ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,939
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เรียกร้องในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ให้จัดตั้งกองทัพยุโรป ระบุทวีปแห่งนี้ไม่อาจแน่ใจได้อีกต่อไปว่าจะได้รับการปกป้องจากสหรัฐฯ และจะได้รับความเคารพจากวอชิงตันก็ต่อเมื่อมีกองกำลังที่เข้มแข็งเท่านั้น
    .
    เขาประกาศกร้าวด้วยว่าเคียฟจะไม่มีวันยอมรับข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงครามรัสเซียและยูเครน ที่จัดทำลับหลังพวกเขา และคาดเดาว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย จะพยายามโน้มน้าวให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เดินทางไปยังกรุงมอสโก ร่วมพิธีสวนสนามวาระครบรอบชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 พฤษภาคม "ไม่ใช่ในฐานะผู้นำที่ให้ความเคารพ แต่เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของเขาเอง"
    .
    ในถ้อยแถลงที่มีต่อที่ประชุมด้านความมั่นคงประจำปีในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ทางเซเลนสกี บอกว่าคำกล่าวของรองประธานาธิบดีเจ.ดี. แวนซ์ แห่งสหรัฐฯ หนึ่งวันก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนไป
    .
    "ขอพูดด้วยความสัตย์จริง ตอนนี้เราไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่อเมริกาอาจบอกปัดยุโรปในประเด็นต่างๆ ที่คุกคามพวกเขา" เซเลนสกีกล่าว ในขณะที่สงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งจุดชนวนหนึ่งจากการรุกรานของมอสโก ใกล้ล่วงเลยเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว "พวกผู้นำหลายคน พูดกันว่ายุโรปจำเป็นต้องมีกองทัพและทหารของตนเอง กองทัพแห่งยุโรป และผมเชื่ออย่างจริงจังว่ามันถึงเวลาแล้ว จำเป็นต้องจัดตั้งกองทัพแห่งยุโรป"
    .
    เซเลนสกี บอกว่ากองทัพยุโรป ซึ่งจะรวมถึงยูเครน มีความจำเป็นเพื่อที่อนาคตของทวีปแห่งนี้จะพึ่งพิงเฉพาะแค่ยุโรป และการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับยุโรปจะดำเนินการในยุโรป" เขากล่าว พร้อมระบุ "อเมริกาต้องการยุโรปในฐานะตลาดหนึ่งๆ หรือไม่? ใช่ แต่ในฐานะพันธมิตรละ? ผมไม่รู้ ถ้าต้องการให้คำตอบออกมาเป็นใช่ ยุโรปจำเป็นต้องส่งเสียงเป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่เสียงที่แตกต่างกันนับสิบ"
    .
    เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลของทรัมป์ แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ว่าพวกเขาคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรยุโรปในนาโต ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักสำหรับความมั่นคงของตนเอง เนื่องจากเวลานี้อเมริกาให้ลำดับความสำคัญไปที่เรื่องอื่นๆ เช่น ความมั่นคงตามชายแดนและการตอบโต้จีน
    .
    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ บอกว่าพวกเขายังคงมุ่งมั่นในพันธมิตรทหารข้ามแอตแลนติกหรือนาโต "อเมริกาจำเป็นต้องได้เห็นว่ายุโรปกำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางไหน" เซเลนสกี "ทิศทางนโยบายยุโรปไม่ควรเป็นแค่คำสัญญา แต่มันควรเป็นว่าอเมริกาต้องการยืนหยัดเคียงข้างยุโรปอย่างแข็งขัน"
    .
    ทรัมป์ สร้างความตกตะลึงแก่พันธมิตรยุโรป โดยการต่อสายพูดคุยกับปูตินเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ โดยไม่ได้มีการปรึกษาหารือกับพวกเขาล่วงหน้า พร้อมทั้งยังประกาศเริ่มเจรจาสันติภาพยูเครนในทันที ทั้งนี้ เซเลนสกี บอกกับที่ประชุม เชื่อว่ามันจะ "อันตราย" หากว่า ทรัมป์ พบปะกับ ปูติน ก่อนเขา
    .
    จนถึงตอนนี้รัฐบาลของทรัมป์กำลังสร้างความคลางแคลงใจกับบรรดาพันธมิตรยุโรปบางส่วน ว่าพวกเขากำลังยอมอ่อนข้อแก่ปูติน โดยที่ยูเครนต้องเป็นผู้ชดใช้ ก่อนการเจรจาใดๆ เริ่มต้นขึ้น ในขณะที่ความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางส่วนของสหรัฐฯ ก็ยิ่งเพิ่มความสับสน
    .
    ด้วยเหตุนี้ เซเลนสกี จึงเตือนพวกผู้นำยุโรปอีกรอบว่า ประเทศของพวกเขาอาจเป็นรายต่อไปที่ต้องเจอการโจมตีของรัสเซีย "ถ้าสงครามนี้ (ยูเครน-รัสเซีย) จบลงในหนทางผิดๆ ปูตินจะมีทหารที่ผ่านการสู้รบมากมาย ซึ่งไม่รู้อะไรอย่างอื่นเลย นอกเหนือจากการฆ่าและปล้นสะดม" เขากล่าว อ้างถึงรายงานข่าวกรองที่บ่งชี้ว่ารัสเซียจะส่งทหารเข้าไปยังเบลารุส พันธมิตรใกล้ชิดและอีกหนึ่งเพื่อนบ้านของยูเครนในฤดูร้อนนี้
    .
    ความร่วมมือทางทหารในบรรดาชาติยุโรปเป็นเป้าหมายหลักภายในนาโต แต่จนถึงตอนนี้รัฐบาลชาติต่างๆ ยังคงปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้จัดตั้งกองทัพเดี่ยวของยุโรปขึ้นมา อ้างว่าการป้องกันตนเองเป็นเรื่องของอธิปไตยแห่งชาติ
    .
    เซเลนสกี โต้แย้งว่าการที่ยุโรปเสริมความเข้มแข็งด้านการทหาร ไม่ใช่จะเป็นผลดีเฉพาะกับความมั่นคง แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจของทวีปด้วย "มันไม่ใช่แค่เรื่องเกี่ยวกับสต๊อกอาวุธ แต่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ้างงาน ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีและแนวโน้มเศรษฐกิจสำหรับยุโรป"
    .
    อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากชาติยุโรปตะวันตกแห่งหนึ่ง ที่เป็นสมาชิกของอียู แสดงความเคลือบแคลงต่อข้อเสนอของเซเลนสกี ในการจัดตั้งกองทัพยุโรป โดยบอกว่า "มีกองทหารยุโรปอยู่แล้ว ที่เรียกกันว่านาโต"
    -------------------------------
    แหล่งข่าว
    https://mgronline.com/around/detail/9680000015315
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Website : http://www.thailandvision.co
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision
    https://www.facebook.com/share/p/16FadHiSB4/
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,939
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้
    .
    ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ, ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ
    .
    ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย
    .
    ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง
    .
    ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ
    .
    ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ
    .
    รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น”
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน
    .
    ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป
    .
    ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกี้ไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    .
    การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกี้ได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน
    .
    เซเลนสกี้ยังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม
    .
    ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน
    .
    นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกี้ว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต
    .
    กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโตหรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด
    -------------------------------
    แหล่งข่าว
    https://mgronline.com/around/detail/9680000015521
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Website : http://www.thailandvision.co
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision
    https://www.facebook.com/share/p/1FLgB7tgs4/
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,939
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Japan: ’TEPCO’ ท้าทายหนัก จัดหาที่เก็บขยะนิวเคลียร์จากฟุกุชิมะ

    เจ้าหน้าที่ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ เริ่มดำเนินการรื้อถังเก็บน้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับเก็บขยะนิวเคลียร์หลายตัน โดยบริษัท Tokyo Electric Power Company (TEPCO) ผู้ดูแลการดำเนินงานของโรงงาน ได้รับมอบหมายให้หาสถานที่ที่เหมาะสมในการเก็บรักษาวัสดุกัมมันตรังสีประมาณ 880 ตัน ที่ยังคงอยู่ภายในเครื่องปฏิกรณ์ที่เสียหายของโรงงานฟุกุชิมะไดอิชิ ซึ่งผู้จัดการโครงการบอกว่า ตอนนี้พื้นที่ในฟุกุชิมะไดอิชิไม่มีพื้นที่ว่างเหลืออยู่แล้ว

    เทปโกเก็บน้ำทั้งหมด 1.3 ล้านตัน ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำใต้ดิน น้ำทะเล และน้ำฝน ที่ใช้สำหรับการระบายความร้อนของเครื่องปฏิกรณ์ รวมถึงน้ำที่ใช้ในการระบายความร้อนที่เกิดจากการหลอมละลาย

    น้ำที่ได้รับการบำบัดเพื่อลบสารกัมมันตรังสีต่าง ๆ ถูกเก็บในถังมากกว่า 1,000 ใบที่ตั้งอยู่ภายในโรงงาน ซึ่งบางพื้นที่ เช่น "J9" ถังเหล็กขนาดยักษ์สูงตระหง่านไปจนถึงพนักงาน ทำให้มุมมองของโรงงานถูกบัง

    การรื้อถังเก็บน้ำกลายเป็นเรื่องที่เป็นไปได้หลังจากที่เทปโกเริ่มปล่อยน้ำบำบัดจากโรงงานลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกในเดือนสิงหาคม 2023 ทั้งญี่ปุ่นและองค์การพลังงานนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (IAEA) ยืนยันว่า การดำเนินการนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

    การกำจัดถังเหล็กที่เชื่อมด้วยการเชื่อมนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการยกเลิกโรงงานนิวเคลียร์ที่อาจใช้เวลาหลายสิบปี

    หลังจากถังเก็บน้ำถูกกำจัดออกไป เทปโกวางแผนที่จะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเก็บขยะเชื้อเพลิงหลอมละลายที่มีความอันตรายสูงหลังจากดึงออกจากเครื่องปฏิกรณ์ เนื่องจากหากยังมีขยะเชื้อเพลิงยังคงอยู่ในสภาพปัจจุบัน ความเสี่ยงยังคงสูงมาก

    การเก็บตัวอย่างขยะนิวเคลียร์รอบที่สองมีกำหนดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งจะให้ข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับองค์ประกอบของขยะ เพื่อดำเนินการในขั้นตอนถัดไป คาดว่าจะดึงขยะนิวเคลียร์ออกในปริมาณมากภายในปี 2030 และโครงการนี้คาดว่าจะใช้เวลาระหว่าง 30-40 ปีในการดำเนินการตามแผน
    —————
    ภาพ: Reuters

    #TNNWorldNews #ญี่ปุ่น #TEPCO #โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ #ฟุกุชิมะ #ฟุกุชิมะไดอิจิ
    #TNNOnline #ข่าวต่างประเทศ #ข่าว #ต่างประเทศ
    ————
    ติดตามคอนเทนต์ดี ๆ จาก TNN
    ได้ที่ช่อง YouTube: TNN Originals
    ที่นี่เลยค่ะ >> https://bit.ly/TNNOriginals

    https://www.facebook.com/share/p/1671X7TS1g/
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,939
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมื่ออเมริกาไม่เอายุโรป ... หรือจีนจะ___? การเลื่อนไหลใหม่ของขั้วอำนาจ?
    1.) แว่วหนาหู กำลังจัด "ไฟต์ใหญ่" ให้ทรัมป์-ปูติน คุยกัน ที่ซาอุฯ
    2.) ค่อนข้างแน่แล้วว่า ไม่มี "ที่ว่าง" ในสังเวียนนี้สำหรับสหภาพยุโรป (EU)
    3.) ภาพที่ออกมาคือ EU ร้องแรกแหกกระเชอ ขณะที่ฝั่งอเมริกาเหมือน "ดองไลน์" --- ไม่อ่าน ไม่ตอบ ไม่สน
    น่าสังเกต ตอนนี้มีงานใหญ่ที่มิวนิค Munich Security Conference --- ทาง "เจดี แวนซ์" รองประธานาธิบดีอเมริกา ใช้เวทีนี้พูด "ด้อยค่า" ยุโรป แต่ขณะเดียวกัน ด้าน "หวังอี้" รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน กลับหยอดยุโรปด้วยคำหวาน เชิญชวนมาชิดชื่น
    มันเกิดอะไรขึ้น?
    ก็ไม่อะไร --- ความสัมพันธ์มันแปรเปลี่ยนได้ตลอด
    และก็น่าสนใจ ดูวาจาของเซเลนสกี้สิ
    "ไม่มีสักประโยคเลยนะที่ท่านทรัมป์เอ่ยถึงยุโรป ว่าอเมริกาต้องการให้ร่วมโต๊ะประชุมด้วยน่ะ"
    "มันก็ชัดเจนในตัว วันคืน(อันยิ่งใหญ่)ไม่มีอีกแล้ว"
    The old days are over
    – when America supported Europe just because it always had.
    เจ็บแสบ
    คำนี้มันดันบ้วนออกมาจากปากยูเครน
    (ยุโรปคงเสียดคิดในใจ "นี่กูช่วยมึงไปตั้งเท่าไหร่???"
    แต่ยุโรปแค้นไม่ได้เด็ดขาด ต้องกล้ำกลืนฝังลงในอก แล้ววิ่งเต้น(ทำทีว่า)ช่วยยูเครนต่อไป
    "เก้าอี้" ในโต๊ะประชุม ต้องสอดเข้าไปให้ได้ เพราะในห้องนั้น มันยิ่งกว่า "ผลประโยชน์" ที่จะได้ เพราะคือ "ความมั่นคง" ที่ยุโรปจะเสีย)
    งานสัมมนาที่กรุงมิวนิค
    "คีธ เคลล็อก" ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีอเมริกาด้านรัสเซีย-ยูเครน เอ่ยชัดยิ่งกว่าชัด "ไม่มี EU ในการประชุมสัปดาห์หน้าที่ซาอุฯ"
    "เจดี แวนซ์" รองประธานาธิบดีอเมริกา กล่าวถึงยุโรปแบบหยามๆ ถึงขั้นทำให้ยุโรปต้องหน้าม้าน
    "ดูสภาพยุโรปทุกวันนี้แล้ว ผมก็ไม่รู้นะว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับเหล่าผู้ชนะ 'สงครามเย็น' ในอดีต"
    "ภัยอันตรายที่สุดของยุโรป ไม่ใช่รัสเซีย ไม่ใช่จีน แต่เป็นเนื้อในของยุโรปเองต่างหาก"
    โจมตีหลายประเด็น โดยเฉพาะ FREEDOM of Speech รวมไปถึงความเป็นประชาธิปไตย
    เจาะจงไปที่เยอรมันเลยด้วย ว่าถ้าไม่แก้ซะ เยอรมันไม่รอดแน่!
    ("เจดี แวนซ์" หนุนฟาก "ขวาจัด" ของเยอรมัน ซึ่งไม่ได้อยู่ฝั่งรัฐบาล ; มีนัดพบกันที่มิวนิคด้วย)
    ฯลฯ
    ตอนนี้ ยุโรปไม่มีเวลามาตอบโต้คำจ้วงแทง เพราะต้องรีบดิ้นพล่านไปร่วมวงเจรจารัสเซีย-ยูเครนให้ได้
    ซึ่งตอนนี้ ยังมองไม่เห็นทาง
    ส่วนเรื่องที่ยังไม่สำคัญเร่งด่วนของยุโรปในบัดนี้ แต่อาจสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในภายภาคหน้า
    "หวังอี้" รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน มีนัดนอกรอบที่งานมิวนิค กับรัฐมนตรีต่างประเทศของสเปน แล้วชักชวนให้เข้ามาลุยตลาดจีน
    "จีนกับตะวันตกพึงร่วมมือกันหนุนนำ multilateralism (พหุภาคี) และความเป็นประชาธิปไตย รวมถึงเสริมสร้างฉันทามติ (ความเห็นพ้อง) ของนานาชาติ ตลอดจนพัฒนาความเท่าเทียมของดุลอำนาจในระเบียบโลก"
    เอ๊ะ ปกติคำทำนองนี้ต้องเป็นของอเมริกาที่ใช้กล่อมโลกใช้กุมโลกมิใช่หรือ
    ไหงกลายมาเป็นของจีนซะแล้ว?????
    ยังไงๆ อยู่ ...
    ประมาณว่า
    ยุโรปจ๋า
    อเมริกาไม่เอา
    แต่จีนเอา
    ถ้าเกิดจีนตะล่อมไปในทางนี้จริง จะเกิดอะไรขึ้น
    (หรือทุกวันนี้ ยุโรปก็ไม่ได้มีความหมายพอ อย่างที่อเมริกาบอกจริงๆ?)
    ถ้า BRICS มียุโรป?
    (สมมตินะสมมติ สมมติเล่นๆ แบบเพ้อเจ้อ)
    https://www.facebook.com/share/p/15qvp9dkHc/
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,939
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจ้าพ่อเฮดจ์ฟันด์เตือนทรัมป์ "หนี้ล้น ระวังหัวใจวาย"เรย์ ดาลิโอ เซียนหุ้นกระฉ่อนโลก ขู่แรงเศรษฐกิจอเมริกาอาจล้มทั้งยืน ถ้ายังปล่อยหนี้พอกสะสม! ขณะนี้⚠️หนี้ของประเทศ ปาเข้าไป 36 ล้านล้านดอลลาร์ --- ทะลุหลัก 120% ของ GDP แล้ว!ทรัมป์ถึงได้ไฟลุก รีบหั่นรายจ่ายแหลกลาญ : ปลดข้าราชการเป็นหมื่น รวมถึงตัดเงินช่วยค่ายผู้ลี้ภัย ... ซึ่งสะเทือนมาถึงไทยเราด้วยนั่นแหละ

    คอเลสเตอรอลสูงเกิน ต้องดูแลด่วนๆ!
    "ถ้าเปรียบผมเป็นหมอแล้วดูอาการคุณ ผมจะแนะนำว่าเวลานี้ซีเรียสสุดๆ เลยนะ เศรษฐกิจเสี่ยงหัวใจวายมาก ตลาดพันธบัตรก็ด้วย"

    เรย์ ดาลิโอ ชี้ว่า รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ ปีละ 7% มันทำลายสุขภาพเกินไป อันตราย
    (ขาดดุล = รายได้ไม่พอรายจ่าย ; ซึ่งก็นำไปสู่การกู้มาโปะ)
    เรย์ ดาลิโอ มองว่า ขาดดุลสัก 3.5% ยังพอไหว ถูๆ ไถๆ
    ต้องรีบกดลงมาให้จงได้

    "มันต้องมีวินัยน่ะ ต้องปรับอาหารที่กิน แล้วก็ต้องออกกำลังกายให้เป็นกิจวัตร ต้องทำให้ได้"
    ไม่งั้นก็เสี่ยงไปก่อนวัยอันควร!!!

    ไม่ใช่เพิ่งพูด
    เรย์ ดาลิโอ ทักเรื่อยๆ ไม่เคยขาด
    (พูดถึงอเมริกาจะแย่ๆ / พูดถึงจีนจะดีๆ)
    ทรัมป์เองก็อัจฉริยะปานนี้ มีหรือจะไม่รู้!!! ทรัมป์ไม่มีรีรอ เข้ามาปุ๊บ ก็รีบลดรายจ่ายปั๊บ
    ลดแต่ละอย่าง ฮือฮาสะท้านแผ่นดินทั้งนั้น!!!!!
    ทรัมป์ตั้งเป้าจะลดให้ได้ 1 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นอย่างน้อย

    อัตราเร็วมันน่ากลัวจริงๆ แหละ . . .
    สิ้นปี 2000 อเมริกามีหนี้ 5.66 ล้านล้านดอลลาร์
    สิ้นปี 2007 หนี้ขยายเป็น 9.23 ล้านล้านดอลลาร์ --- เพิ่มขึ้น 1.6 เท่า ในเวลา 7 ปี
    สิ้นปี 2019 ดีดไปเป็น 23.20 ล้านล้านดอลลาร์ --- เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า ในเวลา 12 ปี
    วันนี้ 36.22 ล้านล้านดอลลาร์ --- เพิ่มขึ้น 1.6 เท่า ในเวลา 5 ปี
    ขืนเป็นงี้ต่อไป เสร็จแน่ชีวิต

    "ผมว่าทรัมป์ก็รู้ถึงปัญหาแหละ และก็รู้ทางแก้ด้วยว่าต้องทำไง"
    เหมือนชูมือสนับสนุนทรัมป์ ว่าเอาเลย ลุยเลย หั่นงบเลย ต้องเด็ดเดี่ยว แน่วแน่

    ล้นเกิน หัวใจจะวายเอา . . .
    ต้องรีบเอาให้ลง
    เอาอยู่ไม่อยู่ ก็ดูทรัมป์กัน

    https://www.facebook.com/share/p/19yAyfBqjT/
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,939
    ค่าพลัง:
    +97,150
    "ผู้ใดกระทำการเพื่อปกป้องประเทศ ย่อมไม่ถือว่าผิดกฎหมายใดทั้งนั้น" ทรัมป์ยกคำของจักรพรรดินโปเลียน
    1.) อังกฤษขอเข้าซีน! ลั่นพร้อมส่งกองทัพเข้ายูเครนเพื่อพิทักษ์สันติภาพ (เมื่อจบศึก) ... อัศวินขี่ม้าก้านกล้วยมาจากไหนมิทราบ!?!?
    2.) ทรัมป์แสบ แม้เลิกส่งอาวุธให้ยูเครน แต่บอกไม่ติด ไม่เกี่ยง ถ้ายุโรปจะซื้ออาวุธอเมริกาส่งไปให้ยูเครน!!?!!
    3.) ทรัมป์ใช้กระทรวงยุติธรรมยื่นฎีกาต่อศาลสูงสุดเพื่อล้มคำสั่งศาลที่บล็อกมิให้ทรัมป์ปลดผู้อำนวยการสำนักงานอัยการพิเศษ --- อ่านแล้วชวนสับสนใช่ไหม มันล้างซ้อนล้าง
    ทรัมป์ยกวาทะอุโฆษของจักรพรรดินโปเลียน
    "He who saves his Country does not violate any Law."
    แหม มันก็เถลิง "อำนาจนิยม" ของทรัมป์เหลือเกิน
    (เอาเข้าจริง อีกนิดก็ "อัตตาธิปไตย" หรือ "เอกาธิปไตย" แล้ว)
    เพราะมันก็อ้างได้หมดแหละ ว่าทุกๆ พฤติการณ์ของทรัมป์ ก็เพื่อประเทศ
    ฉะนั้น ใดๆ ก็ไม่มีอะไรผิดแล้ว! ! !
    วันนี้ "ทรัมป์รายวัน" อัพเดตแค่สั้นๆ
    แต่ข้อ 1.) ค่อนข้างสำคัญ เป็นภาพสะท้อน ว่าทางสหภาพยุโรป (EU) กับอังกฤษกำลังดีดดิ้นเต็มที่ เพื่อเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในโต๊ะเจรจาให้ได้
    "ช้ารอบวง" น่ากลัวไม่เท่า "อยู่นอกวงแต่ต้องควักจ่าย"!
    แพงมากด้วย ขอบอก
    ปรากฏการณ์อันเป็นผลสืบเนื่อง กระเพื่อมจาก "การกระทำที่ไม่มีวันผิด" ของทรัมป์ มันมิใช่เบาเลย
    https://www.facebook.com/share/p/15x4Y83tUX/
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,939
    ค่าพลัง:
    +97,150


    Screenshot_2025-02-19-17-03-25-83_f9ee0578fe1cc94de7482bd41accb329.jpg
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,939
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไปให้สุด ไม่หยุดคลั่ง!
    1.) ทรัมป์จะขึ้นกำแพงภาษีรถ เพิ่มสิบเท่า เป็น 25%! ไม่พอแค่นั้น ชิปก็โดน ยาก็โดน 25% เหมือนกัน! โหดจัด (ชิปกระทบไทย)
    2.) ล้างบาง! ทรัมป์สั่งกระทรวงยุติธรรม "ปลด" อัยการในยุคไบเดนให้หมดสิ้น! ชี้ว่าไบเดนเอาการเมืองมาแปดเปื้อนระบบศาลอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ . . . ดังนั้น ต้องตั้งใหม่ สร้างยุคทรัมป์ที่ "ยุติธรรม" : เปาบุ้นจิ้นหน้าขาว!?
    3.) อเมริกา-รัสเซีย คุยกันครั้งแรกในรอบ 3 ปี เกิดที่เซเว่นอีเลฟเว่.. เอ๊ย ที่ซาอุดีอาระเบีย
    "หงายบาตรเพื่อถวายพาน"
    ก่อนอื่น ก่อนอะไรทั้งหมด ก่อนจะไปถึงยูเครน อเมริกา-รัสเซียต้องกลับมารื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูต ทางการเมืองระหว่างประเทศก่อน เพื่อให้ทำงานได้
    ก็ที่ผ่านมา พี่เล่นคว่ำบาตร ตัดขาดแทบทุกอย่าง
    ตอนนี้ ที่คุยกันแมตช์แรก ก็เพื่อคลายซะ สมานซะ เพื่อให้ประสานงานได้ ทำงานร่วมกันได้
    เอ้า วกมาดูที่ภาษี
    ตอนนี้ภาษีนำเข้ารถยนต์ อเมริกาตั้งไว้ที่ 2.5%
    ทรัมป์บ้วนวาจาว่าจะขึ้นเป็น 25% ในวันที่ 2 เม.ย. นี้
    แหม ที่ตะโกนโหวกเหวกเรื่อง "ภาษีคืนสนอง" (reciprocal tariff) นี่ไม่ใช่ทุกตัวนะจ๊ะ
    ภาษีคืนสนอง คือ คุณตั้งภาษีนำเข้าเราเท่าไหร่ กูจะตั้งเท่ากับคุณเท่านั้น
    อาทิ สหภาพยุโรปตั้งภาษีนำเข้ารถอเมริกาที่ 10% แต่อเมริกาเดิมตั้งภาษีนำเข้ารถยุโรปที่ 2.5%
    ทรัมป์มองไว่าไม่แฟร์ งี้อเมริกาต้องตั้ง 10% เท่ากั.. เอ่อ ไม่โว้ย! อันนี้ไม่ "คืนสนอง"! ไม่ reciprocal!
    อั๊วจะใช้อาวุธ "ภาษีทวีคูณ" ทบต้นทบดอก ปักหอก แทงไปถึง 25% เลย! ซี้ด!
    สารกึ่งตัวนำ (semiconductor) หรือคือชิป ก็โดน 25%
    อาจจะสงสัย เฮ้ย อเมริกามีแต่ "แบน" ห้ามส่งออกชิปมิใช่หรือ --- นั่นมันชิปขั้นสูง พวกชิป AI แต่ถ้าชิปทั่วไป หรือชิปถูกๆ อเมริกาก็ยังนำเข้าบานเบอะ
    ยุคไบเดน รัฐบาลถึงต้องทุ่มมหาศาล เพื่อดึงดูดให้โรงงานชิปมาตั้งฐานที่อเมริกา
    แต่ทรัมป์มองว่าอัดเงินให้แค่นั้นยังไม่พอ
    ต้องขึ้นกำแพงภาษีสูงๆ เลย จะได้บีบให้ส่งจากที่อื่นมาเข้าอเมริกาไม่ได้ แต่ต้องมาสร้างโรงงานที่อเมริกาเลย
    ดูตัวเลขล่าสุดเท่าที่พอค้นได้คร่าวๆ
    อเมริกานำเข้าชิปจากไทย หลักพันล้านดอลลาร์/ไตรมาส ! ! ! (ข้อมูลปี 2023)
    *หมายเหตุ ไทยผลิตเองไม่ได้ แค่เอามาประกอบและทดสอบ assembly and testing ที่ไทยเฉยๆ (อยู่ในซัพพลายเชนปลายๆ)
    จบห้วนๆ เท่านี้แหละ
    เพราะเดี๋ยวอีกไม่กี่ชั่วโมงก็มีต่อ
    "ทรัมป์รายวัน" สนั่นโลก
    https://www.facebook.com/share/p/1FbEa48iif/
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,939
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นายกรัฐมนตรี เคียร์ สตาร์เมอร์ แห่งอังกฤษ ระบุในวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การค้ำประกันความมั่นคงโดยสหรัฐฯ คือหนทางเดียวที่จะช่วยให้ยูเครนเกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน พร้อมออกตัวว่า "ยังเร็วเกินไป" ที่จะบอกว่าอังกฤษพร้อมส่งกองกำลังช่วยรักษาสันติภาพมากน้อยเท่าไหร่
    .
    เมื่อถูกถามว่า การค้ำประกันความมั่นคงโดยสหรัฐฯ นั้นหมายถึงอะไรบ้าง และกองกำลังรักษาสันติภาพจะมีบทบาทอย่างไรในยูเครน สตาร์เมอร์ ก็ตอบเพียงว่าการหารือยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น
    .
    อย่างไรก็ตาม ผู้นำอังกฤษย้ำว่ามีความชัดเจนภายหลังบรรดาผู้นำยุโรปได้นัดประชุมฉุกเฉินที่กรุงปารีสวานนี้ (17) ว่า ยุโรปจำเป็นจะต้องใช้จ่ายงบด้านกลาโหมเพิ่มขึ้น และร่วมกันรับผิดชอบความมั่นคงของภูมิภาคมากขึ้นกว่าเดิม
    .
    "ยุโรปจะต้องแสดงบทบาทของตัวเอง และผมพร้อมที่จะพิจารณาส่งทหารอังกฤษลงพื้นที่ร่วมกับชาติอื่นๆ หากมีข้อตกลงสันติภาพที่ยั่งยืนเกิดขึ้น แต่จะต้องมีสหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนหลัก เพราะการค้ำประกันความมั่นคงโดยสหรัฐฯ คือหนทางเดียวที่จะป้องปรามรัสเซียไม่ให้กล้าโจมตียูเครนอีก" สตาร์เมอร์ ให้สัมภาษณ์
    .
    สตาร์เมอร์ บอกด้วยว่า เขาคาดหมายว่าผู้นำยุโรปคงจะมีการประชุมหารือเรื่องยูเครนกันอีกรอบ หลังจากที่ตนกลับจากเข้าพบประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่วอชิงตันในสัปดาห์หน้าเพื่อหารือเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อมานานเกือบครบ 3 ปี
    .
    เมื่อวันอาทิตย์ (16) สตาร์เมอร์ เป็นผู้นำยุโรปคนแรกที่ออกมาพูดว่าพร้อมจะส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้ายูเครน
    -------------------------------
    แหล่งข่าว
    https://mgronline.com/around/detail/9680000015996
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Website : http://www.thailandvision.co
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision
    https://www.facebook.com/share/p/1BTzpDj8nV/
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,939
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เบอร์ลินจะไม่ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยังยูเครน จนกว่าสหรัฐฯ จะรับปากดำเนินการแบบเดียวกันกับกองกำลังของตนเอง อาร์ทีนิวส์ของรัสเซียอ้างสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานในวันจันทร์ (17 ก.พ.) อ้างอิงแหล่งข่าวในรัฐบาลเยอรมนี
    .
    รายงานเกี่ยวกับความคิดเห็นนี้ มีขึ้นหลังจาก พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะส่งกำลังพลของอเมริกา เป็นส่วนหนึ่งในการรับประกันความมั่นคงแก่เคียฟ
    .
    "เราจะมีเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกรณีต่างๆ ที่ยุโรปและอเมริกามีความเห็นต่างด้านความมั่นคง ยกตัวอย่างกรณีประจำการทหารยุโรปโดยปราศจากความเกี่ยวข้องอย่างเต็มรูปแบบของสหรัฐฯ" เจ้าหน้าที่เยอรมนีรายหนึ่งบอกกับเอเอฟพี ตามคำกล่าวอ้างของอาร์ทีนิวส์งสันติภาพที่ถาวรขึ้นมา
    .
    ก่อนหน้านี้ โปแลนด์ก็ปฏิเสธเช่นกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการส่งทหารเข้าไปยังยูเครย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" โดนัลด์ ทัสก์ นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ระบุในวันจันทร์ (17 ก.พ.) "เราไม่มีแผนส่งทหารโปแลนด์เข้าไปยังดินแดนของยูเครน"
    .
    สวนทางกับ เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร แถลงเมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ว่าเขาพร้อมสนับสนุนกองกำลังของประเทศ ในฐานะส่วนหนึ่งของการรับประกันความมั่นคงแก่เคียฟ หลังข้อตกลงหยุดยิง
    .
    มอสโก เน้นย้ำว่าข้อตกลงสันติภาพใดๆ มีความเป็นไปได้เพียงหนทางเดียวกัน นั่นคือตะวันตกจัดการกับ "ต้นตอรากเหง้า" ของความขัดแย้ง เช่น แผนของยูเครนในการเข้าร่วมนาโตและการแผ่ขยายเขตแดนของนาโตมาทางทิศตะวันออก
    .
    วาสซิลี เนเบนเซีย ผู้แทนทูตของรัสเซียประจำสหประชาชาติ บอกก่อนหน้านี้เมื่อช่วงกลางเดือนว่า มีเพียงแค่สภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเท่านั้นที่สามารถให้อำนาจประจำการกองกำลังรักษาสันติภาพ และเตือนว่ารัสเซียจะปฏิบัติกับ "หน่วยทหารต่างชาติใดๆ" ในฐานะเป็น "เป้าหมายโดยชอบธรรม" หากกองกำลังนั้นๆ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ รับปากจะยุติความขัดแย้งอย่างรวดเร็ว และได้ดำเนินการต่างๆ ไปบ้างแล้วในความพยายามคืนชีพการติดต่อทางการทูตกับรัสเซีย หลังจากถูกระงับโดยพฤตินัยมาตั้งแต่ปี 2022 ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ของทั้งอเมริกาและรัสเซียจะหารือกันในประเด็นยูเครน ในกรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย ในวันพุธ (19 ก.พ.)
    .
    โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน บอกว่าเคียฟจะไม่เข้าร่วมในการพูดคุยในริยาด และจะไม่รับรองการเจรจาใดๆ ที่จัดขึ้นโดยปราศจากความยินยอมของพวกเขา ขณะที่บรรดาเจ้าหน้าที่ยุโรปแสดงความผิดหวังกรณีที่ ทรัมป์ พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากพวกเขา
    -------------------------------
    แหล่งข่าว
    https://mgronline.com/around/detail/9680000015989
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Website : http://www.thailandvision.co
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision
    https://www.facebook.com/share/p/1As7ktSTUZ/
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,939
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เมื่อวันอังคาร(18 ก.พ.) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เหน็บแนม โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน และเหมือนกับกล่าวโทษเขาว่าเป็นต้นตอของการถูกรัสเซียรุกราน พร้อมกันนั้นยังบอกมีความมั่นใจมากขึ้นว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงยุติสงคราม หลังการเจรจาระหว่างวอชิงตันกับมอสโก
    .
    ทรัมป์ ยังถาโถมแรงกดดันใส่ เซเลนสกี ให้จัดการเลือกตั้ง ความเคลื่อนไหวที่สะท้อนไปในทิศทางเดียวกับหนึ่งในข้อเรียกร้องหลักของมอสโก และตำหนิยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีที่ถูกกีดกันออกจากการเจรจาในซาอุดีอาระเบีย
    .
    นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังบ่งชี้ด้วยว่าเขาอาจพบปะกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ก่อนสิ้นเดือนนี้ ในขณะที่วอชิงตันยกเครื่องท่าทีที่มีต่อรัสเซีย การเปลี่ยนแปลงที่ก่อความกังวลแก่บรรดาผู้นำยุโรป
    .
    "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์อาลาโก ในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน "วันนี้ผมได้ยินว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ แน่นอน คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมัน คุณควรทำข้อตกลง" เขากล่าว
    .
    ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) เซเลนสกี วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม โดยบอกว่าความพยายามยุติสงครามต้องเป็นไปอย่างยุติธรรมและมีบรรดาชาติยุโรปเกี่ยวข้องด้วย พร้อมกับเลื่อนกำหนดการเยือนซาอุดีอาระเบียออกไป
    .
    ความเห็นของผู้นำยูเครน ดูเหมือนแสดงความโกรธจัดต่อทรัมป์ ผู้ซึ่งกล่าวโจมตี เซเลนสกี อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ เซเลนสกี นำเคียฟสู้รบป้องปรามการรุกรานของรัสเซีย ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2022
    .
    เมื่อถูกถามว่าสหรัฐฯ จะสนับสนุนข้อเรียกร้องของรัสเซียหรือไม่ ที่ต้องการให้บีบ เซเลนสกี จัดการเลือกตั้งใหม่ ส่วนหนึ่งในข้อตกลงใดๆ ทรัมป์เริ่มตอบคำถามด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่เขาอ้างว่าคะแนนนิยมระดับต่ำของผู้นำยูเครน
    .
    "พวกเขาต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วที่เรามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ"
    .
    เซเลนสกี ชนะเลือกตั้งในปี 2019 สำหรับการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีที่มีวาระ 5 ปี แต่จนถึงตอนนี้เขายังคงอยู่ในอำนาจ สืบเนื่องจากยูเครนยังอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกที่เขาเป็นคนประกาศ
    .
    พวกผู้นำยุโรปมีความกังวลมากขึ้นว่า ทรัมป์ อาจยอมอ่อนข้อแก่รัสเซียมากเกินไป ในการโน้มน้าวให้บรรลุข้อตกลงยูเครน ที่เขาสัญญาว่าจะหาทางให้ได้ข้อยุติตั้งแต่ก่อนหน้าเข้ารับตำแหน่งด้วยซ้ำ
    .
    อย่างไรก็ตาม ททรัมป์ ยืนยันว่าเป้าหมายเดียวของเขาคือการนำมาซึ่งสันติ ยุติสงครามภาคพื้นใหญ่หลวงที่สุดในยุโรป นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
    .
    ทรัมป์ บอกว่าเขา "มีความมั่นใจมากกว่าเดิมมาก" เกี่ยวกับข้อตกลง ตามหลังการเจรจา และบอกว่า "พวกเขาดีมากๆ รัสเซียต้องการบางอย่าง พวกเขาอยากหยุดความโหดร้ายป่าเถื่อน ผมคิดว่าผมมีอำนาจที่จะหยุดสงครามนี้ และผมคิดว่ามันกำลังเป็นไปด้วยดี"
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ระบุต่อว่าเขาเปิดกว้างทุกอย่างสำหรับการมีกองกำลังรักษาสันติภาพยุโรปในยูเครน หากว่าเขาสามารถบรรลุข้อตกลงยุติสงคราม "ถ้าพวกเขาต้องการทำเช่นนั้น มันเป็นเรื่องเยี่ยม ผมยินดีอ้าแขนรับ ผมรู้ว่าฝรั่งเศสมีความตั้งใจทำเช่นนั้น และผมคิดว่ามันเป็นท่าทีที่สวยงาม" ทรัมป์กล่าว พร้อมบอกว่าสหราชอาณาจักรก็นำเสนอข้อเสนอแบบเดียวกัน "สหรัฐฯ จะไม่มีส่วนช่วย คุณก็รู้ เราอยู่ห่างไกลกันมาก"
    .
    ทรัมป์ สร้างความตกตะลึงแก่โลก ด้วยการแถลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าได้พูดคุยกับปูติน และผู้นำทั้ง 2 เห็นพ้องกันเริ่มเจรจาสันติภาพ และจะเดินทางพบปะกันทั้งในมอสโกและวอชิงตัน
    .
    อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เผยในเวลาต่อมา การประชุมครั้งแรกระหว่างเขากับปูตินนั้น มีความเป็นไปได้มากที่สุดว่าจะมีขึ้นในซาอุดีอาระเบีย เบื้องต้นยังไม่มีการแถลงกำหนดวันเวลา และเมื่อถูกถามเกี่ยวกับการพบปะกับปูติน ก่อนสิ้นเดือน ทรัมป์ ตอบสั้นๆ ว่า "บางที"
    -------------------------------
    แหล่งข่าว
    https://mgronline.com/around/detail/9680000016379
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Website : http://www.thailandvision.co
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/c/Thailandvision
    https://www.facebook.com/share/p/1Dsat3w3bk/
     

แชร์หน้านี้

Loading...