ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,212
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ตลาด IPO ในเอเชียหดตัวลง -73% !
    มูลค่าเสนอขายหุ้นและจำนวนบริษัทที่เข้าจดทะเบียนกำลังลดลงอย่างรวดเร็วในปีนี้เพราะ ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเศรษฐกิจชะลอตัว และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (โดยเฉพาะในจีนที่ Start Up ต้องหนีไป IPO ในต่างแดน)

    Asia's IPO market trails U.S. and Europe as proceeds plunge 73%

    India tops global listings in first half of year, buoyed by strong economy

    https://asia.nikkei.com/Business/Ma...PWbNSf8a8xwhL2dNBI_aem_MAfpk4r4mX0BizyY8Vq3VA

    https://www.facebook.com/share/p/EuYrpS6nbj7Zd7oh/?mibextid=oFDknk
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,212
    ค่าพลัง:
    +97,149
    1️⃣
    การเปิดบริษัทใช้เงิน 6,650 บาท ในการจ่ายค่าธรรมเนียมให้กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งโดยปกติสำนักงานบัญชีจะคิดค่าบริการการจดบริษัทประมาณ 10,000 ถึง 15,000 บาท ซึ่งในยอดนี้จะรวมค่าธรรมเนียมกระทรวงพาณิชย์ ค่าจัดการเอกสาร ค่ากรอกเอกสาร ค่าเดินทางเอาไว้เรียบร้อยแล้ว

    2️⃣
    ระยะเวลาในการจดจัดตั้งบริษัทใช้เวลาเพียง 1-7 วัน ใช่ค่ะบางกิจการใช้เวลาเพียง 1 วันเท่านั้น ตั้งชื่อบริษัทให้เรียบร้อยเตรียมเอกสารให้ครบ กรอกข้อมูล เซ็นเอกสาร ถ้าเตรียมทุกอย่างทันวันรุ่งขึ้นสามารถขอยื่นจดที่กระทรวงพาณิชย์ได้เลย บางท่านทำออนไลน์ก็สะดวกค่ะ 1 วันจบ

    3️⃣
    การเลิกบริษัท ค่าธรรมเนียมในการจ้างสำนักงานบัญชี เพื่อแจ้งเลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์ และชำระบัญชี ปิดกิจการค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000-40,000 บาท

    4️⃣
    กรณีที่บริษัทเปิดมานานตัวเลขในงบการเงินของลูกค้าจะมีตัวเลขที่จำนวนมาก เช่น

    สินทรัพย์ :
    ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ยานพาหนะ
    ต้องมีการขายออกสินทรัพย์เหล่านี้ เมื่อขายออกต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

    หนี้สิน :
    หากมีหนี้สินกับธนาคารต้องชำระให้ครบเต็มจำนวนก่อน หากมีหนี้สินการค้าจะต้องเจรจาและชำระหนี้สินเช่นกัน

    กำไรสะสม:
    หลักการของกำไรสะสมคือเมื่อเปิดมาหลายปีแล้วที่ผ่านมามีกำไร กำไรเหล่านั้นจะถูกโอนเข้าบัญชีกำไรสะสม เพื่อรอปันผล แต่ถ้าหากไม่เคยปันผล เลขบัญชีกำไรสะสมก็จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆค่ะ

    5️⃣
    การจะปิดบริษัทจะต้องมีการชำระบัญชีให้เป็นศูนย์ทุกรายการ ดังนั้นตัวเลขในงบการเงินต่างๆจะต้องเคลียร์ทั้งหมดให้เป็นศูนย์ ซึ่งแน่นอนหากมีสินทรัพย์ก็ต้องทำการจำหน่ายสินทรัพย์และสินทรัพย์ไหนที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มก็ต้องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ส่วนบัญชีกำไรสะสมก็ต้องมีการจัดสรรเพื่อปันผลและนำส่งหัก ณ ที่จ่าย 10%

    6️⃣
    ยกตัวอย่างการคำนวณ

    เครื่องจักรมูลค่า 1 ล้านบาท
    ยานพาหนะมูลค่า 2 ล้านบาท
    จำหน่ายในราคา 3 ล้านบาท
    ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
    = 210,000

    กำไรสะสม 25 ล้าน
    ต้องดำเนินการปันผล
    นำส่งหัก ณ ที่จ่าย 10% ของ 25 ล้าน
    = 2,500,000

    #รวมทั้งสิ้น
    จ้างปิดงบการเงิน
    40,000 บาท

    ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทรัพย์สิน 210,000 บาท

    นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากเงินปันผล 2,500,000 บาท

    รวมทั้งสิ้น 2,750,000 บาท

    ปล. หากคุณมียอดสินทรัพย์ และกำไรสะสมน้อย ยอดที่ชำระก็จะน้อยลงตามลำดับ

    #สรุป
    เรื่องราวที่เล่าในวันนี้ไม่ได้เขียนเพื่อให้คุณต้องกลัวการจดบริษัท

    แต่เป็นการเขียนเพื่อให้คุณได้ทราบถึงปลายทางของบริษัท

    แล้วให้ใส่ใจในการจัดการตัวเลขในงบการเงิน คอยจับตามองเรื่องการเพิ่มขึ้นของทรัพย์สิน และการบริหารในเรื่องของการจ่ายปันผล

    การเปิดบริษัทไม่ใช่แค่เปิดขึ้นมา
    แล้วทำเอกสารส่งสำนักงานบัญชี
    #แต่เจ้าของจำเป็นต้องเฝ้าดูตัวเลข

    -----------------------------

    https://www.facebook.com/share/p/RET61gnaVbFz18Q7/?mibextid=oFDknk
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,212
    ค่าพลัง:
    +97,149
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,212
    ค่าพลัง:
    +97,149
    #เกาะติดประเด็น ปริมาณปลาทูไทยเข้าขั้นวิกฤติ 90% ในตลาดเป็นปลาทูนำเข้า
    .
    ‘#ปลาทู’ เป็นอีกหนึ่งเมนูคู่ครัวไทยมานาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริกกะปิปลาทูทอด น้ำพริกปลาทู และอีกหลายเมนูยอดฮิต ซึ่งเรามักจะรู้กันดีว่าปลาทูที่ดีที่สุดของไทย ก็ต้องเป็นปลาทูหน้างอคอหักจากแม่กลอง แต่เราจะแน่ใจได้ยังไง ว่าปลาทูที่ซื้อมากินเป็นของประเทศเรา ?
    .
    ในปัจจุบันปลาทูที่ขายอยู่ตามตลาด ร้อยละ 90 ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมาทั้งจาก ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ไปจนถึง อินเดีย หรือปากีสถานเลยก็มี
    .
    #ปลาทูไทยเราก็มี ทำไมจึงต้องนำเข้า ?
    แท้จริงแล้วสถานการณ์ของปลาทูไทย เรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤติมานานแล้ว ในพ.ศ.2561 เราสามารถจับปลาทูได้เพียง หนึ่งหมื่นหนึ่งพันตัน ซึ่งมีจำนวนลดลงจาก พ.ศ.2554 กว่า 10 เท่า และเมื่อเทียบกับความต้องการในการบริโภคปลาทูของคนไทยที่เฉลี่ยแล้วมากกว่า สี่แสนตันต่อปี ก็เรียกได้ว่าจำนวนปลาทูที่เป็นของไทยเราจริงๆ มีน้อยกว่าความต้องการของตลาดอยู่มาก จึงจำเป็นต้องนำเข้ามาจากประเทศต่างๆ
    .
    #สาเหตุที่ปลาทูไทยลดน้อยลง
    ปัจจัยที่ทำให้จำนวนปลาทูไทยลดลง มีอยู่หลายสาเหตุ มีทั้งเหตุจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และพฤติกรรมของมนุษย์ การที่ ‘น้ำทะเลร้อนขึ้น’ ก็มีส่วนทำให้อัตราการเกิดของปลาทูลดลง และทำให้ขนาดของปลาทูเล็กลง เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้กระแสน้ำแปรปรวน จนกระทบต่อวงจรชีวิตของปลาทู ไปจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของห่วงโซ่อาหารในทะเล
    .
    นอกจากฝีมือมนุษย์ทางอ้อมอย่างเรื่องอุณหภูมิทะเลสูงขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยที่มนุษย์เป็นต้นเหตุโดยตรงอย่าง ‘การทำประมงเกินขนาด’ ที่มีการใช้อวนตาถี่ หรือเรือปั่นไฟเพื่อล่อปลาเข้ามาให้ติดอวน ซึ่งทำให้ลูกปลาทูตัวเล็กๆ ติดไปด้วย จึงทำให้มีลูกปลาจำนวนไม่น้อยถูกนำไปบริโภคก่อนจะโตเต็มวัย และทำให้เราจับปลาที่โตเต็มวัยได้ไม่มากเท่าที่เคย รวมไปถึงปลาที่จะมีชีวิตรอดไปถึงวัยเจริญพันธุ์ ก็มีน้อยลง จำนวนพ่อ-แม่พันธุ์ก็มีปริมาณไม่มาก อัตราการเกิดใหม่ของปลาทูจึงลดลงไปใหญ่
    .
    และยังมี ‘การทำลายถิ่นที่อยู่ของสัตว์ทะเล’ หรือการพัฒนาพื้นที่อย่างไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ในอดีตจังหวัดชลบุรี มีความสำคัญต่อวงจรชีวิตปลาทูอ่าวไทยเป็นอย่างมาก เพราะเป็นจุดวางไข่ของเหล่าปลาทูก่อนที่จะเติบโต แต่ในปัจจุบันบริเวณนั้นกำลังผันเปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางการขนส่ง ทำให้มีการเดินเรือเข้า-ออก มีท่าเรือขึ้นใหม่ จุดเติมเชื้อเพลิงต่างๆ เพื่อรองรับการเป็นจุกศูนย์กลางนั้น และเดินหน้าเข้าสู่ความเป็นแหล่งอุตสาหกรรม โดยมีการวางแผนการเติบโตของแหล่งอุตสาหกรรมในแบบที่ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือวิถีชีวิตของสัตว์น้ำในบริเวณนั้น ทำให้แหล่งที่อยู่และจุดวางไข่ของปลาทูถูกทำลายไปด้วย
    .
    #ยุทธการเพิ่มประชากรปลาทูไทยให้กลับมา
    อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าจำนวนปลาทูไทยที่ลดลงนั้น เป็นปัญหาใหญ่ที่เรียกได้ว่าเข้าขั้นวิกฤติ เพราะไม่ใช่เพียงแค่ว่า เราจะไม่มีปลาทูกิน แต่มันแสดงให้เห็นว่าสัตว์น้ำประจำถิ่นที่แสนอร่อยของเรากำลังจะสูญพันธ์ุ รัฐจึงต้องดำเนินการเพื่อจัดการกับปัญหานี้ ที่นอกจากการสร้างความเข้าใจเรื่องของการจับปลาให้กับกลุ่มคนทำประมงแล้ว ยังต้องมีการแก้ปัญหาที่มาจากด้านนโยบาย และบังคับใช้กฎหมาย
    .
    ในตอนนี้รัฐก็มีมาตรการ ‘ปิดอ่าว’ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอ่าวไทยรูปตัว ก ไม่ให้มีการทำประมงเชิงพาณิชย์ได้ ในช่วงที่ปลาทูวางไข่และอพยพ เพื่อรักษาจำนวนประชากรไม่ให้ลดลงไปอีก อีกทั้งในปีนี้ยังมีการร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การประมง 8 ร่าง ที่สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการไปแล้ว โดยมีร่างที่เสนอให้แก้ไข มาตรา 57 เพื่อให้มีการรับฟังความเห็นจากชาวประมงและทุกฝ่ายก่อนประกาศข้อกำหนดการจับสัตว์น้ำขนาดเล็ก
    #เราทุกคนก็ช่วยอนุรักษ์ปลาทูไทยได้
    สุดท้ายเรายังคงต้องติดตามแนวทางการแก้ไขเชิงนโยบายและมาตราการรัฐต่างๆ ว่าจะมีประสิทธิภาพมากพอที่จะทำให้ประชากรปลาทูไทยกลับมาอุดมสมบูรณ์หรือไม่
    .
    แต่นอกเหนือจากการแก้ปัญหาจากรัฐแล้ว พวกเราในฐานะประชาชนคนธรรมดาก็สามารถ ร่วมกันเป็นกระบอกเสียงให้เหล่าปลาทูของเรา ด้วยการเข้าร่วมแคมเปญ ‘I MISS YOU ปลาทูไทย’ กับทาง Pulitzer เพียงนำรูปไปลงในช่องทางโซเชียลมีเดียของคุณ ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ปลาทูไทยได้แล้ว
    สามารถดูวิธีการร่วมแคมเปญได้ทาง : https://docs.google.com/document/d/1q0LUoFNfqe2X4z1CDfPQP6awWL7hHIRNN12sURIoteU/edit

    อ้างอิง
    (I MISS YOU ปลาทูไทย) https://docs.google.com/document/d/1q0LUoFNfqe2X4z1CDfPQP6awWL7hHIRNN12sURIoteU/edit
    (วิกฤตปลาทูไทย เมื่อปลาทูหายไปจะเกิดผลกระทบในด้านใดบ้าง)
    https://www.seub.or.th/bloging/news/2024-192/
    (ในวันที่ปัญหาปลาทูไทยกำลังวิกฤติ ทำไมลูกปลาทูยังคงถูกจับกิน)
    https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/104427
    https://www.thairath.co.th/spotlight/platu
    (ปลาทูคู่ครัวไทยเดินทางมาจากไหน?)
    https://www.blockdit.com/posts/605b24d7e30917110b55c44d

    https://www.facebook.com/share/fg1dsric15VguzgB/?mibextid=oFDknk
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,212
    ค่าพลัง:
    +97,149
    #POLLUTION ‘สารเคมีตลอดกาล’ สามารถซึมเข้าสู่ผิวหนังมนุษย์ได้ การจำลองในห้องปฏิบัติการชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่ถูกละเลยนี้ มลพิษจากสารเคมีสามารถเข้าสู่กระแสเลือดของเราผ่านทางผิวหนัง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา
    .
    สารเคมีตลอดกาล หรือ PFAS นั้นเป็นสารเคมีที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม มันมีจุดเด่นเรื่องทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นมีความทนทานต่อความร้อน กันไฟ และมีความแข็งแรงขึ้น ซึ่งถูกใช้ส่วนใหญ่ในสินค้าเช่น หม้อ กระทะ เฟอร์นิเจอร์ กาว หรือเสื้อผ้า
    .
    แต่เมื่อเร็ว ๆ นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มตระหนักถึงผลกระทบของสารดังกล่าว ที่อาจสร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงร่างกายของเรา จนทำให้หลายประเทศทั้งในอเมริกาและสหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายจำกัดการใช้สารเหล่านี้แล้ว
    .
    เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า PFAS เหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้หลายทาง โดยเส้นทางที่ชัดเจนที่สุดคือการรับผ่านทางอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการสูดดม ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อกันว่า PFAS นั้นไม่สามารถผ่านผิวหนังได้
    .
    แต่ในตอนนี้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ได้ยืนยันว่าสารเคมีตลอดกาลสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังได้อย่างแน่นอน
    .
    “ความสามารถของสารเคมีเหล่านี้ในด้านการถูกดูดซึมผ่านทางผิวหนังก่อนหน้านี้มักถูกละเลย เนื่องจาก(การจะผ่านผิวหนังได้) โมเลกุลจะต้องแตกตัวเป็นไอออน” ดร. Oddný Ragnarsdóttir ผู้เขียนงานวิจัยคนแรก กล่าว “ทำให้พวกมันไม่สามารถข้ามเยื่อหุ้มผิวหนังได้”
    .
    ดร. Ragnarsdóttir และเพื่อนร่วมงานได้ตรวจสอบ PFAS 17 ประเภทที่แตกต่างกันซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นประเภทที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและมีการศึกษามากที่สุด โดยการใช้แบบจำลอง 3 มิติที่มาจากปลูกเนื้อเยื่อผิวหนังมนุษย์ในห้องทดลอง
    .
    จากนั้นพวกเขาได้ใช้ตัวอย่าง PFAS ว่าถูกดูดซึมผ่านผิวหนังหรือไม่ จากการทดสอบทั้งหมด 17 รายการ มีถึง 15 รายการที่สามารถผ่านผิวหนังเข้าไปได้ในปริมาณอย่างน้อย 5% และเมื่อสัมผัสนานขึ้น ปริมาณสารเคมี 13.5% จะสามารถเข้าไปในเส้นเลือด
    .
    ถึงแม้ตัวเลขจะดูน้อย แต่ทีมวิจัยระบุว่าการสัมผัสที่นานขึ้นจะยิ่งทำให้สารเหล่านี้ผ่าเข้าเส้นเลือดได้มากขึ้น ทำให้สารเคมีเข้าร่างกายได้มากขึ้น ทีมวิจัยได้ยกตัวอย่าง หากครีมกันแดดผสมสารเคมีกลุ่ม PFAS มันก็จะผ่านผิวหนังและเข้าสู่กระแสเลือดได้ตลอดเวลา
    .
    “ในความเป็นจริงแล้ว การดูดซึมผ่านผิวหนังอาจเป็นแหล่งที่มาสำคัญของการสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตรายเหล่านี้” ดร. Ragnarsdóttir “มีโอกาสมากที่ส่วนหนึ่งของการดูดซึมจะถูกกระจายจากเลือดไปยังของเหลวและเนื้อเยื่ออื่น ๆ”
    .
    อย่างไรก็ตามผลกระทบที่ตามมาต่อร่างกายนั้นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อเข้าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ที่แน่ ๆ สารเคมีตลอดการจะต้องถูกจับตามองมากขึ้น
    .
    “นี่เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเราเห็นการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมที่ทำให้สารเคมีมีความยาวโซ่สั้นลง(โมเลกุลเล็กลง) เนื่องจากเชื่อว่าสารเคมีเหล่านี้มีพิษน้อยกว่า อย่างไรก้ตาม ข้อเสียคือมนุษย์ดูดซับสารเคมีเหล่านี้ได้มากขึ้น ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง” ศาสตราจารย์ Stuart Harrad ผู้ร่วมเขียนงานวิจัย กล่าว
    .
    ที่มา
    .
    https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0160412024003581?via=ihub
    .
    https://healthpolicy-watch.news/for...an absorb 'forever,(PFAS) in people worldwide.
    .
    https://www.washingtonpost.com/clim...oxic-forever-chemicals-beauty-products-study/
    .
    https://www.iflscience.com/common-forever-chemicals-can-be-absorbed-through-human-skin-74812
    .
    https://www.sciencealert.com/forever-chemicals-seep-through-human-skin-alarming-study-confirms
    .
    https://www.euronews.com/health/202...enter-our-blood-by-being-absorbed-by-the-skin
    .
    Photo : Waterkeeper Alliance

    https://www.facebook.com/share/p/cAtDCeGrL6zX4Xp1/?mibextid=oFDknk
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,212
    ค่าพลัง:
    +97,149
    #LIFE งานวิจัยระบุ ‘ดูเหมือนว่าอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล นม และไขมัน’ จะเชื่อมโยงกับการเป็นสิวในวัยผู้ใหญ่ นักวิทยาศาสตร์แนะถ้าเป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้
    .
    อย่างที่ทราบกันดี สิวเป็นผลมาจากเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและไขมันไปอุดดันรูขุมขน จนกลายเป็นสิวหัวดำ สิวอักเสบ สิวเสี้ยน และอื่น ๆ อีกมากมายรวมถึงรอยสิวที่กลายเป็นรอยแผลเป็นด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้สิวกลายเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในโลก
    .
    โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในช่วงอายุวัยรุ่นและค่อย ๆ ลดลงในวัยผู้ใหญ่ แต่งานวิจัยใหม่จากประเทศฝรั่งเศสที่ทำการศึกษาคนมากกว่า 24,000 คนพบว่า เกิน 50% มีการกลับมาเป็นสิวใหม่ในช่วงอายุ 25 ปีขึ้นไป ทั้งกลับมาเป็นช่วง ๆ และเรื้อรัง พร้อมกับให้ระบุสาเหตุไว้ว่าอาจเป็นเพราะ ‘อาหารบางประเภท’
    .
    “เรารู้ว่าอาหารที่กินมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสุขภาพของเราโดยทั่วไป” Joshua Zeichner ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเครื่องสำอางและคลินิกด้านผิวหนังที่โรงพยาบาล Mount Sinai ในนิวยอร์กกล่าวกับ Allure ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่มันอาจมีผลกระทบกับการเป็นสิว
    .
    ทีมงานจาก Institut National de la Santé et de la Recherche Médicale จากมหาวิทยาลัยปารีส ได้ประเมินอาหารหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น นม ดาร์กช็อกโกแลต ซีเรียล ผัก เนื้อสัตว์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล จากนั้นจึงแบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองตามกลุ่มอายุ ดัชนีมวลกาย สถานะการศึกษา การสูบบุหรี่ เพศ ประวัติทางการแพทย์ และการออกกำลังกาย
    .
    หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ตัวแปรต่าง ๆ ก็ดูเหมือนจะชี้ไปในทางเดียวกันนั่นคือ การกินอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และนมเป็นส่วนประหลักเชื่อมโยงกับการเป็นสิวในวัยผู้ใหญ่ แม้จะยังไม่ทราบเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เบื้องหลังว่าทำไม แต่ทีมวิจัยก็ได้แนะนำเหตุผลบางประการไว้
    .
    อาหารที่มีระดับน้ำตาลสูง จะทำให้ร่างกายมีระดับสารบางอย่างที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลินที่ชื่อ IGF-1 และอินซูลินสูงขึ้น ซึ่งจะไปเพิ่มระดับปฏิกิริยาออกซิเดชั่นและการอักเสบในร่างกาย ดังนั้นท้ายที่สุดก็จะไปเพิ่มการเป็นสิว ทั้งนี้ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป
    .
    “ฉันมักจะแนะนำคนไข้เสมอว่า การรับประทานอาหารเป็นสาเหตุหนึ่งของสิวได้ รวมถึงอาหารที่มีน้ำตาลสูงและผลิตภัณฑ์จากนม” Y. Claire Chang แพทย์ผิวหนังที่ได้รับการรับรองจาก Union Square Laser Dermatology ในนิวยอร์ก กล่าว
    .
    แต่สิ่งนักวิทยาศาสตร์เน้นย้ำเสมอคือ สิวนั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเครียด การดำเนินชีวิต ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม(เช่นมลภาวะ) เครื่องสำอาง ไปจนถึงพันธุกรรม ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ และแม้แต่การสูบบุหรี่ต่างมีผลทั้งหมด
    .
    การเป็นสิวสามารถส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจได้ ทำให้มีความมั่นใจในตัวเองต่ำลง เกิดการแยกตัวทางสัมคม และอาจถึงขั้นมีภาวะซึมเศร้าจนถึงวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงปัจจัยบางอย่างที่อาจมีผลกระทบได้ก็ควรหลีกเลี้ยงเท่าที่ทำได้ เช่นการรับประทานอาหารตามที่งานวิจัยนี้ได้กล่าวไว้
    .
    “โดยส่วนใหญ่แล้ว การรับประทานอาหารไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้คนเป็นสิว” Chang กล่าว “แต่การรับประทานอาหารที่ไม่ดีก็สามารถกระตุ้นให้เกิดสิวในคนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นการเปลี่ยนอาหารสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดสิว แต่มันก็จะไม่เปลี่ยนพันธุกรรมของคุณ”
    .
    ที่มา
    .
    https://jamanetwork.com/journals/ja...ign=ftm_links&utm_content=tfl&utm_term=061020
    .
    https://bigthink.com/health/diet-acne/#Echobox=1719333092
    .
    https://www.allure.com/story/acne-fatty-sugar-food-diet-study
    .
    Photo : RossHelen/Envato
    https://www.facebook.com/share/p/mYjV7TS4ia6itw7R/?mibextid=oFDknk
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,212
    ค่าพลัง:
    +97,149
    #CLIMATE การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทำให้ออกซิเจนในมหาสมุทรลดลงได้อย่างไร? เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่าทะเลทั่วโลกกำลัง ‘ขาดอากาศหายใจ’
    .
    นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 โลกมีระดับออกซิเจนในมหาสมุทรลดลงประมาณ 2% แล้ว แม้อาจจะฟังดูไม่มาก แต่ปริมาณที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนี้กำลังให้สัตว์น้ำหลายชนิด ‘ขาดอากาศหายใจ’ และนั่นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เกิด ‘หายนะ’ ทางระบบนิเวศ พร้อมกับลดความหลากหลายทางชีวภาพ โดยทั้งหมดนี้มาจากสาเหตุหลักเพียงอย่างเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
    .
    “เรากำลังนั่งอยู่ท่ามกลางออกซิเจนจำนวนมาก และเราไม่คิดว่าการสูญเสียออกซิเจนเพียงเล็กน้อยจะส่งผลกับเรา” Dan Laffoley ที่ปรึกษาหลักในโครงการทางทะเลและขั้วโลกของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) กล่าว “แต่ถ้าเราไปอยู่ใกล้ ๆ ยอดเขาเอเวอเรสต์ที่มีออกซิเจนน้อย เราก็จะอยู่ในจุดที่ว่า การสูญเสียออกซิเจนเพียง 2% จะมีนัยสำคัญมาก”
    .
    การสูญเสียออกซิเจนไม่เพียงแต่จะทำให้ชีวิตในทะเลต้องดิ้นรน แต่ยังส่งผลกระทบต่อการหมุนเวียนของธาตุต่าง ๆ ในโลกเช่น ไนโตรเจนหรือฟอสฟอรัส ซึ่งธาตุเหล่านั้นมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมหาสมุทร และอาจทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า ‘โรคกระดูกพรุนในทะเล’
    .
    การศึกษาบางชิ้นในเวลาต่อมาได้รายงานไว้ว่าระดับออกซิเจนอาจลดลงได้มากถึง 40-50% ในบางพื้นที่โดยเฉพาะเขตร้อน ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นตามข่าวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่ปลานับหมื่นนับแสนตัวตายเพราะขาดอากาศหายใจ แต่สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้อย่างไร?
    .
    #กิจรรมของมนุษย์
    การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น การตัดไม้ทำลายป่า การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล และมลพิษต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และทำให้มหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ได้สร้างผลกระทบต่อมาอย่างมีนัยสำคัญ
    .
    เมื่อน้ำร้อนขึ้น ออกซิเจนจะละลายน้ำได้น้อยลง ซึ่งหมายความอย่างง่าย ๆ ว่าน้ำอุ่นจะกักเก็บออกซิเจนได้น้อยกว่าน้ำเย็น ทำให้ปริมาณออกซิเจนถูกใช้หมดเร็วขึ้นและนั่นทำให้กระบวนทั้งหมดเสียสมดุล แต่น่าเศร้านักที่มหาสมุทรโลกเป็นสถานที่ดูดซับความร้อถึงร้อยละ 93 ดังนั้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงมีผลต่อพื้นที่เหล่านี้มากยิ่งนัก
    .
    “สิ่งที่น่าตกใจก็คือ เมื่อระดับออกซิเจนลดลง จะส่งผลต่อวงจรเหล่านั้น” ดร. Laffoley กล่าว “เราลดระดับออกซิเจนเหล่านี้ลงจนตกอยู่ในระดับอันตราย”
    .
    ตามข้อมูลจากศาสตราจารย์ Nancy Rabalais ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุทรศาสตร์และพื้นที่ชุ่มน้ำระบุว่า ความเข้มข้นของออกซิเจนยังบทบาทต่ออัตราการสลายอินทรียวัตถุและการหมุนเวียนขององค์ประกอบต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การลดออกซิเจนอาจทำให้ฟอสฟอรัสมีการรีไซเคิลมากยิ่งขึ้น
    .
    และนั่นทำให้สิ่งมีชีวิตที่จะใช้ฟอสฟอรัสไปสร้างโครงสร้างได้น้อยลง จึงทำให้พวกมันอ่อนแอจนเป็นที่มาของ ‘โรคกระดูกพรุนในทะเล’ ไม่เพียงเท่านั้น อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นยังไปลดคุณภาพและปริมาณของแหล่งที่อยู่อาศัยได้ของสัตว์ทะเล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสืบพันธุ์และจำนวนประชากรโดยตรง
    .
    นอกจากนี้สัตว์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนอย่างปลาทูน่าและฉลาม ก็จะตัองถูกผลักดันไปยังทะเลที่ตื้นกว่า ซึ่งทำให้พวกมันมีภัยคุกคามมากขึ้นทั้งจากการที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมแบบใหม่ และยังทำให้ระบบนิเวศแปรปรวน ท้ายที่สุดอาจนำไปสู่การล่มสลายของความอุดมสมบูรณ์
    .
    #อนาคตที่ไม่แน่นอน
    แม้ว่างานวิจัยบางชิ้นจะชี้ให้เห็นว่า ระดับออกซิเจนที่ลดลงจะสามารถย้อนกลับได้ในที่สุด แต่เราอาจอยู่ไม่ถึงอนาคตอันไกลนี้ ในการศึกษาล่าที่เผยแพร่เมื่อปี 2023 ในวารสาร Nature ได้ทำการวิเคราะห์มหาสมุทรที่อยู่ในช่วงที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงมาก
    .
    ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกอบอุ่นกว่าปัจจุบันเมื่อประมาณ 16-14 ล้านปีก่อน โดยระบุว่าเป็นตัวอย่างที่เป็นได้ของมหาสมุทรปัจจุบัน ทีมวิจัยพบว่าพื้นที่ขนาดใหญ่ในมหาสมุทรได้ ‘ตาย’ จากการสูญเสียออกซิเจนไปเป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ธรรมชาติจะค่อย ๆ ย้อนกลับมาเป็นปกติเมื่อเวลาผ่านไปราวแสนปี
    .
    แต่ระบบนิเวศทางทะเลของโลกในปัจจุบันได้ถูกรบกวนและได้รับแรงกัดดันจากภัยคุกคามหลายด้าน ผู้เชี่ยวชาญหลายคนจึงแสดงความกังวลว่าเราอาจจะไม่มีเวลามากพอให้ธรรมชาติเยียวยาตัวเอง และจะเป็นมนุษยชาติเองที่ต้องจากไป
    .
    “ฉันไม่คิดว่าเราควรจะอยู่รอเพื่อดูว่าการลดออกซิเจนจะกลับคืนมาหรือไม่เมื่อสภาพอากาศยังอุ่นอยู่” Anya Hess ผู้ศึกษาเรื่องออกซิเจนในมหาสมุทรจากมหาวิทยาลัย Rutgers กล่าว “เรารู้ว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระดับออกซิเจนในมหาสมุทรลดลง ดังนั้นหากเราต้องการหยุดมัน เราก็รู้ว่าควรต้องทำอะไร นั่นคือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก”
    .
    ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ภาวะโลกร้อน และมลพิษที่ถูกปล่อยลงสู่ทะเล ทำให้มหาสมุทรของเรากลายเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ดูเหมือนว่ามนุษย์จะยังไม่ตระหนักถึงจุดนั้น สิ่งเหล่านี้ทำให้มหาสมุทรฟื้นตัวได้ยากขึ้น และมันอาจนำไปสู่ความตายครั้งมโหราฬทั้งบนบกและใต้น้ำ
    .
    “มหาสมุทรคือหัวใจสีฟ้าบนโลกนี้ มันเป็นพื้นที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ของโลก และเป็นศูนย์กลางของระบบสนับสนุนชีวิตของเรา” ดร. Laffoley กล่าว “และนั่นทำให้ผมคิดว่า เราจำเป็นต้องดูแลมันจริง ๆ เพราะมันคอยดูแลเรา”
    .
    ที่มา
    .
    https://www.science.org/doi/10.1126/science.1153847
    .
    https://www.nytimes.com/2019/12/07/climate/ocean-acidification-climate-change.html
    .
    https://www.nature.com/articles/s41...0515&CJEVENT=0ce57a9536e011ef80ac022f0a18b8f8
    .
    https://www.popsci.com/environment/ocean-deoxygenation-climate-change/
    .
    https://www.scientificamerican.com/article/the-ocean-is-running-out-of-breath-scientists-warn/
    .
    https://news.mongabay.com/2018/01/g...ersize-the-oceans-oxygen-depleted-dead-zones/
    .
    https://www.un.org/en/chronicle/art...ter cannot hold,surface to sink and circulate.
    .
    Photo : David Suggett
    https://www.facebook.com/share/p/8Xc78LQTWFsQpLts/?mibextid=oFDknk
     

แชร์หน้านี้

Loading...