เรื่องเด่น “ไทย-ฮังการี”ทำหลักสูตรสติกับสมาธิแบบออนไลน์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 24 สิงหาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    “ไทย-ฮังการี”ทำหลักสูตรสติกับสมาธิแบบออนไลน์


    “อธิการบดีมจร”มอบหมายพระเลขานุการและคณะเดินทางไปฮังการี ปรึกษาหากับอธิการบดีวิทยาลัยธรรมะ เกต ปูดาเปสด์สถาบันสมทบ จัดทำหลักสูตรร่วมสาขาสติกับสมาธิแบบออนไลน์ หวังขยายฐานวิชาการและการปฏิบัติธรรมกับชาวยุโรปกว่า 20 ประเทศ

    e0b887e0b881e0b8b2e0b8a3e0b8b5e0b897e0b8b3e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3e0b8aa.jpg

    ระหว่างวันที่ 23-27 สิงหาคม 2561 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. เลขานุการอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ พร้อาคณะ เดินทางไปที่วิทยาลัยธรรมะ เกต ปูดาเปสด์ ประเทศฮังการี สถาบันสมทบของ มจร เพื่อปรึกษาหารือกับอธิการบดีจัดทำหลักสูตรร่วมกันในสาขาสติกับสมาธิ (Mindfulness and Meditation)ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญา 2 ใบ ตามนโยบายของพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดีรูปใหม่ ที่ตั้งใจผลักดันให้สำเร็จให้ได้ อันจะทำให้ชาวยุโรปได้มีโอกาสเรียนรู้และปฏิบัติ ทั้งในเชิงวิชาการและการปฏิบัติการเกี่ยวกับสติและสมาธิอย่างเป็นระบบ หลังจากนั้นจะผลักไปสู่การเรียนแบบออนไลน์เชื่อมโยงกับห้องเรียนออนไลน์ ที่กำลังสร้างขึ้น ณ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ภายในปีนี้

    พระมหาหรรษา เปิดเผยว่า การเดินทางมาประเทศฮังการีครั้งนี้เป็นการเดินตามรอยที่พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม(มจร) อดีตอธิการบดีที่ได้สร้างไว้ขณะดำรงตำแหน่งและถางทางเอาไว้ให้เดิน โดยได้เดินมาที่เมืองปูดาเปสด์ ประเทศฮังการี เมื่อวันที่ 25-29 สิงหาคม 2559 หลังจากที่ปี พ.ศ.2552 มจร ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการรับวิทยาลัยธรรมะ เกต ปูดาเปสด์ เข้าเป็นสถาบันสมทบ และ มจรโดยพระพรหมบัณฑิตได้มอบหมายให้พระราชปริยัติกวีในฐานะรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการขณะนั้น เป็นประธานกรรมการฯ พระราชปริยัติมุนี,ผศ.ดร. คณบดีคณะพุทธศาสตร์ พระศรีธวัชเมธี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ และตัวผู้เขียนเองที่มาในฐานะผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และเลขานุการ เดินทางมาฮังการี

    “วันนี้ได้เดินตามรอยคนดีที่อยู่หน้าฯอีกรอบ เพื่อมาตอกย้ำในสิ่งที่พระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิตได้มอบหมายให้อธิการบดีรูปปัจจุบันได้ทำหน้าที่รับภาระสานต่อภาระกิจที่ยิ่งใหญ่ โดยการใช้“#วิทยาลัยธรรมะ_เกต_ปูดาเปสด์” เป็นประตูเปิดทางพาพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้าสู่ประเทศในกลุ่มยุโรปซึ่งมี 20 ประเทศกว่า ในยุคปัจจุบันนั้นวิทยาลัยแห่งนี้อยู่ภายใต้การกำกับมาตรฐานของสหภาพยุโรป ที่เข้ามาสนับสนุนทุนการศึกษา และกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนกับมหาลัยต่างๆ ทั่วโลก และเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว รัฐบาลไทยและฮังการีได้ลงนามความร่วมมือ (MoU) อันเป็นการเปิดทางให้มหาจุฬาฯ กับวิทยาลัยธรรมะ เกตได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิด ทั้งการแลกเปลี่ยนอาจารย์ นิสิต และหลักสูตรร่วมกัน” เลขานุการอธิการบดี มจร กล่าวและว่า

    b887e0b881e0b8b2e0b8a3e0b8b5e0b897e0b8b3e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3e0b8aa-1.jpg

    ระหว่างวันที่ 23-27 สิงหาคม 2561 จึงเป็นช่วงเวลาของการมาสานต่อและขยายพื้นที่การทำงานด้านการศึกษาร่วมกัน โดยภาระกิจแรกจะเป็นการสัมมนาทางวิชาการและการปฏิบัติการในหัวข้อ “#วิทยาศาสตร์กับสมาธิ: สติ และเมตตา “ ระหว่างกลุ่มนักวิชาการและนักปฏิบัติทั่วทั้งทวีปยุโรป ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองปูดาเปสด์ อันเป็นการศึกษา และปฏิบัติร่วมกัน อีกทั้งเป็นการถอดบทเรียน (Best Practice) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิทยาศาตร์จากมหาวิทยาลัย Oxford อังกฤษ ที่ตั้งศูนย์ Oxford Centre for Mindfulness ศึกษาอย่างจริงจัง

    ภาระกิจที่ 2 จึงเป็นการพูดคุยกับอธิการบดีของวิทยาลัยธรรมะ เกต เพื่อทำหลักสูตรร่วมกันในสาขา Mindfulness and Meditation หรือสาขาสติกับสมาธิ ซึ่งจะเป็นหลักสูตรปริญญา 2 ใบ ตามนโยบายของพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. ซึ่งเป็นอธิการบดีรูปใหม่ ที่ตั้งใจผลักดันให้สำเร็จให้ได้ อันจะทำให้ชาวยุโรปได้มีโอกาสเรียนรู้ และปฏิบัติ ทั้งในเชิงวิชาการ และการปฏิบัติการเกี่ยวกับสติและสมาธิอย่างเป็นระบบ หลังจากนั้น จะผลักไปสู่การเรียนแบบออนไลน์เชื่อมโยงกับห้องเรียนออนไลน์ ที่กำลังสร้างขึ้น ณ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ภายในปีนี้

    “ภาระกิจเหล่านี้ จึงเป็นการดำเนินการเพื่อ “ตามรอยคนดีที่อยู่หน้า” ที่ได้ทุ่มเทกายใจรับใช้ มจร มาอย่างยาวนาน และได้ฝากให้สานต่อ ดังที่หลวงพ่อได้ย้ำว่า “เราสร้างมหาจุฬาฯ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของชาวมหาจุฬาฯ แต่เราสร้างมหาจุฬาฯ เพื่อชาวโลก” อันเป็นการดำเนินการที่สอดรับกับพุทธประสงค์ที่ว่า “เธอทั้งหลาย จงเที่ยวไป เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่มหาชน และเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก” การเกิดขึ้นของมหาจุฬาฯ ตามประราชปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 จึงเป็นการอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากการน้อมถวายมหาจุฬาฯ เพื่อเป็นพุทธบูชา เพื่อให้มหาจุฬาฯ เป็นสถานศึกษาเพื่อพาคนให้พ้นทุกข์ และพบสุขอันไพบูลย์ตราบนานเท่านาน”

    ………….

    (หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กHansa Dhammahaso,Pramote OD Pantapat)



    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/122799
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 สิงหาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...