คำตรัสของ พระศรีอริยเมตไตย

ในห้อง 'ร้องเรียนและปัญหา' ตั้งกระทู้โดย 12punna, 16 ตุลาคม 2006.

  1. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิชชา 8 (ความรู้ยิ่ง) ตอนที่ 3<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลังจากเรารู้จักการนั่งสมาธิไปแล้วใน ตอนที่ 2<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เราก็ยังคงใช้สูตรอานาปานสติเหมือนเดิม...สายตาก็ยังคงมองมาที่จุดใดจุดหนึ่งที่เราเพ่ง เป็นการฝึกกสินไปในตัว<o:p></o:p>
    พอเราดูลมหายใจไปควบคู่กับการเพ่งจนบางครั้งลมหายใจละเอียดจนเหมือนไม่ได้หายใจก็อย่าตกใจ หรือเหมือนการตกภวังค์จิตสติจะกลับมารู้สึกตัวก็ต่อเมื่อมาสิ่งที่มากระทบเข่นเสียง เราก็จะรุ้สึกได้ตามธรรมชาติเอง <o:p></o:p>
    ข้อ สังเกตุ หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในขณะที่เราหลับตา<o:p></o:p>
    1. จากพื้นสีดำอาจจะเป็นสีแดง<o:p></o:p>
    2. จากสีแดงเปลี่ยนเป็นสีเขียว<o:p></o:p>
    3. หรือจากสีเขียวกลายเป็นสีขาว<o:p></o:p>
    4. หรือมีภาพปรากฏมาให้เห็น<o:p></o:p>
    ก็อย่าไปตกใจ ให้ดูเหมือนดูทีวี ไม่นานสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะดับไปเอง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    พอเราเริ่มนั่งสมาธิ หรือใช้ท่านอนก็ได้ ก็ใช้วิการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นสลับกับวิปัสนากรรมฐาน วันนี้จะบอกเกี่ยวกับการพิจารณาร่างกายเรา<o:p></o:p>
    1. พุทธศาสนาเปรียบร่ายกานคนเรา เหมือนธาตุ 6 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟอากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ เพราะเหตุใดธาตุดินน้ำลมไฟ ใช้หลักพิจาณาง่าย ๆ คือ คนเราเมื่อตายไปแล้วเมื่อเราเอาตัวเราไปวางบนดิน ไม่นานเราก็จะกลายเป็นดินเพราะดินเกิดจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันเป็นเวลานาน (อธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์) ในดินนั้นก็มีน้ำ มีอากาศและมีอุณหภูมิ ก็คือธาตุไฟ เพราะฉะนั้นคงไม่แปลกหากหลัก<o:p></o:p>
    ศาสนาสอนว่าเราคือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อประกอบเข้าด้วยกันก็มีตัวตนขึ้นมาใช้อากาศหายใจและใช้วิญญาณในการรับรู้ การกระทำว่าดีหรือชั่ว<o:p></o:p>
    2. เรื่องของวิญญาณในตัวเรา ทำไมหลักศาสนาสอนว่ามันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของเรา นั้นหมายความว่า วิญญาณนั้นเปรียบเหมือนพลังงานชนิดหนึ่งเมื่อเข้าไปผสมกับร่างกายเราแล้วก็จะเกิดการรับรู้ การรับรู้ในที่นี้หมายถึงดี หรือชั่วเพราะฉะนั้น เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราก็จะมีวิญญาณเข้ามาประกอบหากเราทำความดีสะสมไว้ ตายไป วิญญาณ ก็จะเข้าไปผสมในร่างของเทวดาหรือพรหม หากเราทำความชั่ว เราก็อาจตกไปในอบาย เป็นสัตว์เดรัจฉานเช่น หมา ลิง แล้วแต่กรรมที่เราได้ทำไว้ <o:p></o:p>
    สรุปว่า ร่างกายเป็นเพียงที่รองรับอาศัยการกระทำ สลับหมุนเวียนไปตามผลของกรรมตามที่กล่าวมาทีแรก เราจึงเรียกมันว่า อนัตตา ดังนี้ <o:p></o:p>
    3. ให้เห็นว่าเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรค ก็เข้าใจได้ไม่ยาก คือคนเราต้องเจ็บป่วยไม่สบายซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว<o:p></o:p>
    4. เห็นว่าร่างกายนี้เป็นของไม่งาม ก็ต้องถามว่าคุณเป็นคนสะอาดหรือเป็นคนสกปรกถ้าคุณบอกว่าคุณเป็นคนสะอาดก็คงผิด เพราะคนเราต้องอาบน้ำทุกวัน ถ้าเราเป็นคนสะอาดจริงเราคงไม่ต้องอาบน้ำ เพราะสะอาดแล้วจะอาบทำไม เหตุเพราะร่างกายเราทำงานไปก็มีแต่เหงื่อไคล ฟันพอแปรงแล้วก็สกปรกอีก ผมเมือสระแล้วก็ต้องสระอีกเล็บตัดแล้วก็ต้องตัดอีก จะเห็นได้ว่าพื้นฐานในชีวิตของเราส่วนใหญ่อยู่กับสิ่งสกปรกจะสะอาดก็ตอนอาบน้ำ แค่แปบเดียวก็สกปรกอีก นั่นแหล่ะมันถึงเรียกได้ว่าไม่งามเมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว ก็จะได้ไม่ยึดมั่นถือมัน เพราะมันเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและก็ไม่รู้เราจะตายวันไหน หากเราทำกรรมชั่วไว้ ตายไปพรุ่งนี้เราอาจจะกลายเป็นหมาก็ได้ นั่นแหล่ะความจริง<o:p></o:p>
    หลังจากพิจารณาจบแล้วก็ละตัวรู้ (หมายถึงไม่ต้องกลับไปพิจารณาอีก ตามหลักความเป็นจริงพิจาณาครั้งเดียวก็พอ ใช้ได้ตลอด) เมื่อรู้แล้วละ จิตก็จะสงบเองตามธรรมชาติ
     
  2. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิชชา 8 (ความรู้ยิ่ง) ตอนที่ 4<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ข้อควรจำ หลักการฝึกนี้บางเรื่องเป็นสิ่งที่รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ไม่ควรนำมาคุยอวดกันแต่สามารถบอกวิธีการฝึกต่อกันได้<o:p></o:p>
    หลังจากที่เราเรียนรู้ไปแล้ว ทั้ง 3 ตอน ก็ยังใช้วิธีการแบบเดิมหากมีอะไรที่เข้ามาเห็นในขณะหลับตา ก็ให้มองดูเหมือนเราดูทีวีไม่นานสิ่งที่เกิดเหล่านั้นก็จะหายไปเอง ซึ่งเป็นปกติของการฝึกในหลักสูตร สมาบัติ 8วันนี้เราจะมาเรียนวิปัสนากรรมฐานให้เห็นถึงความจำเป็นในชีวิตคนเรา<o:p></o:p>
    1.เราต้องมีที่อยู่อาศัย ถึงแม้มันจะคับแคบไปบ้าง หรือไปอิจฉาคนที่มีบ้านหลังใหญ่เราก็มองโลกในแง่ดีง่าย ๆ ว่าแค่อาศัยนอนเฉย ๆ เดี๋ยวก็ไปทำงานแล้ว<o:p></o:p>
    2.เราต้องมีอาหาร เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงกาย ในหลักพุทธศาสนาสอนให้เราพิจารณาว่าเป็นปฎิกูล มองง่าย ๆ ก็คือต้องถ่ายมาเป็นอุจจาระนั่นเอง หลักสังเกตง่าย ๆ คือมนุษย์มักจะกินด้วยความอยาก ไม่ได้กินด้วยความหิว เพราะถ้ากินด้วยความหิวอะไรก็กินได้ แต่ถ้ากินอันเกิดจากความยากเราจะเลือกกิน คือมีอย่างนี้จะกินอย่างนั้น เห็นอะไรก็อยากกินไปหมดสุดท้ายร่ายกายก็อ้วนท้วน และก็เกิดไม่สบายง่าย เป็นแหล่งรวมของเชื้อโรคทั้งเบาหวาน หัวใจ และอื่นๆ บางทีกินมากเกิน<o:p></o:p>
    ต้องไปลดน้ำหนัก ตอนเสียสตางค์ค่าลด หมดเยอะกว่าค่ากินอีก<o:p></o:p>
    3. เครื่องนุ่งห่ม จะเห็นได้ว่าบางที่เราซื้อหามาราคาแพง ๆ แต่หารู้ไม่ว่าต่อให้ซื้อเสื้อผ้าราคาแพงแค่ไหนใส่แล้วมันหมือนกันตรงที่ว่า ต้องเอามันไปซักอยู่ดี เพราะสุดท้ายมันก็กลายเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรคเช่นกัน เพราะฉะนั้นก็ควรเลือกให้มันพอเหมาะพอควร<o:p></o:p>
    4.ยารักษาโรค ก็รู้กันอยู่แล้วว่าบางทีคนบางคนมีเงินเก็บจากการทำงานมาหลายปีเจ็บป่วยหนัก ๆ ที่เดียวเงินก็หายเกลี้ยง บางทีเป็นหนี้อีกต่างหาก เขาถึงว่าความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ เพราะฉะนั้นเราควรหาทางป้องกัน เช่นการออกกำลังกายหรือฉีดวัคซีนพุทธศาสนาก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน คือออกกำลังกายด้วยการเดินจงกรม ฉันน้ำมูตรเน่า(หรือน้ำปัสสะวะ) ซึ่งในสมัยนี้ในต่างประเทศเขาใช้สารอย่างหนึ่งมีมีในน้ำปัสสะวะ มาสกัดทำยาปฎิชีวน่ะต้านโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างมากมาย รวมทั้งมะขามป้อมที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ฉันเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ซึ่งวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า มะขามป้อมเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีมากที่สุดในโลก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    สรุป ความเป็นจริงแล้วหลักศาสนาพุทธพิสูจน์ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์และบางเรื่องก็เกินกว่านักวิทยาศาสตร์ยังยากจะเข้าถึง หรือตามหลังด้วยซ้ำ <o:p></o:p>
    เมื่อพิจารณาได้ดังนี้แล้วก็จะเห็นความเป็นจริงขอการดำเนินชีวิต และก็ละตัวรู้เข้าสู่ความสงบ นั่งสมาธิต่อไป จนถึงเวลาพอสมควรแล้วแต่เวลาของแต่ละบุคคล <o:p></o:p>
    สรุปคือ ความสุข.อยู่ที่ความพอใจ สุขอย่างไร..สุขแบบพอเพียง<o:p></o:p>
    สัจธรรม ก็คือ ความเป็นจริงที่พิสูจน์ได้<o:p></o:p>
     
  3. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิขา 8 (ความรู้ยิ่ง) ตอนที่ 5<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การฝึกนี้ไม่เกิดอันตรายแก่ผู้ฝึก แต่มีข้อควรระวังคือ ต้องเชื่อเรื่องกรรม เรื่อง นรก สวรรค์ และเรื่องวิญญาณให้รู้ว่าสิ่งนี้มีอยู่..ตามคำสอนของหลักพุทธศาสนา......ดั่งที่เราเข้าใจในการฝึกสมาธิที่อธิบายไปแล้วในตอนต้นสภาวะธรรมที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติก็คือการเปลี่ยนแปลงจากการมองเห็นการสลับเปลี่ยนสีต่าง ๆจนถึงในลักษณะที่เราจะเห็นวงกลมเป็นสีขาวกล้ายก้อนเมฆอยู่บนพื้นฐานสีเขียว อาจะมีลักษณะของการเหมือนตัวเราเคลื่อนไหวไปข้างหน้าหรือได้ยินเสียงหรือได้เห็นภาพต่าง ๆปรากฏขณะที่นั่งหรือนอน ก็ให้เราดูหรือฟังเหมือนเรานั่งดูทีวีตามปกติ ไม่นานสิ่งที่ปรากฏให้เห็นจะดับหายไปเอง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเริ่มนั่งทุกครั้ง ก็กระทำเหมือนเดิมสลับสับเปลี่ยนระหว่างสมถะกรรมฐานกับวิปัสนากรรมฐาน ต่อไปจะสอนในการพิจารณา<o:p></o:p>
    เรื่องสังโยขน์ 10 (เครื่องผูกมัดสัตว์ ให้ตกอยู่ในวัฎะสงสาร)<o:p></o:p>
    ๑.สักกายทิฐิ หมายถึง ความยึดมั่นถือมัน อันประกอบด้วย<o:p></o:p>
    -ยึดมั่นว่าชีวิตจะเป็นอมตะ (อัตตา) ไม่เชื่อในขบวนการเวียนว่ายตายเกิด (อนัตตา)<o:p></o:p>
    -ยึดมั่นถือมั่นในความคิดของตน (มิจฉาทิฐิ) ไม่ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น <o:p></o:p>
    คือเอาความรู้สึกตัวเองเป็นใหญ่ <o:p></o:p>
    สรุป ความเป็นจริงในขบวนการเวียนว่ายตายเกิด ( วัฏฏะสงสาร ) ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อสมัยเราเป็นมนุษย์ เราสะสมความดีไว้ พอตายไปก็ไปใช้ ร่างเทวดา ร่างพรหม หากเราทำความชั่ว เราตาบไปก็อาจไปเกิดเป็นเปรต หรือเป็นสุนัข เพราะฉะนั้นสรุปว่า คน ๆ นี้ หรือสุนัขตัวนั้น ร่างไหนเป็นตัวตนที่แท้จริงของเรา เป็นเพียงร่างที่เราอาศัยร่างนั้นตามผลของกรรม<o:p></o:p>
    (ผลของการกระทำ) เกิดขึ้น ตั่งอยู่ และก็ดับไป จะยุติขบวนการของการเกิดดับได้ ก็คือเข้าสู่นิพพาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๒.วิจิกิจฉา หมายถึง ความลังเล สงสัย ไม่เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า (ความหลุดพ้น)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๓.สีลัพพตปรามาส หมายถึง ยึดมั่นในข้อวัตรปฏิบัติเท่านั้น ไม่เชื่อในเรื่อง ศีล สมาธิและปัญญา เช่น ถือเอาข้อวัตรปฏิบัติของตน เป็นเหตุให้ยกตนเหนือผู้อื่น เช่นพวกพราหมณ์ที่ใช้วิธีการทรมานตนเอง หรือใช้วิธีการอดอาหารเพื่อที่จะหาความหลุดพ้น เพราะจริง ๆ แล้วความหลุดพ้นต้องเกิดจากการใช้ ศีล สมาธิทำให้เกิดปัญญา ในการที่จะพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ (ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ) เท่านั้น จึงจะพบวิธีการสู่ความหลุดพ้น (ปัญญาวิมุติ)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๔.กามราคะ หมายถึง ยึดมั่นใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราไปทานอาหาร เราชอบทานแกงไก่ แต่เขาไม่มี เราก็รู้สึกไม่พอใจ นั่นแหล่ะที่เขาเรียกว่าติดใจในรสชาติ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือว่า มีอย่างนี้ จะกินอย่างนั้น คือเป็นคนเรื่องมาก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๕.ปฏิฆะ หมายถึง พอใครทำอะไรให้เราไม่พอใจก็รู้สึกหงุดหงิด ควรเปิดใจให้กว้าง รู้จักเหตุและผล เอาใจเขามาใส่ใจเรา อย่าเอาแต่ใจตัวเอง และไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๖. รูปราคะ หมายถึง การยึดมั่นในรูป (รวมถึง รูปแบบ รูปลักษณ์ ) เพราะมนุษย์ หรือสิ่งต่างๆสามารถ สร้างภาพพจน์ได้ (สังขาร คือการปรุงแต่ง เกินความเป็นจริง) เพราะฉะนั้นเราอย่าไปเชื่อในสิ่งที่เราเห็น (เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน) จนกว่าเราจะได้เข้าไปพิสูจน์<o:p></o:p>
    จะรู้ว่าเป็นคนรักษาศีลหรือไม่ ต้องอยู่ร่วมกันนาน ๆ<o:p></o:p>
    จะรู้ว่าเป็นคนสะอาดหรือไม่ ให้ดูที่การทำงาน<o:p></o:p>
    จะรู้ว่าเป็นคนกล้าหาญหรือไม่ ต้องดูยามมีภัยมา<o:p></o:p>
    จะรู้ว่าเป็นคนมีปัญญาหรือไม่ ต้องดูที่การแก้ปัญหา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๗. อรูปราคะ หมายถึง การยึดมั่นใน ( เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) เช่นเราเคยเห็นว่าเขาเป็นคนดี แล้วยึดมั่นว่าเขาจะดีตลอดไป ( รู้สักแต่ว่ารู้ )เพราะ มันเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คนดีกลับกลายเป็นคนเลวได้ เช่นเดียวกันคนเลวก็กลับเป็นคนดีได้ ให้ดูอยู่ที่ปัจจุบันธรรมว่าในขณะนี้ เวลานี้การกระทำเขาเป็นอย่างไร (สิ่งเป็นอดีตก็ผ่านมาแล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา) อย่าไปยึดมั่นว่าความดีหรือความชั่วนั่นเป็นตัวตนของเขา เกิดขึ้น ตั่งอยู่ ดับไป ตามสิ่งที่มากระทบกับจิตใจ เช่นคนดี คนหนึ่งมีภรรยาอยู่แล้ว เป็นสามีที่ดี พอภรรยาแก่ลง พอเห็นหญิงสาวและรู้สึกพอใจ (ตาไปกะทบรูป) ก็ไปมีภรรยาใหม่อีก เพราะฉะนั้นคนดีคนนั้นก็หายไป กลายเป็นคนทุศีลคนใหม่มาแทน <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๘. มานะ หมายถึง มานะ ๙ เช่น เราดีกว่าเขา เราถือตัวว่าเสมอเขา หรือ เลวกว่าเขา หรือเราเลวกว่าเขา ถือตัวว่าดีกว่าเขา หรือเสมอเขา อีกประการหนึ่ง ความเห็นเราดีกว่าเขา เราถือตัวว่าความเห็นเราเสมอเขา หรือความเห็นเราเลวกว่าเขา คือว่าต้องทำตัวให้เหมาะสม ตามสภาวธรรมตามความเป็นจริง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๙. เกิดความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ หมายถึง อาการอย่างหนึ่ง คือไม่มีบทสรุปในความคิด เป็นคนไม่มีความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ ขาดอุดมคติ หรืออุดมการณ์ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๑๐. อวิชชา คือ ความหลงไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้งตามอริยสัจจ์ ๔<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จะสังเกตเห็นได้ว่าหลักสูตรพุทธศาสนานั้นจะไปสรุปจบลงที่ อวิชชาคือหลงไม่รู้ สภาวะธรรมตามความเป็นจริง<o:p></o:p>
    เพราะ สัจธรรม ก็คือความจริงที่พิสูจน์ได้<o:p></o:p>
    เมื่อพิจารณาได้ดังนี้แล้ว ก็ละตัวรู้ เข้าสูความสงบดังเดิม ในท่านั่งหรือท่านอนแล้วแต่เวลาของแต่ละท่าน<o:p></o:p>
     
  4. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิชชา 8 (ความรู้ยิ่ง) ตอนที่6<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การนั่งสมาธิก็ยังคงรูปแบบเดิมในสูตรอานาปานสติ<o:p></o:p>
    การกำหนดจุดในขณะหลับตาหากเกิดมีการตึงบริเวณหน้าผาก<o:p></o:p>
    ก็ลืมตามาประมาณ หนึ่งส่วนสี่ของการหลับตา หรือมองไปไกลๆ<o:p></o:p>
    ...ก็ใช้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าสภาวะธรรมใด ๆ จะเกิด ไม่ว่าจะเป็น<o:p></o:p>
    ภาพหรือเสียง ก็มองดูเหมือนดูที่วีไม่นานก็จะดับไป<o:p></o:p>
    สภาวะธรรมนี้เรียกว่าสัญญาเก่า (หมายถึงการระลึกชาติได้)<o:p></o:p>
    แต่เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาหนึ่ง อาจจะนานแต่สุดท้ายก็จะดับไปเอง<o:p></o:p>
    เพราะเป็นเรื่องปกติของอำนาจจากสมาธิ หลังจากสิ่งเหล่านี้ผ่านไป<o:p></o:p>
    ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายคือ (นิโรธสมาบัติ) จะชี้แจงในตอนต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หากเกิดอาการเมื่อยล้าก็สลับมาเป็นการเดินจงกรม<o:p></o:p>
    หรือสติปัฏฐานสูตรในท่า เดินและยืน ที่จะได้อธิบายดังนี้<o:p></o:p>
    การเดินจงกรม (การเดินกลับไปกลับมา)<o:p></o:p>
    วิธีการเดินจงกรม<o:p></o:p>
    การเดินจงกรม คือการเดินในท่าปกติ ในลักษณะเดินกลับไปกลับมา อาจจะกำหนดระยะที่ 6 ก้าว หรือ 10 ก้าวแล้วแต่พื้นที่ ให้เดินตัวตรง ไม่ควรเดินก้มหลัง การก้าวเท้าควรให้พอเหมาะ ถ้าเร็วเกินไป ก็ปรับให้ช้าลง ถ้าช้าเกินไป ก็ปรับให้เร็วขึ้น ก้าวท้าวอย่างสม่ำเสมอให้ฝ่าเท้าลงพื้น ในแนวราบ เสมอกัน มือทั้งสองช่วยพยุงจะทำให้ร่างกาย ไม่ให้เสียสมดุล วางไว้ด้านหลัง หรือปล่อยแบบธรรมดาก็ได้ เมื่อถึงจุดที่กำหนดก็หยุดยืนนิ่ง ๆ สักพักก่อนที่จะกลับตัวเดินต่อไป หรือให้ขณะหยุดก็เพ่งพินิจดูจิตตัวเองว่าคิดอะไรอยู่ก็ได้ และเพื่อเป็นการฝึกบุคลิกภาพไปในตัว เพื่อนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง (สติปัฏฐานสี่ในท่าเดิน และยืน) <o:p></o:p>
    การเดินเพื่อสร้างสติ ควรปล่อยเดินตามปกติ เปิดประสาทรับรู้ทั้งหมด<o:p></o:p>
    ดังปรากฏในอินทรียภาวนาสูตรว่า<o:p></o:p>
    มี พราหมณ์ คนหนึ่งมาบอกพระพุทธเจ้าว่า เราได้ปิดกั้น ประตูทางเข้าไว้ทั้งหมดแล้ว คือ ปิดตาปิดหู ไม่รับรู้อะไรอารมณ์แล้วทางอินทรีย์ คือการสำรวมอินทรีย์ที่ถูกต้อง พระพุทธเจ้าตรัสตอบกลับไปว่า ไม่ต่างอะไรกับคนหูหนวก ตาบอด การฝึกที่ถูกต้อง คือ เปิดอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่มีสติรู้เท่าทันสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับจิต<o:p></o:p>
    โดยปกติมนุษย์มองดูด้วยสายตาก็รู้ว่าว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรคือสิ่งที่ควรทำ หรือไม่ควรทำ สิ่งที่ได้ยิน ควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ เช่น หากเราเจอใครสักคนหน้าตาดี แต่งตัวดี พูดจาดี แล้วมาบอกเราว่า เขาทำงานดี มีกิจการใหญ่โตมากมาย ก็อย่าเพิ่งไปเชื่อ ดังคำกล่าวที่ว่า ( เห็นสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน) จนกว่าจะได้พิสูจน์ว่าเขาทำงานดีจริง มีกิจการใหญ่โตจริง ซึ่งในชีวิตปัจจุบัน ผู้คนจำนวนมากถูกพวกมิจฉาชีพหลอกด้วยลักษณะนี้มากมาย เช่น แต่งตัวดี คำพูดน่าเชื่อถือ หลอกให้เราลงทุนนั่นลงทุนนี้ แต่สุดท้ายก็หลอกให้เราเสียเงินไปมากมาย ลักษณะเช่นนี้แหล่ะที่เรียกว่าเราไปหลงในรูป คือการแต่งกายหรือหน้าตา หลงในเสียง คือคำพูดที่น่าเชื่อถือ เพราะยังไม่ได้พิสูจน์ข้อเท็จจริง (หรือที่เรียกว่าสภาวธรรมตามความเป็นจริง ดังคำกล่าวที่ว่า เห็นรอยเท้าช้าง อย่าคิดว่าเป็นช้างพลาย ให้ได้ไปเจอตัวจริงเสียก่อน) หรือลักษณะที่ว่า หากมีใครมาว่าใครสักคนให้เราฟัง เราก็อย่าเพิ่งไปเชื่อ (ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน) จนกว่าเราจะได้รู้จักเขาจริง ๆ และพิสูจน์ว่าเขาเป็นคนอย่างนั้นจริง ๆ เพราะฉะนั้นหลักการกำหนดในการเดินหรือยืนที่ถูกต้องก็คือ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตา สายตามองไปข้างหน้า ทอดสายตาต่ำประมาณ 5 ก้าว เพราะโดยปกติมนุษย์สามารถรับรู้ได้ด้วยการมอง เช่นรู้ว่าข้างหน้ามีอะไรอยู่เช่น มีสัตว์ไหม มีตะปูไหม ทางขรุขระไหม และมนุษย์ก็รับรู้ได้จากการมองว่า การกระทำไหน ดีหรือชั่วอย่างไหร่ ทางที่เดินไปนั้นมีอันตรายมากน้อยแค่ไหนอย่างไหร่ ควรจะหลีกเลี่ยงไหม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หู เปิดรับรู้ทางประสาทหู เช่น หากเดินอยู่ เราได้ยินเสียงรถหวอ แสดงว่าบริเวณนั้นอาจเกิดไฟไหม้ หรืออาจมีรถวิ่งมา หรือเราอาจจะได้ยินเสียงหมาเห่า อาจทำให้เรารู้สึกหงุดหงิด แต่ก็ให้รู้ว่าธรรมชาติของหมามันเป็นอย่างนั้น ถ้ามันไม่เห่าก็คงไม่ใช่หมา (การเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ) หรือได้ยินเสียงคนคุยกันอาจจะเกิด ความขุ่นเคืองในใจ ขณะเราเดินจงกลม ก็ให้รู้ว่านี้มันคือธรรมชาติของคน ที่ต้องพูดคุยต้องกิน ต้องทำงานเลี้ยงชีพ หรืออาจจะได้ยินเสียงคนไอหรือจาม ก็ให้รู้ว่าเขาไอเขาจามเพราะเขาไม่สบาย เป็นธรรมดาของการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย หากเราไม่เรียนรู้เรื่องพวกนี้ พอเราได้ยินเสียงอะไรมากระทบหู เราก็อาจเกิดโทสะขึ้นได้ ( เพราะฉะนั้นการให้คนทั้งโลกมาทำความเข้าใจเรานั้นคงเป็นไปได้ยาก แต่หากเราคนเดียวพยายามทำความเข้าใจโลกใบนี้มันเป็นไปได้ง่ายกว่า หรือเหมือนคำกล่าวที่ว่า หากมีคนร้อยคนมาชี้หน้าว่าคุณทำได้แต่คุณไม่ทำ คุณก็ไม่มีทางทำมันได้ แต่ในทางตรงข้าม หากมีคนร้อยคนมาชี้หน้าคุณว่าคุณทำไม่ได้ แต่คุณทำ คุณมีสิทธิ์ทำได้ ฝากแง่คิดไว้นิดหนึ่งว่า หากวันนี้เราคิดว่าเราแพ้ พรุ่งนี้ก็จะไม่เหลืออะไรให้เราต่อสู้อีก”<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จมูก เช่น การได้กลิ่นทำอาหาร แสดงว่าบริเวณนั้นมีการทำอาหารอยู่ หรือได้กลิ่นเหม็นจากกองขยะ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ลิ้น อาจไม่มีการสัมผัสขนาดเดินจงกลม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กาย ในขณะที่เราเดิน เมื่อฝ่าเท้าไปกระทบ เราจะสัมผัส ได้ว่าอ่อนหรือแข็ง พอใจหรือไม่พอใจ เช่นมนุษย์ ถ้าเดินในพื้นเรียบก็รู้สึกพอใจ แต่ถ้าเจอขรุขระก็รู้สึกไม่พอใจ เพราะฉะนั้นถ้าเราเดินในที่ขรุขระ เราก็จะไม่พอใจ ทำให้จิตเป็นอกุศล เราก็เปลี่ยนมาเดินในที่เรียบ เพื่อให้เกิดความพอใจ เพื่อให้จิตเป็นกุศล ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ให้มองในแง่ดีว่าเราก็แค่เดินผ่านแค่ชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ในทางที่ขรุขระ ก็จะถอนทั้งความพอใจและไม่พอใจออกไปได้ เพราะชีวิตเราคงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป ต้องประสบกับสุขบ้างหรือทุกข์บ้างเป็นเรื่องธรรมดา หรือเจอกับอากาศ เย็นบ้าง หรือ ร้อนบ้าง ถ้าเย็น ก็หาผ้ามาใส่ ถ้าร้อนก็ไปอาบน้ำ หรือเรียกลักษณะนี้ว่า การรู้ตัวทั่วพร้อม และรู้จักการแก้ปัญหาเมื่อเวทนามันเกิด ซึ่งลักษณะของธรรมมะอาจยกตัวอย่างในลักษณะที่ว่า พอเราตื่นขึ้นตอนเช้าเราก็รู้สึกหิว ความหิวนั้นเป็นทุกข์ เมื่อเราได้กินทุกข์ก็ดับ เข้าสู่ความปกติก็คือไม่หิว พอกลางวันก็หิวอีก พอได้กินความหิวก็ดับ พอตอนเย็นก็หิวอีก(ความหิวเป็นทุกข์) พอได้กินอิก ความหิวก็ดับเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะฉะนั้นเราก็จะเห็นได้ว่ามีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิด กับทุกข์เท่านั้นที่ดับ แล้วไอ้ที่ว่าสุขมันอยู่ตรงไหน เหมือนกันเวลาเราไม่สบาย เราก็เป็นทุกข์ พอเราได้กินยา เราก็หาย ทุกข์ก็ดับ เข้าสู่ภาวะปกติ เพราะฉะนั้นวิธีแก้หิวคือ ถ้าเราจะรู้สึกจะต้องรู้สึกหิวตอนแปดโมงเช้าเราก็กินมันตอน เจ็ดโมงห้าสิบ ความหิวมันก็ไม่เกิด หากไม่อยากเจ็บป่วย ไม่สบาย ก็ควรหมั่นออกกำลังกาย วิธีแก้ทุกข์มันก็แค่นี้เอง เขาเรียกสภาวธรรมตามความเป็นจริง <o:p></o:p>
    ใจ เมือมีเวทนาเกิด ก็รับรู้ว่า นี่คือ สุข หรือทุกข์ พอใจหรือไม่พอใจอย่างไร แล้วก็ใช้ปัญญาแก้หรือหาอุบายออกจากทุกข์ดังที่อธิบายมาในตอนต้น<o:p></o:p>
    ลักษณะการเดินจงกลม มีสองลักษณะ<o:p></o:p>
    คือ 1 . เดินดูตามสภาวธรรม ที่อธิบายไปแล้วข้างต้น<o:p></o:p>
    2. เดินเพ่งพินิจดูจิตว่าตอนนี้มีอะไรติดค้างในจิต มีอะไรวิตกกังวลไหม จิตเป็นกุศล หรืออกุศล หรือ รู้สึกเฉย ๆ<o:p></o:p>
    ถ้ารู้สึกเฉย ๆ แสดงว่าอารมณ์ ปกติ แต่ถ้าผิดปกติ ก็ควรหาวิธีแก้อารมณ์นั้น เช่น เราอิจฉาคนอื่นที่เขาทำอะไรได้ดีกว่าเรา ก็ควรหาวิธีทำให้ได้ดีเหมือนเขา และเวลาเดินจงกลมก็เดินคิดหาวิธีที่จะทำให้ได้ดีเท่าเขา ถ้าใช้วิธีที่ผิดก็คือหาวิธีกลั่นแกล้งเขา หรือ ให้ร้ายเขา เพราะมนุษย์นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา แต่ว่าจะใช้ปัญญาในทางที่ผิดหรือถูกเท่านั้นเอง ข้อดีของการเดินพิจารณาก็คือสมาธิขณะเดินจงกรมนั้นตั่งอยู่ได้นาน เพราะจะไม่ค่อยเกิดอาการเมื่อยหล้าขึ้นง่ายเหมือนการนั่งสมาธิ เช่นกันหากเรารู้สึกเมื่อยเวลาเรานั่งก็ให้เปลี่ยนถ่ายอริยะบท แต่ก่อนมีจะเปลี่ยนท่า ให้เอาสติไปรู้ในตัวเวทนาว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พอเรานั่งไปอีกก็จะเกิดอาการเมื่อยอีก ก็กำหนดเช่นเดิม เพื่อให้เข้าใจว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เมื่อเกิดขึ้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา การละสังขารได้เป็นความสุขหรือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา จงอย่าดำรงชีวิตด้วยความประมาท จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสียแล้วเจริญธรรมขาว ผู้ใดละบุญ ละบาป ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทำร้ายใคร ประพฤติพรหมจรรย์ มีสติรู้เท่าทันอยู่กับปัจจุบัน เราเรียกผู้นั้นว่า ภิกษุ เรียกว่า สมณะ”<o:p></o:p>
    อานิสงค์การเดินจงกรม 5 อย่างคือ<o:p></o:p>
    1. เดินทางไกลได้ทน<o:p></o:p>
    2. อดทนต่อความเพียร<o:p></o:p>
    3. มีอาพาธน้อย<o:p></o:p>
    4. อาหารย่อยง่าย<o:p></o:p>
    5. สมาธิตั้งได้นานขณะเดินจงกรม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากนั้นก็เปลี่ยนกลับมาใช้อริยาบทในท่านั่ง(หรือไม่ก็ได้)<o:p></o:p>
    แล้วก็ละตัวรู้ (ในการพิจารณา) เข้าสู่ความสงบดั่งเดิม<o:p></o:p>
    การพิจารณาในหลักพุทธศาสนาไม่จำเป็นต้องพิจารณาซ้ำ<o:p></o:p>
    เปรียบเหมือนแพข้ามฝั่ง เมื่อใช้แพนั้นข้ามฝั่งแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  5. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิชชา 8 ความรู้ยิ่ง มีทั้งสิ้น 13 ตอนน่ะค่ะ
    อ่านให้เข้าใจในแต่ละตอนก่อนน่ะค่ะ แล้วค่อยลงมือปฎิบัติค่ะ..
     
  6. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิชชา 8 (ความรู้ยิ่ง) ตอนที่ 7<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลังจากที่เราเรียนรู้การนั่งสมาธิและการเดินจงกรม ไปแล้ว<o:p></o:p>
    ไม่ว่าสภาวะธรรมใดที่จะเกิดขึ้น ในขณะหลับตาก็ดีหรือลืมตาก็ดี ก็ให้มองดูเหมือนเราดูที่วีไม่นานก็จะดับไปเองในขณะหลับตาหากเกิดภาพและเสียงก็ให้รู้ว่านั่นคืออดีตของตัวเราหลักพุทธศาสนามีไว้ให้รู้ได้แค่นั้นคือสัญญาเก่าที่มีมาแต่เดิมแต่ไม่นานก็จะดับไป แต่ไม่ใช่การมองเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าอย่างที่เราเคยอาจได้ยิน เพราะญาณหรือความรู้ที่รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าเป็นเรื่อง<o:p></o:p>
    ปกติเช่นทำดี ไปสวรรค์ ทำชั่วไป นรก ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร หรือว่าเหมือนเรารู้สึกว่าไป<o:p></o:p>
    ปรากฎตัวที่ไหนสักแห่งที่เราไม่เคยรู้จัก ก็เดินเล่นสักพัก และก็แค่พูดกับตัวเองว่า (กลับน่ะ) ก็จะคืนสู่สภาวะปกติ ที่กล่าวมาอาจเป็นสภาวะธรรมที่จะเกิดกับนักปฏิบัติ เพื่อให้ได้รู้ว่า ถ้าเกิดแบบนี้จะแก้ปัญหาอย่างไร แต่ไม่ต้องกลัว ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น จะดับไปเอง โดยอัตโนมัติ เข้าสู่ภาวะปกติดั่งเดิม ต่อไปเราจะสอนวิปัสสนากรรมฐานเพื่อที่จะให้รู้จักการทำงานของขันธ์ ๕ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขันธ์ ๕<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การยึดมั่นถือมั่นในรูป ๑ สิ่งที่เห็น,กระทบ<o:p></o:p>
    การยึดมั่นถือมั่นในเวทนา ๑ ความรู้สึก<o:p></o:p>
    การยึดมั่นถือมั่นในสัญญา ๑ ความจดจำ<o:p></o:p>
    การยึดมั่นถือมั่นในสังขาร ๑ ปรุงแต่งจิต<o:p></o:p>
    การยึดมั่นถือมั่นในวิญญาณ ๑ การรับรู้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ขันธ์ ๕ เป็นอุปทานตัวรู้อารมณ์ทำให้เกิดกองทุกข์....<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อุปทาน เป็นได้ทั้งกุศลธรรมและอกุศลธรรม <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ไตรลักษณ์ ( สามัญลักษณะ 3 อย่าง )<o:p></o:p>
    ความไม่เที่ยง ๑<o:p></o:p>
    ความทุกข์ ๑<o:p></o:p>
    ความยึดมั่นถือมั่น ๑<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    อธิบายลักษณะการทำงานของขันธ์ ๕<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    การทำงานของขันธ์ ๕ นั้น มีลักษณะการเชื่อมต่อของอารมณ์ เปรียบเหมือนหลอดไฟ ๕ ดวง ที่มีสวิทปิดเปิดเพียงอันเดียว เมื่อขันธ์ใดขันธ์หนึ่งทำงาน หลอดไฟก็จะติดขึ้นพร้อมกันทั้งหมด<o:p></o:p>
    จะอธิบายลักษณะของการทำงานของขันธ์ ๕ โดยยกเอาเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง เรื่อง ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ในสมัยก่อนมีชายหญิงคู่หนึ่ง เป็นแม่ลูกกัน ทั้งสองมีอาชีพทำนา ลูกชายมีหน้าที่ทำนา ส่วนแม่มีหน้าที่หุงหาอาหาร ไปส่งให้ลูกชาย ทุกอย่างเป็นไปตามปกติ จนกระทั่งวันหนึ่ง ด้วยเหตุผลใดไม่ทราบ เมื่อถึงเวลาพักกลางวัน ซึ่งได้เวลารับประทานอาหาร ผู้เป็นแม่มาช้าผิดปกติ ทำให้ลูกชายที่ทำงานอย่างหนัก ทั้งทำนา ตากแดด เกิดอาการหิวเมื่อถึงเวลาทานอาหารแล้วไม่ได้ทาน เวทนาเกิดแรงกล้า เพราะทั้งเหนื่อยและหิว พอแม่เดินมาถึง มองเห็นกล่องข้าวที่แม่ถือมาให้ เมื่อตาไปกระทบรูป ทำให้จิตคิดปรุงแต่งไปว่า กล่องข้าวแค่นี้คงไม่ทำให้เราอิ่มแน่ จากความทุกข์ที่มีความหิวเป็นทุนเดิม บวกกับเมื่อตาไปกระทบรูป ทำให้จิตปรุงแต่งไปว่า คงไม่ทำให้เวทนาที่มีอยู่คลายลงไปได้ สัญญาที่มีอยู่ไม่ทำหน้าที่จดจำ (จดจำหมายถึง อาหารเพียงแค่นี้เพียงพอที่เคยทาน) ส่งผลให้สติไม่ควบคุมวิญญาณตัวรู้ เมื่อสติตามอารมณ์ไม่ทัน ความจำที่มีอยู่ว่า บุคคลนี้เป็นผู้ให้กำเหนิด เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู สัญญาหยุดทำงานอีกครั้ง เมื่อการปรุงแต่งเวทนาดำเนินต่อ ทำให้เกิด โลภะ คืออยากได้มากกว่าเดิม เกิดโทสะเพราะความหิว เกิดโมหะคือ ความหลงควบคุมสติไม่ได้ จึงใช้ไม้ที่มีอยู่ข้างตัวฟาดไปที่ศรีษะของบุพการี เพียงแค่อยากระบายโทสะ เสร็จแล้ว เมื่อได้มานั่งทานอาหาร เมื่อท้องอิ่มแต่กลับปรากฏว่า ทานข้าวในกล่องนี้ไม่หมด นี่คือผลของการไปปรุงแต่รูปทำให้เกิดทุกข์ สำนึกผิดรีบเข้าไปหาเพื่อหวังที่จะขอโทษบุพการี แต่อนิจจา มันสายเกินไปเสียแล้ว ด้วยสติที่หลงอารมณ์ไปเพียงชั่วขณะได้ทำกรรมหนักไปเสียแล้วกล่าวคือ มาตาปิตุฆาต ฆ่าได้แม้กระทั่ง ผู้เป็นมารดา วิญญาณและสัญญาที่เป็นตัวรู้ผลการกระทำของอารมณ์หรือตัวจดจำเรื่องราวต่าง ๆ เริ่มทำงาน การกระทำในครั้งนี้ เมื่อตายไปท้าวเวชสุวรรณไม่รอช้า ตัดสินให้ตกลงสู่นรกอเวจีโดยไม่มีข้อต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น มิอาจกลับคืนมาได้อีก รอจนกว่าจะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ซึ่งนับว่าเป็นการยากยิ่ง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กรรมหนัก ๕ อย่าง ซึ่งให้ผลทันที ก็คือ<o:p></o:p>
    การฆ่าบิดา ๑<o:p></o:p>
    การฆ่ามารดา ๑<o:p></o:p>
    การฆ่า(คนดี) พระอรหันต์ ๑<o:p></o:p>
    การทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงโลหิตห้อขึ้นไป ๑<o:p></o:p>
    การยังสงฆ์ให้แตกแยกกัน (กรณีบุคคล คือการทำคนดีให้แตกแยกกัน) ๑<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเราเข้าใจหลักการทำงานของมันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณไหนเอามาวิเคราะห์เทียบเคียงก็จะมีลักษณะเดียวกัน<o:p></o:p>
    เมื่อรู้จักขันธ์ ๕ แล้ว ก็ละตัวรู้เข้าสู่ความสงบต่อไป แล้วก็นั่งสมาธิหรือเดินจงกรมตามความดำริของแต่ละท่าน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    "ทำดี..ละชั่ว แล้วละดี..อีกที ไม่มี..ที่เกิด ดับขันธ์..นิพพาน,จบ"<o:p></o:p>
     
  7. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิชชา 8 (ความรู้ยิ่ง) ตอนที่ 8<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลักสมาธิในชั้นสมาบัติได้กล่าวไว้หมดแล้ว ก็ทบทวนขั้นตอนเดิมการนั่นสมาธิไม่จำเป็นต้องนาน แต่ถ้านั่งให้ถูกตามหลักการก็จะเห็นผลได้ไว และที่สำคัญเรื่องนี้เป็นสิ่งที่รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนไม่ควรนำมาอวดกัน ต่อไปเราจะมารู้จักวิปัสสนากรรมฐาน ในมหาสติปัฏฐานสูตร เพื่อที่จะได้รู้จักการจำแนกรูปและนาม ตามหลักอริยะมรรคเพื่อเป็นฐานในการฝึกอภิญญาในขั้นต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มหาสติปัฏฐานสูตร<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    กายในกาย <o:p></o:p>
    เวทนาในเวทนา<o:p></o:p>
    จิตในจิต<o:p></o:p>
    ธรรมในธรรม<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เป็นการจับคู่ของอายตนะภายนอกซึ่งส่งต่อมายังอายตนะภายใน <o:p></o:p>
    (อาการ 12) ซึ่งทำให้เราเห็นจิตที่เป็นกุศลและอกุศลอย่างชัดเจน <o:p></o:p>
    อายตนะ ๑๒ คือ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ตา สิ่งที่มากระทบคือ รูป<o:p></o:p>
    หู สิ่งที่มากระทบคือ เสียง<o:p></o:p>
    จมูก สิ่งที่มากระทบคือ กลิ่น<o:p></o:p>
    ลิ้น สิ่งที่มากระทบคือ รส<o:p></o:p>
    กาย สิ่งที่มากระทบคือ สัมผัส<o:p></o:p>
    ใจ สิ่งที่มากระทบคือ อารมณ์<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    มหาสติปัฏฐาน ๔ จะเปรียบเทียบถึงอาหารจานหนึ่งให้ฟัง<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    (*รูปไม่สวยแต่อาหารอร่อย*) (* รูปสวยแต่อาหารไม่อร่อย*)<o:p></o:p>
    (*รูปไม่สวยอาหารก็ไม่อร่อย*) (*รูปสวยอาหารก็อร่อย*)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จะเปรียบเทียบ ในสูตรของรูปไม่สวยแต่อาหารอร่อยให้พิจารณา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเราเข้าไปร้านอาหารร้านหนึ่ง เมื่ออาหารมาอยู่ตรงหน้า กับมองเห็นรูปที่ไม่สวย (หมายถึงทำไม่น่ากิน) เกิดสัมผัสแรกคือทางตา ทำให้จิตเราคิดไปว่า ทำไม่น่ากินคงจะไม่อร่อย แต่เมื่อเราลองกินเข้าไปแล้ว อาหารกับอร่อย ซึ่งไม่เหมือนกับความรู้สึกแรก นั่นคือการที่เราไปปรุงแต่งรูป ทำให้เกิดทุกข์ แต่เมื่อเรากินข้าวไปแล้ว ลิ้นเมื่อลองรสแล้วรู้สึกอร่อย ก็เปลี่ยนเป็นความรู้สึกทางด้านความสุข เพราะฉะนั้นเราจะเห็นการพิจารณากายในกาย ก็คือ ตาทำหน้าที่ปรุงแต่งด้านทุกข์ ส่วนลิ้นทำหน้าที่รับความสุข สุขและทุกข์นั้นแหละ คือเวทนาในเวทนา จิตสองตัวก็จะทำหน้าที่สลับกัน คือสุข ก็คือกุศล และทุกข์ ก็คืออกุศล จิตที่เป็นกุศลและอกุศลนั้นแหละก็คือ ธรรมในธรรมและนี่คือ มรรค ๗ (ความระลึกชอบ) ก็คือ ฝ่ายหนึ่งคือความพอใจ อีกฝ่ายหนึ่ง คือความไม่พอใจ เราจึงถอนความพอใจ และความไม่พอใจออกพร้อมกันในคราวเดียว ชี้ให้เห็นว่าการที่เราเอาจิตไปสัมผัสอะไรสักอย่าง มันจะต้องมีทั้งสุขและทุกข์ คือเราจะรู้สึกทุกข์และเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (ซึ่งเราเป็นผู้ปรุงแต่งมันทั้งสิ้น)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    * แต่เมื่อเรา เจอทั้งรูปสวยและอาหารอร่อย ก็คือ เป็นกุศลทั้งสองฝั่ง เราควรพอกพูนอาการนั้นไว้ เพราะสิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นยากในโลกใบนี้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    * แต่เมื่อเรา เจอรูปไม่สวยแต่อาหารอร่อย ก็คือ ฝึกให้เราไม่ปรุงแต่งทางตา เพราะเอตักตา หรือตัวรู้นั้นมีให้รู้ว่า เนื้อแท้ของสิ่งๆ นั้นคืออะไร คือคุณค่าที่แท้จริงของอาหาร คือ ความอร่อยและประโยชน์ที่ได้รับ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    * แต่เมื่อเรา เจอรูปสวยแต่อาหารไม่อร่อย (โดยจิตปกติของมนุษย์จะคิดว่า เมื่อรูปสวยอาหารต้องอร่อยแน่ นั่นแหล่ะ ! ที่เราเรียกว่าการยึดมั่นถือมั่นในรูป) แต่เพียงแค่เราเข้าไปลองชิมครั้งเดียว เราก็ไม่อยากเข้าอีก (แต่ก็ยังคงมีคนหลงในรูปเข้าไปกิน แต่ไม่นานร้านนี้ก็จะถูกปิด)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    * แต่เมื่อเรา เจอทั้งรูปไม่สวยและอาหารไม่อร่อย ร้านนั้นจะถูกปิดในไม่ช้า นั้นหมายถึง เป็นอกุศลทั้งรูปและนามและนี่คือ มรรค ๖ (ความเพียรชอบ) ที่จะละอกุศลธรรมที่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น และประคองกุศลธรรมที่เกิดขึ้น<o:p></o:p>
    ต่อไปเราจะใช้อริยมรรค ๖ และ ๗ ทำให้เกิดอริยมรรค ๘ นั่นคือฌานทั้ง ๔ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ฌาณ ๑ ปฐมฌาน วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอทัคคตา <o:p></o:p>
    ฌาน ๒ ทุติยฌาน ปิติ สุข <o:p></o:p>
    ฌาน ๓ ตติยฌาน วางเฉย สติ ปกติ แสวงสุขด้วย นามกาย (ความสุขใจ) <o:p></o:p>
    ฌาน ๔ จตุตถฌาน เพราะละสุข ละทุกข์เสียได้เพราะรู้ว่าธรรมชาติเป็นอย่างนั้น <o:p></o:p>
    ประโยชน์ของมันคือสิ่งๆ นั้น กุศลธรรมในตัวมันคือสิ่งนั้น<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ย้อนกลับไปในเรื่องการพิจารณาในเรื่องของอาหาร เราจะเห็นสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจน ทั้งการปรุงแต่งทั้งรูปและนาม นั่นก็คือการจำแนกรูปและนามอย่างชัดเจน หรือฌาน ๑ ก็คือ วิตก วิจารณ์ การปรุงแต่งทางตา และการปรุงแต่งทางลิ้น การบรรลุธรรมนั้น ไวยิ่งกว่าแมลงกระพือปลีก เมื่อเราใช้การนำเอากุศลมาซ้อนทับอกุศลไม่ให้เกิด ก็คือให้พิจารณา ถึงแม้รูปจะไม่สวย แต่อาหารก็อร่อย นั้นคือตัวรู้ของประโยชน์ในสิ่งนั้นอย่างแท้จริง จะไม่สนใจในรูปเพราะเราเข้าใจธรรมชาติของมัน แล้วก็ละตัวรู้นั้น (เหมือนเมื่อเรากินอาหารเข้าไปแล้ว ในคำแรก รู้ว่ารสชาติมันอร่อย คำต่อไปก็ไม่ต้องพิจารณาอีก) ดั่งที่กล่าวมาข้างต้น ฌาน ๑ ถึง ๔ จะทำงานโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๖ ก็จะทำงานโดยอัตโนมัติ เช่นกันกล่าวง่ายๆ ก็คือว่า การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ก็คือ การมองโลกในแง่ดี <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเราเรียนรู้จักมหาสติปัฏฐานสูตรแล้ว ไม่ว่าเป็นเรื่องใดก็ใช้เทียบเคียงได้เหมือนกัน<o:p></o:p>
    และก็ล่ะตัวรู้ เข้าสู่ความสงบ ตามแต่เวลาของแต่ล่ะท่าน<o:p></o:p>
     
  8. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิชชา 8 (ความรู้ยิ่ง) ตอนที่ 9<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เราก็ได้เรียนรู้การฝึกสมาธิไปในทุกขั้นตอนแล้ว ก็ปฎิบัติไปตามขั้นตอนเดิมทุกครั้ง<o:p></o:p>
    วันนี้เราจะมาเรียนรู้ เรื่องรูปกับนามต่อจากตอนที่แล้ว เพื่อให้เพิ่มความเข้าใจมากขึ้น<o:p></o:p>
    และใช้เป็นพื้นฐานในการฝึกอภิญญาในการทายใจผู้อื่น เพราะต้องเข้าใจสภาวะธรรม<o:p></o:p>
    ที่เป็นกลางก่อน ในวิปัสสนากรรมฐานของมหาสติปัฏฐานสูตร<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความแตกต่างระหว่าง รูปและนาม กับความเป็นคน<o:p></o:p>
    รูป ในที่นี้หมายถึง รูปร่างหน้าตารวมถึงบุคลิกภาพ<o:p></o:p>
    นาม ในที่นี้หมายถึง ลักษณะนิสัยใจคอ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๑.รูปดี............นิสัยดี<o:p></o:p>
    ๒.รูปดี............นิสัยไม่ดี<o:p></o:p>
    ๓.รูปไม่ดี........นิสัยดี<o:p></o:p>
    ๔.รูปไม่ดี....... นิสัยไม่ดี <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คนที่น่ากลัวที่สุดในที่นี้คือ รูปดี..นิสัยไม่ดี ส่วนใหญ่คนที่หลงในรูปก็จะเกิดอันตรายกับคนประเภทนี้ เพราะไม่ศึกษานิสัยใจคอกันก่อนบางทีบางรายก็อาศัยการสร้างภาพ หลอกลวงคนอื่นประเภทตีหน้าเศร้า..เล่าความเท็จ หมกเม็ด..ตลอด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ส่วนคนที่ รูปดี..นิสัยดี ก็ต้องเรียกว่าครบสูตร ซึ่งหาได้ยากยกตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าของเรา ที่ถึงพร้อมด้วยวิชาจรณะคือทั้ง ความรู้ และความประพฤติ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ส่วนคนที่ รูปไม่ดี..แต่นิสัยดี คนประเภทนี้คบได้สบายใจและเป็นการฝึกไม่ให้เราไปหลงในรูป...เพราะว่า สังขารมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากเด็ก เป็นผู้ใหญ่ เป็นวัยชรา หน้าตาคนเราก็ย่อมเปลี่ยนไปเป็นธรรมดาคนที่คิดจะเลือกคู่ครอง ถ้าเลือกคนประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะอยู่กันได้นาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ส่วนคนรูปไม่ดี...นิสัยไม่ดี ส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้รับความสนใจตั่งแต่แรกเพราะไม่ว่า บุคลิกหรือท่าทาง ส่อแววให้เห็นแต่ที่แรก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะฉะนั้นจะรู้ว่าเป็นคนดี ควรคบหรือไม่ ก็ต้องใช้เวลา<o:p></o:p>
    ดั่งสุภาษิตที่ว่า "อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง"<o:p></o:p>
    สาระสำคัญมันอยู่ตรงที่ว่า เราอย่าไปยึดมั่นว่าเขาเป็นหญิงหรือชาย<o:p></o:p>
    คนมีหรือคนจน พิการหรือสมบูรณ์ เพราะความเป็นคนวัดกันที่ความดี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเข้าใจการจำแนกแบบนี้แล้ว เมื่อเทียบกับสิ่งต่าง ๆ ก็จะเข้ากันได้ทั้งหมด<o:p></o:p>
    เพียงเราค้นหาว่า กุศลธรรมมันคืออะไร อย่างเช่นนาฬิกาไม่ว่าจะแพงแค่ไหน<o:p></o:p>
    สวยแค่ไหน มันก็แค่ใช้ใส่ไว้ดูเวลาเหมือนกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แล้วก็ละตัวรู้..เข้าสู่ความสงบในขั้นตอนของสมาธิต่อไป<o:p></o:p>
     
  9. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิชชา 8 (ความรู้ยิ่ง) ตอนที่ 9<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เราก็ได้เรียนรู้การฝึกสมาธิไปในทุกขั้นตอนแล้ว ก็ปฎิบัติไปตามขั้นตอนเดิมทุกครั้ง<o:p></o:p>
    วันนี้เราจะมาเรียนรู้ เรื่องรูปกับนามต่อจากตอนที่แล้ว เพื่อให้เพิ่มความเข้าใจมากขึ้น<o:p></o:p>
    และใช้เป็นพื้นฐานในการฝึกอภิญญาในการทายใจผู้อื่น เพราะต้องเข้าใจสภาวะธรรม<o:p></o:p>
    ที่เป็นกลางก่อน ในวิปัสสนากรรมฐานของมหาสติปัฏฐานสูตร<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ความแตกต่างระหว่าง รูปและนาม กับความเป็นคน<o:p></o:p>
    รูป ในที่นี้หมายถึง รูปร่างหน้าตารวมถึงบุคลิกภาพ<o:p></o:p>
    นาม ในที่นี้หมายถึง ลักษณะนิสัยใจคอ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ๑.รูปดี............นิสัยดี<o:p></o:p>
    ๒.รูปดี............นิสัยไม่ดี<o:p></o:p>
    ๓.รูปไม่ดี........นิสัยดี<o:p></o:p>
    ๔.รูปไม่ดี....... นิสัยไม่ดี <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    คนที่น่ากลัวที่สุดในที่นี้คือ รูปดี..นิสัยไม่ดี ส่วนใหญ่คนที่หลงในรูปก็จะเกิดอันตรายกับคนประเภทนี้ เพราะไม่ศึกษานิสัยใจคอกันก่อนบางทีบางรายก็อาศัยการสร้างภาพ หลอกลวงคนอื่นประเภทตีหน้าเศร้า..เล่าความเท็จ หมกเม็ด..ตลอด<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ส่วนคนที่ รูปดี..นิสัยดี ก็ต้องเรียกว่าครบสูตร ซึ่งหาได้ยากยกตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าของเรา ที่ถึงพร้อมด้วยวิชาจรณะคือทั้ง ความรู้ และความประพฤติ<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ส่วนตนที่ รูปไม่ดี..แต่นิสัยดี คนประเภทนี้คบได้สบายใจและเป็นการฝึกไม่ให้เราไปหลงในรูป...เพราะว่า สังขารมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากเด็ก เป็นผู้ใหญ่ เป็นวัยชรา หน้าตาคนเราก็ย่อมเปลี่ยนไปเป็นธรรมดาคนที่คิดจะเลือกคู่ครอง ถ้าเลือกคนประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะอยู่กันได้นาน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ส่วนคนรูปไม่ดี...นิสัยไม่ดี ส่วนใหญ่ก็จะไม่ได้รับความสนใจตั่งแต่แรกเพราะไม่ว่า บุคลิกหรือท่าทาง ส่อแววให้เห็นแต่ที่แรก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เพราะฉะนั้นจะรู้ว่าเป็นคนดี ควรคบหรือไม่ ก็ต้องใช้เวลา<o:p></o:p>
    ดั่งสุภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง<o:p></o:p>
    สาระสำคัญมันอยู่ตรงที่ว่า เราอย่าไปยึดมั่นว่าเขาเป็นหญิงหรือชาย<o:p></o:p>
    คนมีหรือคนจน พิการหรือสมบูรณ์ เพราะความเป็นคนวัดกันที่ความดี<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อเข้าใจการจำแนกแบบนี้แล้ว เมื่อเทียบกับสิ่งต่าง ๆ ก็จะเข้ากันได้ทั้งหมด<o:p></o:p>
    เพียงเราค้นหาว่า กุศลธรรมมันคืออะไร อย่างเช่นนาฬิกาไม่ว่าจะแพงแค่ไหน<o:p></o:p>
    สวยแค่ไหน มันก็แค่ใช้ใส่ไว้ดูเวลาเหมือนกัน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แล้วก็ละตัวรู้..เข้าสู่ความสงบในขั้นตอนของสมาธิต่อไป<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p> </o:p>
    ติดตามตอนต่อไปในตอนที่ 10<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิชชา 8 (ความรู้ยิ่ง) ตอนที่ 10<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เราเรียนรู้การฝึกสมาธิไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนรู้ประโยชน์จากการ<o:p></o:p>
    ไม่ยึดติดรูปและนาม<o:p></o:p>
    ตามหลักของขันธ์ ๕ และ ทาน ศีล ภาวนา ทำให้ท่าน มีทรัพย์ได้อย่างไร<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าวันนี้เราต้องการจะซื้อเก้าอี้ ซักชุด แต่เรามีเงิน เพียงแค่ 2,000 บาท<o:p></o:p>
    แต่เราไปเจอ เก้าอี้ พลาสติก ชุดแรก ราคา 500 บาท <o:p></o:p>
    เก้าอี้ไม้ ชุดล่ะ 1500 บาท เก้าอี้ โซฟา ชุดล่ะ 3000 บาท<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ถ้าเราซื้อเก้าอี้ ชุดแรก ราคา 500 บาท เราเหลือเงิน 1500 บาท<o:p></o:p>
    ถ้าเราซื้อเก้าอี ชุดสอง ราคา 1500 บาท เราเหลือเงิน 500 บาท<o:p></o:p>
    ถ้าเราซื้อเก้าอี้ ชุดสาม ราคา 3000 บาท เราเป็นหนี้อีก 1000 บาท<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    โดยปกติมนุษย์ไม่ได้ซื้อของโดยคำนึงถึงความจำเป็น แต่มักจะซื้อ<o:p></o:p>
    ที่ความหรูหราและสวยงาม จึงมักใช้ของที่มีราคาแพง เกิดจากเมื่อ<o:p></o:p>
    ตา ไปกระทบรูป<o:p></o:p>
    เวทนา เกิดความสุข ความพอใจ <o:p></o:p>
    ไปลืมสัญญาว่า เก้าอี้มันใช้แค่ใช้นั่งเท่านั้น<o:p></o:p>
    เกิดการปรุงแต่งจิตว่า ซื้อสินค้าราคาแพงและหรูหราจะดีกว่า<o:p></o:p>
    วิญญาณ ก็รับรู้ว่ามันสุข แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเราไม่ไปซื้อแต่ไปขโมย<o:p></o:p>
    วิญญาณก็เป็นทุกข์ เพราะต้องไปใช้กรรมในนรก (ดั่งที่เคยเขียนการทำงาน<o:p></o:p>
    ของขันธ์ 5 ในตอน ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ให้ได้อ่านกันไปแล้ว)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    แต่ถ้าเราคำนวณเป็น เราจะเลือกซื้อเก้าอี้ราคา 500 บาท เพื่อเหลือเงินอีก 1500 บาท<o:p></o:p>
    นำไป บริจาคทาน ซัก 50 บาท เก็บไว้ขึ้นสวรรค์ เหลืออีก 1450 บาทไว้ใช้ในโลก<o:p></o:p>
    เขาเรียกคนฉลาดใช้ เพราะเก้าอี้มันมีไว้นั่งเท่านั้น ไม่นานมันก็ต้องพังเหมือนกัน<o:p></o:p>
    (เพราะสิ่งของทั้งหลายก็มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา แต่อยู่ที่ผู้รักษามากกว่า <o:p></o:p>
    ทำให้มันสะอาดดูดี ก็พอ) แต่ส่วนใหญ่มักจะซื้อมาอวดกันเพราะกลัวการดูถูก<o:p></o:p>
    สุดท้ายบางรายไปเป็นหนี้เป็นสินก็มี เพราะติดใน(รส)นิยม ถึงแม้รูปมันจะไม่สวย <o:p></o:p>
    เอาไปอวดใครไม่ได้ แต่รู้จักกินจักใช้ ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในรูปและนาม ก็สร้าง<o:p></o:p>
    ความร่ำรวยได้ แถมยังได้สะสมความดีจากทานไว้ขึ้นสวรรค์หรือไม่ก็ละความดี<o:p></o:p>
    เพื่อเข้าสู่นิพพาน แถมยังเหลือเงินเก็บอีกต่างหาก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เขาจึงเรียกคนประเภทนี้ว่า "ผ้าขี้ริ้ว ห่อทอง"<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อพิจารณาข้อดีของการไม่ยึดติดรูปและนามแล้ว ก็ละตัวรู้เข้าสู่ความสงบต่อไป<o:p></o:p>
     
  10. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิชชา 8 (ความรู้ยิ่ง) ตอนที่11<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลังจากเราเรียนรู้การนั่งสมาธิ ตั่งแต่ต้นจนจบแล้ว การนั่งสมาธินั้น<o:p></o:p>
    ไม่จำเป็นต้องนั่งนาน แต่จำเป็นต้องนั่งให้ถูกวิธี จะเห็นผลได้ดีและถูกต้อง<o:p></o:p>
    และเป็นการผักผ่อนจิต ตรวจสอบและแก้ไขตัวเอง จากการกระทำที่ผิด<o:p></o:p>
    ให้เป็นถูก ต่อไปเราจะทบทวนในเรื่อง ฌาน 4 เพื่อใช้ในการวิเคราะห์<o:p></o:p>
    ลักษณะนิสัย ในอภิญญาในชั้น ทายใจผู้อื่น<o:p></o:p>
    ฌาน 4 ซึ่งประกอบไปด้วย (วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอทัคคตา)<o:p></o:p>
    ยกตัวอย่าง เช่น เราจะเลือกประกอบอาชีพ เพื่อให้ได้มาซึ่งอาหาร<o:p></o:p>
    ถ้าเราประกอบอาชีพสุจริตเราก็ได้เงินมาซื้ออาหารเหมือนกัน<o:p></o:p>
    ประกอบอาชีพทุจริตก็ได้เงินมาซื้ออาหารเหมือนกัน<o:p></o:p>
    ระหว่างที่เราคิดว่าเราจะทำอย่างไรที่จะได้เงินมานั้น เขาเรียกกันว่า วิตก วิจารณ์<o:p></o:p>
    หากเราตัดสินใจประกอบอาชีพสุจริต ก็จะเกิด ปีติ และสุข เพราะหมายถึง เราเป็นคนดี <o:p></o:p>
    เป็นที่ยอมรับของสังคม ต่างจากเราเลือกประกอบอาชีพทุจริต ซึ่งหมายถึงเราเป็นคนชั่ว<o:p></o:p>
    เป็นที่ไม่ยอมรับของสังคม ความรู้นี้แหล่ะจึงเรียกว่า เอทัคคตา หรือรู้ว่าอะไรควรทำ <o:p></o:p>
    อะไรไม่ควรทำ ก็คือ การใช้ชีวิตในด้านดี ด้านบวก หรือเรียกว่า การมองโลกในแง่ดี <o:p></o:p>
    เมื่อเราตัดสินใจทำความดี จิตเราก็จะเกิดสุข เพราะรู้แล้วว่าการทำดีส่งผลให้ไปสวรรค์<o:p></o:p>
    ส่วนการทำชั่วนั้นส่งผลให้ไปนรก<o:p></o:p>
    คนเรานั้นมีทางเลือกเพียงแค่ 2 ทางก็คือ เลือกที่จะเป็นคนดี หรือเลือกที่จะเป็นคนเลว<o:p></o:p>
    เมื่อเลือกที่จะเป็นคนดี ก็เกิด ปีติและสุข ตามมาด้วย เอกัคคตา หรือตัวรู้ <o:p></o:p>
    (เพราะรู้แล้วว่าการเป็นคนดีเป็นที่ยอมรับของสังคม)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เมื่อมีตัวรู้แล้ว ก็ละตัวรู้ เข้าสุ่ความสงบในขั้นตอนของสมาธิต่อไป<o:p></o:p>
    หรือจะสลับกับการเดินจงกรม เพื่อผ่อนคลาย ก็แล้วแต่จริตของแต่ล่ะท่าน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ทำดี..ได้ความสุข ละดี..ได้ความสงบ อยู่จบ..พรหมจรรย์ (นิพพาน)<o:p></o:p>
     
  11. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิชชา 8 (ความรู้ยิ่ง) ตอนที่ 12<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    เราได้เรียนรู้จักกับการฝึกสมาธิไปแล้ว ต่อไปเราก็จะมารู้จักการวิเคราะห์อุปนิสัยของคน ในมลทิน ๙ อย่าง<o:p></o:p>
    ของมนุษย์ โดยอาศัยหลักความรู้ใน ฌาน 4 มาเป็นองค์ประกอบ ในการพิจารณา หลักการพุทธศาสนาจะ<o:p></o:p>
    วางไว้ เป็น 2 แง่ ซึ่งเปรียบเหมือนเหรียญที่มี 2 ด้าน ถ้าไม่ขาวก็ดำ การวิเคราะห์ว่าบุคคลนั้นเป็นคนเช่นไร<o:p></o:p>
    ต้องอาศัยจิตที่เป็นกลาง คือไม่มีความลำเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เรามาดูลักษณะธรรมที่มีลักษณะตรงข้ามกัน <o:p></o:p>
    โกรธ ธรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามก็คือ เมตตา (จิตใจอ่อนโยน)<o:p></o:p>
    หลบหลู่ ธรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามก็คือ อ่อนน้อมถ่อมตน<o:p></o:p>
    ริษยา ธรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามก็คือ มุทิตา (อนุโมทนาการกระทำดีของผู้อื่น)<o:p></o:p>
    ตระหนี่ ธรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามก็คือ ทาน (บริจาค)<o:p></o:p>
    มายา ธรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามก็คือ ไม่มีมายา (ไม่หลอกลวง)<o:p></o:p>
    โอ้อวด ธรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามก็คือ ไม่โอ้อวด (ไม่พูดเกินความเป็นจริง)<o:p></o:p>
    พูดปด ธรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามก็คือ มีสัจจะ<o:p></o:p>
    มักมาก ธรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามก็คือ มักน้อย หรือพอเพียง <o:p></o:p>
    หลงไม่รู้ ธรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามก็คือ รู้แจ้ง..มีเหตุและผล<o:p></o:p>
    ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของธรรมมะดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็เป็นเรื่องไม่อยากที่เราจะพอรู้ว่าคน ๆ นั้นมีนิสัย<o:p></o:p>
    ใจคออย่างไร แต่อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่านิสัยเหล่านี้จะต้องเป็นลักษณะนิสัยของเขาตลอดไปทุกอย่างมีการเปลี่ยน<o:p></o:p>
    แปลงได้ตลอดเวลา คนดีก็อาจกลับกลายเป็นคนเลวได้ คนเลวก็อาจเป็นคนดีได้ เพียงแค่เราอาจจะอาศัยหลัก<o:p></o:p>
    เกณฑ์นี้ได้เป็นครั้งเป็นคราวเท่านั้น แต่อย่าไปยึดมั่นถือมั่น เช่นถ้าเขาเป็นคนชอบบริจาคทาน ก็แสดงว่า เขา<o:p></o:p>
    ไม่ใช่คนตระหนี่ ก็แสดงว่าจิตใจเขาเป็นคนดี แค่นี้เองคือหลักกายทายใจผู้อื่น แต่ที่สำคัญ ก็คือ ต้องสังเกต<o:p></o:p>
    และจดจำ อย่างมีเหตุและมีผล และ ฝึกเป็นประจำคือ ให้เราลองดูพฤติกรรมว่า ถ้าเป็นลักษณะแบบนี้น่า<o:p></o:p>
    จะมีนิสัยใจคอแบบนี้ (คิดในใจ)จนเกิดความชำนาญ เหมือนคนโลภก็จะพูดลักษณะอย่างหนึ่ง คือพูดคิดที่<o:p></o:p>
    จะเอาอย่างเดียว ตรงข้ามกับคนที่มีน้ำใจก็จะมี ลักษณะของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อยู่เป็นประจำ<o:p></o:p>
    สรุปคือว่า ถ้าเราอาศัยประสบการณ์ในกรณีที่เราได้พบปะผู้คนบ่อย ๆ ก็พอจะเข้าใจได้ไม่ยาก<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    จากนั้นก็ละตัวรู้ เช้าสู่ความสงบ ในขั้นตอนของสมาธิ แล้วแต่จริตของแต่ละท่าน <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
     
  12. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    หลักสูตรการฝึก อภิญญา 6 และวิขขา 8 (ความรู้ยิ่ง) ตอนสุดท้าย<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    หลังจากที่เราได้เรียนรู้ชั้นตอนทั้งหมดในกรรมฐาน ต่าง ๆ แล้ว<o:p></o:p>
    การพิจาณาธรรมตามหลักศาสนานั้น คือให้เห็นตามความเป็นจริงเท่านั้น<o:p></o:p>
    การพิจารณาขั้นสุดท้ายก็คือ<o:p></o:p>
    ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็แล้วแต่ ก็ยังหนีความเป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ไปไม่ได้<o:p></o:p>
    ไม่ว่าจะเป็นปุถุชน ไม่ว่าสาขาอาชีพใดก็ตาม คนมีก็ดี คนจนก็ดี แม้พระพุทธเจ้าเองก็ตาม<o:p></o:p>
    ก็ยังมีคนคอยจ้องทำร้าย คอยใส่ร้าย ยังต้องแสวงหาอาหารมีความเจ็บป่วยเหมือนกันทุกราย<o:p></o:p>
    ซึ่งทั้งหมดทั้งสิ้นล้วนแล้วแต่เป็นภัยในวัฏฏะสงสาร จะหยุดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้คือ เข้าสู่นิพพาน<o:p></o:p>
    ในชั้นสวรรค์นั้นมีแต่ความสุข ส่วนในนรกมีแต่ความทุกข์ ส่วนโลกมนุษย์นี้มีทั้ง สุขและทุกข์<o:p></o:p>
    แต่ธรรมชาติของมันตั่งอยู่ที่ความทุกข์ คือความต้องการ เมื่อความต้องการสิ้นสุดทุกข์ก็ดับ<o:p></o:p>
    เช่นเมื่อเราต้องการอาหาร เราก็เป็นทุกข์ พอได้อาหารมาทุกข์ก็ดับ..วนเวียนอยู่เช่นนี้<o:p></o:p>
    หากเราพิจารณาเห็นว่าการเกิดมานั้น ไม่ว่ากี่ภพกี่ชาติ ความจริงของความทุกข์ก็ยังปรากฏอยู่ <o:p></o:p>
    ไม่ว่าความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์<o:p></o:p>
    ความโศกเศร้า ความร่ำไรรำพัน การพลัดพรากสิ่งของที่รัก ที่พอใจก็เป็นทุกข์<o:p></o:p>
    ก็เพียงแค่อธิฐานจิต ดับขันธ์เข้าสู่นิพพาน ก็จะหลุดพ้นที่สุดแห่งทุกข์ในวัฏฏะสงสารนี้ได้ <o:p></o:p>
    ไม่ใช่เรื่องยากหากคนจะเข้าสู่นิพพาน แต่สิ่งที่ยากกว่านั้น..คือเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์.<o:p></o:p>
     
  13. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    รายนามพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น 28 พระองค์

    ๑.. พระพุทธเจ้าตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ
    ๒. พระพุทธเจ้าเมธังกร - ยศใหญ่
    ๓. พระพุทธเจ้าสรณังกร - ผู้เกื้อกูลแก่โลก
    ๔. พระพุทธเจ้าทีปังกร - ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
    ๕. พระพุทธเจ้าโกณฑัญญะ - ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
    ๖. พระพุทธเจ้าสุมังคละ - ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
    ๗. พระพุทธเจ้าสมุนะ - ผู้เป็นธรีบุรุษมีพระหทัยงาม
    ๘. พระพุทธเจ้าเรวัต - ผู้เพิ่มพูนความยินดี
    ๙. พระพุทธเจ้าโส���ิตะ - ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
    ๑๐. พระพุทธเจ้าอโนมัทสส - ผู้อุดมอยู่ในหมู่ชน
    ๑๑. พระพุทธเจ้าปทุมะ - ผู้ทำให้โลกสว่าง
    ๑๒. พระพุทธเจ้านารทะ - ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
    ๑๓. พระพุทธเจ้าปทุมุตตระ - ผู้เป็นที่พึ่งแก่หมู่สัตว์
    ๑๔. พระพุทธเจ้าสุเมธะ - ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
    ๑๕. พระพุทธเจ้าสุชาติ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
    ๑๖. พระพุทธเจ้าปิยทัสสี - ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
    ๑๗. พระพุทธเจ้าอัตถทัสสี - ผู้มีพระกรุณา
    ๑๘. พระพุทธเจ้าธัมมทัสสี - ผู้บรรเท่ามืด
    ๑๙. พระพุทธเจ้าสิทธัตถะ - ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
    ๒๐. พระพุทธเจ้าติสสะ - ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
    ๒๑. พระพุทธเจ้าปุสสะ - ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
    ๒๒. พระพุทธเจ้าวิปัสสี - ผู้หาที่เปรียบมิได้
    ๒๓. พระพุทธเจ้าสิขี - ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
    ๒๔. พระพุทธเจ้าเวสส���ู - ผู้ประทานความสุข
    ๒๕. พระพุทธเจ้ากกุสันธะ - ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
    ๒๖. พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ - ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
    ๒๗. พระพุทธเจ้ากัสสปะ - ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
    ๒๘. พระพุทธเจ้าโคตมะ (พระสมณะโคดม) - ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากย

    ส่วน พระศรีอริยะเมตไตย หรือ พระศรีอารย์ ก็คือ พระนารายณ์ หรือ พระพรหม
    เทพผู้คอยพิทักษ์รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง 28 พระองค์ ไว้นั่นเอง ..
     
  14. sriaran

    sriaran สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +0
    ประกาศเตือน : 2555

    “ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ”

    อริยะสัจจ์ ๔

    ทุกข์ การชาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย
    สาเหตุ ผู้คนขาดจิตใต้สำนึก
    การดับปัญหา รู้จักใช้สติปัญญาหาทางเอาตัวรอด
    การป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิด กลับตัวเป็นคนดี อย่างน้อย
    ถ้ำไม่สามารถเอาตัวรอดได้ ตายไปยังได้ไปจุติในสวรรค์
    หรือดับขันธ์นิพพาน

    ปกติ ในตัวเรา

    "ปกติคนเรามีความรู้ดี รู้ชั่ว อยู่ในตัวเอง โดยไม่ต้องให้ใครมาสั่งสอน
    มีความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อยู่ในตัวเองอยู่แล้ว
    บางครั้งไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรมาก
    ไม่จำเป็นต้องไปนั่งดูจิตดูใจตัวเองด้วยซ้ำ
    แค่เราทำตัวดีไปวัน ๆ ไม่ไปสร้างความเดือนร้อนให้ใครก็พอ
    เราก็ได้ชื่อว่าคนรักษาศีล รักษาธรรม
    คิดอะไรก่อนทำ ถ้าดีแล้วทำ จิตใจก็ผ่องใส
    บางทีการที่เราได้ยิ้มให้คนอื่นบ้าง
    มีค่ามากกว่าล้านคำพูดเป็นไหน ๆ
    ไม่ต้องคิดว่าจะต้องทำใหดังให้เด่นเหนือใคร
    เป็นคนดี ที่ธรรมดา ๆ ก็พอ"

    "ทำดี...ละชั่ว และละดี...อีกที ไม่มี...ที่เกิด ดับขันธ์..นิพพาน, จบ"
    ทำชั่วได้..ความทุกข์ ทำดีได้..ความสุข ละดี..ได้ความสงบ อยู่จบพรหมจรรย์
    นิพพาน คือ ความสงบ คือ สันติ คือการไม่คิดร้าย ไม่ทำร้ายใคร"
    พระศรีอริยะเมตไตย

    (นารายณ์ ผู้รักษา)

    “รู้จักที่จะมองโลกในแง่ดี และมีไมตรีต่อผู้อื่น
    ช่วยกันต่ออายุให้โลกใบใหม่ ด้วยการเอาใจใส่สิ่งแวดล้อม”

    ติดต่อขอรับหนังสือ “ศาสนาพระศรีอริยะเมตไตย”
    ได้ที่ 089-0762433 ทุกวัน เวลา 12.00 – 21.00
     

แชร์หน้านี้

Loading...