การปรารถนาพุทธภูมิ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย มุ่งเต็มใจ, 10 เมษายน 2009.

  1. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ปุพเพนิวาสานุสสติญาณกถา

    ภิกษุนึกตลอดกัป แม้เมื่อจะนึกถึงขันธ์ที่ตนเคยอาศัยในก่อน ย่อมนึกได้กระทั่งถึงสังวัฏกัปไม่น้อย วิวัฏกัปไม่น้อย สังวัฏวิวัฏกัปไม่น้อย ในบรรดากัปเหล่านี้ที่มีอยู่, นึกได้อย่างไร ? คือนึกโดยนัยว่า เราเกิดแล้วในที่โน้นเป็นต้น
    ในบทมาติกาเหล่านั้น บทมาติกาว่า เราเกิดในที่โน้น คือเราได้เกิดในภพโน้น ในกำเนิดหรือคติโน้น หรือวิญญาณฐิติโน้น หรือสัตตาวาสโน้น หรือหมู่สัตว์โน้น ในสังวัฏกัปโน้น ข้อว่า มีชื่ออย่างนี้ คือ ชื่อว่าติสสะหรือปุสสะ ข้อว่า มีโคตรอย่างนี้ คือเป็นกัจจายนโคตร หรือกัสสหโคตร คำทั้ง ๒ นี้ท่านกล่าวด้วยมุ่งถึงการระลึกถึงชื่อและโคตร


    (หน้าที่ 298)


    ของตนในภพที่ล่วงไปแล้วของภิกษุนั้น ก็ถ้าว่าในเวลานั้นต้องการจะนึกถึงวรรณสมบัติ หรือ การเลี้ยงชีพเศร้าหมอง หรือประณีต สุขหรือทุกข์มาก อายุน้อยหรือมากของตน เธอก็ย่อมนึกถึงสิ่งนั้นได้เหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีวรรณอย่างนี้ ฯลฯ มีที่สุดแห่งอายุเพียงเท่านี้ ก็ในคำเหล่านั้น คำว่า มีวรรณะอย่างนี้ คือ มีผิวขาวหรือผิวคล้ำ คำว่า มีอาหารอย่างนี้ คือ มีข้าวสาลีเนื้อและข้าวสุกเป็นอาหาร หรือว่ามีการบริโภคผลไม้เป็นอยู่ คำว่า เสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ คือ เสวยสุขและทุกข์ทางกายและใจ หรือที่มีชนิดเจือด้วย เหยื่อล่อหรือไม่มีเหยื่อล่อเป็นต้น โดยประการหลายหลาก คำว่า มีที่สุดแห่งอายุเพียงเท่านี้ คือมีที่สุด อายุประมาณ ๑๐๐ ปี หรือมีอายุตั้ง ๘๔,๐๐๐ กัปเป็นที่สุดอย่างนี้ คำว่า เรานั้นเคลื่อนจากที่นั้น แล้วเกิดในที่โน้น คือ เรานั้นเคลื่อนจากภพกำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หมู่สัตว์นั้น บังเกิดในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาส หรือหมู่สัตว์โน้นอีก คำว่า เราเกิดแม้ในที่นั้น คือต่อมาเราได้เกิดในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ สัตตาวาสหมู่สัตว์แม้นั้นอีก คำว่า มีชื่ออย่างนี้เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล
    อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุคำที่ว่า เราเกิดในที่โน้นนี้ เป็นการนึกได้ตามปรารถนาแห่งภิกษุผู้นึกขึ้นไปโดยลำดับ คำว่า เราเคลื่อนจากที่นั้น ได้แก่เป็นการพิจารณาของภิกษุผู้นึกถอยกลับ เหตุนั้นพึงทราบว่า คำว่า เราเกิดในที่โน้นนี้ ท่านกล่าวหมายถึงที่เกิดของภิกษุนั้นอันรับรองการเกิดในที่นี้ว่าเกิดในที่นี้ ส่วนคำว่า เราเกิดแม้ในที่นั้น เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงการระลึกถึงชื่อและโคตรเป็นต้น ในสถานที่บังเกิดในระหว่างแห่งอุบัตินี้ในที่นั้น คำว่า เรานั้นเคลื่อนจากที่นั้นแล้วบังเกิดในที่นี้ คือเรานั้นเคลื่อนจากฐานะที่บังเกิดรองจากภพนั้นแล้ว มาบังเกิดในสกุลกษัตริย์หรือในสกุลพราหมณ์ชื่อโน้นในภพนี้ บทว่า อิติ แปลว่า อย่างนี้ คำว่า มีอาการอุเทศ คือชื่อว่ามีอุเทศด้วยสามารถแห่งชื่อและโคตร ชื่อว่ามีอาการด้วยสามารถแห่งวรรณะเป็นต้น จริงอยู่ สัตว์อันบุคคลย่อมแสดงว่า ติสสะ กัสสปะ ดังนี้ ด้วยชื่อและโคตร ย่อมปรากฏโดยไม่เหมือนกันว่าคล้ำหรือขาว ด้วยวรรณะเป็นเหตุนั้น ชื่อและโคตรจึงชื่อว่าอุเทศ นอกจากนี้จึงชื่อว่าอาการ คำว่า นึกถึงปุพเพสันนิวาสมีอย่างต่าง ๆ นี้ มีเนื้อความชัดอยู่แล้วนั่นแล
    จบ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณกถา
    วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๑๓ อภิญญานิเทศ หน้าที่ ๒๙๖ - ๓๐๐ - วิกิซอร์ซ
     
  2. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    จุตูปปาตญาณกถา

    (หน้าที่ 299)


    จุตูปปาตญาณกถา
    เนื้อความในเรื่องความรู้ในจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายนักศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้ คำว่า เพื่อจุตูปปาตญาณ คือ เพื่อรู้การตายและการเกิด อธิบายว่า จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายที่พระโยคีรู้ได้ด้วยญาณใด ก็น้อมนำจิตเข้าไปเพื่อญาณนั้น คือ เพื่อทิพยจักษุญาณ คำว่า น้อมนำจิต คือ นำเข้าไปเฉพาะ ได้แก่นำบริกรรมจิตมุ่งเข้าไป คำว่า นั้น คือ ภิกษุผู้มีการนำจิตมุ่งไปได้ทำแล้วนั้น ก็ในคำว่า เป็นทิพย์เป็นต้น มีอธิบายว่า ชื่อว่าเป็นทิพย์เพราะเป็นเหมือนของทิพย์ คือปสาทจักษุของพวกเทพเจ้าซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจสุจริตกรรม มิได้เกลือกกลั้วด้วยดี, เสมหะ, เลือดเป็นต้น สามารถจะรับอารมณ์แม้ในที่ไกล ๆ ได้ เพราะพ้นจากอุปกิเลส เป็นปสาทจักษุทิพย์ แม้ญาณจักษุนี้ของภิกษุนั้นบังเกิดได้ด้วยกำลังแห่งวิริยภาวนา เช่นเดียวกับปสาทจักษุนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะเหมือนของทิพย์ อนึ่ง ชื่อว่า เป็นทิพย์ เพราะได้ด้วยอำนาจทิพพวิหารและเพราะตนได้อาศัยทิพพวิหาร ชื่อว่า เป็นทิพย์ แม้เพราะเหตุที่สว่างไสวมากด้วยการกำหนดถือด้วยอาโลกกสิณ ชื่อว่า เป็นทิพย์ แม้เพราะเหตุที่มีภูมิที่ไปได้มาก เพราะเห็นรูปที่อยู่ในภายนอกฝาเป็นต้นได้ชัดเจน ข้อความนั้นทั้งหมดนักศึกษาพึงทราบตามแนวแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์นั้นเถิด ญาณนั้นชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่าเห็น อนึ่ง ชื่อว่าจักษุ เพราะเป็นดังตาเหตุทำหน้าที่ของตา จักษุนั้นจัดว่าหมดจดเพราะเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิด้วยการเห็นได้ทั้งจุติทั้งอุปบัติ เพราะว่าผู้ใดเห็นแต่จุติอย่างเดียวไม่เห็นอุปบัติ ผู้นั้นย่อมยึดมั่นอุจเฉททิฏฐิ ผู้ใดเห็นแต่อุบัติอย่างเดียวไม่เห็นจุติ ผู้นั้นย่อมยึดมั่นสัสสตทิฏฐิ เพราะความเกิดปรากฏขึ้นแห่งสัตว์ใหม่ ส่วนผู้ใดเห็นทั้ง ๒ อย่าง ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นจากทิฏฐิ ๒ อย่างนั้นเสียได้ เหตุนั้นความเห็นของผู้นั้นจึงเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ
    จริงอยู่ การเห็นจุติและอุปบัติทั้ง ๒ อย่างนี้ พวกที่นับว่าเป็นโอรสพระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงเห็นได้ การเห็นนั้นท่านกล่าวว่าชื่อว่า หมดจด เพราะเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ ด้วยการเห็นทั้งจุติและอุปบัติ ตาคือญาณอันหมดจดนั้นพึงทราบว่าพ้นวิสัยของมนุษย์ธรรมดา เพราะเห็นรูปได้ไกลกว่ามนุษย์ธรรมดา หรือเพราะเห็นได้ไกลยิ่งกว่าตาเนื้อของมนุษย์


    (หน้าที่ 300)


    ธรรมดา ย่อมเห็นด้วยตาทิพย์นั้นอันหมดจดล่วงพ้นวิสัยที่มนุษย์ธรรมดาจะเห็นได้ คำว่า เห็นสัตว์ คือดูแลสัตว์เห็นได้ดุจตาเนื้อของมนุษย์ธรรมดา ในคำว่า ผู้จุติและอุปบัติอยู่นี้ หมายความว่า ในขณะจุติในขณะอุปบัติที่ใคร ๆ ไม่อาจจะเห็นได้ด้วยตาทิพย์ ก็สัตว์เหล่าใดใกล้จะจุติ คือจักจุติในบัดนี้ เหตุนั้นสัตว์เหล่านั้นท่านมีความประสงค์ว่าผู้จุติอยู่ ก็แลสัตว์เหล่าใดถือปฏิสนธิแล้ว คือ บังเกิดแล้วในบัดนี้ สัตว์เหล่านั้นท่านมีความประสงค์ว่าผู้อุปบัติอยู่ ท่านแสดงว่า เห็นสัตว์เหล่านั้นผู้จุติและอุปบัติอยู่เช่นนั้น คำว่า ผู้เลว คือถ่อย ทราม ต่ำช้า ที่คนดูหมิ่นได้ด้วยอำนาจชาติสกุลและโภคะเป็นต้นอันทราม เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยวิบากอันเผล็ดผลมาจากโมหะ คำว่า ประณีต คือที่ตรงกันข้ามจากนั้น เพราะประกอบด้วยวิบากอันเผล็ดผลมาจากอโมหะ คำว่า ผู้มีผิวพรรณดี คือผู้ประกอบด้วยผิวพรรณน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพราะประกอบด้วยวิบากอันหลั่งออกมาจากอโทสะ คำว่า ผู้มีผิวพรรณทราม คือผู้ประกอบด้วยผิวพรรณไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพราะประกอบด้วยวิบากอันหลั่งออกมาจากโทสะ เนื้อความแห่งคำทั้ง ๒ นั้นก็คือผู้มีรูปร่างงดงามและผู้มีรูปร่างขี้เหร่ คำว่า ผู้ไปดี คือไปสู่สุคติหรือเป็นคนมั่งคั่งมีทรัพย์สมบัติมากหลาย เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยวิบากอันหลั่งออกมาจากความไม่โลภ คำว่า ผู้ไปไม่ดี คือไปสู่ทุคติ หรือเป็นคนยากไร้เข็ญใจมีข้าวและน้ำอัตคัตเพราะประกอบด้วยวิบากอันหลั่งออกจากโลภะ คำว่า ผู้เข้าถึงตามกรรม คือตนเองสั่งสมกรรมใด ๆ ไว้ก็เข้าไปรับผลกรรมนั้น ๆ
    ในบทเหล่านั้น ด้วยบทเป็นต้นว่า ผู้จุติอยู่ ดังนี้ ท่านกล่าวมุ่งถึงหน้าที่ของทิพยจักษุ ส่วนบทนี้ท่านกล่าวถึงหน้าที่ของ ยถากัมมุปคญาณ คือญาณเป็นเครื่องให้รู้ถึง สัตว์ผู้เข้าไปรับผลตามกรรมที่ทำมา และลำดับแห่งการบังเกิดของญาณนั้น ดังนี้ ภิกษุในพระศาสนานี้ เจริญอาโลกกสิณมุ่งตรงต่อนรกที่อยู่ภาคใต้ ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในนรก กำลังเสวยทุกข์อย่างแสนสาหัส ก็ความเห็นอันนั้นจัดว่าเป็นหน้าที่ของทิพยจักษุนั้นนั่นแล เธอนั้นใส่ใจอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอไรไว้หนอจึงมาเสวยทุกข์นี้ ครั้นคราวนี้ญาณนั้นมีกรรมเป็นอารมณ์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นว่า เขาทำกรรมอย่างนี้ไว้ อนึ่ง ภิกษุเจริญอาโลกกสิณมุ่งตรงต่อเทวโลกเบื้องบน เห็นหมู่เทพในนันทวัน, มิสกวัน, และปารุสกวันเป็นต้น ผู้กำลังเสวยสมบัติอย่างมโหฬาร การเห็นแม้อย่างนี้จัดว่าเป็นหน้าที่ของทิพยจักษุนั้นนั่นแล
    วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๑๓ อภิญญานิเทศ หน้าที่ ๒๙๖ - ๓๐๐ - วิกิซอร์ซ

    (หน้าที่ 301)

    เธอจึงใส่ใจอย่างนี้ว่า หมู่เทพเหล่านี้ทำกรรมอะไรไว้หนอ จึงได้มาเสวยสมบัติเห็นปานนี้ ครั้นคราวนี้ญาณมีกรรมเป็นอารมณ์ย่อมเกิดปรากฏแก่เธอนั้นว่า เขาทำกรรมชื่อนี้ไว้ นี้ชื่อว่า ยถากัมมุปคญาณ สำหรับญาณนี้ไม่มีบริกรรมเป็นแผนกหนึ่ง ก็การไม่มีบริกรรมเป็นแผนกหนึ่งของญาณนี้ ฉันใด แม้อนาคตังสญาณก็ย่อมเป็นฉันนั้นนั่นแล จริงอยู่ ญาณที่เป็นบาทของทิพยจักษุนั่นแหละย่อมสำเร็จพร้อมกับทิพยจักษุทีเดียว
    วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๑๓ อภิญญานิเทศ หน้าที่ ๓๐๑ - ๓๐๕ - วิกิซอร์ซ
     
  3. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ทิพพโสตธาตุกถา

    ทิพพโสตธาตุกถา
    บรรดาคำเหล่านั้น ในคำว่า ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ นี้มีอธิบายดังต่อไปนี้
    โสตธาตุชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะเป็นเช่นเดียวกับของทิพย์ ความจริงเป็นเรื่องธรรมดาที่ธาตุคือประสาทหูของพวกเทวดาเป็นธรรมชาติที่เกิดจากสุจริตกรรม มิได้เกลือกกลั้วด้วยโทษมีน้ำดี, เสมหะ และโลหิตเป็นต้น จึงสามารถรับอารมณ์แม้ในที่ไกลได้ เพราะพ้นจากสิ่งที่เข้าไปทำให้ขุ่นมัว แม้ธาตุคือประสาทหูอันสำเร็จด้วยญาณ ซึ่งบังเกิดขึ้นได้ด้วย กำลังแห่งวิริยภาวนาของภิกษุนี้เล่า ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทิพย์ เพราะเป็นเหมือนของทิพย์ อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะพระโยคีได้ด้วยอำนาจทิพยวิหารและเพราะเหตุที่อิงอาศัยทิพยวิหารของตนชื่อว่า โสตธาตุ เพราะอรรถว่าได้ยิน และเพราะอรรถว่ามิใช่ชีวะ เป็นแต่เพียงธาตุเท่านั้น อนึ่ง ชื่อว่า โสตธาตุ แม้เพราะเป็นเพียงดัง โสตธาตุ เพราะทำกิจของโสตธาตุได้ด้วยโสตธาตุเพียงดังทิพย์นั้น คำว่า หมดจด คือบริสุทธิ์ปราศจากเครื่องเข้าไปเศร้าหมอง คำว่า ล่วงวิสัยของมนุษย์ คือล่วง ได้แก่ ดำรงอยู่ล่วงเลยหูเนื้อซึ่งเป็นวิสัยของมนุษย์ เพราะได้ยินเสียงล่วงอุปจารของมนุษย์ไป คำว่า ฟังได้ ๒ เสียง คือฟังเสียงได้ ๒ ชนิด ๒ ชนิดอะไรบ้าง ? คือเสียงทิพย์ ๑ เสียงมนุษย์ ๑ มีอธิบายว่า เสียงของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยคำว่า ฟังได้ทั้ง ๒ เสียงนี้ พึงทราบการกำหนดส่วนที่จะได้ยินเสียงดังนี้ คำว่า เสียงเหล่าใดทั้งไกลและใกล้ นั้นมีอธิบายว่า เสียงเหล่าใดอยู่ที่ไกล คือแม้จะอยู่ในจักรวาลอื่น และเสียงเหล่าใดอยู่ที่ใกล้จนชั้นที่สุดแม้แต่เสียงของสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่อยู่อาศัยในร่างกายของตน เธอย่อมได้ยินเสียงเหล่านั้นได้อย่างชัดเจนด้วยคำว่า เสียงเหล่าใดทั้งไกลและใกล้ นั้น พึงทราบการกำหนดอย่างไม่มีเขตแดน ดังนี้


    (หน้าที่ 281)


    ก็ทิพพโสตธาตุนี้ จะพึงให้เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการอย่างไร ? คือภิกษุนั้นต้องเข้าฌานที่มีอภิญญาเป็นบาท พอออกแล้วมีจิตตั้งมั่นด้วยบริกรรมสมาธิ ตอนแรก ๆ พึงนึกถึงเสียงที่หยาบ มีเสียงราชสีห์ในป่าเป็นต้น ซึ่งอยู่ในที่ไกลที่มาปรากฏทางโสตประสาทตามปกติพึงนึกถึงเสียงที่ละเอียดเป็นชั้น ๆ ไปโดยลำดับ เริ่มต้นแต่เสียงที่หยาบกว่าเขาทั้งหมดอย่างนี้ คือ เสียงระฆังในวิหาร เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงที่พวกภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยพากันท่องบ่นอยู่อย่างเต็มกำลัง เสียงที่พวกคนผู้พูดอยู่ตามปกติเช่นว่า อะไรนะขอรับ อะไรกันคุณ เป็นต้น เสียงนก เสียงลม เสียงเท้า เสียงน้ำเดือดดังคลัก ๆ เสียงใบตาลที่แห้งกรอบอยู่ที่แดด เสียงมดดำ และมดแดง พระโยคีนั้นพึงสนใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายในทิศตะวันออก ในทิศตะวันตก ในทิศเหนือทิศใต้ ในทิศเบื้องล่าง ในทิศเบื้องบน ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ พระโยคีนั้นพึงสนใจสัททนิมิตแห่งเสียงทั้งหลายทั้งที่หยาบทั้งที่ละเอียด เสียงเหล่านั้นย่อมปรากฏชัดแก่พระโยคีนั้นผู้มีจิตดำรงอยู่ตามปกติ ก็เมื่อเธอมีจิตเป็นสมาธิด้วยการบริกรรม เสียงย่อมปรากฏชัดเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเธอมนสิการถึงสัททนิมิตอยู่นั่นแล มโนทวาราวัชชนะทำเสียงเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นว่า ทิพพโสตธาตุ จักเกิดขึ้นในบัดนี้ เมื่อมโนทวาราวัชชนะนั้นดับแล้วชวนะ ๔ หรือ ๕ ดวงที่มีชวนะ ๓ หรือ ๔ ดวงข้างต้นมีกามาวจร มีชื่อว่า บริกรรม, อุปจาร, อนุโลม และโคตรภู ดวงที่ ๔ หรือ ๕ เป็นอัปปนาจิตชั้นรูปาวจร นับเข้าฌานหมวด ๔ ย่อมแล่นไป ญาณใดซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับอัปปนาจิตนั้นในอัปปนาวิถีนั้นนี้พึงทราบว่าทิพพโสตธาตุ เบื้องหน้าแต่นั้น ทิพพโสตธาตุก็ตกไปในกระแสนั้น พระโยคีเมื่อทำทิพพโสตธาตุนั้นให้เกิดขึ้น กำลังกำหนดที่ระยะเพียงชั่วองคุลีเดียวว่าจะฟังเสียงในระยะนี้แล้วพึงให้ขยาย แต่นั้นพึงกำหนดด้วยอำนาจ ๒ องคุลี ๔ องคุลี ๘ องคุลี คืบ ศอก ภายในห้องหน้ามุข ปราสาท บริเวณ สังฆาราม โคจรคาม และชนบท เป็นต้น จนตลอดถึงจักรวาล หรือกำหนดให้ยิ่งกว่านั้นก็ได้ กำหนดแล้วพึงให้ขยายออกไป พระโยคีนี้ได้บรรลุอภิญญาแล้วอย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียงแม้ที่อยู่ภายในระยะโอกาสที่ทิพพโสตธาตุญาณที่มีฌานเป็นบาทเป็นอารมณ์ถูกต้องแล้ว ก็เมื่อฟังอย่างนี้ แม้หากจะมีเสียงกึกก้องเป็นอย่างเดียวกัน


    (หน้าที่ 282)


    กับเสียงสังข์กลอง และบัณเฑาะว์เป็นต้นดังขึ้นไปจนกระทั่งพรหมโลก เมื่อมีความมุ่งหมายจะกำหนดเฉพาะเสียงเดียว เธอก็อาจจะกำหนดแยกเสียงได้ว่านี้เสียงสังข์ นี้เสียงกลองได้ทีเดียว
    จบทิพพโสตธาตุกถา
     
  4. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    เจโตปริยญาณกถา

    เจโตปริยญาณกถา
    คำว่า ด้วยเจโตปริยญาณ ในเจโตปริญาณกถานี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ ญาณชื่อว่า ปริยะ เพราะอรรถว่าไปรอบ อธิบายว่า ย่อมกำหนดด้วยญาณอันกำหนดใจของผู้อื่นได้ ชื่อว่า เจโตปริยะ ญาณนั้นด้วย กำหนดใจของผู้อื่นได้ด้วย เหตุนั้นชื่อว่า เจโตปริยญาณ อธิบายว่าเพื่อประโยชน์แก่เจโตปริยญาณนั้น คำว่า ของสัตว์อื่น คือของสัตว์พวกที่เหลือ เว้นตนเสีย แม้คำว่า แห่งบุคคลอื่นนี้ ก็มีความหมายเป็นอันเดียวกันกับบทว่าของสัตว์พวกอื่นนี้เหมือนกัน แต่ที่ท่านทำพยัญชนะให้ต่างกัน ก็ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์และด้วยความไพเราะแห่งเทศนา คำว่า กำหนดใจด้วยใจ คือ กำหนดใจเหล่านั้นของสัตว์ด้วยใจของตนเอง คำว่า รู้ชัด คือรู้ทุกสิ่งทุกประการ ด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้มีราคะเป็นต้น
    ถามว่า ก็ญาณนี้จะพึงให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
    ตอบว่า ก็ญาณนี้ย่อมสำเร็จด้วยอำนาจทิพยจักษุ ทิพยจักษุญาณนั้นเป็นบริกรรมแห่งเจโตปริยญาณนี้เอง เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเจริญอาโลกกสิณแล้วมองเห็นสีแห่งโลหิตซึ่งเป็นไปอาศัยหทัยรูปของผู้อื่นด้วยจักษุดุจทิพย์แล้ว พึงสอบสวนดูจิต ก็เมื่อใดโสมนัสจิตเป็นไป เมื่อนั้นหทัยรูปย่อมมีสีแดงเป็นเช่นเดียวกับผลไทรสุกปลั่ง เมื่อใดโทมนัสจิตเป็นไป เมื่อนั้นหทัยรูปย่อมมีสีดำเช่นเดียวกับผลหว้าสุก เมื่อใดอุเบกขาจิตเป็นไป เมื่อนั้นหทัยรูปย่อมผ่องใสเช่นเดียวกับน้ำมันงา เหตุนั้นเธอเห็นสีเลือดหัวใจผู้อื่นว่า รูปนี้มีอินทรีย์คือ โสมนัสเป็นสมุฏฐาน รูปนี้มีอินทรีย์คือโทมนัสเป็นสมุฏฐาน รูปนี้มีอินทรีย์คืออุเบกขาเป็นสมุฏฐาน ดังนี้แล้ว เมื่อจะสอบสวน พึงทำเจโตปริญาณให้ถึงความแรงกล้าเถิด แม้เมื่อเจโตปริยญาณนั้นถึงความมีกำลังแรงกล้าอย่างนี้แล้ว เธอย่อมรู้ชัดถึงกามาวจรจิตและรูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต ทั้งหมดอยู่ จึงดำเนินเข้าหาจิตอื่นนั่นแลจากจิตนั้นได้โดยลำดับแม้เว้นการดูหทัยรูป จริงอยู่ แม้คำนี้ท่านก็กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า
    ถามว่า สำหรับอรูปสมาบัติ พระโยคีต้องการจะรู้จิตของผู้อื่นจะดูหทัยรูปของใคร ? จะมองอินทรีย์อันแปลก ๆ ของใคร ?


    (หน้าที่ 283)


    ตอบว่า ไม่ต้องดูของใคร อันนี้เป็นวิสัยของท่านผู้มีฤทธิ์ คือการที่จะนึกถึงจิตในแห่งใดแห่งหนึ่ง จึงรู้จักจิต ๑๖ ประเภท ก็ถ้อยคำนี้ท่านกล่าวหมายถึงผู้ที่ไม่ได้ทำการสั่งสมไว้
    ก็ในคำเป็นต้นว่า จิตมีราคะหรือ ดังนี้ มีอธิบายว่าจิตที่สหรคตด้วยโลภมูลจิต ๘ ดวง พึงทราบว่าจิตมีราคะ จิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤตอันเป็นไปในภูมิ ๔ ที่เหลือชื่อว่าจิตที่ปราศจากราคะ ก็จิต ๔ ดวงเหล่านี้คือ จิตที่ประกอบด้วยโทมนัส ๒ ดวง จิตที่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ๑ ดวง จิตที่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ๑ ดวง ไม่ได้ทำการรวบรวมเข้าในทุกะนี้ แต่พระเถระบางพวกก็ทำการรวบรวมทั้งจิต ๔ ดวงนี้นั้นเข้าด้วย ก็จิตที่ประกอบด้วยโทมนัส ๒ ดวง ชื่อว่า จิตมีโทสะ แม้จิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปในภูมิ ๔ แม้ทั้งมวลชื่อว่า จิตที่ปราศจากโทสะ อกุศลจิต ๑๐ ดวง ที่เหลือ ไม่ได้ทำการรวบรวมเข้าในทุกะนี้ แต่พระเถระบางพวกก็ทำการรวบรวมอกุศลจิต ๑๐ ดวงนั้นเข้าด้วย ก็ในคำว่า มีโมหะ ปราศจากโมหะ นี้มีอธิบายว่า จิต ๒ ดวง คือจิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ๑ ที่สหรคตด้วย อุจธัจจะ ๑ ชื่อว่า จิตมีโมหะ ตามนัยที่เป็นไปเฉพาะ คือเป็นโมหะแท้ ๆ ไม่ปนด้วยโลภะ โทสะ ฝ่ายอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวง พึงทราบว่า จิตมีโมหะ เพราะโมหะเกิดในอกุศลทั้งปวง จิตที่เหลือชื่อว่าจิตปราศจากโมหะ ส่วนจิตที่คล้อยไปตามถิ่นเจตสิกและมิทธเจตสิกพึงทราบว่าเป็นจิตที่หดหู่ จิตที่คล้อยไปตามอุทธัจจเจตสิกพึงทราบว่าเป็นจิตที่ฟุ้งซ่าน จิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจรพึงทราบว่าเป็น มหัคคตจิต จิตที่เหลือจากนั้นพึงทราบว่ามิใช่ มหัคคตจิต จิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทุกดวง พึงทาบว่า สอุตตรจิต จิตที่เป็น โลกุตตระ พึงทราบว่าเป็น อนุตตรจิต จิตที่บรรลุ อุปจาร และ อัปปนา พึงทราบว่าเป็น จิตที่ตั้งมั่น จิตที่ไม่บรรลุถึง อุปจาร และ อัปปนา ทั้ง ๒ อย่างนั้นพึงทราบว่า จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น จิตที่บรรลุถึง ตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และ นิสสรณวิมุตติ พึงทราบว่าเป็น วิมุตติจิต จิตที่ยังไม่ถึงวิมุตติทั้ง ๕ อย่างนี้ พึงทราบว่ายังไม่เป็น วิมุตติจิต ภิกษุผู้ได้ เจโตปริยญาณ ดังที่ว่ามาทั้งหมดนี้ย่อมรู้ชัดแม้ทุกสิ่งทุกอย่างว่า จิตนี้มีราคะ ฯลฯ หรือยังไม่หลุดพ้น ดังนี้ได้

    จบ เจโตปริยญาณกถา

    วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๑๓ อภิญญานิเทศ หน้าที่ ๒๘๐ - ๒๘๕ - วิกิซอร์ซ
     
  5. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    เขตของพระพุทธเจ้า ๓

    เขตของพระพุทธเจ้า ๓
    ธรรมดาว่าเขตแห่งพระพุทธเจ้ามี ๓ คือ เขตที่ทรงอุบัติ ๑ เขตแห่งพระอาชญา ๑ เขตตามวิสัย ๑ ในบรรดาพุทธเขตทั้ง ๓ นั้น เขตที่ทรงอุบัติมีจักรวาลหมื่นหนึ่งเป็นที่สุด

    (หน้าที่ 289)

    ซึ่งเป็นเขตที่สัตว์หวั่นไหวในเพราะเหตุอัศจรรย์ทั้งหลาย มีการถือปฏิสนธิแห่งพระตถาคตเจ้าเป็นต้น เขตพระอาชญามีแสนโกฏิจักรวาลเป็นที่สุด เป็นที่ซึ่งอานุภาพแห่งพระปริตรเหล่านี้ คือ รัตนปริตร, ขันธปริตร, ธชัคคปริตร, อาฏานาฏิยปริตร และโมรปริตรดำเนินไปเขตตามวิสัยไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ ซึ่งตรัสไว้ว่า ก็หรือจะพึงหวังเท่าใดคือในที่ซึ่งพระตถาคตเจ้าจำนงสิ่งใด ๆ ก็ทรงรู้สิ่งนั้น ๆ ได้ ในพุทธเขตทั้ง ๓ เหล่านี้ดังแถลงมา เขตพระอาชญาอย่างเดียวเท่านั้นย่อมพินาศไป ก็เมื่อเขตพระอาชญานั้นพินาศไปอยู่ แม้เขตที่ทรงอุบัติก็พลอยพินาศไปด้วย และเมื่อพินาศก็พินาศร่วมกันนั่นเอง แม้เมื่อดำรงอยู่ก็ดำรงอยู่ร่วมกัน การพินาศและการดำรงอยู่ของพุทธเขตทั้ง ๒ อย่างนั้นนักศึกษาพึงทราบอย่างนี้แล


    http://th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๒_ภาคสมาธิ_ปริเฉทที่_๑๓_อภิญญานิเทศ_หน้าที่_๒๘๖_-_๒๙๐
     
  6. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]

    [​IMG]
    (หลวงพ่อสมหมาย อตฺตมโน) วัดป่าสันติกาวาส ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
    หลวงปู่สมหมาย วัดป่าสันติกาวาส กล่าวขึ้นเช้าวันพุธที่14 พฤศจิกายน2555 หลังการทอดผ้ากฐินที่วัดป่าศรีวิไล อุดรธานี เมื่อหลวงปู่คำผิว ประกาศเรียกให้หมู่คณะพุทธภูมิ(ขณะนั้นมีประมาณ5ท่าน บรรพชิต1 ฆราวาส4) ตั้งเจตนาปรารถนาพระโพธิญาณก่ิอน สงฆ์เจริญอนุโมทนากถางานบุญกุศลพิธีกฐิน

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2012
  7. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]

    หลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือแสดงธรรมที่บมจ.ทีโอทีวันที่21พย.2555นี้ ส่วนหนึ่งทำนองว่า

    คนเราทำดีเขาอิจฉาเขาก็ด่าเรา
    เขาด่า(พฤติกรรม?ความพยายาม?)ทำดีของเรา เราอดทนยืนหยัด ทำกรรมความดีต่อไปได้ เราได้ขันติบารมี

    เขาด่า(พฤติกรรม?ความพยายาม?)ทำดีของเรา เราไม่โกรธให้อภัยทานสงสารเขา ทำกรรมความดีต่อไปได้ เราได้เมตตาบารมี

    เขาด่า(พฤติกรรม?ความพยายาม?)ทำดีของเรา เราวางเฉยยืนหยัด ทำกรรมความดีต่อไปได้ เราได้อุเบกขาบารมี

    เขาด่า(พฤติกรรม?ความพยายาม?)ทำดีของเรา เรายืนหยัดไม่ท้อไม่เลิกยังคงพยายาม ทำกรรมความดีต่อไปได้ เราได้วิริยะบารมี

    เราพยายามทำงานของเราให้ถึงที่สุดให้ดีที่สุดได้เท่าที่ได้ เขาด่าเราว่าขี้เกียจ เรายืนหยัดไม่ท้อไม่เลิกยังคงพยายาม ทำกรรมความดีต่อไปได้ เราได้วิริยะบารมี
     
  8. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]
    http://dou.us/เส้นทางสู่พระโพธิญาณ/

    ถ้างั้นก็

    คนเราทำดีเขาอิจฉาเขาก็ด่าเรา
    เขาด่า(พฤติกรรม?ความพยายาม?)ทำดีของเรา เรามีสติรู้ตัว มีความรู้คิด รอบรู้ในกองสังขารความคิดความเป็นไปของกรรมการปรุงแต่งฯ กุศล อกุศล การทำความดี ดวามอิจฉา กรรมคือการด่า เห็นทุกข์กรรม เหตุแห่งทุกข์ ความดับไปของทุกข์ เส้นทางแห่งการดับไปแห่งทุกข์ บารมี10ประการ พระพุทธการกธรรม ยืนหยัดมีกุศลวิธีในการทำกรรมความดีต่อไปได้ เราได้ปัญญาบารมี

    ผิดพลาดพลั้งไปขออภัยขมาด้วยครับ

    พุทโธ โพเธยยัง มุตโต โมเจยยัง ติณโณ ตาเรยยัง
    พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ปัจจโย โหตุ
    เมื่อได้พุทธภูมิแล้วจักช่วยให้ผู้อื่นได้พุทธภูมิด้วย
    โดยดีงามเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2012
  9. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    อธิษฐานปรารถนาพระโพธิญาณ




    ข้าแต่สมเด็จองค์ทรงสวัสดิ์ ลูกตั้งสัตย์อภิวาทปรารถนา

    ผลกรรมดีที่พร่ำบำเพ็ญมา แลบุญญาครั้งนี้ชี้นำทาง

    ให้ถึงซึ่งพิศุทธิ์พุทธญาณ ในอีกกาลอันใกล้ไม่หมองหมาง

    สัพพัญญูรู้แจ้งแห่งสายกลาง เพื่อเป็นทางสิ้นกรรมนำนิพพาน

    นำเหล่าสัตว์ตัดภพจบกิเลส ฤทัยเนตรเห็นภัยในสงสาร

    เป็นยานแก้วเภตราฝ่าหมู่มาร สัตว์ไพศาลได้พึ่งถึงฝั่งธรรม


    แม้นยังเขลาเนาในห้องไตรวัฏ ปรมัตผองข้าอย่าถลำ

    ได้ช่วยโลกโศกศัลย์มหันต์กรรม ประทีปธรรมนำฝ่านาวาไกล

    กาลล่วงลับดับขันธ์พลันดวงจิต สู่ดุสิตเมืองแก้วแพรวสดใส

    ร้อยปีลุจุติลงจงเป็นไทย ขอให้ได้ถือพรตทศธรรม


    ศ.ธรรมทัสสี
    ๕ พย. ๒๕๓๒

    https://sites.google.com/site/sphrathewtheph/-34
     
  10. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    [​IMG]
    ผู้เดินตาม จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net
    ผู้เดินตาม

    สามเณรรูปหนึ่ง เดินทางไปกับอาจารย์ของตนที่เป็นพระอรหันต์ สามเณรแบกถุงย่ามเดินตามหลังอาจารย์ ระหว่างทางได้คิดตั้งความปรารถนาพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในขณะที่คิด พระอรหันต์ผู้เป็นอาจารย์ก็เรียกถุงย่ามมาถือไว้เอง แล้วให้สามเณรเดินนำหน้า ตัวท่านเองเดินตามหลังเดินไปได้สักพัก สามเณรกลับคิดว่า พุทธภูมินั้นไม่ใช่ภูมิที่จะบรรลุได้ง่ายๆ ต้องบำเพ็ญเพียรบารมีหลายอสงไขยกัลป์ กว่าจะได้ตรัสรู้ คิดท้อถอย จึงคิดปรารถนาแต่เพียงอรหัตภูมิเท่านั้น ฝ่ายพระอรหันต์ผู้อาจารย์ ก็เรียกสามเณรให้กลับมาถือย่ามเดินตามหลังท่านตามเดิม เดินไปได้อีกหน่อย สามเณรองค์นั้นก็กลับคิดว่า จะท้อถอยไปทำไม เมื่อตั้งใจมุ่งต่อพระโพธิญาณแล้วก็ต้องฝ่าฟันอุปสรรคบรรลุให้ได้ พอคิดเช่นนั้น อาจารย์ก็กลับเรียกย่ามไปถือ และให้สามเณรเดินนำหน้าอีก สามเณรผู้เป็นศิษย์ นึกแปลกใจในการกระทำของอาจารย์ จึงถามขึ้นว่า

    "ท่านอาจารย์ทำเช่นนี้ประสงค์อะไร กระผมไม่เข้าใจเลย"

    "เจ้าไม่รู้หรือว่า เมื่อเจ้าปรารถนาพระโพธิญาณ จิตเจ้าสูงและยิ่งใหญ่กว่าเรา เราได้เพียงอรหัตภูมิ แม้จะหมดอาสวะแล้วก็ตาม ในฐานะที่เราเป็นอรหันต์ จึงต้องเคารพผู้ที่มีปณิธานต่อพุทธภูมิเดินนำหน้า" อาจารย์อธิบาย

    "กระผมเป็นเพียงปุถุชน และนี่ก็เป็นเพียงความตั้งใจเท่านั้น ยังไม่ได้บรรลุสักนิด ไฉนท่านอาจารย์จึงคิดเช่นนั้น" สามเณรแย้ง

    "เจ้าอย่าดูแคลนในสิ่งที่เป็นเพียงความปรารถนา เมื่อใจเกิดธรรมย่อมเกิด เมื่อใจดับธรรมย่อมดับ อำนาจใจที่มุ่งต่อพุทธภูมิแม้เพียงชั่วขณะจิต ก็จัดว่ายิ่งใหญ่แล้ว เราจึงต้องเคารพ" ท่านอาจารย์ตอบ

    ท่านที่ชอบสาบานโปรดจำไว้ อย่าได้ดูแคลนจิตในขณะที่ท่านสาบาน พลังจิตสามารถส่งผลอย่างที่คาดไม่ถึงจริงๆ

    โดย ปรัชญาชนบท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2012
  11. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
  12. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    3. สมเด็จพระสุมังคละอุบัติ
    เมื่อศาสนาสมเด็จพระสัพพัญญูโกณฑัญญะพุทธเจ้าเสื่อมสูญไปหมดแล้ว กาลเวลาก็ล่วงมาจนสิ้นสารกัปนั้น และเวลาต่อมาจากนั้นมา โลกก็ว่างจากพระพุทธศาสนา เพราะไม่มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประกาศอมตธรรมนำสัตว์ออกจากโอฆสงสารช้านาน ต่อกาลครั้งหนึ่ง จึงมีสารมัณฑกัปบังเกิดขึ้นอีก ก็ในสารมัณฑกัปนี้ ปรากฏมีพระพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติตรัสในโลก 4 พระองค์ คือ

    1.สมเด็จพระมิ่งมงกุฏสุมังคละสัมมาสัมพุทธเจ้า

    2.สมเด็จพระมิ่งมงกุฏสุมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    3.สมเด็จพระมิ่งมงกุฏเรวตะสัมมาสัมพุทธเจ้า

    4.สมเด็จพระมิ่งมงกุฏโสภิตะสัมมาสัมพุทธเจ้า
     
  13. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ในสมัยที่สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์แรกในสารมัณฑกัปนี้ คือ ขณะที่สมเด็จพระมิ่งมงกุฎสุมังคละสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังทรงประกาศพระศาสนายังมหาชนให้ดื่มอมตธรรมคุณพิเศษนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าของพวกเราก็ได้มาอุบัติเกิดถือกำเนิดในตระกูลพรหมณ์มหาศาลมีนามอันเป็นมงคลว่า สุรุจิพราหมณ์

    อยู่มาวันหนึ่ง สุรุจิพราหมณ์ได้ออกไปถวายนมัสการและสดับธรรมีกถา ณ สำนักแห่งองค์สมเด็จพระสุมังคละสัมพุทธเจ้าบรมโลกนายกแล้ว จึงกราบทูลอาราธนาว่า

    “ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ วันพรุ่งนี้ข้าพระบาทขออาราธนาพระพุทธองค์พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวงไปรับอาหารบิณฑบาตของข้าพระบาท พระเจ้าข้า”

    สมเด็จพระสุมังคละศาสดาทรงรับอาราธนาแล้ว พราหมณ์ก็ถวายบังคมลาสู่เรือนและรำพึงว่าพัสดุสิ่งของทั้งหลายที่ตกแต่งเป็นยาคูภัตตาหารกับทั้งผ้าไตรจีวรที่จะถวายแก่พระภิกษุสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคที่อาราธนาไว้เป็นจำนวนมากก็พอจะมีถวายทั่วทุกองค์ได้ ก็แต่ว่าสถานที่ๆ จะแต่งตั้งอาสนะที่นั่งของภิกษุทั้งหลายให้เพียงพอนี่แล รู้สึกว่าจะอัตคัดคับแคบขัดข้องนัก จักทำฉันใดดี สุรุจิพราหมณ์เธอครุ่นคิดวิตกอยู่อย่างนี้ ก็เพราะว่าพระภิกษุสงฆ์สาวกของพระตถาคตเจ้าในกาลครั้งนั้นมีมากมายนัก นัยว่ามีตั้งแสนกว่ารูปขึ้นไป แต่ด้วยใจเลื่อมใสโอฬารกว้างขวาง เธอจึงนิมนต์อารารธนามาฉันที่เรือนของตนหมดทุกตนทุกรูปไม่ทันคิด มาคิดได้เอาก็เมื่อกลับถึงบ้านแล้วนั่นเอง
     
  14. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ด้วยเดชะอำนาจอภินิหารทานบารมีของพระโพธิสัตว์เจ้าก็ให้บันดาลร้อนถึงบัณฑุกัมพลสิลาอาสน์สมเด็จพระอินทราธิราชเจ้าจอมไตรตรึงษ์สวรรค์ ท้าวเธอจึงพลันตรวจดูก็ทรงรู้เหตุว่า

    “พระบรมโพธิสัตว์สุรุจิพราหมณ์ เธออาราธนาพระภิกษุสงฆ์กับพระสัพพัญญูเจ้าแล้ว บัดนี้ วิตกด้วยว่าจะตกแต่งปูลาดอาสนะให้พอเพียงแก่พระสงฆ์อันมากมายนักหนา กาลนี้ควรที่เราจะต้องลงไปช่วยสงเคราะห์ในบุญกรรมนั้น”
     
  15. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ทรงดำริดังนี้แล้ว สมเด็จพระอมรินทราธิราชจอมทวยเทพเจ้าเหล่าชาวสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ จึงจำแลงแปลงเพศเป็นนายช่างใหญ่มีมือถือขวานมายืนปรากฏอยู่ตรงหน้าพราหมณ์โพธิสัตว์ แล้วจึงทรงเอื้อนอรรถตรัสถามว่า

    “ท่านผู้เจริญ ท่านจะต้องการจ้างทำงานสิ่งใดบ้างหรือไม่”

    “ท่านรับจ้างทำงานสิ่งใดเป็นบ้างเล่า” สุรุจิพราหมณ์ถามขึ้นทั้งๆ กำลังวิตกอยู่

    “ขึ้นชื่อว่าศิลปะศาสตร์ในการช่าง สิ่งไรที่ข้าพเจ้าจะมิได้รู้ มิได้เชี่ยวชาญนั้นมิได้มี คือ การสร้างโรงร้านหรือเรือนอยู่หรือมณฑปใหญ่ ใครจะสร้างทำสิ่งใดๆ ข้าพเจ้าก็ย่อมทำได้อย่างสวยงามสิ้นทุกประการ” อินทวัฑฒกี คือ นายช่างพระอินทร์บอกความสามารถของตน

    “ถ้าเช่นนั้นก็ดีแล้ว เรามีการที่จะจ้างท่านใหทำสักอย่างหนึ่ง แต่ก็สงสัยว่าท่านจะทำไม่ได้เสร็จตามความประสงค์ของข้าพเจ้า” พราหมณ์กล่าวขึ้นตามความรู้สึกจริงใจของตนในขณะนั้น “ข้าแต่ท่านมหาพราหมณ์ การสิ่งใดของท่านมี ก็จงบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าคิดว่าจักทำให้สำเร็จตามความต้องการของท่านได้” นายช่างพระอินทร์รุกเร้าถาม
     
  16. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    สุรุจิพราหมณ์จึงว่า “ดูกรนายช่าง บัดนี้เราได้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์มีองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ประมาณแสนกว่ารูปเอาไว้ ให้มารับบิณฑบาตฉันในวันพรุ่งนี้ตอนอรุณรุ่งเช้า เราคิดว่าจะจ้างให้ท่านสร้างมณฑปใหญ่ ให้ปูลาดอาสนะถวายพระสงฆ์มากมายเห็นปานนั้น ท่านยังจะสามารถรับทำได้หรือไม่”

    “ข้าพเจ้ารับจะสร้างให้เสร็จตามความต้องการของท่านได้ แต่ว่าท่านสามารถจะให้ค่าจ้างแก่ข้าพเจ้าได้หรือ” นายช่างพระอินทร์กลับถามถึงเรื่องค่าจ้างแรงงาน

    “เอาเถิด เมื่อท่านทำได้ตามความต้องการของข้าพเจ้าแล้ว ท่านประสงค์ค่าจ้างเท่าใด ข้าพเจ้าจะไม่ขัดข้องเลย แม้แต่ชีวิตของข้าพเจ้าก็ยินดีสละให้ได้ อย่าว่าแต่ทรัพย์สมบัติที่ข้าพเจ้ามีอยู่เลย ขอให้ข้าพเจ้ามีสถานที่ๆ จะถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระภิกษุสงฆ์ตามความตั้งใจของข้าพเจ้าก็แล้วกัน” พราหมณ์กล่าวตอบ
     
  17. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    อินทวัฑฒกีก็กล่าวว่า “ดีแล้ว ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าจะรับทำเองขอท่านจงบอกสถานที่ๆ จะก่อสร้างมณฑปนั้นเถิด” เมื่อสุรุจิพราหมณ์ชี้มือไปยังบริเวณเนื้อที่อันกว้างใหญ่ของตนแห่งหนึ่ง จึงไปยืนแลดูที่บริเวณนั้นด้วยกำลังเทพศักดามหานุภาพก็บันดาลภูมิสถานบริเวณกว้างใหญ่นั้นให้มีเตียนเลี่ยนตลอดราบรื่นมีพื้นเสมอเป็นอันดี สมเด็จท้าวสักรินทโกสีย์จึงดำริว่า

    “ในภูมิสถานมีประมาณเท่านี้ มหามณฑปแล้วไปด้วยแก้วเจ็ดประการ จงบังเกิดมี ณ กาลบัดนี้”

    คราที่นั้นก็บังเกิดมหัศจรรย์ด้วยเทพนฤมิต มหามณฑปวิภูสิตสำเร็จแล้วด้วยแก้วหลังใหญ่ ก็ทำลายปฐพีผุดขึ้นมา เสาและขื่อแห่งมหามณฑปนั้นประดับสลับต้นกันแล้วไปด้วยแก้วและเงินทอง ตามเชิงชายรายรอบเขตมณฑปนั้น มีระบายตาข่ายกระดึงแก้วและทองห้อยอยู่ระยับสลับกันเป็นอันดี เวลามีลมอ่อนรำเพยพัด ก็อุบัติเสียงเสนาะศัพท์สำเนียงกระดึงดังวังเวงฟังเสียงดังเพลงทิพย์ อนึ่ง ในที่ว่างบางแห่งย่อมมีทิพย์สุคนธบุปผชาติหอมฟุ้งขจรตลบอบอวลไปทั่วมหามณฑปสถาน แล้วสมเด็จท้าวมัฆวานเทวราชจึงอธิษฐานจิตเนรมิตว่า
     
  18. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    “อาสนะอันสมควรพร้อมตั่งรองเท้าน้ำใช้น้ำฉัน จงพลันบังเกิดขึ้นภายในมณฑปนี้”

    ทรงอธิษฐานแล้วก็ทอดพระเนตรไปในมหามณฑปขณะนั้นอาสนะสงฆ์ครบจำนวนก็บังเกิดขึ้นพลันพร้อมไพบูลย์และมีตุ่มใหญ่ๆ เต็มไปด้วยน้ำใสตั้งไว้ตามมุมมหามณฑปนั้นครั้นสำเร็จสิ่งประสงค์แล้ว ก็กลับมาบอกความแก่สุรุจิพราหมณ์ผู้เป็นนายจ้าง ซึ่งบัดนี้กำลังนั่งวิตกอยู่ในเรือนด้วยคิดว่า บุรุษนายช่างคนนั้นคงทำไม่สำเร็จเสียมากกว่าเพราะตามธรรมดาต้องใช้เวลาสร้างนานเป็นเดือนเป็นปี ครั้นท้าวโกสีย์แปลงมาบอกว่า

    “ข้าแต่ท่าน บัดนี้มหามณฑปนั้น ข้าพเจ้าทำสำเร็จแล้วท่านจงไปดูก่อน เสร็จแล้วอย่าลืมย้อมกลับมาให้ค่าจ้างค่าออนแก่ข้าพเจ้าเสียก็แล้วกัน”
     
  19. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    พราหมณ์ผู้โพธิสัตว์เจ้าได้สลัดดังนั้นก็ดีใจ รีบผลุนผลันลุกขึ้นออกไปดู ครั้นเห็นประจักษ์แจ้งแก่สายตาตนก็มีความโสมนัสเป็นล้นพ้น มีกลบเต็มไปด้วยปิติ มิได้ทันจะคิดถึงสิ่งใด รีบกลับเข้าไปในเรือนเพื่อจักจ่ายทรัพย์อันเป็นค่าจ้างแก่นายช่างผู้วิเศษก็ให้เกิดเหตุอัศจรรย์ใจเป็นล้นพ้น เพราะว่าคนผู้เป็นนายช่างซึ่งทวงค่าจ้างอยู่เมื่อครู่นี้ให้มีอันเป็นอันตรธานหายไปเสียแล้ว จึงได้สติวิจารณ์ดูด้วยปัญญาก็ตระหนักแน่แก่ใจว่า

    “มหามณฑปประดับงามตระการเป็นปานนี้ มนุษย์ที่ไหนจักทำได้ นี่ชะรอยเท้าสหัสนัยย์จอมไตรตรึงษ์ทรงรู้ความวิตกหนักใจของเรา จึงทรงอุตสาหะเสด็จมากระทำความอนุเคราะห์แก่อาตมาเป็นแน่แท้” ครั้นตระหนักแน่ในใจฉะนี้ ก็มีความเลื่อมใสศรัทธาเป็นทวีตรีคูณในบุญวิบากนักหนา จึงจินตนาสืบไปว่า

    “ด้วยความงามของมหามณฑปมีความประเสริฐถึงเพียงนี้อาตมาจะถวายทานแก่พระสงฆ์คือองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเป็นประธาน แต่เพียงกาลเวลาวันเดียวเท่านั้นหาควรไม่ จำเราจักอาราธนาพระสงฆ์ถวายทานสืบไปอีก ให้ได้สักเจ็ดวันเถิด นั่นแหละจึงจะสมควร”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2012
  20. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,468
    ดำรัสดังนี้แล้ว สุรุจิพราหมณ์ผู้มีทรัพย์มหาศาลก็สั่งให้จัดแจงพัสดุสิ่งของสำหรับถวายทานเพิ่มขึ้นอีกเป็นอันมาก ได้บำเพ็ญมหาทานบริจาคแด่พระสงฆ์มากมายสุดประมาณทุกๆ วันถ้วนถึงเจ็ดวัน ครั้นถึงวันอวสานที่สุดจะเลิกแล้วนั้น สุรุจิพราหมณ์บรมโพธิสัตว์ได้จัดบำเพ็ญมหาทานเป็นพิเศษ คือ ครั้นพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวงฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยก็ให้ชำระบาตรเช็ดถูให้สะอาดดีแล้ว ก็ให้ใส่ให้เต็มด้วยน้ำมันเนย น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ทั้งแสนกว่าบาตรเป็นส่วนเภสัชทานแล้วก็จัดการถวายไตรจีวรครบผ้าบริวารอันกอปรด้วยมูลค่าเป็นอันมาก แต่ผ้าไตรจีวรที่มิสู้งามที่ถึงแก่พระภิกษุนวกะผู้บวชใหม่ สถิต ณ อาสน์สุดท้ายนั้น ก็ยังมีค่านับได้หลายตำลึง จะป่วยการกล่าวไปใย ถึงไตรจีวรที่ได้แก่พระเถระผู้ใหญ่ในสังฆมณฑลนั้นเล่า

    คราวนั้น สมเด็จพระสุมังคละบรมโลกุตมาจารย์ เมื่อจะทรงประทานภัตตานุโมทนากถา จึงทรงพิจารณาว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...