหลัง ดูรอบตัวอยู่ ตรวจตราแน่นอนแล้ว เป็นส่วนของความตรวจตราแล้ว เกิดปีติชอบอกชอบใจปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ เต็มส่วนของปีติเข้ามีความสุขกายสบายใจ เมื่อสุขกายสบายใจแล้วก็นิ่งเฉยเกิดแต่วิเวก ใจวิเวกวังเวง นิ่งอยู่กลางดวงนั่น นี่เต็มส่วนขององค์ฌานอย่างนี้ กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้วอย่างนี้ เรียกกายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานอยู่กลางดวงนั่น นี่สมาธิในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้ แต่ว่าขั้นสูงขึ้นไป เมื่อตัวอยู่ในฌานนี้ ยังใกล้กับของหยาบนัก
    เราจะทำให้สูงขึ้นไปกว่านี้ ใจกายละเอียดก็ขยาย ใจขยายจากปฐมฌานของกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กลางกายนั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตที่เห็นใสนั่น นิ่งหนักเข้าๆๆๆ พอถูกส่วนเข้า เกิดขึ้นมาอีกดวงเท่ากัน นี่เรียกว่า ทุติยฌาน พอเกิดขึ้นอีกดวงหนึ่งแล้วละก็ กายทิพย์ทีเดียว กายทิพย์ละเอียดทีเดียวเข้าฌาน ไม่ใช่กายทิพย์หยาบล่ะ กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานอีก แบบเดียวกับกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดก็เข้าฌาน อาศัยกายทิพย์หยาบเข้าฌานทีเดียว นั่งอยู่กลางดวงอีกแบบเดียวกัน ชนิดเดียวกัน นั่งอยู่กลางดวงอีก ทีนี้ ไม่มีวิตกวิจาร ละวิตกวิจารเสียแล้ว เหลือแต่ปีติ ชอบอกชอบใจ มันดีกว่าเก่า ใสสะอาดดีกว่าเก่ามาก ปลื้มอกปลื้มใจ เมื่อปลื้มอกปลื้มใจเช่นนั้น เต็มส่วนของความปีติก็เกิดความสุขขึ้น เต็มส่วนของความสุข เข้าใจก็นิ่งเฉย นิ่งเฉยอยู่ในอุราเรียกว่า อุเบกขา นิ่งเฉยอยู่กลางนั่น นี่กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็นึกว่าใกล้ต่อกายมนุษย์ละเอียด ที่ละเอียดกว่านี้มีอีก
    ใจของกายทิพย์ละเอียดก็ขยายจากฌานที่ ๒ ใจก็นิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวดังเก่า ต่อไปอีก ของกายทิพย์ละเอียดต่อไปอีก กลางดวงจิตนั่น พอถูกส่วนเข้า ฌานก็ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเท่ากัน ดวงเท่ากันแต่ใสกว่านั้น ดีกว่านั้น วิเศษกว่านั้น คราวนี้กายรูปพรหมขึ้นมาแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็เข้าฌานนั่น แต่ว่าอาศัยกายรูปพรหมหยาบนั่งนิ่งอยู่กลางดวงของตติยฌาน ในนี้ไม่มีปีติ เป็นสุข เอกคฺคตา ก็นิ่งเฉยอยู่กับสุขนั่น มีองค์ ๒ เต็มส่วน รับความสุขของตติยฌานนั่นพอสมควรแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็นึกว่าละเอียดกว่านี้มีอีก
    ใจกายรูปพรหมละเอียดก็ขยายจิตจากตติยฌาน นิ่งอยู่ในกลางดวงจิตของตัวนั่น ใส อยู่นั่น กลางของกลางๆๆๆๆๆ ถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเป็นดวงที่ ๔ เข้าถึงจตุตถฌาน เข้าถึงจตุตถฌานอาศัยกายอรูปพรหมหยาบ และกายอรูปพรหมละเอียดเข้าจตุตถฌาน กายอรูปพรหมละเอียดก็เข้าจตุตถฌานไป เมื่อเข้าจตุตถฌานหนักเข้าเป็นอุเบกขา กายอรูปพรหม เมื่อเข้าฌานนี้มีแต่ใจวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์อยู่เท่านั้น มีสติวางเฉยบริสุทธิ์เป็น ๒ ประการ พอถูกหลักฐานดีแล้ว เมื่อเข้าสู่รูปฌานแน่นอนดังนี้แล้ว ใจกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด อยู่ศูนย์กลางดวงจตุตถฌานนั้น จะเข้าอรูปฌานต่อไป เข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ต่อนี้ไปใช้กายรูปพรหมละเอียดไม่ได้ ใช้กายอรูปพรหม ใช้กายอรูปพรหมกายเดียวเข้าฌานเหล่านั้น นี้เป็นฌานในภพ ไม่ใช่ฌานนอกภพ ฌานทั้ง ๔ ประการนี้แหละเป็นสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง โดยทางปฏิบัติดังกล่าวมานี้ ปฏิเวธ ที่ปรากฏชัด ตามส่วนของตนๆ มารู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นตัวปฏิเวธทั้งนั้น เมื่อเข้าถึงฌานที่ ๑ ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้ว เข้าถึงฌานที่ ๒ ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่อีก รู้เห็นปรากฏชัด เมื่อเข้าถึงฌานที่ ๓ ก็เป็นปฏิเวธอีก ปรากฏชัดด้วยตาของตัว เข้าฌานที่ ๔ ก็เป็นปฏิเวธอีก เป็นปฏิเวธทั้งกายมนุษย์ เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธอยู่อีก เข้าถึงกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียดก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด ส่วนอรูปพรหมเป็นของละเอียด ส่วนจตุตฌานก็เป็นของละเอียดแต่ว่าเกี่ยวกัน ที่จะเข้าอรูปฌานต้องเริ่มต้นแต่รูปฌานนี้ พอเข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ใช้กายอรูปพรหมอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้แล สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง แสดงมาโดยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านเจ้าภาพและสาธุชน จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้.
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    .........ศีลทั้ง 3 ประการ..............

    ศีลทั้ง ๓ ประการ



    ๔ มีนาคม ๒๔๙๗



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)
    อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน อธิจิตฺตสิกฺขาสมาทาเน อธิปญฺญาสิกฺขาสมาทาเน อปฺปมาเทน
    สมฺปาเทสฺสามาติ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพนฺติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ว่าด้วยศีลทั้ง ๓ ประการ ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ทรงประทานเทศนาเรียกว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นศีล ทางพุทธศาสนาต้องประสงค์ แม้ศีลตั้งแต่เป็นศีลต่ำลงไปกว่านี้ พุทธศาสนาก็นิยมยินดี เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ ประการ ได้แสดงมาแล้ว
    ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ประสงค์เอาศีล ๕ ประการ
    ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ประสงค์เอาปาฏิโมกข์สังวรศีล และบริบูรณ์ด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ทั้งหลาย
    เห็นศีลโดยปริยายเบื้องสูง
    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้สละอารมณ์ทั้งสิ้นหลุดขาดจากใจ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งของใจได้ นี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ
    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ทรงแนะนำให้ดำเนินถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เมื่อเข้าฌานใดฌานหนึ่งได้ เรียกว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง
    ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปชัด และข้อปฏิบัติดำเนินถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ อันเป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ นี้ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ
    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง คือพระองค์ทรงแนะนำว่า ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ รู้ชัดในสัจธรรมทั้ง ๔ นี้ นี้ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง
    ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูง สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูง ปัญญาโดยปริยาย เบื้องต่ำ เบื้องสูงนั้น ได้แสดงแล้วในสัปดาห์ก่อนๆ โน้น
    บัดนี้จักแสดงใน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต่อจากศีล สมาธิ ปัญญา โดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงเป็นลำดับมา
    อธิศีล แปลว่า ศีลยิ่ง, อธิจิต แปลว่า จิตยิ่ง, อธิปัญญา แปลว่า ปัญญายิ่ง แปลตามมคธภาษาประกอบตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลายถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว ในอันถือมั่นซึ่งศีลยิ่ง ในอันถือมั่นซึ่งจิตยิ่ง ในอันถือมั่นซึ่งปัญญายิ่ง ดังนี้ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพํ อย่างนี้แม้จริงอันเราทั้งหลายควรศึกษา แปลเนื้อความเป็นสยามภาษาได้ความดังนี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายในเรื่องอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา สืบเป็นลำดับไป
    อธิศีล แปลว่า ศีลยิ่ง ศีลยิ่งนั้นเป็นไฉน ศีลตามปกติธรรมดาที่ได้แสดงมาแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูง ศีลยิ่งนะยิ่งกว่าเบื้องต่ำเบื้องสูงไปกว่านั้นหรือ ศีลยิ่งนะต้องเห็นศีล ไม่ใช่รู้จักศีล เห็นศีลทีเดียว ศีลโดยปกติสำรวมกาย วาจา เรียบร้อยดีไม่มีโทษ งดเว้นเบญจวิรัติ ๕ ประการ ขาดจากจิตสันดาน บริสุทธิ์ดุจพระอริยสาวกในธรรมวินัยของพระศาสดา นี่ศีลตามปกติธรรมดา ไม่ใช่อธิศีล นี่ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ศีลโดยปริยายเบื้องสูง เหมือนภิกษุสามเณรกำลังศึกษากันเช่นนี้ ปาฏิโมกข์สังวรศีล สำรวมตามพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยมารยาท เครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อและโคจร อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ทั้งหลาย นี่ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ไม่ใช่อธิศีล
    คือบริสุทธิ์ตลอดจนกระทั่งถึงเจตนา ความนึกคิดอ่านก็เป็นศีลจริงๆ ตรงตามวาระพระบาลีว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาความคิดอ่านทางใจนั่นแหละเป็นศีล รับสั่งดังนี้ นี่ก็เป็น “เจตนาศีล” ความคิดอ่านทางใจ ศีลมีแต่กายกับวาจา เจตนาก็เป็นศีล ความนึกคิดอ่านก็เป็นศีลอีก เป็นศีลด้วย แต่ว่ายังไม่ถึงอธิศีล อธิศีล ศีลที่เห็น ไม่ใช่ศีลที่รู้ เจตนาความคิดอ่านปกติสละสลวยเรียบร้อย ก็มาจากศีล ศีลเป็นดวงใสอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงศีลอยู่ภายในนั้น ใสบริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั่นแหละ ถ้าผู้ปฏิบัติไปถึงไปเห็น เป็นปรากฏขึ้นในศูนย์กลางกายมนุษย์ เห็นเป็นปรากฏขึ้น ศีลดวงนั้นแหละได้ชื่อว่าเป็นอธิศีล เป็นอธิศีลแท้ๆ
    เมื่อรู้จักอธิศีลดังนี้ละก็ ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงนั้นเป็นปกติศีล ในศีลที่เห็นดวงใสในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั้นเขาเรียกว่าอธิศีล อธิศีลแปลว่าศีลยิ่ง ศีลที่ผู้ปฏิบัติและเห็น แล้วก็ใจของผู้ปฏิบัติก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่นบ้าง ไม่ล่อกแล่ก เหลวไหล เหลวไหลเลอะเลือน ใจเป็นหนึ่งลงไปกลางดวงศีลนั่น นั้นเป็นอธิศีลแท้ๆ ศีลนั่นจะบริสุทธิ์ ก็เห็นว่าบริสุทธิ์ ศีลไม่บริสุทธิ์ก็เห็นว่าไม่บริสุทธิ์ จะ สะอาดเพียงแค่ไหนก็เห็น ไม่สะอาดแค่ไหนก็เห็น ขุ่นมัวเศร้าหมองก็เห็นทั้งนั้น ศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย อขณฺฑานิ อจฺฉิทฺทานิ อสพลานิ อกมฺมาสานิ เมื่อรักษาศีล ใจหยุดอยู่ในศีลนั้น ศีลไม่เป็นไปเพื่อกำลังต้องการ รักษาศีลจะให้รวยเท่านั้นเท่านี้ มั่งมีเท่าโน้น มั่งมีเท่านี้ ศีลเป็นไปด้วยกำลังเช่นนี้ไม่มี ไม่ประสงค์เป็นอธิศีล ส่วนอธิศีลนั้น เมื่อใจหยุดอยู่กลางดวงศีล ก็หยุดทีเดียว มุ่งแต่สมาธิต่อไป ไม่ได้มุ่งสิ่งอื่น “อธิศีล” ที่ปรากฏนั่นแหละผิดปกติธรรมดา
    เมื่อเห็นดวงศีลขนาดนั้นแล้ว ผู้มีปัญญาก็ไม่ได้ถอยออก ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ก็จะเข้าถึงดวงสมาธิ อยู่กลางดวงศีลนั่น เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน ดวงขนาดนั้น นั่นสมาธิ ที่เห็นดวงนั้นแหละ ดวงอธิจิตละ จิตยิ่ง สมาธิยิ่งละ นั่นเป็นสมาธิยิ่ง ยิ่งกว่าที่ทำมาแล้ว เป็นมาแล้ว เห็นมาแล้ว นั้นเรียกว่าจิตยิ่ง
    จิตก็จะหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิอีก เมื่อจิตหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ นิ่งพอถูกส่วนเข้า พอจิตที่หยุดนิ่งก็กลางของกลาง กลางของกลางๆๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า ก็จะเห็น ดวงปัญญา อีกดวงหนึ่งอยู่กลางดวงสมาธินั่น นั่นแหละปัญญาดวงนั้น เขาเรียกว่า “อธิปัญญา” อธิปัญญาแท้ๆ อธิปัญญาในตอนต้น ไม่ใช่ตอนปลาย มีตอนปลายอีก
    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง ๓ ดวงนี้ นี่แหละเป็นธรรมถ่องแท้ในพุทธศาสนา เมื่อผู้ปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ต้องเข้าถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา จึงจะได้ชื่อว่าเข้าถึงอธิศีล เข้าถึงอธิจิต เข้าถึงอธิปัญญา ถ้าจะดำเนินต่อไปตามร่องรอยของพระพุทธศาสนา กลางดวงปัญญามีวิมุตติ กลางดวงอธิปัญญานั่นมีวิมุตติ วิมุตติอย่างไร วิมุตติหลุดทีเดียว หลุดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา ลงไปทีเดียว วิมุตติ แปลว่า หลุดพ้น กลางดวงวิมุตตินั้นจะเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะเป็นธรรมที่พึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริง หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นกายมนุษย์ที่นอนฝันออกไป เห็นปรากฏทีเดียวว่า อ้อกายนี้เองที่เรานอนฝันออกไป เห็นปรากฏนี้เอง ไม่ฝันแล้วก็ไม่เห็น ฝันจึงเห็น เห็นปรากฏกายที่นอนฝันออกไป นี่อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ที่หยาบนี้
    ยังมีอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ที่ละเอียดนั่น ใจกายมนุษย์หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีลอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิตนั้นอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญานั่นอีก พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ นี่เข้าถึง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด
    ใจกายทิพย์ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ พอถูกส่วนเข้า เห็นอะไร เห็นอธิศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ละเอียด ใจกายทิพย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายรูปพรหม
    ใจกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายรูปพรหมละเอียด ใจกายรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายอรูปพรหม
    ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายอรูปพรหมละเอียด ใจอรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่ง อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดอีก พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมา เกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กเท่าไรตามส่วนของกายธรรมนั้น ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า งดงามนัก นั่นแหละกายธรรม นั่นแหละเรียกว่า พุทฺโธ หรือเรียกว่าพุทธรัตนะ กายธรรมนั่นเอง เรียกว่าพุทธรัตนะ นี่ตรงนี้เป็นปัญหาอยู่ตรงนี้ เมื่อเราแสดงศีลของสามัญ สัตว์ที่ยังไม่เห็นหรือยังไม่รู้ เป็นสามัญศีล ไม่ใช่อธิศีล ศีลผู้ทำมี ทำเป็น ทำเห็น เป็นอธิศีล
    ตั้งแต่กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรม เมื่อเข้าถึงกายธรรมแล้ว ดวงศีลในกายธรรมยังมีอีก
    ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอหยุดถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีลอีก ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายใหญ่กว้างแค่ไหน หน้าตักกว้างแค่ไหน ดวง ธรรมที่เป็นธรรมกาย กลมรอบตัว เหมือนยังกับลูกบิลเลียด กลมรอบตัว ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ยิ่งกว่านั้น ใสกว่านั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ดวงศีลที่เห็นขึ้นในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นเท่ากัน ดวงธรรมนั่นเท่าไร ดวงศีลนั่นก็เท่านั้น ดวง สมาธิก็เท่านั้น ดวงปัญญาก็เท่านั้น ดวงเท่ากันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นดวงนี้เป็นปัญหาสำคัญนัก ศีลนี้ เมื่อเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี่ เมื่อเข้าถึงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี่แล้ว ก็ควรจะขยับชั้นขึ้นไปใหม่
    ศีลที่แสดงมาแล้วนั้นเป็นปกติศีลไป หรือศีลขั้นต้น ยังไม่ถึงศีลเห็น นี่เป็นธรรมดา เป็นปกติศีลไป เมื่อเข้าถึงธรรมกาย พอไปเห็นดวงศีลในธรรมกายเข้า ใหญ่ขนาดวัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ศีลขนาดนั้น ศีลที่ในกาย ๘ กาย กายมนุษย์ตลอดจนกระทั่งถึงกายอรูปพรหมละเอียด ๘ กายนั้น ควรเป็นปกติศีลเสีย ต้องขยับขึ้นดังนี้ ดวงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็เป็นอธิศีลไป สูงขึ้นขนาดนี้ นี่ได้แก่ คนปฏิบัติเป็นสูงขึ้นไปต้องจัดดังนี้ เป็นอธิศีล เพราะศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น ยิ่งกว่าดวงศีลในกายทั้ง ๘ กายที่แล้วมา
    เข้าถึงกายธรรมแล้ว กายธรรมไม่ใช่กายในภพ เป็นกายนอกภพ
    กาย ๘ กาย กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด เป็นกายในภพ กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด พวกนี้กายอยู่ในภพ กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด นี่เป็นกายอยู่ในรูปภพ กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด อยู่ในอรูปภพ กายเหล่านี้อยู่ในภพ ศีลก็ควรจะเป็น ปกติศีลไป เมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ศีลในกายทั้ง ๘ นั้น ก็เป็นปกติไป ดวงศีลที่ใส วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย นั่นเป็นอธิศีลแท้ๆ ไม่เคลื่อนละ คราวนี้ถูกแน่ละ
    ใจของกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ นั่นอธิจิตแท้ๆ เข้าถึงดวงอธิศีล ดวงอธิจิต ได้ดังนี้แล้ว กลางดวงอธิจิตนั่นก็เป็นดวงอธิปัญญาเท่ากัน ดวงเท่าๆ กัน หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายธรรมละเอียด หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีลอีก หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิตอีก ดวงเท่าๆ กัน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัวเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิตอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญาอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายธรรมพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุ ดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของกายพระโสดาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา หยุดนิ่งถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีลอีก วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิตอีกเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญาเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอก บัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระโสดาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของกายพระสกทาคา ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอนาคา หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระอนาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอรหัต หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระอรหัตก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล ตรงนี้แหละเป็นปัญหาอยู่ที่เรียกว่าเป็นอธิศีล พอถึงพระอรหัตแล้ว อีกชั้นหนึ่ง หมดกิเลสเสียแล้ว ถ้าหากว่านี่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ดวงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถ้าหากว่าเป็นอธิศีลจะซ้ำรอยกันไป ควรจะเป็นวิมุตติศีล เพราะท่านเป็นวิมุตติทั้งเรื่องเสียแล้ว พระอรหัตควรเป็นวิมุตติศีล แล้วดวงนั้นวัดผ่าศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว ศีลดวงนั้นเป็นวิมุตติศีล เป็นวิมุตติเสียแล้ว ท่านหยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติศีลนั้น ถูกส่วนเข้า ก็เข้าวิมุตติจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติจิต ก็เข้าถึงวิมุตติปัญญา หยุดนิ่งอยู่ กลางดวงวิมุตติปัญญานั่น เข้าถึงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอรหัตละเอียด หน้าตัก ขยายส่วนหน้าขึ้นไป ๓๐ วา ทีเดียว กลมรอบตัวเท่าหน้าตักธรรมกายละเอียด ละเอียดหนักขึ้นไปเท่าไร ก็โตหนักขึ้นไป ละเอียดหนักขึ้นไปเท่าไรก็โตหนักขึ้นไป นับอสงไขยไม่ถ้วน ละเอียดขึ้นไปดังนี้ แต่ว่าต้องเดินไปแนวนี้ ผิดแนวนี้แล้วก็ไม่ถูกอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถูกแนวนี้ละก็ ถูกอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเป็นลำดับไป ถูกหลักนี้จึงจะไปนิพพานได้ เมื่อถึงพระอรหัตก็ไปนิพพานทีเดียว ทางอื่นไม่มีทางไป มีทางไปนิพพานเท่านั้น เมื่อถึงพระอรหัตแล้ว พระพุทธเจ้าท่านประพฤติปฏิบัติถึงพระอรหัตแล้ว เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกแล้ว ท่านก็ส่องดูธัมมอุปนิสัยสัตว์ ว่านี่เราปฏิบัติมาถึงแค่นี้แล้วเราจะเคารพอะไร เราไม่เห็นมีใครควรเคารพใน ๓ ภพ กามภพ เป็นกายมนุษย์ กายสัตว์นรก กายสัตว์เดรัจฉาน กายเปรต กายอสุรกาย หรือกายมนุษย์ก็ดีในภพมนุษย์ กายมนุษย์ กายทิพย์ในจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ในกามภพนี้ หย่อนกว่าเราทั้งนั้น ไม่ถึงเรา ท่านมาขยับขึ้นมาถึงรูปพรหม ๑๖ ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรมหา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสรา ฯลฯ ๑๑ ชั้นนี้ กายต่ำกว่าเราทั้งนั้น อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา นี่เป็นที่อยู่ของกายพรหม ต่ำกว่าเราทั้งนั้น ที่ไม่ได้มรรคผล จนไปถึงกายอรูปพรหม ๔ ชั้น อากาสานัญจายตนภพ วิญญานัญจายตนภพ อากิญจัญญายตนภพ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ก็ไม่ลดลงไปได้ เราสูงกว่าทั้งนั้น เราจะเคารพใคร สักการะใคร นับถือใคร จึงจะสมควร ท่านก็สอดธรรมกายพระอรหัตถอยออกไปนิพพาน มีเท่าไรๆๆ ก็เข้ากลางหนัก เข้าไป ถามพระพุทธเจ้าที่ไปนิพพานแล้วเก่าๆ มากน้อยมีเท่าไรรู้เรื่องหมด ว่าพระพุทธเจ้าเก่าๆ นับถือใคร บูชาใคร เคารพใคร มีตำรับตำรายืนยันเป็นเนติแบบแผนทีเดียว ท่านวางตำรับ ตำราไว้ว่า เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา, เย จ พุทฺธา อนาคตา, โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ, พหุนฺนํ โสกนาสโน, สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน, วิหรึสุ วิหาติ จ อถาปิ วิหริสฺสนติ, เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา, ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน, มหตฺตมภิกงฺขตา, สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ, สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ นี้เป็นตำรับ ตำรา พระพุทธเจ้าท่านดำริเมื่อได้ตรัสรู้แล้วว่า พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดในอดีตกาลที่ล่วงไปแล้วทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเหล่าใดที่ปรากฏในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคข้างหน้า พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดผู้ซึ่งยังความโศกของประชาชนเป็นอันมากให้วินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ สพฺเพ สทฺธมฺครุโน ล้วนเคารพสัทธรรมทั้งสิ้น เคารพสัทธรรมทีเดียว วิหรึสุ วิหาติ จ อถาปิ วิหริสฺสนฺติ พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด มีอยู่แล้วด้วย มีอยู่ในบัดนี้ด้วย ทั้งจะมีต่อไปในภายภาคเบื้องหน้าด้วย เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ที่เคารพสัทธรรมเป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เคารพสัทธรรมอย่างเดียว ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน เพราะเหตุนั้นบุคคลผู้รักตน สงสารตน ยินดีต่อตน จำนงความเป็นใหญ่ ควรเคารพ สัทธรรม ควรทำการเคารพสัทธรรม นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ปรากฏอย่างนี้
    เคารพสัทธรรม เคารพอย่างไร เคารพไม่ถูก ไม่ใช่เคารพง่ายๆ ที่ได้เข้ากายพระอรหัต นี่มาอย่างไรล่ะ ใจก็ต้องหยุดนะซี เริ่มต้นก็ต้องหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล หยุดอีกนั่นแหละ พอเข้าถึงดวงสมาธิ ก็หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงปัญญา พอเข้าถึงดวงปัญญา ก็หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก เข้าถึงดวงวิมุตติ ก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติอีก เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก หยุดที่ใจหยุดนั่นแหละ ถูกละ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา หยุดอันเดียว เข้าดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวแหละ หยุดในหยุดเรื่อยไป ก็เข้าถึง กายทิพย์
    ใจของกายทิพย์ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์อีก หยุดนั่นแหละสำคัญ หยุดนั่นแหละเป็นตัวสำเร็จ หยุดอันเดียวเท่านั้นแหละ ทางพุทธศาสนาเป็นเป้าหมายใจดำ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ หยุดอันเดียวถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวเท่านั้น ก็เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด
    ใจของกายทิพย์ละเอียดก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายรูปพรหม ใจกายรูปพรหมก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม หยุดอันเดียว เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางศีล เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวง วิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด
    พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ใจของรูปพรหมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวแหละตัวสำเร็จ นี่แหละหัวใจเฉพาะพระพุทธศาสนาละ อย่าไปเข้าใจอื่นนะ เข้าใจอื่นเหลวละ ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม ใจของกายอรูปพรหมก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลอีก เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาอีก เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ใจของกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดอีก ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุด อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายธรรม หยุดอันเดียว อย่าเลอะ ทางอื่นไม่ได้ พอหยุดเข้าได้ละก้อ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว
    ใจของกายธรรมก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรมละเอียด
    ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด หยุดอันเดียว พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายพระโสดา ใจกายพระโสดาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพระโสดา พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายพระโสดาละเอียด
    ใจของกายพระโสดาละเอียด ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระสกทาคา นี้ถ้าไม่หยุดแล้วเข้าไม่ถึงแท้ๆ ใจของกายพระสกทาคาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระสกทาคาละเอียด
    ใจของกายพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวนั่นแหละ ก็เข้าถึงกายพระอนาคา ใจของกายพระอนาคาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด
    ใจของกายพระอนาคาละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึง กายพระอรหัต ใจของกายพระอรหัตก็หยุดไม่ถอยเลย ไม่เขยื้อนทีเดียว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ไม่เขยื้อนทีเดียว เข้าถึงดวงวิมุตติศีล ใจของพระอรหัตก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติศีล ก็เข้าถึงดวงวิมุตติสมาธิ ใจของพระอรหัตก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติสมาธิ เข้าถึงดวงวิมุตติปัญญา หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ นั่นก็เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียด แบบเดียวกันอย่างนี้ เมื่อรู้จักใจกลางพระศาสนาดังนี้ละก็ ปล้ำใจให้หยุดเท่านั้น ถูกทางไปพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระพุทธศาสนา แต่ว่าต้องอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา ต้องอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องอาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา ถ้าไม่อาศัยทางนี้เดินละก้อ ไปไม่ได้ ถ้าไม่อาศัยศีล สมาธิ ปัญญา, อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่อาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา แล้วไปไม่ได้ ไปไม่รอดทีเดียว เหตุนี้ทางพระพุทธศาสนาจึงได้วางตำราไว้ว่า วินัยปิฎกคือศีลนั่นเอง ย่อลงใส่ศีลนั่นเอง สุตตันตปิฎก ย่อลง ก็จิต ที่เรียกว่าสมาธินั่นเอง ปรมัตถปิฎก ย่อลงก็ปัญญานั่นเอง ตรงกับอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา, วิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา อันเดียวกันนั่นเอง นี่เป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนา เป็นอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้ ต้องทำให้ถูกอย่างนี้ เมื่อทำให้ถูกอย่างนี้ก็ถูกใจดำทาง พระพุทธศาสนา ถ้าไม่เดินทางนี้ก็ไม่ได้เรื่อง เอาหลักไม่ได้ เมื่อทำถูกต้องอันนี้ละก็ พบพระพุทธศาสนาก็ได้เรื่อง เอาตามหลักได้ ก็ถูกชายจีวรของพระพุทธเจ้าอยู่ ถ้าว่าทำไม่ถูกดังนี้ เหมือนอยู่คนละจักรวาล ถ้าว่าถูกหลักดังนี้แล้วดังนี้แหละ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพํ จริงอยู่อย่างนี้แหละ ท่านทั้งหลายควรศึกษา ไม่ศึกษาอย่างนี้ก็เอาตัวไม่รอด ที่ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถา เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    อริยธนคาถา
    ๑๙ มีนาคม ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน) <TABLE style="COLOR: #666666" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="30%" align=center><COLGROUP><COL width="58%"><COL width="42%"><TBODY><TR><TD>ยสฺส สทฺธา ตถาคเต</TD><TD>อจลา สุปติฏฺฐิตา</TD></TR><TR><TD>สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ</TD><TD>อริยกนฺตํ ปสํสิตํ</TD></TR><TR><TD>สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ</TD><TD>อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ</TD></TR><TR><TD>อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ</TD><TD>อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ</TD></TR><TR><TD>ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ</TD><TD>ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ</TD></TR><TR><TD>อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ</TD><TD>พุทฺธาน สาสนนฺติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถาในกลางเดือนสี่นี้ แสดงในเรื่องอริยธนคาถา แปลว่าทรัพย์ของพระอริยเจ้า หรือแปลว่าทรัพย์อันประเสริฐ จะแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอเป็นเครื่องปฏิการสนองประคองศรัทธา ประดับ สติปัญญาคุณสมบัติของท่านพุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ ทุกถ้วนหน้า
    ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา ความเชื่อไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่ด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า มีอยู่แก่บุคคลใด สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ ศีลที่ดีงามอันพระอริยเจ้าทั้งหลายยินดี พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญแล้ว มีอยู่แก่บุคคลใด สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ มีอยู่แก่บุคคลใด อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติตรงมีอยู่แก่บุคคลใด อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นคนไม่จน เป็นคนมั่งมี อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ความเป็นอยู่ของคนนั้นไม่เปล่าจากประโยชน์ ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนํ เพราะเหตุนั้นผู้มีปัญญาเมื่อมาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ควรประกอบความเชื่อและประกอบศีล ประกอบความเลื่อมใส ประกอบความเห็นธรรมไว้ในใจเนืองๆ เถิด ประเสริฐนัก
    นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป เพราะเราท่านทั้งหลายเป็นคนไม่มีทรัพย์ในโลกนี้เป็นเครื่องอุ่นใจ ให้นึกถึงเงินที่รัฐบาลใช้สอยก็มีไม่พอใช้ หรือจะนึกถึงสมบัติอันใดไม่พอใช้ทั้งนั้น ที่เป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เมื่อมาระลึกเช่นนี้แล้ว เราควรจะตั้งใจให้ผ่องแผ้ว เรามาประสบพบพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงประทานอริยทรัพย์ไว้เป็นอเนกอนันต์สุดที่จะพรรณนา
    บัดนี้จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาไว้เป็นลำดับไป ความเชื่ออันนี้แหละให้รักษาไว้ให้มั่นในขันธสันดาน ชื่อ อจลา ไม่กลับกลอก ความเชื่อที่ไม่กลับกลอก ตั้งมั่นด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า มีอยู่แก่บุคคลใด ความเชื่ออันนี้ควรสำทับให้แน่นอนไว้ ในใจ ความเชื่อนี้เป็นตัวสำคัญในการปฏิบัติศาสนา ถ้าความเชื่อนี้ไม่แน่นอนง่อนแง่นคลอนแคลนแล้วจะเอาตัวรอดไม่ได้ ถ้าความเชื่อไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลนแน่นอนแล้วจะเอาตัวรอดได้ ความเชื่อที่ง่อนแง่นคลอนแคลนไม่มั่นคงนั้นเป็นไฉน ตั้งใจตรงลงไปว่า จะปฏิบัติในพุทธศาสนาเหมือนภิกษุสามเณร ทอดตัวลงไปแล้วว่าเป็นพระจริงๆ เป็นเณรจริงๆ คอยรักษาความจริงอันนั้นไว้อย่าให้กลับกลอกได้ อุบาสกอุบาสิกาก็เหมือนกัน ทอดตัวลงไปแล้วว่าต้องเป็นอุบาสกอุบาสิกาจริงๆ แล้วรักษาความจริงอันนั้นไว้ อย่าให้กลับกลอกง่อนแง่นคลอนแคลนได้ นี้รักษาความจริงไว้ได้ ได้ชื่อว่าความเชื่ออันนั้นไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน ตั้งมั่นด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า
    ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราผู้ตถาคตคือธรรมกาย พระตถาคตเจ้าน่ะคือธรรมกาย เชื่อธรรมกายนั่นเอง ไม่ใช่เชื่อลอกแลกไปทางใดทางหนึ่ง เชื่อธรรมกาย ให้เห็นธรรมกาย ให้เป็นธรรมกาย ถ้าเห็นธรรมกายเป็นธรรมกายแล้ว แก้ไขธรรมกายนั่นให้สะอาดให้ผ่องใสหนักขึ้น อย่าให้ยุ่งอย่าให้มัวหมอง ถ้าเห็นบ้างไม่เห็นบ้างอย่างนั้นยังง่อนแง่นยังใช้ไม่ได้ ถ้าเห็นเสีย แจ่มใสบริสุทธิ์ ไม่มีราคี เหมือนกระจกส่องเงาหน้า เจ้าของเห็นเวลาไรแล้วยิ้มจ้าเวลานั้น ไม่ได้ซูบซีดเศร้าหมองเลย ผ่องใสอย่างนี้ เชื่อลงไปขนาดนี้ นี่เป็นที่พึ่งของเราจริง สิ่งอื่นไม่มี ให้แน่นอนลงไปเสียอย่างนี้ เมื่อแน่นอนลงไปเช่นนี้แล้ว ก็เห็นธรรมกายนั่นเองเป็นใหญ่ สิ่งอื่นเป็นใหญ่กว่านี้ไม่มี หมดทั้งสากลโลก หมดในธาตุในธรรม ที่จะเป็นใหญ่กว่าธรรมกายนี้ไม่มี ให้แน่นอนเสียในใจอย่างนี้ มั่นคงลงไปอย่างนั้น ไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลนจริงลงไปอย่างนั้น แล้วใจต้องนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายทีเดียว ค่ำมืดดึกดื่นเที่ยงคืนไม่ลุก ลืมตาก็แจ่มอยู่กับธรรมกายนั่น เมื่อนอนหลับเข้าก็แล้วไป เข้าที่ไปจนกระทั่งหลับอยู่กับธรรมกาย ตื่นขึ้นก็ติดอยู่กับดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นแจ่มจ้าอยู่เสมอ นี่แหละเจอแล้วซึ่งพระตถาคตเจ้า นั่นตัวพระตถาคตเจ้าทีเดียว เมื่อเชื่อลงไปเช่นนี้เรียกว่าไม่กลับกลอก ถ้าไม่กลับกลอกต้องทำสูงหนักขึ้นไป ไม่กลับกลอกแต่ตอนต้น แต่ว่ายังเป็นโคตรภูบุคคล ยังกลับกลอกอยู่ ให้เข้าถึงพระโสดาเสียจึงจะไม่กลับกลอก เข้าถึงพระโสดาก็ใกล้กับโคตรภู เข้าถึงพระสกทาคาเสียนั่นจึงจะแน่นแฟ้นขึ้น ถึงพระสกทาคาแล้วก็ยังมีกามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดอยู่ ให้ถึงพระอนาคาเสีย กามราคะพยาบาทอย่างละเอียดหมดไป แต่ว่ายังไม่ถึงวิราคธาตุวิราคธรรมได้ ให้อุตส่าห์พยายามทำให้สูงขึ้นไปกว่านั้น ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ให้ได้ ให้เข้าถึงพระอรหัตทีเดียว เข้าถึงพระอรหัตแล้ว อินฺทขีลูปโม ดุจดังว่าเสาเขื่อนปักเขื่อนไว้ ลมพัดมาแต่ทิศทั้งสี่ทั้งแปดไม่เขยื้อน ตั้งมั่นทีเดียว อจลสทฺธา ไม่กลับกลอกแน่นอนทีเดียว
    ถ้าแม้ว่าปุถุชนหญิงก็ดี ชายก็ดี ทำใจแน่ได้ขนาดนั้นละก้อ แปลว่า นับถือศาสนาเป็นเบอร์หนึ่ง ไม่มีสองมาเทียมล่ะ แน่นขนาดนั้น แน่นแค่ไหน แน่นไปจริงๆ เชื่อในพระตถาคตเจ้า เชื่อในธรรมกายลงไปแค่ชีวิต แน่นแค่ชีวิต แม้จะตายเสียก็ตายไปเถอะ ที่จะไม่ให้เชื่อธรรมกายละก้อ เป็นไม่ได้เด็ดขาด ฆ่าเสียก็ยอม ตายก็ตายไป ให้เชื่อกันจริงลงไปอย่างนี้ อย่างนี้ ได้ชื่อว่าตั้งมั่นด้วยดีแล้วในพระตถาคตเจ้า นี้เป็นข้อต้น
    ข้อที่สองรองลำดับลงไป สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ ศีลอันดีงามที่พระอริยเจ้าทั้งหลายยินดี อันพระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ศีลดีงามนั้นศีลอะไร ศีลอยู่ ที่ไหน ศีลเป็นอย่างไร ศีลบริสุทธิ์นั่นแหละ เรียก กัลยาณศีล บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา ไม่มีร่องรอยเสียเลย บริสุทธิ์เจตนา ซึ่งเข้าไปกว่ากายวาจาอีก บริสุทธิ์เจตนา หมายความว่า เจตนาความคิดอ่านทางใจก็บริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีราคี ความคิดอ่านทางใจเห็นศีลจริงๆ อย่างนี้ เรียกว่า “กัลยาณศีล” ที่พระอริยเจ้าชอบใจ อันพระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ศีลที่สำหรับเป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลายที่เรียกว่าเป็นกัลยาณศีลนั้น ศีลเป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นศีลดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น ของใหญ่อยู่ในของเล็กอย่างไร ขันกับพานไม่รับกันได้ กระจกชักรูป กล้องชักรูป ของใหญ่เข้าไปอยู่เท่าไรก็ได้ ศีลที่บริสุทธิ์สะอาดเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์ดุจกระจกส่องเงาหน้า กลมรอบตัว
    ศีลนั่นแหละ อริยกนฺตํ พระอริยเจ้าชอบใจนัก ปสํสิตํ พระอริยเจ้าสรรเสริญนัก ศีลอย่างนี้ทางที่จะไปเป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ต้องไปกลางดวงศีลนี้เท่านั้น ทางอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด นี้แหละ ช่องนี้แหละ ดวงนี้แหละจบวินัยปิฎก เป็นยอดรวมยอดของวินัยปิฎกทีเดียว แล้วก็ต้องไปทางนี้แหละ จะไปสักกี่กาย กายก็มีศีลดวงนี้เป็นต้นเรื่อยไปดังนี้แหละ ศีลดวงนี้เป็นศีลสำคัญ ศีลทางมรรคผลทีเดียว นี่แหละตัวอธิศีลทีเดียว ไม่ใช่ปกติศีล
    เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว ต้องเข้าให้ถึงศีลดวงนี้ ถ้าปฏิบัติพระพุทธศาสนาเข้าถึงศีลดวงนี้ ไม่ได้ละก้อ ไม่ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ให้รู้ชัดอย่างนี้ทีเดียว เมื่อรู้ชัดอย่างนี้ละก้อ ที่เข้าถึงแล้ว ก็อุตส่าห์พยายามเลื่อมใสในธรรมต่อไป ที่เข้ายังไม่ถึงก็อุตส่าห์พยายามเข้าให้ถึง ให้เป็นหนึ่งแน่ลงไป ไม่ให้เสียทีที่มาประสบพบพระพุทธศาสนา ถ้าว่ามีศีลอันดีงามที่พระอริยเจ้าใคร่ ที่พระอริยเจ้าชอบใจเช่นนี้ มีอยู่แก่บุคคลใด ก็ได้ชื่อว่าบุคคลนั้นมีภูมิใจอยู่ เอิบอิ่มใจอยู่ นี่เป็นข้อแก้ศีล
    ความเลื่อมใสเป็นข้อสามต่อไป สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใด ข้อต้นเรากล่าวว่า พุทฺโธ ถึงพระพุทธเจ้า ข้อที่สองนั้นเป็นศีลไป ข้อที่สามนี้มาเป็นพระสงฆ์ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ความเลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นเลื่อมใสอย่างไร พระสงฆ์นี้ท่านประพฤติน่าเลื่อมใส ท่านประพฤติดี เป็นภิกษุสามเณรประพฤติดีละก้อ อาจจะเป็นอายุพระพุทธศาสนาได้ดี เหมือนพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเห็นนิโครธสามเณรเข้า เห็นมารยาทเรียบร้อย สำรวมกาย วาจา ดีไม่มีที่ติ ใช้ให้ราชบุรุษไปตามนิมนต์คนหนึ่งไป พอลับตัวก็ใช้อีกคนหนึ่งไป ใช้ติดกันเรื่อยไปเลยทีเดียว กลัวจะไม่ได้พ่อสามเณรมา ได้สามเณรมาสมความปรารถนาแล้วให้นั่งบนที่นั่งของพระองค์ ใต้เศวตฉัตร ๙ ชั้น อาราธนาให้แสดงธรรม พ่อสามเณรก็แสดงเป็นเรื่องไป นิโครธสามเณรน่ะฉลาดเฉลียวนัก ประพฤติดี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บำรุงพระพุทธศาสนา เพราะนิโครธสามเณรองค์ นั้นแหละเป็นตัวสำคัญ ภิกษุสามเณรในบัดนี้ ถ้าประพฤติตัวดีถึงขนาดนั้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นอายุพระพุทธศาสนา เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชุมชนทั้งหลาย ควรเอาเป็นตำรับตำรา ถือเอาไว้เป็นเนติแบบแผนทีเดียวอย่างนั้น นี่เป็นความเห็นที่มนุษย์ปุถุชนเห็นกันอย่างนี้ว่า เลื่อมใสในพระภิกษุสามเณรอย่างนี้ เลื่อมใสซึ้งเข้าไปกว่านั้น ต้องปฏิบัติเข้าไปถึงจิตถึงใจ เข้าไปถึงธรรมกาย ตั้งแต่พระตถาคตเจ้าเป็นตัวธรรมกาย ศีลที่จะเข้าธรรมกาย เพราะอาศัยเดินถูกทางศีลเข้าไปถึงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ กว่าจะเข้าถึงพระสงฆ์น่ะ ไกลลิบ เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายแล้วจะเห็นชัด
    บัดนี้ที่เราเป็นมนุษย์อยู่เราควรเลื่อมใสใคร เราควรเลื่อมใสกายมนุษย์ละเอียดซิ กายมนุษย์ละเอียดรักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ไว้ กายมนุษย์ที่จะอยู่ได้เป็นหลักฐานมั่นคงนี้ กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละเขารักษาดวงธรรมไว้ไม่ให้เป็นอันตราย นั่นแน่น่าเลื่อมใสเขาอย่างนี้ เขาทำให้เราเป็นอยู่โดยสะดวกสบายนี่ชั้นหนึ่ง ถ้าเข้าไปชั้นที่สอง
    พูดถึงกายมนุษย์ละเอียด นั่นก็ต้องอาศัยกายทิพย์เข้าไป รักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดไว้ ให้กายมนุษย์ละเอียดอยู่เป็นสุขสำราญเบิกบานใจไป ว่านี่กายมนุษย์ละเอียด น่าเลื่อมใส กายทิพย์น่าเลื่อมใส
    กายทิพย์ละเอียดเขารักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ไว้ กายทิพย์อยู่เบิกบานสำราญใจ เพราะกายทิพย์ละเอียดรักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ไว้
    กายรูปพรหมรักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดไว้ น่าเลื่อมใส
    กายรูปพรหมละเอียดรักษากายดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมหยาบนั้นไว้ ไม่ให้ หายไป ถ้าหายไป รูปพรหมหยาบก็อยู่ไม่ได้ น่าเลื่อมใส
    กายอรูปพรหมรักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดไว้ ไม่ให้หายไป ให้อยู่เป็นสุขสำราญเบิกบานใจน่าเลื่อมใส
    กายอรูปพรหมละเอียดรักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมไว้ ไม่ให้หายไป กายอรูปพรหมเบิกบานสำราญใจ น่าเลื่อมใส
    ธรรมกายรักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมละเอียดไว้ กายอรูปพรหมละะเอียดจึงเบิกบานสำราญใจอยู่ได้ น่าเลื่อมใส
    กายธรรมละเอียดรักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายไว้ นั่นแน่ กายธรรมละเอียดนั่นเป็นสังฆรัตนะ เป็นพระสงฆ์แท้ๆ ต้องแสดงอย่างนี้ถึงจะรู้ชัดว่า ความเลื่อมใสในสงฆ์น่ะเลื่อมใสอย่างไร เลื่อมใสว่ารักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายไว้ ถ้าว่าไม่รักษาไว้แล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นก็อยู่ไม่ได้ กายธรรมก็ไม่มี เพราะฉะนั้น น่าเลื่อมใสพระสงฆ์ รักษาดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายไว้
    นี่แหละพระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญนัก พระสงฆ์นั้นท่านประพฤติปฏิบัติอย่างนี้แหละ เป็นหน้าที่รักษาดวงธรรมนั่นแหละ ท่านถึงได้ยืนยันตามตำรับตำราว่า สงฺเฆน ธาริโต ธรรมอันพระสงฆ์ทรงไว้ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม พระสงฆ์ทรงไว้
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดทรงไว้ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ทรงไว้ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด ทรงไว้ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมทรงไว้ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดทรงไว้ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมทรงไว้ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมละเอียดทรงไว้ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด กายธรรมทรงไว้ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม กายธรรมละเอียดทรงไว้
    กายธรรมละเอียดนั่นเองตัวสังฆรัตนะ พระสงฆ์ผู้ทรงธรรมรัตนะไว้ ทรงไว้อย่างนี้ ให้รู้จักหลักอันนี้ นี่ความเลื่อมใสในพระสงฆ์จะเริ่มต้นคนไม่เป็นธรรมกายก็เลื่อมใส อย่าง พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ เป็นภิกษุสามเณรก็ดี เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ดี เลื่อมใสอย่างนั้น เลื่อมใสขั้นนั้นก่อนแล้วก็เป็นขั้นๆ เข้าไปจนกระทั่งถึงเลื่อมใสในพระสงฆ์จริงๆ สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเลื่อมใสมีอยู่แก่บุคคลใด นี่ท่านประสงค์เอาเลื่อมใสในพระสงฆ์ ลึกซึ้งอย่างนั้น คนเลื่อมใสในพระตถาคตเจ้าตอนต้นนั้น เลื่อมใสในธรรมกายอยู่แล้ว ศีลก็ต้องเป็นหนทางธรรมกาย เลื่อมใสในพระสงฆ์อย่างนี้ เพราะพระสงฆ์ท่านก็เป็นสังฆรัตนะขององค์นั้น จึงจะถูกสัดถูกส่วน นี่แหละเราควรเลื่อมใสให้มั่นเข้าไปในพระสงฆ์ เมื่อความเลื่อมใสในพระสงฆ์มีอยู่กับบุคคลใดแล้ว บุคคลนั้นก็ภูมิใจอีกเหมือนกัน นี่ข้อสาม
    ข้อที่สี่ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ทสฺสนํ แปลว่าความเห็น อุชุภูตญฺจ ความเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติตรง ความเห็นตรงน่ะเห็นอย่างไร? นี่เราควรรู้จัก ความเห็นตรงนี่เป็นข้อสำคัญนัก ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เมื่อเขาให้ลงความเห็นอย่างหนึ่งอย่างใด เขาบอกว่าต้องลงความเห็นให้ตรง เราจะลงความเห็นอย่างไรจึงจะเห็นตรง นึกดูซิว่าต้องลงความเห็นให้ตรงนะ เราก็ต้องดูวัตถุที่เขาให้ลงความเห็น ดูวัตถุอะไรที่เขาให้ลงความเห็น มีคนอยู่สองคน เขาเล่าให้ฟังว่าคนนี้เป็นอย่างนี้ เอ้าให้ลงความเห็นซิคนไหนผิดคนไหนถูก ก็บอกว่าคนไหนผิด คนไหนถูก เราจะลงความเห็นอย่างไรมันจึงจะถูกจริง นี่ความเห็นเผินๆ ละ ให้ลงความเห็นเผินๆ ก่อนวิวาทกันทั้ง ๒ ข้าง ข้างไหนผิดข้างไหนถูก ถ้าลงความเห็นถูกคนที่ผิดจริงๆ เข้าละก้อ ความเห็นอันนั้นมันก็ถูกละซี ถูกนั่นแหละเป็นธรรม ถ้าผิดแล้วไม่เป็นธรรม
    นี้แหละความเห็นอันนี้แหละเป็นตัวอย่าง เป็นตำรับตำรา ความเห็นเป็นข้อสำคัญนัก จะเปิดมุ้งเห็นขโมยเลยไม่ได้ จะไปเที่ยวสงสัยเขาเรื่อยเปื่อยอย่างนั้นไม่ได้ ต้องให้ถูกตามความจริง ถูกตามความจริงที่เรียกว่าความเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติตรงนั้น ตรงตลอด ตรงทำนองคลองธรรม ตั้งแต่ศีลบริสุทธิ์มาเห็นศีลบริสุทธิ์ว่าถูก นอกจากนั้นไม่บริสุทธิ์ไม่ถูก แล้วก็เห็นศีลที่บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่ พระอริยเจ้าชอบใจ ก็เห็นถูกตรงตามรอยศีลนั่น ไม่เคลื่อนจากศีลนั้น แล้วก็เลื่อมใสในพระสงฆ์ตั้งแต่สงฆ์บริสุทธิ์ สามเณรบริสุทธิ์ ดุจนิโครธสามเณร บริสุทธิ์เป็นลำดับมาตามความจริงของภิกษุสามเณร นั่นความเห็นอันนั้นก็ถูกนี่ตรงนี่ ได้ชื่อว่าตรงเหมือนกัน ไม่ใช่คลาด ความเห็นซึ่งเป็นธรรมชาติตรงน่ะ ในบทท้ายท่านแสดงหลักไว้ว่า ธมฺมทสฺสนํ เห็นธรรมนั่นเอง
    เห็นธรรมน่ะเห็นอะไร? เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละซิ นี่แหละธรรมดวง นี้แหละ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายโสดา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายโสดาละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคาละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตละเอียด นั่นแน่เห็นดวงธรรมนั้นจึงจะได้ชื่อว่าเห็นตรง ถ้าเห็น โน่นก็ธรรม นี่ก็ธรรม เอากันละคราวนี้ยุ่งแน่ เดี๋ยวนี้พวกเราทั้งหมดนี่แหละ ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เห็นตรงน่ะมีกี่องค์ล่ะ พระ เณร อุบาสก อุบาสิกา มีกี่คนที่เห็นตรงน่ะ ในวัดปากน้ำนี้ มีร้อยห้าสิบกว่าคนแล้วนะ เห็นดวงธรรมน่ะ เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด, กายโสดา-โสดาละเอียด, สกทาคา-สกทาคาละเอียด, อนาคา-อนาคาละเอียด, อรหัต-อรหัตละเอียด เห็นดวงธรรม เหล่านั้นล่ะ ได้ชื่อว่า ธมฺมทสฺสนํ เห็นตรงทางอื่นก็อาศัยธรรมเหล่านี้ทั้งนั้น ความถูกตามดวงธรรมนั่นแหละ
    ดวงธรรมนี่มาจากไหน? การเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ก็มาจากบริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ นั่นแหละ เห็นถูกอันนั้น จนกระทั่งเข้าถึงดวงธรรม กายมนุษย์ละเอียดละก็มาจากบริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ ที่ละเอียดลงไป นั่นแหละเข้ามาเป็นดวงธรรมนั้น
    กายทิพย์ล่ะ ดวงธรรมอันนี้ก็มาจากทางศีล สัจจะ จาคะ ปัญญา เติมความบริสุทธิ์ ลงไปอีก
    ก็ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมล่ะ นี้ก็เติมปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานลงไป ให้บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อีก สูงขึ้นไป
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมล่ะ ทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็เติมอรูปฌานสี่เข้า ได้แก่ อากาสานัญจา วิญญาณัญจา อากิญจัญญา เนวสัญญานาสัญญา นั่นเห็นถูกทั้งนั้น เห็นตรงอย่างนี้ จึงได้ชื่อว่าเห็นถูกล่ะ
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมล่ะ ก็ต้องเติมศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะเข้ามา ต่อจากธรรมที่ทำให้เป็นกายละเอียด ก็ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายโสดา สกทาคา อนาคา ก็เติมศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้ามาตามลำดับขึ้นไป จนกระทั่งถึงพระอรหัต
    นั่นแน่ๆ ธมฺมทสฺสนํ เป็นอย่างนี้ ลึกซึ้งขนาดนี้นะ ความเห็นเรียกว่าเห็นตรงเห็นธรรมนั่นเอง
    ถ้าเห็นอย่างนี้น่ะ ใครเห็นเข้าก็ภูมิใจดีอกดีใจ ไม่ใช่ภูมิใจอย่างเดียวนะ พระองค์ทรงรับสั่งว่า อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ นักปราชญ์ทั้งหลายยอมรับรองกล่าวบุคคลนั้น ว่าเป็นคนไม่จน เมื่อมีคุณธรรม ๔ ประการอยู่ในตัวเช่นนี้แล้วเป็นคนไม่จน
    คือเป็นคนเชื่อในพระตถาคตเจ้า มีศีลอันดีงามที่พระอริยเจ้าใคร่ชอบใจ เลื่อมใสในพระสงฆ์ ความเห็นของตนเป็นธรรมชาติตรงหรือเห็นธรรม
    นี่แหละยืนยันทีเดียวไม่ใช่คนจน ถ้าเราไม่อยากเป็นคนจน อยากเป็นคนมั่งมีแล้ว ต้องมีธรรม ๔ ประการนี้อย่าให้เคลื่อน ให้มีไว้ในตัวเสมอ ถ้าเคลื่อนแล้วละก็ ใจจะไม่ผ่องใส จะคิดถึงแต่สมบัติบ้าๆ เข้าใจแต่สิ่งหยาบๆ เที่ยวคว้าเรื่อยเปื่อยทีเดียว วุ่นวายไปตามกัน เพราะเหตุว่าไม่มีธรรม ๔ อย่างนี้ประจำอยู่ในตัว ถ้ามีธรรม ๔ อย่างนี้ประจำอยู่ในตัวแล้ว ไม่วุ่นวาย ไม่คลาดเคลื่อนแต่อย่างหนึ่งอย่างใด ยิ้มกริ่มทีเดียวเพราะไปเจอบ่อทรัพย์ใหญ่เข้าแล้ว
    นี้อริยธนคาถา ทรัพย์อันประเสริฐ ในพระพุทธศาสนามีอยู่อย่างนี้ ภิกษุสามเณรภูมิใจได้ ปลื้มใจได้ ดีอกดีใจได้ ให้เข้าถึงธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ให้เชื่อในพระตถาคตเจ้า มั่นในขันธสันดาน มีศีลอันดีงาม ให้เลื่อมใสในพระสงฆ์ไว้ แล้วก็แก้ไขความเห็นของตัวให้ตรงไว้ อย่าให้ไปคดโกง ถ้าคดโกง ลงโทษตัวเอง นี่แหละนักปราชญ์ทั้งหลายเชิดชูละ กล่าวว่า บุคคลนั้นไม่ใช่เป็นคนจน ไม่ใช่เป็นคนจนแล้วเป็นคนอะไรล่ะ เป็นคนไม่มีไม่จน จะเรียกว่าจนก็ไม่จน จะเรียกว่ามีก็ไม่มี และสบายยิ่งกว่าสบาย อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ สรรเสริญไว้ในท้ายนี้ ความเป็นอยู่ของเขานั้นไม่เปล่าจากประโยชน์ เป็นประโยชน์เรื่อย ถ้าไม่มีสิ่งทั้ง ๔ นี้ประจำใจแล้วก็เป็นอยู่วันหนึ่งเปล่าประโยชน์ทีเดียว ที่ไม่เปล่าประโยชน์น่ะไม่ค่อยมี ถ้าว่าเป็นอยู่ดังนี้ละก็ไม่เปล่าจากประโยชน์ทีเดียว ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนํ ผู้มีปัญญามาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อย่างนี้แล้วควรประกอบความเชื่อไว้เนืองๆ ประกอบศีลไว้เนืองๆ ประกอบความเลื่อมใสไว้เนืองๆ ประกอบความเห็นธรรมไว้เนืองๆ นี้แหละ ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    เขมาเขมสรณาคมน์




    ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน) <TABLE style="COLOR: #666666" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="33%" align=center><TBODY><TR><TD width="58%">พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ</TD><TD width="42%">ปพฺพตานิ วนานิ จ</TD></TR><TR><TD>อารามรุกฺขเจตฺยานิ</TD><TD>มนุสฺสา ภยตชฺชิตา</TD></TR><TR><TD>เนตํ โข สรณํ เขมํ</TD><TD>เนตํ สรณมุตฺตมํ</TD></TR><TR><TD>เนตํ สรณมาคมฺม</TD><TD>สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ</TD></TR><TR><TD>โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ</TD><TD>สงฺฆญฺจ สรณํ คโต</TD></TR><TR><TD>จตฺตาริ อริยสจฺจานิ</TD><TD>สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ</TD></TR><TR><TD>ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ</TD><TD>ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ</TD></TR><TR><TD>อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ</TD><TD>ทุกฺขูปสมคามินํ</TD></TR><TR><TD>เอตํ โข สรณํ เขมํ</TD><TD>เอตํ สรณมุตฺตมํ</TD></TR><TR><TD>เอตํ สรณมาคมฺม</TD><TD>สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>


    เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖ นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา
    ” ​
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง เขมาเขมสรณทีปิกคาถา วาจาเครื่องกล่าวแสดงซึ่ง ที่พึ่งอันเกษมและไม่เกษมทั้ง ๒ สองอย่าง จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย จะชี้แจงแสดงเป็นทางปริยัติ เป็นทางปฏิบัติ เป็นทางปฏิเวธ ให้เป็นเหตุสอดคล้องต้องด้วยพุทธศาสนา เริ่มต้นจะแสดงทางปริยัติก่อน ในตอนหลังจะได้แสดงทางปฏิบัติต่อไป แล้วปฏิเวธก็จะรู้คู่กันไปในทางปฏิบัติ พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า จงเงี่ยโสตทั้งสองรองรับรสพระสัทธรรมเทศนา ดังอาตมาจะได้ชี้แจงแสดง ต่อไป ณ บัดนี้
    เริ่มต้นแห่งวาระพระบาลีว่า พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ เป็นอาทิว่า มนุษย์เป็นอันมาก อันภัยคุกคามเข้าแล้ว ย่อมถึงภูเขาทั้งหลายบ้าง ถึงป่าทั้งหลายบ้าง ถึงอารามและต้นไม้และเจดีย์ทั้งหลายบ้างว่าเป็นที่พึ่ง เนตํ โข สรณํ เขมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันเกษมไม่ เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันอุดมไม่ เนตํ สรณมาคมฺม ถ้าอาศัยอันนั้นเป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหาหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปได้ไม่ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ใดถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า ว่าเป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ทุกฺขทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ มาเห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ ตามปัญญาอันชอบ ทุกฺขํ คือทุกข์ ทุกขสมุปฺปาทํ คือ ตัณหาเป็นแดนให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ คือ การก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ คือหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึก ทุกฺขูปสมคามินํ ให้ถึงพระนิพพาน เป็นที่สงบระงับทุกข์ เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่ง อันอุดม เอตํ สรณมาคมฺม มาถึงอันนี้เป็นที่พึ่งได้แล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ด้วยประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา
    ต่อแต่นี้จะแสดงเป็นปริยัติเทศนา ในเขมาเขมสรณาคมน์ต่อไป ปริยัติเทศนาว่า มนุษย์เป็นอันมาก ไม่ใช่น้อย หมดทั้งสากลโลก ชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกาย มีเท่าไรที่เป็นมนุษย์หรือทิพย์ก็ช่าง หรือรูปพรหม อรูปพรหม ก็ช่าง เมื่อพากันมาฟังธรรมเทศนาแล้ว นั่นแหละก็อยู่ในพวกมนุษย์นั่นทั้งนั้น มีมากน้อยเท่าใด มนุษย์ทั้งหลายมากด้วยกัน ภยตชฺชิตา อันภัยคุกคามเข้าแล้ว เมื่อคุกคามเข้าเช่นนั้น แล้วทำไง บางพวกไปถึงภูเขาใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงป่าใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงอารามใหญ่ๆ เช่น เชตวนาราม หรืออารามใหญ่ๆ กว่านั้นก็ช่าง หรือเล็กกว่านั้นก็ช่าง ที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น อย่างวัดโสธรอย่างนี้ พอถึงวัดเข้าไหว้แล้ว แต่ว่าไหว้กลัวฤทธิ์กลัวเดชพระยามาร อ้ายที่มีฤทธิ์มีเดชอยู่ที่นั่น ไม่ใช่เคารพต่อพระพุทธเจ้าโดยตรง เคารพในฤทธิ์เดชของพระยามารมัน กลัวพระยามารมัน อารามหรือต้นไม้เป็นเจดีย์ บัดนี้ก็ยังปรากฏอยู่นั่นแน่ เจริญพาสน์นั่นแน่ ต้นมะขามใหญ่ นั่นแน่ ไปถึงก็ต้องไหว้เชียว ต้องไหว้ กลัว กลัวใครละ กลัวฤทธิ์พระยามาร มันมีฤทธิ์มีเดช มันสิงมันทรงได้ มันบอกไหว้นบเคารพเสีย มันให้ความสุขความเจริญ ถ้าว่าไม่ไหว้นบ เคารพ นบบูชาแล้ว ก็ลงโทษต่างๆ นานา กลัวมัน ต้องไหว้มันอย่างนี้ ไปถึงอาราม หรือ ต้นไม้ เจดีย์เช่นนั้นเข้าแล้ว ก็ต้องไหว้ กลัวต้องภัยได้ทุกข์ ถึงอ้ายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ว่าเป็น ที่พึ่งทีเดียว
    นั่นพระพุทธเจ้าปฏิเสธแล้ว เนตํ โข สรณํ เขมํ ภูเขาก็ดี ป่าก็ดี อารามก็ดี ต้นไม้ก็ดี นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันผ่องใส ไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด หรืออันอุดม ไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดมอันสูงสุด เนตํ สรณมาคมฺม อาศัยอันนั้นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว น ปมุจฺจติ สพฺพทุกฺขา ย่อมหาหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะต้องติดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ อยู่นี่เอง จนไปนิพพานไม่ได้ เพราะเข้าถึงที่พึ่งไม่ถูก พลาดไปเรื่องนี้ เราเห็นอยู่ต่อตาทั่วๆ กัน ในประเทศไทยนี่ อะไรต่อมิอะไรกันไขว่เชียว เพราะเหตุอะไร ? เพราะเหตุว่า ไม่รู้จัก พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ น่ะซี พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ไม่ได้อยู่เรี่ยราดเช่นนั้น พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ อยู่ในตัวทุกคน กายเป็นชั้นๆ เข้าไป กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด นั่นแน่ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ นั่นแน่ กายธรรม-กายธรรมละเอียด กายธรรม นั่นแหละเป็น พุทฺโธ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเป็น พุทฺโธ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม นั่นแหละ เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ดวงนั้นแหละเป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นเรียกว่า ธมฺโม กายธรรมละเอียดอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย แต่ว่าใหญ่กว่ากายธรรม นั่นแหละเรียกว่า สงฺโฆ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเรียกว่า สงฺโฆ ถ้าตัวจริงละก้อ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั่นแหละเป็นตัวจริงที่เราจะถึง จะไปถึงสิ่งอื่นไม่ได้ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง หรือถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง ๓ นั้นว่าเป็นที่พึ่ง
    เมื่อถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ต้องเห็นอริยสัจธรรมทั้ง ๔ เห็นอริยสัจทั้ง ๔ ตามปัญญาอันชอบที่ถูก ไม่ให้ผิดจากอริยสัจธรรมทั้ง ๔ อริยสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นธรรมสำคัญในทางพระพุทธศาสนา แต่เราไม่เดียงสาทีเดียวว่าอะไรเป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เราไม่เดียงสาทีเดียว ไม่เดียงสาอย่างไร ? ทุกขสัจน่ะคืออะไรล่ะ ? ความเกิดน่ะซีเป็นทุกขสัจจะ สมุทัยสัจล่ะ เหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นสมุทัยสัจ นิโรธสัจล่ะ ความดับเหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นนิโรธสัจ มรรคสัจ ข้อปฏิบัติหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึกให้ถึงพระนิพพานที่เป็นที่สงบระงับนั่นแหละ เป็นมรรคสัจ นี้เป็นตัวสำคัญนัก วันนี้มุ่งมาดปรารถนาจะแสดงในทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ นี้ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะแสดงทางปริยัติก่อน แล้วจึงย้อนไปแสดงทางปฏิบัติให้เข้าเนื้อเข้าใจชัดว่า ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ น่ะ อยู่ที่ไหน อะไรให้รู้กันเสียที
    เมื่อเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นที่พึ่งดีเช่นนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงรับสั่ง เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม อันผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ นี่ท่านแสดงย่อย่นสกลพุทธศาสนา ธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นที่ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ คือ สัจธรรมทั้ง ๔ รู้จริงรู้แท้ทีเดียวในสัจธรรมทั้ง ๔ นี้ ถ้าไม่รู้จริงรู้แท้ในสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นพระอรหันต์ก็ไม่ได้ เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ เป็นไม่ได้ทีเดียว นี่ธรรมสำหรับทำให้เป็นพระพุทธเจ้าทีเดียว สัจธรรมทั้ง ๔ นะ เพราะฉะนั้นวันนี้เราควรฟัง ที่แสดงมาแล้วนี้เป็นทางปริยัติ
    ถ้าจะแสดงโดยปฏิบัติ ให้แน่ชัดลงไปแล้วละก็ ในสัจธรรม ๔ นี่น่ะคือใคร ถ้ารู้จักพระพุทธเจ้าเสียก่อน
    • พระพุทธเจ้าน่ะคือใครที่ไปเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ น่ะ เห็นด้วยพระสิทธัตถกุมารหรือด้วยตาของพระสิทธัตถราชกุมาร ความเห็น ความรู้ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? ไม่ใช่
    • หรือเห็นด้วยกายละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร กายที่นอนฝันออกไปน่ะ ? ไม่ใช่ ไม่ได้เห็นด้วยตานั้นกายนั้น
    • เห็นด้วยตากายทิพย์ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? กายที่ฝันในฝันออกไปนะ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยกายนั้นเป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ได้
    • เห็นด้วยตากายทิพย์ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ถึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ? ไม่ใช่ ไม่เห็น เช่นนั้น เพราะสัจธรรมนี่เห็นขั้นท้ายไม่ใช่เห็นขั้นต้น เห็นด้วยตากายรูปพรหมหรือรูปพรหม ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ? เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ? ไม่ใช่
    • เห็นด้วยตากายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร เป็นกายที่ ๗ ที่ ๘ กระนั้นหรือ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยตากายนั้น มันอยู่ในภพ มันทะลุหลุดสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ มันยังติดภพอยู่
    ท่านเห็นด้วยตาธรรมกาย ธรรมกายที่เป็นโคตรภูนะ ยังหาได้เป็นพระโสดา-สกทาคาไม่ ยังหาได้เป็นโสดาปัตติมรรคผล สกทาคามิมรรคผล อนาคามิมรรคผล อรหัตมรรคผลไม่ เห็นด้วยตากายธรรม รู้ด้วยญาณของกายธรรม ไม่ใช่รู้ด้วยดวงวิญญาณ เพราะกายมนุษย์มีดวงวิญญาณ ญาณไม่มี กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด มีดวงวิญญาณทั้งนั้น ดวงญาณไม่มี กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี กายอรูปพรหม-อรูปพรหม ละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี พอถึงกายธรรมเข้า มีญาณทีเดียว
    ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ? ตาธรรมกายก็เหมือนรูปพระปฏิมาอย่างนี้แหละ เหมือนมนุษย์อย่างนี้แหละ แบบเดียวกันแต่ทว่าละเอียด แล้วมีญาณของกายธรรม ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? ดวงวิญญาณอยู่ในกลางกายมนุษย์นี่ เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายทิพย์ก็เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายมุนษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียด ก็แบบเดียวกัน หรือกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็มีดวงวิญญาณแบบเดียวกัน ดวงวิญญาณเท่านั้นไม่อาจจะเห็นอริยสัจได้ ต่อเมื่อใด ไปถึงกายธรรมเข้า ดวงวิญญาณจะขยายส่วนออกไปเป็นดวงญาณ หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ก็กว้างแค่นั้น ถ้าหน้าตักศอกหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางศอกหนึ่ง หน้าตักวาหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางวาหนึ่ง กลมรอบตัว ถ้าว่าหน้าตักธรรมกายนั้น ๒ วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา กลมรอบตัว ขยายอย่างนั้น ถ้าหน้าตัก ๔ วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๔ วา กลมรอบตัว แล้วแต่หน้าตักธรรมกาย หน้าตักธรรมกายโคตรภูนั่นไม่ถึง ๕ วา หย่อน ๕ วาเล็กน้อย ถ้าเป็นพระโสดาจึงจะเต็ม ๕ วา ถ้ายังไม่ถึงพระโสดาหย่อนกว่า ๕ วา หน้าตักของธรรมกายนั่นโตเท่าไหน ดวงญาณก็โตเท่านั้น ดวงญาณนั้นแหละสำหรับรู้ละ นั่นแหละ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ เห็นตามปัญญาอันชอบ เห็นชัดๆ ทีเดียว ดวงญาณของธรรมกายขยายออกไป ดังนั้นเมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ธรรมกายจะเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรจสัจ มรรคสัจ ต้องเข้าสมาบัติ ธรรมกายต้องเข้าสมาบัติ ธรรมกายนั่งนิ่งเพ่งฌานทีเดียว ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย หยุดนิ่ง เมื่อนิ่งถูกส่วนเข้าแล้ว ที่ธรรมกายนั่งนั่นแหละเกิดเป็นดวงฌานขึ้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา ๘ ศอก กลมเป็นวงเวียน เป็นกงจักร กลมเป็นกงเกวียนทีเดียว เหมือนแผ่นกระจกหนาคืบหนึ่ง วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒ วา หนาคืบหนึ่ง รองนั่งของธรรมกายนั้นมาจากไหน ดวงฌานที่เกิดขึ้นน่ะมาจากไหน ที่มาของดวงฌานน่ะมีมาก มาจากกสิณก็เป็นดวงฌานได้ มาจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็เป็นดวงฌานได้ แต่ว่าเมื่อถึงธรรมกายแล้ว ใช้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเองเป็นปฐมฌาน ขยายส่วน เห็นใส เมื่อดูใสแล้วก็ขยายส่วนออกไป ขยายส่วนออกไป ๒ วา กลมรอบตัว แต่ว่าหนาคืบหนึ่ง กลมเหมือนยังกับกงจักรหรือกงเกวียน กลมเหมือนอย่างวงเวียนอย่างนั้น หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นแก้วผลึกทีเดียว รองนั่งของธรรมกาย ธรรมกายเมื่อเข้าถึงปฐมฌานเช่นนั้นนั่นแหละ พอถึงปฐมฌานเข้าเช่นนั้น ก็มีวิตก ความตรึก วิจาร ความ ตรอง ปีติ ชอบเนื้อชอบใจ วิตกว่าฌานนั้นมันมาจากไหน เห็นแล้วมันมาจากนั่น วิจาร ไตร่ตรองไป ตรวจตราไปถี่ถ้วน เป็นของที่ไม่มีที่ติ ปลื้มอกปลื้มใจ ดีอกดีใจ มีความปีติขึ้น ปลื้มอกปลื้มใจ เต็มอกเต็มใจ เต็มส่วนของปีติ มีความสุข นิ่งอยู่กลางฌานนั่น สุขในฌาน อะไรจะไปสู้ ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก สุขในฌานนะ สุขลืมสมบัตินั่นแหละ สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้ สุขในฌานนะ สุขนักหนาทีเดียว เต็มส่วนของความสุขก็หนึ่ง เฉยวิเวกวังเวง เปลี่ยวเปล่า เรามาคนเดียวไปคนเดียวหมดทั้งสากลโลก คนทั้งหลายไปคนเดียวทั้งนั้น ไม่มีคู่สองเลย จะเห็นว่าลูกสักคนหนึ่งก็ไม่มี สามีสักคนหนึ่งก็ไม่มี ภรรยาสักคนหนึ่งก็ไม่มี ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด เป็นจริงอย่างนี้ ปล่อยหมด ไม่ว่าอะไร ไม่ยึดถือทีดียว เรือกสวนไร่นา ตึกร้านบ้านเรือน ก่อนเราเกิดเขาก็มีอยู่อย่างนี้ หญิงชายเขาก็มีกันอยู่อย่างนี้ เราเกิดแล้วก็มีอยู่อย่างนี้ เราตายไปแล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้ เห็นดิ่งลงไปทีเดียว เข้าปฐมฌานเข้าแล้ว เห็นดิ่งลงไปเช่นนี้ เมื่อเข้าปฐมฌานก็แน่นิ่งอยู่ ฌานที่ละเอียดกว่านี้มี พอนึกขึ้นมาเช่นนั้น ก็ อ้อ! ที่ละเอียดขึ้นมากว่านี้มีอยู่ ก็นิ่งอยู่กลางปฐมฌานนั่น กลางดวงปฐมฌานนั่นนิ่ง ใจของธรรมกายหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย นิ่งพอถูกส่วนเข้า ฌานนั่นเปลี่ยนแล้ว ปฐมฌานนั่นจางไป ทุติยฌานมาแทนที่รองนั่ง จะไปไหน ไปคล่องแคล่วยิ่งกว่าขึ้นเครื่องบิน ปฐมฌานเหมือนกัน ทุติยฌานเหมือนกัน พอเข้าฌานที่ ๒ ได้แล้ว ก็นึกว่าฌานที่ ๒ มันใกล้ฌานที่ ๑ มันเสื่อมง่าย ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายอีก ถูกส่วนนิ่งเข้าอีก ทุติยฌานก็จางไป ตติยฌานมาแทนที่ นิ่งอยู่กลางตติยฌานนั่น พอถูกส่วนเข้าตติยฌานแล้ว ละเอียดกว่าตติยฌานนี่มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่น ถูกส่วนเข้า เมื่อนึกถึงฌาน ตติยฌานก็จางไป จตุตถฌานเข้ามาแทนที่ ยังไม่พอแค่นั้น นิ่งอยู่กลางจตุตถฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี ว่าละเอียดกว่านี้มี จตุตถฌานก็จางไป อากาสานัญจายตนฌาน กลางของจตุตถฌานว่างออกไปเท่ากัน ดวงเท่ากัน ดวงเท่ากันนี้เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน ธรรมกายก็นั่งอยู่กลางของอากาสานัญจายตนฌาน เรียกว่า เข้าอากาสานัญจายตนฌาน แล้ว ใจก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น ถูกส่วนเข้าก็นึกว่าฌานนี้ คล่องแคล่วว่องไวดี แต่ว่าละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากาสานัญจายตนฌานก็จางไป วิญญาณัญจายตนฌานเข้ามาแทนที่ ดวงก็เท่ากัน นิ่งอยู่กลางดวงวิญญาณัญจายตนฌานนั่น ว่าละเอียดกว่านี้มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น แต่ว่าเพ่งฌาน นิ่ง พอถูกส่วนเข้า วิญญาณัญจายตนฌานจางไป อากิญจัญญายตนฌานเข้ามาแทนที่ รู้ละเอียด จริง นี่เป็นรู้ละเอียดจริง นิ่งอยู่อากิญจัญญายตนฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากิญจัญญายตนฌานจางไป เนวสัญญานาสัญญายตนะเข้ามาแทนที่ เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกนึกในใจทีเดียวว่า สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ นี่ละเอียดจริง ประณีตจริง นี่เข้าฌานดังนี้ นี่เขาเรียกว่า เข้าฌานโดยอนุโลม
    เข้าฌานโดยปฏิโลม ถอยกลับจากฌานที่ ๘ นั้น จากเนวสัญญานาสัญญายตนะเข้าหา อากิญจัญญายตนะ มาวิญญาณัญจายตนะ เข้าอย่างไรก็ออกมาอย่างนั้น มาถึงอากาสานัญจายตนะ ถอยจากอากาสานัญจายตนะ มาถึงจตุตถฌาน ถอยจากจตุตถฌาน มาถึงตติยฌาน ถอยจากตติยฌาน มาถึงทุติยฌาน ถอยจากทุติยฌาน มาถึงปฐมฌาน เข้าไปดังนี้อีก นี่เรียกว่าปฏิโลมถอยกลับ อนุโลมเข้าไปอีก ที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ ไปอีก ถอยจากที่ ๘ มาถึง ที่ ๗ ที่ ๖ ที่ ๕ ที่ ๔ ที่ ๓ ที่ ๒ ที่ ๑ มาถึงอีก นี่เรียกว่า อนุโลมปฏิโลมไปอย่างนี้ พออนุโลมปฏิโลมถูกส่วนเข้าก็เห็นทีเดียวว่า อ้อ! สัตว์โลกนี่เป็น ทุกข์ละ เห็นทุกข์ละนะ นี่ทางปฏิบัติเห็นทุกข์ละ ตาธรรมกายเห็นอายตนะที่ดึงดูดของสัตว์โลก เขาเรียกว่า โลกายตนะ อ้อ! มนุษย์นี่เกิดขึ้นไม่ใช่อื่นเลย ความเกิดนี่ อายตนะของโลกเขาดูดนะ ก็เห็นอายตนะทีเดียว มนุษย์นี่ก็มีอายตนะอยู่อันหนึ่ง เราเคยค้นพบ เรารู้จักแล้ว อายตนะของมนุษย์ รู้จักกันทั่วแหละ อายตนะของมนุษย์ ที่เราติดอยู่ ก็ติดอายตนะนั่นแหละมันดึงดูด อายตนะอยู่ที่ไหน ? ที่บ่อเกิดของมนุษย์ อายตนะแปลว่าบ่อเกิด บ่อเกิดมันอยู่ที่ไหน ? นั่นแหละเป็นตัวอายตนะของมนุษย์ทีเดียว อายตนะของทิพย์ละ มันมีมากด้วยกันนี่ อายตนะกำเนิดของสัตว์มีถึง ๔ คือ อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ สังเสทชะ เกิดด้วยเหงื่อไคล ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ อายตนะที่ว่านี้เป็นชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ โอปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เอากันละคราวนี้ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ เป็ด ไก่ ทั้งนั้น เป็นอายตนะอันหนึ่ง สังเสทชะ เหงื่อไคลเป็นอายตนะอันหนึ่ง สำหรับเหนี่ยวรั้งใจให้สัตว์เกิดนั่น เป็นอายตนะสำหรับบ่อเกิด ชลาพุชะ มีน้ำสำหรับเป็นอายตนะให้เกิด โอปปาติกะ อายตนะของจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตตวสวัตตี นี่เป็นอายตนะของทิพย์ทั้งนั้น มีอายตนะดึงดูดให้เกิดเหมือนกัน ไม่ใช่เท่านั้น อายตนะที่ทรามลงไปกว่านี้ อายตนะให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน คล้ายมนุษย์เหมือนกัน อายตนะให้เกิดเป็นอสุรกาย แบบเดียวกันกับมนุษย์ อายตนะเกิดเป็นเปรต แบบเดียวกับมนุษย์ อายตนะในอบายภูมิทั้ง ๔ สัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาฏะ โรรุวะ มหาโรรุวะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจีนรก นรกทั้ง ๘ ขุมใหญ่นี้ ขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรกเป็นบริวารล้อมรอบ ๔ ด้านๆ ละ ๔ ขุม เป็น ๑๖ ขุม แล้วมียมโลกนรก ตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๔ ทิศๆ ละ ๑๐ ขุม เป็น ๔๐ ขุม นรกทั้ง ๔๕๖ ขุมเป็นอายตนะดึงดูดสัตว์โลกทั้งนั้น เมื่อทำดีทำชั่วไปถูกส่วนเข้าแล้ว อายตนะของนรกก็ดึงเป็นชั้นๆ ดูดเป็นชั้นๆ ต้องไปติด ใครทำอะไรเข้าไว้ อายตนะมันดึงดูดไปติด ฝ่ายธรรมกายไปเห็นก็ อ้อ! สัตว์โลก มันติดอย่างนี้เอง ติดเพราะอายตนะเหล่านี้ อ้ายที่มาเกิดเหล่านี้ใครให้มาเกิดละ อ้ายที่มาเกิด เป็นอบายภูมิทั้ง ๔ มนุษย์ ๑ สวรรค์ ๖ ชั้นนี้ ใครให้เกิดละเห็นทีเดียวแหละ เห็นทีเดียว ทุกฺขสมุปฺปาทตณฺหา ตัณหานี่แหละเป็นแดนให้เกิดพร้อมทีเดียว
    ตัณหาคืออะไรล่ะ ? กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา แยกออกไปเป็น ๓ เห็นตัณหาอีก อ้อ! อ้ายเจ้ากามตัณหานี้ อยากได้กาม อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส นั่นเอง เจ้าถึงต้องมาเกิด เออ อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ไปตีรันฟันแทงกันป่นปี้ รบราฆ่าฟันกันยับเยินเปินทีเดียว เพราะอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ ไม่ใช่เรื่องอะไร เห็นชัดๆ อย่างนี้ว่า อ้อ ! อ้ายนี่เองเป็นเหตุให้เกิด กามตัณหานี่เอง อ้อ! นี่ อายตนะของกามตัณหาทั้งนั้น ในอบายภูมิทั้ง ๔ นรก อสุรกาย เปรต สัตว์ดิรัจฉานเหล่านี้ มนุษย์ สวรรค์ ๖ ชั้น นี่กามตัณหาทั้งนั้น อ้ายกามนี่เองเป็นตัวสำคัญเป็นเหตุ อ้ายนี่สำคัญนัก
    ไม่ใช่แต่กามตัณหาฝ่ายเดียว ไปดูถึงรูปพรหม ๑๖ ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัปผลา อสัญญสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐ รูปพรหม ๑๖ ชั้นนี่เป็น ภวตัณหา อ้ายนี่อยากได้รูปฌานที่เราดำเนินมานั่นเอง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อ้ายนี่เป็นรูปพรหม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อ้ายนี่ให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อ้ายนี่ติด อ้าย ๘ ดวงนี่เอง เมื่อไปติดเข้าแล้วมันชื่นมื่นมันสบายนัก กามภพสู้ไม่ได้ มันสบายเหลือเกิน มันสุขเหลือเกิน ปฐมฌานก็สุขเพียงเท่านั้น ทุติยฌานก็สุขหนักขึ้นไป ตติยฌานสุขหนักขึ้นไป จตุตถฌานสุขหนักขึ้นไป อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน สุขหนักขึ้นไป อากิญจัญญายตนฌานสุขหนักขึ้นไป เนวสัญญานาสัญญายตนฌานสุข หนักขึ้นไป มันพิลึกกึกการละ มันยิ่งใหญ่ไพศาลทีเดียว ส่วนรูปภพนั้นเป็นภวตัณหา อ้ายภวตัณหานี่เองเป็นเหตุให้เกิดในรูปภพทั้ง ๑๖ ชั้นนี่
    ฝ่ายอรูปภพทั้ง ๔ ชั้นนี่เป็นวิภวตัณหา เข้าใจว่า นี่เอง หมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บ หมดตาย เสียแล้ว เข้าใจว่า นี่เองเป็นนิพพาน เมื่อไม่พบศาสนาของพระบรมศาสดาจารย์ ก็เข้าใจว่า อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่เอง เป็นนิพพานทีเดียว เข้าใจอย่างนั้น ค้นคว้าหาเอาเอง นี่เป็นวิภวตัณหา ไปติดอยู่อ้ายพวกนี้เอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อ้าย ๓ ตัวนี่แหละสำคัญนัก ไปเห็นหมด เห็นรูปพรรณสัณฐาน ฌานก็เห็น กามตัณหาก็เห็น กามตัณหาทั้ง ๑๑ ชั้นนี่เห็น ภวตัณหาทั้ง ๑๖ ชั้นนั่นก็เห็น วิภวตัณหาทั้ง ๔ ชั้นน่ะ เห็นหมด เห็นปรากฏทีเดียว เอ! นี่จะทำอย่างไร ? ต้องละอ้ายพวกนี้ ต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้ ถ้าละไม่ได้ละก้อ หลุดพ้นไปไม่ได้ละ ก็ทุกข์อยู่นี่ ไม่พ้นจากทุกข์ แน่นอนทีเดียว แน่นอนในใจของตัวทีเดียว เข้าสมาบัติดูอีก ตรวจทบไปทวนมาดูอีก ดูหนักเข้าๆๆ เห็นชัดหมดทุกสิ่งทุกประการแล้ว ในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูไปดูมา อ้อ! เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี่ ถ้าว่าไม่ละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี่ให้ขาดเสียละก้อ เราจะต้องมีชาติไม่จบไม่แล้ว จะต้องทุกข์ไม่จบไม่แล้ว จะต้องหน้าดำคร่ำเครียดไม่จบไม่แล้ว จะต้องลำบากยากแค้นไม่จบไม่แล้ว เมื่อคิดดังนี้เข้าใจดังนี้แล้ว ตาธรรมกายก็มองเห็นแจ่ม เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ละอย่างไร ? วิธีจะละ ละอย่างไรนะ ? เออ ! วิธีจะละ ละท่าไหนกันนะ ? เห็นทางทีเดียวว่า อ้อ ! พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ที่เราเดินมาทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกายมนุษย์มาถึงกายมนุษย์ละเอียด ในกายทิพย์มาถึงกายทิพย์ละเอียด ในกายรูปพรหมมาถึงกายรูปพรหมละเอียด ในกายอรูปพรหมมาถึงกายอรูปพรหมละเอียด จนกระทั่งมาถึงกายธรรมกาย ธรรมกายละเอียดนี้ เราต้องเดินในช่องทางของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่เอง ใจต้องหยุด ต้องหยุดทีเดียวถึงจะละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้ เริ่มต้นต้องหยุดเชียว พอหยุดกึ๊กเข้าก็ได้การทีเดียว อ้อ! พอหยุดกึ๊กเข้า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับหมด ถ้าว่าไม่หยุดละก้อ เป็นไม่ได้การทีเดียว ไปไม่รอดไม่พ้นทีเดียว
    หยุดอะไรละ ใจหยุดสิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ หยุดกลางของกลาง กลางของหยุด กลางที่หยุดนั่นแหละ ถ้าว่าถึงดวงสมาธิ กลางดวงสมาธิ กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ พอหยุดแล้วก็กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว หยุดอยู่ศูนย์กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าก็เห็นกายพระโสดา เข้าถึงกายพระโสดา อ้อ! พอเข้าถึงกายพระ โสดารู้จักเชียว นี่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ไม่ใช่ไปทางอื่นเลย แต่พอเข้าถึงกายพระโสดาละเอียด ทำแบบเดียวกันอย่างนั้น หยุดอย่างเดียวกันนั่นแหละ หยุดอย่างนั้นแหละ พอหยุดเข้ารูปนั้นจริงๆ เข้าถึงกายพระสกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด ก็รู้รสชาติของใจทีเดียว พอเข้าถึงพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เข้าแล้วหลุดหมด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกฺขูปสมคามินํ อย่างนี้เอง ถึงพระนิพพานเป็นที่ดับแห่งทุกข์ พอถึงพระอรหัตก็เห็นนิพพานแจ่ม เข้านิพพานไปได้ทีเดียว นี้ไปอย่างนี้ ไปจริงๆ อย่างนี้ ก็ไปได้ เพราะเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว ก็เข้ามาคลุมสัจธรรมทั้ง ๔ ไว้ ยังไม่ปล่อยทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มั่นกับใจดูแล้วดูอีก ทบทวนแล้วทบทวนอีก แน่นอนในใจ พอแน่นอนในใจ เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ พอครบ ๔ เข้าเท่านั้นแหละ ได้บรรลุพระโสดาทันที พอพระโสดาเข้าสมาบัติ นิ่งอยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมาๆ ตาธรรมกายของพระโสดาไปเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ รู้ด้วยญาณของพระโสดา พอครบรอบ ๔ เข้าเท่านั้น ได้บรรลุพระสกทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูมใสบริสุทธิ์หนักขึ้นไป ธรรมกายพระสกทาคาเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมา แบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม เห็นชัด พอถูกส่วนเข้า ก็ได้บรรลุพระอนาคา พระอนาคาเดินสมาบัติแบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหมเข้าก็ได้บรรลุพระอรหัตทีเดียว หมดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานทีเดียว ถ้าหลักฐานเรียกว่า โสฬสกิจ เรียกว่าแค่นี้สำเร็จโสฬสกิจแล้ว โสฬสกิจแปลว่ากระไร ? กิจ ๑๖ ในเพลงที่เขาวางไว้เป็นหลักว่า เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖ นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา ทางพระอรหัตแค่นี้ นี้ทางปฏิบัติ เทศนาดังนี้เป็นทางปฏิบัติ ไม่ใช่ทางปริยัติ นี่ทางปฏิบัติอันนี้แหละ พระพุทธศาสนาในทางปริยัติ ดังแสดงแล้วในตอนต้น พุทธศาสนาในทางปฏิบัติดังแสดงแล้วในบัดนี้ แต่ปริยัติ ปฏิบัติ ที่เรียกว่าเข้าถึงปฏิบัติ เดินสมาบัติทั้ง ๘ นั้น เป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังนี้ นี่เป็นทางปฏิบัติแท้ๆ
    เมื่อกายธรรมเห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้เข้าเห็นพระโสดา บรรลุถึงพระโสดา นั่นปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว ได้เข้าถึงพระโสดาแล้ว ทั้งหยาบทั้งละเอียด เมื่อพระโสดา เดินสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์เข้าทั้งหยาบทั้งละเอียด ได้บรรลุพระสกทาคา
    เมื่อถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นเข้านั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดในสกทาคาเข้าแล้ว เมื่อพระสกทาคาเข้าสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหมเข้า เห็นในสัจจธรรมทั้ง ๔ ชัดอีก ได้บรรลุ พระอนาคา นี้ที่ได้เห็นตัวพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด และทั้งธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา นั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดเห็นจริงทีเดียว เห็นปรากฏทีเดียว
    เมื่อพระอนาคาเข้าสมาบัติ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดใน ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้บรรลุพระอรหัต
    เมื่อเห็นกายพระอรหัต ทั้งธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดทีเดียว นั่นเห็นชัดอันนั้นแหละได้ชื่อว่า เป็นปฏิเวธแท้ๆ เชียว รู้แจ้งแทงตลอด
    นี้ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ศาสนามีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ถ้าว่านับถือศาสนา ปฏิบัติศาสนา เข้าปริยัติก็ไม่ถูก ปฏิบัติก็ไม่ถูก ปฏิเวธก็ไม่ถูก มันก็ไปต่องแต่งอยู่นั่น เอาอะไรไม่ได้ สัก ๑๐ ปี ๑๐๐ ปี ก็เอาอะไรไม่ได้ ถึงอายุจะแก่ปานใด จะโง่เขลาเบาปัญญาปานใด ถ้าเข้าถึงทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ไม่ได้ ไม่เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังแสดงมาแล้วนี้ จะปฏิบัติศาสนาเอาเรื่องราวไม่ได้ ถ้าว่าคนละ โมฆชิณฺโณ แก่เปล่า เอาอะไรไม่ได้ เอาเรื่องไม่ได้ เหตุนี้แหละทางพุทธศาสนาจึงนิยมนับถือนักในเรื่อง สัจธรรมทั้ง ๔ นี้
    ที่แสดงมานี้ก็เพื่อจะให้รู้สัจธรรมทั้ง ๔ เมื่อรู้จักสัจธรรมทั้ง ๔ แล้ว สัจจธรรมทั้ง ๔ นี้ใครเป็นคนรู้คนเห็น ธรรมกาย ธรรมกายโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นผู้เห็นเป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เหล่านี้ นี้แหละเป็นธรรมสำคัญในพุทธศาสนา เมื่อได้สดับ ตรับฟังแล้ว พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า เมื่อรู้จักธรรมที่พระองค์ทรงรับ สั่งว่า เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้ที่พึงอันเกษมผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้ที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ด้วยประการดังนี้ ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย เป็นไปในทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติใน เขมาเขมสรณาทีปิกคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็น สยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนา ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
    [​IMG]
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    หยุดเพื่อเข้าถึงบุญ


    เทศนาโดย
    พระราชญาณวิสิฐ
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม



    การเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายมีหลักอยู่นิดเดียวเท่านั้น คือ “หยุด” ตัวเดียว หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง กำเนิดธาตุธรรมเดิมของแต่ละกายสุดหยาบสุดละเอียด เท่านั้นแหละ
    เมื่อหยุดเข้าไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสังขารเช่นขันธ์ ๕ หรือวิสังขารของธรรมกาย ก็มีดวงกับกายเท่านั้นแหละ
    ในส่วนที่เป็นสังขาร กายมนุษย์ มนุษย์ละเอียด ทิพย์ ทิพย์ละเอียด พรหม พรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายในกายในภพ ๓ กายเหล่านี้เรียกว่า รูป
    แล้วส่วนที่เรียกว่า “ดวง” นั่น ประกอบด้วยอะไร ? ประกอบด้วย “ธรรม” ธรรม ๓ ฝ่าย ฝ่ายขาว ฝ่ายกลาง ฝ่ายดำ เมื่อเราหยุดในหยุดกลางของหยุด ไปถูกธรรมฝ่ายขาว ฝ่ายสัมมาทิฏฐิ ละเอียดเรื่อยไป เมื่อสุดละเอียดของธรรมซึ่งตั้งอยู่บนธาตุกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมที่เราเรียกว่า ปฐมมรรค เมื่อสุดละเอียดด้วยคุณความดี คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สูงขึ้นไปเป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เราก็จะถึงกายและดวงของกายอื่นๆ ที่ละเอียดๆ ณ ภายใน ต่อๆ ไปจนสุดละเอียดของกายในภพ ๓
    ดวงนั้นนอกจากประกอบด้วย ธรรม และ ธาตุ ซึ่งตั้งอยู่บนธรรมนั้นแล้ว ยังประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ ซึ่งเฉพาะในกายในภพสามนี้ เห็น จำ คิด รู้ ในแต่ละกายนั้นขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของขันธ์ ๕ คือ ธาตุละเอียดของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งตั้งอยู่ที่กลางกำเนิดของธาตุธรรมเดิมของแต่ละกายไปสุดหยาบสุดละเอียด
    เห็น จำ คิด รู้ นี้แหละ ที่เราเข้ากลางของกลาง เพื่อเข้าสู่ธรรมชาติที่เป็นฝ่ายบุญฝ่ายกุศล ส่วนธรรมชาติฝ่ายบาปอกุศล ธรรมดำหรือธรรมกลางนั้นก็จะจางไปเรื่อยๆ เห็น จำ คิด รู้ จึงเบิกบาน โตใหญ่ใสละเอียดไปตามธาตุและธรรมของกายในกายแต่ละกาย จากหยาบ ละเอียดเข้าไปๆ ก็โตใหญ่ใสละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียด นี่ของกายในภพ ๓ สุดละเอียดของกายในภพ ๓ ก็ถึงดวงถึงกาย
    ธาตุล้วน ธรรมล้วน
    “ดวง” ก็คือ “ธรรม” นั่นเอง ของธาตุล้วนธรรมล้วน นับตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู โคตรภูละเอียด โสดา โสดาละเอียด สกิทาคา สกิทาคาละเอียด อนาคา อนาคาละเอียด อรหัต อรหัตละเอียด ทับทวีเป็นเถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด จนสุดละเอียดนั้นแหละ สุดละเอียดนี้ก็เป็นธาตุล้วนธรรมล้วน ล้วนนี้ยังไม่ล้วนแท้นะ จะบอกเสียก่อน ธาตุล้วนธรรมล้วนที่แท้ คือ ที่เป็นพระนิพพาน คือ ธรรมกายที่บรรลุอรหัตผลแล้ว จึงเบิกบานเต็มธาตุเต็มธรรม ไม่ถอยหลังอีกโดยเด็ดขาด คือไม่มีต่ำลงมา คือสูงไปสุดสูง นั่นแหละ ธาตุล้วนธรรมล้วนแท้ๆ
    ถ้าตั้งแต่ธรรมกายโคตรภูไปยังไม่ถึง ขึ้นไปจนถึงอริยบุคคล ธรรมกายมรรคธรรมกายผลจริงๆ ก็นับว่าเป็นแท้เหมือนกัน แต่แท้ยังไม่แท้หมดจด ยังไม่ใช่วิสุทธิสัตว์ จะเป็นหมดจดแท้ๆ เมื่อเป็นถึงนิพพาน พระนิพพาน ธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ธรรมชาตินี้ก็ยังมีดวงกับกายนั่นแหละ แต่ดวงกับกายนั่นเป็นธาตุล้วน คือ ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ธรรมกายเราไม่เรียกว่ารูป ใจเราก็ไม่เรียกว่านาม ไม่มีนามไม่มีรูป เพราะนามรูปเกิดแต่สังขาร สังขารเกิดแต่อวิชชา ธรรมกายที่สุดละเอียดเข้าไปเท่าไรนั้นยิ่งปราศจากอวิชชาธาตุล้วนธรรมล้วน ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเรียกว่า “ธรรมภูต” ความอุบัติขึ้นแห่งความบริสุทธิ์ ธรรมะอันนี้หมายถึงธรรมที่บริสุทธิ์ฝ่ายบุญกุศล เรียกว่า “ธรรมภูต” หรือ “ธรรมกาย” หรือ หมู่ธรรมอันประมวลไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ เห็นได้เพราะเป็นอายตนะ บางทีเขาเรียกว่า พรหมภูต ความอุบัติขึ้นอย่างประเสริฐ คือ ไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกต่อไป ไม่เป็นอนิจจัง ไม่เป็นทุกขัง ไม่เป็นอนัตตา จึงเรียกว่าพรหมกาย คือ หมู่ธรรมที่บริสุทธิ์ ที่ประเสริฐ เพราะฉะนั้นเราทำธรรมะไปนี่ เราชำระกิเลสไปในตัวอยู่ในสภาวะของวิกขัมภนวิมุตติ หรือตทังควิมุตติ หลุดพ้นชั่วคราว สำหรับท่านที่ทำได้บ้าง เดี๋ยวแวบเห็น เดี๋ยวแวบหาย อันนี้ก็เป็นทางสู่ สมุจเฉทวิมุตตินิสสรณวิมุตติต่อไปอีก นิสสรณะนั้นก็เป็นปกติเหมือนพระนิพพาน เรียกว่า “นิสสรณวิมุตติ” หรือ “นิสสรณนิโรธ” เป็นนิโรธดับหยาบไปหาละเอียดตลอดเวลา เพราะฉะนั้นธรรมของเราก็เป็นขั้นเป็นตอนไปอย่างนี้
    เข้าสู่สุดละเอียด
    นี่เป็นเพียงส่วนที่เราเข้าถึงเท่านั้น แต่ส่วนที่ทำวิชชาไปสู่สมุจเฉทวิมุตติ หรือนิสสรณวิมุตติ ในวิชชาธรรมกายนั้น เราทำสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานคู่กัน โดยความเป็นนิโรธ หรือมีนิโรธเป็นโคจร ดับหยาบไปหาละเอียด ดับสมุทัยปหานอกุศลจิตของกายในภพสาม จึงชื่อว่าละเอียดเข้าไปเป็นปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญาของกายธรรมนั่น เพื่อไปสู่โลกุตตรมรรค เป็นปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญาของกายธรรม อันนี้เราทำไปดับหยาบไปหาละเอียด
    วิชชานี้หลุดพ้นไปด้วยการข่มกิเลสนั้น เสมือนกับยิงจรวดขึ้นพ้นแนวแรงดึงดูดของโลกด้วยการบังคับแนวดิ่งขึ้นไป พ้นแนวแรงดึงดูดของโลกก็ตั้งทิศทางเข้าสู่ มุ่งตรงต่อธาตุล้วนธรรมล้วน เป็นขั้นตอนของการเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูง กล่าวคือเข้าสู่ขั้นของการคำนวณ คำนวณธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ที่สะอาดบริสุทธิ์ของธรรมกาย ที่มีจักรพรรดิภาคผู้เลี้ยงซ้อนอยู่ สุดละเอียดเข้าไปๆ เป็นภาคผู้สอด ผู้ส่ง ผู้บังคับ ผู้ปกครอง ต้นธาตุต้นธรรมในอายตนนิพพานเป็น
    จักรพรรดิภาคผู้เลี้ยง เลี้ยงอะไร ? เลี้ยง ๒ อย่างคือ ภาคผู้เลี้ยงฝ่ายบุญก็เลี้ยงด้วยธรรมฝ่ายบุญกุศลนั้นอย่างหนึ่ง จิตใจนั้นจะเป็นบุญกุศล กาย วาจา ใจ ก็บริสุทธิ์เรียบร้อยดี เลี้ยงจากสุดละเอียดเข้ามาทีเดียว ต่อเนื่องกันมาจนถึงสุดหยาบกายมนุษย์ใจก็เป็นบุญกุศล เพราะใจมนุษย์หยาบนี่ไปเชื่อมอยู่กับจักรพรรดิของธรรมกายที่สุดละเอียด มันเนื่องกันอย่างนี้ ความจริงจักรพรรดิมีประจำทุกกาย มีภาคผู้เลี้ยงทุกกาย ตั้งแต่กายมนุษย์ไปจนถึงสุดละเอียดมีเท่าไรมีเท่ากัน นี่ภาคผู้เลี้ยง แล้วเลี้ยงด้วยผลของกรรมดี อีกประการหนึ่ง คือเมื่อสัตว์ทำกรรมดีไปเรื่อยๆ ก็ทางฝ่ายพระก็จะเก็บเหตุเข้าไปสุดละเอียด ถึงเครื่องธาตุเครื่องธรรม แล้วก็ปรุงผลส่งออกมายังภาคผู้เลี้ยงอีกเช่นกัน เพราะฉะนั้น ภาคผู้เลี้ยง คือ จักรพรรดิฝ่ายบุญนี่ทำหน้าที่อย่างนี้
    ผู้เลี้ยงฝ่ายบาปอกุศล หรือฝ่ายกลางๆ ก็ทำหน้าที่ตรงกันข้าม ให้ผลเป็นทุกข์ มีกาย วาจา และมีใจที่ไม่สะอาด เพราะฉะนั้นการทำวิชชาเข้าไปนั้น ย่อมรู้ ย่อมเห็น ไปตามลำดับภูมิธรรมแต่ละท่านอย่างนี้ การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายจึงต้องทำนิโรธ หยุดในหยุด กลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียดเข้าไปจนสุดละเอียดเรื่อยไป ไม่ถอยหลังกลับ

    ตรงศูนย์กลางภาคผู้เลี้ยงก็มี “ภาคผู้สอด” สอดอะไร ? สอดวิชชา ยกตัวอย่างง่ายๆ สอดวิชชาอะไร ? เฉพาะที่สอดเข้ามาสุดหยาบถึงกายมนุษย์ในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์พึงเข้าใจว่าภาคผู้สอดฝ่ายบุญเขาสอดทาน ศีล ภาวนา ภาคบุญเขาสอดมาอย่างนี้ เพื่ออะไร ? เพื่อเก็บหรือดับอวิชชาของภาคมารที่เขาก็ประมูลฤทธิ์สอดธรรมที่เป็นบาปอกุศลมาเหมือนกัน สอดอะไร ? สอดอภิชฌา วิสมโลภะ พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ นี่แหละอยู่ท่ามกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของกายมนุษย์นั่นแหละ เพราะฉะนั้น เราทำไปยิ่งละเอียดเท่าไร เราก็จะได้ธาตุธรรมของภาคผู้เลี้ยง ผู้สอด ผู้ส่ง ผู้สั่ง ผู้บังคับ ถึงภาคผู้ปกครอง ถึงต้นธาตุต้นธรรมที่เป็นฝ่ายบุญกุศลฝ่ายสัมมาทิฏฐิเชื่อมถึงกันตลอดหมด ภาคบาปอกุศลเขาก็พยายามตัดวิชชาด้วยอวิชชาของเขาในหลายรูปแบบ ซึ่งท่านจะได้ยินชื่อซึ่งฟังดูแล้วแปลกๆ หู เฉพาะคนที่ไม่รู้นะ คนที่เขารู้เพราะเข้าถึงแล้ว เพราะฉะนั้นนี้เป็นจุดเดียวที่เล่าให้ฟัง เพื่อให้รู้ว่าวิชชาชั้นสูงทำทำไม เพื่ออะไร ? เพื่อเก็บธาตุและธรรมของภาคมารหรือฝ่ายบาปอกุศลในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของแต่ละกาย ณ ภายในจากสุดหยาบไปสุดละเอียดถึงต้นธาตุต้นธรรมของเขา เราละเอียดไปเท่าไร มีอานุภาพเป็นการเก็บธาตุธรรมภาคมารหรือฝ่ายบาปอกุศล ให้เหลือเป็นแต่ธาตุธรรมของฝ่ายบุญกุศลเข้าไปจนสุดละเอียดไปเพียงนั้น
    ถ้าทำบุญช้าไป ใจจะยินดีในบาป

    <TABLE height=69 width=776 background=../images/footer.jpg border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR style="LINE-HEIGHT: 15px"><TD><!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1> page="dhamma";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits1.gits.net.th/data/j0019008.js"></SCRIPT><!-- END WEBSTAT CODE -->Powered by bythailand.com</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2010
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    อุทานคาถา
    ๒๑ มีนาคม ๒๔๙๗


    โดย หลวงปู่สดฯ

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน) <TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="19%" align=center><TBODY><TR><TD width="61%">ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ
    </TD></TR><TR><TD width="61%">ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ
    </TD></TR><TR><TD width="61%">ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ
    สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในอุทานคาถา ที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงเปล่งขึ้นด้วยพระองค์เอง มิได้ปรารภสิ่งหนึ่งสิ่งใด ปรารภแต่ธรรมสิ่งเดียวเท่านั้น ทรงเปล่งอุทานคาถาขึ้น ดังที่ยกขึ้นไว้ ณ เบื้องต้นนั้น
    อุทานคาถานี้เป็นความเปล่งขึ้นจากพระโอษฐ์ของพระองค์เอง เปล่งขึ้นด้วยมาปรารภถึงธรรมว่าเป็นของอัศจรรย์นัก ธรรมน่ะเป็นของอัศจรรย์
    บัดนี้ ท่านทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต จงตั้งใจให้บริสุทธิ์สนิท ฟังอุทานคาถา ซึ่งเปล่งขึ้นจากพระทัยของพระบรมศาสดา
    ปรากฏโดยวาระพระบาลีว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ. เป็นอาทิ แปลเป็นสยามภาษาทั้ง ๓ อุทานนั้นว่า
    เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ
    เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมืดเสียได้ ดำรงอยู่เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นมากำจัดความมืด ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น นี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่เป็นของรู้ถึงได้ง่าย รู้ถึงได้ยากนัก
    ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่พราหมณ์นั้นเราควรจะรู้ ธรรมอะไรที่ปรากฏแก่พราหมณ์น่ะ และก็บอกลักษณะท่าทางไว้ให้เสร็จ เสมือนดวงอาทิตย์ขึ้นไปแล้วกำจัดความมืดทำอากาศให้สว่าง นี้เป็นข้อใหญ่ใจความสำคัญนัก จะเอาธรรมตรงไหน ดวงไหน ชิ้นไหน อันไหนกัน ธรรมที่เกิดขึ้นแก่พราหมณ์น่ะ ถ้าว่าไม่รู้จักธรรมดวงนั้น ฟังไปเถอะ สักร้อยครั้งก็ไม่ได้เรื่องได้ราวทีเดียว อุทานคาถานี้ลึกซึ้งอยู่ ไม่ใช่ของง่าย เผอิญจะต้องกล่าวไว้ย่อ ไม่ได้กล่าวพิสดาร เรียกว่า อุทานคาถา ธรรมที่ปรากฏแก่พราหมณ์น่ะ เป็นมนุษย์เป็นหญิงก็ดี ชายก็ดี ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ไม่ว่าที่ปรากฏอยู่บัดนี้มีธรรมบังเกิดขึ้นกับใจบ้างไหม ที่ปรากฏอยู่เสมอน่ะ บางคนก็มี บางคนก็ไม่มี ที่ไม่มีนั้นเทียบด้วยคนตาบอด ที่ธรรมปรากฏขึ้นแล้วน่ะเทียบด้วยคนตาดี เรื่องนี้พระองค์ทรงรับสั่งในเรื่องธรรมว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารี มีธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น ธรรมที่บังเกิดปรากฏอยู่กับตัวน่ะ พวกมีธรรมกาย มีธรรมปรากฏแก่ตัวเสมอ พวกไม่มีธรรมกายนานๆ จะปรากฏธรรมสักครั้งหนึ่ง ธรรมที่ปรากฏขึ้นน่ะประจำตัวเชียวนะ ติดอยู่กับใจของบุคคลนั้น สว่างไสว ถ้าปฏิบัติดีๆ เหมือนดวงอาทิตย์ในกลางวันเชียวนะ แจ่มจ้าอยู่เสมอ แต่ว่าใจนั้นต้องจรดอยู่กับธรรม ถ้าว่าใจไม่จรดอยู่กับธรรม หรือธรรมไม่ติดอยู่กับใจละก้อ ความสว่างนั้นก็หายไปเสีย เหมือนอย่างตามประทีปในเวลากลางวัน ประทีปอย่างย่อมๆ ความสว่างก็น้อย ประทีปนั้นขยายออกไป ความสว่างก็ขยายออกไป อย่างนั้นแหละฉันใด ธรรมก็มีหลายดวง สว่างต่างกันอย่างนั้นเหมือนกัน
    ธรรมน่ะอยู่ที่ไหน มนุษย์อยู่ที่ไหนธรรมอยู่ที่นั่น มนุษย์มีธรรมด้วยกันทุกคน เขาเรียกว่าดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ถ้าว่าผู้ที่ทำธรรมเป็นละก็ ใจไปติดที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น ติดอยู่ที่นั่น นั่นแหละได้ชื่อว่า ธรรมนั้นปรากฏแก่มนุษย์คนนั้นแล้ว
    ถ้าว่ากายมนุษย์ละเอียด ใจมนุษย์ละเอียดก็ติดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น สองเท่าฟองไข่แดงของไก่ ได้ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่กายมนุษย์ละเอียดนั้นแล้ว ถ้าว่าเป็นกายทิพย์ ใจก็ไปติดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถ้าว่าไม่ติดอยู่ในธรรมดวงนั้น ไม่เห็นธรรมดวงนั้นแจ่ม ได้ชื่อว่าธรรมยังไม่ปรากฏ เมื่อธรรมปรากฏแล้ว ก็เห็นธรรมดวงนั้นแจ่ม สามเท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงขนาดนั้น ดวงกลม กายทิพย์ละเอียดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด สี่เท่าฟองไข่แดงของไก่ แจ่มอยู่กับใจเสมอนั่น ได้ชื่อว่าธรรมปรากฏแก่กายทิพย์ละเอียดแล้ว กายรูปพรหม ใจติดอยู่กับศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ใส ห้าเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสบริสุทธิ์ นั่นแหละธรรมนั้นปรากฏแก่กายรูปพรหมแล้ว กายรูปพรหมละเอียด เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด เห็นดวงใส หกเท่าฟองไข่แดงของไก่ ติดอยู่กับใจเสมอ สว่าง ไม่มืด ได้ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่กายรูปพรหมละเอียดแล้ว กายอรูปพรหม ใจติดอยู่กับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่ เห็นแจ่มอยู่เสมอไป นั้นได้ ชื่อว่าธรรมดวงนั้นปรากฏแก่กายอรูปพรหมแล้ว กายอรูปพรหมละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด แปดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใจอรูปพรหมละเอียดติดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด เห็นใสชัดปรากฏ แปดเท่าฟองไข่แดงของไก่ นี่เห็นปรากฏอย่างนี้ละก็ นั่นแหละได้ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่กายอรูปพรหมละเอียดแล้ว
    ถ้ากายธรรม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ถ้าใจของธรรมกายติดอยู่ที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายติดอยู่เสมอละก็ นั่นแหละได้ ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่ธรรมกายนั้นแล้ว ธรรมกายละเอียดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว กายธรรมพระโสดา เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมพระโสดา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๕ วา กลมรอบตัว ติดอยู่กับใจพระโสดา พระโสดานั้นได้ชื่อว่ามีธรรมประจำใจแล้ว ได้ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่กายธรรมพระโสดาแล้ว พระโสดาละเอียด พระสกทาคา สกทาคาละเอียด พระอนาคา อนาคาละเอียด พระอรหัต อรหัตละเอียด พวกนี้ติดอยู่เสมอไม่หลุด ติดอยู่เสมอ นั้นได้ชื่อว่าธรรมปรากฏขึ้นแล้ว แต่พวกที่ยังไม่เห็น ไม่มี ไม่เห็นปรากฏ ได้ชื่อว่ายังไม่เห็น ไม่มี ไม่เห็นปรากฏ ธรรมนั้นได้ชื่อว่า ไม่ปรากฏ
    ตามกำหนดวาระพระบาลี ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส แปลเนื้อความว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ผู้เพ่งอยู่แล้ว ก็เห็นดวงธรรมนั้นแหละ นี่แหละได้ชื่อว่าธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ละ อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป ก็ใจไปติดอยู่เสียกับธรรม เห็นธรรมแล้วก็หมดสงสัยในเรื่องธรรมกันเสียที เห็นแล้ว ติดแล้ว ปรากฏแล้ว หมดสงสัยในเรื่องธรรมกันเสียที พวกเรานี่มันสงสัยทุกคนนั่นแหละ ธรรมมากมายนัก โน่นก็ธรรม นี่ก็ธรรม ไม่รู้จะไปเอาธรรมที่ไหนแน่ ไม่รู้จะเอาธรรมที่ไหนแท้ๆ นี้ธรรมอันนี้แหละเป็นตัวจริงละ ให้เอาใจติดอยู่ตรงนี้แหละ อย่าไปเที่ยวหาอื่นให้มันอื่นจากศูนย์กลางกายมนุษย์ กลางกายของตัวไปเลย ตรงนั้นแหละ เอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นแหละ ถ้ายังไม่เห็น นานๆ เข้าก็เห็นเอง พอถูกส่วนเข้าก็เห็นเอง ที่ไปหาที่อื่น ไปโน่น ไปตรงโน้น ไปตรงนี้ ไปที่โน่น ไปที่นี่ ไปหาธรรมในป่า ในดอนในดง กันยกใหญ่ทีเดียว เพราะไม่เห็น พอไปเห็นเข้าแล้ว โธ่ ผ้าโพกหัวหาแทบตายไม่เห็น อยู่บนหัวนี่เอง ไปหาธรรมแทบตาย ธรรมอยู่กลางตัวของตัวของตัวนั่นเอง นั่นแหละธรรมอยู่ตรงนั้นแหละ แต่ว่าไม่ปรากฏขึ้น เมื่อปรากฏขึ้นแก่พราหมณ์แล้ว พราหมณ์ก็หมดสงสัย ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ ได้รู้ว่าธรรมเกิดแต่เหตุ
    ธรรมเกิดแต่เหตุอย่างไร ก็เพ่งพินิจพิจารณาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใส บริสุทธิ์ เหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า เท่าฟองไข่แดงของไก่ เออ ธรรมดวงนี้เกิดแต่เหตุ รู้ทีเดียว เกิดแต่เหตุ เหตุอะไร เพราะมนุษย์ทำบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ไม่มีร่องเสียเลยเชียว นิดเดียวเท่าปลายผมปลายขนก็ไม่มี กลับเป็นคนอีกทีก็เป็นมนุษย์อีก ดวงธรรมอันนั้นเป็นขึ้นอีก ดวงธรรมดวงเก่านั้นหมดไป หมดอำนาจหมดชีวิตไป กลับเป็นมนุษย์ดังเก่าอีก ก็มีธรรมดังเก่าแบบเดียวกัน อ้อ ธรรมนี่เกิดแต่เหตุอย่างนี้ เกิดแต่เหตุที่มนุษย์ทำ นี่เอง
    ถ้าว่ามนุษย์ไม่ทำความบริสุทธิ์กายวาจาใจให้ถ่องแท้แล้วละก็ ไม่ได้เป็นมนุษย์ กลับไปเป็นอสุรกาย เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นสัตว์นรกไป ธรรมนั้นก็เสียไป ดำขุ่นหมองเศร้ามัวไปหมด แต่ว่าสัตว์นั้นไม่เห็น ถ้าเห็นแล้ว ไม่ไปนรกแน่นอน ไม่ไปละ กลับเป็นมนุษย์ทีเดียว นี่แหละได้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์แล้ว เห็นไหมล่ะ ด้วยวิธีบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ
    กายมนุษย์ละเอียดก็เช่นเดียวกัน ดวงธรรมละเอียดลงไปกว่านี้ ๒ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ทั้งกายมนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทั้ง ๒ กายนั้นเป็นกายที่มารวมกัน อุตส่าห์พยายามรักษาความบริสุทธิ์ของตัวไว้ บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ไม่มีร่องเสียเลย
    เมื่อบริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ ไม่มีร่องเสียเลยแล้วละก็ อุตส่าห์พยายามเหมือนภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกานั้นแหละ อุตส่าห์บำเพ็ญทาน ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา อุตส่าห์ให้ทานตามกาล ตามสมัย ตามกำลังของตน อุตส่าห์รักษาศีลให้ดียิ่งขึ้นไป กาย วาจา ใจ ไม่ให้เดือดร้อนใคร ไม่ให้กระทบกระเทือนใคร ตัวเองก็ไม่เดือดร้อนไม่ให้กระทบกระเทือน คนอื่นก็ไม่ให้เดือดร้อน ไม่ให้กระทบกระเทือน รักษากาย วาจา ใจ ไว้เป็นอันดี เรียกว่าศีล สุตะ ถึงวันธรรมสวนะก็อุตส่าห์พากันมาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาอย่างนี้แหละ เหมือนภิกษุ สามเณร ก็อุตส่าห์พากันมาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา ทำอย่างนี้เรียกว่าสุตะ จาคะ กระทบกระเทือนกันบ้างก็ช่างเถิด ให้อภัย ไม่ถือเอาโทษ ไม่ถือเอาความขุ่นมัวเศร้าหมองอันใด ให้อภัยกันเสียหมดทีเดียว อยู่ด้วยกันตั้งร้อยตั้งพันก็ไม่เป็นไร ยิ้มแย้มแจ่มใสกันดี เพราะให้อภัยซึ่งกันและกัน ปัญญา รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ สูงและต่ำ ดีชั่ว ผิดชอบ เมื่อเราตั้งอยู่ในความเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องมีใจโอบอ้อมอารีต่อผู้น้อย ต้องมีใจอย่างนั้น นั่นเรียกว่ามีปัญญา ต้องอยู่ในความโอบอ้อมอารี เราเป็นผู้น้อยก็ต้องตั้งอยู่ในความเคารพยำเกรงผู้ใหญ่ อย่าถือเอาแต่ตัวของตัวไม่ได้ หรือไม่เช่นนั้น ผู้ปกครองก็ต้องใจโอบอ้อมอารี ผู้อยู่ใต้ปกครองก็ต้องเคารพยำเกรงต่อผู้ใหญ่ อย่างนี้อยู่เป็นสุขเบิกบานสำราญใจ ต้องเคารพคารวะซึ่งกันและกัน ผู้น้อยผู้ใหญ่เป็นลำดับลงไป เคารพซึ่งกันและกันตามหน้าที่ ตามพรรษา อายุ ตามคุณธรรมนั้นๆ ดังนี้ได้ชื่อว่าแตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์โลกนี้ ทำดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ให้บังเกิดขึ้น สามเท่าฟองไข่แดงของไก่ โตหนักขึ้นไป ดีหนักขึ้นไป กายทิพย์ทั้งหยาบทั้งละเอียด ทำละเอียดลงไปแบบเดียวกัน ทำให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก
    เรายังเวียนว่ายตายเกิดในกามภพนี่ สุขไม่พอ ต้องทำให้สูงขึ้นไปกว่านี้ อุตส่าห์ทำรูปฌาน เมื่อบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ศีลก็บริสุทธิ์เป็นอันดีแล้ว กาย วาจา ใจ ก็บริสุทธิ์เป็นอันดี ทาน ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ก็สมบูรณ์บริบูรณ์ดีแล้ว ตั้งใจแน่แน่วบำเพ็ญฌานให้บังเกิดมีขึ้น ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมนั่น ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น กายมนุษย์ละเอียดนั่น หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเห็นดวงปฐมฌานทีเดียว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๘ ศอก กลมรอบตัว นั่นเรียกว่าดวงปฐมฌาน แล้วก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปฐมฌานนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ก็บังเกิดดวงทุติยฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๘ ศอกเท่ากัน กลมรอบตัวเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงทุติยฌาน พอนิ่งถูกส่วนเข้า เกิดดวงตติยฌาน ขึ้น จากดวงทุติยฌานนั่น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๘ ศอก กลมรอบตัว ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงตติยฌานนั้น ถูกส่วนเข้าเห็นดวงจตุตถฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๘ ศอก กลมรอบตัว สี่ดวงนี้เป็น ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เมื่อทำฌานให้เกิดมีขึ้นเช่นนี้แล้ว อำนาจฌานนี่แหละ อำนาจความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อำนาจทาน ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นเหตุให้บังเกิดธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ห้าเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว ฟองไข่แดงของไก่ สี่ดวงมารวมกันเข้าเป็นดวงเดียว กลมรอบตัว ทั้งหยาบทั้งละเอียดแบบเดียวกัน
    ถ้าว่าทำยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ใจของกายมนุษย์ ใจของกายรูปพรหมนั่น หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ทั้งหยาบทั้งละเอียด พอถูกส่วนเข้า รู้ว่าฌานสูงขึ้นไป กว่านี้มี นิ่งอยู่กลางจตุตถฌานนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นนิ่งอยู่กลางจตุตถฌานนั่น วัดผ่าเส้นศูนย์ กลาง ๘ ศอก กลมรอบตัวเหมือนกัน ใจรูปพรหมก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางอากาศนั่น พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน กายรูปพรหมเข้าไม่ได้ กายอรูปพรหมก็ปรากฏขึ้น ใจกายอรูปพรหมก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอากาสานัญจายตนะนั่น ถูกส่วนเข้า เห็นวิญญาณัญจายตนะ เห็นชัดทีเดียว รู้ว่าเกิดมาจากกลางของอากาศนั่น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๘ ศอก กลมรอบตัวเหมือนกัน ใจของอรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางของดวงรู้นั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นอากิญจัญญายตนะ รู้ละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๘ ศอก กลมรอบตัวเหมือนกัน ใจของอรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงรู้ละเอียดนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นรู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ อยู่กลางดวงของรู้ละเอียดนั้น เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ ให้เกิดขึ้น ดังนี้ได้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นอรูปฌาน ดวงธรรมนั้นก็โตออกไป ถ้าว่าวัดฟองไข่แดงเป็นที่ตั้งละก็ ๘ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ๘ เท่าโตขึ้นไปดังนี้ ก็รู้ทีเดียวว่า ธรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นจากเหตุ เหตุเพราะทำขึ้น บำรุงขึ้นให้เป็น ถ้าไม่บำรุงขึ้น ไม่ทำขึ้น ไม่เป็น ก็มุ่งจะให้สูงขึ้นไปกว่านั้น ก็ทำขึ้นไปได้อีก
    กายอรูปพรหมนั่นที่จะทำต่อขึ้นไป นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม พอถูกส่วนเข้า ก็เดินศีลเทียว เพ่งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ดวงธรรมที่ละเอียดจริง นั่นแหละ ก็เห็นดวงศีล วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง กลมรอบตัว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ วัดผ่าเส้น ศูนย์กลางคืบหนึ่ง กลมรอบตัว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมา เกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน อย่างโตที่สุดหย่อนกว่า ๕ วา อย่างเล็กที่สุดไม่เกินคืบหนึ่งไป นั่น เรียกว่ากายธรรม เกิดเป็นลำดับไป ก็รู้ว่า อ้อ! ธรรมเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ เหตุที่เรากระทำลงไปนี่เอง เหตุของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่แหละให้เข้าถึงกายธรรมได้ เข้าถึงได้อย่างนี้ เห็นปรากฏอย่างนี้ทีเดียว กายธรรมโคตรภู กายธรรมพระโสดาทั้งหยาบ ทั้งละเอียด ก็ทำไปแบบเดียวกันนี้ กายธรรมพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียดก็ทำไปแบบนี้ กายธรรมพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียดก็ทำไปแบบนี้ จนกระทั่งเข้าถึงกายธรรมพระอรหัต ก็ทำไปแบบนี้
    เมื่อธรรมปรากฏขึ้นเช่นนี้แล้ว พราหมณ์แกก็รู้ว่าธรรมเกิดแต่เหตุ เหตุที่กระทำลงไป อย่างนี้ ไม่กระทำไม่เกิด ถ้าไม่มีเหตุดังนี้เกิดไม่ได้ ต้องมีเหตุอย่างนี้จึงเกิดได้ เมื่อรู้จักเหตุดังนี้ ต้องทำลงไปในเหตุ ต้องการธรรมต้องทำลงไปในเหตุ ผิดเหตุละก้อ ไม่เกิด นี่ชั้นหนึ่ง
    ในคาถาที่ ๒ ว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมฺณสฺส อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความ เพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เห็นจริงแท้ไม่ต้องสงสัย ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย ตรงนี้สำคัญนัก พราหมณ์นั้นได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย รู้ความสิ้นไปเมื่อพราหมณ์เดินขึ้นไปเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงกายพระอรหัต ก็รู้ทีเดียว รู้ชัดทีเดียว ที่จะขึ้นไปเช่นนี้ก็ต้องรู้ชัด เห็นชัด ทีเดียว เพราะแกเห็นแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่จะชะลอกายมนุษย์ไว้ได้ดังนี้ เพราะอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ บังคับอยู่ บังคับธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์อยู่ ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด กายทิพย์เล่า เพราะปัจจัยคือ โลภะ โทสะ โมหะ ทั้งหยาบทั้งละเอียด บังคับกายทิพย์ทั้งหยาบทั้งละเอียดอยู่ กายรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียดเล่า ทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็เพราะปัจจัยคือ ราคะ โทสะ โมหะ ทั้งหยาบทั้งละเอียด บังคับกายรูปพรหมอยู่ ขึ้นไปจากภพ ไม่ได้ ไปไม่พ้น กายอรูปพรหมเล่า ทั้งหยาบทั้งละเอียด เพราะกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย บังคับอรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียดอยู่ พ้นจากภพไปไม่ได้ กายธรรมเล่า เพราะ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เป็นสังโยชน์ เป็นปัจจัยคุ้มครองป้องกัน ไม่ให้หลุดพ้น ไปจากโคตรภูบุคคลได้ ทั้งหยาบทั้งละเอียด เมื่อเข้าถึงพระโสดา เป็นพระโสดาบันบุคคลแล้ว ทั้งหยาบทั้งละเอียด เพราะกามราคะ พยาบาท อย่างหยาบบังคับอยู่ ทั้งหยาบทั้งละเอียด กายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียดเล่า เพราะกามราคะ พยาบาท อย่างละเอียด มัน บังคับอยู่ ทั้งหยาบทั้งละเอียด พระสกทาคาไปไม่ได้ ติดอยู่เพียงแค่พระสกทาคานี้ เมื่อ เข้าถึงพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์ เบื้องบนนี่เอง นี่เป็นปัจจัยคุ้มครองป้องกันไม่ให้เป็นพระอรหันต์ได้ เป็นลิ่มเป็นสลักอยู่ อย่างนี้ ท่านก็อุตส่าห์พยายามให้เข้าถึงพระอรหัต เดินทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ พอบรรลุเป็นพระอรหันต์ หลุดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เรียกว่า ขีณาสโว ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ทิฏฐาสวะ ไม่มีในพระอรหัต เมื่อไม่มีในพระอรหัต เห็นชัดเช่นนี้ ท่านก็รู้น่ะซี รู้ชัด เห็นชัดทีเดียวว่า นี่แหละ ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ พราหมณ์นั้นได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย ไม่มีปัจจัยเลย ปัจจัยฝ่ายที่จะตรึงไว้ ไม่มีเลย หลุดจากปัจจัยหมด เป็นพระอรหันต์ เป็นสมุจเฉทปหาน แน่นอนในพุทธศาสนา
    เมื่อรู้จักหลักเช่นนี้ ในบาทที่ ๓ รับรองอีก รับรองทีเดียวว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ ดำรงอยู่เหมือนดวงอาทิตย์ผุดขึ้นมากำจัดมืด กระทำอากาศให้สว่างฉะนั้น นี้ปรากฏเป็นพระอรหัตแล้วอย่างนี้ สว่างเป็นพระอาทิตย์กลางวันเรื่อย ไม่มีค่ำเลย เมื่อยังไม่ถึงพระอรหัตละก้อ ยังมีค่ำยังมีสว่างอยู่ ถ้าถึงพระอรหัตละก้อ ไม่มีค่ำเลยทีเดียว มีสว่างตลอด เพราะดวงธรรมเต็มที่แล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตนั่นวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัว ดวงนั้นยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไปอีก ดวงจันทร์ก็ดี ดวงอาทิตย์ก็ดี ส่องให้สว่างในที่ที่ส่องได้ ที่ลึกลับลงไปใต้แผ่นดินส่องไม่ได้ ถ้ำคูหาส่องไม่ถึง วงธรรม ของพระอรหัตนั้นใต้แผ่นดินก็สว่างหมด เหนือดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็สว่างหมด เห็นสว่างตลอดหมด ในถ้ำ ในเหว ในปล่อง ในไส้พุง ตับไต เห็นตลอดหมด ปรากฏอย่างนี้ ท่านจึงได้เทียบด้วย สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นมาแล้วกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่าง ดวงธรรมก็ทำให้สว่างยิ่งกว่านั้น สว่างในไส้พุงตับไต สว่างหมด ในภูเขา ดวงอาทิตย์ส่องได้แต่ในที่ที่ส่องได้ในที่ลึกลับ เข้าไปในภูเขา เข้าไปส่องไม่ได้ ส่วนดวงธรรมส่องเข้าไปได้ตลอดหมด ท่านจึงได้ยืนยันว่า นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี ดวงธรรมนั่นแหละให้เกิดปัญญาสว่าง ไม่มีที่กำบังอันใดแต่นิดเดียว จะกำบังก็กำบังไม่ได้ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดกำบังได้เลย ส่องสว่างได้ตลอด นี้ท่านจึงได้ชี้ว่าเหมือนยังกับดวงอาทิตย์ผุดขึ้น เหมือนดวงอาทิตย์เกิดขึ้นแล้วกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่าง ดวงธรรมก็เทียบด้วยอย่างนั้นเหมือนกัน
    นี้เป็นอุทานคาถา พระบรมศาสดาทรงตรัสเทศนา เป็นธรรมอันลึกซึ้ง ฟังพอดีพอร้าย ไม่รู้เรื่อง เมื่อเป็นของลึกซึ้งขนาดนี้ละก็ จำเอาไว้ว่า เราจะต้องทำให้เป็นเหมือนอย่างนี้ นี่ ที่เขาเป็นธรรมกายเขารู้หนา แค่นี้เขาเข้าใจทีเดียวว่า อ้อ ตำรับตำรามีจริงอย่างนี้ เราก็เห็นจริงเหมือนตำราแล้ว ถูกต้องตามตำราแล้ว ผู้ที่ไม่เห็น ไม่เป็นปรากฏ ก็เท่ากับตาบอด ไปไหนไม่รอด ติดอยู่แค่กายมนุษย์นี่เอง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ไม่เห็น ไม่เป็นกับเขา เมื่อไม่เห็นไม่เป็นกับเขา ก็ไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ก็เป็นทุกข์อยู่ร่ำไป ไม่มีสุข ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็เป็นสุข ที่พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น ถ้ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่ละก็ เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น เป็นสุขเดี๋ยวนั้น ท่านยืนยันด้วยว่า อกาลิโก เมื่อเข้าไปถึงดวงธรรมนั้นแล้ว เป็นสุขเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องผลัดกาลเวลา ไม่มีกาลเวลา จะได้เลื่อนความสุขมาในเวลานั้นในเวลานี้ นี่ไม่มี พอถึงก็สุขทีเดียว ไปถึงเดี๋ยวนั้นเป็นสุขเดี๋ยวนั้นทีเดียว จึงเรียกว่า อกาลิโก แล้วไม่ใช่เท่านั้น เป็นดวงแจ่มแจ้งกระจ่างสว่างกับใจอยู่ อาจจะเรียกบุคคลผู้อื่นเข้ามาดูได้ รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ นี่ เหมือนกับเทศน์ให้ฟังอย่างนี้แหละ เรียกบุคคลผู้อื่นให้เข้ามาดูได้ เป็นดวงขนาดนั้นๆ โตเท่านั้น สว่างถึงนั่น อาจจะเรียกบุคคลผู้อื่นให้เข้ามาดูได้อย่างนี้ นี้เรียกว่า เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ไม่ใช่เป็นของแข็ง น้อมเข้าไปในใจก็ได้ น้อมเข้าไปตั้งอยู่แค่ไหนก็ได้ น้อมออกข้างนอกก็ได้ น้อมลงข้างล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง นอก ใน น้อมไปได้ตามชอบใจหมดทั้งสิ้น ไม่ผิด นั่นเป็นของอ่อนตามใจอย่างนั้น เรียกว่า โอปนยิโก เป็นของน้อมได้ตามชอบใจ ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ผู้รู้รู้ได้เฉพาะตัว ใครเข้าถึงใครก็รู้ ใครทำเป็น ใครก็เห็น ใครได้ ใครก็ถึง ใครไม่ได้ ใครก็ไม่ถึง ใครไม่เป็น ใครก็ไม่เห็นเท่านั้น ปรากฏอย่างนี้ นี้แหละอุทานคาถาที่พระศาสดาทรงประสงค์แสดงไว้ ที่ชี้แจงแสดงมาแล้วนี้ ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติในอุทานคาถา ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้าทั้งปวง สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ทั้งปวง ปิฎกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้งสาม คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอานุภาพชินสาวกของท่านผู้ชนะมาร จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ให้อุบัติบังเกิดมี เป็น ปรากฏในขันธปัญจกแห่งท่านทานิสราบดีทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาด้วยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,735
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,137
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ปัจฉิมวาจา




    ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ หน)

    ภาสิตา โข ปน ภควตา ปรินิพฺพานสมเย อยํ ปจฺฉิมวาจา หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ. ภาสิตญฺจิทํ ภควตา เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยานิ กานิจิ ชงฺคลานํ ปาณานํ ปทชาตานิ สพฺพานิ ตานิ หตฺถิปเท สโมธานํ คจฺฉนฺติ หตฺถิปทํ เตสํ อคฺคมกฺขายติ ยทิทํ มหนฺตตฺเตน. เอวเมว โข ภิกฺขเว เยเกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อปฺปมาทมูลกา อปฺปมาทสโมสรณา อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายตีติ. ตสฺมา ติหมฺเหหิ สิกฺขิตพฺพํ ติพฺพาเปกฺขา ภวิสฺสาม อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน อธิจิตฺตสิกขาสมาทาเน อธิปญฺญาสิกฺขาสมาทาเน อปฺปมาเทน สมฺปาเทสฺสามาติ. เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพนฺติ.

    นึกถึงความเสื่อมอยู่เสมอ ให้เจอความเสื่อมไว้เสมอ นึกหนักเข้าๆ แล้วใจหาย เอ๊ะนี่เรามาคนเดียวหรือ เอ๊ะนี่เราก็ตายคนเดียวซิ บุรพชนต้นตระกูลของเราไปไหนหมดล่ะ อ้าวตายหมด เราล่ะ ก็ตายแบบเดียวกัน ตกใจล่ะคราวนี้ ทำชั่วก็เลิกละทันที รีบทำความดีโดยกะทันหันทีเดียว เพราะไปเห็นอ้ายความเสื่อมเข้า ถ้าไม่เห็นความเสื่อมละก้อ กล้าหาญนัก ทำชั่วก็ได้ ด่าว่าผู้หลักผู้ใหญ่ได้ตามชอบใจ ถ้าเห็นความเสื่อมเข้าแล้ว กราบผู้ใหญ่ปะหลกๆๆ ทีเดียว เพราะเหตุอะไรล่ะ เพราะเห็นความเสื่อมเข้า มันไม่ประมาท
    ” ​
    ณ บัดนี้ท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย คฤหัสถ์ บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า มาสโมสรสันนิบาตในพระอุโบสถวัดปากน้ำ ณ เวลาวันนี้ ล้วนมีสวนเจตนาใคร่เพื่อจะสดับตรับรับฟังพระธรรมเทศนาในวันมาฆบูชา สมเด็จพระบรมศาสดาไว้อาลัยให้แก่เราท่านทั้งหลาย ให้เป็นเครื่องประจำใจของเราท่านทั้งหลายทุกถ้วนหน้า เรียกว่า ปัจฉิมวาจา พระองค์ทรงรับสั่งพระวาจานี้ แล้วหับพระโอษฐ์ไม่ทรงรับสั่งต่อไป
    พระวาจาอันนี้เป็นที่ตรึงใจของหญิงชายในโลกทุกถ้วนหน้า ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต สมเด็จพระบรมสามิตสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้อาลัยให้แก่เราท่านทั้งหลายในเรื่อง วยธรรม ของ สังขารทั้งหลาย อาลัยอันนี้แหละเป็นปัจฉิมวาจาของพระจอมไตร ให้เราจำไว้อย่าลืมหลงว่า เราต้องเป็นอย่างนี้แน่ไม่แปรผัน เมื่อทราบชัดด้วยใจของตนมั่นในขันธสันดานแล้ว ความเสื่อมไปของสังขารทั้งหลาย หรือสังขารทั้งหลายเสื่อมไป ไม่ได้มีถอยกลับเลยแม้แต่สังขารใดสังขารหนึ่ง อาศัยสราคธาตุสราคธรรม หรืออาศัยวิราคธาตุวิราคธรรม เกิดขึ้นที่เรียกว่าสังขาร สิ่งที่มีขึ้นเกิดขึ้น ปรุงขึ้นแล้ว ตกอยู่ในความแปรไป เสื่อมไป ไม่มีเหลือเลยแม้สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง เสื่อมไปทั้งนั้น ความเสื่อมอันนี้แหละเป็นเครื่องประจำใจของเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต หญิงชายทุกถ้วนหน้า ให้นึกถึงความเสื่อมอันนี้ไว้
    ความเสื่อมน่ะจะนึกที่ไหน นึกถึงในตัวของเรานี่ อัตภาพร่างกายนี้ไม่คงที่เลย ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาก็เสื่อมเรื่อยไป เสื่อมไปตามหน้าที่ เสื่อมขึ้น เสื่อมลง เสื่อมขึ้น ก็เจริญขึ้นเป็นลำดับไป พอเต็มอายุก็เสื่อมลงเรื่อยไป เสื่อมไม่มีหยุดเลย เสื่อมเรื่อย เมื่อเสื่อมเป็นดังนี้ละก็ สิ่งทั้งสิ้นหมดทั้งสากลโลก ที่เราได้เห็นด้วยตา หรือได้ยินด้วยหู หรือได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย รู้แจ้งทางใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเสื่อมทั้งนั้น ไม่มีความตั้งอยู่ได้มั่นอยู่ได้สักชั่วกัลปาวสานเลย มีความเสื่อมเป็นเบื้องหน้า ให้นึกความเสื่อมอันนี้แหละให้ติดอยู่กับใจของอาตมา [ของตนเอง] ถ้านึกถึงความเสื่อมดังนี้ละก็ สังเกตได้นะ หัวเราะเสียงดังไม่ค่อยมีหรอก อย่างดัง ก็แต่ยิ้มๆ แหละ เพราะมันนึกถึงความเสื่อมอยู่ มันไม่ไว้ใจทั้งนั้น นึกว่าเสื่อมแล้ว หน้าไม่ค่อยดีหรอก หัวเราะดังกับเขาไม่เป็นหรอก เป็นแต่ยิ้มๆ อย่างขบขันเต็มทีก็เป็นแต่ยิ้มๆ เท่านั้น หรือแย้มโอษฐ์เท่านั้น มันนึกถึงความเสื่อมประจำใจอยู่
    ถ้านึกถึงความเสื่อมประจำใจได้ดังนี้ละก็ หากว่าเป็นภิกษุสามเณรจะต้องเรียนเป็นนักปราชญ์ของเขาได้ ทางคันถธุระ ทางวิปัสสนาธุระ เพราะแกนึกถึงความเสื่อมอยู่ ถ้าเป็นหญิงเป็นชาย เป็นฆราวาสครองเรือน จะต้องมีหลักฐานมั่นคงใหญ่โตทีเดียว ไม่ใช่คนเหลวไหล ไม่ใช่คนเลวทราม ต้องเป็นคนอยู่ในความพยายามทีเดียว มันหมดไปสิ้นไป รออยู่ไม่ได้ ใจกายขยันนัก เพราะนึกถึงความเสื่อมอยู่ แกไม่รอผู้หนึ่งผู้ใดล่ะ แกกลัวชีวิตของแกจะหมดไป แกรักษาชีวิตของแก หากว่าแกจะมารักษาศีลทางวัด แกก็ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทีเดียว แกกลัวชีวิตมันหมดไปเสีย กลัวจะไม่ได้ศีลเต็มที่ เป็นแต่เพียงรักษาศีล กลัวจะไม่เข้าถึงอธิศีล ถ้าว่าแกทำสมาธิล่ะ แกก็ทำได้อย่างงดงามทีเดียว เพราะแกพยายามไม่หยุดยั้ง แกกลัวชีวิตจะไม่พอ แกรีบทั้งกลางวันกลางคืนทีเดียว นี้สมาธิของแกก็มั่นคง ผิดกับบุคคลธรรมดา ถ้าแก เจริญทางปัญญาล่ะ แกก็โชติช่วงทีเดียว คนอื่นไม่อาจที่จะเข้าถึง เพราะแกคำนึงถึงความเสื่อมของอัตภาพร่างกายของแกอยู่เสมอ แกทำปัญญาได้รุ่งเรืองเจริญดี แกทำธรรมละก้อ เจริญดีทีเดียว เพราะแกนึกถึงความเสื่อม ทางโลกก็เจริญดีเหมือนกัน เพราะแกกระวีกระวาดจัดแจง ให้เรียบเสียในการเลี้ยงชีพ จะได้ทำความดียิ่งขึ้นกว่านั้นต่อไป เหตุนี้ความเสื่อมที่พระจอมไตรวางโอกาสไว้ให้เราท่านทั้งหลายนะ ตรึงใจไว้ในวันมาฆบูชา ที่พระจอมไตรทรงรับสั่งในเรื่องธรรม ในวันมาฆบูชาน่ะเป็นโอวาท ย่อย่นสกลพุทธศาสนาสำคัญนัก
    แต่วันนี้จะกล่าวในโอวาทสุดท้าย ที่เรียกว่า ปัจฉิมวาจา ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้เป็นนิเขปกถาว่า ภาสิตา โข ปน ภควตา ปรินิพฺพานสมเย อยํ ปจฺฉิมวาจา หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ. แปลเนื้อความว่า จริงอยู่ วาจาสุดท้ายนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับสั่งแล้วว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลาย เราเรียกท่านทั้งหลายเข้ามาสู่ที่เฝ้าเรานี้ว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ” นี่จำไว้อันนี้ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ สิ่งที่ได้เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ได้รู้แจ้งทางใจ เสื่อมไปเสมอ ไม่เหลือเลย อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ท่านจงถึงพร้อมด้วยความไม่เผลอไม่ประมาท ท่านจงถึงพร้อมด้วยความไม่เผลอในความเสื่อมไปนั้น ให้ตรึงไว้กับใจเสมอ นี้แหละเจอละ ทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เป็นหนทางหมดจดวิเศษทีเดียว นึกถึงความเสื่อมอันนั้น นึกถึงความเสื่อมได้เวลาไรละก้อ บุญกุศลยิ่งใหญ่เกิดกับตนเวลานั้น ให้นึกอย่างนี้ นี่เป็นข้อสำคัญ นี้เนื้อความของพระบาลีแปลเป็นสยามภาษาได้ความดังนี้
    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายเป็นลำดับไปว่า ความเสื่อมอันนี้แหละมีอยู่กับใครบ้าง หมด เราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต หญิงชาย เด็กเล็กผู้ใหญ่ไม่ว่า เสื่อมทีละนิดๆๆ เหมือนกับนาฬิกาเดิน เหมือนกันทุกคน ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติใดๆ ไม่เหลือเลย ในกำเนิดทั้ง ๔ สังเสทชะ อัณฑชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ
    อัณฑชะ สัตว์เกิดด้วยฟองไข่ ก็เสื่อมเหมือนกัน สังเสทชะ สัตว์เกิดด้วยเหงื่อไคล ก็เหมือนกัน ชลาพุชะ เกิดขึ้นอาศัยน้ำเป็นแดนเกิด ก็เสื่อมเหมือนกัน โอปปาติกะ จะลอยขึ้นบังเกิด บังเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ เปรต นรก อสุรกาย เหล่านี้ หรือว่าเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานก็เสื่อม เกิดเป็นกายทิพย์ ภุมมเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดา จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ก็มีเสื่อมอีกเหมือนกัน เสื่อมทีละนิดๆ ไปตามหน้าที่ พอหมดหน้าที่ก็แตกกายทำลายขันธ์ เสื่อมอย่างนี้เหมือนกันหมด หรือไปเกิดในชั้นพรหม ทั้ง ๑๖ ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิต มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา อสัญญี เวหัปผลา ก็เสื่อมเหมือนกัน แบบเดียวกัน ไม่คลาดเคลื่อน อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา ในปัญจสุทธาวาส ก็เสื่อมเหมือนกัน หรืออรูปพรหมทั้ง ๔ อากาสานัญจายตนภพ วิญญาณัญจายตนภพ อากิญจัญญายตนภพ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ก็มีความเสื่อมดุจเดียวกัน
    เมื่อมีความเสื่อมเช่นนี้นะ พระพุทธองค์ประสงค์อะไร จะต้อนพวกเราให้พ้นจากความเสื่อมเหล่านี้ ให้ออกจากภพไปเสีย ให้เข้าถึงธรรมกายไปนิพพาน ต้องการอย่างนั้นหนา ไม่ใช่ต้องการท่าอื่นหนา จะต้อนพวกเรา จะขับจูงพวกเรา จะเหนี่ยวรั้งพวกเราพ้นจากไตรวัฏ กรรมวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ให้ขึ้นจาก วัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารน่ะคือ กรรมวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารนี้ จะให้ขึ้นจากภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ พ้นจากภพทั้ง ๓ ไป ให้มีนิพพานมีที่ไปในเบื้องหน้า ประสงค์อย่างนั้นจึงได้ทรงรับสั่ง เช่นนี้ ให้เราไม่เผลอในความเสื่อมนั้น ถ้าไม่เผลอในความเสื่อมนั้น ทำอะไรเป็นได้ผลหมด เป็นภิกษุสามเณรทำอะไรเป็นได้ผลหมด เล่าเรียนก็สำเร็จ คันถธุระก็สำเร็จ วิปัสสนาก็สำเร็จ ไม่ท้อถอยกันละ ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกาทำนาก็รวยกันยกใหญ่ ทำสวนก็รวยกันยกใหญ่ ทำไร่ก็ร่ำรวยกันยกใหญ่ เป็นคนไม่เกียจคร้านทีเดียว ถ้าว่ารับราชการงานเดือนก็เอาดีได้ทีเดียว หรือไม่ว่าทำหน้าที่อันใดเป็นเอาดีได้ทั้งนั้น รุ่งเรืองเจริญด้วยกันทั้งนั้น เพราะแกไม่เผลอ แกระวังตัวอยู่เสมอเช่นนี้ แล้วก็ทางชั่วแกไม่ทำทีเดียว แกกลัวมันตามไปลงโทษแก แกไม่ยอมเด็ดขาดทีเดียว แกเห็นความเสื่อมอยู่เสมอดังนี้ ให้เห็นอยู่อย่างนี้แหละจึงจะเอาตัวรอดได้ ถ้าไม่เห็นอย่างนี้เอาตัวรอดไม่ได้ ต้องเห็นความเสื่อมอยู่เช่นนี้
    เมื่อเห็นความเสื่อมดังนี้แล้ว ท่านอุปมาอุปไมยไว้หลายนัยหลายประการ อุปมาอุปไมยไว้ว่า ภาสิตํ อิทํ ภควตา คำอันนี้พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งแล้วว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยานิ กานิจิ ชงฺคลานํ ปาณานํ ปทชาตานิ สพฺพานิ ตานิ หตฺถิปเท สโมธานํ คจฺฉนฺติ หตฺถิปทํ เตสํ อคฺคมกฺขายติ แปลเนื้อความว่า ปทชาติทั้งหลาย รอยเท้าสัตว์ทั้งหลายทั้งหมดในชมพูทวีป ปทชาตานิ น่ะ เขาแปลว่า ปทชาติทั้งหลาย ทับศัพท์ ถ้าว่าจะขยาย [ความ] รอยเท้าสัตว์หมดทั้งชมพูทวีป ไม่เหลือเลย ปทชาติทั้งหลายของสัตว์ที่ไปด้วยแข้ง ยานิ กานิจิ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง สพฺพานิ ตานิ ปทชาติทั้งหลายเหล่านั้นทั้งสิ้น คจฺฉนฺติ ย่อมถึง สโมธานํ ซึ่งการประชุมลง หตฺถิปเท ในรอยเท้าแห่งช้าง แปลเนื้อความออกไปดังนี้ หตฺถิปทํ อันว่ารอยเท้าแห่งช้าง เตสํ อคฺคมกฺขายติ อันบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าประเสริฐกว่าปทชาติทั้งหลายเหล่านั้น เรียกว่ารอยเท้าช้างเป็นใหญ่กว่ารอยสัตว์อื่นทั้งหมด เลิศกว่ารอยสัตว์ทั้งหมด เสยฺยถาปิ แม้ฉันใด ยทิทํ มหนฺตตฺเตน นี้อะไร เพราะรอยเท้าของช้างนั้นเป็นวิปทชาติใหญ่
    เอวเมว โข ภิกฺขเว เย เกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อปฺปมาทมูลกา อปฺปมาทสโมสรณา อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายติ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นกุศลเหล่าใด สพฺเพ เต ธรรมเป็นกุศลทั้งสิ้น อปฺปมาทมูลกา มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า เป็นโคน รากทีเดียว มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า อปฺปมาทสโมสรณา ประชุมลงด้วยความไม่ประมาท อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายติ ความไม่ประมาทบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ ตสฺมา ติหมฺเหหิ สิกฺขิตพฺพํ เพราะเหตุนั้นเราควรศึกษา ติพฺพาเปกฺขา ภวิสฺสามิ เราจักเป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญ เราจะเป็นผู้บากบั่นตรากตรำ เราจะเป็นผู้บากบั่นมั่นคง จะเป็นผู้ดำรง อยู่ด้วยความไม่ประมาท ในอันสมาทานซึ่งอธิศีล ในอันสมาทานซึ่งอธิจิต ในอันสมาทานซึ่ง อธิปัญญา นี้ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ๓ ข้อนี้เป็นข้อที่คาดคั้นนัก ความประมาทหรือความ ไม่ประมาท ๒ อันนี้เป็นข้ออันสำคัญ ความประมาททำให้เสื่อมเสีย ความไม่ประมาทไม่ทำให้เสื่อมเสีย ธรรมของพระบรมศาสดาจบพระไตรปิฎกมีความไม่ประมาทนี่แหละเป็นต้นเค้า ที่จะดำเนินถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระบรมศาสดา ที่จะพลาดพลั้งไม่ถูกต้องร่องรอย ความประสงค์ของพระบรมศาสดาก็เพราะความประมาท นี่เป็นข้อสำคัญนัก
    ความประมาทน่ะคือเผลอไป ความไม่ประมาทน่ะคือความไม่เผลอ ไม่เผลอล่ะ ใจจด ใจจ่อทีเดียว นั่น อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา นี่เรียกว่าผู้ไม่ประมาท ท่านจึงได้อุปมาไว้ ไม่ประมาท ไม่เผลอด้วยอะไร ไม่ประมาทไม่เผลอในความเสื่อมไปในข้างต้น ในปัจฉิมวาจา ไม่ประมาท ไม่เผลอ ในความเสื่อมไป นึกถึงความเสื่อมอยู่เสมอ ให้เจอความเสื่อมไว้เสมอ นึกหนักเข้าๆ แล้วใจหาย เอ๊ะนี่เรามาคนเดียวหรือ เอ๊ะนี่เราก็ตายคนเดียวซิ บุรพชนต้นตระกูลของเราไปไหนหมดล่ะ อ้าวตายหมด เราล่ะ ก็ตายแบบเดียวกัน ตกใจล่ะคราวนี้ ทำชั่วก็เลิกละทันที รีบทำความดีโดยกะทันหันทีเดียว เพราะไปเห็นอ้ายความเสื่อมเข้า ถ้าไม่เห็นความเสื่อมละก้อ กล้าหาญนัก ทำชั่วก็ได้ ด่าว่าผู้หลักผู้ใหญ่ได้ตามชอบใจ ถ้าเห็นความเสื่อมเข้าแล้ว กราบผู้ใหญ่ปะหลกๆๆ ทีเดียว เพราะเหตุอะไรล่ะ เพราะเห็นความเสื่อมเข้า มันไม่ประมาท ถ้าว่าประมาท เข้าก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้นสำคัญนัก ความประมาท
    ความประมาทน่ะ คืออะไรทำให้ประมาทล่ะ สุราซิ ความเมาซิ ทำให้ประมาท ความเมานั่นแหละ ถ้าว่าไปขลุกขลุ่ยกับมันนัก ไปคุ้นเคยกับมันหนักเข้าละก้อ มันทำให้เสียคนนะ ไม่รู้จักพ่อไม่รู้จักแม่พี่ป้าน้าอาปู่ย่าตายาย ว่าต่ำๆ สูงๆ นี่เพราะมันเมา อ้ายเมาสุราน่ะมีเวลาสร่างนะ อ้ายเมาอีกอย่างหนึ่งล่ะ อ้ายนั่นเมาสำคัญ เขาเรียกว่าเมามัน ถ้าว่าช้างก็เรียกว่า เมามัน อ้ายเมามันนี่สำคัญนัก อ้ายเมามันนี่ไม่ได้ พ่อแม่เลี้ยงลูกหญิงลูกชายมาน่ะ ถ้าเมามันขึ้นมาแล้วก็ไม่ได้ละ แม้ว่าเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นแหละ หญิงก็ลงจมูกฟิดทีเดียว ชายก็ลงจมูกฟิด ลงจมูกฟิดแล้วก็ไปแล้ว เหนี่ยวไม่อยู่รั้งไม่อยู่ พ่อแม่ก็รั้งไม่อยู่ไปเสียแล้ว นั่นแน่ มันเมาขึ้นมาแล้วอย่างไรล่ะ อ้ายนั่นสำคัญ อ้ายนั่นประมาท นี่เป็นเหตุประมาทสำคัญ อ้ายเมามันนั่นแหละประมาท ถ้าว่าช้างเรียกว่ากลัดมัน ไม่กลัวใครจะอ้ายนั่น ไม่กลัวใคร นั่นแน่ ในคุกตะรางเมามันทั้งนั้น ไปอยู่โน่น ถ้าเมามันละก้อ ประมาทยกใหญ่ ถ้าเมาสุราก็ประมาทยกใหญ่ ถ้าว่าเมามันด้วย เมาสุราด้วย ๒ อย่างละก้อ เสียยกใหญ่ทีเดียว ประมาท ตั้งอยู่ในประมาทแท้ๆ ทีเดียว นี่ความประมาท ไม่ประมาทมันอยู่อย่างนี้นะ ให้เลิกเมามันเสีย ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
    รอยเท้าของสัตว์หมดทั้งสากล จะเป็น ๔ เท้า ๒ เท้าไม่เข้าใจ ต้องประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างน่ะเป็นของใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์อื่นหมดทั้งสิ้น ฉันใดก็ดี ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลที่ดีน่ะ หมดทั้งสกลพุทธศาสนา หมดทั้งพระไตรปิฎกทั้งหลายที่เป็นกุศลนั่น ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูลราก นั่นแน่ อปฺปมาทมูลกา มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า มีความไม่ประมาทเป็นมูลราก อุปฺปมาทสโมสรณา ประชุมลงในความไม่ประมาท เหมือนรอยเท้าสัตว์อื่นประชุมลงในรอยเท้าช้าง ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมดประชุมอยู่ในความไม่ประมาททั้งนั้น นี้หลักพระพุทธศาสนาอยู่ตรงนี้ ไม่ให้ประมาท เมื่อไม่ประมาท ความดีมีเท่าไรในพระพุทธศาสนา ในธาตุในธรรม ย่อมประชุมลงในความไม่ประมาท คนไม่ประมาท ผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทแล้ว คนมีธรรมควรไหว้ควรเคารพควรนับถือทีเดียว คนมีธรรม คนตั้งอยู่ในธรรม นี้แล ความไม่ประมาทนี้นักปราชญ์สรรเสริญนัก อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายติ ว่าเลิศประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลายแล้ว กล่าวไว้อีกหลายนัย อปฺปมาทรโต วิโรจติ ผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทย่อมรุ่งโรจน์ทีเดียว เป็นของไม่ใช่พอดีพอร้าย เพราะฉะนั้นความประมาทและไม่ประมาทนี้ นักปราชญ์ทั้งหลายสรรเสริญความไม่ประมาทว่าเป็นธรรมของนักปราชญ์ บัณฑิตชาติทั้งหลายดำเนินอยู่เนืองนิตย์อัตรา ความประมาทนักปราชญ์ทั้งหลายติเตียนว่า เป็นทางไปของคนเมา ของคนไม่มีสติ ของคนพลั้งเผลอ ของคนพาล ไม่ใช่ทางไปของบัณฑิต ความไม่ประมาทเป็นทางไปของบัณฑิตแท้ๆ
    ใครเป็นคนไม่ประมาทในสากลโลก เมื่อครั้งพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ พระบรมศาสดาเป็นผู้ไม่ประมาท พระอรหันต์ทั้งหลายที่ได้บรรลุอรหัตแล้วเป็นผู้ไม่ประมาท ก็ได้แก่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์น่ะซิเป็นผู้ไม่ประมาท นั่นอย่างสูงอย่างเด็ดขาด ไม่ประมาทแท้ๆ ถ้าจะลดส่วนกว่านั้นลงไป พระอนาคาก็ไม่ประมาทตามส่วนของท่านทั้งมรรคทั้งผล พระสกทาคาก็ไม่ประมาทตามส่วนของท่านทั้งมรรคทั้งผล พระโสดาก็ไม่ประมาทตามส่วนของท่านทั้งมรรคทั้งผล โคตรภูบุคคลที่มีธรรมกายแล้วก็ไม่ประมาทเหมือนกัน มีความประมาทน้อย ความไม่ประมาทมีมาก ถ้าปุถุชนแท้ๆ ละก้อ น้อยคนจึงจะมีความไม่ประมาทมาก มีความประมาทมากโดยมาก มีความประมาทน้อยโดยน้อย นี้ความจริงเป็นเช่นนี้ เมื่อรู้จักความจริงเช่นนี้แล้ว สิ่งที่ดีที่หายาก ถ้าว่าเราตั้งอยู่ได้ในความไม่ประมาท คอยนึกถึงความเสื่อมไป มีอารมณ์อยู่ ไม่ใช่ไม่มีอารมณ์ ว่าตั้งใจว่าเรานึกถึงความเสื่อมนี้ว่า ตั้งแต่นี้ไปเมื่อรู้ เมื่อเข้าใจแล้ว จะนึกถึงความเสื่อมในสกลร่างกายนี้ไม่ขาดอยู่ จะเอาใจจรดอยู่ที่ความเสื่อมนั่นแหละ เราจะนึกถึงความเสื่อมของตน นึกถึงความเสื่อมบุคคลผู้อื่น เมื่อลืมตาขึ้นเห็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา แน่ะความเสื่อมมันแสดงให้ดู นั่นแปรผันไปถึงแค่นั้น แล้วมันก็แปรผันไปถึงแค่นั้น ประเดี๋ยวก็ตายให้ดู แน่ะทำให้ดูแล้ว ได้ยินเสียงพระสวดก็ดี เห็นโลงก็ดี แน่ะเป็นอย่างนี้แหละ หมดทั้งสากลโลก เราก็เป็นอย่างนี้ เพราะเหตุฉะนั้นเมื่อบุคคลไม่เผลอในความเสื่อมเช่นนี้ ไม่พลั้งไม่เผลอละก้อนั่นแหละ ผู้นั้นแหละได้ชื่อว่า ได้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พระจอมปราชญ์สรรเสริญนัก
    ถ้าแม้ว่าจะเป็นภิกษุหรือสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ทั้งหญิงชาย คฤหัสถ์ บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า ถ้าผู้ที่มีใจจรดอยู่ในความเสื่อมไม่พลั้งเผลอละก้อ เป็นเจอซึ่งสมบัติในภพนี้ ต่อไปภายหน้า สมบัติในภพนี้ก็เป็นคนมั่งมีทีเดียว สมบัติในภายหน้าก็จะไม่เลินเล่อเผลอตัวทีเดียว เหมือนอย่างกับเราท่านทั้งหลายเป็นนักบวชเหล่านี้ เป็นอุบาสกอุบาสิกาเหล่านี้ นี่ก็เพราะอาศัยเราเห็นว่ามีความเสื่อม เห็นมีความเสื่อมอย่างไร ก็เราเห็นนี่ เราเกิดมาถึงแค่นี้แล้ว เราต้องตายแน่ นั่นแน่มันไปเห็นอ้ายต้องตายแน่นั้น นั่นไปเห็นความเสื่อมแล้วนี่ นี้จึงได้แสวงหาธรรมในพุทธศาสนา แสวงหาบุญกุศลน่ะ รู้จะต้องละโลกนี้แล้วไปสู่ปรโลกเบื้องหน้า แสวงหาสิ่งที่เป็นที่พึ่งของตน นี่เพราะเห็นความเสื่อมเข้าแล้วนี่ ถ้าไม่เห็นความเสื่อม มันจะอย่างนี้อย่างไรเล่า เพราะมันเห็นความเสื่อมเข้าแล้ว ความเสื่อมอันนี้แหละ เมื่อเช่นนั้นแล้ว ให้อุตส่าห์มั่นคงอยู่ในอธิศีล ให้อุตส่าห์มั่นคงอยู่ในอธิจิต ให้อุตส่าห์มั่นคงอยู่ในอธิปัญญา
    อธิศีลเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน นี่ตรงนี้เราต้องเข้าใจ วัดปากน้ำทั้งหญิงและชาย ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เขาเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นพื้นเชียวมีมากนัก ตั้ง ๑๐๐ ที่เราบริสุทธิ์กายบริสุทธิ์วาจาน่ะ นั่นเป็นแค่ศีลนะ ศีลบริสุทธิ์เป็นแต่ศีลบริสุทธิ์ เราบริสุทธิ์เจตนานั่นก็เป็นแต่เจตนาศีลน่ะ เราบริสุทธิ์กายบริสุทธิ์วาจาเป็นสังวรศีล สำรวมระวังไว้ เราบริสุทธิ์เจตนาคิดอ่านทางใจ เป็นเจตนาศีลนะ ไม่ใช่อธิศีลหรอก ยังไม่ถึงอธิศีล ถ้าถึงอธิศีลแล้วละก็ เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำ ให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ เหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ กลมอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ถ้าเห็นศีลดวงนั้นเข้าแล้วละก็ นั่นแหละเขาเรียกว่า อธิศีล
    เมื่อไปรู้จักอธิศีลแล้วละก็ อธิจิตก็อยู่ในกลางอธิศีลนั่นแหละ ดวงเท่าๆ กับอธิศีล ที่กายวาจาเราสงบดีก็เพราะอาศัยจากใจของเราเจตนาสงบดี นั่นเป็นสมาธิ เป็นสมาธิแต่ภายนอก ไม่ใช่สมาธิสำคัญ เมื่อเข้าถึงอธิจิตอยู่ในกลางของศีลนั่นดวงเท่าๆ กัน ดวงเท่ากับดวงศีล อยู่ในกลางดวงของศีลนั่น เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ถ้าเข้าถึงอธิจิตเช่นนั้นละก็ ได้ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคงละ ไม่โยกคลอนไปตามใครละ เข้าถึงอธิจิตเสียแล้ว
    ยังไม่ลึกซึ้งเท่าอธิปัญญา อธิปัญญาสูงกว่านั้น เราอุตส่าห์พยายามให้เข้าถึงอธิปัญญา แม้จะเฉลียวฉลาดในกายวาจาสักเท่าหนึ่งเท่าใดเรียกว่าฉลาด อ้ายนั่นก็ปัญญาภายนอก เจตนาคล่องแคล่วอย่างหนึ่งอย่างใด ก็เรียกว่าความฉลาดของปัญญาเป็นภายนอก เข้าถึงปัญญาอยู่ ในกลางดวงของศีลนั่นแหละ ใสยิ่งกว่าใสขึ้นไป สะอาดยิ่งกว่าสะอาดขึ้นไป เท่าๆ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน เมื่อเข้าถึงดวงปัญญาเช่นนั้นละก็ นั่นแหละทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เข้าไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ เข้าไปในทางอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา นั่นแหละ เมื่อเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แล้วละก็ ก็จะเข้าถึงธรรมกายเป็นลำดับไป เมื่อเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ละก็ ไม่พ้นละ ต้องเข้าถึงธรรมกายแน่ เป็นทางไปของ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์จริงๆ แท้ๆ เมื่อรู้จักแน่เช่นนี้ละก็ จะไปนรกกันได้อย่างไร ไม่ไปแน่นอน ถ้าทำหนักเข้า ปฏิบัติหนักเข้า ก็จะเป็นลำดับไป มรรคผลต้องอยู่กับเราแน่ ต้องออกจากวัฏฏะทั้ง ๓ แน่ๆ คือ กิเลสวัฏ กัมมวัฏ วิปากวัฏ ต้องออกจากภพ ๓ แน่ๆ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่ต้องอาศัย มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
    ทีนี้ นิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้าน่ะลึกซึ้ง ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย เมื่อรู้จักอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาแล้ว ก็จะเข้าถึงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ถึงกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ก็แบบเดียวกันอย่างนี้แหละ เข้าไปในกลางกายมนุษย์ละเอียด กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะเข้าถึงกายทิพย์ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะถึงกายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหม ละเอียด พอเข้าถึงเช่นนั้นแล้ว จะเข้าถึงกายธรรมด้วยอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะเข้าถึงกายธรรมที่เป็นโคตรภู กายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรม พระโสดา-โสดาละเอียด กายธรรมพระสกทาคา-สกทาคาละเอียด กายธรรมอนาคา-อนาคาละเอียด กายธรรมอรหัต-อรหัตละเอียด ที่จะถึงอรหัตตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้เช่นนี้ ต้องอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาหนา ถ้าไม่อาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไปไม่ได้ ตำรับตำราก็ได้กล่าวไว้ วางเป็นเนติแบบแผนว่า ทางปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา ทางอื่นไม่มีหรอก นอกจากทางศีล สมาธิ ปัญญา วินัยปิฎกทั้งปิฎก เมื่อย่อลงไปแล้วก็คือศีลนั่น ถ้าเข้าถึงอธิศีล แล้วละก็ ตัววินัยปิฎกทีเดียว ถึงโคนรากวินัยปิฎกทีเดียว ถ้าเข้าถึงอธิจิต เข้าโคนรากของสุตตันตปิฎกทีเดียว ถ้าเข้าถึงอธิปัญญา เข้าโคนรากของปรมัตถปิฎกทีเดียว นี่เป็นตัวสำคัญอย่างนี้
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ วันนี้เราได้ฟังเทศนา ให้ตรงใจไว้ว่าเราจะเอาใจจรดอยู่ในความเสื่อม ตามปัจฉิมวาจาที่พระองค์ทรงรับสั่งว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ ทรงรับสั่งแล้วหับพระโอษฐ์ ไม่รับสั่งต่อไป เราก็นึกถึงตัวเราเสื่อมไปเสมอไม่หยุดไม่ยั้งเลย หมดทั้งสากลโลก เสื่อมไปเสมอ นี่แบบเดียวกัน นี่ต้องหยุดอย่างนี้ไม่เผลอหนา เมื่อตรึกเช่นนี้แล้วละก็ ตั้งอยู่ในความไม่ประมาททีเดียว ข้อที่สองไม่พลั้งไม่เผลอไม่ประมาท เมื่อรู้ว่าเสื่อมเช่นนี้แล้วละก็ เราจะไปทางไหน ไปทางอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไปทางโน้น ต้องเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ให้ได้ ถ้าเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่ได้ ต้องรีบเร่งค้นคว้าหาอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เหมือนอย่างบุคคลที่มีกระเช้าไฟหรือเตาอั้งโล่ตั้งอยู่บนศีรษะ มันร้อนทนไม่ไหว ต้องรีบหาน้ำดับ หรือเอาทิ้งเสียให้ได้นั้นฉันใดก็ดี ต้องให้เจอในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถ้าไม่เจอ ต้องรีบเร่งขวนขวายทีเดียว จึงจะเอาตัวรอดได้ ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...