ขอถามคําถามมีสาระนิดหน่อย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 5 เมษายน 2012.

  1. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ฮึย คุณครับ คุณมาโพสกระทู้ ตอบคำถาม คนอื่น อันนี้ ธรรมชาติมัน
    ต้อง ส่งใจไปพิจารณาคนอื่นอยู่แล้ว ถ้าคุณไม่คิดจะมาช่วยคนอื่น ไม่
    ส่งใจไปพิจารณาคนอื่น คอยเฝ้น คอยหา จุดเพ่งเล็งคนอื่น ที่เขามาโพส
    ถาม มาชักชวนให้เรา ชี้จุดบกพร่องให้หน่อย

    ในฐานะ คนที่ไม่ยอมโง่ เหมือนกัน มันก็จะพากัน ประคับประคองกันไปได้

    แล้ว คนที่เขามาถามเนี่ยะ หรือ คนที่มาตอบเนี่ยะ ก็ต้อง พิจารณาที่ความโง่
    ของตนที่เคยเป็นมาก่อน หรือ ไม่ก็ที่เป็นอยู่ แต่ สามารถผลิกแพลงแก้สถาน
    การณ์ได้ อย่างไร ก็แชร์กันไป คนรับก็มีหน้าที่ ไม่ประมาทในการฟัง แล้วลอง
    เอาไปสมาทาน เป็น อุบาย ฝึกหัดตน หากมันได้ผล เขาก็รู้เพราะว่า มันเป็น
    เพราะตัวเขาไม่ยอมโง่ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ คนที่ให้อุบาย แต่อย่างใด

    เว่นแต่คนโง่ขนานแท้เท่านั้น ที่จะเข้ามาโพสว่า

    ยอมรับว่าตัวเองโง่ แล้วก็พูดว่า นั่นก็ไม่ต้อง นี่ก็ไม่ใช่ นั่นก็ไม่ต้องทำ เพราะ
    มันโง่อยู่แล้ว อย่างไรก็ไม่ฉลาดไปกว่านี้ได้ ปล่อยโง่ตรงนี้ไม่ต้องไปใส่ใจ
    หาอุบายนำออก ไม่ต้องฝึก ไม่ต้องหัดอะไร


    ....แหมนะ มันก็ ขี้ลอยน้ำเห็นๆ
     
  2. boontiga

    boontiga เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    457
    ค่าพลัง:
    +2,357
    เอาให้ทั้งสองอ่านอย่าแถียงกันเลยน้าาาาาาาาาาาาาาา(kiss)
    อานาปานสติ (–ปานะสะติ) มีอยู่ 16 คู่ คือ
    1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้
    2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ (ลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้นเมื่อใจเป็นสมาธิ)
    3.หายใจเข้า-ออกกำหนดกองลมทั้งปวง (จิตจะกำหนดแต่กองลมในกาย ถ้าบริกรรมคำใดอยู่ เช่น พุทโธ คำบริกรรมจะหายไปเอง)
    4.หายใจเข้า-ออกเห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป)
    5.หายใจเข้า-ออกปีติ เกิดก็รู้
    6.หายใจเข้า-ออก สุขเกิดก็รู้
    7.หายใจเข้า-ออก กำหนดจิตสังขาร (อารมณ์ต่างๆที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต เช่น รัก ราคะ โกรธ หลง) ทั้งปวง /ที่เหลือเพียงอารมณ์อุเบกขา (ถ้ากำหนดมาตามระดับ)
    8.หายใจเข้า-ออก เห็นจิตสังขารสงบก็รู้ (ครูบาอาจรย์บางรูป วินิจฉัยว่า ช่วงนี้จิตจะไม่กำหนดสัญญา)
    9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต (พิจารณาสภาวะรู้(วิญญาณขันธ์)/ว่าจิตพิจารณารู้ในอานาปานสติอยู่
    10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิง (มโน-สภาวะที่น้อมพิจารณาเพ่งอยู่/จิตยินดีในองค์ภาวนาคืออานาปานสติ) ก็รู้
    11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (ในอารมณ์ฌานของอานาปานสติ) ก็รู้
    12.หายใจเข้า-ออกจิตเปลื้อง (ในอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตแห่งอานาปานสติ) ก็รู้
    13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง ) ในขันธ์ทั้ง 5 (มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์)
    14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ปรุงแต่ง (การไม่ปรุงแต่งภายนอก หรือวิราคะคือการมีมานะให้ค่าตีราคาสรรพสิ่ง เช่น ต้นไม้ย่อมมีลักษณะเป็นไปตามธรรมชาติ เราตัดสินว่าต้นไม้นี่ลักษณะสวย ต้นไม้นี่ลักษณะไม่สวย)
    15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติด (การไม่ยึดมั่นภายใน หรือนิโรธ เช่นมีคนนำขวดน้ำมาวางไว้ข้างหน้าเรา ให้เรา ต่อมามีคนคว้ามันไปกิน เราโกรธว่ากินน้ำเรา คือ ความยึดมั่นนั้นเพิ่งเกิด เมื่อเราไปยึดไว้)
    16.หายใจเข้า-ออกปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ (ปฏินิสสัคคายะ)

    • จัดให้ข้อ1-4เป็นกายานุปัสสนา
    • ข้อ5-8เป็นเวทนานุปัสสนา
    • ข้อ9-12จัดเป็นจิตตานุปัสนา
    • ข้อ13-16จัดเป็นธรรมนุปัสสนา
    อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมกับคนทุกคน และเลือกได้หลากหลาย มีความลึกซึ้งมากดังจะอธิบายต่อไป เนื่องจากอานาปานสติสามารถที่ภาวนาลัดให้มาสู่สัมมสนญาน 1ใน ญาณ16ได้ โดยไม่ต้องเจริญสติและพิจารณาสัญญา 10ไปด้วย เหมือนอย่างอื่นๆ
    เมื่อเจริญอานาปานสติตามข้อ1 สภาวะย่อมเป็นไปโดยลำดับจากข้อ 1 จนถึงข้อ12 จิตจะเป็นปฐมฌาณอันเกิดจากการเจริญสติ (เกิดสัมมสนญาณ) จะพบเห็นขันธ์ทั้งห้าที่หลงเหลืออยู่ในขณะขั้นเกิดดับได้ เมื่อขณะจิตเป็นฌาณ ซึ่งเหลือเพียง10สภาวะ

    • โดยที่ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์
    • ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข)
    • ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์
    • ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์
    • ข้อ11-12เป็นสัญญาขันธ์
    เมื่อเห็นขันธ์ทั้งห้า ตามตั้งแต่ข้อ1-12ย่อมเห็นขันธ์ห้า (อันมีลมหายใจเป็นตัวแทนแห่งรูปขันธ์) เกิดดับตลอดจนเห็นเป็นอนิจจัง ( ข้อ13หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ) โดยสมบูรณ์พิจารณาข้อ13ไปจนบรรลุข้อ14หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ปรุงแต่ง ,15พิจารณาโดยไม่ยึดติด ,16 หายใจเข้า-ออกปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...