การเห็น นิพพาน ของพระโสดาบัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 25 มกราคม 2012.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ทิฏฐิ 62
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ยังมีธรรมอย่างอื่นอีกที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน
    ปุพพันตกัปปิถาทิฏฐิ 18 ลัทธิที่ปรารภขันธ์ส่วนอดีต 18 อย่าง
    มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กล่าวถึงขันธ์ส่วนอดีต แสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ 18 ประการ ดังนี้
    สัสสตทิฏฐิ 4 มีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ 4 ประการ
    ปุพเพนิวาสานุสสติ สมณพราหมณ์บางคน บรรลุเจโตสมาธิ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ ได้หนึ่งชาติบ้าง..... หลายแสนชาติบ้าง เขากล่าวว่าอัตตา และโลกเที่ยง คงที่ ส่วนสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติ เกิด นี้เป็นฐานะที่ 1
    ในฐานะที่ 2 และ 3 สมณพราหมณ์บางคน บรรลุเจโตสมาธิ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ วัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง..... สี่สิบบ้าง เขากล่าวว่าอัตตา และโลกเที่ยง คงที่ ส่วนสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติ เกิด
    ในฐานะที่ 4 สมณพราหมณ์บางคน เป็นนักตรึก นักค้นคิด กล่าวตามที่ตนตรึกได้ ค้นคิดได้ ว่า อัตตา และโลกเที่ยง คงที่ ส่วนสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปจุติ เกิด
    เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ อันบุคคลถือไว้ยึดไว้แล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและโทษ เวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น
    เอกัจจสัสติกทิฏฐิ 4 มีทิฏฐิว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ 4 ประการ
    บางครั้ง โดยระยะกาลช้านาน เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ เหล่าสัตว์ย่อมเกิดในอาภัสสรพรหม เหล่าสัตว์นั้นได้สำเร็จทางใจ..... สถิตอยู่ในภพนั้น บางครั้งสิ้นกาลยาวนาน เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ วิมานของพรหมปรากฎว่าว่างเปล่า ครั้งนั้น สัตว์ที่จุติขึ้นจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุ หรือเพราะสิ้นบุญ ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมอันว่างเปล่า สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ..... สถิตอยู่ในภพนั้น เกิดความกระสันความดิ้นรน ว่าแม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง บรรดาสัตว์เหล่านั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นย่อมมีความคิดว่า เราเป็นพรหม เราเป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว และกำลังเป็นสัตว์เหล่านี้เรานิรมิต แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลัง ก็มีความคิดว่า ท่านผู้นี้แลเป็นพรหม..... พวกเรา อันพระพรหมผู้เจริญนี้นิรมิตแล้ว บรรดาสัตว์เหล่านั้น ผู้ใดเกิดก่อนผู้นั้นอายุยืนกว่า มีศักดิ์มากกว่า
    สัตว์เหล่านี้ได้บวชเป็นบรรพชิต แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ จึงได้กล่าวว่า ท่านผู้ใดเป็นพรหม..... พระพรหมผู้ใดนิรมิตพวกเรา พระพรหมผู้นั้นเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผัน ส่วนพวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้ นี้เป็นฐานที่ 1
    ในฐานะที่ 2 เทวดาพวกหนึ่ง หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ สติย่อมหลงลืม เมื่อจุติจากชั้นนั้นแล้ว มาเป็นอย่างนี้ จึงออกบวชเป็นบรรพชิต แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ จึงกล่าวว่า พวกเทวดาที่ไม่หมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์ สติย่อมไม่หลงลืม จึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน ไม่แปรผัน ส่วนพวกตนเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อยยังต้องจุติ นี้เป็นฐานะที่ 2
    ในฐานะที่ 3 เทวดาพวกหนึ่งมักเพ่งโทษกันและกัน มุ่งร้ายกัน พากันจุติจากชั้นที่ตนอยู่ แล้วมาเป็นอย่างนี้ จึงออกบวชเป็นบรรพชิต แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ จึงเกิดความเห็นเช่นเดียวกับฐานะที่ 2
    ในฐานะที่ 4 สมณพราหมณ์บางคนเป็นนักตรึก นักคิดค้น กล่าวตามที่ตนตรึกได้ คิดค้นได้ว่า สิ่งที่เรียกว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย นี้ได้ชื่อว่าอัตตา เป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอันแปรผัน ส่วนที่เรียกว่าจิต หรือใจ หรือวิญญาณนี้ชื่อว่าอัตตา เป็นของเที่ยง.....
    เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า..... เพราะไม่ถือมั่นตถาคตจึงหลุดพ้น
    อันตานันติกทิฏฐิ 4 มีทิฏฐิว่าโลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ 4 ประการ
    สมณพราหมณ์บางคน บรรลุเจโตสมาธิ ย่อมมีความสำคัญในโลกว่ามีที่สุด กลมโดยรอบ นี้เป็นฐานะที่ 1
    ในฐานะที่ 2 สมณพราหมณ์บางคน บรรลุเจโตสมาธิ มีความสำคัญในโลกว่าไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้ พวกที่ว่าโลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบนั้นเท็จ นี้เป็นฐานะที่ 2
    ในฐานะที่ 3 สมณพราหมณ์บางคน บรรลุเจโตสมาธิ มีความสำคัญในโลกว่า ด้านบน ด้านล่าง มีที่สุด ด้านขวางหาที่สุดมิได้ พวกที่ว่าในฐานะที่ 1 และในฐานะที่ 2 นั้นเท็จ นี้เป็นฐานะที่ 3
    ในฐานะที่ 4 สมณพราหมณ์บางคน เป็นนักตรึก นักค้นคิด กล่าวตามที่ตนตรึกได้ ค้นคิดได้ว่า โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ พวกที่ว่าในฐานะที่ 1,2 และ 3 นั้นเท็จ
    เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
    อมราวิเขปิกทิฏฐิ 4 มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ 4 ประการ
    สมณพราหมณ์บางคน ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล ถ้าตนพยากรณ์ไปก็จะเป็นเท็จ จึงไม่กล้าพยากรณ์ เพราะเกลียดการกล่าวเท็จ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ นี้เป็นฐานะที่ 1
    ในฐานะที่ 2 สมณพราหมณ์บางคน ไม่รู้ตามความเป็นจริง..... เกรงว่าพยากรณ์ไปแล้วจะเป็นอุปาทาน จึงกล่าววาจาดิ้นได้.....
    ในฐานะที่ 3 สมณพราหมณ์บางคน ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง เกรงว่าเมื่อถูกซักไซ้แล้วตอบไม่ได้ จึงกล่าววาจาดิ้นได้.....
    ในฐานะที่ 4 สมณพราหมณ์บางคนเป็นคนเขลา งมงาย เมื่อถูกถามว่าอย่างไร ตนมีความเห็นว่าเป็นอย่างไร ก็จะตอบไปตามนั้น จึงกล่าววาจาดิ้นได้.....
    เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
    อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ 2 มีทิฏฐิว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ด้วยเหตุ 2 ประการ
    พวกเทวดาชื่อว่าอสัญญีสัตว์มีอยู่ เมื่อจุติจากชั้นนั้นเพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา มาเป็นอย่างนี้ แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต บรรลุเจโตสมาธิ ย่อมระลึกถึงความเกิดขึ้นแห่งสัญญาได้ เบื้องหน้าแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขากล่าวว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ เพราะตนเมื่อก่อนไม่มี เดี๋ยวนี้ตนมี นี้เป็นฐานะที่ 1
    ในฐานะที่ 2 สมณพราหมณ์บางคน เป็นนักตรึก นักคิดค้น เขากล่าวตามที่ตรึกได้ค้นคิดได้ว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ
    เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวถึงขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ 18 ประการนี้
    เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
    อปรันตกัปปิกทิฏฐิ 44 ลัทธิที่ปรารภขันธ์ส่วนอนาคตและปัจจุบัน 44 อย่าง
    สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต.. กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 44 ประการ
    สัญญีทิฏฐิ 16 มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ 16 ประการ คือ อัตตามีรูป ไม่มีรูป ทั้งที่มีรูปทั้งที่ไม่มีรูป ทั้งที่มีรูปก็ไม่ใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็ไม่ใช่ ที่มีที่สุด ที่ไม่มีที่สุด ทั้งที่มีที่สุดทั้งที่ไม่มีที่สุด ทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ที่มีสัญญาต่างกัน ที่มีสัญญาย่อมเยา ที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ที่มีสุขอย่างเดียว ที่มีทุกข์อย่างเดียว ที่มีทั้งสุขทั้งทุกข์ ที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืนมีสัญญา
    เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า.....
    อสัญญีทิฏฐิ 8 มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ 8 ประการ คือ อัตตาที่มีรูป ที่ไม่มีรูป ทั้งที่มีรูปทั้งที่ไม่มีรูป ทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ที่มีที่สุด ที่ไม่มีที่สุด ทั้งที่มีที่สุดทั้งที่ไม่มีที่สุด ทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืนไม่มีสัญญา
    เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
    เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ 8 มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ 8 ประการ คือ อัตตาที่มีรูป..... ทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืนมีสัญญา
    เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
    อุทเฉททิฏฐิ 7 มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ ด้วยเหตุ 7 ประการ คือ
    สมณพราหมณ์บางคนมีวาทะว่า เพราะอัตตานี้มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูป 4 มีมารดา บิดา เป็นแดนเกิด เพราะกายแตกย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมเลิกเกิด อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญ
    สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า ยังมีอัตตาอื่นที่เป็นทิพย์ เป็นกามาพจร บริโภคกวฬิงดาราหาร เพราะกายแตก อัตตานั้นย่อมขาดสูญ
    สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เป็นทิพย์ มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะใหญ่น้อยครบครัน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เพราะกายแตก อัตตานั้นย่อมขาดสูญ
    สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ มีอารมณ์ว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจในนานัตตสัญญา เพราะกายแตก อัตตานั้นย่อมขาดสูญ
    สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ เพราะกายแตก อัตตานั้นย่อมขาดสูญ
    สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง อากิญจายตนะ เพราะกายแตก อัตตานั้นย่อมขาดสูญ
    สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะกายแตก อัตตานั้นย่อมขาดสูญ
    เรื่องนี้ตถาคตย่อมรู้ชัด.....
    ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ 5 มีทิฏฐิว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ
    สมณพราหมณ์บางคนกล่าวว่า เพราะอัตตานี้อิ่มเอิบ พรั่งพร้อม เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ 5 จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
    สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า ยังมีเหตุอื่นอีก เพราะเหตุว่ากามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จึงเกิดความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส คับใจ เพราะอัตตานี้สงัดจากกาม จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาณ มีวิตก วิจาร มีปิติ และสุขเกิด แต่วิเวกอยู่ จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
    สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า ปฐมฌาณยังหยาบ เพราะอัตตานี้บรรลุทุติยฌาณ..... จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
    สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า ทุติยฌาณยังหยาบ เพราะอัตตานี้บรรลุตติยฌาณ..... จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
    สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า ตติยฌาณยังหยาบ เพราะอัตตานี้บรรลุจตุตถฌาณ..... จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กล่าวถึงขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 44 ประการนี้
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น กล่าวถึงขันธ์ส่วนอดีตก็ดี ส่วนอนาคตก็ดี ทั้งส่วนอดีต ทั้งส่วนอนาคตก็ดี กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี
    เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
    ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์..... กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ แม้ข้อนั้น ก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเหมือนกัน
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์..... กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ ก็เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก ถูกต้อง ๆ แล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง 6 ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส เมื่อใดภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณและโทษแห่งผัสสายตนะทั้ง 6 กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ก็สมณพราหมณ์พวกใด กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ 62 อย่างเหล่านี้เป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายนี้ปกคลุมไว้
    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคต ชั่วเวลาที่กายของคถาคตดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นคถาคต
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระอานนท์ได้กราบทูลว่า น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า อรรถชาละก็ได้ ธรรมชาละก็ได้ พรหมชาละก็ได้
    ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ หมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว แล
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เอ๋า ... จะไปยากอะร๊ายย ก็คุยกันที่เหตุผล
    ก็อย่างทีเจ้ บอกว่าเทียบความรู้จากหลายๆด้าน
    แต่ความรู้หลายๆด้านที่เจ้ว่า จะลงสมเหตุสมผล กับพระไตรปิฎกไหม
    อันนี่ ก็เป็นการสนทนา ตามประสา
    ไม่เห็นได้บอกว่า ต้องรู้จริงก่อนนะถึงค่อยมาพูด

    ในระหว่างฝึกฝนมันก็คุยกันได้ถูกไหม
    เอาสิ่งที่ตัวเองรู้เห็น เทียบเคียงตามที่เห็นมา
    มันก็ทะยอยเล่า แบ่งให้เห็น


    ให้สมกับที่ชวนมาทะเลาะหน่อย
    คำที่ว่าพี่ขวัญปฎิบัติอยู่นะ จะกลัวไปใย ชิมิ

    อีกอย่าง ถ้าเปิดใจกว้าง ก็ต้องกล้าเสนอมุมมอง

    ไม่ใช่ โดนถามๆ แล้ว โอยยยบ๊ะบาย
    อะไรอะไร ก็ปัจจัตตัง ปัจจัตตัง

    มันก็เลยได้แต่ปัจจัตตัง ไม่ได้ปัดแบ่งปันมั่งเล๊ย

    อีกอย่าง หากเป็นการด่าทอ ว่าไปถึงบุคคลอื่น
    อันนี้ก็ไม่น่าคุยด้วยหรอก
    แต่พี่ขวัญไม่เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ชิมิชิมิ
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เดี๋ยวมาใหม่นะเจ้ ออกไป site งาน จักหน่อย [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    กำลัง มันส์
    ตาอยู่ ตาอยู่ ตาอยู่
    มาไวไว:cool:
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เหตุผล บอกไปหมดแล้ว ในโพสท์ #6 #16 #21 #38
    ถ้ายังไม่เข้าใจในเหตุและผลของเจ้ ก็ตามนั้น อะ มันเป็นเรื่องของทิฏฐิใคร ทิฏฐิมัน
    ไม่จำเป็นต้องคิดเห็นเหมือนกัน จริงแมะ
    แต่รู้ว่า มี อรรถกถา นี้อยู่ พูดว่าอย่างนี้ ให้ครบถ้วนไว้
    ส่วนไหนที่เป็นความเห็น เป็นการตีความ ตรึก นึก วิเคราะห์ วิแคะ ก็ให้รู้อยู่ด้วย
    แยกความจริง ออกจากความเห็น โดยวางทิฏฐิของตนลงก่อน ถึงจะเข้าใจทิฏฐิของคนอื่น
    การเข้าใจทิฏฐิของคนอื่นได้ ไม่ได้แปลว่าต้องเห็นตามหรือต้องเข้าใจตรงกับเขา
    แต่ว่ารู้ว่าเขาเข้าใจแบบนั้น เพราะมีเหตุและผล ของเขาอยู่
    ทุกตัวอักษรที่เป็นอรรถกถา คนอ่านถ้าพิจารณาไม่ครบถ้วน เห็นไม่ครบความ
    มันก็เกิดเห็นผิดเห็นพลาดได้ รวมถึงเจ้ก็พลาดได้ แต่ก็ตามที่ให้ความเห็นไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เอามา รีวิว อีกที

    จะพูดแบบนี้ ก็ไม่น่าจะถูกนะ เรามีความเห็นว่า
    พระโสดาบัน คือผู้เห็นและเข้าถึง โสดาปัตตมรรค โสดาปัตติผล ย่อมรู้และตกกระแสพระนิพพานแล้ว

    อันนี้ ก๊อปมาให้พิจารณา

    โสดาปัตติมรรค=ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระโสดาบัน ,ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
    โสดาปัตติผล= ผลคือการถึงกระแสสู่นิพพาน,ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ด้วยโสดา
    ปัตติมรรค ทำให้ได้เป็นพระโสดาบัน
    โสดาบัน = ผู้ถึงกระแสที่จะนำไปสู่นิพพาน,พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผล มี ๓ ประเภทคือ ๑. เอกพีชี เกิดอีก
    ครั้งเดียว ๒. โกลังโกละ เกิดอีก ๒-๓ ครั้ง ๓. สัตตักขัตตุปรมะเกิดอีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างมาก


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถ้าจะบอกว่า โสดาปัตติมรรค เห็นนิพพาน ก็เหมือนไม่เห็นแล้ว
    มันจะแตกต่างกับโคตรภูตรงไหน ล่ะ

    ถ้าจะบอกว่าต่างกันที่ตรงประหาณสังโยชน์3

    แล้วคำว่า...กิจที่พึงเห็นนิพพานทำ มันจะแปลว่าอะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  8. theerasp

    theerasp Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +36
    ก็ดูไปเถิด ทุกข์เพียวๆ เลิกดิ้นรนกับตัวทุกข์ ใช้หนี้ไปซะ ซักวันก็หมด รักษาศีลไปซะ มันก็ดีขึ้นเอง ไม่เห็นต้องดิ้นหาหัวโขนอะไรเลย
     
  9. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    หนี้ใช้กันยังไงไม่หมดหรอก
    มัวแต่จะใช้หนี้ เพลินเกิดเลยนะขอบอกๆ
    ผมว่า ทำให้หนี้ตามไม่ทันดีไหมๆ
     
  10. theerasp

    theerasp Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +36
    ต่อให้เป็นพระอรหันต์ก้ยังไม่หมดกรรมจ้า
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ลองมองไปตรงหน้าเราสิ คนทั่วไปเห็นอะไร ก็เห็นวัตถุสิ่งของ
    คนมีปัญญา เห็นความว่าง อากาศ ข้างหน้า นี่อุปมาให้ฟัง
    ทีนี้ พระโสดาบันก็เหมือนคนมีปัญญา เห็นความว่างข้างหน้า รู้ว่ามี
    แต่คนได้โคตรภู เหมือนคนแหงนหน้า มองไปบนท้องฟ้า เห็นความว่างเหมือนกัน แต่ไม่เห็นแบบมีปัญญา
    จะต้องแหงนมองไปบนท้องฟ้าโน่น จึงจะเข้าใจ แต่พระโสดาบันมีปัญญารู้ว่าอยู่ตรงหน้านี้ ส่วนตนจะเหลือบมองได้มากน้อยแค่ไหนก็อีกเรื่องหนึ่ง

    คนที่ยังนึกคิดด้นเดา ก็อย่าอวดเก่งให้มันมาก ถกกันได้แต่อย่าประมาทว่าเรารู้ เรายังรู้กันน้อยมาก
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อันนี้ก็เข้าใจเจ้ ว่าเจ้ เข้าใจแบบนั้น แต่ชวนมาพิมพ์ จะว่าหาเหตุผลก็ได้
    เอาเป็นเชิงถามไถ่ ในความเข้าใจแบบนั้นและอยากให้ชวนขบคิด
    ตามโอกาส การทะเลาะ เบาๆ:boo:
     
  13. theerasp

    theerasp Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +36
    ทาน ศีล ภาวนา ทำไปเถิด ใช้ปัญญารักษาศีล ไปเรื่อยๆจนยกขึ้นเป็น อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ไปเรื่อยๆ มันก็ดีขึ้นเอง นี่แหละที่เรียกว่าการใช้หนี้ในกองทุกข์ เมื่อก่อนภาวนาทำโดยสนใจเรื่องกรรม(คิดจะหนีกรรม) มันก็เกิด โอภาส(แสงสว่าง) เกิดสุข (วิปัสนูกิเลส) พอมองทะลุโอภาส มันก็เกิดวิปลาส สุดท้าย เมื่อทุกข์มากๆ ก็เลิกดิ้นรน อะไรจะเกิดมันก็เกิด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เราเองก็เป็นสัตว์โลกจะไปหนีกรรมได้อย่างไรละ
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    อ่านแล้ว งงไปใหญ่ จับไม่ถูกเลยแหะ อ๋อย อ๋อย
     
  15. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ผมว่าลุงขันธ์ อาจจะบอกว่า โสดามองข้างหน้า ก็เห็นความว่าง ไม่ติด สิ่งกีดขวาง
    แต่โคตรภู จะเห็น ก็โน่น มองฟ้า ถึงจะเห็นความว่าง(ที่ไม่มีเมฆนะ)
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ยกแบบนี้มันส์

    คำว่า กิจที่พึงเห็นนิพพานทำ

    เข้าใจว่า กิเลสตัณหาดับไปในที่ใด นิพพานก็ปรากฎที่นั่น

    ทีนี้ กิเลส ขอยก สังโยช 10 มาอธิบาย

    เช่น ตัดไป3 ส่วน เหลืออีก 10ส่วน ถึงจะขาดหมด อันนี้คือกิจที่ทำ
    คือ ตัดกิเลสให้หมด จึงจะพบนิพพาน

    ถ้ากิเลส ไม่ขาดหมดก็ไม่พบ นิพพาน จนกว่าจะตัดครบทั้ง 10 ส่วน

    การพบนิพพานจึงเป็นอันเรียกว่า จบกิจ
    เพราะกิเลสถูกตัดขาดไปจนหมด

    ก็จะแปลคำว่า กิจที่พึงเห็นนิพพานทำ คือ
    ตัดกิเลสจนหมด 10 ส่วนนิพพานจึงจะปรากฎ

    อุปมาเพิ่มเหมือนกับว่าเจอประตูทางออกที่ถูกล๊อกด้วยกุญแจ 10 จุด
    แต่ไขได้เพียง 3 ดอก เหลืออีก 7 ที่ต้องไขต่อ
     
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    วิเคราะห์จากกระทู้นะ หากินแถวนี้แหละ ไปไกลไม่ได้เน็ตอืดมากมาย

    นอกจากเรื่องทิฏฐิ (การเห็นนิพพานที่นำไปสู่การละสักกายทิฏฐิ) วิจิกิจฉา
    ก็น่าสนใจว่า ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต๔ วิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต๑ เจตสิก๒๒ นั้นประหานไปโดยเด็ดขาด
    ส่วนตรงสีแดง ก็เห็นว่าละกิเลสบางประเภทที่นำไปสู่อบายโดยทำให้เบาบาง คือไม่อาจทำให้เป็นกิเลสอย่างหยาบได้ (รวมว่าน่าจะข้องเกี่ยวกับศีลห้าของพระโสดาบันด้วย)


    สังวัณณนาแห่งทัสสเนนปหาตัพพติกะ

    [๙๒] บทว่าทสฺสเนนโดยอรรถว่า อันโสดาปัตติมรรค.
    ก็โสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคตรัสว่าทัสสนะ
    เพราะเห็นนิพพานครั้งแรก.

    ส่วนโคตรภูเห็นนิพพานครั้งแรกก็จริง; ถึงอย่างนั้น ก็ไม่เรียกว่า เห็น
    เพราะไม่มีการประหาณ (การละ) กิเลส อันเป็นกิจที่พึงเห็นนิพพานทำ,
    เหมือนอย่างบุรุษกล้าสู่ราชสำนักด้วยกรณียะเฉพาะบางอย่าง
    แม้ได้เห็นพระราชาซึ่งเสด็จทรงช้างไปตามถนนแต่ไกลเทียว
    เมื่อถูกถามว่า ท่านได้เฝ้าพระราชาแล้วหรือ
    (คำว่า เฝ้า หรือเข้าเฝ้าในภาษาบาลี ใช้กริยาศัพท์เดียวกันกับ เห็น นั่นเอง เพราะเฝ้า หรือเข้าเฝ้าก็คือเห็น หรือพบนั่นเอง)
    ก็ย่อมจะตอบว่า ยังไม่ได้เฝ้า
    เพราะยังมิได้ทำกิจที่พึงเข้าเฝ้า กระทำฉันใด, ก็ฉันนั้น นั่นแหละ.

    โคตรภูญาณได้เห็น เหมือนไม่ได้เห็น เพราะยังไม่ได้เฝ้า.. -- "​
    โสดาบันได้เห็นนิพพานครั้งแรก ได้เฝ้าคือได้ทำกิจแล้ว(ประหานกิเลสบางส่วน) เป็นผู้มีญาณทัสสนะแล้ว(รู้แจ้งเห็นจริง)
    ..

    อกุศลจิตตุปบาท๖ ที่เหลือ ทั้งที่เป็นไปและไม่เป็นไปโดยความเป็นเหตุแห่งอบาย เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ ก็มี,
    เป็นธรรมอันมรรค ๓ ที่เหลือไม่พึงประหาณก็มี.
    ส่วนจิตตุปบาททั้งปวงเว้นอกุศล, รูป,และนิพพาน
    เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรค หรือมรรค ๓ ที่เหลือไม่พึงประหาณ.

    ส่วนบรรดาเจตสิกทิฏฐิ วิจิกิจฉา อิสสามัจฉริยะและกุกกุจจะเป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณเทียว.

    อกุศลที่เหลือเป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณก็มี.
    เป็นธรรมอันมรรค ๓ที่เหลือพึงประหาณก็มี;
    เจตสิกที่เหลือจากที่กล่าวแล้ว ๑๓ อย่าง
    อันมีชาติ ๓ เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคหรือมรรค ๓ ที่เหลือ
    ไม่พึงประหาณเทียว.

    ส่วนการประหาณแม้ซึ่งกุศลและอัพยากฤตที่ท่านอนุญาตไว้

    โดยนัยมีคำว่า
    นามและรูปที่พึงบังเกิดในสังสารวัฏ อันไม่รู้เงื่อนต้นเงื่อนปลายเว้น ๗ ภพย่อมดับลงในที่นี้เพราะอภิสังขารวิญญาณดับลงด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ

    ดังนี้เป็นต้นนั้น

    ท่านกล่าวหมายปริยายนี้ว่าเพราะได้ประหาณบรรดากิเลสอันเป็นอุปนิสสัยปัจจัยแห่งนามและรูปที่พึงบังเกิดขึ้น เพราะมิได้ยังมรรคนั้นๆให้เกิด.
    อนึ่ง ติกะนี้เป็นนิปปเทสัตติกะ.ทัสสเนนปหาตัพพติกะจบ


    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อันนี้คือ คิดเอง ตีความเอง ถูกแมะ
    แต่ความจริงจะเป็นอย่างคิดนี้ไหม ก็ไม่รู้อีก ถูกแมะ

    อย่างเจ้ ก็ตีความว่า จะประหาณสังโยชน์3 ลงได้ ต้องถึงภาวะของนิพพาน
    แบบว่า สัมผัสนิพพานไป1ครั้ง กิเลสสังโยชน์หายไป 3
    สัมผัสครั้งที่ 2 สกิทาคามี ก็หายไปอีก หลายส่วน
    สัมผัสครั้งที่ 3 อนาคา ก็หายไปอีกหลายส่วน
    สัมผัสครั้งที่ 4 ตัดกิเลสสังโยชน์สิ้นหมดในส่วนที่เหลือ

    จะคิดแบบนี้ ว่าเป็นกิจที่พึงเห็นนิพพานทำ ก็ได้ ถูกไหม

    แต่มันก็เป็นได้แค่ความคิดจินตนาการของเรา ไม่ใช่รู้จริง เป็นสัจธรรม พูดเป็นสัจธรรม

    จะรู้จริงมั่นใจว่ารู้ถูก มันก็ต้องผ่านถึงตรงนั้น ก็รู้เองถูกไหม ถึงจะเรียกว่ารู้และพูดเป็นสัจธรรม ไม่มีเปลี่ยนแปลง

    ทีนี้ เราก็ทะเลาะ เอ๊ย แสดงวิซั่น ของแต่ละคนแบบคิดต่างเห็นต่าง ก็ได้มุมมอง เพิ่ม

    แต่เราก็รู้อยู่แก่ใจว่า ที่เรารู้มันก็แค่จินตนาการของเรา ที่รู้ผ่านทิฏฐิการคิดของเรา
    จะไปยึดมั่นถือเอาเป็นสรณะรู้จริงรู้ถูกแล้ว บ่อได้ จริงไหม

    ก็แค่ แลกเปลี่ยน วิซั่น พอให้ อ๋อยๆๆ เนาะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2012
  19. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ตาอยู่ ไม่มา อ่ะ
    มีแต่ อินกะนา ไม่แหล่มเลย
    วัย ซะ รุ่น V-สั้น ไม่ออก
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ตาคิ้วงงไปก่อนละกัน

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...