ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    วันนี้ผมและครอบครัวร่วมทำบุญ 175 บาท ครับ
    ขอบคุณมากครับ
    มหาโมทนาบุญกับทุกๆ ท่านด้วยนะครับ
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097

    คำคืนวันศุกร์ สืบหาพระเครื่องดีวันนี้ได้นำรูปพระพิมพ์สมเด็จสกุลเจ้าคุณกรมท่าซึ่งเป็นพระพิมพ์นอกวงการมาตรฐานพระเครื่อง เล่นหากันเฉพาะกลุ่มตามภาพข้างต้นที่คณะกรรมการของทุนนิธิฯ คือนายสติจะสอนในวันอาทิตย์นี้มาลงให้ชมกัน ซึ่งพระพิมพ์สกุลนี้บอกได้เลยว่าสุดยอดมาก ทุกวันนี้บางทีก้หยิบพระพิมพ์สกุลนี้องค์โน้น มาใส่ตลับ หรือหยิบองค์นี้มาใส่ตลับ พาท่านเที่ยวสลับกันไป แต่ขอบอกได้เลยว่าคุณภาพสุดๆ ทุกองค์ แถมยังหาได้ไม่ยากที่แผงข้างทางท่าพระจันทร์องค์ละ 20-30.-บาท เท่านั้น หากใครพอตรวจพลังท่านได้รับรองซี๊ดซ๊าดแน่ เพราะเป็นพลังทิพย์การอธิษฐานจิตจากบรมครูพระธรรมฑูตโลกอุดร ที่มีอยู่ 5 พระองค์ ส่วนจะเป็นองค์ใดองค์หนึ่งอธิษฐานจิตนั้น ต้องให้ฌาณลาภีบุคคลขั้นสูงตรวจสอบถึงจะรู้ ซึ่งการอธิษฐานจิตของท่านนั้น สำเร็จโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นผู้เชิญมาทางอทิสมานกายหรือกายทิพย์ ในฐานะที่เป็นครูอาจารย์ของท่าน
    ซึ่งการเชิญโดยวิธีนี้นับว่าหมูมากสำหรับพระอริยเจ้าที่มีคุณวิเศษทางด้านจิตตานุภาพในระดับสุดยอด มื่อบวกกับพลังอันเกรียงไกรของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เอง จึงนับว่าเป็นพระที่มีพลังกฤติยาคมแบบคูณสอง ลำพังท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ องค์เดียวกับสุดจะพรรณาแล้ว นี่มีครูอาจารย์ท่านร่วมด้วย จบแล้วซึ่งอภินิหารในพระพิมพ์ในยุคนี้ครับ

    ผมเองเคยสัมผัสพิมพ์เจดีย์พระประธานที่อยู่ในคอ ยามเผลอไปสัมผัสท่านเข้า พลังท่านแรงถึงขั้นมือกระตุกเลยทีเดียว ซึ่งพลังขนาดนี้หาได้ยากยิ่งเท่าที่จำได้นอกจากพระพิมพ์สกุลเจ้าคุณกรมท่าแล้ว ก็มีของหลวงปู่หมุนนี่ล่ะ สุดๆ จริงๆ แต่ราคาในปัจจุบันเทียบกันไม่เห็นฝุ่นเลย หากมีเวลาไปครับ ไปเรียนรู้ด้วยกันในวันอาทิตย์นี้ที่ รพ.สงฆ์ ได้ทำบุญ ได้เรียนรู้เรื่องพระพิมพ์ ได้กำไรสองเท่าเลยทีเดียว

    พันวฤทธิ์
    28/9/55
     
  3. phaenwong

    phaenwong เปียวคอมฯ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +791
    ได้ร่วมทำบุญ 100 บาทครับ<O:p</O:p
    ชื่อ คุณสมบัติ เอี่ยมขำ<O:p</O:p
    โอนวันที่ 29/9/55 เวลา 16.06 น.<O:p</O:p
    ด้วยผลบุญที่ได้กระทำดีแล้ว ขอให้ข้าพเจ้า ตลอดทั้งครอบครัวประสบแต่ความสุขความเจริญ<O:p</O:p
    ความไม่มี ไม่ดี ไม่ได้ จงอย่าบังเกิดแก่ข้าพเจ้าตราบเข้าพระนิพพานเถิด สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0006.jpg
      IMG_0006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      409.7 KB
      เปิดดู:
      39
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    จำนวนพระสงฆ์อาพาธที่จะถวายสังฆทานอาหารในวันทำบุญประจำเดือนกันยายน 2555 นี้ ที่ รพ.สงฆ์ มีประมาณ 160 รูปครับ


    พันวฤทธิ์
    30/9/55
     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ใส่บาตรพระกันครับ ยามว่างๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์ถ้ามีเวลาก็ควรทำ อย่างน้อยก็เป็นการสืบทอดพระศาสนา ซึ่งเป็นหน้าที่ของพวกเราชาวพุทธ ไม่รู้ว่าบุญเป็นยังไง ลองใส่บาตรกัน ตั้งจิตให้มั่น สบายๆ แล้วจบของใส่บาตร เมื่อสำเร็จเสร็จสิ้น หากกรวดน้ำด้วยก็จะดี หากทำแล้วสบายใจ ไม่ติดค้างใคร ผมว่านั่นละบุญที่สัมผัสได้ยามเป็นๆ เลยเชียว วันนี้มีข้อคิดดีสำหรับการใส่บาตรพระสงฆ์มาให้อ่านกันครับ

    วิธีปฏิบัติในการใส่บาตร


    เมื่อนำอาหารใส่บาตรออกจากบ้านไปรอคอยใส่บาตรพระสงฆ์อยู่นั้น ควรตั้งใจว่าจะทำบุญบาตรแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณรในพระพุทธศาสนาโดยไม่เฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์หรือสามเรณรูปใดรูปหนึ่ง ดังนั้นเมื่อพระสงฆ์หรือสามเณรรูปใดเดินผ่านมา ณ ที่นั้น ก็ตั้งใจใส่บาตรพระสงฆ์หรือสามเณรรูปนั้น และรูปอื่นๆ ต่อไปตามลำดับ

    การตั้งใจใส่บาตรแบบไม่เฉพาะเจาะจงอย่างนี้ มีผลานิสงฆ์มากกว่าการตั้งใจใส่บาตร โดยเจาะจงแก่พระสงฆ์หรือสามเณร รูปใด รูปหนึ่งโดยเฉพาะ


    คำอธิษฐานก่อนใส่บาตร

    ปกติก่อนจะใส่บาตรนั้น ต้องตั้งจิตอธิษฐานก่อน โดยถือขันข้าวด้วยมือทั้ง 2 ข้างนั้นกระหย่ง (หมายถึง การนั้งคุกเข่าเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง 2 รับก้น) ยกขันข้าวขึ้นเสอมหน้าผากพร้อมกับกล่าวคำอธิษฐานก่อนการทำบุญด้วยสิ่งของต่างๆ ดังนี้

    “สุทินนัง วาตะ เม ทานัง อาสะวักขะยะวะหัง โหตุ”

    (คำแปล “ทานของเราให้ดีแล้วหนอ ขอจงเป็นเครื่องนำมาซึ่งความหมดสิ้นอาสวะกิเลส”)

    เมื่ออธิษฐานจบแล้ว ลุกขึ้นยืน ใช้มือจับทัพพี ตักข้าวให้เต็มทัพพี บรรจงใส่ให้ตรงบาตร อย่าให้เม็ดข้าวตกออกมานอกบาตรให้ระมัดระวังหน่อย (ปัจจุบันนิยมใส่บาตรด้วยข้าวสุกที่บรรจุในถุงพลาสติก) กรณีเม็ดข้าวติดทัพพี อย่าเอาทัพพีเคาะกับขอบบาตรอย่างเด็ดขาด กิริยาที่ตักข้าวใส่บาตรนั้น อย่าตักแบบกลัวว่าข้าวจะหมดเร็ว มีภาษิตโบราณว่า “อย่าขี้เหนียวขณะทำบุญ”

    ระหว่างที่ใส่บาตรนั้น อย่าชวนพระท่านพูดคุยด้วย และอย่าถามพระว่า “ท่านชอบฉันอาหารแบบนี้ไหม ท่านต้องการเพิ่มอีกไหม” ทำนองนี้ เพราะมีคำพังเพยอยู่ว่า “ตักบาตรอย่าถามพระ”

    เมื่อใส่ข้าวสุกและกับข้าวแล้ว หากมีดอกไม้ธูปเทียนจะถวาย ถ้าเป็นชายนิยมส่งดอกไม้ธูปเทียนถวายกับมือพระ และถ้าเป็นหญิงต้องรอให้พระท่านปิดฝาบาตรก่อน จึงค่อยวางดอกไม้ธูปเทียนถวายบนฝาบาตร

    เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้ว กรณีมีโต๊ะวางของหรือมีรถยนต์จอดอยู่ให้วางขันข้าวไว้ที่โต๊ะหรือบนรถยนต์ที่จอดอยู่ ยืนตรงน้อมตัวลงยกมือไหว้พระสงฆ์ กรณียืนใส่บาตรกลางทาง ควรนั่งกระหย่งแล้ววางขันไว้ข้างตัว ยกมือไหว้พระสงฆ์พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐานว่า

    “นัตติ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจุวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทาฯ”

    (คำแปล “ สรณะอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะ อันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยสัจจะนี้ขอความเจริญรุ่งเรือง จงมีแก่ข้าพเจ้า ตลอดกาลเทอญฯ”

    หากมีการใส่บาตรพระรูปต่อๆ ไป ก็ให้ปฏิบัติในลักษณะดังที่กล่าวมาทุกครั้งไป จนกว่าจะใส่บาตรเสร็จ

    การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

    หลังจากการใส่บาตรแล้ว เมื่อกลับถึงบ้าน ควรกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรตลอดจนบรรพบุรุษ และพ่อแม่ (กรณีที่ท่านล่วงลับไปแล้ว) โดยกล่าวคำกรวดน้ำอย่างย่อดังนี้

    “อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย”

    (คำแปล “ขอส่วนบุญนี้ จงไปถึงแก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอให้ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลายจงมีความสุขฯ

    http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11398
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้คณะทุนนิธิฯ ร่วมทำบุญถวายสังฆทานภัตตาหารเช้าและสิ่งของอื่นๆ แด่พระสงฆ์อาพาธที่ รพ.สงฆ์ โดยมีพระสงฆ์อาพาธประมาณ 160 รูปที่คณะกรรมการจัดของถวายท่าน หากท่านใดเผอิญเข้ามาอ่านในกระทู้นี้ ผมขอให้ทุกท่านได้มีส่วนในบุญนี้ด้วยเทอญ.........สาธุ

    บุญเกิดได้ด้วยการอนุโมทนาที่เรียกว่ามุทิตาจิตครับ แม้แต่องค์สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบันท่านยังกล่าวยกย่องเสมอๆ

    พันวฤทธิ์
    30/9/55


    ธรรมในหัวข้่อมุทิตา แสดงโดยองค์สมเด็จพระสังฆราชตามข้างต้น
    มุทิตาจิตในพรหมวิหาร 4

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2012
  7. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ภาพบรรยายทุนนิธิประจำเดือนกันยายน 2555 ตอนที่ 1

    [​IMG]

    สาธุครับ
     
  8. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ภาพบรรยายทุนนิธิประจำเดือนกันยายน 2555 ตอนที่ 2 กิจกรรมของการตระเตรียม

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2012
  9. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ภาพทุนนิธิประจำเดือนกันยายน 2555 ตอนที่ 3 เดินทัพบุญ ฯ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2012
  10. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ภาพทุนนิธิประจำเดือนกันยายน 2555 ตอนที่ 4 ถ่ายภาพร่วมกัน ณ ตึกกัลยาณิวัฒนา

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2012
  11. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ภาพทุนนิธิประจำเดือนกันยายน 2555 ตอนที่ 5 อธิฐานจิตร่วมกัน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2012
  12. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ภาพทุนนิธิประจำเดือนกันยายน 2555 ตอนที่ 6 ทำพิธีร่วมกัน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2012
  13. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ภาพทุนนิธิประจำเดือนกันยายน 2555 ตอนที่ 7 ร่วมกันช่วยกันถวายและรับพรพระครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2012
  14. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ภาพทุนนิธิประจำเดือนกันยายน 2555 ตอนที่ 8 กรวดน้ำครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2012
  15. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ภาพทุนนิธิประจำเดือนกันยายน 2555 ตอนที่ 9 กิจกรรมอื่นๆครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พบกันใหม่ในเดือนตุลาคม 2555 นี้

    [​IMG]

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2012
  16. sirimanod

    sirimanod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +912
    ผมขอร่วมทำบุญประจำเดือน ต.ค.55ด้วยนะครับ

    ผมได้โอนเงินทำบุญจำนวน 100 บาท เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 55 และผมขออนุโมทนากับทุกๆคนที่ได้ร่วมทำบุญด้วยนะครับ
     
  17. SilentSoar

    SilentSoar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    481
    ค่าพลัง:
    +2,384
    แจ้งโอนเงินทำบุญครับ ^_^ 100 บาท

    <table border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td colspan="2">โอนเงินต่างธนาคาร - สถานะการทำรายการ

    </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td valign="top" width="34%">สถานะการทำรายการ</td> <td width="66%"> ธนาคารได้ทำรายการของท่านเรียบร้อยแล้ว </td> </tr> <tr> <td width="34%">หมายเลขอ้างอิง</td> <td width="66%">KBKR121004189170131</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">รายละเอียดการทำรายการ

    </td> </tr> <tr> <td width="34%">วิธีโอนเงิน</td> <td width="66%"> ออนไลน์ (ตลอด 24 ชั่วโมง) </td> </tr> <tr> <td width="34%"></td> <td width="66%"> </td> </tr> <tr> <td width="34%">ธนาคารเจ้าของบัญชี</td> <td width="66%">ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)</td> </tr> <tr> </tr><tr> <td width="34%">เพื่อเข้าบัญชี</td> <td width="66%">348-1-23245-9 ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร</td> </tr> <tr> <td width="34%">ชื่อเจ้าของบัญชีในฐานข้อมูล</td> <td width="66%">PRATOM F.</td> </tr> <tr> <td width="34%">จำนวนเงิน (บาท)</td> <td width="66%">100.00</td> </tr> <tr> <td width="34%">ค่าธรรมเนียม (บาท)</td> <td width="66%">25.00</td> </tr> <tr> <td width="34%">วันที่โอนเงิน</td> <td width="66%">04/10/2012 [21:28:10]</td> </tr> <tr> <td width="34%">บันทึกช่วยจำ</td> <td width="66%">ร่วมทำบุญและร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ รวมถึงร่วมทำบุญทุกอย่าง รวมร่วมบุญจำนวน 100 บาท </td> </tr> <tr> <td class="note_align" width="35%"></td> <td width="65%"> </td></tr></tbody></table>





    แจ้งโอนเงินทำบุญครับ ^_^ 100 บาท

    ร่วมทำบุญและร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ
    รวมถึงร่วมทำบุญทุกอย่าง
    รวมร่วมบุญจำนวน 100 บาท

    และขอร่วมทำบุญเพื่อชำระหนี้สงฆ์ นับตั้งแต่อดีตชาติถึงปัจจุบันชาติ
    ขออนุโมทนาบุญ ทั้งหลายทั้งปวงให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พรหม เทพ เทวดา สิ่งศักดิ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่มีตั้งแต่ต้น บิดามารดาของข้าพเจ้าทั้งชาตินี้และทุกๆชาติ
    พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
    พระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ พระยายมราช เจ้าการบัญชี ลุงพุฒิ
    พระศรีอารียเมตไตรย และสมเด็จองค์ปฐมอันเป็นที่สุด

    ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุขสมหวังในเรื่องความรักทุกประการ นับตั้งแต่บัดนี้ตลอดเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
    ขอให้ข้าพเจ้ามีดวงตาเห็นธรรม และเป็นคนดีนับตั้งแต่บัดนี้ตลอดเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
    ขอให้ ความไม่มี ความไม่รู้ และความไม่ได้ จงอย่าได้บังเกิดกับข้าพเจ้านับตั้งแต่บัดนี้ตลอดเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วย เถิด สาธุ สาธุ สาธุ ...

    ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับผู้ร่วมทำบุญทุกท่านด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ...
    อนุโมทนาบุญครับ,
    SilentSoar
     
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    ขอประกาศสักนิดนะครับ
    เนื่องจากในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2555 จะมีการถวายพระประธาน
    ขนาดหน้าตัก 60 นิ้ว ที่จัดหล่อสร้างโดยภรรยาท่านรองประธานที่ปรึกษาทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาครคือคุณทัศนียา ศรีเจริญพร้อมค้วยญาติๆและคณะ สำหรับท่านใดที่มีความประสงค์จะเดินทางไปถวายที่วัดโนนเสาธง จ.เพชรบูรณ์ ด้วยกันก็ดูเส้นทางการเดินทางได้จากแผนที่ข้างล่างนี้นะครับ


    [​IMG]


    กำหนดการในการถวายพระประธานในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2555 มีดังนี้ครับ

    - ช่วงเช้า ถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์
    - ช่วงบ่าย ประมาณบ่ายสองโมงเริ่มพิธีมอบถวายพระประธานหน้าตัก 60 นิ้ว
    ให้กับทางวัดโนนเสาธง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2012
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    สืบหาพระเครื่องดีวันนี้มากับสายฝนเย็นฉ่ำชื่นอุราดีจริงๆ วันนี้เลยนึกถึงต้นแบบในการเขียนเรื่องราวของพระเครื่องของผมท่านนึง คือคุณอำพล เจน ซึ่งเป็นอดีตนักเขียนเรื่องพระเครื่อง นักแสวงหาพ่อแม่ครูอาจารย์ และนักนิยมพระขลัง ซึ่งข้อเขียนของคุณอำพลฯ เมื่อเกือบ 20 ปี ที่แล้ว ทางหนังสือศักดิ์สิทธิ์ ทำเอาผมหมดตังค์หาซื้อหนังสือไปเยอะ และปัจจุบัน หนังสือศักดิ์สิทธิ์ข้างต้น ผมยังมีอยู่ค่อนข้างเยอะเรียกว่าเป็นตั้งเลยทีเดียว
    ไหนๆ ก็จะมาสืบหาพระเครื่องดีกันแล้ว ก็เลยนำเหรียญรุ่นนึงที่คุณอำพลฯ ได้เขียนไว้ แล้วเผอิญผมมีเหรียญนี้เก็บไว้ด้วยเช่นกัน จึงขอนำมาลงให้อ่าน และหากปะเหมาะพบเจอ จะได้เสาะหากันเก็บไว้ครับ ส่วนความขลังของเหรียญรุ่นนี้ ตอนเสกนี่คุณอำพล เล่าว่าในขณะที่เสกเหรียญนี้ ถึงขั้น "ฟ้าลั่น" เลยทีเดียว ลองพิจารณาดูครับ


    <table class="contentpaneopen"><tbody><tr><td class="contentheading" width="100%">หลวงพ่อชา หลวงพ่อมุม </td><td class="buttonheading" align="right" width="100%">
    </td><td class="buttonheading" align="right" width="100%">
    </td><td class="buttonheading" align="right" width="100%">
    </td></tr> </tbody></table> <table class="contentpaneopen"><tbody><tr><td valign="top"> เขียนโดย อำพล เจน </td> </tr> <tr><td class="createdate" valign="top"> วันศุกร์ที่ 06 มีนาคม 2009 เวลา 07:28

    </td> </tr> <tr> <td valign="top"> หลวงพ่อชา หลวงพ่อมุม

    เสี่ยจิวเป็นผู้หนึ่งที่เคารพเลื่อมใสในหลวงพ่อมุม และหลวงพ่อชา ตัวเขาเองแขวนพระกริ่ง ศก.ของหลวงพ่อมุม ส่วนภรรยาแขวนล็อคเกตหลวงพ่อชา

    เขาบอกว่า
    “ผมศรัทธาหลวงพ่อมุมมานานแล้ว ตะกรุดเงินที่หลวงพ่อมุมจารด้วยมือท่านเองผมก็มี แต่ผมให้ภรรยาแขวนหลวงพ่อชา เพราะว่าเย็นสบายดีกว่า”

    เข้าทำนองหลวงพ่อมุมรุ่มร้อน ส่วนหลวงพ่อชาเยือกเย็น

    จริงหรือไม่ก็ให้เป็นความเห็นของเสี่ยจิวจะเห็นไป

    เสี่ย จิวเป็นคนภาคกลาง จังหวัดไหนไม่ทราบ ไม่ได้ถาม มาทำอาชีพในศรีสะเกษ แล้วย้ายเข้าเมืองอุบลฯ ปัจจุบันอยู่ช่องเม็ก ประตูเมืองไทยลาว

    อยู่ตั้งแต่สมัยแรกที่เริ่มเปิดใหม่ ๆ เคยโดนลูกหลวงจากระเบิดเข้าหลังบ้าน ทุกอย่างพังพินาศหมด

    แปลกที่ถังแก๊สกลับไม่เป็นอะไร ถ้าถังแก๊สระเบิดด้วยก็น่ากลัวยิ่ง

    เขาว่าพระเขาดี เขาเชื่อพระมั่นคงมาก

    เขาเล่าเรื่องความน่าอัศจรรย์ทางล่วงรู้วาระจิตหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วของหลวงพ่อชาไว้เรื่องหนึ่ง จะได้บันทึกไว้เสียตรงนี้

    เพื่อน ของเขาเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนเหมือนกันเป็นผู้ชอบทำบุญกับพระที่มีชื่อ เป็นมงคล เช่น ชื่อมี ชื่อมาก ชื่อมั่น ชื่อคง ชื่อเงิน อะไรทำนองนั้น พอถูกชวนไปทำบุญที่วัดหนองป่าพงกับหลวงพ่อชา เขาก็อ้างว่าวัดหนองป่าพงรวยแล้ว ไปทำกับวัดจน ๆ ดีกว่า แต่ขัดเพื่อนไม่ได้ต้องเดินทางมาวัดหนองป่าพงในที่สุด

    เมื่อเข้าประตูวัดไป เห็นหลวงพ่อชากำลังกวาดลานวัดอยู่พอดี ยังไม่ทันได้กล่าวอะไร หลวงพ่อชาก็พูดขึ้นก่อน
    “ไม่อยากมาแล้วมาทำไม”

    เพื่อนเสี่ยจิวถึงกับร้องครางในใจ เป็นอันว่าเกิดเลื่อมใสหลวงพ่อมาแต่นั้น

    พูดถึงชื่อที่เป็นมงคลดูเหมือนคนจีนจะชอบกันมากเป็นคตินิยมประจำเชื้อชาติก็ว่าได้

    แต่แท้จริงแล้วชื่อเป็นเพียงของสมมุติเท่านั้น

    มงคลไม่ได้อยู่ที่ชื่อ

    เช่น ว่าถ้าเราจะเรียกเหี้ยว่าพญามังกรทอง หรืออะไรก็สุดแต่จะเรียกให้ไพเราะแก่ใจตน เรียกไปแล้วมันก็คงเป็นเหี้ยอยู่เหมือนเก่านั่นแหละ

    ถ้าผมเกิดมีอัน ได้บวชเป็นพระ และบวชได้จนตลอดชีวิต ก่อนบวชผมจะเปลี่ยนชื่อตัวเองเสียใหม่ อาจชื่อเฮงก็ได้ ลูกศิษย์ลูกหาจะได้เรียกว่าหลวงพ่อเฮง หลวงพ่อเซ็งลี้ฮ้อ ทำนองนั้น ผมคงได้ลูกศิษย์ที่ถือเอาชื่อเป็นมงคลมากมาย

    ก็นั่นแหละครับที่เรียกว่าความเห็น คนเราแต่ละคนเห็นอะไรไปตามแต่จะเห็น ไม่ว่ากัน

    ดูไปที่วัตถุมงคลที่ทุกวันนี้มีการสร้างอย่างมากมายหลายสำนัก

    การ ตั้งชื่อวัตถุมงคลก็ล้วนแต่ตั้งเพื่อเอาใจผู้ศรัทธาประเภทนี้ เปิดหนังสือพิมพ์รายวันก็จะเห็น นี่เป็นเรื่องความเชื่อถือในชื่อที่เป็นมงคล

    จะได้เสริมให้ตนเองร่ำรวยและมีโชคลาภมาก ๆ

    เชื่อ ผมเถิดครับ เรื่องโชควาสนาบารมีของคนเรานั้น ไม่มีทางเหมือนกัน ขนาดหลวงพ่อเจ๋งๆ บอกหวยตรงๆ คนไม่ถูกยังมี คนถูกก็มี คนถูกเยอะถูกน้อยอีกต่างหาก

    ไม่ได้เกี่ยวกับชื่อหรือเกี่ยวกับอะไรเลย ขึ้นอยู่กับตนเองทั้งนั้น

    สมัยหนึ่งผมเป็นหนี้มากไม่รู้จะหาเงินใช้หนี้เขาอย่างไร กัดฟันแทงหวยสามตัวเป็นเงินก้อนใหญ่ คิดว่าถ้าถูกเป็นหมดหนี้แน่นอน

    หวย ก็คิดเอาเองไม่มีอาจารย์บอกใบ้ เรียกว่าแทงส่งเดช ไม่ต้องดักหน้าดักหลัง กลับตัวหรือโต๊ด จนเจ้ามือตกใจ บอกให้ผมลดจำนวนเงินแทงลง ผมก็ไม่ยอมยังคงแทงตามจำนวนเงินเดิม และให้เจ้ามือไปหาที่ออกตัวเองเอง เขาก็รับ พอถึงวันหวยออก ทายสิครับว่าผมถูกไหม

    ไม่ถูก

    หลวงพ่อคำพันธ์ โฆษปัญโญ ได้บอกผมภายหลังที่ผมหมดตัวกับหวยว่า
    “เหมือนเราตีเช็คไป ถ้าไม่มีเงินฝากในธนาคารแล้วเช็คมันก็เด้ง หวยก็เหมือนกัน เราต้องทำบุญทำทานมาก ๆ”

    คุณพิบูลย์ เจ้าของท่าทรายในเมืองเชียงใหม่ เดี๋ยวนี้ร่ำรวยมาก แต่เดิมยากจนมาก่อน ได้ให้ข้อคิดแก่ผมว่า
    “ขณะ นี้ในตระกูลของผม มีผมรวยที่สุด ทุกคนยังยากจนอยู่ ผมเอาน้องชาย เอาพี่ ๆ น้อง ๆ มาทำงานด้วย สิ่งแรกที่ผมสอนเขาคือสอนให้ทำบุญ พาเขาเข้าวัด ตั้งโรงทานแจกทาน และทำบุญไปเรื่อย ๆ เมื่อทำบุญเป็นแล้วผมจึงสอนธุรกิจให้ เชื่อผมเถิดครับ ทำบุญน่ะยิ่งทำยิ่งรวย ดูผมเป็นตัวอย่าง ผมไม่มีอะไรเลย แต่ผมทำบุญตลอดมา เดี๋ยวนี้ผมทำแบบใหม่ คือ 10 เปอร์เซ็นต์จากผลกำไร ผมเอาไปทำบุญหมด”

    น่าคิดนะครับ

    เวลานี้คุณพิบูลย์มีเงินกี่ร้อยล้าน ผมไม่กล้าคำนวณ แต่ตอนเริ่มต้นชีวิตของคุณพิบูลย์นั้นได้เงินเดือนแค่ 700 บาท

    คุณ พี่ธนิต สโมสร สถาปนิกใหญ่ เป็นคนชอบทำบุญเช่นกัน นั่งรถไปด้วยกันเห็นคนแก่ท่าทางน่าสงสารเดินอยู่ข้างทาง สั่งรถให้จอดกึก วิ่งลงไปให้คนแก่ 300 บาท เพราะว่าสงสาร คิดว่าแกคงลำบาก คนแก่คนนั้นไม่รู้ว่าคิดอย่างไร แกพูดว่า
    “ตั้งแต่เดินออกจากบ้านมา นึกอยู่แล้วว่าวันนี้ต้องได้เงิน”

    คุณพี่ธนิตหัวเราะชอบใจใหญ่

    บาง ทีคนแก่คนนั้นอาจเป็นผู้ชอบทำบุญเหมือนกันก็ได้ เลยได้เงินตั้ง 300 ส่วนคุณพี่ธนิตผมเห็นท่านสุขสบายดี งานก็เยอะ เงินก็มาก ไม่ขาดมือ

    นี่ผมลื่นไถลมาเรื่องทำบุญตั้งนาน กลับลำมาที่เรื่องของวัตถุมงคลหลวงพ่อชากับหลวงพ่อมุมดีกว่า

    มี วัตถุมงคลอยู่รุ่นหนึ่ง ที่หลวงพ่อชาและหลวงพ่อมุมได้ปลุกเสกร่วมกัน ก็เหรียญ 5 พระอาจารย์ ของสมาคมศิษย์เก่าเบ็ญจมะมหาราชนั่นแหละครับ



    [​IMG][​IMG]

    ระหว่างงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อชา มีผู้เดินทางมาจากทั่วสารทิศจำนวนนับแสน

    หลายคนมาซื้อหนังสือรวมภาพและประวัติพระเครื่องของหลวงพ่อชา

    นอกจากมาซื้อหนังสือแล้วมักถามว่ามีพระเครื่องของหลวงพ่อด้วยไหม

    ผมตอบว่าไม่มี ความจริงมี แต่ผมขายให้ไม่ได้

    เพราะว่าเดี๋ยวนี้พระเครื่องของหลวงพ่อมีราคาแพงมาก

    ผม เองก็ซื้อเขามาในราคาแพงเหมือนกัน จึงอยากเก็บไว้เองมากกว่า แต่ผมแนะนำให้ไปเอาเหรียญ 5 พระอาจารย์ เพราะว่ายังมีเหลืออยู่มากและราคายังไม่แพง

    แต่เดี๋ยวนี้ทางสมาคมขยับราคาขึ้นไปอีกแล้วนะครับ เป็นเหรียญละ 50 บาท

    ใครสั่งซื้อไปให้เปลี่ยนแปลงเสียใหม่ ไม่ใช่ราคา 20 เหมือนก่อน

    พูด ถึงหนังสือรวมภาพและประวัติพระเครื่องของหลวงพ่อชานั้น ถือได้ว่าเวลานี้มีอยู่เพียงฉบับเดียวที่รวบรวมพระเครื่องของท่านไว้ได้ครบ ถ้วนที่สุด ยังไม่มีใครทำซ้ำซ้อนออกมา

    เพราะว่าถ้าจะมีผู้ทำก็ต้องอาศัยข้อมูลจากหนังสือเล่มนี้ และอาศัยภาพจากหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนใหญ่

    เรื่องที่จะหาพระเครื่องของหลวงพ่อมาถ่ายภาพเองนั้นยากมาก

    หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเล่มเดียวที่ยังไม่มีใครทำตามออกมา เสียแต่ว่าผู้อยากได้ออกจะลำบากสักหน่อย ต้องสั่งซื้อทางไปรษณีย์เท่านั้น

    เคยมีผู้ถามว่าทำไมไม่วางจำหน่าย

    ความ จริงเคยวางจำหน่ายตามแผงทั่วไปมาแล้วครั้งหนึ่ง ทุกวันนี้เก็บกลับคืนจากแผงหนังสือทั่วประเทศหมดแล้ว จะเอาไปวางซ้ำอีกก็น่าเกลียด คงเพียงโฆษณาเพื่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้ ยังไม่มี สั่งซื้อเอาเท่านั้น

    แผงหนังสือในเมืองอุบลฯ หลายแผงได้ติดต่อมาเหมือนกัน อยากได้ไปวางประจำแผง ผมเห็นว่าพอเป็นไปได้ เพราะว่าอยู่ในจังหวัดอุบลฯ อยู่ในพื้นที่ซึ่งพออนุโลมได้ จึงตัดสินใจมอบให้ไป แต่ก็ไม่ทุกแผง คงให้เฉพาะแผงที่ต้องการ และได้ติดต่อมาเท่านั้น

    ท่านที่นึก ๆ อยากได้ไว้มั่ง ไม่อยากได้มั่ง ให้ทำใจนึกเสียใหม่เถิดครับ เพราะว่าหนังสือเหลืออยู่ราว ๆ 2 พันเล่มเท่านั้น หมดแล้วไม่รู้ว่าจะได้พิมพ์อีกเมื่อไหร่

    ที่สำคัญ คือเป็นการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับพระเครื่องหลวงพ่อชาที่คนไม่รู้ว่า ท่านมีอย่างถูกต้องที่สุด สามารถใช้เป็นตำราชี้นำในการพิจารณาพระเครื่องหลวงพ่อชาได้

    สำหรับ ผู้สั่งซื้อทางไปรษณีย์แล้วไม่ได้รับหนังสือนานเกินไป ให้จดหมายทวงถามไปได้ที่คุณสุรจรรยา สุวานิโช เพราะว่าบางทีการส่งอาจมีเหตุขัดข้อง อย่างเช่น คุณณรงค์ งามพาณิชย์วัฒน์ หนังสือส่งไปแล้วแต่ถูกตีกลับ เพราะว่าไปรษณีย์บอกว่าไม่มีเลขที่บ้านนี้ คุณณรงค์ถ้าอ่านพบ ให้ติดต่อส่งที่อยู่ไปใหม่ด้วย

    ส่วนพระเครื่อง 5 พระอาจารย์ ที่มีหลวงพ่อชาและหลวงพ่อมุมปลุกเสกนั้น สามารถสั่งซื้อได้ที่ คุณสุพรรณี สุวรรณกูฏ เลขาฯ สมาคมศิษย์เก่าฯ โรงเรียนเบ็ญจมะมหาราช อ.เมือง จ.อุบลฯ 34000 ราคาเหรียญละ 50 บาท บวกค่าส่งอีก 10 บาทด้วย

    ทีนี้ มาที่วัดปราสาทเยอของหลวงพ่อมุมบ้าง ทุกวันนี้ยังมีพระเครื่องของหลวงพ่อมุมตกค้างอยู่เหมือนกันเป็นพระผงรูปพระ นาคปรกศิลปทวารวดี ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อมุม สร้างไว้แต่ปี 2520 สาเหตุที่เหลืออยู่นั้น ท่านเจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอ ได้บอกว่า พอหลวงพ่อมุมมรณภาพ ก็ได้เก็บพระทั้งหมดไว้ทันที งดจำหน่าย พระเลยเหลืออยู่

    ถึงตอนนี้วัดต้องการปัจจัยบูรณะอารามจึงตัดสินใจนำออกจำหน่ายเป็นรอบที่สอง

    ใคร สนใจให้สั่งซื้อได้ทางไปรษณีย์ ส่งตั๋วแลกเงิน 50 บาทต่อพระ 1 องค์ไปที่พระอธิการเลื่อน อานนโท เจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอเหนือ ต.ปราสาทเยอเหนือ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ รหัสไปรษณีย์กรุณาตรวจค้นเอง เพราะผมไม่ทราบ เมื่อทางวัดได้รับตั๋วแลกเงินแล้ว จะจัดส่งพระให้ทางไปรษณีย์เช่นกัน

    อาจระบุลงไปในจดหมายสั่งซื้อว่า ต้องการพระสมเด็จนาคปรก หลังรูปเหมือนหลวงพ่อมุม ทางวัดก็คงเข้าใจ และส่งพระให้ได้ถูกต้องตามที่ต้องการ

    รายละเอียดเกี่ยวกับหลวงพ่อมุม คุณพันฤทธิ์ได้เขียนไว้แล้ว ไม่รู้ว่าลงพิมพ์หรือยัง แต่ก็เขียนไปแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องสาธยายซ้ำอีก

    พระรุ่นนี้ไม่ใช่ของแพง ราคาถูก แต่เป็นของดีราคาถูก

    ให้มีไว้ติดตัวแล้วสบายใจได้ เพราะหลวงพ่อมุมนั้นท่านไม่ใช่จะเก่งธรรมดา

    อภินิหารทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยมีมากและไว้ใจได้แน่ที่สุด

    ซำบายดีครับ


    .................................................................

    งานเขียนของคุณอาอำพล เจน เขียนไว้ ในหนังสือศักดิ์สิทธิ์ฉบับที่ 246
    วันที่ 1 เมษายน 2536




    ทีนี้มาดูพิธีเสก และรายชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์บ้าง เห็นแล้่วซี๊ดซ๊าดน่าดูเรียกว่าถ้าผู้ที่จะสะสมพระเครื่องแล้วไม่รู้จักท่านเหล่านี้ เลิกเหอะ อย่าเก็บสะสมพระเครื่องเลย เพราะเชยจริงๆ





    เหรียญฟ้าลั่น “เบ็ญจะมหามงคล” วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบล ปี 16 ...หลวงปู่ชาปลุกเศก
    ประวัติความเป็นมาและพิธีพุทธาภิเษก
    ในระหว่างที่พลตรีจุมพล ทองทาบ ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมนั้นได้ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการว่า ควรจะหาเงินสักจำนวนหนึ่งมาสร้างสำนักงานของสมาคม และที่ประชุมได้มีมติให้สร้างเหรียญขึ้นเพื่อจำหน่าย ดังนั้น คณะกรรมการจึงไปขอคำแนะนำจาก เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ โดยท่านได้แนะนำให้บรรจุรูปพระอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี 5 องค์ ลงในเหรียญคือ
    พระคุณเจ้าพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ศิริจันโท (จันทร์)
    พระอาจารย์เสาร์ กนฺต สีโล
    พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    สมเด็จมหาวีรวงศ์ ติสโส (อ้วน)
    เจ้าคุณพระศาสนดิลก ชิตเสโน (เสน)
    รูปของพระอริยสงฆ์ทั้ง 5 องค์ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดอุบลราชธานีและบุคคลทั่วไป เนื่องจากเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนี้ จะรวมกันอยู่อีกด้านหนึ่งของเหรียญเรียกว่า “เหรียญเบ็ญจะมหามงคล” และมีอักษรขอมแทรกไว้ ส่วนอีกด้านหนึ่งของเหรียญให้นำรูปพระสัพพัญญูเจ้า ซึ่งเป็นพระประธานในโบสถ์วัดสุปัฏนารามวรวิหารใส่ไว้
    ด้านหน้าเหรียญประกอบไปด้วย
    1.พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    2.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน ติสโส) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    3.ลป.เสาร์ กันตสีโล วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.ลป.มั่น ภูริทัตโต วัดป่าบ้านหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    5.พระศาสนดิลก(เสน ชยเสโน) วัเสปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    ด้านหลังเหรียญเป็นรูปของ “พระสัพพัญญูเจ้า’ พระประธานในพระอุโบสถวัดสุปัฏนาราม ซึ่งเป็นรูปพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ของจ.อุบลราชธานี มีอักขระขอมติดองค์พระว่า “อะ อุ มะ”
    “อะ” คือ อะระหัง แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลส ซึ่งหมายถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    “อุ” คือ อุตมะธัมโม หมายถึง พระสัจธรรมอันเลิศเมื่อพระพุทธองค์ตรัสออกมาแล้วย่อมเป็นหนึ่งไม่มีสอง
    “มะ” คือ มหาสังโฆ แปลว่า พระสงฆ์หมู่ใหญ่
    มีอักขระโค้งไปตามขอบเหรียญ ความว่า “นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา”
    อันเป็นพระคาถา ย่อมาจากพระปริตชื่อ “โมระปริตร” ซึ่งลป.มั่น ยกย่องว่าเป็นเลิศในทางแคล้วคลาด ป้องกันภยันตราย เรียกพระคาถานี้ว่า “หัวใจยูงทอง”

    คณะกรรมการสมาคมได้จัดสร้างเหรียญจำนวน 100,000 เหรียญ และได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกครั้งแรก ณ พระอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2516 เวลา 16.00 น. ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2516 เวลา 05.40 น. โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เป็นองค์ประธานในพิธี และได้อาราธนาพระคุณเจ้าที่มีศีลาจาริวัตรเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธามาร่วม พิธีพุทธาภิเษก จำนวน 62 องค์ เช่นพระอาจารย์ขาว วัดถ้ำกลองเพล, พระอาจารย์วัน วัดถ้ำภูเหล็ก, พระอาจารย์ฝั้น วัดถ้ำขาม, พระอาจารย์บุญมา วัดศิริสาลวัน, พระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง, พระอาจารย์หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอ, พระอาจารย์หลวงพ่อเทียม วัดกษัตริยาธิราช อยุธยา, พระอาจารย์หลวงพ่อทองอยู่ สมุทรสาคร, พระอาจารย์เจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ วัดวชิราลงกรณ์ ปากช่อง, เจ้าคุณพระโพธิญาณมุนี ชัยภูมิ, พระครูโอภาสสมณกิจ (หลวงพ่อผาง) วัดธรรมวิเวก ชนบท, เป็นต้น
    ในวันทำพิธีปลุกเสก ได้เกิดนิมิตอันดีปรากฏให้เห็นชัดเจน กล่าวคือ ขณะที่พราหมณ์กำลังกล่าวอัญเชิญเทวดา ท้องฟ้ามืดครึ้มขึ้นมาทันที ลมกระโชกแรง มีเสียงฟ้าคำรามอย่างกึกก้อง ฝนตกปรอยๆ ประมาณ 2-3 นาที แล้วก็หายไปราวปาฏิหาริย์ ประชาชนที่มาร่วมพิธีจึงให้ชื่อว่า “เหรียญฟ้าลั่น” เพราะเป็นนิมิตดี น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
    ในขณะที่เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านกำลังนำเทียนชนวนที่จุดไฟเพื่อนำไปจุดเทียนชัยอยู่นั้นบังเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นคือ
    “ฟ้าลั่นเปรี้ยงดังสนั่นหวั่นไหวที่ท่าน้ำวัดสุปัฏนารามถึง 2 ครั้งซ้อน และฟ้าได้มืดครึ้มลงอย่างกะทันหันพร้อมมีฝนโปรยปรายลงมาอยู่ครู่ใหญ่แล้วจึง หายไป”ในขณะที่เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านกำลังจุดเทียนชัยอยู่นั้นพระสงฆ์ทรง สมณศักดิ์ก็ได้เจริญพระพุทธมนตร์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
    1.พระธรรมบัณฑิต วัดสุทธจินดา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    2.พระเทพมงคลเมธี วัดมณีวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    3.พระเทพกวี วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.พระวิโรจน์รัตนโนบล วัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    5.พระศาสนดิลก วัดสุปัฏนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    6.พระครูประจักษ์อุบลคุณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    7.พระครูศีลคุณาภรณ์ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    8.พระครูวิรุฬสุตการ วัดวารินทราราม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    9.พระครูสังวรศีลขันธ์ วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    10.พระครุกิตยาภรณ์โกศล วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    การอธิษฐานจิตปลุกเสกนั้นได้ประกอบพิธีเป็นชุด ๆ ไปมีทั้งหมด 3 ชุด ดังนี้
    ชุดที่ 1.
    พระพิธีธรรม ชุดที่ 1.
    1.พระครูศีลคุณาภรณ์ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    2.พระครูบวรคณานุศาสน์ วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี(ในสมัยนั้นอ.ป่าติ้วยังขึ้นอยู่กับจ.อุบลราชธานีครับ)
    3.พระครูปลัดสวัสดิ์ วัดใต้ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.พระครูใบฎีกามานะ วัดไชยมงคล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 1.
    1.พระญาณสิทธาจารย์(สิงห์ สุนทโร) หรือ ลป.เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษณ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    2.พระครูภาวนานุศาสน์(สาย จารุวัณโณ) วัดป่าหนองยาว อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    3.พระครูสังฆรักษ์(ลป.พั่ว) วัดบ้านนาเจริญ อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    4.พระญาณวิริยาจารย์(วิริยังค์ สิรินธโร)วัดะรรมมงคล บางจาก กรุงเทพฯ
    5.พระครูนวกรรมโกวิท วัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    6.พระครูภัทรคุณาธาร วัดพรหมวิหาร อ.เลิงนกทา จ.ยดสะร
    7.พระครูญารวิจิตร วัดประชาอุทิศ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี
    8.พระครูพินิจสังฆภาร วัดศรีนวล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    9.พระอาจารย์ประยูร วัดป่าธรรมรังษี อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี(ขณะนั้น)
    10.พระอาจารย์ภา วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    ชุดที่ 2.
    พระพิธีธรรม ชุดที่ 2.
    1.พระครูอุบลเดชคณาจารย์ วัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    2.พระครูธรรมประเวที วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    3.พระครูใบฎีกาจันทร์ วัดบ้านท่าบ่อ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.พระปลัดหมูน วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี

    พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 2.
    1.พระราชสุทธาจารย์(โชติ คุณสัมปันโน) วัดวชิราลงกรณ์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    2.พระครูพิบูลธรรมภาณ(โชติ อาภัคโค)วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    3.พระโพธิญาณมุนี วัดศรีแก้งค้อ อ.แก้งค้อ จ.ชัยภูมิ
    4.พระครูอรุณรังษี วัดแสนสุข อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี
    5.พระครูพิเนตสมณกิจ วัดประชารังสรรค์ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
    6.พระครูโอภาสสมณกิจ วัดป่าธรรมวิเวก อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    7.พระครูวิจิตรธรรมภาณี วัดหนองบัว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    8.พระครูอมรวิสุทธิ์(ลต.พวง สุขินทริโย) วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
    9.พระครูพุทธิสารสุนทร วัดประดิษฐ์ธรรมาราม อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี
    10.พระครูวินัยธรอุทิศ วัดแสนสำราญ อ.วารินชำราบ อ.อุบลราชธานี

    ชุดที่ 3.
    พระพิธีธรรม ชุดที่ 3.
    1.พระครูประจักษ์อุบลคุณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    2.พระครูชิโนวาทสาธร(อุไทย์ ปภัสสโร) วัดไชยมงคล อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    3.พระครูวินัยะร(พิมพ์) วัดสุทัศนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
    4.พระครูวินัยธร(แดง)วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    พระกัมมัฏฐานที่เมตตามาอธิษฐานจิต ชุดที่ 3.
    1.ลพ.มุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอร์เหนือ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
    2.พระราชมุนี(โฮม) วัดปทุมวนาราม ปทุมวัน กรุงเทพฯ
    3.พระโพธิญาณเถร(ลป.ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    4.พระชินวงศาจารย์(ลพ.พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    5.ลป.บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    6.พระครูทัศนประกาศ วัดสำราญนิเวศ อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี
    7.พระครูชโยบลบริบาล วัดหอก่อง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสะร
    8.พระอาจารย์บุญกอง วัดโพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี
    9.พระครูโอภาสธรรมคุณ วัดสุภรัตนาราม อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    10.พระมหามณี วัดบ้านก้านเหลือง จ.อุบลราชธานี

    หมายเหตุ ก่อนทำพิธีพุทธาภิเษกนั้นพระทุกรูปได้ทำสังฆกรรมปลงอาบัติเพื่อความบริสุทธิ์ก่อนทุกรูป
    และในพิธีนี้ได้มีพระเถระที่เมตตานั่งอธิษฐานจิตให้ตลอดคืนจนสว่างเลย ได้แก่
    1.ลพ.มุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอร์เหนือ
    2.ลป.บุญมี โชติปาโล วัดสระประสานสุข
    3.ลป.ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง
    4.ลพ.พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน
    ต่อมาคณะกรรมการสมาคมได้นำเหรียญ “เบ็ญจะมหามงคล” เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกในโอกาสสำคัญๆ อีก 3 ครั้ง คือ
    พุทธาภิเษกครั้งที่ 2 ที่วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) เมื่อ พ.ศ. 2518 พร้อมปลุกเสกพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง และเหรียญพระแก้วบุษราคัมของจังหวัด จัดทำเป็นที่ระลึกสร้างศาลหลักเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
    พุทธาภิเษกครั้งที่ 3 ที่วัดดอยตุง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เป็นองค์ประธาน
    พุทธาภิเษกครั้งที่ 4 ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ที่วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

    ขอขอบคุณข้อมูลจากเบ็ญจะมะมหาราชสมาคม

    ลงมาให้อ่านกันเต็มๆ นี่ละครับ ปัจจุบันเหรียญนี้ยังไม่แพง ตามงานประกวดพระเครื่องบางงาน วางอยู่ในกระบะปนกับพระอื่นๆ ด้วยซ้ำ จำตำหนิ และรูปแบบให้แม่น แขวนเดี่ยวได้ครับ แต่เหรียญอาจจะใหญ่หน่อย เหมาะสำหรับคนตัวใหญ่ครับ ใส่ตลับนิเกิลที่ร้านชนะภัย ท่าพระจันทร์ ผมว่าสวยมากเลยเชียว...

    พันวฤทธิ์
    5/10/55




    </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2012
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,782
    ค่าพลัง:
    +16,097
    นำมาฝากกัน ลองฝึกดู อย่างน้อยก็เป็นการสร้างพลังทางจิตที่เป็นพลังบวกที่ดีวิธีนึง ที่สำคัญก็คือ ไม่เสียทรัพย์ ไม่มีใครเดือดร้อนในเรื่องนี้ ผู้ฝึกได้รู้จักการฝึกสมาธิตามแบบสมถะภาวนา อันเป็นบาทฐานเบื้องต้นของวิปัสสนากรรมฐาน ติดตัวข้ามภพชาติไป ดีกว่านั่งเฉย ๆ หากท่านใดทำสำเร็จก็ขออนุโมทนาไว้ล่วงหน้าด้วยครับ แต่ต้องใช้อิทธิบาท 4 เยอะครับ จึงจะสำเร็จไว ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา...

    วิธีการเพ่งกสิณ
    The way to Gaze at Kasina
    เนื่องจากการทำสมาธิด้วยวิธีเพ่งกสิณนี้เป็นวิธีฝึกจิตด้วยการมองวัตถุเพื่อทำจิตให้นิ่งอยู่กับสิ่งที่มองนั้นดังนั้นแผ่นกสิณกับตำแหน่งที่วางแผ่นกสิณจะต้องปราศจากสิ่งที่จะมารบกวนสายตาในเวลาเพ่งกสิณเพื่อให้จำเฉพาะภาพกสิณที่เราต้องการ ไม่มีสิ่งอื่นติดมาในนิมิตด้วย
    วิธีเตรียมสถานที่สำหรับจะทำสมาธิด้วยวิธีเพ่งกสิณนี้อันดับแรกจะต้องหาแผ่นกสิณที่จะเพ่งมาได้เสียก่อน (ปัจจุบันมีจำหน่ายแล้ว)พร้อมกับหาสถานที่เหมาะๆ ในการทำสมาธิแล้วตั้งจิตเป็นกุศลพร้อมกับกล่าวคำสมาทานกสิณเสียก่อนแล้วจึงทำการเพ่ง หรือตามแต่สะดวกอาจจะไม่กล่าวก็ได้
    ในการเพ่งกสิณนั้นมีวิธีการที่จะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับกสิณและวิธีการเพ่งแบบง่ายๆ ดังนี้


    1.หาสถานที่ตั้งต้องเป็นผนังว่างๆ ไม่มีสิ่งอื่นปะปนอยู่ด้วย (ห้ามตั้งหน้าโต๊ะหมู่หรือผนังห้องที่มีรูปภาพอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เพราะภาพอื่นๆจะปรากฏเห็นในนิมิตด้วย)
    2.ตั้งแผ่นกสิณให้ห่างจากตัวผู้เพ่งประมาณ 1 เมตร10 เซนติเมตร หรือ 2 ศอกกับ 1 คืบ หรือวัดง่ายๆด้วยการนั่งตัวตรงด้านหน้าแผ่นกสิณแล้วยื่นมือเหยียดตรงออกไปไม่ถึงแผ่นกสิณประมาณ 1 คืบ เท่านี้ก็ได้ระยะที่พอดีแล้ว
    3.ตั้งไว้แผ่นกสิณไว้สูงในระดับสายตาของเราพอดี (เท่าขาตั้งแผ่นกสิณจริงที่ทำให้สำเร็จรูปแล้วในชุดกสิณ)
    4.ถ้าตั้งแผ่นกสิณชิดฝาผนังเกินไปเวลาเปิดไฟเพ่งในตอนกลางคืนจะทำให้มีเงาแสงไฟรอบๆ แผ่นกสิณให้ขยับแผ่นกสิณออกห่างจากฝาผนังนั้นจนไม่มีเงาแสงไฟ
    5.ถ้ามีแสงสะท้อนบริเวณแผ่นกสิณให้ปรับหน้าแผ่นกสิณออกจากแสงสะท้อนนั้น
    6.เริ่มเพ่งมองแผ่นกสิณ ณ ตรงจุดกึ่งกลางของแผ่นโดยใช้เวลาในการมองแต่ละครั้งประมาณ 10 - 15 วินาที (นานสุดไม่ควรเกิน 1 นาที)แล้วหลับตาลง
    เพื่อให้ภาพกสิณติดตา

    7.ใช้เวลาหลับตาประมาณ 5 - 10 วินาที เพื่อดูภาพกสิณที่ติดตาซึ่งจะปรากฏขึ้นมาให้เห็นในเวลาหลับตาเมื่อภาพนั้นหายไปให้ลืมตาขึ้นมาเพ่งใหม่อีกครั้ง
    8.ให้ภาวนาชื่อของแผ่นกสิณในใจไปด้วยทุกครั้งทั้งในเวลาเพ่งแผ่นกสิณและในเวลาหลับตานึกภาพกสิณที่ติดมาในนิมิต
    9.ใช้จิตนึกบังคับภาพสีที่เห็นในนิมิตนั้นให้เปลี่ยนเป็นสีเดียวกันกับแผ่นกสิณจริงที่เพ่งเช่น เพ่งกสิณสีแดง ภาพที่ติดตามาอาจเป็นสีเขียวแต่ในใจให้นึกบังคับภาพเขียวนั้นให้กลับเป็นสีแดงเหมือนแผ่นกสิณจริงที่เพ่ง
    10.เมื่อภาพสีในนิมิต (อุคคหนิมิต)ได้กลายมาเป็นสีเหมือนกันกับกสิณจริงที่เพ่งได้แล้ว (ปฎิภาคนิมิต)ให้หยุดเพ่งแผ่นกสิณนั้น แล้วนั่งหลับตาเพ่งภาพสีในนิมิตนั้นต่อไปโดยให้ฝึกหัดบังคับให้ภาพนั้นขยายใหญ่ขึ้นหรือให้เล็กลงหรือให้ลอยไปมาตามที่จิตของเราสั่งจึงจะถือว่าสำเร็จในการเพ่งกสิณชนิดนั้นๆ
    ในการเพ่งกสิณแต่ละชนิดนั้นมีหลักการอยู่อย่างหนึ่งว่าจะต้องกล่าวคำภาวนาชื่อของกสิณตามชนิดของกสิณที่เพ่งนั้นกำกับไปด้วยทุกครั้งทั้งนี้ก็เพื่อให้จิตกำกับอยู่กับกสิณนั้นๆและเป็นการบังคับนิมิตกสิณให้เปลี่ยนไปเป็นสีเหมือนแผ่นกสิณที่เพ่งด้วยถ้านั่งมองเพียงอย่างเดียวภาพนิมิตนั้นจะทรงตัวอยู่และไม่เปลี่ยนไปตามที่เราต้องการดังนั้น ต้องภาวนากำกับจิตไปด้วยทุกครั้งในเวลาเพ่งกสิณโดยคำภาวนานั้นก็จะภาวนาไปตามชนิดของสีกสิณแต่ละกสิณ ดังนี้

    ถ้าเพ่งกสิณสีแดง ให้ภาวนาในใจว่า โลหิตะกังโลหิตะกังแปลว่า สีแดง หรือ แดง แดง....(Red Red ...)
    ถ้าเพ่งกสิณสีเขียว ให้ภาวนาในใจว่านีลังนีลังแปลว่าสีเขียว หรือ เขียว เขียว... (Green or Blue ...)
    ถ้าเพ่งกสิณสีเหลืองให้นึกภาวนาในใจว่าปีตะกังปีตะกังแปลว่า สีเหลือง หรือ เหลือง เหลือง...(Yellow Yellow..)
    ถ้าเพ่งกสิณสีขาว ให้นึกภาวนาในใจว่าโอทาตังโอทาตังแปลว่า สีขาว หรือขาวขาว...(White White..)


    คำภาวนาทั้งหมดนี้ให้ภาวนาทุกครั้งเวลาเพ่งกสิณทั้งในเวลาเพ่งและหลับตานึกถึงภาพนิมิตกสิณแม้ในช่วงเวลาที่เกิดภาพนิมิตกสิณขึ้นมาใจ (อุคคหนิมิต - Handle Image or Opposite Sign ) ได้แล้วก็ยังคงภาวนาต่อไปตามเดิมจนกว่าภาพนิมิตนั้นจะเป็นสีเหมือนกับแผ่นกสิณจริง (ปฏิภาคนิมิต นิมิต - Really Image or truthfully Sign) จึงหยุดเพ่งแผ่นกสิณ


    เมื่อสามารถทำภาพสีนิมิตในใจให้เป็นสีเหมือนแผ่นกสิณจริงได้แล้วต่อไปให้นั่งหลับตาเพ่งภาพนิมิตในใจเพียงอย่างเดียวไม่ต้องลืมตาขึ้นมาเพ่งแผ่นกสิณอีกแล้ว เพื่อฝึกให้ภาพนิมิตนั้นขยายเล็กขยายใหญ่ขึ้น หรือให้ลอยไปลอยมา ให้หายไปหรือให้ปรากฏขึ้นมาใหม่ก็ได้ให้ทำจนเกิดความชำนาญมากๆอย่างคล่องแคล่วว่องไวนึกจะทำสมาธิครั้งใดก็ให้ปรากฏขึ้นมาได้ทันทีในเวลานั้น

    อนึ่ง ถ้าภาพกสิณนั้นหายไปในขณะที่ฝึก ให้นั่งนึกดึงภาพกลับมาไปเรื่อยๆจนกว่าภาพนั้นจะปรากฏขึ้นมาอีกแล้วให้นั่งเพ่งต่อไปแต่ถ้านึกแล้วภาพกสิณนั้นไม่กลับมาปรากฏอีกจนหมดความสามารถแล้วให้กลับไปนั่งเพ่งแผ่นกสิณจริงอีกครั้งหนึ่งจนสามารถดึงภาพนิมิตนั้นกลับมาปรากฏเหมือนเดิมแล้วจึงหยุดเพ่งแผ่นแล้วหันกลับมาเพ่งภาพในสัญญาต่อไปและให้ทำเหมือนเดิมกับที่กล่าวมาแล้วทุกครั้งไป



    อิทธิบาท หรือ อิทธิบาท 4 เป็นศัพท์ในพุทธศาสนา หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์ ทางแห่งความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี ๔ ประการ คือ

    • ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป
    • วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย
    • จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
    • วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...