"การหย่าร้าง" ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

ในห้อง 'ทุกข์และปัญหาชีวิต' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 30 กรกฎาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] -->
    [​IMG]





    แม้ละครเรื่อง "อุ้มรัก" เพิ่งจะลาจอไปได้ไม่นาน แฟนๆ ละครคงไม่มีใครปฏิเสธว่า นอกจากละครเรื่องนี้จะให้ความบันเทิงแล้ว ยังแฝงไปด้วยความรู้เรื่องการดูแลตัวเองสำหรับว่าที่คุณแม่ รวมถึงข้อคิดอันหลากหลายของการใช้ชีวิตคู่ การประคับประคองชีวิตรักให้ยั่งยืน จนหลายๆ คนที่ชมละครเรื่องนี้ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "อยากมีเจ้าตัวน้อย" เป็นโซ่ทองคล้องใจซะเหลือเกิน


    [​IMG].....[​IMG]

    แต่ "ชีวิตไม่ได้เป็นดั่งบทละคร" เรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดออกมาบนหน้าจอ อาจจะมีเค้าความจริงเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจากสถิติการหย่าร้างของคู่สมรสเพิ่มจำนวนขึ้นเกือบทุกปี ล่าสุดสถิติการหย่าร้างของกรมการปกครอง เมื่อปี 2547 จำนวนคู่รักที่ตกลงปลงใจแยกชีวิตรักจากกันมีมากถึง 86,982 คู่เลยทีเดียว หากเทียบกับสถิติการหย่าร้าง เมื่อปี 2546 ที่มีจำนวนคู่รักหย่าร้าง 80,886 คู่เท่านั้น
    หากพิจารณากันแค่ผิวเผินอาจรู้สึกว่า การเพิ่มจำนวนของการหย่าร้างไม่เห็นจะน่าตกใจสักเท่าไร แต่หากลองคิดในทางกลับกันว่า เพราะอะไรคู่รักเหล่านี้ถึงต้องจูงมือกันไปเซ็นใบหย่า ซึ่งบางรายอาจมีโซ่ทองคล้องใจกันไม่รู้กี่เส้นด้วยซ้ำ
    เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ สุจิตต์ ไตรพิทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสถาบันครอบครัว สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าวว่า ปัจจุบันมีจำนวนการหย่าร้างเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น่าเป็นห่วง ในฐานะของคนทำงานเกี่ยวกับครอบครัว จึงมองว่าสาเหตุหลักๆ ของการหย่าร้าง เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ตั้งแต่ความสัมพันธ์ของสามีภรรยา จนถึงความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อแม่
    "สำนักงานของเราได้เฝ้าระวังปัญหาเหล่านี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว เพราะประเด็นหลักที่ทำให้มีปัญหาของการหย่าร้างเกิดขึ้น เกิดจากพฤติกรรมของคนในครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างเวลาเรานัดเพื่อนเราจะให้ความสำคัญกับเพื่อน แต่กับภรรยาหรือลูกเรามักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญ สิ่งแรกที่เราควรปรับเปลี่ยนคือพฤติกรรมตัวเราเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน ไม่ว่าจะทำอะไรให้ยึดหลัก แฟมิลี่ เฟิร์ส คือ ให้ความสำคัญกับครอบครัวเป็นอันดับแรก
    สิ่งที่สำนักของเรากำลังทำ คือ การรณรงค์ให้ครอบครัวมีเวลาให้แก่กัน เมื่อโลกแห่งโลกาภิวัตน์เข้ามาในสังคม ทำให้มนุษย์มีเวลาให้กันน้อยลง ครอบครัวไม่มีเวลามาเจอหน้ากัน เราจึงรณรงค์ว่า วันอาทิตย์ควรจะเป็นวันที่ทุกคนหยุดความเคลื่อนไหวทุกสิ่ง แล้วหันมาให้ความสำคัญกับครอบครัว ถ้าเรามีเวลาให้ครอบครัว กิจกรรมภายในครอบครัวก็จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรดน้ำต้นไม้ พากันไปกินข้าว ไปเที่ยวด้วยกัน สัมพันธภาพภายในครอบครัวก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเรามีเวลาให้แก่กัน เวลาที่เราจะเรียนรู้ซึ่งกันและกันก็เกิดขึ้น แล้วกิจกรรมที่เราทำด้วยกัน สามารถที่จะสอนลูกๆ ไปในตัวด้วย แล้วสิ่งที่พ่อแม่ทำให้ลูกเห็น ลูกๆ ก็จะเรียนรู้ถึงสิ่งเหล่านั้นและซึมซับไปเองโดยอัตโนมัติ" ผอ.สุจิตต์ กล่าวแนะนำการใช้ชีวิตคู่
    ไม่เพียงแต่กิจกรรมเท่านั้น การพูดจาก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชีวิตคู่ยืดยาว ผอ.สุจิตต์ แนะนำว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายควรจะพูดจาภาษาดอกไม้กัน เพราะการพูดคุยกันมากขึ้น จะทำให้ต่างฝ่ายต่างรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยกันหาทางแก้ไข
    "เดี๋ยวนี้พฤติกรรมของสังคมเปลี่ยนไป เมื่อก่อนผู้หญิงจะไม่กล้าหย่ากับผู้ชาย เนื่องด้วยฐานะทางสังคม เรื่องเศรษฐกิจของครอบครัว แต่เดี๋ยวนี้ ผู้หญิงทำงานสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งผู้ชายเหมือนสมัยก่อน เลยไม่มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน แล้วผมรู้สึกว่าผู้หญิงและผู้ชายสมัยนี้ความอดทนลดน้อยลง เมื่อก่อนผู้หญิงที่หย่าหรือเคยแต่งงานมาแล้ว สังคมมักจะไม่ยอมรับ แต่เดี๋ยวนี้สังคมยอมรับคนเหล่านี้มากขึ้น สถิติการหย่าร้างเลยเพิ่มมากขึ้น และเด็กวัยรุ่นที่มีปัญหา 90 เปอร์เซ็นต์มาจากครอบครัวที่แตกแยก" ผอ.สำนักส่งเสริมสถาบันครอบครัว สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าว
    ด้าน พ.ญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 กรมสุขภาพจิต บอกว่า ปัจจุบันนี้ผู้หญิงไทยเริ่มมีโอกาสทางการศึกษาสูงขึ้น มหาวิทยาลัยตามคณะที่เมื่อก่อนมีผู้ชายเรียนมาก เดี๋ยวนี้ก็มีผู้หญิงก้าวเข้าไปเรียนด้วย หรือตำแหน่งหน้าที่การงานในระดับสูง ก็มีผู้หญิงก้าวขึ้นไปนั่งในตำแหน่งนั้นมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงไทยมีมุมมองและความคิดที่เปลี่ยนไปจากเดิม
    "ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ผู้หญิงตอนนี้ถูกเลี้ยงให้รู้จักความอดทนในแบบที่แตกต่างกัน เมื่อก่อนเราจะถูกเลี้ยงให้อดทนในเรื่องของการเรียนและการทำงานบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ถูกเลี้ยงให้อดทนในเรื่องของการเรียนมากขึ้น ไม่ได้เลี้ยงให้ทำงานบ้านเพราะเขามองว่ามันไม่ใช่งานหลัก นี่คือสิ่งที่ผู้หญิงขาดหายไป แต่คือสิ่งที่ผู้ชายต้องการ ผู้ชายเองก็มีความคิดที่เปลี่ยนไปเหมือนกัน คือ เขาคาดหวังในตัวของผู้หญิง ที่จะมาแชร์ในเรื่องของรายได้และต้องการให้ผู้หญิงมาช่วยทำงานบ้านพร้อมๆ กันด้วย" พ.ญ.อัมพร กล่าวถึงความต้องการของผู้หญิงและผู้ชายที่แตกต่างกัน
    ความมั่นใจของผู้หญิงที่ไม่ต้องพึ่งพาผู้ชาย ถือว่าเป็นจุดแข็งและจุดอ่อนในเวลาเดียวกัน มีทางเลือกที่ชัดเจน ทำให้การประนีประนอมซึ่งกันและกันลดน้อยลง ที่สำคัญคือหนุ่มสาวสมัยใหม่ มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น มักจะหาความสุขให้ตัวเองก่อนที่จะคิดถึงคนอื่น โดยเฉพาะเรื่องชู้สาวที่มักจะเป็นชนวนให้เกิดปัญหาครอบครัว
    "อัตราการหย่าร้างและแยกกันอยู่ในช่วงหลัง มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อเด็กโดยตรง การแก้ปัญหาการหย่าร้าง สิ่งหนึ่งคงต้องเรียนรู้และแยกแยะว่าจริงๆ แล้วชีวิตเราต้องการอะไร ไม่ใช่นึกถึงแต่ความสุขและความสำเร็จทางสังคมเพียงอย่างเดียว เพราะความสุขที่ยั่งยืนต้องมาจากความอบอุ่นของครอบครัว เรียนรู้การให้และรับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ครอบครัวก้าวไปพร้อมความสุขและสมบูรณ์" พ.ญ.อัมพร ให้คำแนะนำ "การแต่งงาน" เป็นเพียงก้าวแรกของการเริ่มต้นชีวิตเท่านั้น ความรักเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ชีวิตคู่ก้าวไปได้อย่างสวยงาม หากไม่มีความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : คมชัดลึก

    http://www.komchadluek.net/2006/07/30/i001_30548.php?news_id=30548
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กรกฎาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...