ทำยังไงดี?หากโลกนี้ไม่มีความปลอดภัย?

ในห้อง 'ทุกข์และปัญหาชีวิต' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 23 เมษายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    ทำยังไงดี? หากโลกนี้ ไม่มีความปลอดภัย?

    คอลัมน์ ร่อนตามลม

    raikorn@hotmail.com



    [​IMG]

    ข่าวสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย เทค ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว มีนักจิตวิทยาในสหรัฐอเมริกาได้ออกมาให้ความเห็นว่า เหตุการณ์สะเทือนขวัญครั้งนี้ ซึ่งถือได้ว่า เป็นการสังหารหมู่ครั้งรุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในสถาบันศึกษาของสหรัฐอเมริกา โดยทำให้มีนักศึกษา รวมทั้งอาจารย์เสียชีวิตถึง 32 คน ก่อนที่ นายโช ซึง ฮุย มือปืน ซึ่งเป็นนักศึกษาเกาหลีใต้วัย 23 ปี และเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เอกวิชาภาษาอังกฤษ ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จะยิงตัวตายว่า สามารถส่งผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้างกว่าที่หลายคนคิด

    ทั้งยังอาจกลายเป็น "บาดแผลทางใจ" ที่อาจทำให้ใครบางคนรู้สึกหวาดผวาไปตลอดชีวิตเลยก็ได้ ทั้งนี้เพราะ นี่เป็นเหตุการณ์รุนแรงอีกครั้งหนึ่ง ที่ยิ่ง "ตอกย้ำ" ให้ผู้คนรู้สึกว่า โลกเราทุกวันนี้ ไม่มีความปลอดภัย และไม่ใช่แค่ ครอบครัว ญาติพี่น้องของเหยื่อกระสุนนายโชเท่านั้นที่จะเศร้าโศกเสียใจ และหวาดผวา

    แต่แม้กระทั่ง ผู้คนที่นั่งติดตามข่าวนี้หน้าจอทีวี ต่างก็ได้รับผลกระทบนี้ไปตามๆ กัน โดยเฉพาะ ความรู้สึกถึง "ความไม่ปลอดภัยในชีวิต" จากเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไหนจะอันตรายจากภัยก่อการร้าย แล้วยังเหตุการณ์รุนแรงเหนือความคาดหมาย ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ไม่รู้ อย่างเช่น เหตุการณ์สังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย เทค เป็นต้น
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    "เหตุผลหนึ่ง ที่ฉันบอกว่า เหตุการณ์ทำนองนี้สามารถส่งผลกระทบต่อผู้คนวงกว้างมากๆ ก็เพราะ มันทำให้คนหมดความเชื่อมั่นว่า โลกนี้ยังมีความปลอดภัย คุณลองคิดดูสิว่า ที่พ่อแม่ยอมให้ลูกๆ ไปโรงเรียน ก็เพราะเชื่อว่า นี่เป็นสถานที่ปลอดภัย แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงแบบนี้ หลายครั้งเข้า มันก็สั่นคลอนความรู้สึกของคนเราได้มากเอาการ" เมลิสสา บีร์เมอร์ ผู้อำนวยการศูนย์ UCLA-Duke National Center for Child Traumatic Stress ของมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ ผู้เชี่ยวชาญดูแลรักษาเด็กที่ได้รับผลกระทบ หรือเกิดอาการเครียด หวาดกลัว หลังจากผ่านเหตุการณ์ก่อการร้ายหรือเหตุการณ์รุนแรงอันน่าสะพรึงกลัวให้ความเห็น

    ทั้งยังว่า "ขณะที่เราพุ่งความสนใจไปที่คนตาย คนที่บาดเจ็บ แต่ที่จริงยังมีคนอีกกลุ่มใหญ่ ทั้งนักศึกษา และเจ้าหน้าที่ ครูอาจารย์ที่ต่างได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญครั้งนี้"

    ทั้งนี้ เมลิสสา ยังได้พูดถึงกลุ่มคนที่ "รอดตาย" จากกระสุนปืนของนายโชมาได้ว่า เป็นกลุ่มคนที่อาจได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะคนกลุ่มนี้จะต้องเผชิญกับความรู้สึกสับสนใหญ่ๆ 2 อย่าง นั่นก็คือ ความรู้สึกหมดความเชื่อมั่นว่า โลกนี้ยังมีความปลอดภัย แล้วยังอาจเกิดความรู้สึกผิดติดค้างอยู่ในใจว่า ทำไมตัวเองถึงรอดตายมาได้ ขณะที่เพื่อนๆ ต้องตายไป?

    แต่ที่ "น่ากลัว" กว่านั้นก็คือ สิ่งที่เมลิสสา บอกว่า คนที่รอดตายจากเหตุการณ์สยองขวัญแบบนี้ อาจจะต้องต่อสู้กับความรู้สึกหวาดผวาไปตลอดชีวิต โดยเธอได้ยกตัวอย่างถึง เด็กหลายคนที่เคยผ่านเหตุการณ์น่ากลัวแบบนี้ว่า ทุกวันนี้แค่ได้ยินถุงพลาสติคแตก เด็กเหล่านั้นก็ยังสะดุ้งตกใจ เพราะคิดไปว่า เป็นเสียงกระสุนปืน!!!

    นอกจากนั้นเธอยังเล่าว่า ข่าวสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย เทค ทำให้เธอได้รับโทรศัพท์จากอดีตคนไข้ของเธอหลายคนที่เคยได้รับบาดเจ็บมาจากเหตุการณ์ยิงกันที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในรัฐแคลิฟอร์เนียกว่า 6 ปีมาแล้ว ที่เกิดความกลัว รู้สึกไม่สบายใจ จนต้องโทร.มาขอคำปรึกษาจากเธออีกครั้ง!!!

    ขณะที่นักจิตวิทยาบอกว่า ในห้วงเวลาอันยากลำบากที่ครอบครัวของเหยื่อผู้เสียชีวิต จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ เพื่อรับมือกับความโศกเศร้าจากการสูญเสีย ส่วนคนที่รอดตายจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญแบบนี้มาได้ก็ต้องต่อสู้ เพื่อจะกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติให้เร็วที่สุด และส่วนใหญ่ประมาณ 70-80% ก็จะสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งสามารถทำงาน และกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ด้วยวิธีรักษาทางจิตวิทยาที่ใช้กันทั่วไป โดยพยายามทำให้คนไข้กลับมาเชื่อมั่นว่า เขาอยู่ในที่ปลอดภัย และเหตุการณ์เลวร้ายแบบนั้นจะไม่เกิดขึ้นอีก

    แต่ นายดัก แซตซิค อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ก็บอกว่า ทุกวันนี้ยังมีคนไข้บางคน ที่ใช้วิธีรักษาแบบนั้นไม่ได้ผล ทำให้วงการจิตวิทยากำลังทดลองหาวิธีรักษาแบบใหม่ๆ อย่างเช่น นำหลักการทำสมาธิ อาทิเทคนิคการฝึกสูดลมหายใจยาวๆ มาใช้ด้วย หรือการบอกให้คนไข้ยอมรับสถานการณ์ในปัจจุบันว่า ภัยอันตรายมันมีอยู่จริงๆ นั่นแหละ แต่ถึงยังไงคนเราก็จะต้องฟันฝ่าไปให้ได้

    อย่างไรก็ตาม โรบิน เกอร์วิทช์ นักจิตวิทยาอีกท่าน ก็ได้พูดถึง "ด้านบวก" ที่ผู้คนควรจะฉวยโอกาสพลิกเรื่องร้ายๆ อย่างนี้ให้เป็นโอกาส อย่างเช่น "ผมว่านี่เป็นช่วงเวลาเหมาะที่ครอบครัวน่าจะได้หันหน้ามาคุยกัน พ่อแม่น่าจะได้พูดคุยกับลูกๆ ว่า พวกเขารู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ได้ฟังมา และคิดว่ายังไง เพราะเป็นสิ่งสำคัญมากที่เด็กๆ ควรรู้สึกมั่นใจว่า พวกเขาสามารถพูดคุยเรื่องความปลอดภัยกับพ่อแม่ได้ ขณะที่โรงเรียนก็ควรใช้โอกาสนี้มาทบทวนมาตรการรักษาความปลอดภัยของโรงเรียนว่ามีอะไรต้องแก้ไข ปรับปรุง และที่ขาดไม่ได้ก็คือ การพูดคุยกับนักเรียนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยดึงให้นักเรียนกลับสู่สภาพการใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วที่สุด"

    -------------------
    ที่มา:มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01lad01230450&day=2007/04/23&sectionid=0115
     
  2. ดาราจักร

    ดาราจักร ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,707
    ค่าพลัง:
    +10,091
    ขั้นตอนของความไม่ประมาท

    1 ทำใจ ยอมรับความจริง ชีวิตยังไงก็ต้องเป็นทุกข์ และ กรรม

    2 รักษาศีล 5 ครับ

    3 ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ คือ สมาธิ

    4 พิจารณา ให้เห็นจริง ว่า ที่สุดของชีวิตคืออะไร

    ธัมโมหเว รักขติ ธัมมจาริง ธรรมจักพิทักษ์จริง สำหรับผู้ประพฤติธรรม

    อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...