(7)หนังสือโลกทีปนี เกี่ยวกับภพภูมิ นรก สวรรค์ ตอน โลกุตตระภูมิ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย saksit5455, 19 สิงหาคม 2011.

  1. saksit5455

    saksit5455 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +59
    เต่าตาบอด
    บุคคลหญิงชายที่ท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร ซึ่งจะได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์
    โชคดี มีมนุษยธรรมประจำสันดานพบพระพุทธศาลนา และมีปัญญารู้คุณพระ
    รัตนตรัยนั้น จะเป็นได้ เช่นนี้แต่ละชาติเป็นอันยากนักหนา ยากยิ่งกว่าเต่าตาบอด
    ทั้งสองข้าง ซึ่งจมอยู่ในมหาสมุ.ทรสุดลึกล้ำ ได้แต่ชอกช้ำมะงุมมะงาหลา
    วนเวียนอยู่ที่นั่นสิ้นกาลร้อยปี จึงผุดขึ้นได้ทีหนึ่ง แลซึ่งมันจะผุดขึ้นเอาศีรษะ
    สอดเข้าไปในช่องแอก ซึ่งมีรูแคบนิดเดียวที่ลอยกลิ้งกลับกลอกไปมาด้วย
    ระลอก คลื่นแลแรงลมในมหาสมุทรนั้น ย่อมเป็นการยากลำบากแสนสาหัสอยู่
    ครามครั้น ถึงกระนั้นได้เห็นพอจะมีทาง ที่มันจะเอาคอลอดเข้าไปในช่องแอกนั้น
    แล้ว ซบหัวอยู่ได้บ้าง อันการที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาลนาและรู้คุณ
    ไตรสรณคมน์ ยิ่งยากกว่าการที่เต่าตาบอดจะลอดคอให้ เข้าไปในรูแอกนั้นเลีย
    อีก เพราะว่าพระไตรสรณคมน์ กว่าจะอุบัติขึ้นได้ยากแสนยาก พระโพธิสัตว์
    เจ้าต้องลร้างพระบารมีมานานตั้งแสนๆ กัปจึงจะตรัสแต่ละพระองค์ แล้วจึงจะ
    มีพระไตรสรณคมน์เกิดขึ้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดมา มิได้พบพระรัตนตรัย
    พระพุทธศาลนาแล้ว ชีวิตแห่งลัตว์จำพวกนั้นก็เท่ากับหาสาระแก่นสารมิได้
    เหตุ ดังนี้ เราท่านทั้งหลายเวลานี้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ก็เท่ากับว่าผุดขึ้น
    มาจากมหาลมุทรที่ลึกกว้างใหญ่ พอดีเอาศีรษะสอดใส่เข้าในรูแอก ชำแรกห้วง
    น้ำโผล่ขึ้นมาได้สำเร็จแล้ว และดวงประทีปแก้วคือพระพุทธศาสนา ซึ่งประดับ
    ประดาด้วยอมตสมบัติ คือ มรรคผล นิพพานก็ยังอยู่ ยังไม่สูญสิ้นเสื่อมเลย
    เยียใดจะนิ่งเฉยอยู่เล่า? ต้องอุตสาหะค้นหาให้เห็นความวิเศษของพระพุทธ-
    ศาลนา พยายามหาทางออกจากโลกทั้งหลายที่ชื่อว่าวัฏลงสารนี้ให้ได้ เพื่อจัก
    ได้หายเหน็ดเหนื่อยเป็นการหยุดพักผ่อนดลอดกาล โดยเสวยนิพพานสมบัติอัน
    เป็นบรมสุขกันเสียที
    ก็วิธีที่จะออกจากวัฏสงสาร จำต้องดำเนินการตามวิถีทางแห่งพระพุทธ
    ศาสนา ซึ่งจักกล่าวในอรรถวรรณนาข้างหน้าต่อไป ขอเชิญทานทั้งหลาย จง
    ตั้งใจศึกษาตามอัธยาศัยเถิด

    โลกุตรภูมิ
    บัดนี้ จักพรรณนาถึงภูมิอันวิเศษประเสร ิฐสุด ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายแห่งพระ
    พุทธศาสนา ภูมินี้มีนามว่า โลกุตรภูมิ ได้แก่ภูมิที่พันจากโลกต่างๆ หมาย
    ความว่า ท่านผู้ได้บรรลุถึงภูมินี้ แล้ว ย่อมเป็นพระอริยบุคคล หลุดพ้นจากโลก
    ทั้งปวงได้เด็ดขาด ไม่ต้องมาเวียนเกิดเวียนตายให้วุ่นวายอีกต่อไป
    การที่สัตว์ทั้งหลายต้องตายแล้วเกิด และเกิดแล้วตายไม่หยุดหย่อนอย่าง
    น่าเบื่อหน่ายนั้น ก็เพราะยังมีกิเลสตัณหาอยู่ เมื่อพูดถึงกิเลสตัณหาที่อยู่ใน
    สันดานของลัตว์แต่ละบุคคล ก็มีอยู่มากมายเหลือพรรณนา ท่านย่อมว่ากิเลส
    พันห้าตัณหาร้อยแปด ประจำอยู่ในสันดานของแต่ละบุคคล การที่จะจับเอา
    กิเลสตัณหามาจาระไนทีละตัวนั้น เป็นการยากนักหนา จึงขอรวบรัดกล่าวว่า
    กิเลสตัณหาอันมากมายเหล่านั้น รวมเรียกว่าเป็นสิ่งจัญไรสิ่งหนึ่ง ซึ่งคอย
    ผูกมัดให้ประชาสัตว์ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกทั้งหลาย สิ่งจัญไรที่ว่านี้
    เรียกชื่อว่า สัญโญชน์

    สัญโญชน์
    ธรรมชาติใดทำการผูกสัตว์ไว้ ให้ติดอยู่ในวัฎสงสาร ธรรมชาตินั้นเรียกชื่อ
    ว่า สัญโญชน์ ก็สัญโญชน์ที่ผูกเหล่าสัตว์ให้ดิดอยู่ในวัฏสงสาร มีอยู่ ๑๐ ประการ
    คือ
    ๑. ทิฏฐิสัญโญชน์
    ๒. วิจิกิจฉาสัญโญชน์
    ๓. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์
    ๔. กามราคสัญโญชน์
    ๕. ปฏิฆสัญโญชน์
    ๖. รูปราคสัญโญชน็
    ๗. อรูปราคสัญโญชน์
    ๘. มานสัญโญชน์
    ๙. อุทธัจจสัญโญชน์
    ๑๐. อวิชชาสัญโญชน์
    สัญโญชน์เหล่านี้ เปรียบเสมือนโซ่เหล็กจัญไร ผูกมัดไวัที่คอของสัตว์ใน
    โลกต่างๆ รวมทั้งเราท่านทั้งหลายที่กำลังอยู่ในมนุษยโลกขณะนี้ด้วย แล้วฉุด
    กระชากลากให้ไปเกิดในโลกนั้นโลกนี้ ดีบ้างชั่วบ้างให้ต้องเสวยผลกรรมของ
    ตนเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างไม่มีวันลิ้นสุดหยุดหย่อน น่าเบื่อหน่ายนัก ตราบ
    ใดยังตัดโซ่เหล็กที่ผูกคือ คือ สัญโญชน์เหล่านี้ ไม่ได้ ก็อย่าหวังเลยว่า จะหลุด
    พ้นจากโลกนี้ ได้ แต่การที่จะตัดสัญโญชน์เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทำได้ยากนัก ถึงกระ
    นั้น องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ผู้ทรงสัพพัญญุตญาณ
    ก็ได้ทรงโปรดประทานบอกทางไว้ ควรที่เราท่านทั้งหลายจักกระทำใจให้เลื่อม
    ใสน้อมใจเชื่อฟังดัวยดี และควรทราบไว้ในที่นี่ด้วยว่า ผู้มีปัญญาอื่นใดจะทรง
    คุณวิเศษสักเพียงไหนก็ตาม ย่อมไม่มีปัญญารู้สัญโญชน์และวิธีตัดสัญโญชน์
    อย่างเด็ดขาด นอกจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว
    ด้วยเป็นพระพุทธวิสัยโดยเฉพาะ
    การตัดโญชน์นั้นต้องตัดเป็นข้อ ๆ ไปตามลำดับแห่งโลกุตรภูมิ ซึ่งมีอยู่ ๔
    ภูมิ คือ
    ๑. โสดาบันโลกุตรภูมิ
    ๒. สกิทาคามีโลกุตรภูมิ
    ๓. อนาคามีโลกุตรภูมิ
    ๔. อรหัตโลกุตรภูมิ
    ท่านทั้งหลายจงอย่าเพิ่งเบื่อหน่ายเสีย อย่าเพลียใจอ่อนใจ เพราะ
    เห็นเป็นเรื่องสูง ความจริงเป็นเรื่องดีและวิเศษแท้ ฉะนั้น จงควรศึกษาเรื่อง
    โลกุตรภูมิ อันประเสริฐตามลำดับ ดังต่อไป
    โสตาปันนโลกุตรภูมิ
    ภูมิพ้นโลกที่ ๑
    โลกุตรภูมิลำดับที่ ๑ นี้มีชื่อว่า โสตาปันนโลกุตรภูมิ ได้แก่ ภูมิที่พ้นจาก
    โลกคือโสดาบัน ท่านผู้ใดบรรลุถึงภูมินี้ ท่านผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าพระอริยบุคคล
    โสดาบัน ผู้ถึงกระแสพระนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลชั้นแรกในพระพุทธศาสนา
    ได้ดื่มอมตรสคือพระนิพพานตั้งแต่ชันนี้ เป็นต้นไป ฉะนั้นจึงได้นามว่า พระ
    โสดาบัน = ผู้ถึงกระแสพระนิพพาน
    ข้อปฏิบัติ ท่านที่จะบรรลุโลกุตรภูมิชั้นนี้ ใช่ว่าอยู่ๆ แล้วจะได้จะถึงขึ้น
    มาเอง ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องเป็นผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้าเพียรปฏิบัติธรรมบำเพ็ญ
    กรรมฐาน แลการบำเพ็ญกรรมฐานนั้น จะบำเพ็ญกรรมฐานอย่างอื่นก็ไม่ได้
    ต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวจึงจะได้ และในการบำเพ็ญวิปัสสนา
    กรรมฐานนั้น ถ้าบำเพ็ญวิปัลสนาเป็นมิจฉาปฏิบัติ คือ ปฏิบัติไม่ถูก เป็น
    วิปัสสนาเทียมก็ไม่ได้ ต้องบำเพ็ญวิปัสสนาเป็นสัมมาปฏิบัติ คือ ปฏิบัติถูก
    ต้องเป็นวิปัสสนาแท้จริงจึงจะได้ เมื่อบำเพ็ญวิปัสสนาอย่างถูกต้องแล้ว อินทรีย์
    ทั้ง ๕ คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑
    เป็นธรรมถึงความสม่ำเสมอกันดีแล้ว พระวิปัญสนาญาณก็จัพลันเกิดขึ้นและ
    ก้าวหน้าไปตามลำดับ คือ
    ๑. นามรูปปริจเฉหญาณ มีปรีชากำหนดนามกำหนดรูปได้ พูดง่ายๆ ก็ว่า
    รู้จักตัวเองว่า มันคืออะไรกัน
    ๒. ปัจจยปริคคหญาณ มีปรีชากำหนดเหตุผลของรูปนามว่า รูปและนาม
    ทั้งสองนี้ เป็นเหตุผลของกันและกัน
    ๓. สัมมสนญาณ มีปรีชากำหนดรู้พระไตรลักษณ์ เพราะเมื่อถึงญาณนี้
    แล้ว พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ปรากฎให้เห็นมาก
    ๔. อุทยัพพยญาณ มีปรีชาเห็นความเกิดดับของรูปนาม เพราะญาณนี้
    รูปนามจะแสดงอาการเกิดดับให้เห็นชัด
    ๕. ภังคญาณ มีปรีชาเห็นรูปนามมีแต่แตกดับไปถ่ายเดียว เพราะญาณ
    นี้จะแสดงความแตกดับของรูปนามให้เห็นชัด
    ๖. ภยญาณ มีปรีชาเห็นรูปนามเป็นภัย คือ เป็นสิ่งที่น่ากลัว
    ๗. อาทีนวญาณ มีปรีชาเห็นโทษของรูปนาม เพราะพอถึงญาณนี้ รูป
    นามแสดงโทษให้เห็น
    ๘. นิพพิทาญาณ มีปรีชาเกิดความเบื่อหน่ายรูปนาม ที่จะเกิดเบื่อโลก
    ทั้งหลายก็มาเบื่อเอาจริงๆ เมื่อถึงญาณนี้เท่านั้น
    ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ มีปรีชาเกิดขึ้นใคร่จะพ้นไปเสียจากรูปนาม โลก
    อะไรก็ดีวิเศษแค่ไหน ก็ไม่อยากอยู่ทั้งนั้น อยากได้พระนิพพานจริงๆ ก็ตอนนี้เอง
    ๑๐. ปฏิสังขาญาณ มีปรีชาพิจารณาพระไตรลักษณ์อีกทีหนึ่ง เพราะจะถึง
    พระนิพพานได้ต้องไปทางพระไตรลักษณ์นี่เท่านั้น
    ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ มีปรีชาวางเฉยใสังขารอารมณ์ทั้งปวง ญาณนี้
    เป็นยอดของโลกิยญาณ ถ้ามีวาสนาบารมีเคยสร้างสมไว้ ก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณ
    เบื้องสูงต่อไป
    ๑๒. อนุโลมญาณ จะก้าวขึ้นสู่โลกุตรภูมิแล้ว ตระเตรียมเพื่อต้อนรับการ
    บังเกิดขึ้นแห่งมรรคญาณ
    ๑๓. โคตรภูญาณ กำลังก้าวเข้าสู่โลกุตรภูมิ ประหารโคตรปุถุชนให้ขาด
    ในตอนนี้เอง
    ๑๔. มรรคญาณ ถึงโลกุตรภูมิแล้ว มรรคบังเกิดขึ้นแล้ว แต่เป็นมรรคชั้น
    ที่หนึ่ง เรียกว่าปฐมรรคญาณ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระโสตาปัตติมรรค
    ญาณ ตัดโซ่เหล็กจัญไร คือ สัญโญชน์ได้เป็นบางข้อแล้ว แต่จะเป็นสัญโญชน์
    อะไรบ้างนั้น เดี๋ยวเอาไว้พูดกันทีหลัง
    ๑๕. ผลญาณ เสวยผลของการถึงโลกุตรภูมิที่ปรารถนามานานนักหนา
    แล้ว
    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ พิจารณาดูว่า ละกิเลสอะไรได้บ้าง พูดอีกทีก็ว่า
    ตรวจตราดูว่า ตัดสัญโญชน์อะไรได้บ้าง
    เมื่อมนุษย์ผู้ใจหาญกล้า อุตสาหะบำเพ็ญวิปัสสนาจนผ่านโสฬสญาณ คือ
    ญาณทั้ ๑๖ มาตามลำดับอย่างถูกต้องบริบูรณ์แล้ว ท่านผู้นั้นก็ชื่อว่าบรรลุถึง
    โสตาบันโลกุตรภูมิ เป็นพระโสดาบันอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา

    คุณวิเศษ
    ท่านอริยบุคคลโสดาบันนี้ ตัดโซ่เหล็กที่เป็นบ่วงร้อยรัดไว้คือสัญโญชน์ได้
    ๓ ข้อ ดังต่อไปนี้
    ๑. สักกายทิฏฐิสัญโญชน์ = ความเข้าใจผิดในรูปนาม
    ๒. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ = ความสงสัยในพระไตรรัตน์ คือ พระพุทธ พระธรรม
    พระสงฆ์
    ๓. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ = ความยึดถือในข้อปฏิบัติที่ผิดไม่ถูกทาง
    ทั้ง ๓ ข้อนี้ ท่านตัดขาดหมดไม่มีเหลืออยู่ในจิตสันดาน นอกจากนี้
    ท่านยังสามารถเข้าโสตาปัตติผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานตามจิต
    ปรารถนาได้อีกด้วย แม้จะตัดสัญโญชน์ได้เพียง ๓ ข้อ ยังไม่หมดทีเดียว
    แต่ก็ตัดการเวียนว่ายตายเกิดในโลกต่างๆ ได้มากทีเดียว เพราะมีกฎตายตัว
    อยู่ว่า พระโสดาบันอริยบุคคลจะเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ ตามประเภท
    ของพระโสดาบัน ๓ จำพวก ดังต่อไปนี้
    ๑. พระเอกพีชีโสดาบัน ท่านพวกนี้จะเกิดอีกชาติดียว แล้วก็จะได้บรรลุ
    พระอรหัตผล สำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล ตัดสัญโญชน์ได้หมด แล้ว
    ปรินิพพาน
    ๒. พระโกลังโกลโสดาบัน ท่านพวกนี้จะเกิดอีกตั้งแต่ ๒-๓ ชาติเป็นอย่าง
    มาก แล้วก็จะบรรลุพระอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้ว
    ปรินิพพาน
    ๓. พระสัตตขัตตุปรมโสดาบัน ท่านเหล่านี้จะเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน ๗
    ชาติ แลัวจะบรรลุพระอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้ว
    ปรินิพพาน
    การที่ท่านแตกต่างกันเป็น ๓ พวกนี้ ก็เพราะว่าบารมีอินทรีย์ที่สร้างสม
    มาต่างกัน คือ ถ้าสร้างบารมีอินทรีย์มาอย่างแก่กล้า ก็เป็นพระเอกพีชีโสตาบัน
    ถัาสร้างบารมีอินทรีย์มาอย่างปานกลาง ก็เป็นพระโกลังโกลโสดาบัน ถ้าสร้าง
    บารมีอินทรีย์มาอย่างอ่อน ก็เป็นพระสัตตขัตตุปรมโสตาบัน ก็การที่ท่านจะเกิด
    ทุกๆ ชาติ ต่อไปนี้นั้น ต้องเข้าใจว่า ท่านจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ เช่น โลกนรก
    โลกเปรต เป็นต้น เลยเป็นอันขาด เพราะว่าโลกุตรธรรมนี้ เป็นธรรมสูงยิ่ง
    ปิดอบายภูมิได้อย่างเด็ดขาดแน่นอน ทุกๆ ชาติท่านจะต้องไปเกิดในภูมิสูง เช่น
    เมื่อไปเกิดในเทวโลกเป็นเทวดาก็พรั่งพร้อมด้วยเทวสมบัติ เมื่อมาเกิดในมนุษย์
    โลกนี้อีก ก็เกิดในตระกูลสูงอุดมด้วยมนุษยสมบัติ แต่ข้อลำคัญก็คือว่า ท่านได้
    สมบัติแก้วอันประเสริฐเลิศล้ำยิ่งกว่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิราชหรือสมบัติใด
    ในโลกทั้งมวล เพราะท่านพระโสดาบันอริยบุคคลนี้ เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จักได้บรรลุ
    อรหัตผล สำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้วปรินิพพานในอนาคต
    กาลอย่างแน่นอน
    พรรณนาในโสดาบันโลกุตรภูมิ ซึ่งเป็นภูมิหลุดพ้นโลกลำดับที่ ๑ เห็นว่า
    สมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

    สกิทาคามีโลกุตรภูมิ
    ภูมิพ้นโลกที่ ๒
    โลกุตรภูมิลำดับที่ ๒ มีชื่อว่า สกิทาคามีโลกุตรภูมิ ได้แก่ ภูมิที่พ้นจากโลก
    คือ สกิทาคามี ท่านผู้ได้บรรลุถึงภูมินี้ ย่อมเป็นพระอริยบุคคลชั้นที่สองใน
    พระพุทธศาลนา ท่านจะกลับมาปฏิสนธิถือกำเนิดอีกเพียงชาติเดียวเท่านั้น
    ก็จะเป็นพระอรหันต์ดับขันธ์ปรินิพพาน ฉะนั้น จึงได้ นามว่า พระสกิทาคามี =
    ผู้จะมาเกิดอีกครั้งเดียว
    ข้อปฏิบัติท่านผู้ ที่จะบรรลุโลกุตรภูมิชั้นนี้ ต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน
    ผ่านโสดาบันโลกุตรภูมิมาแล้ว ปรารถนาจะบรรลุมรรคผลชั้นนี้ จึงเจริญ
    วิปัสสนาให้ ยิ่งขึ้น เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ เสมอกันดีแล้วสภาวญาณก็จะเกิดขึ้น ตั้ง
    แต่อุทยัพยญาณเป็นต้นไป จนถึงสังขารุเปกขาญาณ แต่ว่าญาณเหล่านี้จะชัด
    แจ้งละเอียดกว่าญาณในชั้นที่หนึ่ง ต่อจากนั้น อนุโลมญาณก็จะเกิดขึ้นตามติด
    มาด้วยโวทานะ (โวทานะนี้ แทนโคตรภูญาณ เพราะท่านผู้นี้ เป็นพระอริยบุคคล
    แล้ว ญาณที่ตัดโคตรปุถุชนจึงไม่เกิดขึ้นอีก) ครั้นแล้วทุติยมรรค หรือเรียก
    อีกอย่างหนึ่งว่า พระสกิทาคามิมรรคคญาณ ก็อุบัติขึ้น ติดตามด้วยพระสกิทาคามิ
    ผลญาณ เป็นการถึงพระนิพพานอีกครั้งหนึ่ง พระสกิทาคามิมรรคนี้ ไม่มีอำนาจ
    ตัดสัญโญชน์อันหนึ่งอันใดได้เด็ดขาด ถึงกระนั้นก็มีอำนาจทำกิเลสทั้งหลาย
    ให้ เป็น ตนุกร คือทำให้เบาบางลงไปยิ่งกว่าอำนาจของพระโสตาปัตติมรรคญาณ
    ซึ่งเป็นมรรคญาณขั้นแรกเป็นธรรมดา

    คุณวิเศษ
    ท่านพระอริยบุคคลสกิทาคามีนี้ นอกจากจะมีกิเลสเบาบางกว่าพระ
    โสดาบันอริยบุคคลแล้ว ยังมีคุณพิเศษสามารถเข้าสกิทาคามีผลสมาบัติ
    เสวยอารมณ์พระนิพพานตามจิตปรารถนาได้อีกด้วย แต่ที่วิเศษสุดก็คือ ท่าน
    พระสกิทาคามีจะเกิดอีกชาติเดียวเท่านั้นก็จะดับขันธ์ปรินิพพาน แต่การจะเกิด
    ที่ไหนนั้น ก็ย่อมเป็นไปตามประเภทของพระสกิทาคามี ๕ จำพวก คือ
    ๑. บางท่านสำเร็จเป็นพระสกิทาคามีในมนุษยโลกนี้ แล้ว จุติไปเกิดในเทวโลก
    แล้วจุติจากเทวโลกมาเกิดในมนุษยโลกนี้ แล้วบรรลุพระอรหัตผล สำเร็จ
    เป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้วดับขันธ์ปรินิพพานในมนุษยโลกนี่เอง
    ๒. บางท่านลำเร็จเป็นพระสกิทาคามีบุคคลแล้ว ก็กระทำความเพียร
    เจริญวิปัสสนา จนบรรลุถึงพระอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้ว
    ดับขันธ์ปรินิพพานในมนุษยโลกนี่เอง
    ๓. บางท่านสำเร็จเป็นพระสกิทาคามี แล้วจุติไปเกิดในเทวโลก แล้วได้
    บรรลุพระอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้วดับขันธ์ปรินิพานใน
    เทวโลกนั่นเอง
    ๔. บางท่านเป็นเทวดา สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีบุคคลในเทวโลก แล้ว
    บรรลุพระอรหัตผล สำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคลในเทวโลกนั่นเอง
    ๕. บางท่านเป็นเทวดา สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีบุคคลในเทวโลก แล้วจุติ
    มาปฏิสนธิในมนุษยโลก ได้บรรลุพระอรหัตผลลำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล
    และดับขันธ์ปรินิพพานในมนุษยโลกนี่เอง
    ท่านทั้งหลาย ความอัศจรรย์แห่งพระโอวาทานุสาสนีของสมเด็จพระ-
    ชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถอำนวยผลให้แก่บุคคลผู้ปฏิบัติตาม ให้ตัดชาติ
    ภพได้อย่างเด็ดขาดเป็นขั้นๆ ไปดังกล่าวมานี้
    พรรณนาในสกิทาคามีโลกุตรภูมิ ซึ่งเป็นภูมิหลุดพ้นโลกลำดับที่ ๒ เห็นว่า
    สมควรที่จะยุติลงได้ จีงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

    อนาคามีโลกุตรภูมิ
    ภูมิพ้นโลกที่ ๓
    โลกุตรภูมิลำดับที่ ๓ มีนามว่า อนาคามีโลกุตรภูมิ ซึ่งได้แก่ภูมิที่พ้นจาก
    โลกคืออนาคามี ท่านผู้บรรลุภูมินี้ย่อมเป็นพระอริยบุคคลชั้นที่สามในพระบวร
    พุทธศาสนา ท่านย่อมจะไม่กลับมาถือปฏิสนธิในมนุษยโลกนี้อีกเลย ฉะนั้นจึง
    ได้นามว่า พระอนาคามี = พระผู้จะไม่กลับมา
    ข้อปฏิบัติท่านผู้ที่จะบรรลุโลกุตรภูมิชั้นนี้ ต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน
    ผ่านโลกุตรภูมิชั้นที่สองมาแล้ว และอุตสาหะพยายามเจริญวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไป
    เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ได้ส่วนสมดุลเสมอกัน
    ดี และวาสนาบารมีถึงที่แล้ว สภาวญาณก็จะเกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่อุทยัพพย-
    ญาณเป็นต้นไป จนถึงสังขารุเปกขาญาณ ต่อจากนั้นก็ถึงอนุโลมญาณ ตามติด
    มาด้วยโวทานะ แล้วตติยมรรคหรือพระอนาคามิมรรคญาณก็อุบัติ เกิดขึ้น
    พอพระอนาคามี มรรคเกิดก็จะตัดสัญโญชน์ได้ เด็ดขาดอีกบางประการ แต่จะตัด
    อะไรบ้างนั้น ประเดี๋ยวจะกล่าวทีหลัง พอพ้นพระอนาคามิมรรคแล้ว พระ
    อนาคามีผล ก็จะปรากฏตามติดกันมา เป็นอันว่า บัดนี้ท่านผ้นั้นเป็นพระอนาคา
    มีบุคคลแล้ว ที่พูดนี้ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่สำเร็จได้ ง่ายๆ แต่ความจริงมิใช่ของ
    ง่ายเลย สำหรับโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติ เพราะท่านผู้จะปฏิบัติเพื่อให้พระอนาคามิ
    มรรคบังเกิดขึ้นนี้ ต้องเป็นผู้มีสมาธิอย่างดีเยี่ยมเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ พึงทราบไว้
    ในที่นี้ว่า
    ๑. ผู้ที่สามารถจะปฏิบัติให้พระโสตาปัตตมรรค และพระสกิทาคามิมรรค
    บังเกิดในตนนั้น ต้องเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีล คือ มีศีลบริสุทธิ์เป็นอย่างยิ่ง
    ๒. ผู้ที่สามารถจะปฏิบัติให้พระอนาคามิมรรคนี้ บังเกิดขึ้นในตนนั้น ต้อง
    เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสมาธิ คือ มีสมาธิดีเป็นยอดเยี่ยม
    ฉะนั้น การปฏิบัติบำเพ็ญเพื่อความเป็นพระอนาคามีบุคคลนี้ จึงจำเป็น
    ต้องมีสมาธิดีเป็นอย่างยิ่ง ต้องมีสมาธิเต็มเปี่ยมสมบูรณ์เป็นที่สุด พระอนาคา-
    มิมรรคจึงจะอุบัติเกิดได้ แม้จะเป็นการยาก แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เหลือวิลัยสำหรับผู้
    ใคร่จะออกจากสังสารทุกข์

    คุณวิเศษ
    ท่านพระอนาคามีอริยบุคคลนี้ ท่านตัดสัญโญชน์ได้เด็ดขาดไปอีก ๒ ประ-
    การ คือ
    ๑. กามราคสัญโญชน์ ประหารกามราคะความติดอยู่ในกามคุณอารมณ์
    ทุกชนิดได้อย่างเด็ดขาดด้วยอำนาจพระอนาคามิมรรค
    ๒. ปฏิฆสัญโญชน์ ประหารปฏิฆะ คือ ความไม่พอใจในอารมณ์ต่างๆ ได้
    อย่างเด็ดขาด พูดง่ายๆ ก็ว่า ไม่มีโทโสโกรธา ตัดความโกรธได้ ด้วยอำนาจ
    ของพระอนาคามิมรรค
    เห็นไหมเล่า การปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาลนาสามารถตัดโซ่เหล็ก
    ร้อยรัดสัตว์ในวัฎสงสารคือ สัญโญชน์ได้เป็นลำดับมา บัดนี้ ตัดได้ ๔ ประการ
    แล้ว คือ ๑. สักกายทิฏฐิลัญโญชน์ ๒. วิจิถิจฉาสัญโญชน์ ๓. สีลัพพตปรามาส
    สัญโญชน์ ทั้งสามนี้ ตัดได้ด้วยพระโสตาปัตดิมรรค และ ๔. กามราคสัญโญชน์
    ๕. ปฏิฆสัญโญชน์ ทั้งสองนี้ตัดได้ ด้วยพระอนาคามิมรรคที่กำลังพูดถึงอยู่นี่
    ส่วนที่เหลือจะตัดได้ หรือไม่? ถ้าตัดได้ จะตัดด้วยอะไร? ขอท่านทั้งหลายติดตาม
    ต่อไป ตอนนี้ขอกล่าวถึงคุณพิเศษของพระอนาคามีบุคคลก่อน คือ นอกจาก
    ท่านจะตัดสัญโญชน์ได้ อีกสองประการดังกล่าวแล้ว ท่านยังลามารถเข้าอนาคา
    มีผลสมาบัติเสวยอารมณ์พระนิพพานตามจิตปรารถนาได้ อีกด้วย แต่ทีวิเศษสุด
    ก็คือ เมื่อท่านจุติไปแล้ว จะไม่กลับมาปฏิสนธิในกามภูมิ เช่น มนุษยโลกและ
    เทวโลกอีกเลย ท่านย่อมไปอุบัติเกิดในสุทธาวาสพรหมโลก แล้วก็จะสำเร็จ
    เป็นพระอรหันต์ และปรินิพพานบนโน้นเลย
    จึงมีปัญหาว่า การที่จะไปบังเกิดในพรหมโลกนั้น จะต้องปฏิสนธิด้วยฌาน
    วิบาก อันเป็นผลของฌานกุศล สำหรับพระอานาคามีบุคคลที่เป็นฌานลาภ
    เคยบำเพ็ญสมถกรรมฐานได้ฌานมาก่อน ก็ไม่มีปัญหาอันใด ต้องไปเกิดได้แน่
    แต่ทีนี้ พระอนาคามีที่เป็นสุกขวิปัสสกะบำเพ็ญวิปัสสนามาอย่างเดียวล้วนๆ
    ไม่เคยบำเพ็ญสมถกรรมฐานได้ ฌานเลย จะไปเกิดในพรหมโลกได อย่างไร ข้อ
    นี้ ไม่ต้องสงสัย เพราะพระอนาคามีประเภทนี้ เมื่อท่านใกล้จะจุติ มัคคสิทธิฌาน
    ย่อมบังเกิดขึ้น แล้วเป็นปัจจัยนำไปเกิดในพรหมโลก ถึงแม้ว่า พระอนาคามีผู้
    สุกขวิปัลสกะจะต้องมรณภาพลงโดยไม่ทันรู้ตัว เช่น ขณะที่กำลังหลับอยู่หรือ
    กำลังทำกิจการใดอยู่ก็ตาม มีผู้กระทำร้ายถึงแก่มรณภาพลงในทันทีทันใด โดย
    ไม่รู้ตัว! อย่างนี้ มัคคลิทธิฌานก็ย่อมจะบังเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงจุติ ตราบใด
    ที่มัคคสิทธิฌานยังไม่เกิดขึ้น พระอนาคามีบุคคลจะไม่มีการจุติเลยเป็นอันขาด
    เมื่อมัคคสิทธิฌานบังเกิดขึ้นแล้ว จึงจุติไปปฏิสนธิในพรหมโลกดังกล่าวนั้น
    เมือท่านไปบังเกิดในพรหมโลกแล้ว ย่อมสำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์
    ปรินิพพาน ตามประเภทของพระอนาคามี ๕ จำพวก ดังต่อไปนี้
    ๑. อันตราปรินิพพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลที่ไปอุบัติเกิดในพรหม
    โลกภูมิใดภูมิหนึ่ง แล้วจึงได้ สำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานภายใน
    อายุครึ่งแรกของสุทธาวาสพรหมโลกที่ท่านไปเกิดนั้น
    ๒. อุปหัจจปรินิพพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลที่ไปอุบัติเกิดในพรหม
    โลกภูมิใดภูมิหนึ่ง แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานภายในอายุครึ่ง
    หลังของสุทธาวาลพรหมโลกที่ท่านเกิดนั้น
    ๓. อสังขารปรินิพพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลที่ไปอุบัติเกิดในพรหม
    โลกภูมิใดภูมิหนึ่ง แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภูมินั้นโดยสะดวก ไม่ต้อง
    พยายามมาก แล้วปรินิพพาน
    ๔. สสังขารปรินิพพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลที่ไปอุบัติเกิดในพรหม
    โลกภูมิใดภูมิหนึ่ง แล้วได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภูมินั้น โดยต้องใช้ความ
    พยายามอย่างแรงกล้า แล้วปรินิพพาน
    ๕. อุทธังโสตอกนิฏฐคามี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลที่ไปอุบัติในสุทธาวาส
    พรหมโลก ชั้นต่ำ คือ ชั้นอวิหาพรหมโลก แล้วจุติไปเกิดในชั้นสูง ๆ ขึ้นไป คือ
    ชั้นอตัปปา สุทัลสา สุทัสสี พรหมโลก แล้วจุติไปเกิดในอกนิฏฐพรหมโลก
    แล้วจึงได้ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วก็ดับขันธ์ปรินิพพานในชั้นอกนิฏฐพรหม
    โลกนี่เอง
    ความอัศจรรย์ทั้งหมดนี้ เป็นคุณวิเศษของพระอนาคามีบุคคลผู้ทรง
    พระคุณประเสริฐในพระบวรพุทธศาลนา ซึ่งจะไม่กลับมาในมนุษยโลกอีกเลย
    ในอนาคตกาล สำหรับนปวัตติกาล ถ้าสมัยใดมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ-
    เจ้าทรงจึงอุบัติขึ้นในโลก พระอนาคามีบุคคลซึ่งอยู่ในพรหมโลกก็ย่อมมาสู่มนุษย-
    โลกนี้ เพื่อที่จะได้ทอดทัศนา และสดับธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
    นั้น เช่นนี้ก็มีอยู่บ้างเป็นธรรมดา
    พรรณนาในอนาคามีโลกุตรภูมิ ซึ่งเป็นภูมิหลุดพ้นโลกลำดับที่ ๓ เห็นว่า
    สมควรที่จะยุติลงได้ แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

    อรหัตโลกุตรภูมิ
    ภูมิพ้นโลกที่ ๔
    โลกุตรภูมิลำดับที่ ๔ นี้มีนามว่า อรหัตโลกุตรภูมิ ได้แก่ ภูมิที่พ้นจากโลก
    คือ พระอรหัตคุณ ท่านผู้ที่บรรลุถึงภูมินี้ย่อมเป็นผู้สมควรแก่การบูชาของเหล่า
    เทพยดาแลมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเป็นมหาขีณาสพเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด
    ในพระบวรพุทธศาสนา ฉะนั้น จึงได้นามว่าพระอรหันต์ = ท่านผู้ลมควรแก่การ
    บูชา
    ข้อปฏิบัติท่านผู้จะบรรลุโลกุตรภูมิชั้นสูงสุดนี้ต้องบำเพ็ญวิปัสลนากรรม-
    ฐานผ่านโลกตรภูมิขั้นต่ำมาตามลำดับ แล้วมีวิริยะอุตลาหะเจริญวิปัสสนาให้
    ภิญโญภาพยิ่งขึ้น เมื่ออินทรีย์ถึงความเสมอกันดีแล้ว และบุญวาสนาบารมีเต็ม
    เปี่ยมแล้ว สภาวญาณก็จะเกิดขึ้นตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป จนถึง
    สังขารุเปกขาญาณ แต่ว่าญาณเหล่านี้ จะมีสภาวะประณีตเป็นที่สุด ต่อจากนั้น
    อนุโลมญาณก็จะเกิดขึ้น ติดตามมาด้วยโวทานะ แล้วพระอรหัตมรรคญาณ
    หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพระจตุตถมรรค ก็จักอุบัติขึ้น เมื่อพระอรหัตมรรค
    ญาณเกิดขึ้นแล้ว ก็จะเป็นเสมือนดาบอันคมกล้า ฟาดฟันประหัตประหารบรรดา
    สรรพกิเลสที่หมักดองในขันธสันดานมานานนักหนาให้หมดไปโดยสิ้นเชิง โซ่
    เหล็กคือสัญโญชน์ที่เหลืออีก ๕ ประการ ก็เป็นอันขาดสะบั้นหมดลง ด้วย
    อำนาจของพระอรหัตมรรคที่บังเกิดขึ้นในขณะนี้ ต่อจากนั้น พระอรหัตผลญาณ
    ก็จะบังเกิดติดดามมาใหัท่านได้เสวยอารมณ์พระนิพพานเป็นขันธวิมุตติหลุดพ้น
    จากขันธ์ห้า คือ รูปนาม เป็นพระมหาขีณาสพถึงความบริสุทธิ์เป็นอย่างยิ่ง
    กิเลลธุลีแม้แต่เท่ายองใยก็ไม่มีเหลือติดอยู่ในขันธสันดาน
    อนึ่ง พึงทราบไว้ในที่นี้ ด้วยว่า ท่านที่สามารถจะปฏิบัติให้ พระอรหัตมรรค
    ญาณบังเกิดขึ้นในขันธสันดานนั้น ตัองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา คือ มีปัญญา
    บารมีเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ที่สุด พระอรหัตมรรคญาณนี้ จึงจักอุบัติเกิดขึ้นได้
    ฉะนั้น ในพระบวรพุทธศาสนานี้ จึงเป็นพระศาสนาที่เต็มไปด้วยหลัก ๓ ประการ
    คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันยอดเยี่ยมลมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง เพราะการบรรลุมรรค
    ผลอันสูงสุดเป็นโลกุตระนี้ จะต้องบรรลุด้วยหลัก ๓ ประการอย่างยอดเยี่ยม คือ
    ๑. จะบรรลุพระโสตาปัตติมรรคญาณและพระสกิทาคามิมรรคญาณได้ด้วย
    อธิศีล คือ ศีลชั้นยอดเยี่ยมสมบูรณ์ที่สุด
    ๒. จะบรรลุพระอนาคามิมรรคญาณได้ด้วยอธิจิต คือ มีจิตเป็นสมาธิชั้น
    ยอดเยี่ยมสมบูรณ์ที่สุด
    ๓. จะบรรลุพระอรหัตมรรคญาณได้ด้วยอธิปัญญา คือ ปัญญาขั้นยอด
    เยี่ยมสมบูรณ์ที่สุด

    คุณวิเศษ
    ท่านพระอรหันดอริยบุคคลนี้ ท่านตัดสัญโญชน์ที่เหลืออีก ๕ ประการได้
    หมดเด็ดขาด คือ
    ๑. รูปราคสัญโญชน์ ความยินดีในรูปภพ คือ ความอยากเกิดเป็นพระ
    พรหมในรูปพรหมโลก
    ๒. อรูปราคสัญโญชน์ ความยินดีในอรูปภพ คือ ความอยากเกิดเป็น
    พระพรหมผู้วิเศษในอรูปพรหมโลก
    ๓. มานสัญโญชน์ ความถือตัว คือ อหังการมมังการ
    ๔. อุทธัจจสัญโญชน์ สภาพที่จิตฟุ้งไปโดยไม่สามารถจะตั้งอยู่ในอารมณ์
    เดียวได้นาน
    ๕. อวิชชาสัญโญชน์สภาพที่ไม่รู้พูดอีกทีก็ว่าโมหะความมืดหลงของจิต
    ในข้อนี้ หากจะมีผู้สงสัยว่า ความไม่รู้ในสภาพธรรมคืออวิชชานี้ ทำไมจึง
    ยังเหลือให้พระอรหัตมรรคประหารอยู่อีก เพราะเมื่อมรรคผลเบื้องต่ำทั้ง ๓ เกิด
    ขึ้นแต่ละครั้ง ก็ได้เห็นอริยสัจกำจัดอวิชชาทุกครั้งไป เหตุไฉนยังมีอวิชชาเหลือ
    อยู่อีกเล่า? ในเรื่องนี้ท่านอุปมาไว้ว่า มรรคเบื้องต่ำทั้งสามนี้เป็นวิชฺชูปมา
    ธมฺมา คือ เหมือนกับฟ้าแลบ! ธรรมดาว่า ฟ้าแลบย่อมมีแสงสว่างเภิดขึ้นแวบ
    หนึ่ง แล้วความมืดก็ปกคลุมด่อไป ส่วนพระอรหัตมรรคนั้นเป็นวชิรูปมา ธมฺมา
    คือ เป็นเหมือนกับฟ้าผ่า! ธรรมดาว่า ฟ้าผ่านั้น สิ่งที่กีดขวางอยู่จะไม่ถูกทำลาย
    เป็นอันไมมี ในกรณีนี้ก็เหมือนกัน เมื่อพระอรหัตมรรคเกิดขึ้นแล้ว อวิชชา
    หรือโมหะย่อมถูกทำลาย ไม่อาจปกคลุมได้อีกต่อไป
    รวมความว่า บัดนี้ บรรดาสรรพกิเลสน้อยใหญ่ทั้งหลาย ซึ่งเอามารวม
    เรียกไว้ในที่นี่ว่า สัญโญชน์ ๑๐ ประการ ได้ถูกตัดถูกประหัตประหารด้วยพระ
    อริยมรรคญาณหมดสิ้นแล้วใช่ไหมเล่า เพื่อให้เข้าใจดีจะขอกล่าวย อนทบทวนดู
    อีกที ดังนี้
    ๑. พระโสดาปัตติมรรคญาณ ประหารได้ ๓ สัญโญชน์ คือ ๑. สักกาย-
    ทิฏฐิสัญโญชน์ ๒. วิจิกิจฉาลัญโญชน์ ๓. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์
    ๒. พระสกิทาคามิมรรคญาณ ประหารไม่ได้สักสัญโญชน์ แต่เป็นตนุกร
    คือ ทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง
    ๓. พระอนาคามิมรรคญาณ ประหารได้ ๒ สัญโญชน์ คือ ๑. กามราค-
    สัญโญชน์ ๒. ปฏิฆสัญโญชน์
    ๔. พระอรหัตมรรคญาณ ประหารได้ ๔ สัญโญชน์ คือ ๑. รูปราค
    ลัญโญชน์ ๒. อรูปราคสัญโญชน์ ๓. มานสัญโญชน์ ๔. อุทธัจจสัญโญชน์
    ๕. อวิชชาสัญโญชน์
    พระอรหันตอริยบุคคล นอกจากจะประหารกิเลสโดยสิ้นเชิง เพราะตัด
    สัญโญชน์ดังกล่าวได้ หมดสิ้นแล้ว ท่านยังสามารถเข้าอรหัตผลสมาบัติ เสวย
    อารมณ์พระนิพพานได้ ตามจิตปรารถนาอีกด้วย! ที่วิเศษสุดก็คือ ท่านหมดกิจ
    อยู่จบพรหมจรรย์แล้วไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในห้วงมหรรณพภพสงสารอีก
    ต่อไป เมื่อถึงอายุขัยก็ดับขันธ์ปรินิพพาน
    ก็การปรินิพพานของพระอรหันต์นั้น บางท่านก็มีวิธีการวิจิตรประเสริฐนัก
    หนา เบื้องหน้าแต่นี้ จักยกเอาการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานขององค์สมเด็จ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากล่าวไว้เป็นกถาส่งท้าย เพื่อเราท่านทั้งหลายจักได้มี
    ใจเลื่อมใสน้อมนึกระลึกถึงพระองค์ผู้ ทรงเป็นพระบรมโลกุตมาจารย์

    พระพุทธปรินิพพาน
    กาลเมื่อสมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ พระแท่นที่
    ปรินิพพาน องค์พระบรมศาลดาจารย์ได้ประทานพระปัจฉิมพุทธพจน์ไว้ว่า
    "ดูกูรภิกษุ ทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า
    สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจง
    ยังกิจทั้งปวงให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด"
    ครั้นตรัสอย่างนี้ ก็ไม่ตรัสอีกต่อไป แต่ทรงกระทำปรินิพพานบริกรรมดังนี้
    คือ
    - เสด็จเข้าปฐมฌาน
    - เสด็จเข้าทุติยฌาน
    - เสด็จเข้าตติยฌาน
    - เสด็จเข้าจตุตถฌาน
    - เสด็จเข้าอากาสานัญจายตนฌาน
    - เสด็จเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน
    - เสด็จเข้าอากิญจัญญายตนฌาน
    - เสด็จเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    - เสด็จเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
    กาลนั้น พระอานนท์เถรเจ้าผู้เป็นพระพุทธอนุชา จึงมีวาจาค่อยถาม
    พระอนุรุทธเถรเจ้าขึ้นว่า " ข้าแต่ ท่านอนุรุทธ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้า
    ปรินิพพานแล้วหรือ? ที่ถามขึ้นเช่นนี้ก็เพราะว่า พระคุณท่านเห็นพระอัสสาสะ-
    ปัสสาละของสมเด็จพระบรมศาสดาขาดหายไป จึงเข้าใจว่า ทรงปรินิพพาน
    แล้ว
    พระอนุรุทธเถรเจ้าผู้ซึ่งได้ เข้าฌานสมาบัตินั้นๆ ตามไปพร้อมกับสมเด็จ
    พระบรมศาลดา จนกระทั่งออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทราบว่า
    เวลานี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเลด็จเข้านิโรธสมาบัติอยู่ และการ
    ปรินิพพานย่อมไม่มีภายในนิโรธอย่างแน่นอน ครั้นได้ยินพระอานนท์เถรเจ้า
    ถามเช่นนั้น จึงค่อยตอบว่า "สเด็จพระบรมครูของเรายังไม่เสด็จเข้าปรินิพ-
    พาน ยัง เสด็จอยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธ
    ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ
    แล้ว . .
    - เสด็จเข้าเนวลัญญานาสัญญายตนฌาน
    - เสด็จเข้าอากิญจัญญายตนฌาน
    - เสด็จเข้าอากาสานัญจายตนฌาน
    - เสด็จเข้าจตุตถฌาน
    - เสด็จเข้าตติยฌาน
    - เสด็จเข้าทุติยฌาน
    - เสด็จเข้าปฐมฌาน
    - เสด็จเข้าทุติยฌาน
    - เสด็จเข้าตติยฌาน
    เสด็จเข้าจตุตถฌาน ครั้นเสด็จออกจากจตุตถฌานแล้ว ก็เสด็จดับขันธ์
    ปรินิพพานในกาลนั้น
    ความวิเศษมหัศจรรย์ตามที่พรรณนามานี้ เป็นปรินิพพานวิธีขององค์
    สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบรมนาถของพวกเราชาว
    พุทธบริษัททั้งหลาย พึงพิจารณาดูเถิดว่า เป็นการปรินิพพานที่น่าอัศจรรย์และ
    วิจิตรพิสดาร ควรแก่การที่จะทำใจให้ศรัทธาเลี่อมใสในพระองค์เพียงใด
    พรรณนาในอรหัตโลกุตรภูมิ ซึ่งเป็นภูมิหลุดพ้นจากโลกลำดับที่ ๔ หรือ
    ลำดับสูงสุด เห็นว่าควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วยประการฉะนี้
    ปัจฉิมพจน์
    ข้าพเจ้าผู้ มีนามปรากฏว่า พระมหาวิลาศ ญาณวโร ได้อุปสมบทเมื่อปี
    พุทธศักราช ๒๔๙๓ โดยมีพระเดชพระคุณ พระธรรมปัญญาบดี ชุตินฺธรเถระ
    เปรียญธรรม ๘ ประโยค วัดสามพระยา จังหวัดพระนคร เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระครูสุทธิวรคุณ วัดสุทธิวราราม จังหวัดพระนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    และ พระครูกัลยาณวิสุทธิ์ วัดดอน จังหวัดพระนคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    นับแต่ได้อุปสมบทมา ก็ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมตามกำลังสติปัญญา
    สำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ครั้นเสร็จ
    ธุระในด้านปริยัติศึกษาแล้ว ก็ใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรมตามกำลังศรัทธา ได้เข้า
    ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๒ ครั้ง โดยมีพระอาจารย์เข่ง อตฺตรกฺโข และ
    พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธรรมาจริยะ เป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้บอก
    กรรมฐาน
    ครั้นออกจากการปฏิบัติวิปัสสนาแล้ว พอมีเวลาว่างก็คิดรจนาหนังสือ
    โลกทีปนี นี้ขึ้น ค้นคว้าเอามาจากกถาของท่านบุรพาจารย์แต่ปางก่อน ซึ่งท่าน
    กล่าวไว้ในที่ต่างๆ ประมวลมาไว้ตามสมควรแก่เรื่องในที่นี้ เพื่อต้องการจะชี้
    ทางปฏิบัติแก่ท่านสาธุชนทั้งหลายผู้มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ฉะนั้น ขอ
    ท่านทั้งหลายจงอย่าได้เข้าใจว่า กถาเหล่านี้ เป็นวิชาความรู้ของข้าพเจ้ากล่าว
    เอาเองด้วยจินตามยปัญญา ความจริงไม่ใช่ เพราะเป็นความรู้ความเข้าใจ
    ของท่านบุรพาจารย์ ผู้มีญาณแกล้วกล้าและมีปัญญาลึกล้ำ แนะนำพร่ำสอน
    ไว้ต่างหาก ข้าพเจ้าผู้มีสติปัญญาน้อย เป็นแต่เพียงรวบรวมเรียบเรียงด้วย
    สำนวนของตนเสียใหม่ เพื่อให้เข้าใจง่ายเท่านั้น โดยรจนาเมื่อวันที่ ๒๓
    พฤษภาคม ๒๕๐๖ และมาจบลงในวันนี้ คือ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๐๖ รวม
    เวลา ๕๘ วัน โดยปราศจากอุปัทวันตรายใดๆ
    ต่อจากนี้ไป ก็ได้แต่หวังใจอยู่ว่า หนังสือโลกทีปนีที่เรียบเรียงขึ้นนี้ คงจะ
    มีสารัตถประโยชน์แก่ท่านผู้มีปัญญาที่อุตส่าห์ติดตามศึกษามาตั้งแต่ตัน จน
    กระทั่งจบลงในบัดนี้ตามสมควร
    ยํ มยา กสลํ ปตฺตํ กตฺวา หิ โลกทีปนี
    สตถุโน โลกนาถสฺส สทฺธมฺมฏฐิติกามตา
    สทฺธปฺปสนนจิตฺเตน กุสลํ อตฺถทายกํ
    ตสฺส เตเชน สพฺเพปิ สุขฌเธนฺตุ ปาณิโน
    พุทฺเธ ปสนฺนา จ ปสนฺนธมฺมา
    สงฺเฆ ปสนฺนา อถ โมกฺขกามา
    สพฺเพปิ มุจฺจนฺตุ อปายทุกฺขา
    นิพฺพาน ปปฺโปนตุ อนาคเต เต
    ธมฺมเวปุลฺลภาวาย อคฺคา กลฺยาณนิสฺสิตา
    สพฺเพปิ เม สมิชฺฌนฺตุ นิรนฺตรํ มโนรถาติ
    โลกทีปนี ปรินิฏฺฐิตา
    ข้าพเจ้าผู้มีน้ำใจใคร่จักให้พระสัทธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระ
    ชินวรโลกนาถบรมศาสดาถาวรตั้งมั่นอยู่ตลอดกาลนาน จึงได้อุตสาหะรจนา
    เรียบเรียงโลกทีปนีนี้ขึ้น แล้วได้กุศลความดีอันใดบ้าง ด้วยเดชะแห่งกุศลความ
    ดีนั้น ขอสรรพสัตว์ทั้งหลาย จงประสบแต่ความสุขสำราญจงทั่วกัน
    อนึ่ง บรรดาพุทธมามกะผู้เลื่อมใสพระไตรรัตน์ คือ
    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีเจตจำนงใคร่จักพ้นจาก
    กองทุกข์จงพ้นจากทุกข์ไนอบายภูมิ และจงบรรลุถึงพระ
    นิพพานในอนาคตกาลด้วยเถิด
    ขอให้มโนรถความปรารถนาอันประเสริฐซึ่งเกิดจากน้ำ ใจอันงามของข้าพเจ้า
    จงสำเร็จผลตามที่ตั้งไว้นี้ทั้งหมด เพื่อความหมดจดไพบูลย์แห่งพระสัทธรรม
    คำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระชินวรบรมโลกุตมาจารย์ ตลอดกาลนิรันดร
    เทอญ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2011
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    ในบุญกุศลด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...