คุยกันฉันท์เพื่อน - ( ๔๑) ^_^

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ชนินทร, 17 กันยายน 2009.

  1. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ปลัดจังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นกล่าวเปิดงาน

    หลวงพ่อโนรี เดินดูความเรียบร้อย ภายในงาน

    คณะวิทยากร ขึ้นพูดบรรยาย ในช่วงเช้า

    คณะวิทยากร รับของที่ระลึกจากหลวงพ่อเล็ก หลังพูดบรรยายเสร็จ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2011
  2. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    คณะวิทยากรรับของที่ระลึกจากหลวงพ่อเล็ก

    คณะวิทยากร ร่วมกันถวายมหาสังฆทาน แด่คณะสงฆ์

    แม่ครัวช่วยกันเตรียมอาหาร แต่เช้า สำหรับ คนที่มาร่วมงานในวันอาทิตย์

    เจ้าคณะอำเภอ นำ สวดมนต์บูชาพระรัตนตรับ

    วิทยากร เริ่มบรรยาย ช่วงเช้า วันอาทิตย์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2011
  3. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    วิทยากรเริ่มบรรยาย ภาคบ่าย วันอาทิตย์

    วิทยากรรับของที่ระลึกหลังจากจบบรรยาย จากหลวงพ่อเล็ก

    หลวงพ่อเล็กเริ่มบรรยาย เรื่อง อปต. วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน

    หลวงพ่อโนรี กล่าว จบงาน สัมมนา

    หลวงพ่อเล็กถวายพระพุทธรูปแด่ หลวงพ่อโนรี

    หลวงพ่อโนรีถวายพระพุทธรูปแด่ หลวงพ่อเล็ก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2011
  4. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    หลวงพ่อโนรีกล่าวปิดงานสัมมนา

    หลวงพ่อเล็กมอบของแก่ตัวแทน โรงเรียนวัดหนองหญ้าปล้อง และโรงเรียนหนองกวาง
    เป็นอุปกรณ์การเรียน พัดลม ของว่าง สำหรับเด็กนักเรียน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2011
  5. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    หลวงพ่อเล็กมอบเงินให้กับเด็กนักเรียน ที่มาช่วยงาน

    หลวงพ่อเล็ก หลวงพ่อโนรี หลวงพ่อติงลี่ กราบขอบารมีพระให้พรญาติโยมและคนที่อยู่ในงาน
    เพื่อปิดงานสัมมนา

    เด็กนักเรียน และชาวบ้าน ช่วยกันเก็บกวาด สถานที่ ให้เรียบร้อย เหมือนเดิม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2011
  6. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ธรมีข่าวดีมาแจ้งให้ทราบกันค่ะ...

    ตกลงนอกจาก ๕ ภูมิภาคที่จะจัดแล้ว... ยังจะมีการจัดงานสัมมนารอบพิเศษเพิ่มขึ้นมาอีก ๒ รอบค่ะ...

    เพราะพระเดชพระคุณพระอาจารย์หลวงพ่อเล็ก (วัดท่าขนุน) ท่านเมตตาให้มีการจัดการปิดการสัมมนาที่วัดท่าขนุนได้ค่ะ....

    ดังนั้นงานอีก ๒ ครั้ง ที่จะจัดมีดังนี้ค่ะ...


    งานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” (กรณีพิเศษ)

    - ภาคกลางและภาคตะวันตก (อีกครั้ง)

    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐

    (วันเสาร์ที่ 00 และ วันอาทิตย์ที่ 00 มกราคม ๒๕๕๕)



    สรุปปิดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    วัดท่าขนุน ต. ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

    (วันเสาร์ที่ 00 และ วันอาทิตย์ที่ 00 มกราคม ๒๕๕๕)


    กราบขอบพระคุณพระเดชพระคุณพระอาจารย์หลวงพ่อเล็ก และพระเดชพระคุณพระอาจารย์หลวงพ่อโนรีมาด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ...
     
  7. Doughnut

    Doughnut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    697
    ค่าพลัง:
    +15,615
    พี่ธรคะ งานแรกได้รับความร่วมมือจากหลายๆ หน่วยงานถือว่าคุ้มค่าจริงๆ ค่ะ ไม่มีสิ่งใดที่ไม่เริ่มต้นมาจากความไม่รู้มาก่อนค่ะ.. เป็นกำลังใจให้พี่นะคะ

    ออกตัวดังเอี๊ยดไว้ก่อน.. ว่า .. งานนี้ หนิงไปร่วมงานด้วยเหตุบังเอิญ..(มั้งค่ะ) ซึ่งไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะได้รับเกียรติจากพี่ธร ให้ขึ้นไปทำหน้าที่.. บนเวที ..ด้วยเหตุบังเอิญ ที่คุณน้องพิธีกรตัวจริงเกิดความประหม่า.. ในวันแรกที่ต้องกล่าวเปิดงาน.. และในวันที่สอง.. ที่มีเหตุให้น้องต้องประสานงานเรื่องน้ำท่วม

    อย่างไรแล้ว ต้องกราบขอโทษพี่ด้วยนะคะ หนิงคิดว่ายังทำหน้าที่ในงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร.ฮา. ไม่ได้อ่านกำหนดการและคิวงานต่างๆ ล่วงหน้า เพราะไม่คิดว่าจะถูกดึงตัวไปทำหน้าที่นี้.. แถม..วันที่ 2 ก็ว่ากันสดๆ ตรงหน้านั้นเลยค่ะ

    ผิดพลาดประการใด กราบขออภัยด้วยนะคะ
     
  8. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    สำหรับพี่... หนิงทำหน้าที่ได้ดีมากๆๆๆๆๆเลยจ้ะ.... เพราะ

    ๑. เป็นการทำหน้าที่แบบ "สดๆซิงๆ" จริงๆ หนิงไม่มีโอกาสเตรียมตัวมาก่อนเลย.... ขอโทษด้วยจ้ะ...

    ๒. ต้องขอโทษหนิงอีกครั้ง เพราะพอเจอหนิง พี่รู้สึกคุ้นเคย นึกว่าคุยกันมาตลอดและส่งไฟล์เอกสารต่างๆให้ไปแล้ว... ขอโทษด้วยจริงๆ จ้ะ

    แต่หนิงก็เป็นพิธีกรได้อย่างเป็นธรรมชาติ... พูดเสียงดังฟังชัด ไม่มีประหม่าออกมาให้เห็น แถมมีลูกล่อลูกชนกับทั้งวิทยากร และผู้ร่วมงานด้วย....

    เก่งมากเลยจ้ะ...

    พี่ขอจองตัวหนิง.... เป็นหนึ่งในทีมพิธีกรตลอดทุกภูมิภาค (รวมถึง ภูมิภาคพิเศษ และ การปิดงานด้วยนะจ้ะ)... นะจ้ะ...

    เรามาลุยด้วยกันต่อ....

    สู้สู้สู้..... เพื่อสาธารณประโยชน์...

    ดีไหมจ้ะ... ^___^
     
  9. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    ในการจัดสัมมนาในภูมิภาค ถ้าต้องการขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียนของรัฐในจังหวัด นั้น
    1.ถ้าจะขอความมือจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้ไปประสานงานกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทั้งหมด
    2.ถ้าจะขอความร่วมือจาก โรงเรียนต่างๆในจังหวัด ให้ไปประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล โรงเรียนของรัฐทั้งหมด
    อบจ. เขามีเครื่องมือจักรกล ยานพาหนะ งบประมาณที่มาก สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างดี และอาจจะเชิญเขามาเป็นวิทยากร/เป็นแขกรับเชิญ เขาได้ทั้งชื่อเสียงและคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น รวมทั้งจะได้รับรู้แนวทางที่ทางเราต้องการให้ประชาชนและหน่วยงานท้องถิ่นได้รับรู้ จะได้ประสานงานกันได้อย่างสะดวกรวดเร็วในยามเกิดภัยพิบัติ เพราะใน อบจ.มีเจ้าหน้าที่ในหลายด้าน เช่น จนท.วิศวกรรม ช่าง กู้ภัย
    ตอนไปจังหวัด เมื่อไปส่งหนังสือเชิญผู้ว่าราชการจังหวัด ขอให้ไปส่งหนังสือเชิญ นายก อบจ.ด้วยครับ เพราะฐานะเขาใกล้เคียงผู้ว่าราชการจังหวัด ถ้าเขายินดีให้ความร่วมมือ เขาจะแจ้งไปเทศบาล อบต.ด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2011
  10. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384

    ขอบพระคุณค่ะพี่มารีน...

    พอต้องลงมาติดต่อหน่วยราชการต่าง ๆ เองแบบนี้... ทำให้เข้าใจระบบระเบียบการทำงานของราชการดีขึ้นมากเลยค่ะ...

    ถ้าธรมีอะไรติดขัดอีก... ขออนุญาตปรึกษาพี่เป็นระยะๆ นะคะ...
     
  11. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    มาแล้วค่ะ... กำหนดการวันจัดงานสัมมนาเพิ่มอีก ๒ รอบ...


    กำหนดการของแต่ละภูมิภาค

    - ภาคกลางและภาคตะวันตก (จัดแล้ว)
    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔)

    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    วัดพุทธโมกข์ อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ๔๗๒๓๐
    (วันเสาร์ที่ ๒๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔)

    - ภาคใต้
    วัดคลองวาฬ ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๐๐๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔)

    - ภาคเหนือ
    วัดพระธาตุห้าดวง ต.ลี้ อ.ลี้ ลำพูน ๕๑๑๑๐
    (วันเสาร์ที่ ๐๓ และ วันอาทิตย์ที่ ๐๔ ธันวาคม ๒๕๕๔)

    - ภาคตะวันออก
    วัดราษฎร์ศรัทธา (ท้ายดอน) ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๑๓๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔)

    งานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” (กรณีพิเศษ)
    - ภาคกลางและภาคตะวันตก (อีกครั้ง)
    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐
    (วันเสาร์ที่ ๐๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๐๘ มกราคม ๒๕๕๕)

    สรุปปิดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”
    วัดท่าขนุน ต. ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    (วันเสาร์ที่ ๑๔ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕)


    หมายเหตุ
    - ในวันเสาร์ หัวข้อจะเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ตั้งแต่ก่อนภัยมา วิธีการสังเกตธรรมชาติในด้านต่าง ๆ จุดปลอดภัยและจุดเสี่ยงภัยในแต่ละภูมิภาค รวมไปถึงวิธีการรับมือกับภัยในรูปแบบต่าง ๆ วิธีการช่วยเหลือตัวเองในยามมีภัย
    - สำหรับวันอาทิตย์จะเป็นช่วงที่ภัยมาแล้ว ทุกคนควรจะรับมือกับภัยนั้น ๆ ในสภาวะนั้น ๆ อย่างไร วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ยาสมุนไพร ยาสามัญประจำบ้านที่ควรทราบ วิธีจัดการสิ่งต่าง ๆ สถานการณ์ต่าง ๆ ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติให้ได้เร็วที่สุด ดีที่สุด และหลังจากนั้น หรือในสภาวะที่ไม่มีภัยทุกคนควรจะร่วมมือประสานความช่วยเหลือกันอย่างไร การนำหลักการ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้ปฏิบัติจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง ทุกคนจะสามารถปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนหันมาให้ความสำคัญกับบ้านเกิดของตนเองได้อย่างไรบ้าง


    เรียนเชิญทุกท่านด้วยนะคะ ^___^
     
  12. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    มาแล้วค่ะ... กำหนดการวันจัดงานสัมมนาเพิ่มอีก ๒ รอบ...


    กำหนดการของแต่ละภูมิภาค

    - ภาคกลางและภาคตะวันตก (จัดแล้ว)
    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔)

    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    วัดพุทธโมกข์ อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ๔๗๒๓๐
    (วันเสาร์ที่ ๒๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔)

    - ภาคใต้
    วัดคลองวาฬ ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๐๐๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔)

    - ภาคเหนือ
    วัดพระธาตุห้าดวง ต.ลี้ อ.ลี้ ลำพูน ๕๑๑๑๐
    (วันเสาร์ที่ ๐๓ และ วันอาทิตย์ที่ ๐๔ ธันวาคม ๒๕๕๔)

    - ภาคตะวันออก
    วัดราษฎร์ศรัทธา (ท้ายดอน) ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๑๓๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔)

    งานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” (กรณีพิเศษ)
    - ภาคกลางและภาคตะวันตก (อีกครั้ง)
    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐
    (วันเสาร์ที่ ๐๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๐๘ มกราคม ๒๕๕๕)

    สรุปปิดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”
    วัดท่าขนุน ต. ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    (วันเสาร์ที่ ๑๔ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕)


    หมายเหตุ
    - ในวันเสาร์ หัวข้อจะเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ตั้งแต่ก่อนภัยมา วิธีการสังเกตธรรมชาติในด้านต่าง ๆ จุดปลอดภัยและจุดเสี่ยงภัยในแต่ละภูมิภาค รวมไปถึงวิธีการรับมือกับภัยในรูปแบบต่าง ๆ วิธีการช่วยเหลือตัวเองในยามมีภัย
    - สำหรับวันอาทิตย์จะเป็นช่วงที่ภัยมาแล้ว ทุกคนควรจะรับมือกับภัยนั้น ๆ ในสภาวะนั้น ๆ อย่างไร วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ยาสมุนไพร ยาสามัญประจำบ้านที่ควรทราบ วิธีจัดการสิ่งต่าง ๆ สถานการณ์ต่าง ๆ ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติให้ได้เร็วที่สุด ดีที่สุด และหลังจากนั้น หรือในสภาวะที่ไม่มีภัยทุกคนควรจะร่วมมือประสานความช่วยเหลือกันอย่างไร การนำหลักการ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้ปฏิบัติจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง ทุกคนจะสามารถปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนหันมาให้ความสำคัญกับบ้านเกิดของตนเองได้อย่างไรบ้าง


    เรียนเชิญทุกท่านด้วยนะคะ ^___^
     
  13. ลิงเมืองละโว้

    ลิงเมืองละโว้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,521
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2011
  14. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384

    ขอบพระคุณคุณผ่อนคลายค่ะ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2011
  15. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    กำหนดการของแต่ละภูมิภาค

    - ภาคกลางและภาคตะวันตก (จัดแล้ว)

    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔)


    - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    วัดพุทธโมกข์ อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ๔๗๒๓๐

    (วันเสาร์ที่ ๒๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔)


    -ภาคใต้

    วัดคลองวาฬ ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๐๐๐

    (วันเสาร์ที่ ๑๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔)


    - ภาคเหนือ

    วัดพระธาตุห้าดวง ต.ลี้ อ.ลี้ ลำพูน ๕๑๑๑๐

    (วันเสาร์ที่ ๐๓ และ วันอาทิตย์ที่ ๐๔ ธันวาคม ๒๕๕๔)


    - ภาคตะวันออก

    วัดราษฎร์ศรัทธา (ท้ายดอน) ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๑๓๐

    (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔)



    งานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” (กรณีพิเศษ)

    - ภาคกลางและภาคตะวันตก (อีกครั้ง)

    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐

    (วันเสาร์ที่ ๐๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๐๘ มกราคม ๒๕๕๕)


    สรุปปิดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    วัดท่าขนุน ต. ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

    (วันเสาร์ที่ ๑๔ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕)




    หมายเหตุ

    - ในวันเสาร์ หัวข้อจะเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ตั้งแต่ก่อนภัยมา วิธีการสังเกตธรรมชาติในด้านต่าง ๆ จุดปลอดภัยและจุดเสี่ยงภัยในแต่ละภูมิภาค รวมไปถึงวิธีการรับมือกับภัยในรูปแบบต่าง ๆ วิธีการช่วยเหลือตัวเองในยามมีภัย

    - สำหรับวันอาทิตย์จะเป็นช่วงที่ภัยมาแล้ว ทุกคนควรจะรับมือกับภัยนั้น ๆ ในสภาวะนั้น ๆ อย่างไร วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ยาสมุนไพร ยาสามัญประจำบ้านที่ควรทราบ วิธีจัดการสิ่งต่าง ๆ สถานการณ์ต่าง ๆ ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติให้ได้เร็วที่สุด ดีที่สุด และหลังจากนั้น หรือในสภาวะที่ไม่มีภัยทุกคนควรจะร่วมมือประสานความช่วยเหลือกันอย่างไร การนำหลักการ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้ปฏิบัติจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง ทุกคนจะสามารถปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนหันมาให้ความสำคัญกับบ้านเกิดของตนเองได้อย่างไรบ้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2011
  16. ลิงเมืองละโว้

    ลิงเมืองละโว้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,521
    อัพเดทข้อมูลครับ

    [​IMG]
    กำหนดการของแต่ละภูมิภาค

    ● ภาคกลางและภาคตะวันตก จัดแล้ว
    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔)

    ● ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    วัดพุทธโมกข์ อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ๔๗๒๓๐
    (วันเสาร์ที่ ๒๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔)

    ● ภาคใต้
    วัดคลองวาฬ ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๐๐๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๙ และ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔)

    ● ภาคเหนือ
    วัดพระธาตุห้าดวง ต.ลี้ อ.ลี้ ลำพูน ๕๑๑๑๐
    (วันเสาร์ที่ ๐๓ และ วันอาทิตย์ที่ ๐๔ ธันวาคม ๒๕๕๔)

    ● ภาคตะวันออก
    วัดราษฎร์ศรัทธา (ท้ายดอน) ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๑๓๐
    (วันเสาร์ที่ ๑๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔)

    ● ภาคกลางและภาคตะวันตก (อีกครั้ง กรณีพิเศษ)

    วัดหนองหญ้าปล้อง ต. .จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ๗๑๒๖๐

    (วันเสาร์ที่ ๐๗ และ วันอาทิตย์ที่ ๐๘ มกราคม ๒๕๕๕)


    ● สรุปปิดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    วัดท่าขนุน ต. ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

    (วันเสาร์ที่ ๑๔ และ วันอาทิตย์ที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๕)



    หัวข้อการบรรยาย
    ● วันเสาร์ หัวข้อจะเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ตั้งแต่ก่อนภัยมา วิธีการสังเกตธรรมชาติในด้านต่าง ๆ จุดปลอดภัยและจุดเสี่ยงภัยในแต่ละภูมิภาค รวมไปถึงวิธีการรับมือกับภัยในรูปแบบต่าง ๆ วิธีการช่วยเหลือตัวเองในยามมีภัย

    ● วันอาทิตย์จะเป็นช่วงที่ภัยมาแล้ว ทุกคนควรจะรับมือกับภัยนั้น ๆ ในสภาวะนั้น ๆ อย่างไร วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ยาสมุนไพร ยาสามัญประจำบ้านที่ควรทราบ วิธีจัดการสิ่งต่าง ๆ สถานการณ์ต่าง ๆ ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติให้ได้เร็วที่สุด ดีที่สุด และหลังจากนั้น หรือในสภาวะที่ไม่มีภัยทุกคนควรจะร่วมมือประสานความช่วยเหลือกันอย่างไร การนำหลักการ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้ปฏิบัติจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง ทุกคนจะสามารถปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนหันมาให้ความสำคัญกับบ้านเกิดของตนเอง
     
  17. ลิงเมืองละโว้

    ลิงเมืองละโว้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,521
    [​IMG]
    ยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคของความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ... มีเครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่างเท่าที่มนุษย์เราต้องการจะให้มี... ตั้งแต่ตื่นยันหลับ เกิดยันตาย... จนมนุษย์ส่วนใหญ่หลงลืมกับ “คุณค่า” ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องใช้ระยะเวลานับหลายล้านล้านล้านปีในการที่จะก่อกำเนิดขึ้นมา... กว่าจะเป็น “โลก” ที่เราอยู่กันได้ตราบจนทุกวันนี้...

    ในยุคปัจจุบันนี้มนุษย์ “ใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว” จนวัฏจักรของธรรมชาติเสียสมดุลไป... ตลอดเวลาที่ผ่านมาจึงเป็นช่วงเวลาที่ทั้งมนุษย์และธรรมชาติ ต่างฝ่ายต่างก็พยายามปรับสมดุลให้กับตัวเอง เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด เวลาที่มนุษย์พยายามที่จะอยู่รอด และก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นกับธรรมชาติและชีวิตอื่น... มีมนุษย์เพียงน้อยนิดที่ตระหนักถึงความสูญเสียในวงกว้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคต... แต่เมื่อธรรมชาติพยายามที่จะปรับตัวเองบ้าง... มันจึงกลายเป็นหายนะภัยสำหรับโลก

    เนื่องด้วยในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้สาธารณชนได้รับทราบถึงข้อมูลภัยธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก อีกทั้งภัยธรรมชาติหลากหลายประการที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเราก็มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะที่รุนแรงขึ้น และเกิดบ่อยขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่าน ๆ มา จึงสร้างความวิตกกังวลให้เกิดขึ้นกับประชาชนในวงกว้าง เหตุการณ์การเกิดสึนามิ ภัยน้ำท่วมภาคใต้ แผ่นดินไหวที่เกิดบ่อยครั้งขึ้น และรุนแรงมากขึ้น ฯลฯ ที่เพิ่งจะผ่านไปเป็นตัวอย่างที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด... สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องน่าเศร้าเพราะจำนวนชีวิตผู้คนมากมายที่ต้องล้มหายตายจากกันไป หรือผู้เป็นที่รักต้องพลัดพรากจากกันไป เหล่าอาคารสถานที่อีกทั้งทรัพย์สินทั้งหลายที่ต้องพังพินาศลง ภาพอันน่าสะเทือนใจเหล่านั้นกระทบความรู้สึกของคนไทยทั้งชาติ... คงไม่มีใครอยากที่จะเป็นหนึ่งในผู้สูญเสียนั้น

    ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงมีดำริที่จะให้มีการจัดงานสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้กระจายไปสู่สังคมในวงกว้าง นอกจากนั้นจะมีการจัดงานสัมมนาขึ้นใน ๕ ภูมิภาค เพราะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคอาจมีลักษณะทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไป

    การจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับภัยพิบัติในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะให้ทุกคนที่ได้ร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งหลาย มีความรู้ และเตรียมพร้อมกับการรับสถานการณ์เฉพาะ “มหันตภัยร้าย” ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ในอนาคตเท่านั้น แต่ผู้ร่วมสัมมนาและผู้ที่ได้รับรู้เกี่ยวกับข้อมูลในครั้งนี้ สมควรมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับ “ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่แล้วเป็นประจำในแต่ละภูมิภาค” ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นวัฏจักร


    ด้วยสาเหตุดังกล่าวจึงมีดำริที่จะให้มีการจัดงานสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้กระจายไปสู่สังคมในวงกว้าง นอกจากนั้นจะมีการจัดงานสัมมนาขึ้นใน ๕ ภูมิภาค เพราะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคอาจมีลักษณะทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไป

    การจัดงานสัมมนาเกี่ยวกับภัยพิบัติในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะให้ทุกคนที่ได้ร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งหลาย มีความรู้ และเตรียมพร้อมกับการรับสถานการณ์เฉพาะ “มหันตภัยร้าย” ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ในอนาคตเท่านั้น แต่ผู้ร่วมสัมมนาและผู้ที่ได้รับรู้เกี่ยวกับข้อมูลในครั้งนี้ สมควรมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับ “ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่แล้วเป็นประจำในแต่ละภูมิภาค” ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นวัฏจักรที่ไม่เคยหยุดสิ้น


    “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ” (เตรียมพร้อม – ตั้งมั่น – ต่อเนื่อง) จึงได้เกิดขึ้นมาเพื่อบอกกล่าวให้ทุกคนที่ได้ร่วมงานสัมมนาและได้รับทราบข้อมูลในครั้งนี้ได้ทราบว่า...

    ๑. ทั้งภัยที่เกิดขึ้นประจำแต่ละภูมิภาค และภัยร้ายที่แต่ละภูมิภาคอาจต้องประสบนั้นมีอะไรบ้าง เพราะ แต่ละภูมิภาคจะมีภัยในรูปลักษณะที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม เขื่อนแตก ไฟป่า สึนามิ ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง น้ำป่า สตรอมเซิรจ (Storm Surge) ฯลฯ

    ๒. ถ้าเป็นภัยที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในแต่ละภูมิภาค
    ๒.๑ มีภัยประเภทใดบ้างที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคนั้น ๆ
    ๒.๒ ภัยแต่ละอย่างเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาใดของปีบ้าง
    ๒.๓ ฤดูกาลต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคนั้นมีการแปรปรวน เปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นในอดีตไปอย่างไรแล้วบ้าง
    ๒.๔ ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ ควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่ภัยจะเกิดขึ้นอย่างไร
    ๒.๕ เมื่อเกิดภัยขึ้นแต่ละคนควรปฏิบัติตัวอย่างไร
    ๒.๖ ควรมีการจัดการทางด้านต่าง ๆ หลังจากที่ภัยเหล่านั้นผ่านไปแล้วอย่างไรบ้าง
    ๒.๗ นอกจากสาเหตุทางธรรมชาติที่ไม่มีมนุษย์คนไหนจะหยุดยั้งได้แล้วยังมีสาเหตุเหตุใดอีกบ้างที่ผ่าน ๆ มา ทั้ง ๆ ที่ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนหลากหลายหน่วยงานพยายามที่จะช่วยกันหาทางป้องกัน ยับยั้งและแก้ไขแล้ว แต่ปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆ เป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมาก
    ขึ้นรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องด้วย
    ๒.๘ มีหน่วยงานใดบ้างทั้งของภาครัฐบาลและเอกชนที่จะสามารถคอยให้คำปรึกษาแนะนำ หรือให้ความช่วยเหลือประชาชนในภูมิภาคนั้น ๆ ได้บ้าง (รวบรวมรายชื่อ เบอร์โทรศัพท์ สถานที่หรือวิธีการที่จะติดต่อกับแต่ละหน่วยงานนั้น ๆ

    ๓. ถ้าต้องประสบกับภัยพิบัติที่คนส่วนใหญ่กำลังหวาดกลัวกันอยู่ในขณะนี้
    ๓.๑ มหันตภัยประเภทใดบ้างที่มีแนวโน้มหรือสามารถเกิดขึ้นได้กับภูมิภาคนั้น ๆ
    ๓.๒ มีสัญญาณบอกเหตุทางธรรมชาติอะไรบ้างที่อาจจะเกิดขึ้น และประชาชนควรจะหัดสังเกต เพื่อเป็นเสมือนการเตือนให้ได้รับทราบถึงการจะมาถึงของภัยนั้น ๆ
    ๓.๓ จุด หรือสถานที่ใดบ้างที่มีความเสี่ยงสูงว่าอาจจะได้รับผลกระทบร้ายแรงจากการเกิดภัยนั้น ๆ เพราะเหตุใด
    ๓.๔ มีสถานที่ใดบ้างในแต่ละภูมิภาคที่เป็น “จุดปลอดภัย” ในแต่ละสถานการณ์ที่มีภัยในรูปแบบที่แตกต่างกันไป
    (ประเด็นทั้งข้อ ๓.๑ และ ๓.๒ เป็นประเด็นที่ควรพูดถึงเป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรจะบอกให้ประชาชนได้รับทราบไว้ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของคนจำนวนมหาศาล... เช่น ถ้าสึนามิมา ภูเขาลูกใดควรเป็นจุดที่ทุกคนควรรีบขึ้นไปให้สูงที่สุด หรือ ถ้ามีน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ตรงบริเวณใดบ้างที่สูงพอที่ผู้คนควรจะพากันอพยพหนีภัยขึ้นไปอยู่ได้เป็นต้น... แต่ก็อาจเป็นดาบสองคมเพราะเป็นข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนส่วนใหญ่.... และอาจเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์บางรายนำข้อมูลไปใช้ในเชิงธุรกิจ... อันอาจจะสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในสังคมได้... ดังนั้นคงต้องหาวิธีที่จะเตือนประชาชนถึงจุดเสี่ยงภัยโดยมีผลกระทบกับสังคมให้น้อยที่สุด)

    ๔. “เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดตั้ง อ.ป.ต. (หรือหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล) ขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื่องจากเห็นว่า วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการประกอบกิจกรรมของสังคมร่วมกัน และเป็นสถานที่ดำเนินการให้การศึกษาอบรม แนะนำ สั่งสอน ตลอดจนสงเคราะห์ประชาชนเพื่อประโยชน์และความรู้ของชุมชนและสังคมนั้น... ผู้ร่วมงานประกอบด้วยฝ่ายบรรพชิต อันได้แก่ เจ้าอาวาสและพระภิกษุในวัดในตำบลนั้น ๆ ฝ่ายคฤหัสถ์ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และทายกทายิกาในตำบลนั้น ๆ ... สำหรับความรู้และคุณประโยชน์ที่ประชาชนในชุมชนนั้นจะได้รับจากหน่วย อ.ป.ต. มีดังนี้...

    - ศีลธรรมและวัฒนธรรม - สุขภาพอนามัย
    - สัมมาชีพ - สันติสุข
    - ศึกษาสงเคราะห์ - สาธารณสงเคราะห์
    - กตัญญูกตเวทิตาธรรม - สามัคคีธรรม

    เมื่อปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๕๓) มีหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ทั่วประเทศใน ๗๕ จังหวัด จำนวนกว่า ๕,๐๐๐ หน่วย ซึ่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้จัดสรรเงินอุดหนุนในการดำเนินงาน” (ขอขอบคุณข้อมูลโดย คุณปราณสุวีร์ อาวอร่ามรัศมิ์ สนง.พศช. เว็บไซต์ http://www.watyangrak.com)

    จากข้อมูลดังกล่าว... ถ้าสามารถดึงวัดกลับมาเป็นศูนย์กลางของสังคมได้เช่นในอดีต... และมีการให้ความรู้ที่หลากหลายสาขากับชุมชนในท้องถิ่น ณ วัดที่เป็นศูนย์กลางเหล่านั้น... อาทิเช่น นำเรื่องการจัดการสหกรณ์มาใช้ โดยการนำสินค้าไปหมุนเวียน ซื้อ – ขาย กันในสหกรณ์ของวัดที่จัดตั้งขึ้นมา... มีหน่วยงานสาธารณสุขคอยให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น... มีผู้สูงวัยที่มีความรู้ทรงภูมิปัญญา มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในท้องถิ่นนั้น ๆ มาคอยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน แนะนำ สั่งสอนถึงแนววิชาความรู้ต่าง ๆ... เช่น การใช้ยาสมุนไพรชนิดต่าง ๆ... การแปรรูป ถนอมอาหาร ฯลฯ

    ซึ่งวิชาความรู้เหล่านั้นสามารถที่จะนำมาปรับใช้เป็นวิชาชีพเสริมรายได้ของชุมชนในยามภาวะปกติ (ซึ่งถือเป็นการปลูปฝังให้คนในแต่ละท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม ภูมิความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะหล่อหลอมให้ทุกคนรักถิ่นที่อยู่ของตนเอง และจะพยายามปกป้อง คุ้มครองไม่ให้ใครมาทำลายท้องถิ่นของตนได้)...

    หรือ กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นในการเอาตัวรอดจากสภาวะที่ความสะดวกสบายทั้งหลายถูกตัดขาดออกไปอย่างสิ้นเชิง... อาทิเช่น ไม่มีไฟฟ้าใช้ น้ำประปาไม่ไหล เป็นต้น...

    เมื่อยามมีภัย... ให้ทุกคนในแต่ละชุมชนมุ่งหน้าไปยังวัดที่อยู่ในตำบลของตัวเอง... หรือวัดในจุดที่มีความปลอดภัยที่ได้มีการตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับสถานการณ์ต่าง ๆ ... อย่างน้อยทุกคนก็มีอาหารยังชีพ มีหน่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ และมีพระภิกษุสงฆ์เป็นขวัญกำลังใจในการที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ไปด้วยกัน...

    ๕. ประชาชนทั้งหลายควรมีความพร้อมในการรับมืออย่างไรบ้างในฐานะปัจเจกบุคคล
    - ควรมีการสำรองอาหารแห้ง น้ำดื่ม ชุดยาสามัญประจำบ้าน และของใช้จำเป็นอย่างไรบ้าง สำหรับกี่วัน ต่อคน
    - ก่อนที่ภัยจะมาประชาชนควรมีการจัดเตรียมกระเป๋า หรือเป้ยังชีพกันอย่างไรบ้าง... ของใช้จำเป็นที่ควรมีติดกระเป๋า มีอะไรบ้าง
    - ควรมีการนำทรัพย์สินมีค่าที่พอจะเคลื่อนย้ายได้ง่ายๆ เก็บบรรจุในกระเป๋า หรือเก็บในลักษณะใด เมื่อเกิดเหตุภัยเกิดขึ้นจะได้คว้าได้อย่างทันท่วงที

    ๖. เมื่อภัยมาชุมชนในพื้นที่ควรมีการประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง

    ๗. สาธารณสุข หรือหน่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นในแต่ละท้องที่มีศักยภาพมากน้อยเพียงใดกับการรักษาพยาบาลคนในชุมชนที่เจ็บป่วยพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ๆ ในเบื้องต้น

    ๘. มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่จะมีการฝึกความพร้อมในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ชุมชนในแต่ละท้องถิ่น

    ๙. นอกจากการแพทย์แผนปัจจุบันที่จะมีการช่วยเหลือกันแล้ว... การแพทย์ทางเลือก อาทิเช่นการใช้ยาสมุนไพรที่มีอยู่ประจำแต่ละภูมิภาค... ซึ่งได้รับการขึ้นบัญชีเป็นยาหลักแห่งชาติ ประเภทสมุนไพร... มีอะไรบ้าง ประชาชนควรเร่งปลูกพืชสมุนไพรตัวได้ไว้บ้างในสวนครัวรอบรั้วบ้านของตัวเอง... เพื่อที่จะได้นำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที หรือแม้ใช้ยามเจ็บป่วยทั่ว ๆ ไป

    ๑๐. สื่อสิ่งพิมพ์ สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ชุมชน อีกทั้งหน่วยอาสาสมัครกู้ภัยต่าง ๆ ประจำแต่ละภูมิภาค ไม่ว่าจะในระดับ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด ควรมีการประสานงานกัน ทุกหน่วย อย่างสม่ำเสมอ และควรมีบทบาทในการร่วมช่วยกันให้ความรู้ในเรื่องภัย และอื่น ๆ แก่ประชาชน ควรจัดให้มีการซ้อมรับมือกับภัยพิบัติในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
     
  18. ลิงเมืองละโว้

    ลิงเมืองละโว้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,521
    วัตถุประสงค์ของการจัดงานสัมมนา “๓ ต. ต่อชีวิต เพิ่มทางรอดจากภัยพิบัติ”

    การสัมมนาในครั้งนี้หวังผลที่จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะให้มีการร่วมมือประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล และเอกชน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ ความปลอดภัย ทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในวงกว้าง (ซึ่งโดยปกติหน่วยงานและองค์กรเหล่านั้นก็มีการประสานงานร่วมกันอยู่แล้วในระดับหนึ่ง)

    ประสงค์จะให้การสัมมนาในภูมิภาคทั้ง ๕ นี้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดเป็นแรงผลักดันให้เกิดความปลอดภัย เกิดทางรอดมากที่สุด และมีความสูญเสียน้อยที่สุด โดยการที่ทุกภาคส่วนมาร่วมกันวางแผนอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นรูปธรรมว่าถ้าเกิดภัยขึ้นมาแล้วจริง ๆ ควรมีแผนการรับมืออย่างไร แต่ละคนแต่ละองค์กรและหน่วยงานสมควรดำเนินการอย่างไร มีบทบาทอย่างไรบ้าง และทุกชีวิตทั้งหมดนั้นจะสามารถที่จะส่งต่อ ประสานความช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ณ ขณะนั้นได้อย่างไรบ้าง

    อีกทั้งปรารถนาที่จะให้ทั้งผู้ที่เข้าร่วมในงานสัมมนา และผู้ที่ได้รับทราบข้อมูลทั้งหลาย หรือชุมชนในแต่ละท้องถิ่น สามารถนำข้อมูลสิ่งที่ได้รับรู้รับทราบกลับไปใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน ให้คนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้สามารถมีชีวิตรอดปลอดภัยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งในสถานการณ์ที่มีภัยประจำภูมิภาค หรือภัยฉุกเฉินเกิดขึ้น หรือถึงแม้จะไม่เกิดภัยใด ๆ เลย ความรู้ทั้งหลายทั้งมวลในการสัมมนาในครั้งนี้ ก็ยังสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนทุกชุมชนได้

    เชื่อเหลือเกินว่าการจัดงานสัมมนา ๕ ภูมิภาคในครั้งนี้... จะสามารถเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดัน หรือช่วยเป็นแรงบันดาลใจเล็ก ๆ ให้กับชุมชนในแต่ละท้องถิ่นให้เกิดความตระหนักรู้ และเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษของตนได้ เพื่อที่จะได้ช่วยกันสืบสาน เกิดความหวงแหนที่จะรักษาไว้ซึ่งความดีงามในชุมชนของตนเอง

    ข้อมูลความรู้เหล่านั้นได้แก่...





    [​IMG]



    ต. ที่ ๑ : เตรียมพร้อม

    - ทราบว่าถ้าจะรับข้อมูลข่าวสารการเตือนภัยจากทั้งหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน... จะสามารถติดต่อกับหน่วยงานใดได้บ้าง ที่ไหน อย่างไร
    - เนื่องจากว่าในแต่ละภูมิภาคนั้นจะมีภัยเกิดขึ้นในรูปลักษณะที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม เขื่อนแตก ไฟป่า สึนามิ ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง น้ำป่า สตรอมเซิรจ (Storm Surge) ฯลฯ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ควรจะต้องทราบว่าในภูมิภาคที่ตนอยู่อาศัยนั้นสามารถมีภัยธรรมชาติประเภทใดบ้างที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และจะสามารถป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดกับชีวิต และทรัพย์สินได้อย่างไร ถ้าป้องกันจนสุดวิสัยที่จะทำได้แล้ว ควรเตรียมความพร้อมในการรับสถานการณ์อย่างไร
    - สามารถสังเกตสภาวการณ์ ความแปรปรวน หรือสัญญาณบอกเหตุตามธรรมชาติ(ในเบื้องต้น) ของแต่ละภูมิภาคได้อย่างไร
    - ทราบถึงวิธีการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือเบื้องต้นกับภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น ทั้งภัยที่มีอยู่เป็นประจำในแต่ละภูมิภาค และภัยร้ายที่มีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้
    - ทราบถึงสถานที่ที่เสี่ยงภัยและสถานที่ที่ปลอดภัย... จะได้สามารถกำหนดวิธีการอพยพหนีภัย... และเส้นทางหนีภัยได้อย่างทันท่วงที
    - ถ้ามีการกำหนดสถานที่ปลอดภัยสำหรับในแต่ละภูมิภาคแล้ว... ชุมชนนั้น ๆ จะได้สามารถร่วมกันจัดการบริหารเตรียมความพร้อมทางด้านต่าง ๆ เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยได้อย่างดีที่สุดสำหรับชุมชนของตนเอง
    - เมื่อมีการประสานงานกับทุกเครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับภัยพิบัติแล้ว... ในแต่ละชุมชนจะได้สามารถมีการซักซ้อมเตรียมความพร้อมกับการรับมือ หรือหนีภัยเหล่านั้นด้วยกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการอยู่รอดปลอดภัยร่วมกัน




    ต. ที่ ๒ : ตั้งมั่น

    - เมื่อมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือกับภัยต่าง ๆ แล้ว... ทุกคนจะมีสติ และรู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้างเมื่ออยู่ในสถานการณ์เหล่านั้น... จะสามารถทราบถึงวิธีการเตรียมพร้อม – รับมือ อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน
    - เมื่อเกิดภัยขึ้นมา... เพราะผลจากที่มีการฝึกซ้อมรับมือกับภัยในสภาวการณ์ต่าง ๆ แต่ละคนจะทราบถึงหน้าที่ของตนเองว่าจะต้องทำอะไรบ้าง จะต้องช่วยตัวเองและผู้อื่นอย่างไรบ้าง เช่น ผู้ที่ฝึกซ้อมมาทางด้านการปฐมพยาบาลก็จะไปคอยช่วยดูแลผู้ประสบภัย ผู้ที่ฝึกซ้อมมาทางด้านการอำนวยความสะดวก ก็จะสามารถช่วยดูแลความเรียบร้อยให้กับผู้เดือดร้อนคนอื่น ๆ ได้ เป็นต้น
    - ในยามที่ความช่วยเหลือจากภายนอกยังไม่สามารถเข้าไปถึงท้องที่ที่ประสบภัยได้ ชุมชนนั้น ๆ ก็ยังสามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองกันได้ในระดับหนึ่ง ในสถานที่ปลอดภัยนั้น... จะมีอาหาร น้ำดื่ม ของใช้จำเป็น ยารักษาโรค พอเพียงกับความต้องการของชุมชนจนกว่าความช่วยเหลือจากภายนอกจะไปถึง ความช่วยเหลือเบื้องต้นของคนในชุมชนนั้นเองจะทำให้มีผู้รอดชีวิต มากขึ้น มีความสูญเสียน้อยลง


    ต. ที่ ๓ : ต่อเนื่อง

    - การเตรียมความพร้อมกับสถานการณ์ภัยธรรมชาติต่าง ๆ ควรมีการประสานงานกันอย่างจริงจังทั้งจากคนภายในชุมชน และกับภายนอกไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานจากภาครัฐบาล และเอกชน... อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะไม่เกิดเหตุภัยธรรมชาติใด ๆ เลย การประสานงาน และความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก็สามารถทำให้ชุมชนนั้น ๆ มีความปลอดภัย มั่นคงในระดับที่สูงขึ้นมากกว่าการอยู่อย่างไม่มีการเตรียมความพร้อมใด ๆ เลย... เพราะการเตรียมความพร้อม คือความไม่ประมาท
    - ถ้ามีการเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่อง ชุมชนนั้นก็จะได้ชื่อว่าเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และภูมิความรู้ต่าง ๆ ที่มีการอบรมฝึกฝนอยู่เป็นประจำก็จะไม่สูญหายไปไหนและพร้อมที่จะนำกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา และถ้าชุมชนใดมีการจัดการที่มีระบบระเบียบ คนส่วนใหญ่ของชุมชนให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก็สามารถพัฒนาเป็นชุมชนตัวอย่าง... เป็นแม่แบบให้ชุมชนอื่น ๆ มาเรียนรู้งานได้สืบไปอีกด้วย
    - อีกวิธีการหนึ่งที่เป็นวิธีการเตรียมความพร้อมอย่างยั่งยืน คือ การนำโครงการ “เศรษฐกิจพอเพียง” “โครงการตามแนวพระราชดำริต่าง ๆ” มาใช้ในแต่ละชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จนถึงจังหวัด... เพราะโครงการในพระราชดำริล้วนเป็นโครงการที่ปรับความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมเข้าหากัน เป็นการรักษาสมดุลของธรรมชาติควบคู่ไปกับการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงของชุมชน ไม่มีใครทำร้ายใคร
     
  19. ลิงเมืองละโว้

    ลิงเมืองละโว้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,521
    สถานที่สำหรับการจัดงานสัมมนา
    : วัด ซึ่งมีขนาดเนื้อที่ใหญ่พอที่จะรองรับผู้คนและจำนวนรถได้จำนวนมาก และมีเครื่องอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น ห้องน้ำ อุปกรณ์เครื่องเสียงต่าง ๆ เป็นต้น อีกทั้งสะดวกสำหรับรถรับจ้างหรือรถประจำทางสาธารณะ ที่จะผ่านเป็นปกติอยู่แล้ว เพื่อสะดวกต่อการเดินทางของผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

    สถานที่พักตอนกลางคืนสำหรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา

    : ผู้ที่จะเข้าร่วมงานสัมมนาให้นำเต็นท์ หรือถุงนอนมาด้วย เพราะสามารถพักในวัดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ (แต่ถ้าสถานที่ที่จะใช้จัดงานสัมมนาไม่ใช่วัด... จะมีการติดต่อประสานงาน ขอความอนุเคราะห์จากสถานที่นั้น ๆ หรือ อาจมีการติดต่อประสานงานไปยังวัดที่อยู่ใกล้เคียง ขอให้ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนยามค่ำคืนแก่ผู้ร่วมงานสัมมนา)

    สิ่งของหรือเอกสารที่จะแจกให้กับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา มีอาทิเช่น (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมต่อไป)
    ๑. ตารางยาหลักแห่งชาติ ทั้งที่เป็นยาสมุนไพร และยาสามัญประจำบ้าน
    ๒. คู่มือการปฐมพยาบาลตัวเองเบื้องต้น
    ๓. สรุปคู่มือการเอาตัวรอดจากภัยในรูปแบบต่าง ๆ
    ๔. ฯลฯ



    ติดต่อสอบถาม
    จดหมาย : ตู้ปณ. ๖ ปณ.หลักสี่ กทม. ๑๐๒๑๐
    โทรสาร : ๐๒-๙๐๓-๐๐๘๐ กดต่อ ๖๕๙๗ ; ๐๒-๗๙๐-๑๐๙๒
    โทรศัพท์ :
    ๐๒-๗๙๐-๑๐๙๑
    ๐๘๙-๕๑๑-๙๙๐๕(ธร), ๐๘๙-๗๗๓-๕๗๙๓(ธร),
    ๐๘๔-๘๙๑-๕๓๙๕(นัฒ), ๐๘๗-๕๖๓-๐๘๐๖(ตุ้ย),
    ๐๘๙-๒๘๖-๐๓๓๓(มิ้ง), ๐๘๑-๗๒๑-๕๗๘๓(ตุ๊ก),
    ๐๘๗-๐๒๖-๑๑๔๖(นิก)

    อีเมล์ :seminar5regions@hotmail.com หรือ seminar5regions@gmail.com

    เฟซบุ๊ค (Facebook) : Seminar Fiveregions (คลิก)
     
  20. ลิงเมืองละโว้

    ลิงเมืองละโว้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    709
    ค่าพลัง:
    +1,521
    หรือสนใจเข้าไปฟังรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับการสัมมนาครั้งนี้ได้ใน
    รายการวิทยุ ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม สถานี F.M. 92.5 และ A.M.891สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
    เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2554 13.00 น.

    ที่กระทู้ เสียงคุณชนินทรให้สัมภาษณ์รายการสดร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม "3ต.ต่อชีวิตฯ"เมื่อ 13.00วันนี้ (คลิก)
     

แชร์หน้านี้

Loading...