ตามรอย "พระมหาชนก"

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 15 กรกฎาคม 2010.

  1. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    เมื่อวานพี่กู ก็พาไปเวบนั้นเหมือนกันจ้า อิอิ :boo:
     
  2. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    [​IMG]

    มีสุนัขตัวหนึ่งหันหน้าทางซ้าย อีกตัวหนึ่งหันหน้าทางขวา
    สองตัวยืนอยู่ระหว่างคำว่า ห้าพันปี


    มหาวิทยาลัยปูทะเลย์ ที่บ้านเชียง จะเป็นสิ่งปกป้อง(ดังสุนัขปกป้องเจ้านาย) พุทธศาสนาให้ถึงห้าพันปี หรือเปล่า???


    แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อน หลังไปกว่า 5,000 ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้าง สังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่า ร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่ง วัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก
    :cool:
     
  3. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    ขออาสาสมัคร ที่ดูดวงได้ แปลดวง 4 ดวงนี้ให้หน่อย

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    โพธิยาลัย

    วัดจากแดงเป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวา ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นปอดขนาดใหญ่แหล่งสุดท้ายที่อยู่ใกล้กรุงเทพมากที่สุด และมีแม่น้ำเจ้าพระยาล้อมรอบทั้งพื้นที่ จนมีลักษณะเป็นเกาะ รูปทรง "กระเพาะหมู"

    วัดนี้จัดประชุมศึกษาและถกกันเรื่อง พระธรรมวินัย ระดับประเทศอยู่ทุกปี
    หากพระสายวัดป่า เป็นปราการด่านสุดท้ายของพระพุทธศาสนาในเมืองไทย
    กลุ่มพระที่ศึกษา รักษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดสังฆะนี้ จะเป็นปราการหัวเมืองชั้นใน

    หากธรรมกายเจาะเข้ามาได้ ก็แสดงว่า ทั้งซีกโยม ซีกพระ แทบไม่เหลือแล้ว

    [​IMG]

    หน้า ๑๗
     
  5. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648


    มาถึงวิกฤติในสมัยนี้ มีผู้มีอำนาจหรือใครคิดจะรวมใจคนทั้งชาติด้วยการพึ่งพระพุทธศาสนาหรือไม่? มีแต่จะสมานฉันท์ด้วยวาทะกรรม ปฎิรูปโครงสร้างอำนาจ และการแบ่งปันผลประโยชน์ สร้างระบบกฏหมายแบบหนูไล่จับแมว

    แต่คงว่าเขาไม่ได้ พวกนี้มีความไม่รู้ เรียนโรงเรียนอินเตอร์ ไม่รู้จักรากเหง้าของตัวเอง ไม่ได้ศึกษาหรือสัมผัสกับคุณค่าของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง จากนั้นก็ จบนอก และกลับมากุมอำนาจการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา
     
  6. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    สมัย ร.๑ บ้านเมืองเรารอดจากวิกฤติของประเทศ ก็เพราะทำบุญใหญ่กับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการสังคายนาพระไตรปิฏก ทนุบำรุงพระศาสนา

    [​IMG]

    วิกฤติ ร.ศ. ๑๑๒
    หมาป่าฝรั่งเศษกับลูกแกะสยาม เรารอดมาได้อย่างไร?

    [VDO]<object width="480" height="385"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/BBz_q76XzvM&amp;hl=en_US&amp;fs=1"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/BBz_q76XzvM&amp;hl=en_US&amp;fs=1" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="480" height="385"></embed></object>[/VDO]

    พระพุทธคุณแห่งการสังคายนาพระไตรปิฎกและการพระราชทานไปยังนานาประเทศทั่วโลกช่วยสยามประเทศพ้นวิกฤต ร.ศ.๑๑๒ จากการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกได้
     
  7. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    รัชกาลที่ ๑ กรุงเทพฯ

    เรื่องสังคายนาพระไตรปิฎกโดยพิสดาร ในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีปรากฏในหนังสือพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา และคำประกาศเทวดาครั้งสังคายนาปีวอก สัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๓๓๑ รัชกาลที่ ๑ (หนังสือประกาศการพระราชพิธี) ซึ่งเก็บใจความได้ดังนี้

    ในปี พ.ศ. ๒๓๓๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสละพระราชทรัพย์จ้างช่างจารจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน และให้ชำระและแปลฉบับอักษรลาว อักษรรามัญ เป็นอักษรขอม สร้างใส่ตู้ไว้ในหอมนเทียรธรรม และสร้างพระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอาราม หลวง มีผู้กราบทูลว่า ฉบับพระไตรปิฎก และอรรถกถาฎีกาที่มีอยู่ ผิดเพี้ยนวิปลาสเป็นอันมาก ผู้ที่รู้พระไตรปิฎกก็มีน้อยท่าน ควรจะได้หาทางชำระให้ถูกต้องจึงทรงอาราธนาพระสังฆราช พระราชาคณะ ฐานานุกรมเปรียญ ๑๐๐ รูปมาฉัน ตรัสถามว่า พระไตรปิฎกผิดพลาดมากน้อยเพียงไร สมเด็จพระสังฆราชพร้อมด้วยพระราชาคณะถวายพระให้ทรงทราบว่า มีผิดพลาดมาก แล้วเล่าประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎก ๘ ครั้งที่ล่วงมาแล้ว เมื่อทรงทราบดั่งนี้ จึงอาราธนาให้พระสงฆ์ดำเนินการสังคายนาชำระพระไตรปิฎก ซึ่งเลือกได้พระสงฆ์ ๒๑๘ รูป ราชบัณฑิตอุบาสก ๓๒ คน (แต่ตามประกาศเทวดาว่า พระสงฆ์ ๒๑๙ รูป ราชบัณฑิตอุบาสก ๓๐ คน) กระทำ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ (คือวัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษดิ์ในปัจจุบัน) แบ่งงานออกเป็น ๔ กอง สมเด็จพระสังฆราชเป็นแม่กองชำระสุตตันตปิฎก พระวันรัตเป็นแม่กองชำระวินัยปิฎก พระพิมลธรรมเป็นแม่กองชำระอภิธัมมปิฎก พระพุฒาจารย์เป็นแม่กองชำระสัททาวิเศษ (ตำราไวยากรณ์และอธิบายศัพท์ต่าง ๆ) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระอนุชาเสด็จไป ณ พระอารามทุกวัน ๆ ละ ๒ ครั้ง เวลา เช้าทรงประเคนสำรับอาหาร เวลาเย็นทรงถวายน้ำอัฐบาน (น้ำผลไม้คั้น) และเทียนทุกวัน เป็นอยางนี้สิ้นเวลา ๕ เดือนจึงเสร็จ แล้วได้จ้างช่างจารจารึกลงในใบลาน ให้ปิดทองแท่งทับทั้งใบปกหน้าหลัง และกรอบทั้งสิ้น เรียกว่าฉบับทองห่อด้วยผ้ายก เชือกรัดถักด้วยไหม แพรเบญจพรรณ มีฉลากงาแกะเขียนอักษรด้วยหมึก และฉลากทอเป็นตัวอักษร บอกชื่อพระคัมภีร์ทุกคัมภีร์

    เมื่อพิจารณาจากการที่พระมหากษัตริย์ทรงอุตสาหะ เสด็จพระราชดำเนินไปให้กำลังใจแก่พระเถระและราชบัณฑิตผู้ชำระพระไตรปิฎก ถึงวันละ ๒ เวลาแล้ว ก็ควรจะถือได้ว่าเป็นพระราชจริยาอันดียิ่ง มีคุณค่าในการถนอมรักษาตำราทางพระพุทธศาสนาไว้ด้วยดี

    แต่การสังคายนาครั้งนี้ ผู้ทรงความรู้รุ่นหลัง มักจะพูดล้อว่าเป็นการสังคายนา แต้มหัวตะ เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงไว้ในพระราชวิจารณ์เทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่ายหีนยาน (เถรวาท) กับมหายาน หน้า ๑๓ โดยเล็งไปถึงว่าไม่ได้ทำอะไรมาก นอกจากแก้ไขตัวหนังสือที่ผิด คำว่า แต้มหัวตะ หมายความว่า อักษร ค กับอักษร ต เมื่อเขียนด้วยอักษรขอม มีลักษณะใกล้เคียงกัน ถ้าจะให้ชัดเจนเวลาเขียนตัว ต จะต้องมีขมวดหัว การสอบทานเห็นตัวไหนไม่ชัดก็เติมขมวดหัวเสียให้ชัด

    แต่ข้าพเจ้าเองมิได้เห็นว่า การชำระพระไตรปิฎกในรัชกาลที่ ๑ เป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะมิได้ติดใจถ้อยคำที่ว่า สังคายนา จะต้องเป็นเรื่องปราบเสี้ยนหนามทุกครั้งไป สังคายนาครั้งที่ ๑ ก็ไม่ใช่มีเสี้ยนหนามอะไรมาก เพียงภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งพูดไม่ดีเท่านั้น ข้อสำคัญอยู่ที่การจัดระเบียบหรือถนอมรักษาพระพุทธวจนะ ให้ดำรงอยู่ก็พอแล้ว ข้อปรารภของรัชกาลที่ ๑ ที่ว่า พระไตรปิฎกมีอักษรผิดพลาดตกหล่นมาก จึงควรชำระให้ดี นี้เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะดำเนินงานได้ เพราะถ้าไม่ได้พระบรมราชูปถัมภ์งานนี้ก็คงสำเร็จได้โดยยาก จะเรียกว่า สังคายนาหรือไม่ ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ได้แก้ไขฉบับพระไตรปิฎกให้ดีขึ้นก็เป็นที่พอใจแล้ว เพราะแม้การสังคายนาครั้งที่ ๑-๒-๓ ถ้าจะถือว่า มีการสังคายนาคนเกี่ยวข้องด้วยทุกครั้ง แต่ในที่สุดก็ไม่พ้นสังคายนาพระธรรมวินัย จัดระเบียบพระพุทธวจนะ โดยเฉพาะการสังคายนาครั้งแรกก็เพียงปรารภถ้อยคำของสุภัททภิกษุเท่านั้น มิใช่สังคายนาคนหรือต้องชำระสะสางความผิดของใคร ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงขอบันทึกพระคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไว้ในที่ด้วยคารวะอย่างยิ่ง

    ที่มา การพิมพ์พระไตรปิฎก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2010
  8. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    รัชกาลที่ ๕ กรุงเทพ ฯ

    หลักฐานเรื่องการพิมพ์พระไตรปิฎก ซึ่งเดิมเขียนเป็นตัวอักษรขอมอยู่ในคัมภีร์ใบลาน ให้เป็นเล่มหนังสือขึ้นนี้ มีในหนังสือชุมนุมกฏหมายในรัชกาลที่ ๕ (หลวงรัตนาญัปติ์เป็นผู้รวบรวมพิมพ์) หน้า ๘๓๙ ว่าด้วยลักษณะบำรุงพระพุทธศาสนาในหัวข้อว่า การศาสนูปถัมภ์ คือการพิมพ์พระไตรปิฎก ประกาศการสังคายนา และพระราชดำรัสแก่พระสงฆ์โดยพระองค์ ซึ่งได้พิมพ์ไว้ ส่วนหนึ่งในภาคผนวกแล้ว

    สาระสำคัญที่ได้กระทำ คือคัดลอกตัวขอมในคัมภีร์ใบลานเป็นตัวไทยแล้วชำระแก้ไข และพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม (เดิมกะว่าจะถึง ๔๐ เล่ม) มีการประกาศการสังคายนา แต่เพราะเหตุที่ถือกันว่า การสังคายนาควรจะต้องมีการชำระสะสางหรือทำลายเสี้ยนหนามพระศาสนา เพียงพิมพ์หนังสือเฉย ๆ คนจึงไม่นิยมถือว่าเป็นการสังคายนา แต่ได้กล่าวไว้แล้วว่า จะเรียกว่า สังคายนา หรือไม่ ไม่สำคัญ ขอให้ได้มีการตรวจสอบ จารึกหรือจัดพิมพ์พระไตรปิฎกให้เป็นเล่มรักษาไว้เป็นหลักฐาน ก็นับว่าเป็นกิจอันควรสรรเสริญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการทำให้พระพุทธวจนะดำรงอยู่เป็นหลักแห่งการศึกษาและปฏิบัติตลอดไป

    มีข้อน่าสังเกตในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งแรกในประเทศไทย ครั้งนี้ที่ขอเสนอไว้เป็นข้อ ๆ คือ

    ๑. การชำระ และจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้เริ่มแต่ พ.ศ. ๒๔๓๑ สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ จำนวน ๑,๐๐๐ ชุด นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยอักษรไทย เป็นการฉลองการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติมาครบ ๒๕ ปี

    ๒. เป็นการสละพระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เทียบกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในรัชกาลที่ ๗ ซึ่งเป็นการสละพระราชทรัพย์ และทรัพย์ร่วมกันของพระมหากษัตริย์กับประชาชน)

    ๓. ในการพิมพ์ครั้งแรกนี้ พิมพ์ได้ ๓๙ เล่มชุด ยังขาดหายไปมิได้พิมพ์อีก ๖ เล่ม และได้พิมพ์เพิ่มเติมในรัชกาลที่ ๗ จนครบ ฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ ๗ รวม ๔๕ เล่ม จึงนับว่าสมบูรณ์ เป็นการช่วยเพิ่มเติมเล่มที่ขาดหายไปคือ (๑) เล่ม ๒๖ วิมานวุตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา (๒) เล่ม ๒๗ ชาดาก (๓) เล่ม ๒๘ ชาดก (๔) เล่ม ๓๒ อปทาน (๕) เล่ม ๓๓ อปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก (๖) เล่ม ๔๑ อนุโลมติกปัฏฐานภาค ๒ และ (๗) ปัจจนียปัฏฐาน อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน นอกจากนั้นยังได้เพิ่มเติมท้ายเล่ม ๔๔ ที่ขาดหายไป ครึ่งหนึ่ง คือ นุโลมติกติกปัฏฐานและอนุโลมทุกทุกปัฏฐานให้สมบูรณ์ด้วย ตามจำนวนดังกล่าวนี้ เมื่อคิดเป็นเล่มจึงมีหนังสือขาดหายไป ต้องพิมพ์เพิ่มเติมใหม่ถึง ๗ เล่ม แต่เพราะเหตุที่ฉบับพิมพ์ในครั้งรัชกาลที่ ๕ แยกคัมภีร์ยมกแห่งอภิธัมมปิฎกออกเป็น ๓ เล่ม ส่วนในการพิมพ์ครั้งหลัง รวมเป็นเพียง ๒ เล่ม จำนวนเล่มที่ขาดหายจึงเป็นเพียง ๖ เล่ม คือ ฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ ๕ มี ๓๙ เล่ม ฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ ๗ มี ๔๕ เล่ม ด้วยประการฉะนี้

    อย่างไรก็ดี การพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือนี้ แม้ในขั้นแรกจะไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาสะดวกยิ่งขึ้น เป็นการวางรากฐานอย่างสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เป็นพระราชกรณียกิจอันควรสรรเสริญยิ่งแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ที่มา การพิมพ์พระไตรปิฎก

    ร.๕ ทรงพระปรีชาสามารถในการทรง ประยุคใช้ การเจริญสัมพันธไมตรีทางการฑูต +การทำบุญใหญ่กับพระศาสนา เป็นเทคโนโลยีธรรม

    ในสมัยนั้น การที่ไทยมีเทคโนโลยีการพิมพ์ ครั้งแรก จึงถือว่าเป็นอารยะประเทศ และไปในฐานะผู้มอบองค์ความรู้ โดยพระไตรปิฏกกว่า ๑,๐๐๐ ชุด ที่ถูกมอบไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก

    แต่เป็นที่น่าตกใจ ในการสังคายนาครั้งนั้น พระองค์ทรง.ใช้วิธีให้แต่ละวัดแยกกันทำการสังคายนาพระไตรปิฏกเล่มต่างๆ ด้วยระยะเวลาที่กระชั้น และศึกสงครามจากการล่าอณานิคมของประเทศตะวันตกกำลังเข้ามา จึงมีวัดๆหนึ่ง ที่ทำการสังคายนาไม่แล้วเสร็จ

    พระไตรปิฏกฉบับนี้จึงขาดไป จำนวน ๖ เล่ม ก็จำต้องเร่งออกเดินทางทางเรือ (ซึ่งต้องใช้เวลา)ไปเจริญสัมพันธไมตรีทางการฑูตด้วยเหตุนี้ แม้ประเทศไทยจะรักษาเอกราชไว้ได้ แต่ก็ทำให้ต้องเสียดินแดนบางส่วน !!

    บุญใหญ่ทำให้รักษาประเทศไว้ได้ แต่ผลกรรมที่พิมพ์พระไตรปิฎกไม่ครบก็ทำให้ต้องสูญเสียดินแดนไป
     
  9. Heureuse

    Heureuse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2008
    โพสต์:
    857
    ค่าพลัง:
    +3,446
    วิเคราะห์เพิ่มเติมโดย NooM.. [192.168.30.81, 127.0] 25 Dec 2008 - 13:41

    [​IMG]

    ผมได้ทำการตรวจสอบตำแหน่งดาวแล้ว ปรากฏว่าตำแหน่งดาวพ้องกันกับ ปี 2537 ครับ พอดีที่บ้านผมตอนนี้มีเฉพาะ พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ฉบับการ์ตูน ซึ่งมีภาพประกอบเป็น ดวงของวันที่ 20 เม.ย. , 24 เม.ย. , 2 พ.ค. และ 9 พ.ค. ซึ่งตำแหน่งดาวตรงกันกับ ปี พ.ศ.2537 อีกทั้งยังมีภาพปฏิทินเดือน พฤษภาคม วันพระและ วันในสัปดาห์ ตรงกัน โดยในวันที่ 9 พ.ค.2537 เป็นวันแรม 14 ค่ำ เดือน 5 ปี จอ จึงสรุปได้ว่า ทรงใช้ปฏิทินในปี พ.ศ.2537 เป็นข้อมูลทางดาราศาสตร์ เพื่อประกอบพระราชนิพนธ์

    ข้อมูลตามภาพประกอบ วันที่ 9 พ.ค. วางตำแหน่งลัคนาราศีเดียวกับอาทิตย์ แสดงว่าเป็นเวลาเช้าตรู่ ตรงกับในเนื้อเรื่อง

    ประเด็นคือเหตุใดจึงทรงใช้ปฏิทินของ พ.ศ.2537 ประกอบ ซึ่งจากคำนำในหนังสือนั้น ทรงพระราชนิพนธ์มาตั้งแต่ปี 2531 แล้ว

    เพิ่มเติมจากการตรวจสอบวันที่เกิดจันทรคราส และ สุริยคราส ของปี 2537 ในช่วง พฤษภาคม โดยใช้โปรแกรมโฮ๋ราสาด ได้ข้อมูลดังนี้ครับ

    สุริยคราส วันที่ 10 พฤษภาคม 2537 17:11 GMTศูนย์กลางของ คราสที่ Latitude 41:31N Longitude 84:08E
    จันทรคราสบางส่วน ศูนย์กลางคราสเวลา 25 พฤษภาคม 2537 12:07 มองไม่เห็นที่ กรุงเทพมหานคร เพราะเป็นตอนกลางวัน

    ตำแหน่งของสุริยคราส อยู่ที่ Longitude 84:08E ใกล้เคียงกับ จุดที่เรือพระที่นั่งของพระมหาชนกอับปางนั้นอยู่ในบริเวณลองติจูด ๙๐ องศาเศษ

    จากการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังเกี่ยวกับอุทกภัย ที่เกิดขึ้นในประเทศ ในปี 2537 มีดังนี้

    - น้ำท่วม พ.ศ. 2537 เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่ม กทม.และปริมณฑลเมื่อวันที่ 7 และ 8 พฤษภาคม 2537 วัดปริมาณฝนได้มากสุด ที่เขตยานนาวา ได้ 457.6 มม. โดยเฉลี่ยทั่ว กทม.มีปริมาณน้ำฝน 200 มม.มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกได้ว่าเป็น ฝนพันปี ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว กทม.

    - อิทธิพลจากพายุโซนร้อน “แฮรี่” ระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2537 ทำให้เกิดสภาวะฝนตกหนักบริเวณ ตอนบนลุ่มแม่น้ำปิง มีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานี P.1 สะพานนวรัฐ ระดับน้ำสูงสุด 4.33 ม. ปริมาณน้ำ 507.40 ลบ.ม./วินาที

    สำหรับข้อมูลของบริเวณพิกัดตามที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ ผมยังไม่ได้สืบค้นว่ามีหรือไม่ ในปี 2537

    แต่มีข้อมูล ข้อเท็จจริงที่สำคัญมากอีกอันหนึ่งคือ วันที่ 2 พ.ค.2551 ที่ผ่านมานี้ เกิดพายุไซโคลน นาร์กีส ณ.ตำแหน่งใกล้เคียงกันกับบทพระราชนิพนธ์ พอดีเลย ช่างเป็นความบังเอิญมากๆ เลยครับ ว่าเกิดขึ้นในวันที่เดียวกันพอดี

    ตัวผมคงมิอาจคาดเดาได้ว่า พระองค์ท่านจะทรงมีความรู้ทางวิชาการโหราศาสตร์มากน้อยเพียงใด แต่ผลอันเป็นที่ประจักษ์ชัด ก็คงจะมิอาจเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้ เหมือนดังที่ทาง พ.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์(ขอเรียกว่า ลุงสุชาติ ตามนิคเนม ที่ท่านเคยใช้ใน Payakorn.com) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า พระองค์ท่านยังทรงมีพระปรีชาสามารถในวิชาการโหราศาสตร์อีกแขนงหนึ่งด้วย

    อนึ่ง ในทางโหราศาสตร์ระบบนิรายนะ ทางลุงสุชาติ ได้วิเคราะห์ไว้แล้ว ผมจึงขออนุญาต วิเคราะห์เพิ่มเติมโดยใช้โหราศาสตร์ยูเรเนียน การผูกดวงจะใช้เป็นไปตามแบบของโหราศาสตร์สากล(สายนะ) ซึ่งตำแหน่งดาวจะเหลื่อมกับระบบโหราศาสตร์ไทย(นิรายนะ) อยู่ประมาณ 23:47 องศา

    โดยผูกดวงในวันที่ 2 พ.ค.2537 ใช้เวลา 6:00:49 (ลัคนาทับอาทิตย์) โดยใช้พิกัด 91.3E 18.5N ซึ่งเมื่อไม่ทราบเวลาเกิดเหตุที่แน่นอน ก็จะวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีพระเคราะห์สนธิ ปรากฏว่าพบโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับ พายุ ภัยพิบัติทางน้ำ การสูญเสียรุนแรง มากพอสมควร ดังนี้

    อาทิตย์ =อังคาร/เสาร์ =อังคาร/ฮาเดส =ลัคนาท้องถิ่น =(เนปจูน/ฮาเดส) =พฤหัส =เสาร์สะท้อน =มฤตยูสะท้อน =แอดเมตอสสะท้อน ...
    มฤตยู =เสาร์ =เนปจูน =ฮาเดส =อาทิตย์สะท้อน
    โครงสร้างบ่งบอก ว่าเป็นวันแห่งความสูญเสีย รุนแรงอย่างผิดปกติ แบบฉับพลัน

    พระเคราะห์สนธิที่เกี่ยวกับ ภัยพิบัติ ด้านพายุฝนฟ้าคะนอง หรือวาตภัย มีดังนี้

    r AR+NE-HA =r SU[180] =r -UR[-157.5] =r MA/HA[180] =r MA/SA[135]
    r UR+ZE-AR =r -SU[-157.5] =r SA[-135] =r SA/HA[-90]
    r UR/AD =r SU/MO[0]
    r NE/HA =r -SU[-45] = LAr[180] =r SA[-22.5]
    r UR+ZE-HA =r SU[0] =r MA/HA[0] =r AR/SU[-22.5] = -LAr[135]
    r UR+ZE-SA = LAr[45] =r NE[157.5]
    r AR+NE-HA =r SU[180] =r -UR[-157.5] =r MA/HA[180] =r MA/SA[135]

    จากสมการดาวด้านบน จะพบว่ามีโครงสร้างที่เกี่ยวข้องคือ มฤตยู(UR).เซอุส(ZE) และ เนปจูน(NE).ฮาเดส(HA) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของความสูญเสียในเรื่องของ พิบัติภัยทางน้ำ และวาตภัย ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวนี้ เมื่อมาตรวจสอบดูแล้ว หลายโครงสร้างคล้ายกันกับกรณีของ ไซโคลนนาร์กีส อย่างมีนัยสำคัญ ลองตรวจสอบข้อมูลผมที่ได้เคยวิเคราะห์ไว้แล้วได้ที่นี่

    วิเคราะห์พายุไซโคลน นาร์กีส ด้วยโหราศาสตร์ยูเรเนียน
    �������������Ź ������ ����������ʵ��������¹

    ผมจึงเห็นด้วยกับที่ทางลุงสุชาติกล่าวว่า ...จุดที่ตั้งของดาวพระเคราะห์ต่างๆ ที่พระองค์ท่านได้แสดงไว้ในดวงของวันที่มีเหตุการณ์เกี่ยวกับการเดินทางของพระมหาชนก ดังที่ปรากฏอยู่ในหนังสือพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” นั้น มีที่มาจากรากฐานความเป็นไปได้ซึ่งสามารถพิสูจน์ยืนยันด้วยหลักวิชาโหราศาสตร์ดวงดาวได้อย่างจริงๆ และเป็นสิ่งที่พสกนิกรคนไทยโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวงการโหราศาสตร์ควรภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งด้วยเช่นกัน...

    จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคนจะได้ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานถวายพระพรให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานตลอดไป

    ทรงพระเจริญ




    หมายเหตุ คำแปลของสมการจากคัมภีร์สูตรพระเคราะห์สนธิ

    เมษ+เนปจูน-ฮาเดส AR+NE-HA
    เศร้าสลดและวิตกทุกข์ร้อนเพราะความไม่กระจ่างแจ้ง โรคเกี่ยวกับโลหิต ซึ่งมีอาการรุนแรง ขาดแคลนน้ำ อากาศวิปริตอย่างรุนแรง ทุพภิขภัยทางน้ำ น้ำท่วม

    มฤตยู+เซอุส-เมษ UR+ZE-AR
    การกระทำด้วยอำนาจที่รุนแรง พายุ การประทุ สาธารณชนซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายหรือการบังคับอันหนึ่ง ซึ่งเคร่งเครียดและมุ่งมั่น

    มฤตยู/แอดเมตอส UR/AD
    การพลัดพรากอย่างแตกหักโดยฉับพลัน การสั่นสะเทือน การพังทะลายจากการสั่นสะเทือน แผ่นดินไหว แตกทำลาย หักโค่น ฉีกออก เศษเล็กเศษน้อย ฆาตกรรม

    เนปจูน/ฮาเดส NE/HA
    ความเสียหายเนื่องจากความผิดพลาด หลงผิดหรือเพราะความไม่แจ่มแจ้ง การเน่าเปื่อย น้ำ วินาศภัยเกี่ยวกับน้ำ การรวมน้ำ การขาดอากาศ

    มฤตยู+เซอุส-ฮาเดส UR+ZE-HA
    กำลังที่ทำให้เกิดการทำลาย การทำลายเนื่องจากอำนาจธรรมชาติ ฝนฟ้าคะนอง พายุในทะเล แผ่นดินไหว การระเบิดของภูเขาไฟ

    มฤตยู+เซอุส-เสาร์ UR+ZE-SA
    เชื่อฟังคำบังคับโดยไม่เต็มใจ สูญเสียหรือถึงแก่กรรมเนื่องจากระเบิดหรือเนื่องจากความรุนแรง พายุที่เกิดโดยฉับพลัน พายุฟ้าคะนองซึ่งก่อความเสียหาย

    อังคาร/ฮาเดส MA/HA
    การป่วยหนัก ความเหน็ดเหนื่อย การเบื่อหน่าย ปฏิบัติเลวทรามหรือบกพร่อง การกระทำอันต่ำช้า ก่อความเสียหาย บริการชั้นต่ำ คนใช้ ข้าทาส การจู่โจม ฆาตกรรม การสังหาร การถึงแก่กรรมที่ผิดปกติวิสัย

    อังคาร/เสาร์ MA/SA
    งานที่ทำเป็นระยะๆ(หยุดบ้างทำบ้าง) การหยุดชะงักการงาน ความเจ็บป่วย การป่วยหนัก หรือเรื่องร้ายแรง การหยุดชะงัก การพลัดพรากโดยถูกบังคับ การกระทำที่ก่อให้เกิดการพลัดพราก การถึงแก่กรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1405.jpg
      1405.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.5 KB
      เปิดดู:
      3,764
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2010
  10. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    [​IMG]

    มีอีกคำแปลจาก แม่หมอ kindred

    2 May

    อาทิตย์(วัน) พุธ (ลม การเคลืนไหว ความคิด)เกตุ(ผิดปกติ) = วันที่มีความเคลือนไหวอย่างผิดปกติ

    กุมกันอยู่ที่อยู่ราศีเมษ =การเริ่มต้นของเรื่อง ราว

    เล็ง พฤ(มากเกินไป) ในราศีตุลย์(ลมที่มาจากที่ไกลๆแรงมาก ดาวธาตุไฟอยู่เรือนลม = พายุอะไรที่มาจากที่ไกลๆ

    จท/มฤ ราศีมกร =อารมณ์ที่ตึงเครียด ประชาชนที่แตกตื่น ความทุกข์(สร)=เหตุการณ์ ที่จะเป็นไป ภาพจบ

    อง อยู่ราศีมีน ไฟตกน้ำ เรือนนป(นป ไปอยู่ เรือน 9 ต่างปทท) ,อง/นป(การอักเสบ) ราศีกุมภ์ ดาวธาตุน้ำในเรือนลม =การที่ติดเชื้อ หรือ เหตุการ์เรื้อรัง โรคที่มากับน้ำ

    ราหู/พล ราศีพฤศจิ เรือนมรณะ ชะตากรรมของคนส่วนมาก เรือน8 การสูญเสีย
    <style><!-- .hmmessage P { margin:0px; padding:0px } body.hmmessage { font-size: 10pt; font-family:Verdana } --></style>

    แบบทำนายว่า วันนี้ ก็ตั้งอาทิตย์เป็นภพ1
    แล้วเผอิญดวงนี้ อาทิตย์อยู่ราศีเมษ จึงไม่ต้องคิดมากเลย ไล่ไปตามเรือนได้เลย


    ดวงนี้ไม่ได้วางลัคนา จึงกำหนดพิกัดไม่ได้ ก็เลยดูแบบเหมาๆ รวมๆ
    ภพ 1 4 7 10 มีดาวแรงอยู่ จันทร์ พฤหัส อาทิตย์

    เป็นภาพดวงที่แรง เรียกว่าดวง จันทร์ ครุ สรุริยา หากเป็นดวงที่เกี่ยวข้องกับบุคคลผู้นี้ ไม่ใช่ธรรมดาจ้า อันนี้โหราศาสตร์ภารตะ อิชั้นไม่ถนัด หง่ะ
    ไม่แน่ใจนะว่า ดวงพระพุทธเจ้าเป็นครุ สุริยา หรือเปล่า
    แต่หากจำไม่ผิด มีกษัตริย์หลายพระองค์

    ดังนั้นหากจะบอกว่าดวงนี้ อะไรแรงสุด น่าจาเป็นอาทิตย์
    อท แปลได้ว่า วัน ร่างกาย จุดกำเหนิดชีวิต บุคคลเพศชาย ผู้นำ สูงส่ง หูยยยย สารพัดอ่ะจ้า

    หนุกๆนะ อ่านตามดวง ไม่มีข้อมูลอะไร เห็นดวงแล้วอ่านไปตามน้ำ
    หากมีข้อมูล จะลากเรื่องเข้าความเสียมากกว่า ภาษาโหรจะเรียกกันว่า ดวงหวยออก จับไปตรงไหน เป็นเจออะจ้า....


    :cool:
     
  11. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    [​IMG]

    จากแม่หมอ kindred again...!!!

    9 May

    <style><!-- .hmmessage P { margin:0px; padding:0px } body.hmmessage { font-size: 10pt; font-family:Verdana } --></style>วันนี้ อท/จท/เกตุ กุมลัคน์ ราศีเมษ อท/จท หมายถึงกายและใจ ที่ยังคงไม่ปกตินัก
    และยังเล็งพฤอยู่ มฤ ก็ยังคงฉาก ยังคงหลงเหลือความตึงเครียดอยู่
    แต่ก็ยังคงพอประคองได้ ไม่แรงเท่าวันที่2 ตอนนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับกับกำลังใจที่เข้มแข็งมากกว่า


    แต่มีพธ/ศก นำหน้าอยู่ก้าวนึง พธ มาจากเรือน3 ศก มาจากเรือน7
    อืมม... อาจมีสิ่งมาช่วยนำทางและสนับสนุนให้ เรือน3 และ 7 หมายถึงผู้อื่น
    หากต่อเนื่องจากดวงแรก พธหมายถึงลม



    ลมนำทางหรือ พธ/ศก หมายถึง การเคลื่อนไหวที่สบายขึ้น มีความคิดไปในทางที่ดี<o:p></o:p>
    ความแรงของลมพายุพัดผ่านไปแล้ว สงบลงแล้ว แต่ยังคงเล็งกับ<o:p></o:p>
    ราหู/พลูโต ที่ยังอยู่เป็นมรณะกับลัคน์ เลยยังคงไม่พ้นช่วงวิกฤต เท่าไหร่


    รวมๆภาพดวงคลี่คลายขึ้น กว่า ดวงแรก
     
  12. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    มาๆๆๆๆ มาเล่นกันต่อ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    น่าอัศจรรย์ที่แต่ละเมืองเรียงเป็นเส้นตรงเดียวกันครับ

    วันนี้วันอุโบสถ

    "อุโบสถ" มาจากภาษาบาลีว่า "อุโปสถ"

    อุป = เข้าไปใกล้
    โอสถ = ยา

    ดังนั้น อุโบสถ จึงแปล ว่า "เข้าไปรับยา"

    ในช่วงชีวิตมนุษย์ที่ไม่เกิน 100 ปี ระยะเวลา
    พระพุทธเจ้าจึงกำหนดให้เข้าไปรับยา(ธัมมะโอสถ)ทุก 7 วัน หรือห่างที่สุด 15 วัน
    มิเช่นนั้น เชื้อโรค โลภ โกรธ หลง จะกำเริบ กิเลศจะล้นออกมาทางวาจา และการกระทำ

    สิ่งที่เรียบง่ายอยู่ในวิถีชีวิตชาวพุทธ เช่นการไปวัด ตักบาตรถือศีลทุกวันพระนี้ ทำให้พระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาในเมืองไทยสืบต่อมาได้ 6ร้อย 7ร้อยปี

    ลูกหลานไทยและคนในชุมชน ได้มาเรียนรู้คุณธรรมโดยไม่รู้ตัว ถูกกระตุกต่อมละอายชั่วกลัวบาปทุกๆ 7วัน ซึ่งเป็นการเรียนรู้คุณธรรมซ้ำๆ โดยเนียนอยู่ในวิถีชีวิตนี้ (ไม่ต้องมีคำว่าบูรณาการ) ครอบครัวชุมชนได้มานั่งล้อมวงกินข้าวด้วยกันทุก7วัน ครอบครัวชุมชนจึงเข้มแข็งสามัคคี รักใคร่ปรองดอง จนเกิดปรากฏการณ์อย่างเช่น หมู่บ้านบางระจันขึ้นมาได้

    อีกทั้งยังหลอมรวมศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี การละเล่นมาคู่กัน จงเกิดประเพณีเช่น สงกรานต์ ก่อกองทราย แข่งเรือ เพลงพื้นเมือง หรือวัฒนธรรมไทยที่ดีงามขึ้นมาได้

    แต่แล้ว จากคำสั่ง เปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการ พศ.๒๕๐๒
    ทำให้ สิ่งที่มีคู่กันมานี้ ถูกจับแยกออกจากกัน ศาสนา วัฒนธรรมอันดีงามแทนที่จะถูกวิวัฒต์ไปด้วยกัน กลับเหมือนถูกหยุดนิ่ง มา50 ปี (มิเช่นนั้นป่านนี้ จากเพลงพื้นบ้านในอดีตคงวิวัฒต์เป็นเพลงคลาสสิคดีๆเกิดขึ้นในวัด)

    ฝั่งวัดก็เสื่อมลง เพราะไม่ได้ทำหน้าที่สั่งสอนอบรมคนมา50ปี(1GEN) จนพระไม่รู้จักหน้าที่ของตน ก็หันไปสร้างวัตถุใหญ่ที่สุดในโลก สร้างของขลังแข่งกัน

    สรุปว่าแม้ทางกายภาพบ้านกับวัดจะอยู่ใกล้กัน แต่วิถีชีวิตห่างกันเหมือนอยู่คนละโลก ทั้งบ้านและวัดจึงเสื่อมลงทั้งคู่

    ใน 1 ปี มี วันพระประมาณ 50 วัน เวลาผ่านไป 50ปี คนจึงไม่ได้รับยา 2500 โดส!! (จากขั้นต่ำสุดที่พระพุทธองค์ กำหนดให้ทุก 7วันครั้ง !!)

    50 ปีที่ผ่านมา สังคมไทยจึงค่อยล่มสลาย เสื่อมทรามศีลธรรมในทุกภาคส่วน

    จนเกิดวิกฤติคุณธรรม ศีลธรรมขึ้น เป็นฟางเส้นสุดท้ายให้เห็น ชนิดที่จับต้นชนปลายหาสาเหตุที่แท้จริงไม่เจอ


    วันโกนวันพระ = 2วัน
    วันเสาร์อาทิตย์ = 2วัน เช่นกัน แต่ต่างอย่างสุดขั้วชนิด นรก VS สวรรค์

    เช่น

    คิดเมนูอาหารก่อนนอน > คิดว่าพรุ่งนี้จะไปเที่ยวที่ไหน
    ตื่นเช้าเตรียมกับข้าวไปทำบุญ > วันแห่งความขี้เกียจ นอนตื่นสาย
    จูงลูกจูงหลานไปที่วัดทั้งครอบครัว > ลูกเข้าห้าง แม่ไปร้านเสริมสวย พ่อตั้งวง
    นั่งล้อมวงทานข้าวกันทั้งชุมชนเกิดความสามัคคี > งานศพงานแต่ง เลือกอบต.ค่อยเจอ(ทะเลาะ)กัน
    แสวงหาความรู้ฟังเทศน์ฟังธรรม > วันกินเที่ยว ดื่ม เสพ มัวเมาชุ่มไปด้วยกาม
    จิตเป็นกุศลตลอดวัน > อกุศลตลอดวัน

    วันใฝ่บุญใฝ่กุศล > วันใฝ่บาปได้อกุศล

    จากที่ทำบุญขั้นต่ำ ทั้งครอบครัวชุมชน ปีละ 50 ครั้ง
    เหลือเพียงปีละ 0-1 ครั้ง
    ในทางกลับกันก็ทำบาปร่วมกันทุกวันทุกคืน

    50 ปี * 50-60 ล้านคน

    บาปมวลรวมประชาชาติ!! จึงหนักมาก

    วันอุโบสถ จึงเป็น keyword สำคัญในพระมหาชนก
    หากฟื้นสิ่งนี้กลับมาได้ ก็จะเกิด

    วัฒนธรรมแสวงปัญญา + วัฒนธรรมเมตตา ขึ้นมาใหม่ (ข้อการฟื้นฟูราก ใน ๙ วิธี)
    ในหน่วยบ่มเพาะย่อย ตั้งแต่ปัจเจค ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติในที่สุด

    จึงเป็นการศึกษาที่บูรณาการอยู่ในวิถีชีวิต ในระดับ Mass Enlightenmentเป็นความเรียบง่ายที่สามัญธรรมดาที่สุด
    แต่...กว้างและลึกดุจทะเล เพราะสามารถทำให้คนทั้งประเทศมาเรียนรู้คุณธรรมและพระพุทธศาสนาได้ พร้อมๆกันเป็นวิถีชีวิตซ้ำๆ ได้อีกครั้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2010
  14. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    วัฒนธรรมแสวงปัญญา + วัฒนธรรมเมตตา = Mass Enlightenment

    [​IMG]

    การออกแบบและสร้างวัฒนธรรมแสวงปัญญา + วัฒนธรรมเมตตา ขึ้นมาใหม่
    จึง = มหาวิชชาลัย
     
  15. Heureuse

    Heureuse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2008
    โพสต์:
    857
    ค่าพลัง:
    +3,446

    พี่หมายถึง...ครั้งหน้าใช่ไหม เเละเป็นวันพระด้วย..ถ้างั้นก็ต้องมีอีกสามครั้งสิตามที่ให้มา

    [​IMG]

    ในมหาชนกชาดก ได้กล่าวถึงเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า คือ เมื่อครั้งที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนกโพธิสัตว์ เดินทางไปค้าขายทางทะเล เกิดพายุ คลื่นในทะเลจัด พัดพาเรือสินค้าอับปางลงกลางมหาสมุทร บรรดาลูกเรือจมลงสู่ก้นทะเลเสียชีวิตทั้งสิ้น หลังจากพายุและคลื่นในทะเลสงบแล้ว พระองค์ต้องว่ายน้ำและลอยคอไปตามแรงซัดของคลื่นทะเลตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง ๗ วัน พอถึงวันอุโบสถพระองค์ก็ทรงบ้วนปากด้วยน้ำทะเลนั่นเอง แล้วอธิษฐานสมาทานศีล ๘ (ศีลอุโบสถ) รักษาอย่างเคร่งครัดตลอดหนึ่งคืนหนึ่งวัน
    นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปรากฏใน พระวินัยปิฎก อุโบสถขันธกะ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๐๖ ข้อ ๑๓๒ เป็นหลักฐานยืนยันว่า พระพุทธเจ้าได้เคยทรงอนุญาตให้ภิกษุประชุมกันในวัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2010
  16. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    [​IMG]

    การฟื้นวิถีทำบุญทุกวันโกนวันพระ ===============> ถนอมรากที่ยังมีอยู่
    การสร้างวัฒนธรรมแสวงปัญญา + วัฒนธรรมเมตตาขึ้นมาใหม่ => ให้งอกใหม่

    การฟื้นวิถีทำบุญทุกวันโกนวันพระ ===============> อนุรักษ์
    การสร้างวัฒนธรรมแสวงปัญญา + วัฒนธรรมเมตตาขึ้นมาใหม่ => พัฒนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2010
  17. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    "รับพรขอศีล"
    การขอศีล คือ ตั้งสัจจะว่าจะรับแบบฝึกหัดแบบเรียนแห่งชีวิต มาปฏิบัติ

    ดังนั้น Buddhism จึง = Education
    พระพุทธสาสนาคือระบบการศึกษาที่สมบูรณ์และสูงสุด
     
  18. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    [​IMG]
    Manager Science

    Tevatron ใกล้พบ “อนุภาคพระเจ้า” Fermilab ปิดโครงการปีนี้ ส่วน CERN ค้นคว้าต่อ

    สหรัฐพัฒนาอาวุธแสงใกล้สำเร็จ !!?
    แล้ว.....นิวเคลียร์จะหนาว

    เตรียมนับถอยหลังครับ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2010
  19. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    ใช่ หมายถึงครั้งหน้า
    แล้วต้องลบไปด้วย ๘ คือ วันพระคือวันที่ ๘ ถ้ามีอะไรเริ่มจะเริ่มก่อนแปดวัน
    (เดาเอา) คือวันที่เกิดเหตุ ๘ วันก่อนหน้า
    :cool:
     
  20. deepsea

    deepsea สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +9
    ลองดูสัญลักษณ์ต่างๆ และช่วยกันตีความว่ามีความหมายหรือไม่

    สังเกตุสัญลักษณ์ กากบาท ที่อยู่ทางขวามือของคำว่า วันนี้วันอุโบสถ

    กับ กากบาท ตำแหน่งที่อยู่ทางด้านซ้ายมือของ ย่างกุ้ง ดูว่ามีความหมายสัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่หรือไม่

    หัวลูกศรต่างๆ ที่มีทั้งเข้าและออก รวมทั้งตำแหน่งการเรียงกันของ ปู 3 ขาที่เรียงกัน และปูขาเดียว ในเส้นโค้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...