"ญาณ ๑๖" ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นพระอริยะบุคคลระดับ "พระโสดาบัน"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Sittirat, 13 กรกฎาคม 2006.

  1. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๑๓. อรรถกถาวิมุตติญาณุทเทส
    ว่าด้วย วิมุตติญาณ

    คำว่า ฉินฺนวฏุมานุปสฺสเน ปฺา แปลว่า ปัญญาใน
    การพิจารณาเห็นอุปกิเลสอันอริยมรรคตัดขาดแล้ว ความว่า ปัญญา
    ในการเห็นภายหลังซึ่งอุปกิเลสนั้น ๆ อันอริยมรรคนั้น ๆ ตัดขาดแล้ว.
    คำว่า วิมุตฺติาณํ เป็นวิมุตติญาณ ความว่า ญาณในวิมุตติ.
    คำว่า วิมุตฺติ ได้แก่จิตบริสุทธิหลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลาย,
    หรือความที่จิตนั้นหลุดพ้นแล้ว, ญาณคือความรู้ในวิมุตตินั้น ชื่อว่า
    วิมุตติญาณ.
    ท่านกล่าวอธิบายการพิจารณากิเลสที่ละแล้วด้วยญาณนี้ว่า พระ-
    อริยบุคคลเมื่อพิจารณาความสืบต่อแห่งจิตที่หลุดพ้นจากกิเลสแล้วก็ดี ซึ่ง
    ความหลุดพ้นจากกิเลสก็ดี เว้นกิเลสเสียก็พิจารณาไม่ได้ดังนี้. ก็คำว่า
    วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ าณํ โหติ แปลว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว
    ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้วดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาวิมุตติญาณนี้นั่นแล. ส่วน
    การพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ แม้ไม่ได้กล่าวไว้แล้ว ก็พึงถือเอาว่า
    เป็นอันกล่าวแล้วด้วยวิมุตติญาณนี้แล. และท่านกล่าวไว้ว่า
    แม้กล่าวในเอกธรรม ก็เป็นอันกล่าวทั้ง-
    หมด เพราะสภาวธรรมนั้นมีลักษณะเป็นอันเดียว
    กัน, นี้เป็นลักษณะ เป็นหาระ ดังนี้.
    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวถึงการพิจารณากิเลสที่
    ละแล้วซึ่งพระอริยบุคคล ๔ จะพึงได้ เพราะพระอรหันต์ไม่มีการ
    พิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่.
     
  2. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ๑๔. อรรถกถาปัจจเวกขณญาณุทเทส
    ว่าด้วย ปัจจเวกขณญาณ

    คำว่า ตทา สมุทาคเต ธมฺเม ปสฺสเน ปญญา แปลว่า
    ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น ความ
    ว่า ปัญญาเป็นเครื่องเห็นเพ่งรู้ในธรรมคือมรรคและผลกับทั้งในธรรม
    คือสัจจะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมรรคขณะและผลขณะ คือมาพร้อมแล้ว ถึง
    พร้อมแล้ว ประชุมกันในกาลนั้น ด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะและ
    ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด.
    คำว่า ปจฺจเวกฺขเณ าณํ - ปัจจเวกขณญาณ ความว่า
    ญาณเป็นเครื่องหมุนกลับมาเห็นรู้แจ่มแจ้ง. ก็ปัจจเวกขณญาณท่าน
    กล่าวไว้ด้วยญาณทั้ง ๒ นี้.
    ก็ในที่สุดแห่งโสดาปัตติผลในมรรควิถี จิตของพระโสดาบันก็
    ลงภวังค์, ต่อแต่นั้นก็ตัดภวังค์ขาด มโนทวาราวัชชนะก็เกิดขึ้นเพื่อ
    พิจารณามรรค, ครั้นมโนทวาราวัชชนะนั้นดับลงแล้ว ชวนจิตพิจารณา
    มรรคก็เกิดขึ้น ๗ ขณะโดยลำดับฉะนี้แล. ครั้นแล้วก็ลงสู่ภวังค์อีก
    อาวัชชนจิตเป็นต้น ก็เกิดขึ้นเพื่อพิจารณาธรรมทั้งหลายมีผลเป็นต้น
    โดยนัยนั้นเอง. เพราะความเกิดแห่งธรรมเหล่าใดมีผลเป็นต้น พระ-
    โสดาบันนั้น ก็พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละแล้ว, กิเลสที่ยังเหลือ,
    และพระนิพพาน.
    ก็พระโสดาบันนั้นพิจารณามรรคว่า เรามาแล้วด้วยมรรคนี้
    หนอ, ต่อแต่นั้นก็พิจารณาผลว่า อานิสงส์นี้เราได้แล้ว, ต่อ
    แต่นั้นก็พิจารณากิเลสที่ละแล้วว่า ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้ เราละ
    ได้แล้ว, ต่อแต่นั้นก็พิจารณากิเลสที่มรรคเบื้องบนจะพึงประหาณว่า
    กิเลสเหล่านี้เรายังเหลืออยู่, ในที่สุดก็พิจารณาอมตนิพพานว่า
    ธรรมนี้เราได้แล้วโดยความเป็นอารมณ์
    พระอริยสาวกชั้นโสดาบัน มีปัจจเวกขณะ ๕ อย่าง ด้วยประ-
    การนี้. ปัจจเวกขณะของพระสทาคามีและพระอนาคามี ก็มีเหมือน
    พระโสดาบัน. แต่ของพระอรหันต์ มีปัจจเวกขณะ ๔ อย่างคือ ไม่มี
    การพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่. รวมปัจจเวกขณญาณทั้งหมดมี ๑๙
    ด้วยประการฉะนี้. นี้เป็นการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์.
    ถามว่า การพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วและที่ยังเหลืออยู่ ยังมี
    แก่พระเสกขะทั้งหลายหรือไม่?
    ตอบว่า เพราะความที่การพิจารณาการละกิเลสนั้นไม่มี ท้าว
    มหานามสากยราชจึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ธรรมชื่อ
    อะไรเล่า ที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้
    โลกธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว ดังนี้
    เป็นต้น.
    ในที่นี้ เพื่อจะให้ญาณ ๑๑ มีธรรมฐิติญาณแจ่มแจ้ง พึงทราบ
    อุปมาดังต่อไปนี้
    เปรียบเหมือนบุรุษคิดว่า เราจะจับปลา จึงถือเอาสุ่มไปสุ่ม
    ลงในน้ำที่คิดว่าควรจะมีปลา แล้วจึงหย่อนมือลงไปทางปากสุ่ม แล้วก็
    คว้าเอาคองูเห่าที่อยู่ภายในน้ำด้วยสำคัญว่าเป็นปลาไว้แน่น ดีใจคิดว่า
    เราได้ปลาใหญ่แล้ว ก็ยกขึ้นจึงเห็นก็รู้ว่า งู เพราะเห็นดอกจัน
    ๓ แฉก เกิดกลัว เห็นโทษ เบื่อหน่ายในการจับ ใคร่ที่จะพ้นจึงทำอุบาย
    เพื่อจะหลุดพ้น จึงจับงูให้คลายมือตั้งแต่ปลายหางแล้วชูแขนขึ้นแกว่ง
    ไปรอบศีรษะ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ทำงูให้ทุรพลแล้วเหวี่ยงไปพร้อมกับพูด
    ว่า เฮ้ย! ไปเจ้างูร้าย แล้วโดดขึ้นไปยืนบนบกโดยเร็วทีเดียว เกิด
    ร่าเริงใจว่า ท่านผู้เจริญ เราพ้นแล้วจากปากงูใหญ่ แล้วแลดูทาง
    ที่ตนมา.
    ในข้ออุปมา - การเปรียบเทียบนั้นมีดังต่อไปนี้
    การยึดมั่นซึ่งขันธ์ ๕ อันน่ากลัว ด้วยสามารถแห่งลักษณะมี
    ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วยินดีด้วยสำคัญว่าเที่ยงด้วยตัณหา
    อันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ (คือ โลภทิฏฐิคตสัมปยุต) ว่า เรา, ของเรา
    ของพาลปุถุชนตั้งต้นแต่พระโยคีบุคคลนี้ ดุจการจับงูเห่าไว้มั่นด้วย
    สำคัญว่าเป็นปลา ของบุรุษนั้นฉะนั้น,
    การทำลายฆนสัญญาด้วยการกำหนดนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย แล้ว
    เห็นพระไตรลักษณ์มีอนิจจตาเป็นต้นของขันธ์ ๕ ด้วยญาณ มีการ
    พิจารณาโดยความเป็นกลาปแล้วกำหนดขันธ์ ๕ นั้นว่า ไม่เที่ยง,
    เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา ดุจดังการนำงูออกจากปากสุ่ม แล้วเห็น
    ดอกจัน ๓ แฉก จึงรู้ว่างู ของบุรุษนั้นฉะนั้น,
    ภยตูปัฏฐานญาณของพระโยคีบุคคลนี้ เหนือนกับความกลัวของ
    บุรุษนั้นฉะนั้น,
    อาทีนวานุปัสสนาญาณ ดุจดังการเห็นโทษในงูฉะนั้น,
    นิพพิทานุปัสสนาญาณ ดุจดังการระอาในการจับงูฉะนั้น,
    มุญจิตุกัมยตาญาณ ดุจดังการใคร่ที่จะสลัดงูไปเสียให้พ้นฉะนั้น,
    ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ดุจดังการทำอุบายเพื่อจะสลัดงูไปเสีย
    ให้พ้นฉะนั้น,
    การพิจารณาอย่างรอบคอบซึ่งสังขารทั้งหลายด้วยสังขารุเปกขา-
    ญาณ โดยการยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้วกระทำให้ทุรพลจนไม่สามารถ
    จะปรากฏโดยอาการว่าเที่ยง, เป็นสุข, และเป็นอัตตาได้อีก ดุจดังการ
    จับงูขึ้นหมุนไปรอบ ๆ ในเบื้องบนแห่งศีรษะ กระทำให้ทุรพลจนไม่
    สามารถจะหวนกลับมากัดได้อีก,
    โคตรภูญาณ ดุจดังการสลัดงูทิ้งไปฉะนั้น,
    มรรคญาณผลญาณก้าวขึ้นยืนอยู่บนบก คือพระนิพพานดุจดัง
    การที่บุรุษนั้นสลัดงูทิ้งไปแล้วขึ้นไปยืนอยู่บนบกฉะนั้น,
    ปัจจเวกขณญาณในธรรมมีมรรคเป็นต้น ดุจดังการแลดูทางที่
    มาแล้วของบุคคลผู้ร่าเริงฉะนั้น.
    ในบรรดาปัจจเวกขณญาณทั้งหลาย พึงทราบว่า กิเลสปัจจเวก-
    ขณะ การพิจารณากิเลส เป็นครั้งแรก ต่อแต่นั้นจึงเป็นการพิจารณา
    มรรคผลและนิพพาน เพราะลำดับแห่งเทศนาอันพระโยคีบุคคลกระทำ
    แล้วตามลำดับแห่งการเกิดขึ้นแห่งญาณ ๑๔ เหล่านี้มีสุตมยญาณเป็นต้น
    และตามลำดับแห่งการปฏิบัติ.
    ความที่แห่งกิเลสปัจจเวกขณะ การพิจารณากิเลสตามสมควร
    แก่การปฏิบัตินั่นแล เป็นเบื้องต้นย่อมควร เพราะท่านกล่าวการปฏิบัติ
    มรรคไว้ เพราะทำการประหาณกิเลสนั่นแหละ ให้เป็นข้อสำคัญว่า
    พระโยคีบุคคลเจริญโลกุตรฌาน อันเป็นนิยานิกธรรมนำออกจากทุกข์
    เป็นอปจยคามีเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ก็เพื่อประหาณมิจฉาทิฏฐิ,
    เพื่อบรรเทากามราคะและพยาบาทให้เบาบางลง, เพื่อละกามราคะและ
    พยาบาทไม่ให้มีส่วนเหลือ เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
    และอวิชชาไม่ให้มีส่วนเหลือ, แต่ลำดับแห่งการกล่าว*(คือลำดับแห่ง
    การแสดง ที่ปรากฏในวรรคแรกว่า เทสนกฺกมสฺส กตตฺตา.)
    ท่านแสดงไว้แล้วในอรรถกถา.
    ก็ลำดับนั้นมี ๕ อย่างคือ ลำดับแห่งการเกิดขึ้น, ลำดับแห่งการ
    ประหาณ, ลำดับแห่งการปฏิบัติ, ลำดับแห่งภูมิ, ลำดับแห่งเทศนา.
    คำมีอาทิอย่างนี้ว่า
    ปฐมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อพฺพุทํ
    อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโนติ.
    ในสัปดาห์ที่ ๑ เกิดเป็น กลละ
    ในสัปดาห์ที่ ๒ จากกลละก็เกิดเป็นอัพพุทะ
    ในสัปดาห์ที่ ๓ จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ
    ในสัปดาห์ที่ ๔ จากเปสิเกิดเป็นฆนะ* (สํ. ส. ๑๕/๘๐๓.) ดังนี้
    ชื่อว่า ลำดับแห่งการเกิด.
    ปหาตัพพติกมาติกามีอาทิอย่างนี้ว่า
    ทสฺสเนน*(ทสฺสเนน หมายเอาโสดาปัตติมรรค. อภิ. สํ. ๓๔/๙๗๐.)
    ปหาตพฺพา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลายอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ,
    ภาวนาย*(ภาวนาย หมายเอาสกทาคามิมรรค, อนาคามิมรรค, และ
    อรหัตมรรค. อภิ. สํ. ๓๔/๙๗๑.) ปหาตพฺพา ธมฺมา สภาวธรรมทั้งหลาย
    อันมรรคในเบื้องบน ๓ พึงประหาณ ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งการละ.
    คำมีอาทิอย่างนี้ว่า
    สีลวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล,
    จิตฺตวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต (สมาธิ),
    ทิฏฺ€ิวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งทิฏฐิ (ปัญญา),
    กงฺขาวิตรณวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งกังขาวิตรณะ (การข้าม
    พ้นความสงสัย),
    มคฺคามคฺคญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งมัคคามัคค-
    ญาณทัสนะ (การเห็นด้วยปัญญาว่าใช่ทางและมิใช่ทาง),
    ปฏิทาญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งญาณทัสนะ
    ในปฏิปทา (การเห็นด้วยปัญญาในข้อปฏิบัติ).
    ญาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความบริสุทธิ์แห่งญาณทัสนะ (เห็นแจ่ม-
    แจ้งด้วยปัญญา), ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งการปฏิบัติ.
    คำมีอาทิอย่างนี้ว่า
    สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นกามาวจระ, สภาว-
    ธรรมทั้งหลายที่เป็นรูปาวจระ, สภาวธรรมทั้งหลาย
    ที่เป็นอรูปาวจระ*(อภิ. สํ. ๓๔/๑๔.) ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งภูมิ.
    คำมีอาทิอย่างนี้ว่า
    สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปธาน ๔, อิทธิบาท
    ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, อริย-
    มรรคมีองค์ ๘.*(ม. อุ. ๑๔/๕๔.)
    หรือคำมีอาทิว่า
    แสดงอนุปุพพิกถา คือ ทานกถา, สีลกถา,
    สัคคกถา, ประกาศโทษ ความต่ำทราม ความ
    เศร้าหมองแห่งกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการ
    ออกจากกาม*(วิ. มหา. ๔/๓๑.) ดังนี้ ชื่อว่า ลำดับแห่งการเทศนา.
    แต่ในที่นี้ พึงทราบว่าหมายเอาลำดับ ๓ ประการ คือลำดับแห่ง
    การเกิดขึ้นแห่งญาณ ๑๔, ลำดับแห่งการปฏิบัติ, และลำดับแห่งเทศนา
    เพราะแสดงตามลำดับด้วยสามารถแห่งลำดับทั้ง ๒ นั้น.
     
  3. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงยกพระพุทธพจน์คือพระ-
    ไตรปิฎกขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นไว้ในภาษามาคธีเท่านั้น. เพราะ
    เหตุไร? ก็เพราะเพื่อจะนำอรรถะมาให้รู้ได้โดยง่าย. จริงอยู่ พระ-
    พุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยมาคธีภาษา ยังไม่บรรลุถึงคลองแห่ง
    โสตประสาทของพระอริยบุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เป็นการเนิ่นช้า.
    แต่เมื่อโสตประสาทพอพระพุทธพจน์กระทบแล้วเท่านั้น เนื้อความก็
    ปรากฏตั้งร้อยนัย พันนัย. ก็พระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วย
    ภาษาอื่น ก็ย่อมต้องเรียนเอาแบบตีความแล้วตีความเล่า. อันธรรมดาว่า
    การเรียนพระพุทธพจน์แม้มากมายแล้วบรรลุปฏิสัมภิทา ย่อมไม่มีแก่
    ปุถุชน, แต่พระอริยสาวกที่จะชื่อว่าไม่บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมไม่มีเลย.
    บทว่า าเณสุ ญานํ ความว่า ความรู้แตกฉานในญาณทั้ง ๓
    เหล่านั้น ของพระอริยบุคคลผู้กระทำญาณอันมีในที่ทั้งปวงให้เป็น
    อารมณ์แล้วพิจารณาอยู่, หรือว่า ญาณอันถึงความกว้างขวางในญาณ
    ทั้ง ๓ เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์และกิจเป็นต้น ชื่อว่าปฏิภาณ
    ปฏิสัมภิทา.
    ก็บัณฑิตพึงทราบ ปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านี้ว่า ย่อมถึงซึ่งประเภท
    ในฐานะ ๒. ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕. ย่อมถึงซึ่งประเภทในฐานะ ๒
    เป็นไฉน? คือ ใน เสกขภูมิ ๑ อเสกขภูมิ ๑.
    ใน ๒ ภูมินั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระ ๘๐ องค์ มีพระ-
    เถระผู้มีนามอย่างนี้ คือ พระสารีบุตรเถระ, พระมหาโมคคัลลานเถระ,
    พระมหากัสสปเถระ, พระมหากัจจายนเถระ, พระมหาโกฏฐิตเถระ
    เป็นต้น ถึงซึ่งประเภทใน อเสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาของพระอริยบุคคล
    ทั้งหลายมีพระอริยบุคคลผู้มีนามอย่างนี้ คือพระอานนทเถระ, ท่าน
    จิตตคฤหบดี, ท่านธรรมมิกอุบาสก, ท่านอุบาลีคฤหบดี, ขุชชุตตรา-
    อุบาสิกา เป็นต้น ถึงซึ่งประเภทใน เสกขภูมิ, ปฏิสัมภิทาย่อมถึงซึ่ง
    ประเภทในภูมิ ๒ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิสัมภิทา ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ เป็นไฉน? ย่อม
    ผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ด้วยอธิคม, ด้วยปริยัติ, ด้วย
    สวนะ, ด้วยปริปุจฉา, ด้วยปุพพโยคะ.
    ในเหตุ ๕ ประการเหล่านั้น การบรรลุพระอรหัต ชื่อว่า อธิคม.
    ก็ปฏิสัมภิทาของผู้บรรลุพระอรหัต ย่อมผ่องใส.
    พระพุทธพจน์ ชื่อว่า ปริยัติ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้เรียนพระ-
    พุทธพจน์นั้น ย่อมผ่องใส.
    การฟังพระสัทธรรม ชื่อว่า สวนะ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้สนใจ
    เรียนธรรมโดยเคารพ ย่อมผ่องใส.
    กถาเป็นเครื่องวินิจฉัย คัณฐีบทและอรรถบท ในพระบาลีและ
    อรรถกถาเป็นต้น ชื่อว่า ปริปุจฉา. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้ที่สอบสวน
    อรรถในพระพุทธพจน์ทั้งหลายมีพระบาลีเป็นต้นที่ตนเรียนแล้ว ย่อม
    ผ่องใส.
    การบำเพ็ญเพียรในวิปัสสนากรรมฐานอยู่เนือง ๆ จนกระทั่งถึง
    สังขารุเปกขาญาณอันเป็นที่ใกล้อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ เพราะ
    ความที่การบำเพ็ญวิปัสสนานั้น อันพระโยคาวจรเคยปฏิบัติแล้วปฏิบัติ
    เล่ามาในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ชื่อว่า ปุพพโยคะ. ก็
    ปฏิสัมภิทาของผู้บำเพ็ญเพียรมาแล้วในปางก่อน ย่อมผ่องใส. ปฏิสัมภิทา
    ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
    ก็ในบรรดาเหตุทั้ง ๕ เหล่านี้ เหตุ ๓ เหล่านี้ คือ ปริยัติ,
    สวนะ, ปริปุจฉา เป็นเหตุมีกำลังเพื่อความแตกฉานแล. ปุพพโยคะ
    เป็นปัจจัยมีกำลังเพื่อการบรรลุพระอรหัต.
     
  4. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ในปิฎกทั้ง ๓ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันปิฎก และ
    พระอภิธรรมปิฎก, ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้น นับเนื่องในพระ-
    สุตตันตปิฏก.
    ในนิกายใหญ่ทั้ง ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย
    อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย, ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้น นับเนื่อง
    ในขุททกนิกาย.
    ในองค์แห่งสัตถุศาสน์ทั้ง ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ
    คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรมะ เวทัลละ, ปฏิสัม-
    ภิทามรรคปกรณ์นี้นั้น นับสงเคราะห์เข้าใน ๒ องค์ คือ เคยยะ และ
    เวยยากรณะ ตามที่เป็นได้.
    ก็บรรดาพระธรรมขันธ์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันพระ-
    อานันทเถระผู้ธรรมภัณฑาคาริก อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นสู่
    เอตทัคคะใน ๕ ตำแหน่ง ปฏิญญาไว้อย่างนี้ว่า
    ธรรมเหล่าใดอันเป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรม
    เหล่านั้น ข้าพเจ้าเรียนจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐
    พระธรรมขันธ์, จากภิกษุอื่น ๒,๐๐๐ พระธรรม
    ขันธ์ จึงรวมเป็น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ดังนี้
    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นนับเข้าในพระธรรมขันธ์มากกว่า
    ร้อย ในธรรมขันธ์ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่เรียนจากภิกษุ.
    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์ มี ๓ วรรค คือ มหาวรรค, มัชฌิม-
    วรรค, และจูฬวรรค.
    ในวรรคหนึ่ง ๆ มีวรรคละ ๑๐ กถา รวมเป็น ๓๐ กถา มี
    ญาณกถาเป็นต้น มีมาติกากถาเป็นปริโยสาน. ข้าพเจ้าจะพรรณนา
    เนื้อความแห่งบทที่ไม่ซ้ำกันตามลำดับแห่งปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้ที่
    กำหนดโดยส่วนเดียว ด้วยประการฉะนี้.
     
  5. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    นี้เป็นเพียงข้อความบางส่วนใน
    ซึ่ง ญาณกถา มีถึง ๗๓ ญาณ อันเป็นญาณของพระสาวกมีได้ ๖๗ ญาณ ส่วนญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีถึง ๗๓ ญาณ
    แน่นอนญาณสุดท้ายคือ สัพพัญญุตญาณ มีดังนี้

     
  6. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    หากพระสาวกได้ญาณทั้ง ๖๗ ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์จตุปฏิสัมภิทาญาณ ในสมัยพระพุทธกาลมีพระอิสีติสาวก ๘๐องค์ที่สำคัญ

    และสุดท้าย
     
  7. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    ธรรมใดที่พระตถาคตเจ้ากล่าวไว้ดีแล้ว
    ควรที่จะปฏิบัติตามให้ได้จริง จักเป็นผลดี


    แต่หากทำไม่ได้ ไม่เข้าใจ อย่าได้เที่ยวกล่าวไป ด้วยความเข้าใจผิด ตีความผิด เพราะจะนำโทษมหันต์มาสู่ตน และผู้ฟัง


    หัวข้อธรรมนี้เป็นของสูงถึงพระอรหันตจตุปฏิสัมภิทาญาณ
    หากท่านเป็นพระโสดาบันสุขวิปัสสโก ก็ยังไม่สมควรกล่าว
    หากท่านเป็นพระอรหันต์สุขวิปัสสโก ก็ยังไม่สมควรกล่าว
    ...
    ...
    เว้นเสียจากท่านจะเป็นพระอรหันตจตุปฏิสัมภิทาญาณ จึงควรกล่าว ให้ย่นย่อใจความ กล่าวโดยพิศดาร กล่าวโดยไม่เสียใจความ กล่าวโดยแยกแยะเพื่อความเข้าใจของแต่ละบุคคล ใช้ภาษาอย่างเหมาะสม
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  8. อ_เอกวัฒน์

    อ_เอกวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    279
    ค่าพลัง:
    +270
    ขอตั้งจิตอธิฐานเมื่อประกอบกุศลต่างๆ
    เมื่อข้าพเจ้ายังไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพานอันเป็นจุดหมาย ขอให้มัคคสิทธิฌานหรือพระปฏิสัมภิทาญาณจงบังเกิดขึ้นพร้อมทุกชาติไปจนกว่าจะได้บรรลุมรรคผลด้วยเถิด

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  9. Prapatwo

    Prapatwo สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    อริยะบุคคล

    * ความสงบที่แท้ คือ ความสงบที่เกิดจากความไม่สงบ

    * ภูมิประเทศดี คนอยู่สบายดี กายธาตุดี จิตใจก็มีแฮง
    ต้องรู้จักสร้างสมดุลธาตุ

    * 32 ไร่ ขยันมากก็รวยมาก รวยแล้วก็รู้จักกินจักใช้
    บางคนก็ขายกินหมด เดี๋ยวอดตาย

    * ไม่ต้องอาศัยเสียงเทศน์ ท่านก็ได้ฟังธรรมตลอดเวลา
    เพราะธรรมชาติไม่เคยหยุดเทศน์ เพียง โอปนยิโก น้อมมาใส่ใจ

    * การตายเป็นแค่การเริ่มต้น มีชีวิตอยู่ต้องทำให้จบ

    * ความตายไม่ได้หยุดพระนิพพาน แต่ความอ่อนแอและเกียจคร้านในตัวท่าน
    ต่างหากที่ทำเช่นนั้น

    * ในโลกใบนี้มี 2 สิ่งไม่ควรติด คือ ทุกข์และสุข

    * ความสงสัยเก็บไว้ก็คือสงสัย ปล่อยไปก็คือสงสัย
    ตราบใดที่ยังไม่รู้และไม่คิดทำให้แจ้งประจักษ์กับใจตนเอง

    * สมถะและวิปัสนา เหมือนกินข้าวแล้วกลายเป็นขี้

    * ความโง่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ความคิดว่าตนนั้นฉลาดรอบรู้
    ความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ความสุขแบบจอมปลอมที่คอยหลอกลวง


    ธรรมชาติยิ่งใหญ่ จิตใจใหญ่ยิ่ง อาศัยพึ่งพิง แอบอิงพึ่งพา

    ความรู้เพียงหนึ่ง หวังพึ่งนิพพาน ดินแดนความว่าง หาทางไม่มี

    เกิดแก่ดับสูญ สมดุลธรรมะ จิตเป็นพุธธะ ธรรมะอยู่ไหน

    ธรรมะอยู่โน้น อยู่ไกล้อยู่ไกล ธรรมะอยู่ไหน ดูใจก็เจอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...