กฏแห่งกรรม...โดยพระพรหมคุณาภรณ์

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 17 พฤศจิกายน 2008.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    <O:p</O:p
    ข้อควรทราบบางอย่างเกี่ยวกับกุศลและอกุศล<O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    กุศลและอกุศล เป็นปัจจัยแก่กันและกันได้

    คนบางคนหรือบางคราวมีศรัทธา หรือได้บำเพ็ญทาน หรือรักษาศีลหรือเป็นมีปัญญาเป็นต้น อันเป็นกุศล แล้วเกิดความลำพองในความดีเหล่านั้น ถือเป็นเหตุยกตนข่มผู้อื่น ความลำพองก็ดี ยกตนข่มผู้อื่นก็ดี เป็นอกุศล<O:p</O:p
    อย่างนี้เรียกว่ากุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล

    บางคนบำเพ็ญสมาธิจนได้ฌานแล้วเกิดราคะคือติดใจในฌานนั้นบางคนเจริญเมตตา เพียรตั้งความปรารถนาดีมองคนในแง่ดีบางทีประสบอารมณ์ที่น่าปรารถนาเมตตานั้นเลยให้ช่องช่วยให้ราคะเกิดขึ้น
    โดยง่าย แล้วอาจตามมาด้วยอกุศลธรรมอื่นอีก เช่น ฉันทาคติเป็นต้น <O:p</O:p
    อย่างนี้เรียกว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล

    ศรัทธาเป็นกุศลธรรม ทำให้จิตใจผ่องใสและมีกำลังพุ่งแล่นแน่วไปแต่เมื่อปฏิบัติต่อศรัทธานั้นไม่แยบคายก็อาจกลายเป็นเหตุให้เกิดทิฐิและมานะยึดถือว่าของตนเท่านั้นจริงแท้ของคนอื่นมีแต่เท็จอาจถึงกับ
    ก่อความวิวาทบาดหมางเบียดเบียนกัน <O:p</O:p
    นี้เรียกว่ากุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    บางคนมีราคะ (= โลภะ) อยากไปเกิดในสวรรค์ จึงตั้งใจประพฤติปฏิบัติเป็นผู้มีศีล
    บางคนมีราคะอยากได้ความสุขสงบทางจิตใจ จึงบำเพ็ญสมาธิจนได้ฌานสมาบัติ
    เด็กบางคนอยากให้ผู้ใหญ่ชมว่าเป็นคนดี จึงพยายามประพฤตตัวให้ดีมีศีลวินัย
    นักเรียนบางคนมีราคะอยากสอบได้ดีจึงเกิดฉันทะและขยันเล่าเรียนแสวงหาความรู้
    บางคนเกิดความโกรธเผาลนตัวขึ้นแล้ว บางคราวเกิดปัญญาเข้าใจชัดถึงโทษของความโกรธนั้น
    บางคนโกรธแค้นศัตรูจึงเกิดความเห็นใจ คิดช่วยเหลือผู้อื่น
    บางคนเกิดความกลัวตายขึ้นแล้ว สำนึกได้หายตระหนี่ มีจิตใจเผื่อแผ่เสียสละ ตั้งใจช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป
    คนอีกบางคนมีความกลุ้มใจเป็นเหตุให้เกิดความศรัทธาในธรรม <O:p</O:p
    อย่างนี้เรียกว่าอกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เด็กชายวัยรุ่นคนหนึ่ง พ่อแม่เตือนไม่ให้ไปมั่วสุมกับหมู่เพื่อนอย่างไม่ระวังแต่ไม่เชื่อต่อมาถูกเพื่อนร้ายคนหนึ่งหลอกให้ติดยาเสพติดพอรู้ตัวทั้งโกรธแค้นทั้งเศร้าเสียใจขุ่นหมอง เกิดความเข้าใจในคำเตือนของพ่อแม่ และซาบซึ้งต่อความปรารถนาดีของท่าน (อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล) เป็นเหตุให้ยิ่งเสียใจประดังโกรธเกลียดชังตัวเอง (กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล)เมื่อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล หรืออกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลนั้นขณะที่กุศลเกิด จิตมีสุขภาพดีขณะที่อกุศลเกิด จิตใจเสียหายขุ่นข้องสภาพจิตดี ไม่ดีเช่นนี้ อาจเกิดสลับกันไปมาอย่างรวดเร็วจึงต้องรู้จักแยกออกเป็นแต่ละขณะๆ <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2008
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    บุญและบาป กับ กุศลและอกุศล

    บุญและบาป กับ กุศลและอกุศลบางทีใช้แทนกันได้บางทีใช้แทนกันไม่ได้
    จึงเป็นเหตุให้เกิดความสับสน ว่าความหมายของธรรม 2 คู่นี้เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรในที่นี้จะกล่าวไว้พอเป็นแนวทางความเข้าใจ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    บุญ มีความหมายตามรูปศัพท์ที่ท่านนิยมแสดงกันไว้ 2 อย่าง คือ เครื่องชำระสันดานคือชำระพื้นจิตใจให้สะอาด และว่าสิ่งที่ทำให้เกิดผลคือภพที่น่าชื่นชมนอกจากนี้บางแห่งแสดงไว้อีกความหมายหนึ่งว่า สิ่งที่ยังอัธยาศัย (ความประสงค์) ของผู้กระทำให้บริบูรณ์

    ส่วนบาปมักแปลตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่ทำให้ถึงวัฏฏทุกข์ หรือสิ่งที่ทำให้ถึงทุคติ (= สิ่งที่ทำให้ตกไปในที่ชั่ว)คำแปลสามัญของบาป คือ ลามก (ต่ำทรามหรือเลว) บางครั้งใช้เป็นคำวิเศษณ์ของวิบาก แปลว่าทุกข์ หรืออนิฏฐ์ (ไม่น่าปรารถนา) ก็ได้ (ความหมายที่กล่าวมานี้ ดู อิติ.อ. 102,199-200 ฯลฯ)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายที่นักศัพท์ศาสตร์คือนักภาษาแสดงไว้ซึ่งเป็นด้านหนึ่งเท่านั้นจึงควรทราบความหมายในแง่ของหลักธรรมแท้ๆ ด้วยเมื่อว่าโดยความหมายกว้างที่สุด บุญก็มีความหมายเท่ากับกุศลบาปก็มีความหมายเท่ากับอกุศลแต่ในการใช้จริง บุญและบาปมักปรากฏในความหมายที่จำกัดแคบและจำเพาะแง่มากกว่ากุศลและอกุศล<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    กล่าวได้ว่า บาป ใช้ในความหมายเท่ากับอกุศลมากกว่าที่บุญ ใช้ในความหมายเท่ากับกุศลแต่ที่ปรากฏบ่อยก็คือ กุศลใช้ในความหมายเท่ากับบุญความที่ว่านี้เป็นอย่างไร พึงพิจารณาต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    บาป ที่ท่านใช้ในความหมายเท่ากับอกุศล แห่งสำคัญคือในสัมมัปปธาน (= สัมมาวายามะ)ที่ว่าเพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด และเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแต่ในที่นั้นบุญไม่ได้มากับกุศลธรรมด้วย

    <O:p</O:p
    มีบาลีหลายแห่งที่พระพุทธเจ้าตรัสถึง โอปธิกบุญคือบุญที่อำนวยผลแก่เบญจขันธ์ ซึ่งได้แก่บุญที่เป็นโลกียะส่อความว่าจะต้องมีอโนปธิกบุญหรือนิรูปธิบุญ ที่เป็นโลกุตระเป็นคู่กันแต่ก็หาได้ทรงออกชื่ออโนปธิกบุญ หรือนิรูปธิบุญไว้ด้วยไม่ (ดูสํ.ส.15/923/342 ฯลฯ)มีแต่คำว่าโลกุตระบุญ ที่มาในอรรถกถาสักแห่งหนึ่ง (ที.อ.3/55) และอรรถกถาน้อยแห่งเหลือเกินจะไขความบุญว่าเท่ากับกุศลทั้งหมดเมื่อมองดูโดยทั่วไปแล้ว ก็จะเห็นว่า คำว่าบุญนั้น ท่านใช้ในความหมายของโอปธิกบุญนั่นเองคือ ถึงจะไม่ได้เขียนคำว่าโอปธิกะกำกับไว้ แต่ก็มีความหมายเท่ากับเขียนโอปธิกะอยู่ด้วยหมายความว่าตรงกับโลกียะกุศลนั่นเอง<O:p</O:p
    ข้อนี้เท่ากับพูดว่า คำว่าบุญ ที่ใช้ทั่วไป มีความหมายอยู่เพียงขั้นโลกียะเท่ากับโลกียะกุศลหรือกุศลขั้นโลกียะจึงเท่ากับเป็นความหมายส่วนหนึ่งของกุศล ไม่ครอบคลุมเท่ากับกุศลซึ่งมีโลกุตระกุศลด้วย<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    พระอรรถกถาจารย์ท่านสังเกตการใช้คำว่าบุญ แล้วแสดงความหมายไว้ให้เห็นแง่ด้านที่ละเอียดลงไปอีก ดังในคัมภีร์ปรมัตถทีปนี อรรถกถาอิติวุตตกะ (อิติ.อ.96 ) แสดงความหมายของคำว่า บุญ ไว้ 5 อย่างคือ

    1. หมายถึงผลบุญคือผลของกุศลหรือผลของความดี เช่น ในข้อความว่า เพราการสมาทานกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญย่อมเจริญเพิ่มพูน
    (ที.ปา.11/50/86)

    2. หมายถึงความประพฤติสุจริตในระดับกามาวจรและรูปวจร เช่นในคำว่า
    คนตกอยู่ในอวิชชาหากปรุงแต่งสังขารที่เป็นบุญ (= ปุญญาภิสังขาร)
    (สํ.นิ.16/191/99)

    3.หมายถึงภพที่เกิดซึ่งเป็นสุคติพิเศษ เช่นในคำว่า วิญาณที่เข้าถึงบุญ
    (สํ.นิ.16/191/99)

    4. หมายถึงกุศลเจตนา เช่นในคำว่า บุญกิริยาวัตถุ (คือเท่ากับกุศลกรรม)

    5. หมายถึงกุศลธรรมในภูมิสาม เช่นในคำว่าภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวบุญเลย
    (ขุ.อิติ.25/200/240) ข้อนี้ตรงกันกับคำว่า โลกียะกุศลนั่นเอง
    <O:p</O:p
    </O:p
    ความจริง ข้อที่ 5 เป็นความหมายหลัก ตรงกับคำอธิบายในมหานิทเทสที่ว่า กุสลาภิสังขารในไตรธาตุ (คือ กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุ ) อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม เรียกว่าบุญ ได้ในคำว่า ไม่ติดในบุญและในบาป หรือละบุญและบาป ลอยบุญลอยบาปได้แล้ว ซึ่งเป็นลักษณะจิตของพระอรหันต์ (ขุ.ม.29/121/106 ฯลฯ) <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2008
  3. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    อนุโมทนากับเจ้าของกระทู้ที่นำสาระ ดี ๆ มาให้อ่านครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ


    _____________________________<O:p</O:p
    เชิญร่วมบริจาคหนังสือ เข้าห้องสมุดชุมชนวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=130823<O:p</O:p
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบูรณะศาลาการเปรียญวัดย่านยาว<O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=153325<O:p</O:p
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    <O:p</O:p
    ส่วนในพุทธพจน์ที่ว่า บุญเป็นชื่อของความสุขบุญก็หมายถึงผลหรือวิบากที่น่าปรารถนาของกุศลกรรมคือการทำความดี (ขุ.อิติ.25/200/240 ฯลฯ)หรือในคำว่า ตายเพราะสิ้นบุญ” (บุญขัยมรณะ)ก็หมายถึงหมดผลบุญหรือสิ้นวิบากของกุศลกรรมที่ปรุงแต่งกำเนิดนั้นนั่นเอง (วิสุทธิ.2/1)
    ความหมายของคำว่า ธรรม ที่เท่ากับบุญก็คือความหมายในแง่ที่สัมพันธ์กับการไปสวรรค์เช่นเดียวกับที่อธรรมเท่ากับบาปในความหมายที่สัมพันธ์กับการไปนรก (ปฏิสํ.อ.20)<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    เป็นอันสรุปได้ว่า แม้ว่า บุญ กับ กุศล และบาปกับอกุศลจะเป็นไวพจน์กันแต่ในการใช้จริงโดยทั่วไป กุศลมีความหมายครอบคลุมที่สุดกว้างกว่าบุญคำทั้งสองจึงใช้แทนกันได้บ้าง ไม่ได้บ้าง<O:p></O:p>

    ส่วนบาป กับ อกุศลมีความหมายใกล้เคียงกันมากกว่า จึงใช้แทนกันได้บ่อยกว่าแต่กระนั้นก็มักใช้ในกรณีที่ให้ความรู้สึกที่ตรงข้ามกับความหมายแง่ต่างๆของบุญโดยนัยนี้

    -กุศล ใช้ในแง่การกระทำคือกรรมก็ได้มองลึกลงไปถึงตัวสภาวธรรมก็ได้ส่วนบุญ มักเล็งแต่ในแง่กรรมคือการกระทำดังนั้น คำว่า กุศลกรรมก็ดี อกุศลกรรมก็ดี จึงเป็นคำสามัญ
    แต่สำหรับบุญ เราพูดได้ว่า บุญกรรม (กรรมที่เป็นบุญ ไม่ใช่ บุญและกรรม)
    ถ้าพูดว่า บุญธรรม จะแปลกหู และไม่รู้สึกเป็นคำศัพท์ทางธรรม

    <O:p></O:p>
    ส่วนบาป กับ อกุศล จะพบทั้งอกุศลกรรม อกุศลธรรม บาปกรรม บาปธรรม

    -ในแง่พิเศษ บุญหมายถึงผลของบุญหรือวิบากของกุศลกรรมแม้ในกรณีที่มิได้หมายถึงผลหรือวิบากโดยตรง บุญก็ใช้ในลักษณะที่สัมพันธ์กับผลหรือให้เกิดความรู้สึกเพ่งเล็งถึงผลตอบสนองภายนอกหรือผลที่เป็นอามิสเฉพาะอย่างยิ่งความสุขและการไปเกิดในที่ดีๆ

    -ด้วยเหตุที่กล่าวมานั้น การใช้คำว่าบุญ จึงมักจำกัดอยู่เฉพาะในระดับโลกียะเป็นโอปธิกบุญคือ เป็นโลกียะกุศลเท่านั้น กรณีที่กินความถึงโลกุตระกุศลหาได้ยากอย่างยิ่ง<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    บุญ และ บาป เป็นคำที่มีใช้แพร่หลายอยู่ก่อนแล้วในพุทธกาลพระพุทธศาสนารับเข้ามาใช้ในความหมายเท่าที่ปรับเข้ากับหลักการของตนได้

    <O:p></O:p>
    ส่วนกุศล และ อกุศล เดิมใช้ในความหมายอย่างอื่น เช่น ฉลาด ชำนาญ คล่องแคล่วสบายดี มีสุขภาพ เป็นต้น พระพุทธศาสนานำเอามาบัญญัติใช้สำหรับความหมายที่ต้องการของพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ

    -และโดยนัยนี้กุศล และอกุศลจึงเป็นศัพท์วิชาการทางธรรมอย่างแท้จริง
    ส่วนบุญ และ บาปท่านมักใช้อยู่ในวงแห่งคำสอนสำหรับชาวบ้านหรือชีวิตของชาวโลก *<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p><O:p> ....</O:p>
    <O:p></O:p>
    * (พึงสังเกตว่า ในอภิธรรมปิฎกตามปกติท่านไม่ใช้คำว่าบุญและบาป
    ยกเว้นแต่บาปที่เป็นคำประกอบขยายคำว่าอกุศล และบุญในคำว่าปุญญาภิสังขาร ซึ่งมีความหมายตามบัญญัติขึ้นโดยเฉพาะ และในอรรถกถาอภิธรรม ท่านใช้บุญกิริยาวัตถุ 10 อธิบายเรื่องกามาวจรกุศลจิต (สงฺคณี อ. 260)<O:p></O:p>
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เกณฑ์วินิจฉัยกรรมดี-กรรมชั่ว

    ดังได้กล่าวแล้วว่ากรรมนิยามมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับจิตนิยาม และสังคมนิยมน์ (หรือสังคมบัญญัติ)และความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันนี้ อาจเป็นเหตุให้เกิดความสับสนได้ง่ายดังนั้นการที่จะเข้าใจเรื่องกรรมและความดีความชั่วให้ชัดเจน จะต้องแยกแยะ ขอบเขตระหว่างนิยามและนิยมน์เหล่านี้ให้ได้ก่อน<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    กรรมนิยาม อาศัย จิตนิยาม เหมือนซ้อนอยู่บนจิตนิยามนั่นเอง แต่จุดตัดแยกระหว่างกรรมนิยามกับจิตนิยามก็ชัดเจน กล่าวคือเจตนาเป็นเนื้อหาสาระและเป็นตัวทำการของกรรมนิยาม ทำให้กรรมนิยามเป็นอิสระออกมาเป็นนิยามหนึ่งต่างหาก หรือทำให้มนุษย์เป็นอิสระมีบทบาทเป็นของตนเองต่างหากจากนิยามอื่นๆ สามารถสร้างโลกแห่งเจตน์จำนงของตนเองขึ้นมาได้ จนถึงกับยกตนขึ้นเทียบเท่าหรือแข่งขันกับธรรมชาติและแบ่งแยกว่า
    ตนมีโลกแห่งการประดิษฐ์สร้างสรรค์ต่างหากจากโลกของธรรมชาติเจตนาอาศัยกลไกของจิตนิยามเป็นเครื่องมือในการทำงาน และเมื่อเจตนาทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นแล้วกระบวนการก่อผลก็ต้องอาศัยจิตนิยามนั่นแหละดำเนินไปเปรียบได้กับคนขับเรือยนต์ คนขับเหมือนเจตนาที่อยู่ฝ่ายกรรมนิยามเครื่องเรือทั้งหมดเหมือนกลไกและองค์ประกอบต่างๆของจิตที่อยู่ฝ่ายจิตนิยามคนขับต้องอาศัยเครื่องเรือแต่เครื่องเรือจะพาเรือคือชีวิตที่พร้อมด้วยร่างกายไปสู่ที่ไหนอย่างไรคนขับเป็นอิสระที่จะทำและเป็นผู้รับผิดชอบทำให้เป็นไปคนขับทั้งอาศัยและทั้งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากเรือแล้วรับผิดชอบต่อความเป็นไปของเรือที่พร้อมทั้งเครื่องเรือและตัวเรือด้วยเหมือนกรรมนิยามทั้งอาศัยและทั้งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากจิตนิยามแล้วรับผิดชอบต่อความเป็นไปของชีวิตที่พร้อมทั้งจิตและกายด้วย<O:p></O:p>

    ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกรรมนิยามกับจิตนิยามนี้ไม่สู้มีปัญหาเพราะไม่สู้มีเรื่องที่มนุษย์เอาใจใส่และไม่ว่ามนุษย์จะใส่ใจรู้เรื่องของมันหรือแม้แต่รู้ตัวหรือไม่ก็ตาม มันก็เป็นไปตามปกติของมันเรื่อยไปอย่างมองไม่เห็นตัว<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ด้านที่เป็นปัญหาสับสนอย่างมากก็ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมนิยาม กับ สังคมนิยมน์ซึ่งมักมีปัญหาเกี่ยวกับความดีและความชั่ว ว่าอะไรดี อะไรชั่วที่ว่าทำดีทำชั่วเป็นความจริงที่แท้หรือไม่ อะไรเป็นเกณฑ์แบ่งว่าอะไรดีอะไรชั่ว ในเรื่องนี้มีคนไม่น้อยพูดกันบ่อยๆว่าความดีและความชั่วเป็นเรื่องของคนหรือสังคมบัญญัติกันขึ้นการกระทำอย่างเดียวกัน สังคมถิ่นหนึ่งหรือสมัยหนึ่งว่าดีอีกถิ่นหนึ่งหรือสมัยหนึ่งว่าไม่ดีการกระทำอย่างเดียวกันสังคมบัญญัติให้สมาชิกต้องกระทำแต่อีกสังคมบัญญัติให้สมาชิกต้องละเว้นเช่น สังคมคนป่าบางพวกบัญญัติว่าฆ่าคนพวกอื่นเป็นความดีแต่สังคมที่เจริญแล้วบัญญัติว่าฆ่ามนุษย์เป็นความชั่วทั้งนั้น
    บางศาสนาบัญญัติว่าฆ่าสัตว์ที่เป็นอาหารไม่บาป
    บางศาสนาสอนว่าการเบียดเบียนสัตว์ไม่ว่าชนิดใดไม่ดีทั้งนั้น
    สังคมบางถิ่นบัญญัติว่าหญิงมีสามีมากหลายได้เป็นความดี
    สังคมบางถิ่นว่าหญิงดีต้องมีสามีเดียว ถ้าให้ดียิ่งขึ้นเวลาสามีตายต้องโดดเข้าเผาตัวตาย
    ตามสามีไปในกองไฟที่เผาศพสามีด้วย
    บางสังคมถือว่าเด็กต้องเคารพต่อผู้สูงอายุกว่าและต้องเชื่อฟังไม่โต้เถียงมิฉะนั้นเป็นการไม่ดี
    อีกบางสังคมถือว่าการเคารพกันไม่เกี่ยวกับวัยและทุกคนควรถกเถียงหาเหตุผลกันดังนี้เป็นต้น<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    คำที่ว่าความดีความชั่ว เป็นเรื่องของมนุษย์และสังคมมนุษย์สมมุติปัญญัติกันขึ้นมาเองนี้เป็นความจริงอยู่มากทีเดียวแต่ถึงแม้จะเป็นจริงอย่างนั้นก็ไม่มาเกี่ยวข้องในแง่ที่จะกระทบกระเทือน
    ต่อกรรมนิยามแต่ประการใด และก็ไม่น่าจะต้องเอามาสับสนกับเรื่องกรรมนิยามด้วย
    เรื่องความดีความชั่วที่เป็นบัญญัติของสังคมก็เป็นเรื่องของบัญญัติสังคมหรือสังคมนิยมน์
    เรื่องความดีความชั่วหรือว่าให้ถูกคือกุศลและอกุศลที่เป็นเรื่องของกรรมนิยามก็เป็นเรื่องของกรรมนิยาม แม้ทั้งสองอย่างนี้
    จะสัมพันธ์กันแต่ก็เป็นคนละเรื่องกัน มีจุดตัดแยกระหว่างกันชัดเจนความสับสนเกิดจากการนำเอาความดีความชั่วของสังคมนิยมน์ไปปะปนกับความดีความชั่วคือกุศลและอกุศลของกรรมนิยาม ที่เป็นคนละแดนกันและไม่รู้จุดตัดแยกที่ถูกต้อง
    <O:p</O:p
    ขอย้ำว่า ความดีความชั่วที่เป็นบัญญัติของสังคม ก็เป็นเรื่องของสังคมอยู่ในขอบเขตของสังคมนิยมน์
    กุศล อกุศลที่เป็นคุณสมบัติของกรรมก็เป็นเรื่องของกรรมอยู่ในกรรมนิยาม เป็นเรื่องต่างหากกัน
    แต่สัมพันธ์กันสิ่งที่เป็นทั้งตัวการสร้างสัมพันธ์และเป็นทั้งจุดตัดแยกระหว่างกันของนิยามและนิยมน์ทั้งสองนี้ ก็เช่นเดียวกับในกรณีระหว่างกรรมนิยามกับจิตนิยาม คือได้เจตนาหรือเจตน์จำนงนั่นเอง เรื่องนี้เป็นอย่างไรขอให้ช่วยกันพิจารณาต่อไป<O:p</O:p
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    <O:p</O:p
    สิ่งที่สังคมบัญญัติ เมื่อมองจากแง่ของกรรมนิยาม อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

    1. สิ่งที่บัญญัตินั้นไม่เกี่ยวกับกุศลและอกุศลในกรรมนิยามโดยตรง แต่สังคมบัญญัติขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งของสังคมเอง เช่นเพื่อให้คนทั้งหลายในสังคมนั้นอยู่ร่วมกันด้วยดี มีความสงบสุขเป็นทำนองข้อตกลงหรือพันธะสัญญาระหว่างกันในกรณีเช่นนี้สิ่งที่บัญญัตินั้นอาจเป็นเครื่องช่วยให้สังคมอยู่ดีมีความสงบสุขได้จริงหรืออาจไม่จริงก็ได้ อาจเป็นประโยชน์แก่สังคมจริงหรืออาจเป็นโทษก็ได้ทั้งนี้แล้วแต่ว่าข้อกำหนดนั้นได้บัญญัติกันขึ้นมาด้วยความรู้ความเข้าใจกว้างขวางรอบคอบเพียงพอหรือไม่ หรือว่า คนที่ทำหน้าที่บัญญัติมีความสุจริตใจหรือไม่เป็นต้น
    <O:p></O:p>
    บัญญัตินี้มาในรูปต่างๆ อาจเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดจนกฎหมาย ดีหรือชั่วในกรณีอย่างนี้
    เป็นเรื่องของสังคมนิยมน์อาจเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาและแตกต่างกันไปนานัปการแต่จะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอย่างไร ก็ไม่ใช่เรื่องของกรรมนิยามจะต้องแยกไว้ต่างหากไม่ควรเอามาปนเปสับสนและเมื่อคนใดฝ่าฝืนละเมิดบัญญัตินั้น สังคมจะลงโทษอย่างไรก็เป็นเรื่องสังคมนิยมน์ ไม่ใช่เรื่องของกรรมนิยามให้แยกออกไปอย่างนี้เสียส่วนหนึ่งก่อน <O:p</O:pต่อจากนี้จึงพิจารณาส่วนที่บัญญัติของสังคมนิยมน์นั้นก้าวเข้ามาเกี่ยวข้องกับขอบเขตของกรรมนิยาม กล่าวคือ เมื่อคนในสังคมยอมรับบัญญัตินั้นกันแล้วไม่ว่าบัญญัตินั้นจะเป็นอย่างไรจะดีงามหรือเป็นประโยชน์แท้จริงหรือไม่ก็ตามในเวลาที่คนผู้ใดผู้หนึ่งในสังคมนั้นจะไม่ปฏิบัติตามจะฝ่าฝืนหรือละเมิดบัญญัตินั้นเขาจะเกิดมีเจตนาที่จะฝ่าฝืนละเมิดหรือไม่ปฏิบัติตามขึ้นมาทันที-

    (ที่ว่านี้ เป็นการพิจารณาชั้นเดียวก่อน ในบางกรณีเรื่องอาจซับซ้อนกว่านี้ได้
    โดยมีองค์ประกอบอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่นปัญญา ที่จะยอมรับหรือไม่ อย่างไรซึ่งมีผลต่อเจตนาทำให้เป็นเจตนาละเมิดหรือไม่ อ่อนหรือแก่อย่างไรอันจะต้องวิเคราะห์กันอีกชั้นหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตามเมื่อคิดนึกขึ้นมาก็เป็นอันต้องมีเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งและมีผลต่อชีวิตจิตใจทุกทีไป)

    และเขาก็จะตระหนักรู้ต่อเจตนาของเขานั้นอย่างไม่อาจปิดบัง หรือหลอกตนเองได้ เจตนานี้แหละ คือ จุดเริ่มต้นของกรรมนิยามและเป็นเรื่องของกรรมนิยาม
    สังคมหลายแห่งอาจพยายามสืบเอาเจตนานี้ไปประกอบการพิจารณาในการตัดสินลงโทษด้วยว่า เขาผู้นั้นทำการละเมิดด้วยเจตนาหรือไม่แต่นั้นก็เป็นเรื่องของสังคมนิยมน์ แสดงว่าสังคมนั้นฉลาดรู้จักถือเอาประโยชน์จากกรรมนิยามไปใช้ในทางสังคมไม่ใช่เรื่องของกรรมนิยาม

    ส่วนในเรื่องของกรรมนิยามเองนั้นไม่ว่าสังคมจะสืบสวนเอาเจตนานั้นไปใช้หรือไม่หรือจะได้ล่วงรู้ว่าได้มีการละเมิดเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตามกรรมนิยามก็ได้เริ่มทำงานของมันตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเกิดมีเจตนาและใช้เจตนาทำการล่วงละเมิด เป็นต้นไป กล่าว คือ กระบวนการก่อวิบาก (ผล) ได้เริ่มดำเนินและบุคคลนั้นเริ่มได้รับผลของกรรมตั้งแต่บัดนั้นไปจะเห็นได้ว่าในความเป็นไปเช่นนี้เรื่องที่ว่าบัญญัติของสังคมนั้นจะดีหรือชั่วจริงหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาในแง่ของสังคมนิยมน์ไป ไม่เกี่ยวข้องกับกรรมนิยามโดยตรง

    กรรมนิยามเกี่ยวข้องเพียงการรับรู้และใจยอมรับอย่างใดอย่างหนึ่งต่อข้อกำหนดตามที่สังคมบัญญัติไว้นั้น และดำเนินจากจุดเริ่มที่จิตมีกิจกรรมต่อข้อกำหนดนั้น คือเริ่มจากเกิดเจตนา เป็นต้นไปเมื่อจัดเข้าในระบบชีวิตทางธรรม ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องในขั้นศีล และนี้เป็นจุดที่กฎเกณฑ์ของมนุษย์เข้ามาเกี่ยวพันกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติซึ่งจะต้องแยกขอบเขตกันให้ดี <O:p</O:pข้อที่บัญญัติว่าดี หรือชั่วของสังคม จะเป็นของแท้จริงหรือไม่เป็นเรื่องของสังคมนิยมน์ ไม่เกี่ยวกับกรรมนิยามโดยตรง หมายความว่ายังมีแง่ที่เกี่ยวข้องโดยอ้อมได้ เช่นสังคมถือข้อปฏิบัติกันมาอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งดีงามถูกต้องทุกคนต้องปฏิบัติ

    ต่อมาเกิดผู้มีปัญญาคนหนึ่งมองเห็นว่าข้อปฏิบัตินั้นไม่ดีจริง ไม่เป็นประโยชน์หรือถึงกับเป็นผลร้ายแก่สังคมนั้นบุคคลผู้นั้นอาจเพียรพยายามชี้แจงให้ชนร่วมสังคมทั้งหลายเข้าใจตามพยายามแก้ข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้นั้นและอาจถึงกับไม่ยอมทำตามข้อปฏิบัตินั้นเสียทีเดียวในกรณีนี้การกระทำของบุคคลผู้นั้น มิใช่เกิดจากเจตนาขุ่นมัวของผู้ที่จะละเมิดเหมือนอย่างในกรณีก่อนแต่เกิดจากเจตนาอันประกอบด้วยปัญญาของผู้ที่จะแก้ไขเพื่อประโยชน์สุขของมนุษย์ทั้งหลายเป็นต้น <O:p</O:pเนื้อหาที่จะเป็นไปในกรรมนิยาม จึงไม่เหมือนกันสุดแต่คุณสมบัติของเจตนานั้นแต่มีข้อสำทับว่าเจตนาที่กระทำนั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม ผู้กระทำย่อมรู้ตระหนักตามที่มันเป็นและเขาจะต้องรับผลในแง่ของกรรมนิยามตามเจตนานั้นเขาอาจปิดบัง
    และหลอกสังคมได้ แต่ไม่อาจปิดบังใจตนเองหรือหลอกกฎธรรมชาติได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พูดอย่างสั้นๆ ตัวกำหนดในกรรมนิยาม อยู่ที่ว่าเจตนาเป็นกุศล หรือเป็นอกุศลนั่นเองเมื่อว่าโดยทั่วไป
    หรือสำหรับกรณีทั่วไปการไม่ปฏิบัติตามบัญญัติอย่างใดอย่างหนึ่งของสังคม จะชื่อว่าไม่เป็นการฝ่าฝืน
    หรือละเมิดและไม่เป็นไปด้วยเจตนาที่จะละเมิดก็ต่อเมื่อสังคมนั้นได้ตกลงพร้อมใจกันยกเลิกบัญญัตินั้นแล้วหรือยอมรับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบัญญัตินั้นแล้ว
    พูดอีกภาษาหนึ่งว่าต่อเมื่อนั้น จึงจะไม่เป็นการเสียความซื่อสัตย์ หรือ ทรยศต่อสัญญาประชาคม<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ความที่ว่ามานี้ พอจะอธิบายได้ด้วยตัวอย่างง่ายๆสมมุติว่าคนสองคนอยู่ร่วมกัน เพื่อให้การอยู่ร่วมกันนั้นเป็นไปด้วยดีอำนวยความสุขและเกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของทั้งสองฝ่ายเขาจึงได้วางกติกากันไว้เช่นว่า เขาทั้งสองทำงานคนละแห่งกลับถึงบ้านไม่พร้อมกันแต่ควรจะรับประทานอาหารเย็น 19.00 น.บรรดาเขาทั้งสองนั้น คนหนึ่งชอบแมวไม่ชอบสุนัข อีกคนหนึ่งชอบสุนัขไม่ชอบแมว เพื่อความสงบสุขให้ถือว่าการนำสัตว์เลี้ยงใดๆเข้ามาในบ้านเป็นความไม่ดีงามไม่สมควรเมื่อตกลงวางกติกากันอย่างนี้แล้วถ้าเขาคนใดคนหนึ่งจะทำการใดที่ไม่เป็นไปตามกติกานั้นเจตนาที่จะละเมิดก็ย่อมเกิดขึ้น และกรรมก็เกิดขึ้นตามกรรมนิยามทั้งๆที่เมื่อว่าโดยสภาวะแล้ว การรับประทานอาหารเย็น 19.00 น.ก็ดีการนำสัตว์เลี้ยง เข้ามาในบ้าน
    ก็ดีจะเป็นความดีหรือความชั่วโดยตัวของมันเองก็หาไม่
    <O:p</O:p
    คนคู่อื่นอาจวางกติกาที่ตรงข้ามจากนี้ก็ได้และในกรณีที่ต่อมาคนใดคนหนึ่งในเขาทั้งสองนั้นพิจารณาเห็นว่ากติกาที่ได้วางไว้ไม่เป็นไปเพื่อผลดีแก่ชีวิตร่วมกันของเขาทั้งสองเขาก็จะต้องยกขึ้นมาพูดให้ตกลงยกเลิก หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงกติกานั้นก่อนการที่จะไม่ปฏิบัติตามของเขาจึงจะเป็นไปได้โดยไม่ประกอบด้วยเจตนาที่จะละเมิดหรือฝ่าฝืนวินัยที่นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของศีลก็เป็นไปในลักษณะอย่างนี้

    เรื่องความดีความชั่ว ความผิดความถูกที่เป็นบัญญัติอันไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสังคมกับความเป็นไปแห่งกุศลและอกุศลอันแน่นอนของกรรมนิยาม มีขอบเขตที่แยกกันได้และมีความสัมพันธ์เนื่องถึงกัน อันพึงเข้าใจได้โดยนัยนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...