คลิปแฉ!! หลักฐานปล้นประเทศไทย เผยไทยมีก๊าชธรรมชาติอันดับ 24ของโลก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย surer, 30 มีนาคม 2012.

  1. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,673
    ค่าพลัง:
    +3,463
    ขอบคุณสำหรับข้อมูล เดี๋ยวว่างๆผมจะไปลองค้นดูอีก
    แล้วยังไงจะนำมาถกกันต่อนะครับ
     
  2. pasit_99

    pasit_99 การเวียนว่ายตายเกิดนั้นน่ากลัว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,673
    ค่าพลัง:
    +3,463
    กลับมาแล้วครับ
    เมื่อลองค้นดูอย่างละเอียดขึ้น ข้อมูลในเว็บค่อนข้างเยอะครับ
    ผมให้ความเชื่อถือข้อมูลจากนอกประเทศมากกว่า
    เพราะสื่อไทยบางฉบับเนี่ยไม่ไหวจะเคลียร์
    ถ้าอะไรที่เกี่ยวกับการเมืองสื่อนี้จะโกหกเรื่องอะำไรก็ได้เพื่อทำลา่ยฝ่ายตรงข้าม
    จริงอยู่ข้อมูลที่เขานำเสนอ มีทั้งจริงและเท็จ
    แต่น่ากลัวคือเขาแอบสอดใส้ความเท็จมาแบบเนียนๆ
    เชื่อถือได้ 0 เปอร์เซนต์

    สำหรับประเด็นราคาน้ำมัน จากข้อมูลที่ไล่อ่านมา
    ความเห็นส่วนตัว คิดว่าเป็นผลจากส่วนแบ่งผลกำไร ภาษีที่เสียซ้ำซ้อนหลายทอด กองทุนน้ำมัน และการหักอื่นๆ อีกหลายรายการ

    ราคาที่เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านนั้น
    ต่างกันเพราะประเทศเพื่อนบ้านผลิตน้ำมันได้เอง และพอใช้ในประเทศ 100 %
    ส่วนของเราผลิตได้อย่างมากก็ 30 เปอร์เซนต์เท่านั้น

    ที่น่าทำคือ เราน่าจะเอารายละเอียดการจ่ายภาษีซ้ำซ้อนต่างๆ มาดูว่ามันมากเกินไปหรือเปล่า อะไรควรจะหักออกไป
     
  3. ลูกหลวงปู่

    ลูกหลวงปู่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    150
    ค่าพลัง:
    +182
    ประเด็นนะมันอยุ่ตรงที่น้ำมันอะ มันส่งออกไปแต่ตัวเลข แล้วตั่งนอมินิ
    แต่ตัวน้ำมันอยุ่ในบ้านเรา บวกค่าจัดการมากมาย
    ขายให้เราแพงๆ แล้วที่บอกว่าขาดทุนอะนะ ตอนประกาศ
    ผลกำไร เป็นแสนแสนล้าน คิดแค่นี้ เอางี้นะ
    ใครรู้บ้าง ว่าที่สุโขทัยมีน้ำมัน พวกนี้ไปเช่าที่ชาวบ้านปีละ5แสน
    ผลประโยชน์มันแค่ในกลุ่มผู้ถือหุ้น แล้วประชาชนที่มาเถียงกันตรงนี้ใครถือหุ้นบ้าง
    ลองไปดุใครถือหุ้น เทคโนโลยี่ในการผลิตน้ำมันคนไทยไม่รู้หลอ
    มหาลัยจุฬา ก้มีสอนนะ แล้วควรให้มีการตื่นตัว ให้ความรุ้ว่า เทคโลดลยีการผลิตน้ำมัน
    ขนาดเล็ก ทำได้ คนในท้องถิ่งจาได้มีน้ำองมันราคา
    ถูก เรื่องอ้างอิงตางๆๆความรู้การผลิตบุคคล มีในหนังสื่อปล้นขุมทัพยืประเทศไทยเอาเป็นพื้นฐานในการคิดและหาข้อมูลดู อ้างอิงบุลคลสอบถามได้ตรง ชื่อหนังสือน่าจะคล้ายๆ
    แบบ นี้ ของ อ.จารย์ หม่อม คิด แล้ว ติดต่อหาบุคคลอ้างอิงไม่อยาก ให้คิดอีกอย่าง

    ถ้าทำไรเอาประชาชนเป็นหลักอะ ประชาชนไม่เดือดร้อนหลอก ดูโครงสร้างผุ้มีอำนาจในการกำหนดราคาน้ำมัน ดูด้วยนะว่าสิงขโปร์มันคงมีบ่อน้ำมันมากนะ มันคงมีโรงกลั่งเองนะ
    น้ามันที่ เขาบอกกันว่า30ปีหมด ไปดุด้วยตาด้วยนะ ว่าตอนนี้หมดมะ
    อยากให้คนไทยหวงแหนในสิ่งที่เป็นของตน และมีความรู้หาข้อมูลนะที่มาจากนักวิชาการ2ฝ่าย
    จะรู้เอง ว่ามีประเด็นไหนบ้างที่นักวิชาการฝ่ายกำผลประโยชน์สะอึกไปน้ำขุ่นๆสรุปนะ
    พวกเราคนไทย ใครได้ตังจากผลรายได้ไตรมาทละเป็นแสนล้านบ้าง ขนาดมันขาดทุน
    นะเนี่ย การแปรรูปกิจการของรัฐ พวกเราจ้าวของประเทศรู้เรื่องไรบ้าง ไม่ต้องแยกนะว่าเหลืองหรือแดง คิดว่าพวกเราคนไทย อะไรที่เป้นประโยชน์ต่อส่วนรวมให้สนับสนุนกัน
    คิดแค่นี้ใคร จามาทำไรพวกเราคนไทยได้ละ คิดถึงส่วมรวมก่อน
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
    เป็นเรื่องของคนอ่านที่จะใช้วิจารณญาณตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง
    ไม่จำเป็นต้องเชื่อหรือไม่เชื่อตามใคร อยู่แล้ว
    เราเคารพในปัญญาของผู้อื่น ไม่นิยมการครอบงำหรือจูงไปให้เชื่อเหมือนๆกัน
    อะไรที่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม ก็ต้องสนับสนุนเผยแพร่ให้รู้กันในวงกว้าง
    ประชาชนจะได้รู้และเข้าใจ ในสิทธิที่พึงมีพึงได้ของตน
    อย่าให้ใครมาหลอกมาครอบงำความคิดเราได้ง่ายๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2012
  5. 9อมตะ9

    9อมตะ9 อมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +1,288
    ลองพิจารณากันดูครับ...........จริงเท็จเพียงใด
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE class=text-ptt1 style="WORD-SPACING: 0px; FONT: 12px/16px Tahoma, 'MS Sans Serif', Thonburi; TEXT-TRANSFORM: none; COLOR: rgb(0,0,0); TEXT-INDENT: 0px; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; TEXT-DECORATION: none; orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=640 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=26>การค้าน้ำมันสำเร็จรูป

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>การค้าน้ำมันสำเร็จรูปเกิดขึ้นจากการที่ในอดีต ประเทศไทยมีความต้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป ทำให้ ปตท. ในฐานะที่เป็น
    บริษัทน้ำมันแห่งชาติต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้าน้ำมันเพื่อให้มีน้ำมันสำเร็จรูปในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของประเทศ ต่อมา
    ประเทศไทยเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีโรงกลั่นภายในประเทศซึ่ง ปตท. ได้มีการลงทุนในโรงกลั่น 5 แห่ง (จากทั้งหมด 6 แห่ง
    ของประเทศไทย) ทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนสถานะไปเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปรายหนึ่งในภูมิภาค ปตท. ในฐานะ
    ผู้ถือหุ้นในโรงกลั่นจึงมีความร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจการกลั่นในการส่งออกผลิตน้ำมันสำเร็จรูปที่เกิดจากความต้องการใช้ภายในประเทศ
    นอกจากนี้ ในกรณีที่โรงกลั่นในประเทศหยุดดำเนินการเพื่อปิดซ่อมบำรุง ปตท. ในฐานะของบริษัทน้ำมันแห่งชาติก็จะทำหน้าที่เป็น
    ผู้จัดหาและนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปเพื่อให้ประเทศไทยมีปริมาณน้ำมันที่เพียงพอต่อความต้องการใช้ และเพื่อให้ประเทศไทยมี
    ความมั่นคงด้านพลังงาน
    นอกจากทำหน้าที่ในการส่งออก และนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานในประเทศไทย และเพื่อเป็น
    การบริหารปริมาณน้ำมันในระบบของกลุ่มบริษัทในเครือ ปตท. แล้ว ฝ่ายการค้าน้ำมันสำเร็จรูปขยายธุรกรรมไปสู่การทำการค้าในตลาด
    สากลเพื่อเพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ อีกทั้งเป็นการสร้างประสบการณ์ ความชำนาญ เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ตลาดค้า
    สากลของบริษัทในกลุ่ม ปตท. ในอนาคตอย่างมั่นคง
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top> </TD></TR><TR><TD vAlign=top><TABLE class=text-ptt1 style="FONT-SIZE: 12px; COLOR: rgb(0,0,0); LINE-HEIGHT: 16px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', Thonburi; TEXT-DECORATION: none" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=640 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=320>[​IMG]</TD><TD vAlign=center width=320>เพื่อความคล่องตัวในการทำการค้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป ปตท.
    จึงแบ่งผลิตภัณฑ์ที่ทำการค้าขายเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ LIGHT
    DISTILLATES ได้แก่ น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 เป็นต้น ,
    MIDDLE DISTILLATES ได้แก่ น้ำมันก๊าด, น้ำมันดีเซล และน้ำมัน
    อากาศยาน เป็นต้น , HEAVY DISTILLATES ได้แก่น้ำมันเตา และ
    ยางมะตอย เป็นต้น และ SPECIAL PRODUCTS เช่น ผลิตภัณฑ์ตั้ง
    ต้นในการผลิตน้ำมันหล่อลื่น และ LPG เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมี
    ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปบางชนิดได้แก่ REFORMATE, VACUUM GASOIL เป็นต้น</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top> </TD></TR><TR><TD vAlign=top>ฝ่ายการค้าน้ำมันสำเร็จรูปมีพันธมิตรที่เป็นคู่ค้าอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทั้งแถบตะวันออกกลาง อาทิ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์,
    อเมริกาใต้ เช่น บราซิล ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก อาทิ จีน, เวียดนาม, กัมพูชา, ฟิลิปปินส์, พม่า, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และสิงคโปร์
    เป็นต้น
    การทำธุรกิจของ ปตท. เน้นความโปร่งใส เป็นธรรม และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า รวมถึงมุ่งสร้างความสัมพันธ์อันดีกับโรงกลั่นใน
    ประเทศ, บริษัทในกลุ่มธุรกิจปตท. , บริษัทคู่ค้าน้ำมันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ การดำเนินงานต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของ
    เศรษฐศาสตร์ต่อองค์กร และประเทศ
    นอกจากหน้าที่หลักในการจัดหาส่งออก และทำธุรกรรมการค้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปแล้ว ฝ่ายการค้าน้ำมันสำเร็จรูปยังมีหน้าที่ติดตาม
    ความเคลื่อนไหว สถานการณ์น้ำมันและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนด กลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงราคา โดยเน้นความโปร่งใสในการ
    ดำเนินธุรกิจ ซึ่งถือเป็นนโยบายในการทำการค้าระหว่างประเทศที่ยึดถืออย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทย

    ทำไมต้องอิงสิงคโปร์

    1. การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปของโรงกลั่นไทย ต้องแข่งขันกับการนำเข้าจากต่างประเทศ

    โรงกลั่นของไทยไม่ได้แข่งขันเฉพาะกลุ่มโรงกลั่นในประเทศเท่านั้น แต่ต้องแข่งขันกับการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศด้วย ดังนั้น การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูประดับค้าส่งจึงต้องกำหนดราคา ในระดับที่แข่งขันกับราคานำเข้าที่ถูกที่สุด ซึ่งหมายถึงต้นทุนการส่งออกจากต่างประเทศ มายังประเทศไทยในระดับต่ำสุด การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปของโรงกลั่นน้ำมัน จึงใช้หลักการเสมอภาคกับการนำเข้า (Import Parity Basis) และได้ใช้ตลาดสิงคโปร์ เป็นตลาดอ้างอิงการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปดังกล่าว
    ในการกำหนดราคา หากโรงกลั่นกำหนดราคาสูงกว่าการนำเข้าจากสิงคโปร์ ผู้ค้าน้ำมันจะนำเข้า แทนการซื้อจากโรงกลั่นในประเทศ แต่หากกำหนดราคาต่ำกว่าราคานำเข้า จะทำให้โรงกลั่นได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควร ย่อมไม่เกิดแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนธุรกิจการกลั่นในประเทศไทย
    2. สาเหตุที่ใช้ในตลาดจรสิงคโปร์ เป็นฐานการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทย

      1. [*]สะท้อนต้นทุนการนำเข้าของไทยในระดับต่ำสุด ตลาดสิงคโปร์เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคเอเซีย ซึ่งใกล้ไทยมากที่สุด ดังนั้น ต้นทุนในการนำเข้า จึงเป็นต้นทุนที่ถูกที่สุดที่โรงกลั่นไทยต้องแข่งขันด้วย


        [*]ปริมาณการซื้อขายในระดับสูง สิงคโปร์ จะเป็นตลาดที่ทำการซื้อขายน้ำมันเช่นเดียวกับนิวยอร์ค โดยน้ำมันที่ทำการซื้อขาย อาจไม่ได้เก็บไว้ในสิงคโปร์ แต่จะมีการตกลงซื้อขายในสิงคโปร์ เนื่องจากจะมีบริษัทที่ทำธุรกิจซื้อขายน้ำมัน มาเปิดดำเนินการในสิงคโปร์ ปริมาณการซื้อขายน้ำมันในสิงคโปร์ จะอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกับตลาดใหญ่ ในพื้นที่อื่น (ยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง) ซึ่งทำให้ยากต่อการปั่นราคา โดยผู้ซื้อหรือผู้ขาย และราคาจะสะท้อน จากความสามารถในการจัดหา และความต้องการน้ำมันของภูมิภาคนี้


        [*]ราคาสะท้อนความสามารถในการจัดหา และความต้องการของเอเซีย แม้สิงคโปร์จะมีกำลังการกลั่นรวมอยู่ที่ 1.5 ล้านบาเรลต่อวัน ซึ่งยังเป็นระดับที่ต่ำกว่า จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แต่การกลั่นของสิงคโปร์ เป็นการกลั่นเพื่อส่งออก ในขณะที่ประเทศที่มีกำลังกลั่นมากกว่าสิงคโปร์ดังกล่าว เป็นการกลั่นเพื่อใช้ในประเทศเป็นหลัก เมื่อเหลือแล้วจึงส่งออก จากการกลั่นเพื่อส่งออกเป็นหลัก ทำให้ราคาจำหน่ายของตลาดสิงคโปร์ จะสะท้อนราคาส่งออกที่แท้จริง ซึ่งจะสะท้อนความสามารถในการจัดหา และสภาพความต้องการนำน้ำมันสำเร็จรูป ของภูมิภาคเอเซีย


        [*]ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ เป็นฐานกำหนดราคาส่งออกของประเทศต่างๆ แม้ว่าการส่งออกของสิงคโปร์จะเริ่มลดลง เพราะมีกำลังกลั่นเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ แต่ราคาที่ส่งออกของประเทศต่างๆ ยังคงใช้ราคาน้ำมันของตลาดสิงคโปร์ เป็นฐานในการกำหนดราคาส่งออก และการซื้อขายเพื่อส่งออกจากประเทศต่างๆ ยังทำการซื้อขายที่สิงคโปร์เป็นหลัก


        [*]ราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ เปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับตลาดอื่นๆ ทั่วโลก สพช. ได้ศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันในตลาดต่างๆ ได้แก่ ตลาดตะวันออกกลาง ตลาดยุโรป ตลาดอเมริกา และตลาดจรสิงคโปร์พบว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปทุกตลาดต่างปรับตัวเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน และในระดับที่ใกล้เคียงกัน อาจมีบางช่วงที่ราคา ของบางตลาดเปลี่ยนแปลงในทิศทาง หรือระดับที่แตกต่างกับตลาดอื่นๆ ซึ่งเป็นเพราะภาวะที่ความต้องการ และปริมาณน้ำมันในตลาด ไม่มีความสมดุลในช่วงเวลานั้นๆ แต่ต่อมาราคาที่แตกต่างจากตลาดอื่นมาก จะทำให้เกิดการไหลเข้า / หรือออกของน้ำมันจากตลาดอื่น จนทำให้ระดับของราคาตลาดนั้น ปรับตัวสู่ภาวะสมดุลกับตลาดอื่น ทั้งนี้ เนื่องจากน้ำมันสำเร็จรูปที่จำหน่ายในทุกตลาด เป็นสินค้าภายใต้ระบบการค้าเสรี และเป็นสากล


        [*]ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ ผันผวนน้อยกว่าตลาดอื่นๆ จากการสังเกตความเคลื่อนไหว ของราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดต่างๆ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพบว่า ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดอื่นๆ และการปรับตัวของราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ในช่วงที่มีความแตกต่างจากตลาดอื่นมาก ตลาดสิงคโปร์จะใช้เวลาในการปรับตัวสู่สมดุลในเวลาประมาณ 1-3 วัน ซึ่งจะเห็นว่าการแข็งตัวของราคาน้ำมันสำเร็จรูป ในเดือนมีนาคมในตลาดจรสิงคโปร์ ได้ปรับตัวสู่ระดับปกติในช่วงหลังของเดือน
    3. การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป ที่เหมาะสมของโรงกลั่นไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน
    จากข้อเท็จจริงดังกล่าวที่โรงกลั่นไทยยังต้องแข่งขันกับการนำเข้าจากสิงคโปร์ และราคาในตลาดน้ำมันสิงคโปร์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางเดียวกับตลาดอื่นๆ โดยมีความผันผวนของราคาน้อยกว่าตลาดอื่นๆ ดังนั้น กำหนดราคาของโรงกลั่นโดยอ้างอิงราคาในตลาดจรสิงคโปร์ จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน แต่เนื่องจากประเทศไทยมีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปบางส่วน ในราคาต่ำกว่าราคาที่จำหน่ายในประเทศ ดังนั้น ประชาชนในประเทศ ควรได้รับประโยชน์จากราคาส่งออก ที่ถูกกว่าราคาจำหน่ายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันโรงกลั่น ได้เริ่มมีการให้ส่วนลดแก่ผู้ค้าน้ำมันในบางช่วง ผู้ค้าน้ำมันก็เริ่มนำส่วนลดราคานี้ มาลดราคาจำหน่ายในประเทศในบางพื้นที่ หากขยายการดำเนินการไปสู่การลดราคาจำหน่ายทั่วประเทศ โดยการลดราคา ณ โรงกลั่นให้ใกล้เคียงราคาส่งออกอย่างถาวรผู้บริโภค จะได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง ซึ่งรัฐได้ดำเนินการแล้ว โดยคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 ได้เห็นชอบตามมติกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มอบหมายให้ ปตท. รับไปเจรจากับโรงกลั่นน้ำมันเพื่อปรับลดราคา ณ โรงกลั่นให้ลงมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับราคาส่งออก โดยยังคงอ้างอิงกับราคาในตลาดสิงคโปร์เช่นเดิม
    4. ความไม่เหมาะสมของการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป ตามต้นทุนของโรงกลั่น (Cost Plus Basis)
    การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นโดยใช้หลักการ Cost-plus Basis ซึ่งกำหนดจากต้นทุนราคาน้ำมันดิบ บวกด้วยค่าใช้จ่ายของโรงกลั่นที่คงที่ การกำหนดราคาวิธีนี้ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

      1. [*]ราคาน้ำมันดิบมีความผันผวนเช่นเดียวกับราคาน้ำมันสำเร็จรูป ดังนั้นการกำหนดราคาลักษณะนี้ ก็ไม่ช่วยแก้ปัญหาความผันผวนของราคาขายปลีกของไทย ในช่วงที่ตลาดมีภาวะผิดปกติ


        [*]ถ้าใช้ต้นทุนการกลั่นของโรงกลั่นในไทยเป็นเกณฑ์การกำหนดราคา ณ โรงกลั่นจะทำให้ราคาน้ำมันในประเทศไทยสูงขึ้น เพราะต้นทุนของโรงกลั่นน้ำมันไทยสูงกว่าสิงคโปร์ ต้นทุนการกลั่นน้ำมัน ของสิงคโปร์มีต้นทุนที่ถูกกว่าไทย เนื่องจาก
    • <DIR><DIR>

      • [*]กำลังการกลั่นของโรงกลั่นสิงคโปร์มีขนาดใหญ่กว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่าโรงกลั่นไทย ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าโรงกลั่นในไทย​

        [*]สิงคโปร์มีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งทำให้มีผลตอบแทนการกลั่นที่ดีกว่าไทย​

        [*]สิงคโปร์จัดเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำ​

        [*]สิงคโปร์เป็นเมืองท่า จึงมีความได้เปรียบเรื่องความพร้อมของระบบการขนส่ง ทำเลของการขนส่ง ท่าเรือขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้ต้นทุนการขนส่งน้ำมันถูกกว่าไทย​
      </DIR></DIR>
    <DIR style="WORD-SPACING: 0px; FONT: 13px Thonburi, 'MS Sans Serif', AngsanaUPC, EucrosiaUPC, LilyUPC, CordiaUPC, 'FixedDB ThaiText New', 'DB ThaiTextFixed'; TEXT-TRANSFORM: none; COLOR: rgb(0,0,139); TEXT-INDENT: 0px; WHITE-SPACE: normal; LETTER-SPACING: normal; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); orphans: 2; widows: 2; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px"><DIR>
    การกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป โดยใช้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปของสิงคโปร์ จะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ คือ ได้บริโภคน้ำมันในระดับราคาต้นทุนที่ถูกสุด เพราะโรงกลั่นไทย จำเป็นต้องใช้ฐานต้นทุน ที่ถูกกว่าของโรงกลั่นสิงคโปร์ ในการกำหนดราคาน้ำมันสำเร็จรูป เพราะต้องแข่งขันการนำเข้าจากสิงคโปร์
    </DIR></DIR>

      1. [*]การกำหนดราคาโดยใช้หลักการ Cost-plus จะทำให้สภาพการแข่งขันในตลาดน้ำมันถูกบิดเบือน เนื่องจากต้นทุนของราคาน้ำมัน ไม่สะท้อนถึงการแข่งขันที่แท้จริง ซึ่งจะทำให้เกิดการนำเข้า และการส่งออกที่ไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของตลาด ในบางช่วงราคานำเข้า อาจถูกกว่าราคาที่โรงกลั่นในประเทศกำหนด ผู้ค้าน้ำมันจะไปนำเข้าแทนการซื้อจากโรงกลั่น และในทางกลับกัน หากราคาในสิงคโปร์สูงกว่าไทย จะทำให้โรงกลั่นมีกำไรจากการส่งออก มากกว่าการจำหน่ายในประเทศ โรงกลั่นจะพยายามส่งออกให้มากที่สุด ซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดแขลนน้ำมันขึ้นในประเทศได้

        [*]การกำหนดค่าใช้จ่าย และรายได้ของโรงกลั่นในระดับคงที่ จะทำให้โรงกลั่นของไทย ไม่มีการพัฒนาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง

    กองการปิโตรเลียม 9 สิงหาคม 2543
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รัฐหนุนส่งออกน้ำมัน
    « เมื่อ: มี.ค. 03, 09, 08:45:10 »
    กรมธุรกิจพลังงาน เสนอ 2 แนวทางช่วยโรงกลั่นฯ ส่งออกน้ำมันสะดวก ลดปริมาณน้ำมันคงเหลือในประเทศ

    นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้กำหนดแนวทางส่งเสริมการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปให้กับกลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศ ที่มีปริมาณเหลือเกินความต้องการ

    ทั้งนี้ ได้กำหนดไว้ 2 แนวทางคือ 1.กรณีการส่งออกน้ำมันทางทะเล จะพิจารณาลดภาษีเงินได้นิติบุคคล 2.ผลักดันให้ส่งออกน้ำมันทางจีนตอนใต้ใช้เส้นทางขนส่งทางรถยนต์

    “ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่เกินกว่าความต้องการนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมีการใช้น้ำมันชนิดพลังงานทดแทนมากขึ้น เช่น แก๊สโซฮอล์ ดีเซล บี5 รวมทั้งก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) ทำให้มีปริมาณเบนซินและดีเซลเหลืออยู่ในระบบจำนวนมากกว่าปกติ จึงจำเป็นต้องระบายส่งออก ไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงกลั่นฯ ได้” นายเมตตา กล่าว

    นายเมตตา กล่าวว่า แผนดังกล่าวอยู่ระหว่างการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีนโยบายที่ชัดเจนจากกระทรวงพลังงานด้วย

    แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า เดิมทางผู้ประกอบการโรงกลั่นฯ ได้เสนอให้ภาครัฐเข้ามาช่วยดูแลปัญหาน้ำมันสำเร็จรูปคงเหลือ เนื่องจากมีการใช้พลังงานทดแทนกันมาก

    ทั้งนี้ ต้องการหาแนวทาง ที่จะส่งออกน้ำมันได้มากขึ้น เพื่อระบายปริมาณน้ำมันที่มีอยู่ ในขณะที่โรงกลั่นฯ ในไทยเริ่มมีการใช้มาตรฐานยูโร 4 ในการผลิตน้ำมัน ซึ่งหากพิจารณาประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงมีการใช้ที่น้อยมาก ถ้าเริ่มบังคับใช้ก็อาจจะมีปัญหาในการส่งออก เพราะต้องขายในราคาที่ต่ำ เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าการกลั่นน้ำมันปกติ

    สำหรับตัวเลขการส่งออก น้ำมันสำเร็จรูปล่าสุด เดือนม.ค. 2552 มีปริมาณวันละ 1.86 แสนบาร์เรล/วัน สูงขึ้น 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การส่งออกน้ำมันเดือนธ.ค. 2551 มีปริมาณถึง 2.3 แสนบาร์เรล/วัน

    ขณะที่ยอดการใช้เบนซิน 95 เดือนม.ค. 2552 อยู่ที่ 4.9 แสน ลิตร/วัน ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนม.ค. 2551 ใช้วันละ 1.8 ล้าน ลิตร/วัน ส่วนเบนซิน 91 เดือนม.ค. 2552 มีการใช้ 8 ล้านลิตร/วัน เทียบกับเดือนม.ค. 2551 อยู่ที่วันละ 10 ล้านลิตร/วัน

    ที่มา - โพสต์ทูเดย์
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “พลังงาน” เผยปริมาณนำเข้าเชื้อเพลิง เดือน ก.พ.เพิ่มขึ้น 10% สวนน้ำมันแพง
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 มีนาคม 2555 14:11 น.

    “พลังงาน” เผย ปริมาณนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง เดือน ก.พ.เพิ่มขึ้น 10% จากเดือน ม.ค.หลัง ปตท.ลดการผลิต เพื่อตรวจสอบระบบ ยอดใช้เบนซินลดวูบ 1.1% สวนทางการใช้น้ำมันดีเซล เพิ่มขึ้น 2.6% เนื่องจาก รบ.ไม่มีนโยบายเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มขึ้น

    นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงภาพรวมปริมาณการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ระดับ 1,048,000 บาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 10% จากเดือนมกราคม 2555 โดยมีมูลค่า 110,441 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6% จากเดือนมกราคม 2555 แยกเป็น การนำเข้าน้ำมันดิบจำนวน 974,000 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นมูลค่า 103,992 ล้านบาท

    การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจำนวน 75,000 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นมูลค่า 6,449 ล้านบาท สาเหตุที่มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากมีการนำเข้าก๊าซปิโตรเหลียมเหลว (แอลพีจี) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เพิ่มมากขึ้น เพราะโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 ของบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ได้ลดกำลังการผลิตเพื่อตรวจสอบระบบตามแผนการประภัย 1 ปี

    ขณะเดียวกัน มีปริมาณการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 210,000 บาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 11% โดยมีมูลค่า 23,834 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8% เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกอยู่ในระดับสูงจึงเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ส่งออกเพิ่มขึ้น

    สำหรับปริมาณการใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน เดือนกุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ 20.5 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 0.4% จากเดือนก่อน โดยในส่วนการใช้น้ำมันเบนซิน 95 และเบนซิน 91 ปรับตัวลดลง ขณะที่การใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.5% เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น และมีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอีก 1 บาทต่อลิตร ส่วนปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วอยู่ที่ 56 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้น 2.6% จากเดือนก่อน เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มขึ้น

    ส่วนปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจี เดือนกุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ 541,000 ตันต่อเดือน เพิ่มขึ้น 8% จากเดือนก่อน โดยภาคครัวเรือนลดลง 5% ภาคขนส่งลดลง 6% เนื่องจากมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น 75 สตางค์ต่อกิโลกรัมเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา ขระที่ภาคปิโตรเครมีลดลง 16% แต่ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 4%

    อย่างไรก็ตาม การนำแอลพีจีในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ 160,000 ตันต่อเดือน และต้องมีภาระการจ่ายชดเชยเพิ่มขึ้นเป็น 3,807 ล้านบาท ส่วนการนำเข้าแอลพีจีวันที่ 1-21 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมามีการนำเข้าแล้วประมาณ 95,000 ตันต่อเดือน มีการจ่ายเงินชดเชยประมาณ 2,730 ล้านบาท

    โดยคาดว่า ทั้งเดือนมีนาคมจะนำเข้าแอลพีจีประมาณ 160,000-170,000 ตันต่อวัน ส่วนแนวโน้มการนำเข้าเฉลี่ยทั้งปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับเดียวกันกับเดือนมีนาคม 2555 เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง และยังมีโรงปิโตรเคมีในประเทศที่จะเดินเครื่องผลิตเต็มที่

    ขณะที่การใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ 7.7 ล้านกิโลกรัมต่อวัน เพิ่มขึ้น 4% จากเดือนก่อนเนื่องจากราคาขายปลีกยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก โดยปัจจุบันราคาขายปลีกเอ็นจีวีในประเทศอยู่ที่ 10 บาทต่อกิโลกรัม

    Business - Manager Online -
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Date: 02/02/2010 10:53

    Subject: FW: ปตท. ข้อเท็จจริง

    ตามที่ได้มีการเขียนและส่งต่อบทความซึ่งอาจจะสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานของไทย
    และให้ร้ายหน่วยงานรัฐและ ปตท.ที่ได้สร้างความมั่นคงด้านพลังงานตลอดมา ในฐานะผู้บริหาร ปตท.ผมขอชี้แจงข้อเท็จจริงดังนี้
    1.ประเทศไทยมีกำลังการกลั่นน้ำมันเกินความต้องการจริงและส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปส่วนเกินเพื่อ
    สร้างรายได้เข้าประเทศ แต่ไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางวันละ 800,000 บาร์เรล มาเป็นวัตถุดิบในการกลั่น และส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเพียงประมาณวันละ 200,000 บาร์เรล ดังนั้นเรานำเข้าสุทธิประมาณวันละ 600,000 บาร์เรลเพื่อใช้ในประเทศ ผลที่ตามมาคือ
    -ราคาน้ำมันในประเทศจำเป็นต้องอิงราคาตลาดโลก เพราะต้นทุนเราซื้อน้ำมันดิบในราคาตลาดโลก
    -เราควรต้องประหยัดการใช้น้ำมันเพื่อลดภาระการนำเข้าและสูญเสียเงินออกนอกประเทศ ขณะนี้ไทยเป็นประเทศที่มีอัตราใช้พลังงานต่อประชากรในเกณฑ์สูง
    -มาเลเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซฯ สร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาล จึงสามารถขายน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศได้ถูกกว่าไทย
    -สิงคโปร์นำเข้าน้ำมันดิบเช่นกัน และนำมากลั่นเพื่อส่งออกเป็นส่วนใหญ่ สำหรับน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายในประเทศจะมีราคาแพงกว่าไทยเพราะเก็บภาษีสูงเพ่อให้เกิดการประหยัด
    2.ราคาน้ำมันขายปลีกของไทยจะถูกปรับเพื่อให้สะท้อนราคาต้นทุนน้ำมันดิบที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน โดยผู้ขายน้ำมันรับซื้อจากโรงกลั่นและปรับราคาเป็นช่วงๆเพื่อให้ผู้บริโภคไม่ถูกกระทบจากราคาที่ผันผวนจนเกินไป
    -ธุรกิจการกลั่นและธุรกิจค้าปลีกน้ำมันมีการแข่งขันเสรี มีผู้ประกอบการนอกเหนือจาก ปตท.คือ บริษัทข้ามชาติขนาดยักษ์ที่ใหญ่กว่า ปตท.หลายสิบเท่า
    -ทั้งสองธุรกิจมีวัฏจักรขึ้นลงตามสภาพตลาด และจะมีผลตอบแทนการลงทุนโดยเฉลี่ยไม่สูง ทำให้บริษัทข้ามชาติขาดความสนใจที่จะลงทุน และเริ่มทยอยขายกิจการในประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยด้วย เช่น Shell ขายโรงกลั่นระยอง บริษัท BP, Q8 และ ConocoPhillips ขายกิจการปั๊มน้ำมัน
    -ดังนั้น ปตท.จึงไม่ได้กำไรมากมายจากการกลั่นและขายน้ำมันตามที่มีการกล่าวหา ในทางตรงกันข้าม ปตท.ได้มีบทบาทสำคัญในการชะลอการขึ้นราคาขายปลีก เพื่อบรรเทาภาระผู้ใช้น้ำมันในขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งทะยานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2550-1
    3.ปตท.ไม่เคยทำกำไรสูงถึงระดับ 195,000 ล้านบาทตามที่ถูกกล่าวหา ข้อเท็จจริงคือปี 2550 ปตท.มีกำไรสูงสุดคือประมาณ 97,000 ล้านบาท ปี 2551 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจและพลังงานทำให้กำไรลดลงเหลือประมาณ 51,700 ล้านบาท
    -กำไรของ ปตท.มาจากทั้งธุรกิจที่ ปตท.ดำเนินการเองและส่วนแบ่งกำไรของบริษัทที่ ปตท.ลงทุน โดยการถือหุ้นในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจโรงกลั่น และธุรกิจปิโตรเคมี
    -หากมองเฉพาะตัวเลขกำไรจะดูเหมือนว่า ปตท.มีกำไรสูง แต่เมื่อพิจารณาขนาดธุรกิจและภาระการลงทุนทั้งหมด จะเห็นว่าปตท.ได้รับผลตอบแทนการลงทุนในสัดส่วนเพียง 5-10%
    -ปี 2551 ปตท.มีรายได้ 2 ล้านล้านบาท มีสินทรัพย์รวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท และได้กำไร 51,700 ล้านบาท ทำให้มีสัดส่วนกำไรต่อรายได้ (profit margin) เพียง 2.6% และสัดส่วนกำไรต่อสินทรัพย์ (ROA) เพียง 5.2%
    4.โดยข้อเท็จจริง ปตท.มีศักยภาพที่จะทำกำไรได้สูงกว่าผลประกอบการ แต่เนื่องจากเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติซึ่งมีหน้าที่บรรเทาภาระด้านราคาพลังงานให้แก่คนไทย ปตท.จึงรับภาระต่างๆคือ
    -ชะลอการขึ้นราคาขายปลีกน้ำมัน ทำให้ค่าการตลาดต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
    -ขายก๊าซหุงต้ม (LPG) ในประเทศราคาคงที่ตามที่รัฐควบคุม ซึ่งต่ำกว่าราคาในตลาดโลก ทั้งที่ต้นทุนวัตถุดิบที่นำมาผลิตคือก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบมีราคาสูงขึ้น
    -ลงทุนขยายกิจการNGV ตามนโยบายรัฐเพื่อเป็นทางเลือกให้กับภาคขนส่งในภาวะน้ำมันแพงปัจจุบันมีสถานีเกือบ 400สถานีทั่วประเทศ
    -ขาย NGV ในประเทศราคาคงที่ตามที่รัฐควบคุม 8.50บาท/กก ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯ ค่าขนส่งและค่าลงทุนสถานีอุปกรณ์ต่างๆรวมประมาณ 14.50บาท/กก
    -ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนต่างๆเพื่อเตรียมรองรับทิศทางในอนาคตที่จะสามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ
    5.เนื่องจากประเทศไทยจะต้องนำเข้าพลังงานในอนาคตเป็นปริมาณสูง ปตท.มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดหาพลังงานมาตอบสนองความต้องการใช้ให้เพียงพอและในราคาที่เป็นธรรม จึงต้องจัดสรรรายได้เพื่อนำมาลงทุนต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบท่อก๊าซ คลังน้ำมันและก๊าซ โรงแยกก๊าซ รวมทั้งการเสาะแสวงเป็นเจ้าของปริมาณสำรองและแหล่งผลิตน้ำมันและก๊าซทั้งในและนอกประเทศ โดยในปี 2552 ปตท.ใช้เงินลงทุนรวมมากกว่า 70,000 ล้านบาท
    -หากปตท.นำกำไรมาลดราคาขายปลีกน้ำมัน ก็จะช่วยประชาชนได้ในระยะสั้น แต่จะมีผลเสียระยะยาวคือ จะไม่เกิดสำนึกของการประหยัดและปตท.จะขาดความเข้มแข็งทางการเงินที่จะไปลงทุนเพื่อเสถียรภาพในอนาคต
    -ประเทศอื่นๆที่ต้องนำเข้าพลังงาน จะมีนโยบายสนับสนุนให้บริษัทน้ำมันแห่งชาติของเขามีความเข้มแข็งและไปลงทุนต่างประเทศเพื่อจะสามารถรักษาประโยชน์ของประเทศได้ในระยะยาว
    -บริษัทน้ำมันแห่งชาติหลายแห่งได้แปรรูปและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความคล่องตัวในการระดมทุนสำหรับการขยายธุรกิจ เช่น CNPC CNOOC และ Sinopecของจีน Gazpromของรัสเซีย Petrobrasของบราซิล การแปรรูป ปตท.จึงสอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากลและน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่จะสร้างบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทยให้เข้มแข็งมากขึ้น
    ผมเขียนบทชี้แจงนี้เพื่อที่จะให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานของไทยและบทบาทของ ปตท.ซึ่งมีความสำคัญต่อเสถียรภาพด้านพลังงานของชาติในอนาคต เนื่องจากปตท.ถูกโจมตีในเรื่องต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง
    ผมหวังว่าหากท่านผู้อ่านได้รับข้อมูลครบถ้วนทุกด้าน ก็จะสามารถแยกแยะประเด็นและพิจารณาได้ว่าประเทศไทยและประชาชนไทยควรเตรียมการด้านพลังงานอย่างไร ปตท.เป็นผู้ร้ายจริงหรือไม่ และหากมีข้อเสนอแนะที่จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือมีข้อสงสัยในประเด็นอื่นๆ กรุณาติดต่อผ่าน website ของ ปตท. <WWW.PTTPLC.COM>

    เทวินทร์ วงศ์วานิช
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน
    บมจ.ปตท.
    http://www.gasthai.com/ngv/ngvclub/question.asp?id=966
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2012
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ๓ ปี คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล
    โครงการเสวนาแถลงผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ ซึ่งมีท่านส.ว. รสนา โตสิตระกูล เป็นประธาน เรื่อง “๓ ปี คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล” จัดโดย คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา วันพฤหัสบดีที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ๑ - ๒ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒

    หลักการและเหตุผล

    คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมวุฒิสภาครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๓๕ วรรคหนึ่ง ประกอบกับข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๗๗ โดยคณะกรรมาธิการมีอำนาจหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ กระทำกิจการ พิจารณาศึกษา และตรวจสอบเรื่องการกระทำการทุจริตประพฤติมิชอบในหน่วยงานของรัฐหรือ หน่วยงานอื่น การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน และศึกษาเรื่องใดๆ เกี่ยวกับกลไก กระบวนการและมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และการเสริมสร้างธรรมาภิบาล ในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งจากกรณีการร้องเรียนและการศึกษา ตรวจสอบธรรมาภิบาล ในนโยบายสาธารณะของรัฐบาล โดยเฉพาะประเด็นธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ

    คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าผลการศึกษา และการประมวลกรณีการตรวจสอบในระยะ ๓ ปี เป็นประโยชน์ในการที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนานโยบายสาธารณะอย่างมีธรรมาภิบาลมากขึ้นในการบริหาร จึงเห็นควรให้มีการเสวนา เรื่อง “๓ ปี คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมภิบาล” ขึ้นเพื่อแถลงผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการเพื่อเป็นข้อพิจารณา อันจะนำไปสู่การพัฒนานโยบายของภาครัฐที่มีธรรมาภิบาลมากขึ้น


    วัตถุประสงค์

    ๑. เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการฯ ในรอบ ๓ ปี
    ๒. เพื่อเสนอข้อมูลสำหรับการพัฒนานโยบายสาธารณะที่มีธรรมาภิบาล
    และข้อเสนอแนะเชิงโครงสร้าง
    ๓. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วรวบรวมจัดทำเป็นข้อเสนอถึงรัฐบาลต่อไป

    ลักษณะรายการ
    เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการในด้านต่างๆ กิจกรรมการศึกษาดูงานของคณะกรรมาธิการฯ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้เข้าร่วมเสวนา

    วิทยากรผู้ร่วมเสวนา
    ๑. นางสาว รสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการ
    ๒. พลตำรวจตรี เกริก กัลยาณมิตร รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง
    ๓. พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง
    ๔. นางสาว สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม
    ๕. นาย สาย กังกเวคิน ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
    ๖. นาย ประสาร มฤคพิทักษ์ โฆษกคณะกรรมาธิการ
    ๗. นาย ไพบูลย์ นิติตะวัน คณะกรรมาธิการ
    ๘. นาย สุรจิต ชิรเวทย์ คณะกรรมาธิการ
    ๙. นาย คำนูณ สิทธิสมาน เลขานุการคณะกรรมาธิการ


    ผู้ร่วมเสวนา จำนวน ๑๐๐ คน ประกอบด้วย
    ๑. สมาชิกวุฒิสภา
    ๒. กรรมาธิการ อนุกรรมาธิการ ที่ปรึกษา ผู้ชำนาญ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ
    และเลขานุการ ประจำคณะกรรมาธิการฯ
    ๓. สมัชชาปฏิรูปประเทศ
    ๔. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.)
    ๕. สถาบันพระปกเกล้า
    ๖. คณะกรรมการตรวจการแผ่นดิน
    ๗. ภาคราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
    ๘. สื่อมวลชน
    ๙. ประชาชนที่สนใจทั่วไป

    วัน เวลา และสถานที่ วันพฤหัสบดีที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๔.๐๐ นาฬิกา
    ณ ห้องรับรอง ๑ - ๒ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒
    งบประมาณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
    ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมภิบาล

    ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    ๑. ได้เผยแพร่ผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการฯ ในรอบ ๓ ปี
    ๒. ได้เสนอข้อมูลสำหรับการพัฒนานโยบายสาธารณะที่มีธรรมาภิบาล
    และข้อเสนอแนะเชิงโครงสร้าง
    ๓. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วรวบรวมจัดทำเป็นข้อเสนอถึงรัฐบาลต่


    http://www.gasthai.com/article/html/552.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2012
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คำตอบที่ 1
    GasThai.Com ขอขอบคุณ คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ที่ให้โอกาสผมและคณะทำงานได้เข้าร่วมงานมาตลอด 3 ปี และช่วยเหลือประชาชน ระดับรากหญ้าในเรื่องปกป้องผลประโยชน์ในเรื่อง โครงสร้างราคาแก๊ส LPG/NGV มาลอดและยังเป็นแกนนำและคณะทำงาน คณะเดียวที่ทำงานเพื่อประชาชน ดูแลเรื่องพลังงานมาตลอด เราขอแสดงความขอบคุณแทนประชาชนคนใช้แก๊ส ครับ ทั้งแผ่นดิน

    แนะนำข้อมูลดีๆที่รวมรวมมา 3 ปี ของ ระบบธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ สามารถ Download เอกสาร ได้ที่
    ธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ ๑
    http://www.gasthai.com/pdf/energy1.pdf

    ธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ ๒
    http://www.gasthai.com/pdf/energy2.pdf

    ความจริงเรื่องพลังงาน ของประเทศ
    http://www.gasthai.com/pdf/energy3.doc
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คำตอบที่ 5
    น่าสนใจรายได้กำไร จาก แก๊ส LPG ราคา 330 เหรียญต่อตัน หากลอยตัวทั้งระบบ
    จะได้ สามเท่าของรายได้ จาก เกือบแสนล้านจะเป็นเกือบสามแสนล้านบาท

    [​IMG]
    http://www.gasthai.com/lpgnetwork/question.asp?id=501527
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คำตอบที่ 6
    ใครไปลงทุนในธุรกิน น้ำมันปาล์ม
    แล้วทำไมน้ำมันปาล์มขาดตลาด ราคาแพงขึ้น สามเท่า

    [​IMG]

    http://www.gasthai.com/lpgnetwork/question.asp?id=501527
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คำตอบที่ 7
    ราคาน้ำมัน อิงตลาดโลกแค่นี้ ดูตารางช่องแรก
    ทำไมคนไทยซื้อแพง

    คำตอบ คือ เอาเอทานอล ที่แพงกว่าไปผสม
    คำตอบ คือ เอาน้ำมันปาล์ม ที่แพงมากๆไปผสม

    อ้างช่วยเหลือเกษตรกรรากหญ้า จริงแล้ว ใครได้ประโยชน์มากกว่ากัน???????????/

    [​IMG]
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คำตอบที่ 8
    ปริมาณการผลิตก๊าซจาก แหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศลดลง ต่อเนื่อง
    เพราะเหตุใด???????

    แจ้งน้ำเข้า 330 เหรียญ ได้ชดเชย 600 เหรียญ จากที่อ้างราคาตลาดโลก 900 เหรียญ
    กำไร งามๆ ไม่ต้องไปแยกก๊าซให้เปลือง ให้เหมื่อย หาเงินแบบนี้ ฉลาดสุดๆ ครับ

    จึงทำให้ เห็นว่ายอดนำเข้า โตขึ้น ร้อยกว่าเท่าในปีหลังๆ


    [​IMG]


    http://www.gasthai.com/lpgnetwork/question.asp?id=501527

     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE style="PADDING-BOTTOM: 0px; WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; LETTER-SPACING: normal; PADDING-RIGHT: 0px; FONT-FAMILY: Arial, Helvetica, sans-serif; ORPHANS: 2; FONT-SIZE: 13px; WORD-SPACING: 0px; PADDING-TOP: 0px; webkit-text-size-adjust: auto; webkit-text-stroke-width: 0px" id=maintable2 border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550><TBODY style="PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-TOP: 0px"><TR style="PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-TOP: 0px"><TD style="PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-TOP: 0px" id=leftbar3 vAlign=top>การจัดหาและจัดจำหน่าย</TD></TR><TR style="PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-TOP: 0px"><TD style="PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; WIDTH: 165px; PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-TOP: 0px" id=leftbar vAlign=top></TD></TR><TR style="PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-TOP: 0px"><TD style="PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-TOP: 0px" id=leftbar2 vAlign=top width=467>ปริมาณและมูลค่าการนำเข้า ส่งออก น้ำมันเชื้อเพลิง</TD></TR></TBODY></TABLE>

    รายละเอียดอยู่ในลิ้งค์นี้

    http://www.doeb.go.th/info/value_oil.php
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ปิโตรเลียมไทย : จากฝรั่งครอบงำสู่ขูดรีดกันเอง (1)


    โดย บัณรส บัวคลี่ 2 เมษายน 2555 14:29 น. Share63




    คนไทยเพิ่งรู้จักน้ำมันที่มาจากปิโตรเลียมในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมๆ กับการนำเข้ารถยนต์ในยุคแรก แต่น้ำมันที่มีบทบาทในวิถีชีวิตประจำวันในยุคนั้นสืบต่อมาอีกหลายสิบปีกลับไม่ใช่เบนซิน ดีเซลหรือน้ำมันเตา หากแต่เป็นน้ำมันก๊าดที่ใช้ได้เอนกประสงค์กว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้แสงสว่างในยามค่ำคืน

    แม้มนุษย์จะรู้จักและใช้ประโยชน์จากน้ำมันดิบมาตั้งแต่สมัยโบราณแต่โลกก็เพิ่งจะรู้จักอุตสาหกรรมน้ำมัน ที่หมายถึงการขุดเจาะเอาน้ำมันดิบมาเข้ากระบวนการกลั่นในศตวรรษที่ผ่านมานี่เอง การขุดเจาะน้ำมันเพื่อการพาณิชย์ครั้งแรกเกิดในโปแลนด์ เมื่อปีค.ศ. 1853 (2396)* และขยายตัวอย่างรวดเร็วในต้นศตวรรษที่ 20 (*วิกิพีเดีย) การขยายตัวของมันสอดคล้องกับการค้นพบและพัฒนากระบวนการกลั่นน้ำมันดิบซึ่งเริ่มครั้งแรกเมื่อปี 1851(2394) ที่สก๊อตแลนด์**และเริ่มขยายตัวในยุโรปโดยเฉพาะหลังจากการประดิษฐ์ตะเกียงน้ำมันก๊าด( Kerosene lamp) ขึ้นมาใช้ (**วิกิพีเดีย)

    การขุดเจาะน้ำมันและอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันของโลกยุคนี้เริ่มอย่างจริงจังในต้นศตวรรษที่ 20 คือประมาณค.ศ.1860 (ตรงกับพ.ศ.2403-รัชกาลที่4) แม้สยามจะไม่ได้ตกเป็นประเทศอาณานิคมเหมือนกับอีกหลายๆ ประเทศ แต่ทว่าโลกทั้งใบในขณะนั้นอยู่ในยุคอาณานิคมอันเป็นผลพวงมาจากเทคโนโลยีดาราศาสตร์และการเดินเรือผนวกกับดินปืนและการปฏิวัติอุตสาหกรรม ดังนั้นโลกที่สามจึงเป็นเป้าหมายของการกอบโกยทรัพยากรแร่ธาตุวัตถุดิบและเครื่องอุปโภคบริโภคไปยังตะวันตก ขณะเดียวกันโลกที่สามก็มีสถานะเป็นตลาดรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของยุโรปพร้อมกันไป

    สยามก็เป็นประเทศแรกๆ ที่นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปโดยเฉพาะน้ำมันก๊าดมาใช้ และเริ่มนำเข้ากิจการที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันมากขึ้นๆ เช่น โรงไฟฟ้าและรถราง นำเข้ารถยนต์ และมีตะเกียงน้ำมันก๊าดใช้แพร่หลายในยุคต่อมา แม้สยามจะเริ่มโครงการสำรวจบ่อน้ำมันที่ฝาง โดยกรมพระกำแพงเพชรฯ กรมรถไฟหลวงเมื่อพ.ศ.2464 (1921) แต่ก็ไม่คืบหน้านักเพิ่งจะมาขุดเจาะนำมาใช้ได้จริงในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในมิติของการพลังงานสถานะของสยามจึงเป็นประเทศปลายทางของอุตสาหกรรมน้ำมันที่กำลังเริ่มเติบโตขึ้นทั้งในยุโรปและอเมริกา

    เว็บไซต์ของบริษัทเชลล์ (ประเทศไทย)จำกัด( ประวัติเชลล์ในประเทศไทย | Thailand ) ระบุว่าการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปของไทยเกิดเมื่อพ.ศ.2435 (ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5) โดยส่วนใหญ่เป็นน้ำมันก๊าดประวัติศาสตร์ฉบับดังกล่าวทำให้เรารู้ว่า เชลล์ เป็นตัวแบบของบริษัทน้ำมันตะวันตกยุคแรก ๆ ที่ ส่งออกพลังงานชนิดใหม่ออกไปสู่โลกที่สามถึงขนาดที่มีเรือบรรทุกน้ำมันสำเร็จรูปไว้ส่งขายโดยเฉพาะ จากนั้นก็พัฒนาสินค้าเป็น “น้ำมันก๊าดตรามงกุฎ” บรรจุปี๊บที่คนไทยยุคก่อนรู้จักคุ้นเคยกันดี จัดจำหน่ายผ่านบริษัทตัวแทนคือบริษัท บอร์เนียว จำกัด และต่อมาไม่นานกลุ่มเชลล์จึงค่อยตั้งบริษัทเอเชียติคปิโตรเลียม (สยาม) จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายเองพัฒนา “น้ำมันตราหอย” ขึ้นมาอีกแบรนด์หนึ่ง

    เช่นกันกับทางฝั่งอเมริกาซึ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมขุดเจาะและโรงกลั่นน้ำมันไล่เรี่ยกับทางยุโรป และมีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเพื่อค้าขายกับสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยกลุ่มธุรกิจน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกที่ชื่อว่า Exxon Mobil เจ้าของตราสินค้า Exxon Esso และ Mobil ที่คนไทยรู้จักดี เว็บไซต์ของ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บอกว่าบริษัทในกลุ่ม คือบริษัทสแตนดาร์ดออยล์แห่ง นิวยอร์กได้เริ่มดำเนินการในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2437 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 แต่นั่นก็เป็นแค่ตัวแทนจำหน่ายเล็กๆ ที่มียอดขายไม่มากนักตามสภาพของยุคสมัย

    สยามประเทศค่อยๆ รู้จักสิ่งที่เรียกว่าน้ำมันสำเร็จรูปในมากขึ้นๆ ตามลำดับที่มีการขยายตัวในการใช้ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองตอนนั้นไม่เฉพาะเรือยนต์เท่านั้น รถยนต์ก็เริ่มมีมากขึ้นบนท้องถนนทั้งแบบเบนเซินและดีเซล คนไทยในชนบทใช้ตะเกียงเจ้าพายุซึ่งต้องใช้น้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิง เริ่มมีการเก็บสต๊อก ขนส่งและจัดจำหน่ายน้ำมันไปยังต่างจังหวัดนอกกรุงเทพฯ ออกไป จึงได้มีการตราพรบ.ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง 2474 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 7) ว่าด้วยการออกใบอนุญาตสถานที่จัดเก็บ จัดจำหน่าย

    นี่เป็นครั้งแรกที่มีการใช้ศัพท์ “น้ำมันเชื้อเพลิง” อย่างเป็นทางการเพื่อใช้เรียกผลิตภัณฑ์จากไฮโดรคาร์บอนจัดแบ่งน้ำมันเชื้อเพลิงเป็น 3 ชนิด (สะกดตามต้นฉบับ) คือ 1.ชะนิดไม่น่ากลัวอันตราย ที่มีขั้นเกิดไฟสูงกว่า 66 ดีกรีเซนติกราดขึ้นไป 2.ชะนิดธรรมดา หมายว่า ที่มีขั้นเกิดไฟในระวางตั้งแต่ 66 ลงมาถึง 23 ดีกรีเซนติกราด และ 3. ชะนิดน่ากลัวอันตราย หมายความว่าที่มีขั้นเกิดไฟต่ำกว่า 23 ดีกรีเซนติกราด

    พรบ.ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง 2474 คือการเริ่มเข้ามาควบคุมกำกับดูแลกิจกรรมเกี่ยวข้องกับน้ำมันเชื้อเพลิงและปิโตรเลียมของไทยในยุคแรก กำหนดปริมาณที่ต้องขออนุญาตเก็บรักษา กำหนดพื้นที่เหมาะสมสำหรับจัดเก็บให้ห่างไกลผู้คน แม้กระทั่งการขนย้ายต้องมีสัญลักษณ์และป้าย “ไวไฟ” ติดไว้ (จนถึงวันนี้คำว่า-ไวไฟ-ที่ติดไว้ข้างรถขนน้ำมันได้ใช้มาเกิน 80 ปีแล้ว)

    แต่กฏหมายดังกล่าวก็แค่การกำกับป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อผู้คนและทรัพย์สินสาธารณะเป็นหลักใหญแต่ไม่ได้คลุมไปถึงราคา น้ำมันเชื้อเพลิงจึงถูกบริษัทฝรั่งที่นำเข้า 2 รายใหญ่จากฝั่งอเมริกา และจากฝั่งยุโรปรวมหัวกันกำหนดราคาขาย

    เอกสารประวัตินโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการเปิดเสรีด้านพลังงาน โครงการศึกษาวิจัยและจัดทำประวัติการพัฒนาพลังงาน ของประเทศไทย : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (มรกต ลิ้มตระกูล – เรียบเรียง เทียนไชย จงพีร์เพียร – บรรณาธิการ) ได้กล่าวถึงการที่ไทยถูกเอาเปรียบโดยรวมหัวกันกำหนดราคาของบริษัทต่างชาติช่วงดังกล่าวว่า

    “ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยต้องสั่งซื้อน้ำมันจากต่างประเทศ ผ่านบริษัทต่างประเทศซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายอยู่ในประเทศไทย ในขณะนั้นมีอยู่ 2 บริษัท คือ บริษัทแสตนดาร์ดแวคคัมออยล์ของอเมริกา (ปัจจุบัน คือ บริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด) และบริษัทรอยัลดัทช์ปิโตรเลียมของอังกฤษกับฮอลแลนด์ (ปัจจุบัน คือ บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด)

    บริษัททั้งสองมีสัญญาส่วนแบ่งการตลาดต่อกัน คือบริษัทของอเมริกามีส่วนแบ่งการตลาดในประเทศจีนและญี่ปุ่นร้อยละ 80 บริษัทของอังกฤษกับฮอลแลนด์มีส่วนแบ่งร้อยละ 20 แต่บริษัทอังกฤษกับฮอลแลนด์มีส่วนแบ่งในประเทศแถบอินโดจีน คือ ไทย แหลมมลายู พม่า และอินเดีย ร้อยละ 80 ส่วนบริษัทของอเมริกามีส่วนแบ่งร้อยละ 20 บริษัททั้งสองจึงรักษาระดับราคาเพื่อให้เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ทำให้บริษัทของคนจีน หรือของคนไทยที่ตั้งขึ้นต้องล้มไปเพราะ ไม่สามารถสู้สองบริษัทดังกล่าวนี้ได้ ดังนั้น ราคาน้ำมันในประเทศไทยจึงถูกผูกขาดโดยบริษัท ดังกล่าวที่จะตั้งราคาขายเท่าใด ทางราชการและประชาชนก็ต้องซื้อในราคานั้น ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศในช่วงนั้นแพงมากเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันในตลาดโลก”

    (เรื่องราวการผูกขาดของ Standard Vacuum Oil Company ของสหรัฐอเมริกากับ Royal Dutch Petroleum รวมหัวกันกำหนดราคาในเอเชียถูกกล่าวถึงในหนังสือ Japanese Industrial Governance: Protectionism and licensing state เขียนโดย Yul Sohn สำนักพิมพ์ Routledge ได้กล่าวไว้ในบทที่ 4 Politics for protection-Petroleum ถึงบทบาทการผูกขาดรวมหัวกันของสองบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ดังกล่าวต่อญี่ปุ่นในต้นศตวรรษที่ 19และการพยายามปลดแอกของญี่ปุ่นจากการครอบงำดังกล่าว)

    บทเรียนของบรรพชน: จะปลดแอกฝรั่ง

    ในยุคนั้นประเทศสยามไม่เคยมีจินตนาการนึกถึงการเป็นผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเอง เพราะบ่อน้ำมันฝางที่มีก็ยังไม่คืบหน้าใดๆ ในการขุดเจาะ เทคโนโลยีการกลั่นก็ไม่มีจึงต้องอาศัยการ “นำเข้า” น้ำมันสำเร็จรูปมาจำหน่ายปลีก ซึ่งมีบริษัทต่างชาติ 2 เจ้าคือ กลุ่มเอสโซ่ กับ กลุ่มเชลล์ รวมหัวกันขาย จึงเป็นโครงสร้างที่ขาดความมั่นคงเพราะในยุคนั้น น้ำมันเริ่มกลายเป็นปัจจัยสำคัญไม่เฉพาะต่อด้านเศรษฐกิจหรือการคมนาคมเท่านั้นหากยังมีความสำคัญต่อการทหารและความมั่นคงด้วย

    หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 รัฐบาลในยุคนั้นมีหลักการสำคัญประการหนึ่งคือหลักประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ เริ่มมีสำนึกความเป็นชาตินิยม รวมถึงเห็นความสำคัญของน้ำมันในฐานะยุทธปัจจัยจึงได้ตรา พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2481 ที่มีเนื้อหาก้าวหน้าไปจากพรบ.ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง 2474 ไปไกลโขเพราะมุ่งปลดแอกการผูกขาดราคาของบริษัทต่างชาติ โดยระบุในมาตรา 14 เรื่องการกำหนดราคาให้รัฐมนตรี(ว่าการกระทรวงเศรษฐการ)กำหนดราคาขายน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งส่งและปลีกรวมทั้งขายเฉพาะท้องถิ่นไว้ด้วย และยังกำหนดให้บริษัทนำเข้าสำรองน้ำมันไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของที่ได้รับอนุญาต (มาตรา11)

    กฎหมายฉบับนี้จึง“เป็นเรื่อง” ขึ้นมาเพราะทั้งสแตนดาร์ดวาคัมออยล์ (เอสโซ่) และรอยัลดัทช์ปิโตรเลียม (เชลล์) รับไม่ได้กับเงื่อนไขชาตินิยม ไม่เสรีอะไรเช่นนี้ (แต่การรวมหัวกำหนดราคาถือว่าเป็นเสรี-ฮา) จึงถอนตัวจากตลาดเมืองไทยไปในเวลาต่อมา

    มองย้อนกลับไปเมื่อครั้งนั้น (2481) จะพบว่า รัฐบาลคณะราษฏร์ที่มีหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เริ่มได้กลิ่นสงครามโลกครั้งใหม่และมีการเตรียมความพร้อมหลายประการเพื่อรับมือเช่น การสำรองทองคำแท่งแทนเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงความสนิทสนมกับทางญี่ปุ่นมากขึ้นเป็นลำดับโดยจนกระทั่งช่วงเกิดสงครามอินโดจีน (พิพาทไทย-ฝรั่งเศสที่มาของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูม พ.ศ.2483-84)

    เอกสารประวัตินโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการเปิดเสรีด้านพลังงาน สะท้อนออกมาได้ชัดเจนถึงความพยายามของคนในยุคก่อนที่พยายามจะปลดแอกตนเองจากการผูกขาดครอบงำ พยายามจะยืนบนขาตัวเองในเรื่องการพลังงานให้จงได้เพราะรู้ดีว่ากิจการด้านนี้มีความสำคัญโยงไปถึงความมั่นคงแห่งรัฐด้วย

    “หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองรัฐบาลยุคนั้นให้ความสำคัญกับการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากเห็นว่าเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญของประเทศ จึงมอบหมายให้ นายวนิช ปานะนนท์ (คณะราษฏรสายพลเรือน) เป็นผู้ดำเนินการจัดการเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิง ...จากนั้น ได้ตั้ง"แผนกเชื้อเพลิง" ขึ้นในกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2476 และกระทรวงกลาโหมได้มอบหมายให้นายวนิช ปานะนนท์ เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อน้ำมันจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่าย ให้แก่ส่วนราชการ ทำให้สามารถซื้อน้ำมันได้ถูกลงและประเทศสามารถประหยัดเงินได้ประมาณปีละแสนเศษและต่อมาคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ยกฐานะแผนกเชื้อเพลิงขึ้นเป็น "กรมเชื้อเพลิง" เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2480”

    ก็น่าสังเกตว่าอธิบดีกรมเชื้อเพลิงคือ นายวนิช ปานะนนท์ ผู้ซึ่งดูแลเรื่องน้ำมันมาตั้งแต่สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งสองนายวนิชคนดังกล่าวก็ถูกมองว่าสนิทสนมกับฝ่ายญี่ปุ่นมากเป็นพิเศษ การตราพรบ.น้ำมันเชื้อเพลิง 2481 เพื่อดัดหลังบริษัทต่างชาติสร้างความมั่นคงทางพลังงานสำรองให้กับประเทศก็มีผลมาจากการดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นของตัวแทนรัฐบาลไทย ขณะที่ในยุคนั้นญี่ปุ่นมีนโยบายชัดเจนเรื่องความเป็นจักรวรรดินิยมปลดแอกการเอาเปรียบของต่างชาติ และที่สำคัญญี่ปุ่นเป็นชาติที่เผชิญกับการเอาเปรียบรวมหัวกำหนดราคาของบริษัทต่างชาติมาก่อน

    พัฒนาการต่อเนื่องหลังจากที่ออกกฎหมายน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วรัฐบาลยุคนั้นยังได้จัดตั้งโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของประเทศ มีกำลังการกลั่น 1,000 บาร์เรล/วัน ตั้งอยู่ที่ช่องนนทรี...เป้าหมายก็เพื่อหยั่งขายืนได้ด้วยตนเองไม่ต้องยืมจมูกฝรั่งหายใจ แต่ก็ไม่วายที่จะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันเพราะหลายปัจจัยแวดล้อมโดยเฉพาะเกิดสงครามในยุโรปจนรัฐบาลพิบูลสงครามต้องตราพรบ.ปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิง 2483 ขึ้นมาบังคับใช้ ประชาชนจะซื้อต้องมีใบคำร้อง (ถ้าเพื่อใช้เองใบละ 5 สตางค์ ถ้ายื่นคำร้องเพื่อขายใบละ 10 สตางค์) และยื่นใบคำร้องเสร็จแล้วจะได้ใบอนุญาตซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องจ่ายค่าใบอนุญาต 20 สตางค์ แต่ถ้าเป็นใบอนุญาตขายจ่ายใบละ 1 บาท)

    พรบ.ปันส่วนน้ำมันถูกใช้ยาวนานจากพ.ศ. 2483 มาตลอดจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทางหนึ่งสะท้อนความเป็นปกติที่ยุคสงครามทุกอย่างต้องขาดแคลน แต่อีกทางหนึ่งกลับสะท้อนถึงความมั่นคงของชาติที่ไม่มีแหล่งน้ำมันเป็นของตนเองต้องพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก และคงจะมีผลต่อการใช้ชีวิตของประชาชนอยู่ไม่น้อยดังปรากฏในกระทู้ถามที่ 28/2485 ของส.ส.จังหวัดระยอง นายเสกล เจตสมมา ต่อการปันส่วนน้ำมันที่ดูเหมือนไม่เท่าเทียมระหว่างผู้มีรถยนต์ส่วนตัวกับประชาชนธรรมดาว่า 1.หากงดการปันให้กับรถยนต์เอกชนจะได้หรือไม่ ? และ 2.ตัดการจ่ายน้ำมันให้รถส่วนตัวมาเพิ่มให้รถยนต์โดยสารจะได้หรือไม่ ?

    ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (จอมพลป.ควบตำแหน่งนายกฯ กลาโหม และต่างประเทศในยุคสงคราม) ได้ลุกขึ้นตอบว่า ทำไม่ได้ เพราะที่คณะกรรมการปันให้รถส่วนตัวเดือนละ 10 ลิตรถือว่าน้อยอยู่แล้วเผื่อกรณีฉุกเฉินและการเดินเครื่องยนต์ไม่ให้รถเสียหาย ส่วนการปันให้กับรถโดยสารเพิ่ม ตอบว่าถ้างดกลุ่มเอกชนมาปันให้รถโดยสารจะเพิ่มได้ไม่มาก ยังไม่คุ้มที่จะทำ

    จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองจบลงพร้อมกับการพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น 2 ตัวแทนบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ค่ายยุโรป และอเมริกาคือเชลล์และเอสโซ่เดินทางมาพร้อมกับเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ

    เหตุการณ์ตรงขุดนี้เอกสาร “ประวัตินโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการเปิดเสรีด้านพลังงาน” ระบุว่าผู้บริหารของบริษัทน้ำมันดังกล่าวมีสถานะเป็น “เป็นเจ้าหน้าที่น้ำมันเชื้อเพลิงของสหประชาชาติ” ทำให้นึกถึงบริษัทน้ำมันเครือข่ายจอร์จ บุช-ดิก เชนีย์ เดินทางเข้าอิรักพร้อมกับกองทหารเพื่อทำมาหากินในนามของผู้รับชัยชนะ เช่นเดียวกันเลย...เชลล์และเอสโซ่ยื่นข้อเสนอถึงรัฐบาลไทยให้ปลดพันธนาการพรบ.น้ำมันเชื้อเพลิง 2481 ที่ควบคุมผู้นำเข้าเข้มงวด บังคับสำรองน้ำมันและบังคับกำหนดราคาขาย

    ในที่สุดรัฐบาลไทยในยุคนั้นก็ต้องยอมตามคำขอของบริษัทน้ำมันตะวันตก ที่เข้ามาพร้อมกับผู้ชนะคือกองกำลังทหารสหประชาชาติในนามของการเรียกร้องการค้าเสรี

    1 เมษายน 2489 รัฐบาลไทยได้ออกพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายว่าด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง มีเนื้อหาแค่ 3 มาตรา ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

    เอกสาร “ประวัติศาสตร์การพลังงานไทยเอกสารนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการเปิดเสรีด้านพลังงานโครงการศึกษาวิจัยและจัดทำประวัติการพัฒนาพลังงาน :สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน” (ที่ผู้เขียนใช้อ้างอิงบ่อยครั้ง) มีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยในจุดนี้ เพราะระบุว่า การยกเลิกกฎหมายเกิดในสมัยนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีตามปรากฏที่เขียนว่า

    “นาย เจ.เอ.อีแวน ผู้ช่วยผู้จัดการบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด และนายอี.พี.เจ. ผู้จัดการบริษัทแสตนดาร์ดแวคคัมออยล์ จำกัด เป็นเจ้าหน้าที่น้ำมันเชื้อเพลิงของสหประชาชาติร่วมเดินทางมาด้วย และได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เพื่อเจรจาเรื่องการค้าน้ำมันเสรี จนมาถึงปี พ.ศ. 2489 สมัยที่นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี บริษัทน้ำมันต่างชาติได้ขอเข้ามาทำการค้าในประเทศและขอให้รัฐบาลยกเลิกพระราชบัญญัติ น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2481 โดยอ้างว่าไม่เป็นการค้าเสรีในที่สุดก็มีการตกลงยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าว”

    เพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาระบุว่าผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการคือ นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจากนายควง อภัยวงศ์ ที่อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแค่ระยะสั้นๆ ประมาณ 3 เดือนเท่านั้น (จุดตรงนี้น่าที่สนพ.น่าจะปรับแก้ต่อไป)

    โดยที่สุดแล้ว บริษัทน้ำมันตะวันตกอาศัยจังหวะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้ชนะสงครามกลับเข้ามาสู่ตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงและกดดันรัฐบาลไทยให้ยกเลิกกฎหมายควบคุมผู้นำเข้า ควบคุมราคาจำหน่าย (ส่ง ปลีก และพื้นที่เฉพาะ) ทำให้รัฐบาลต้องหันไปใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการค้ากำไรเกินควรมาควบคุมราคาขายปลีกตามต่างจังหวัดแทน ซึ่งเนื้อแท้ก็คือการควบคุมคนไทยที่อยู่ปลายทางของสินค้าในฐานะผู้ค้าปลีกรายย่อย ไม่สามารถเข้าไปควบคุมบริษัทฝรั่งผู้นำเข้า ผู้เก็บกักสำรองน้ำมันดังที่เคยทำมา

    ประวัติศาสตร์น้ำมันเชื้อเพลิงในยุคต้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงยุคที่ประเทศไทยเริ่มค้นพบหลุมก๊าซธรรมชาติสมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประมาณพ.ศ. 2524 จึงเป็นช่วงเวลาของบริษัทน้ำมันต่างชาติมีบทบาทและอิทธิพลครอบงำตลาด ขณะที่รัฐบาลไทยแต่ละยุคก็พยายามจะดิ้นรนขยับขยายเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานเชื้อเพลิงไปทีละขั้นทีละเล็กละน้อย ใช้เวลาร่วม 50 ปีกว่าที่กิจการสัญชาติไทยจะมีบทบาทและอิทธิพลครอบตลาดบนพื้นฐานของการค้นพบแหล่งก๊าซและปิโตรเลียมจำนวนมากบนผืนแผ่นดินไทย

    แต่น่าเสียดายที่กิจการรัฐวิสาหกิจสัญชาติไทยกลับกดขี่ขูดรีดเสียยิ่งกว่ายุคฝรั่งครอบงำ !

    (มีต่อตอนต่อไป)

    Columnists - Manager Online -
     

แชร์หน้านี้

Loading...