การพัฒนาสติในการภาวนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิโมกข์, 6 มีนาคม 2005.

  1. sakkrit99k

    sakkrit99k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +167
    ท่านที่ใช้ชื่อวิโมกข์ในกระทู้เขียนลงจากประสบการณ์ล้วนเลยนะครับผมเชื่ออย่างนั้น น่าจะรวมเล่มเป็นประโยชน์มากๆ ท่านเป็นพระภิกษุหรือเปล่า แล้วอยู่ที่ไหน เป็นโยมก็อยากเจอขอเป็นลูกศิษย์ได้ไหม นับถือ พูดตรงๆผมเพียงอ่านกระทู้แรกท่านยังไม่จบเลยก็บอกๆได้ว่าใช่เลย
     
  2. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ถ้าอย่างนั้นคุณsakkrit99k ลองอ่านข้อมูลให้ครบสักนิดดีไหมค่ะ เพราะทุกสิ่ง
    ที่คุณสงสัย และตั้งคำถาม มีคำตอบให้หมดทุกอย่างแล้วค่ะ

    ส่วนช่วงนี้ หลวงพ่อ วิโมกข์ หรือ จริงๆ ท่านมีชื่อว่า เมธิโนภิกขุ ได้จัดอบรม
    มากมาย หลายแห่ง แต่หลักๆ ตอนนี้ยังสอนอยู่ที่ Home English เป็นหลัก
    ทุกวันอาทิตย์ค่ะ และการจัดทำหนังสือก็เป็นรูปเล่มแล้วค่ะ ถ้าสนใจ เวลา
    ไปฝึก ก็สามารถขอท่านได้ค่ะ เพราะช่วงนี้ ยังแจกเป็นธรรมทาน

    ขอให้ดวงตาเห็นธรรมในเร็ววัน
     
  3. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๕ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทเริ่มจากการเห็นปฏิจจสมุปบาทด้วยความผู้เบิกบาน ความเป็นผู้ตื่น และความเป็นผู้รู้
    ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๔ ได้ที่ http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4
    ******************************************************************
    พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ใจที่เป็นพุทธะก็คือใจที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หัวใจของการภาวนาก็คือ ใจที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หากนักปฏิบัติทั้งหลายได้เข้าใจถึงประเด็นอันสำคัญนี้ ความแตกแยกที่มีอยู่ในหมู่นักปฏิบัติหลายๆสาย หลายๆสำนัก ก็จะมลายหายไปหมดสิ้น เพราะตัวภาวนาจริงๆแล้ว ไม่ใช่ท้องพอง-ยุบ ลมหายใจเข้า-ออก คำบริกรรมพุทโธ หรืออื่นๆ แต่ตัวภาวนาที่แท้คือ ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน การภาวนาด้วยวิธีไหน รูปแบบไหนก็แล้วแต่เป็นเพียงเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้จิตมีเครื่องอาศัยเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เข้าถึงได้อย่างไร? นักปฏิบัติโดยมากพอได้ยินคำว่า
     
  4. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    เจริญพร

    ด้วยในการฝึกอบรมการพัฒนาสติในการภาวนา เต็มวันที่ได้จัดให้มีขึ้น ณ บุญนิเวศน์ธรรมสถาน เมื่อวันเสาร์ที่ 17 กันยายน 2548 นั้น ปรากฏว่าการฝึกอบรมแบบต่อเนื่องเต็มวัน ทำให้หลายๆท่านได้เริ่มสัมผัสและเข้าใจสภาวะของการเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและใจที่เป็นกลางๆ และเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้หลายๆท่านที่ไม่สามารถมาเข้าร่วมฝึกอบรมฯในครั้งนั้น อาจจะด้วยเหตุว่าบ้านอยู่ไกลและเดินทางมาไม่สะดวก และเมื่อมีหลายๆท่านที่ได้ผ่านเข้าฝึกอบรมเต็มวันครั้งนี้ ได้รับประโยชน์ มีความรู้ความเข้าใจในการเจริญสติในการภาวนาที่ถูกต้อง โดยหลายๆท่านสามารถสัมผัสถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ในเวลาเพียง 1 วันที่เข้ามาฝึกอบรมดังกล่าว ซึ่งนับเป็นความสำเร็จของโครงการฝึกอบรมฯ อันสามารถนำพาท่านทั้งหลายได้เข้าสู่ทางแห่งมรรคผล ด้วยศิลปะในการภาวนาด้วยการเจริญสติซึ่งอาตมาได้พยายามให้อุบายธรรมแก่ท่านทั้งหลาย เพื่อให้เข้าสู่ทางการปฏิบัติที่ไม่เนิ่นช้า เพื่อว่าท่านทั้งหลายจะได้มุ่งปฏิบัติเพื่อมรรคผลด้วยความเพียรของท่านทั้งหลายต่อไป


    อาตมาจึงได้จัดโครงการฝึกอบรมการพัฒนาสติในการภาวนา ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน คอร์สพิเศษ คือ ฝึกอบรมเต็มวัน ครั้งนี้ โดยจะจัดให้มีขึ้นในวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2548 เวลา 8.00
     
  5. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๖ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทด้วยอาตาปี สัมปชาโน สติมา
    ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๕ ได้ที่

    http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4

    อาตาปี สัมปชาโน สติมา คือ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ เป็นข้อสรุปในการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย อาทิ มรรคมีองค์ ๘ สติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ และอื่นๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงให้อุบายไว้ อย่างสั้น ลัด และเป็นธรรมชาติ

    ประเด็นสำคัญของอุบายธรรมข้อนี้ ก็คือ มีความเพียรอย่างไร มีสัมปชัญญะอย่างไร และมีสติอย่างไร

    มีความเพียรอย่างไร ? ข้อนี้ ก็เป็นข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับการทำความเพียร เพราะหลายๆท่านถ้าไม่เพียรมากไป ก็เพียรน้อยไป พอเพียรมากไปก็ตั้งใจมากไปหรือจรดจ่อมากไป หากเพียรน้อยไป ก็ทำๆ หยุดๆ หรือเกิดความท้อแท้ เหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติ นักปฏิบัติโดยส่วนมากพอเริ่มต้นมาปฏิบัติก็เพียรเอาจริงเอาจัง แบบเดินหน้าเต็มที่ หรือตั้งใจอย่างเอาเป็นเอาตาย พอเพียรอย่างเต็มที่ แล้วหากปฏิบัติไม่ได้ผลอย่างที่ตนมุ่งมั่นไว้ ก็กลับน๊อตหลุด คือ เกิดความท้อแท้ เหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติ และในที่สุดก็ทิ้งการปฏิบัติไปเลย แล้วความเพียรที่พอดีเป็นอย่างไรเล่า? ความเพียรที่พอดี ต้องเป็นความเพียรที่เกิดจากความพึงพอใจหรือ
     
  6. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    การฝึกอบรมพัฒนาสติช่วงเดือนตุลาคม 2548

    การบ้านภาวนาครั้งที่ ๑๘ : การทวนกระแสปฏิจจสมุปบาทด้วยการทำจิตตสังขารให้สงบระงับด้วยใจที่ยิ้มน้อยๆ

    ดูการบ้านภาวนาครั้งที่ ๑ - ครั้งที่ ๑๗ ได้ที่
    http://larndham.net/index.php?showtopic=16275&st=4

    ด้วยอุบายของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ การเจริญความเพียรนั้น พระพุทธองค์ทรงให้อุบายในการเจริญการเพียรไว้ในหลักอิทธิบาท ๔ อันเป็นธรรมเครื่องช่วยให้เกิดความสำเร็จว่า ความเพียร หรือ วิริยะนั้น เป็นผลจากการมีฉันทะหรือความพึงพอใจ โดยทรงวางหลักเกณฑ์ให้ฉันทะเป็นข้อแรก ลำดับต่อไปจึงเป็นวิริยะ กล่าวอีกนัยหนึ่ง หากมีความพึงพอใจ ความเพียรนั้นจะเกิดขึ้นเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบังคับให้ทำ เมื่อมีความเพียรหรือทำอยู่เนืองๆ สม่ำเสมอ จิตตะคือความตั้งใจมั่นในสิ่งที่กระทำ และวิมังสา คือความใคร่ครวญพิจารณาในธรรมก็จะเกิดเอง เป็นเองไปโดยลำดับเช่นกัน

    ใจที่ยิ้มน้อยๆ ทำให้เกิดความสดชื่นเบิกบาน อันเป็นที่ตั้งแห่งฉันทะหรือความพึงพอใจ การภาวนาด้วยใจที่ยิ้มน้อยๆ สดชื่น เบิกบาน จึงทำให้เกิดฉันทะเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสำเร็จไปตั้งแต่เริ่มต้นที่มีการภาวนาด้วยฉันทะ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ทรงเจริญสมาธิด้วยฉันทะสมาธิ และในที่สุดก็ได้ทรงแนะนำให้เจริญภาวนาด้วยอิทธิบาทภาวนา โดยทรงตรัสว่า การที่พระองค์ได้ทรงบรรลุเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะเจริญอิทธิบาท ๔

    ใจที่ยิ้มน้อยๆ จะช่วยประสานความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปในภายนอกเข้าสู่ความรู้สึกตัวทั่วถึงอันเป็นไปในภายใน กล่าวอีกนัยหนึ่งประสานความรู้สึกทางกายเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวรวมกับความรู้สึกทางใจ จนเกิดเป็นความรู้สึกตัวทั่วถึงอันเป็นไปในภายใน เมื่อใจยิ้มน้อยๆ อยู่เนืองๆ จะสัมผัสได้ว่าความรู้สึกตัวทั่วถึงอันเป็นไปในภายในจะกลายเป็นพลังงานที่เป็นกำลังความอิ่มเอิบ ทำให้เกิดการตื่นของจิต อันเป็นกำลังแก่สติให้มีการตื่นรู้มากขึ้น และความอิ่มเอิบของจิตอันเกิดจากการยิ้มน้อยๆ ก็จะทำให้จิตมีความสดชื่นเบิกบานอยู่เนืองๆ อันเป็นความสดชื่นเบิกบานที่ไปปรับสมดุลของการตื่นรู้ของสติ ให้เป็นการตื่นรู้ที่เป็นไปเองอย่างธรรมชาติสบายๆ โดยไม่จำเป็นต้องพยายามหรือตั้งใจประคองสติให้ตื่นรู้แต่อย่างใด เพราะความสดชื่นเบิกบานอันเกิดจากการยิ้มน้อยๆ นี้ จะเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องอาศัยหรือวิหารธรรมของสติ

    การใช้ความสดชื่นเบิกบานอันเกิดจากการยิ้มน้อยๆ นี้ เข้าไปสยบหรือกำราบจิตตสังขารให้สงบระงับ เมื่อผู้ปฏิบัติได้ฝึกใจยิ้มน้อยๆ สดชื่น อยู่เนืองๆ ความสดชื่นนี้นอกจากจะทำให้เกิดการตื่นรู้ของสติที่เป็นไปเองอย่างธรรมชาติสบายๆแล้ว ความสดชื่นนี้ยังทำให้เกิดความสงบที่ล้ำลึกด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความสงบของจิต หรือความระงับของจิตตสังขาร จะค่อยเกิดเอง และเป็นไปเอง เมื่อจิตใจมีความสดชื่น เบิกบานอยู่เนืองๆ

    ความสดชื่นเบิกบานทำให้เกิดการตื่น (จากภวังค์) ของสติ เมื่อมีความสดชื่นเบิกบาน และการตื่น จะทำให้สติเกิด
     

แชร์หน้านี้

Loading...