ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
    <!-- Main -->[SIZE=-1]

    [​IMG]


    วัยเยาว์ ...ฉันยังเด็ก
    ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้เกินไปที่จะคิด
    ชีวิตฉันเพิ่งเริ่มต้น ทุกวันนี้ยังต้องแบมือขอเงินพ่อแม่
    และฉันไม่เหลือพอที่จะเก็บ ฉันกำลังเล่นสนุก
    วันหนึ่งเมื่อฉันโตขึ้นฉันจะเก็บเงิน



    วัยรุ่น
    ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
    ฉันยังเรียนหนังสืออยู่
    พ่อแม่ให้เงินสำหรับพอใช้ในแต่ละวันเท่านั้น
    ฉันยังเก็บเงินไม่ได้หรอก
    นอกจากนั้นฉันยังมีเรื่องอื่นๆ
    ที่ต้องใช้เงินอีกเมื่อฉันเรียนจบ
    และถ้าฉันหาเงินได้เอง ฉันจึงจะเก็บ



    วัย 20
    ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...ฉันเพิ่งเรียนจบ
    ขอเวลาฉันได้พักสมองบ้าง
    และฉันยังไม่พร้อมที่จะผูกมัดเรื่องนี้
    ฉันยังต้องการแสวงหาความสนุก
    ในขณะที่ฉันสามารถทำได้
    ยังมีเวลาเหลืออีกมากที่จะคิด
    ถึงตอนนั้นเมื่อฉันพร้อมฉันก็จะเก็บ



    วัย 30
    ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
    ฉันเพิ่งมีครอบครัวและต้องรับผิดชอบหลายอย่าง
    ค่าใช้จ่ายลูกเดี๋ยวนี้แพงเหลือเกิน
    และฉันยังต้องผ่อนหนี้เงินกู้บ้านอีกด้วย
    ทุกวันนี้แทบจะชักหน้าไม่ถึงหลังอยู่แล้ว
    ถ้าวันข้างหน้าฉันหาเงินได้มากกว่านี้
    และลูก ๆ โตแล้ว ฉันจึงจะเก็บ



    [​IMG]


    วัย 40
    ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
    ลูกฉันเริ่มเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัย
    เดี๋ยวนี้ค่าหน่วยกิตและค่าต่างๆ แพงมาก
    ไหนยังต้องผ่อนหนี้เงินกู้ที่ซื้อรถยนต์ให้ลูกอีก
    ฉันกลัวพวกเขาลำบาก
    ตอนนี้ยอมรับว่าค่าใช้จ่ายสูงจริง ๆ
    และเป็นเวลาที่ยากที่จะเก็บเงิน
    แต่อีกสักระยะเมื่อพวกเขาเรียนจบ
    การเงินคงจะคล่องตัวขึ้น
    ถึงตอนนั้นฉันจึงจะเก็บ



    วัย 50
    ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
    ตอนนี้ลูก ๆ เริ่มโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว
    หลายคนกำลังจะแต่งงาน
    ฉันอยากให้พวกเขาเริ่มต้นชีวิตที่ดี
    นอกจากนี้ฉันยังต้องไปช่วยญาติบางคน
    ซึ่งตอนนี้พวกเขากำลังต้องการความช่วยเหลือ
    เหตุการณ์มันไม่ได้เป็นไปตามที่ฉันคิดไว้เลย
    มันติดขัดไปหมด
    โชคดีเมื่อไหร่ฉันคงจะเก็บเงินได้



    วัย 60
    ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้...
    ฉันนึกว่าสถานการณ์น่าจะดีขึ้น ฉันอยากเกษียณอายุก่อน
    แต่ฉันไม่สามารถทำได้
    ฉันกำลังพยายามจ่ายเงินติดค้างจำนองบ้านที่เหลือ และหนี้สินอื่น ๆ
    แต่ทุกอย่างยังประดังเข้ามา ไหนจะลูกเอยหลานเอย
    ไอ้โน่นไอ้นี่มาลงที่ตัวฉันหมด ถ้าภาระฉันหมดเมื่อไร
    ฉันภาวนาว่าฉันน่าจะเก็บได้



    วัย 70
    ฉันไม่สามารถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้..ฉันแก่เกินไปที่จะเก็บ
    เงินบำนาญของฉันก็มีไม่มากพอ
    บิลค่ายา และค่าดูแลรักษาพยาบาลระยะยาวทำให้ฉันเป็นห่วงอยู่
    ฉันไม่อยากไปเป็นภาระของลูกๆ เขา
    ฉันน่าจะเก็บตอนที่ฉันมีและควรเก็บได้
    ตอนนี้มันสายเกินไป.ฉันไม่สามาถเก็บเงินได้เดี๋ยวนี้จริงๆ.....


    ................................

    อ่านกันแล้ว ก็เริ่มต้นเก็บเงินกันตั้งแต่วันนี้เลยดีกว่ามั๊ยคะ...


    ..................................
    ที่มา : มีสุข ดอทคอม
    [/SIZE]
     
  2. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    <TABLE style="FONT-SIZE: 12pt" width=550 align=center><TBODY><TR><TD align=middle>พระกรุบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE style="FONT-SIZE: 11pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR height=15><TD></TD></TR><TR><TD align=middle>
    [​IMG] [​IMG]
    วัดบางระกำ หรือ วัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นที่รู้จักของนักนิยมสะสมพระเครื่อง โดยเฉพาะนักเล่นรุ่นเก่า เพราะเป็นสถานที่ซึ่งพบ พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ และพระฝักไม้ดำ
     
  3. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    <TABLE style="FONT-SIZE: 12pt" width=550 align=center><TBODY><TR><TD align=middle>พระขุนแผนเนื้อผงรุ่นแรก ปี 40 หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จ.อยุธยา</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="FONT-SIZE: 11pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR height=15><TD></TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR height=15><TD></TD></TR><TR><TD align=middle>หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย จ.อยุธยา สุดยอดเกจิองค์หนึ่งของจังหวัดอยุธยาในยุคปัจจุบัน และในบรรดาพระเกจิที่โด่งดังของจังหวัดอยุธยาในยุคปัจจุบันนี้ หลวงพ่อมี เป็นพระเกจิที่มีพรรษา และอายุมากกว่าองค์อื่น ๆ ก็ว่าได้ วัตถุมงคลรุ่นต่าง ๆ ของท่านล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ด้านต่าง ๆ อย่างมากมายจนได้รับการกล่าวขานยกย่องว่าเป็น "จอมขมังเวทย์" พระขุนแผนรุ่นแรกของหลวงพ่อมีนี้ เป็นพระที่ลูกศิษย์สร้างถวายแด่หลวงพ่อ มีเนื้อเทา (นิยม) ประมาณ 2000 องค์ และเนื้อเหลืองประมาณ 7000 องค์ นอกจากนี้ยังมีพิมพ์ใหญ่พิเศษ 19 องค์ (แจกกรรมการ) พระขุนแผนของหลวงพ่อมีนี้กล่าวว่ามีประสบการณ์ทางด้าน เมตตา มหาเสน่ห์ จนมีการกล่าวขวัญตั้งสมญานามว่า "ยอดขุนพล แห่งอยุธยา มหาเสน่ห์แห่งเมืองเสนา" มีการเสาะแสวงหากันเป็นอันมากและราคาเล่นหาก็ยังไม่แพงอีกด้วย ..... (ที่มา จากหนังสือ กรุงสยาม)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="FONT-SIZE: 11pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR height=15><TD></TD></TR><TR><TD align=middle><TABLE style="FONT-SIZE: 11pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD width=15></TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR height=15><TD></TD></TR><TR><TD align=middle>ขุนแผนหลวงพ่อมี วัดมารวิชัย รุ่นแรก ปี40 เนื้อเทา (หน้า - หลัง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="FONT-SIZE: 11pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR height=15><TD></TD></TR><TR><TD align=middle><TABLE style="FONT-SIZE: 11pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD width=15></TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR height=15><TD></TD></TR><TR><TD align=middle>ขุนแผนหลวงพ่อมี วัดมารวิชัย รุ่นแรก ปี40 เนื้อเหลือง (หน้า - หลัง)</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE style="FONT-SIZE: 11pt" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR height=15><TD></TD></TR><TR><TD align=middle>ขนาดขององค์พระช่วงที่กว้างที่สุดประมาณ 2.1 ซ.ม. สูงประมาณ 2.8 ซ.ม. </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.collection9.net
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมสำหรับงานบุญประจำเดือนกรกฎาคม 2551 ซึ่งเป็นครั้งที่ 8 ของทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์นี้ (27/7) ที่ รพ.สงฆ์ พร้อมรายละเอียดการบริจาคปัจจัยที่จะมอบให้แก่ รพ.ที่ดำเนินการสงเคราะห์พ่อแม่ครูอาจารย์ที่อยู่ต่างจังหวัด และเข้ามารักษาตัวยังหอสงฆ์อาพาธ เพื่อกระจายความช่วยเหลือให้ได้มากที่สุดดังนี้


    1. รพ.สงฆ์ส่วนกลางในกรุงเทพฯ

    1. ปัจจัยสำหรับการบริจาคซื้อเลือด 9,000.- บาท
    2. ปัจจัยสำหรับการบริจาคซื้อวัสดุฯ ส่วนกลาง 9,000.- บาท
    3. ปัจจัยถวายเป็นค่าสังฆทานอาหารสำหรับ
    พระสงฆ์ประมาณ 200 รูปๆ ละ 25.-บาท 5,000.- บาท
    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 23,000.- บาท


    2. รพ. 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ จ.อุบลราชธานี

    บริจาคเป็นเงินเข้าส่วนกลางสำหรับสงเคราะห์สงอาพาธทั้งเดือน
    เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4,000.- บาท


    3. รพ. ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยบริจาคผ่านกองทุน
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    บริจาคเป็นเงินเข้าร่วมกับกองทุนฯ เพื่อนำเข้าบัญชีการใช้จ่ายของหอสงฆ์อาพาธใน รพ. และสำหรับโครงการหน่วยเคลื่อนที่ของแพทย์ที่ออกไปรักษาพ่อแม่ครูอาจารย์ที่เป็นเนื้อนาบุญที่ดี แต่สูงอายุ ไม่สามารถเข้ามารับการรักษาที่ รพ.ได้ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,000.- บาท

    รวมเป็นจำนวนเงินปัจจัยสำหรับที่จะถวายตามข้อ. 1+2+3 ทั้งสิ้น 30,000.-บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)


    โดยกำหนดการคร่าวๆ นั้นพวกเรา จะพร้อมกันที่ โรงอาหารของ รพ. เพื่อจัดเตรียมของถวายสังฆทานอาหารไม่เกิน 7.30 น. และราว 8.00 น.จะเริ่มเคลื่อนย้ายสังฆทานอาหารไปยังตึกกัลยาณิวัฒนาเพื่อทำการถ่ายรูปหมู่ เพื่อเป็นที่ระลึกในการทำกิจกรรมในครั้งนี้กันก่อน และจะเริ่มเคลื่อนย้ายเครื่องสังฆทานทั้งหมดไปยังชั้น 6 เพื่อทำพิธีถวายสังฆทาน โดยจะไล่มาทีละชั้น จนกว่าสังฆทานจะหมด ซึ่งจำนวนพระสงฆ์ที่อาพาธทั้งหมดทางคุณวรรณ เจ้าของร้านค้าที่รับจัดอาหารจะเช็คยอดให้สุดท้ายในวันศุกร์นี้ และเมื่อถวายสังฆทานเสร็จสิ้นก็จะนัดสังสรรค์ที่ห้องด้านล่างของตึก เพื่อทานอาหารว่างและน้ำดื่มกัน โดยหวังว่าในคราวนี้ น่าจะมีโรตีสายไหม จากอยุธยา ไส้กรอก หรือขนมอื่นมาเพิ่มเติม จากก๊วนบุญขาประจำที่ร่วมทำบุญด้วยกันมาลิ้มรสด้วย โดยส่วนกลางคณะกรรมการทุนนิธิฯ มีขนมปังรองท้องไว้ให้นิดหน่อยแล้ว สำหรับนักเรียนฝึกดูพระคราวนี้อย่าลืมกล้องส่องพระ หรือกล้องถ่ายรูปด้วยก็ได้ โดยมีพระพิมพ์ที่จะนำมาศึกษาคราวนี้คือ
    1.พระสมเด็จปัญจสิริ (ทบทวน)
    2.พระสมเด็จปีระกา (ทบทวน) ใครที่จองพระไว้เตรียมเงินมาด้วยครับองค์ละ 300.- บาทรับพระและจ่ายเงินที่ผมครับ
    3.พระสมเด็จเจ้าฟ้า (เรียนใหม่)
    3.1 พิมพ์อสนีบาต (ฟ้าผ่า)
    - พิมพ์ใหญ่
    - พิมพ์อะระหัง
    - พิมพ์ปรกโพธิ์
    3.2 พิมพ์วัดกลางคลองข่อย
    4. พระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า (บางพิมพ์) (เรียนใหม่)
    5. พระอื่นๆ (เรียนใหม่)
    5.1 พระพิมพ์วัดสัมพันธวงศ์
    5.2 พระพิมพ์หลวงปู่เทพโลกอุดรรุ่นแรกที่ได้รับจาก อ.ประถม
    5.3 พระอื่นๆ อีกหลายรายการ

    สำหรับในวันนี้แจ้งให้ทราบแค่นี้ก่อนครับ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะได้รีบแจ้งให้ทราบทันที



    พันวฤทธิ์
    23/7/51
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2008
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๑ : ทรงตรัสแก่ดุสิตเทพบุตร
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๑ : ทรงตรัสแก่ดุสิตเทพบุตร

    ดุสิตเทพบุตร (พระพุทธมารดา) ลงมาดูอาการพระโพธิสัตว์

    เมื่อเห็นพระโพธิสัตว์ หมดเรียวแรงล้มลงแทบสิ้นพระชนม์ชีพ เหล่าเทพเทวาทั้งหลายที่เฝ้าดูอยู่บนทิพย์วิมานด้วยความห่วงใย ได้ร้องขึ้นว่า
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ... คุณจะเลือกทางไหน ...

    <!-- Main -->[SIZE=-1]<CENTER>คุณจะเลือกทางไหน


    มีแง่คิดดีเหมือนกัน ... ลองอ่านและเลือกดูค่ะ



    มีเด็กกลุ่มหนึ่งเล่นกันใกล้รางรถไฟ 2 ราง
    รางหนึ่งอยู่ในระหว่างการใช้งาน ในขณะที่อีกรางหนึ่งไม่ได้ใช้งานแล้ว

    มีเพียงเด็กคนเดียวเท่านั้นที่เล่นบนรางที่ไม่ได้ใช้งาน
    ส่วนเด็กที่เหลือนั่งเล่นอยู่บนรางที่ยังใช้งานอยู่

    เมื่อรถไฟแล่นมา คุณอยู่ใกล้ๆที่สับรางรถไฟ
    คุณสามารถเปลี่ยนทางรถไฟไปยังรางที่ไม่ได้ใช้งานเพื่อช่วยชีวิตเด็กส่วนใหญ่
    แต่นั่นหมายถึงการเสียสละชีวิตของเด็กคนที่เล่นอยู่บนรางที่ไม่ได้ใช้งาน

    หรือคุณเลือกจะปล่อยให้รถไฟวิ่งทางเดิม ?
    ลองหยุดคิดสักนิด มีทางเลือกใดที่เราสามารถตัดสินใจได้

    คุณต้องทำการตัดสินใจก่อนที่จะอ่านต่อไป

    รถไฟไม่สามารถหยุดรอให้คุณไตร่ตรองได้

    คนส่วนมากอาจเลือกที่จะเปลี่ยนทางรถไฟ และยอมสละชีวิตของเด็กคนนั้น
    ฉันคิดว่า คุณก็อาจจะคิดเช่นเดียวกัน

    แน่นอน ตอนแรกฉันก็คิดเช่นนี้เพราะการช่วยชีวิตเด็กส่วนมาก
    ด้วยการเสียสละชีวิตเด็กหนึ่งคนนั้นดูสมเหตุผลทั้งทางศีลธรรมและความรู้สึก
    แต่คุณเคยคิดบ้างไหมว่าเด็กที่เลือกเล่นบนรางที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว
    ที่จริงเขาได้ตัดสินใจถูกต้อง ที่จะเล่นในสถานที่ๆ ปลอดภัยแล้วต่างหาก

    แต่ทว่า เขากลับต้องเสียสละชีวิตให้กับเพื่อนที่ไม่ใส่ใจ และเลือกที่จะเล่นในที่อันตราย

    สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นรอบตัวเราทุกวัน
    ในสถานที่ทำงาน ย่านชุมชน การเมืองโดยเฉพาะในสังคมประชาธิปไตย
    คนกลุ่มน้อยมักจะถูกเสียสละให้กับผลประโยชน์ของคนหมู่มาก
    แม้ว่าคนกลุ่มน้อยจะฉลาด มองการณ์ไกล และคนหมู่มากจะโง่เง่า ไม่ใส่ใจก็ตาม

    เด็กคนที่เลือกที่จะไม่เล่นบนรางที่อยู่ในการใช้งานตามเพื่อนๆ ของเขา
    และคงไม่มีใครเสียน้ำตาให้หากเขาต้องสละชีวิตก็ตาม


    เพื่อนที่ส่งต่อเรื่องนี้มาบอกว่า เขาจะไม่พยายามเปลี่ยนเส้นทางรถไฟ
    เพราะเขาเชื่อว่าเด็กที่เล่นอยู่บนรางที่อยู่ในการใช้งานย่อมรู้ดีว่า ...
    รางนั้นยังอยู่ในระหว่างการใช้งาน
    และพวกเขาควรจะหลบออกมาเมื่อพวกเขาได้ยินเสียงหวูดรถไฟ

    ถ้าทางรถไฟถูกเปลี่ยน เด็กหนึ่งคนนั้นต้องตายอย่างแน่นอน
    เพราะเขาไม่เคยคิดว่ารถไฟจะเปลี่ยนมาใช้เส้นทางนั้น

    นอกจากนั้น รางที่ไม่ได้ถูกใช้งานอาจเป็นเพราะรางนั้นไม่ปลอดภัย
    ถ้ารถไฟถูกเปลี่ยนเส้นทางมาที่รางนี้ เราทำให้ชีวิตของผู้โดยสารทั้งหมดตกอยู่ในอันตราย
    ในขณะที่คุณพยายามช่วยชีวิตเด็กจำนวนหนึ่งโดยการสละชีวิตเด็กหนึ่งคน
    อาจกลายเป็นการสังเวยชีวิตผู้คนนับร้อยก็เป็นได้

    เรารู้ว่าชีวิตเต็มไปด้วยการตัดสินใจอันยากลำบาก
    บางครั้งเราอาจลืมไปว่า ...
    การตัดสินใจอันรวดเร็วใช่จะเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอไป

    จำไว้ว่า ... สิ่งที่ถูกต้องไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่นิยมปฎิบัติ
    และสิ่งที่เป็นที่นิยม ไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป

    ทุกๆ คนสามารถทำสิ่งผิดพลาดได้
    และนั่นคือเหตุผลที่เขาใส่ยางลบไว้ที่ปลายของดินสอ
    </CENTER><CENTER> </CENTER>[/SIZE]
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center bgColor=#dddddd border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD><TABLE height=30 cellSpacing=3 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD style="BACKGROUND-POSITION: right bottom; BACKGROUND-IMAGE: url(../bg/pagebg0.jpg); BACKGROUND-REPEAT: no-repeat">
    [​IMG]


    <TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>//-ไข่หนอน ย่อมบ่รู้จักโลก
    หนอนฟอนใบไม้ ช่างสุขขี
    ดักแด้ หยุด เปลี่ยแปลงภายใน ทุกนาที
    กลายเป็นผี้เสื้อ เสพแต่น้ำหวาน อัศจรรย์ฯ
    //-เปรียบดัง บางคน คอหยักๆสักว่า เป็นฅน
    เสพบาป พึงใจใน โลกธรรมวิถี
    สัมมาสติโพธิปัญญาตื่นมอง วัฎฏะจิตตน ทุกนาที
    ที่แท้ ทางอริยะนี้ อยู่ในใจเรา ทุกคนเอยฯ
    //-ดุจผู้ฝึก สมถะ วิปัสสนา ทุกขณะจิต
    ย่อมยินดี ละชั่ว เจริญกุศลนั่น
    เดินทางภายใน จนพบวิมุติ วิโมกข์นิพพานธรรม
    ชีวิต มีชีวางดงาม ดั่งผีเสื้อ อัศจรรย์เอยฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอขอบคุณ
    http://www.dhammathai.org/kaveedhamma/view.php?No=992


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ขอเล่าเรื่องที่ไปบ้าน อ.ประถมฯ เมื่อวันที่ 22/7 ต่ออีกนิดนึง วันนั้นไปไม่ถึงชั่วโมง แต่ได้สาระและประเด็นมาก อย่างเช่นคุยเรื่องพระพิมพ์ที่เด่นทางด้านโภคทรัพย์ หรือทางด้านลาภ ท่าน อ.ประถมฯ ได้กรุณาเล่าเพิ่มเติมว่า บางคนแขวนพระชนิดที่มีเอกคุณเด่นทางด้านลาภ แต่ทำไมถึงไม่มีลาภเข้ามา แต่บางคนแขวนพระทางด้านอื่นๆ กลับมีลาภเข้ามาบ่อยครั้ง ก็เป็นสาเหตุอันเนื่องมาจากบุญบารมีของแต่ละคนไม่เท่ากัน เพราะบางทีลาภเข้ามาแล้ว แต่มีเหตุปัจจัยอื่นคือยังไม่ถึงเวลาที่จะได้ลาภนั้น ก็ทำให้ลาภนั้นต้องมีอันเคลื่อนไป คือพูดง่ายๆ บุญยังไม่ถึงนั่นเอง แต่บางทีลาภก็ได้มาเองเลย นั่นก็คือถึงวาระเค้าแล้วบุญเต็มยังไงก็ต้องได้ ทีนี้ก็วกกลับมาถึงเรื่องพระพิมพ์ว่าแล้วมีพระพิมพ์อะไรล่ะที่ทำให้เราจะได้ลาภนั้นเพิ่มขึ้นเร็ว ท่านก็บอกทันทีว่าก็ต้องเป็นพระของหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร เพราะท่านมีบารมีมากกว่า ให้ดูอย่างปู่ มีคนมาให้ข้าวของทุกวัน ไม่อดอยาก นำของไปถวายพระก็เยอะ เพราะกินไม่ทัน ก็เลยเหลือบไปเห็นพี่จิ๋ว ลูกชาย อ.ประถมฯ ยืนอยู่ใกล้ๆ เลยถามว่า พี่จิ๋ว แขวนพระอะไร พี่จิ๋วก็ค่อยๆ ล้วงพระออกมาให้ดู อ้าว...พระพิมพ์ของหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรที่ทุนนิธิฯ เราแจกนี่นา เป็นพิมพ์สังกัจจายใหญ่ซะด้วย ก็อดแปลกใจไม่ได้ว่าพระที่บ้าน อ.ประถมฯ มีตั้งเยอะแยะ ทำไมถึงเลือกที่จะแขวนพระแจกฟรีที่ทุนนิธิฯ ให้ไป นั่นก็เป็นเพราะเมื่อดูข้างใน (อิทธิคุณ) ด้วยฌาณลาภีผู้มีตาในดี 2 ท่านคือ อ.ประถมฯ และพี่ใหญ่แล้ว ก็ลงความเห็นเหมือนกัน เพียงแต่ว่าองค์ท่านใหญ่ไปหน่อย (พิมพ์ใหญ่) ก็เลยใส่ลำบากไม่ค่อยมีใครแขวน เพื่อจะทดลองดูว่าได้ผลจริงเท็จประการใด ส่วนใครที่ได้พิมพ์เล็กไป ก็สบายไป แขวนได้เลย ได้ผลยังไงแจ้งมาให้ทราบบ้างก็ยังดี ตานี้ก็มาถึงว่า เมื่อแขวนพระพิมพ์ที่เรียกลาภได้ หรือไขกุญแจให้ได้ลาภเร็วขึ้น แล้วต้องทำไงต่อ ก็ต้องตอบว่าต้องหมั่นทำบุญ ทำกุศลให้มากขึ้น ซึ่งก็จะสอดคล้องกับเหตุปัจจัยในคำสอนที่ว่า "อยากรวยให้ทำทาน อยากไปนิพพานต้องหมั่นภาวนา" ทีนี้ก็มาถึงเรื่องพระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าว่ามีจริงหรือไม่ ท่านฯ ก็ถามว่า แล้วหลวงปู่ทวด มีจริงหรือไม่ มีใครเคยเห็นท่านจริงๆ บ้าง ว่าท่านมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร แล้วทำไมพระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า หรือพระพิมพ์ของท่านบรมครูเทพโลกอุดร ถึงตีว่าเก๊ล่ะ เอ้าหลังจากคำถามนี้ ก็ฝากให้ผู้ที่เข้ามาอ่านได้ใช้หลักตรรกะในการคิดด้านเศรษฐศาสตร์ดูเอาเองก็แล้วกันครับ วันนี้เอาแค่นี้ก่อน วันอื่นค่อยมาเล่าต่อครับ เพราะขอพิสูจน์อะไรบางอย่างในวันที่มีกิจกรรมในวันอาทิตย์นี้ก่อน ว่าจะมีจริงหรือไม่ตามที่ ท่านข้างบนระบุมา......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2008
  9. kanpirom

    kanpirom สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +3
    ร่วมทำบุญด้วยครับ โอนเงินไปวันนี้เวลา 13:19 น. จำนวน 400 บาทครับ
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    <TABLE cellSpacing=10 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=20>อมตะสังขารพระอริยะเจ้า...เหตุใดจึงไม่เน่า</TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=HotNews vAlign=top>อมตะสังขารพระอริยะเจ้า
    โดย...กิเลนธรรม

    ตามธรรมดาแล้วคนเราเมื่อสิ้นอายุขัย สรีระร่างกายก็จะเน่าเปื่อย ผุพัง สลายลงไป แต่มี ร่างกายของบุคคลบางคน กลับไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของธรรมชาตินี้ จากคำบอกเล่าที่มีสืบๆ กันมาพอจะจำแนกสาเหต ุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ได้ดังนี้กล่าวคือ

    ๑. การนำศพไปแช่หรือฝังไว้ในน้ำแข็ง ซึ่งความเย็นจะสามารถยับยั้งกระบวนการเน่าเปื่อย ได้เป็นระยะเวลานาน
    ๒. การนำศพไปอยู่ในสภาพแวดล้อมพิเศษ
    ๓. การใช้ว่านยาพิเศษ ที่ทำให้ร่างกายคงทนต่อการย่อยสลายของจุลินทรีย์ เช่นพวกมัมมี่
    ๔. การอธิษฐานจิตของผู้ทรงอภิญญา
    ๕. เทพยดาปกปักรักษาสังขารของผู้ทรงธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    หลวงพ่อทบ หรือพระครูวิชิตพัชราจารย์

    ในบทความนี้ผู้เขียนสนใจเฉพาะ ปรากฏการณ์อมตะสังขาร ซึ่งเกิดขึ้นจากการอธิษฐานจิตของ ผู้ทรงอภิญญา และผู้ทรงธรรม ทรงบุญฤทธิ์ ตามปกติแล้วเมื่อคนเราถึงแก่ความตาย ธาตุลมจะหยุดก่อนธาตุอื่น เมื่อธาตุลมหยุดแล้วก็ไม่มีอะไรไปควบคุมธาตุไฟ (ไฟจะติดได้ต้องใช้ออกซิเจน ซึ่งเป็นธาตุลม) ร่างกายของศพก็จะเย็นลง เมื่อธาตุไฟหยุด ก็ไม่มีอะไรไปควบคุมธาตุน้ำ (ปกติ ธาตุไฟจะควบคุมธาตุน้ำ ให้เป็นเหงื่อ ให้เป็นปัสสาวะฯ) ธาตุน้ำก็จะละลายธาตุดิน ทำให้ศพขึ้นอืด เน่าเปื่อย เนื่องเพราะเหตุผลนี้ บุคคลที่สำเร็จกสินในธาตุทั้งสี่ จึงสามารถควบคุมวงจรการเน่าเปื่อยผุผังของสังขารได้

    ในประเทศไทย ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา มีพระอริยสงฆ์มากมาย จึงเกิดปาฏิหาริย์ สรีระของพระคุณเจ้าจำนวนมาก ไม่เน่าสลายไปตามกาลเวลา เฉพาะในรอบห้าสิบปีที่ผ่านมา มี จำนวนนับเป็นร้อยๆ รูป ดังจะยกตัวอย่างเช่น
    1 .หลวงพ่อสิงห์ วัดแก้วโกรวาราม กระบี่
    2. หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    3. หลวงพ่อทอง วัดราชโยธา กรุงเทพฯ
    4. หลวงพ่อนพ ภูวริ วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ
    5. หลวงพ่อโพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมน กรุงเทพฯ
    6. หลวงพ่อวงศ์ วัดปริวาส กรุงเทพฯ
    7. หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    8. หลวงพ่อชื่น วัดถำ้เสือ กาญจนบุรี
    9. หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะฯ กาญจนบุรี
    10. หลวงพ่อแบน วัดมโนธรรมการาม(วัดนางโน) กาญจนบุรี
    11. หลวงพ่อสัมฤทธิ์วัดถ้ำแฝด กาญจนบุรี
    12. หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
    13. หลวงพ่อโหพัฒน์ โรงเจชุ่นเทียนติ้ว หลังตลาดท่าเรือ กาญจนบุรี
    14. หลวงพ่ออุตตมะ วัดสังขละ กาญจนบุรี
    15. หลวงพ่อทรัพย์ วัดบ้านงิ้ว ชลบุรี
    16. หลวงพ่อเริ่ม ปรโม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี
    17. หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ชัยนาท
    18. หลวงพ่อนิพนธ์ อัตถกาโม วัดจั่นเจริญศรี อ.สรรค์บุรี ชัยนาท
    19. หลวงพ่อเย็น วัดสระเปรียญ ชัยนาท
    20. หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
    21. หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน อ.หลังสวน ชุมพร
    22. หลวงพ่อเปียก วัดนาสร้าง อ.ท่าแซะ ชุมพร
    23. หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
    24. หลวงพ่อไสย์ วัดเทพเจริญ ชุมพร
    25 ครูบา ธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
    26 ครูบา กองแก้ว วัดต้นยางหลวง เชียงใหม่
    27 ครูบา ธรรมชัย วัดท่งหลวง เชียงใหม่
    28 ครูบา อินสม วัดทุ่งน้อย ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว เชียงใหม่
    29 หลวงพ่อ น้อย วัดบ้านปง อ.แม่แตง เชียงใหม่
    30 หลวงพ่อ หล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึง อ.สันกำแพง เชียงใหม่
    31 หลวงพ่อ อิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง - วัดทุ่งปุย เชียงใหม่
    32 หลวงพ่อ น้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม
    33 หลวงพ่อ เปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
    34 หลวงพ่อ พูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม
    35 หลวงพ่อ หล่วงพ่อเพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
    36 หลวงพ่อ ไสว วัดปรีดาราม นครปฐม
    37 หลวงพ่อ เงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม นครปฐม แต่สงสัยว่าจะเผาไปแล้ว
    38 หลวงพ่อ แจ้ง วัดใหม่สุนทร นครราชสีมา
    39 หลวงพ่อ นิล อิสสโร วัดครบุรี นครราชสีมา
    40 หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย วัดป่าสารวัล นครราชสีมา
    41 หล่วงพ่อ เขียว วัดหรงบน อ.ปากพนัง นครศรธรรมราช
    42 หลวงพ่อ เกลื่อม ฐานิสสโดร วัดคคาวดี ต.ปากแพรก อ.ปากพนัง นครศรีธรรมราช
    43 หลวงพ่อ คล้าย วาจาศิษย์ วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
    44 หลวงพ่อ คลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
    45 หลวงพ่อ มุ่ย วัดป่าระกำเหนือ นครศรีธรรมราช
    46 หลวงปู่ สี วัดถ้ำเขาบุนนาค นครสวรรค์
    47 หลวงปู่ พรหม วัดช่องแค นครสวรรค์
    48 หลวงพ่อ กัน วัดเขาแก้ว นครสวรรค์
    49 หลวงพ่อ พรหม วัดช่องแค นครสวรรค์
    50 หลวงพ่อ สมควร วัดถือน้ำ นครสวรรค์
    51 หลวงพ่อ อินทร์ วัดเกาะหงส์ นครสวรรค์
    52 หลวงพ่อ ทอง วัดถ้ำทอง ต.ชอนเดื่อ อ.ตาคลี นครสวรรค์
    53 หลวงพ่อ สี วัดถ้ำเขาบุนนาค อ.ตาคลี นครสวรรค์
    54 หลวงพ่อ เมฆ วัดลำกระดาน นนทบุรี
    55 หลวงพ่อ สาย วัดบางรักใหญ่ บางบัวทอง นนทบุรี
    56 หลวงพ่อ แดง วัดเชิงเขา นราธิวาส
    57 หลวงพ่อ แดง วัดทองดีประชาราม สุไหงโก-ลก นราธิวาส
    58 หลวงพ่อ อิง สำนักปฏิบัติธรรมคงคำโคกทม บุรีรัมย์
    59 หลวงพ่อ ยวง วัดทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์
    60 หลวงพ่อ แหวง วัดคึกคัก พังงา
    61 หลวงพ่อ แก้ว วัดโคกโดน อ.ควนขนุน พัทลุง
    62 หลวงพ่อ นำ วัดดอนศาลา พัทลุง
    63 หลวงพ่อ พันธ์ วัดบางสะพาน อ.วังทอง พิษณุโลก
    64 หลวงพ่อ ยี วัดดงตาก้อนทอง พิษณุโลก ไม่รู้เผาไปหรือยัง
    65 หลวงพ่อ ทบ วัดช้างเผือก เพชบูรณ์
    66 หลวงพ่อ จ่าง วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี
    67 หลวงพ่อ แดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
    68 หลวงพ่อ กัสสปมุนี วัดปิปผลิวนาราม ระยอง
    69 หลวงพ่อ โอ๊ด วัดโกสินาราย อ.บ้านโป่ง ราชบุรี
    70 หลวงพ่อ บุญเหลือ วัดเขาตะกร้าทอง ลพบุรี
    71 หลวงพ่อ เภา วัดเขาวงกต ลพบุรี
    72 หลวง คง วัดเขาสมโภชน์ ลพบุรี
    73 หลวงพ่อ เจริญ ติสสวัณโณ วัดเขาวงกต ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ ลพบุรี
    74 หลวงพ่อ บุญมี วัดเขาสมอคอน ลพบุรี
    75 หลวงพ่อ บุญเหลือ วัดเขาตะกร้าทอง ลพบุรี
    76 หลวงพ่อ เภา วัดเขาวงกต อ.บ้านหมี่ ลพบุรี
    77 หลวงพ่อ หิน อาโสโก วัดหนองนา อ.พัฒนานิคม ลพบุรี
    78 หลวงพ่อ คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ.เมือง ลพบุรี
    79 หลวงพ่อ เกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    80 หลวงพ่อ ปัญญา คันธิโย วัดนาคตหลวง อ.แม่ทะ ลำปาง
    81 หลวงปู่ วงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
    82 ครูบา ขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม ลำพูน
    83 ครูบา ขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม ลำพูน
    84 หลวงพ่อ วงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
    85 หลวงพ่อ หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน ศรีสะเกษ
    86 หลวงพ่อ ทอง วัดป่ากอ สงขลา
    87 หล่วงพ่อ เมฆ วัดป่าขวางปางพระเลไลย์ อ.สิงหนคร สงขลา
    88 หลวงพ่อ ลี วัดอโศการาม สมุทรปราการ
    89 หลวงพ่อ เนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    90 หลวงพ่อ สาย วัดจันทร์เจริญสุข สมุทรสงคราม
    91 หลวงพ่อ วัด วัดประชาโฆษิตาราม สมุทรสาคร
    92 หลวงพ่อ สาย วัดหนองสองห้อง สมุทรสาคร
    93 หลวงพ่อ เหมือน วัดคลองทรายใต้ สระแก้ว
    94 หลวงพ่อ ใจ ฐิตธัมโม วัดหนองหญ้าปล้องใต้ ต.ไก่เส่า อ.หนองแซง สระบุรี
    95 หลวงพ่อ ตาบ วัดมะขามเรียง ดอนพุด สระบุรี
    96 หลวงพ่อ ซวง วัดชีปะขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี สิงห์บุรี
    97 หลวงพ่อ แพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    98 หลวงพ่อ บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน สิงหบุรี
    99 หลวงพ่อ ขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
    100 หลวงพ่อ ทอง วัดทุ่งสามัคคีธรรม อ.สามชุก สุพรรณบุรี
    101 หลวงพ่อ ทองใบ วัดคลองมะดันอ.สองพี่น้อง สุพรรณบุรี
    102 หลวงพ่อ มุ่ย วัดดอนไร่ อ.สามชุก สุพรรณบุรี
    103 หลวงพ่อ ขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
    104 หลวงพ่อ ครื้น วัดสังโฆ สุพรรณบุรี
    105 หลวงพ่อ ใบ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง สุพรรณบุรี
    106 หลวงพ่อ พัฒน์ นารโท วัดพัฒนาราม(ใหม่บ้านดอน) อ.เมือง สุราษฎร์ธานี
    107 หลวงพ่อ แดง วัดคุณาราม(เขาโปะ) เกาะสมุย สุราษฏร์ธานี
    108 หลวงพ่อ พรหม วัดนาราเจริญสุข อ.เกาะสมุย สุราษฏร์ธานี
    109 หลวงพ่อ สุวัฒ วัดศรีทวีป สุราษฏร์ธานี
    110 หลวงพ่อ ทองทิพย์ วัดป่าสีดาพระรามลักษณ์ หนองคาย
    111 หลวงพ่อ เจริญ วัดตาลานใต้ อ.ผักไห่ อยุธยา
    112 หลวงพ่อ สด วัดโพธิ์แดงใต้ อยุธยา
    113 หลวงพ่อ สืบ อนุจาโร วัดกุฎีทอง ต.พิตเพียน อ.มหาราช อยุธยา
    114 หลวงพ่อ เสน วัดญาณเสน อยุธยา
    115 หลวงพ่อ เกษม วัดม่วงครับ อ่างทอง
    116 หลวงพ่อ ทองใบ วัดอบทม อำเภอวิเศษไชยชาญ อ่างทอง
    117 หลวงพ่อ พระราชพรหมยานเถระ วัดท่าซุง อุทัยธานี
    118 หลวงพ่อ ตี๋ วัดหลวงราชาวาส อุทัยธานี
    119 หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อุทัยธานี
    120 หลวงพ่อ แอ๋ว วัดหัวเมือง อุทัยธานี
    121 หลวงพ่อ คำคะนิง จุลมณี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อุบลราชธานี
    122 หลวงพ่อ พรหมมา สำนักสวนหินผานางคอย อุบลราชธานี
    123 หลวงพ่อ เต๋ วัดสามง่าม
    124 หลวงพ่อ ท้วม วัดเขาโบสถ์
    125 หลวงพ่อ พุฒ หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ
    126 หลวงพ่อ สง่า วัดหนองม่วง/วัดบ้านหม้อ
    127 หลวงพ่อ หยอด วัดแก้วเจริญ

    นักวิชาการบางท่านบอกว่า การที่สรีระของพระบางรูปเปลี่ยนสีคล้ำลงไป นั่นแสดงว่า เกิดการเน่าเปื่อยไปแล้ว และเล็บที่ยาวขึ้นเกิดจากการหดตัวของผิวหนัง ทำให้เล็บส่วนที่อยู่ด้านในถูกดึงให้ เหมือนยาวงอกออกมา แต่ถ้าสรุปเช่นนั้น คำถามก็คือว่า การที่มีเล็บงอก ผมงอกยาวขึ้น ซึ่งบางองค์มีการปลงผมและเล็บทุกๆ ปี เป็นเวลานับสิบปี ถ้าปีหนึ่งๆ ปลงผมมีความยาวคิดแค่ หนึ่งเซ็นติเมตร คิดแค่ สิบห้าปี จะยาว สิบห้าเซ็นติเมตร คิดตามธรรมดาจะพบว่าเป็นไปได้อย่างไร ผมส่วนที่อยู่ด้านในยาวได้ขนาดนี้เชียวหรือ (ผู้อ่านข้อความนี้ควรใช้วิจารณญาณ ในการแยกแยะข้อเท็จจริงด้วยตัวของท่านเอง เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องอจินไตย) สำหรับรายชื่อพระคุณเจ้ารูปอื่นๆ ที่มีอีกเป็นจำนวนมาก ผู้เขียนจะขอนำมาลงในโอกาสต่อไป

    บทความนี้นำเสนอรูปอมตะสังขารของพระคุณเจ้าบางรูป หากท่านใดมีรูปของพระคุณเจ้ารูปอื่น สามารถส่งเข้ามาที่ ผู้เขียนได้โดยส่งเมล์มาที่เวบมาสเตอร์ โดยบอกฝากข้อความถึงกิเลนธรรม เพื่อนำรูปมาลง ให้ผู้สนใจได้ทราบและเพื่อให้บทความนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไป






    ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://palungjit.org/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2008
  11. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    การมีเมตตา

    "คนเรา....ก่อนที่เราจะแผ่เมตตาให้คนอื่นนั้น ตัวเราต้องมีเมตตาก่อน
    เหมือนกับการจะช่วยเหลือคนอื่น เราต้องพร้อมแล้ว เช่นต้องมีทรัพย์ใช้ก่อน จึงจะนำไปช่วยเหลือคนอื่นๆได้
    ไม่ใช่ว่าตัวเองไม่มีเมตตาแล้ว แต่จะแผ่ไปให้คนอื่น ซึ่งก็ไม่ถูกต้อง
    แผ่ให้ตัวเองมีเมตตาก่อน แล้วจึงจะแผ่เมตตาให้คนอื่น จึงจะได้ผล"

    (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต)

    ที่มา : หนังสือ ธรรมะพระอริยสงฆ์
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    วัดกลางคลองข่อย แหล่งที่พบพระพิมพ์สมเด็จเจ้าฟ้า หรือสมเด็จปูนสอ ที่จะได้ศึกษากันในวันอาทิตย์นี้ครับ


    วัดกลางคลองข่อย

    วัดกลางคลองข่อย ตั้งอยู่เลขที่ ๘๒ หมู่ ๔ ตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม [​IMG]จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๑ ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือ ทิศใต้และทางทิศตะวันออก จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันตกจดแม่น้ำแม่กลอง อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง ๑๑.๙๐ เมตร ยาว ๒๖.๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๘ เมตร เป็นอาคารคอนกรีต กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑ หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ วิหารกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๒.๔๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ และพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๙๐

    [FONT=georgia,times new roman,times,serif]วัดกลางคลองข่อยนี้ ก่อสร้างในสมัยรัชกาลใดไม่มีผู้ใดทราบ สันนิษฐานว่าอาจจะสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะจากคำบอกเล่าของผู้อาวุโส เดิมวัดนี้หันหน้าไปทางแม่น้ำเพราะการเดินทางจะใช้แม่น้ำเป็นหลัก ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๐ ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง แต่เป็นวัดที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ได้เคยธุดงค์มาบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน และจัดสร้างพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้น ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน สูง ๑๖ ศอก ๑ องค์ วัดกลางได้รับการพัฒนาและบูรณะมาโดยตลอด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ เขตวิสุงคาสีมา กว้าง ๑๑.๙๐ เมตร ยาว ๒๖.๘๐ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระเดช รูปที่ ๒พระเอี่ยม รูปที่ ๓พระโชติ รูปที่ ๔ พระนวม รูปที่ ๕ พระนวม รูปที่ ๖ พระอวน รูปที่ ๗ พระอธิการพวน รูปที่ ๙ พระครูสถิตสมณวัตร พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๕๔๖ รูปที่ ๙ พระครูสังฆรักษ์สุเทพ สุเทโว พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน[/FONT]

    [FONT=georgia,times new roman,times,serif]ณ วัดแห่งนี้สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้สร้างพระพุทธรูปยืน บางอุ้มบาตร ซึ่งมีปรากฏไว้ในบันทึกสมัยรัตนโกสินทร์ว่า ในช่วง พ.ศ. ๒๓๗๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตอนปลาย สมเด็จฯ ท่านได้เสด็จโดยเรือมาทางน้ำจนถึงบริเวณบางแขยงอันเป็นที่ตั้งของวัดกลาง ซึ่งสมัยนั้นมีอธิการอวนดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส สมเด็จฯท่านได้เสด็จจำพรรษาอยู่ ณ วัดแห่งนี้และได้สร้างพระพุทธรูปขึ้น โดยหันหน้าสู่แม่น้ำให้เหล่าเทพเทวาและมนุษย์สักการะประจำทางด้านทิศตะวันตก การก่อสร้างพระพุทธรูปครั้งนี้ท่านได้อธิฐานจิตนั่งทำสมาธิพิจารณาสถานที่ก่อสร้างพระประจำทิศ ณ ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ (ปัจจุบันต้นโพธิ์ยังอยู่และเล่าลือกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก) ในขั้นตอนการสร้างพระพุทธรูปสันนิษฐานว่าท่านคงสร้างเป็นปางไสยาสน์ (พระนอน) มากกว่าเพราะ ในวิหารหลังพระพุทธรูปยืนซึ่งปัจจุบันรื้อทิ้งไปหมดแล้ว และกำลังบูรณะก่อสร้างใหม่ ภายในวิหารมีภาพพระพุทธรูปนอนเป็นหลักฐาน แต่เนื่องจากบริเวณเนื้อที่ก่อสร้างไม่เพียงพอ จึงเปลี่ยนมาเป็นการสร้างพระยืนแทน เพราะมีรอยแนวการเรียงอิฐอยู่ ประกอบสมัยนั้นวัดเป็นป่ารกชัฏ ไม่มีคนช่วยถากถาง ท่านจึงได้เอาเงินโปรยหว่านไปทั่วบริเวณป่า พอชาวบ้านรู้ว่ามีพระเอาเงินมาหว่านในป่าก็เลยพากันมาถางป่าเพื่อหาเงิน จึงทำให้บริเวณนั้นกลายเป็นที่โล่งเตียนจนได้สร้างพระพุทธรูปยืนสำเร็จ ว่ากันว่าเป็นเงินตราเก่าๆด้วย และในตอนที่จะสร้างพระนี้ ท่านต้องการไม้ไผ่ เผอิญมีผู้ล่องแพไม้ไผ่มาทางนั้น ท่านไม่มีเงิน จึงไปที่ต้นโพธิ์บริเวณนั้น ก็ได้เงินมาซื้อไม้ไผ่ตามประสงค์ ส่วนต้นโพธิ์นั้นในปัจจุบันนี้ยังมีปรากฏอยู่ [/FONT]
    [FONT=georgia,times new roman,times,serif][​IMG][​IMG][/FONT]


    [FONT=georgia,times new roman,times,serif]กล่าวถึงพระพุทธรูปยืน ที่สมเด็จฯท่านได้สร้างไว้ แกนกลางขององค์พระมีเสาไม้ตะเคียนทั้งต้น จำนวน๔ ต้น เป็นแกนกลางอยู่ภายใน แล้วก็ทำการก่ออิฐถือปูน แต่สมเด็จโตท่านได้สร้างไม่เสร็จ สร้างได้เหียงแค่คอท่านนั้น แต่ให้ชาวบ้านช่วยกันสร้างต่อกันเอง กาลเวลาผ่านไป พระโตนี้ชำรุดหักพัง (พระเศียรแตกร้าว พระกรทั้งสองข้างหัก) พระอาจารย์อวน พฺรหฺมสโร วัดมหาธาตุกรุงเทพฯ ซึ่งมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในถิ่นนั้น ย้ายมาอยู่วัดกลาง ได้เป็นประธานจัดการบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๗๔[/FONT][FONT=georgia,times new roman,times,serif] จนกระทั่งการบูรณะครั้งสุดท้ายเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๖[/FONT]








    [FONT=georgia,times new roman,times,serif]ภาพถ่ายเก่าก่อนมีการบูรณะ หลวงพ่อโต วัดกลางคลองข่อย ถ่ายเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓[/FONT]​


    [FONT=georgia,times new roman,times,serif]จากคำบอกเล่าของครูสังฆรักษ์สุเทพ สุเทโว เจ้าอาวาสวัดกลางคลองข่อย ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรที่สมเด็จโตท่านได้สร้างไว้ ไว้ดังนี้[/FONT]

    [FONT=georgia,times new roman,times,serif]เมื่อสมัยก่อนแม่น้ำแม่กลองที่อยู่ด้านหน้าวัดเป็นเส้นทางสัญจรที่สำคัญ โดยเฉพาะเป็นเส้นทางเดินเรือสำเภาของชาวจีน ใช้เส้นทางนี้เป็นประจำ มีอยู่ครั้งหนึ่งเรือสำเภาของชาวจีนล่องมาถึงที่หน้าวัด เกิดติดอะไรก็หาได้ทราบไม่ จะเป็นทรายหรือสันดรก็หาได้ทราบไม่ เอาเรือมาฉุดลากก็ไม่สามารถเคลื่อนที่ออกไปได้ ในขณะนั้นตรงหน้าวัดมีกอไผ่ขึ้นอยู่หนามาก ประกอบกับช่วงนั้นมีลมพัดผ่านมา ทำให้กอไผ่เอนไปมาจนกระทั่งเห็นใบหน้าของพระพุทธรูปยืนอย่างชัดเจน เจ้าของเรือจึงยกมือไหว้กราบขอบารมีท่านให้เรือสามารถแล่นออกไปได้ แล้วจะจุดประทัดถวาย หลังจากนั้นเรือก็สามารถเลื่อนออกไปได้เองราวกับปาฏิหาริย์ โดยไม่มีการใช้เรือฉุดลากทั้งสิ้น พ่อค้าชาวจีนคนนั้นจึงได้จุดประทัดถวายท่าน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเรือทุกลำที่แล่นผ่านมายังหน้าวัดกลางคลองข่อยแห่งนี้จึงต้องจุดประทัดถวายทุกลำ ดังนั้นเสียงประทัดที่จุดถวายพระพุทธรูปยืนจึงได้ ยินเกือบทั้งวัน[/FONT]

    [FONT=georgia,times new roman,times,serif]นอกจากนี้ก็ยังมีพวกพ่อค้ามาบนขอลูก ซึ่งเมื่อกลับไปแล้วก็ได้ลูกดังประสงค์ มีอยู่ครอบครัวหนึ่งมาบนขอลูกกับองค์หลวงพ่อ ได้ลูกสาว ๔-๕ คน แล้วครอบครัวนั้นก็มาทำการอาบน้ำให้กับองค์หลวงพ่อพระยืนองค์นี้ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ ครอบครัวนี้ก็ยังมาทำบุญกับทางวัดและกับหลวงพ่อโตอย่างไม่ขาดสาย แต่ให้ลูกสาวมาแทน เนื่องจากว่ามารดามีอายุมากเดินทางมาไม่สะดวก [/FONT]

    [FONT=georgia,times new roman,times,serif]ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีผู้คนให้ความเคารพเดินทางมาสักการบูชา เนื่องจากในความศักดิ์สิทธิ์ในองค์หลวงพ่อ เวลาจะมาบนอะไรท่านก็มักจะจุดประทัดถวาย หรือ หากครอบครัวใดมีฐานะก็จะบนเป็นภาพยนตร์โดยเฉพาะ ภาพยนตร์อินเดียจะได้ตามความตั้งใจปรารถนาดีนักแล[/FONT]

    [FONT=georgia,times new roman,times,serif]ภายในศาลาการเปรียญในปัจจุบันนี้ยังมีโบราณวัตถุที่มีความสำคัญอีก ๒ สิ่งคือ รูปหล่อของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มีอยู่ด้วยกัน ๒ องค์ องค์ใหญ่หล่อด้วยเนื้อทองเหลืองหน้าตักกว้างประมาณ ๑ เมตร และรูปหล่อองค์เล็กของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ หล่อจากดินเจ็ดป่าช้า หน้าตักกว้างประมาณ ๕๐ ซ.ม. รูปหล่อทั้งสององค์หล่อที่วัด แต่องค์เล็กหล่อก่อนแล้วจึงหล่อองค์ใหญ่ตามมา เป็นรูปหล่อโบราณ[/FONT]

    [FONT=georgia,times new roman,times,serif]นอกจากนี้ทางวัดยังได้กำลังจัดสร้างพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี โดยสร้างตรงบริเวณที่เป็นพระอุโบสถเก่า ภายนอกได้นำอิฐจากโบสถ์เก่ามาประดับไว้ทางด้านนอกของตัวพิพิธภัณฑ์ อิฐที่นำมาสร้างเป็นพระอุโบสถนั้นเป็นอิฐที่สมเด็จท่านสั่งเตาเผามาเองซึ่งอยู่บริเวณต้นโพธิ์ในปัจจุบัน ส่วนภายในเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสมัยใหม่ [/FONT]





    [FONT=georgia,times new roman,times,serif]การเดินทาง[/FONT]

    [FONT=georgia,times new roman,times,serif]การเดินทางมายังวัดกลางคลองข่อยนี้ ใช้ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข ๔ ) ไปทางจังหวัดราชบุรี เมื่อถึงสี่แยกที่จะเข้าตัวเมืองราชบุรี ให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๙๐ ไปทางบ้านเจ็ดเสมียน ระยะทางประมาณ ๑๐ ก.ม. ถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายเข้าไปยังบ้านเจ็ดเสมียน ประมาณ ๓ ก.ม. เมื่อถึงตัวบ้านเจ็ดเสมียนแล้วก็ข้ามทางรถไฟ เลี้ยวขวาตรงหน้าวัดเจ็ดเสมียน ไปตามทางหลวง ๓๓๐๘ ระยะทาง ๗ ก.ม. วัดจะอยู่ทางด้านซ้ายมือติดกับแม่น้ำแม่กลอง[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2008
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ไหว้พระสมเด็จโตสร้าง
    เรื่อง และภาพประกอบโดย พุฒิวงศ์ บุษบวรรษ
    [​IMG] [​IMG]
    หากกล่าวถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ผู้ก่อกำเนิดตำนานพระสมเด็จ ชื่อดังหลายวัดเช่น พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม และสมเด็จเกษไชโย เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้เรียบเรียงพระคาถา ชินบัญชร ที่หลายคนสวดมนต์บทนี้เป็นประจำ เพราะเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์
    สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นพระอริยสงฆ์ ในช่วงตั้งแต่รัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ช่วงรัชกาลที่ ๕ ซึ่งถือสมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นพระอาจารย์ ด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และต้องการเผยแผ่ สมเด็จโต มักจะเดินทางไปสร้างพระพุทธรูปองค์โตไว้หลายที่ เช่นมีคำกล่าวว่า นอนวัดสะตือ นั่งวัดเกษ ยืนวัดอินทร์ ดังวัดระฆัง
    หากต้องการไหว้พระตามรอยการเผยแผ่ศาสนาของสมเด็จโต ผมจึงมีวัดแนะนำอยู่ ๔ วัด เริ่มที่วัดระฆัง ฝั่งธนบุรี เป็นแหล่งกำเนิด สมเด็จวัดระฆัง ราคานับสิบล้านบาท เป็นวัดริมน้ำเจ้าพระยาตามประเพณีนิยมแบบเดิม ที่วัดสมัยก่อนจะอยู่ริมน้ำ เพราะการเดินทางสะดวก ที่วัดระฆังมีอนุสรณ์เกี่ยวกับสมเด็จโตมากมาย เช่นกุฏิที่สมเด็จโตเคยจำพรรษาอยู่ รูปหล่อโบราณและพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระต้นแบบพระสมเด็จ วัดระฆัง
    วัดต่อมาที่จะกล่าวถึงคือวัดสะตือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่อยู่อำเภอท่าเรือใกล้กับเขตจังหวัดสระบุรี วัดนี้เป็นวัดแรกที่สมเด็จได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เนื่องด้วยสมัยสมเด็จโตยังเด็ก โยมแม่ของสมเด็จโตได้มารับจ้างถางป่า ในบริเวณวัดสะตือแห่งนี้ และได้พาสมเด็จโตมาผูกเปลนอน แล้วฝากกับแม่นางไม้ต้นสะตือให้ดูแลสมเด็จโต ก่อนที่โยมแม่จะไปทำงาน หลวงต่อโต วัดสะตือเป็นพระนอน ชาวบ้านเชื่อว่าหากต้องการสมหวังให้บนด้วยการรำแตรวง จะกี่รอบก็แล้วแต่ แต่คนบนต้องรำด้วย ส่วนอาหารต้องบนด้วย ขนมจีนน้ำยา ไข่ต้ม ซึ่งเป็นอาหารที่โยมแม่ ทำให้สมเด็จโตกินทุกวัน ยามเป็นเด็ก
    [​IMG] [​IMG]

    วัดต่อมาไกลอีกนิด อยู่อำเภอ ไชโย จังหวัดอ่างทอง มีชื่อว่าวัดไชโยวรวิหาร หรือวัดเกษไชโย ที่ชาวบ้านรู้จัก เป็นกำเนิดพระสมเด็จ เกษไชโย ที่วัดเกษไชโยนี้ สมเด็จโตได้สร้างพระนั่งสมาธิองค์ใหญ่ไว้ สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้สร้างวิหารครอบแต่องค์พระทลายลงมา รัชกาลที่ ๕ จึงทรงมีพระราชดำริให้สร้างองค์พระขึ้นมาใหม่แทนที่เดิม แล้วพระราชทานนามว่า พระพุทธพิมพ์
    ภายหลังได้มีการสร้างวิหารสมเด็จโตองค์ใหญ่ไว้ริมแม่น้ำ ซึ่งเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนที่ศรัทธาสมเด็จโต ได้เดินทางมากราบไหว้
    [​IMG] [​IMG]

    และวัดสุดท้ายอยู่ที่กรุงเทพฯนี่เอง อยู่ใกล้ๆกับธนาคารแห่งประเทศไทย นั้นคือวัดอินทรวิหาร เดิมที่วัดอินทรฯ เป็นส่วนหนึ่งของวัดบางขุนพรหม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดพระสมเด็จบางขุนพรหม ซึ่งภายหลังวัดบางขุนพรหมได้รับการพัฒนาหลังสงคราม แต่แบ่งออกเป็น ๒ วัด คือวัดใหม่อมตรส กับวัดอินทรวิหาร ซึ่งภายในบริเวณวัดอินทรวิหารนี่เอง สมเด็จโตได้สร้างพระยืนปรางอุ้มบาตรไว้ ถือเป็นวัดสุดท้ายที่สมเด็จท่านสร้างพระองค์ใหญ่ แต่สร้างได้เพียงครึ่งองค์ สมเด็จท่านก็มรณะภาพ หลวงปู่ภู ศิษย์เอกสมเด็จโตจึงดำเนินการก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จ ภายในวัดอินทรฯ มีบ่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่สมัยสมเด็จโต ปัจจุบันบูรณะใหม่จนเป็นหนึ่งในที่สงบจิตใจ ของพุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธา เพราะภายในศาลาบ่อน้ำมนต์ มีรูปปั้นเหมือนสมเด็จโตนั่งเป็นประธานแล้ว ทางวัดยังเปิดเสียงสวดมนต์พระคาถาชินบัญชร ตลาดทั้งเวลาให้บริการ และภายในพระอุโบสถวัดอินทรฯ ได้มีจิตรกรรมฝาผนัง เกี่ยวกับอัตชีวะประวัติของสมเด็จโต รวมทั้งพระพุทธองค์ใหญ่ที่สมเด็จโตมีส่วนร่วมสร้างไว้ทั้งหมด ซึ่งนอกเหนือจาก ๔ วัด ที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังมีวัดอื่นๆอีกเช่น วัดกุฎีทอง วัดกลางคลองข่อย เป็นต้น
    [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    ขอขอบคุณ

     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๒ : ทรงสุบิน
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๒ : ทรงสุบิน

    พระโพธิสัตว์ทรงสุบินเป็นนิมิตรมงคล ๕ ประการ

    ในวันก่อนวันเพ็ญเดือน 6 นางสุชาดา ได้ให้คนใช้ คือนางปุณณาทาสี ไปทำความสะอาดที่บริเวณต้นไทร และในคืนนั้นพระโพธิสัตว์ ได้ทรงมหาสุบิน 5 ประการ (จากสุบินสูตร) ดังนี้
    ๑. จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้เลิศในโลกทั้งสาม
    ๒. จะได้ทรงประกาศสัจธรรมเผยมรรคผล นิพพาน แก่เทพยดาและมนุษย์ ทั้งมวล
    ๓. คฤหัสถ์ พราหมณ์ทั้งหลายจะเข้ามาสู่สำนักของพระองค์เป็นอันมาก
    ๔. ชาวโลกทั้งหลายเมื่อเข้าสู่สำนักของพระองค์แล้ว จะรู้ทั่วถึงธรรมอันบริสุทธิ์หมดจดทั้งสิ้น
    ๕. แม้พระองค์จะสมบูรณ์ด้วยสักการะวรามิสที่ชาวโลกทุกทิศน้อมถวาย ด้วยความเลื่อมใส ก็มิได้มีพระทัยข้องอยู่ให้เป็นมลทินแม้แต่น้อย

    [​IMG]

    เมื่อทรงใคร่ครวญดู จึงทรงกระทำสันนิษฐานว่า วันนี้เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย เมื่อราตรีนั้นล่วงไป จึงทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระ ทรงคอยเวลาภิกขาจาร พอเช้าตรู่จึงเสด็จมาประทับนั่งที่โคนไม้นั้น ยังผลให้โคนไม้ทั้งสิ้นสว่างไสวด้วยพระรัศมีของพระองค์
    [/SIZE]
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ความมั่นคงทางอารมณ์

    <!-- Main -->[SIZE=-1]<STYLE>body{background:#000000}></STYLE>
    <CENTER><EMBED src=http://www.leiyu668.com/flash/material/scenery/scenery_060.swf width=500 height=350 type=application/x-shockwave-flash wmode="transparent" border="0"></CENTER>


    คนเราจริงอยู่ที่ว่า อาจมีหลายอารมณ์ผ่านเข้ามา ณ เวลาต่างๆ มีสิ่งที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ พอใจ ไม่พอใจ สมหวัง ผิดหวัง โมโห โกรธ ดีใจ เสียใจ สุข ทุกข์ อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ โมโห โกรธ เสียใจ ผิดหวัง ย่อมเป็นอารมณ์ในทางลบ คือใจเป็นทุกข์ อารมณ์ที่ชอบใจ สมหวัง ดีใจ สุข เป็นอารมณ์ในทางบวก คือใจเป็นสุข

    การแสดงออกทางอารมณ์ ย่อมแสดงให้เห็นถึงบุคลิกภาพ และความมั่นคงทางอารมณ์
    คนที่อารมณ์แปรปรวน เก็บอารมณ์ไม่ค่อยอยู่ มีอะไรก็แสดงออก อย่างโผงผาง ตึงตัง โมโห ก็ด่า อาละวาด โครมคราม ย่อมแสดงให้เห็นว่า ยังมีความมั่นคงทางอารมณ์น้อย

    ยามเด็กๆ คนเราอาจจะแสดงอารมณ์ออกมาอย่างชัดเจน โวยวาย ผู้ใหญ่ก็ให้อภัยเพราะถือว่ายังเด็กอยู่ หากโตแล้ว ยังไม่สามารถควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในขอบเขต ก็ถือว่าผู้นั้นขาดความมั่นคงทางอารมณ์ และทำตัวเด็กกว่าอายุที่เป็นจริง

    นายจ้างส่วนใหญ่ มักยินดี ที่จะได้รับพนักงานที่มีความมั่นคงทางอารมณ์สูง โดยเฉพาะในตำแหน่งใหญ่ๆ ที่จะต้องปกครองพนักงานอื่นๆ

    การที่เรารู้ตัวว่า อารมณ์ที่ดี หรือไม่ดี ผ่านเข้ามา แล้วเราสามารถปล่อยวางได้นั้น เป็นประโยชน์ต่อตัวเราเอง
    คือ เราทุกข์ น้อยลง ยิ่งรู้ตัวเร็ว แล้วปล่อยวางได้เร็ว ยิ่งดี ต่อเราเท่านั้น

    มีประโยชน์อันใดเล่า ที่เราจะโกรธ เกลียด เคียดแค้นผู้อื่น แม้เขาจะทำให้เราผิดหวัง เสียใจ สักเพียงใด
    อารมณ์ที่เป็นลบ ที่เราเฝ้าย้ำคิด ย้ำจำ อยู่ในจิตใจ ย่อมทำให้ผู้ที่ย้ำคิดอยู่ในใจนั้น ทุกข์เอง
    การที่เราประสพสิ่งอันไม่เป็นที่พอใจ และเป็นทุกข์
    อาจมาจากความเข้าใจผิด การสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน หรืออาจมีสาเหตุจำเป็นอื่นๆก็ได้
    แต่ละคนอาจจะมีเหตุผลที่แตกต่างกันในการใช้ชีวิต ดำรงชีวิต หรือตัดสินใจกระทำการณ์ใดๆ ในสถานการณ์หนึ่งๆ แตกต่างกัน
    เราไม่อาจจะคาดหวังให้ผู้อื่นคิด และกระทำการใดๆ ให้ได้ดังใจที่เราต้องการเสมอไป
    ดังนั้นการมองเรื่องใดๆ ก็ตาม ควรมองหลายๆ มุม มิใช่ตัดสิน ความถูกผิด จากมุม ฝ่ายของตนเพียงฝ่ายเดียว
    คนที่ถูกโกรธ ถูกโมโห หรือถูกเกลียดอยู่นั้น อาจไม่รู้ตัว และอาจไม่ได้เก็บเรื่องราวที่เป็นสาเหตุนั้นอยู่ในใจแล้วก็ได้

    ยิ่งใครเอาความคิดในทางลบอยู่ในใจนานเท่าไร คนนั้นๆก็ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น

    และหากนำความคิดหรืออารมณ์ในทางลบนั้น ไปแสดงออกในทางลบอีก ก็ยิ่งควรระวังมาก
    เพราะอาจผิดศีล ผิดธรรม ได้ โดยเฉพาะศีลห้า ที่คนเราควรรักษาให้เป็นปกตินิสัย คือ
    ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่พูดปด ไม่ลักทรัพย์ ไม่ทำลายของผู้อื่นที่ไม่ใช่ของตน ไม่ล่วงประเวณี ไม่ดื่มสุราอันทำให้ขาดสติ
    โดยเฉพาะศีลข้อ 4 มีเพิ่มเติม คลิ๊กดูได้ที่นี่
    เพราะการกระทำที่ผิดศีล นั้นย่อมเป็นบาป

    บางคนอารมณ์ร้อนมากๆ เมื่อไม่ได้ดังใจ ก็อาจโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง ทำร้าย ทำลายข้าวของ ด่าทอ ว่ากล่าว ไม่รับฟังเหตุผลของผู้อื่น
    บางคนได้ยินเรื่องที่เค้าเล่าต่อๆกันมา แล้วก็นำเอาไปพูดต่อ ว่ากล่าวให้ผู้อื่นเสียหาย ก็ต้องระวังเช่นกัน
    เพราะกรรมที่ทำไม่ดีต่อผู้อื่นนั้น อาจย้อนกลับมา สนองสู่ตน ตามหลักกฏแห่งกรรม

    การแก้ไขสถานการณ์ใดๆ บางครั้งเราไม่สามารถแก้ไขจากภายนอกได้ แต่สิ่งที่เราควรฝึกทำให้ได้ก็คือ แก้ที่ใจ ของตัวเราเอง คือ ปล่อยวาง เมื่อรู้ว่าอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นแล้ว ก็ ปล่อยวาง อย่าปล่อยให้ใจ ทุกข์นาน ยิ่งยึดติดมาก ยิ่งทุกข์มาก

    อันนินทา กาเล เหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดไปกรีดหิน
    แม้แต่องค์พระปฏิมายังราคิน คนเดินดิน ไหนจะสิ้น คนนินทา

    จงอยู่กับปัจจุบัน อดีตผ่านไปแล้ว ก็ให้ผ่านไป อนาคตก็ยังมาไม่ถึง
    สังเกตรู้อารมณ์ในปัจจุบัน แล้วปล่อยวางง......



    ขอขอบคุณ

    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=pilin&group=10
    [SIZE=-1][/SIZE]
    [/SIZE]
     
  16. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    วันนี้ผมได้ฝากเงิน ผ่านเครื่องรับฝากเข้าบัญชี bay 3481232459 จำนวนเงิน 500บาทเพื่อร่วมบุญสงฆ์อาพาธตามนี้ครับ
    แบ่งเป็น จำนวน 300บาท ผมและครอบครัว ,และ จำนวน 200บาทเป็น พ่อและแม่ของภรรยาครับ
    ขอบคุณและโมทนาสาธุครับ
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    แนะนำเหรียญดี

    เหรียญดี เหรียญพ่อบุญคุ้มปี 29

    คณะกรรมการของ ร.ร. จึงจัดสร้างเหรียญหลวงพ่อบุญคุ้ม พระพุทธรูประจำร.ร. ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 มีจำนวน 10,000 เหรียญ เนื้อหาก็เป็นทองแดงรมมันปูทั้งสิ้น จากนั้นก็นำไปขอบารมีครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐแผ่เมตตา ดังต่อไปนี้ 1. พระครูถาวรการโกวิท (หลวงปู่รอด) วัดบางพูน อ.เมือง จ.ปทุมธานี เสก 6 เดือนเศษ ซึ่งรวมตลอดพรรษาของปี พ.ศ. 2529 2. หลวงพ่อบุญเย็น ฐานธัมโม วัดพระเจ้าพรหมมหาราช อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เสกให้นาน 30 นาที 3. หลวงปู่เส็ง วัดบางนา อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เสกนาน 1 ช.ม. 4. หลวงพ่อพรหมติสสเทโว วัดขนอนเหนือ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เสกนาน 2 ช.ม. 5. พระครูปทุมกิจโกศล (หลวงพ่อแสวง) วัดสว่างภพ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เสกครั้งแรกนาน 17 วัน เสกครั้งที่สองตลอดพรรษา ปี 2533 และครั้งที่ 3 ปลุกเสก วันเสาร์ 5 ปี 2534 6. พระครูธัญญเขมคุณ (หลวงพ่อทองพูล) วัดแสงสรรค์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เสกนาน 3 วัน 7. พระอาจารย์เล็ก วัดตรีทศเทพ กรุงเทพฯ เสกนาน 15 วัน 8. หลวงปู่ดู่พรหมปัญโญ วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา อธิษฐานจิตนาน 30 นาที 9. หลวงปู่จู วัดเขียนเขต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เสกนาน 30 นาที 10. หลวงปู่บาง วัดหนองพลับ อ.หนองแซง จ.สระบุรี อธิษฐานจิตนาน 2 ช.ม. 30 นาที 11. หลวงพ่อสอน วัดศาลเจ้า อ.เมือง จ.ปทุมธานี เสกนาน 5 เดือน 15 นาที 12. พระอาจารย์มหาถาวร จิตตถาวโร วัดปทุมวนาราม ปทุมวัน กรุงเทพฯ เสก 11 เดือน รวมถึงตลอดพรรษา ปี พ.ศ. 2532 13. หลวงปู่เจ๊ก อาจารสุโภ วัดระนาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เสกนาน 30 นาที 14. หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงหืบุรี อธิษฐานจิตให้ 14 วัน 15. หลวงพ่อหมื่นอุดม วัดตูม จ.พระนครศรีอยุธยา เสกนาน 15 นาที 16. หลวงปู่ชื้น พุทธสโร วัดญานเสน อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา อธิษฐานจิตนาน 10 นาที 17. หลวงพ่อสิริ วัดตาล อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นั่นคือการนำเหรียญไปรับการปลุกเสกเดี่ยวในแต่ละองค์ฯ ต่อไปคือการปลุกเสกแบบ “พุทธาภิเษก” ในพิธีที่จัดว่ายิ่งใหญ่พอสมควรเป็นจำนวนถึง 10 พิธี ด้วยกันคือ
    1. “สวดไซ” ณ วัดสว่างภพ อ.คลองหวง จ.ปทุมธานี ดำเนินพิธีโดยศิษย์หลวงพ่อเคน วัดเขาอีโต้ จ.ปราจีนบุรี ที่ว่ากันว่าเป็นเทพเจ้าของไซมหาลาภในพิธีเสกยังประกอบไปด้วยหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หวงปู่เมฆ, วัดลำกระดาน มีนบุรี กรุงเทพฯ, หลวงปู่รส วัดสอนดีศรีเจริญ จ.ปทุมธานี หลวงพ่อเล็ก วัดกลางคลองสาม จ.ปทุมธานี, พระอาจารย์ประสิทธ์ประสิทธิโก วัดหนองผักชี บางเขน 2. นำเข้าร่วมในพิธี “มังคลาภิเสก” รูปเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงพ่อปานโสนันโทร วัดบางนมโค ณ.วัดนก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ มีพระนายหลวงพ่อปานมาร่วมงานมากมาย อาทิ หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา, หลวงพ่อทิม วัดพระขาว, หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย, หลวงพ่ออุไร วัดบางนมโค, หลวงพ่อไวทย์ วัดรมวงศ์, ซึ่งทุกรูปที่กล่าวมาล้วนอยู่ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งสิ้น ในกรุงเทพฯมี หลวงพ่อมหามหาประยงค์ วัดบางพลัดใน, หลวงพ่อมหาเวก วัดดาวดึงส์, หลวงพ่อแสวง วัดนก เป็นต้น 3. นำเข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษก พระสมเด็จวัดเกษไชโย ณ วัดไชโยวรวิหาร จ.อ่างทอง มีพระคณาจารย์ในพิธี อาทิตย์ พระธรรมปัญญาบดี วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง, หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม, หลวงพ่อเสงี่ยมวัดสุวรรณเจดีย์ จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อสอน วัดศาลเจ้า, หลวงพ่อใหญ่ วัดสุวรรณภูมิ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อจำเนียร วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง จะสระบุรี, หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย จ.นครปฐม, หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อชม (ศิษย์หลวงพ่ออี๋) วัดโป่ง นาเกลือ จ.ชลบุรี, หลวงพ่อทิม วัดคีรีวงศ์ จ.เพชรบุรี, หลวงพ่อเล็ก วัดทำนบ จ.อ่างทอง, หลวงพ่อเกรียง วัดวังน้ำเย็น จ.อ่างทอง, หลวงพ่อทองใบ วัดอบทม จ.อ่างทอง, หลวงพ่อยิ่งยง วัดนางแลว จ.อ่างทอง 4. นำเข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษก พระปิดตาบรรจุกระดาษสา ณ วัดศาลเจ้า อ.เมือง จ.ปทุมธานี เมื่อวันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 พระสงฆ์ 16 รูปเจริญพระพุทธคุณ 108 จบ ชินบัญชร 108 จบ ตอนกลางคืนเกิดจันทรคราส หลวงพ่อสอนปลุกเสกเดี่ยว พระภิกษุที่ร่วมพิธีมี- พระครูพัฒนกิจโกศล วัดชัยสิทธาวาส - พระครูสิริปัญญาโสภณ วัดมะขาม
    - พระครูโสภณพิทักษ์ วัดโสภาราม - พระมหามนัส โชติปาโล วัดมะขาม
    - พระอาจารย์บุญปลูก ฐิตเปโม วัดมะขาม - พระอาจารย์สิริ กตปุญโญ วัดมะขาม
    - พระอาจารย์ช่อ วัดหงส์ - พระอาจารย์ล้วน วัดหงส์
    - พระอาจารย์สามารถ วัดไก่เตี้ย - พระครูโสภณกิจจานุยุต วัดไก่เตี้ย
    - พระสมุหโสม วัดสะแก - พระอาจารย์ปรีชา วัดโบสถ์
    - พระครูโอภาสธัญกิจ วัดมูลจินดาราม - พระครูปทุมคณารักษ์ วัดบางโพใน
    - พระอาจารย์ใหญ่ จักกธัมมโม วัดหาดมูลกระบือ
    5. นำเข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดศาลเจ้า อ.เมือง จ.ปทุมธานี รุ่นเสาร์ 5 เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2533 พระคณาจารย์เข้าร่วมพิธีดังนี้- หลวงพ่อไท วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม อ.เมือง ปทุมธานี - พระครูปทุมคณารักษ์ วัดบางโพใน อ.เมือง ปทุมธานี- พระมหามนัส โชติปาโล วัดมะขาม อ.เมือง ปทุมธานี - พระครูพิพัฒน์นนทเขต ( หลวงพ่อทุ่งจอมคาถา ) วัดโพธิ์ทองบน นนทบุรี- พระครูโอภาสธัญญกิจ วัดมูลจินดาราม อ.ธัญบุรี ปทุมานี - พระสมุห์ราตรี ถาวโร วัดโบสถ์ อ.เมือง ปทุมธานี - พระครุปทุมกิจโกศล ( แสวง อรีโย ) วัดสว่างภพ ปทุมธานี - หลวงพ่อสอน วัดศาลเจ้า ปทุมธานี 6. นำเข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดศาลเจ้า อ.เมือง จ.ปทุมธานี รุ่นเสาร์ 5 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2536โดยมีพระเกจิอาจารย์นั่งปรกดังนี้
    - ลพ.สอน วัดศาลเจ้า ปทุมธานี - ลพ.อำภา วัดน้ำวน ปทุมธานี - พระสมุห์โสม วัดสะแก ปทุมธานี - ลพ.ประจวบ วัดคลองตะเคียน จันทบุรี- พระมหามนัส วัดมะขาม ปทุมธานี - ลพ.สิริ วัดตาล ปากเกร็ด นนทบุรี
    - ลพ.แสวง วัดสว่างภพ ปทุมธานี
    7. นำเข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดศาลเจ้า อ.เมือง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2537 8. นำเข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกรูปหล่อหลวงพ่อแสวง อริโย เจ้าอาวาสวัดว่างภาพ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 3-5 มีนาคม พ.ศ. 2538 มีพระคณาจารย์มาร่วมพิธี 14 องค์ 1 ในนั้นคือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ อ.ด่านขนุนทด จ.นครราชสีมา ดยมีพระเกจินั่งปรกบริกรรมดังนี้
    - สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กทม. - ลพ.รส วัดสอนดีศรีเจริญ หนองเสือ ปทุมธานี
    - ลพ.เล็ก วัดกลางคลองสาม คลองหลวง ปทุมธานี - ลพ.สมบูรณ์ วัดแสวงสามัคคี คลองหลวง ปทุมธานี
    - ลพ.ลมูล วัดเสด็จ ปทุมธานี - ลพ.สอน วัดศาลเจ้า ปทุมานี
    - ลพ.อำภา วัดน้ำวน ปทุมธานี - ลพ.เจือ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
    - ลพ.วิเชียร กทม. - ลพ.ผัน วัดแปดอา สระบุรี
    - ลพ.คูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา - ลพ.ทอง วัดบ้านกลึง นครราชสีมา
    - ลพ.สวัสดิ์ วัดศาลาปูน อยุธยา - ลพ.ทองใบ วัดสายไหม ปทุมธานี
    9. นำเข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดศาลเจ้า อ.เมือง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2538 หลวงพ่อสอนปลุกเสกเดี่ยวในฤกษ์ “จันทรคราส” 10. ข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของวัดศาลเจ้า อ.เมือง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 หลวงพ่อสอนปลุกเสกเดี่ยวในฤกษ์ “สุริยคราส”
    คัดลอกบทความมาจากข้อเขียนของคุณอำพลเจน ในสวนขลังดอทคอม และบทความในเวป "พุทธานุภาพ" พระเครื่อง


    [​IMG]




    เอ้าเหรียญดีคณาจารย์เสกเยอะมาก เอาแค่หลวงปู่ดู่ สมเด็จวัดชนะฯ ราคาแค่องค์ละ 350.-บาท เอ้าใครสนใจรีบ pm. มา จะแนะนำสถานที่เช่าให้ครับ เหรียญมีน้อย...เค้าบอกว่ามีอยู่แค่ 7 เหรียญเท่านั้นเอง

    พันวฤทธิ์
    25/7/51
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2008
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    พระพุทโธน้อย แม่ชีบุญเรือน

    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง

    โดย...ราม วัชรประดิษฐ์

    ในสมัยก่อน พระเครื่องและเหรียญต่างๆ โดยทั่วไปผู้สร้างมักเป็นบุรุษเพศ แต่สำหรับ "พระพุทโธน้อย" ที่จะกล่าวถึงนี้ สร้างโดย "แม่ชีบุญเรือน" ซึ่งเป็นสตรีเพศผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี มีคุณธรรมและเมตตาธรรม รักการทำบุญสร้างกุศล ชอบไปนั่งฟังเทศน์ฟังธรรมและปฏิบัติธรรมตามวัดวาอารามต่างๆ โดยเฉพาะที่วัดสัมพันธวงศ์ ท่านเป็นผู้นำในการจัดตั้งคณะผู้ร่วมบุญในนาม "คณะสามัคคีวิสุทธิ" ซึ่งช่วยเหลืองานบุญงานกุศลต่างๆ ตลอดจนรักษาโรคภัยไข้เจ็บนานัปการด้วยอำนาจพระพุทธคุณแก่ทุกคนอย่างเต็มที่ ไม่เลือกชั้นวรรณะด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่และยึดถือหลักการบริจาคและการให้เป็นหลักสำคัญ ทำให้พุทธคุณของ "พระพุทโธน้อย" ที่ท่านจัดสร้างมีความเข้มขลังเป็นที่ปรากฏ เป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง รวมถึงลูกศิษย์ลูกหาและผู้ที่ทราบชื่อเสียงกิตติศัพท์ของแม่ชีบุญเรือนครับผม
    อัตโนประวัติของแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม ท่านเป็นชาวอำเภอมีนบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ.2437 ต่อมาครอบครัวย้ายมาทำสวนที่อำเภอราษฎร์บูรณะ ฝั่งธนบุรี ได้ศึกษาเล่าเรียนตามอัตภาพของสตรีเพศในสมัยก่อน แต่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการบ้านการเรือนเป็นอย่างดี เมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านได้รับตำราหมอนวดและการฝึกอบรมจากอาจารย์กลิ่นหมอนวดที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ ท่านสนใจศึกษาจนแตกฉานจนกลายเป็นหมอนวดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก โดยท่านไม่เคยคิดค่านวดค่ารักษาแม้ครั้งเดียว แต่จะให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้อาจารย์กลิ่นตลอด
    ต่อมาท่านได้รู้จักหลวงตาพริ้งซึ่งบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบางปะกอก ผู้มีศักดิ์เป็นลุง และเริ่มได้รับการสั่งสอนเรื่องธรรมะ ท่านยิ่งมีความเลื่อมใสศรัทธาและรักงานบุญงานกุศลยิ่งขึ้น ท่านมักถือศีล เจริญภาวนา และฝึกวิปัสสนากรรมฐานที่วัดสัมพันธวงศ์อยู่เป็นเนืองนิตย์ ในที่สุดท่านก็เข้าสู่พุทธศาสนาอย่างเต็มตัวโดยการบวชชี และด้วยความตั้งใจมั่นในการบำเพ็ญเพียร เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ท่านสามารถบรรลุธรรมอันวิเศษสำเร็จ "จตุตถฌาณ 4" และ "อภิญญา 6" อันเป็นอานิสงส์สูงสุดแห่งชีวิต นับได้ว่า "แม่ชีบุญเรือน" เป็นตัวอย่างของพุทธศาสนิกชนผู้สละแล้ว เพื่อเข้าถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    "พระพุทโธน้อย" เป็นพระเครื่องขนาดเล็กที่ท่านสร้างขึ้นและอธิษฐานจิตให้ไว้แก่วัดอาวุธวิกสิตาราม ตำบลบางพลัดนอก ธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.2496 เป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก กรอบทรงสามเหลี่ยม ด้านหน้า องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนือฐานบัวสองชั้น พระเกศเป็นมุ่นเมาลี พระนาสิกเป็นสันนูน พระเนตรเป็นเม็ดกลมนูน และพระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำมนต์ ส่วนด้านหลัง มีอักขระขอมจารึกเป็นเส้นลึกอ่านว่า "พุทโธ"
    แม้จำนวนสร้างจะมากถึงหนึ่งแสนองค์ แต่ด้วยความศรัทธาในตัวผู้สร้างและพุทธคุณเป็นเลิศปรากฏครบครันทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด เจริญด้วยโภคทรัพย์ และกำจัดโรคร้าย ทำให้ "พระพุทโธน้อย" หมดไปภายในเวลาอันรวดเร็ว
    "พระพุทโธน้อย" นับเป็นพระเครื่องเก่าแก่และน่าสะสมมากพิมพ์หนึ่ง ด้วยพุทธคุณที่ปรากฏอย่างสม่ำเสมอแก่ผู้ที่เคารพศรัทธาและกราบไหว้สักการะไม่ขาด ว่ากันว่ามุ่งหวังสิ่งใดก็จะสำเร็จสมความตั้งใจอีกทั้งแคล้วคลาดภยันตรายทั้งปวงครับผม

    <!--IBF.ATTACHMENT_37574-->
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    พระพุทโธน้อย หลังยันต์เฑาะว์ ของแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม

    แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติมกับวัดสัมพันธวงศ์
    แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม แต่เดิมนั้น ท่านเคยอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสกเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์
    แม้ภายหลังจะย้ายไปอยู่วัดอาวุธวิกสิตาราม เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร แต่ท่านก็ยังกลับมาช่วยเหลืองานของวัดสัมพันธวงศ์ เพราะมีหลักฐานปรากฏหลายครั้งที่คุณแม่ได้มาช่วยเหลืองานของวัดสัมพันธวงศ์
    ภายหลังการย้ายไปแล้ว
    ครั้งที่จัดงานสร้างพระประธานที่ท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ จัดสร้างเพื่อนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดสารนาถธรรมาราม อ.แกลง จ.ระยอง อันเป็นบ้านเกิดของพระเดชพระคุณท่านเอง คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม เข้ามาช่วยเหลืองานตั้งแต่การหล่อพระประธานตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 เป็นต้นมาการหล่อพระประธานองค์นี้ นับว่ามีการหล่อกันระยะยาวพอสมควร คือ ต้องใช้การหล่อถึง 3 ครั้งด้วยกัน จึงสำเร็จเป็นองค์ปฏิมาที่งดงามได้ โดยครั้งที่ 3 นั้นคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ได้เข้ามาช่วยดำเนินการดูแลงานเกือบทั้งหมด
    คราวสมโภชพระประธานที่จัดสร้างขึ้น เมื่อวันที่ 4-13 มีนาคม พ.ศ.2496 ณ วัดสารนาถธรรมาราม อ.แกลง จ.ระยอง คุณแม่ก็ได้เข้ามาช่วยงานของวัดสัมพันธวงศ์และช่วยงานของวัดสารนาถธรรมาราม จ.ระยอง ซึ่งก็เป็นที่มาของพระพุทโธน้อยชุดนี้ด้วย
    พระพุทโธน้อย ของแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม
    พระพุทโธน้อย (หลังยันต์เฑาะว์) ที่พบในครั้งนี้ ตามหลักฐานที่บันทึกไว้ กล่าวว่า เป็นพระที่แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม ได้อนุญาตให้พระสิทธิสารโสภณ (สงวน โฆสโก) อตีตเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม ( เดิมนั้น ท่านอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ ) สร้างจำนวน 100,000 องค์ เป็นการสร้างพระพุทโธน้อยชุดแรกของวัดอาวุธวิกสิตาราม
    โดยคุณแม่บุญเรือน ขอแบ่งมาจำนวน 10,000 องค์ มีการแยกแยกต่อให้หลายที่ ส่วนวัดสัมพันธวงศ์นั้น คุณแม่บุญเรือน นำถวายท่านท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสกเถระ) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2494 ประมาณ 2,000 องค์ พระพุทโธน้อยที่นำมาถวายในปีนั้น มี พระพุทโธน้อย พิมพ์ใหญ่หลังยันต์เฑาะว์ เนื้อดิน และพระพุทโธน้อย พิมพ์หน้าจีนหลังยันต์เฑาะว์ดอกบัว เนื้อดิน โดยคุณแม่ชีได้อธิษฐานจิตเรียบร้อยแล้ว พระพุทโธน้อยชุดนี้ ได้รับการพุทธาภิเษกซ้ำอีกครั้งในคราวสมโภช
    พระประธานที่วัดสารนาถธรรมาราม อ.แกลง จ.ระยอง เมื่อวันที่ 5-30 มีนาคม พ.ศ.2499 รวม 18วัน 18 คืน มีพระเถราจารย์มากมายเข้าร่วมพิธีนี้ เช่น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม เป็นต้น โดยมีหลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ เป็นองค์คอยประสานงานและการพิธีต่างๆ (พิธีเดียวกับ
     
  19. แมงกะพรุน

    แมงกะพรุน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +1,267
    ขอร่วมทำบุญพระภิกษุสงฆ์อาพาธ โอนแล้ววันที่ 25/07/51 เงิน 321 บาทครับ
     
  20. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    หลวงพ่อจงทำน้ำมนต์

    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]

    เกี่ยวกับประวัติภาพถ่ายนี้ คือ ในงานพุทธาภิเษกแห่งหนึ่ง ครั้งนั้นทางเจ้าภาพได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ไปหลายรูปด้วยกัน ซึ่งเจ้าของภาพจำ ได้ว่า 2 องค์ที่เขาเห็นและศรัทธาอย่างยิ่งก็คือ

    1.พ่อท่านคล้าย วัดสวนขันธ์
    2.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

    สาเหตุเพราะได้ประจักษ์กับตา ถึงอภินิหารของทั้งสองท่านนี้ แต่ว่าไม่สามารถถ่ายภาพของหลวงพ่อคล้ายได้ ถ่ายได้เฉพาะหลวงพ่อจงรูปเดียวเพราะเขาไม่คิด ว่าจะมีการทดลองวิชาของพระคุณเจ้าเกิดขึ้น ที่มาของภาพมีดังนี้

    ในงานนั้นพ่อท่านคล้ายและหลวงพ่อจง นั่งพักอยู่ใกล้ๆกันก็บังเอิญมีโยมคนหนึ่ง มาขอให้
    พ่อท่านคล้ายช่วยทำน้ำมนต์ให้ พ่อท่านจึงบอกกับโยมคนนั้นว่า ให้ไปเอาขวดมา และเอาน้ำมาแก้วหนึ่งด้วยท่านจะทำน้ำมนต์ให้ โยมคนนั้นก็ไปเอาขวดและน้ำมาให้พ่อท่านคล้ายทำน้ำมนต์
    พ่อท่านรับแก้วน้ำมาแล้วให้โยมคนนั้นเอาขวดไปตั้งไว้ข้างหน้าห่างไปพอสมควร จากนั้น พ่อท่านก็ยกแก้วน้ำขึ้นมาเหมือนดื่มแต่ไม่ได้ดื่มเพียงอมไว้แล้วก็พ่นน้ำไปที่ขวดใบนั้น พรวดเดียวน้ำเต็มขวดเลย

    หลวงพ่อจงท่านหันมามองแล้วก็หัวร่อ หึ หึ แล้วก็บอกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...