10 ภัยร้ายออนไลน์ที่ต้องระวังช่วงเทศกาลวันหยุด

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 20 ธันวาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>10 ภัยร้ายออนไลน์ที่ต้องระวังช่วงเทศกาลวันหยุด</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>19 ธันวาคม 2552 16:30 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=111 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=111>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ก่อนจะถึงเทศกาลหยุดงานแสนสบายใจ ไปดูสรุป 10 อันดับภัยร้ายออนไลน์ที่ชาวไอทีทุกคนต้องระวังตัวในช่วงเทศกาลวันหยุด

    ภัยร้าย 10 อันดับนี้เรียบเรียงโดยนายเจค โซเรียโน ฝ่ายสื่อสารด้านเทคนิค ศูนย์วิจัยข้อมูลเทรนด์แล็บส์ เพื่อให้ทุกคนไม่หลงกลอาชญากรไซเบอร์ที่จะใช้เทคนิคกลลวงทางสังคมที่แตกต่างกันเพื่อหลอกล่อชาวเน็ตที่พากันค้นหาร้านค้าและเลือกซื้อสินค้าออนไลน์มากกว่าปกติ เช่น การคลิกลิงค์ที่เป็นสแปม, การดาวน์โหลดไฟล์ หรือการกรอกแบบฟอร์มโดยใส่ข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับ

    ---

    อันดับ 10 - ภัยลวงนักล่าของถูก: อาชญากรไซเบอร์จะใช้ส่วนลดและโปรโมชันเพื่อหลอกล่อเหยื่อให้คลิกลิงก์ที่เป็นอันตราย หรือใส่ข้อมูลที่เป็นความลับของตนลงในเว็บไซต์หลอกลวง

    โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ล่อเหยื่อจะเป็นสินค้ายอดนิยมและสินค้าขายดี ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้อดใจไม่ได้ที่จะคลิกลิงก์ที่ปรากฏ เช่นในปีนี้เทรนด์ ไมโคร พบว่าโทรจัน TROJ_AYFONE.A ใช้ประโยชน์จากการเปิดตัว Apple iPhone โดยมัลแวร์จะแสดงในรูปแบบโฆษณาลวงเหมือนกับการสร้างเว็บไซต์ลวงของร้านค้าออนไลน์ที่สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้

    อันดับ 9 - ไซต์การกุศลจอมปลอม: ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหว ไฟป่า น้ำท่วม ล้วนถูกอาชญากรไซเบอร์นำมาใช้ประโยชน์เพื่อหลอกลวง โดยเฉพาะเทศกาลวันหยุดเป็นช่วงเวลาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เกิดความรู้สึก "อยากทำบุญและต้องการบริจาค"

    เทศกาลปีใหม่จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับอาชญกรไซเบอร์ที่จะบรรลุตามแผนการที่วางไว้ นอกจากผู้ใจบุญที่ตอบกลับข้อความอีเมลลวงหรือเว็บไซต์ลวงซึ่งไม่ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใดแล้ว ยังจะต้องสูญเสียเงินหรือข้อมูลที่เป็นความลับไปแทนอีกด้วย

    อันดับ 8 – บัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ (อี-การ์ด): อาชญากรไซเบอร์มักจะใช้บัตรอวยพรอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีการ์ดเพื่อล่อลวงเหยื่อให้คลิกลิงก์ที่เป็นอันตรายในข้อความสแปม และนั่นอาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อตกอยู่ในอันตรายได้

    การโจมตีประเภทนี้มักใช้ประโยชน์ของเทศกาลวันหยุด เมื่อมีผู้ใช้ส่งอีการ์ดมากขึ้น และคาดหวังว่าอีการ์ดที่ได้รับนั้นจะมาจากเพื่อนหรือญาติสนิท

    อันดับ 7 - โฆษณามัลแวร์ (Malvertisements): อาชญากรไซเบอร์จะใช้โฆษณาและโปรโมชันของปลอม (เลียนแบบโฆษณาของจริง) เพื่อแพร่กระจายมัลแวร์ โดยอาศัยความเชื่อใจของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ที่มักสนใจเรื่องสินค้าราคาพิเศษ

    โฆษณาที่แสดงอยู่ในเว็บไซต์ที่มีการเข้าชมสูงจะถูกใช้เป็นตัวกระตุ้นให้ดาวน์โหลด มัลแวร์ โดยเว็บไซต์ยอดนิยม เช่น Google, Expedia.com, Rhapsody.com, Blick.com และแม้แต่ MySpace มักถูกใช้เป็นที่แฝงตัวของแบนเนอร์โฆษณาที่เป็นอันตราย ซึ่งเมื่อคลิกเข้าไปดูก็จะดาวน์โหลดมัลแวร์ลงในระบบของผู้ใช้งานได้แสดงให้เห็นว่าโฆษณาที่เป็นอันตรายเหล่านี้ถูกฝังตัวอยู่ในแทบจะทุกแห่งบนโลกไซเบอร์

    อันดับ 6 - ผลการค้นหาแหล่งช้อปปิ้งช่วงคริสต์มาส (ที่เป็นอันตราย): ผลลัพธ์คำตอบที่มากับสคริปต์ที่เป็นอันตราย ทำให้เกิดภัยคุกคามหลากหลายรูปแบบ เช่น มัลแวร์ ฟิชชิ่งไซต์ ยูอาร์แอลอันตราย โดยผู้เขียนมัลแวร์จะเลือกช่วงเทศกาลต่างๆ ที่จะนำผู้ใช้งานไปยังผลลัพธ์ที่เป็นอันตรายของตนได้

    ในปี 2550 ผลของการค้นหาคำว่า "Christmas gift shopping" ถูกพบว่านำไปสู่มัลแวร์หลากหลายชนิดที่เป็นอันตราย และเมื่อเร็วๆ นี้ ผลของการค้นหาคำว่า "Halloween costumes" ถูกพบว่าแอบซ่อนซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสของปลอมไว้

    อันดับ 5 - เว็บไซต์สุดฮิต: จัดเป็นภัยคุกคามสำหรับผู้ใช้ออนไลน์ เพราะเป้าหมายหลักของการติดเชื้อจะเกิดขึ้นบนเว็บไซต์ที่คาดว่าปลอดภัยและน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวันหยุดเทศกาลที่กำลังจะมาถึง ซึ่งผู้ซื้อนิยมซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ เช่น ร้านอาหารออนไลน์ เว็บไซต์ประมูล หรือเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ

    อาชญกรไซเบอร์จะแพร่กระจายเชื้อไปยังเหยื่อโดยการเลือกเว็บไซต์ยอดนิยม และมีการเข้าชมสูง

    อันดับ 4 - ข้อมูลส่วนบุคคล – บัตรของขวัญและโปรโมชัน (ของปลอม): ผู้ใช้ที่ชอบค้นหาของฟรีหรือโปรโมชันพิเศษบนเว็บนั้นเสี่ยงต่อการถูกโจมตีในลักษณะนี้ได้ แบบสำรวจข้อมูลที่ดูเหมือนจะปลอดภัยนี้มักจะถูกใช้เก็บข้อมูลส่วนบุคคล

    ของรางวัล บัตรของขวัญ หรือแม้แต่เงินสดจะถูกใช้เพื่อล่อเหยื่อให้กรอกแบบสำรวจของปลอม โดยที่เหยื่อจะไม่ทราบว่านั่นคือ ฟิชชิ่งไซต์ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขโมยข้อมูลส่วนตัวที่เป็นความลับ

    อันดับ 3 - อีคอมเมิร์ซฟิชชิ่ง: อีเบย์ (eBay) ถูกจัดอันดับให้เป็นร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2550 มีผู้ใช้บริการมากกว่า 124 ล้านคน และอีเบย์ยังติดอันดับสูงสุดของเว็บไซต์ที่แฮคเกอร์นิยมใช้ทำเป็นเว็บไซต์ลวงด้วย นับจากการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลจนถึงการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ

    อาชญกรไซเบอร์จะใช้แผนการที่ชาญฉลาดเพื่อให้ได้ข้อมูลของผู้ใช้เพื่อเพิ่มผลประโยชน์ทางการเงิน

    อันดับ 2 - โทรจันที่มาพร้อมใบรับสินค้า (ของปลอม): ข้อความต่างๆ จากผู้จัดส่งสินค้ายอดนิยม ซึ่งแจ้งทางอีเมลว่าไม่สามารถส่งมอบของให้ผู้รับได้ พร้อมแนบไฟล์ข้อมูลที่ดูเหมือนเป็นใบแจ้งหนี้ แต่จริงๆ แล้วเป็นข้อ ความสแปมที่จะล่อลวงผู้ใช้ให้ติดตั้งโทรจันลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
    ปัญหาดังกล่าวค่อนข้างแยกแยะลำบากสำหรับนักช้อปออนไลน์ที่กำลังรอการจัดส่งสินค้าในช่วงเทศกาล ทั้งนี้ UPS และ FedEx เป็นตัวอย่างของบริษัทผู้จัดส่งสินค้าที่อาชญากรไซเบอร์นิยมใช้เป็นเหยื่อล่อผู้ซื้อสินค้าออนไลน์มากที่สุด

    อันดับ 1 – ใบแจ้งราคาสินค้า (ปลอม): บางครั้งผู้ใช้งานอาจจะได้รับข้อความอีเมล์ที่แจ้งให้พวกเขาเปิด และพิมพ์ “ใบแจ้งราคาสินค้า” ที่ได้แนบมา ไฟล์ที่แนบมานั้นไม่ใช่ใบแจ้งราคาสินค้าของจริง แต่ว่าเป็นโทรจัน ผู้ที่ซื้อสินค้าออนไลน์บ่อยๆ จะได้รับใบแจ้งราคาสินค้าอยู่แล้ว และถือเป็นเป้าหมายหลักของภัยคุกคามประเภทนี้

    แต่ในทางกลับกันผู้ใช้ที่ไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ และแน่ใจว่าไม่ได้ทำการสั่งซื้อสินค้าใดๆ ก็อาจจะสงสัยและเปิดไฟล์แนบท้ายดังกล่าว สแปมก็จะแพร่กระจายไปทั่ว ล่าสุดที่พบคือหนอนไวรัส WORM_OTORUN.C ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหรือ ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์จึงต้องระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยมากขึ้นระหว่างเลือกซื้อสินค้าออนไลน์

    สรุปคือ ด้วยปริมาณและความสามารถของภัยคุกคามข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ผู้ใช้งานจึงจำเป็นที่จะต้องมีการป้องกันข้อมูลแบบหลายระดับชั้น เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น เทรนด์ ไมโครจึงได้นำเสนอเทคโนโลยีเครือข่ายป้องกันภัยอัจฉริยะ (สมาร์ท โพรเทคชัน เน็ตเวิร์ค) ที่ช่วยปกป้องผู้ใช้งานจากภัยคุกคามต่างๆ อาทิ สแปม หรือยูอาร์แอลที่เป็นอันตราย และไฟล์อันตรายต่างๆ ด้วยจำนวนและความสามารถของภัยคุกคามทางเว็บที่เกิดขึ้น ทำให้เราจำเป็นที่จะต้องมีการปกป้องข้อมูลแบบหลายระดับชั้น และทันท่วงที ถ้าผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ต้องการได้รับความปลอดภัยจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ผ่านทางออนไลน์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>CyberBiz - Manager Online</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. gatsuja

    gatsuja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    837
    ค่าพลัง:
    +876
    ขอบคุณครับ ที่เตือนไว้ก่อนแย่ ถ้าแย่แล้วจะแก้ไม่ทัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...