ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    .อิทธิพลของสมาธิ...(หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

    โ ด ย : พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
    วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


    ขณะใดที่เราภาวนา แล้วจิตของเราสงบ นิ่ง สว่าง
    หรือไปรู้สึกนิ่งแจ่มๆ อยู่ในจิตในใจก็ตาม

    นั่นแสดงว่า จิตใต้สำนึกของเรากำลังเริ่มตื่นขึ้นแล้ว
    ทีนี้เมื่อเราฝึกต่อเนื่องกันทุกวัน จนคล่องชำนิชำนาญ
    เราสามารถทำจิตให้สงบได้ ตามที่เราต้องการ
    เมื่อจิตสงบลงนิดหน่อย เราจะน้อม
    ไปใช้ประโยชน์ในทางไหนก็ได้
    อยากจะเป็นหมอรักษาคนไข้
    ก็สำรวมจิต อธิษฐานแผ่เมตตาให้คนไข้
    แม้เพื่อนฝูงของเราเจ็บไข้ อยู่ในที่ห่างไกล
    เรานั่งสมาธิสำรวมจิต แล้วอธิษฐานจิตแผ่เมตตาให้เพื่อนของเรา
    ที่กำลังป่วยไข้ ก็สามารถที่จะหายได้

    คัดลอกจาก...

    http://www.thaitv3.com/drama/tamma/trick12.html
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ประมวลภาพหลวงพ่อพุธ ฐานิโย

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    มีบางภาพที่ผมเพิ่งเคยเห็นเหมือนกัน อยากรู้เข้าไปดูต่อที่...
    ลานธรรมจักร
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ขอมอบบทความนี้ให้เป็นกำลังใจแก่ทุกๆ คนที่กำลังสั่งสมบุญและเผอิญเข้ามาอ่านและอาจจะได้มีโอกาสทำบุญให้แก่พระสงฆ์ที่อาพาธตามเลขที่บัญชีในกระทู้นี้ หรือไปทำบุญในโอกาสต่างๆ ตามที่ได้ท่านตั้งใจปราถนาไว้ อย่างน้อย ผมก็เชื่อว่าบุญที่เรากำลังทำด้วยความตั้งใจนี้ไม่ว่าจะเป็นแห่งหนใด เวลาใด แม้นเป็นบุญเพียงเล็กน้อย หากทำบ่อยๆ ค่อยๆ สะสม ค่อยๆ เอาเป็นกำลัง แต่สมบูรณ์ไปด้วยความตั้งใจ ความยินดี และความบริสุทธิ์ในการทำบุญนั้นก็สามารถใช้เป็นเสบียงเลี้ยงตัวได้ทั้งชาตินี้และชาติหน้าได้อย่างสบายเช่นกันครับ


    <big><big> [​IMG] </big></big>
    <table align="center" border="0" bordercolor="#ff6666" cellpadding="0" cellspacing="0" height="200" width="200"> <tbody><tr> <td bgcolor="#ffffff" height="177">
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table>
    ผ ล ไ ม้ พั น ธุ์ เ ล ว ถึ ง จ ะ ใ ส่ ปุ๋ ย ร ด น้ำ พ ร ว น ดิ น ดี อ ย่ า ง ไ ร ก็ ต า ม
    อ ย่ า ง ม า ก ก็ ทำ ใ ห้ มี ผ ล ด ก ขึ้ น บ้ า ง
    แ ต่ จ ะ ทำ ใ ห้ มี ร ส โ อ ช า ขึ้ น ก ว่ า เ ดิ ม นั้ น ย า ก
    ต ร ง กั น ข้ า ม ผ ล ไ ม้ พั น ธุ์ ดี แ ม้ ร ด น้ำ พ ร ว น ดิ น เ พี ย ง พ อ ป ร ะ ม า ณ
    ก็ ใ ห้ ผ ล ม า ก เ กิ น ค า ด ร ส ช า ติ ก็ โ อ ช า

    เ ช่ น กั น ผู้ ที่ ไ ม่ ไ ด ้สั่ ง ส ม คุ ณ ค ว า ม ดี ม า ก่ อ น
    เ มื่ อ ป ร ะ ก อ บ กิ จ ใ ด ๆ ถึ ง ข ยั น ขั น แ ข็ ง สั ก ป า น ไ ห น
    ผ ล แ ห่ ง ค ว า ม ดี ก ว่ า จ ะ ป ร า ก ฏ เ ต็ ม ที่
    ก็ ต้ อ ง ใ ช้ ค ว า ม พ ย า ย า ม อ ย่ า ง ห นั ก แ ล ะ เ สี ย เ ว ล า ม า ก
    ส่ ว น ผู้ ที่ สั่ ง ส ม คุ ณ ค ว า ม ดี ม า ก่ อ น เ มื่ อ ทำ ค ว า ม ดี
    ผ ล ดี ป ร า ก ฏ เ ต็ ม ที่ ทั น ต า เ ห็ น ส่ ง ผ ล ใ ห้ มี ค ว า ม เ จ ริ ญ ก้ า ว ห น้ า
    เ ห นื อ ก ว่ า บุุ ค ค ล ทั้ ง ห ล า ยไ ด้้ อ ย่ า ง น่่ า อั ศ จ ร ร ย์
    <big> บุ ญ คื อ อ ะ ไ ร ?</big>
    บุญ คือสิ่งซึ่งเกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือกคิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น
    บุญ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมส่งผลปรุงแต่งใจของเราให้มีคุณภาพดีขึ้น คือตั้งมั่นไม่หวั่นไหว บริสุทธิ์ผุดผ่องสว่างไสว โปร่งโล่ง ไม่อึดอัด อิ่มเอิบ ไม่กระสับกระส่าย ชุ่มชื่นเบาสบาย ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด นุ่มนวลควรแก่การงาน และบุญที่เกิดขึ้นนี้ยังสามารถสะสมไว้ในใจได้อีกด้วย
    คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็น "บุญ" แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือ ผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข เปรียบได้กับ "ไฟฟ้า" ซึ่งเรามองไม่เห็นตัวไฟฟ้าโดยตรง แต่เราสามารถรับรู้อาการของไฟฟ้าได้ เช่น เมื่อไฟฟ้าผ่านเข้าไปในหลอดไฟแล้วเกิดแสงสว่างขึ้น หรือเมื่อผ่านเข้าไปในเครื่องปรับอากาศแล้วเกิดความเย็นขึ้น เป็นต้น<big>



    คุ ณ ส ม บั ติ ข อ ง บุ ญ
    </big>

    [​IMG] ชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาดได
    [​IMG] นำความสุขความเจริญก้าวหน้ามาให้
    [​IMG] ติดตามตนไปทุกฝีก้าว แม้ไปเกิดข้ามภพข้ามชาติ
    [​IMG] เป็นของเฉพาะตน ใครทำใครได้ โจรลักขโมยไม่ได้
    [​IMG] นำมาซึ่งโภคทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
    [​IMG]ให้มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ นิพพานสมบัติ แก่เราได้
    [​IMG] เป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏฏสงสาร
    [​IMG]เป็นปัจจัยให้บรรลุมรรคผลนิพพาน

    <b><big>ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง บุ ญ ใ น ก า ล ก่ อ น</big></b>
    บุญในกาลก่อนแบ่งเป็น ๒ ชนิด ได้แก
    [​IMG]บุญช่วงไกล คือคุณความดีที่เราทำจากภพชาติก่อน มาจนถึงวันคลอดจากครรภ์มารดา
    [​IMG]บุญช่วงใกล้ คือคุณความดีที่เราทำในภพชาติปัจจุบันตั้งแต่คลอดจนถึงวันนี้
    บุญช่วงไกล การสั่งสมความดีมาแต่ภพชาติก่อน ส่งผลให้เราเห็นในปัจจุบัน เปรียบเสมือนผลไม้ที่คัดพันธุ์มาดีแล้ว รสโอชะของมันย่อมติดมาในเมล็ด เมื่อนำเมล็ดนั้นมาปลูก ต้นของมันย่อมให้ผลที่รสอร่อยทันทีโดยไม่ต้องทะนุบำรุงมาก คนเราก็เช่นกัน ถ้าในอดีตชาติสะสมความดีมามากพอ เกิดมาชาตินี้ก็เป็นคนใจใส ใจสะอาดบริสุทธิ์มาตั้งแต่เด็ก มีสติปัญญาดีมาแต่กำเนิด รูปร่างสง่างาม ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีโอกาสสร้างความดีได้มากกว่าคนทั้งหลาย ถ้าไม่ประมาทหมั่นสะสมความดีในปัจจุบันเพิ่มขึ้นอีก ก็จะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าประมาทไม่เอาใจใส่ในการทำความดีในปัจจุบัน ก็เปรียบเสมือนต้นไม้ยอดด้วน ยากที่จะเจริญเติบโตต่อไปได้
    บุญช่วงใกล้ คนที่ทำความดีตั้งแต่เล็กเรื่อยมา เช่น ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ขยันหมั่นเพียร คบคนดีเป็นมิตร ฝึกใจให้ผ่องใสมาตั้งแต่เด็ก ความคิด คำพูด การทำงาน ย่อมดีกว่าบุคคลอื่นในวัยเดียวกัน เมื่อเติบโตขึ้น ย่อมมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าผู้อื่น
    เพราะฉะนั้นเราจึงควรสั่งสมบุญ โดยทำความดีเสียตั้งแต่วันนี้ จะได้ส่งผลให้มีสติปัญญาดี มีความเฉลียวฉลาด มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตต่อไปในอนาคต ดังเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้ทรงทำความดี สร้างสมบารมีมามากนับภพนับชาติไม่ถ้วน ในภพชาติสุดท้ายก็ทรงตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่อทรงออกผนวชก็ตั้งใจบำเพ็ญเพียรเจริญสมาธิภาวนาอย่างเต็มที่ จึงสามารถตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เมื่อมีพระชนมายุเพียง ๓๕ พรรษา

    ผ ล ข อ ง บุ ญ
    บุญเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็มีผลกับตัวเรา ๔ ระดับ คือ
    [​IMG] ระดับจิตใจ เป็นบุญที่เกิดผลทันที คือทำความดีปุ๊บก็เกิดปั๊บ ไม่ต้อง รอชาติหน้า เกิดขึ้นเองในใจของเราทำให้
    - สุขภาพทางใจดีขึ้น คือมีใจเยือกเย็น ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวต่อคำยกยอหรือตำหนิติเตียน มีใจที่ปลอดโปร่ง เบาสบาย เป็นสุข
    - สมรรถภาพของใจดีขึ้น คือเป็นใจที่สะอาดผ่องใส ใช้คิดเรื่องราวต่างๆ ได้รวดเร็ว ว่องไว ลึกซึ้ง กว้างไกล รอบคอบ เป็นระเบียบ และตัดสินใจ ได้ฉับพลันถูกต้องไม่ลังเล
    [​IMG] ระดับบุคลิกภาพ คนที่ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อย่างสม่ำ-เสมอ จะทำให้มีใจที่สงบ แช่มชื่น เบิกบาน ชุ่มเย็น นอนหลับสบาย ไม่มีความกังวลหม่นหมอง หน้าตาผิวพรรณจึงผ่องใส ใจเปี่ยมไปด้วยบุญ ไม่คิดโลภอยากได้ของใคร ไม่คิดสร้างความเดือดร้อนให้ใคร มีแต่คิดช่วยเหลือเขา จึงมีความมั่นใจในตัวเอง มีความองอาจสง่างามอยู่ในตัว ไปถึงไหนก็สามารถวางตัว ได้พอเหมาะพอดี บุคลิกภาพย่อมดีขึ้นเป็นลำดับ
    [​IMG] ระดับวิถีชีวิต วิถีชีวิตของคนเรา เกิดจากการสรุปผลบุญและผลบาปที่เราได้ทำมาตั้งแต่ภพชาติก่อนๆ จนถึงภพชาติปัจจุบัน เป็นผลของบุญระดับจิตใจและระดับบุคลิกภาพรวมกัน ชักนำให้เราได้รับสิ่งที่น่าปรารถนา ตอบสนองมาจากภายนอก เช่น ได้รับลาภ ยศ สรรเสริญ สุข แต่การที่เราทำดี แล้ววิถีชีวิตของเราจะดีเต็มที่หรือไม่นั้น ยังขึ้นอยู่กับบุญเก่าหรือบาปในอดีตที่เราเคยทำไว้ด้วย เรื่องการให้ผลของบุญและบาป จึงเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน เช่นบางครั้งขณะที่เราตั้งใจทำความดีอยู่ แต่ผลบาปในอดีตตามมาทัน ทำให้ถูกใส่ร้ายป้ายสี หรือประสบเคราะห์กรรม บางคนจึงเข้าใจผิด คิดว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำให้หมดกำลังใจในการทำความดี
    แท้จริงแล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในขณะนั้น ผลบาปที่เราเคยทำในอดีตกำลังส่งผลอยู่ แต่บุญที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันย่อมไม่ไร้ผล เมื่อเราตั้งใจทำบุญต่อไปโดยไม่ย่อท้อ และไม่ทำบาปนั้นอีก เคราะห์กรรมนั้นย่อมหมดสิ้นไป และได้รับผลของบุญคือความสุขความสำเร็จได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในที่สุด
    [​IMG] ระดับสังคม เมื่อเราทำความดีมาแล้วอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะไปอยู่สังคมใด บุญก็จะส่งผลให้เป็นบุคคลที่สังคมยอมรับนับถือ ได้เป็นผู้นำของสังคม นั้น และจะเป็นผู้ชักนำสมาชิกในสังคมให้ทำความดีตามอย่าง ทำให้เกิดความสงบร่มเย็น และความเจริญก้าวหน้าขึ้นในสังคมนั้นๆ โดยลำดับ
    [FONT=Arial, Helvetica, sans-serif] ตั ว อ ย่ า ง ผ ล ข อ ง บุ ญ[/FONT]
    ผู้ที่มีอายุยืน เพราะในอดีตไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
    ผู้ที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ เพราะในอดีตไม่รังแกหรือทรมานสัตว์
    ผู้ที่มีพลานามัยสมบูรณ์ เพราะในอดีตให้ทานด้วยข้าวปลาอาหาร มามาก
    ผู้ที่มีผิวพรรณงาม เพราะในอดีตรักษาศีล และให้ทานด้วยเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมามาก
    ผู้ที่มีอำนาจมีคนเกรงใจ เพราะในอดีตมีมุทิตาจิต ใครทำความดีก็อนุโมทนา ไม่อิจฉาริษยาใคร
    ผู้ที่ร่ำรวยมีโภคทรัพย์มาก เพราะในอดีตให้ทานมามาก
    ผู้ที่เกิดในตระกูลสูง เพราะในอดีตบูชาบุคคลที่ควรบูชามามาก
    ผู้ที่ฉลาดมีสติปัญญาดี เพราะในอดีตคบบัณฑิต ฝึกสมาธิเจริญ ภาวนามามากและไม่ดื่มสุรายาเมา
    <big>วิ ธี ท ำ บุ ญ</big>
    การทำความดีทุกอย่างล้วนได้ผลออกมาเป็นบุญทั้งสิ้น แต่เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจและนำไปปฏิบัติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแบ่งวิธีทำบุญออกเป็น ๑๐ ประการ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ได้แก่
    [​IMG]ทาน คือการบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
    [​IMG] ศีล คือการสำรวมกาย วาจา ให้สงบเรียบร้อยไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
    [​IMG] ภาวนา คือการสวดมนต์ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ
    [​IMG] อปจายนะ คือการมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
    [​IMG] เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ
    [​IMG] ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญแก่ผู้อื่น
    [​IMG] ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
    [​IMG] ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
    [​IMG] ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
    [​IMG] ทิฏฐุชุกัมม์ คือการปรับปรุงความเห็นของตนให้ถูกต้อง
    บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ นี้ อาจสรุปลงใน บุญกิริยาวัตถุ ๓ ได้ดังนี้
    - ทาน ได้แก่ ทาน ปัตติทานะ ปัตตานุโมทนา เป็นการฆ่าความตระหนี่ออกจากใจ
    - ศีล ได้แก่ ศีล อปจายนะ เวยยาวัจจะ เป็นการป้องกันตนไม่ให้ทำชั่ว
    - ภาวนา ได้แก่ ภาวนา ธัมมัสสวนะ ธัมมเทสนา เป็นการฝึกตัวเองให้ฉลาด มีสติปัญญาดี
    ส่วน ทิฏฐุชุกัมม์ นั้น สงเคราะห์เข้าได้ทั้งใน ทาน ศีล และภาวนา
    หมายเหตุ อรรถกถาและฎีกาบางแห่ง จัดทิฏฐุชุกัมม์ไว้ในภาวนา ส่วนธัมมเทสนานั้น อาจจัดไว้ในทานก็ได้ โดยถือเป็นธรรมทาน
    [FONT=Arial, Helvetica, sans-serif] บุ ญ ว า ส น า ไ ม่ ใ ช่ อ ภิ นิ ห า ร[/FONT]
    บุญวาสนาไม่ใช่อภินิหาร แต่สามารถอธิบายด้วยหลักเหตุผลได้ดังนี้ คนที่จิตสั่งสมแต่บาปหรือความชั่ว จะทำให้ใจมืดมัว กิเลสต่างๆ เข้ายึดครอง ใจได้ง่าย ทำให้เกิดผลร้ายต่อตนเอง เช่น เวลาโกรธจัด ความโกรธเข้ายึดครองใจ ทำให้หัวใจเต้นแรงผิดปกติ ระบบสูบฉีดเลือดผันแปร โลหิตมีการเผาไหม้มาก เกิดอาการร้อนผ่าวตั้งแต่หน้าอกจรดใบหน้า ความร้อนจะทำให้ผิวหยาบกร้าน ไม่มีน้ำมีนวล อาหารไม่ย่อย ท้องอืด เกิดความเครียด คนโกรธง่าย จึงเป็นคนเจ้าทุกข์ หงุดหงิด พูดจาห้วนแบบมะนาวไม่มีน้ำ เวลาโกรธจะขาดสติ คิดอ่านการใดก็ผิดพลาดได้ง่าย
    ส่วนคนที่จิตสั่งสมแต่บุญหรือความดี จะทำให้ใจผ่องใสอยู่เป็นปกติ กิเลสต่างๆ เข้ายึดครองใจได้ยาก เพราะมีสติคอยควบคุมใจไว้ สามารถสอนตนเองและตักเตือนตนเองไม่ให้ทำความชั่วได้ จึงมีจิตใจที่สงบเยือกเย็น สดชื่น ผ่องใส ระบบการทำงานของร่างกายก็เป็นปกติ มีผิวพรรณงาม เสียงไพเราะกิริยาน่ารัก คิดอ่านการใดก็แจ่มใส ส่งผลให้มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตได้ง่าย
    <big>ข้ อ เ ตื อ น ใ จ</big>
    เมื่อทราบว่าการทำบุญเป็นการสั่งสมความดีไว้เพื่อตนเองแล้วเราจึง ไม่ควรประมาทในการทำบุญ ควรทำบุญเท่าที่กำลังความสามารถจะอำนวย ผู้ที่ ได้สั่งสมบุญมาดีแล้วแต่เพิกเฉยในการทำบุญเพิ่ม เปรียบเสมือนชาวนาที่เก็บเกี่ยวผลิตผลแล้วแจกจ่ายขายกินหมด ไม่เหลือไว้ทำพันธุ์ต่อไปภายหน้าเลย เขา ย่อมเดือดร้อนในฤดูกาลทำนาครั้งต่อไป
    ความดีทุกอย่างที่เราทำไว้ แม้จะไม่ให้ผลในปัจจุบันทันตาก็ไม่สูญเปล่า ความดีเหล่านั้นจะรวมกันเข้าปรุงแต่งจิตใจให้ดีขึ้น สิ่งนี้แหละคือ บุญวาสนา
    เราจึงควรเร่งสร้างความดีเสียแต่บัดนี้ โดยหมั่นศึกษาวิชาการ ฝึกฝนตนเองทั้งทางด้านการปรับปรุงคำพูด ความขยันขันแข็ง ทำการงานให้ดีขึ้น และพยายามฝึกใจให้ผ่องใส ด้วยการหมั่นทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาอย่างสม่ำเสมอ คนเช่นนี้จึงเป็นคนมีบุญวาสนาที่แท้จริง

    [FONT=Arial, Helvetica, sans-serif]ห ลั ก ป ฏิ บั ติ ใ น ชี วิ ต ป ร ะ จ ำ วั น[/FONT]
    เราต้องเร่งสร้างบุญใหม่ตั้งแต่บัดนี้ จะได้เป็นบุญเก่าติดตัวไปในวันหน้า โดยยึดหลักว่า
    [​IMG] เช้าใดยังไม่ได้ทำทาน เช้านั้นอย่าเพิ่งทานข้าว
    [​IMG] วันใดยังไม่ได้ตั้งใจรักษาศีล วันนั้นอย่าเพิ่งออกจากบ้าน
    [​IMG] คืนใดยังไม่ได้สวดมนต์เจริญสมาธิภาวนา คืนนั้นอย่าเพิ่งนอน
    เราต้องอดทนฝึกตนให้สร้างความดีเรื่อยไป แม้จะต้องกระทบกระทั่งกับสิ่งใด มีอุปสรรคมากเพียงไหนก็ปักใจมั่นไม่ย่อท้อ กัดฟันสู้ทำความดีเรื่อยไป
    "น้ำหยดทีละหยด ยังสามารถเต็มตุ่มได้ฉันใด บัณฑิตหมั่นสั่งสมบุญทีละน้อย ย่อมเต็มเปี่ยมด้วยบุญฉันนั้น" ขุ. ธ. ๒๕/๑๙/๓๑

    <big> [​IMG]ก า ร มี บุ ญ ว า ส น า ม า ก่ อ น
    </big>

    [​IMG] ทำให้มีปัจจัยต่างๆ พร้อม สามารถทำความดีใหม่ได้โดยง่าย
    [​IMG] อำนวยประโยชน์ทุกอย่างดังได้กล่าวมาแล้ว
    [​IMG] เป็นต้นเหตุแห่งความสุขทุกประการ
    [​IMG] เป็นเสบียงติดตัวทั้งภพนี้ภพหน้า จนกว่าจะบรรลุมรรคผลนิพพาน
    ฯลฯ

    <big><big>จบมงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน </big></big>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2010
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    [​IMG]


    อานุภาพแห่งความดี

    โดยพระไพศาล วิสาโล

    การทำความดี หมั่นสร้างบุญกุศล ไม่เพียงช่วยให้มีชีวิตทีผาสุกเท่านั้น หากยังอำนวยให้มีความสุขในเวลาละโลกนี้ไป ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า “บุญย่อมทำให้เกิดสุขในเวลาสิ้นชีวิต”

    คนเป็นอันมากกลัวตายก็เพราะ ไม่แน่ใจว่าเมื่อตายแล้วจะไปไหนจะไปทุคติหรือไม่ แต่ความกลัวเช่นนี้จะไม่เกิดกับผู้ที่มั่นใจในความดีที่ทำมาทั้งชีวิต เพราะรู้ดีว่าบุญกุศลที่ได้ทำนั้นย่อมส่งผลให้ไปสู่สุคติ

    ในชาดก ตอนหนึ่ง พระโพธิสัตว์ได้กล่าวอย่างองอาจว่า “ข้าพเจ้าไม่มีความชั่วซึ่งทำไว้ ณ ที่ไหนๆ เลย ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง”

    อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะมั่นใจในความดีของตนถึงขนาดนั้นเห็นจะมีไม่มาก คนส่วนใหญ่ย่อมมีบ้างที่พลั้งเผลอทำความชั่วหรือทำสิ่งที่ไม่สมควร และหากเป็นคนไกลวัด ใจไม่แนบแน่นกับธรรมะ ก็ย่อมหวั่นไหวเมื่อความตายใกล้เข้ามา ส่วนหนึ่งกลัวว่าจะไปอบาย แต่มีจำนวนไม่น้อยที่กลัวว่าจะต้องพลัดพรากจากทุกอย่างที่รักและหวงแหน รวมทั้งชีวิตนี้

    ความกลัวดังกล่าวทำให้ผู้คนเป็นอันมากไม่สามารถ ตายอย่างสงบได้ มิพักต้องเอ่ยถึงความเจ็บปวดทางกายและความทุกข์ทางใจที่รุมเร้าในยามใกล้ตาย ทำให้จิตใจกระสับกระส่ายและทุรนทุรายจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

    ใน ยามนี้สิ่งหนึ่งที่จะช่วยน้อมใจให้สงบจนสิ้นลมก็คือ การระลึกถึงสิ่งดีงามอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิตใจ สำหรับชาวพุทธ ได้แก่ พระรัตนตรัย หรือ พระโพธิสัตว์ เป็นต้น สิ่งศักดิ์สิทธิ์และสูงส่งเหล่านี้ หากผู้ใดศรัทธานับถืออยู่ก่อนแล้ว เมื่อระลึกถึงคราใดย่อมเกิดความอบอุ่นใจและมั่นใจ ว่าจะได้รับการปกป้องคุ้มครองจนปลอดภัย ความอบอุ่นและมั่นใจดังกล่าวเป็นโอสถอย่างดีที่เยียวยาจิตใจให้หายทุกข์ บรรเทาความกระสับกระส่ายให้คลายไป

    ส่วนผู้ไกลวัด ไม่รู้สึกแนบแน่นกับพระรัตนตรัย ก็ใช่ว่าจะหมดโอกาสพบกับความสงบใจในวาระสุดท้าย เพราะอย่างน้อยยังมีสิ่งดีงามอีกอย่างหนึ่งที่ควรแก่การระลึกนึกถึง นั่นคือ ความดีที่ตนได้ทำ มนุษย์ทุกคนย่อมเคยกระทำความดีมาแล้วไม่มากก็น้อย ความดีเหล่านี้ไม่เคยสูญเปล่า ทั้งยังสามารถช่วยเหลือเราได้ในยามใกล้ตาย

    อย่าง ไรก็ตาม เมื่อวาระสุดท้ายใกล้มาถึง ปุถุชนมักถูกบีบคั้นด้วยทุกขเวทนา อีกทั้งถูกครอบงำด้วยความกลัวเพราะอารมณ์อกุศลต่างๆ จนไม่มีสติมากพอที่จะนึกถึงความดีที่ตนเคยทำ จึงจำเป็นที่ญาติมิตรจะช่วยน้อมใจเข้าให้ระลึกถึงความดีงามเหล่านี้ การกระทำดังกล่าวสำคัญไม่น้อยไปกว่าการบรรเทาความเจ็บปวดทางกายหรือการรักษา ด้วยยา

    ชายชราผู้หนึ่งป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ ในช่วงท้ายของชีวิตเขามีอาการทรุดลงบ่อยครั้ง ทุกครั้งลูกหลานต้องรีบพาไปโรงพยาบาลเมื่ออาการทุเลาจึงพากลับบ้าน สถานการณ์เป็นเช่นนี้อยู่หลายเดือน ทั้งผู้ป่วยและลูกหลานมีความทุกข์ถ้วนหน้า กระทั่งเดือนสุดท้ายมีหลานคนหนึ่งได้ไปเฝ้าไข้ผู้ป่วยแทบทุกวัน หลานได้ชวนผู้ป่วยคุยเรื่องชีวิตในอดีต เขาจึงเล่าเรื่องความภาคภูมิใจในวัยหนุ่ม อาทิ การได้ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และการรับราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

    หลานสังเกตว่า ตลอดเวลาที่คุยเรื่องเหล่านี้ ผู้ป่วยมีแววตาเป็นประกาย สีหน้าเบิกบาน และดูสงบมากขึ้น ยิ่งเมื่อได้คุยกันเรื่องแก่นธรรมะของพุทธศาสนาในตอนท้ายๆ ผู้ป่วยก็ปล่อยวางได้มากขึ้น หลังจากนั้นไม่นาน ผู้ป่วยก็เรียกลูกหลานมาสั่งเสีย และจากไปอย่างสงบด้วยสีหน้าที่มีรอยยิ้มน้อยๆ

    ที่น่าแปลกก็คือ ตลอดหนึ่งเดือนเต็มที่หลานมานั่งคุยกับผู้ป่วย เขาไม่เคยเข้าโรงพยาบาลเลยแม้แต่ครั้งเดียว

    การ เตือนใจให้ผู้ป่วยนึกถึงความดีของตนนั้น สามารถทำได้แม้ในยามที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะโคม่าหรือไม่รู้สึกตัว หญิงชราผู้หนึ่งใกล้จะสิ้นลมแล้ว ไม่มีอาการตอบสนองใดๆ ลูกๆอยากให้แม่ถวายสังฆทานเป็นครั้งสุดท้าย จึงไปนิมนต์พระรูปหนึ่ง ซึ่งบังเอิญมาอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ของท่านที่อาพาธในห้องใกล้ๆ กัน เมื่อท่านรับสังฆทานเสร็จก็สังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการกระตุกไม่หยุด สัญญาณชีพบนจอมอนิเตอร์พุ่งขึ้นลงเร็วมาก ท่านอยากช่วยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ ดังนั้นเมื่อทราบจากลูกหลานว่าผู้ป่วยชอบใส่บาตรวันพระ และไปกราบพระประธานที่ วัดไตรมิตรฯ ท่านจึงบอกผู้ป่วยว่า โยม วันนี้เป็นวันพระ ให้คดข้าวใส่ขัน เตรียมดอกไม้ธูปเทียนให้พร้อม จะไปใส่บาตรกัน พร้อมแล้วก็ให้ไปที่หน้าบ้าน ทีนี้ท่านถามผู้ป่วยว่า ซ้ายมือมีพระไหมปรากฏว่าผู้ป่วยส่ายหน้าท่านถามต่อว่า ขวามือมีพระไหม ทีนี้ผู้ป่วยพยักหน้าพร้อมกับพนมมือ แล้วท่านก็พูดนำผู้ป่วยให้ใส่บาตรพระทีละรูป จนครบ ๙ รูป ถึงตอนนี้ผู้ป่วยมีอาการสงบอย่างเห็นได้ชัด จากนั้นท่านก็พูดนำผู้ป่วย ให้ไปกราบหลวงพ่อทอง ที่วัดไตรมิตรฯ พร้อมกับนั่งภาวนาหายใจเข้าพุท หายใจออกโธ

    ระหว่างที่พระนำจิต หญิงชราไม่มีอาการกระตุกอีกเลย ส่วนสัญญาณชีพก็ค่อยๆ ลดลง ในที่สุดก็แบนราบ ลูกๆ ดีใจมากที่แม่จากไปอย่างสงบ

    ความ ดีหรือบุญกุศลนั้น นอกจากจะนำความแช่มชื่นเบิกบานมาสู่จิตใจในขณะกระทำแล้ว ยังอำนวยให้เกิดความอิ่มเอิบปลาบปลื้มใจเมื่อระลึกนึกถึง จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในยามใกล้ตาย
     
  5. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    ในขณะที่เด็กคนอื่น ๆ กำลังกิน กำลังนอน หรือวิ่งเล่นซุกซนไปตามประสาเด็ก แต่ ณ มุมเล็ก ๆ ใน เสถียรธรรมสถาน เด็กหญิงพอฟ้า พรรณเชษฐ์ หรือ น้องฟ้า วัย 5 ขวบ กลับตัดสินใจโกนผมนุ่งขาวห่มขาว บวชชีหน้าไฟเป็น "แม่ชีน้อย" อุทิศส่วนกุศลให้กับคุณชวดและคุณย่าผู้ล่วงลับ โดยถือวัตรปฏิบัติที่งดงามเหมือนแม่ชีทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกรับบาตรพร้อมแม่ชีผู้ใหญ่ สร้างความทึ่งและซึ้งใจแก่ผู้พบเห็น

    และเรื่องราวของ แม่ชีน้อย กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่โลกไซเบอร์กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องการแสดงความกตัญญูกตเวที ซึ่ง แม่ชีน้อย หรือ น้องฟ้า-เด็กหญิงพอฟ้า พรรณเชษฐ์ อายุ 5 ขวบ กำลังศึกษาอยู่เกรด 1 ที่โรงเรียนนานาชาติ นิว อินเตอร์เนชั่นแนล สคูล ออฟ ไทยแลนด์ เป็นลูกสาวคนเล็กของ นายคมกฤช สัจจาอนันตกุล อายุ 46 ปี เจ้าของบริษัทผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ และ นางปิยพร พรรณเชษฐ์ อายุ 42 ปี ผู้บริหาร บริษัทเอกชน มีพี่ชาย 1 คน คือ เด็กชายพอเพียง พรรณเชษฐ์ หรือ น้องพอ อายุ 7 ขวบ เรียนอยู่เกรด 2 โรงเรียนเดียวกัน


    [​IMG]


    หากย้อนเวลากลับไปไม่กี่ปีที่ผ่านมา หากใครที่มักแวะเวียนไปปฎิบัติธรรม หรือทำกิจกรรมอะไรที่เสถียรธรรมสถาน จะพบเห็น น้องฟ้า เด็กหญิงตัวเล็ก ๆ ที่ติดตามพ่อแม่มานั่งสมาธิที่เสถียรธรรมสถานเป็นประจำ แต่เมื่อกลับจากงานศพคุณยายชวดและคุณย่า น้องฟ้า ได้บอกกับคุณแม่ว่า "อยากจะบวชต่อ" ทั้งที่จริง ๆ แล้ว น้องฟ้า ตั้งใจจะบวชเพียงวันแค่ 1 วัน เพื่อจูงศพคุณชวดและคุณย่าขณะไปประกอบพิธีฌาปนกิจเท่านั้น ซึ่งคุณแม่จึงได้ไปปรึกษากับ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ผู้ก่อตั้งเสถียรธรรมสถาน และ แม่ชีศันสนีย์ ก็อนุญาตให้ น้องฟ้า บวชได้ 14 วัน เพราะต้องลาสิกขาไปเรียนหนังสือ

    [​IMG]


    ทั้งนี้ น้องฟ้า บวชเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2552 และลาสิกขาไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 รวมเป็นเวลา 14 วัน ซึ่งตลอดระยะเวลา 2 สัปดาห์ ที่ น้องฟ้า บวชเป็น แม่ชีน้อย นั้น ได้ถือวัตรปฏิบัติที่งดงามเหมือนแม่ชีทุกประการ และการบวชชีครั้งนี้ ไม่มีการบังคับจากผู้ปกครอง แต่เป็นความสมัครใจของ น้องฟ้า ด้วยจิตกุศลที่บริสุทธิ์ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้คุณยายชวดชื่อ นางทองดี บัณฑุรัตน์ อายุ 105 ปี ที่เสียชีวิตด้วยโรคชรา และ คุณย่าดวงพร สัจจาอนันตกุล อายุ 72 จนกลายเป็นแม่ชีที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย

    [​IMG]


    อย่างไรก็ตาม แม่ชีศันสนีย์ กล่าวถึง แม่ชีน้อย ว่า น้องฟ้าเป็นเด็กที่มีความอดทนสูง เห็นได้จากการโกนผมที่ต้องใช้เวลาถึง 45 นาที จากนั้นต้องเข้าสู่พิธี โดยเฉพาะการทำความเข้าใจในหลักปฏิบัติการถือศีลของแม่ชี โดยเริ่มอธิบายรายละเอียดเป็นภาษาที่เด็กเข้าใจง่าย ๆ แล้วถึงเริ่มฝึกเป็นภาษาบาลี หลังจากบวชแล้วต้องปฏิบัติ ทำวัตร ออกบิณฑบาต ฉันเสร็จต้องล้างบาตรด้วยตัวเอง ทำความสะอาดซักผ้า ซึ่งน้องฟ้าปฏิบัติได้เองทุกอย่าง ถือเป็นเด็กที่เก่งและมีความตั้งใจดีมาก

    "ความประทับใจในตัวน้องฟ้าอีกหนึ่งอย่างคือ ก่อนที่น้องฟ้าจะสึกในวันที่ 1 มกราคม เสถียรธรรมสถานได้จัดงานร่วมทำบุญตักบาตรขึ้นปีใหม่ มีประชาชนราว 500 คนเข้าร่วม น้องฟ้าได้ออกบิณฑบาตแบบแม่ชีทุกคน ตนได้ถามน้องฟ้าว่าไหวหรือไม่ หนักหรือไม่ที่ต้องถือบาตร ขณะที่เหงื่อออกเต็มใบหน้าน้อย ๆ แต่น้องฟ้าตอบทันควันว่า "ไหว" ซึ่งเมื่อผู้เข้าร่วมงานเห็นทำให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในแม่ชีตัวน้อย พร้อมกับยกมือไหว้พุทธในใจของเด็กคนนี้ จุดนี้เองทำให้มีการฟอร์เวิร์ดในเว็บไซต์นับแสนราย น้องฟ้าถือเป็นเด็กหญิงคนแรกที่อายุน้อยที่สุดที่ตนเคยบวชให้ และเป็นผู้ที่จุดประกายให้ตนจัดโครงการบวชชีพุทธสาวิกา ภาคฤดูร้อนระหว่างวันที่ 9-19 เม.ย.นี้ โดยจะรับเด็กอายุ 7 ขวบขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่สามารถเรียนรู้ได้ดี เข้ามาบวชที่เสถียรธรรมสถาน" แม่ชีศันสนีย์ กล่าว


    [​IMG]
    [​IMG]


    ทั้งนี้ น้องฟ้า เปิดใจถึงการบวชว่า การบวชครั้งนี้เป็นความตั้งใจขอหนู ที่ต้องการบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับคุณชวดและคุณย่าที่เสียชีวิตไป จากการบวชชีนี้ได้เห็นความรู้สึกของตัวเองที่ชอบการบวชชี เพราะมีความสุขมากและอยากกลับมาบวชอีก สิ่งที่ประทับใจก็คือเวลาออกบิณฑบาต เห็นผู้คนญาติโยมใส่บาตรแล้วรู้สึกปลื้มปีติ สุขใจอย่างยิ่ง และเชื่อว่าคุณชวดและคุณย่าที่ล่วงลับจะได้รับผลบุญจากการบวชชีของหนูครั้งนี้

    "รู้สึกว่าบวชชีแล้วได้อะไรหลายอย่าง โดยเฉพาะในเรื่องใจ อย่างเช่น เมื่อคุณยายจ๋า (แม่ชีศันสนีย์) บอกว่าอะไรมากระทบ ให้รู้ทันกระเทือน จะได้ไม่กระแทก และไม่อยากจะสึกเลย แต่ที่สึกเพราะโรงเรียนเปิด จึงตั้งใจจะบวชอีกครั้งในโครงการบวชพุทธสาวิกา ภาคฤดูร้อน ในเดือนเมษายนนี้ และคราวหน้าที่จะบวชชี คุณแม่ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องมานอนค้างด้วยก็ได้ เพราะหนูอยู่กับแม่ชีพี่เลี้ยงได้" แม่ชีน้อย เปิดใจ


    [​IMG]


    ในขณะที่ นายคมกฤช สัจจาอนันตกุล และ นางปิยพร พรรณเชษฐ์ คุณพ่อคุณแม่ของ แม่ชีน้อย กล่าวว่า การบวชของลูกสาว ทำให้ตนเกิดความรู้สึกที่ทำให้ทึ่งอย่างน่าประหลาดใจในเด็กวัย 5 ขวบ เพราะตลอดเวลาพี่ชายจะมามาแกล้งยั่วยุเสมอ เช่น เอาขนมมาล่อ แต่น้องไม่มีอาการตอบโต้แต่อย่างใด กลับสงบนิ่ง รักษาศีลได้ปกติ และขณะที่ปฏิบัติธรรมจะอธิษฐานจิตทุกวันให้คุณชวดที่ล่วงลับ ในอาการที่ปกติไม่มีโกรธ หรืองอแงและไม่เจ้าอารมณ์ ผิดกับที่เคยอยู่บ้าน

    "ดีใจและภูมิใจมากที่ลูกมีความผูกพันกับพุทธศาสนา แม้ว่าจะลาสิกขาไปแล้ว น้องฟ้ายังคงนั่งสมาธิและไปช่วยสอนเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนให้นั่งสมาธิด้วย ส่วนอนาคตน้องฟ้าอยากเป็นหมอ เพราะอยากช่วยเหลือคน ช่วยเหลือสัตว์ ซึ่งเราได้ปลูกฝังให้ลูก ๆ เข้าถึงธรรมะ โดยเน้นเรียนรู้เรื่องสมาธิ นอกจากนี้ ที่เสถียรธรรมสถานกำลังจะจัดโครงการบวชชีพุทธสาวิกา ภาคฤดูร้อน น้องฟ้าได้ขออนุญาตมาบวชชีอีก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็อนุญาต เพราะเห็นว่าเป็นความตั้งใจจริงของลูกที่จะก่อให้เกิดกุศลอันสูงส่งแก่ ชีวิตของลูกต่อไป" คุณพ่อคุณแม่ของน้องฟ้า กล่าว


    [​IMG]


    นายคมกฤช และ นางปิยพร กล่าวอีกว่า หากน้องฟ้าตั้งใจจะบวชชีแล้วไม่สึกก็คงไม่ว่าอะไร ตอนนี้เปรียบเสมือนเรากำลังทอผ้าอยู่ ได้เห็นเส้นใยเพียงแค่เส้นเดียวจากหลาย ๆ เส้นที่จะรวมมาเป็นผ้าหนึ่งผืน ดังนั้น ตนไม่ได้ตั้งเป้าอะไรกับชีวิตของน้องฟ้า ขึ้นอยู่กับตัวเขาเอง เป็นวิถีของเขา

    และนี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างดี ๆ ที่เอามาฝากกันค่ะ...


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]



     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    วันนี้วันศุกร์ยามค่ำคืนสืบหาพระเครื่องดีมาช้าไปหน่อย แต่มาช้าพร้อมกับข้อมูลเหรียญของพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านนึง ที่ถึงแม้เสกในพิธีเดียวกัน แต่ราคากลับต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อ เหรียญราคาถูกเหรียญนี้ ผมเคยนำไปให้ท่าน อ.ประถม อาจสาครตรวจดูพลังจิตของท่านผู้เสกพบว่า พลังของท่านที่อธิษฐานลงในเหรียญนี้น่าตกใจมาก ลองไปหาเช่าดูครับ เหรียญรุ่นเดียวกันเสกวันเดียวกัน เอาเหรียญถูกๆ ดีกว่า แถมผู้ขออนุญาตจัดทำท่านเป็นแม่ชีซะด้วย เหรียญทั้งหมดเป็นของพ่อแม่ครูอาจารย์ฝั้น อาจาโร ครับ

    เหรียญอาจารย์ฝั้น รุ่น 16

    แม่ชีละไม

    [​IMG] [​IMG]


    เหรียญอาจารย์ฝั้นรุ่น14
    ระฆัง 5 จุด


    [​IMG] [​IMG]

    ลองไปหาดูราคากันเองเหรียญทั้ง 2 น่าสะสมทั้งคู่ แต่เหรียญระฆังตอนนี้ราคาไปไกลแล้ว ใครทรัพย์น้อยคงลำบากที่จะหาท่านมาบูชาไว้ ดูรูปท่านไปก่อนก็แล้วกันครับ


    ภาพประกอบทั้ง 2 เหรียญนำมาจาก
    www.web-pra.com


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2010
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เอาล่ะหมดจากสืบหาพระเครื่องดีในยุคปัจจุบันแล้ว คราวนี้มาดูพระเครื่องที่ดีมากๆ ที่หาเก็บไว้เฉพาะกลุ่มและเป็นพระพิมพ์ฯ นอกวงการมาตรฐานพระเครื่อง ไม่สามารถกำหนดเป็นราคาซื้อขายได้ แต่ด้วยอิทธิคุณและเอกคุณของพระสกุลนี้ สำหรับผู้ที่ได้สัมผัสพลังท่านได้ ก็จะรู้โดยทันทีถึงพลังจิตขององค์ผู้เสกว่ามีความรุนแรงเพียงใดและยากที่จะหาพระสงฆ์ในปัจจุบันเทียมเท่า และหากอธิบายก็คงจะยืดยาว จะหารุ่นแรกๆ ของพระพิมพ์สกุลนี้ที่ออกมาตามสนามพระ ตามฟุตบาทท่าพระจันทร์ หรือตามซอกแผงพระต่างๆ ในปัจจุบันคงยากแล้ว เพราะใครมีก็เก็บกันหมดแถมที่พอจะเจอบ้างก็เป็นประเภทมือผีที่ทำเทียมเลียนแบบได้เหมือนซะด้วยอีกเยอะ หรือหากแท้ ก็เป็นรุ่นหลัง เอาเป็นว่าผมจะเริ่มนำมาทยอยลงให้ดูกันก็แล้วกัน ส่วนองค์พระจริงๆ ในงานกิจกรรมของทุนนิธิฯ ทุกๆ เดือนที่ รพ.สงฆ์ ในปีที่ผ่านมา นายสติเคยสอนให้ดูเนื้อหาและพิมพ์ทรงต่างๆ ไปบ้างแล้ว แถมแจกให้ฟรีถือเป็นองค์ครูไปเลยก็มี และหากมีโอกาสก็คงได้มีการทบทวนบทเรียนโดยการนำพระพิมพ์สกุลนี้มาให้ชมกันอีกในปีนี้ครับ มาลองดูรูปเพื่อเป็นวิทยาทานกันดีกว่า โดยรูปทั้งหมด ผมได้ขอร้องให้นายสติช่วยส่งมาให้ ซึ่งรูปถ่ายทั้งหมดได้ถ่ายไว้นับร้อยรูป อย่างที่บอก หากพอมีเวลาก็จะลงให้ดูกันทั้งหมด โดยในขณะนี้รูปทั้งหมด เพื่อป้องกันการสูญหายและเสียหาย ได้เก็บไว้ในรูปของแผ่นซีดีไว้หมดแล้วทั้งพระพิมพ์สกุลปัญจสิริ และสกุลเจ้าคุณกรมท่า คงรอเวลาเผยแพร่และจัดทำไว้เป็นรูปเล่มเพื่อให้เป็นลิขสิทธิ์ของท่าน อ.ประถม อาจสาคร เท่านั้นเองครับ

    พระพิมพ์สมเด็จนี้เรียกว่า
    พระพิมพ์สมเด็จสกุลปัญจสิริ หรือพระสมเด็จปัญจสิริ

    (เรียกชื่อตามท่าน อ.ประถม อาจสาคร ที่ท่านได้กรุณาบัญญัติศัทพ์และจัดทำตำราประวัติการสร้างและการเสกพระพิมพ์สกุลนี้เป็นคนแรก และอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ให้เรียกชื่ออย่างถูกต้อง ให้เข้าใจถึงความหมายของการสร้างพระพิมพ์สกุลนี้ พร้อมทั้งให้ช่วยเผยแพร่ผลงานของบรรพชนไว้ไม่ให้สูญหายไป)





     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2010
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ต่ออีกสัก 3 องค์ ครับ สัปดาห์นี้เอาแค่นี้ก่อน กลางเดือนหน้าค่อยนำมาลงอีกครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2010
  9. โอลีฟ

    โอลีฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +257
    พี่สาวและครอบครัวโอนเงินเข้าบัญชีทุนนธิ จำนวน ๒๐๐ บาท ค่ะ เงินจะเข้าบัญชีวันที่ ๑ กพ นี้ค่ะ
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ก็คงต้องขอขอบคุณและขออนุโมทนาพร้อมทั้งสาธุในบุญกุศลของทุกท่านอีกครั้ง ความใกล้หรือไกลไม่ใช่ปัญหาครับ เอาใจส่งถึงกันก็พอ อย่างคุณโอลีฟ อยู่ที่อังกฤษก็ยังฝากความคิดถึงมาประจำ ขอเพียงเอาใจเป็นประธาน ยกสลิปที่โอนมาตั้งใจที่ลิ้นปี่ให้นึกถึงบุญนั้นแล้วแผ่เมตตาไปยังท่านทั้งหลาย ยกสลิปขึ้นจรดหน้าผากอีกครั้งเพื่อรำลึกนึกถึงบุญที่ทำมาแล้วตั้งใจอุทิศให้ผู้มีคุณทั้งหลายแค่นี้ก็ใช้ได้แล้ว และอย่าลืมเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพเพียงองค์ใดองค์หนึ่ง หรือรูปใดรูปหนึ่ง มาเป็นพยานบุญและโมทนาบุญให้เราด้วยครับ ขออนุโมทนาและสาธุบุญกับทุกท่านอีกครั้ง...


    [​IMG]




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2010
  11. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ประวัติพระสุเมธาจารย์
    [​IMG]

    พระอาจารย์สุเมโธ (โรเบิร์ต แจ็คแมน) เกิดในเมืองซีแอตเติ้ล มลรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1934 (พ.ศ 2477) เมื่อสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ท่านได้เข้ารับราชการในกองทัพเรือแห่งสหรัฐอเมริกา ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และได้เข้าร่วมปฏิบัติการในสงครามเกาหลี เมื่อออกจากราชการท่านก็ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาเอเชียใต้ศึกษา (South Asian Studies) มหาวิทยาลัย แห่งแคลิฟอร์เนีย (เบิร์กเลย์) ในปี 1963 (พ.ศ. 2506) หลังจากนั้นได้ร่วมงานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ กับสภากาชาดอเมริกัน ก็ได้เดินทางไปยังแถบตะวันออกไกล และทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ กับหน่วยสันติภาพ (Peace Corp) ซาบาห์ บนเกาะบอร์เนียว ด้วยความที่ท่านสนใจในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ท่านได้เดินทางมายังประเทศไทยในปี 1966 (พ.ศ. 2509) เพื่อหาทางเข้าสู่ชีวิตอนาคาริก (ผู้ไม่ครองเรือน) ท่านได้บวชเป็นสามเณรที่จังหวัดหนองคายและอุปสมบทเป็นพระภิกษุในอีกหนึ่งปีต่อมา โดยมีท่านเจ้าคุณพระราชปรีชาญานมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ ไม่ช้านานหลังจากที่ท่านได้บวชเป็นพระภิกษุ ในปี พ.ศ. 2510 ท่านอาจารย์สุเมโธ ได้ยินกิติศัพท์ความเคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติของท่านพระอาจารย์ชา (สุภัทโท) แห่งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ท่านจึงกราบลาพระอุปัชฌาย์ของท่านที่จังหวัดหนองคาย เดินทางมาฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อชา ซึ่งท่านได้เมตตารับไว้ แต่ตั้งเงื่อนไขว่า...
    "ท่านจะมาอยู่กับผมก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่าผมจะไม่หาอะไรมาบำรุงท่านให้ได้ตามอยาก ท่านต้องทำตามระเบียบข้อวัตร เหมือนที่พระเณรไทยเขาทำ"
    ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ป่าพง ท่านอาจารย์สุเมโธได้รับการฝึกฝนเคี่ยวเข็ญด้วยอุบายต่าง ๆ จากหลวงพ่อชา ท่านเล่าให้ฟังว่า
    "บางครั้งหลวงพ่อจะดุหรือตักเตือนผมในที่สาธารณะ ทำให้ผมอายมาก บางครั้งท่านเล่า ให้โยมทั้งศาลาฟังเรื่องที่ผมทำไม่สวย ไม่งาม เช่น การฉันข้าวด้วยมือเปล่าแต่เปิบไม่เป็น ขยุ้ม อาหารขึ้นมาเต็มกำมือแล้วโปะใส่ปาก ใส่จมูกเลอะเทอะไปทั้งหน้า พระเณรและโยมหัวเราะกัน ลั่นศาลา ผมนั้นทั้งโกรธทั้งอาย แต่ก็ทนได้ และพิจารณาว่า นี่เป็นความกรุณาของหลวงพ่อที่ช่วย เปิดเผยความเย่อหยิ่งของผม ซึ่งมันเป็นจุดบอดที่เรามักจะมองไม่เห็น และยังเป็นอุบายที่ท่านจะ ทดสอบอารมณ์เราว่า มีพื้นฐานที่จะรองรับธรรมะได้มากน้อยแค่ไหน..."
    ทุกเช้าเวลาหลวงพ่อกลับจากบิณฑบาต จะมีพระเณรหลายองค์ไปรอล้างเท้าท่าน ระยะ แรก ๆ ที่ผมไปอยู่วัดป่าพง เห็นกิจวัตรนี้ทีไร ก็นึกค่อนขอดพระเณรเหล่านั้นอยู่ในใจ แต่พออยู่นาน เข้า ผมก็เป็นไปด้วย เช้าวันหนึ่งก่อนที่ผมจะรู้ตัวว่าเป็นอะไร ผมก็ปราดเข้าไปอยู่หน้าพระเณรองค์ อื่นเสียแล้ว ขณะก้มลงล้างเท้าถวายท่าน ผมได้ยินเสียงนุ่ม ๆ กลั้วเสียงหัวเราะของหลวงพ่อว่า "สุเมโธ ยอมแล้วเหรอ..."
    "เช้าวันหนึ่ง ผมกำลังกวาดใบไม้ที่ลานวัด อารมณ์ไม่ดี รู้สึกหงุดหงิดขัดเคือง และรู้สึกว่า ตั้งแต่มาอยู่ที่วัดป่าพงเจอแต่ทุกข์ พอดีหลวงพ่อเดินตรงมายังผม ท่านยิ้มให้พร้อมกับพูดว่า "วัด ป่าพงทุกข์มาก!" แล้วท่านก็เดินกลับไป ผมสงสัยว่าทำไมหลวงพ่อพูดอย่างนี้ กลับไปกุฏิ พิจารณา ได้สติว่า ทุกข์ไม่ได้เกิดจากวัดป่าพง แต่เกิดจากจิตใจเราเอง..."
    ต่อมาปี พ.ศ. 2513 ได้มีชาวอเมริกันอีกสองคนเข้ามาบวชที่วัดหนองป่าพง แต่อยู่ได้ราว หนึ่งปีทั้งคู่ก็ลาสิกขาไป คนหนึ่งเป็นนักเขียนได้จดบันทึกคำสอนของหลวงพ่อ แล้วนำไปพิมพ์ เผยแพร่ ทำให้ชื่อเสียงของหลวงพ่อเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวต่างประเทศยิ่งขึ้น ส่วนอีกคนเป็นนักจิตวิทยา ชอบวิพากษ์ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ เว้นไว้แต่หลวงพ่อองค์เดียวที่เขาเคารพเทิดทูนมาก หลังลาสิกขาบท เมื่อได้พบชาวต่างประเทศที่กำลังแสวงหาครูอาจารย์ เขามักแนะนำให้มาพบกับ หลวงพ่อ ทำให้พระฝรั่งในวัดหนองป่าพงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆผู้คนที่มาวัดหนองป่าพง ต่างทึ่งที่เห็นพระฝรั่งปฏิบัติกรรมฐานเคร่งครัดอยู่เคียงข้างกับ พระไทย จึงเกิดความสงสัยว่า หลวงพ่อสอนชาวต่างประเทศได้อย่างไร ในเมื่อท่านไม่คุ้นเคยกับ ภาษาอังกฤษ และลูกศิษย์ฝรั่งเองก็ไม่คุ้นเคยภาษาไทย หลวงพ่อชี้แจงว่า
    "ที่บ้านโยมมีสัตว์เลี้ยงหรือเปล่า อย่างหมา แมว หรือวัวควายอย่างนี้ เวลาฝึกหัดมัน โยม ต้องรู้ภาษาของมันด้วยไหม?...
    ""ถึงแม้มีลูกศิษย์เมืองนอกมาอยู่ด้วยมาก ๆ อย่างนี้ ก็ไม่ได้เทศน์ให้เขาฟังมากนัก พาเขา ทำเอาเลย ทำดีได้ดี ถ้าทำไม่ดีก็ได้ของไม่ดี พาเขาทำดู เมื่อเขาทำจริง ๆ ก็เลยได้ดี เขาก็เลย เชื่อ..."
    ครั้งหนึ่งเมื่อถูกถามปัญหาเช่นนี้ ท่านตอบแบบขำ ๆ ว่า
    "ไม่ยากหรอกดึงไปดึงมาเหมือน ควาย เดี๋ยวมันก็เป็นเท่านั้นแหละ"
    ศิษย์ชาวออสเตรเลี่ยนรูปหนึ่งเล่าถึงบทเรียนอันดุเดือดว่า
    "วันหนึ่งผมมีเรื่องขัดใจกับพระรูปหนึ่ง รู้สึกโกรธ หงุดหงิดอยู่ทั้งวัน รุ่งเช้าไปบิณฑบาต ก็เดินคิดไปตลอดทาง ขากลับเดินเข้าวัดพอดีสวนทางกับหลวงพ่อ ท่านยิ้มและทักผมว่า "กู๊ด มอร์นิ่ง" ซึ่งทำให้อารมณ์ของผมเปลี่ยนทันที จากความหงุดหงิดกลายเป็นปลื้มทันที
    ถึงเวลาสวดมนต์ทำวัตรเย็น หลวงพ่อให้ผมเข้าไปอุปัฏฐาก ถวายการนวดที่กุฏิของท่าน ผมรู้สึกตื่นเต้นดีใจมากกับโอกาสที่หาได้ยากเช่นนั้น เพราะเราเป็นพระใหม่ แต่ขณะที่กำลังถวาย การนวดอยู่อย่างตั้งใจ หลวงพ่อก็ถีบเปรี้ยงเข้าที่ยอดอกที่กำลังพองโตของผมจนล้มก้นกระแทกพื้น ท่านดุใหญ่เลยว่า "จิตไม่มั่นคง พอไม่ได้ดังใจก็หงุดหงิดขัดเคือง เมื่อได้ตามปรารถนาก็ ฟูฟ่อง" ผมฟังท่านดุไปหลาย ๆ อย่างแล้ว ก็ไม่โกรธและไม่เสียใจ รู้สึกซาบซึ้งในพระคุณของท่าน ที่ช่วยชี้ กิเลสของเรา ไม่เช่นนั้น เราคงเป็นคนหลงอารมณ์ไปอีกนาน..."
    นอกจากจริยาวัตรอันงดงามของหลวงพ่อแล้ว บรรยากาศของวัดหนองป่าพงและกิริยา มารยาทของพระเณร ยังเป็นแรงดลใจให้ผู้มาพบเห็นเกิดความศรัทธาอย่างยิ่ง ดังท่านอาจารย์ ชาวต่างชาติรูปหนึ่งเล่าว่า"พอผ่านเข้าประตูวัดหนองป่าพงเป็นครั้งแรก ก็เกิดความประหลาดใจ และความประทับใจ ก็เกิดขึ้น เมื่อเห็นบริเวณสถานที่ แม้จะเป็นป่ามีต้นไม้หนาแน่น แต่ทางเดินก็ดูสะอาด ไม่มีอะไร เกะกะสายตา
    จากนั้นก็ไปเห็นกุฏิศาลาสะอาดเรียบร้อยที่สุด รู้สึกว่าวัดหนองป่าพงนี่ ระเบียบวินัยดี มากจริง ๆ พอตกตอนเย็นเห็นพระเณรออกมาทำกิจ ท่านเรียบร้อยดี มีกิริยาสำรวมไม่ตื่นเต้น อะไรเลย ผมเคยไปวัดอื่น พอพระเณรเห็นพวกฝรั่งก็ปรี่เข้าหา เข้ามาพูดภาษาอังกฤษ ถามรู้เรื่อง บ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ทำเหมือนกับว่า พวกฝรั่งมีอะไรดีอย่างนั้น...แต่ที่วัดหนองป่าพง บรรดาพระสงฆ์ ญาติโยม ผ้าขาว แม่ชี ไม่เห็นมีใครสนใจกับฝรั่ง อย่างผม ท่านนั่งก็สำรวม เดินก็สำรวม มีกิจอะไรต้องทำก็ทำไป ถามก็เงยหน้ามาพูดด้วย ไม่มี อาการตื่นเต้นอะไรเลย มีความรู้สึกว่า ท่านเหล่านี้ต้องมีของดีแน่ เกิดศรัทธาขึ้นมาก..."
    เจ็ดพรรษาผ่านไป ท่านสุเมโธได้รับอนุญาตให้ไปไหนมาไหนได้ตามลำพัง ในปี พ.ศ. 2510 ท่านจึงเดินทางไปยังประเทศอินเดีย จาริกไปตามที่ต่างๆ เป็นเวลาห้าเดือน ปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด ถือธุดงค์วัตร ไม่รับเงิน ไม่สะสมอาหาร ฉันมื้อเดียวก่อนเที่ยง และฉันในบาตร อย่างไรก็ดี ประสบการณ์ในประเทศอินเดียกระตุ้นให้ท่านสุเมโธกลับ มาอยู่กับท่านอาจารย์อีก อุทิศกายใจและรับใช้ท่านอาจารย์ต่อไป ไม่ปรากฏเป็นหลักฐานว่าท่านอาจารย์ชาท่านมีปฏิกิริยาต่อกรณีย์นี้อย่างไร อาจจะเป็นเพียงยิ้มน้อยๆ เท่านั้น แต่ในพรรษาที่แปด ท่านสุเมโธได้รับมอบหมายให้ไปจัดตั้งวัดสาขาอีกแห่งหนึ่ง เฉพาะ สำหรับพระภิกษุชาวตะวันตก ณ ป่าช้าแห่งหนึ่งในตำบลบุ่งหวาย ไม่ไกลจากวัดหนอง ป่าพงเท่าใดนัก
    เวลาผ่านไปพร้อมกับอุปสรรคเล็กๆน้อยๆ ในที่สุดท่านสุเมโธก็ได้เป็นหัวหน้า สงฆ์ที่วัดนั้น และได้พัฒนาวัดจนเป็นที่นิยมของชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ตลอดจนผู้คน จากที่ต่างๆ เช่นจากกรุงเทพมหานคร เป็นต้น เขาเหล่านั้นสนใจมากที่เห็นชาว ตะวันตกยอมสละถิ่นฐาน ทรัพย์สมบัติ ความสุขสบาย ตลอดจนการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในยุโรปและอเมริกา มาใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากแบบนักพรต หรือฤๅษีในชนบทที่กันดารของประเทศไทย อย่างไรก็ดี วัดป่านานาชาติแห่งนี้ได้เจริญมาเป็นลำดับ มีผู้คนมาให้ความสนับสนถุน และจำนวนพระภิกษุก็เพิ่มขึ้น
    ปีพ.ศ. 2518 จำนวนศิษย์ชาวต่างประเทศในวัดหนองป่าพงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลวงพ่อจึงตั้ง วัดป่านานาชาติขึ้นที่ป่าช้าบ้านบุ่งหวาย ซึ่งอยู่ห่างจากวัดหนองป่าพงราว 7-8 กิโลเมตร เพื่อปู พื้นฐานให้พระชาวต่างชาติได้รู้จักปกครองกันเอง โดยมอบให้ท่านอาจารย์สุเมโธดูแลประธานสงฆ์วัดป่านานาชาติในสมัยแรก ประสบปัญหาในการปกครองหมู่คณะมาก เพราะ คนฝรั่งมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง และกล้าแสดงออก จึงสร้างปัญหาให้ประธานสงฆ์ต้องเป็นทุกข์ เสมอ เมื่อเรื่องถึงหลวงพ่อท่านจะแนะนำให้ทั้งสองฝ่ายละวางทิฐิมานะ ให้ปรับปรุงตัวเองให้ดี ขึ้น สำหรับประธานสงฆ์ หลวงพ่อจะแนะนำวิธีปกครองให้ว่า
    "ถ้าลูกศิษย์ของเรามีเรื่องขัดแย้งกัน ก็ให้พิจารณาให้ดี อย่าตัดสินว่าผู้มาใหม่ไม่ดี อย่าไปว่าคนนั้นดี คนนี้ไม่ดี ต้องใช้เวลาดูไปนาน ๆ ก่อน ดุอุปนิสัยของเขาไปนาน ๆ อย่าไปคิดว่า ดีหรือไม่ดีเลยทันที เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่ แน่นอน ต้องใช้เวลาดูไปก่อน..."
    ศิษย์ชาวต่างประเทศ ต่างเคารพปัญญาบารมีของหลวงพ่อเป็นอย่างยิ่ง ท่านเต็มไปด้วย เมตตาธรรม และอารมณ์ขัน เบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิจ มีความสามารถพิเศษในการสื่อสาร และ แก้ปัญหาแก่ศิษย์ได้อย่างดีเยี่ยม ชาวต่างประเทศจึงเกิดศรัทธาเข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมที่ วัดหนองป่าพงและวัดป่านานาชาติ เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นตามลำดับ
    ในพรรษาที่สิบ ปี พ.ศ. 2519 ท่านอาจารย์สุเมโธ ได้รับอนุญาตให้ไปเยี่ยม โยมบิดามารดาที่สหรัฐอเมริกา ขากลับได้มาแวะที่กรุงลอนดอน เดิมทีท่านจะขอเข้าพัก ที่วัดพุทธประทีป ที่วิมเบิลดัน แต่ที่วัดไม่มีที่ให้พัก ท่านจึงติดต่อกับนายยอร์ช ชาร์ป ประธานมูลนิธิสงฆ์อังกฤษและเป็นผู้ดูแลพุทธวิหารในแฮมสเตด ท่านประธานฯ จึงจัด ให้พักที่พุทธวิหารแห่งนั้นเป็นการชั่วคราวขณะพักอยู่ที่พุทธวิหารแห่งนั้น สมาชิกมูลนิธิกิจการสงฆ์แห่งอังกฤษ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้จัดตั้ง พุทธวิหาร ได้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทาของท่านอาจารย์สุเมโธ จึงนิมนต์ให้ท่านพำนักอยู่ เพื่อเป็นผู้นำในการประพฤติปฏิบัติ ท่านอาจารย์สุเมโธไม่ได้ตอบรับคำ แต่ได้ชี้แจงว่าจะนำ เรื่องนี้ไปกราบเรียนหลวงพ่อชา ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์เสียก่อน
    ดังนั้น เมื่อท่านสุเมโธกลับไปแล้ว หลังจากนั้นไม่นาน ประธานมูลนิธิฯ คือนายยอร์ช ชาร์ป ก็เดินทางไปยังประเทศไทย เพื่อ นิมนต์พระสงฆ์ไปเผยแผ่พุทธธรรม และพิจารณาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสำนักสาขาใน ประเทศอังกฤษ และได้เดินทางไปยังวัดป่าทางภาคอีสาน ติดต่อกับสองสำนักพระอาจารย์ใหญ่ คือท่านอาจารย์ มหาบัว และท่านอาจารย์ชา เพื่อขอให้ส่งลูกศิษย์ซึ่งเป็นพระป่าไปอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ สำหรับท่านอาจารย์มหาบัวนั้นเคยไปเยี่ยมที่พุทธวิหารแฮมสเตดมาแล้ว คงได้เห็นความ ยุ่งยากนานาประการในประเทศที่ผู้คนยังไม่เข้าใจในระเบียบปฏิบัติของพระสงฆ์ ทั้งยัง ไม่แจ่มแจ้งในความสัมพันธ์ระหว่างสงฆ์กับฆราวาส อีกทั้งพุทธวิหารนั้นเล่าก็เป็นเพียง ทาวน์เฮาส์เล็กๆ อยู่ตรงข้ามกับร้านขายเหล้า ตั้งอยู่บนถนนใหญ่ในย่านจอแจของกรุง ลอนดอน ไม่เหมาะที่พระป่าจะไปอาศัยอยู่ ท่านจึงลังเลใจ
    ส่วนหลวงพ่อชา ท่านไม่ได้รับนิมนต์ทันที แต่อนุญาตให้ประธานมูลนิธิฯ พำนักอยู่ที่วัดหนองป่าพง ระยะหนึ่ง โดยให้ปฏิบัติตนเหมือนคนวัด คือ พักที่ศาลา กินข้าวในกะละมังวันละมื้อ และทำ กิจวัตรเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ เพื่อให้ทำความเข้าใจในความเป็นอยู่ของพระป่า รวมทั้งเพื่อทดสอบ ดูความอดทนและความจริงใจกันก่อน เมื่อพิจารณาเห็นว่ามีเจตนามุ่งมันจริง หลวงพ่อจึงรับ นิมนต์จากประธานมูลนิธิฯ นั้น
    5 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 หลวงพ่อชาได้เดินทางไปเผยแผ่พุทธธรรมที่ประเทศอังกฤษ โดยมี ท่านอาจารย์สุเมโธ เป็นผู้ติดตาม ในการมาเยือนครั้งนั้น ท่านอาจารย์ชาได้บันทึกไว้ในสมุดบันทึกด้วยลายมือของท่าน ดังได้ คัดมาบางตอนว่า



    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 100%; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" class=MsoTableGrid border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="100%">15 พฤษภาคม 2520 วันนี้ประมาณ 7 โมงเช้า เราได้นั่งอยู่ในที่สงบเงียบจึงได้เกิดความรู้ ในการภาวนาหลายอย่าง เราจึงได้หยิบเอาสมุดปากกาขึ้นมาบันทึกไว้ภายในวิหารธรรมประทีป ด้วยความเงียบสงบ ธรรมะที่เกิดขึ้นนี้เราเรียกว่า "มโนธรรม" เพราะเกิดขึ้นด้วยการปรากฏในส่วนลึกของใจว่า การที่มาบวชเจริญรอยตามพระพุทธองค์นั้นเรายังไม่ได้ทำอะไร ๆ ได้เต็มที่ เพราะยังบกพร่องอยู่ หลายประการอันเกี่ยวแก่พุทธศาสนาคือ หนึ่งสถานที่ สองบุคคล สามกาลเวลา เราจึงได้คิดไปอีก ว่าเมื่อสร้างประโยชน์ตนได้เป็นที่พอใจแล้ว ให้สร้างประโยชน์บุคคลอื่น จึงจะได้ชื่อว่า กระทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง

    ดังนั้นจึงมีความเห็นว่า กรุงลอนดอนนี้แห่งหนึ่งจัดเรียกได้ว่าเป็นปฏิรูปเทศ คือประเทศ อันสมควรในการที่จะประกาศพระศาสนา จึงได้จัดให้ศิษย์ฝรั่งอยู่ประจำเพื่อดำเนินงาน พระศาสนาต่อไป
    วิธีสอนธรรมนั้นให้เป็นไปในทำนองที่ว่า ทำน้อยได้มาก ทำมากได้น้อย ให้เห็นว่าความเย็น อยู่ในความร้อน ความร้อนอยู่ในความเย็น ความผิดอยู่ในความถูก ความถูกอยู่ในความผิด ความสุขอยู่ในที่ความทุกข์ ความทุกข์อยู่ที่ความสุข ความน้อยอยู่ที่ความใหญ่ ความใหญ่อยู่ที่ ความน้อย สกปรกอยู่ที่สะอาด สะอาดอยู่ที่สกปรก อย่างนี้เสมอไป นี้เรียกว่า สัจธรรม หรือ สัจศาสตร์










    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมื่อท่านกลับไป ท่านจึงให้ท่านสุเมโธกับศิษย์พระฝรั่งอีกสามรูปอยู่ต่อไปที่แฮมสเตด โดยมีเงื่อนไขว่า มูลนิธิฯ ต้องจัดหาสถานที่ๆ เป็นป่าอันเหมาะสม ให้ลูกศิษย์ของท่านอาศัยปฏิบัติธรรม และเผยแพร่พระศาสนาต่อไป
    ในปีแรกนั้น มีแต่ความทุกข์ยากเป็นอันมาก ลองนึกภาพดูก็จะเห็นได้ว่า "พระภิกษุนั้น แม้ท่านจะเป็นพระฝรั่ง แต่ท่านมาจากวัดหนองป่าพง ซึ่งเป็น "วัดป่า" ท่านเคยชินกับการอยู่ป่า อันเป็นที่วิเวก ร่มรื่น ปลอดโปร่ง ห่างไกลจากผู้คนและสิ่ง รบกวนจากภายนอก ไปไหนมาไหนก็มีแต่คนเคารพกราบไหว้ และนำของมาถวาย แต่แล้วเอาท่านมาอยู่ในห้องแคบๆ อับๆ ในย่านจอแจของเมืองหลวงใกล้กับร้านขายเหล้า
    อีกทั้งสภาพอากาศในบางฤดูของกรุงลอนดอนก็ย่ำแย่ เวลาออกบิณฑบาตก็ไม่มีคนใส่ บาตร บางครั้งยังมีคนมาพูดจาดูหมิ่นถากถาง หาว่าเป็นขอทาน เป็นต้น ประกอบกับ ในคณะกรรมการมูลนิธิฯ เองที่นิมนต์ท่านมา ก็มีความขัดแย้งกันในเรื่องการหาสถานที่ อันเหมาะสม และบทบาทของพระสงฆ์ซึ่งควรจะปรับอย่างไรให้เข้ากับสภาพสังคมของ คนอังกฤษ เกิดความสับสนจนบางคนคิดว่า ในประเทศเช่นนี้ บางทีพระอาจจะไม่ เหมาะที่จะไปอยู่ในป่า ดังนี้แล้ว จึงเห็นได้ว่า เป็นระยะเวลาที่มีแต่ความยุ่งยากลำบาก มาก บุคคลทั่วไปอาจเกิดความท้อแท้ได้ง่ายๆ อย่างไรก็ดี ท่านสุเมโธกับคณะผู้ได้รับ การฝึกให้มีความอดทนและตั้งมั่นอยู่ในพระวินัย ก็สามารถอยู่ต่อไปด้วยความสงบ อาจ "ถือได้ว่า เป็นช่วงเวลาที่ท่านใช้ฝึกขันติธรรมและการ "ปล่อยวาง" ไปด้วยในตัว"
    กิจวัตรประจำวันของพระภิกษุคงดำเนินไปตามแบบที่เคยปฏิบัติอยู่ในเมืองไทย เช่นสวดมนต์เช้า-เย็น สนทนาธรรมและแนะนำการฝึกกรรมฐาน แก่ผู้ที่สนใจสมัครมา รับการฝึก ณ พระวิหารแห่งนั้น ออกบิณฑบาตทุกเช้าแม้จะไม่ได้อาหาร ท่านอาจารย์ ชาเคยสอนว่า การออกบิณฑบาตนั้น มิใช่มุ่งจะเอาแต่ "อาหาร" แต่มุ่งเอา "คน" หมายความว่า ในการออกเดินไปตามถนน อาจมีบางคนที่เขาสนใจอยากจะรู้ จะเข้ามา ทักทายสอบถามว่าเป็นใคร มาทำอะไรที่นี้ นับถือศาสนาอะไร เป็นต้น ก็จะเป็นโอกาส ได้ชี้แจงให้เข้าใจพอสมควร และจะได้เชื้อเชิญให้มาฟังคำอธิบายอย่างละเอียด และฝึกกรรมฐานที่พระวิหารต่อไป
    ในฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ.2521 มีสิ่งอัศจรรย์อย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือเช้าวันหนึ่ง ท่านสุเมโธออกบิณฑบาตอันเป็นกิจวัตรของท่าน แถวแฮมสเตดฮีธ ไปเจอกับนักวิ่งออก กำลังกายผู้หนึ่ง นักวิ่งผู้นี้เกิดประทับใจในท่าทางของพระภิกษุ จึงเข้ามาสนทนาด้วย ท่านผู้นี้ได้ซื้อป่าไว้แห่งหนึ่ง ชื่อว่า แฮมเมอรวูด อยู่ในแคว้นซัสเซกส์ เนื้อที่ประมาณ 370 ไร่ โดยตั้งใจจะบำรุงรักษาให้คงสภาพป่าอย่างสมัยก่อน แต่ท่านก็เข้าใจดีว่า งานเช่นนี้เหลือกำลังที่คนๆ เดียวจะทำได้ แม้ท่านจะไม่ได้เป็นพุทธศาสนิกชน ท่านก็ มีใจกว้างพอที่จะเล็งเห็นว่าพระภิกษุคณะนี้ น่าจะเป็นผู้ดูแลรักษาป่าได้เป็นอย่างดี
    ท่านสมัครเข้ารับการฝึกกรรมฐานที่ท่านสุเมโธจัดขึ้นที่ศูนย์พุทธศาสนาโอ็คเคนโฮลท์ ใกล้เมืองอ๊อกฟอร์ด แล้วในที่สุด ท่านก็ยกป่าแห่งนี้ให้แก่คณะสงฆ์ ถือได้ว่า สถานที่ๆ จะเป็นวัดป่าในประเทศอังกฤษได้ก่อกำเนิดขึ้นแล้ว ณ บัดนั้น
    แม้จะได้ป่ามาแล้วก็เข้าไปอยู่ไม่ได้ เพราะยังติดขัดด้วยกฎหมายของประเทศอังกฤษ ที่ห้ามไม่ให้สร้างอาคารถาวรขึ้นในป่า ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2521 ท่านสุเมโธและ คณะจึงต้องจำพรรษา ณ ศูนย์พุทธศาสนาที่โอ็คเคนโฮลท์ และปล่อยให้คณะกรรมการ มูลนิธิฯ แก้ปัญหาต่อไป
    ต้นปี พ.ศ. 2522 ท่านอาจารย์ชาเดินทางมาประเทศอังกฤษ เพื่อจะดูความ เป็นอยู่ของลูกศิษย์ของท่าน พอดีในช่วงนั้น นายยอร์ช ชาร์ป ได้ข่าวการบอกขายบ้านใหญ่หลังหนึ่ง ใกล้ๆ กับป่าแฮมเมอร์วูด บ้านหลังนี้มีชื่อว่า บ้านชิตเฮิสต์ การซื้อบ้าน หลังนี้เป็นการเสี่ยงมาก จึงยังไม่มีมติเป็นเอกฉันท์ในคณะกรรมการฯ เพราะเงินที่จะ ซื้อบ้านนั้น จะต้องได้มาจากการขายพุทธวิหาร และทาวน์เฮาส์ใกล้เคียง ซึ่งได้ค่าเช่าเป็นประจำมาเป็นค่าใช้จ่ายของมูลนิธิฯ ประกอบกับบ้านหลังนี้ทรุดโทรมมาก ไม่แน่ใจ ว่าจะเข้าไปอยู่ได้หรือไม่ มีการถกเถียงกันอยู่ เมื่อท่านอาจารย์ชามาเห็นสภาพการณ์ เช่นนั้น ท่านก็ปรารภว่า ท่านเห็นจะต้องนำลูกศิษย์ของท่านกลับเมืองไทย ท่านปรารภ แล้วท่านก็เดินทางต่อไปยังสหรัฐอเมริกา ในที่สุด มูลนิธิฯ ก็ตัดสินใจซื้อบ้านชิตเฮิสต์ และในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2522 ได้รวบรวมข้าวของขนใส่รถ เดินทางออกจาก กรุงลอนดอน มุ่งสู่ซัสเซกส์
    บ้านชิตเฮิสต์ ทรุดโทรมจริง ๆ ชำรุดเสียหายจนไม่สามารถเข้าไปอยู่ได้ เมื่อ เข้าไปดูครั้งแรก ปรากฏว่าในจำนวนห้องทั้งหมดประมาณยี่สิบห้องนั้น ที่จะซ่อมแซม ให้พอใช้การได้มีเพียงสี่ห้องเท่านั้น ไฟฟ้าก็ไม่มี หลังคารั่ว พื้นผุพัง ท่อน้ำแตก น้ำไหลเปรอะผนังตึก กัดผนังกร่อนเป็นแถบๆ มีสัพเพเหระเก่าๆ สมัยก่อนสงครามโลก ทับถมอยู่เต็มภายในบ้าน อาคารภายนอกหลังเล็กหลังน้อยก็อยู่ในสภาพทรุดโทรมใช้การ ไม่ได้เลย หญ้าขึ้นรกเป็นป่า มีรถยนต์ผุๆ จมดินระเกะระกะอยู่ทั่วบริเวณ
    ในสภาพเช่นนี้ คณะที่อพยพมาด้วยกันไม่มีทางเลือก นอกจากจะต้องช่วย กันบูรณะซ่อมแซมต่อไป ผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็ตีตัวจากไป ที่เหลืออยู่ก็ก้มหน้าลงมือทำงาน และเป็นงานที่ต้องลงแรงทำกันเองทั้งสิ้น
    ฤดูร้อนปีนั้นอากาศแจ่มใส มีอาสาสมัครผลัดเปลี่ยนกันมาช่วยทำงานกัน อย่างหนักแต่ร่าเริงสนุกสนาน ได้อาศัยพักอยู่ในกระโจมเป็นการชั่วคราวไปก่อน ใน พรรษานั้น พุทธบริษัทที่มาอยู่ ณ ที่นั้น มีพระภิกษุหกรูป สามเณรสองคน อนาคาริก แปดคน มีสตรีที่เข้ามาฝึกเตรียมจะบวชเป็นแม่ชีสี่คน กับฆราวาสสามสี่คนที่ผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่เป็นระยะๆ สำหรับแม่ชีนั้นได้ใช้กระท่อมหลังเล็กๆ รกล้ป่าแฮมเมอร์วูด เป็นที่พัก สถานพำนักจิตแห่งนี้ ได้ค่อยๆ พัฒนาขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ และสำนักแม่ชี ในเวลาต่อมา
    สถานีวิทยุ บี.บี.ซี. ออกอากาศบทความเรื่อง “พระพุทธองค์เสด็จสู่ซัสเซกซ์แล้ว" ก่อให้เกิดความสนใจขึ้นในหมู่ชนทั่วไป ในชั้นแรกนั้น คนในท้องถิ่นยังมีความแคลงใจ อยู่ บางคนรังเกียจ คิดว่าเป็นการรุกรานของพวกนอกศาสนา คือพวกไม่มีพระเจ้า หลงใหลบูชารูปปั้น และเที่ยวเดินภิกขาจารไปตามท้องถนน แต่หลังจากที่ได้ทำความ เข้าใจกัน และได้เห็นความเคร่งครัดในพระวินัย ประพฤติปฏิบัติในทางที่ไม่เป็นพิษ เป็นภัยต่อผู้ใด สุภาพสงบเสงี่ยมและถ่อมตน ความเข้าใจอันดี จึงเกิดขึ้น ในที่สุด คณะ กรรมการบริหารตำบลได้ยินยอมรับฐานะของวัดชิตเฮิสต์ ให้มีอิสระที่จะฝึกอบรมพระภิกษุสามเณร และแม่ชีได้ และสามารถดำเนินชีวิตตามวิถีทาง และขนบประเพณีของวัด ในพระพุทธศาสนา
    คำรับรอง หรือคำอนุญาตนี้ตกมาใน พ.ศ.2524 แต่มาถึงช่วงนั้น วัดได้พัฒนา ไปแล้วหลายๆ ด้าน จากการทำงานกันอย่างหนักในฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2522 ได้ดัด แปลงเป็นห้องครัวขึ้นห้องหนึ่ง แต่ต้องทนต่อความหนาวเหน็บตลอดฤดูหนาว จนกว่า จะได้เตาฟืนมาใช้ในเดือนมีนาคมของปี พ.ศ.2523 เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตัวตึก ได้ดัดแปลงส่วนหนึ่งของอาคาร โดยรื้อพื้นและประตูหน้าต่างตั้งชั้นล่างจดชั้นบน แล้วสร้าง เป็นห้องพระ ตลอดฤดูหนาวครั้งที่สอง งานต้องหยุดชะงักเพราะขาดปัจจัย ท่านสุเมโธ จึงตัดสินใจว่าเป็นโอกาสอันดีที่ได้หยุดงานแล้วพากันปฏิบัติธรรมกันอย่างจริงจัง หรือ เรียกกันว่า รีทรีต (Retreat) เลยกลายเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันสืบมา
    ในตอนท้าย ของระยะการปฏิบัติธรรมนี้ คือในเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ.2524 พระพุทธองค์ได้เสด็จ มาสู่ซัสเซกซ์ โดยมาในรูปพระพุทธปฏิมาประธาน น้ำหนักครึ่งตัน ซึ่งพุทธบริษัทในประ เทศไทยได้กรุณาส่งมาให้ ทำให้ทุกคนมีกำลังใจลงมือทำงานกันต่อไปโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และในวันก่อนวันอาสาฬหบูชา ห้องพระก็เสร็จเรียบร้อย พร้อมกับมีพระพุทธปฏิมาประดิษฐานอยู่อย่างสง่างาม
    ในช่วง แรกๆ นั้น นอกจากจะมีการปฏิบัติธรรมระยะสั้น เวลาส่วนใหญ่จะหมดไปกับการทำงาน บางครั้งต้องทำจนดึกดื่นเพื่อให้งานเสร็จ ครั้งหนึ่งทำนบใกล้กระท่อมทำท่าจะพัง จึงต้องเร่งซ่อมแซมเป็นการด่วน บางคนเหนื่อยและบ่นว่าไม่มีเวลาทำสมาธิภาวนา แต่ ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าช่วงนั้นเป็นระยะเวลาแห่งการเริ่มต้น อันที่จริงแล้ว เป็นเวลาที่ดี มากในการฝึกพระวินัย มีการอบรมสั่งสอนที่ดี มีการสนับสนุนพอสมควร และมีคณะ สงฆ์ที่เป็นปึกแผ่นมั่นคง
    ขณะนี้ เลขานุการของท่านสุเมโธ แทนที่จะจดลงไปว่า มีกิจรับนิมนต์ไปข้างนอกวันไหนบ้าง กลับต้องบันทึกว่า ท่านอยู่วัดวันไหน ได้มีความเข้าใจมากขึ้นถึงความจริง และความรับผิดชอบในวิถีดำเนินชีวิตของพระสงฆ์ทั้งในหมู่ผู้ที่สมัครจะเข้ามาบวชและ ฆราวาสทั่วไป และเป็นที่แน่นอนแล้วว่าวิถีชีวิตเช่นนี้ สามารถจะดำเนินไปได้ในประเทศอังกฤษ
    ระสุเมธาจารย์ คณะสงฆ์ และสานุศิษย์ของท่านได้ปฏิบัติหน้าที่เผยแผ่ธรรมอย่างเข้มแข็ง ได้ผลดี เป็นที่น่าชื่นชมยิ่งนัก มีชาวตะวันตกประกาศตนเป็นพุทธมามกะเพิ่มขึ้นเป็นสถิติสูงมาก จนอาจกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทสายวัดป่าจากประเทศไทยได้รับการประดิษฐานเป็นอย่างดี ในโลกตะวันตก มิใช่แต่เฉพาะในประเทศอังกฤษเท่านั้น การเจริญเติบโตของทางวัดยังได้ขยายไกล ออกไปยังประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์และอิตาลี
    [​IMG]

    ขอขอบคุณ dharma-gateway.com Link
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2010
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เรียนคุณพันวฤทธิ์

    พอดีได้อ่านโพสแล้วสงสัยในสองเรื่อง

    เรื่องแรก คือ ขอเพียงเอาใจเป็นประธาน ยกสลิปที่โอนมาตั้งใจที่ลิ้นปี่ให้นึกถึงบุญนั้น

    เรื่องที่สอง คือ อย่าลืมเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพเพียงองค์ใดองค์หนึ่ง หรือรูปใดรูปหนึ่ง มาเป็นพยานบุญและโมทนาบุญให้เราด้วยครับ

    รบกวนอธิบายให้ด้วยครับ ในเรื่องแรกที่ให้ตั้งใจที่ลิ้นปี่ ทำอย่างไร และ เป็นคำสอนของใคร ในเรื่องที่สอง คำว่า "เรียก" กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพ สามารถใช้ได้หรือไม่ อย่างไร

    ขอบคุณครับ

    .
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    1. ขอตอบตามนี้ คำสอนหลวงพ่อจรัญ
    2. การเรียก(ขออภัยต้องใช้คำว่า"เชิญ"ถึงจะถูกต้องเพราะท่านทั้งหลายอยู่สูงกว่าเราและมีกำลังบุญมากกว่าเรามากมายนับอสงไขยไม่ถ้วนมากจนไม่สามารถประมาณได้)สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพนั้น เผื่อสำหรับพวกที่หลงตายแล้วยืนงงๆ ต่อหน้าท่านพญายมราช พี่ใหญ่เคยเล่าให้ฟังว่า ท่านพญายมราชท่านใจดี ท่านจะซักถามถึงเรื่องบุญก่อนว่าวิญญาณเหล่านั้นเมื่อตอนเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้บ้าง วิญญาณบางดวง นึกไม่ออกว่าได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านที่เราเรียกมาเป็นพยานบุญท่านรู้ ท่านก็จะรีบแสดงตัวมาช่วยเหลือเช่นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านก็จะบอกว่านายคนนี้ หรือนางคนนี้เคยทำบุญอย่างนั้นอย่างนี้ ฉันเป็นพยานได้เพราะเขาเคยเรียกฉันให้เป็นพยานบุญและให้โมทนาบุญให้ หรืออย่างเช่นผมมีความสงสัยในเรื่องของการทำบุญที่ไม่ถอดรองเท้าที่ท่าน อ.ณรงค์ วัดบ้านเพ ได้ย้ำนักย้ำหนาให้ระวัง เพราะกรรมอาจทำให้ขาขาดถึงข้อเท้าได้ พี่ใหญ่ก็เคยบอกว่า การถอดรองเท้าแล้วยืนบนพื้นดินเวลาใส่บาตรพระ ท่านพระแม่ธรณีก็เป็นพยานให้เราได้ เพราะไออุ่นของเราที่ฝ่าเท้าท่านพระแม่ธรณีท่านทราบดี ถึงบุญนี้เช่นกัน หรือแม้กระทั่งคนเจ็บใกล้จะตาย ก็ให้ใช้วิธีซื้อเครื่องสังฆทานให้คนเจ็บลูบคลำทีละชิ้นแล้วให้ญาติบอกทวนว่าสังฆทานที่จะทำนี้มีอะไรบ้าง แล้วให้คนเจ็บได้โมทนาบุญและยินดีในบุญนั้น เสร็จแล้วนำไปถวายแด่พระสงฆ์ ยิ่งถ้ามีพระประจำวันเกิดของผู้ป่วยในถังสังฆทานได้ก็ยิ่งดี อย่างน้อยไอมือที่ติดอยู่ในเครื่องสังฆทานนั้น ยังพอเป็นสิ่งที่แทนตัวของผู้ป่วยเองให้ได้รับบุญกุศลนั้นได้เช่นกัน อย่างคุณพ่อของผมที่ป่วยและเป็นอัมพาตก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน อย่างน้อยผู้ที่คอยช่วยเหลือให้ดวงวิญญาณที่ออกจากร่างไปแล้วนั้นเช่นผู้ทรงฌาณขั้นสูง หรือพระสงฆ์กรรมฐานที่มีสมาบัติในระดับสูงจะได้ส่งให้ดวงวิญญาณได้เสวยผลบุญก่อนผลบาป จะได้เบามือหน่อย ไม่ต้องใช้บารมีตัวเองมาช่วยมากนัก เพราะหลังจากช่วยกันทีไรตนเองก็ต้องเจ็บป่วยทุกๆ ครั้งไป เช่นหลวงตามหาบัวเมื่อสองสามเดือนที่ผ่านมาเป็นต้นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2010
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    รายงานการใช้ปัจจัยที่ได้รับบริจาคจากทุนนิธิฯ ของ รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย ที่ผมเพิ่งได้รับทางเมล์ในวันนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ขอบคุณครับ

    .
     
  16. ลูกปลาใหญ่

    ลูกปลาใหญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +577
    วันนี้ 01/02/53 เวลาประมาณ 18.57 น. ได้โอนเงินจำนวน 500 บาทเข้าบัญชีทุนนิธิฯ เพื่อร่วมทำบุญประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ครับ
     
  17. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    ร่วมบุญเพิ่มเติม ประจำเดือน กพ. 2553 ครับ
    <link href="file:///C:%5CDOCUME%7E1%5Cxp%5CLOCALS%7E1%5CTemp%5Cmsohtml1%5C01%5Cclip_filelist.xml" rel="File-List"><style>@font-face { font-family: SimSun;}@font-face { font-family: Angsana New;}@font-face { font-family: Tahoma;}@font-face { font-family: @SimSun;}@page Section1 {margin: 72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; size: 612.0pt 792.0pt; mso-header-margin: 36.0pt; mso-footer-margin: 36.0pt; mso-paper-source: 0; }P.MsoNormal { FONT-SIZE: 12pt; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; FONT-FAMILY: "Times New Roman"; mso-style-parent: ""; mso-pagination: widow-orphan; mso-bidi-font-size: 14.0pt; mso-fareast-font-family: SimSun; mso-bidi-font-family: "Angsana New"}LI.MsoNormal { FONT-SIZE: 12pt; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; FONT-FAMILY: "Times New Roman"; mso-style-parent: ""; mso-pagination: widow-orphan; mso-bidi-font-size: 14.0pt; mso-fareast-font-family: SimSun; mso-bidi-font-family: "Angsana New"}DIV.MsoNormal { FONT-SIZE: 12pt; MARGIN: 0cm 0cm 0pt; FONT-FAMILY: "Times New Roman"; mso-style-parent: ""; mso-pagination: widow-orphan; mso-bidi-font-size: 14.0pt; mso-fareast-font-family: SimSun; mso-bidi-font-family: "Angsana New"}DIV.Section1 { page: Section1}</style>ฝากเงิน เข้าบัญชี 348-123-245-9
    วันที่ 1 กพ. 2553 เวลา 18:23 น. จำนวน 200 บาท ครับ
    โมทนาบุญกับทุกท่าน ครับ
     
  18. sophon2009

    sophon2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +1,311
    ข้าพเจ้านายโสภณ ศิริดำรงค์ศักดิ์และครอบครัว ได้ร่วมบุญด้วย 500 บาทครับ

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#bdc9d5 align=center><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD bgColor=#ffffff width="32%">บัญชีผู้โอน</TD><TD width="34%">
    5381011891 ​
    </TD><TD bgColor=#ffffff width="34%">
    SOPHON ​
    </TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD>บัญชีผู้รับโอน</TD><TD>
    Monk Donate ​
    </TD><TD bgColor=#ffffff>
    PRATOM F. ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD background=/krungsri_thai/pic_ib/bullet/dot_18.gif>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" align=center><TBODY><TR><TD width="59%">
    จำนวนเงินที่ต้องการโอน​
    </TD><TD width="41%">
    500.00 บาท ​
    </TD></TR><TR><TD>
    ค่าธรรมเนียมการโอนข้ามเขต​
    </TD><TD>
    0.00 บาท ​
    </TD></TR><TR><TD>
    ค่าคู่สาย​
    </TD><TD>
    0.00 บาท ​
    </TD></TR><TR><TD>บันทึกช่วยจำ</TD><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    ค่าธรรมเนียม SMS​
    </TD><TD>
    ฟรี​
    </TD></TR><TR><TD>
    การแจ้งให้ทราบ​
    </TD><TD>
    ต้องการ​
    </TD></TR><TR><TD>
    แจ้งโดย​
    </TD><TD>
    SMS​
    </TD></TR><TR><TD>
    การแจ้งให้ผู้รับทราบ​
    </TD><TD>
    ไม่ต้องการ​
    </TD></TR><TR><TD>
    แจ้งโดย​
    </TD><TD>
    -​
    </TD></TR><TR><TD>
    หมายเลขอ้างอิง​
    </TD><TD>
    bayi13305643​
    </TD></TR><TR><TD>
    วัน / เวลา ​
    </TD><TD>
    02/02/2010 10:44:35 AM ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. jirautes

    jirautes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +575
    สวัสดีครับวันนี้ครอบครัวผมใอนเงินประจำเดือน กพ. 2553
    จำนวน 500 บาท (02/02/10 เวลา 15:25 น.)
    ผมได้รับพระแล้วครับ อนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  20. โอลีฟ

    โอลีฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +257
    ขอบคุณค่ะที่ช่วยบอกเคล็ดลับค่ะ ^^ จะนำไปทำตามที่พี่บอกค่ะ

    สำหรับเดือนนี้หนูและคุณธิติขอร่วมทำบุญด้วย 200 บาทค่ะ เงินเข้าวันที่ 8/2/52 ช่วงเย็นนะคะ อนุโมทนากับผู้ร่วมบุญทุก ๆ ท่านค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...