1 ก.ย.-ครบ100 ปี สำมะโนประชากร เอกซเรย์ประเทศไทย

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 1 กันยายน 2010.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    1 ก.ย.-ครบ100 ปี สำมะโนประชากร เอกซเรย์ประเทศไทย

    ออรีสา อนันทะวัน



    col01010953p1.jpg





    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ข้าราชการจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ

    เข้าสำรวจสำมะโนประชากร ณ วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อไม่นานมานี้ คงเห็นสปอตโฆษณา ที่มีพนักงานในชุดสีชมพูเดินเคาะประตูตามบ้านต่างๆ และแนะนำตัวเองว่า "นายมาดี" เขาจะมาขอความร่วมมือคนไทยทั่วประเทศ เพื่อนำข้อมูลประชากรไปวิเคราะห์และทำแผนพัฒนาประเทศ

    การทำสำมะโนประชากรในประเทศไทย ปี 2553 ถือเป็นครั้งที่ 11 และนับเป็นโอกาสอันดีที่ปีนี้ครบรอบ 100 ปีการทำสำมะโนประชากรไทย ตามหลักสากลการทำสำมะโนประชากรจะสำรวจในทุกๆ 10 ปี ในประเทศไทย เริ่มต้นทำการสำรวจประชากรตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ปี 2453 ขณะนั้นมีประชากรทั้งหมด 17 มณฑล ทดลองทำ 12 มณฑล โดยกรมการปกครองหรือมหาดไทย เป็นผู้จัดทำ ในปีนั้นประเทศไทยมีประชากรไทยทั้งหมด 8,131,247 คน กระทั่งการสำรวจครั้งที่ 6 ปี 2503 เป็นต้นมา การสำรวจย้ายมาอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักสถิติแห่งชาติ และเพิ่มชื่อเป็น "สำมะโนประชากรและเคหะ"

    นายวิลาส สุวี รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ถึงการทำสำมะโนประชากรว่า ถือเป็นความร่วมมือของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ที่ตกลงกันทำสำมะโนประชากร เพื่อนำจำนวนประชากรโลกมาเปรียบเทียบกัน ในเรื่องโครงสร้างอายุ เพศ การศึกษา ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ ถ้ามีการสำรวจบ่อยครั้งต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก 10 ปีจึงทำเพียง 1 ครั้ง แต่ปัจจุบันประเทศที่มีศักยภาพมากขึ้น อย่าง ญี่ปุ่น ฮ่องกง เริ่มสำรวจในทุกๆ 5 ปีแล้ว

    ที่ผ่านมามักมีคนสงสัยว่า เมื่อทำทะเบียนราษฎรแล้ว ทำไมยังต้องทำสำมะโนประชากร นายวิลาสให้ข้อมูลว่า การทำสำมะโนประชากรต่างจากทะเบียนราษฎรตรงข้อเท็จจริง เช่น คนที่อยู่เชียงใหม่ แต่ตัวเขามาทำงานอยู่กทม. จะพบว่าข้อมูลทะเบียนราษฎรเป็นเพียงข้อมูลที่ระบุว่า มีที่อยู่ที่เชียงใหม่ แต่ตัวตนเขาไม่ได้อยู่จริง ในทางการพัฒนาประเทศจึงใช้ข้อมูลทางทะเบียนราษฎรไม่ได้ เพราะประชากรอาจไม่ได้อยู่ในพื้นที่ตามทะเบียนราษฎรทั้งหมด
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.วิลาส สุวี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ส่วนขั้นตอนการลงไปเก็บข้อมูล นายวิลาส อธิบายว่า ตามหลักการแล้วถือว่าวันที่ 1 ก.ย. เป็นวันสำมะโนประชากร ที่พนักงานจะไปเก็บข้อมูล ซึ่งถือเป็นการถ่ายภาพนิ่งประเทศไทย เอกซเรย์ประเทศไทยว่า ประชากรวันที่ 1 ก.ย. มีจำนวนเท่าไหร่ โดยกระบวนการทำงานจะเน้นการสำรวจไม่ให้ตกหล่น และซ้ำกัน แต่ถ้าหากมีชื่อ นามสกุลซ้ำกัน ก็ต้องตรวจดูที่หมายเลขประจำตัว รวมถึงที่อยู่ ว่าอยู่จังหวัดไหน จึงไม่น่าซ้ำกัน ส่วนพนักงานที่ต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูลครั้งนี้มีทั้งหมด 73,000 คน แบ่งพื้นที่เป็นเขตปฏิบัติงาน เรียกว่า อีเอ มี 126,000 อีเอ ใน 1 อีเอ สำรวจ 100-250 ครัวเรือน โดยใช้เวลาสำรวจระหว่างวันที่ 1-30 ก.ย. ซึ่งหากสำรวจไม่ครบเนื่องจากปัจจุบันพื้นที่เขตเมืองใหญ่ๆ เข้าไปเก็บข้อมูลยาก อาจต้องขยายเวลาไปถึงเดือนต.ค.นี้

    "พนักงานที่เดินไปแต่ละบ้าน เราเรียกว่า "คุณมาดี" 1 คนได้ 1 อีเอ แต่บางคนอาจจะได้ 2 อีเอ แล้วแต่ความยากง่ายของการลงพื้นที่ คุณมาดีที่ลงไปเคาะตามบ้าน จะเป็นคนในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด เพื่อให้ง่ายแก่การทำงาน เพราะเขาจะรู้จักพื้นที่ดี ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าหน้าที่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา โดยทางสถิติฯ จะส่งบัญชีตัวเลขคุณมาดี และงบประมาณไปให้ แล้วทางจังหวัดจะเป็นผู้บริหารงานเอง" รองผอ.สำนักงานสถิติฯ ระบุ

    แต่สิ่งที่น่ากังวลในการลงไปเก็บข้อมูลคือความร่วมมือของประชาชน โดยรองผอ.สำนักงานสถิติฯ พูดด้วยสีหน้ากังวลว่า ต้องยอมรับว่า เมื่อก่อนที่ทำการสำรวจ ความเจริญ ความเป็นส่วนตัวของสังคมเมือง อาชญากรรม ไม่มีมากเหมือนทุกวันนี้ ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเป็นส่วนตัว จึงเป็นอุปสรรคในการทำงาน เวลาเข้าไปคอนโดฯสูง บ้านจัดสรร ตึกแถว ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือ เพราะเขาไม่รู้ว่าเราเป็นใคร เราถึงเน้นการประชาสัมพันธ์ มีเครื่องแบบในชุดสีชมพู คือ คุณมาดี มีบัตรแสดงตัวชัดเจน รวมถึงมีการเผยแพร่เสียงตามสายไปตามชุมชน จัดทำ 6 ภาษา คือ ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ เขมร ยาวี พม่า และมีป้ายประชาสัมพันธ์ติดตามรถเมล์ เพื่อการเข้าไปขอความร่วมมือจะได้ง่ายขึ้น โดยขอให้ประชาชนสละเวลาให้สัมภาษณ์เพียง 10 นาที

    "การไปเก็บข้อมูลตรงนี้ เราจะเข้าไปนับแรงงานพม่า แรงงานต่างชาติด้วย ไม่ว่าจะถูกกฎหมายหรือไม่ถูกกฎหมาย จะได้รู้ว่าท้องที่นั้นมีประชากร ที่แยกเป็นคนไทย คนพม่า จำนวนเท่าไหร่ โดยการเก็บข้อมูลทั้งหมดจะเป็นความลับ จะเผยแพร่เพียงข้อมูลที่ตัวเลขเท่านั้น" รองผอ.สำนักงานสถิติฯ อธิบาย และกล่าวถึงประโยชน์ของการทำสำมะโนประชากรว่า สามารถนำมาวางแผนกำหนดนโยบาย เพื่อแก้ไขปัญหาภายในประเทศ เช่น เรื่องการศึกษา หากพบประชากรเด็กจำนวนมากต้องมองไปข้างหน้าว่า ครู หรืออาคารเรียนมีพอหรือไม่ หากมีเด็กเกิดใหม่จำนวนมาก วัคซีน ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะต้องเตรียมไว้ มีพอหรือยัง นอก จากนี้ยังสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาคำนวณเป็นเส้นความยากจน ที่ทางสถิติฯ ทำร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งที่ผ่านมา จ.แม่ฮ่องสอน จ.น่าน คลองแชมป์ความยาก จนเกือบทุกปี ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่นำมาพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    "ใน จ.สมุทรสาคร มีประชากรอยู่ 2 แสนกว่าคน แต่มีแรงงานพม่าเข้ามาเกือบเท่าตัว ดังนั้น หากรัฐบาลจะจัดงบให้จะต้องคำนึงถึงตัวเลขแรงงานเหล่านี้ด้วย ถามว่าทำไมต้องสนใจแรงงานต่างชาติ ต้องมองในแง่ประโยชน์โครงสร้างเศรษฐกิจ ปัจจุบันแรงงานประมง โรงงานอุตสาหกรรม งานสกปรก มีแต่แรงงานพม่าทั้งนั้น มองในด้านมนุษยธรรม กระทรวงสธ.ก็ต้องดูแลเรื่องสวัสดิการขั้นพื้นฐานของพวกเขา" รองผอ.สำนักงานสถิติฯ กล่าว

    การสำรวจในปีนี้ คาดว่าจำนวนประชากรจะอยู่ระหว่าง 64-65 ล้านคน ซึ่งแบ่งการสำรวจออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 20 ลงไป ซึ่งยังทำงานไม่ได้ กลุ่มวัยทำงาน อายุ 20-60 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 50-60 ปีขึ้นไป ซึ่งแนวโน้มปีนี้ ตัวเลขวัยทำงานเริ่มน้อยลง และไปเพิ่มที่ผู้สูงอายุ โดยการสำรวจครั้งที่แล้ว ค่าเฉลี่ยผู้สูงอายุประเทศไทยอยู่ที่ 9.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในทางวิชาการเรียกสังคมที่มีผู้สูงอายุเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ว่า "สังคมผู้สูงอายุ" ซึ่งสิงคโปร์จัดเข้าอยู่ในหมวดนี้แล้ว สำหรับประเทศไทย การสำรวจครั้งนี้อาจจะมีผู้สูงอายุเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเตรียมแผนรองรับกับสังคมผู้สูงอายุ ถามว่าวันนี้สังคมไทยเราพร้อมหรือยังที่จะดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาล และนักวิชาการ จะทำอย่างไรเพื่อเพิ่มผลผลิต ในขณะที่ประชากรเราน้อยลง จะต้องใช้เทคโนโลยี และพัฒนาศักยภาพของคนในประเทศอย่างไร

    รองผอ.สำนักงานสถิติฯ ทิ้งท้ายว่า เมื่อเห็นความสำคัญของการทำสำมะโนประชากรแล้ว ขอเชิญชวนให้ประชาชนคนไทยทุกคนร่วมสร้างประวัติศาสตร์ สร้างฐานข้อมูลแห่งชาติและฉลองครบรอบ 100 ปีการทำสำมะโนประชากร หากบ้านไหนไม่มีคุณมาดีไปเคาะบ้าน ขอความกรุณาแจ้งมาที่สถิติฯ ว่า ตกสำรวจ ส่วนประชากรท่านใดไม่สะดวกให้ข้อมูลกับคุณมาดี สามารถให้ข้อมูลได้ 4 ช่องทาง คือ การให้สัมภาษณ์ การตอบข้อมูลแล้วส่งกลับ การตอบทางโทรศัพท์ที่หมายเลข 1111 และการตอบทางอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ �ӹѡ�ҹʶԵ���觪ҵ� รับรองว่าข้อมูลเฉพาะบุคคลที่ได้จากการทำสำมะโน ประชากรและเคหะ จะเป็นความลับ

    หากประชาชนสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ 0-2356-9999 ต่อ 8936



    [​IMG]
    ˹ѧ��;��������ʴ�͹�Ź� : �ú�ء�� ʴ�ء����ͧ==
     

แชร์หน้านี้

Loading...