ท่านเคยทรงอรูปณาน ได้นานกี่ ชั่วโมง

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย somkiatfem, 17 กันยายน 2016.

  1. ใครทำอาไรเราก้ชวนเค้าไป

    ใครทำอาไรเราก้ชวนเค้าไป สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    ท่าทรงอรูปณานก้ต้องรู้ชัดว่าทรงอรุปฌาน จะไม่ใช่อารมในฌานที่ 4
    อารมของอรุปณาน ก้ไม่ต่างจากอารมของณานแต่ไม่อาศัยรูป แต่ไม่ได้แน่นิ่งไปแบบณานที่ 4
    ท่าสติขาดๆหายๆไม่รับรู้อาไรแบบนั้นไม่ใช่อรูปณาน จะอรูปณานที่ 1 2 3 4 ต่างก้มีสติรับรู้ว่าตนเองทำอะไรเป็นเช่นไร เป็นการเสวยสุขทางจิต ขณะทรงอรูปณาน เลย ณาน จิตก้ยังคงมีเวทนา สัญญา เละสังขาร ท่าสติมีก้จะรู้กระบวนการของจิตครบ ความแตกต่างของก่อนมีพระพุทธเจ้ากับหลังพระพุทธเจ้าแสดงอริยสัจคือ คนทำณานก่อนรู้อริยสัจในความไม่เที่ยงจะเข้าไปอยู่ในสุข สงบ แต่ไม่รู้ว่า จะไปต่ออย่างไร สภาวะนี้ก้เลยเปรียบเสมือนิพพานดิบ
    เมื่อมีพระพุทะเจ้าชี้ธรรมก้จะเห็น ขัน ที่เป็นองประกอปรวมกันเป็นจิตที่ไปยึดถือไว้ แตกแยกออกเป็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน เละทรงชี้ว่าสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดที่เป็นนามธรรม ล้วนเกิดขึ้นเองได้ด้วยผัสสะ จะทางภายนอกหรือผัสสะทางภายในก้ตาม ทรงชี้ไห้เห็นว่าทั้งหมดไม่เป็นเราไม่ใช่ของๆเราเราเข้าไปยึดว่าเป็นเรา
    ตรงส่วนนี้แหละที่นักบำเพ็ญณานก่อนหน้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ว่าจิตที่ยึดเกาะไว้ไม่ใช่เรา จึงวางจิตไปไม่ได้ แต่ไม่ใช่ไม่มีสติรับรู้หลงๆลืมๆหรือขาดสติรับรู้ไปชั่วขณะอาไรแบบนั้นไม่ใช่ แต่รู้ตัวพร้อมถ้วนทั่ว มีสุขสงบอารมเดียวแต่ไม่มี ไม่มีรูป ไม่มีวิญญาน ไม่มีสันยาได้ แต่ยังมีสังขารปรุงแต่งจิตอยู่ไม่ได้นิ่งสงบไปอย่างเดียว แต่ไม่สามารถรับรู้ภายนอกได้เพราะจิตรวมลงรับรู้ภายในอย่างเดียว แต่ท่าหากจิตยึดไว้ในณานที่ 4 จิตจะเป้นหนึ่งตรงส่วนนี้แหละที่ไม่รับรู้อาไรเลยนิ่งสงบอย่างนั้น เหมือนพรหมลุกฝัก จนกว่าจะถอนออกมา
     
  2. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,613
    ค่าพลัง:
    +3,015



    ถ้าอย่างนั้น ช่วยอธิบาย อรูปญานที่สี่อย่าง แยกกันได้ไหมครับ
    ว่ามีวิธีการ และ อารมณ์จิต อย่างไร

    ฝึกแล้ว แต่ละ จะสัมผัสอะไรได้บ้าง

    แล้วสิ่งที่สัมผัสได้ สัมผัสได้ด้วยวิธีไหน

    และสุดท้าย เหตุ และ ผล ของแต่ญาน
    อะไรคือเหตุ อะไรคือผล
     
  3. ใครทำอาไรเราก้ชวนเค้าไป

    ใครทำอาไรเราก้ชวนเค้าไป สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    คำถามพวกนี้ ผู้ถามเข้าณานได้ในระดับใดครับ เนื่องจากเราไม่มีความรู้จักมักคุ้น จึงไม่ทราบว่าผู้ถามนั้น รู้อาการหรืออารมของ ณานสมาธิหรือไม่ ท่าเป็นผู้มีณานสมาธิก้จะสามารถคุยกันได้ง่ายแต่ท่าไม่ ก้คงจะอทิบายกันได้ยากซักหน่อยครับ
    เละคำถามควรแยกประเดนการทำณาน เละวิปัสนาญานออกจากกันจะได้ไม่สับสนครับว่า สิ่งใดเป็นธรรมเอื้อแก่สิ่งใด เละสิ่งใดมีประโยชอย่างไรได้ครับ
    เราคุยกันในเนื้อหากระทู้ อรูปณานใช่ไหมครับ?
    แต่ท่าต้องการสนทนาเรื่องอื่นด้วยก้ได้ครับ ถามให้ชัดเจนเป็นลำดับครับ
     
  4. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ของพวกนี้เค้าไม่บอกคนภายนอกหรือคนที่ไม่ปฏิบัติหรอกครับ
    เพราะมันจะเป็นสัญญาอารมณ์แก่ผู่เริ่มใหม่ ทำให้หลงได้
    อีกอย่างป้องกันพวกขี้โม้เอาไปแอบอ้างสภาวะว่าตนดีตนเจ๋งด้วยครับ
    พูดคุยเรื่องพวกนี้ระวังกันด้วยนะครับ
    แต่ถ้ามีวสีในอรูปฌาณต้องบอกได้ครับว่ามีของเล่นอะไร
    ทำอะไรได้บ้าง
    ประมาณนี้แหละครับ
     
  5. ใครทำอาไรเราก้ชวนเค้าไป

    ใครทำอาไรเราก้ชวนเค้าไป สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +1
    เห็นด้วยทุกประการเลยครับ
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,427
    ค่าพลัง:
    +35,049
    คือ ถามแบบนี้เค้าเรียกว่า ถามแบบอวดตนเอง
    ถามเพื่อยกตนเองครับ
    จะถามแบบอวดฉลาด แต่ตนเองไม่รู้ ไม่เข้าใจ
    สภาวะและที่สำคัญประกันได้ว่าทำไม่ได้
    แน่นอนครับท้าได้เลย และที่สำคัญถามไม่ได้
    เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนอื่นๆที่มาอ่าน
    และถามเพื่อไม่ได้จะนำไปพัฒนาตนเองครับ

    ถ้าได้ลองเสนอแนวคิด ก็จะวนเวียน วนมาเหมือน
    ปลาว่ายในอ่าง เพราะมันจะขัดแย้งกันเอง...
    กลายเป็นฆ่าตัวเองตายเอง
    การถามแบบนี้ มีบ่อยมาครับ โดยมากเป็น
    นักปฏิบัติที่หลงตัวเอง เคยอ่านกระดาน
    สนทนา วัดชื่อดังแห่งหนึ่งไหมครับ ที่พระอาจารย์ ที่
    ตอนนี้เป็น ดร. ยี่ย่อ ล. ท่านตอบอยู่
    เจอพวกถามแบบนี้เยอะครับ มีให้เห็นทุกเดือนครับ
    คือประมาณว่า มั่นใจว่าตนเองเก่ง พยายามพูดสภาวะ
    ที่ตนเองยึดแล้วคิดว่า ตนเจ๊งสุด พูดสภาวะแบบระดับ
    ที่เราฟังแล้วยังต้องทึ่ง(ประมาณว่าถ้าเป็นขนาดที่พูด
    ยังต้องมาถามอีกหรือบางคนพูดไปพูดมา
    เหมือนจะเก่งกว่าพระพุทธฯอีกครับ)
    แต่คำถามที่ออกมามันฟ้อง
    ถึงผลการปฏิบัติที่ยังเข้าไม่ถึงแม้แต่แก่น แม้กระพี้
    พูดง่ายๆว่า เป็นพวก ปลาตายตายน้ำตื่นครับ
     
  7. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,613
    ค่าพลัง:
    +3,015



    แนะนำมาทาง ข้อความก็ได้ครับ เพื่อป้องกัน ผู้ที่ไม่รู้เรื่อง ปรามาส และหาข้อครหากลั่นแกล้ง ผมเอะใจว่า จะได้เจอคนที่รู้จริง เรื่องอรูปญาน เหมือนกัน แต่ติดที่การสื่อสาร อาจจะอธิบายให้คนนอกเข้าใจได้ยาก ใครฝึกมาใน อรูปญาน ลองส่งข้อความมาดูนะครับ เผื่อจะตั้งเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นกลุ่มปิด แต่ต้องส่งการบ้าน แล้วผ่าน นะครับ
     
  8. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,613
    ค่าพลัง:
    +3,015


    ลองอธิบาย ผ่านทางข้อความ นะครับ เผื่อเราตั้งกลุ่มปิดขึ้นมา จะได้ร่วมด้วยช่วยกัน
     
  9. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,613
    ค่าพลัง:
    +3,015
    เหตุ คือ การทรง อรูปญานทั้งสี่อย่าง อย่างนี้
    1 ทรง อากาสา ด้วยการฝึกคิดว่า
    เหลือแต่อากาสๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    2 ทรง วิญญานา ด้วยการฝึกคิดว่า
    เหลือแต่ตัวรับรู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    3 ทรง อากิญจัญญา ด้วยการฝึกคิดว่า
    เหลือแต่ใจที่รับรู้ๆๆๆๆๆๆๆๆ
    4 ทรง เนวะสัญญา ด้วยการฝึกคิดว่า
    เหลือแต่จิตสั่งการๆๆๆๆๆๆๆ

    ผลคือ เมื่อทรงได้คล่องแคล่วชำนาญ
    จะเกิดอาการที่เรียกว่า ญาน อย่างนี้
    1 เมื่อทรง อากาสา จนเกิดญาน
    เมื่อมองสิ่งใด ก็จะเห็นเป็นเพียง
    อากาส หรือ ว่าง หรือ อากาสธาตุ
    2 เมื่อทรง วิญญานา จนเกิดญาน
    เมื่อมองสิ่งใด ก็จะเห็นเป็นเพียง ตัวรับรู้
    หรือ อายตนะห้า
    3 เมื่อทรง อากิญจัญญา จนเกิดญาน
    เมื่อมองสิ่งใด ก็จะเห็นเป็นเพียง มโนทวาร
    หรือ ใจ หรือ รับรู้ได้นิดหน่อย
    4 เมื่อทรง เนวะสัญญา จนเกิดญาน
    เมื่อมองสิ่งใด ก็จะเห็นเป็นเพียง
    จิต หรือ ไม่รับรู้อะไรเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2017
  10. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,613
    ค่าพลัง:
    +3,015
    ส่วนการเข้า นิโรธ ด้วย อรูปญาน นั้น
    มีขั้นตอนดังนี้ คือ

    เมื่อเข้าถึง ญานที่สี่ ให้ ระลึกถึง
    ความว่างของอากาส หรือ ความว่างของอากาสธาตุ
    ที่มันอยู่รอบตัวเรา จนจิตมันคิดไปว่า
    ตัวเราเป็นหนึ่งเดียวกับ อากาส แล้ว ตัวเราคืออากาส
    ต่อไป เมื่อจะเข้า ญานที่สูงขึ้นไป ก็ให้คิดไปอีกว่า
    อากาสมันไม่มีที่สิ้นสุด เราเบื่อญานนี้แล้ว
    อากาสนี้ยังใหญ่เกินไปสำหรับเรา
    อากาสยังรับรู้ได้อีก ไม่สิ้นสุด

    เมื่ออยากเข้าถึง วิญญานา ให้ ระลึกถึง
    ตัวรับรู้ทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
    ที่มันอยู่บรเวณ ผิวหนังเรา จนจิตมันคิดไปว่า
    ตัวเราเป็นหนึ่งเดียวกับวิญญานทั้งห้าแล้ว ตัวเราคือวิญญาน
    ต่อไป เมื่อจะเข้า ญานที่สูงขึ้นไป ก็ให้คิดไปอีกว่า
    วิญญานมันก็รับรู้ไม่มีที่สิ้นสุดเหมือนกัน เราเบื่อญานนี้แล้ว
    วิญญานนี้ ก็ยังใหญ่เกินไปสำหรับเรา
    วิญญานยังรับรู้ได้อีก ไม่สิ้นสุด

    เมื่ออยากเข้าถึง อากิญจัญญา ให้ ระลึกถึง
    ตัวรับรู้อีกอัน คือ ใจ หรือ มโนทวาร หรือ มโนธาตุ นั่นเอง
    ระลึกจนจิตมันคิดไปว่า ตัวเราเป็นหนึ่งเดียวกับใจ
    หรือ มโนทวาร หรือ มโนธาตุ แล้ว
    ต่อไป เมื่อจะเข้า ญานที่สูงขึ้นไป ก็ให้คิดไปอีกว่า
    ใจมันก็รับรู้อยู่หน่อยหนึ่งเหมือนกัน เราเบื่อญานนี้แล้ว
    ใจนี้ ก็ยังใหญ่เกินไปสำหรับเรา
    ใจยังรับรู้ได้อีก หน่อยหนึ่ง

    เมื่ออยากเข้าถึง เนวะสัญญา ให้ ระลึกถึง
    ตัวรับรู้สุดท้าย คือ จิต นั่นเอง
    ระลึกจนจิตมันคิดไปว่า ตัวเราเป็นหนึ่งเดียวกับจิตแล้ว
    ต่อไป เมื่อจะเข้า ญานที่สูงขึ้นไป ก็ให้คิดไปอีกว่า
    จิตมันก็ยังรับรู้อยู่นิดหนึ่งได้เหมือนกัน เราเบื่อญานนี้แล้ว
    จิตนี้ ก็ยังใหญ่เกินไปสำหรับเรา
    จิตยังรับรู้ได้อีก นิดหนึ่ง

    ทีนี้ เมื่อจะเข้า นิโรธสมาบัติ ให้ระลึกถึง
    อาการรับรู้ที่มันเกิด แล้วก็ดับ ในระหว่างแต่ละญาน
    เกิดแล้วก็ดับๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    อย่างนี้เรื่อยไป พอชำนาญดีแล้ว
    ให้ฝึกคิด ถึงแต่ ความดับของตัวรับรู้
    เมื่อคล่องตัวดีแล้ว ก็ให้คิดไปว่า ทุกสิ่งดับๆๆๆๆๆๆๆๆ
    อาการที่จิตคิดว่า ทุกสิ่งดับๆๆๆๆ นี่แหละจะเรียกว่า
    การเข้านิโรธ เพื่อดับทุกสิ่ง
    เมื่อออกจากญานมาแล้ว
    ก็ให้ทรงความคิดที่ว่า ทุกสิ่งดับๆๆๆ ไว้อย่างนั้น
    เมื่อพบเห็นอะไร ก็ให้คิดตามไปว่า ทุกสิ่งดับๆๆๆๆๆๆ
    อย่างนี้ จะเรียกว่า ญานดับของพระอรหันต์
     
  11. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,613
    ค่าพลัง:
    +3,015
    หากจะหาสัญฐานจาก อรูปญานทั้งสี่อย่าง
    จะประมาณการได้ดังนี้

    อากาสา จะมีสันฐานใสโปร่งเหมือนท้องฟ้ากลางวัน
    และมี รัศมี เป็นวงกลมเท่าโอ่งใหญ่รอบตัวเรา
    ประมาน 1 เมตร
    จนลงไปถึง จุดศูนย์กลางกาย

    วิญญานา จะมีสันฐานใสและสกาวเหมือนท้องฟ้ากลางคืน
    และมีรัศมี เป็นวงกลมเท่าลูกบาสเกตบอล อยู่รอบตัวเรา หรือ ประมาน 1 นิ้วรอบๆตัวเรา หรือ รอบผิวกายของเรา
    จนลงไปถึง จุดศูนย์กลางกาย


    อากิญจัญญา จะมีสันฐานใสและสกาวยิ่งขึ้นไปอีก
    เหมือนแสงของอวกาศ และมี รัศมี เป็น วงกลม เท่าตะกร้ออยู่ภายในตัวเรา หรือ ท้องของเรา
    จนลงไปถึง จุดศูนย์กลางกาย

    เนวะสัญญา จะมีสันฐานใสและสกาวจนแสบตาเหมือนแสงของระบบสุริยะจักรวาล และมี รัศมี เป็นวงกลม เท่าไข่ไก่
    อยู่ที่ จุดศูนย์กลางกาย เลย
     
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,427
    ค่าพลัง:
    +35,049
    อรูปฯ ๑ ๒ ๓ กำลังเท่ากันคับ
    แต่ต้องได้รูปฌานก่อนครับ
    และคิดเอาไม่ได้
    ส่วนอรูป ๔ ต้องมีปัญญาทางธรรมมาก
    พอที่ในชีวิตประจำวันแทบไม่มีอะไรมาทำ
    ให้จิตเกิดได้ครับ ถึงจะทำได้

    ส่วนนิโรธสมาบัติ ต้องมีฐานกำลังเพียงพอ
    นั่นคือใช้งานทางจิตมาพอตัวด้วยครับ
    แล้วมาดูว่าจิตตัด ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ
    ได้แค่ไหน ค่อยมาลุ้นว่าจะเข้าได้ไหม

    เพราะมันทำเอาไม่ได้ครับในเรื่องนิโรธฯ
    ถ้าทำได้มันจะทำได้ของมันเองครับ
    นัยยะคือ"กายอยู่อย่างไร จิตอยู่อย่างนั้น"
    ไม่สามารถใข้กายนำ
    หรือจิตนำได้นั่นเองครับ
    มันฝึกเอาทำเอาไม่ได้หรอกครับ
    ไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะมันเหนือ
    การใช้กายและจิตไปแล้วครับ
    มันต้องทิ้งเอานะครับ
    ถึงมีสิทธิ์ทำได้นะครับ



     

แชร์หน้านี้

Loading...