กฎแห่งกรรม...กับ...คลื่นแม่เหล็กธรรมชาติ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ไม้บรรทัด, 25 เมษายน 2009.

  1. yutkanlaya

    yutkanlaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    865
    ค่าพลัง:
    +4,403
    ขอให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เจริญธรรมด้วยปัญญา ในวันเข้าพรรษานี้ด้วย เทอญ
     
  2. ไม้บรรทัด

    ไม้บรรทัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +293
    หลักกรรม

    หลักกรรม



    ท่านอาจารย์พระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต ท่านเป็นห่วงว่าชาวพุทธจะสับสนในหลักกรรม ท่านแจกแจงไว้ในหนังสือพุทธธรรมฉบับเดิม ถึง 3 ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ ที่ต้องแยกออกจากหลักกรรม

    1. ปุพเพกตวาท...การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นกรรมเก่า

    2. อิศวรนิรมิตวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นเพราะการบันดาล ของเทพผู้เป็นใหญ่

    3. อเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย

    มีพระพุทธพจน์เกี่ยวกับหลักกรรมในแง่กฎแห่งสภาวธรรม ว่า

    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย บุคคลจึงปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร ขึ้นเองบ้าง เนื่องจากตัวการอื่นบ้าง โดยรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง

    พระพุทธพจน์นี้ปฏิเสธทฤษฎีลัทธิสุขทุกข์ตนทำเอง และ ทฤษฎีสุขทุกข์ตัวการอื่นทำ

    เป็นการย้ำให้มองเห็นกรรมในฐานะกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ตนเองก็ดี ผู้อื่นก็ดี จะมีส่วนเกี่ยวข้องแค่ไหนเพียงใด ย่อมต้องพิจารณา ความเป็นเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปในกระบวนการ

    มิใช่พูดขาดลงไปง่ายๆในทันที

    อีกพุทธพจน์ ย้ำความเป็นอันเดียวกัน

    ดูกร สิวกะ เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ เกิดจากความแปรปรวนแห่งอุตุก็มี...เกิดจากการบริหารตนไม่สม่ำเสมอก็มี...เกิดจากถูกทำร้ายก็มี

    เกิดจากผลกรรมก็มี

    พุทธพจน์เหล่านี้ป้องกันความเห็นที่แล่นไปไกลเกินไป จนมองเห็นความหมายของกรรมแต่ในแง่ของกรรมเก่า กลายเป็นคนนั่งนอนรอคอยผลกรรมเก่า สุดแต่จะบันดาลให้เป็นไป

    ไม่คิดแก้ไขปรับปรุงตนเอง กลายเป็นความเห็นผิดอย่างร้ายแรง

    จะเห็นได้ชัดด้วยว่า ในพระพุทธพจน์นี้ พระพุทธเจ้าทรง ถือความเพียรพยายามเป็นเกณฑ์ตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมของหลักกรรม มิได้ปฏิเสธกรรมเก่า

    เพราะกรรมเก่าก็ย่อมมีส่วนอยู่ในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย และย่อมมีผลต่อปัจจุบัน


    มีพระพุทธพจน์อีกว่า...ภิกษุทั้งหลาย เจตนา (นั่นเอง) เราเรียกว่ากรรม บุคคลใดจงใจแล้ว จึงกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

    สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตัวเอง เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ทรามและประณีต

    บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ผู้ทำดี ย่อมได้ดี ผู้ทำชั่ว ย่อมได้ชั่ว

    คนพาลมีปัญญาทราม ย่อมทำกับตนเองเหมือนเป็นศัตรู ย่อมทำกรรมชั่วอันให้ผลเผ็ดร้อน บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนภายหลัง มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่

    เสวยผลแห่งกรรมใด กรรมนั้นทำแล้ว ไม่ดีเลย

    คนพาลมีกรรมดำ ถึงจะแล่นไปยัง (แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ) แม่น้ำพาหุกา ท่าน้ำอธิกักกะ ท่าน้ำคยา แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหุมดี เป็นนิตย์ ก็บริสุทธิ์ไม่ได้

    แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ หรือแม่น้ำพาหุกา จักทำ อะไรได้

    จะชำระนรชนผู้มีเวร ผู้ทำกรรมอันหยาบช้า ผู้มีกรรมชั่วนั้น ให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย

    ผมอ่านหลักกรรมแล้ว เป็นห่วงทั้งพวกปิดสนามบิน พวกบุกโรงแรม เผารถเมล์ สองพวกนี้ทำกรรมหนักเอาไว้ด้วยกัน ถึงเวลากรรมตามทัน จะหนักเบาแค่ไหนยังไม่รู้.

    กิเลน ประลองเชิง:z2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2009
  3. เซี่ยมหล่อนั๊ง

    เซี่ยมหล่อนั๊ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    439
    ค่าพลัง:
    +665
    คุณเมย์ เปิดไม่ได้ ช่วยส่งมาที่ siriponp@scg.co.th ได้หรือเปล่า ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...