***กสินใน 1 วัน / อรูปฌาน4 ใน 1 วัน***

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย GluayNewman, 18 ธันวาคม 2011.

  1. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    เส้นทางต่างสาย จุดหมายเดียวกัน 1

    สิ่งสำคัญที่ผู้ปฏิบัติต้องรู้ก<wbr>่อนอื่นคือ รู้จักตัวเอง
    มิฉะนั้น การปฏิบัติจะยาก และขลุกขลัก
    ครูบาอาจารย์เก่งๆ ท่านจะชี้แนะแนวทางการปฏิบัติให<wbr>้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
    โดยปกติ เราจะมีจริต 2 เส้นทางใหญ่ๆสมถยานิก กับ วิปัสสนายานิก

    สมถยานิก คือผู้มีจริตฝึกโดยใช้สมาธินำ
    วิปัสสนายานิก คือผู้มีจริตใช้การฝึกสตินำ


    ถ้าเราฝึกไม่ตรงกับจริต เช่น วิปัสสนายานิกไปเน้นฝึกสมาธิ จะไม่ค่อยก้าวหน้า
    หรือสมถยานิก ไปเน้นฝีกสติ ก็จะล่าช้าเช่นกัน
    สิ่งนี้สำคัญมาก ถ้ารู้จักตัวเองแล้วการปฏิบัติจ<wbr>ะราบรื่นมาก

    อย่างไรก็ต้องฝึกทั้งสติ ทั้งสมาธิ แต่แล้วแต่ว่า จริตใครต้องเน้นอะไรมากกว่ากันค<wbr>รับ

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    คำถาม

    1 จะรู้ได้อย่างไรว่า เราเป็นจริตอะไร

    ต้องพบครูบาอาจารย์ที่ท่านเก่ง สามารถสอนให้ตรงจริตได้
    หรือมิฉะนั้น ก็ต้อง ลองดูครับ ลองปฏิบัติในแนวทางใด แนวทางหนึ่ง (อย่าพยายามปนกัน)
    ใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน ก็จะตอบตัวเองได้ว่าก้าวหน้าแค่<wbr>ไหน ถ้าไม่ค่อยก้าวหน้าก็เปลี่ยนครั<wbr>บ

    2 มักจะพบผู้บอกว่าเส้นทางของตนนั<wbr>้นถูก

    บางที ต่างจริตกัน มีกลอุบายวิธีต่างกัน อาจทำให้เกิดความหมายมั่นในเส้น<wbr>ทางตนในช่วงแรกๆ
    ทำให้มองผู้อื่นว่าเดินทางผิดได<wbr>้
    แต่ถ้าผู้ที่เข้าใจจริง เดินทางไปสุดท้ายจะมาบรรจบกันเอ<wbr>ง แล้วจะเลิกถกเถียงกัน ในที่สุดครับ

    เส้นทางต่างสาย แต่จุดหมายเดียวกัน
     
  2. happyokay

    happyokay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +447
    ขออนุโมทนาสาธุกับเจ้าของกระทู้ และทุกๆท่านที่ใฝ่ในธรรมของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ครับ
     
  3. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ธรรมะ 2 ระดับ

    ระดับที่ 1 คือธรรมะที่เป็นข้อคิดสะกิดใจ

    เช่น อย่าทำชั่ว, อย่าผิดศีล, รู้จักทำบุญ, ช่วยเหลือคนอื่น,
    ต้องมีความซื่อสัตย์. อดทน, ขยันหมั่นเพียร, มีเมตา, อย่าคบคนชั่ว.
    ให้รู้จักปล่อยวาง มันเป็นเรื่องของธรรมชาติของคนเช่นนั้นเอง ฯลฯ...
    เป็นหลักการ ทฤษฎี, Theory, เตือนให้เรามีสติ ยั้งคิดได้
    ภาษาบาลี เรียกว่า สุตมยปัญญา และจินตมัยปัญญา


    เป็นความดีในระดับที่ 1 ช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้นได้ หากรู
    ้จักปรับนำไปใช้
    แต่กระนั้นธรรมะในระดับนี้ เราเป็นคนดีแล้ว
    ก็ยังไม่ทำให้คนพ้นจากปัญหาได้จริงๆ
    ยังต้องเจอกับเรื่องราวต่างๆ ในโลก เช่น ทะเลาะกับแฟน, ไม่พอใจลูก,
    เครียดกับงาน, กังวลถึงอนาคต, ผูกโกรธคนที่ทำไม่ดีกับเรา,
    รู้สึกแย่กับเพื่อนที่หักหลัง,ทุกข์กับความเจ็บป่วย
    กลัวแก่ กลัวไม่สวย กลัวอ้วน กลัวตาย ฯลฯ


    ********************************************************



    ระดับที่ 2 คือธรรมะในระดับที่จะทำให้เราพ้นจากปัญหาต่างๆ ในชีวิต

    พ้นจากปัญหาที่กล่าวมาในขั้นต้น อยู่เหนือปัญหาทางจิตใจได้
    ธรรมะระดับนี้คือหลักปฏิบัติทางจิต ที่เรียกว่าการปฏิบัติธรรม
    เพื่อให้เข้าถึงจิตใจตนเองจริงๆ เข้าไปรู้จักและจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดกับจิตใจ
    ครูบาอาจารย์กล่าวว่า .....รู้เท่า รู้ทัน รู้กัน รู้แก้ (หมายถึงจิตใจ)


    ซึ่งก็มีหลายรูปแบบ ตามแต่ละสำนักจะมีกุศโลบายในการฝึกฝนจิตใจอย่างไร
    แต่จุดมุ่งหมายเดียวกัน คือความผาสุกที่ถาวร พ้นจากปัญหาต่างๆ ได้หมดเกลี้ยง
    แม้จะยังใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางปัญหาเหมือนเดิม
    แต่จิตใจไม่ได้ตกอยู่ ใ ต้ ปั ญ ห า
    ไม่ใช่การที่ต้องหลีกหนีไปจากสังคม ไปบวช อะไรแบบนั้นครับ
    อันนี้เรียกว่า ภาาวนามยปัญญา


    คนส่วนมากยังไม่เข้าใจตรงนี้ ยังมองภาพคำว่าปฏิบัติธรรม
    คือการแต่งชุดขาว เข้าวัด จุดธูปจุดเทียน นั่งสวดมนต์
    นั่งหลับตา เดินจงกรม
    อันนั้นเป็นเพียงเครื่องมือ หรือเทคนิค วิธีการส่งเสริมการเข้าใจจิตใจตนเอง
    หลายคนหันหลังให้การปฏิบัติธรรมเพราะไปติดภาพเหล่านี้
    หรือบางทีก็ไปเข้าใจว่าเป็นเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ ความขลัง
    หรืออะไรที่เหนือโลกครับ

    ** การทำด้วยความเข้าใจ กับ ความงมงาย ผลที่ได้ต่างกันเยอะครับ **


    เนื้อแท้ของการปฏิบัติธรรมคือการเรียนรู้ ด้วยภาวนามยปัญญา
    จนเข้าถึงจิตใจตัวเอง ให้ลึกซึ้งเรื่อยๆ
    จนถึงที่สุด จิตใจพบกับความจริงอันลึกซึ้ง
    สามารถ "วาง" ความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นในจิตใจได้
    แล้วก็พ้นจากการถูกปัญหาต่างๆ บนโลกทำร้ายจิตใจ
    ใช้ชีวตตามที่สมควร ตามปกติที่ควรจะเป็น ไม่ใช่ต้องไปอยู่ที่วัด
    ไม่ใช่ต้องทำตัวเป็นผู้ทรงศีล
    หรือเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ


    ชีวิตปกติๆ ที่อยู่บนโลกที่เร่าร้อนไปด้วยปัญหา ด้วยจิตใจที่ผาสุก
    และมีสติปัญญาในการดำรงชีวิต
    ไปจนที่สุด ถึงการข้ามพ้นแห่งความ ทุกข์เข็ญ
    และวางซึ่งความกังวลในชีวิต ...ในความเจ็บป่วย ความตาย ลงได้
    นั่นคือเป้าหมายจริงของการปฏิบัติธรรมครับ
     
  4. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ปฏิบัติ เพื่อจะ " เ อ า " หรือจะ " ป ล่ อ ย "

    เอา หรือ ปล่อย
    เป็นคำถามที่ เราควรถามตัวเองอยู่เนืองๆ นะครับ
    ธรรมชาติของมนุษย์เรา เวลาทำอะไรก็ตาม มันจะต้อง " ไ ด้ "
    มันเป็นความรู้สึกดั่งเดิมของเร<wbr>า มาแต่ไหนแต่ไร
    ...ความต้องการจะเอา....คือ โลภะนั่นเอง
    ทำอะไรก็ตาม มันต้อง ได้อะไรซักอย่าง




    พอมาปฏิบัติธรรม
    เราก็ต้องปฏิบัติให้มัน " ไ ด้ " ...จริงไหมครับ
    มันจะต้องได้อะไรบ้าง
    ได้ความสุข / ได้ความสบาย / ได้พ้นทุกข์ /ได้สติ / ได้ญาณ / ได้ญาน / ได้บรรลุธรรม /
    หรือแม้แต่ ได้ความก้าวหน้า ซักนิดหนึ่ง

    ผู้ที่แม้จะไม่ได้หวังอะไรมาก ก็ยังมีคำพูดว่า
    " ปฏิบัติ ก็ไม่ได้หวังอะไรมาก ขอแค่..........ก็พอ " (เติมเอาเองนะครับ)
    นั้นก็ยังไม่พ้นอำนาจความหวังที<wbr>่จะ " เ อ า " อะไรซักอย่างหนึ่ง




    เห็นไหมครับ มันซ่อนอยู่เบื้องหลังของความคิ<wbr>ดเรายังไง

    การปฏิบัติธรรมจริงๆ ถึงมีคำว่า ท ว น ก ร ะ แ ส
    เพราะมันขัดกับความรู้สึกแบบโลก<wbr>ๆ จริงๆ
    มันต้องกระทำด้วยจิตใจที่บริสุท<wbr>ธิ์
    ปราศจากเงื่อนงำเบื้องหลังใดๆ ทั้งสิ้น




    การจะพ้นทุกข์ได้ ต้อง" ป ล่ อ ย " ไม่ใช่ " เ อ า "


    ครูบาอาจารย์จึงย้ำให้เรา รู้เฉยๆ / รู้แล้วทิ้ง / รู้ล้วนๆ ฯลฯ
    เพราะไม่ให้โลภะตัวนี้เข้าแทรกใ<wbr>นระหว่างการปฏิบัติ
    ...ให้จิตใจบริสุทธิ์ที่สุด....<wbr>ไม่ให้มีความหวัง ความต้องการ เจืออยู่
    ซึ่งผลลัพท์ของการที่มีเบื้องหล<wbr>ังแทรกอยู่
    ก็คือยังวนเวียนอยู่ในวังวน ...เหมือนงูกินหาง




    การมีความปรารถนา ไม่ใช่สิ่งผิด
    ทุกชีวิตต้องการการพ้นทุกข์อยู่<wbr>ตามธรรมชาติ อยู่แล้ว
    แต่การกระทำ ควรป็นไปในลักษณะ " ศึ ก ษ า " ไม่ใช่ " เ อ า "
    ภาษาบาลี ก็ว่า สิกขา แปลก็คือ ศึกษา
    คือการค้นคว้าหาทางพ้นทุกข์
    ด้วยใจที่บริสุทธิ์
    ไม่ใช่จะ "เอา" ความพ้นทุกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2012
  5. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    สังขาร = ตั้งใจจะคิด

    สังขาร ที่แปลว่าความปรุงแต่ง หรือ ความคิดต่างๆ
    หลวงปู่เจือ สุภโร ท่านบอกว่า สังขาร แปลว่า ความตั้งใจที่จะคิด
    ผมเห็นจริงอย่างที่ท่านกล่าว เพราะความคิดมีทั้งที่เราตั้งใจจะคิด และไม่ตั้งใจ


    อะไรที่เราตั้งใจจะคิด แล้วมันปรุงแต่งไปเรื่อยๆ หยุดไม่ได้ นั่นคือตัวปัญหา
    แม้แต่ความคิดที่ผุดขึ้นมา ไม่ได้ตั้งใจ แต่เราไปคิดตามมันด้วยความเคยชินของจิต
    นั่นก็เป็นปัญหาอีก ...เกิดฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
    ปัญหาทั้งหมดเกิดจากความตั้งใจที่จะไปคิดตามมัน
    ...แม้แต่ความตั้งใจ ที่เกิดจากเคยชินที่จะตามความคิด
    เรียกว่าจิตมันตั้งใจเอง ...เหมือนไม่ได้ตั้งใจ แต่หยุดคิดไม่ได้



    เมื่อเกิดความคิด วิธีที่แก้ไข ผมจะเรียกว่า " กลับฐาน "
    หมายถึงผู้ที่เจริญความรู้สึกตัว ก็กลับไปรู้สึกตัว
    ผู้ที่เจริญอานาปานสติ ก็กลับไปมีสติรู้สึกถึงลมหายใจ
    ผู้ที่เจริญยุบหนอ พองหนอ ก็กลับไปเจริญยุบพอง
    ความคิดจะค่อยๆ สลายอิทธิพล และดับไปเอง...
    โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจไปข่มความคิด
    (การเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อที่จะไม่คิด เป็นการข่มความคิดนะครับ)


    อย่าไปข่มความคิดนะครับ มันจะมีผลเสียตามมา
    มันเหมือนการเก็บกดไว้ ที่เปรียบว่าหินทับหญ้า
    วันหนึ่งมันจะกลับคืนมา แรงด้วย...ผมเรียกว่า มันระเบิด
    ผู้ที่เคยข่มความคิดมาจะทราบ จะไม่ค่อยเกิดโทสะก็จริง
    แต่พอเวลาเกิดโทสะขึ้นมา จะแรงกว่าปกติครับ


    กลับฐานครับ กลับฐานไม่ใช่การข่ม หรือตัดความคิด
    แต่ความคิดจะดับไปเอง ถ้าเราหมดความตั้งใจจะไปคิด
    ตั้งใจอยู่กับฐานของเรา หมดความตั้งใจจะคิด


    รู้สึกตัวไว้ เป็นกุญแจสำคัญ
    ไม่ว่าจะฝึกอะไร ความรู้สึกตัวเป็นกุญแจสำคัญครับ
    การฝึกทุกอย่างต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
    สัมปชัญญะ = ความรู้สึกตัว
     
  6. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747

    เห็นความดับทุกข์


    ผมเคยได้ยินผู้ปฏิบัติบางคนกล่า<wbr>วว่าปฏิบัติธรรมต้องเห็นทุกข์ก่<wbr>อน
    ซึ่งผมก็เห็นด้วยครับ...
    แต่เมื่อผมกล่าวถึงการเห็นความด<wbr>ับทุกข์ เหมือนเขาจะไม่เข้าใจ
    เห็นทุกข์ กับเห็นความดับทุกข์อันไหนสำคัญ<wbr>กว่ากัน
    ถ้าเห็นทุกข์แล้วยังทุกข์อยู่ สู้เห็นความดับทุกข์เลยไม่ดีกว่<wbr>าหรือครับ

    ที่ผมกล่าวแบบนี้ เพราะทราบว่า บางคนติดอยู่กับการเห็นทุกข์
    เห็นความทุกข์มันเกิดๆ ดับๆ อยู่อย่างนั้น แล้วไม่เห็นความดับทุกข์ชัดๆ
    คือไม่ได้เน้นการเห็นความดับทุก<wbr>ข์... ไปเน้นการเห็นทุกข์
    การเห็นทุกข์ ส่วนมากก็ยังทุกข์อยู่นะครับ

    เมื่อเรารู้สึกตัว ความคิดดับ ทุกข์ก็ดับ นี่คือสิ่งที่ผมหมายถึง
    คือมาเน้นที่การดับทุกข์ ไม่ใช่เน้นที่การเห็นทุกข์
    ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในจิตใจ ไม่ต้องไปใส่ใจ มารู้สึกตัว แล้วมันจะดับ
    ไม่ต้องไปดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจ<wbr>ะเป็นอะไร ไม่ต้องไปวิเคราะห์ว่ามันมีที่ม<wbr>าอย่างไร
    ไม่ต้องดูว่ามันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ อย่างไร กลับมารู้สึกตัว มันจะค่อยๆ หมดไป ดับไป

    แบบนี้ ย่อๆ สั้นๆ กว่าไม๊ครับ ...ไม่ต้องไปดูทุกข์ ให้เกิดทุกข์ใจด้วย
    เวลาดูความทุกข์ ความทุกข์มันก็จะมาเกาะกินใจ ไม่มากก็น้อย
    สู้เราหาทางดับมันเลย ดีกว่าไม๊ครับ

    พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสไว้แล้ว บุคคลใดมีไฟใหม้ศีรษะอยู่
    ควรหาทางดับไฟนั้นเสียโดยเร็ว อย่ามัวไปหาเหตุว่า ทำไมไฟถึงใหม้

    ถ้าเห็นความดับทุกข์ได้บ่อยๆ ชำนาญแล้ว ทุกข์ปุ๊ป รู้สึกตัว ดับปั๊ป
    เราจะอยู่กับภาวะแห่งการที่ไม่ม<wbr>ีทุกข์อยู่บ่อยๆ...เรียกว่า ปกติ
    แล้วจะทราบเลย ภาวะปกติ ที่ไม่มีทุกข์นั้น ดีแค่ไหน
    ดีกว่ามีความสุขอีก เพราะความสุขเรายังต้องแบกความร<wbr>ู้สึก
    แต่ความปกติ เราไม่ต้องแบกความรู้สึกอะไรเลย<wbr> ...เบา

    มาเห็นความดับทุกข์กันเถิดครับ จะได้ไม่เสียเวลา ไม่เนิ่นช้า
     
  7. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    การปฏิบัติธรรมอย่างง่ายที่สุด คือการสร้างนิสัยใหม่
    เปลี่ยนจากหลงบ่อยๆ เป็นรู้บ่อยๆ ...ประเด็นสำคัญอยู่ตรงนี้นะครับ
    จะปฏิบัติอย่างไร มากน้อยแค่ไหน ถ้ายังเปลี่ยนนิสัยไม่ได้ เดี๋ยวกิเลสแทรกมากๆ เข้า ก็ไหลไปตามกิเลส หลงลืมการปฏิบัติอยู่ดี....
    อาจถึงขั้นเบื่อ เลิกปฏิบัติไปเลยก็ได้


    การเปลี่ยนนิสัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก กล่าวได้ว่ามากกว่า การเดินจงกรม นั่งสมาธิอีก
    ถ้าเปลี่ยนนิสัยได้แล้ว เคยชินต่อการปฏิบัติ ทุกเวลา ทุกสถานที่ที่เรานึกได้ ก็จะเป็นการปฏิบัติหมด
    ไม่ใเฉพาะเจาะจงแค่ตอน เดินจงกรม นั่งสมาธิ


    แต่การจะเปลี่ยนนิสัยได้ เป็นเรื่องไม่ง่ายสักเท่าไหร่ครับ
    ต้องเห็นประโยชน์ของการปฏิบัติจริงๆ
    ต้องเห็นว่าการปฏิบัติพัฒนาชีวิตได้จริงๆ
    ต้องอาศัยเวลาเพาะนิสัย
    เพราะฉะนั้น ถ้าปฏิบัติผิดทาง เราจะไม่เห็นตรงนี้
    นิสัยก็จะไม่เปลี่ยน...
    การปฏิบัติที่ถูก ที่ตรง จึงเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้นิสัยเปลี่ยนไปได้โดยอัตโนมัติเลยครับ
    ...เปลี่ยนหลงบ่อยๆ เป็นรู้บ่อยๆ...



    ตอนกำลังอ่านนี้ หลง หรือ รู้ ครับ
     
  8. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747

    ปัญญา

    ปัญญาในภาษาบาลี แปลว่า รู้รอบกองสังขาร
    หมายถึงรู้รอบ ทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
    รู้ทั่วๆ รู้รอบหมด รู้เฉยๆ ...หมายถึง
    -- รู้กว้างๆ ไม่ใช่รู้เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง
    -- รู้เงียบๆ ไม่ใช่รู้ไป คิดไป

    รู้ จึงไม่ใช่คิด...ตรงนี้ต้องระวัง<wbr>นะครับ
    ภาษาไทยยืมคำบาลีมาใช้ แล้วความหมายเปลี่ยนไป
    ปัญญาในภาษาไทย มักจะหมายถึงการคิด
    คิดดี คิดได้ลึกซึ้ง เรียกว่ามีปัญญา ซึ่งไม่ตรงความหมายของบาลี
    การคิด แม้จะตรงกับคำว่า จินตามยปัญญา ในภาษาบาลี
    แต่ไม่ใช่ตัวปัญญาแท้ ปัญญาที่จะพาพ้นทุกข์ได้

    รู้รอบ ตรงนี้ จึงหมายถึง อาการรู้ รู้เฉยๆ รู้เงียบๆ ปราศจากกความคิด
    ซึ่งตามธรรมชาติอาการรู้แบบนี้ม<wbr>ีอยู่แล้ว
    การที่เราเห็น ได้ยิน รู้ร้อนเย็น คิด นึก อะไรก็รู้ได้
    นั่นคืออาการรู้ ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
    เพียงเพราะเราหลงปรุงแต่งไปตามค<wbr>วามคิดนั้น การรู้จึงไม่รอบ
    ไปรู้เฉพาะสิ่งที่เราคิดปรุงแต่<wbr>งนั้นอยู่
    ไปจดจ่ออยู่กับความคิด ลืมอาการรู้ทางอายตนะอื่นๆ ไปหมด
    ปัญญาจึงไม่เกิด

    เพียงเราไม่หลงความคิด อาการรู้รอบก็มีอยู่แล้ว
    หลวงพ่อเทียน ท่านมีปรีชาญาณอันลึกซึ้ง
    ให้กลวิธีเคลื่อนไหว เพื่อให้จิตออกจากความคิด
    เมื่อออกจากความหลงไปในความคิดไ<wbr>ด้
    จิตก็จะมีอาการรู้รอบ คือมีปัญญาทางธรรม ได้เอง
    รู้ตามธรรมชาติเดิมๆ ของเราอยู่แล้ว

    และเมื่อนั้น เมื่อรู้รอบ จิตจะได้เรียนรู้ธรรมชาติจริงๆ
    เรียนรู้แบบเงียบๆ ไม่ผ่านความคิด ...รู้เฉยๆ ไม่ปรุงแต่งใดๆ
    และจะค่อยๆ เข้าใจธรรมชาติจริงๆ
    เข้าใจจริงแล้ว จะค่อยๆ เกิดการวางความยึดมั่นไปเอง
    โดยไม่ต้องไปทำอะไรเพิ่มเติมเลย<wbr>ครับ..
    แค่มีกลวิธีไม่ให้หลงไปในความคิ<wbr>ด
     
  9. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมเชิงเสวนา – "ช้อปปิ้งอย่างไร ไม่ไร้สติ"


    การช้อปฯ...อาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย
    แต่มันคือชีวิตส่วนใหญ่ของเราเลยนะครับ
    ของเล็กๆ ไม่เท่าไหร่ ถ้าเป็นของใหญ่ๆ เช่น รถ / บ้าน ล่ะ
    ถ้าตัดสินใจซื้อผิด เป็นอย่างไรครับ...มีหวังเป็นหนี้+ทุกข์ไปครึ่งชีวิตเลยก็ได้
    แน่ใจไม๊ครับ ว่าซื้อของด้วยสติปัญญา หรือหลงไหลไปกับความยั่งยุของกิเลส
    มีคำกล่าวว่า...."รายจ่าย สำคัญกว่ารายได้" ...ครับ

    พบการเจริญสติให้ทันการณ์ช้อปฯ
    พร้อมการออกกำลังกาย และกำลังจิตเพื่อสุขภาพ


    **** วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม 2555 เริ่มบ่ายโมง ****

    ห้องประชุมชั้น 3 เซเว่นอีเลฟเว่น สาขาสะพานควาย
    อยู่ติดบิ๊กซีสะพานควาย (หันหน้าเข้าบิ๊กซี เซเว่นอยู่ทางซ้าย)
    เดินเข้าทางที่จอดรถของ รพ. เปาโล ไปขึ้นบันใดด้านหลังเซเว่นนะครับ
    เดินทาง : รถไฟฟ้า BTS ลงสถานีสะพานควาย
    รถส่วนตัวจอดที่บิ๊กซี (ฟรี)


    กำหนดการ
    13.00-13.15 กล่าวปฏิสันฐาน + แนะนำตัว+ ทำความรู้จักกัน
    13.15-14.45 ช้อปปิ้งอย่างไร ไม่ไร้สติ โดย กล้วย B1
    14.45 –15.00 เบรค
    15.00 - 16.00 แชร์ประสบการณ์ พร้อมปฏิบัติร่วมกัน


    ลงชื่อเข้าร่วม และรายละเอียดสถานที่ ณ
    เข้าสู่ระบบ | Facebook


    กำหนดการอาจเปลี่ยนตามเหตุการณ์จริง เพราะยึดถือประโยชน์ของผู้เข้าร่วมเป็นหลัก
    ....ไม่มีค่าใช้จ่ายเหมือนเดิมครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2012
  10. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    จิตเดิมๆ ไม่มีอะไร


    อันที่จริง ความโลภ โกรธ หลง ไม่ได้มีอยู่แต่เดิม
    มันมีเป็นคราวๆ ไปนะครับ
    เช่นตอนนี้ ตอนกำลังอ่านอยู่นี้ ลองสังเกตุดูซิครับ
    ว่ามีความ โลภ โกรธ หลง ไหม
    ตอนนี้ โกรธได้ไม๊ ลองโกรธดูก็ได้
    ตอนนี้ โกรธได้ไหมครับ...


    กิเลส เกิดขึ้นตอนที่เกิดผัสสะ คือ ตากระทบรูป หูกระทบเสียง...
    ไปจนถึงใจนึกคิด แล้ว ไม่ รู้ สึก ตัว ...นั่นแหละครับ กิเลสเกิดตอนนั้น
    ถ้าเรารู้สึกตัวอยู่ เหมือนขณะนี้ ตาอ่านอยู่ก็รู้สึกตัว
    อยู่ในอริยาบทไหนก็รู้ นั่งอยู่ท่าไหนก็รู้ สัมผัสอย่างไร ก็รู้
    หายใจเข้าออกยาว สั้น ก็รู้ ...รู้กว้างๆ รู้ได้ทั้งหมด เบาๆ
    รู้แบบไม่เจาะจงที่ใดที่หนึ่ง...นั่นคือรู้สึกตัว


    เมื่อรู้สึกตัว กิเลสเข้าแทรกไม่ได้
    หลวงพ่อเทียนกล่าวเปรียบเทียบว่า เหมือนมีเก้าอี้อยู่หนึ่งตัว
    พอมีคนมานั่นแล้ว อีกคนหนึ่งจะมานั่งไม่ได้
    นั่นคือเมื่อรู้สึกตัวแล้ว ความคิดเข้าแทรกไม่ได้
    ความรู้สึกตัวเกิด ความคิดดับ กิเลสไม่เกิด
    แม้จะคิด... แต่ไม่หลงเข้าไปในความคิด กิเลสก็ไม่เกิด


    ธรรมชาติคนเราจึงไม่ได้มีกิเลสมาแต่เดิม
    เพียงแต่ "เผลอสติ" ไม่รู้สึกตัว กิเลสจึงเกิดได้ครับ

    เคล็ดลับสำคัญที่หลวงพ่อเทียนค้นพบ...สาธุๆ
     
  11. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    [FONT=&quot]ความตั้งใจ[/FONT][FONT=&quot] (ปรารถนา) กับ ความหวัง[/FONT]

    [FONT=&quot]ความตั้งใจ คือการมุ่งตรงต่อสิ่งนั้น[/FONT]

    [FONT=&quot]มุ่งที่จะกระทำสิ่งนั้น[/FONT]
    [FONT=&quot], ตั้งเอาไว้ในใจ[/FONT]
    [FONT=&quot]หรือเรียกว่าความปรารถนา[/FONT]


    [FONT=&quot]เมื่อเรามีความตั้งใจแล้ว มันมักจะมีความคิดปรุงแต่งเสริมเข้าไป[/FONT]

    [FONT=&quot]เสริมเข้าไป เติมลงไป เป็นธรรมชาตืมนุษย์ที่ต้องคิด[/FONT]

    [FONT=&quot]อันนั้น ถ้าไม่รู้ตรงนี้ ความตั้งใจ มันจะสร้าง ค ว า ม ห วั ง ขึ้นต่อมา[/FONT]


    [FONT=&quot]ความหวังเป็นความตั้งใจที่มีปัจจัย คือมีความคิดปรุงแต่งเสริม[/FONT]

    [FONT=&quot]เป็นความคิดทางอยากได้[/FONT]
    [FONT=&quot] / อยากให้สำเร็จ / อยากให้เป็นไปตามหวัง[/FONT]
    [FONT=&quot]อันนั้น ความโลภเข้าแทรกในจิตใจเสียแล้วครับ[/FONT]


    [FONT=&quot]ยกตัวอย่าง เช่น หวังจะเป็นคนดี [/FONT]
    [FONT=&quot] / หวังจะพ้นทุกข์[/FONT]
    [FONT=&quot]ปฏิบัติธรรมหวังความก้าวหน้า[/FONT]

    [FONT=&quot]หรือเคลื่อนไหวก็หวังจะให้รู้สึกตัว [/FONT]
    [FONT=&quot] / หวังจะให้ความคิดดับ[/FONT]
    [FONT=&quot]มันละเอียดนะครับ ความคิดแฝงตรงนี้[/FONT]

    [FONT=&quot]แอบอยู่อย่างไม่น่าเชื่อ[/FONT]

    [FONT=&quot]มารู้ตัวอีกที คือ เกิดความยินร้าย เวลาไม่สมหวังนั่นเอง[/FONT]


    [FONT=&quot]มีคำถามว่า ถ้าเราไม่หวัง เราจะดำเนินชีวิตไปเพื่ออะไร[/FONT]

    [FONT=&quot]ที่มีคำถามเช่นนี้ เพราะเราเคยชินกับการทำอะไรหวังผล[/FONT]

    [FONT=&quot]เคยชินกับการถูกความอยากเข้าแทรกในจิตตลอด[/FONT]

    [FONT=&quot]น้อยครั้งที่ทำตามความปรารถนา ด้วยใจบริสุทธิ์[/FONT]

    [FONT=&quot]ไม่ได้หวังผลอะไร[/FONT]
    [FONT=&quot] = ไม่สำเร็จก็ไม่ยินร้าย[/FONT]
    [FONT=&quot]หรือแม้สำเร็จก็ไม่ได้ยินดีอะไร[/FONT]


    [FONT=&quot]ประสบการณ์นี้น้อยคนจะเคยสัมผัสนะครับ[/FONT]


    [FONT=&quot]* * * * * * * * * * * * [/FONT]
    [FONT=&quot]* * * * * * * * * * * *[/FONT]

    [FONT=&quot]ความรู้สึกตัวเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว ติดตัวมาแต่กำเนิด[/FONT]

    [FONT=&quot]ถ้าไม่ได้เจือด้วยความคิดปรุงแต่งอะไร[/FONT]

    [FONT=&quot]ก็เป็นความปรารถนาตามธรรมชาติที่จะไปในทางดี [/FONT]

    [FONT=&quot]ไปในทางที่เป็นการพัฒนาอยู่แล้ว[/FONT]

    [FONT=&quot]ใครรู้สึกตัวได้ตามธรรมชาติบ่อยๆ จะทราบว่า [/FONT]

    [FONT=&quot]ชีวิตมีการพัฒนาได้เอง โดยปราศจากความหวัง[/FONT]

    [FONT=&quot]ไม่ต้องมีความหวัง มีแต่ความตั้งใจ[/FONT]

    [FONT=&quot]และชีวตก็พัฒนาไปในทางดี[/FONT]


    [FONT=&quot]ตั้งใจอะไรไว้ รู้สึกตัวไว้ ไม่ถูกความคิดปรุงแต่งครอบงำ[/FONT]

    [FONT=&quot]มันจะไม่เกิดความหวังครับ[/FONT]


    [FONT=&quot]เป็นประสบการณ์ที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองนะครับ[/FONT]

    [FONT=&quot]จึงจะทราบว่าความตั้งใจ หรือปรารถนาอันบริสุทธิ์[/FONT]

    [FONT=&quot]ไม่ถูกครอบงำ จนสร้างหวัง[/FONT]

    [FONT=&quot]ไม่มีความอยากแอบแฝง เป็นอย่างไร[/FONT]


    [FONT=&quot]รู้สึกตัวได้ตามธรรมชาติ ความหวังจะค่อยๆหมดจะไป[/FONT]

    [FONT=&quot]เหลือแต่ความตั้งใจ หรือ ปรารถนา[/FONT]

    [FONT=&quot]ไม่ต้องแบกภาระความยินดี ยินดร้าย กระวนกระวายจากหวัง[/FONT]

    [FONT=&quot]นั้นแหละครับ ขอให้ปฏิบัติแบบ ห ม ด ห วั ง....เทอญ[/FONT]

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
     
  12. Khathathong

    Khathathong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +472
    ขออนุโมทนากับธรรมดีๆ ที่คอยเตือนสตินะคะ อย่างที่คุณกล้วยกล่าวมา สิ่งเหล่านี้เป็นกิเลศที่ละเอียดจริงๆ กว่าจะได้รู้สึกตัวก็แทบจะล้มประดา ทำไปทำมาไม่รู้ว่าตัวเองย่ำอยู่กับที่หรือเปล่า
     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ถ้าจะบอกว่า ไม่ควรรู้ทุกข์ ผมไม่เห็นด้วย...รู้ทุกข์(ก้อทุกอย่างมันเป็นทุกข์ ทั้งนั้น ปัญจุปาทานักข์ขันธิ์ คือทุกข์)..สมมุติมีโทสะ เกิด คือทุกข์เกิดรู้ว่าทุกข์(จิตสังขาร คือโทสะเกิด)...ถึงจะเรียกว่า มีสตินั่นแหละครับ..:cool:ไม่รู้ก็ไม่มีสติ สิ
     
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    เพิ่มนิดนึงครับ...รู้เหตุ เกิด เหตุดับ(ของปัญจุปาทานักขันธิื) รู้คุณ รสอร่อย(อัสสาทะ) รู้ โทษหรืออาทีนพ (ความเร่าร้อน ความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตนที่เที่ยง)..และรู้อุบายนำออก(นิสรณะ)จากทุกข์(ปัญจุปาทานักขันธิ์)...และ พิจารณา โดยความเป็น ธาตุ ความเป็นอายตนะ ความเป็นปฎิจสมุปบาท................ส่วนถ้าคิดว่าละกิเลส นันทิ ราคะไม่ได้ ส่วนใหญ่เกิดจากความเพลินนันทิใหลตามอารมณ์ หรือ จิตผูกสัญโยคะ(สัญโยชน์)..สติ ที่เจริญจริงจริง...จะต้องมี สัมมัปธานสี่อยู่ในตัว...หรือประกอบด้วยอินทรีย์ห้า อย่างพวก วิริยะ สมาธิ เป็นต้นนะครับ:cool:
     
  15. Khathathong

    Khathathong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +472
    ตัวดิฉันเองเปรีบยเสมือนหนึ่งชาล้นถ้วย ด้วยความที่อ่านมาเยอะ สัญญาจึงมากและปฏิบัติยังไม่ถึง รู้ว่าเราไม่ควรคาดหวังอะไรมากจนเกินไป แต่ทุกๆบทเรียนจากการปฏิบัติเราต้องทำไปให้ถึงที่สุดของจุดนั้นก่อนเราถึงรู้แล้วจึงผ่านมาได้ และก่อนที่จะผ่านมาได้นั้นเราถึงได้รู้ว่าอันที่จริงแล้วสิ่งที่เราคิดว่าเราได้ละไปแล้วมันก็ยังแอบซุกอยู่ในใจของเรา มันเหมือนเป็นความหวังโดยไม่ตั้งใจ สติยังไม่ค่อยมั่นคงตามจับไม่ทันก็เกิดทุกข์โดยไม่รู้ตัว
     
  16. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ตอบคุณ paetrix ครับ

    นานๆ มีคนเข้ามคุยด้วยทีนึง ก็ดีนะครับ
    ที่ผมเคยโพสประมาณว่า คนทั่วไปรู้ทุกข์ แต่ไม่ค่อยรู้ความดับทุกข์
    ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ให้รู้ทุกข์นะครับ ผมอาจสื่อแล้วทำให้เข้าใจผิดไป


    ผมหมายถึงรู้ทุกข์ก่อน แล้วให้รีบรู้ความดับทุกข์
    หรือจริงๆ ทุกข์ ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องตั้งใจไปรู้ก็ยังได้ เพราะว่า ยังไงเวลาทุกข์เราก็รู้อยู่แล้วโดยอัตโนมัติครับ
    สิ่งที่สำคัญคือเมื่อทุกข์แล้ว ผมเห็นว่านักปฏิบัติโดยส่วนมากรู้ทุกข์ ดูทุกข์อยู่อย่างนั้น ไม่ยอมเห็นความดับทุกข์
    การดูทุกข์ เห็นทุกข์มากๆ นั้น ย่อมก่อให้เกิดความทุกข์ได้อย่างต่อเนื่อง

    มีเพื่อนผมหลายคนที่บอกว่าเวลาโกรธ ไปดูความโกรธแล้วทำไมความโกรธไม่ดับ
    ผมก็ตอบว่า เวลาโกรธ รู้แล้วว่าโกรธ อย่าไปตามดูมัน ให้กลับมารู้สึกตัว เหมือนเราหันหลังให้กับความโกรธ มันจะดับไปได้ เพราะขาดเหตุปัจจัย แบบนั้นครับ
    เป็นการปฏิบัติแบบสั้นๆ ไม่ต้องผ่านความรู้ใดมากครับ
    มีอะไรก็รู้สึกตัว สิ่งที่เกิดในจิตก็ดับ แค่นั้นเอง


    แต่พอดับไป จิตว่างแล้วจะเกิดปัญญาได้เองครับ


    ดังนั้น ไม่ใช่การไม่รู้ทุกข์นะครับ ทุกข์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วเรารู้อยู่แล้ว หากแต่เกิดแล้วให้รีบดับทุกข์ อย่ามัวแต่ดูความทุกข์อย่างเดียวครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2012
  17. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    คุณ Khathathong

    ผมเองก็เคยเป็นคนที่อ่านมาก ศึกษามากคนหนึ่ง
    ทุกวันนี้ "วาง" ตำราหมดแล้วครับ มาอยู่กับความรู้สึกตัวในปัจจุบันที่ไม่มีอะไรเลย
    ไม่มีคำพูด ไม่มีความรู้ ไม่มีความหมายใดๆ ปราศจากความเกาะเกี่ยวกับอะไรๆ

    เป็นความรู้สึกตัวล้วนๆ อยู่กับมันเท่าที่จะอยู่ได้
    ตราบใดที่เราอยู่กับความรู้สึกตัว ไม่มีอะไร ตอนนั้นความทุกข์ทำอะไรเราไม่ได้ครับ

     
  18. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..............ก็ ดี ครับ...จริงจริงเราคงไม่ได้ไปหวังให้มันดับนะครับ ยังไงมันก็ดับอยู่แล้ว อย่างเช่นเสพกามจบ มันก็ดับ...อย่างที่คุณว่า จิตมันรู้อารมณ์นั้นหรือเสพอารมณ์นั้นแล้วผูกกับสัญโยชน์นั้นหรือใหลไป เรียกว่า เกิด ตัณหา อุปาทาน ภพ(ที่ตั้ง) ชาติ(เกิด) ชรา...(เสื่อม)...แท้จริงโทษ(อาทีนพ)ของ ขันธิ์5 คือความเสื่อมและความตาย...ก็เพราะจิตมันใหลไปตามอารมณ์ที่คุณว่า จริงจริง..........ทำไมกายคตาสติถึงได้ชื่อว่าอมตะ? น่าคิดใหมละครับ(เป็นพระวจนะว่างว่างจะเอามาลง)....ผมเข้ามาเสริมคุณหน่อยนึง ตรงที่ ผู้ภาวนา จะต้องเข้าใจเหตุผลของการภาวนาหน่อย(สัมมาทิฎฐิ)...ว่าภาวนาไปทำไม..มีสติ เจริญสติปัฎฐานไปทำไม?...อย่างนึงที่ควรเห็นสักหน่อยคือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนที่เที่ยง(ไตรลักษณ์)..ของสภาพธรรมนั้นนั้น(ปัญจุปาทานักขันธิ์)...จึง อาจจะเกิด เบื่อหน่ายในขันธิ์5 (นิพพิทา)...แล้ว วิราคะ วิชชาได้ ในลำดับต่อไป:cool:
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ......วิญญาณฐีติ ก็คือ ที่ตั้งแห่งการรู้ รู้อะไรก็คือวิญญานไปรู้ใน ขันธิ์ทั้งสี่( รูป เวทนา สัญญา สังขาร)จะว่างเว้นไป มิได้มีเลย..มันจะเป็นอย่างนี้ของมันไปเป็นปัจจัย รูป-นาม..เพราะอย่างนั้น จะไม่มีเลยที่ผู้ภาวนาจะไม่รู้ "สภาพธรรม"ที่เกิด เช่น อุเบกขา ที่เกิดอยู่(ที่เรียกว่า สภาพธรรมเพราะ จะอนุโลมว่า รู้ว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล เรา เขา มีแต่สภาพธรรมที่เกิด ที่รู้ เท่านั้น).....ดังนั้น ก็ ต้องมีสติปัฎฐานตลอด...เพราะบางครั้งอาจจะไปคว้าเอา สุข เอาว่าง เอาอุเบกขามายึด(จริงจริงแล้วดี นะครับ แต่ถ้ารู้ ซ้อนไปอีกที) จึงไปอยู่ ที่ละอภิชฌา(โลภะ)และ โทมนัสออกเสียได้ จริง จริง...มันจึงอยูที่ "รู้" และ เป็นเรื่อง ของอินทรีย์ พละ แล้ว..พวก วิริยะ(ความเพียร) สติ สมาธิ ปัญญา เป็นต้นนะครับ:cool:
     
  20. GluayNewman

    GluayNewman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +747
    ถ้าสภาพของความคิดปรุงแต่งดับลงได้ ...จิตว่าง จะเห็นสภาพของธรรมตามที่คุณ Paetrix กล่าวมาได้เลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...