ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    5. จีนเตรียมชักกระบี่ปลิดวิญญาน
    กระผมเสธ. ทนง 4ขอรายงานตัว เพื่อทำหน้าที่แฉต่อ ครั๊บบบบบผม! เพราะว่าเสธ. ทนง 1, เสธ. ทนง 2, เสธ. ทนง 3 ไปฟิตเนส คร๊บบบบบผม!
    ช่วงปลายปี2011 พวกอิลิทตกใจมากที่ราคาทองพุ่งสูง ก่อนไปทำสถิติสูงสุดเหนือ$1,900ต่อออนซ์ ถ้าปล่อยให้ราคาทองขึ้นต่อไปจะทะลุ$2,000 และจะพุ่งต่อไปเรื่อยๆ ดอลล่าร์มีหวังเสร็จแน่ เพราะว่าคนจะทิ้งดอลล่าร์ หันมาถือทองกันหมด ดอกเบี้ยจะขึ้น ตลาดบอนด์จะพัง และตลาดการเงินอื่นๆจะพังตามโดยเฉพาะตลาดอนุพันธ์ที่มีตัวเลขรวม$1,000ล้านล้านกว่า ส่วนมากเล่นดอกเบี้ยออฟชั่นกันจนมีปริมาณเสียดฟ้าไปแล้ว
    พวกแก๊งพิมพ์เงินสวมบทเป็นแก๊งทุบทองแทน Jim Rickardsผู้แต่ง The Death of Moneyเล่าให้ฟังว่า วิธีการทุบทองง่ายที่สุดที่ทำกันมาในอดีตคือการขายทองคำแท่งออกไป เรื่องนี้ทำมาตั้งแต่ยุค1970s ตอนนั้นราคาทองอยู่ที่$35ต่อออนซ์ แต่สหรัฐฯอั้นราคานี้ต่อไม่ไหวเพราะว่าตัวเองมีการพิมพ์ดอลล่าร์ออกมามากเกินไป เกินสำรองทองคำที่ถืออยู่ คนเลยทิ้งดอลล่าร์แลกทอง เพื่อให้ดอลล่าร์มีเสถียรภาพ ทางพวกแก๊งทุบทองจึงขายทองออกไป สหรัฐฯขายออกไป1,000ตัน ส่วนกองทุนการเงินระหว่างประเทศขายออกไปอีก700ตัน จะเห็นได้ว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นลูกน้องสหรัฐฯที่คอยปกป้องดอลล่าร์นั้นเอง ขายรวมกันไป1,700ตัน แต่ไม่เป็นผลมากนัก เหมือนกับรัสเซียที่ตอนนี้พยายามขายดอลล่าร์ออกไปเพื่อพยุงค่าเงินรูเบิ้ล ไม่เป็นผลมากนักเช่นกันในยามวิกฤติ ในเดือนมกราคม1980ราคาทองพุ่งไปยืนที่$800ต่อออนซ์
    ถ้าหากใครไปอ่านข้อมูลยุค1976-1978 จะเห็นได้ว่ามีการดิ้นรนที่จะปั่นราคาทองให้ต่ำลงมา
    ในปี1999 Gordon Brown รมวคลังของอังกฤษขายทอง2 ใน3ของอังกฤษออกมาในตลาด ในช่วงต้นของปี2000s สวิตเซอร์แลนด์ก็เอาทองคำออกมาขาย จนแทบจะเกลี้ยงตู้เชฟ
    จะเห็นได้ชัดเจนว่าการขายทองเพื่อปกป้องดอลล่าร์มีการทำเป็นขบวนการคือสหรัฐฯ ไอเอ็มเอฟ อังกฤษและพวกสวิส แก๊งอิลิทด้วยกันทั้งนั้น
    ปัญหาคือขายทองคำแท่งไปทำได้ถึงระดับหนึ่งเท่านั้น ตอนนี้จะเอาทองที่ใหนมาขาย เพราะว่าขายออกเท่าใด จีนและอินเดียตะวลุยซื้อทองเก็บเข้าไปหมด รัสเซียตามมาเก็บทองคำด้วย ประเทศเกิดใหม่เริ่มกลับมาสะสมทอง เพราะรู้ว่าถ้าสหรัฐฯขายทองออกมาแบบนี้ ต้องมีอะไรที่ผิดปกติ
    เมื่อมีทองคำแท่งจำกัดที่จะขาย เลยต้องทุบทองผ่านตลาดฟิวเจอร์ส หรือตลาดCOMEX มีการปั่นตลาดทองแบบเด็กๆ คือเทขายทองฟิวเจอร์สตอนตลาดจะปิดแค่หนึ่งหรือสองนาที ทำให้พวกขวัญอ่อน สายป่านสั้นเป็นลมต๊กกะใจ แต่อีกนั้นแหละจะทำได้นานแค่ใหน
    ยิ่งทุบทองจีนยิ่งชอบ เพราะว่าจะได้ซื้อทองได้ราคาถูก เผลอๆมังกรเข้าไปผสมทุบทองกับเขาด้วย ใครจะไปรู้ เพราะว่ามันอิลุงตุงนังไปหมด
    เสธ. ทนง 4
    18/1/2015
    http://www.gramsgold.com/…/jim-rickards-when-gold-manipulat…
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    6. จีนเตรียมชักกระบี่ปลิดวิญญาน
    ทุกคนตั้งคำถามเหมือนกันหมดว่า แล้วจีนจะชักกระบี่ปลิดวิญญานเมื่อใด Jim Rickardsบอกว่าการปั่น หรือการทุบราคาทองจะยุติเมื่อจีนได้ทองมาครอบครองในปริมาณที่น่าพอใจแล้ว ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศเห็นด้วยเหมือนกันว่าการปรับดุลภาพใหม่ต้องเกิดขึ้นโดยที่ทองคำย้ายจากตู้เชฟโลกตะวันตกไปสู่โลกตะวันออก
    เมื่อจีนได้ทองเท่าที่พอใจแล้ว จีนจะประกาศให้โลกรู้ว่าอั๊วมีทองจำนวนนี้นะ ใครข้องใจมาตรวจสอบได้ เมื่อจีนประกาศเช่นนั้น จะผูกหยวนกับทอง ราคาทองจะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนเขือนแตก เงินเฟ้อจากดอลล่าร์จะเพิ่ม
    Jim Rickardsบอกว่าถ้าจีนมีทองคำซัก8,000ตัน และสหรัฐฯมี8,000ตัน ทั้งคู่จะวินวินด้วยกัน ประเทศที่มีทองคำจะวิน ส่วนประเทศที่ไม่วิน คือประเทศที่ไม่มีทอง เพราะว่าเวลานั้นจะเคาะซื้อทองจะไม่ทันการแล้ว
    ดูท่าแล้วประเทศสารขัณฑ์จะอยู่ในจำพวกไม่วิน เพราะว่าไม่มีทอง เนื่องด้วยเหตุที่ไม่ใส่ใจคำสอนของปู่ย่าตายายและหลวงตามหาบัว
    ความหมายของคำว่าวินคือค่าเงินของประเทศที่มีทองจะแข็งและมีเสถียรภาพเพราะว่าระบบการเงินโลกกลับเข้าสู่มาตรฐานทองคำ ส่วนประเทศไม่วินคือประเทศที่ค่าเงินจะตกเพราะว่าไม่มีทองหรือหลักทรัพย์มาหนุนค่าเงิน
    อย่างที่กล่าวมาแล้ว การปั่นหรือการคุมราคาไม่ให้เคลื่อนไหวตามธรรมชาติของมัน อาจจะสามารถทำได้เพียงระยะเวลาหนึ่ง อาจจะนานได้หลายวสิบปีจนคนเชื่อว่าเป็นเรื่องปกติ แต่มันจะไม่สามารถจะทำได้ในระยะยาวหรือตลอดกาล เมื่อเวลามาถึงการทุยบราคาทองต้องสิ้นสุดลง พร้อมกับการปฏิรูประบบการเงินโลก
    Jim Rickardsอยู่ฝั่งอิลิทที่เชื่อว่าสหรัฐฯยังคงมีทองอยู่8,000กว่าตัน และเชื่อว่าจีนกับสหรัฐฯจะจับมือกันเปลี่ยนแปลงระบบการเงินโลก โดยที่เมื่อจีนได้ทอง8,000ตันแล้ว ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีก1ปีหรือ2ปี จีนจะเช๊คแฮนด์กับสหรัฐฯและบอกว่าพวกเรารอดกันแล้ว เลิกกดราคาทองได้ ทันทีหลังจากนั้นราคาทองจะสูงขึ้นพรวดพราด ทั้งสหรัฐฯและจีนจะไม่มีใครได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ วินวินทั้งคู่
    แต่ข่าวบางกระแส เช่นจากRon Paulอดีตสส รีพับรีกันจากเท็กซัส เชื่อว่าสหรัฐฯไม่น่าจะมีทองคำเหลืออยู่แล้ว ตัวเลขทองคำ8,130ตันที่ประกาศอย่างเป็นทางการน่าจะเป็นตัวเลขหลอก เพราะว่ามีการแอบยักย้ายถ่ายเททองออกจากตู้เชฟของทางรัฐบาลมานานแล้ว อีกประการหนึ่ง ไม่เคยมีการตั้งคณะกรรมการอิสระเข้าไปโอดิท หรือตรวจนับทองคำสำรองของสหรัฐฯเลย
    นอกจากจะขายทองคำออกไปเพื่อปกป้องดอลล่าร์ แก๊งเฟดอาจจะจิ๊กทองเข้ากระเป๋าตัวเองก็ได้ใตรจะไปรู้ เพราะว่าเวลาผ่านไปแล้ว40กว่าปี ตอนนี้จับมือใครดมไม่ได้
    Koos Jansen นักวิเคราะห์ทองชาวดัชท์เชื่อว่าจีนน่าจะตุนทองคำอเอาไว้แล้วถึง16,000ตัน มากกว่าสหรัฐฯถึงสองเท่า ถ้าหากว่าสหรัฐฯยังคงมีทองคำ8,000ตันจริงตามที่คุย
    อย่างนี้ก็สนุกแล้ว เพราะว่าไม่รู้ว่าจะเชื่อใครดี แต่เราจะรู้ว่าใครโกหกหรือพูดความจริงเมื่อจีนหงายไพ่ออกมา ว่าตัวเองมีทองคำเท่าใดในการสำรองเพื่อหนุนค่าหยวนในระบบการเงินมาตรฐานทองคำ
    แม้ว่าสหรัฐฯมีทอง แต่Jim Rickardsบอกว่าไม่ได้หมายความว่าวิกฤติการเงินรอบหน้า ซึ่งจะใหญ่กว่าปี2008อีกหลายเท่าจะไม่เกิดขึ้น เมื่อวิกฤติเกิดขึ้นอีกครั้ง เฟดจะช่วยตัวเองไม่ได้ เพราะว่าพิมพ์เงินไปเกือบ$4ล้านล้านจนหมดกระสุนไปแล้ว ใครจะอุ้มเฟดได้ถ้าไม่ใช่กองทุนการเงินระหว่างประเทศที่สามารถจะพิมพ์เงินSDRอีก$4-$5ล้านล้านเพื่ออุ้มระบบการเงินตะวันตก ในปี2009 กองทุนการเงินระหว่างประเทศก็พิมพ์เงินอุ้มระบบการเงินโลกแล้ว
    แต่ประเด็นคือจีนจะปล่อยให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศอุ้มเฟดหรือ แล้วเงินSDRจะเอาหลักทรัพย์หรือทองไปหนุน โดยปกติแล้ว มีแต่ประเทศที่มีอำนาจอธิปไตย (sovereign nation) เท่านั้นเป็นของตัวเองจึงสามารถจะพิมพ์เงินได้ แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นแค่องค์กรระหว่างประเทศ ไม่ได้เป็นประเทศ จะมาพิมพ์เงินได้อย่างไร เงินSDRที่IMFพิมพ์กันอยู่ในรูปบัญชีทุกวันนี้ เอาเข้าจริงแล้วเป็นเงินสกุลเถื่อนนะ ไปรับรองSDRได้อย่างไร Jim Rickardsดูถูกว่าจีนไม่สามารถผลักดันให้หยวนเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้ เพราะว่าจีนไม่มีระบบนิติรัฐ(rule of law) แล้วสหรัฐฯมีนิติรัฐหรือ ปั่นทุกอย่างตั้งแต่ทอง น้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน หุ้น จนถึงดอกเบี้ย
    บอกได้คำเดียว จีนไม่มีทางให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศมาชิงดำหรอก เมื่อหยวนลอยค่าแล้ว เท่ากับจีนชักดาบอำมหิตปลิดวิญญานออกมา ทีอานุภาพทำลายล้างระบบการเงินโลกกระดาษในปัจจุบัน
    เสธ. ทนง 2
    18/1/2015
    http://www.gramsgold.com/…/jim-rickards-when-gold-manipulat…
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    7. จีนเตรียมชักกระบี่ปลิดวิญญาน
    ใครมีทองคำเท่าไหร่ เอาเข้าจริงๆแล้ว เขาไม่บอกกันหรอก อาจจะโกหกก็ได้ เพราะเหตุผลหลายประการ อย่างไรก็ตามตารางการถือครองทองคำที่World Gold Council ได้มีการรวบรวมมาพอจะให้ภาพกว้างๆให้กับเราเกี่ยวกับสถานการณ์ทองล่าสุด
    ที่เป็นประเด็นใหญ่คือการถือทองของสหรัฐฯ#1 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ#3 จีน#6 อินเดีย#11 และไทย#25
    สหรัฐฯประกาศว่ามีทองคำ8,133.5ตันมานานแล้ว เทียบเท่า70.2%ของทุนสำรองที่มีทั้งหมด แต่มีหลายคนสงสัยว่าทองคำนี้ยังจะมีอยู่จริงๆหรือเปล่า เพราะว่าน่าจะโดนไอ้Gold Finger จากหนังJames Bond 007ปล้นเอาไปให้พวกอิลิทไปหมดแล้ว อีกประการหนึ่งอาจจะมีการขายทองเหล่านี้ออกมาเป็นระยะๆเพื่อพยุงค่าดอลล่าร์ ยังไม่เคยมีการตรวจสอบกันอย่างจริงๆจังๆ หรือการทำauditว่าสหรัฐฯมีทองคำอยู่แค่ใหนกันแน่ ถ้าหากความจริงถูกเผยออกมาว่าสหรัฐฯไม่มีทองคำเลย รับรองว่าตลาดทองระเบิดเถิดเทิงแน่
    กองทุนการเงินระหว่างประเทศมีทอง2,814ตัน หน้าที่หลักคือรักษาและดูแลระเบียบการเงินโลกปัจจุบัน ที่มีดอลล่าร์กระดาษเป็นหัวใจ บทบาทของกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่สำคัญที่สุดคือการเข้าไปดูแลสมาชิกประเทศ ซึ่งมีอยู่188ประเทศในยามที่มีปัญหาวิกฤติดุลชำระเงิน พูดง่ายๆยามที่มีวิกฤติเงินไหลออกจากประเทศ ทำให้ค่าเงินตกวินาศสันตะโร ดอกเบี้ยพุ่งแระฉุด สภาพคล่องตึงตัวเหือดแห้งไปหมด ระบบแบงค์และธุรกิจเจ้งระนาว พนักงานคนงานโดนปลด ประเทศนั้นไม่มีเงินทุนสำรองหรือดอลล่าร์เพื่อปกป้องค่าเงินของตัวเองอีกต่อไป เพราะว่าดอลล่าร์ไหลออกไปหมด หรือทางการมีการขายดอลล่าร์ออกไปเพื่อพยุงค่าเงินตัวเอง เหมือนที่รัสเซียกำลังทำอยู่ในเวลานี้
    ถ้ามีการร้องขอความช่วยเหลือเหมือนที่ประเทศไทยเคยร้องขอในปี1997 ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะให้กู้SDRแล้วแปลงเป็นดอลล่าร์ในรูปstandby credit คือเปิดวงเงินให้กู้ แต่ต้องเบิกทีละงวดๆ โดยที่ประเทศที่มีวิกฤติต้องทำตามโปรแกรมการแก้ปัญหาวิกฤติ โดยหลักแล้วคือเปิดเสรีการเงิน ภาคธุรกิจและขายกิจการของรัฐออกมาให้ฝรั่ง เมื่อเศรษฐกิจพัง ถึงจุดต่ำสุดแล้ว มีการเลหลังขายของถูกๆเหมือนปรส. ฝรั่งจะกลับเข้ามาช๊อปปิ้งของถูก ค่าเงินที่ตกต่ำมากๆจะเป้นการลดราคาประเทศให้ฝรั่งเข้ามาเที่ยวลดราคา50% และเวลาส่งออกสินค้าที่ค่าเงินตกต่ำก็เท่ากับว่าขายของลดราคา50%เหมือนกัน
    สรุปแล้วกองทุนการเงินระหว่างประเทศคือหมอดอลล่าร์กระดาษดีๆนี่เอง ที่รวบรวมเอาดอลล่าร์จากประเทศสมาชิกทั่วโลกมากองที่หน้าตักตัวเอง แล้วเวลาประเทศใดเกิดวิกฤติสามารถกู้จากองค์กรการเงินระหว่างประเทศนี้ได้ สหรัฐฯมีสิทธิวีโต้ในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ระยะหลังพวกประเทศกำลังพัฒนาไม่ยอมต้องการมีปากมีเสียงดังขึ้นในองค์กรนี้ โดยเฉพาะจีนต้องการเข้าไปเพิ่มทุนเพื่อเพิ่มสัดส่วนหุ้นของตัวเองให้เป็นหุ้นใหญ่ตามสัดส่วนจีดีพีของประเทศที่ใหญ่อันดับสองของโลก แต่สหรัฐฯไม่ยอม เลยมีปัญหากันอยู่ จีนและBRICSและไปตั้งสถาบันการเงินเงาของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และของธนาคารโลกอีก
    ในเมื่อIMFเป็นหมอเงินดอลล่าร์กระดาษ แต่ทำไมถึงถือครองทองมากถึง2,814ตัน ในอดีตเคยเรียกทองจากอินเดียเป็นหลักประกันการกู้มาแล้ว หมายความว่าIMFลึกๆแล้วเห็นความสำคัญของทอง เพราะว่าดอลล่าร์กระดาษเอาเข้าจริงแล้วเป็นเพียงกระดาษ
    จีนมีทอง1,054ตัน ส่วนอินเดียประกาศว่ามี557.7ตัน เอาเข้าจริงแล้ว จีนน่าจะมี16,000ตันไปแล้ว และอินเดียก็มีทองคำไม่แพ้จีน แต่อาจจะให้เอกชน หรือหน่วยงานอื่นถือแทน จะได้หลอกชาวโลกเพื่อซื้อทองราคาถูก ฝรั่งทุบราคาทอง จีนและอินเดียร่วมกันกว้านซื้อทองกันยกใหญ่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
    ส่วนรัสเซียกำลังไล่หลังมีทอง1,035ตัน หรือประมานเกือบ10%ของทุนสำรองฯ
    ที่น่าสังเกตุว่าประเทศที่พัฒนาแล้วมีสัดส่วนการถือทองเทียบกับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงมาก พวกฝรั่งจะโปรโหมตเงินกระดาษให้ประเทศอื่นๆใช้ ปากก็บอกว่าทองไม่ได้มีประโยชน์อะไร แต่ตัวเองยังแอบถือทองในสัดส่วนที่สูงอยู่ เมื่อเทียบกับทรัพย์สินชนิดอื่นๆ เช่นเยอรมันถือทองเป้นสัดส่วน66.1%ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ อิตาลี65.1% ฝรั่งเศส65% ดัชท์51.2% อีซีบี26.3% โปรตุเกส84.2% สเปน23.3% ออสเตรีย46.5% เบลเยี่ยม32.7% อังกฤษ11.6%
    ยูเครนที่รายงานว่ามีทอง42.3ตัน น่าจะโดนปล้นไปหมดแล้วช่วงเปลี่ยนรัฐบาล โดยฝีมือพวกอิลิทที่เข้าไปยุแยงตะแคงรั่ว
    ส่วนประเทศไทยน่าผิดหวังมากที่ถือทองเป็นอันดับ25ของโลก โดยมีทองแค่152.4ตัน หรือ3.5%ของสัดส่วนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งหมดที่ส่วนมากจะถือทรัพย์สินในรูปดอลล่าร์ กระดาษ ยูโรกระดาษ เยนกระดาษและเงินสกุลกระดาษในภูมิภาค
    ประเทศไทยหรือสุวรรณภูมิหรือแผ่นดินทองตอนนี้กลับไม่เห็นความสำคัญของทอง แต่เห็นเงินกระดาษมีค่ามากกว่า แสดงว่าเห็นเกลือดีกว่าพิมเสน
    เสธ. ทนง 1
    18/1/2015
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    8. จีนเตรียมชักกระบี่ปลิดวิญญาน
    นักลงทุนไทยติดดอยกันมากหลังจากที่ทองทำราคาพีคที่$1,900ต่อออนซ์ในเดือนพฤศจิกายน2011 หลังจากนั้นราคาทองคำร่วงมาตลอด ไม่ว่าจะเข้าไปรับหรือซื้อระดับใดราคาทองก็ร่วงต่อไป คาดการว่าทองต้องรีบาวด์ แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น โดนทุบต่อเนื่องมาจนอยู่ระดับ$1,200เวลานี้
    ช่วงต้นปีนี้ทองเริ่มจะออกอาการดีขึ้น อย่างที่เขียนเอาไว้แล้ว ทองโดนบอกอิลิททุบผ่านเฟด กระทรวงการคลังสหรัฐฯและแบงค์ในเครือในยุโรป เพราะว่าต้องรักษาดอลล่าร์ให้ได้นานที่สุด ไม่งั้นคนจะแห่ถือทองทิ้งดอลล่าร์ ดอกเบี้ยจะขึ้น และตลาดบอนด์ฟองสบู่จะแตก และจะทำให้ตลาดการเงินโลกถล่มทะลาย
    เลยต้องอั้นดอลล่าร์ให้อยู่ด้วยการขายทองคำแท่งในมือออกไป และทุบราคาทองกระดาษผ่านตลาดCOMEX
    การปั่นราคาทองให้ต่ำผิดธรรมชาติจะทำได้ไม่นาน เพราะว่าเมื่อหมดทองในมือ จะเอาอะไรไปทุบ
    ตารางที่ให้มาเป็นการเปรียบเทียบราคาทองกับเงินสกุลต่างๆที่ผ่านมา จะเป็นได้ว่าทองมีราคาขึ้นเมื่อเทียบเงินสกุลหลักไม่ว่าจะเป็นดอลล่าร์ ยูโร เยน สวิสฟรังค์ หยวน รูปี ออสเตรเลี่ยนดอลล่าร์ แคนาเดี่ยนดอลล่าร์ รวมทั้งปอนด์อังกฤษ
    มีแต่ในปี2013เท่านั้นที่ทองมีราคาตกเมื่อเทียบกับเงินทุกสกุล ปีหายนะของทองจริงๆ
    แต่โดยภาพรวมตั้งแต่ปี2006จนถึงปัจจุบัน ทองoutperformหรือมีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบเงินสกุลต่างๆ ดูตารางจะเห็นสีเขียวทั้งนั้น
    ประเด็นคือราคาทองตอนนี้ถึงจุดต่ำสุดหรือยัง
    ถ้าเราดูเหตุการความวุ่นวายทางภูมิรัฐศาสตร์ประกอบ คือฝรั่งกำลังสร้างสถานการณ์ให้เกิดความสับสน เกิดความรุนแรง หรือเกิดสงคราม เราอาจจะพอเดาทางได้ว่าจุดต่ำสุดของราคาทองอาจจะผ่านพ้นไปแล้ว
    สิ่งที่ฝรั่งกลัวที่สุดคือการที่จีนจะนำกลุ่มBRICSออกจากระบบการเงินโลกที่มีดอลล่าร์กระดาษเป็นหัวใจ มีกองทุนการเงินระหว่างประเทศและเฟดของสหรัฐฯบงการอยู่ ไปตั้งระบบการเงินโลกใหม่ที่อิงทองคำ เมื่อจีนประกาศเลิกผูกหยวนกับดอลล่าร์ แต่จะมาอิงกับทองคำแทน เมื่อนั้นระบบการเงินดอลล่าร์กระดาษจะถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรง อันจะนำไปสู่การที่ฝรั่งต้องแก้เกมด้วยสงคราม
    วิกฤติรัสเซีย วิกฤติISISและวิกฤติCharlie Hebdoเป็นหนังไตเติ้ลไปสู่ฉากจริงของอภิมหาสงครามนั่นเอง เพราะว่าฝรั่งแก้เกมการเงินไม่ตก แพ้แล้วอย่างหมดรูป ถ้าปล่อยให้จีนตั้งลำด้วยหยวนที่อิงทอง ฉิบหายแน่ๆ เพราะว่าจะเป็นการชักกระบี่ปลิดวิญญาน ฝรั่งกลัวว่าวิญญานจะไม่ได้ไปผุดไปเกิด
    เสธ. ทนง 2
    Absolutely Stunning News In The War On Gold | King World News
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    9. จีนเตรียมชักกระบี่ปลิดวิญญาน
    ทองคำในโลกนี้มีปริมาณทั้งหมดเท่าใด? Thomson Reuters GFMSบอกว่าทองคำทั้งหมดมีอยู่171,300ตัน โดยที่ประเทศต่างๆสามารถผลิตทองได้ปีละ2,000ตัน
    ที่ผลิตออกมาแต่ละปี จีนกว้านซื้อไปแล้วเกือบครึ่ง รวมทั้งอินเดียก็ซื้อไปมาก
    ทองคำทั้งหมดบนโลก ถ้าเอามากองด้วยกันเป็นแท่งสี่เหลี่ยมจะมีความสูงด้านละ20.7เมตร
    แต่บางสำนักคาดการว่าทองคำบนโลกทั้งหมดน่าจะมีแค่155,244ตัน แต่อีกแห่งบอกว่ามีสูงถึง2.5ล้านตัน
    ไม่รู้จะเชื่อใครดี
    ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรของโลกที่ผ่านมาดูได้จากการครอบครองทอง ยิ่งรวยยิ่งมีทองมาก ทองคำเหมือนเป็นสมบัติผลิดกันชม ถ่ายเทจากอาณาจักรที่อ่อนแอไปสู่อาณาจักรที่เข้มแข็งกว่าผ่านการค้าขาย หรือผ่านการสงคราม ผู้แพ้จะโดนปล้นทองไปหมด
    ในยุคล่าอาณานิคมที่ผ่านมาเกือบ500ปี พวกยุโรปออกมาล่าเอาดินแดนใหม่ที่อเมริกาเหนือ กลาง ใต้ แอฟริกา อินเดีย รวมทั้งเอเซียบ้านเรา เพื่อขนทองคำกลับมาเพื่อสร้างอาณาจักรยุโรป เหตุการณ์นี้ดำเนินมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่2 โดยที่ทองคำอยู่ในมือของสหรัฐฯและพวกยุโรปเกือบทั้งหมด
    แต่หลังจากนั้นทองคำเริ่มย้ายบ้านกลับถิ่นเดิมคือเอเซียที่มีทองคำมากที่สุดในโลก โดยจีนและอินเดียเป็นหัวหอกในการซื้อทองกลับคืนมา
    บรรพบุรุษของไทยก็เคยมีทองมากมาย แต่รักษาไม่ได้ โดนนักการเมืองปล้นไปหมด และโดนฝรั่งต้มตุ๋นเอาทองคำสำรองเราไปหมดตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา โดนแก๊งฝรั่งหลอกเอากระดาษปอนด์ กระดาษดอลล่าร์มาแลกทองเราไปหมด ทองยังไม่ไหลกลับมาประเทศไทย
    ในเมื่อทองอยู่ในมือของเอเซียส่วนมากแล้ว พอจะคาดเดาว่าอาณาจักรในเอเซียและยูเรเซียน่าจะเป็นอาณาจักรใหม่ที่จะขึ้นมาใหญ่แทนยุโรปและสหรัฐฯในศตวรรษใหม่นี้
    ถือได้ว่าเป็นการตีกลับ (reverse)ของอารยะธรรมที่ต้องใช้เวลาเดินทางถึง500ปีกว่าวงจรนี้จะกลับทิศ
    เสธ. ทนง 3
    19/1/2015
    BBC News - How much gold is there in the world?
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เรียนคุณ kaewkaow

    อ้างอิง
    เรียนคุณสุกิจSukit...ฝากหาข้อมูลมาแชร์หน่อยคะว่าอีกนานไหมคุณดาวพระศุกร์จะหลุดออกจากวงโคจรระหว่างโลกกับคุณนิบุรุ...และจากข้อความข้างต้นแปลว่าเรามอบความเมตตาและความรักให้ดาวนิบิรุรับรู้ได้เหรอ...ดีจัง
    แบบข้อความของห้องสลายภัยพิบัติด้วยรหัสเต๋า...ทำสมาธิแล้วอธิษฐานจิต...แบบนี้น่าจะพอได้เนาะ...
    ....คำอธิษฐานจิต
    ขอน้อมคุณงามความดีจากการนั่งสมาธิในครั้งนี้
    ขอให้สิ่งมีชิวิต มวลมนุษยชาติบนโลกใบนี้ และในจักรวาล จงอยู่เย็นเป็นสุข
    ขอให้ผู้ที่ล่วงลับจากภัยพิบัติทั่วโลกจงสู่สุคติ
    ขอให้ไตรภพสันติสุข ขอให้การปรับตัวของโลกจงเป็นไปอย่างราบรื่น
    ไม่รุนแรง ไม่เกิดสึนามิ ไม่เกิดแผ่นดินไหว
    น้ำไม่ท่วม อุณหภูมิโลกจงเย็นสบาย โลกจงสงบสุข
    .....คุณนิบิรุจะรับรู้ได้ไหม...เก็บพลังแม่เหล็กลงหน่อยนะ

    ขอตอบครับ
    ในส่วนตัวผมเชื่อว่า Planet 7 X มีจริง และน่าจะมาถึงปี 2021 ครับ ข้อมูลจาก https://www.dropbox.com/sh/kjmatulk33t38u9/AABKec86-s24s1ns6NRXBanVa ซึ่้งเขาคาดว่าจะมาถึงในปลายปี 2015 คือปีนี้ แต่ผมลองคำนวณดู โดยหาความเร็วจากเนปจูไปถึง ยูเรนัส และการะยะเวลาที่จะมาถึงโลกก็ราวๆ ปี 2021 แต่นยักวิจัยที่หาข้อมูลเขาก็ยังไม่แน่ใจในระยะเวลาที่แน่นอนได้

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    และรูปข้างล่างเป็นเอกสารที่เขาใช้ซอฟแว์นาซ่า ยืนยันจุดที่อยู่ของ Planet 7 X

    [​IMG]

    แต่ข้อมูลจากเฟสของคุณ นิบิรุื ที่แสดงวงโคจร planet 7 X ว่าจะผ่านมายังดาวศุกร์ และเจอโลกต่อ อันนี้ผมว่าคงขึ้นอยู่กับ Model การเคลื่อนที่ของดาวที่ใช้สมการที่อาจแตกต่าางกันคำนวณออกมา แต่จากข้อมูลอันแรก ผมเปิดดู วงโคจร ซึ่งเขาทำมาในหลายๆ มุม เหมือน 3 มิติ สามารถ เลือกมุมรับชมการเคลื่อนที่ของดวงดาวได้ ก็เห็น Planet 7 X จะเข้าใกล่ดาวศุกร์ก่อน ในเวลาที่มันจะโคจรเข้าหาดวงอาทิตย์ และเมื่อมันจะพ้นจากดวงอาทิตย์ โลกเราจะเป็นดาวต่อไปที่จะเจอ แต่รนูปภาพผมยังหาไม่เจอขอเวลาค้นหน่อย ส่วยจะไปขอความเมตตาจาก Nibiru แล้วจะรอดคงยาก แต่ถ้าเราเป็นผู้ตื่น ก็ไม่แน่ เพราะเราคงมีพลังงานแห่ง ณาน คุ้มครองเราจากสนามแม่เหล็กของ
    Planet 7 X แต่เป็นช่วงนี้แน่ เพราะถ้าเราศึกษาคัมภีร์พุทธ นิกายมหายานให้ดี ซึ่งแยกตัวจากเถรวาท เพราะสมัยสังคยานา ครั้งแรก พระอรหันต์ได้ยอมรับ แต่สมมุติสงฆ์ได้คัดค้าน ถึงการมีอยู่ของพระพุทธเจ้าจำนวนนับไม่ถ้วน (อาจจำผิดบ้าง) ก็ได้บอกแล้วว่ากึ่งกลางพระศาสนาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์็ ย้ำทุกพระองค์ จะมีพระมาหจักรพรรดิ์มาถือกำเนิดเสมอ ก็รอพระจักรพรรดิ์มาช่วยครับ เพราะตามตำนานพระเจ้าเลียบโลกก็ราว ๆ บอกว่า พระจักรพรรดิ์องค์ที่ 3 แตกต่าง จากองค์อื่นๆ อีก 4 เหมือนมีฤทธิ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Capture.JPG
      Capture.JPG
      ขนาดไฟล์:
      69.5 KB
      เปิดดู:
      1,318
    • Capture1.JPG
      Capture1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      54.4 KB
      เปิดดู:
      3,011
    • 0.4.jpg
      0.4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      52.3 KB
      เปิดดู:
      1,239
    • 0.3.jpg
      0.3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      129.3 KB
      เปิดดู:
      1,205
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ข้อมูลเพิ่มเติมไปหาอ่านจาก https://www.dropbox.com/sh/kjmatulk33t38u9/AABRPclwRhP_SAtuBEsmMidIa/Scripture Ref?dl=0 ผมว่าน่าเชื่อถือครับ ไม่มีหน้าเว็บ เหมือนเป็นบล๊อกข้อมูลที่ให้คนที่รู้จักจริงๆ เข้ามาค้นคว้า
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ทหารปฏิรูปประเทศไทย

    [​IMG]

    วันที่ 19 ม.ค.58 ดาราดัง ทอม ครูซ พร้อมรับมือแล้ว สร้างหลุมหลบภัยเอาไว้ในคฤหาสน์สุดหรู
    ลัทธิ ไซเอนโทโลจี้ (Scientology) คือ ลัทธิสุดอื้อฉาวในสหรัฐที่มีดาราคนดังจำนวนมากเลื่อมใส เช่น จอห์น ทราโวลตา วิล สมิธ ฯลฯ ลัทธินี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2495 โดย แอล รอน ฮับบาร์ท นักเขียนชาวอเมริกัน ปัจจุบัน มีผู้เลื่อมใสลัทธินี้กว่า 10 ล้านคนทั่วโลก
    ไซเอนโทโลจี เชื่อว่าร่างกายมนุษย์ทุกคน แท้จริงแล้วมีวิญญาณของ “มนุษย์ต่างดาว” ติดแหง็กอยู่ภายใน ผู้ที่ได้รับการศึกษาแบบไซเอนโทโลจีเท่านั้น จึงสามารถ “ปลดแอก” ร่างวิญญาณนี้ได้ ซึ่งจะทำให้มนุษย์สามารถดึงศักยภาพที่แท้จริงออกมาใช้ได้
    ช่วงแรกลัทธิโซเอนโทโลจี พยายามดำเนินการอย่างลับๆ ด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้ตกเป็นข่าว แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลักคิดและแนวทางปฏิบัติของลัทธิดังกล่าวก็ถูกเปิดเผยมากขึ้น มีสมาคม “ซี ออร์แกไนเซชัน” เป็นศูนย์ปฏิบัติการลับของลัทธิไซเอนโทโลจี
    สถานที่แห่งนี้คือ “ค่ายนรก” ที่มีไว้เพื่อทรมานและใช้แรงงานเยาวชนเยี่ยงทาสนั่นเอง มีทั้ง “บังเกอร์” สำหรับนักแม่นปืน รั้วลวดหนาม และระบบเซ็นเซอร์ ตรวจจับการเคลื่อนไหว ป้องกันไม่ให้ใครแอบเข้ามา และที่สำคัญคือห้าม “หนี” ออกนอกบริเวณ เพราะจะถูกทุบตีและลงโทษคุณด้วยวิธีต่างๆ นานา
    ------------------------------->
    ล่าสุดหมาดๆ พระเอกรุ่นใหญ่ ผู้ฝักใฝ่ในลัทธิ ไซเอนโทโลจี้ อย่างทอม ครูซ เขามองการณ์ไกลไปถึงวันที่โลกต้องวินาศ จากสงครามโลก และภัยพิบัติร้ายแรง จึงได้ยอมลงทุนควักกระเป๋า สร้างหลุมหลบภัยเอาไว้ในคฤหาสน์หรูขนาด 10,000 ตารางฟุต ของเขา ในเบเวอร์ลี่ ฮิลล์ส
    โดยหลุมหลบภัยของเขาประกอบไปด้วย 2 ห้องนอน, ห้องใต้ดิน, โรงยิมฯ ห้องซักอบรีด และจะเป็นที่หลบภัยใต้ดิน ที่มีอุปกรณ์ไฮเทคทุกอย่าง ตอนนี้ผู้ที่เชื่อในลัทธิไซเอนโทโลจี้ ทำให้โบสถ์มีการสร้างหลุมหลบภัยขึ้นมามากมาย โดยเรียกว่า ''แคปซูลกาลเวลา'' บริเวณใกล้ภูเขาหลายๆ แห่งในลอสแองเจลิส
    ------------------------------>
    คนที่อยู่เมืองไทย และโลกสวย ไม่ค่อยได้ติดตามสถานการณ์โลก คงไม่รู้ว่า โลกเราตอนนี้มีคนอยู่ในลัทธินี้มากกว่า 10 ล้านคน และคนมีเงิน ดารา และคนมีชื่อเสียงในอเมริกา และทั่วโลก เขาทำหลุมหลบภัยใต้ดินกันแทบทั้งนั้น ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ใต้ดินได้เป็นเวลานาน จนกว่าจะปลอดภัยจึงขึ้นมาผิวดิน
    คนมากกว่า 10 ล้านคน เขาคิดแบบนี้ ยังจะคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญ อีกหรือไม่ ??
    @ เสธ น้ำเงิน2 : กดปุ่ม “ติดตาม” ด้านบนเพจ เพื่อรับข่าวครั้งต่อไป
    http://www.facebook.com/thailandcoup
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Chalee Na Roied

    รัสเซียเดินหน้าขายสินทรัพย์ ในสหรัฐกว้านซื้อทองคำมาเก็บลูกเดียวครับ และกว้านซื้อมากที่สุดในรอบหกเดือนที่ผ่านมา สงสัยได้กลิ่นไม่ดี ตอนนี้ผมไม่รู้ว่า ธนาคารแห่งประเทศ ตื่นหรือยังก็ไม่ทราบนะครับ หรือยังเข้าใจว่า.. "ดอลลาร์ที่ต้นทุนแค่กระดาษและหมึกพิมพ์ มีค่ามากที่สุด"
    http://www.zerohedge.com/news/2015-...st-gold-six-months-continues-selling-us-treas
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เจ้าชายซาอุฯพยากรณ์อนาคตประเทศ หลังสิ้นกษัตริย์อับดุลลอฮ์ จะเกิดความขัดเเย้งเเละภาวะวิกฤต
    ตะวันออกกลางby อิบรอฮีม อาแว - ม.ค. 17, 2015 1454

    [​IMG]

    ALALAM – เจ้าชายซาอุฯ ได้พยากรณ์เกี่ยวกับความขัดเเย้งเเละภาวะวิกฤตที่จะเกิดขึ้นอย่างเเน่นอนหลังกษัตริย์อับดุลลอฮ์แห่งซาอุฯสิ้นพระชนม์

    เจ้าชายซาอูด บิน ไซฟุลนัศร์ เจ้าชายองค์หนึ่งของซาอุฯ ได้โพสต์ข้อความหนึ่งบนหน้าทวิตเตอร์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ต่อการเกิดความขัดเเย้งระหว่างสมาชิกครอบครัวของราชวงศ์อาลิ ซาอูด หากกษัตริย์ของซาอุฯ สิ้นพระชนม์ ซึ่งข้อความได้ถูกเเพร่ในโลกไซเบอร์อย่างรวดเร็ว เเละสร้างความฮือฮาเป็นอย่างมาก

    กษัตริย์อับดุลลอฮ์ บิน อับดุลอะซีซ ต้องเข้าผ่าตัดในโรงพยาบาลเนื่องจากอาการป่วยหนักของตน ซึ่งทางสำนักพระราชวังก็ออกมายืนยันถึงสิ่งนี้

    ข้อความที่สร้างความฮือฮาที่ถูกเเพร่ในโลกไซเบอร์ เป็นข้อความของเจ้าชาย ซาอูด บิน ไซฟุลนัศร์ แห่งซาอุฯ เป็นหนึ่งในสมาชิกวุฒิสภาของซาอุดิอาระเบีย

    เจ้าชายซาอูด ได้โพสต์บทกลอนหนึ่งบนหน้าทวิตเตอร์ของตนในวันที่ 5 มกราคม 2015 ที่ผ่านมา โดยความหมายสามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดาย ซึ่งมีใจความว่า

    ฉันเห็นถ่านไฟที่ร้อนระอุในผืนดิน

    สักวันหนึ่งมันคงปะทุประกายไฟขึ้นมาแน่

    เปลวเพลิงจะร้อนรุ่มด้วยไม้ผืนชิ้นหรือสองชิ้น

    และความขัดแย้งมีรากเหง้าจากคำพูด

    เขากล่าวเสริมว่า หากเชื้อเพลิงอันนี้ไม่ถูกดับลงโดยมือของบรรดาผู้ชาญฉลาดเเห่งซาอุดิอาระเบียแล้ว มันก็จะเผาผลาญทุกสิ่งในไม่ช้านี้ เเละอนาคตเเห่งการปกครองก็จะตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายอย่างเลี่ยงไม่ได้

    เจ้าของบทกลอนนี้มีชื่อ ว่า ” นัศร์ บิน ซัยยาร์ ” ซึ่งเขาได้รำพันกล่าวเตือนราชวงศ์อุมัยยะฮ์ เกี่ยวกับวิกฤติเเละอันตรายในการสูญเสียราชบัลลังก์หากยังมีความขัดเเย้งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    เจ้าชายซาอูด เป็นหลานคนหนึ่งของกษัตริย์ซาอูด ซึ่งกษัตริย์ซาอูดคือกษัตริย์องค์เเรก ที่ขึ้นครองอำนาจภายหลังจากคิงอับดุลอะซีซ ผู้สถาปนาราชวงศ์อาลิ ซาอูด

    บนหน้าทวิตเตอร์ส่วนตัวที่ใช้นามว่า ” สำนักข่าวอิสระเเห่งฮิญาซ ” ได้โพสต์ว่า คำพูดเเละสิ่งที่ได้ยินมานั้น บ่งบอกถึงสภาพร่างกาย เเละการสูญเสียสติสัมปชัญญะของกษัตริย์ซาอุฯ

    “สำนักข่าวอิสระเเห่งฮิญาซ” รายงานเพิ่มเติมว่า บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้พยากรณ์ว่า การสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์ซาอุฯ จะทำให้เกิดวิกฤติความขัดเเย้งระหว่างสมาชิกครอบครัวของราชวงศ์อาลิ ซาอูด เกี่ยวกับตัวเเทนของเขาอย่างเเน่นอน
    ขณะเดียวกันเจ้าชายซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ ผู้เป็นมกุฎราชกุมารเเห่งซาอุดิอาระเบีย ก็เป็นโรคอัลไซเมอร์ เเละสูญเสียอำนาจในการคิดของตนไปแล้ว นอกจากนั้นมีการกล่าวกันว่า สมาชิกของราชวงศ์อีกจำนวนมากไม่เห็นด้วยในการมอบตำเเหน่งบัลลังก์และประมุขสูงสุดเเห่งซาอุดิอาระเบียให้กับเจ้าชายม็อคเรน ทายาทคนสุดท้ายของคิงอับดุลอะซีซ ในฐานะเป็นที่ปรึกษาของเจ้าชายซัลมาน

    เจ้าชายซาอูด บิน ไซฟุลนัศร์ เคยโพสต์บนหน้าทวิตเตอร์ของตนก่อนหน้านี้ ว่า เจ้าชายอะฮ์มัด บิน อับดุลอะซีซ คือผู้ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการดำรงตำเเหน่งรัชทายาทเเห่งซาอุดิอาระเบีย

    เจ้าชายอะฮ์มัด บิน อับดุลอะซีซ คือโอรสลำดับที่ 31 ของคิงอับดุลอะซีซ ผู้สถาปนาราชวงศ์ซาอูด เเละมารดาของเขามีนามว่า “ฮุศเศาะฮ์ อัลซุดัยรี” ซึ่งบรรดาลูกๆ ของฮุศเศาะฮ์ ต่างคิดว่าตนมีความเหมาะสมที่สุดในการขึ้นครองบัลลังก์กษัตริย์เเห่งซาอุดิอาระเบีย.

    เจ้าชายซาอุฯพยากรณ์อนาคตประเทศ หลังสิ้นกษัตริย์อับดุลลอฮ์ จะเกิดความขัดเเย้งเเละภาวะ
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ถนนสู่สงครามกับรัสเซีย
    เรื่องเด่นประเด็นร้อนby เอบีนิวส์ทูเดย์ - ม.ค. 18, 2015 1056
    เราไม่เพียงเดินบนถนนสายนั้น แต่เรามาถึงแล้ว

    [​IMG]


    หลายสัปดาห์มาแล้วที่ท่าทีต่อต้านรัสเซียของสื่อสหรัฐฯ เงียบลงไป อาจเป็นเพราะหัวหน้าฝ่ายการเมืองหันความสนใจไปหาสิ่งอื่นแทน บรรดาสื่อก็เลยตามกันไป

    ช่วงนี้คุณได้อ่านอะไรเกี่ยวกับยูเครนและรัสเซียบ้างไหม?

    ผมคิดว่าไม่ ทั้งๆ ที่มีเรื่องเครียดๆ อยู่มากที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งควรค่าแก่การให้ความสนใจอย่างยิ่ง ทั้งในสองประเทศนั้น และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมันในสหรัฐฯ

    ราคาน้ำมันที่ดิ่งลงเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นยุ่งเหยิงและเกิดความไร้เสถียรภาพของอธิปไตย เวเนซูเอล่าใกล้จะหมดแล้ว และผู้ส่งออกน้ำมันรายอื่นอีกมากมายก็กำลังมีปัญหาหนักเพราะพวกเขาขยายงบประมาณแห่งชาติและโครงการทางสังคมไปอย่างโง่เขลาเพื่อให้เข้ากับราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นอะไรที่ทำง่ายตอนขาขึ้นแต่ต้องใช้เล่ห์กลอย่างร้ายกาจตอนขาลง

    แต่เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบที่มีต่อรัสเซีย จากมุมมองของรัสเซีย ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ค่าเงินรูเบิลดิ่งลงกับมาตรการที่ขมขื่นไปจนถึงราคาน้ำมันที่ร่วงลงล้วนเป็นความผิดของสหรัฐฯ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ว่ามันจะถูกต้องหรือไม่เกี่ยวกันเลยก็ตาม นั่นคือมุมมองของชาวรัสเซียในขณะนี้ ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจเลย มันจึงไม่ทำให้พวกเขามีความรู้สึกที่ดีเท่าไหร่กับตะวันตกโดยทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ

    ราคาน้ำมันที่ตกต่ำสร้างความยุ่งยากทางเศรษฐกิจและการเงินอย่างแท้จริงให้แก่รัสเซีย เราจะพูดถึงเรื่องนั้นกัน แต่ตอนนี้ผมอยากจะมุ่งเน้นไปที่ความเป็นปรปักษ์อย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ ที่มีต่อรัสเซีย ซึ่งบางเรื่องเป็นที่เปิดเผย และบางเรื่องปิดซ่อนอยู่ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองที่รุนแรงและอันตรายมากกว่าที่ตะวันตกเตรียมพร้อมอยู่



    รัสเซียถูกบีบให้เคลื่อนไหว

    ก่อนที่ใครจะพูดว่า “ทำไมคุณจึงปกป้องปูติน? เขาเป็นคนไม่ดีนะ” ผมขอบอกว่าผมได้วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของรัสเซียและตะวันตกอย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่ประธานาธิบดียานูโควิช ของยูเครนไม่ยอมลงนามในข้อตกลงสมาคมยุโรปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2013

    ด้วยน้ำหนักของหลักฐาน มันชัดเจนสำหรับผมที่ตะวันตก/สหรัฐฯ สมควรที่จะถูกตำหนิว่ามีส่วนอย่างมากสำหรับความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับยูเครนและระหว่างรัสเซียกับโลกตะวันตก

    ตะวันตกเองที่ให้การสนับสนุนการเลือกสรรอันธพาล นีโอนาซี และกลุ่มคลั่งชาติที่ยึดอำนาจทำรัฐประหารจากยานูโควิชที่ได้รับเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เราสามารถโต้แย้งได้ทุกอย่างเกี่ยวกับเรื่องที่เขาเป็นเด็กดีหรือไม่ แต่นั่นไม่อยู่ในประเด็น และเป็นละครในมือของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งต้องการจะหันเหความสนใจออกไปจากเหตุการณ์ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่งที่นำไปสู่การโค่นล้มเขา

    สหรัฐฯ ทำอย่างเดียวกันกับที่ทำกับซัดดัม ถ้าคุณจำได้ มันเป็นการหันเหความสนใจจากการดำเนินการของสหรัฐฯ ไปยังลักษณะนิสัยของคนที่ยืนอยู่ในวิถีกระสุนของการดำเนินการนั้น

    ในความเห็นของผม ถ้ายานูโควิชไม่ได้ถูกขับไล่ด้วยความรุนแรง ยูเครนตอนนี้คงจะสงบสุข รัสเซียไม่ต้องเข้าไปแทรกแซง และก็จะไม่มีสงครามกลางเมืองในยูเครน และความตึงเครียดระหว่างตะวันตกกับรัสเซียก็จะลดลงอย่างมาก
    ในส่วนของกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลโอบาม่าใช้ความพยายามในการแทรกแซงยูเครนอย่างหนักมือเกินไป ซึ่งเป็นเรื่องน่ารังเกียจไม่น้อยไปกว่าที่เฮ็นรี่ คิสซิงเจอร์จะเรียกการกระทำของสหรัฐฯ ว่าเป็น “ความผิดพลาดร้ายแรง”

    คิสซิงเจอร์เตือน “ความผิดพลาดร้ายแรง” ของตะวันตกที่อาจนำไปสู่สงครามเย็นครั้งใหม่
    10 พฤศจิกายน 2014
    อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เฮ็นรี่ คิสซิงเจอร์ ประเมินสถานการณ์ทางภูมิศาสตร์การเมืองครั้งใหม่ที่กำลังก่อเป็นรูปร่างขึ้นท่ามกลางวิกฤติของยูเครน โดยเตือนถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามเย็นครั้งใหม่ และเรียกท่าทีของตะวันตกต่อวิกฤตครั้งนี้ว่าเป็น “ความผิดพลาดร้ายแรง”
    นักการทูตวัย 91 ปี ได้อธิบายลักษณะถึงความสัมพันธ์อันตึงเครียดนี้ว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงอันตรายของ “สงครามเย็นอีกครั้งหนึ่ง”
    “อันตรายนี้มีอยู่ และเราไม่สามารถเมินเฉยกับมันได้” คิสซิงเจอร์กล่าว เขาเตือนว่าการเมินเฉยต่ออันตรายนี้ต่อไปอีก อาจส่งผลให้เกิด “โศกนาฏกรรม” เขาบอกกับ Der Spiegel ของเยอรมนี
    (แหล่งข่าว http://rt.com)
    เมื่อแม้แต่เฮ็นรี่ คิสซิงเจอร์ยังคิดว่าคุณใช้อำนาจดิบอย่างบ้าระห่ำเกินไป คุณก็ทำมากเกินไปจริงๆ

    เมื่อพิจารณาดูลำดับเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความสัมพันธ์อันเย็นชาที่สุดของสหรัฐฯ – รัสเซีย นับตั้งแต่จมลึกอยู่ในสงครามเย็น ผมเห็นว่ารัสเซียมีความอดกลั้นอย่างยิ่งและไม่มีปฏิกิริยามากเกินไปกับการยั่วยุหลายต่อหลายครั้ง

    ถึงแม้จะมีความนิ่งสงบในหน้าหนึ่งของรายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ของรัสเซีย แต่ยังคงมีการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านรัสเซียดำเนินอยู่ในสื่อตะวันตก



    เต้นแทงโก้ต้องใช้สองคน

    prop·a·gan·da
    พรอพพะแกนดา
    คำนาม – วิจารณ์ไปในทางที่ไม่ดี
    ข้อมูล ที่มีอคติหรือทำให้เข้าใจผิด ใช้เพื่อส่งเสริมหรือเผยแพร่มูลเหตุทางการเมืองโดยเฉพาะหรือความคิดเห็น
    การโฆษณาชวนเชื่อที่จะให้ได้ผลดี จะต้องมีความร่วมมือกันอย่างเหนียวแน่นระหว่างรัฐกับสื่อ บทบาทของสื่อคือการเผยแพร่การโฆษณาชวนเชื่อนั้นก่อนเป็นอันดับแรก และอันดับที่สองคือการละเลยที่จะมองลึกเข้าไปหรือรายงานสิ่งใดที่อาจจะทำให้เกิดคำถามขึ้นกับมัน จำเป็นต้องมีบาปทั้งในการละเว้นไม่กระทำและการลงมือกระทำ

    ข่าวดีก็คืออินเทอร์เน็ตเป็นกำลังยิ่งใหญ่ที่เท่าเทียมกัน และเราสามารถค้นพบข้อเท็จจริงที่ไม่สะดวกง่ายดายขึ้นมาด้วยการขุดค้นเพียงเล็กน้อยที่ทำให้การโฆษณาชวนเชื่อนั้นทื่อไป แต่ข่าวร้ายคือคนจำนวนมากยังคงรับข่าวสารทั้งหมดจากแหล่งข่าวที่ได้ชื่อว่า “เป็นทางการ”

    นี่คือการโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่มีการเจือปนในความเอื้อเฟื้อของ Bloomberg หมายเหตุไว้ว่ามันพิมพ์เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ในช่วงวันเวลาที่ข่าวยังคงเงียบอยู่ ซึ่งไม่น่าจะเกิดการโต้แย้งขึ้น

    เจาะลึกการขยายไปยังรัสเซียอย่างลับๆ ของโอบาม่า
    31 ธันวาคม 2014
    รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า กำลังทำงานหลังฉากมาเป็นเวลาหลายเดือนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานใหม่กับรัสเซีย ถึงแม้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน จะแสดงความสนใจเพียงเล็กน้อยในการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับวอชิงตัน หรือหยุดการรุกรานยูเครนเพื่อนบ้าน
    ในการพูดคุยกับลาฟรอฟ เคอร์รี่ได้ยื่นข้อเสนอแก่รัสเซียซึ่งจะเป็นการปูทางไปสู่การออกมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจที่หนักหน่วงที่สุดบางประการ เงื่อนไขของเคอร์รี่ประกอบด้วยการที่รัสเซียจะต้องยึดมั่นกับข้อตกลงมินสค์ในเดือนกันยายน (September’s Minsk agreement) และหยุดให้การสนับสนุนทางทหารโดยตรงแก่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวยูเครน
    (แหล่งข่าว Bloomberg View: Opinions on Finance, Politics & The Economy)


    จังหวะของเรื่องนี้ได้เริ่มขึ้นแล้ว สหรัฐฯ เองที่เป็นฝ่ายพยายามมีเหตุผล แต่รัสเซียแสดงความสนใจเพียงน้อยในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ นั่นคือสิ่งที่ผู้อ่านเข้าใจ

    อีกอย่างหนึ่งคือ รัสเซียให้การสนับสนุนทางทหารโดยตรงแก่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในยูเครน และยังมีอีกเรื่องหนึ่งคือ ปูตินเองแสดงความสนใจเพียงเล็กน้อยในการหยุดการรุกราน

    นั่นคือเนื้อเรื่องหลัก สหรัฐฯ ต้องการที่จะยื่นมือออกไป ปูตินเป็นคนไม่ดี เหมือนซัดดัม… จำเขาได้ไหม? ตามรายงานชิ้นนี้ สหรัฐฯ เป็นฝ่ายที่มีเหตุมีผล และรัสเซียเองที่ก่อให้เกิดความยุ่งยาก

    เรื่องของสหรัฐฯ ยังดำเนินต่อไป โดยอ้างซ้ำๆ ว่ารัสเซียให้การสนับสนุนอาวุธแก่ฝ่ายแบ่งแยกดินแดน ดังที่เราจะเห็นในที่นี่มาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2014



    สหรัฐฯ กล่าว รัสเซียให้อาวุธกบฏยูเครน OSCE เฝ้าระวังการสงบศึก
    2 ธันวาคม 2014
    เยนส์ สโทนเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ กล่าวหารัสเซียว่าส่งรถถัง ระบบป้องกันทางอากาศชั้นสูง และอาวุธหนักอื่นๆ ข้ามชายแดนให้แก่กลุ่มกบฏยูเครน
    รัสเซียปฏิเสธความเกี่ยวข้องในความขัดแย้ง
    “นับตั้งแต่มีข้อตกลงหยุดยิงที่มินสค์ เมื่อ 5 กันยายน รัสเซียได้ส่งรถถังหลายร้อยคัน” รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ และยานพาหนะอื่นๆ ที่ใช้ในกองทัพให้แก่ฝ่ายแบ่งแยกดินแดนสนับสนุนรัสเซียในยูเครนโดยตรง เคอร์รี่กล่าว
    กองกำลังทหารัสเซียยังคงปฏิบัติการภายในยูเครนตะวันออก ที่ที่พวกเขาทำการ “ออกคำสั่งและควบคุม” กลุ่มแยกดินแดนที่พวกเขาหนุนหลังอยู่ เขากล่าวเสริม
    (แหล่งข่าว Global Research)


    คำกล่าวหาจากเลขาธิการนาโต้ และจากนายจอห์น เคอร์รี่ กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ก็คือว่า รัสเซียมีกองกำลังทหารอยู่ในยูเครน และพวกเขาได้ส่งรถถัง รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ และยานพาหนะอื่นๆ ที่ใช้ในกองทัพให้เป็นจำนวนหลายร้อยคัน

    พร้อมกับหายนะที่เกิดกับ MH-17 เราต้องเรียกเรื่องนี้ว่าเป็นกรณีสุนัขที่ไม่เห่าอีกกรณีหนึ่ง

    ภาพเหล่านั้นอยู่ที่ไหน?

    อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ถูกอ้างถึงในที่นี้ เป็นไปไม่ได้ที่จะปิดบังจากทางอากาศ

    การถ่ายรูปคุณภาพสูงของวัตถุเช่นนั้นเป็นเรื่องเด็กๆ สำหรับดาวเทียมของกองทัพในปัจจุบัน และแม้แต่สำหรับพลเรือนด้วย

    การกล่าวหามหาอำนาจใหญ่ของโลกว่าดำเนินการไม่รอบคอบอย่างนี้ อย่างน้อยควรจะต้องมีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการล้มไม่เป็นท่าในการเตือนเรื่องอาวุธมีอานุภาพทำลายล้างสูงที่นำมาเล่นที่สหประชาชาติจนนำไปสู่การรุกรานอิรักของรัฐบาลบุช 2 อย่างน้อยที่สุดที่คุณทำได้ก็คือนำภาพของยานพาหนะในกองทัพและอาวุธหนักดังกล่าวมาเปิดเผย

    แต่ไม่มีเลย และเหตุผลที่ไม่มีภาพมาแสดงก็เพราะมันไม่มีอยู่เลย ถ้ามันมี คุณแน่ใจได้ 100% เลยว่า พวกเขาจะต้องนำมาเปิดเผยและเผยแพร่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าทาง CNN จนทุกคนสามารถแยกลักษณะรถถัง T-72 จากรถลำเลียงพลหุ้มเกราะที่รัสเซียผลิตได้



    เกี่ยวกับชาวรัสเซีย “ที่ไม่เต็มใจ”

    เรามาดูเหตุผลว่าทำไมรัสเซียจึงไม่อยู่ในอารมณ์ที่จะญาติดีกับสหรัฐฯ ในเวลานี้กันอย่างใกล้ชิดขึ้นอีกหน่อย
    ด้วยความทรงระยะสั้นของเรา เราจำได้ว่าสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ได้ผ่านมติต่อต้านรัสเซียชิ้นสำคัญเมื่อเดือนที่แล้ว ที่สามารถถูกคนมีเหตุผลมองว่าเป็นการประกาศสงครามได้อย่างง่ายดาย

    กฎหมายอัปมงคลฉบับนี้ผ่านสภาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2014 และเรียกชื่อว่า “การประณามอย่างรุนแรงต่อการกระทำของสหพันธรัฐรัสเซีย ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ซึ่งได้ดำเนินนโยบายรุกรานประเทศเพื่อนบ้านโดยมีเป้าหมายเพื่อครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจ”

    รอน พอล ได้แสดงความคิดเห็นถึงปัญหาที่มากับมตินี้ไว้อย่างดีว่า



    สภาคองเกรสที่ขาดการไตร่ตรอง “ประกาศสงคราม” กับรัสเซีย
    4 ธันวาคม 2014
    เหล่านี้คือมติประเภทที่ผมได้จับตามองอย่างใกล้ชิดในสภาคองเกรส สิ่งที่ถูกร่างออกมาเสมือนเป็นแถลงการณ์ความคิดเห็น “ที่ไร้พิษภัย” มักจะนำไปสู่การคว่ำบาตรและสงคราม ผมจำได้ว่าในปี 1998 มีการถกเถียงกันอย่างหนักเกี่ยวกับพระราชบัญญัติปลดปล่อยอิรัก เหมือนที่ผมบอกตอนนั้น ผมรู้ว่ามันจะนำไปสู่สงคราม ผมไม่ได้คัดค้านพระราชบัญญัตินั้นเพราะผมชื่นชมซัดดัม ฮุสเซน เหมือนตอนนี้ที่ผมไม่ได้ชื่นชมปูตินหรือผู้นำการเมืองต่างชาติคนใด แต่เป็นเพราะตอนนั้นผมรู้ว่าการทำสงครามกับอิรักอีกจะไม่แก้ปัญหาอะไร และจะยิ่งทำให้เรื่องมันแย่เข้าไปอีก เราทุกคนรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้น
    นั่นจึงทำให้ผมยากที่จะเชื่อว่าพวกเขากำลังออกห่างจากมันอีกครั้ง และครั้งนี้มีความเสี่ยงสูงกว่า เป็นการกระตุ้นสงครามกับรัสเซียที่สามารถส่งผลในการทำลายล้างทั้งหมด
    ถ้ามีใครคิดว่าผมพูดเกินไปเกี่ยวกับความเลวร้ายของมติฉบับนี้ ผมขอนำเสนอตัวอย่างบางส่วนจากกฎหมายนี้
    มตินี้ (ย่อหน้าที่ 3) กล่าวหาว่ารัสเซียรุกรานยูเครน และประณามรัสเซียว่าละเมิดอธิปไตยของยูเครน ถ้อยคำนี้นำเสนอขึ้นมาโดยไม่มีหลักฐานใดๆ ของเรื่องนั้น แน่นอนว่าด้วยดาวเทียมสมัยใหม่ของเราที่สามารถอ่านแผ่นป้ายทะเบียนจากอวกาศได้ เราน่าจะมีวีดิโอหรือภาพการรุกรานของรัสเซียนี้ แต่ไม่มีการนำเสนอเลย
    ส่วนเรื่องการละเมิดอธิปไตยของยูเครน ทำไมมันจึงไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยของยูเครนสำหรับการที่สหรัฐฯ เข้าไปมีส่วนร่วมในการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประเทศนั้นอย่างที่มันทำในเดือนกุมภาพันธ์? เราทั้งหมดได้ยินเทปที่เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศวางแผนกับทูตสหรัฐฯ ในยูเครนเพื่อโค่นล้มรัฐบาล เราได้ยินผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ วิคตอเรีย นูแลนด์ คุยโวว่าสหรัฐฯ ได้ใช้เงินไป 5 พันล้านดอลล่าร์ ในการเปลี่ยนการปกครองในยูเครน ทำไมเรื่องนั้นจึงไม่เป็นไร?
    มตินี้ (ย่อหน้าที่ 11) กล่าวหาประชาชนในยูเครนตะวันออกว่าจัด “การเลือกตั้งที่ฉ้อฉลและผิดกฎหมาย” ในเดือนพฤศจิกายน ทำไมทุกครั้งที่การเลือกตั้งไม่เป็นผลตามความต้องการของรัฐบาลสหรัฐฯ พวกเขาจะต้องบอกว่ามัน “ผิดกฎหมาย” และ “ฉ้อฉล”? ประชาชนในยูเครนตะวันออกไม่ได้รับอนุญาตให้ตัดสินใจด้วยตัวเองหรอกหรือ? นั่นไม่ใช่สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานหรอกหรือ?
    มตินี้ (ย่อหน้าที่ 13) เรียกร้องให้ถอนกองกำลังรัสเซียออกไปจากยูเครน ถึงแม้รัฐบาลสหรัฐฯ จะไม่ได้ให้หลักฐานใดๆ ว่ากองทัพรัสเซียเคยอยู่ในยูเครน ย่อหน้านี้ยังเร่งเร้าให้รัฐบาลในกรุงเคียฟกลับไปใช้ปฏิบัติการทางทหารกับดินแดนในภาคตะวันออกที่กำลังเรียกร้องเอกราช
    (แหล่งข่าว Ron Paul Institute for Peace and Prosperity)

    ถ้ากลับกัน ให้บรรดาผู้ออกกฎหมายชาวรัสเซียเป็นฝ่ายผ่านมติที่ประณามสหรัฐฯ ว่ากระทำสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ นานาโดยที่ไม่มีหลักฐานมานำเสนอเลย ผมคิดว่าเราทุกคนคงรู้ว่าผู้นำทางการเมืองของสหรัฐฯ จะเป็นฟืนเป็นไฟขนาดไหนที่ถูกหมิ่นประมาท
    ลองคิดถึงเรื่องนี้จากมุมมองของรัสเซีย พวกเขารู้ดีอย่างยิ่งว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่รอน พอล ผู้มีเกียรติพูดถึงนั้นเป็นเรื่องจริง มีการรัฐประหารอย่างผิดกฎหมายภายหลังการเลือกตั้งตามกฎหมาย สหรัฐฯ รับรองว่าการรัฐประหารนั้นชอบด้วยกฎหมายแต่การเลือกตั้งผิดกฎหมาย แล้วยังมาพูดเสียงดังถึงความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย

    ที่เลวร้ายกว่านั้น สหรัฐฯ ยังออกคำสั่งว่า เงื่อนไขสำคัญในการที่มันจะยกเลิกการคว่ำบาตรรัสเซียก็คือ รัสเซียจะต้องถอนทหารออกจากยูเครน และหยุดส่งอาวุธยุทโธปกรณ์มากมายไปที่นั่น แต่จนถึงวันนี้ มันยังไม่มีหลักฐานที่หนักแน่นสักชิ้นเดียวมาสนับสนุนข้อกล่าวหาเหล่านั้น

    ส่วนสิ่งที่เลวร้ายพอๆ กับกฎหมายฉบับนั้นก็คือ วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้ยกระดับการทุ่มเทหลังจากนั้นเพียงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น คือเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2014 ได้ออกพระราชบัญญัติ S.2828 สนับสนุนเสรีภาพของยูเครน ปี 2014

    นาโต้-สหรัฐฯ ส่งอาวุธให้ยูเครน แผนการก้าวรุกต่อรัสเซีย
    15 ธันวาคม 2014
    พระราชบัญญัติสนับสนุนเสรีภาพของยูเครน ปี 2014 อนุญาตให้ส่งความช่วยเหลือที่เป็นอาวุธและไม่ใช่อาวุธ นอกเหนือจากสิ่งที่ส่งไปให้แล้ว
    รวมทั้งเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เสื้อเกราะ กล้องตรวจการณ์เวลากลางคืน รถฮัมวี่ เรด้าร์ หน่วยตรวจจับสกัดลูกปืนครก กล้องส่องทางไกล เรือกเล็ก และเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ อีกมากมาย
    สไนเปอร์และปืนยาว เครื่องยิงระเบิดมือ ปืนครกและลูกกระสุน เครื่องยิงจรวด มิสไซล์ต่อต้านรถถัง
    กฎหมาย UFSA “อนุญาตให้ (โอบาม่า) จัดเตรียมมาตราต่างๆ ในการต่อสู้คดี การบริการในการป้องกันตัว และการฝึกฝนรัฐบาลยูเครนเพื่อจุดประสงค์ในการต่อต้านอาวุธร้ายแรง และสร้างอธิปไตยและความมั่นคงในเขตแดนของยูเครนขึ้นมาใหม่…”
    “รวมทั้งอาวุธต่อสู้รถถังและรถหุ้มเกราะ อาวุธและกระสุนของลูกเรือ เรดาร์ต่อต้านกองปืนใหญ่ เพื่อระบุและหาเป้าหมายกองปืนใหญ่ ควบคุมการยิง ค้นหาระยะ และอุปกรณ์ทางสายตา การนำทาง และการควบคุม เครื่องบินโดรน และข้อบังคับด้านความปลอดภัย และอุปกรณ์ในการสื่อสาร”
    (แหล่งข่าว Global Research)


    หลังจากว่ากล่าวรัสเซียที่ให้ความช่วยเหลือทางทหาร โดยที่สหรัฐฯ ไม่ได้ให้หลักฐานที่หนักแน่นเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวหานั้นเลย สหรัฐฯ ได้ผ่านพระราชบัญญัติที่มีความมุ่งหมายที่จะสนับสนุนความช่วยเหลือทางทหารทุกรูปแบบแก่ผู้มีอำนาจฝ่ายปกครองในเคียฟ

    กฎหมายฉบับนี้อาจจะเรียกชื่อง่ายๆ ว่าเป็น พระราชบัญญัติ “ทำตามที่เราพูด ไม่ใช่ตามที่เราทำ” ด้วยเหตุผลบางประการ ชาวรัสเซียไม่ค่อยประทับใจกับท่าทีนั้น

    โฆษกกะทรวงต่างประเทศของรัสเซีย นายอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชวิช กล่าวตอบโต้ว่า

    “ทั้งสองสภาของสภาคองเกรสสหรัฐฯ ได้รับรองพระราชบัญญัติสนับสนุนเสรีภาพของยูเครน โดยข้ามการอภิปรายและลงมติตามระเบียบ ข้อความที่เป็นการเผชิญหน้าอย่างเปิดเผยของกฎหมายฉบับใหม่นี้ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากก่อให้เกิดความเสียใจอย่างสุดซึ้ง”

    “อีกครั้งหนึ่งที่วอชิงตันกำลังปรับระดับการกล่าวหารัสเซียโดยไม่มีหลักฐานและข่มขู่ที่จะใช้มาตรการคว่ำบาตรมากขึ้น ในขณะเดียวกันมันกำลังทำเอาความขัดแย้งของยูเครนและซีเรียมาปนเข้าด้วยกัน ซึ่งสหรัฐฯ เป็นสื่อในการขยายตัว ถึงขนาดที่มันต้องอ้างอิงสนธิสัญญา INF ถึงแม้ว่ายังเป็นที่สงสัยว่าอเมริกาทำยึดมั่นกับมันหรือไม่ก็ตาม

    ในขณะเดียวกัน มันได้ให้สัญญากับกรุงเคียฟว่าจะให้อาวุธในการปฏิบัติการทางทหารในดอนบาสส์ และยอมรับอย่างเปิดเผยว่ามันตั้งใจที่จะใช้องค์กรอิสระในการสร้างผลกระทบกับความเปลี่ยนแปลงภายในประเทศของรัสเซีย”
    “ถึงแม้จะปรากฏชัดว่าความท้าทายต่อความมั่นคงระหว่างประเทศต้องใช้ความพยายามร่วมกันของรัสเซียและอเมริกา สมาชิกสภานิติบัญญัติของอเมริกาปฏิบัติตามการบริหารของประธานาธิบดีโอบาม่าด้วยการทำลายพื้นฐานของการเป็นหุ้นส่วนกัน ความสัมพันธ์ทวิภาคีถูกทำลายอย่างรุนแรงไม่น้อยไปกว่าคำแปรญัตติที่โด่งดังของแจ้กสัน-แวนิค ที่ได้ความเห็นชอบในปี 1974 เพื่อขัดขวางความร่วมมือกันมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ เราไม่สามารถลงความเห็นเป็นอื่นได้นอกจาก สหรัฐฯ ร้อนใจที่จะให้เวลาย้อนกลับ เมื่อสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ส่งเสริมให้มีการคว่ำบาตรรัสเซีย ก็ควรจะมีส่วนที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของมัน รัสเซียจะไม่ถูกข่มขู่ให้ทิ้งผลประโยชน์ของตน และไม่ยอมทนต่อการแทรกแซงกิจการภายในของตน” (แหล่งข่าว Global Research)

    ส่วนที่ประหลาดอย่างแท้จริงของเรื่องนี้ก็คือ ผมยังไม่เจอการวิเคราะห์หรือแสดงความคิดเห็นที่เชื่อถือได้ใดๆ ที่อธิบายว่าอะไรคือผลประโยชน์ดึงดูดใจของสหรัฐฯ ในยูเครน หรืออะไรคือเป้าหมายสุด ทั้งหมดเป็นเรื่องลึกลับ เมื่อประกอบเข้ากับสาระสำคัญที่ว่ารัสเซียสามารถเป็นพันธมิตรหรือศัตรูที่ทรงพลังอย่างยิ่งได้ ทำไมจึงไม่เลือกพันธมิตร? ทำไมจึงเลือกศัตรู?

    ในอีกด้านหนึ่ง เรามีหลักฐานมากมายว่า สหรัฐฯ มีแผนจริงจังที่จะทำให้รัสเซียอ่อนแอและไร้เสถียรภาพ เล่ห์เหลี่ยมที่เรากำลังใช้อยู่จะถูกสหรัฐฯ ถือว่าเป็นการกระทำสงคราม ถ้าหากสถานการณ์มันกลับกัน

    ดังที่ผู้สังเกตการณ์ชาวรัสเซียคนหนึ่งกล่าวว่า

    ทั้งผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ วิคตอเรีย นูแลนด์ – ภรรยาของโรเบิร์ต เคแกน ผู้ร่วมก่อตั้ง the Project for the New American Century (PNAC) และผู้สนับสนุนอาณาจักรอนุรักษ์นิยมใหม่ – และผู้ช่วยรัฐมนตรีคลัง แดเนียล เกลเซอร์ บอกกับคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 ว่า เป้าหมายของยุทรธศาสตร์การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ต่อสหพันธรัฐรัสเซียไม่ใช่เพียงเพื่อทำลายความสัมพันธ์ทางการค้าและธุรกิจระหว่างรัสเซียกับสหภาพยุโรปเท่านั้น แต่เพื่อทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในรัสเซีย และเพื่อสร้างความไม่มั่นคงของสกุลเงินและเงินเฟ้อ หรือจะกล่าวได้ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ กำลังมุ่งเป้าไปยังเงินรูเบิลของรัสเซียเพื่อที่จะทำให้มันอ่อนค่า และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อทางเศรษฐกิจของรัสเซีย มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2014 เป็นอย่างน้อย

    สหรัฐฯ กำลังทำสงครามทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่กับสหพันธรัฐรัสเซีย และเศรษฐกิจแห่งชาติของรัสเซีย สุดท้าย ชาวรัสเซียทั้งหมดคือเป้าหมายโดยรวม การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจไม่ใช่อะไรนอกจากการทำสงครามเศรษฐกิจ ถ้าหากไม่เกิดวิกฤติในยูเครน ก็คงต้องหาข้ออ้างอื่นๆ มาใช้เพื่อทำลายรัสเซีย

    ทั้งผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ วิคตอเรีย นูแลนด์ และผู้ช่วยรัฐมนตรีคลัง แดเนียลล เกลเซอร์ ได้บอกกับคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2014 ว่า เป้าหมายสุดท้ายของสหรัฐฯ ในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียก็คือ การทำให้ประชากรของรัสเซียมีความทุกข์ยากและสิ้นหวังจนพวกเขาต้องเรียกร้องให้กรุงเครมลินยอมแพ้ต่อสหรัฐฯ และนำไปสู่ “การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง” “การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง” สามารถแปลความหมายไปได้หลายอย่าง แต่ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดในที่นี้ก็คือการเปลี่ยนแปลงการปกครองในมอสโคว์

    แท้จริงแล้ว เป้าหมายของสหรัฐฯ ยังไม่ปรากฏว่าจะเชื่อมโยงไปถึงการบังคับรัฐบาลรัสเซียให้เปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ แต่เพื่อยุยงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในมอสโคว์ และเพื่อทำให้สหพันธรัฐรัสเซียเป็นอัมพาตไปทั้งหมดด้วยการยุยงให้เกิดความแตกแยกภายใน

    นี่คือเหตุผลว่าทำไมแผนที่ของรัสเซียที่ถูกแบ่งเป็นส่วนๆ จึงถูกนำมาเผยแพร่โดย Radio Free Europe (แหล่งข่าว Global Research)



    เราไม่ได้อยู่บนถนนไปสู่สงคราม แต่เรามาถึงแล้ว

    ถ้ามันดูเหมือนสงคราม การกระทำเหมือนสงคราม กลิ่นเหมือนสงคราม มันก็อาจจะเป็นสงครามจริงๆ สหรัฐฯ กำลังทำสงครามตัวแทนทางด้านเศรษฐกิจ การเงิน การค้า การเมือง และแม้แต่ทางการเคลื่อนไหวกับรัสเซีย คำถามเดียวเท่านั้นคือ ทำไม?

    จากมุมมองของชาวรัสเซียแล้ว มันดูเหมือนจะชัดเจนว่ากลุ่มนีโอคอน (อนุรักษ์นิยมใหม่) กำลังขับเคลื่อนเรือแห่งรัฐของสหรัฐฯ และพวกเขาไม่ใช่คนประเภทที่คุณจะเจรจาด้วยความศรัทธา หรือคนที่คุณจะเชื่อใจได้ กลุ่มนีโอคอนเชื่อว่าพวกเขามีความได้เปรียบ พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศที่ทรงอำนาจมากที่สุดในโลก พวกเขาไม่เคยชอบการเจรจามากไปกว่าการบังคับ

    ปัญหาเดียวก็คือ สหรัฐฯ กำลังสูญเสียพันธมิตรและสหายบนโลกนี้ไปอย่างรวดเร็ว และมันเกือบจะไม่ทรงอำนาจอย่างที่มันเคยเป็นอีกแล้ว ขอบคุณต่อความล้มเหลวอย่างใหญ่หลวงในการลงทุนในตัวเอง (การศึกษา, โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ)


    —–
    by Chris Martenson
    Source Peak Prosperity | Insights for Prospering as Our World Changes
    แปล/เรียบเรียง กองบก.เอบีนิวส์ทูเดย์

    http://www.abnewstoday.com/hot-topic/ถนนสู่สงครามกับรัสเซีย/
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Home เรื่องเด่นประเด็นร้อน 10 สงครามที่ต้องเฝ้าจับตาในปี 2015
    10 สงครามที่ต้องเฝ้าจับตาในปี 2015
    เรื่องเด่นประเด็นร้อนby เอบีนิวส์ทูเดย์ - ม.ค. 13, 2015 2731
    จากอัฟกานิสถานถึงเยเมน ความขัดแย้งและวิกฤติที่โลกต้องเผชิญในปีนี้

    [​IMG]


    ปีที่แล้ว (2014) ถือเป็นปีที่เลวร้ายสำหรับสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ถึงแม้ว่ามีจุดที่สว่างไสวอยู่บ้างก็ตาม เช่น กระบวนการสันติภาพของกัมพูชาดูท่าว่ามีความหวัง การเจรจาเรื่องนิวเคลียร์ของอิหร่านรอบล่าสุดก็ประสบความสำเร็จมากกว่าที่หลายคนคิด ในตูนีเซียก็แสดงให้เห็นถึงอำนาจในการพูดคุยเจรจาที่มีเหนือกว่าความรุนแรง ส่วนอัฟกานิสถานแม้จะมีความท้าทายมากมายก็สามารถมีรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติได้ และการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตของประธานาธิบดีบารัก โอบามา กับคิวบาก็เป็นเรื่องในเชิงบวก

    แต่สำหรับพื้นที่ส่วนใหญ่แล้ว มันเป็นปีที่น่าเศร้า ความขัดแย้งก่อตัวสูงขึ้นอีกครั้งหลังจากได้เว้นระยะห่างไปภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็น สงครามในปัจจุบันได้คร่าชีวิตผู้คนและทำให้มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยมากกว่า และยุติลงยากกว่าที่เคยเป็นเมื่อหลายปีที่ผ่านมา

    ความยุ่งเหยิงในโลกอาหรับก็หนักหนามากขึ้น ไอซิสได้ยึดพื้นที่กว้างขวางในอิรักและซีเรีย ขณะที่หลายพื้นที่ในกาซ่าถูกทำลายอีกครั้ง ขณะที่อียิปต์หันเข้าสู่ลัทธิอำนาจนิยมและการปราบปราม ส่วนลิเบียและเยเมนถูกซัดเข้าสู่กระแสของสงครามกลางเมือง

    ในแอฟริกา โลกได้จับตามองบรรดาผู้นำของซูดานได้ขับเคลื่อนประเทศใหม่ของพวกเขาลงสู่สงคราม, ความเบิกบานใจเมื่อปี 2013 ลดเลือนไปในสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งคองโก อีโบล่าได้ลุกลามไปในหลายพื้นที่ของแอฟริกาตะวันตก และกลุ่มกบฏโบโกฮารัมได้ยกระดับการโจมตีก่อการร้ายในภาคเหนือของไนจีเรีย คำสั่งตามกฎหมายสากลถูกท้าทายด้วยการผนวกดินแดนครีเมียเข้ามาของรัสเซีย และสงครามกำลังกลับเข้ามาในยุโรปเมื่อการสู้รบยังดำเนินต่อไปในภาคตะวันออกของยูเครน

    เพราะฉะนั้น 12 เดือนที่ผ่านมานี้บอกเราว่ามีอะไรผิดพลาดบ้าง?

    ในระดับโลก การแข่งขันกันทางภูมิศาสตร์การเมืองที่เพิ่มขึ้น อย่างน้อยในขณะนี้ กำลังจะนำไปสู่โลกที่ความควบคุมได้และคาดเดาได้น้อยลง เรื่องนี้เป็นได้ชัดเจนที่สุดเมื่อมองดูความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับตะวันตก มันยังไม่ใช่ยอดสรุปทั้งหมด ทั้งสองชาติยังคงทำงานร่วมกันในเรื่องนิวเคลียร์ของอิหร่าน เรื่องภัยคุกคามจากนักรบก่อการร้ายจากต่างชาติ และเรื่องการรักษาสันติภาพในแอฟริกา แต่นโยบายของรัสเซียเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านแสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่แท้จริง และความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ และยุโรปยิ่งเพิ่มความไม่ลงรอยต่อกันมากขึ้น

    ความสัมพันธ์ของจีนกับประเทศเพื่อนบ้านก็ยังตึงเครียดอยู่ และอาจจะนำไปสู่วิกฤติในตะวันออกหรือทะเลจีนใต้ได้ ความบุกบั่นระหว่างอิหร่านและซาอุดิอารเบียได้กำหนดระดับความรุนแรงระหว่างซุนนีและชีอะฮ์ทั่วทั้งตะวันออกกลาง

    ผู้มีอำนาจซุนนีส่วนใหญ่ก็แบ่งแยกในระหว่างพวกเขาเอง การต่อสู้ชิงชัยกันระหว่างซาอุดี้ฯ เอมิเรต และอียิปต์ในด้านหนึ่ง และกาตาร์กับตุรกีในอีกด้านหนึ่ง

    ที่อื่นๆ ในทวีปแอฟริกาก็เช่นกัน ผู้มีอำนาจทั้งหลายแก่งแย่งชิงดีกันในโซมาเลีย และสงครามระดับภูมิภาคที่เพิ่มมากขึ้นในซูดานใต้ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งคองโกก็เป็นจุดนัดพบสำหรับการแข่งขันกันของประเทศเพื่อนบ้านเพื่ออำนาจบารมีและทรัพยากร

    การเป็นคู่ปรับระหว่างคนหมู่มากกับผู้มีอำนาจระดับภูมิภาคไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่ความเป็นปรปักษ์ระหว่างมหาอำนาจได้เป็นตัวบดบังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหปะชาชาติไม่ให้มองเห็นยูเครนและซีเรีย และปล่อยให้สมาชิกผู้ทรงอำนาจที่สุดมีเวลาและต้นทุนทางการเมืองเพื่อลงทุนในวิกฤติอื่นๆ เมื่ออำนาจแพร่กระจายไปมากขึ้น ความเป็นศัตรูระหว่างผู้มีอำนาจระดับภูมิภาคก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น การแข่งขันกันระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งได้แต่งเติมสีสันแก่สงครามกลางเมืองระดับภูมิภาคและนานาชาติมากยิ่งขึ้น ทำให้การหาทางออกของปัญหาเหล่านั้นมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น

    สงครามและความไร้เสถียรภาพเกิดขึ้นหนาแน่นในทางภูมิศาสตร์มากยิ่งขึ้นด้วย โดยได้แพร่ออกไปจากส่วนต่างๆ ของลิเบีย แถบซาเฮล และตอนเหนือของไนจีเรีย ไปจนถึงทะเลสาบเกรตเลกส์และแหลมฮอร์นของทวีปแอฟริกา ผ่านไปทางซีเรีย อิรัก และเยเมน และเลยไปจนถึงอัฟกานิสถานและปากีสถาน

    การสร้างเสถียรภาพให้แก่บริเวณที่ไม่มั่นคงที่สุดของโลกจำเป็นจะต้องใช้นโยบายต่างประเทศระดับโลกที่สำคัญ และไม่ใช่แค่นโยบายที่ชอบด้วยศีลธรรม เนื่องจากดินแดนเหล่านี้มักถูกใช้เป็นที่พักพิงของผู้ก่อการร้ายและอาชญากรข้ามชาติ



    เรื่องนี้ประกอบขึ้นด้วยแนวโน้มที่น่ากังวลต่อว่าจะเกิดความรุนแรงในประเทศที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย พื้นที่ที่มีปัญหามากที่สุดในโลกบางแห่งคือประเทศที่กำลังพยายามจะดำเนินการเพื่อให้หลุดพ้นจากการปกครองแบบอำนาจนิยม เช่นลิเบีย เยเมน อัฟกานิสถาน คองโก และยูเครน การบุกบั่นเพื่อความลงตัวในการแบ่งสันอำนาจและทรัพยากรเป็นความท้าทายอย่างใหญ่หลวง และความล้มเหลวน่าจะนำไปสู่ความโกลาหลครั้งใหม่
    สิ่งนี้เป็นการหนีเสือปะจระเข้ทั้งสำหรับคนชั้นสูงในประเทศและผู้มีอำนาจต่างชาติ ในด้านหนึ่ง เรารู้พฤติกรรมของผู้ปกครองบ้าอำนาจหลายคนที่มักจะสร้างปัญหาไว้ในภายหลัง พวกเขาไม่มีความจริงใจต่อสถาบันต่างๆ กดขี่ฝ่ายตรงข้าม ละเลยประชาชนส่วนใหญ่ และมักจะทิ้งความไม่แน่นอนทางกลไกสืบต่อกันมา อีกด้านหนึ่ง การกำจัดพวกเขาออกไปมักจะทำให้เรื่องมันแย่ลงในช่วงเวลาสั้นๆ นั่นเป็นเพราะการปกครองของพวกเขาไม่ปล่อยให้ระบบใดๆ ถูกจัดการเปลี่ยนแปลงได้

    ปีที่แล้ว ยังเห็นได้ชัดเจนอีกด้วยว่ากลุ่มนักรบญีฮาดยังคงเป็นภัยคุกคามที่เติบโตขึ้นอย่างมั่นคง รัฐอิสลามและพลพรรคใหม่ๆ ในซีนายและแอฟริกาเหนือ โบโกฮารัมในไนจีเรีย อัล-ชาบาบในโซมาเลียและเคนย่า และสาขาต่างๆ ของอัล-กออิดะฮ์ในเอเชียใต้ เอเชียกลาง คอเคซัส เยเมน และซาเฮล กำลังทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพ เข่นฆ่าพลเรือน และทำให้ประชาชนในประเทศมีความคิดแบบสุดโต่ง

    ถึงแม้ว่ากลุ่มนักรบญีฮาดเหล่านี้จะใช้กลวิธีก่อการร้ายที่น่าสยดสยอง แต่พวกเขาก็เป็นมากกว่าผู้ก่อการร้าย พวกเขาต้องการมีอำนาจควบคุมดินแดน พวกเขามักจะผสมผสานกลวิธีที่โหดเหี้ยมเข้ากับเล่ห์เหลี่ยมทางการเมืองหรือสังคมในวงกว้าง บางกลุ่มเสนอตัวเองเป็นทางเลือกให้แก่ประเทศที่ทุจริตและไม่ยุติธรรม โดยการจัดให้มีสิ่งจำเป็นพื้นฐานแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความมั่นคงและความยุติธรรม เมื่อรัฐบาลล้มเหลวในการนั้น ในสงครามบางครั้งที่พวกเขาเข้าต่อสู้ถูกขับเคลื่อนแต่แรกเริ่มโดยการญีฮาดระหว่างประเทศ แนวคิดแบบสุดโต่งมักจะเข้ามาในภายหลัง และเข้ามาท่ามกลางการใช้ความรุนแรงอื่นๆ เสมอ แต่เมื่อมันเข้ามาแล้ว มันจะทำให้การค้นหาที่สิ้นสุดของสงครามด้วยการประนีประนอมมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น

    ทางออกของปัญหาเหล่านี้จำเป็นจะต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อความขัดแย้งแต่ละแห่ง ตัวขับเคลื่อน ตัวละครสำคัญของมัน แรงกระตุ้นและผลประโยชน์ของพวกเขา การตอบสนองใดๆ จำเป็นต้องดัดแปลงไปตามเนื้อหาของมัน แต่เราสามารถนำเสนอความคิดทั่วไปโดยดูจากปีที่ผ่านมาได้

    ประการแรก ปีนี้นโยบายต่างๆ ขาดยุทธศาสตร์ทางการเมืองบ่อยเกินไป เช่นการดำเนินการของสหรัฐฯ ต่อไอซิส หรืออย่างที่ทำต่อโบโกฮารัมของไนจีเรีย ปฏิบัติการทางทหารอย่างเดียวไม่ได้ผล รังแต่จะทำให้ตัวขับเคลื่อนความขัดแย้งฝังอยู่ด้านล่างเรื่อยไป ไม่ว่าจะเป็นความไม่เท่าเทียมทางอำนาจ การด้อยพัฒนา การเบียดเบียนรัฐ ลักษณะทางการเมือง และอื่นๆ สิ่งที่จะรักษาประเทศต่างๆ ให้อยู่ด้วยกันก็คือความนิ่งทางการเมือง การสิ้นสุดสงครามหรือการหลีกเลี่ยงวิกฤติต่างๆ จำเป็นต้องใช้กระบวนการที่ผลักดันให้ไปหาสิ่งนั้น

    ประการที่สอง การเจรจาทำให้เกิดความเข้าใจได้มากกว่าที่จะไม่พูด จุดที่สว่างไสวของปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนิวเคลียร์ของอิหร่าน การเจรจาสันติภาพของโคลอมเบีย การเปลี่ยนผ่านของตูนีเซีย หรือความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ กับคิวบา ล้วนแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการสนทนากัน แม้ว่ามันจะน่าอึดอัดหรือไม่ถูกใจประชาชน แน่นอนว่ามันมีความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเจรจากับกลุ่มที่มีวาระพิเศษ หรือกลุ่มที่มีแรงกระตุ้นในทางทุจริตมากกว่าทางการเมือง แต่ขณะนี้ความสมดุลกำลังมีน้ำหนักอย่างน่ากลัวไปในทางตรงข้ามกับการเจรจา ผู้สร้างนโยบายจำเป็นจะต้องยืดหยุ่นมากกว่านี้ ต้องละเว้นการประกาศกร้าวว่าจะคุยหรือไม่คุยกับใคร และเมื่อจำเป็นต้องใช้กำลัง ให้ดำเนินการอย่างรอบคอบ แม้จะเป็นเพียงเพื่อแยกผู้ที่อยู่นอกขอบอย่างแท้จริง

    ประการที่สาม การรวมกันในทางการเมืองควรจะเป็นหลักการชี้นำของบรรดาผู้นำในปัจจุบันให้บ่อยขึ้น มันหมายถึงการสร้างสถาบันต่างๆ ที่เป็นตัวแทน มีประสิทธิภาพ และปกป้องพลเมืองทั้งหมด มันเป็นการทำงานทางการเมืองที่ยาวนาน ตรากตรำ และหนักหนา ในประเทศที่เปราะบาง การรีบเร่งไปสู่การเลือกตั้งที่จะเป็นการให้อำนาจกับผู้ชนะบนความเสียหายของผู้แพ้ หรือการผ่านรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจทั้งหมดอยู่ในคนคนเดียวเป็นสิ่งที่อันตราย

    การกีดกันออกไปเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เกิดสงครามในปัจจุบัน ทุกกลุ่มหลักต้องการที่นั่งในที่ประชุมเพื่อรักษาผลประโยชน์ของพวกตน

    ประการที่สี่ การป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติเป็นสิ่งที่ดีกว่าการพยายามจำกัดวงมันในภายหลัง ซึ่งหมายถึงการเข้าไปทำการประสานก่อนที่ความขัดแย้งในท้องถิ่นจะเข้าสู่มิติของการญิฮาด เป็นต้น หมายถึงการกล่าวถึงข้อข้องใจของชุมชนต่างๆ ก่อนที่พวกเขาจะลุกขึ้นจับอาวุธ หมายถึงการพยายามยุติสงครามก่อนที่กลุ่มต่างๆ จะแตกหักจากกัน ซึ่งจะทำให้ความพยายามเพื่อสันติภาพมีความยากลำบากมากยิ่งขึ้น

    สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือการช่วยเหลือประเทศที่อยู่ในภูมิภาคที่มีปัญหาที่ยังมีความมั่นคงอยู่พอสมควร หรืออย่างน้อยที่ยังไม่ล่มสลาย ซึ่งหมายถึงการทำให้แน่ใจว่าความช่วยเหลือทางการทหารจะไม่เป็นการรุกล้ำกับบรรดาผู้ปกครอง แต่มันยังหมายถึงการต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้นในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แทนที่จะผลักดันบรรดาผู้นำให้ไปสู่การเมืองที่มีวงกว้างมากขึ้น ให้มีบริการและเครื่องใช้สาธารณะขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้น การจัดการกับการทุจริต และการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน สิ่งเหล่านี้ไม่มีอะไรง่ายเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวิกฤติต่างๆ มากมายเข้าครอบงำบรรดาผู้นำโลก ถ้าหากว่าความสามารถในการจัดการกับวิกฤตของโลกได้มาถึงจุดแตกหักแล้ว ความล่มสลายในอีกภูมิภาคหนึ่ง อย่างเช่นเอเชียกลาง หรือในแถบอ่าว ก็จะเป็นความหายนะ

    สุดท้าย เกี่ยวกับบัญชีรายชื่อ มันเป็นการตัดสินชี้ขาดในบางระดับ ด้วยวิกฤติการที่กำลังเกิดขึ้นมากมาย การทำให้มันแคบลงด้วยการจัดอันดับ 10 วิกฤติการที่อันตรายมากที่สุดจึงเป็นเรื่องยาก และเรายังไม่ได้รวมถึงความรุนแรงในระดับพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดในเม็กซิโกและบางส่วนของอเมริกากลาง ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ก็ไม่ปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อนี้ แต่เห็นได้ชัดว่ามันมีความร้อนแรงขึ้นในกาซ่า เวสต์แบงก์ เยรูซาเล็ม หรือแม้แต่ในอิสราเอลเอง ปากีสถานก็ไม่ติดอยู่ในบัญชีของปีนี้เช่นกัน แต่การโจมตีในเปชวาร์ครั้งเลวร้ายเมื่อเดือนธันวาคมแสดงให้เห็นว่ามันยังคงเผชิญกับภัยคุกคามที่เชื่อมโยงอยู่ภายในมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมาจากกลุ่มนักรบญิฮาด ความรุนแรงในเมืองจากการแบ่งแยกนิกาย หรือการทหารที่อยู่ไม่นิ่งของมันเอง



    ต่อไปนี้คือ 10 สงครามที่ต้องเฝ้าจับตาในปีนี้
    1. ซีเรีย อิรัก กับรัฐอิสลาม (ไอซิส)

    นับตั้งแต่ที่รัฐอิสลามได้กวาดไปทั่วพื้นที่กว้างทางตอนเหนือของอิรักในเดือนมิถุนายน กลุ่มนักรบญิฮาดกลุ่มนี้ได้กลายมาเป็นจุดสนใจอันดับต้นๆ ของการเมืองระดับภูมิภาค แต่ความสำเร็จของมันเป็นอาการของปัญหาที่ลึกกว่าที่ไม่ตรงกับการแก้ปัญหาในทางทหาร

    ปฏิบัติการทางอากาศของสหรัฐฯ ต่อรัฐอิสลามช่วยชะลอกลุ่มนักรบญิฮาดลงได้บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวอย่างกว้างขวางขึ้นของการต่อสู้ทั้งสองด้านของแนวชายแดนซีเรียและอิรักกลับพลิกเป็นผลดีต่อรัฐอิสลามอย่างต่อเนื่อง เพราะพวกเขาอ้างว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามที่แท้จริงเพียงกลุ่มเดียวของรัฐบาลอัสซาด และเป็นผู้ป้องกันผลประโยชน์ของซุนนีที่แท้จริงเพียงกลุ่มเดียวในทั้งสองประเทศ

    แต่ความสามารถในการต่อสู้และขวัญกำลังใจของฝ่ายต่อต้านติดอาวุธชาวซีเรียที่ตะวันตกหนุนหลังก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ

    ส่วนกลุ่มญับฮัต อัล-นุสรอ ที่ผูกพันอยู่กับอัล-กออิดะฮ์ได้ขับไล่กลุ่มขนาดกลางส่วนใหญ่ออกจากจังหวัดอิดลิบ ขณะที่รัฐบาลอัสซาดก็ได้พยายามบดขยี้พวกเขาด้วยกำลังทางทหารอย่างที่ไม่มีใครขวางได้

    กลุ่มต่างๆ ที่ตะวันตกหนุนหลังยังคงมีบทบาทสำคัญในอลิปโป ซึ่งยังคงเป็นดินแดนของฝ่ายตรงข้ามที่มีค่าที่สุด แต่กลุ่มกบฏที่นั่นก็ต้องต่อสู้ขัดขวางการโอบล้อมของรัฐบาล

    2. ยูเครน

    ยูเครนอาจไม่ใช่วิกฤติที่ร้ายแรงที่สุดของโลก แต่มันได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับตะวันตกให้ย่ำแย่ลง ประชาชนมากกว่า 5,000 คนถูกสังหารในยูเครนตะวันออกนับตั้งแต่เริ่มมีการปะทะกันในเดือนมีนาคม 2014 และอีกประมาณ 1,000 คน หลังมีการประกาศหยุดยิงเมื่อวันที่ 5 กันยายน การรุกไล่ในฤดูหนาวอาจเพิ่มมิติใหม่ให้กับวิกฤติครั้งนี้ ประชากรในโดเนตสค์และลูฮานสค์ในภาคตะวันออกที่ฝ่ายแยกดินแดนยึดอยู่จะต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากด้วยการขาดแคลนเครื่องทำความร้อน ยารักษาโรค อาหาร หรือเงิน เนื่องจากเศรษฐกิจในท้องถิ่นล่มและการควบคุมการเงินที่เข้มงวดของเคียฟ ผู้นำของฝ่ายแยกดินแดนได้สร้างสถาบันของรัฐบาลที่ทำหน้าที่ได้บางหน่วยงาน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ที่แทบจะไม่มีความชำนาญเลย และจะไม่สามารถตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินด้านมนุษยธรรมใดๆ ด้วยตัวเองได้เลย

    มีแสงริบหรี่ของความหวังอยู่ แม้ว่ามอสโคจะยังให้การสนับสนุน “สาธารณรัฐ” เล็กๆ ที่แยกตัวออกมาในส่วนต่างๆ ของโดเนตสค์และลูฮานสค์ แต่กระตือรือร้นที่มีต่อฝ่ายแยกดินแดนของมันกำลังลดน้อยลง มันยังไม่ได้รับรองสาธารณรัฐเหล่านั้น และตอนนี้ได้เน้นอย่างเปิดเผยว่าอนาคตของพวกมันตั้งอยู่ภายในเขตแดนของยูเครน

    อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้ยังคงไม่อาจคาดเดาได้ เริ่มต้นปี 2015 มาก็ไม่มีทีท่าว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมีความตั้งใจที่จะดำเนินการทางทหาร แต่เมื่อทั้งสองฝ่ายมีผู้ชักจูงที่มีอิทธิพลสนับสนุนสงคราม พวกเขาอาจจะลองดูก็ได้ พื้นที่อื่นๆ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน อย่างเช่นคาร์คิฟ และซาโปริเซีย ที่ยังค่อนข้างเงียบจนถึงตอนนี้ อาจแข็งกร้าวขึ้นถ้าหากมอสโคทำให้สิ่งต่างๆ ให้แย่ลง บางทีอาจจะเปิดดินแดนที่เป็นเส้นทางไปสู่ไครเมียผ่านทางตะวันออกเฉียงของยูเครน กลุ่มแยกดินแดนที่หัวรุนแรงกว่าย่อมมีความหวังว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น

    ประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก ยอมรับว่า การปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเมืองเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อเสถียรภาพในระยะยาวของยูเครน แต่เขาดำเนินการค่อนข้างช้า ตะวันตกจำเป็นต้องกดดันทางการเมืองเพื่อให้เขาทำตาม
    ในระยะสั้น งานหลักสำหรับประชาคมโลกก็คือต้องแยกคู่สงครามออกจากกัน ส่งเสริมเคียฟให้แผ่ออกไปถึงเพื่อนร่วมชาติทางตะวันตกของมัน ให้แนวชายแดนของยูเครนและรัสเซียอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้สังเกตการณ์ระหว่างประเทศอย่างเต็มที่ และค่อยๆ เปลี่ยนการปะทะกันจากการเผชิญหน้าด้วยอาวุธมาเป็นการเจรจาทางการเมือง การเกิดความขัดแย้งแบบเยือกแข็งอีกแห่งหนึ่งในแถบยุโรปยังคงสามารถหลีกเลี่ยงได้ ด้วยโชคช่วยเล็กน้อย พลังกระตุ้นมากหน่อย และนโยบายต่อมอสโคที่ประกอบแรงกดดันที่ยั่งยืนด้วยการกระตุ้นที่มีศักยภาพเพื่อลดการขยายสงคราม

    3. ซูดานใต้

    ซูดานได้กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่สองของสงครามกลางเมืองอันโหดร้าย ที่ขณะนี้ดูท่าว่าจะหนักหน่วงยิ่งขึ้น

    เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ความขัดแย้งที่คุกรุ่นมายาวนานภายในพรรครัฐบาลและกองทัพระเบิดขึ้นเป็นสงครามระหว่างกองกำลังต่างๆ ที่จงรักภักดีต่อประธานาธิบดีซัลวา คีร์ และที่จงรักภักดีต่อนายรีค มาชาร์ อดีตรองประธานาธิบดีของเขา มีการกระทบกระทั่งกันในกรมกองทหาร บ่อยครั้งเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ร่วมกับการแบ่งแยกเชื้อชาติด้วย การปะทะกันกระจายออกไปจากเมืองหลวงอย่างรวดเร็ว ขณะที่การต่อสู้ได้ทำลายเมืองสำคัญๆ และโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำมัน ด้วยการที่ทหารอูกันดาและกบฏซูดานต่อสู้ร่วมกับกองกำลังรัฐบาล และซูดานให้อาวุธแก่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายตรงข้าม สงครามนี้ได้ดึงเอาประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาร่วมด้วย และเสี่ยงที่จะบั่นทอนเสถียรภาพของภูมิภาคที่มีปัญหาอยู่แล้วให้หนักขึ้นไปอีก รัฐบาลกำลังงัดเอาการเงินในอนาคตมาใช้จ่ายสำหรับการทำสงคราม ปล่อยให้ประเทศเข้าใกล้การล้มละลาย

    มีการประมาณกันว่าสงครามนี้ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากถึง 50,000 คน และเกือบ 2 ล้านคนต้องพลัดถิ่น องค์กรเพื่อมนุษยธรรมในขณะนี้ก็ต้องบ่ายเบี่ยงต่อความอดอยาก แต่พวกเขาเผชิญหน้ากับความเกลียดชัง เมื่อสิ้นฤดูฝนในเดือนธันวาคมก็ดูเหมือนว่าความรุนแรงจะยกระดับขึ้น

    ความพยายามที่จะยุติสงครามไม่ประสบผลสำเร็จ ผู้มีอำนาจระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการพัฒนา (Intergovernmental Authority on Development – IGAD) กลุ่มตัวแทนระดับภูมิภาคซึ่งทั้งอูกันดาและซูดานเป็นสมาชิกอยู่ ได้เริ่มต้นนำไปสู่ความพยายามเพื่อการประนีประนอม แต่การเจรจาได้ผลกระทบน้อยมาก และไม่ได้ประกอบรวมทุกฝ่าย มีการละเมิดการหยุดยิงซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างก็ไม่มีใครให้น้ำหนักอย่างเต็มที่ เบื้องหลังกระบวนการสันติภาพ กลุ่มติดอาวุธกำลังแตกแยกกระจัดกระจาย และขณะนี้มีหลายกลุ่มที่คีร์และมาชาร์ไม่สามารถควบคุมได้ เป็นการเติมเชื้อไฟให้กับการต่อสู้ระดับที่สองที่กำลังอยู่ในเงาของสงครามกลางเมือง

    โลกจะหยุดการนองเลือดนี้ได้อย่างไร? คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ และจีน ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจระดับภูมิภาค จำเป็นจะต้องเข้าไปประสานอย่างแข็งขันกว่านี้ การห้ามขนส่งอาวุธ ถ้ามีการตรวจตราอย่างใกล้ชิด ควรจะเพิ่มความเข้มงวดกับทุกฝ่าย สหรัฐฯ กดดันอูกันดา ควบคู่กับที่จีนกดดันซูดาน และรวมความกดดันจากผู้มีอำนาจในภูมิภาคส่วนใหญ่ต่อคีร์และมาชาร์ อาจทำให้ฝ่าทางตันไปได้ ควรมีการพิจารณาถึงกลไกที่ทำให้แน่ใจว่ารายได้จากน้ำมันจะไม่เติมเชื้อไฟให้กับการต่อสู้ พร้อมกับที่ต้องกดดันเส้นทางเสียงของฝ่ายตรงข้าม ผู้ทำการไกล่เกลี่ยควรจะขยายการเจรจากับกลุ่มติดอาวุธทั่วประเทศ

    ซูดานได้เป็นหนึ่งในวิกฤติร้ายแรงที่สุดของโลก อย่างไรก็ตาม มันไม่เหมือนกับซีเรียและยูเครน เพราะยังมีความหวังสำหรับการดำเนินการร่วมกันของนานาชาติที่มากกว่า เพราะประเด็นนี้ยังไม่หลุดออกจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เมื่อดินแดนแตกร้าว ถึงเวลาแล้วที่มหาอำนาจจะต้องให้น้ำหนักอย่างแข็งขันมากขึ้น


    4. ไนจีเรีย

    ไนจีเรียต้องเผชิญกับพายุที่แท้จริงในปี 2015 แรกสุดคือการก่อการกำเริบอย่างโหดเหี้ยมของกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง โบโก ฮารัม ที่ยังคงอึมครึมอยู่ในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือ โดยเฉพาะตะวันออกเฉียงเหนือที่ย่ำแย่อยู่แล้ว กลุ่มนี้ยึดดินแดนได้มากขึ้นเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมา และการโจมตีของมันได้ขยายไปยังแคเมอรูน และอาจจะลุกลามเข้าไปในไนเจอร์และชาดด้วยก็ได้ ขณะนี้เป็นปีที่ห้าแล้ว และยังไม่มีสัญญาณว่ามันจะเบาบางลง การปะทะกันนี้ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 13,000 คน และประชาชนต้องพลัดออกจากถิ่นฐาน 800,000 คน

    การตอบสนองของประธานาธิบดีกูดลัก โจนาธาน ส่วนใหญ่จะอาศัยมาตรการทางการทหาร ขณะที่การดำเนินการของรัฐบาลได้รับชัยชนะอยู่บ้าง แต่พวกเขาก็ไม่ประสบความสำเร็จในการทำให้ฝ่ายกบฏถอยกลับไปได้ แต่ละครั้ง พวกเขาได้สร้างศัตรูให้แก่รัฐบาลมากยิ่งขึ้น ปฏิบัติการต่างๆ ดำเนินการอย่างหนักหน่วงและไม่พิจารณาให้รอบคอบ โดยที่กองกำลังฝ่ายความมั่นคงและทหารอาสาในท้องถิ่นที่เป็นพันธมิตรมีส่วนในการฆ่าและทรมาน การบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากในบางสมรภูมิทำให้ทหารไม่ยอมต่อสู้หรือละทิ้งหน้าที่ไป นักเรียนหญิงมากกว่า 200 คน ที่ถูกนักรบลักพาตัวไปเมื่อเดือนเมษายนยังคงหายไป

    เรื่องที่สอง ราคาน้ำมันที่ตกต่ำลงทั่วโลกได้สร้างความอ่อนแอให้กับรัฐบาล ซึ่งรายได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของมันขึ้นอยู่กับการขายน้ำมันดิบ ในสองเดือนสุดท้ายของปี 2014 ไนจีเรียได้ลดราคาน้ำมันลงสองเท่าจากที่ใช้เป็นแผนงบประมาณ (ถึงบาร์เรลละ 65 ดอลล่าร์) ขณะที่ให้คำมั่นว่าจะไม่ใช้มาตรการเงินเฟ้อ มีการลดค่าเงินของไนจีเรียเป็นครั้งแรกในรอบสามปีด้วย

    เรื่องที่สาม การเลือกตั้งที่กำหนดไว้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 อาจทำให้ประเทศไม่มั่นคงได้ด้วยเช่นกัน โพลสำรวจความคิดเห็นของไนจีเรียมักมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดเสมอ แต่โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงในเวลานี้มีสูงเป็นพิเศษ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กลับมาสู่การปกครองของพลเรือนในปี 1999 ที่พรรค People’s Democratic Party (PDP) ของรัฐบาลต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายที่แท้จริง รัฐบาลผสมของฝ่ายค้าน พรรค All Progressives Congress (APC) ได้รวมตัวกันเบื้องหลังผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเพียงคนเดียว คือ พลเอกมูฮัมมาดู บูฮารี ที่เกษียณแล้ว ซึ่งจะรับช่วงต่อจากประธานาธิบดีโจนาธาน

    ขณะที่การเลือกตั้งก่อนหน้านี้ เกือบจะเกิดความรุนแรงในระดับประเทศขณะรณรงค์เลือกตั้งและระหว่างลงคะแนน ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่สร้างข้อโต้แย้งยังคงน่ากังวลมากกว่า ถ้าบูฮารีแพ้ อาจมีกลุ่มผู้ออกมาประท้วงตามท้องถนนในเมืองต่างๆ ทางภาคเหนือ อย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเขาแพ้การเลือกตั้งในปี 2011 แต่ครั้งนี้โบโก ฮารัม มีท่าทีว่าจะผสมโรงในการนองเลือดด้วย ถ้าหากโจนาธานแพ้ ผู้สนับสนุนเขาในเดลต้าก็ขู่แล้วว่าความรุนแรงจะปะทุขึ้นอีกครั้งที่นั่น


    5. โซมาเลีย

    ขณะที่การร่วมกันรุกของกองกำลังสหภาพแอฟริกาและกองทัพโซมาลีส่งผลในการกดดันต่ออัล-ชาบาบ รัฐบาลกลางของโซมาเลียยังคงต่อสู้ดิ้นรนเพื่อทำการปกครองอย่างแท้จริง ถึงแม้จะมีรัฐธรรมนูญกลางชั่วคราว แต่ความตึงเครียดระหว่างประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีกลับเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายปี 2014 ที่ส่งผลให้ฝ่ายหลังต้องออกจากตำแหน่ง ความบาดหมางทางการเมืองทั้งในส่วนกลางและระดับภูมิภาคขณะนี้ทำให้รัฐบาลจะจัดการเลือกตั้งและลงประชามติภายในปี 2016

    ถึงแม้ดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจะมีมากกว่าช่วงเวลาใดนับตั้งแต่ต้นยุค 1990 แต่ความเป็นจริงแล้วกลุ่มที่ประกอบขึ้นด้วยตระกูลต่างๆ ในท้องถิ่นที่มีอาวุธยังคงมีอำนาจอยู่ เป้าหมายในการจัดตั้งรัฐบาลกลางและการเลือกตั้งแห่งชาติ ซึ่งถูกมองว่าคงเป็นเกมของตระกูลที่มีอำนาจ มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดการปะทะกันต่อไป ในสภาพแวดล้อมอย่างนี้ ปฏิบัติการ AMISOM ของสหภาพแอฟริกา ที่พยายามจะรักษาความเป็นกลางของมันไว้ ซึ่งทำได้เพียงเล็กน้อยเนื่องจากทหารส่วนใหญ่ของมันมาจากประเทศเพื่อนบ้าน และถึงแม้จะสูญเสียดินแดนและเสียผู้นำไปจากการโจมตีด้วยโดรนของสหรัฐฯ เมื่อเดือนกันยายน แต่อัล-ชาบาบยังคงรักษาความสามารถในการโจมตีในประเทศและที่ห่างไกล ที่โดดเด่นที่สุดคือในเคนย่า ที่มันอ้างว่าจะเอาชัยชนะมาให้แก่มุสลิมชนกลุ่มน้อยที่ถูกกีดกัน

    ผู้มีส่วนได้ประโยชน์ของโซมาเลีย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญเพื่อให้เข้ากับความท้าทายของประเทศ พวกเขาควรจะมุ่งเน้นไปที่ความมีเสถียรภาพของท้องถิ่น โดยผ่านสภาตำบลและเทศบาลนคร และการจัดตั้งสถาบันทางการเมืองระดับรากหญ้า การเลือกตั้งท้องถิ่นจำเป็นต้องมาก่อนการเลือกตั้งระดับชาติ ทิศทางที่ขึ้นลงในปัจจุบันมีความเสี่ยงที่จะเพิ่มความเสียหายให้แก่รัฐบาลส่วนกลางที่ไม่สามารถส่งและเสริมอำนาจให้แก่ตระกูลต่างๆ เพื่อกุมตำแหน่งประธานาธิบดีได้


    6. สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC)

    ปีที่ผ่านมาได้ทำลายความหวังหลายอย่างที่เกิดขึ้นโดยความก้าวหน้าในคองโกเมื่อปี 2013

    การปฏิรูปที่ประธานาธิบดีโจเซฟ คาบีลาสัญญาไว้ โดยเฉพาะในภาคส่วนความมั่นคง ถูกระงับเอาไว้ ขณะที่ในปี 2013 ได้เห็นทหารคองโกกับกองทหารพิเศษของสหประชาชาติปราบปรามกองทหารอาสา M23 ที่รวันดาหนุนหลังอยู่ ความพยายามที่จะปล่อยกองทหารอาสาอื่นๆ ต้องล้มไป กองกำลังคองโกได้เปิดปฏิบัติการต่อ Allied Democratic Forces (ADF) แต่ผู้นำของกลุ่มที่ยังเหลืออยู่ส่วนใหญ่ และนักรบที่ไม่แสดงตัวยังคงทำการเข่นฆ่าชาวบ้านในพื้นที่ปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง

    สิ่งที่ท้าทายมากกว่านั้นคือ กองกำลังประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยรวันดา (FDLR) กลุ่มที่เหลืออยู่ของกองกำลังกึ่งทหารฮูตู ที่อยู่เบื้องหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาเมื่อปี 1994 รัฐบาลคองโก และผู้สนับสนุนกำลังทหาร FIB โดยเฉพาะแอฟริกาใต้และทานซาเนีย มีความลังเลที่จะต่อกรกับศัตรูของรวันดาอย่าง FDLR ในแบบเดียวกับที่พวกเขาต่อกรกับ M23 พันมิตรของมัน ยุทธศาสตร์ที่จะใช้กับ FDLR ไม่อาจจะอาศัยการดำเนินการทางทหารเพียงอย่างเดียวได้ มาตรการที่นุ่มนวลกว่า เช่น การตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม โครงการปลดอาวุธที่จะดูแลทั้งนักรบและชุมชน ปฏิบัติของตำรวจต่อเครือข่ายผิดกฎหมายที่สนับสนุน FDLR อยู่ และข้อตกลงเดี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมายต่อแกนนำ จำเป็นต้องนำมาใช้ควบคุมกับการขู่ที่น่าเชื่อถือว่าจะใช้กำลัง

    สำหรับปัจจุบัน การข่มขู่นั้นไม่มีแล้ว นักรบจำนวนเล็กน้อยของ FDLR บอกว่ากลุ่มจะไม่สมัครใจปลดอาวุธ โดยบอกว่าเส้นตายหกเดือนสำหรับกระบวนการนี้ตามที่ผู้มีอำนาจในท้องถิ่นปะกาศใช้ เป็นเพียงเล่ห์เหลี่ยมเพื่อซื้อเวลา ถ้าการปลดอาวุธต้องระงับไป ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความรุนแรงระลอกใหม่ในจังหวัดทางภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างถ้ารวันดาไม่รับกระบวนการทางการเมืองที่จัดการโดยสหประชาชาติ


    7. อัฟกานิสถาน

    เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ได้เห็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจด้วยความสงบอย่างกว้างขวางเมื่อปีที่แล้ว ประธานาธิบดีฮามิด คาร์ไซ ออกจากตำแหน่ง อัชรอฟ กานี สาบานตนเป็นผู้สืบทอดของเขา และผู้ชนะการเลือกตั้งอันดับสอง อับดุลลอฮ์ อับดุลลอฮ์ ได้เป็น “ผู้บริหารสูงสุด” ในการแบ่งสรรอำนาจของอัฟกานิสถาน

    แต่วิกฤติอันยืดเยื้อจากผลของการเลือกตั้งบ่งบอกว่ารัฐบาลเอกภาพของกานีอาจเป็นได้ทั้งความท้าทายและโอกาส ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายยังคงขมอยู่ พวกเขายังต้องเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีคนสำคัญ และข้อตกลงในการแบ่งสรรอำนาจยังขาดกลไกที่จะแก้ไขความขัดแย้ง การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอาจบดบังการปฏิรูปที่จำเป็นเร่งด่วนดังที่กานีได้สัญญาไว้ เช่น การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สถาบันต่างๆ การตรวจสอบการทุจริต การสร้างสมดลของอำนาจสูงสุด และการลดระบบการปกครองส่วนกลาง

    รัฐบาลใหม่ยังต้องเผชิญกับการกำเริบของตอลีบันที่เพิ่มมากขึ้น กานีได้ลงนามในข้อตกลงกับวองชิงตันที่เป็นการเปิดทางให้แก่ทหาร 12,000 นาย ยังคงอยู่ในอัฟกานิสถานในปี 2015 เพื่อปฏิบัติภารกิจต่อต้านการก่อการร้าย และเพื่อแนะนำ ฝึกฝน และช่วยเหลือกองกำลังท้องถิ่นที่กำลังต่อสู้อย่างหนักกับตอลีบัน

    แต่ความรุนแรงกำลังเพิ่มสูงขึ้น ปลายเดือนตุลาคม รัฐมนตรีกลาโหมอัฟกานิสถานกล่าวว่า ปี 2014 เป็นปีที่เลวร้ายที่สุดสำหรับกองกำลังอัฟกานิสถาน นับตั้งแต่สหรัฐฯ นำการรุกรานในปี 2001 และก่อนหน้านั้น รายงานของสหประชาชาติเตือนว่า ปีนั้นมีจำนวนการเสียชีวิตและบาดเจ็บของพลเรือนเพิ่มสูงขึ้น เมื่อทหารต่างชาติถอนกำลังไป การเคลื่อนเข้าสู่จังหวัดต่างๆ ของคาบูลเริ่มแผ่วลง และมันจะคงทหารไว้ในระดับเดิมโดยไม่มีเงินบริจาคพิเศษหลายพันล้านดอลล่าร์

    ระหว่างการเยือนจีน ปากีสถาน และซาอุดิอารเบียในช่วงแรกของการดำรงตำแหน่งของเขา กานีได้ส่งสัญญาอย่างชาญฉลาดว่าเขาสนใจที่จะยุติความขัดแย้งโดยผ่านคนกลาง ความเสี่ยงก็คือเรื่องนี้จะเพิ่มการขับเคี่ยวกับปากีสถาน ซึ่งยังมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับคาบูล และกลุ่มกบฏอัฟกันยังคงหลบอยู่ตามแนวชายแดน ขณะเดียวกัน จำนวนการโจมตีของตอลีบันบ่งบอกว่า กลุ่มกบฏจะทดสอบกำลังของตนกับกองทัพอัฟกานิสถานต่อไป การต่อสู้ยังคงเป็นส่วนประกอสำคัญของการทำความตกลง และปี 2015 ยังเป็นปีแห่งความรุนแรงอีกปีหนึ่งสำหรับอัฟกานิสถาน


    8. เยเมน

    การเปลี่ยนผ่านของเยเมนประสบความล้มเหลว กระบวนการทางการเมืองตกเป็นเหยื่อของการแข่งขันของคนชั้นสูง เป็นการเปลี่ยนแปลงการถ่วงดุลอำนาจที่เอื้อต่อกลุ่มเฮาซี ขบวนการชีอะฮ์ซัยดี ที่ขยายขอบเขตไปทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศจากที่มั่นทางตะวันตกเฉียงเหนือ และขบวนการแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ สภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงถดถอย ความน่าเชื่อถือของประเทศ และความไว้วางใจในตัวประธานาธิบดี ว่าเป็นนายหน้าที่ซื่อสัตย์ระหว่างฝ่ายต่างๆ ก็ลดน้อยลง

    กลุ่มเฮาซีได้ควบคุมเมืองหลวง ซานา ในเดือนกันยายน 2014 พวกเขาเห็นชอบกับแผนการแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ ภายใต้ข้อตกลงสันติภาพและหุ้นส่วนแห่งชาติ

    เยเมนไม่เคยมีประวัติศาสตร์ในด้านความรุนแรงจากการแบ่งแยกลัทธิ แต่มันเริ่มจะเป็นแล้ว การเกาะกุมอำนาจของเฮาซีได้นำมันเข้าสู่การต่อสู้อย่างหนักหน่วงขึ้นกับอิสลาห์ พรรคการเมืองที่ประกอบด้วยสาขาของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในเยเมน และกับอัล-กออิดะฮ์ในคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 2009 โดยกลุ่มนักรบชาวซาอุดี้และเยเมน ความก้าวหน้าของเฮาซีทำให้เกิดความกลัวในภาคใต้ว่าเอกราชส่วนกลางไม่น่าจะประสบความสำเร็จ

    มหาอำนาจระดับภูมิภาคบันทึกที่ผสมผสานกันในเยเมน ซาอุดิอารเบียและสภาความร่วมมือประเทศอ่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรวมกลุ่มต่างๆ เข้าด้วยกันในช่วงที่เกิดความวุ่นวายเมื่อปี 2011 ซาอุดี้ฯ ได้ให้เงินช่วยเหลือหลายพันล้านดอลล่าร์เพื่อสนับสนุนงบประมาณของรัฐ แต่หลังจากเฮาซีเข้าสู่ซานา ริยาดแสดงความกังขาที่จะให้เงินอุดหนุนรัฐบาลที่ได้อำนาจมาโดยกลุ่มที่ถือว่าเป็นตัวแทนของอิหร่าน ถ้าซาอุดี้ฯ ถอดใจที่จะลงทุน และถอนการสนับสนุนทางการเงิน ประเทศเยเมนก็อาจล่มสลายลงได้ อิหร่านและซาอุดิอารเบีย ซึ่งมีศัตรูร่วมกันคืออัล-กออิดะฮ์ ควรที่จะร่วมมือกันมากกว่าปล่อยให้เยเมนหลุดเข้าไปในสงครามตัวแทนอีกแห่งหนึ่ง


    9 ลิเบียและซาเฮล

    การเปลี่ยนผ่านของลิเบียก็พลาดเช่นกัน และความสับสนวุ่นวายกำลังแผ่ไปทั่วแนวชายแดน ทางตันทางการเมืองทำให้เกิดสภานิติบัญญัติที่เป็นคู่แข่งกันสองสภา คือรัฐสภาที่นานาชาติรับรองในโทบรุค กับสภาสามัญแห่งชาติของกลุ่มมุสลิมเคร่งจารีตในทริโปลี รัฐบาลลิเบียไม่มีอำนาจที่แท้จริงอีกต่อไป ความไว้วางใจในสถาบันต่างๆ ของรัฐได้สลายไปแล้ว การลอบสังหารเจ้าหน้าที่และความพยายามในการทำรัฐประหารซึ่งนำโดยนายพลผู้ต่อต้านมุสลิมเคร่งจารีตทำให้ประเทศเกิดความแตกแยก อย่างไรก็ตาม การแบ่งแยกมีความสลับซับซ้อนมากกว่ากลุ่มมุสลิมเคร่งจารีตกับกลุ่มต่อต้านมุสลิมเคร่งจารีต การต่อสู้แย่งชิงน้ำมันและก๊าซ การเป็นปฏิปักษ์กันระหว่างทหารกับเผ่าต่างๆ การแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ของมหาอำนาจต่างชาติ และความไม่เห็นพ้องกันว่าจะสร้างโครงสร้างของรัฐภัยหลังกัดดาฟี่อย่างไร ทั้งหมดนั้นล้วนแล้วแต่ทำให้ประเทศแยกออกจากกัน

    นี่ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะสำหรับลิเบียเท่านั้น แต่สำหรับประเทศเพื่อนบ้านด้วย การหลั่งไหลเข้ามาของอาวุธและทหารรับจ้างมีส่วนทำให้มาลีล่มสลายในปี 2012 เมื่อกบฏทอเรกและกลุ่มที่เชื่อมโยงกับอัล-กออิดะฮ์เข้ายึดภาคเหนือ และทหารทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของบามาโก ปฏิบัติการของฝรั่งเศสขับไล่นักรบญิฮาดกลับไป แต่หลายคนยังคงหลบซ่อนอยู่ในทะเลทรายหรือในชุมชนที่ห่างไกล ขณะเดียวกัน มีปฏิบัติการก่อการร้ายเพิ่มขึ้นในไนเจอร์ด้วย ในมาลี เจ้าหน้าที่พยายามที่จะควบคุมพื้นที่ทะเลทรายที่กว้างใหญ่ ความพยายามของพวกเขาต้องพบกับความยุ่งยากโดยคู่อริแห่งภูมิภาค โดยเฉพาะระหว่างอัลจีเรียและโมรอคโค กลุ่มหัวรุนแรงและอาชญากรข้ามชาติใช้ประโยชน์จากซาเฮลเพื่อหลบหนีปฏิบัติการของฝรั่งเศสมากขึ้น และตั้งฐานที่มั่นทางตอนเหนือของแอฟริกา และแทรกซึมตามแนวชายแดน ทำให้อำนาจรัฐอ่อนแอ และความพร้อมในการหาอาวุธ ล้วนเป็นความได้เปรียบของพวกเขา

    ขณะเดียวกัน ความไร้เสถียรภาพระดับภูมิภาคนี้ได้สะท้อนเข้ามาในภาคใต้ที่กว้างใหญ่ของลิเบีย จังหวัดฟัซซานทางตะวันตกเฉียงใต้ที่ถูกละเลยมีนักรบทอเรกหลั่งไหลเข้ามามากมาย รวมทั้งกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงสุดโต่ง และกำลังจะกลายเป็นที่ซ่อนตัวของกลุ่มสุดโต่งทั้งหลาย

    ผู้นำลิเบียไร้ความสามารถในการจัดการกับความแตกแยกของประเทศ การแทรกแซงของฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ช่วยระงับกลุ่มนักรบญิฮาดไม่ให้รุกคืบเข้าไปในซาเฮล แต่ความพยายามทางทหาร ควบคู่กับการพัฒนาทางการเมืองและเศรษฐกิจสังคมมีความจำเป็นสำหรับการมีเสถียรภาพอย่างแท้จริงหรือไม่ต้องรอดูกัน จนถึงขณะนี้ ยุทธศาสตร์ทางการเมืองยังคงล้าหลังปฏิบัติการทางทหารอยู่มาก

    10. เวเนซูเอล่า

    เมื่อเปรียบเทียบกับที่อื่นๆ แล้ว เวเนซูเอล่าไม่ใช่เขตสงครามเลย ความสงบได้กลับมาสู่ท้องถนนของคาราคัสหลังจากเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วง กองกำลังรักษาความมั่นคง และกองทหารสนับสนุนรัฐบาล ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปหลายสิบคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประท้วง เมื่อต้นปี 2014 แต่สาเหตุสำคัญๆ ของวิกฤตินั้นยังคงมีอยู่ และเวเนซูเอล่าอาจต้องพบกับความไร้เสถียรภาพอีกรอบหนึ่งในปีนี้

    รัฐบาลของประธานาธิบดีนีโกลัส มาดูโร ต้องเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงเพราะราคาน้ำมันร่วงลงอย่างกะทันหัน ซึ่งรายได้ประมาณ 96 ของเวเนซูเอล่าขึ้นอยู่กับมัน สถานการณ์เลวร้ายมาก่อนการตกต่ำของราคาน้ำมัน ประเทศนี้ประสบกับภาวะเงินเฟ้อสูง (กว่า 60 เปอร์เซ็นต์) การขาดแคลนอาหาร ยารักษาโรค และสิ่งจำเป็นพื้นฐานอื่นๆ หน่วยงานของรัฐล้มเหลว และมีอัตราการก่ออาชญากรรมรุนแรงสูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง

    ความนิยมรัฐบาลของประชาชาติตกลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มาดูโรเข้ารับตำแหน่งเมื่อฮิวโก ชาเวซ เสียชีวิตในเดือนมีนาคม 2013 คะแนนความพอใจในตัวมาดูโรต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าต่ำสำหรับเวเนซูเอล่า

    ไม่มีอะไรที่ข้ามพ้นไปไม่ได้ถ้าหากไม่ใช่เพราะความผิดพลาดของระบอบการปกครองในปัจจุบันในการเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่รัฐธรรมนูญของประเทศ ศาลสูงสุด(TSJ) เจ้าหน้าที่ดำเนินการเลือกตั้ง (CNE) และสามองค์ประกอบของ “อำนาจเชิงคุณธรรม” (อัยการสูงสุด, ผู้ตรวจการรัฐสภา และอธิบดีกรมบัญชีกลาง) ล้วนเป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อรัฐบาล สภานิติบัญญัติที่ควรจะทำหน้าที่เป็นที่ประชุมถกเถียงกันอย่างสันติ กลับเป็นตรายางสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดี ด้วยเหตุนี้ เวเนซูเอล่าจึงถูกปล่อยไว้โดยไม่มีปุ่มนิรภัยที่จะคอยช่วยคลายความตึงเครียด

    ระหว่างการปะทะกันเมื่อปีที่แล้ว ได้เริ่มมีการเจรจาหยั่งเชิงกันระหว่างรัฐบาลกับพันธมิตรฝ่ายค้าน Democratic Unity (MUD) หนึ่งในประเด็นต่างๆ ของข้อตกลงก็คือความจำเป็นที่จะต้องบรรจุตำแหน่งที่ว่างมายาวนานใน TSJ และ CNE ให้เต็ม และหาผู้เข้ามาแทนที่สมาชิกสามคนของ “อำนาจเชิงคุณธรรม” ซึ่งจะหมดวาระในสิ้นปีนี้ น่าเสียดายที่รัฐบาลไม่ได้เริ่มดำเนินการให้สอดคล้อง และโอกาสที่จะลดความตึงเครียดกับฝ่ายค้านได้เสียไปแล้ว ถ้าหากว่าตัวแสดงในระดับภูมิภาคไม่เตรียมพร้อมที่จะดำเนินการให้แข็งขันขึ้น การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2015 นี้น่าจะก่อให้เกิดความรุนแรงอีกยกหนึ่งมากกว่าที่พวกเขาจะเข้ามาสู่รัฐสภาที่ถูกยอมรับอย่างกว้างขวาง



    * * *

    ภาพที่ปรากฏขึ้นมาจากการสำรวจความขัดแย้งเหล่านี้ดูน่ากลัว อย่างไรก็ตาม ยังมีความหวังริบหรี่อยู่อย่างหนึ่ง การแบ่งแยกที่เพิ่มมากขึ้นบนโลกนี้ยังมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า ยังไม่มีรอยแยกบนโค้งฟ้าเบื้องบน ถึงแม้วิกฤตที่ล้ำลึกระหว่างรัสเซียและตะวันตกจะทำให้ยุโรปวุ่นวาย ชิ้นส่วนสุดท้ายของสงครามเย็นกำลังจะหายไปขณะที่คิวบาและสหรัฐฯ ทำให้ความสัมพันธ์ของพวกเขาเข้าสู่ภาวะปกติ ความขัดแย้งส่วนใหญ่ในขณะนี้สามารถจัดการได้ด้วยส่วนที่ดีของพวกเขาเอง แต่การเพิ่มบทบาทของมหาอำนาจในภูมิภาค ขณะที่การเพิ่มความซับซ้อนและความเป็นปฏิปักษ์กันในบางกรณีกลับเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดชั้นเชิงการทูตที่สร้างสรรค์มากขึ้น

    นี่ไม่ใช่เวลาที่ “มหาอำนาจเก่า” จะทำการตัดทอน แต่พวกเขาต้องยอมรับว่า การสร้างสันติภาพที่ประสบความสำเร็จในปี 2015 นี้ จะต้องขึ้นอยู่กับการทำงานของนานาประเทศที่ในวงกว้างขึ้นมากกว่าที่พวกเขาเคยมีในอดีต



    source : Foreign Policy | the Global Magazine of News and Ideas
    แปล/เรียบเรียง กองบก.เอบีนิวส์ทูเดย์

    10 สงครามที่ต้องเฝ้าจับตาในปี 2015 | abnewstoday
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    โลกออนไลน์ตั้งข้อสังเกต โจมตีปารีส-ชาร์ลี เอบโด อาจเป็นการจัดฉาก!!
    ยุโรปby เอบีนิวส์ทูเดย์ - ม.ค. 19, 2015 17

    [​IMG]

    หลังเหตุการณ์กราดยิงสำนักพิมพ์นิตยสาร “ชาร์ลี เอบโด” ในโลกออนไลน์มีการมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอ ซึ่งเป็นปมสงสัยเกี่ยวกับเหตุการณ์โจมตีและกราดยิงสำนักพิมพ์นิตยสารชาร์ลี เอ็บโด ว่าอาจเป็น “การจัดฉาก” เพื่อกล่าวหามุสลิมและสร้างกระแสโรคกลัวอิสลาม (Islamophobia)

    <iframe width="700" height="420" src="//www.youtube.com/embed/C5fQ6kt9_B4" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    โดยจากเหตุการณ์มีการตั้งนี้คำถามที่สำคัญด้วยกันสามข้อ คือ

    ข้อแรก เหตุการณ์ครั้งนี้ มีการถ่ายคลิปจาก “Handy cam” หรือโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายจากมุมที่แตกต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าถึงแม้ว่าเหตุการณ์มันเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่มันไม่น่าที่จะสามารถถ่ายคลิปวิดีโอได้มากถึงขนาดนี้ ซึ่งเป็นการบ่งชี้เป็นการจัดฉากมาก่อนแล้วล่วงหน้า

    ข้อที่สอง จากมุมใกล้ ที่มีการกราดยิงใส่ตำรวจ ทำให้ตำรวจกลัวและต้องนอนราบอยู่บนทางเท้า ซึ่งเป็นการถ่ายทำคลิปและภาพประกอบการถ่าย นอกเหนือจากนั้นมันยังจะเห็นอย่างชัดเจน ว่า กระสุนปืนที่ยิงมาจากกลุ่มก่อการร้าย ไม่โดนที่หัวและลำตัวผู้ใดเลย แต่มันพุ่งเป้าไปโดนที่ทางเท้า ซึ่งหากมันเป็นยิงปืนจริงและโดนกระสุนจริงแล้ว มันจะต้องเล็งเป้ายังศีรษะและจะต้องมีเลือดไหลออกมา แต่มันไม่เป็นเช่นนั้น แต่ทางการฝรั่งเศสเปิดเผยว่า มีตำรวจถูกฆ่าตายด้วยจากเหตุการณ์นี้

    ข้อที่สาม จะสามารถเชื่อมั่นได้อย่างไร ผู้ก่อการร้ายเป็นใคร เพราะขณะที่ปฏิบัติการผู้ก่อการร้ายดังกล่าวได้สวมหน้ากากเพื่อไม่ให้เป็นที่รู้จัก พวกเขาเหล่านั้นมีการทิ้งเบาะแสบัตรประจำตัวประชาชนและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาด้วยหรือ?

    ในที่สุดเหตุการณ์ก็จบลงด้วยการตายของจำเลยผู้ถูกกล่าวหา และปิดบัญชีคดีลงเพื่อสามารถจะใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ต่อไป!





    ลิงก์คลิปและเรื่องที่เกี่ยวข้องบางส่วนจากการตั้งข้อสังเกตของสื่อและโลกออนไลน์

    [ame=http://www.liveleak.com/view?i=2ee_1420714352]LiveLeak.com - Paris police shooting is likely to be fake and whole event can be even make up[/ame]
    Paris Shooting Appears Fake #falseflag | Events
    Paris Killings: Media Lies, Unanswered Questions. Was it a False Flag? | Global Research
    http://www.khorasannews.com/OnlineNews.aspx?newsid=1317753

    โลกออนไลน์ตั้งข้อสังเกต โจมตีปารีส-ชาร์ลี เอบโด อาจเป็นการจัดฉาก!! | abnewstoday
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ฝนกระหน่ำเป็นน้ำแข็ง อ่วมภาค ตอ.เหนือมะกัน
    โดย ทีมข่าวต่างประเทศ 20 ม.ค. 2558 05:10

    [​IMG]

    ภาพอุบัติเหตุบนถนนที่จับตัวเป็นน้ำแข็งในฟิลาเดลเฟีย (ภาพ: AP Photo)

    เกิดอุบัติเหตุบนทางหลวงในฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองฟิลาเดลเฟีย เมืองใหญ่สำคัญของรัฐเพนซิลเวเนีย หลังฝนตกกระหน่ำต่อเนื่องและอุณหภูมิลดต่ำลงฉับพลันทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ทำให้น้ำฝนบนท้องถนนจับตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นน้ำแข็งจนผู้ขับขี่ยานพาหนะหลายคันประสบเหตุถนนลื่นและไม่อาจควบคุมรถได้ ทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายจุด โดยมีรถยนต์คู่กรณีประมาณ 30-50 คัน รวมถึงผู้เสียชีวิตอีก 4 ราย

    ขณะที่สถิติผู้เสียชีวิตทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมเป็น 5 ราย ส่วนสภาพอากาศในรัฐนิวเจอร์ซีย์และนิวแฮมพ์เชียร์ ทางตะวันออกของสหรัฐฯ มีฝนตกกระหน่ำเช่นกัน ทำให้เจ้าหน้าที่สั่งห้ามประชาชนใช้เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างเมืองนิวเบิร์กไปยังนครนิวยอร์กเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ ประชาชนหลายพันคนในเมืองซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน ทางตะวันตกของสหรัฐฯ ประสบภัยลมพายุกระโชกแรงจนทำให้ไฟฟ้าดับหลายชั่วโมงด้วย.

    ฝนกระหน่ำเป็นน้ำแข็ง อ่วมภาค ตอ.เหนือมะกัน - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เตรียมตัวกันได้แล้ว! จีนแจ้งข่าวร้าย อัตราเติบโต ศก.ปี 57 แย่สุดในรอบ 24 ปี
    โดย ไทยรัฐออนไลน์ 20 ม.ค. 2558 10:38

    [​IMG]

    เศรษฐกิจโลก แย่ลงอีก...สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน ประกาศ อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ปี 2557 ต่ำสุดในรอบ 24 ปี เหลือเพียง 7.4% ส่งผลราคาน้ำมันดิบเบรนต์ ลดลงไปอีก 1 ดอลลาร์ แตะ 48.84 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้น
    เมื่อวันที่ 20 ม.ค. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน ประกาศอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงไตรมาสที่ 4 หรือ 3 เดือนสุดท้ายของปี 2557 อยู่ที่ 7.3% ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ตลอดปี 2557 ลดลงมาเหลือ 7.4% ซึ่งถือเป็นอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำที่สุดของจีนในรอบ 24 ปีเลยทีเดียว และยังนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2542 ที่รัฐบาลจีนไม่สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้
    อย่างไรก็ตาม สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน ยังระบุว่า แม้เศรษฐกิจของจีนจะเผชิญกับความยากลำบากมากขึ้น แต่เชื่อว่าจะยังคงรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่สมเหตุสมผลไว้ได้ต่อไป
    ทั้งนี้ จากการที่มีข่าวออกมาวานนี้ (19 ม.ค.) ว่า นักวิเคราะห์และสื่อต่างชาติ คาดการณ์กันถึงอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2557 จะอ่อนแอสุดในรอบ 24 ปี ส่งผลให้บรรดานักลงทุนมีความกังวล จนราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของจีนร่วงหนัก และทำให้ราคาน้ำมันดิบ ลดลงถึง 1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยน้ำมันดิบเบรนต์ลดลงมาเหลือ 48.84 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้น
    เตรียมตัวกันได้แล้ว! จีนแจ้งข่าวร้าย อัตราเติบโต ศก.ปี 57 แย่สุดในรอบ 24 ปี - ข่าวไทยรัฐออนไลน
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เกี่ยวกันไปหมด! ราคาน้ำมันดิบร่วง ตื่นข่าว ศก.จีน ‘ฟุบ’
    โดย ไทยรัฐออนไลน์ 19 ม.ค. 2558 14:43

    [​IMG]

    ราคาน้ำมันดิบยังร่วง หลังตลาดหุ้นในเอเชียเปิดทำการซื้อขาย ตื่นข่าวจะมีการเปิดเผยรายงานอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในช่วงไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้ว ‘ฟุบ’ ลงกว่าเดิม

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันโลกที่ลดลงอย่างต่อเนื่องว่า ราคาน้ำมันยังคงลดลงอีก หลังตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียได้เริ่มเปิดทำการซื้อขายกันเมื่อช่วงเช้าวันจันทร์นี้ (19 ม.ค.) โดยคาดว่าเป็นผลมาจากจะมีการตีพิมพ์รายงานการคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนที่ตกต่ำลงกว่าทุกปีออกมาในวันอังคารที่ 20 ม.ค.นี้

    ข่าวแจ้งว่า มีการแย้มเศรษฐกิจจีนที่ไม่ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดเหมือนสิบกว่าปีก่อน ออกมาเรียก ‘น้ำย่อย’ จนทำให้ราคาการซื้อขายน้ำมันดิบลดลง ด้วยการยกผลการสำรวจราคาบ้านใหม่ ในเมืองใหญ่ของจีน 68 เมืองใน 70 เมืองทั่วประเทศ ปรากฏว่า มีราคาลดลงเฉลี่ย ถึง 4.3% ปีต่อปีเลยทีเดียว ขณะที่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของจีนช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ลดลงมาเหลือ 7.2% อันจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนตลอดทั้งปี 2557 ปรับลดลงเหลือ 7.5% ซึ่งถือเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอสุดในรอบ 24 ปี

    สำหรับ การซื้อขายน้ำมันดิบ เบรนท์ ล่วงหน้า เมื่อเวลา 09.25 น. ของเช้าวันที่ 19 ม.ค. ตกลงมาอยู่ที่ 49.75% ลดลงกว่าการซื้อขายก่อนปิดตลาดล่าสุด 42 เซนต์ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ก็ลดลงมา 37 เซนต์ อยู่ที่ 48.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบได้ลดลงมากว่าครึ่ง นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปีก่อน อันเนื่องจากมีการผลิตน้ำมันสู่ตลาดโลกมากขึ้น สวนทางกับความต้องการบริโภคน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง ขณะที่ สำนักงานพลังงานสากล คาดการณ์ว่า แนวโน้มราคาน้ำมันดิบอาจปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้ แต่ก็อาจมีราคาลดลงมากกว่านี้ก่อนจะปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง

    เกี่ยวกันไปหมด! ราคาน้ำมันดิบร่วง ตื่นข่าว ศก.จีน ‘ฟุบ’ - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    อินโดฯชี้ 'QZ8501' ตก ไม่ใช่ก่อการร้าย-นักบินไม่ได้ฆ่าตัวตาย
    โดย ไทยรัฐออนไลน์ 19 ม.ค. 2558 23:27

    [​IMG]
    ตาตัง คูร์เนียดี (ภาพ: AFP PHOTO)

    เจ้าหน้าที่สืบสวนของประเทศอินโดนีเซีย เผยในวันจันทร์ ว่าจากการวิเคราะห์กล่องดำในเบื้องต้น พบว่าการตกของเที่ยวบิน QZ8501 ไม่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย...

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เจ้าหน้าที่สืบสวนของประเทศอินโดนีเซียซึ่งกำลังสืบสวนหาสาเหตุการตกของเครื่องบินโดยสารเที่ยวบินที่ QZ8501 ของสายการบินแอร์เอเชียอินโดนีเซีย ออกมาเปิดเผยในวันจันทร์ (19 ม.ค.) ว่า ผลจากการวิเคราะห์กล่องดำส่วนบันทึกการสนทนาในห้องนักบิน (ซีวีอาร์) ไม่พบสัญญาณว่าหายนะที่เกิดขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย หรือว่านักบินพยายามฆ่าตัวตายแต่อย่างใด

    เครื่องบินแอร์บัส A320-200 ของแอร์เอเชียอินโดนีเซียลำนี้ หายไปจากจอเรดาร์ท่ามกลางสภาพอากาศเลวร้ายเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2014 หลังออกเดินทางจากเมืองสุราบายา เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอินโดนีเซียเพื่อไปประเทศสิงคโปร์ และเชื่อว่าทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 162 คนบนเครื่อง เสียชีวิตทั้งหมด

    ล่าสุดในวันจันทร์ นาย มาร์โจโน ซิสโวสุวาร์โน หัวหน้าเจ้าหน้าที่สืบสวนในคดีนี้ ระบุว่า เจ้าหน้าที่ได้ฟังเสียงทั้งหมดที่บันทึกในกล่องดำส่วนบันทึกการสนทนาในห้องนักบิน (ซีวีอาร์) แล้ว แต่ยังถอดความได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม จนถึงตอนนี้พวกเขายังไม่พบสัญญาณใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย

    ขณะที่ นาย นูร์ชาห์โย อูโตโม เจ้าหน้าที่สืบสวนของคณะกรรมการความปลอดภัยการคมนาคมแห่งชาติอินโดนีเซีย (เอ็นทีเอสซี) ระบุว่า พวกเขาไม่ได้ยินเสียงบุคคลอื่นเลยนอกจากเสียงของนักบินทั้ง 2 คน รวมถึงไม่ได้ยินเสียงปืนหรือเสียงระเบิด ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถตัดประเด็นเรื่องการก่อการร้ายออกไปได้ นอกจากนี้ยังไม่มีเสียงใดๆ ในบันทึก ที่บอกเป็นนัยว่านักบินพยายามฆ่าตัวตายด้วย

    ส่วน นายอันเดรียส ฮานันโต เจ้าหน้าที่สืบสวนอีกคนจากเอ็นทีเอสซีระบุว่า การสนทนาที่บันทึกในกล่องดำบ่งบอกว่า นักบินกำลังพยายามฟื้นคืนการควบคุมเครื่องบิน เพื่อส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ขณะที่ข้อมูลตัวเลขส่วนหนึ่งที่ได้มาจากกล่องดำส่วนบันทึกข้อมูลการบิน (เอฟดีอาร์) ชี้ว่า เครื่องบินลำนี้กำลังประสบกับสภาพอากาศเลวร้าย แต่การยืนยันว่าสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์ของเครื่องบินหรือไม่ ต้องใช้เวลาวิเคราะห์มากกว่านี้


    อีกด้านหนึ่ง ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยในวันจันทร์ เจ้าหน้าที่ยังไม่พบศพผู้เสียชีวิตจากเที่ยวบิน QZ8501 เพิ่มเติม หลังก่อนหน้านี้พบศพผู้เสียชีวิตแล้ว 53 ราย และระบุตัวตนได้แล้ว 45 ราย ขณะที่ทางสายการบินแอร์เอเชียมีแถลงการณ์ว่า นักประดาน้ำสามารถกู้เศษซากเครื่องบินลำนี้ได้มากขึ้น โดยมีทั้งที่นั่งผู้โดยสาร, หน้าต่าง และชิ้นส่วนภายในอื่นๆ ของเครื่องบิน แต่ปฏิบัติการเก็บกู้ต้องเผชิญอุปสรรคทั้งคลื่นสูงและสภาพอากาศเลวร้าย

    ทั้งนี้ นายตาตัง คูร์เนียดี หัวหน้าคณะกรรมการความปลอดภัยการคมนาคมแห่งชาติ กล่าวว่า จะมีการเปิดเผยรายงานขั้นต้นเกี่ยวกับคดีนี้ในวันที่ 28 ม.ค. หรือ 30 วันหลังจากเกิดเหตุ

    อินโดฯชี้ 'QZ8501' ตก ไม่ใช่ก่อการร้าย-นักบินไม่ได้ฆ่าตัวตาย - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ทหารปฏิรูปประเทศไทย

    [​IMG]

    วันที่ 20 ม.ค.58 รัสเซีย เร่งติดตั้งขีปนาวุธข้ามทวีปติดหัวรบนิวเคลียร์ ตลอดแนวพรมแดน
    ประธาธิบดีปูติน สั่งการให้กองทัพหมีขาวรัสเซีย เร่งทะยอยขนย้ายขีปนาวุธข้ามทวีปพิสัยไกล ติดหัวรบนิวเคลียร์ พร้อมขบวนรถหุ้มเกราะคุ้มกัน กำลังทหาร จำนวนมาก ทยอยติดตั้งตลอดแนวพรมแดนของรัสเซีย โดยมีศูนย์บัญชาการสั่งยิงขีปนาวุธฯ กว่า 10,000 ลูกเหล่านี้ ในมอสโคว ใส่พิกัดเป้าหมายประเทศกลุ่ม NATO ให้เป็นหมู่บ้านกระสุนตก
    ที่มีมะกันเป็นพี่ใหญ่ แต่กลับชอบดันลูกน้องไปตาย ส่วนตัวเองขอแอบซ่อนอยู่ข้างหลัง และเล่นตุ๊กตาคิตตี้ พร้อมใส่ถุงเท้า นอนผิงไฟ ดูดนมนอน เตรียมความพร้อมอยู่ที่ทำเนียบไร้สี ในอเมริกา , รัสเซีย จะแบ่งยุทธศาสตร์ขนมหวานพวกนี้ให้ยูเครน มะกัน และ NATO พร้อมกับพันธมิตรวอร์ซอ และมุสลิม กับชาติตะวันออก เป็นหลายๆ ส่วนคือ
    - ยูเครน ลัตเวีย จัดปืนใหญ่จากรถถัง ปืนใหญ่แบบอื่นๆ และจรวด 40 ลำกล้องไปประเคนให้ กินให้อิ่มก่อน
    - เมื่อถางปราบ 2 ประเทศนี้ เอามาทำสนามก็อฟท์ 1 ล้านหลุมเรียบร้อยแล้ว ก็จะใช้ขบวนรถถัง และจรวด บุกยึดโปแลนด์ เพื่อโอบล้อมยุโรป ทางฝั่งตะวันตกไว้ตลอดแนว
    - อิหร่าน ตุรกี จะเป็นตัวแทนนำทัพมุสลิม ที่แปรพักตร์ รอวันแก้แค้นตะวันตก และอิสราเอล จากสมัยสงคราม 6 วัน และชาติในแอฟริกา บางชาติ เข้าปิดล้อมยุโรปทางด้านทิศใต้ตลอดแนว
    - จีนจะคุมเชิงญี่ปุ่น เกาหลีใต้ (มีเกาหลีเหนือช่วย) และกองเรืออเมริกา ตามฐานทัพในทะเลจีนใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ ฯลฯ พร้อมเข้าควบคุม ช่องแคบมะละกาเข้าไว้
    - อินเดีย จะนำทัพปิดน่านน้ำมหาสมุทรอินเดีย และอิร่าน จะบล็อคเรือจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่ขนน้ำมันทั้งหมด ลำไหนผ่านเจอประเคนจรวดใส่ เพราะน่านน้ำตรงอิหร่านเป็นคอคอดพอดี ถ้าอิหร่านไม่ให้ผ่าน แม้แต่กองเรืออเมริกาที่เกรียงไกร จะกลายเป็นเรือแจวจอดนิ่งทันที
    - ถึงจุดนี้การบล็อคกันด้วยอาวุธระดับกลาง จะถึงจุดแตกหัก แต่เมื่อไรที่ทางมะกันและ NATO สั่งยิงอาวุธนิวเคลียร์ลูกแรกออกมา ทางรัสเซีย อินเดีย อิหร่าน จีน ก็จะประเคนนิวเคลียร์ จากบนบกและจากเรือดำน้ำ กลับไปไม่ยั้งเช่นกัน
    คนที่อาศัยในยุโรป ไม่ต้องพูดถึง ให้ดูว่าสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เหลืออยู่กี่คน สมัยนี้ความรุนแรงคูณ 100 เข้าไป ส่วนอเมริกา ฝั่งตะวันตก คงราบ เพราะ FEMA ได้สั่งตั้งศูนย์อพยพฉุกเฉินฝั่งตะวันออกไปกว่า 10,000 แห่งแล้วหลังปีใหม่ที่ผ่านมา
    แต่ทั้งหมดจะไม่เกิดขึ้น ถ้าอเมริกา หยุดส่งทหาร และอาวุธ ไปถล่มตะวันออกกลาง และหนุนอาวุธให้ยูเครน ลัตเวีย เพื่อให้รัสเซีย รู้สึกปลอดภัย ที่ไม่มีคนเอามีดมาจ่อลูกกระเดือกตลอดเวลา ขาโหดอย่างปูติน ไม่พูด ไม่แถลง ยิงใส่ใส่อย่างเดียว แล้วค่อยมาเจรจากัน
    ส่วนไทยขอปูเสื่อรอดูหนังกลางแปลงนี้ พร้อมส่งเสียงเชียร์ทั้ง 2 ฝ่าย นาทีนี้ยุโรป ต้องตัดสินใจแล้ว ว่าอยากให้ภาพเมืองของตนเองมีสภาพเป็นอย่างไร
    @ เสธ น้ำเงิน2 : กดปุ่ม “ติดตาม” ด้านบนเพจ เพื่อรับข่าวครั้งต่อไป
    http://www.facebook.com/thailandcoup
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Pst Nong ผ่าน ASTV Around the World

    [​IMG]

    อียูยันไม่ผ่อนปรนคว่ำบาตรรัสเซีย หลังวิกฤตยูเครนเลวร้ายลง
    เฟเดริกา โมเกรินี ประธานด้านนโยบายการต่างประเทศของอียู
    เอเอฟพี - เหล่ารัฐมนตรีต่างประเทศอียูเห็นพ้องกันเมื่อวันจันทร์(19ม.ค.) ว่าทางกลุ่มจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่อรัสเซีย ในนั้นรวมถึงมาตรการคว่ำบาตร ขณะที่หัวหน้าทูตของสหภาพแห่งนี้เตือนว่าสถานการณ์ในยูเครนช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา "เลวร้ายลงอย่างมาก"
    บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศสหภาพยุโรปยืนยันว่าพวกเขาจะยึดมั่นในแนวทางของตนเองจนกว่ารัสเซียจะบังคับใช้ข้อตกลงสันติภาพยูเครนอย่างสมบูรณ์ ตามที่ตกลงกันไว้เมื่อเดือนกันยายนปีก่อน แม้เฟเดริกา โมเกรินี ประธานด้านนโยบายการต่างประเทศของอียู บ่งชี้ว่ากำลังดำเนินการทบทวนข้อตกลงต่างๆที่อียูทำไว้กับรัสเซีย
    "เหล่ารัฐมนตรีต่างประเทศของอียูเห็นพ้องกันว่าเราต้องคงมาตรการคว่ำบาตรต่อไปเพื่อกดดันรัสเซียจนกว่าพวกเขาจะช่วยส่งมอบสันติภาพในยูเครน" ฟิลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหราชอาณาจักรระบุในทวิตเตอร์ ตามหลังการหารือในบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม "อียูยังต้องอยู่บนเส้นทาง" เขากล่าว
    28 ชาติสมาชิกอียูกำหนดมาตรการคว่ำบาตรอย่างจำกัดต่อรัสเซีย หลังจากมอสโกผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนในเดือนมีนาคม 2014 จากนั้นก็เพิ่มความเข้มข้นในมาตรการคว่ำบาตร ตามหลังโศกนาฏกรรมเครื่องบินมาเลเซีย แอร์ไลน์ส เที่ยวบิน MH17 ถูกยิงตกทางภาคตะวันออกของยูเครนในเดือนกรกฎาคม
    ด้วยเหตุปะทะรอบใหม่กำลังปะทุขึ้นทางภาคตะวันออกของยูเครน โมเกรินีบอกว่าพัฒนาการทางภาคพื้นที่ไม่ได้ดีขึ้น แถมยังเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามอีกต่างหาก "สถานการณ์ทางภาคพื้นในวันนี้ เลวร้ายกว่าเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน" ประธานด้านนโยบายการต่างประเทศของอียู แถลงกับผู้สื่อข่าวหลังการหารือ
    ในการแถลงก่อนการประชุม โมเกรินี ร้องขอเหล่ารัฐมนตรีต่างประเทศมองข้ามวิกฤตยูเครนไปก่อน หากสองฝ่ายเดินหน้าแบ่งปันความกังวลต่างๆทั้งเรื่องซีเรีย อิรักและก่อการร้าย นอกจากนี้เธอยังบ่งชี้ว่าทางกลุ่มมีข้อถกเถียงกันเล็กน้อยในความเห็นต่างเกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย กรณีผนวกไครเมีย กับมาตรการคว่ำบาตรพวกกบฏฝักใฝ่มอสโกทางภาคตะวันออกของยูเครน กระนั้น โมเกรินี ยืนยันว่าอียูยังคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน "ใครที่คาดหวังเห็นความแตกแยกในวันนี้ คงต้องผิดหวังเล็กน้อย" เธอกล่าว
    อียูมีความเห็นแตกแยกมานานเกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตร โดยบางประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการค้าและการเมืองกับรัสเซีย อย่างเยอรมนีและอิตาลี ไม่สู้เต็มใจเพิ่มความหนักหน่วงของมาตรการคว่ำบาตร ตามหลังโศกนาฏกรรม MH17 ทั้งนี้ด้วยมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ครบ 1 ปีในเดือนมีนาคม นั่นหมายความว่าจะมีการทบทวนมาตรการชุดแรกๆเร็วๆนี้ ทำให้อียูตกเป็นเป้าสนใจว่าพวกเขาจะตัดสินใจดำเนินการอย่างไรต่อไป
    ข้อตกลงที่กรุงมินสก์ เมื่อเดือนกันยายน ประกอบด้วยการหยุดยิงและถอนทหาร แต่สุดท้ายมันก็ล้มเหลวระงับการสู้รบระหว่างสองฝ่ายที่คร่าชีวิตนับตั้งแต่เดือนเมษายนแล้วกว่า 4,800 ศพ โดยทั้งสองฝ่ายต่างอ้างว่าอีกฝ่ายไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลง ขณะที่ในวันจันทร์(19ม.ค.) ก็เพิ่งเกิดการปะทะอย่างดุเดือดรอบใหม่ที่สนามบินโดเนตสก์
    เอกสารการหารือของอียูรั่วไหลไปถึงมือสื่อมวลชนก่อนหน้าการประชุมในวันจันทร์(19ม.ค.) เรียกเสียงตำหนิจากรัฐมนตรีต่างประเทศบางส่วนที่กังวลต่อจุดยืนของโมเกรินี ซึ่งเคยถูกกล่าวหาว่ามีท่าทีโอนอ่อนต่อมอสโกเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศอิตาลี ก่อนขึ้นนั่งเก้าอี้ประธานด้านนโยบายการต่างประเทศของอียู "เราไม่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงจุดยืนในตอนนี้"แหล่งข่าวด้านการทูตอียูคนหนึ่งบอกก่อนการประชุม พร้อมระบุว่าเอกสารที่หลุดออกมาไม่ได้่ช่วยอะไรเลย

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,205
    ค่าพลัง:
    +97,149
    พายุโซนร้อน “เชดซา” พัดถล่มมาดากัสการ์ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 14 คน อีกมากกว่า 36,000 ไร้บ้าน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 มกราคม 2558 07:07 น.

    [​IMG]

    เอพี/เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-ทางการมาดากัสการ์ระบุ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 14 คนหลังจากดินแดนซึ่งเป็นเกาะนอกชายฝั่งทวีปแอฟริกาแห่งนี้ถูกพัดถล่มด้วยพายุโซนร้อนตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

    สำนักงานจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติแห่งชาติของมาดากัสการ์ออกคำแถลงในวันจันทร์ (19 ม.ค.) โดยระบุ ยอดผู้เสียชีวิตจากการพัดถล่มของพายุโซนร้อน “เชดซา” ได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 14 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุดินถล่มและบ้านเรือนพังถล่มจากผลพวงของฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง

    นอกเหนือจากยอดผู้เสียชีวิตดังกล่าว ทางสำนักงานฯเผยว่า ขณะนี้มีประชาชนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนของตนมากกว่า 36,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้มากกว่า 30,000 คนเป็นประชาชนที่อาศัยในกรุงอันตานานาริโว ที่เป็นเมืองหลวงของประเทศ

    รัฐบาลมาดากัสการ์ได้ประกาศตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวหลายแห่งตามโรงเรียนและอาคารที่ทำการหน่วยงานของรัฐ เพื่อใช้รองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้

     

แชร์หน้านี้

Loading...