เรื่องเด่น 5 วัดสำคัญใน “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐”

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 3 พฤษภาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    Facebook :Travel @ Manager
    0b884e0b8b1e0b88de0b983e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ee0b8b4e0b898e0b8b5e0b89a.jpg
    ในวันพรุ่งนี้ (4 พฤษภาคม) จะมีพระราชพิธีมหามงคลที่สำคัญยิ่งของแผ่นดินไทย นั่นคือ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐” ซึ่งเป็นโบราณราชประเพณีที่ต้องทำเพื่อความเป็นพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์

    ในการพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐ มีสถานที่สำคัญซึ่งใช้ประกอบพระราชพิธีทั้งเบื้องต้นและพระราชพิธีเบื้องปลายหลายแห่งด้วยกัน ซึ่งจะขอนำเอาวัดสำคัญ 5 แห่ง ที่เป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีสำคัญครั้งนี้มาให้ชมกัน
    884e0b8b1e0b88de0b983e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ee0b8b4e0b898e0b8b5e0b89a-1.jpg

    “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม”


    “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม” หรือ “วัดพระแก้ว” เป็นวัดสำคัญยิ่งของไทย สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงย้ายเมืองหลวงจากฝั่งธนบุรีมายังฝั่งพระนคร พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังขึ้น รวมถึงสร้างวัดภายในวังหลวงเพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพระราชกุศล และเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต และเนื่องจากวัดพระแก้วเป็นวัดที่อยู่ภายในพระบรมมหาราชวัง จึงมีเฉพาะเขตพุทธาวาส ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ซึ่งเป็นไปตามแบบแผนการสร้างพระบรมมหาราชวังมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา

    วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีและรัฐพิธีทางพระพุทธศาสนา รวมถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอันสำคัญยิ่ง โดยในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้ใช้เป็นสถานที่จารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และแกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาลเมื่อวันที่ 23 เมษายน ที่ผ่านมา และในวันที่ 4 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ จะเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนราบใหญ่ไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพื่อประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก
    884e0b8b1e0b88de0b983e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ee0b8b4e0b898e0b8b5e0b89a-2.jpg
    884e0b8b1e0b88de0b983e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ee0b8b4e0b898e0b8b5e0b89a-3.jpg
    “วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร”

    “วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร” สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้นใจกลางพระนคร ซึ่งถือเป็นศูนย์รวมชุมชนและศูนย์รวมศาสนสถานทั้งพุทธและพราหมณ์ แล้วพระราชทานนามว่า วัดมหาสุทธาวาส แต่การก่อสร้างวัดมาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดสุทัศน์เทพวราราม”

    ภายในวัดมีพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ อาทิ “พระศรีศากยมุนี” หรือหลวงพ่อโต พระประธานสำริดขนาดใหญ่ในพระวิหารหลวง ซึ่งอัญเชิญมาจากสุโขทัย “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” พระประธานภายในพระอุโบสถ และ “พระพุทธเสรฏฐมุนี” ประดิษฐานในศาลาการเปรียญ อีกทั้งภายในวัดยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ ๘ อีกด้วย
    884e0b8b1e0b88de0b983e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ee0b8b4e0b898e0b8b5e0b89a-4.jpg
    ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐ วัดสุทัศน์ได้ใช้เป็นสถานที่เสกน้ำอภิเษกรวมจาก 76 จังหวัดทั่วประเทศไทย และจากกรุงเทพฯ รวมทั้งน้ำจากเบญจสุทธิคงคา และน้ำจาก 4 สระของจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา
    884e0b8b1e0b88de0b983e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ee0b8b4e0b898e0b8b5e0b89a-5.jpg
    “วัดบวรนิเวศวิหาร”

    “วัดบวรนิเวศวิหาร “ เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดใหม่ ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างขึ้นใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาใน พ.ศ. 2379 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้พระราชทานนามว่า วัดบวรนิเวศวิหาร และได้อาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในขณะนั้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงผนวชที่วัดสมอราย ให้เสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร และต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมวัดบวรนิเวศวิหาร และวัดรังษีสุทธาวาสเข้าเป็นวัดเดียว และเรียกรวมว่าวัดบวรนิเวศวิหารสืบมา

    ภายในพระอุโบสถของวัดบวรนิเวศวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน 2 องค์ด้วยกัน คือพระสุวรรณเขต หรือหลวงพ่อโต หรือหลวงพ่อเพชร เป็นพระประธานองค์ใหญ่ตั้งอยู่ด้านในสุด ส่วนองค์ด้านหน้าคือพระพุทธชินสีห์ โดยบริเวณฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธชินสีห์เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๙
    884e0b8b1e0b88de0b983e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ee0b8b4e0b898e0b8b5e0b89a-6.jpg
    ในการพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินโดยพยุหยาตราทางสถลมารคไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อทรงนมัสการพระประธานในพระอุโบสถและถวายราชสักการะพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ในวันที่ 5 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้
    884e0b8b1e0b88de0b983e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ee0b8b4e0b898e0b8b5e0b89a-7.jpg
    “วัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม”

    “วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2412 เพื่อเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ และพระราชทานนามว่าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

    ภายในวัดมีพระมหาเจดีย์เป็นศูนย์กลาง ส่วนพระอุโบสถและพระวิหารตั้งอยู่รอบข้าง เชื่อมถึงกันด้วยพระระเบียงคดรอบพระมหาเจดีย์ พระอุโบสถวัดราชบพิธฯ ยังมีความสวยงามโดดเด่นที่ภายนอกเป็นศิลปะแบบไทย แต่ภายในงดงามไปด้วยศิลปะยุโรปแบบโกธิค และเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธอังคีรส” พระพุทธรูปประธาน โดยภายใต้พุทธบัลลังก์ประดิษฐานพระบรมราชสรีรังคารของรัชกาลที่ ๗ รัชกาลที่ ๙ และพระราชสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗
    884e0b8b1e0b88de0b983e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ee0b8b4e0b898e0b8b5e0b89a-8.jpg
    ในการพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินโดยพยุหยาตราทางสถลมารคไปยังวัดราชบพิธ เพื่อทรงนมัสการพระประธานในพระอุโบสถ และถวายราชสักการะพระบรมราชสรีรังคารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ และพระราชสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ในวันที่ 5 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้
    884e0b8b1e0b88de0b983e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ee0b8b4e0b898e0b8b5e0b89a-9.jpg
    “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม”

    “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” หรือ “วัดโพธิ์” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดโพธารามหรือวัดโพธิ์ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ขึ้นใหม่ และพระราชทานนามว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส

    ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จารึกความรู้สรรพวิทยาการ ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ตำราการแพทย์แผนไทย ตำรานวด และตำรายา ไว้ตามเสาศาลารายโดยรอบ ที่นี่จึงเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยเพราะเป็นแหล่งรวบรวมวิชาความรู้หลายแขนง จวบจนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม และได้เปลี่ยนสร้อยนามพระอารามเป็นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามดังปัจจุบัน
    84e0b8b1e0b88de0b983e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b89ee0b8b4e0b898e0b8b5e0b89a-10.jpg
    ภายในวัดมีสิ่งสำคัญมากมาย อาทิ พระอุโบสถอันเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธเทวปฏิมากร” เป็นพระประธาน โดยใต้พระบัลลังก์บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของรัชกาลที่ ๑ อีกทั้งยังมีพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ พระมหาเจดีย์ 4 รัชกาล และประติมากรรมรูปฤาษีดัดตน

    ในการพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินโดยพยุหยาตราทางสถลมารคไปยังวัดวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อทรงนมัสการพระประธานในพระอุโบสถ และถวายราชสักการะพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ในวันที่ 5 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้
    สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/travel/detail/9620000042719
     

แชร์หน้านี้

Loading...