ถามครับนิพพานคืออะไรกันแน่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 26 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    ถามครับนิพพานคืออะไรกันแน่

    คือ "สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม" เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
    คือ "สันทิฎฐิโก" เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฎิบัติ จะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
    คือ "อะกาลิโก" เป็นสิ่งที่ปฎิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
    คือ "เอหิปัสสิโก" เป็นสิ่งที่ควรกลาวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
    คือ "โอปะนะยิโก" เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
    คือ "ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ" เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน

    นิพพาน ก็คือ พระธรรม นั้นแล.

    เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

    เจริญในรสธรรม
     
  2. ท่ามกลาง

    ท่ามกลาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +27
    นิพพาน โดยศัพท์แล้วแปลว่า ดับ(นิโรธ) คือ ดับจากตัณหา

    นิพพาน อาจแปลว่า ว่าง คือ ว่างจากความเป็นตัวตน ว่างจากโมหะความหลงที่เข้าใจเอาเองว่ากายและจิตเป็นเรา เป็นของเรา เป็นอัตตาตัวตนของเรา

    นิพพาน คือ ความไม่ยึดติดในสรรพสิ่งทั้งหลาย (ว่าเป็นเรา เป็นของเรา)

    ธรรมะที่เกี่ยวข้อง: นิพพานไม่ใช่อะไร
    ธรรมะที่เกี่ยวข้อง: นิพพานอยู่แล้ว

    เจริญพร
    พระต่อศักดิ์ วชิรญาโณ
    วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย 42190
    www.rombodhidharma.com
     
  3. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ทำไม พระอรหันต์จึงพูดถึงนิพพานไม่เหมือนกัน

    เพราะ
    พระอรหันต์แบ่งตามคุณวิเศษ ได้ 4 ประเภท ดังนั้น จึงมีการสอน ตามรูปแบบ ที่ตนได้เห็น หรือตามคุณวิเศษ ของตนนั้นเอง และพระอรหันต์ แบ่งได้ 3 รูปแบบอีกด้วย ดังนี้

    1 แบ่งตามวิธีการในการพัฒนาตน
    พระอรหันต์ 2 แบบคือ
    1.พระวิปัสสนยานิก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วได้ฌานในภายหลัง
    2.พระสมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นญาณ ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อ

    2 แบ่งตามคุณวิเศษ
    พระอรหันต์ 4 แบบ คือ

    1.พระสุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใดๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้น<WBR>ไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิ<WBR>ปัสสนาเพียงอย่างเดียว
    2.พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา 3 คือบุพเพนิวาสานุสสติญาณ (รู้ระลึกชาติได้) จุตูปปาตญาณ (รู้จุติและอุบัติของสัตว์ท<WBR>ั้งหลาย)อันเป็นที่เกิดจากก<WBR>ารเข้าใจในกฎแห่งกรรมอย่างแ<WBR>ท้จริงจึงรู้เหตุการณ์ที่จะ<WBR>เป็นไปได้ทั้งสิ้น อาสวักขยญาณ (รู้ทำอาสวะให้สิ้น) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิ<WBR>ปัสสนา และถือวัตรธุดงค์
    3.พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา 6 คือทิพฺพจักขุ ตาทิพย์ (คือฤทธิที่สามารถหยั่งรู้เ<WBR>หตุการณ์ใกล้ไกลได้ มีพระอนุรุทธะ เป็นเอกทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้า<WBR>นการมีตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นโลกใบนี้ ราวกับ มองเม็ดมะขามป้อมบนฝ่ามือ) ทิพยโสต หูทิพย์อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ (โดยเฉพาะมโนมยิทธิการแยกร่<WBR>างและจิต เป็นฤทธิที่แสดงได้เฉพาะพระ<WBR>อรหันต์ประเภทฉฬภิญโญเท่านั<WBR>้น ) เจโตปริยญาณ (ทายใจผู้อื่นได้) บุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้ ) และอาสวักขยะญาณ (ญานที่ทำให้อาสวะสิ้นไป) อานิสงค์จากการปฏิบัติวิปัส<WBR>สนาและเจริญสมาธิจนได้ฌานสม<WBR>าปัตติ
    4.พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4) คือแตกฉานในความรู้อันยิ่ง 4 ประการ ได้แก่ อัตถปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในอรรถ ธัมมะปฏิสัมภิทาความแตกฉานใ<WBR>นธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทาความแตกฉา<WBR>นในภาษา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณไหวพริบ
    อานิสงค์จากการปฏิบัติวิปัส<WBR>สนา และเล่าเรียน ตรึกตรอง ทรงจำและแสดง ซึ่งพระธรรมวินัยที่พระศาสด<WBR>าทรงตรัสสอน (ไตรปิฎก) ซึ่ง
    1.การเล่าเรียนธรรมอานิสงค์<WBR>ได้ธรรมปฏิสัมภิทา รู้จริงในเหตุของสรรพสิ่งใน<WBR>ธรรมชาติ
    2.การตรึกตรองธรรม อานิสงค์ได้อัตถปฏิสัมภิทาร<WBR>ู้จริงในผลลัพที่ลึกซึ้ง
    3.การท่องทรงจำธรรม อานิสงค์ได้นิรุตติปฏิสัมภิ<WBR>ทา รู้จริงในภาษาต่างๆในโลก
    4.การเทศนาแสดงธรรม อานิสงค์ได้ปฏิภาณปฏิสัมภิท<WBR>า รู้จริงในการแก้ไขปัญหาเข้า<WBR>ใจในนิสัยสันดานของสัตว์โลก

    3 แบ่งตามคุณสมบัติเฉพาะตนพระ<WBR>อรหันต์ 5 แบบ คือ

    1.พระปัญญาวิมุต
    2.พระอุภโตภาควิมุต
    3.พระเตวิชชะ
    4.พระฉฬภิญญะ
    5.พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ
    พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมา<WBR>ยของพระอรหันต์ไว้ 5 นัย คือ

    1.ไกลจากกิเลส
    2.กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น
    3.เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด
    4.เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศ<WBR>ษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
    5.ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต<WBR>้องปิดบัง


    ส่วนนิพพานคืออะไรผมก็ไม่รู้ ส่วนคนที่รู้แล้วตอบท่านมา ท่านจะเชื่อเขาได้แค่ไหน เขาเห็นมาจริงหรือจินตนาการ หรือฟังๆกันมา แล้วเล่าต่อๆกัน ความเชื่อของแต่ละท่านก็จะเป็นไปตามความชอบ ความคิดเห็นเอนเอียงเข้าตัวเอง หรือจริตของตัวเอง งั้น มา ทำสูญญตาทาน ดีกว่าครับ
    วิธีการให้ สุญญตาทาน

    ขั้นที่ ๑ สละ มานะทิฐิ อย่างหยาบๆ เช่น ความดื้อรั้น ความจองหองพองขนที่ไม่ยอมใคร ทั้งๆที่ตัวผิด

    ขั้นที่ ๒ สละ ความเห็นว่ามีอะไรๆ เป็นของตัว ซึ่งเรียกว่า อัตตนียา กล่าวคือ ความเห็นแก่ตัว

    ขั้นที่ ๓ ก็ละ อัสมินามะ หรือ อัตตา คือตัวกูนั่นเอง สิ่งที่เรียกว่าอัตตานี้ เป็นแกนกลางของกิเลส ของความเห็นแก่ตัว หรือของความรู้สึกที่ผิดๆทั้งหลาย

    ถ้าสามารถละอัตตาหรือตัวกูเสียได้ มันก็นิพพาน เพราะนิพพาน คือความว่างจากตัวกู ว่างจากกิเลส ว่างจากทุกข์ ว่างจากความเวียนว่าย ว่างจากตัณหาอุปาทาน มันจึงเป็นความสงบสุขที่เยือกเย็น เวลาที่ใจของเราสงบ เพราะไม่ถูกปรุงแต่งด้วยอารมณ์เลย นั่นแหละเป็นตัวอย่างนิพพาน อย่างนี้เรียกว่า สุญญตาทาน

    ขั้นที่ ๔ ประการสุดท้าย คือ สละ นิพพาน ออกไปเสียอีกทีหนึ่ง ไม่ถือว่านิพพานเป็นของกู เป็นเพียงความว่างอย่างยิ่งของอารมณ์เท่านั้น

    จากท่านพุทธทาส ครับ
     
  4. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ขอบคุณครับที่ตอบผมพอเข้าใจมากขึ้น
     
  5. YOMI_NK

    YOMI_NK Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +91
    ถ้า โลกสวรรค์มี โลกมนุษย์มี ยมโลกมี พรหมโลกมี แล้วโลกนิพพานจะไม่มีรึ? ผมว่ามีในความเห็นของผมนะ

    อย่าคนบนสวรรค์แต่ละชั้นการดำรงอยู่ก็แตกต่างกัน พรหมโลกยังแบ่งระดับจิตเลย...แน่นอนคนที่ไปโลกนิพพานก็ต้องมีสภาวะจิตที่เป็นอรหัน ไม่มีราคะ ไม่มีโทษะ ไม่มีโมหะ...การดำรงอยู่ก็คงจะเกื้อกูลต่อสภาวะจิตเช่นนั้นแน่...แล้วจะเป็นโลกเช่นไรกันนะ?
     
  6. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    พระพุทธตรัสรู้ เรื่องทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และหนทางการดับทุกข์ ฉะนั้นนิพพานนั้นก็คือการไม่มีทุกข์หรือการหมดทุกข์นั้นเอง
     
  7. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    อรูปพรหมณ์ ละอวิชชายังไม่ได้บริบูรณ์ แต่ก็สิ้นรูปลักษณ์ เป็นเพียงพลังงาน
    หากสิ้นอวิชชาแล้ว แม้แต่พลังงานก็ไม่เหลือ เรื่องวิมารเลยตกไป เพราะไม่รู้จะมีไปเพื่ออะไร
    นิพพานคือสภาวะ สูญจากความเป็นตัวตน ไม่มีกาย ไม่มีจิต ไม่มีอะไรเหลือ ไม่เป็นเจ้าของอะไร ไม่มีอะไรเป็นเจ้าของ วิมารไม่มี แดนไม่มี ผู้ไปหาไม่มี ไปหาผู้ใดก็ไม่มี ไม่มีที่ตั้งอยู่ ควายดินน้ำมันที่ถูกนำกลับไปปั้นรวมกันเป็นก้อนใหญ่ ย่อมไม่เหลือความเป็นควายดินน้ำมันก้อนเดิมอีกต่อไป
     
  8. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    นิพพานมีหลายระดับ
    1.พระโสดาบัน ( ละสังโยชน์ 3 ได้ )
    2.พระสกทาคามี ( ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง )
    3.พระอนาคามี ( ละสังโยชน์ 5 ได้ )
    4.พระอรหันต์ ( ละสังโยชน์ 10 ได้ )
    5.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า
    6.พระอรหันตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
    7.พระพุทธเจ้า
    8.พระบรมพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันชื่อ พระพุทธเจ้าโคดม ( เจ้าชายสิทธัตถะ )
    นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
     
  9. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,365
    สรุปสั้นๆง่ายๆ นิพพานคือ ความว่างเปล่า ห่างไกล หรือหลุดพ้นจากสรรพสิ่ง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในรูปนามทั้งปวง ก็มีเท่านี้ แต่สภาวะของนิพพาน อาจสามารถอธิบายได้หลายอย่าง ตามแต่จิตเหล่านั้นเข้าถึง ตามแต่ความสามารถในระดับสูงที่ตนมี ตามแต่ปัญญาแต่ละประเภทของอรหันต์อริยะชน
    อนึ่งผมเคยกล่าวไว้ว่าอรหันต์แบ่งได้หลายประเ้ภทดังนี้คือ
    แบ่งตามภูมิบารมีแห่งการตรัสรู้และหลุดพ้นทุกข์
    1.พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า คือผู้ตรัสรู้แล้วได้ก่อตั้งศาสนาพุทธ สามารถโปรดเวไนยสัตว์ให้หลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ตามได้
    2.พระปัจเจกพุทธเจ้า คือผู้ตรัสรู้แล้ว แต่ไม่ประกาศศาสนา ไม่มีสาวก เกิดขึ้นเฉพาะในยุคที่ไม่มีพระพุทธศาสนาเท่านั้น
    3.พระอรหันตสาวก คือสาวกผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จากการปฏิบัติตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า
    พระอรหันต์ แบ่งตามการปฏิบัติ คือ
    1.วิปัสสนยานิก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วได้ฌานในภายหลัง
    2.สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นญาณ ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อ
    พระอรหันต์ แบ่งตามความสามารถคุณวิเศษทางจิตและปัญญา คือ
    1.สุกขวิปัสสโก (ไม่มีญาณวิเศษใดๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว
    2.เตวิชโช (ผู้ได้วิชชา 3 คือบุพเพนิวาสานุสสติญาณ (รู้ระลึกชาติได้) จุตูปปาตญาณ (รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย)อันเป็นที่เกิดจากการเข้าใจในกฎแห่งกรรมอย่างแท้จริงจึงรู้เหตุการณ์ที่จะเป็นไปได้ทั้งสิ้น อาสวักขยญาณ (รู้ทำอาสวะให้สิ้น) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนา และถือวัตรธุดงค์
    3.ฉฬภิญโญ (ผู้ได้อภิญญา 6 คือทิพฺพจักขุ ตาทิพย์ (คือฤทธิที่สามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ใกล้ไกลได้ มีพระอนุรุทธะ เป็นเอกทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านการมีตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นโลกใบนี้ ราวกับ มองเม็ดมะขามป้อมบนฝ่ามือ) ทิพยโสต หูทิพย์อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ (โดยเฉพาะมโนมยิทธิการแยกร่างและจิต เป็นฤทธิที่แสดงได้เฉพาะพระอรหันต์ประเภทฉฬภิญโญเท่านั้น ) เจโตปริยญาณ (ทายใจผู้อื่นได้) บุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้ ) และอาสวักขยะญาณ (ญานที่ทำให้อาสวะสิ้นไป) อานิสงค์จากการปฏิบัติวิปัสสนาและเจริญสมาธิจนได้ฌานสมาปัตติ
    4.ปฏิสัมภิทัปปัตโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4) คือแตกฉานในความรู้อันยิ่ง 4 ประการ ได้แก่ อัตถปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในอรรถ ธัมมะปฏิสัมภิทาความแตกฉานในธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทาความแตกฉานในภาษา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณไหวพริบ

    ดังนั้นในความหลุดพ้นด้วยวิธีต่างๆสภาพที่แตกต่าง แต่เนื้อแท้แห่งนิพพาน แท้จริงก็เป็นสิ่งเดียวกัน สภาพเนื้อแท้ก็ย่อมเหมือนกันครับ สาธุ
     
  10. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,365
    ทีนี้ มีบางท่านกล่าวถึงความรอบรู้ไม่เท่ากันของสาวกภูมิ และพุทธภูมิ อันนี้ก็เป็นเรื่องปกติ แต่ก็ใช่ว่า พุทธภูมิที่เป็นพระโพธิสัตว์ นิยตะ ได้ทำนายแล้ว และ อนิยตะบางส่วนแม้จะยังไม่ได้ทำนายแต่ท่านที่อยู่ในชั้นอุปบารมี การเข้าถึงนิพพานก็มีแต่ด้วยพื้นฐานทางจิต ปัญญา และบารมีต่างกัน ย่อมทำให้เห็นพระนิพพานในความเหมือนที่แตกต่าง เพราะ พุทธภูมิ นั้นต้องสั่งสม เรียนรู้ไปเรื่อยๆทุกภพชาติ จนกว่าบารมีจะเต็มแล้วมาตรัสรู้ในพระชาติสุดท้าย เพื่อสามารถรู้แจ้งแล้วสามารถสอนผู้อื่นได้ทั้งหมด ทุกรูปแบบ ครับ อันเป็นธรรมดาแห่งพุทธภูมิ และพุทธวิสัยเพื่อการตรัสรู้ รู้แจ้งธรรมทุกอย่างครับ สาธุ
     
  11. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,365
    ===============

    นอกจากนี้ ยังมีสาวกภูมิ ประเภท ลาพุทธภูมิ อย่างหลวงพ่อฤาษีเป็นต้น หรือในพุทธกาลก็มีอย่าง ท่านพระมหากัจจายน์ เป็นต้น อันความรอบรู้ในพระนิพพาน ก็มีมาก และแตกต่างกับสาวกภูมิอรหันต์ทั่วๆไป

    สุดท้ายเรื่องนิพพาน แท้จริงแล้ว แม้มุมมอง วิธีการ รายละเอียดจะแตกต่างกันบ้างไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่เป็นแก่นแท้ เนื้อแท้นั้น เป็นสิ่งเดียวกัน อริยะบุคคล ผู้มีปัญญา ผู้เข้าใจรู้แจ้งแล้วในแก่แท้เนื้อแท้ ย่อมมีปัญญารู้แจ้ง ไม่ว่าจะไปเจอสภาพแบบไหน ละเอียดมากน้อยแค่ไหน ก็ย่อมสามารถแยกแยะได้ มีปัญญารู้แจ้งได้ครับ

    อนึ่งธรรมทั้งหลาย เราท่านอาศัยสักแต่ว่ารู้และจงปล่อยวางไม่ยึดติด ธรรมทั้งหลายมีอยู่จริง เห็นจริง แต่สักแต่ว่ารู้ เพื่อสร้างปัญญา เพื่อปล่อยวาง เพื่อหลุดพ้น ก็เท่านั้นครับ สาธุ
     
  12. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    นิพพาน คือความสิ้นทุกข์

    ตราบใดที่ยังไม่สิ้นทุกข์ ก็ยังไม่นิพพาน

    ทีนี้รู้จักหรือยัง ว่าอะไรคือทุกข์ที่แท้จริง

    ถ้ายังไม่รู้จักทุกข์ที่แท้จริง ก็ยากที่จะรู้จักนิพพานนะ



    นิพพานไม่ใช่ภพ แต่ส่วนมากที่ตามอ่าน..

    มักกล่าวข้องแวะ ติดภพ มีภพใดภพหนึ่งเป็นที่รองรับเสมอ

    นั่นบ่งบอกให้รู้ว่า ยังมีเงื่อนไข ยังคาด ปรารถนา หรือเห็นผิดว่า ควรจะมีอะไร ๆ ที่พิเศษที่สุดรอรองรับอยู่

    บ่งบอกว่ายังยอมรับความจริงได้ไม่สุดนั่นเอง กลัวตัวตนหายไปหรือไงก็ไม่รู้ ลองพิจารณาดู



    เรื่องของสังขารนี้ ไม่ลึกซึ้งแต่ก็ลึกซึ้งจนได้เมื่อหลงติดพันให้ค่ามาก ๆ

    ต้องรู้เท่าทันความมีอวิชชาเป็นปัจจัยให้ดี

    จิต (ใต้สำนึก) นี้มันกลัว บางทีมันก็ไม่กล้าเผชิญความจริง

    มันยอมรับความจริงไม่ได้ มันดิ้นรนแสวงหาสุขอยู่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

    จึงเป็นการง่าย ที่มันจะสร้างโลกใบใหม่ขึ้นมา แบบเนียน ๆ ให้ระวังจุดนี้ให้ดีครับ

    สุดท้าย ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อะไรจะเป็นไปอย่างไร ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยก็พอ..
     
  13. ิ์Fist of the North Star

    ิ์Fist of the North Star เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    564
    ค่าพลัง:
    +385
    ถ้าเทียนที่จุดไฟอยู่ มันดับลงเพราะเหตุแห่งความหมดเชื้อ คือใส้เทียน และ ไข สิ่งนั้นจะเป็นอย่างไรนะ จะมีการมา การไป การเกิด การดับหรือไม่ มีตัวมีตน มีความว่าง หรือไม่
     
  14. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    สิ่งที่ชำระ อวิชชาได้ ก็คือปัญญา
    ตัวนำพา ให้สงบระงับ ดับเกิดหาย
    เกิดไม่เกิด เพราะมันดับ ปัญญาไง
    คือตัวไข อวิชชา พารู้จริง

    ที่ปฏิบัติมา หลายภพหลายชาติ เพื่อสิ่งนี้
    สะสมดี คือปัญญา คมกล้าหลาย
    เมื่อกายใจพร้อม รูปนามพร้อม ตัดสบาย
    ฉับ อวิชชาหาย ฉับเดียว รู้ความจริง
     
  15. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    ฉับ อวิชชาหาย ฉับได้ รู้ความจริง

    อันปัญญา เรียกได้ว่า ญาณนั่นแหล่ะ
    เอาไว้แคะ เอาไว้กรอง กิเลศตัณหา
    เอาไว้เช็ด เอาไว้ถู เอาไว้วิปัสนา
    จนรู้ว่า ความจริง เป็นเช่นไร
     
  16. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    ไร้ปัญญา คือไร้ญาณ ไร้ความรู้
    ได้จากดู ได้จากฝึก สติปฏิฐาน
    ดูได้จาก กายและใจ จนได้ฌาณ
    อันว่าฌาณ คือสงบ พบความจริง

    ฌาณหรือญาณ เขียนต่างกัน แต่ไม่ต่าง
    ไม่มีฌาณ จะมีญาณ ได้ใหมนั่น
    ความจริงแล้ว ฌาณกับญาณ อันเดียวกัน
    แค่อีกอันเป็นมรรค อีกอันผล ของกันเอย

    ฌาณคือมรรค ญาณคือผล ล้วนสมเหตุ
    สองประเภท เกิดพร้อมกัน เป็นเหตุและผล
    ถ้าไม่กิน จะอิ่มขึ้น ได้ไหมคน
    นั่นแหล่ะตน ที่รู้ว่ากิน(มรรค)รู้ว่าอิ่ม(ผล) คือปัญญา

    ที่กินอยู่ หิวลดลง อิ่มเพิ่มอยู่
    ที่เรารู้ เพราะมีสติ ไม่หลงได้
    รู้ตั้งแต่หิว กายใจหิว เพราะอะไร
    เรื่องนี้ไง คือความจริง ของรูปนาม
     
  17. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    อันสีแดง ต้องแปลงว่า เป็นแบบนี้
    ถ้าแบบที่ เพิ่มความอยาก ผิดมากหลาย
    ล้วนเป็นอกุศล ไม่ละธรรม นำกายใจ
    สิ่งที่ได้ คือลุ่มหลง และลืมตน

    ถ้าธรรมใด เป็นเหมือนยา ทำความสะอาด
    พอแค่ราด รดลงใน กิเลสตัณหา
    ออกฤทธิ์ดั่ง เหมือนน้ำกรด กัดกร่อนทุกเวลา
    นั่นแหล่ะหนาคือ กุศลธรรม ชำระใจ
     
  18. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    การแสดงนี้ นั้นหมายถึง ซึ่งความดับ
    เมื่อแสงวับ ลับลาไป ควันจางหาย
    อย่าค้นหา ว่าเทียนมา หรือเทียนไป
    ให้สนใจว่า แสงดับ เพราะมีเทียน

    ไม่มีเทียน จะมีแสง จากไหนเล่า
    ไม่มีมืด จะมีแสง ได้มั้ยนี่
    สมมุติทั้งนั้น อันสมมุติ ที่กล่าวมี
    อย่าได้เข้า ไปตีค่า ราคามัน

    ที่ไฟดับ เพราะหมดเทียน เทียนหมดไส้
    สมมุติไง หมดไป ไร้รอยนั่น
    หมดสมมุติ พบวิมุติ อย่างงกัน
    วิมุตินั้น อย่าคิดมาก แค่ ไม่มีเทียน อย่าถามหาไฟ ว่าไฟไปไหน .....เอย
     
  19. ใจของกาย

    ใจของกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2014
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +213
    ไม่มีไฟ ไม่มีเทียน ง่ายกว่าใหม
    มีที่ใจ ไม่มีที่ใจ ง่ายใหมนี่
    ถึงมีเทียน ถึงมีไฟ ใจสิมี (ไม่มีเทียน ไม่มีไฟ ทำไมใจยังมี)
    ดับรู้สิ ดับยังไง ไม่รู้เลย
     
  20. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    คน มันมัว แต่หา ธรรม ในคนอื่น สิ่งอื่น

    แต่ มั้นนนนนน ไม่ยอมหาในตัวเอง

    เหมือน ท้าวพกาพรหม ไงงงงงง
     

แชร์หน้านี้

Loading...