(5)หนังสือโลกทีปนี เกี่ยวกับภพภูมิ นรก สวรรค์ ตอน พรหมโลก1

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย saksit5455, 19 สิงหาคม 2011.

  1. saksit5455

    saksit5455 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +59
    พรหมปาริสัชชาภูมิ
    พรหมโลกชั้นที่ ๑
    บัดนี้ จักพรรณนาถึงพรหมภูมิ ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่ของพระพรหมทั้งหลาย
    เป็นลำดับไป ตั้งแต่ชันต้นจนถึงชั้นสูงสุด ขอเชิญท่านผู้เป็นมนุษย์ทั้งหลายจง
    ตั้งใจศึกษา ดังต่อไปนี้
    พรหมโลกชั้นแรกมีนามปรากฏว่า พรหมปาริสัชชาภูมิ ที่ได้ ชื่อเช่นนี้ก็
    เพราะว่าพรหมโลกชั้นนี้ เป็นที่สถิตอยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ผู้เป็นบริษัท
    บริวารของพระพรหมซึ่งสถิตอยู่ในชั้นมหาพรหมาภูมิ
    พรหมโลกชั้นนี ถึงแม้ จะเป็นชั้นต่ำที่สุด แต่ก็ตั้งอยู่เบื้องบนสูงกว่าสวรรค์
    เทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสตีเหลือคณนา ฉะนัน จึงไกลจากมนุษยโลกเรานี้นัก
    หนา พึงทราบโดยอนุมานดังนี้
    ยังมีศิลาก้อนหนึ่ง ซึ่งมีความใหญู่เท่าโลหปราลาท ศิลาก้อนใหญู่นี้ ได้ถูก
    ทอดทิ้งดิ่งลงมาจากพรหมโลก ลอยละลิ่วลงมาไม่ได้ติดขัดที่ใดเลย กว่าจะถึง
    มนุษยโลกเรานี้ กินเวลานานถึง ๔ เดือนจึงจะตกมาถึง พึงพิจารณาดูเถิดว่า
    พรหมโลกชั้นนี้อยู่ไกลจากมนุษยโลกนี้เพียงไร ก็ในพรหมโลกนี้ย่อมมีปราสาท
    แก้วเป็นพรหมวิมาน และมีเครื่องอลังการประดับสำหรับพรหมโลกสวยงาม
    ประณีตนัก ดีกว่าสมบัติของเหล่าเทพยดา อันเป็นเทวสมบัติหลายร้อยหลายพัน
    เท่าเพราะว่าสมบัติเหล่านั้น เป็นพรหมสมบัติแสนประเสริฐนักแล

    พรหมอุบัติ
    ท่านผู้มีเพียรกล้า อุตสาหะพยายามทำสมถภาวนาจนได้สำเร็จฌาน ครั้น
    ถึงกาลกิริยาตายจากโลกนี้ ก็ไปอุบัติเกิดในพรหมโลกตามอำนาจฌานนั้นเป็น
    พระพรหมละม้ายบุรุษเพศทังสิ้น ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคเหมือนสัตว์ในภูมิอื่น
    แช่มชื่นด้วยมีญานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่มีมูตรคูถอุจจาระปัสสาวะอันลามก
    เหม็นร้ายต่าง ๆ ร่างกายเนื้อตัวหน้าตาแห่งพรหมทั้งหลายนั้นกลมเกลี้ยงสวย
    งามนัก มีรัศมีออกจากกายตัวรุ่งเรืองกว่าพระอาทิตย์พระจันร์หลายพันเท่า
    แต่เพียงหัตถ์หนึ่งเล่าอันพระพรหมเหยียดยื่นออกไป หวังให้ส่องรัศมีไปทั่วทั้ง
    จักรวาลก็ย่อมทำได้ อวัยวะร่างถายทีต่อกันของพระพรหม คือ หัวเข่าก็ดี แขน
    ก็ดี ก็กลมเกลี้ยงเรียบงามนัก จักได้เห็นที่ต่อนั้นหามิได้ อนึ่ง เกศเกล้าแห่งพระ
    พรหมนั้นงามนักหนา โดยมากมีหัวเป็นชฎา เช่นเดียวกับชีป่าดาบส พระฤๅษี
    โยคีผู้มีฤทธิ์ สถิตเสวยสุขอยู่ ณ พรหมโลกที่ตนอุบัติเกิด ตราบจนกว่าจะสิ้นอายุ
    อายุ เมื่อกล่าวถึงอายุ ในพรหมโลกนี้มีอายุยืนนานนักหนา จะคณานับ
    ด้วยวันเดือนปีนั้นมิได้ ต้องนับเป็นกัป สำหรับพรหมที่สถิตเสวยสุขอยู่
    พรหมโลกชั้นแรก คือ ชั้นพรหมปาริสัชชาภูมินี้ มีอายุยืนได้ หนื่งในสาม ของ
    วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป


    เรื่องกัป
    เมื่อตอนกล่าวถึงนิรยภูมิ ซึ่งว่าด้วยอายุของสัตว์นรกนั้น ได้บอกไว้ว่า
    จักกล่าวถึงเรื่องกัปในโอกาสข้างหน้า ครั้นถึงตอนนี้จักหลบไม่อธิบายปล่อยให้
    หายไปเสียเฉยๆ ก็ดูกระไรอยู่นัก จึงจักกล่าวถึงเรื่องกัปตามที่บอกไว้ ดังต่อไปนี้
    กาลสมัยเริ่มแรกทีเดียว คือ ในยุคต้น คนเราไม่ใช่มีอายุน้อยนิดหนึ่งเพียง
    ๗๐-๘๐ ปี แล้วก็ตายลงอย่างทุกวันนี้เลย ความจริง มนุษย์ในยุคนั้น เขามี
    อายุยืนนานถึงอสงไขยปี ที่ว่าอสงไขยปีนั้น ก็คือจำนวนปีมนุษย์ที่มีเลขหนึ่งขึ้น
    หน้า แล้วต่อด้วยเลขศูนย์หนึ่งร้อยสี่สิบตัว หรือจะว่าเป็นจำนวนปีที่นับด้วยเลข
    หนึ่งร้อยสี่ลิบเอ็ดหลักก็ได้ อยากรู้ว่าเป็นจำนวนเท่าใด ก็ลองคำนวณดูเถิด คือ
    ตั้งเลขหนึ่งเขัาแล้วเติมศูนย์ลงไปให้ได หนึ่งร้อยสี่สิบศูนย์ กาลเวลาตามจำนวน
    ตัวเลขที่กล่าวนี้ เป็นจำนวนอสงไขยปี เพราะมันเป็นจำนวนปีที่มากมายเกือบ
    จะนับไม่ได้ อย่างนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า อสงไขยปี = จำนวนปีที่นับไม่ได้
    ในยุคต้น มนุษย์มีอายุนานได้ อสงไขยปีนี่แล แล้วก็ค่อยๆ ลดลงมา ร้อยปี
    ลดลงปีหนึ่ง ลดลงมาเรื่อย ๆ ค่อยลดลงด้วยอาการอย่างนี้ จนกระทั่งอายุ
    ของมนุษย์เหลือเพียงสิบปี อาการที่อายุลดลงนี้ พึงเห็นตัวอย่าง เช่น ในสมัยที่
    สมเด็จพระพุทธเจ้าของเรายังทรงพระชนมชีพอยู่มนุษย์ในสมัยนั้นมีอายุหนึ่งร้อยปี
    ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงกาลทุกวันนี้ นับได้สองพันห้าร้อยปีเศษ หรือจะพูดอีกที
    ว่านับได้ยี่สิบห้ารัอยปีเศษแล้ว ทีนี้ ร้อยปีลดลงเสียปีหนึ่งก็คงเหลือเจ็ดสิบหัา
    (๑๐๐-๒๕ = ๗๕) จึงเป็นอันยุติได้ว่า ในสมัยทุกวันนี้ อายุมนุษย์มี ๗๕ ปี
    เป็นประมาณเท่านั้นเอง เมื่อลดลงไปจนกระทั่งเหลือนิดหน่อยเพียงสิบปีแลัว
    คราวนี้ ไม่ลดอีกต่อไปละ แต่จะเพิ่มขึ้น คือ ค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ร้อยปีเพิ่มขึ้น
    ปีหนื่ง เช่นเดียวกับตอนที่ลดลงนั่นเอง เพิ่มขึ้นไปเรื่อยไม่หยุดยั้ง จนกระทั่ง
    มนุษย์มีอายุยืนนานถึงอสงไขยปีอีกตามเดิม เวลานานหนึ่งรอบอสงไขยปีนี่เอง
    เรียกว่า อันตรกัป
    เมื่อนับอันตรกัปที่ว่ามานี่ได้ หกสิบสี่อันตรกัป จึงเป็นหนึ่งอสงไขยกัป
    ก็อสงไขกัปนี้มีอยู่ ๔ อสงไขยกัป คือ
    ๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป ... ได้ แก่ ตอนที่โลกกำลังถูกทำลาย ซึ่งได้ แก่คำว่า
    สงฺวฏฏดีติ สงวฏโฎ = กัปที่กำลังพินาศอยู่ เรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป
    ๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ... ได้แก่ ตอนที่โลกถูกทำลายเลร็จแล้ว ซึ่ง
    ได้แก่คำว่า สงฺวฏโฎ หุตฺวา ดิฏฐดีติ สงฺวฏฏฐายี = กัปที่มีแต่ความพินาศตั้งอยู่
    เรียกว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
    ๓. วิวัฏฏอสงไขยกัป ... ได้แก่ ตอนที่โลกกำลังพัฒนาคือกำลังจะกลับคืน
    เป็นปกติ ซึ่งได้แก่ คำว่า วิวฏฏตีติ วิวฏโฏ = กัปที่กำลังเาริญขึ้นเรียกว่า วิวัฏฏ
    อสงไขยกัป
    ๔. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ...ได้แก่ ตอนที่โลกพัฒนาเรียบร้อยเป็นอันดีแล้ว
    ซึ่งได้แก่ คำว่า วิวฺฏโฏ หุตฺวา ติฏฐตีติ วิวฏฏฐายี = กัปที่เจริญูขึ้นพร้อมแล้ว
    คือทุกสิ่งทุกอย่าง ดั้งอยู่ตามปกติ เรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
    สัตว์โลกทั้งหลายเช่นมนุษย์เรานี้ เป็นต้น จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ได้ ก็เฉพาะ
    ตอนอสงไขยกัปสุดท้าย คือ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นี่เท่านั้ น ส่วนตอนทั้งสาม
    กัปข้างต้นนั้น ไม่มีสิ่งที่มีชีวิตอาศัยอยู่เลย ก็จะอยู่ได้อย่างไรเล่า เพราะเป็น
    ตอนที่โลกกำลังถูกทำลายพังพินาศ และผลมาเป็นปกติเอาเมื่อตอนอสงไขยกัป
    สุดท้ายนี่เอง
    อสงไขยกัปหนื่งๆ นั้นนับเป็นเวลานานมาก ดังกล่าวแล้ว คือ
    ๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
    ๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
    ๓. วิวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
    ๔. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
    รวมทั้ง ๔ อสงไขยกัป ก็เป็น ๒ อันตรกัป เวลาทั้งหมดนี้ เรียกว่า
    ๑ มหากัป
    ที่พรรณนามาทั้งหมดนี้ รู้สึกว่าจะเขัาใจยากอยู่ลักหน่อย แต่ก็เป็นการจน
    ใจเหลือวิลัยแท้ ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรจึงจะอธิบายให้ง่ายกว่านี้ได้ อีกแล้ว
    ความจริง การรจนาเรียบเรียงหนังสือเรื่องนี้ ตั้งใจจะให้ อ่านเขัาใจกันง่าย ๆ
    เพราะโดยมากเป็นเรื่องราวนอกโลกมนุษย์ ใครที่เป็นคนเชื่อยาก เป็นผู้มากไป
    ด้วยจินตามยปัญูญา ก็อาจทึกทักเอาว่าเป็นเรื่องไม่เข้าท่า ไม่น่าเชื่อฟัง แต่ว่า
    ความจริงไม่ใช่ เพราะเป็นเรื่องดีที่ควรรู้ไว้ นักหนา รับฟังไว้ พิจารณาเถิด วันนี้
    ไม่ศรัทธา แต่ว่าภายหน้าจะตัองเชื่อในเมื่อจิตใจเจริญขึ้นด้วยธรรมปฏิบัติ
    ฉะนั้น ขณะนี้ ไม่ต้องคิดอะไรมาก อ่านฟังกันต่อไปดีกว่า
    ลำดับนี้ จะว่าด วยเรื่องกัปซ้ำ อีกที เพราะเท่าที่ว่ามาแล้วรู้สึกว่ายังขัด ๆ
    อยู่ ยังไม่โล่งใจนัก เรื่องกัปนี้ เมื่อจะว่าซ้ำอีกที ก็นับได้ดังนี้
    ๑ มหากัป เท่ากับ ๔ อสงไขยกัป
    ๑ อสงไขยกัป " ๖๔ อันตรกัป
    ๑ อันตรกัป " ๑ รอบอสงไขยปี
    หรือ
    ๑ รอบอสงไขยปี เป็น ๑ อันตรกัป
    ๖๔ อันตรกัป " ๑ อสงไขยกัป
    ๔ อสงไขยกัป " ๑ มหากัป
    เอาละ... หวังว่า คงเป็นที่เข้าใจกันได้ง่ายขึ้นแล ว บัดนี้ เราจะพากันย้อน
    กลับไปหาเรื่องเดิม คือ อายุของพระพรหมชั้นพรหมปาริสัชชาภูมิต่อไป
    พระพรหมชั้นนี้ได้กล่าวไว้แล้วว่า มีอายุนานถึงหนึ่งในสามของวิวัฏฏฐายี
    อสงไขยกัป ก็อันว่ากาลเวลาที่เรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัปนั้น ท่านผู้มี
    ปัญญาคงทราบแล้วว่า นานถึงหกสิบลี่อันตรกัป ทีนี้ หนึ่งในสามของหกสิบสี่
    เป็นเท่าไรเล่า? ก็คงเป็นยี่สิบเอ็ดเศษ ฉะนั้ น จึงเป็นอันยุติได้ว่า พระพรหมทั้ง
    หลายผู้สถิตเสวยพรหมสมบัติอยู่ในพรหมปาริสัชชาภูมินี้ มีอายุยืนนานได้ ๒๑
    อันตรกัปเศษ
    บุรพกรรม ท่านผู้ที่จะมาอุบัติเกิดเป็นพรหมชั้นนี้ ได้แก่ ท่านที่เป็น
    พราหมณ์ก็ดี โยคีหรือพระฤๅษีก็ดี ภายนอกพระพุทธศาสนา ซึ่งได้เจริญสมถ
    ภาวนาบำเพ็ญพรตทำตบะ จนได้เป็นฌานลาภีบุคคลลำเร็จปฐมฌาน หรือ
    สมณะพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา ผู้อุตสาหะกระทำสมถกรรมฐาน
    ภาวนา จนได้สำเร็จปฐมฌานเช่นเดียวกัน แต่เป็นปฐมฌานชั้นเล็กนัอย มี
    อำนาจอ่อนซึ่งเรียกว่า ปริตตปฐมฌาน ครั้นดับจิตตายในขณะฌานยังไม่เสื่อม
    ย่อมมาอุบัติบังเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ เสวยพรหมสมบัติอย่างสุขสำราญ สมกับ
    ภาวนากรรมที่ทำไวั

    เรื่องฌาน
    ตามธรรมดา ท่านที่เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานสมาบัตินั้น ธรรมทั้ง ๔
    ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิต ปัญญา ของท่านผู้นั้ น อย่างใดอย่างหนึ่งจะ
    ต้องเขัาถึงความเป็นอธิบดี ในขณะที่ฌานจะเกิดขึ้น ก็ความเป็นอธิบดีของธรรม
    ทั้ง ๔ ที่เกิดขึ้นนั้น
    - ถ้าเป็นไปในขณะนั้นอย่างสามัญ มีภำลังอ่อน ฌานที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็น
    ปริตตฌาน
    - ถ้าเป็นไปมากปานกลาง มีกำลังปานกลาง ฌานที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็น
    มัชฌิมฌาน
    - ถ้าเป็นไปมากเข้มแข็ง มีกำลังเข้มแข็ง ฌานที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็น
    ปณีตฌาน
    ฌานที่เกิดขึ้น ย่อมแบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นปริตตะ ชั้นมัชฌิมะ และชั้น
    ปณีตะ มีอำนาจสูงต่ำกว่ากัน ฉะนั้น เมื่อจะให้ ผลไปบังเกิดในพรหมโลก จึงให้
    ผลแตกต่างกัน เช่น ท่านผู้ ได้ปฐมฌานชั้นปริตตะ ย่อมมีโอกาสได้เกิดเพียง
    พรหมชั้นต่ำ คือพรหมปริสัชชานี เท่านั้น เพราะฌานมีกำลังอ่อนเป็นไปอย่าง
    สามัญ
    เพื่อปัองกันความสงลัยของปราชญ์ทั้งหลาย จึงขอกล่าวไว้ล่วงหน้า
    อย่างรวบรัดในที่นี้ว่า ตั้งแต่นี้ ไป การกล่าวถึงฌานและฌานวิบาก จักกล่าว
    โดยจตุกกนัย ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้ยุ่งยาก เป็นการตัดความลำบากที่จะต้องกล่าว
    เยิ่นเย้อมากมาย ขอปราชญ์ทั้งหลายพึงทราบตามนี้
    พรรณนาในพรหมปาริสัชชาภูมิ หรือพรหมโลกชั้นที่ ๑ ซึ่งเป็นการ
    พรรณนาโดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วยประการ
    ฉะนี้

    พรหมปุโรหิตาภูมิ
    พรหมโลกชั้นที่ ๒

    พรหมโลกชั้นที ๒ นี้ มีนามปรากฏว่า พรหมปุโรหิตาภูมิ ที่ได้ชือเช่นนี้ก็
    เพราะว่า เป็นที่อยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ผู้ทรงฐานะประเสริฐกว่าพระพรหม
    ชั้นปาริสัชชา เพราะเป็นผู้นำในกิจการของมหาพรหม
    พรหมปุโรหิตาภูมินี้ ประเสริฐกว่าพรหมชั้นแรก ทั้งในด้านพรหมสมบัติ
    เช่น ปราสาทวิมาน เป็นต้น กับทั้งในด้านสรีระร่าง เพราะมีรูปร่างใหญู่กว่า
    ดีกว่า เป็นอาทิ เมื่อกล่าวโดยสถานที่ก็ตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกับพรหม
    ปาริสัชชาภูมิ แต่ว่าอยู่กันภูมิละเขตเท่านั้น
    อายุ เมื่อกล่าวโดยอายุพรหมปุโรหิตาภูมินี้มีอายุยืนนาน นับได้ครึ่งหนึ่ง
    ของวิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ก็วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัปนั้นมี ๖๔ อันตรกัป ครึ่งหนึ่ง
    ก็คงเป็น ๓๒ อันตรกัป
    บุรพกรรม ผู้ที่มาอุบัติเกิดเป็นพระพรหมชั้นนี้ โดยมากเคยเป็นโยคีพระ
    ฤๅษีสิทธิ์ ที่ท่านเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย จึงออกบำเพ็ญพรตภาวนา หรือพระ
    สมณะในพระพทธศาสนาบำเพ็ญสมถกรรมฐานจนได้มัชฌิมปฐมฌาน คือ
    ปฐมฌานชั้นกลาง เมื่อจะดับจิตตายไปจากโลกนี้ ฌานที่ได้ไว้ไม่เสื่อมคลาย
    ก็เป็นเหตุปัจจัยให้มาอุบัติเกิดเป็นพระพรหมชั้นพรหมปุโรหิตาภูมิ เสวยสุข
    สมบัติอยู่นานนักหนา สมกับภาวนากรรมที่พยายามทำไว้
    พรรณนาในพรหมปุโรหิตาภูมิ หรือพรหมโลกชั้นที่ ๒ ซึ่งเป็นการ
    พรรณนาโดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วย
    ประการฉะนี้
    มหาพรหมภูมิ
    พรหมโลกชั้นที่ ๓
    พรหมโลกชั้นที่ ๓ มีนามว่า มหาพรหมภูมิ ที่ได้ ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
    ภูมินี้ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย คือ ยิ่งใหญู่กว่าพระพรหม
    ปาริลัชชาและพระพรหมปุโรหิตานั่นเอง เมื่อว่าโดยสมบัติความเป็นอยู่ มหา
    พรหมภูมินี้ย่อมจะมีพรหมสมบัติและความเป็นอยู่ประเสริฐล้ำเลิศกว่าพรหมทั้ง
    สองชั้นนั้นเป็นธรรมดา
    อายุ เมื่อว่าโดยอายุ เหล่ามหาพรหมนี้อายุนานนัก นับได้ประมาณ ๑
    มหากัปพอดี เพราะเหตุที่มีอายุยืนนานเช่นนี้ บางทีก็ทำให้ท่านผู้ไปเกิดเป็น
    พระพรหม เกิดความเข้าใจไขว้เขวไปต่าง ๆ บ้างก็มี ตัวอย่างเช่น ท่านท้าว
    พกามหาพรหม ซึ่งเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ โดยมีเรื่องเล่าไวั
    ในพระศาสนาคัมภีร์ ดังต่อไปนี้

    พกามหาพรหม
    ท่านท้าวพกามหาพรหมผู้นี้ มีโอกาสอยู่ในพรหมโลกนานนักหนา
    คราหนึ่งพญามาราธิราชเข้าไปยกยอเอาว่า "ธรรมดาว่ามหาพรหม ย่อมเป็นผู้
    ล้ำเลิศประเสริฐยิ่งนัก เป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวโลกทั่วไป เป็นผู้มี
    ศักดานุภาพยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างสัตว์น้อยสัตว์ใหญ่ใหัเกิดขึ้นในโลก เป็นต้นว่า
    มนุษย์หญิงชาย และสัตว์เดรัจฉานอื่นๆ เป็นอันมาก นอกนั้นยังสร้างภูมิ
    ประเทศ ภูเขา ต้นไม้ ทั้งมหาสมุทรไว้ในโลกมนุษย์อีกมากมาย ท่านท้าวมหา
    พรหมเป็นผู้มีอานุภาพตบะเดชะยิ่งนัก มีอำนาจเหนือสิ่งทั้งปวง" ทั้งที่ไม่เป็นจริง
    เป็นสิ่งหาสาระมิได้ พญามารกล่าวขึ้นลอยๆ ถึงกระนั้น ท้าวพกามหาพรหมก็
    หลงเพลินมีจิตคิดวิปลาส เกิดทิฐิวิบัติปรากฏแก่ใจว่า "อาตมานี้ ไม่ต้องแก่ต้อง
    ตาย เป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าใครที่ไหนทั้งปวง อนึ่งเล่าที่ว่าพระนิพพานนั้นก็เป็นสิ่ง
    กล่าวกันเล่น หาสาระความจริงอันใดมิได้" เป็นอันว่าท้าวมหาพรหมนี้ เข้าใจผิด
    คิดว่าพระนิพพานเป็นของไม่จริง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด หยาบช้านัก
    สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทราบวาระน้ำจิตของท้าวเธอ
    จึงทรงลุกจากต้นรังใหญ่มีใบหนาทึบ ซึ่งอยู่ ณ ป่าสุภควัน เสด็จไปยังพรหม-
    โลกโดยเร็วพลัน ชั่วระยะกาลมาตรว่าบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนของตนออกไป
    แล้วงอกกลับมาเท่านั้น ครั้นพกามหาพรหมเห็นเข้า จึงกล่าวขึ้นว่า "ดูกรท่านผู้
    เช่นกับเรา! การที่ท่านมาถึงที่นี่ก็ดีแล้ว จะได้ปราศรัยกัน ข้าพเจ้ามีความเห็น
    อยู่อย่างหนึ่งว่า บรรดาสรรพสิ่งทั้งปวงลัวนแต่เป็นของเที่ยงแท้ ตั้งมั่นยั่งยืน
    ถาวรอยู่ตลอดกาล ไม่รู้ จักแก่ไม่ รู้จักตาย ไม่มีอะไรจะมากำจัดความทุกข์ที่เกิด
    แก่ผู้ใดได้" สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพุทธฎีกาเตือนสติมหาพรหมว่า
    "ดูกรมหาพรหม ความคิดของท่านนี่น่าอนาถยิ่งนัก บัดนี้ ตัวท่านเป็นมิจฉา
    ทิฐิมีความเห็นวิปริตผิดเคลื่อนไปเสียแล้ว เพราะถูกอวิชชาความมืดมนเข้าหุ้ม
    ห่อดวงจิตจึงเห็นผิดจากธรรมไปเช่นนี้ " ท้าวพกามหาพรหมจึงมีวาทีทูลตอบว่า
    "ดูกรพระสมณโคดม ข้าพเจ้าอยู่นี้มีแด่ความสุขความเบิกบาน หาความ
    ทุกข์สี่ประการ คือ ชาติทุกข์ พยาธิทุกข์ ชราทุกข์ และมรณทุกข์มิได้เลย
    เช่นนี้จักไม่เที่ยงแท้ได้อย่างไรกัน" สมเด็จพระภควันต์จึงตรัสว่า "ดูกรมหา
    พรหม! เราก็รู้อยู่ว่า ตัวท่านนี้มีเดชานุภาพมาก แม้แต่พระอาทิตย์พระจันทร์
    ซึ่งมีรัศมีรุ่งเรืองแก่กล้า ก็หาส่องแสงให้สว่างไปทั่วหมื่นโลกธาตุ เหมือน
    กับรัศมีแห่งท่านไม่ แต่เราก็แจ้งอยู่ว่า พกาพรหมตัวท่านนี้ มีอัคคีไฟคือกิเลส
    คอยเผาผลาญในสันดาน อย่างนี้จักกล่าวว่าสุขสำราญ ได้อย่างไร อีกประการ
    หนึ่ง เราก็ทราบสิ้นแล้วว่า ตัวท่านนี้มีศักดานุภาพมากมายนักหนา แต่ก็มารู้
    อีกว่า อันพกาพรหมตัวท่านนี้จักได้รู้ที่อยู่แห่งพรหมชั้นสูง เช่น อาภัสสราพรหม
    สุภกิณหาพรหม และเวหปผลาพรหมก็หาไม่ และสัตว์จักไปเกิดในชั้นนั้น ๆ
    ได้อย่างไรบ้าง ท่านก็มิรู้" ท้าวพกาพรหมจึงตอบพระบรมครูว่า ดูกร ท่านผู้
    เนียรทุกข์! ท่านมากล่าวกับข้าพเจ้าเป็นทำนองว่า ท่านผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นผู้
    รู้ จักกรรมวิบากของสัตว์ทั้งปวง ข้าพเจ้ายังมิเชื่อก่อน แต่ตัวข้าพเจ้านี้สิ มีศักดา
    นุภาพยิ่งกว่าใครก็ยังมิทราบได้เลย" พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ดูกรท้าว
    พกาพรหม" ตัวท่านมาอวดอ้างกับเราว่า เป็นผู้มีฤทธาศักดานุภาพหาผู้ใด
    จะเสมอมิได้ ถ้าเช่นนั้นท่านจงแสดงฤทธิ์ให้เราดูเดี๋ยวนี้เถิด ท่านจงแสดงตน
    ให้อันตรธานอย่าให้เราเห็นได้ ในกาลบัดนี้ "
    พกามหาพรหมพอได้สดับพระพุทธฎีกา จึงแสดงฤทธาเพื่อให้กายา
    ของตนหายไปด้วยประการต่างๆ ฝ่ายพระผู้มีพระภาคก็ทรงบันดาลพระฤทธิ์ มิ
    ให้พกาพรหมนั้นหายไปได้ แม้จักซ่อนเร้นในที่ไหน สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าก็
    ทรงเห็น ณ ประเทศนั้น เมื่อพกาพรหมพยายามซ่อนเร้นนักหนา กายาแห่ง
    ตนก็มิได้ลับพระเนตรสมเด็จพระพุทธองค์ จนปัญญาลงก็ตรงไปนั่งกอดเข่า
    เจ่าจุกอยู่ ณ วิมานของอาตมา ฝ่ายว่าหมู่พรหมสหายทั้งหลายก็พากันเยาะเย้ย
    ยิ้มแย้มไยไพอยู่ไปมา พกาพรหมจึงออกมาแล้วกล่าวว่า "ดูกรพระสมณโคดม!
    ท่านจงแสดงฤทธิ์ของท่านบ้าง ในกาลบัดนี้ "
    สมเด็จพระชินสีห์เจ้าจึงทรงกระทำพระฤทธิ์บันดาลให้ พระวรกายอันตรธาน
    หายไป จะได้ ปรากฏแก่จักษุมหาพรหมองค์ใดองค์หนึ่งก็หามิได้ และตรัส
    พระธรรมเทศนาในท่ามกลางหมู่มหาพรหมทั้งสิ้นให้ ได้ยินแต่พระสุรเสียงเท่านั้น
    ครั้นพอควรแก่กาลเวลาแล ว ก็ทรงสำแดงพระวรกายให้ ปรากฏตามเดิม เมื่อจะ
    ทรงทรมานให้ท่านพกาพรหมละจากมิจฉาทิฐิ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
    " ดูกรพกาพรหม ตัวท่านนี้ เป็นผู้มืดมนด้วยอวิชชาหาปัญญามิได้ แต่มาเข้า
    ใจว่า ตัวนี้เป็นผู้มากไปด้วยปรีชา ถ้าจะเปรียบตัวท่านนี้ก็อุปมาเหมือนบุรุษ
    เข็ญใจ ได้ผ้าแต่เพียงประมาณสี่แขนก็มีน้ำใจฮึกฮักทักเอาว่า ตัวนี้มียศศักดิ์หา
    ผู้ใดเสมอมิได้ รู้ฤๅว่า ตัวท่านนี้มาแต่ไหน จึงได้มาบังเกิดในชั้นพรหมโลก นี้
    รู้หรือว่าหามิได้ ? " พกาพรหมก็ยอมรับสารภาพว่า "ข้าแต่พระสมณะ อันที่
    จุติและปฏิสนธินั้น ข้าพระบาทนี้มิได้แจ ง พระสมณะรู้และเข้าใจก็ขออาราธนา
    วิสัชนาไป ในกาลบัดนี้ เถิด" สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพระพุทธฎีกาตรัส
    ในที่ประชุมแห่งหมู่พระพรหมนั้นว่า
    "ครั้งหนึ่ง โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา พกาพรหมผู้
    นี้เกิดเป็นมนุษย์คหบดีผู้มีทรัพย์ แต่กลับเห็นโทษของ
    ฆราวาสว่า การครองเรือนมีแต่ทุกข์ระกำใจ ไหนจะต้อง
    ตายไหนจะต้องแก่ จึงตัดใจแน่วแน่ออกบรรพชาเป็นดาบส
    ประพฤติพรต บำเพ็ญตบะจนสำเร็จจตุตถฌาน เมื่อทำกาล
    กิริยา ก็ได้มาบังเกิดเป็นพระพรหมในชั้น เวหัปผลา อยู่นาน
    นักหนา แล้วฌานถอยหลังมาอยู์ในห้องตติยฌาน จึงจุติมา
    บังเกิดในพรหมโลกชั้น สุภกิณหา แล้วฌานก็ถอยหลงลงมา
    อยู์ในห้องทุติยฌาน จึงจุติมาบังเกิดในชั้น อาภัสสราพรหม
    ครั้นจุติจากชั้นอาภัสสราพรหม เพราะฌานถอยหลัง
    ลงมาในห้องปฐมฌาน จึงได้มาบังเกิดในชั้นมหาพรหม ด้วย
    เหตุนี้ พกาพรหมจึงรู้จักที่บังเกิดแต่ในพรหมโลก เพราะว่า
    ตนท่องเทียวเวียนว่ายอยู่นานนักหนา จึงเข้าใจว่า ตนและ
    สรรพสิ่งทั้งปวงเทียงแท้ ไม่แปรเปลี่ยน ไม่แก่ไม่ตาย"
    พกาพรหมเมื่อได สดับเช่นนี้ก็คิดอยู่แต่ในใจว่า "พระสมณโคดมเจ้าทรงรู้
    นักหนา มีพระปัญูญายอดยิ่งกว่าบุคคล รู้เหตุรู้ผลน่าสรรเสริญ นัก" คิดดังนี้ แล้ว
    ก็ละจากมิจฉาทิฐิความเห็นผิดของตนเสียสิ้น กล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาค
    เจ้าด้วยถ้อยคำเป็นอันมาก ด้วยประการฉะนี้
    บุรพกรรม ผู้ที่มาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นมหาพรหมภูมินี้ ได้ แก่พวก
    ดาบสโยคีและพระฤๅษีผู้บำเพ็ญตบะ และสมณะในพระพุทธศาสนา ซึ่งทำ
    สมถกรรมฐานจนได้ ปฐมฌานชั้นประณีต ครั้นดับจิตตายจากมนุษยโลกแล้ว ก็
    มาอุบัติเกิดเป็นมหาพรหมในมหาพรหมภูมินี้
    อนึ่ง มีข้อควรจำง่าย ๆ ว่า พรหมภูมิ ๓ ชั้นนี้ ตั้งอยู่พื้นเดียวกัน แต่
    แยกกันอยู่ ๓ เหล่า มีอาณาเขตอยู่เป็นพวก ๆ เพราะกำลังฌาน แม้จะได้
    ปฐมฌานเหมือนกัน แต่ว่ามีประเภทต่างกัน คือ
    ๑. ปฐมฌานชั้นสามัญส่งผลให้เกิดในสัมปาริสัชชา ปฐมฌานภูมิ
    ๒. ปฐมฌานชั้นกลางส่งผลให้เกิดในพรหมปุโรหิตา ปฐมฌานภูมิ
    ๓. ปฐมฌานชั้นประณีตส่งผลให้เกิดในมหาพรหม ปฐมฌานภูมิ
    พรรณนาในมหาพรหมาภูมิ หรือพรหมโลกชั้นที่ ๓ ซึ งเป็นการพรรณนา
    โดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้
    ปริตตาภาภูมิ
    พรหมโลกชั้นที่ ๔
    พรหมโลกชั้นที่ ๔ มีนามปรากฏว่า ปริตตาภาภูมิ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
    ภูมินี้ เป็นที่อยู่ของพระพรหมที่มีรัศมีน้อยกว่าพระพรหมที่อยู่เบึ้องบนตนขึ้นไป
    อายุ พระพรหมชั้นปริตตาภาภูมินี้มีอายุยืนถึง ๒ มหากัป
    บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นปริตตาภาภูมินี้ ได้ต้องสำ
    เร็จทุติยฌานประเภทปริตตะ คือเล็กน้อยหรือสามัญ
    พรรณนาในปริตตาภาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๔ ซึ่งเป็นการพรรณนาโดย
    สังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้ แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

    อัปปมาณาภาภูมิ
    พรหมโลกชั้นที่ ๕
    พรหมโลกชั้นที่ ๕ มีนามปรากฏว่า อัปปมาณาภาภูมิ ที่ ได้ชื่อเช่นนี้ก็ เพราะว่า
    ภูมินี้เป็นที่อยู่ของพรหมทั้งหลายที่มีรัศมีมากมายหาประมาณมิได้
    อายุ พระพรหมชั้นอัปปมาณาภาภูมินี้ มีอายุยืนนานถึง ๔ มหากัป
    บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นอัปปมาณาภมาภูมินี้ได้
    ต้องสำเร็จทุติยฌานประเภทมัชฌิมะ คือ ปานกลาง
    พรรณนาในอัปปมาณาภาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๕ ซึ่งเป็นการพรรณนา
    โดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

    อาภัสสราภูมิ
    พรหมโลกชั้นที่ ๖
    พรหมโลกชั้นที่ ๖ มีนามปรากฏว่า อาภัสสราภูมิ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
    เป็นภูมิที่อยู่ของพระพรหมทั้งหลายที่มีประกายรุ่งโรจน์แห่งรัศมีนานาแสง
    ดุจแสงฟ้าแลบอยู่ตลอดกาลฉะนั้น
    อายุ พระพรหมชั้นอาภัสสราภูมินี้ มีอายุยืนนาน ๘ มหากัป
    บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ได้ต้องสำเร็จทุติยฌาน
    ประเภทปณีตะ คือ ประณีตยอดเยี่ยม
    อนึ่ง พึงทราบว่า ทุติยฌานภูมิทั้ง ๓ ชั้นนี้ตั้งอยู่พื้นเดียวกัน แต่แยกกันอยู่
    ๓ เหล่า คือ ปริตตาภาภูมิเหล่าหนื่ง อัปปมาณาภาภูมิเหล่าหนึ่ง และอาภัสสรา
    ภูมิเหล่าหนึ่ง มีอาณาเขตอยู่เป็นพวกๆ เช่นปฐมฌานภูมิที่กล่าวแล้ว
    พรรณนาในอาภัสสราภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๖ ซึ่งเป็นการพรรณนาโดย
    สังเขปกถา เห็นสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

    ปริตตสุภาภูมิ
    พรหมโลกชั้นที่ ๗
    พรหมโลกชั นที่ ๗ มีนามปรากฏว่า ปริตตสุภาภูมิ ที่ได้ ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
    ภูมินี้เป็นภูมิที่อยู่ของพวกพระพรหมทั้งหลาย ที่มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมี
    เป็นเพียงส่วนน้อย
    อายุ พระพรหมชั้นปริตตสุภาภูมินี้ มีอายุยืนนานถึง ๑๖ มหากัป
    บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ได้ ต้องสำเร็จตติยฌาน
    ประเภทปริตตะ คือ เล็กน้อยหรือสามัญู
    พรรณนาในปริตตสุภาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๗ ซึ่งเป็นการพรรณนาโดย
    สังเขบกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้
    อัปปมาณสุภาภูมิ
    พรหมโลกชั้นที่ ๘
    พรหมโลก ชั้นที่ ๘ มีนามปรากฏว่า อัปปมาณสุภาภูมิ ที่ได้ ชื่อเช่นนี้ก็เพราะ
    ว่า ภูมินี้ เป็นภูมิที่อยู่ของพระพรหมพวกที่มีความสง่าสวยงามของรัศมีโดย
    ไม่มีประมาณ
    อายุ พรพรหมชั้นอัปปมาณสุภาภูมินี้ มีอายุยืนนานถึง ๓๒ มหากัป
    บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ ได้ ต้องเป็นผู้สำเร็จ
    ตติยฌานประเภทมัชฌิมะ คือ ชั้นกลาง
    พรรณนาในอัปปมาณสุภาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๘ ซื่งเป็นการพรรณนา
    โดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วยประการฉะนี้

    สุภกิณหาภูมิ
    พรหมโลกชั้นที่ ๙
    พรหมโลกชั้นที่ ๙ มีนามปรากฏว่า สุภกิณหาภูมิ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
    ภูมินี้เป็นภูมิที่อยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ซึ่งมีความสง่าสวยงามของรัศมีที่
    ออกสลับปะปนกันเลมอตลอดทั่วร่างกาย
    อายุ พระพรหมชั้นสุภกิณหาภูมิ มีอายุยืนนานถึง ๖๔ มหากัป
    บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมชั้นนี้ ต้องเป็นผู้สำเร็จตติยฌาน
    ประเภทปณีตะ คือ ประณีตสูงสุด
    อนึ่ง พึงทราบว่า ตติยฌานภูมิทั้ง ๓ นี้ ตั้งอยู่ ณ พื้นระดับเดียวกัน ใน
    ท่ามกลางอากาศ แต่แยกกันอยู่เป็น ๓ เหล่า คือ ปริตตาสุภาภูมิเหล่าหนึ่ง
    อัปปมาณลุภาภูมิเหล่าหนึ่ง และสุภกิณหาภูมิเหล่าหนึ่ง มีอาณาเขตอยู่เป็นพวก
    ๆ เซ่น ปฐมฌานภูมิและทุติฌานภูมิที่กล่าวแล้ว
    พรรณนาในสุภกิณหาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๙ ซึ่งเป็นการพรรณนาโดย
    สังเขปกถา เห็นสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วยประการฉะนี้

    เวหัปผลาภูมิ
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๐
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๐ มีนามปรากฏว่า เวหัปผลาภูมิ ที่ได้ ชื่อเช่นนี้ ก็เพราะว่า
    ภูมินี้ เป็นที่อยู่ของพวกพระพรหมทั้งหลาย ที่มีผลไพบูลย์ คือ มีผลที่ได้รับอย่าง
    ไพบูลย์เต็มที่ ยิ่งกว่าพรหมชั้นอื่นใดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะพรหมภูมิ
    เหล่านั้นยังต้องถูกทำลายล้างด้วยไฟบ้าง ด้วยน้ำบ้าง ด้วยลมบ้าง เมื่อถึง
    โอกาสที่จะต้องถูกทำลาย แต่พรหมชั้นเวหัปผลาภูมินี้พ้นจากการถูกทำลายทุก
    อย่าง ฉะนั้น พระพรหมทุกองค์ที่มาอุบัติขึ้นในภูมินี้ จึงได้เสวยผลแห่งกุศล
    กรรมที่ตนทำได้เต็มที่ไพบูลย์
    อายุ พรพรหมชั้นเวหัปผลาภูมินี้ มีอายุยืนนานมาก คือ นานถึง ๕๐๐
    มหากัป
    บุรพกรรม ผู ้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมชั้นนี้ ได้จะต้องเป็นผู้สำเร็จจตุตถฌาน
    จึงจะมาอุบัติที่นี่ได้
    พรรณนาในเวหัปผลาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๑๐ ซื่งเป็นการพรรณนา
    โดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

    อสัญญสัตตาภูมิ
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๑
    พรหมโลกชั้นที่ ๑๑ มีนามปรากฏว่า อสัญญสตตาภูมิ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็
    เพราะว่า ภูมินี้เป็นที่อย่ของอสัญญพรหม ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจสัญญาวิราคะ
    ภาวนา เป็นพระพรหมที่มีแต่รูป ไม่มีมีนาม คือ จิตและเจตสิก
    พรหมโลกชั้นนี้ ตั้งอยู่ ณ ภาคพื้นระดับเดียวกับพรหมโลกชั้นเวหัปผลาภูมิ
    ในท่ามกลางอากาศ พระพรหมแต่ ละองค์ย่อมอยู่ในปราสาทแก้วอันกว้างขวาง
    มีดอกไม้ คันธรสประดับเรียบเรียงเป็นระเบียบดุจบุคคลมาแสร้งจัดสรรไว้ ไม่รู้
    เหี่ยวแห้ง ไม่รู้ร่วงโรย มีอยู่รอบพรหมวิมานนั่นทุกทิศ และผู้ที่ไปอุบัติบังเกิด
    อยู่ในพรหมชั้นนี้ มีมากมายนักหนาคณนาไม่ถ้วนล้วนแต่มีหน้าตาเนื้อตัวสวย
    งามสง่า ดุจรูปพระปฏิมากรพระพุทธรูปทองคำที่นายช่างผู้ชำนาญขัดสีใหม่ๆ
    แลดูงามซึ้งตรึงใจสดพรรณนา แต่ว่าพระพรหมทั้งหลายเหล่านี้ มีอิริยาบถไม่
    เหมือนกัน บางองค์นั่ง บางองค์นอนและ บางองค์ยืน มีอิริยาบถอย่างใดก็ เป็น
    อยู่อย่างนั้นไม่เคลื่อน ไม่ไหวติง ทั้งจักษุทั้งสองก็มิได้กะพริบเลย เป็นประดุจ
    รูปปั้นอยู่อย่างนั้นชั่วกาลนาน
    อายุ พระพรหมผู้วิเศษผิดแปลกว่าพระพรหมอื่นนี้ มีอายุอยู่ใน
    อสัญญสตตาภูมิ นานถึง ๕๐๐ มหากัป เช่นเดียวกับพรหมชั้นเวหปผลาภูมิ
    บุรพกรรม มนุษย์บุคคลทั้งหลายแต่ปางก่อน ครั้งโลกยังว่างจากพระ
    บวรพุทธศาสนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธพระองค์ใดพระองค์หนึ่งมิได้ทรง
    อุบัติตรัสในโลกเรานี้ เลย เขาเหล่านั้นได้บวชเป็นพระฤๅษีแล้ว บำเพ็ญตบะ
    กระทำซึ่งวาโยกสิณบริกรรม พยายามกระทำจนได้ สำเร็จจตุตถฌาน ครั้นออก
    จากจตุตถฌานแล้วก็มารำพึงในใจว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2011
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    ในบุญกุศลด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...